sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
605291
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการที่มีประสบการณ์ พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการที่มีประสบการณ์ พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ช. ใช้เป็นแนวทางในการประเมินข้าราชการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๕๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่ง สำหรับตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ที่มีประสบการณ์ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการที่มีประสบการณ์ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ข้อ ๓ การได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการที่มีประสบการณ์ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนี้ ๓.๑ ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี ๓.๒ ต้องผ่านการประเมินคุณสมบัติและผลงานจากสำนักงาน ป.ป.ช. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้สำหรับใช้ในการประเมินเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๗ (วิชาชีพเฉพาะ) เดิม หรือที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะกำหนดต่อไป ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๓๖ ก/หน้า ๑๑/๔ มิถุนายน ๒๕๕๒
653960
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เพื่อให้การบริหารราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงมีประกาศดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้แก้ไขบัญชีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. แยกตามประเภท สายงาน และระดับตำแหน่ง ท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒ ลำดับที่ ๑๖ และลำดับที่ ๒๑ เฉพาะระดับตำแหน่ง จากระดับปฏิบัติการ - เชี่ยวชาญ เป็นระดับปฏิบัติการ - ทรงคุณวุฒิ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๒๔/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
618154
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๙) และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกอบมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมว่าด้วยการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม จึงออกประกาศเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เพื่อให้เป็นตามขั้นตอนและรองรับการนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และการจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้เป็นไปตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พิชิต คำแฝง รองประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีหมายเลข ๑ ตำแหน่งของข้าราชการศาลยุติธรรม แนบท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และการจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ๒. บัญชีหมายเลข ๒ มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการศาลยุติธรรม แนบท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ๓. บัญชีหมายเลข ๓ การจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง แนบท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และการจัดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรมเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๘๕ ก/หน้า ๔๔/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
603531
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครองเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง[๑] โดยที่คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง (ก.ขป.) ในคราวประชุมครั้งที่ ๘๖ - ๑๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ มีมติอนุมัติในหลักการการนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับกับข้าราชการฝ่ายศาลปกครองโดยอนุโลม เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศาลปกครอง ประกอบกับ ก.ขป. ในคราวประชุมครั้งที่ ๘๘ - ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ มีมติเห็นชอบในหลักการของการกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายศาลปกครองรองรับการนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติ ก.ขป. ดังกล่าวข้างต้น ก.ขป. จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครองเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ให้ ก.ขป. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ข้อ ๕ ให้ประธานศาลปกครองสูงสุดรักษาการตามประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครองท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ๒. บัญชีการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครองเข้าประเภทตำแหน่งสายงานและระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งท้ายประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการจัดตำแหน่งข้าราชการฝ่ายศาลปกครองเข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ปณตภร/ปรับปรุง ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๒๗ ก/หน้า ๑๓/๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒
603166
ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
ประกาศ ก ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ ก.พ. จึงกำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๔๙ (๒) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ (๔) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๕) ประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ให้ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งและในหน่วยงานดังต่อไปนี้ เป็นข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และให้ได้รับเงินเพิ่มตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ (๑) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน ด้านการอภิบาล การศึกษา การฝึกและอบรม การปลูกฝังศีลธรรม จริยธรรม การฝึกระเบียบวินัย ดูแลและอบรมสั่งสอนเด็กและเยาวชนด้านการสงเคราะห์และบำบัด แก้ไข หรือการตรวจสุขภาพกายและจิตเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมหรือการตรวจรักษาและพยาบาลเด็กและเยาวชน ด้านการสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงและสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน รวมทั้งสาเหตุแห่งการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.น.” (๒) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์ โดยผู้ได้รับการสงเคราะห์ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เนื่องจากเป็นคนพิการทางกาย ทางสมองและปัญญา ทางจิตประสาท เป็นคนชราที่เจ็บป่วยหรือหลง หรือเป็นคนไร้ที่พึ่งที่มีปัญหาด้านจิตประสาทซึ่งในการปฏิบัติงานต้องดูแลให้การสงเคราะห์ ฟื้นฟู และพัฒนา โดยสัมผัสกับผู้รับการสงเคราะห์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยตรง ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.พ.” (๓) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานที่เรือนจำตามกฎหมายราชทัณฑ์ซึ่งมีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง หรือผู้ต้องกักขัง หรือผู้ถูกกักกัน ตลอดเวลา หรือบางเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานที่เรือนจำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ร.” (๔) ข้าราชการในทุกส่วนราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเป็นครูการศึกษาพิเศษ สอนคนตาบอด สอนคนหูหนวก สอนคนร่างกายพิการทางแขนขา และลำตัว และสอนคนปัญญาอ่อนที่ปฏิบัติงานสอนในสถานศึกษาหรือหน่วยงานของทางราชการ หรือในความควบคุมของทางราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.ศ.” (๕) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสืบสวน การรวบรวมข่าว วิเคราะห์ข่าว หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการข่าวในการติดตามสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือเฝ้าระวังเหตุการณ์หรือสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดการก่อการร้ายหรือบ่อนทำลายความมั่นคง เพื่อแจ้งเตือนและรายงานรัฐบาลและผู้ใช้ข่าวระดับสูงทราบอย่างต่อเนื่อง ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการข่าว ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.ข.” (๖) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่ง เจ้าพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศและสื่อสารการบินตามที่ ก.พ. กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของเจ้าพนักงานควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.จ.” (๗) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในกรมศิลปากร ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ ดังต่อไปนี้ (ก) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ การทำแผนผังใต้ทะเลและการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ำ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติการใต้น้ำซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ การทำแผนผังใต้ทะเล และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ป.น. ๑” (ข) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ การทำแผนผังใต้ทะเลและการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ำ และมีความรู้ความสามารถในการใช้วัตถุระเบิดใต้น้ำ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติการใต้น้ำซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ การทำแผนผังใต้ทะเล และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ทางโบราณคดีใต้น้ำและมีความรู้ความสามารถในการใช้วัตถุระเบิดใต้น้ำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ป.น. ๒” (๘) ข้าราชการในทุกส่วนราชการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติงานทางอากาศโดยปฏิบัติงานทางอากาศในฐานะ ดังต่อไปนี้ (ก) นักบินหรือนักบินผู้ตรวจการบิน ซึ่งปฏิบัติงานบนอากาศยานเป็นประจำ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบิน หรือนักบินผู้ตรวจการบิน บนอากาศยานเป็นประจำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. ๑” (ข) ผู้ตรวจสอบการปฏิบัติการบินทดสอบ (Avionics) ซึ่งปฏิบัติงานบนเครื่องบินทดสอบเป็นประจำ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติการบินทดสอบ (Avionics) บนเครื่องบินทดสอบเป็นประจำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. ๒” (ค) ช่างอากาศหรือช่างเครื่องบิน ซึ่งปฏิบัติงานบนอากาศยานเป็นประจำ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็น ช่างอากาศหรือช่างเครื่องบิน บนอากาศยานเป็นประจำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. ๓” (๙) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรมคุมประพฤติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบบังคับรักษา ด้านการตรวจพิสูจน์การเสพ หรือการติดยาเสพติด ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และด้านติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบบังคับรักษาในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด กรมคุมประพฤติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ป.” (๑๐) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโสประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการสืบสวนหาข่าว การวิเคราะห์ข่าว การเฝ้าตรวจและติดตามพฤติการณ์ การล่อซื้อ การตรวจค้นจับกุม การดำเนินคดียาเสพติดโดยใช้มาตรการสมคบ การยึด อายัดทรัพย์สิน การบริหารจัดการทรัพย์สิน การเร่งรัดติดตามและประสานคดี การตรวจพิสูจน์ยาเสพติด การสำรวจพืชเสพติด การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่และการจัดระเบียบสังคมโดยการปฏิบัติงานต้องใช้ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ป.ส.” (๑๑) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโสประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติงานทางอากาศ โดยปฏิบัติงานในฐานะผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์วิทยุสื่อสารและเครื่องช่วยการเดินอากาศและขึ้นบินทดสอบอุปกรณ์หรือระบบนั้นภายหลังแก้ไขปรับแต่ง เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์และความปลอดภัยในการบินปฏิบัติงานของอากาศยาน ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานทางอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์วิทยุสื่อสารและเครื่องช่วยการเดินอากาศ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.น.อ. ๓” (๑๒) ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขที่เรือนจำในกรมราชทัณฑ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานที่เรือนจำตามกฎหมายราชทัณฑ์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในการบำบัดรักษาและให้บริการทางการแพทย์กับผู้ต้องขัง หรือผู้ต้องกักขัง หรือผู้ถูกกักกัน ตลอดเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขที่เรือนจำ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.ร.” (๑๓) ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน โดยปฏิบัติหน้าที่ในการบำบัดรักษาและให้บริการทางการแพทย์แก่เด็กและเยาวชน ตลอดเวลา ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในหน่วยงานสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.พ.” (๑๔) ข้าราชการในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยปฏิบัติงานในสถานที่เกิดเหตุหรือปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพในกรณีถูกวิสามัญฆาตกรรมและศพไม่ทราบชื่อ ศพที่ญาติร้องขอและศพที่ตายผิดธรรมชาติ ตรวจร่างกายผู้เสียหายในกรณีถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืนกระทำชำเรา ตรวจร่างกายและวัตถุพยานของผู้ต้องสงสัยในกรณีกระทำความผิดอาญา รวมถึงกรณีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร้องขอหรือที่ได้รับมอบหมาย ตรวจพิสูจน์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ครบทุกสาขาในกรณีต่าง ๆ ตรวจเก็บหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุในคดีต่าง ๆ ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดให้โทษทุกชนิดรวมทั้งการตรวจยาพิษ รวบรวมศพ ชิ้นส่วนของศพที่ไม่ทราบชื่อมาทำการพิสูจน์บุคคลและสาเหตุการตาย ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ว.” (๑๕) ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการทางการแพทย์กับผู้เสียหาย หรือผู้ต้องสงสัย หรือวัตถุพยาน หรือศพ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.ว.” (๑๖) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญงาน ระดับอาวุโส ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการระดับต้น ในสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสาขา และสำนักงานคุมประพฤติประจำศาล สังกัดกรมคุมประพฤติ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสืบเสาะและพินิจการควบคุมและสอดส่อง การตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานคุมประพฤติจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสาขา และสำนักงานคุมประพฤติประจำศาล สังกัดกรมคุมประพฤติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ค.ป.” (๑๗) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานนิติการตำแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการ สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน ตำแหน่งผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับต้น ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ก.” (ก) ผ่านการอบรมหลักสูตรนักกฎหมายภาครัฐหรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าซึ่ง ก.พ. กำหนดหรือรับรอง (ข) ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ อ.ก.พ. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐกำหนด (ค) ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้ ๑) ส่วนราชการที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมายและมีหัวหน้าส่วนราชการดำรงตำแหน่งในสายงานนิติการ หรือ ๒) หน่วยงานต่ำกว่ากองหรือสำนักหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองหรือสำนัก ที่ ก.พ. เห็นชอบการแบ่งงานภายใน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมาย และมีหัวหน้าหน่วยงานดำรงตำแหน่งในสายงานนิติการ หรือ ๓) ส่วนราชการที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานต่ำกว่ากองหรือสำนักหรือหน่วยงานเทียบเท่ากองหรือสำนัก ที่ ก.พ. เห็นชอบการแบ่งงานภายใน ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในสายงานนิติการ แต่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจและยกร่างกฎหมายหรือ การดำเนินการทางวินัยหรือ การดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง และคดีปกครอง (ง) ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนิติกรที่ได้รับแต่งตั้งตามที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานนิติการ ตำแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภทอำนวยการ สายงานอำนวยการเฉพาะด้าน ตำแหน่งผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับต้น ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักกฎหมายภาครัฐซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามมติคณะกรรมการนโยบายพัฒนากฎหมายแล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้ถือว่าผ่านการอบรมหลักสูตรตาม (ก) แล้ว (๑๘) ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ทันตแพทย์ ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (ทันตแพทย์) เภสัชกร ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (เภสัชกรรม) พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือนักวิชาการศึกษาพิเศษที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย นักกิจกรรมบำบัดหรือนักอาชีวบำบัดที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกหรือนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านจิตวิทยาคลินิก และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยใช้ใบอนุญาตดังกล่าวปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการควบคุมป้องกันโรค ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือด้านการฟื้นฟูสภาพ และได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบัญชีกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนแนบท้าย ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “พ.ต.ส.” ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนแนบท้ายประกาศ ก.พ. เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๒๙/๙ เมษายน ๒๕๕๒
562295
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 29/2550 เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ สาขาย่อยหอการค้าไทยและมอบหมายการปฏิบัติงาน
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒๙/๒๕๕๐ เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ สาขาย่อยหอการค้าไทย และมอบหมายการปฏิบัติงาน ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าตกลงให้ความร่วมมือกับหอการค้าไทยเพื่อดำเนินการจัดตั้งสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ ณ หอการค้าไทย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและประชาชนที่มาติดต่ออย่างทั่วถึง นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน และข้อ ๘ แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้ ๑. ให้จัดตั้งสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ สาขาย่อยหอการค้าไทย ตั้งอยู่ชั้น ๑ อาคารจรูญ สีบุญเรือง หอการค้าไทย ถนนราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๒. ให้สำนักงานตาม ๑. มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ ๒.๑ งานจดทะเบียนธุรกิจ (๑) รับจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๙๙ เฉพาะพาณิชยกิจตามประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร (๒) รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ยกเว้นบริษัทจำกัด ที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซึ่งมีกฎหมายพิเศษควบคุมเฉพาะ ได้แก่ กิจการธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์เครดิตฟองซิเอร์ ประกันภัย คลังสินค้า และบรรษัทที่จัดตั้งโดยกฎหมายพิเศษ ๒.๒ งานบริการข้อมูลธุรกิจ (๑) ออกหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนและรับรองเอกสารทางทะเบียนงบการเงิน และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) ให้บริการตรวจค้นเอกสารทางทะเบียน งบการเงิน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒.๓ งานด้านอื่นๆ (๑) รับคำขอตรวจและจองชื่อนิติบุคคล เพื่อส่งให้ฝ่ายจองชื่อนิติบุคคลส่วนบริการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต สำนักทะเบียนธุรกิจ ดำเนินการตรวจสอบและแจ้งผล (๒) รับสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และรวบรวมส่งมอบให้ส่วนจัดเก็บเอกสารทะเบียนธุรกิจ สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ จัดเก็บต่อไป (๓) รับค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด (๔) คำขอจดทะเบียนที่ได้รับจดทะเบียนในแต่ละวัน ให้รวบรวมส่งมอบให้สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ เพื่อจัดทำแฟ้มทะเบียนในกรณีที่เป็นคำขอจดทะเบียนตั้งใหม่ ส่วนคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม เลิกและเสร็จการชำระบัญชีให้คัดแยกเพื่อส่งต่อให้หน่วยงานจัดเก็บแฟ้มนำเข้าแฟ้มทะเบียนต่อไป ๓. อัตรากำลัง มอบหมายให้ข้าราชการและลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) นายชาตรี สุรวิริยาการ นักวิชาการพาณิชย์ ๗ว ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงาน โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ - เป็นนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท บริษัทมหาชนจำกัด นายทะเบียนพาณิชย์และสารวัตรบัญชี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ตามข้อ ๒ - กำกับดูแลและตรวจสอบรายงานการรับเงินรายได้ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายและรายได้อื่นๆ ประจำวัน - กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างในสำนักงาน และมีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา ตามระเบียบว่าด้วยการลา - ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (๒) นายทรงพล ชาญศิริไพบูลย์ (ลูกจ้างเหมาจ่าย) โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ - รับคำขอจดทะเบียน - จัดทำหนังสือรับรองและสำเนาเอกสารเพื่อเสนอนายทะเบียนลงนาม - ให้บริการตรวจค้นเอกสาร - ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ๔. ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นต้องเพิ่มหรือสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ให้สำนักทะเบียนธุรกิจและสำนักบริการข้อมูลธุรกิจหารือร่วมกันเพื่อเสนอกรมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป[๑] สั่ง ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ คณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๔๖/๖ กันยายน ๒๕๕๐
596565
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงกำหนดให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ให้นำกฎหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๔ ตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ตำแหน่งใดจะเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด และระดับใด ที่จะมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด ข้อ ๕ ให้ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในอัตราเท่ากับปลัดกระทรวง ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในอัตราเท่ากับรองปลัดกระทรวง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และตำแหน่งผู้อำนวยการให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งเท่ากับตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๕/๒๓ มกราคม ๒๕๕๒
684917
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ 21/2556 เรื่อง จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต
คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ ๒๑/๒๕๕๖ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต[๑] เพื่อให้การบริการผู้มาติดต่อขอใช้บริการกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็วและทั่วถึง อันเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระของผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑. คำสั่งนี้เรียกว่า คำสั่งจัดตั้ง “สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต” ข้อ ๒. บรรดาคำสั่งใด ๆ ที่ขัด หรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ใช้คำสั่งนี้บังคับแทน ข้อ ๓. ให้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ๖ แห่ง ดังนี้ ๑. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๑ (ปิ่นเกล้า) ตั้งอยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๒. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๒ (พหลโยธิน) ตั้งอยู่เลขที่ ๗๘/๑๓ ถนนพระราม ๖ (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๓. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๓ (รัชดาภิเษก) ตั้งอยู่ อาคารปรีชาคอมเพล็ก ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๔. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๔ (สุรวงศ์) ตั้งอยู่ อาคารวรวิทย์ ถนนสุรวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ๕. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๕ (บางนา) ตั้งอยู่ อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ถนนบางนา – ตราด เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ๖. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ๖ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา) ตั้งอยู่ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ข้อ ๔ . ให้สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ๔.๑. งานจดทะเบียนธุรกิจ รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยกเว้น การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด ที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซึ่งมีกฎหมายพิเศษควบคุมเฉพาะ ๔.๒. งานบริการข้อมูลธุรกิจ (๑) ออกหนังสือรับรองนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (๒) ออกใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าและกฎหมายว่าด้วยหอการค้า (๓) รับรองสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าและกฎหมายว่าด้วยหอการค้า (๔) ตรวจค้นเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้าและกฎหมายว่าด้วยหอการค้า (๕) ถ่ายโอนข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๔.๓ งานด้านอื่น ๆ (๑) รับสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (๒) รับค่าธรรมเนียมและเงินประเภทอื่น เก็บรักษาเงิน และนำเงินส่งคลังตามที่กฎหมายกำหนด (๓) รับงบการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และรวบรวมส่งให้สำนักข้อมูลธุรกิจจัดเก็บ (๔) คำขอจดทะเบียนที่ได้รับจดทะเบียนในแต่ละวันให้รวบรวมส่งให้สำนักทะเบียนธุรกิจเพื่อดำเนินการส่งต่อสำนักงานที่จัดเก็บต่อไป (๕) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๕. ให้สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตมี “ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต” เป็นผู้บังคับบัญชา โดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารภารกิจปกครองบังคับบัญชา ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการ และประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างประจำ ในสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตแห่งนั้นให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ สั่ง ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ บรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๐ ง/หน้า ๒๑๒/๑๘ เมษายน ๒๕๕๖
596563
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง พ.ศ. 2552
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรจัดระเบียบข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อให้การบริหารราชการของสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีผลเป็นการกระทบสิทธิที่มีอยู่เดิมของข้าราชการ และใช้งบประมาณรายจ่ายด้านบุคลากรเท่าที่จำเป็น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๐ และมาตรา ๑๑๑ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๑๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงมีประกาศดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในการกำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและหลักเกณฑ์การจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. จะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัด เป็นหลัก ข้อ ๕ ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการสำ นักงาน ป.ป.ช. ตามประกาศนี้ ให้มาตรฐานกำหนดตำแหน่งและหลักเกณฑ์การจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ และให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งสั่งแต่งตั้งข้าราชการเพื่อดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๖ ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการเพื่อนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไปประกาศแจ้งให้ข้าราชการในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ ข้อ ๗ บรรดาการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่เดิมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จนถึงวันที่ประกาศนี้ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ดำเนินการไปตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ มติ หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่เดิมต่อไปจนแล้วเสร็จและให้มีผลใช้บังคับได้ ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรืออันเนื่องมาจากประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. แยกตามประเภท สายงานและระดับตำแหน่งท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒. หลักเกณฑ์การจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งท้ายประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และจัดตำแหน่งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เข้าประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๕ ก/หน้า ๓/๒๓ มกราคม ๒๕๕๒
842825
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งของข้าราชการ ในสำนักงาน ป.ป.ท. ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ มาตรา ๔ วรรคสอง และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๗ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการคัดเลือกบุคคลเพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “รองเลขาธิการ” หมายความว่า รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.” หมายความว่า ผู้ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากข้าราชการในสำนักงานให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ “พนักงาน ป.ป.ท.” หมายความว่า เลขาธิการ รองเลขาธิการ และผู้ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากข้าราชการในสำนักงานที่ปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ำกว่าหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ “เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ข้อ ๕ ให้พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ได้รับเงินเพิ่มเป็นรายเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (๒) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง (๓) ผ่านการประเมินคุณลักษณะบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด (๔) พ้นการทดลองหน้าที่ราชการ ข้อ ๗ ให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งประเภทวิชาการสายงานนิติการ และสายงานสืบสวนสอบสวน มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ฯ ในอัตราดังนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ - ระดับต้น/ระดับสูง เดือนละ ๑๔,๔๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานนิติการ และสายงานสืบสวนสอบสวน - ระดับทรงคุณวุฒิ เดือนละ ๑๖,๐๐๐ บาท - ระดับเชี่ยวชาญ เดือนละ ๑๔,๔๐๐ บาท - ระดับชำนาญการพิเศษ เดือนละ ๑๒,๘๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๑๑,๒๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ เดือนละ ๙,๖๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๘,๐๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาเอกพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาโท ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี หรือวุฒิปริญญาตรีซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๖,๔๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาโทพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาตรีพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ) ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งสายงานอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ ๗ มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ฯ ในอัตรา ดังนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการ - ระดับทรงคุณวุฒิ เดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท - ระดับเชี่ยวชาญ เดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท - ระดับชำนาญการพิเศษ เดือนละ ๙,๖๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๘,๔๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ เดือนละ ๗,๒๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๖,๐๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาเอกพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาโท ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี หรือคุณวุฒิปริญญาตรีซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาโทพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๓,๖๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาตรีพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ) (๒) ตำแหน่งประเภททั่วไป - ระดับอาวุโส (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๙,๖๐๐ บาท - ระดับอาวุโส เดือนละ ๘,๔๐๐ บาท - ระดับชำนาญงาน (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๗,๒๐๐ บาท - ระดับชำนาญงาน เดือนละ ๖,๐๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติงาน (ดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี) เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติงาน (ดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี) เดือนละ ๓,๖๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติงาน (พ้นการทดลองหน้าที่ราชการ) เดือนละ ๒,๔๐๐ บาท ข้อ ๙ ตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. มีชื่อและระดับช่วงชั้นดังนี้ (๑) พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ (๒) พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ (๓) พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ข้อ ๙/๑[๒] การแต่งตั้งพนักงาน ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งในระดับไม่ต่ำกว่าชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย (๑) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายและสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายไม่น้อยกว่าหกปี (๒) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางกฎหมายและสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายไม่น้อยกว่าสี่ปี (๓) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมาย และเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายไม่น้อยกว่าสองปี แต่ถ้าสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาด้วย ระยะเวลาสองปีให้ลดเหลือหนึ่งปี (๔) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางกฎหมายหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างน้อยสองสาขา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายไม่น้อยกว่าแปดปี (๕) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ขาดแคลนและจะยังประโยชน์ต่อการดำเนินการไต่สวนของสำนักงานเป็นอย่างยิ่ง และผ่านการอบรมหลักสูตรการไต่สวน ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด และรับราชการในสำนักงานหรือสำนักงาน ป.ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสี่ปี ข้อ ๑๐ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการไต่สวน และวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามบัญชีมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ประกอบด้วยสายงานดังนี้ (ก) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานสืบสวนสอบสวน และสายงานนิติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานอื่น ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการขึ้นไปและเคยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และมีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง และเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พนักงาน ป.ป.ท. ได้ (๒) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง (๓) เป็นผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ ก่อนแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด ข้อ ๑๑ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการไต่สวน และวินิจฉัยคดีหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามบัญชีมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ประกอบด้วย สายงานดังนี้ (ก) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานสืบสวนสอบสวน และสายงานนิติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานอื่น ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปและเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ และมีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดีหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง และเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ ได้ (๒) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง (๓) เป็นผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ ก่อนแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด ข้อ ๑๒ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑)[๓] ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง เป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ โดยตำแหน่ง (๒) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการไต่สวน และวินิจฉัยคดีหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามบัญชีมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ประกอบด้วย สายงานดังนี้ (ก) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานสืบสวนสอบสวน และสายงานนิติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ และมีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากเลขาธิการและเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ได้ (๓) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง เว้นแต่ ผู้ซึ่งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ โดยตำแหน่งตาม (๑) (๔) เป็นผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ก่อนแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด เว้นแต่ ผู้ซึ่งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ โดยตำแหน่งตาม (๑) ข้อ ๑๓ ให้พนักงาน ป.ป.ท. มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในอัตราดังนี้ - พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ เดือนละ ๓๒,๐๐๐ บาท - พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ เดือนละ ๒๘,๐๐๐ บาท - พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๔ การจ่ายเงินเพิ่มแก่พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามระเบียบนี้ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติแต่งตั้งและได้เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อนวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มและไม่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ กรณีที่มีการเลื่อนชั้นหรือระดับของตำแหน่ง ให้จ่ายเงินเพิ่มในชั้นหรือระดับตำแหน่งที่เลื่อนตั้งแต่วันที่คำสั่งเลื่อนชั้นหรือระดับของตำแหน่งมีผลบังคับ ทั้งนี้ ตามที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง กรณีเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ก่อนการแต่งตั้งเป็น พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ หรือกรณีพนักงาน ป.ป.ท. ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ก่อนการแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่สูงขึ้น ให้ได้รับเงินเพิ่มในตำแหน่งหรือชั้นเดิมจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือชั้นใหม่ ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและการเลื่อนชั้นหรือระดับตำแหน่งของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด ข้อ ๑๖ กรณีที่พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในเดือนใดไม่เต็มเดือน ให้จ่ายเงินเพิ่มตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งถ้าเดือนใดไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในเดือนนั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่น ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้ และไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินเพิ่มในระหว่างวันที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักดังกล่าว (๒) กรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และอยู่ระหว่างได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อรักษาตัว ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้ ในช่วงเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อรักษาตัวดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เกิน ๑๘๐ วัน (๓) กรณีถูกสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้งดจ่ายเงินเพิ่มนับแต่วันที่ถูกสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน หากต่อมาได้รับอนุญาตให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ หรือกลับเข้ารับราชการ ให้จ่ายเงินเพิ่มตามส่วนเช่นเดียวกับการได้รับเงินเดือนในช่วงเวลาดังกล่าว (๔) การได้รับเงินเพิ่มระหว่างลา (ก) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาป่วย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาในปีงบประมาณหนึ่ง ไม่เกิน ๖๐ วันทำการ (ข) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาไม่เกิน ๙๐ วัน (ค) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย (ง) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ (จ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลา ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ช) ผู้ลาไปรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายใน ๗ วัน ให้ได้รับเงินเพิ่มในช่วงระยะเวลาดังกล่าวด้วย (ซ) ผู้ได้รับอนุญาตลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ฌ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ถือเป็นวันลาของข้าราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างเวลาดังกล่าวได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ญ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย ข้อ ๑๗ ให้มีคณะอนุกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้ประเมินอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ผู้ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้งดจ่ายเงินเพิ่มในเดือนถัดไป จนกว่าผู้นั้นจะผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๘ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้คณะกรรมการมอบหมายเลขาธิการเป็นผู้พิจารณาสั่งงดจ่ายเงินเพิ่ม ตามควรแก่กรณี เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง การงดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเลขาธิการ ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ท. เป็นผู้มีอำนาจสั่งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ข้อ ๑๙[๔] พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้งดจ่ายเงินเพิ่มเป็นเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ลงโทษ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนให้งดจ่ายเงินเพิ่มเป็นเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและผู้ที่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ให้งดจ่ายเงินเพิ่มไว้จนกว่าพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้นั้นจะได้กลับปฏิบัติราชการปกติ ข้อ ๒๐ การจ่ายเงินเพิ่มกรณีพ้นจากการเป็นพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้จ่ายได้ ถึงวันก่อนวันที่มีคำสั่งให้บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. กรณีพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินเพิ่มได้ถึงวันที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ข้อ ๒๑ การจ่ายเงินเพิ่ม ให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน และห้ามไม่ให้นำเงินเพิ่มไปรวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ กรณีที่พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหลายตำแหน่ง ให้เลือกรับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษได้เพียงตำแหน่งเดียว ข้อ ๒๒ พนักงาน ป.ป.ท. ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ และปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องจนถึงวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ในชั้นที่ตนดำรงอยู่ ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามข้อ ๗ ของระเบียบนี้โดยอนุโลม จนกว่าจะมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ในชั้นซึ่งตนดำรงอยู่ตามระเบียบนี้ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ และปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องจนถึงวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ในตำแหน่งและระดับซึ่งตนดำรงอยู่ตามระเบียบนี้ โดยให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามข้อ ๖ ของระเบียบนี้แล้ว ข้อ ๒๓ ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ท. รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ กิตติ ลิ้มชัยกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒[๕] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พรวิภา/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๙/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๑๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๕/๗ มีนาคม ๒๕๖๑
715988
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง (๘) (๑๑) และวรรคสอง มาตรา ๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๑๔ ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๗ ประกอบมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๑ และ กฎก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทสายงาน และระดับตำแหน่งใด มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทบริหารระดับสูง ได้แก่ (ก) ตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท (ข) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตามที่ อ.ศร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท (ค) ตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท (๓) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท (๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ได้แก่ (ก) ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ อ.ศร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท (ค) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท (๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท (๖) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ สายงานนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท (๗) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ สายงานนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ อ.ศร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท ข้อ ๔ ให้ อ.ศร. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรืออันเนื่องมาจากระเบียบนี้ ข้อ ๕ ในกรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอ อ.ศร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๒ ก/หน้า ๒/๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗
787380
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๕ แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาจได้รับเงินเพิ่มได้ตามที่ ก.พ. ประกาศกำหนด” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน ท้ายระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑/๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
687576
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่ข้าราชการพลเรือนได้ปฏิบัติงานในบางตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทำงาน ซึ่งสมควรได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๘ (๒) ระเบียบว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ ก.พ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ “เหตุพิเศษ” หมายความว่า การทำงานที่มีสภาพการทำงานไม่น่าอภิรมย์ ยากลำบากตรากตรำ เสี่ยงภัย เคร่งเครียด กดดัน หรือเป็นการทำงานที่มีสภาพการทำงานเสี่ยงอันตรายทั้งต่อชีวิต ร่างกาย อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคจากการปฏิบัติงาน การสูญเสียอวัยวะ หรือเป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์สูง ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลน มีการสูญเสียผู้ปฏิบัติงานออกจากระบบราชการเป็นจำนวนมาก ข้อ ๕ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาจได้รับเงินเพิ่มได้ตามที่ ก.พ. ประกาศกำหนด[๒] ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหลายอัตรา ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มในอัตราที่สูงที่สุดเพียงอัตราเดียว ข้อ ๖ ข้าราชการผู้ใดปฏิบัติงานไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มสำหรับเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าในเดือนใดข้าราชการผู้ใดมิได้ปฏิบัติงาน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับเดือนนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีลาป่วย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ เว้นแต่เป็นการป่วยอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ก.พ. อาจกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มเกินหกสิบวันทำการได้ตามควรแก่กรณี (๒) กรณีลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน (๓) กรณีลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่สำหรับในปีแรกที่รับราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณนั้นไม่เกินสิบห้าวันทำการ (๔) กรณีลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (๕) กรณีลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่เป็นการลาภายในระยะเวลาสิบสองเดือนแรกที่เข้ารับราชการ และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน (๖) กรณีลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาที่ลาดังกล่าวแล้วผู้นั้นไม่ไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเพิ่ม หลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติหน้าที่หลัก (๗) กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน (๘)[๓] กรณีการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างเวลาดังกล่าวได้ไม่เกินหกสิบวัน (๙)[๔] กรณีการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย (๑๐)[๕] กรณีการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษและได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษและมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นหรือจนกว่า ก.พ. จะประกาศกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๘ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๖] หลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน ท้ายระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ยกเลิก) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๗] ข้อ ๔ ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรหรือลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพตั้งแต่วันที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ตามที่กำหนดในข้อ ๖ (๙) หรือ (๑๐) แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๘] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๔/๙ เมษายน ๒๕๕๒ [๒] ข้อ ๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๖ (๘) เพิ่มโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] ข้อ ๖ (๙) เพิ่มโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] ข้อ ๖ (๑๐) เพิ่มโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๖] หลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน ท้ายระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ ยกเลิกโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๑/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๑/๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
731129
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินเดือนในอัตราที่เท่าเทียมกับข้าราชการพลเรือนสามัญและข้าราชการประเภทอื่นที่มีคุณวุฒิและระยะเวลาการรับราชการในลักษณะเดียวกัน ตามที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการกำหนดตำแหน่งและการได้รับเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นในลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง (๒) (๑๑) และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๔ ของระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองตามเอกสารแนบท้าย ๑ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๑ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓๑ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามเอกสารแนบท้าย ๓ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๓ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓๑ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ ข้อ ๕ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองตามเอกสารแนบท้าย ๑ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๑ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๖ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามเอกสารแนบท้าย ๓ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๓ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๗ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย ๑ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๑ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๘ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย ๑ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๑ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๙ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย ๓ (ก) หรือเอกสารแนบท้าย ๓ (ข) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๑๐ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย ๑ (ง) หรือเอกสารแนบท้าย ๑ (จ) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๑๑ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ให้ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ ตามบัญชีเอกสารแนบท้าย ๓ (ง) หรือเอกสารแนบท้าย ๓ (จ) ของหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ ข้อ ๑๒ การปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด ตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๑๑ หากต้องมีการแก้ไขคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ - ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้ใช้ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่ข้าราชการผู้นั้นเคยได้รับอยู่เดิม เป็นฐานในการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ การปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๑๑ แล้วแต่กรณี หากไม่มีอัตราเงินเดือนในขั้นที่ตรงกันตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี ให้ปรับเงินเดือนให้ได้รับอัตราเงินเดือนขั้นใกล้เคียงที่ต่ำกว่า เว้นแต่การปรับเงินเดือนกรณีอัตราแรกบรรจุตามข้อ ๓ ข้อ ๕ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๑๐ หากไม่มีอัตราเงินเดือนที่ตรงกัน ให้ปรับเงินเดือนแรกบรรจุโดยให้ได้รับอัตราเงินเดือนขั้นใกล้เคียงที่สูงกว่า ข้อ ๑๔ กรณีข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการปรับอัตราเงินเดือนตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๑๑ แล้วแต่กรณี และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ - ๑ มกราคม ๒๕๕๗ หากต้องมีการแก้ไขคำสั่งการให้ได้รับเงินเดือนให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับเงินเดือนในอันดับของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้สูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน ในกรณีที่ไม่มีอัตราเงินเดือนที่เท่ากันให้ได้รับในอัตราขั้นใกล้เคียงที่สูงกว่า ข้อ ๑๕ กรณีอัตราเงินเดือนของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับอยู่ไม่ถึงอัตราขั้นต่ำของการได้รับการปรับเงินเพิ่มตามคุณวุฒิตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๑๑ ให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นได้รับการปรับในอัตราเดียวกับผู้ที่มีอัตราเงินเดือนอยู่ในระดับขั้นต่ำสุดของการได้รับการปรับเงินเพิ่มตามคุณวุฒิ ตามที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๖ หากมีกรณีการปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามข้อ ๓ ถึง ข้อ ๑๑ แล้ว ทำให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใด ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิมให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอัตราเท่าเดิม ข้อ ๑๗ หากมีกรณีการปรับอัตราเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามข้อ ๓ ถึงข้อ ๑๑ แล้ว ทำให้ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญผู้ใด มีอัตราเงินเดือนเต็มขั้นในระดับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี ทำให้ไม่สามารถปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มได้อีก ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นได้รับอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของระดับตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ข้อ ๑๘ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งโอนมาจากข้าราชการตามกฎหมายอื่น ซึ่งเคยได้รับการปรับเงินเพิ่มตามคุณวุฒิตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓๑ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ หนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๓ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘.๑/ว ๒๐ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ ครบถ้วนแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับการปรับเงินเดือนตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใดสายงานใด ระดับใด ในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับที่ได้รับแต่งตั้งตามบัญชีท้ายของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๘/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๒๐ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (อ.ศร.) มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติและการบังคับใช้ระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ นุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๑ ก/หน้า ๓๘/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
588713
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. 2535 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] โดยที่รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความสามารถสูงเข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะต้องพิจารณาจัดสรรทุนของรัฐบาลเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนในสาขาวิชาต่างๆ หรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุนที่จะสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือนตามโครงการหรือแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรรหาผู้มีความรู้ความสามารถมารับทุนของรัฐบาล ตลอดจนดูแลจัดการการศึกษาของผู้รับทุนของรัฐบาล และจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ[๒] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓[๓] ในระเบียบนี้ “ทุนของรัฐบาล” หมายความว่า ทุนที่ได้มาจากเงินงบประมาณแผ่นดินและทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นทุนของรัฐบาลซึ่งจัดสรรเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ทั้งนี้ โดยมุ่งสนองความต้องการกำลังคนของส่วนราชการ “ทุนกลาง” หมายความว่า ทุนของรัฐบาลที่ยังไม่ได้จัดสรรผู้รับทุนให้แก่ส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งโดยเฉพาะ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ข้อ ๔ ให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนและกระบวนการจัดสรรทุนของรัฐบาลประจำปีต่อ ก.พ. โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความต้องการกำลังคนของทางราชการและของส่วนราชการ ตลอดจนสภาพการณ์โดยทั่วไปเกี่ยวกับกำลังคน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ ข้อ ๕[๔] ให้สำนักงาน ก.พ. ขอตั้งงบประมาณประจำปีรวมทั้งจัดหาทุนจากแหล่งทุนอื่นนำมาจัดสรรเป็นทุนเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนของรัฐบาลในสาขาวิชาต่างๆ ที่จะศึกษาหรือฝึกอบรมในประเทศหรือต่างประเทศหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ทั้งนี้ โดยมุ่งสนองความต้องการกำลังคนของส่วนราชการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๖ ให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรทุนของรัฐบาลเป็นทุนกลาง และทุนตามความต้องการของส่วนราชการต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๗[๕] การจัดสรรทุนของรัฐบาลเพื่อส่งผู้รับทุนไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ให้คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ในสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ไม่มีการเรียนการสอนในประเทศ หรือมีแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของทางราชการ หรือระดับความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการยังไม่สูงพอหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความเข้าใจในภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และให้มีผู้ศึกษาในหลายประเทศเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางวิชาการและนำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของแต่ละประเทศมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ข้อ ๘ ให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่จัดไว้เป็นทุนกลางให้แก่ส่วนราชการต่างๆ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน จำนวนกำลังคนในสาขาวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีอยู่แล้วในส่วนราชการนั้น การใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน รวมทั้งความสมัครใจของผู้รับทุนด้วย ทั้งนี้ ให้จัดสรรโดยสอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนดแล้วรายงานให้ ก.พ. ทราบ ข้อ ๙[๖] ให้สำนักงาน ก.พ. เลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมเพื่อรับทุนของรัฐบาลด้วยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการอื่นใดที่ ก.พ. เห็นว่าเหมาะสมเพื่อให้ได้ผู้รับทุนของรัฐบาลตามจำนวนทุนที่จัดสรรไว้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความเสมอภาค ในโอกาส ความเป็นธรรม ความเร่งด่วน ความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้รับทุนที่จะสามารถปฏิบัติงานของทางราชการตามแผนงานหรือโครงการที่กำหนดไว้ได้ ตลอดจนพันธะต่างๆ ที่มีอยู่ ข้อ ๑๐ ให้สำนักงาน ก.พ. เสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ ตลอดจนทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสรรทุนของรัฐบาล การเลือกสรรผู้รับทุนของรัฐบาล การดูแลจัดการการศึกษาของผู้รับทุนของรัฐบาล การพัฒนาและธำรงรักษาผู้รับทุนของรัฐบาลไว้ใช้ในราชการ และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ต่อ ก.พ. เพื่ออนุมัติให้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ และให้ถือว่าระเบียบและวิธีปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. หรือสำนักงาน ก.พ. ได้วางไว้ก่อนวันใช้บังคับระเบียบนี้ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ เว้นแต่ ก.พ. จะพิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๑[๗] ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะประสานเพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกับผู้รับทุนของรัฐบาลสามารถติดต่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้การศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการรับราชการหรือการปฏิบัติงานของทางราชการของผู้รับทุนของรัฐบาลเป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการในการใช้กำลังคนของส่วนราชการอย่างดีที่สุด ภายใต้กฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๒ ให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรทุนของรัฐบาลติดตามการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนของรัฐบาลที่รับราชการอยู่ในส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนของรัฐบาลตามโครงการหรือแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเต็มที่ ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เกษม สุวรรณกุล รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๘] สัญชัย/ผู้จัดทำ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๕ [๒] คำปรารภ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๖] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๗] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๔/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
654000
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2508 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า แต่เดิมมาเคยมีทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ให้แก่นักเรียนที่เรียนสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์ เมื่อนักเรียนทุนเหล่านี้เรียนสำเร็จแล้วก็ได้กลับมารับราชการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาการให้ทุนเล่าเรียนหลวงได้ยุติลง สมควรที่จะได้จัดเรื่องนี้ขึ้นอีก คณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติสนองตามพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยให้ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบแข่งขันกันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงตามระเบียบที่ ก.พ. จะได้กำหนดต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ก.พ. จึงวางระเบียบทุนเล่าเรียนหลวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘” ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทุนเล่าเรียนหลวง ข้อ ๓[๒] กำหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่จบตามหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๑๘ ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ระดับคะแนนเฉลี่ยดีเยี่ยม จำนวนปีละ ๙ ทุน แบ่งออกเป็น ๓ หน่วย ดังนี้ (๑) หน่วยวิชาคณิตสาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน ๓ ทุน (๒) หน่วยวิชาภาษาและ สังคมศึกษา จำนวน ๓ ทุน (๓) หน่วยวิชาชีพและวิชา ศิลปะ จำนวน ๓ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใด ผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐานหรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔[๓] ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีกำหนดไม่เกิน ๕ ปี โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมารับราชการ ข้อ ๕[๔] ถ้าครบ ๕ ปี ตามที่ได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวงทบวงกรมใด หรือองค์การรัฐบาลใดก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงแห่งทุนนั้น ๆ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ข้อ ๖[๕] ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไป ตามมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ยกเว้น (๒) ข้อ ๗[๖] ผู้สมัครสอบต้องมีอายุนับถึงวันหมดเขตรับสมัครไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๘[๗] ผู้สมัครสอบจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ ก.พ. ข้อ ๙[๘] ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้จบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีการศึกษาก่อนปีที่มีการจัดสอบเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นไป เพียงรุ่นเดียว โดยต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยของวิชาบังคับไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ และได้ระดับคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐ ข้อ ๑๐[๙] ผู้สมัครสอบจะต้องไม่ตกในวิชาหนึ่งวิชาใดตลอดหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อ ๑๑ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี โดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ต้นสังกัดแสดงด้วย สิทธิในการสอบรับทุน ข้อ ๑๒[๑๐] ผู้สมัครสอบมีสิทธิในการสมัครสอบรับทุนได้เพียงหน่วยเดียว วิชาที่กำหนดให้เรียน ข้อ ๑๓[๑๑] ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ในประเทศไหน ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาความประสงค์ คุณวุฒิและคุณลักษณะของผู้ได้รับทุน ทั้งนี้ ผู้ได้รับทุนจะเลือกเรียนในประเทศไทยก็ได้ การสอบ ข้อ ๑๔ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป การควบคุมดูแล ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและระเบียบการของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐[๑๒] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑[๑๓] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔[๑๔] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๔[๑๕] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๖[๑๖] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๐[๑๗] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๙๓/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ [๒] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๐ [๓] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๔] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๕] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๐ [๖] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๖ [๗] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑ [๘] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๐ [๙] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๐ [๑๐] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๒๐ [๑๑] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๐๒/๑๘ เมษายน ๒๕๑๐ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๓๑/หน้า ๑๔๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๑๔ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๖๖๑/๒๘ กันยายน ๒๕๑๔ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๔๓/หน้า ๑๓๓/๒๔ เมษายน ๒๕๑๖ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๔๒/หน้า ๓๙๒/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๒๐
699743
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. 2556
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) ประกอบกับมาตรา ๑๐๔ มาตรา ๘ (๗) มาตรา ๑๐๓ และมาตรา ๑๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานการดำเนินการทางวินัย และการสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การรายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือรายงาน ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๓ หรือ มาตรา ๑๑๐ แล้วแต่กรณี ให้รายงานเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่ง โดยให้ส่งสำเนาคำสั่งจำนวนสองฉบับ พร้อมทั้งต้นฉบับสำนวนการสืบสวนสอบสวนการดำเนินการทางวินัยหรือสำนวนการพิจารณาดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการไปด้วย ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รายงาน อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. ให้แจ้งผลการดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ทราบด้วย ข้อ ๔ การรายงาน ก.พ. ตามมาตรา ๑๐๔ ให้ผู้แทน ก.พ. ซึ่งเป็นกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง รายงานเป็นหนังสือ สรุปข้อเท็จจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่เห็นว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือการปฏิบัติที่เห็นว่าไม่เหมาะสม พร้อมทั้งความเห็นของตนพร้อมด้วยเหตุผล เสนอต่อเลขาธิการ ก.พ. ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้มีการพิจารณากรณีดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ต่อไป และให้ อ.ก.พ. กระทรวงรายงานเป็นหนังสือแจ้งมติ อ.ก.พ. กระทรวง พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ ก.พ. โดยเร็ว ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการกำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผล รวมทั้งรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวกับวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอนและได้มีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๕๗ ส่งสำเนาคำสั่ง พร้อมทั้งบันทึกสรุปประวัติและข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญ ตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ให้ ก.พ. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตามมติ อ.ก.พ. กระทรวง หรือมติ ก.พ. ข้อ ๖ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖ อังศุมาลี/ผู้ตรวจ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๒ ง/หน้า ๔/๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
747660
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. 2559
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งของข้าราชการ ในสำนักงาน ป.ป.ท. ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ มาตรา ๔ วรรคสอง และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๔๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๗ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการคัดเลือกบุคคลเพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “รองเลขาธิการ” หมายความว่า รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ “เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.” หมายความว่า ผู้ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากข้าราชการในสำนักงานให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ “พนักงาน ป.ป.ท.” หมายความว่า เลขาธิการ รองเลขาธิการ และผู้ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากข้าราชการในสำนักงานที่ปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ำกว่าหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ “เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ข้อ ๕ ให้พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ได้รับเงินเพิ่มเป็นรายเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (๒) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง (๓) ผ่านการประเมินคุณลักษณะบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด (๔) พ้นการทดลองหน้าที่ราชการ ข้อ ๗ ให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือตำแหน่งประเภทวิชาการสายงานนิติการ และสายงานสืบสวนสอบสวน มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ฯ ในอัตราดังนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ - ระดับต้น/ระดับสูง เดือนละ ๑๔,๔๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานนิติการ และสายงานสืบสวนสอบสวน - ระดับทรงคุณวุฒิ เดือนละ ๑๖,๐๐๐ บาท - ระดับเชี่ยวชาญ เดือนละ ๑๔,๔๐๐ บาท - ระดับชำนาญการพิเศษ เดือนละ ๑๒,๘๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๑๑,๒๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ เดือนละ ๙,๖๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๘,๐๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาเอกพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาโท ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี หรือวุฒิปริญญาตรีซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๖,๔๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาโทพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาตรีพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ) ข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งดำรงตำแหน่งสายงานอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ ๗ มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ฯ ในอัตรา ดังนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการ - ระดับทรงคุณวุฒิ เดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท - ระดับเชี่ยวชาญ เดือนละ ๑๐,๘๐๐ บาท - ระดับชำนาญการพิเศษ เดือนละ ๙,๖๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๘,๔๐๐ บาท - ระดับชำนาญการ เดือนละ ๗,๒๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๖,๐๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาเอกพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาโท ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี หรือคุณวุฒิปริญญาตรีซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาโทพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ หรือคุณวุฒิปริญญาตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี) - ระดับปฏิบัติการ เดือนละ ๓,๖๐๐ บาท (คุณวุฒิปริญญาตรีพ้นการทดลองหน้าที่ราชการ) (๒) ตำแหน่งประเภททั่วไป - ระดับอาวุโส (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๙,๖๐๐ บาท - ระดับอาวุโส เดือนละ ๘,๔๐๐ บาท - ระดับชำนาญงาน (ดำรงตำแหน่งครบ ๓ ปี) เดือนละ ๗,๒๐๐ บาท - ระดับชำนาญงาน เดือนละ ๖,๐๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติงาน (ดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี) เดือนละ ๔,๘๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติงาน (ดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี) เดือนละ ๓,๖๐๐ บาท - ระดับปฏิบัติงาน (พ้นการทดลองหน้าที่ราชการ) เดือนละ ๒,๔๐๐ บาท ข้อ ๙ ตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. มีชื่อและระดับช่วงชั้นดังนี้ (๑) พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ (๒) พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ (๓) พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ข้อ ๑๐ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการไต่สวน และวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามบัญชีมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ประกอบด้วยสายงานดังนี้ (ก) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานสืบสวนสอบสวน และสายงานนิติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานอื่น ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการขึ้นไปและเคยได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และมีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง และเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พนักงาน ป.ป.ท. ได้ (๒) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง (๓) เป็นผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ ก่อนแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด ข้อ ๑๑ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการไต่สวน และวินิจฉัยคดีหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามบัญชีมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ประกอบด้วย สายงานดังนี้ (ก) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานสืบสวนสอบสวน และสายงานนิติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานอื่น ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไปและเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ และมีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดีหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากผู้บังคับบัญชาที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง และเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ ได้ (๒) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง (๓) เป็นผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ ก่อนแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด ข้อ ๑๒ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ รองเลขาธิการ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูงเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ โดยตำแหน่ง (๒) เป็นข้าราชการในสำนักงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการไต่สวน และวินิจฉัยคดีหรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามบัญชีมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง ประกอบด้วย สายงานดังนี้ (ก) ตำแหน่งประเภทวิชาการ สายงานสืบสวนสอบสวน และสายงานนิติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ (ข) ตำแหน่งประเภทวิชาการในสายงานอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ และมีประสบการณ์ในการไต่สวนและวินิจฉัยคดี หรือการให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรฐานการกำหนดตำแหน่ง โดยได้รับการรับรองจากเลขาธิการและเป็นผู้มีสิทธิเข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ได้ (๓) ผ่านการพัฒนาศักยภาพบุคคลในการปฏิบัติงาน โดยการอบรมหลักสูตรวิชาชีพ พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ หรือหลักสูตรอื่นที่เทียบเท่าและมีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดหรือรับรอง เว้นแต่ ผู้ซึ่งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ โดยตำแหน่งตาม (๑) (๔) เป็นผู้ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ ก่อนแต่งตั้ง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด เว้นแต่ ผู้ซึ่งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ โดยตำแหน่งตาม (๑) ข้อ ๑๓ ให้พนักงาน ป.ป.ท. มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในอัตราดังนี้ - พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๓ เดือนละ ๓๒,๐๐๐ บาท - พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๒ เดือนละ ๒๘,๐๐๐ บาท - พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๔ การจ่ายเงินเพิ่มแก่พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ตามระเบียบนี้ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติแต่งตั้งและได้เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อนวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มและไม่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ กรณีที่มีการเลื่อนชั้นหรือระดับของตำแหน่ง ให้จ่ายเงินเพิ่มในชั้นหรือระดับตำแหน่งที่เลื่อนตั้งแต่วันที่คำสั่งเลื่อนชั้นหรือระดับของตำแหน่งมีผลบังคับ ทั้งนี้ ตามที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้ง กรณีเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ก่อนการแต่งตั้งเป็น พนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่ ๑ หรือกรณีพนักงาน ป.ป.ท. ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ก่อนการแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ชั้นที่สูงขึ้น ให้ได้รับเงินเพิ่มในตำแหน่งหรือชั้นเดิมจนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือชั้นใหม่ ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและการเลื่อนชั้นหรือระดับตำแหน่งของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด ข้อ ๑๖ กรณีที่พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ในเดือนใดไม่เต็มเดือน ให้จ่ายเงินเพิ่มตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งถ้าเดือนใดไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในเดือนนั้น เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่น ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้ และไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินเพิ่มในระหว่างวันที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักดังกล่าว (๒) กรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และอยู่ระหว่างได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อรักษาตัว ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้ ในช่วงเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อรักษาตัวดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เกิน ๑๘๐ วัน (๓) กรณีถูกสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้งดจ่ายเงินเพิ่มนับแต่วันที่ถูกสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน หากต่อมาได้รับอนุญาตให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ หรือกลับเข้ารับราชการ ให้จ่ายเงินเพิ่มตามส่วนเช่นเดียวกับการได้รับเงินเดือนในช่วงเวลาดังกล่าว (๔) การได้รับเงินเพิ่มระหว่างลา (ก) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาป่วย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาในปีงบประมาณหนึ่ง ไม่เกิน ๖๐ วันทำการ (ข) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาไม่เกิน ๙๐ วัน (ค) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย (ง) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ (จ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลา ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ช) ผู้ลาไปรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นั้นไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายใน ๗ วัน ให้ได้รับเงินเพิ่มในช่วงระยะเวลาดังกล่าวด้วย (ซ) ผู้ได้รับอนุญาตลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ฌ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ถือเป็นวันลาของข้าราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างเวลาดังกล่าวได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ญ) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย ข้อ ๑๗ ให้มีคณะอนุกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งกำหนด การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้ประเมินอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ผู้ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานให้งดจ่ายเงินเพิ่มในเดือนถัดไป จนกว่าผู้นั้นจะผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๘ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้คณะกรรมการมอบหมายเลขาธิการเป็นผู้พิจารณาสั่งงดจ่ายเงินเพิ่ม ตามควรแก่กรณี เป็นเวลาไม่เกินสามเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง การงดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเลขาธิการ ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ท. เป็นผู้มีอำนาจสั่งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ข้อ ๑๙ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ให้งดจ่ายเงินเพิ่มเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ลงโทษ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนให้งดจ่ายเงินเพิ่มเป็นเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่ถูกสั่งลงโทษ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ผู้ใดถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้ที่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในระหว่างที่ถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือในระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ข้อ ๒๐ การจ่ายเงินเพิ่มกรณีพ้นจากการเป็นพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้จ่ายได้ ถึงวันก่อนวันที่มีคำสั่งให้บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. กรณีพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินเพิ่มได้ถึงวันที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ข้อ ๒๑ การจ่ายเงินเพิ่ม ให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน และห้ามไม่ให้นำเงินเพิ่มไปรวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ กรณีที่พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหลายตำแหน่ง ให้เลือกรับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษได้เพียงตำแหน่งเดียว ข้อ ๒๒ พนักงาน ป.ป.ท. ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ และปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องจนถึงวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ แต่ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ในชั้นที่ตนดำรงอยู่ ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามข้อ ๗ ของระเบียบนี้โดยอนุโลม จนกว่าจะมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. ในชั้นซึ่งตนดำรงอยู่ตามระเบียบนี้ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ และปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องจนถึงวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ในตำแหน่งและระดับซึ่งตนดำรงอยู่ตามระเบียบนี้ โดยให้ถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามข้อ ๖ ของระเบียบนี้แล้ว ข้อ ๒๓ ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ท. รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ กิตติ ลิ้มชัยกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ปริยานุช/จัดทำ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑/๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙
726992
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการของสำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2558
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ (๖) และมาตรา ๔๔ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๖ และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๖.๕/๖๐๙๔ ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบนี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเงินเพิ่มเป็นรายเดือนจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่ม มีดังนี้ (๑) พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับทรงคุณวุฒิ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และระดับสูง (๒) พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งดำรงตำแหน่ง นิติกร นักสืบสวนสอบสวน และผู้อำนวยการกองใน (ก) กองกฎหมาย (ข) กองกำกับและตรวจสอบ (ค) กองข่าวกรองทางการเงิน (ง) กองคดี ๑ - ๓ (จ) กองความร่วมมือระหว่างประเทศ (ฉ) กองบริหารจัดการทรัพย์สิน (ช) กองอื่นตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด (๓) พนักงานเจ้าหน้าที่นอกจาก (๒) ที่เลขาธิการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงิน ข้อ ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๕ (๒) ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการพลเรือนในสำนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ หรือตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น และมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามที่ อ.ก.พ. สำนักงาน ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกาศกำหนด และ (๒) ได้รับปริญญาตรีทางกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง หรือสาขาใดสาขาหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และ (๓) สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือ (๔) ได้รับปริญญาโทขึ้นไปทางกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง หรือสาขาใดสาขาหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามที่ อ.ก.พ. สำนักงาน ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกาศกำหนด (๕) พ้นทดลองราชการ ข้อ ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๕ (๓) ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ ดังนี้ (๑) เป็นข้าราชการพลเรือนในสำนักงานซึ่งดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป หรือตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น และมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามที่ อ.ก.พ. สำนักงาน ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกาศกำหนด และ (๒) ได้รับปริญญาตรีทางกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง หรือสาขาใดสาขาหนึ่งที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามที่ อ.ก.พ. สำนักงาน ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงประกาศกำหนด (๓) พ้นทดลองราชการ ข้อ ๘ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๕ (๑) และ (๒) ได้รับเงินเพิ่มในอัตรา ดังนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง เดือนละ ๒๓,๐๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น เดือนละ ๑๙,๑๐๐ บาท (๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น เดือนละ ๑๕,๙๐๐ บาท (๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ เดือนละ ๑๓,๒๐๐ บาท (๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งมาครบ ๔ ปี เดือนละ ๑๑,๐๐๐ บาท (๖) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งมาครบ ๒ ปี เดือนละ ๘,๘๐๐ บาท (๗) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งพ้นจากการทดลองราชการ เดือนละ ๗,๐๐๐ บาท ข้อ ๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๕ (๓) และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๕ (๒) ซึ่งไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อ ๖ ได้รับเงินเพิ่มในอัตรา ดังนี้ (๑) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น เดือนละ ๘,๐๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ เดือนละ ๖,๖๐๐ บาท (๓) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน และตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งมาครบ ๔ ปี เดือนละ ๕,๕๐๐ บาท (๔) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งดำรงตำแหน่งมาครบ ๒ ปี เดือนละ ๔,๔๐๐ บาท (๕) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ซึ่งพ้นจากการทดลองราชการ เดือนละ ๓,๕๐๐ บาท ข้อ ๑๐ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ได้รับเงินเพิ่มในเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว ถ้าเดือนใดไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในเดือนนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ลา ดังนี้ (๑) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาป่วย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ (๒) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน (๓) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ (๔) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (๕) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน (๖) ผู้ลาไปรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วผู้นั้นไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายในเจ็ดวัน ให้ได้รับเงินเพิ่มในช่วงระยะเวลาดังกล่าวด้วย (๗) ผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน (๘) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างเวลาดังกล่าวได้ไม่เกินหกสิบวัน (๙) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย (๑๐) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกเดือนหากเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอันแสดงถึงการหย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ให้ระงับการจ่ายเงินเพิ่มของผู้นั้นตั้งแต่เดือนถัดไปและจนกว่าจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการรายงาน การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน และเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบของสำนักงานโดยความเห็นชอบของ อ.ก.พ. สำนักงาน ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวง ข้อ ๑๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษประเภทอื่นอยู่ด้วย ให้ได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้หรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษประเภทอื่นที่มีอัตราสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว ข้อ ๑๓ เงินเพิ่มให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน และห้ามมิให้นำเงินเพิ่มไปรวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ วิษณุ เครืองาม ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นุสรา/ผู้ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑๗/๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
678252
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ สำหรับผู้ที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เนื่องจากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ วรรคสอง และมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการ ป.ป.ท. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “พนักงาน ป.ป.ท.” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และผู้ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือประเภทวิชาการ ตำแหน่งนักสืบสวนสอบสวนระดับไม่ต่ำกว่าหัวหน้างานหรือเทียบเท่า ให้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต “เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.” หมายความว่า ผู้ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่งตั้งจากข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือประเภทวิชาการ ตำแหน่งนักสืบสวนสอบสวน ให้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ข้อ ๔ ให้พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษเป็นรายเดือน จากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๕ ให้พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามบัญชีอัตราค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. แนบท้ายระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในอัตราร้อยละ ๘๐ การได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามวรรคหนึ่ง สำหรับเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐให้ได้รับในตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามลำดับ ข้อ ๖ การจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้แก่พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ท. และต้องปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง กรณีบรรจุใหม่ ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่พ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กรณีที่มีการเลื่อนระดับของตำแหน่ง ให้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ข้อ ๗ กรณีที่พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ไม่ได้มาปฏิบัติราชการในเดือนใดให้งดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษในเดือนนั้น สำหรับกรณีที่ปฏิบัติราชการในเดือนใดไม่เต็มเดือนให้จ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามสัดส่วนจำนวนวันที่ได้มาปฏิบัติราชการ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบนี้และไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษในระหว่างวันที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักดังกล่าว (๒) กรณีเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และอยู่ระหว่างได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อรักษาตัว ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เกิน ๑๘๐ วัน (๓) การจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษระหว่างลา ให้จ่ายได้ ดังนี้ (ก) กรณีลาป่วย ให้จ่ายได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันทำการ (ข) กรณีลาคลอดบุตร ให้จ่ายได้ครั้งละไม่เกิน ๙๐ วัน (ค) กรณีลากิจส่วนตัว ให้จ่ายได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ เว้นแต่ในปีที่เริ่มรับราชการให้จ่ายได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ (ง) กรณีลาพักผ่อนประจำปี ให้จ่ายได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (จ) กรณีลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่เป็นการลาภายในระยะเวลา ๑๒ เดือนแรกที่เข้ารับราชการ และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ให้จ่ายได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ฉ) กรณีลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้จ่ายได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (ช) กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้จ่ายได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (๔) กรณีถูกสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้งดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบนี้ หากต่อมาได้รับอนุญาตให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ หรือกลับเข้ารับราชการให้จ่ายตามสัดส่วนเดียวกันกับเงินเดือนที่ได้รับในช่วงเวลาดังกล่าว ข้อ ๘ การจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ กรณีพ้นจากการเป็นพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ให้จ่ายได้ถึงวันก่อนวันที่มีคำสั่งให้บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นพนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. กรณีถึงแก่ความตายให้จ่ายได้ถึงวันที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ข้อ ๙ เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบนี้ ให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน แต่ไม่นำไปรวมคำนวณบำเหน็จบำนาญ ข้อ ๑๐ กรณีมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหลายตำแหน่ง ให้เลือกรับเงินเฉพาะตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษเพียงตำแหน่งเดียว ข้อ ๑๑ พนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. ที่ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตามระเบียบนี้ แต่ไม่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความหรือวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ โสภณ จันเทรมะ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๑๔ ก/หน้า ๓๒/๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
674403
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. 2555
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ “ตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ” หมายความว่า ตำแหน่งที่ อ.ก.พ. กระทรวงกำหนดให้เป็นตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๔๗ “พ.ข.ต.” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ “บุตร” หมายความว่า บุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่หมายความรวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตร ซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว ข้อ ๔ ข้าราชการที่จะได้รับ พ.ข.ต. ตามระเบียบนี้จะต้องได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ และได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรของข้าราชการตามวรรคหนึ่งได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นการประจำกับข้าราชการในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นประจำการ ก็ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับ พ.ข.ต. สำหรับกรณีดังกล่าวตามระเบียบนี้ด้วย ข้อ ๕ ข้าราชการอาจได้รับ พ.ข.ต. ตามระเบียบนี้ ดังต่อไปนี้ (๑) พ.ข.ต. สำหรับตนเองในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศโดยให้ได้รับตามอัตราที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๒) พ.ข.ต. สำหรับคู่สมรส โดยให้ได้รับในอัตราร้อยละสามสิบของอัตรา พ.ข.ต. ตาม (๑) (๓) พ.ข.ต. สำหรับบุตร โดยให้ได้รับสำหรับบุตรจำนวนไม่เกินสามคน ในอัตราคนละร้อยละห้าของอัตรา พ.ข.ต.ตาม (๑) ข้อ ๖ ให้ข้าราชการได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อ ๕ (๑) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ให้ได้รับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นเข้ารับหน้าที่จนถึงวันที่พ้นจากหน้าที่ ในกรณีที่ต้องส่งมอบงานในหน้าที่ ให้ได้รับจนถึงวันที่ส่งมอบงานเสร็จ แต่ไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นจากหน้าที่ในกรณีที่จำเป็นต้องส่งมอบงานเกินกว่าสิบห้าวัน ให้ได้รับสำหรับวันที่เกินนั้นเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสามสิบวัน (๒) ในกรณีที่ได้รับคำ สั่งให้เดินทางไปรักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทนต่างสำนักงานในต่างประเทศซึ่งมิใช่ประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ไปประจำการ ในระหว่างเวลาที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว ให้ได้รับ พ.ข.ต. ในอัตราของประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นไปปฏิบัติราชการโดยให้ได้รับในอัตราตามระดับตำแหน่งของข้าราชการผู้นั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางมาช่วยราชการ รักษาการในตำแหน่ง หรือรักษาราชการแทน ในประเทศไทย ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. นับแต่วันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย (๓) ในกรณีที่ประเทศไทยตัดสัมพันธ์ทางการทูตหรือลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศที่ประจำการ ถ้าผู้นั้นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่นในระหว่างเวลาดังกล่าวให้ได้รับ พ.ข.ต. ในอัตราของประเทศที่ผู้นั้นไปปฏิบัติราชการโดยให้ได้รับในอัตราตามระดับตำแหน่งของข้าราชการผู้นั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้วแต่ยังไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นให้คงได้รับ พ.ข.ต. ตามที่ได้รับอยู่เดิมต่อไปอีกได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย (๔) ในกรณีที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับอนุญาตให้ฝึกอบรมภายในประเทศที่ประจำการ ให้คงได้รับ พ.ข.ต. ตามที่ได้รับอยู่ แต่ถ้ากรณีที่ได้รับคำสั่งหรือได้รับอนุญาตให้ฝึกอบรมนอกประเทศที่ประจำการให้ได้รับ พ.ข.ต. สำหรับระยะเวลาดังกล่าวไม่เกินปีงบประมาณละสามสิบวันทำการนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นเดินทางออกจากประเทศที่ประจำการ (๕) ในกรณีที่ผู้นั้นลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว หรือลาพักผ่อน โดยได้รับเงินเดือนระหว่างการลาและอยู่ภายในประเทศที่ประจำการ ให้คงได้รับ พ.ข.ต. ตามที่ได้รับอยู่ แต่ถ้ากรณีผู้นั้นลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว หรือลาพักผ่อน โดยได้รับเงินเดือนระหว่างการลาและได้เดินทางออกนอกประเทศที่ประจำการ ให้ได้รับ พ.ข.ต. สำหรับกรณีดังกล่าวไม่เกินปีงบประมาณละสามสิบวันทำการนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นเดินทางออกจากประเทศที่ประจำการ กรณีการลาอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. (๖) ในกรณีที่ผู้นั้นละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. สำหรับระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๗ ให้ข้าราชการได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อ ๕ (๒) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) คู่สมรสนั้นต้องไม่เป็นผู้ซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากทางราชการ (๒) ในกรณีที่คู่สมรสเดินทางเป็นครั้งคราวออกนอกประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นประจำการถ้าปีหนึ่งมีเวลารวมกันไม่เกินเก้าสิบวัน ให้คงได้รับ พ.ข.ต. ตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ถ้าปีหนึ่งมีเวลารวมกันเกินเก้าสิบวัน ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. สำหรับวันที่เกินเก้าสิบวันนั้น แต่ถ้าปีหนึ่งมีระยะเวลารวมกันเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. ตลอดปีนั้น ยกเว้นเป็นการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อติดตามไปอยู่ร่วมกับข้าราชการในต่างประเทศตามข้อ ๖ (๒) ให้ได้รับ พ.ข.ต. ในอัตราร้อยละสามสิบของอัตรา พ.ข.ต. ที่ข้าราชการได้รับ (๓) ในกรณีที่ข้าราชการไม่ได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อ ๖ (๖) ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อนี้ด้วยตลอดเวลาที่ข้าราชการไม่ได้รับ พ.ข.ต. ดังกล่าว ข้อ ๘ ให้ข้าราชการได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อ ๕ (๓) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อประโยชน์ในการนับจำนวนบุตร ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด และไม่ว่าบุตรนั้นจะอยู่ในอำนาจปกครองของข้าราชการหรือไม่ เว้นแต่ในกรณีที่ยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรยังไม่ถึงสามคน ต่อมามีบุตรแฝดซึ่งทำให้จำนวนบุตรเกินสามคนข้าราชการผู้นั้นจะได้รับ พ.ข.ต. สำหรับบุตรแฝดดังกล่าวทุกคน เมื่อบุตรแฝดดังกล่าวเป็นบุตรที่เกิดจากการจดทะเบียนสมรสในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นเป็นชาย หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นเป็นหญิง (๒) ในกรณีที่บุตรคนที่อยู่ในลำดับที่ได้รับ พ.ข.ต. ถึงแก่ความตายก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะและมีผลทำให้บุตรคนที่ได้รับ พ.ข.ต. อยู่ มีจำนวนไม่ถึงสามคน ให้เลื่อนบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปขึ้นมาแทน แต่ถ้าบุตรที่อยู่ในลำดับถัดไปนั้นเป็นบุตรแฝด ให้เลื่อนบุตรแฝดมาแทนได้ทีละคน (๓) บุตรนั้นต้องยังไม่เคยสมรส (๔) บุตรนั้นต้องไม่ได้ประกอบอาชีพ (๕) บุตรนั้นต้องยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในกรณีที่บรรลุนิติภาวะในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ไม่เกินระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นครั้งแรก ให้ได้รับ พ.ข.ต. ต่อไปแต่ไม่เกินอายุยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ (๖) ในกรณีที่บุตรเดินทางเป็นครั้งคราวออกนอกประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นประจำการ ถ้าปีหนึ่งมีเวลารวมกันไม่เกินเก้าสิบวัน ให้คงได้รับ พ.ข.ต. ตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ถ้าปีหนึ่งมีเวลารวมกันเกินเก้าสิบวัน ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. สำหรับวันที่เกินเก้าสิบวันนั้น แต่ถ้าปีหนึ่งมีระยะเวลารวมกันเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. ตลอดปีนั้น ยกเว้นเป็นการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อติดตามไปอยู่ร่วมกับข้าราชการในต่างประเทศตามข้อ ๖ (๒) ให้ได้รับ พ.ข.ต. สำหรับบุตรในอัตราคนละร้อยละห้าของอัตรา พ.ข.ต. ที่ข้าราชการได้รับ (๗) ในกรณีที่ข้าราชการไม่ได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อ ๖ (๖) ไม่ให้ได้รับ พ.ข.ต. ตามข้อนี้ด้วยตลอดเวลาที่ข้าราชการไม่ได้รับ พ.ข.ต. ดังกล่าว (๘) ในกรณีที่คู่สมรสเป็นข้าราชการซึ่งได้รับ พ.ข.ต. ด้วย และประจำการอยู่ในประเทศเดียวกันให้เลือกว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้รับ พ.ข.ต. สำหรับบุตร ข้อ ๙ ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับหัวหน้าคณะผู้แทน เรียกโดยย่อว่า “พ.ค.ท.” ในอัตราร้อยละสิบของอัตรา พ.ข.ต. ตามข้อ ๕ (๑) ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๖ ข้อ ๑๐ ข้าราชการซึ่งประจำการในเมืองหรือประเทศที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่ปกติ อาจได้รับเงินอีกจำนวนหนึ่งเพิ่มจาก พ.ข.ต. ที่ได้รับตามข้อ ๕ (๑) หรือ พ.ค.ท. ตามข้อ ๙ เพื่อเป็นค่าพาหนะในการเดินทางระหว่างประเทศปีละหนึ่งครั้ง โดยให้ได้รับเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป - กลับระหว่างประเทศที่ประจำการกับประเทศไทย ในกรณีที่คู่สมรสหรือบุตรได้อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นการประจำกับข้าราชการผู้นั้นในเมืองหรือประเทศนั้นด้วย ก็อาจได้รับเงินเพิ่มนี้ด้วย หลักเกณฑ์ในการได้รับเงินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.พ. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ ๑๑ การนับปีตามระเบียบนี้ให้นับตั้งแต่วันที่ข้าราชการผู้นั้นเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๒ การเบิกจ่าย พ.ข.ต. พ.ค.ท. และเงินตามข้อ ๑๐ ตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๓ ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดมีเหตุผลเป็นพิเศษที่เห็นสมควรให้ข้าราชการได้รับ พ.ข.ต. หรือ พ.ค.ท. นอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดเสนอ ก.พ. และกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยในกรณีของ พ.ข.ต. ให้พิจารณาอนุมัติเป็นการเฉพาะราย ส่วนกรณีของ พ.ค.ท. ให้พิจารณาอนุมัติเป็นการเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ข้อ ๑๔ ข้าราชการผู้ใดมีคู่สมรสหรือบุตรอาศัยอยู่ร่วมด้วยเป็นการประจำในประเทศที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ประจำอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ การนับเวลากรณีคู่สมรสหรือบุตรไม่ได้อยู่ร่วมกับข้าราชการเป็นครั้งคราว ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะครบรอบปีประจำการ ข้อ ๑๕ ข้าราชการผู้ใดได้รับ พ.ข.ต. สำหรับบุตรซึ่งไม่เป็นไปตามคำนิยามคำว่า “บุตร” หรือตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ (๓) ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับให้ข้าราชการผู้นั้นคงได้รับ พ.ข.ต. สำหรับบุตรนั้นตามที่ได้รับอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งให้พ้นจากหน้าที่หรือส่งมอบงานในหน้าที่ตามข้อ ๖ (๑) ข้อ ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ หรือวิธีการใดเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้นำระเบียบ อัตรา หลักเกณฑ์ หรือวิธีการเกี่ยวกับการได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ จนกว่าจะได้มีการกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ หรือวิธีการตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๕๕
623984
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2553
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีเจตนารมณ์ที่จะให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และคำนึงถึงระบบคุณธรรม โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้กรม ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการ ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และจังหวัดจัดทำรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในปีงบประมาณที่ผ่านมา ตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ส่งให้สำนักงาน ก.พ. ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี ในกรณีของสำนักงานรัฐมนตรีให้สำนักงานปลัดกระทรวงเป็นผู้จัดทำรายงานดังกล่าว ให้กรม และส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ส่งรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้กระทรวงต้นสังกัดด้วย และเมื่อกระทรวงได้ตรวจสอบประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมในสังกัดรวมทั้งสำนักงานรัฐมนตรีด้วยแล้ว ให้จัดทำรายงานในภาพรวมตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ส่งให้สำนักงาน ก.พ. ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ข้อ ๔ ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่จัดทำรายงานตามข้อ ๓ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) วางแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลไว้ล่วงหน้า โดยจัดทำเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จของเป้าประสงค์ แผนการดำเนินงาน ระยะเวลา งบประมาณที่ใช้ในแต่ละแผนงาน และผู้รับผิดชอบแผนงาน ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๘ (๓) (๒) จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลในแต่ละปี (๓) ประมวลผลสถิติเกี่ยวกับตำแหน่ง งบประมาณด้านบุคลากร ขนาดกำลังคน โครงสร้างกำลังคน การเคลื่อนย้ายกำลังคน การพัฒนา การรักษาวินัย จรรยา และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ ที่มีอยู่ ณ วันสิ้นปีงบประมาณ (๔) สำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการ ในประเด็นที่สอดคล้องกับมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามที่ ก.พ. กำหนด ตามมาตรา ๘ (๓) โดยสำรวจในปีงบประมาณที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ (๕) จัดทำรายงานตามข้อ ๓ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้สำนักงาน ก.พ. วิเคราะห์รายงานที่ได้รับตามข้อ ๓ และจัดทำความเห็นเสนอต่อ ก.พ. และเมื่อ ก.พ. มีมติประการใดแล้วให้แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบด้วย ข้อ ๖ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๗/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
686775
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ครอบคลุมการลาประเภทต่าง ๆ ตามระเบียบและสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘) (๙) และ (๑๐) ของข้อ ๖ แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ “(๘) กรณีการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ให้ถือเป็นวันลาของข้าราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างเวลาดังกล่าวได้ไม่เกินหกสิบวัน (๙) กรณีการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาเฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมาย (๑๐) กรณีการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน” ข้อ ๔ ข้าราชการซึ่งลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรหรือลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ตั้งแต่วันที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ใช้บังคับ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ตามที่กำหนดในข้อ ๖ (๙) หรือ (๑๐) แห่งระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๑/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
645727
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2554
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกสั่งให้ออก ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๐๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้ ให้สั่งให้ออกจากราชการได้ตั้งแต่วันที่กำหนดในคำสั่ง ซึ่งต้องไม่ก่อนวันที่ออกคำสั่ง ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรต้องสั่งให้ออกจากราชการย้อนหลังไปก่อนวันที่ออกคำสั่ง ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นได้ แต่ทั้งนี้ การสั่งดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการนั้น ข้อ ๔ การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๐ (๘) ให้สั่งให้ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันที่ต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๑ วรรคหนึ่ง ให้สั่งให้ออกจากราชการตั้งแต่วันไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ข้อ ๖ ในกรณีที่ได้มีการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการไปแล้ว ถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามมาตรานั้น ข้อ ๗ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามมาตรา ๑๐๑ ให้สั่งให้ออกจากราชการตั้งแต่วันที่กำหนดในคำสั่ง ซึ่งต้องไม่ก่อนวันที่ออกคำสั่ง เว้นแต่เป็นกรณีที่มีการสั่งพักราชการหรือเป็นกรณีที่ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก ให้สั่งให้ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ต้องพักราชการ วันที่ถูกควบคุมขังหรือต้องจำคุก แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ การสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้ ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการตั้งแต่วันที่กำหนดในคำสั่ง ซึ่งต้องไม่ก่อนวันที่ออกคำสั่ง ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรต้องสั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการย้อนหลังไปก่อนวันที่ออกคำสั่ง ก็ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นได้ แต่ทั้งนี้การสั่งดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งลงโทษนั้น ข้อ ๙ ในกรณีที่ได้มีคำสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ต้องพักราชการหรือวันที่ต้องออกจากราชการไว้ก่อน แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ในกรณีที่กระทำผิดวินัยเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันและไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีก ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่กระทำความผิดอาญาและได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษจำคุก หรือวันที่ถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันที่ต้องรับโทษจำคุก แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเป็นกรณีที่กระทำความผิดอาญาและได้รับโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดหนักกว่าโทษจำคุก ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันที่ถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ได้มีการสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการไปแล้ว ถ้าจะต้องสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษปลดออกเป็นไล่ออก หรือไล่ออกเป็นปลดออก ให้สั่งให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ออกจากราชการตามคำสั่งเดิม แต่ถ้าจะต้องสั่งเปลี่ยนแปลงวันออกจากราชการด้วย ให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามกรณีนั้น ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๙ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๐ หรือมาตรา ๑๑๑ ไปแล้ว ถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามกรณีนั้น ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ได้ออกจากราชการไปก่อนแล้วเพราะถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น หรือได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ออกจากราชการไปแล้วนั้น ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนแล้ว ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือวันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎ ก.พ. ออกตามมาตรา ๑๐๘ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๖/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
610669
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2552
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เลขาธิการ” หมายถึง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “ต.ป.ง.” หมายถึง เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ข้อ ๕ ให้เลขาธิการ ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง ได้รับ ต.ป.ง. ในอัตราเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๖ เลขาธิการ ซึ่งจะได้รับ ต.ป.ง. ตามข้อ ๕ ต้องปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ข้อ ๗ ในกรณีที่เลขาธิการปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ได้รับ ต.ป.ง. สำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว ถ้าในเดือนใดไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ไม่มีสิทธิได้รับ ต.ป.ง. สำหรับเดือนนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ลาตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ ข้อ ๘ ในกรณีที่เลขาธิการได้รับอนุญาตให้ลา การจ่ายเงิน ต.ป.ง. ระหว่างลา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเดือนระหว่างลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน ข้อ ๙ การรับ ต.ป.ง. กรณีอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาอนุมัติเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๑/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
623261
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ซึ่งจะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง ข. (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) และเป็นกรณีที่ ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ตามมาตรา ๓๖ วรรคสอง ถ้าประสงค์จะขอให้ ก.พ. พิจารณายกเว้นเพื่อเข้ารับราชการ ให้ยื่นคำขอตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้ผู้มีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือนที่ประสงค์จะเข้ารับราชการยื่นคำขอตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๕ คำขอตามข้อ ๔ ให้ยื่นดังนี้ (๑) ในกรณีที่ประสงค์จะสอบแข่งขันตามมาตรา ๕๔ หรือเข้ารับการคัดเลือกตามมาตรา ๕๕ ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการ ก.พ. (๒) ในกรณีที่ประสงค์จะเข้ารับราชการตามมาตรา ๕๖ หรือกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๖๓ วรรคสี่ หรือสมัครเข้ารับราชการตามมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง ให้ยื่นต่อหัวหน้าส่วนราชการที่จะเข้ารับราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับคำขอตาม (๒) พิจารณาคำขอดังกล่าว โดยหากไม่ประสงค์จะให้ผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้แจ้งให้ผู้นั้นและสำนักงาน ก.พ. ทราบ แต่ถ้าประสงค์จะให้ผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้ส่งคำขอ และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งเหตุผล และความจำเป็นที่จะให้ผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้เลขาธิการ ก.พ. เพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของ ก.พ. ตามระเบียบนี้ ให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการตรวจสอบเพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ประวัติการรับราชการ หรือการทำงาน การประกอบคุณงามความดี ความผิด หรือ ความเสื่อมเสีย และความประพฤติของผู้นั้นโดยให้ตรวจสอบจากผู้บังคับบัญชา หรือ หัวหน้างาน และผู้มีเกียรติซึ่งอยู่ใกล้ชิดอันควรเชื่อถือได้ ในการนี้สำนักงาน ก.พ. จะให้ส่วนราชการที่เห็นสมควรเป็นผู้ดำเนินการแล้วแจ้งให้ทราบก็ได้ ข้อ ๗ ในกรณีที่ ก.พ. มีมติไม่ยกเว้นลักษณะต้องห้ามให้ผู้ใด ผู้นั้นจะขอให้ ก.พ. พิจารณายกเว้นลักษณะต้องห้ามดังกล่าวนั้นอีกได้ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่ ก.พ. มีมติ ข้อ ๘ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
649873
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ กระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๖.๕/๘๑๐๕ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖/๑ แห่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ “ข้อ ๖/๑ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษทุกเดือน หากเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอันแสดงถึงการหย่อนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ให้ระงับการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งของผู้นั้นตั้งแต่เดือนถัดไปและจนกว่าจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ผู้มีหน้าที่ต้องรายงาน หลักเกณฑ์ วิธีการรายงาน การพิจารณาผลการปฏิบัติงาน และเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการรายงาน และการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ที่ออกตามความในระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๔” ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๓/๑ มิถุนายน ๒๕๕๔
648655
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. 2554
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงาน ที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ เพื่อให้ข้าราชการมีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด” หมายความว่า ปลัดกระทรวงในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานปลัดกระทรวง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ากรม ข้อ ๔ หน่วยงานอื่นในประเทศที่จะให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ ได้แก่ (๑) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือตามมติคณะรัฐมนตรี (๒) องค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย (๓) หน่วยงานภาคเอกชนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้รับการจัดให้มีดัชนีราคาในตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่สุดหนึ่งร้อยอันดับแรก หรือได้รับการจัดอันดับว่ามีธรรมาภิบาลในระดับดีมาก หรือดีเลิศ (๔) หน่วยงานภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภารกิจของส่วนราชการต้นสังกัด ตามที่ อ.ก.พ. กรมให้ความเห็นชอบ (๕) หน่วยงานอื่นตามที่ ก.พ. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ การไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศให้หมายความรวมถึงการไปปฏิบัติงานในประเทศกับผู้ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดเห็นว่ามีองค์ความรู้ในเชิงลึกที่เป็นประโยชน์กับภารกิจของส่วนราชการ และเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ หรือได้รับรางวัลดีเด่นระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ข้อ ๕ ให้ ก.พ. มีอำนาจกำหนดรายละเอียดเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้ และวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับตามระเบียบนี้ รวมทั้งพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งแห่งระเบียบนี้ด้วย ทั้งนี้ คำวินิจฉัยหรือผลการพิจารณาของ ก.พ. ให้เป็นที่สุด ข้อ ๖ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ข้อ ๗ หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดอาจสั่งให้ข้าราชการผู้สมัครใจไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบนี้ได้ โดยการไปปฏิบัติงานดังกล่าวต้องมีความสอดคล้องกับภารกิจ และทิศทางในการทำงานของส่วนราชการนั้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และต้องสามารถเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ข้าราชการผู้นั้นสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการในส่วนราชการต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ข้อ ๘ การสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานตามข้อ ๗ หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดต้องคำนึงถึงอัตรากำลังที่มีอยู่ โดยให้มีผู้ปฏิบัติงานเพียงพอ ไม่ให้เสียหายแก่ราชการ และจะนำเหตุดังกล่าวมาขอตั้งอัตรากำลังเพิ่มไม่ได้ ข้อ ๙ ส่วนราชการต้นสังกัดต้องกำหนดแผนพัฒนาเฉพาะบุคคลสำหรับผู้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศให้สอดคล้องกับภารกิจของส่วนราชการทั้งในปัจจุบันและในอนาคตและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะมอบหมายให้ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติเมื่อกลับจากการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นดังกล่าว โดยการมอบหมายหน้าที่นั้นจะต้องสอดคล้องกับความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่ได้รับเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามภารกิจของส่วนราชการต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเฉพาะบุคคลที่กำหนดไว้ ข้อ ๑๐ ข้าราชการที่จะไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) อายุไม่เกินสี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่หน่วยงานอื่นในประเทศ (๒) รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (๓) มีสมรรถนะสอดคล้องกับลักษณะงานที่จะไปปฏิบัติ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา (๔) เป็นผู้ที่ผู้บังคับบัญชารับรองว่ามีความสามารถสูง มีความกระตือรือร้น สามารถเรียนรู้ได้เร็วในสภาพแวดล้อมใหม่ มีความประพฤติดีและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ (๕) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัยหรือเป็นจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท (๖) ถ้าเป็นผู้ที่เคยไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศมาแล้ว จะต้องกลับมาปฏิบัติราชการแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ไปปฏิบัติงานในคราวก่อนนั้น ข้อ ๑๑ การสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ให้หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดพิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาลักษณะงานของหน่วยงานอื่นในประเทศที่จะให้ข้าราชการไปปฏิบัติ ซึ่งจะต้องเป็นงานที่ข้าราชการไปปฏิบัติแล้วจะได้รับองค์ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ตรงตามความต้องการของส่วนราชการต้นสังกัด ตลอดจนเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับมอบหมายในปัจจุบันหรือที่จะได้รับมอบหมายในอนาคต (๒) พิจารณาลักษณะของหน่วยงานอื่นในประเทศที่จะให้ข้าราชการไปปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องเป็นหน่วยงานที่มีองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภารกิจของส่วนราชการต้นสังกัด (๓) พิจารณากำหนดระยะเวลาที่จะสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศซึ่งจะต้องไม่เกินหนึ่งปี ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเพื่อที่จะให้ได้ประสบการณ์มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดอาจพิจารณาขยายเวลาให้ปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นนั้นต่อไปได้อีกไม่เกินหนึ่งปี ข้อ ๑๒ ก่อนสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดจัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นนั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ (๑) วัตถุประสงค์ แผนงาน โครงการที่จะให้ข้าราชการไปปฏิบัติงาน ขอบเขตของงาน ระยะเวลา และแผนการปฏิบัติงาน (๒) การประเมินผลการปฏิบัติงานซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนดตามมาตรา ๗๖ หรือตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดและหน่วยงานอื่นนั้นจะได้ตกลงกัน โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ประเมิน และหน่วยงานอื่นที่รับข้าราชการไปปฏิบัติงานเป็นผู้ให้ข้อมูลและความเห็นประกอบการประเมิน (๓) ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นที่ข้าราชการจะพึงได้รับจากส่วนราชการต้นสังกัดและจากหน่วยงานอื่นในประเทศที่ไปปฏิบัติงาน ซึ่งต้องไม่มีผลให้ได้รับซ้ำซ้อนกัน หมวด ๒ การกำกับดูแล ข้อ ๑๓ ข้าราชการผู้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามข้อ ๔ (๒) (๓) (๔) (๕) และวรรคสองเกินกว่าหกเดือน ต้องทำสัญญาตามแบบที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๔ ในระหว่างที่ข้าราชการปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ การใดที่ข้าราชการจะต้องขออนุมัติ ขออนุญาต หรือขอความเห็นชอบตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด ข้าราชการดังกล่าวยังคงต้องถือปฏิบัติเช่นเดิม แต่ถ้าเป็นวันเวลาทำงาน วันหยุดตามประเพณี วันหยุดประจำปี และการลาหยุดในขณะที่ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานอื่นนั้น ข้อ ๑๕ ข้าราชการผู้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศต้องปฏิบัติตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างส่วนราชการต้นสังกัดกับหน่วยงานอื่นที่ข้าราชการไปปฏิบัติงาน และต้องปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานอื่นที่ไปปฏิบัติงานด้วย ข้อ ๑๖ ข้าราชการผู้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๕ ผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างดังนี้ (๑) ตักเตือน หรือดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี (๒) สั่งให้ยุติการปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นนั้นและให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ข้อ ๑๗ การไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบนี้ให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และผลการปฏิบัติงานดังกล่าวให้ถือเป็นผลการปฏิบัติราชการตามมาตรา ๗๖ ในระหว่างการปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ หากหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดเห็นว่าการให้ข้าราชการผู้ใดปฏิบัติงานนั้นต่อไปจะไม่เกิดประโยชน์ตามความต้องการของส่วนราชการหรือผลการประเมินตามข้อ ๑๒ (๒) ปรากฏว่าข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างส่วนราชการต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดอาจสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดก็ได้ ข้อ ๑๘ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศหรือถูกสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดตามข้อ ๑๖ (๒) หรือข้อ ๑๗ ให้ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการในส่วนราชการต้นสังกัดโดยพลัน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานทั้งหมดเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัด ข้อ ๑๙ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดจัดให้ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศดำเนินการเผยแพร่องค์ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปปฏิบัติงานดังกล่าว ข้อ ๒๐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน ให้หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดแจ้งให้สำนักงาน ก.พ. ทราบ เมื่อ (๑) ได้สั่งการให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศแล้ว (๒) ได้รับรายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการดังกล่าวตามข้อ ๑๘ แล้ว หมวด ๓ สิทธิของข้าราชการผู้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ข้อ ๒๑ ข้าราชการผู้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามระเบียบนี้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นจากทางราชการตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น ตลอดจนมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและประโยชน์อื่นจากหน่วยงานอื่นที่ไปปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างส่วนราชการต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑/๒๑ เมษายน ๒๕๕๔
646824
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงจะออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๖ ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือหลักสูตรอื่นในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า และให้รวมถึงหลักสูตรของต่างประเทศที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่าหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ ให้ถือปีการศึกษาตามที่ ก.พ. กำหนด” ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๑/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔
530846
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัล พ.ศ. 2550
ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัล พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] ตามที่รัฐมีนโยบายจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการตามผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยกำหนดให้มีการจ่ายเงินรางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานราชการที่มีผลการดำเนินการได้คุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนด คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เห็นชอบให้มีการจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและสำหรับหน่วยงาน และได้ออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและสำหรับหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๗ ใช้บังคับกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานของรัฐเฉพาะที่อยู่ในสังกัดฝ่ายบริหาร และโดยเหตุที่ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและลูกจ้างประจำของสำนักงานศาลปกครองรับผิดชอบงานเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำในส่วนราชการสังกัดฝ่ายบริหาร โดยมีระบบกำหนดตำแหน่งเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง รวมทั้งสิทธิประโยชน์เหมือนข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำในส่วนราชการสังกัดฝ่ายบริหารทุกประการ นอกจากนี้สำนักงานศาลปกครองยังได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการบนพื้นฐานหลักการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางของรัฐ โดยได้มีการดำเนินการที่มีรูปแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอน ตลอดจนจัดทำข้อตกลงในการปฏิบัติงานและกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับส่วนราชการสังกัดฝ่ายบริหารตลอดมา แต่สำนักงานศาลปกครองกลับไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อจ่ายเป็นเงินรางวัลให้แก่ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและลูกจ้างประจำของสำนักงานศาลปกครอง ด้วยเหตุผลที่ว่าสำนักงานศาลปกครองมิใช่หน่วยงานในสังกัดฝ่ายบริหาร ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและลูกจ้างประจำของสำนักงานศาลปกครองได้รับความเสมอภาคในเรื่องบำเหน็จความชอบหรือเงินรางวัลเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำตามระเบียบกระทรวงการคลัง และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง (๘) (๑๒) และมาตรา ๑๐๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัล พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “เงินรางวัล” หมายความว่า ค่าตอบแทนพิเศษตามผลงานสำหรับผู้บริหารและสำหรับหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของสำนักงานศาลปกครอง ที่กระทำภารกิจตามหน้าที่ราชการอย่างหนึ่งอย่างใดสำเร็จตามที่บ่งไว้ ข้อ ๔ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ระเบียบกระทรวงการคลัง และระเบียบอื่นของทางราชการพลเรือน ในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินรางวัลสำหรับข้าราชการพลเรือนและลูกจ้างประจำมาใช้บังคับกับการจ่ายเงินรางวัลแก่ข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและลูกจ้างประจำของสำนักงานศาลปกครองโดยอนุโลม ข้อ ๕ ให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๔ ก/หน้า ๔๐/๗ มีนาคม ๒๕๕๐
586093
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2551
ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๔ ข้อ ๗ และข้อ ๘ ประกอบมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๓๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามความต้องการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มิใช่สิทธิของข้าราชการที่จะขอต่อเวลาราชการได้เอง ข้อ ๔ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่จะได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือระดับเชี่ยวชาญเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี (๒) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการที่จะเกษียณอายุราชการตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว (๓) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสุขภาพ โดยมีใบรับรองแพทย์จากสถาบันของรัฐรับรอง และรับรองไว้ไม่เกินหกเดือน (๔) มีผลงานทางวิชาการนับแต่ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาการไม่ต่ำกว่าระดับ ๙ หรือระดับเชี่ยวชาญ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีที่เกษียณอายุราชการ ตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (ก) หนังสือ ตำรา หรืองานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ เรื่อง และ (ข) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่อย่างน้อย ๕ เรื่อง หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่อย่างน้อย ๕ รายการ หรือ (ค) การยกร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับการประกาศใช้เป็นกฎหมาย จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ เรื่อง หรือ (ง) ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะเจ้าของสำนวนที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เป็นคดีสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงมากเป็นผู้จัดทำ ซึ่งผลงานการจัดทำสำนวนคดีนั้นได้รับการยอมรับจากคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ที่ได้รับการต่อเวลาราชการ ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอนุมัติให้ต่อเวลาราชการ โดยการต่อเวลาราชการให้ต่อได้คราวละไม่เกินสองปี การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์นับถึงวันสิ้นปีงบประมาณในปีนั้น ข้อ ๖ การพิจารณาต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการดังนี้ (๑) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน เพื่อพิจารณากำหนดจำนวนข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการต่อเวลาราชการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ (๒) การพิจารณาต่อเวลาราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านการพิจารณาตามข้อ ๖ (๑) ต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้น และให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอขออนุมัติต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และในการนี้จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นเกษียณอายุราชการ (๓) ข้าราชการที่ได้รับการต่อเวลาราชการต้องมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยมีหนังสือรับรองจากสถาบันทางการแพทย์ของรัฐที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า สมควรใช้พิจารณาประกอบการขอต่อเวลาราชการได้ และในระหว่างที่มีการต่อเวลาราชการให้มีหนังสือรับรองการตรวจสุขภาพดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ข้อ ๗ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในทางวิชาการเท่านั้น ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการบริหารได้ ข้อ ๘ ในระหว่างการต่อเวลาราชการให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้ต่อเวลาราชการเป็นประจำทุกปี และต้องรายงานผลการประเมินก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ข้อ ๙ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๑๕/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑
446233
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. 2547
ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ กระทรวงยุติธรรมโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๔๐๙.๔/๑๔๘๖๔ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ” หมายความว่า พนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ “เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่คดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ “เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ แล้วแต่กรณี ตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเป็นรายเดือน ในอัตราดังต่อไปนี้ (๑) ระดับ ๑๐ เดือนละ ๔๒,๐๐๐ บาท (๒) ระดับ ๙ เดือนละ ๔๑,๐๐๐ บาท (๓) ระดับ ๘ เดือนละ ๓๕,๐๐๐ บาท (๔) ระดับ ๗ เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท (๕) ระดับ ๖ เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๕ ให้เจ้าหน้าที่คดีพิเศษมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งเป็นรายเดือนในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ระดับ ๘ เดือนละ ๒๖,๒๕๐ บาท (๒) ระดับ ๗ เดือนละ ๒๒,๕๐๐ บาท (๓) ระดับ ๖ เดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท (๔) ระดับ ๕ เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๕) ระดับ ๔ เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๖) ระดับ ๓ เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๖ กรณีที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษมิได้มาปฏิบัติราชการในเดือนใด ให้งดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในเดือนนั้น สำหรับกรณีที่มาปฏิบัติราชการในเดือนใดไม่เต็มเดือนให้จ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามสัดส่วนจำนวนวันที่ได้มาปฏิบัติราชการเว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ ก. กรณีที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้และมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ให้งดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในระหว่างวันที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักดังกล่าว ข. กรณีป่วยเจ็บเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้และอยู่ระหว่างได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อรักษาตัว ให้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เกิน ๑๘๐ วัน ค. การจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งระหว่างการลาให้จ่ายได้ดังนี้ (๑) กรณีลาป่วย ให้จ่ายได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันทำการ (๒) กรณีลาคลอดบุตร ให้จ่ายได้ครั้งละไม่เกิน ๙๐ วันทำการ (๓) กรณีลากิจส่วนตัว ให้จ่ายได้ปีหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ เว้นแต่ในปีที่เริ่มรับราชการ ให้จ่ายได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ (๔) กรณีลาพักผ่อนประจำปี ให้จ่ายได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อน (๕) กรณีลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่การลาภายในระยะเวลาสิบสองเดือนแรกที่เข้ารับราชการและตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ให้จ่ายได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (๖) กรณีลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลให้จ่ายได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (๗) กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัยให้จ่ายได้ไม่เกิน ๖๐ วัน ง. กรณีที่ถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้งดจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้ หากต่อมาได้รับอนุญาตให้กลับเข้ารับราชการให้จ่ายตามสัดส่วนเดียวกันกับเงินเดือนที่ได้รับในช่วงเวลาดังกล่าว ข้อ ๗ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งประเภทอื่นอยู่ด้วย ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้หรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งประเภทอื่นที่มีอัตราสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว ข้อ ๘ เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้ ให้จ่ายเป็นรายเดือนในลักษณะจ่ายควบกับเงินเดือน ห้ามมิให้นำเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งไปรวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญ ข้อ ๙ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษที่ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ให้ถือเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๔๘/๑๓ กันยายน ๒๕๔๗
453580
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2547
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๒๗ (๒) ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ ข้อ ๔ กำหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๗ จำนวนปีละ ๙ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใด ผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐานหรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมไม่ถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๕ ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรีมีกำหนดเวลาการรับทุนตามจำนวนปีของหลักสูตรการศึกษาจนจบขั้นปริญญาตรีในสาขานั้นๆ โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในการรับทุน หากไม่กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยต้องชดใช้เงินคืนเท่ากับจำนวนเงินทุนที่ได้รับไป ข้อ ๖ ถ้าครบกำหนดเวลาการรับทุนตามข้อ ๕ แล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวง ทบวง กรมใด หรือองค์การใดของรัฐบาลก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงของทุนนั้น ๆ ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบเพื่อรับทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ยกเว้น (๒) (๒) มีอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์นับถึงวันหมดเขตรับสมัคร (๓) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรอื่นในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า ทั้งนี้ ให้ถือปีการศึกษาตามที่ ก.พ. กำหนด (๔) มีการศึกษาในแผนการเรียนและมีผลการเรียนยอดเยี่ยมตามที่ ก.พ. กำหนด (๕) ไม่สอบตกวิชาหนึ่งวิชาใดในหลักสูตรที่กำหนดใน (๓) (๖) มีศีลธรรมและความประพฤติดีโดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการโรงเรียนที่ตนสังกัดมาแสดง ข้อ ๘ ผู้สมัครสอบผู้ใดไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ไม่มีสิทธิเข้าสอบหรือได้รับทุน ข้อ ๙ ผู้มีสิทธิได้รับทุนต้องผ่านการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องไปศึกษาวิชาการในต่างประเทศ โดยจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใดก็ได้ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยพิจารณาจากความประสงค์ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของผู้ได้รับทุน ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาการในประเทศไทยได้เฉพาะวิชาที่ประเทศไทยสามารถจัดการศึกษาได้ดีกว่าประเทศอื่น ซึ่ง ก.พ. จะได้กำหนดเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๑ ก.พ. จะเป็นผู้ดำเนินการสอบ กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบซึ่งจะได้ประกาศเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๑๖/๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๗
593363
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ การจ่ายเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนให้นำพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาใช้บังคับ ข้อ ๔ การจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยคำว่า “ข้าราชการ” ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้ใช้คำว่า “ข้าราชการพลเรือน” แทนในทุกที่ ข้อ ๕ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๗/๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑
603128
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่ข้าราชการพลเรือนได้ปฏิบัติงานในบางตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษจากสภาพการทำงาน ซึ่งสมควรได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๔๘ (๒) ระเบียบว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินเพิ่ม” หมายความว่า เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือนตามระเบียบนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ ก.พ. ประกาศกำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ “เหตุพิเศษ” หมายความว่า การทำงานที่มีสภาพการทำงานไม่น่าอภิรมย์ ยากลำบากตรากตรำ เสี่ยงภัย เคร่งเครียด กดดัน หรือเป็นการทำงานที่มีสภาพการทำงานเสี่ยงอันตรายทั้งต่อชีวิตร่างกาย อาจมีผลกระทบต่อร่างกาย อาจก่อให้เกิดโรคจากการปฏิบัติงาน การสูญเสียอวัยวะ หรือเป็นการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์สูง ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลน มีการสูญเสียผู้ปฏิบัติงานออกจากระบบราชการเป็นจำนวนมาก ข้อ ๕ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ อาจได้รับเงินเพิ่มได้ตามที่ ก.พ. ประกาศกำหนด แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหลายอัตรา ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มในอัตราที่สูงที่สุดเพียงอัตราเดียว ข้อ ๖ ข้าราชการผู้ใดปฏิบัติงานไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มสำหรับเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ถ้าในเดือนใดข้าราชการผู้ใดมิได้ปฏิบัติงาน ข้าราชการผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับเดือนนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) กรณีลาป่วย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ เว้นแต่เป็นการป่วยอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ก.พ. อาจกำหนดให้ได้รับเงินเพิ่มเกินหกสิบวันทำการได้ตามควรแก่กรณี (๒) กรณีลาคลอดบุตร ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินเก้าสิบวัน (๓) กรณีลากิจส่วนตัว ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกินสี่สิบห้าวันทำการ แต่สำหรับในปีแรกที่รับราชการ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ในปีงบประมาณนั้นไม่เกินสิบห้าวันทำการ (๔) กรณีลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (๕) กรณีลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่เป็นการลาภายในระยะเวลาสิบสองเดือนแรกที่เข้ารับราชการ และตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน (๖) กรณีลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน แต่ถ้าพ้นระยะเวลาที่ลาดังกล่าวแล้วผู้นั้นไม่ไปรายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งภายในเจ็ดวัน ให้งดจ่ายเงินเพิ่ม หลังจากนั้นไว้จนถึงวันเข้าปฏิบัติหน้าที่หลัก (๗) กรณีลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเพิ่มระหว่างลาได้ไม่เกินหกสิบวัน ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษและได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษและมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มตามระเบียบนี้จนกว่าจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นหรือจนกว่า ก.พ. จะประกาศกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๘ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน ท้ายระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๔/๙ เมษายน ๒๕๕๒
595552
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ. ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุเป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก ทั้งนี้ ตามตัวอย่างหนังสือขอลาออกจากราชการท้ายระเบียบนี้ ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวันหากผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกเห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็น จะอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวันที่ขอลาออกก็ได้ หนังสือขอลาออกจากราชการที่ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่าสามสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออก หรือหนังสือขอลาออกจากราชการที่มิได้ระบุวันขอลาออกให้ถือว่าวันถัดจากวันครบกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ยื่นเป็นวันขอลาออก ข้อ ๔ เมื่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งของผู้ขอลาออกจากราชการได้รับหนังสือขอลาออกแล้ว ให้บันทึกวันยื่นหนังสือขอลาออกนั้นไว้เป็นหลักฐาน และให้ตรวจสอบว่าหนังสือขอลาออกดังกล่าวได้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันหรือไม่ พร้อมทั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปโดยเร็วและให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปแต่ละระดับเสนอความเห็นตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกโดยเร็ว กรณีผู้ขอลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่าสามสิบวัน โดยมีเหตุผลและความจำเป็น ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป และให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกโดยเร็วและก่อนวันขอลาออก ในกรณีที่ผู้ขอลาออกเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจอนุญาตการลาออก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งหนังสือขอลาออกของผู้นั้นพร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกเพื่อพิจารณาโดยเร็ว ข้อ ๕ เมื่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกได้รับหนังสือขอลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดแล้ว หากมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจสั่งยับยั้งการลาออกได้ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออก หรือวันที่ถือว่าเป็นวันขอลาออก แล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกด้วย ทั้งนี้ การยับยั้งการลาออกให้สั่งยับยั้งได้เพียงครั้งเดียว และจะขยายเวลายับยั้งต่อไปอีกมิได้ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกไม่ยับยั้งการลาออก ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) กรณีที่หนังสือขอลาออกจากราชการได้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออก (๒) กรณีที่หนังสือขอลาออกจากราชการได้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่าสามสิบวัน ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรอนุญาตให้ลาออกตามที่ผู้ขอลาออกได้ยื่นไว้หรือจะอนุญาตให้ลาออกในวันถัดจากวันครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นหนังสือขอลาออกก็ได้โดยต้องสั่งภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นขอลาออก (๓) กรณีที่หนังสือขอลาออกจากราชการมิได้ระบุวันขอลาออก ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีคำสั่งให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่น และให้วันถัดจากวันครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นหนังสือขอลาออก เป็นวันอนุญาตการลาออก ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ขอลาออกได้ออกจากราชการไปโดยผลของกฎหมาย เนื่องจากผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกและมิได้มีคำสั่งยับยั้งการลาออกก่อนวันขอลาออกหรือเนื่องจากครบกำหนดเวลายับยั้งการลาออก ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีหนังสือแจ้งวันออกจากราชการให้ผู้ขอลาออกและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบโดยไม่ชักช้า ข้อ ๗ การยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง ตำแหน่งผู้พิพากษาหรือตุลาการ ตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกำหนดว่าต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งอย่างช้าภายในวันที่ขอลาออก และให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเสนอหนังสือขอลาออกนั้นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกโดยเร็ว การลาออกในกรณีนี้มีผลนับแต่วันที่ขอลาออก ข้อ ๘ การพิจารณาการขอลาออกจากราชการที่ได้ยื่นหนังสือขอลาออกไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๓๖ ข้อ ๙ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. ตัวอย่างหนังสือขอลาออกจากราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๗ ง/หน้า ๒/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
593961
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2551
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้มีทุนเล่าเรียนหลวงซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่นักเรียนซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๖ ปีละไม่เกินเก้าทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใด ผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสม ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะราย หรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔ ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรี มีกำหนดเวลา การรับทุนตามจำนวนปีของหลักสูตรการศึกษาจนจบปริญญาตรีในสาขานั้น ๆ โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาในการรับทุน หากไม่กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยภายในระยะเวลาที่ ก.พ. กำหนด ต้องชดใช้เงินคืนเท่ากับจำนวนเงินทุน ที่ได้รับไป ข้อ ๕ ถ้าครบกำหนดเวลาการรับทุนตามข้อ ๔ แล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้น ตามระเบียบและข้อตกลงของทุนนั้น ๆ ด้วย ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบเพื่อรับทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ยกเว้น มาตรา ๓๖ ก (๒) (๒) มีอายุไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์นับถึงวันหมดเขตรับสมัคร (๓) สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายของหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรอื่นในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่า ทั้งนี้ ให้ถือปีการศึกษาตามที่ ก.พ. กำหนด (๔) มีการศึกษาในแผนการเรียนและมีผลการเรียนยอดเยี่ยมตามที่ ก.พ. กำหนด (๕) ไม่สอบตกวิชาหนึ่งวิชาใดในหลักสูตรที่กำหนดใน (๓) (๖) มีศีลธรรมและความประพฤติดีโดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่หรือผู้อำนวยการโรงเรียนที่ตนสังกัดมาแสดง ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบผู้ใดไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ไม่มีสิทธิเข้าสอบหรือได้รับทุน ข้อ ๘ ผู้มีสิทธิได้รับทุนต้องผ่านการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ข้อ ๙ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องไปศึกษาวิชาการในต่างประเทศ โดยจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใดก็ได้ ซึ่ง ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาจากความประสงค์ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของผู้ได้รับทุน ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาการในประเทศไทยได้เฉพาะวิชาที่ประเทศไทยสามารถจัดการศึกษาได้ดีกว่าประเทศอื่น ซึ่ง ก.พ. จะได้กำหนดเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๐ ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการสอบ กำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ โดยจะได้ประกาศเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติ ตามระเบียบ ข้อบังคับ สัญญา หรือคำสั่งของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ข้อ ๑๒ ให้ใช้บังคับระเบียบนี้กับผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงอยู่แล้วในวันหรือก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับด้วย ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๑/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
593965
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. 2551
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่มิใช่กระทรวงและกรม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานของศาล หน่วยงานในกำกับของรัฐ หรือองค์การมหาชน แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ทุนของรัฐบาล” หมายความว่า ทุนที่ได้มาจากเงินงบประมาณแผ่นดินและทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นทุนของรัฐบาลซึ่งจัดสรรเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ทั้งนี้ โดยมุ่งสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีชื่อเรียกตามลักษณะการจัดสรรดังนี้ (๑) “ทุนตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ทุนของรัฐบาลที่จัดสรรให้แก่กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ (๒) “ทุนกลาง” หมายความว่า ทุนของรัฐบาลที่ยังมิได้จัดสรรให้แก่กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ ข้อ ๔ ให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนและกระบวนการจัดสรรทุนของรัฐบาลประจำปีต่อ ก.พ. โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความต้องการกำลังคนของทางราชการและของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนสภาพการณ์โดยทั่วไปเกี่ยวกับกำลังคน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ ข้อ ๕ ให้สำนักงาน ก.พ. ขอตั้งงบประมาณประจำปี รวมทั้งจัดหาทุนจากแหล่งทุนอื่นนำมาจัดสรรเป็นทุนเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนของรัฐบาลในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะศึกษา หรือฝึกอบรม ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ทั้งนี้ โดยมุ่งสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๖ ให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรทุนของรัฐบาลเป็นทุนกลาง และทุนตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๗ การจัดสรรทุนของรัฐบาลเพื่อให้ผู้รับทุนศึกษา หรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ หรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ให้คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของทางราชการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ในสาขาวิชาและระดับการศึกษา หรือระดับความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความเข้าใจในภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ของประเทศนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง และให้มีผู้ไปศึกษาในหลายประเทศ เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางวิชาการ และนำความรู้ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของแต่ละประเทศมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ข้อ ๘ ให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่จัดไว้เป็นทุนกลางให้แก่กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ โดยพิจารณาจากความจำเป็นเร่งด่วน ภารกิจ และประโยชน์ของทางราชการ จำนวนกำลังคนในสาขาวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีอยู่แล้วในกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ การใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน และต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด และนโยบายและแผนงานที่กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐกำหนด ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความประสงค์ที่ผู้รับทุนแสดงไว้ด้วย แล้วรายงานให้ ก.พ. ทราบ ข้อ ๙ ให้สำนักงาน ก.พ. เลือกสรรผู้มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมเพื่อรับทุน ของรัฐบาลด้วยวิธีการสอบแข่งขัน หรือวิธีการอื่นใดที่ ก.พ. เห็นว่าเหมาะสม เพื่อให้ได้ผู้รับทุนของรัฐบาลตามจำนวนทุนที่จัดสรรไว้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความเสมอภาคในโอกาส ความเป็นธรรม ความเร่งด่วน ความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้รับทุนที่จะสามารถปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานของทางราชการตามแผนงานหรือโครงการที่กำหนดไว้ได้ ตลอดจนพันธะต่าง ๆ ที่มีอยู่ ข้อ ๑๐ ให้สำนักงาน ก.พ. เสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ ตลอดจนทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสรรทุนของรัฐบาล การเลือกสรรผู้รับทุนของรัฐบาล การดูแลจัดการการศึกษาของผู้รับทุนของรัฐบาล การพัฒนาและธำรงรักษาผู้รับทุนของรัฐบาลไว้ใช้ในราชการ และการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อ ก.พ. เพื่ออนุมัติให้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ และให้ถือว่าระเบียบและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. หรือสำนักงาน ก.พ. ได้วางไว้ก่อนวันใช้บังคับระเบียบนี้ ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ เว้นแต่ ก.พ. จะพิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๑ ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะประสานเพื่อให้กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ เจ้าสังกัดกับผู้รับทุนของรัฐบาล สามารถติดต่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้การศึกษาหรือฝึกอบรม การรับราชการ หรือการปฏิบัติงานของทางราชการของผู้รับทุนของรัฐบาลเป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการในการใช้กำลังคนของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐอย่างดีที่สุด ภายใต้กฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๒ ให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการจัดสรรทุนของรัฐบาล ติดตามการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนของรัฐบาลที่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานอยู่ในกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนของรัฐบาลตามโครงการ หรือแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเต็มที่ ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับทุนของรัฐบาลต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ สัญญา หรือคำสั่ง ของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ข้อ ๑๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ได้รับทุนของรัฐบาลอยู่แล้วในวันหรือก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับทุนของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามระเบียบนี้ ส่วนการดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๕ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๓/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
566534
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาลให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในคำปรารภของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “โดยที่รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความสามารถสูงเข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะต้องพิจารณาจัดสรรทุนของรัฐบาลเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนในสาขาวิชาต่างๆ หรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุนที่จะสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือนตามโครงการหรือแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรรหาผู้มีความรู้ความสามารถมารับทุนของรัฐบาล ตลอดจนดูแลจัดการการศึกษาของผู้รับทุนของรัฐบาล และจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ทุนของรัฐบาล” หมายความว่า ทุนที่ได้มาจากเงินงบประมาณแผ่นดินและทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นทุนของรัฐบาลซึ่งจัดสรรเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ทั้งนี้ โดยมุ่งสนองความต้องการกำลังคนของส่วนราชการ “ทุนกลาง” หมายความว่า ทุนของรัฐบาลที่ยังไม่ได้จัดสรรผู้รับทุนให้แก่ส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งโดยเฉพาะ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้สำนักงาน ก.พ. ขอตั้งงบประมาณประจำปีรวมทั้งจัดหาทุนจากแหล่งทุนอื่นนำมาจัดสรรเป็นทุนเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนของรัฐบาลในสาขาวิชาต่างๆ ที่จะศึกษาหรือฝึกอบรมในประเทศหรือต่างประเทศหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ทั้งนี้ โดยมุ่งสนองความต้องการกำลังคนของส่วนราชการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ การจัดสรรทุนของรัฐบาลเพื่อส่งผู้รับทุนไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศหรือเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุน ให้คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ในสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ไม่มีการเรียนการสอนในประเทศ หรือมีแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของทางราชการ หรือระดับความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการยังไม่สูงพอหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความเข้าใจในภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และให้มีผู้ศึกษาในหลายประเทศเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางวิชาการและนำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของแต่ละประเทศมาใช้ในการพัฒนาประเทศ” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ให้สำนักงาน ก.พ. เลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมเพื่อรับทุนของรัฐบาลด้วยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการอื่นใดที่ ก.พ. เห็นว่าเหมาะสมเพื่อให้ได้ผู้รับทุนของรัฐบาลตามจำนวนทุนที่จัดสรรไว้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความเสมอภาค ในโอกาส ความเป็นธรรม ความเร่งด่วน ความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้รับทุนที่จะสามารถปฏิบัติงานของทางราชการตามแผนงานหรือโครงการที่กำหนดไว้ได้ ตลอดจนพันธะต่าง ๆ ที่มีอยู่” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ ของระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะประสานเพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกับผู้รับทุนของรัฐบาลสามารถติดต่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้การศึกษาหรือฝึกอบรมหรือการรับราชการหรือการปฏิบัติงานของทางราชการของผู้รับทุนของรัฐบาลเป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการในการใช้กำลังคนของส่วนราชการอย่างดีที่สุด ภายใต้กฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่ ก.พ. กำหนด” ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๔/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
326465
ระเบียบ ว่าด้วยรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการสำหรับข้าราชการพลเรือน
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยการรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับข้าราชการพลเรือน[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และมาตรา ๙๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก.พ. วางระเบียบการรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกจากราชการ สำหรับข้าราชการพลเรือน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน ข้อ ๒ การรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนออกจากราชการ ไปยัง ก.พ. ตามมาตรา ๙๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้ปฏิบัติตามระเบียบ ดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนผู้ใดออกจากราชการไปแล้ว ให้รีบรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออก ซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งลงโทษหรือผู้สั่งให้ออกภายใน ๓ วันนับแต่วันสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออก ถ้าผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งลงโทษ หรือผู้สั่งให้ออกเห็นชอบด้วยกับคำสั่งนั้น และผู้ถูกลงโทษมิได้อุทธรณ์ภายในกำหนด ก็ให้รายงานต่อไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกลงโทษ ซึ่งมีตำแหน่งเหนือขึ้นไปภายใน ๗ วันนับแต่วันครบกำหนดที่ผู้ถูกลงโทษจะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา ๙๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละชั้นที่ได้รับรายงานต่อไปตามลำดับภายใน ๗ วันนับแต่วันได้รับรายงานจนถึงเจ้ากระทรวงที่ผู้ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกสังกัด (๒) ในกรณีที่ผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์การถูกลงโทษหรือผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกลงโทษซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งลงโทษเห็นควรเปลี่ยนแปลงการลงโทษ ก็ให้รีบพิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว สำหรับกรณีที่มีการอุทธรณ์การลงโทษให้รีบพิจารณาสั่งการให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ สำหรับกรณีที่มิได้การอุทธรณ์การลงโทษ แต่ผู้บังคับบัญชาเห็นควรเปลี่ยนแปลงการลงโทษ ให้รีบพิจารณาสั่งการให้เสร็จภายใน ๑๕ วันนับแต่วันได้รับรายงานการลงโทษ แล้วให้รายงานการลงโทษนั้นไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปตามที่ระบุไว้ใน (๑) ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันสั่งใหม่ (๓) ให้กระทรวงทบวงกรมที่ผู้ถูกลงโทษหรือถูกสั่งให้ออกสังกัดรีบรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกไปยัง ก.พ. โดยเร็ว โดยปกติให้รายงานภายใน ๑ เดือนนับแต่วันได้รับรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกตาม (๑) หรือ (๒) แล้ว (๔) ในการรายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกไปยัง ก.พ. ให้กระทรวงทบวงกรมแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีความผิดหรือกรณีที่สั่งให้ออกไปด้วยว่าทำผิดอะไร เมื่อใด เสียหายแก่ราชการเพียงใดหรือไม่ หรือสั่งให้ออกเพราะมีกรณีอย่างใด และผู้นั้นเคยถูกลงโทษมาก่อนแล้วกี่ครั้ง อย่างไร เมื่อใด ในกรณีความผิดอย่างใดบ้าง (๕) ถ้าเป็นกรณีไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกซึ่งจะต้องสอบสวนและเสนอ อ.ก.พ. พิจารณาตามกฎหมาย ให้แจ้งไปด้วยว่าได้ทำการสอบสวนและเสนอ อ.ก.พ. นั้น ๆ พิจารณาตามกฎหมายแล้ว พร้อมกับส่งสำเนาคำสั่งลงโทษหรือสั่งให้ออก ๒ ชุด และคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวน (ถ้ามี) ไปด้วย (๖) ให้กระทรวงทบวงกรมที่รายงานการลงโทษหรือสั่งให้ออกรับรองไปด้วยว่า การสอบสวนพิจารณาและสั่งให้ลงโทษหรือสั่งให้ออกนั้นได้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จอมพล ผ. ชุณหะวัณ รองนายกรับมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๒/ตอนที่ ๔๔/หน้า ๘๘๗/๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๘
654006
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2508 (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/09/2514)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า แต่เดิมมาเคยมีทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ให้แก่นักเรียนที่เรียนสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์ เมื่อนักเรียนทุนเหล่านี้เรียนสำเร็จแล้วก็ได้กลับมารับราชการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาการให้ทุนเล่าเรียนหลวงได้ยุติลง สมควรที่จะได้จัดเรื่องนี้ขึ้นอีก คณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติสนองตามพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยให้ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบแข่งขันกันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงตามระเบียบที่ ก.พ. จะได้กำหนดต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ก.พ. จึงวางระเบียบทุนเล่าเรียนหลวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘” ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทุนเล่าเรียนหลวง ข้อ ๓ กําหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญของกระทรวงศึกษาธิการได้ดีเยี่ยมปีละ ๙ ทุน แบ่งเป็นแผนกดังนี้ ๓.๑ ผู้ที่สอบทางแผนกศิลปะ ๓ ทุน ๓.๒ ผู้ที่สอบทางแผนกวิทยาศาสตร์ ๓ ทุน ๓.๓ ผู้ที่สอบทางแผนกทั่วไป ๓ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใดผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔[๒] ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีกำหนดไม่เกิน ๕ ปี โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมารับราชการ ข้อ ๕[๓] ถ้าครบ ๕ ปี ตามที่ได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวงทบวงกรมใด หรือองค์การรัฐบาลใดก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงแห่งทุนนั้น ๆ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ยกเว้น (๒) ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบต้องมีอายุนับถึงวันหมดเขตการรับสมัครไม่เกิน ๑๙ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๘[๔] ผู้สมัครสอบจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ ก.พ. ข้อ ๙[๕] ผู้สมัครสอบต้องมีชื่อในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียนผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญประจำปีการศึกษาก่อนปีที่มีการจัดการสอบเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นไปเพียงรุ่นเดียว โดยต้องได้คะแนนรวมในหมวดวิชาบังคับร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และสำหรับแผนกวิทยาศาสตร์ต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ส่วนแผนกศิลปะ กับแผนกทั่วไปต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบจะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้เข้าสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญเกินกว่า ๑ ครั้ง ข้อ ๑๑ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี โดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ต้นสังกัดแสดงด้วย สิทธิในการสอบรับทุน ข้อ ๑๒ ผู้สมัครสอบมีสิทธิในการสมัครสอบรับทุนตามสาขาที่ตนเรียน ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกศิลปะจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๑ ๑๒.๒ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกวิทยาศาสตร์จะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๒ ๑๒.๓ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกทั่วไปจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๓ วิชาที่กำหนดให้เรียน ข้อ ๑๓[๖] ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ในประเทศไหน ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาความประสงค์ คุณวุฒิและคุณลักษณะของผู้ได้รับทุน ทั้งนี้ ผู้ได้รับทุนจะเลือกเรียนในประเทศไทยก็ได้ การสอบ ข้อ ๑๔ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป การควบคุมดูแล ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและระเบียบการของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐[๗] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑[๘] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔[๙] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๔[๑๐] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๙๓/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๔] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑ [๕] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ [๖] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๐๒/๑๘ เมษายน ๒๕๑๐ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๓๑/หน้า ๑๔๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๑๔ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๖๖๑/๒๘ กันยายน ๒๕๑๔
304205
ระเบียบ ว่าด้วยวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจาก ราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก.พ. วางระเบียบวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้ว กลับเข้ารับราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน ข้อ ๒ ข้าราชการใด ๆ นอกจากข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ และข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในชั้น อันดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ให้ยื่นคำขอกลับเข้ารับราชการพร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือแสดงคุณสมบัติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ และหลักฐานแสดงพื้นความรู้ (๒) หนังสือรับรองการตรวจโรคจากนายแพทย์ของทางราชการ (๓) ประวัติการรับราชการที่ได้เคยทำมาก่อนแล้วทุกแห่ง โดยมีหนังสือรับรองของปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีผู้บังคับบัญชาเดิม แล้วแต่กรณี ว่าออกจากราชการนั้น ๆ เพราะเหตุใด (๔) ประวัติระหว่างอยู่นอกราชการ จนถึงวันยื่นใบสมัครกลับเข้ารับราชการ โดยมีหนังสือรับรองของผู้อำนวยการหรือของผู้จัดการหน่วยงาน ซึ่งผู้นั้นเคยทำงานภายหลังที่ออกจากราชการทุกแห่ง (ถ้าเคย) ว่าออกจากงานนั้น ๆ เพราะเหตุใด ข้อ ๓ ผู้สมัครกลับเข้ารับราชการต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ หรือแม้จะขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แต่ถ้าผู้นั้นได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๔๔ แล้ว ก็สมัครกลับเข้ารับราชการได้ ข้อ ๔ พื้นความรู้ คุณวุฒิ และความสามารถในราชการของผู้สมัครกลับเข้ารับราชการ ต้องไม่ต่ำกว่าระดับของตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งนั้น เว้นแต่ในกรณีพิเศษ เช่น ในท้องที่กันดาร หรือเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษเฉพาะตัวซึ่งทางราชการประสงค์ ในกรณีเช่นนี้ให้บันทึกเหตุผลนั้นโดยละเอียดไว้ในรายงานการประชุมด้วย ข้อ ๕ ข้าราชการผู้ใดออกจากราชการไปเพราะหย่อนความสามารถด้วยเหตุใด ๆ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนจะกลับเข้ารับราชการได้ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้หย่อนความสามารถนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้อ ๖ การบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาหรือชั้นตรี ให้ทำได้ต่อเมื่อไม่มีผู้สอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือกค้างการบรรจุอยู่ เว้นแต่ในกรณีพิเศษดังกล่าวในข้อ ๔ แต่ให้บันทึกเหตุผลโดยละเอียดไว้ในรายงานการประชุมด้วย ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีเจ้าสังกัดที่จะรับบรรจุ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณารับสมัคร ตลอดจนตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ ถ้าเห็นเป็นการสมควร ให้นำเสนอผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ เพื่อพิจารณาอนุมัติ การพิจารณาให้เพ่งเล็งถึงผลแห่งงานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่จะบรรจุใหม่นั้นต้องมีลักษณะงานคล้ายกับตำแหน่งเดิม หรือต้องใช้วิชาที่ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร นอกจากนี้จะให้ทดลองปฏิบัติการงานดูก็ได้ ข้อ ๘ เมื่อผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมกับราชการที่จะรับเข้าบรรจุ และอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๓๐ สั่งบรรจุได้ แต่สำหรับการบรรจุเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นจัตวาหรือชั้นตรี ให้นำความในวรรครองสุดท้ายแห่งมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับ ข้อ ๙ ห้ามมิให้บรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการก่อนวันที่ผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ ได้พิจารณาอนุมัติ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ เห็นสมควรบรรจุในชั้น อันดับ และขั้นที่สูงกว่าเดิม ให้ขออนุมัติ ก.พ. เป็นราย ๆ ไป การขออนุมัติ ก.พ. ให้เจ้ากระทรวงที่จะรับบรรจุส่งเอกสารต่าง ๆ ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการที่ควรบรรจุในชั้น อันดับ และขั้น ที่สูงกว่าเดิมโดยละเอียดไปเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย ข้อ ๑๑ การบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดที่จะรับบรรจุนั้นรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติและเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ ข้อ ๑๒ เมื่อได้สั่งบรรจุแล้วให้ส่งสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ไปยังสำนักงาน ก.พ. ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันบรรจุเป็นต้นไป คือ (๑) สำเนาคำสั่งบรรจุ (๒) สำเนารายงานการประชุม หรือสำเนามติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี (๓) สำเนาหนังสือแสดงคุณสมบัติ หลักฐานแสดงพื้นความรู้ และหนังสือรับรองการตรวจโรคจากนายแพทย์ของทางราชการ (๔) สำเนารายงานการตรวจสอบ และแบบประวัติที่กรอกข้อความและตรวจสอบถูกต้องแล้ว (แบบรายงานการตรวจสอบให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้) (๕) รูปถ่ายขนาด ๔ x ๖ เซนติเมตร ๒ รูป ข้อ ๑๓ การบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้ปฏิบัติตามวิธีการพิจารณาเพื่อรับบรรจุข้าราชการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๕ ก่อนวันประกาศใช้บังคับระเบียบนี้ให้เป็นอันใช้ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗ พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ลงนามแทนนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายงานการตรวจสอบข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๓๙/หน้า ๘๘๔/๒๒ มิถุนายน ๒๔๙๗
654002
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2508 (ฉบับ Update ณ วันที่ 18/04/2510)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า แต่เดิมมาเคยมีทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ให้แก่นักเรียนที่เรียนสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์ เมื่อนักเรียนทุนเหล่านี้เรียนสำเร็จแล้วก็ได้กลับมารับราชการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาการให้ทุนเล่าเรียนหลวงได้ยุติลง สมควรที่จะได้จัดเรื่องนี้ขึ้นอีก คณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติสนองตามพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยให้ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบแข่งขันกันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงตามระเบียบที่ ก.พ. จะได้กำหนดต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ก.พ. จึงวางระเบียบทุนเล่าเรียนหลวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘” ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทุนเล่าเรียนหลวง ข้อ ๓ กําหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญของกระทรวงศึกษาธิการได้ดีเยี่ยมปีละ ๙ ทุน แบ่งเป็นแผนกดังนี้ ๓.๑ ผู้ที่สอบทางแผนกศิลปะ ๓ ทุน ๓.๒ ผู้ที่สอบทางแผนกวิทยาศาสตร์ ๓ ทุน ๓.๓ ผู้ที่สอบทางแผนกทั่วไป ๓ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใดผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔ ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีกำหนด ๔ ปี โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมารับราชการ ข้อ ๕ ถ้าครบ ๔ ปี ตามที่ได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อ โดยสังกัดกระทรวงทบวงกรมใด หรือองค์การรัฐบาลใดก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงแห่งทุนนั้น ๆ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ยกเว้น (๒) ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบต้องมีอายุนับถึงวันหมดเขตการรับสมัครไม่เกิน ๑๙ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๘ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ซึ่งก่อนเข้าสอบต้องได้ผ่านการตรวจสุขภาพของคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. แล้ว ข้อ ๙[๒] ผู้สมัครสอบต้องมีชื่อในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียนผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญประจำปีการศึกษาก่อนปีที่มีการจัดการสอบเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นไปเพียงรุ่นเดียว โดยต้องได้คะแนนรวมในหมวดวิชาบังคับร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และสำหรับแผนกวิทยาศาสตร์ต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ส่วนแผนกศิลปะ กับแผนกทั่วไปต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบจะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้เข้าสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญเกินกว่า ๑ ครั้ง ข้อ ๑๑ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี โดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ต้นสังกัดแสดงด้วย สิทธิในการสอบรับทุน ข้อ ๑๒ ผู้สมัครสอบมีสิทธิในการสมัครสอบรับทุนตามสาขาที่ตนเรียน ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกศิลปะจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๑ ๑๒.๒ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกวิทยาศาสตร์จะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๒ ๑๒.๓ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกทั่วไปจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๓ วิชาที่กำหนดให้เรียน ข้อ ๑๓ ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ในประเทศไหน ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยพิจารณาความประสงค์ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของผู้ที่ได้รับทุน การสอบ ข้อ ๑๔ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป การควบคุมดูแล ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและระเบียบการของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐[๓] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๙๓/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ [๒] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๐๒/๑๘ เมษายน ๒๕๑๐
304209
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2535
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการ ออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) (๗) มาตรา ๑๐๙ และมาตรา ๑๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๓๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดในกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และสั่งยุติเรื่อง งดโทษ หรือลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน หรือลงโทษหรือลงทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยข้าราชการในส่วนราชการใดโดยเฉพาะแก่ผู้นั้นไปแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้นซึ่งเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา ๑๐๓ และมีตำแหน่งเหนือตนตามลำดับจนถึงอธิบดี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี การรายงานตามวรรคหนึ่ง สำหรับในราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้รายงานตามลำดับจนถึงผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วจึงรายงานต่อไปยังอธิบดีผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้นั้น การรายงานของผู้บังคับบัญชาที่ได้ดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง ให้รายงานพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งและสำนวนการสอบสวนหรือเอกสารการพิจารณาไปด้วยภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่สั่ง ข้อ ๔ ให้ผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานตามข้อ ๓ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เสร็จและรายงานการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อไปตามลำดับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ในกรณีที่รายงานเลยกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้รายงานเหตุที่พิจารณาดำเนินการไม่ทันตามกำหนดเวลานั้นไปด้วย ข้อ ๕ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดในกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม หรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามมาตรา ๑๐๗ แล้ว ให้ส่งสำเนาคำสั่งนั้นอย่างละ ๓ ฉบับ ไปยังสำนักงาน ก.พ. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ออกคำสั่ง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามเร่งรัดการสอบสวน ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้สั่ง ให้ส่งสำเนาคำสั่งตามวรรคหนึ่งไปให้อธิบดี ตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อการสอบสวนเสร็จ ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแจ้งสำนักงาน ก.พ. ทราบภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบสวน ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน กลับเข้ารับราชการให้ส่งสำเนาคำสั่งนั้น ๓ ฉบับ ไปยังสำนักงาน ก.พ. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ออกคำสั่ง และให้นำวรรคสองมาใช้บังคับด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๑๐๒ วรรคสองหรือมาตรา ๑๐๙ วรรคสาม หรือดำเนินการทางวินัยโดยกล่าวหาเป็นกรณีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงที่ปรากฏชัดแจ้งตามกฎ ก.พ. ออกตามความในมาตรา ๑๐๒ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดและสั่งยุติเรื่อง งดโทษ หรือลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไปแล้ว ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการนั้นไปยังอธิบดี ตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง พร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งและสำนวนการสอบสวนหรือเอกสารการพิจารณาไปด้วยภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่สั่ง ข้อ ๗ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดไปแล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๕ และข้อ ๖ โดยอนุโลม ข้อ ๘ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดออกจากราชการ ตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ ไปแล้ว ให้ดำเนินการตามข้อ ๖ โดยอนุโลม ข้อ ๙ เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ออกจากราชการ หรือได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง หรือตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง และได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งเห็นชอบกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการแล้ว ให้รายงานไปยัง ก.พ. ในกรณี ดังต่อไปนี้ คือ (๑) กรณีที่สั่งลงโทษปลดออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๔ หรือสั่งลงโทษให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ (๒) กรณีที่ดำเนินการทางวินัยในกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด แล้วไม่มีการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ในเรื่องดังต่อไปนี้ ก. เรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. มีมติและแจ้งว่าเรื่องที่สอบสวนมีมูลว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข. เรื่องที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและแจ้งว่าผู้นั้นมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต ค. เรื่องที่เกิดการทุจริตหรือการเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการตามระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบของข้าราชการในทางแพ่งของกระทรวงการคลัง ง. เรื่องที่มีระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติ ก.พ. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาความผิด หรือการกำหนดโทษ ตามลักษณะเรื่องที่ ก.พ. กำหนด (๓) กรณีที่สั่งให้กลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ หรือมาตรา ๑๒๑ วรรคสอง (๔) กรณีที่สั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๑๑๖ หรือสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๙๘ หรือตาม (๕) ในกรณีที่สั่งตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวง ตามมาตรา ๑๐๔ (๑) มาตรา ๑๐๙ วรรคสี่ มาตรา ๑๑๔ (๔) มาตรา ๑๑๕ หรือมาตรา ๑๒๑ วรรคหนึ่งและวรรคสอง เว้นแต่กรณีสั่งไล่ออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๔ หรือไล่ออกหรือปลดออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ (๖) เมื่อมีกรณีที่จะต้องรายงานไปยัง ก.พ. ตาม (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญในเรื่องใด ถ้าเรื่องนั้นมีผู้ถูกดำเนินการทางวินัย หรือถูกสอบสวน หรือดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ ร่วมกันหลายคน แม้สำหรับบางคนจะไม่ต้องด้วยกรณีตาม (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) ก็ให้รายงานไปยัง ก.พ. ทุกคน (๗) กรณีที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยอุทธรณ์คำสั่งต่อ ก.พ. ตามมาตรา ๑๒๕ (๔) หรือมาตรา ๑๒๖ หรือกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการได้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ. ตามมาตรา ๑๒๙ และให้นำ (๖) มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย ข้อ ๑๐ เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว และได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งเห็นชอบกับการดำเนินการแล้วให้รายงานไปยัง ก.พ. ข้อ ๑๑ เมื่อนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือปลัดกระทรวง ได้ดำเนินการทางวินัยหรือดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ (๔) หรือมาตรา ๑๑๕ หรือสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๖ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือปลัดกระทรวงได้สั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๗ หรือมาตรา ๑๒๓ แก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว หรือปลัดกระทรวงได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่งเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าวแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญในสำนักงานปลัดกระทรวงหรือสำนักงานปลัดทบวง แล้วแต่กรณี และได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งเห็นชอบกับการดำเนินการแล้ว ให้รายงานไปยัง ก.พ. เว้นแต่กรณีสั่งไล่ออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๔ หรือไล่ออกหรือปลดออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ ข้อ ๑๒ เมื่ออธิบดีได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ออกจากราชการแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด หรือได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๙ วรรคหนึ่ง เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยหรือการสั่งให้ออกจากราชการ และได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมทั้งเห็นชอบกับการดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ กรณีสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๘ และกรณีสั่งไล่ออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๔ หรือไล่ออกหรือปลดออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ การสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย หรือสั่งให้ออกจากราชการที่รายงาน อ.ก.พ. กระทรวงตามวรรคหนึ่ง ให้กรมเจ้าสังกัดรายงานไปยัง ก.พ. เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน โดยส่งสำเนาคำสั่ง ๓ ฉบับ ไปให้สำนักงาน ก.พ. พร้อมกับที่รายงานไปยัง อ.ก.พ. กระทรวงด้วย ข้อ ๑๓ ให้อธิบดี หรือปลัดกระทรวง หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ที่ได้รับรายงานตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เสร็จโดยเร็วแล้วรายงานไปยัง ก.พ. หรือ อ.ก.พ. กระทรวง แล้วแต่กรณี การรายงาน ก.พ. ตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และการรายงาน อ.ก.พ. กระทรวง ตามข้อ ๑๒ ให้ส่งสำเนาคำสั่ง ๓ ฉบับ และสำนวนการสอบสวนหรือเอกสารการพิจารณาไปด้วยภายในสิบวันทำการนับแต่วันที่ออกคำสั่งหรือวันที่ได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เสร็จ แล้วแต่กรณี การรายงานตามวรรคหนึ่ง สำหรับกรณีของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ให้แสดงประวัติของผู้นั้นเกี่ยวกับอายุตัว อายุราชการ ประวัติการรับราชการ การดำรงตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ประวัติการได้รับโทษหรืองดโทษทางวินัยของผู้นั้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๔ การสั่งไล่ออกจากราชการตามมาตรา ๑๐๔ หรือไล่ออกหรือปลดออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ ให้กระทรวง ทบวง หรือกรม แล้วแต่กรณี รายงานไปยัง ก.พ. เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน โดยส่งสำเนาคำสั่ง ๓ ฉบับ ไปให้สำนักงาน ก.พ. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ออกคำสั่งหรือวันที่ได้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เสร็จ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๒๐/หน้า ๓๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๕
319604
ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.พ. จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติการใต้น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ผู้ปฏิบัติการใต้น้ำตามข้อ ๒ (๑) ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ ในอัตราเดือนละ ๒,๙๐๐ บาท และผู้ปฏิบัติการใต้น้ำตามข้อ ๒ (๒) ให้ได้รับ ต.ป.น. ๒ ในอัตราเดือนละ ๔,๔๓๐ บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ๔.๑ สำหรับปีแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้กำรงตำแหน่ง ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ทุกเดือนตั้งแต่วันรายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นไป จนถึงเดือนสุดท้ายของปี ๔.๒ สำหรับปีต่อ ๆ ไป ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ตามระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำในปีที่แล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณดังนี้ ๔.๒.๑ ถ้ามีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำตั้งแต่ ๕๐ ชั่วโมงขึ้นไปให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ทุกเดือนตลอดปี ๔.๒.๒ ถ้ามีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำตั้งแต่ ๔๐ ชั่วโมงขึ้น แต่ไม่ถึง ๕๐ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ๑๐ เดือน นับตั้งแต่เดือนแรกของปี ๔.๒.๓ ถ้ามีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำตั้งแต่ ๓๐ ชั่วโมงขึ้น แต่ไม่ถึง ๔๐ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ๘ เดือน นับตั้งแต่เดือนแรกของปี ๔.๒.๔ ถ้ามีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำตั้งแต่ ๒๐ ชั่วโมงขึ้น แต่ไม่ถึง ๓๐ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ๖ เดือน นับตั้งแต่เดือนแรกของปี ๔.๒.๕ ถ้ามีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำตั้งแต่ ๑๐ ชั่วโมงขึ้น แต่ไม่ถึง ๒๐ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ๕ เดือน นับตั้งแต่เดือนแรกของปี ๔.๒.๖ ถ้ามีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำไม่ถึง ๑๐ ชั่วโมงขึ้น ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ แล้วแต่กรณี ๒ เดือน นับตั้งแต่เดือนแรกของปี ๔.๒.๗ ถ้าไม่มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำ ไม่ให้ได้รับ ต.ป.น. ๑ หรือ ต.ป.น. ๒ ๔.๓ การคำนวณเวลาปฏิบัติหน้าที่ราชการใต้น้ำ ถ้ามีเศษน้อยกว่าครึ่งชั่วโมงให้ตัดออก ถ้ามีเศษตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงขึ้นไป ให้นับเป็น ๑ ชั่วโมง” ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๑๘/หน้า ๕๒๑/๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔
304207
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2535
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.๒๕๓๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๓๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา ๑๑๒ (๔) และ (๕) จะออกจากราชการตั้งแต่วันใด ให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ ห้ามมิให้สั่งให้ออกย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่ (๑) การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๗ โดยปกติให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล หรือโดยคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี (๒) การสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๑๑๘ ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (๓) ในกรณีที่ได้มีการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการไปแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ ก็ให้สั่งให้ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม (๔) กรณีใดมีเหตุสมควรสั่งให้ออกจากราชการย้อนหลัง ก็ให้สั่งให้ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการทำให้เสียประโยชน์ตามสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งให้ออกนั้น ข้อ ๕ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามมาตรา ๑๐๗ จะสั่งให้ออกตั้งแต่วันใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ออกตามความในมาตรา ๑๐๗ ข้อ ๖ การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ห้ามมิให้สั่งปลดออก หรือไล่ออกย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่ (๑) ในกรณีที่ได้มีคำสั่งให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน เมื่อจะสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันพักราชการ หรือวันให้ออกจากราชการไว้ก่อน แล้วแต่กรณี (๒) การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ในกรณีกระทำผิดวินัยโดยละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันและไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีก ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันละทิ้งหน้าที่ราชการนั้น (๓) การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ในกรณีกระทำความผิดอาญา จนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยปกติให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด หรือวันถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี (๔) ในกรณีที่ได้มีการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการไปแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่ง การลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ในกรณีเช่นนี้ ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการตามคำสั่งเดิม แต่ถ้าวันออกจากราชการตามคำสั่งเดิมไม่ถูกต้อง ก็ให้สั่งลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม (๕) ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ ไปแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ให้สั่งปลดออก หรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม (๖) การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งนั้นได้ออกจากราชการโดยถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น หรือได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ไปก่อนแล้ว ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการนั้น (๗) การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งนั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนแล้ว ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ (๘) กรณีใดมีเหตุสมควรสั่งปลดออก หรือไล่ออกจากราชการย้อนหลัง ก็ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการทำให้เสียประโยชน์ตามสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งลงโทษนั้น ข้อ ๗ การสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษให้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับประกอบกับมาตรา ๑๓๘ ให้นำข้อ ๔ หรือข้อ ๖ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ เกษม สุวรรณกุล รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๓/หน้า ๖/๒๙ กันยายน ๒๕๓๕
304210
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ พ.ศ. 2536
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๖[๑] โดยที่ ก.พ. และกระทรวงการคลังเห็นสมควรกำหนดเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมทางอากาศ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในท่าอากาศยานหรือสนามบิน หรือศูนย์สื่อสารการบินของทางราชการ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๘ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๔ เจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศตามระเบียบนี้หมายถึงผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน หรือตำแหน่งเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศตามที่ ก.พ.กำหนด ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ ผู้ซึ่งจะได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารการบิน หรือควบคุมจราจรทางอากาศ และต้องปฏิบัติงานอยู่ในท่าอากาศยานหรือสนามบิน หรือศูนย์สื่อสารการบินของทางราชการ ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่สื่อสารการบิน และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ ให้ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ ถึงระดับ ๓ เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๔ เดือนละ ๒,๔๐๐ บาท (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๕ ขึ้นไป เดือนละ ๒,๙๐๐ บาท ข้อ ๗ การจ่ายเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มไม่เต็มเดือนให้จ่ายตามส่วนจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มในเดือนนั้น ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๒๖/หน้า ๑/๔ มีนาคม ๒๕๓๖
654010
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2508 (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/03/2514)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า แต่เดิมมาเคยมีทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ให้แก่นักเรียนที่เรียนสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์ เมื่อนักเรียนทุนเหล่านี้เรียนสำเร็จแล้วก็ได้กลับมารับราชการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาการให้ทุนเล่าเรียนหลวงได้ยุติลง สมควรที่จะได้จัดเรื่องนี้ขึ้นอีก คณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติสนองตามพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยให้ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบแข่งขันกันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงตามระเบียบที่ ก.พ. จะได้กำหนดต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ก.พ. จึงวางระเบียบทุนเล่าเรียนหลวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘” ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทุนเล่าเรียนหลวง ข้อ ๓ กําหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญของกระทรวงศึกษาธิการได้ดีเยี่ยมปีละ ๙ ทุน แบ่งเป็นแผนกดังนี้ ๓.๑ ผู้ที่สอบทางแผนกศิลปะ ๓ ทุน ๓.๒ ผู้ที่สอบทางแผนกวิทยาศาสตร์ ๓ ทุน ๓.๓ ผู้ที่สอบทางแผนกทั่วไป ๓ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใดผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔[๒] ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีกำหนดไม่เกิน ๕ ปี โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมารับราชการ ข้อ ๕[๓] ถ้าครบ ๕ ปี ตามที่ได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวงทบวงกรมใด หรือองค์การรัฐบาลใดก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงแห่งทุนนั้น ๆ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ยกเว้น (๒) ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบต้องมีอายุนับถึงวันหมดเขตการรับสมัครไม่เกิน ๑๙ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๘[๔] ผู้สมัครสอบจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ ก.พ. ข้อ ๙[๕] ผู้สมัครสอบต้องมีชื่อในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียนผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญประจำปีการศึกษาก่อนปีที่มีการจัดการสอบเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นไปเพียงรุ่นเดียว โดยต้องได้คะแนนรวมในหมวดวิชาบังคับร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และสำหรับแผนกวิทยาศาสตร์ต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ส่วนแผนกศิลปะ กับแผนกทั่วไปต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบจะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้เข้าสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญเกินกว่า ๑ ครั้ง ข้อ ๑๑ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี โดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ต้นสังกัดแสดงด้วย สิทธิในการสอบรับทุน ข้อ ๑๒ ผู้สมัครสอบมีสิทธิในการสมัครสอบรับทุนตามสาขาที่ตนเรียน ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกศิลปะจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๑ ๑๒.๒ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกวิทยาศาสตร์จะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๒ ๑๒.๓ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกทั่วไปจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๓ วิชาที่กำหนดให้เรียน ข้อ ๑๓ ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ในประเทศไหน ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยพิจารณาความประสงค์ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของผู้ที่ได้รับทุน การสอบ ข้อ ๑๔ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป การควบคุมดูแล ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและระเบียบการของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐[๖] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑[๗] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔[๘] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๙๓/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๔] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑ [๕] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๐๒/๑๘ เมษายน ๒๕๑๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๓๑/หน้า ๑๔๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๑๔
323157
ระเบียบสำนักงาน ก.พ. ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับคำขอยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป คำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษ และคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. 2543
ระเบียบสำนักงาน ก ระเบียบสำนักงาน ก.พ. ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับ คำขอยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป คำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษ และคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. ๒๕๔๓ อาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๒ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ จึงให้ออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับคำขอยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป คำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษ และคำขอร้องทุกข์ คำสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๑๒๕ (๔) มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๙ มาตรา ๑๔๐ และมาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เฉพาะขั้นตอนที่สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงาน ก.พ. ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับคำขอยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป คำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษ และคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. ๒๕๔๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบสำนักงาน ก.พ. ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับคำขอยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป พ.ศ. ๒๕๓๖ (๒) ระเบียบสำนักงาน ก.พ. ว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับคำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ และคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ก.พ.”หมายถึง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน “อ.ก.พ.” หมายถึง คณะอนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก ก.พ. ให้ทำการแทน “วัน” หมายถึง วันทำการตามปกติ “เอกสารการพิจารณา” หมายถึง สำนวนการสอบสวนรวมทั้งคำขออุทธรณ์หรือคำขอร้องทุกข์ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง “เรื่องไม่ยุ่งยาก” หมายถึง คำขออุทธรณ์หรือคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการที่มีข้อกฎหมาย มติ ก.พ. หรือมติคณะรัฐมนตรีเป็นแนวทางอยู่แล้ว หรือเป็นเรื่องที่มีปัญหาข้อเท็จจริง ข้ออุทธรณ์ หรือข้อร้องทุกข์เพียงประเด็นเดียวหรือเป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ถูกดำเนินการทางวินัยที่ต้องรายงานมายัง ก.พ. ด้วย หรือเป็นเรื่องที่มีเอกสารการพิจารณาไม่เกิน ๒๐๐ แผ่น “เรื่องยุ่งยาก” หมายถึง คำขออุทธรณ์หรือคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการที่ไม่มีข้อกฎหมาย มติ ก.พ. หรือมติคณะรัฐมนตรีเป็นแนวทางหรือเป็นเรื่องที่มีปัญหาข้อเท็จจริง ข้ออุทธรณ์ หรือข้อร้องทุกข์หลายประเด็น หรือเป็นเรื่องที่มีผู้ถูกดำเนินการทางวินัยที่ต้องรายงานมายัง ก.พ. ด้วย หรือเป็นเรื่องที่มีเอกสารการพิจารณาเกิน ๒๐๐ แผ่น แต่ไม่เกิน๕๐๐ แผ่น “เรื่องยุ่งยากมาก” หมายถึง คำขออุทธรณ์หรือคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการ ที่ดำเนินการตรวจสำนวนเป็นคณะ หรือเป็นเรื่องที่มีผู้ถูกดำเนินการทางวินัยต่างสังกัดกันที่ต้องรายงานมายัง ก.พ. ด้วย หรือเป็นเรื่องที่อุทธรณ์หรือร้องทุกข์คำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือเป็นเรื่องที่มีเอกสารการพิจารณาเกิน ๕๐๐ แผ่น แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ แผ่น “เรื่องยุ่งยากมากเป็นพิเศษ” หมายถึง คำขออุทธรณ์หรือคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการที่อยู่ในเกณฑ์เป็นเรื่องยุ่งยากมาก และมีเอกสารการพิจารณาตั้งแต่ ๑,๐๐๐ แผ่น ขึ้นไป ข้อ ๕ เมื่อสำนักงาน ก.พ. ได้รับคำขอยกเว้นคุณสมบัติทั่วไปแล้ว มีขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการดังนี้ ๕.๑ คำขอยกเว้นคุณสมบัติทั่วไปเพื่อสมัครกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๖๕ หรือมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ๕.๑.๑ กรณีเป็นคำขอที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณาหรือเป็นคำขอที่มีเอกสารประกอบคำขอไม่ครบถ้วน จะมีหนังสือแจ้งผู้ขอภายใน ๑๒ วันนับแต่วันรับคำขอ ๕.๑.๒ กรณีเป็นคำขอที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณา และมีเอกสารประกอบคำขอครบถ้วน มีขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการดังนี้ ก. คำขอที่ยื่นต่อสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ. จะมีหนังสือสอบถามส่วนราชการว่าต้องการรับผู้ขอกลับเข้ารับราชการหรือไม่ภายใน ๑๒ วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีที่ส่วนราชการแจ้งว่าต้องการรับและส่งเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาครบถ้วนแล้ว จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. ภายใน ๒๕ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากส่วนราชการ เมื่อ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. ได้พิจารณามีมติแล้วจะมีหนังสือแจ้งผลให้ผู้ขอทราบภายใน ๕ วัน นับแต่วันที่ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. มีมติ ในกรณีที่ส่วนราชการแจ้งว่าไม่ต้องการรับหรือไม่แจ้งให้ทราบภายในหกเดือนนับแต่วันที่สำนักงาน ก.พ. ส่งเรื่องไปให้ ซึ่งตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการขอและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป พ.ศ. ๒๕๓๕ ถือว่าไม่ต้องการรับ จะมีหนังสือแจ้งผลให้ผู้ขอทราบภายใน ๕ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากส่วนราชการ หรือวันที่ล่วงพ้นหกเดือน แล้วแต่กรณี ข. คำขอที่ยื่นต่อส่วนราชการ ในกรณีที่ส่วนราชการต้องการรับและส่งเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาครบถ้วนแล้ว จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. และมีหนังสือแจ้งผลให้ส่วนราชการทราบภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ก. ๕.๒ คำขอยกเว้นคุณสมบัติทั่วไปเพื่อสมัครสอบแข่งขัน ตามมาตรา ๔๗ หรือเพื่อเข้ารับการคัดเลือก ตามมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ๕.๒.๑ กรณีเป็นคำขอที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณาหรือเป็นคำขอที่มีเอกสารประกอบคำขอไม่ครบถ้วน จะหนังสือแจ้งผู้ขอภายใน ๑๒ วันนับแต่วันรับคำขอ ๕.๒.๒ กรณีเป็นคำขอที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณา จะมีหนังสือขอเอกสารหลักฐานจากส่วนราชการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. และมีหนังสือแจ้งผลให้ผู้ขอทราบภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๕.๑.๒ ข้อ ๖ เมื่อสำนักงาน ก.พ. ได้รับคำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ออกปลดออก หรือไล่ออกจากราชการแล้ว มีขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการดังนี้ ๖.๑ การดำเนินการเพื่อเสนอ อ.ก.พ. ๖.๑.๑ มีหนังสือขอสำนวนการสอบสวนและหลักฐานการรับทราบคำสั่งลงโทษภายใน ๕ วันนับแต่วันรับคำขอ ๖.๑.๒ กรณีได้รับเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาจะตรวจสอบภายใน ๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับเอกสาร ในกรณีที่ได้รับไม่ครบ จะมีหนังสือขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายใน ๕ วันนับแต่วันที่ตรวจพบ ๖.๑.๓ เมื่อได้รับเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาครบถ้วนแล้ว กรณีเป็นคำขอที่ไม่ยื่นหรือส่งภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือเป็นคำขอที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณาประการอื่น จะจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. ภายใน ๑๕ วัน และเมื่อ อ.ก.พ. มีมติว่าเป็นคำขอที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับไว้พิจารณาแล้ว จะมีหนังสือแจ้งผลให้ผู้ขอทราบภายใน ๕ วันนับแต่วันที่ อ.ก.พ. มีมติ กรณีเป็นคำขอที่อยู่ในเกณฑ์ที่รับไว้พิจารณาได้ จะตรวจสำนวนและจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. โดยเรื่องไม่ยุ่งยากภายใน ๕๕ วัน เรื่องยุ่งยากภายใน ๗๕ วัน เรื่องยุ่งยากมากภายใน ๑๑๐ วัน และเรื่องยุ่งยากมากเป็นพิเศษภายใน ๒๐๐ วัน ๖.๑.๔ ระยะเวลาดำเนินการในแต่ละกรณีตามข้อ ๖.๑.๓ วรรคสาม ไม่รวมถึงกรณีที่สำนักงาน ก.พ. จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้เอกสารหรือข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เช่น การขอเอกสารหรือข้อเท็จจริงจากหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้ ให้ขยายระยะเวลาออกไปเพื่อดำเนินการดังกล่าวจนแล้วเสร็จ ๖.๑.๕ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสำนวนมีเรื่องที่จะต้องดำเนินการพร้อมกันหลายเรื่อง และไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดในข้อ ๖.๑.๓ วรรคสาม ได้ ให้เสนอขอขยายเวลาต่อเลขาธิการ ก.พ. หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็นแก่กรณีโดยใช้ระยะเวลาตามข้อดังกล่าวเป็นเกณฑ์ ๖.๒ การดำเนินการตามมติ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. ๖.๒.๑ กรณีมีมติให้ยกอุทธรณ์ จะจัดทำบันทึกรายงานนายกรัฐมนตรี ภายใน ๒๕ วัน นับแต่วันรับรองรายงานการประชุม ๖.๒.๒ กรณีมีมติให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษ จะจัดทำบันทึกรายงานนายกรัฐมนตรี ภายใน ๓๕ วัน นับแต่วันรับรองรายงานการประชุม ๖.๒.๓ กรณีมีมติให้เสนอ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. คณะอื่นจะจัดทำบันทึกเพื่อเสนอที่ประชุมดังกล่าว ภายใน ๒๕ วัน นับแต่วันรับรองรายงานการประชุม และเมื่อได้รับมติ ก.พ. หรือ อ.ก.พ. คณะอื่นแล้วจะจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. ภายใน ๑๕ วัน ๖.๒.๔ กรณีมีมติให้สอบสวนเพิ่มเติม จะออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายใน ๑๐ วันนับแต่วันรับรองรายงานการประชุมและจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. พิจารณาภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่สอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแล้วเสร็จ และเมื่อ อ.ก.พ. มีมติแล้วหากต้องจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ ก.พ. จะดำเนินการภายใน ๒๕ วัน นับแต่วันรับรองรายงานการประชุม ๖.๒.๕ กรณีมีมติให้ส่วนราชการสอบสวนเพิ่มเติม หรือขอข้อเท็จจริง หรือให้ดำเนินการเพิ่มเติม จะมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการตามมติภายใน ๕ วันนับแต่วันรับรองรายงานการประชุม และเมื่อสำนักงาน ก.พ. ได้รับข้อเท็จจริงรวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ต้องการครบถ้วนแล้ว จะตรวจสำนวนและจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. ภายใน ๓๐ วัน และเมื่อ อ.ก.พ. มีมติแล้ว หากต้องจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ ก.พ. จะดำเนินการภายใน ๒๕ วัน นับแต่วันรับรองรายงานการประชุม กรณีตามข้อ ๖.๒.๓ ถึงข้อ ๖.๒.๕ ซึ่งจะต้องรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการด้วยนั้น สำนักงาน ก.พ. จะจัดทำบันทึกรายงานนายกรัฐมนตรีภายในระยะเวลาตามข้อ ๖.๒.๑ หรือข้อ ๖.๒.๒ แล้วแต่กรณี ๖.๓ การดำเนินการตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี และการแจ้งผลให้ผู้ขอทราบ ๖.๓.๑ กรณีสั่งการให้ยกอุทธรณ์ตามมติ ก.พ. จะมีหนังสือแจ้งผลและส่งเอกสารหลักฐานคืนส่วนราชการ และแจ้งผลให้ผู้ขอทราบภายใน ๑๐ วันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ๖.๓.๒ กรณีสั่งการให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษตามมติ ก.พ. จะมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการดำเนินการและแจ้งผลให้ผู้ขอทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ๖.๓.๓ กรณีสั่งการให้ ก.พ. ทบทวนจะจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ อ.ก.พ. ภายใน ๒๕ วันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งของนายกรัฐมนตรี กรณีต้องจัดทำบันทึกเพื่อเสนอ ก.พ. จะดำเนินการภายใน ๒๕ วันนับแต่วันรับรองรายงานการประชุม และเมื่อ อ.ก.พ. หรือ ก.พ. มีมติแล้ว จะจัดทำบันทึกรายงานนายกรัฐมนตรีภายในระยะเวลาตามข้อ ๖.๒.๑ หรือข้อ ๖.๒.๒ แล้วแต่กรณี เมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการแล้ว กรณียกอุทธรณ์จะดำเนินการ เพื่อแจ้งผลให้ผู้ขอและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบตามข้อ ๖.๓.๑ กรณีเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษ จะดำเนินการเพื่อแจ้งผลตามข้อ ๖.๓.๒ ๖.๓.๔ กรณีสั่งการให้เสนอคณะรัฐมนตรี จะจัดทำบันทึกเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน ๒๐ วันนับแต่วันรับแจ้งคำสั่งของนายกรัฐมนตรีและเมื่อได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรีแล้ว กรณียกอุทธรณ์จะดำเนินการเพื่อแจ้งผลตามข้อ ๖.๓.๑ กรณีเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษ จะดำเนินการเพื่อแจ้งผลตามข้อ ๖.๓.๒ ข้อ ๗ เมื่อสำนักงาน ก.พ. ได้รับคำขออุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามมาตรา ๑๒๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อ ๖ โดยอนุโลม ข้อ ๘ เมื่อสำนักงาน ก.พ. ได้รับคำขอร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อ ๖ โดยอนุโลม ข้อ ๙ คำขอยกเว้นคุณสมบัติทั่วไป คำขออุทธรณ์ หรือคำขอร้องทุกที่สำนักงาน ก.พ. ได้รับไว้แล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ และยังพิจารณาดำเนินการไม่แล้วเสร็จจนถึงขั้นแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๒๑/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
339130
ระเบียบ ว่าด้วยวิธีการที่จะบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญ จากผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ เป็นพิเศษ
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยวิธีการที่จะบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญ จากผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ เป็นพิเศษ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก.พ. วางระเบียบว่าด้วยวิธีการที่จะบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ เป็นพิเศษ ตามมาตรา ๕๖ ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ ให้ใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน ข้อ ๒ เมื่อกระทรวงทบวงกรมใดมีความจำเป็นที่จะบรรจุข้าราชการจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ เป็นพิเศษ และจะเสนอเรื่องไปให้ ก.พ. สอบสวนให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๓ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ หรือแม้จะขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แต่ต้องได้รับยกเว้นตามมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ แล้ว ข้อ ๔ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุต้องเป็นผู้ที่ได้เคยปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับคุณวุฒินั้นจนเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า มีความจัดเจนในสาขางานนั้นมาแล้วเป็นพิเศษ ข้อ ๕ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุต้องยื่นรายละเอียดประวัติตามแบบท้ายระเบียบนี้ พร้อมทั้งหนังสือใบรับรองการตรวจโรคจากนายแพทย์ของทางราชการ หนังสือแสดงคุณวุฒิความสามารถ และแสดงประวัติการปฏิบัติงานในหน้าที่เกี่ยวกับคุณวุฒินั้น ต่อกระทรวงทบวงกรมที่จะรับบรรจุ ข้อ ๖ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุต้องแต่งวิทยานิพนธ์โดยแสดงแผนการ โครงการ และวิธีปฏิบัติการ ตลอดจนการปรับปรุงแก้ไขดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แก่ทางราชการในส่วนราชการที่จะบรรจุ หรือแสดงฝีมือว่ามีความจัดเจนเป็นพิเศษในสาขางานนั้น หรือแสดงความชำนาญในสาขางานเป็นพิเศษนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ กระทรวงทบวงกรมที่จะรับบรรจุต้องนำส่งแบบแสดงรายละเอียดประวัติและหลักฐานตามข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ และข้อ ๖ (เอกสารตามข้อ ๕ และข้อ ๖ ให้ส่งสำเนา ๒๐ ชุด) พร้อมทั้งเสนอคำชี้แจงไปยัง ก.พ. ดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ตำแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งนั้นเป็นตำแหน่งอะไร มีอัตราเงินเดือนเท่าใด จะขอบรรจุให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ตั้งแต่วันเดือนปีใด (๒) งานในตำแหน่งที่จะบรรจุนั้น มีผู้ปฏิบัติอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ามีผู้ปฏิบัติอยู่แล้ว ผลงานที่ได้มีประการใด ให้แสดงสถิติประกอบด้วย (๓) หน้าที่ คุณภาพและปริมาณงานในตำแหน่งที่จะบรรจุ (๔) ความจำเป็นที่จะต้องบรรจุพร้อมด้วยเหตุผล ข้อ ๘ ในการสอบสวนของ ก.พ. ให้กระทรวงทบวงกรมที่จะรับบรรจุไปแถลงชี้แจงพร้อมกับนำตัวผู้ที่จะได้รับการบรรจุนั้นไปเพื่อ ก.พ. ทำการสัมภาษณ์ด้วย ในการสอบสวนนี้ ถ้าหากเห็นสมควร ก.พ. อาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในวิชาสาขางานนั้นมาร่วมพิจารณาชี้แจงด้วยก็ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. (สำเนา) แบบแสดงรายละเอียดประวัติของผู้ที่จะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๑/ตอนที่ ๖๓/หน้า ๑๔๔๐/๕ ตุลาคม ๒๔๙๗
319606
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2536
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๓๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๑๑๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ.ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๓๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง ตามแบบหนังสือขอลาออกจากราชการ ท้ายระเบียบนี้ การยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการ นอกจากกรณีลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๑๓ วรรคสี่ ให้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษ ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันขอลาออกให้ผู้ที่ประสงค์จะลาออกจากราชการยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่า ๓๐ วันก็ได้ หนังสือขอลาออกจากราชการที่ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่า ๓๐ วันโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออก หรือที่มิได้ระบุวันขอลาออก ให้ถือวันถัดจากวันครบกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันยื่นเป็นวันขอลาออก ข้อ ๔ เมื่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งของผู้ขอลาออกจากราชการได้รับหนังสือขอลาออกแล้ว ให้บันทึกวันยื่นหนังสือขอลาออกนั้นไว้เป็นหลักฐาน และให้ตรวจสอบว่าหนังสือขอลาออกดังกล่าวได้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า ๓๐ วันหรือไม่ พร้อมทั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปภายใน ๗ วันนับแต่วันได้รับหนังสือขอลาออกและให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปแต่ละระดับเสนอความเห็นตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกภายใน ๗ วันนับแต่วันได้รับรายงาน ในกรณีที่ผู้ขอลาออกเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคและผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจอนุญาตการลาออก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งหนังสือขอลาออกของผู้นั้นพร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้มีอำนาจอนุญาตลาการลาออกเพื่อพิจารณาโดยตรง ข้อ ๕ เมื่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกได้รับหนังสือขอลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดแล้ว ถ้าเป็นหนังสือขอลาออกจากราชการที่ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน หรือที่มิได้ระบุวันขอลาออก ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกพิจารณาว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก โดยให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกพิจารณาเห็นว่าควรอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออกแล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกด้วย (๒) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกพิจารณาเห็นว่าควรยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก เนื่องจากจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออก แล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกด้วย ทั้งนี้ การยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก ให้สั่งยับยั้งได้เพียงครั้งเดียวและจะขยายอีกไม่ได้ ในกรณีเป็นหนังสือขอลาออกจากราชการที่ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่า ๓๐ วัน เมื่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกได้รับหนังสือขอลาออกดังกล่าวแล้ว ให้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันขอลาออกว่าจะอนุญาตให้ยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่า ๓๐ วัน ตามที่ผู้ขอลาออกได้ยื่นไว้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทราบว่าวันขอลาออกในกรณีดังกล่าวคือวันที่ระบุไว้ในหนังสือขอลาออก หรือวันถัดจากวันครบกำหนด ๓๐ วันนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออก แล้วให้พิจารณาดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้ขอลาออกได้ออกจากราชการไปโดยผลของกฎหมายเนื่องจากผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกและมิได้มีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกก่อนวันขอลาออก หรือเนื่องจากครบกำหนดเวลายับยั้งการอนุญาตให้ลาออก ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกมีหนังสือแจ้งวันออกจากราชการให้ผู้ขอลาออกทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบด้วย ข้อ ๗ การยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๑๓ วรรคสี่ ให้ยื่นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งอย่างช้าภายในวันที่ขอลาออก และให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเสนอหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ขอลาออกเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในราชการบริหารส่วนภูมิภาคและผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจอนุญาตการลาออก ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งหนังสือขอลาออกของผู้นั้นไปยังผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกเพื่อพิจารณาโดยตรง เมื่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกได้รับหนังสือขอลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้มีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ตั้งแต่วันที่ขอลาออก ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือขอลาออกจากราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๙๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๙ กรกฎาคม ๒๕๓๖
304208
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. 2535
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] โดยที่รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความสามารถสูงเข้ารับราชการเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะต้องพิจารณาจัดทุนของรัฐบาลเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะสนองความต้องการกำลังคนของกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ตามโครงการหรือแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรรหาผู้มีความรู้ความสามารถมารับทุนของรัฐบาล ตลอดจนดูแลจัดการการศึกษาของผู้รับทุนของรัฐบาล และจัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนของรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๓๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ทุนของรัฐบาล” หมายความว่า ทุนที่ได้มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนที่จะสนองความต้องการกำลังคนของส่วนราชการ และหมายความรวมถึงทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นทุนของรัฐบาลด้วย “ทุนกลาง” หมายความว่า ทุนของรัฐบาลที่ยังไม่ได้จัดสรรผู้รับทุนให้แก่ส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งโดยเฉพาะ “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ข้อ ๔ ให้สำนักงาน ก.พ. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนและกระบวนการจัดสรรทุนของรัฐบาลประจำปีต่อ ก.พ. โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความต้องการกำลังคนของทางราชการและของส่วนราชการ ตลอดจนสภาพการณ์โดยทั่วไปเกี่ยวกับกำลังคน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ ข้อ ๕ ให้สำนักงาน ก.พ. ขอตั้งงบประมาณประจำปี รวมทั้งจัดหาทุนจากแหล่งทุนอื่น เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนของรัฐบาลในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะศึกษาหรือฝึกอบรมในประเทศหรือต่างประเทศ เพื่อสนองความต้องการกำลังคนของส่วนราชการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๖ ให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรทุนของรัฐบาลเป็นทุนกลาง และทุนตามความต้องการของส่วนราชการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๗ การจัดสรรทุนของรัฐบาลเพื่อส่งผู้รับทุนไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ให้คำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของทางราชการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ในสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ไม่มีการเรียนการสอนในประเทศ หรือมีแต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของทางราชการหรือระดับความรู้ ความก้าวหน้าทางวิชาการยังไม่สูงพอ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้มีความรู้ความเข้าใจในภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง และให้มีผู้ไปศึกษาในหลายประเทศ เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางวิชาการและนำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของแต่ละประเทศมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ข้อ ๘ ให้สำนักงาน ก.พ. จัดสรรผู้รับทุนของรัฐบาลที่จัดไว้เป็นทุนกลางให้แก่ส่วนราชการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน จำนวนกำลังคนในสาขาวิชาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่มีอยู่แล้วในส่วนราชการนั้น การใช้ประโยชน์จากผู้รับทุน รวมทั้งความสมัครใจของผู้รับทุนด้วย ทั้งนี้ ให้จัดสรรโดยสอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดสรรทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. กำหนดแล้วรายงานให้ก.พ. ทราบ ข้อ ๙ ให้สำนักงาน ก.พ. เลือกสรรผู้มีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมเพื่อรับทุนของรัฐบาลด้วยวิธีการสอบแข่งขัน หรือวิธีการอื่นใดที่ ก.พ. เห็นว่าเหมาะสม เพื่อให้ได้ผู้รับทุนของรัฐบาลตามจำนวนทุนที่จัดสรรไว้ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความเสมอภาคในโอกาส ความเป็นธรรม ความเร่งด่วน ความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้รับทุนที่จะสามารถศึกษาให้สำเร็จ และกลับมารับราชการตามแผนงานหรือโครงการที่กำหนดไว้ได้ ตลอดจนพันธะต่าง ๆ ที่มีอยู่ ข้อ ๑๐ ให้สำนักงาน ก.พ. เสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ ตลอดจนทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดสรรทุนของรัฐบาล การเลือกสรรผู้รับทุนของรัฐบาล การดูแลจัดการการศึกษาของผู้รับทุนของรัฐบาล การพัฒนาและธำรงรักษาผู้รับทุนของรัฐบาลไว้ใช้ในราชการ และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ต่อ ก.พ. เพื่ออนุมัติให้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ และให้ถือว่าระเบียบและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับทุนของรัฐบาลที่ ก.พ. หรือสำนักงาน ก.พ. ได้วางไว้ก่อนวันใช้บังคับระเบียบนี้ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระเบียบนี้ เว้นแต่ ก.พ. จะพิจารณากำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๑ ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. ที่จะประสานเพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดกับผู้รับทุนของรัฐบาลสามารถติดต่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อให้การศึกษาหรือฝึกอบรมของผู้รับทุนของรัฐบาลเป็นประโยชน์และตรงกับความต้องการในการใช้กำลังคนของส่วนราชการอย่างดีที่สุด ภายใต้กฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่ ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๒ ให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรทุนของรัฐบาลติดตามการใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนของรัฐบาลที่รับราชการอยู่ในส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากผู้รับทุนของรัฐบาลตามโครงการหรือแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเต็มที่ ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เกษม สุวรรณกุล รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๕
319605
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน ทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และการปฏิบัติการอื่น พ.ศ. 2535
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน ทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และการปฏิบัติการอื่น พ.ศ. ๒๕๓๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบรรจุการแต่งตั้งการเลื่อนขั้นเงินเดือน ทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน และการปฏิบัติการอื่น พ.ศ. ๒๕๓๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ เมื่อได้มีคำสั่งหรือประกาศเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนผู้ใด ดังต่อไปนี้ (๑) สั่งบรรจุและแต่งตั้ง ซึ่งหมายถึงสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ตามมาตรา ๔๖ ผู้ได้รับคัดเลือกตามมาตรา ๕๐ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ชำนาญการ ตามมาตรา ๕๑ สั่งรับโอนมาบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๖๑ หรือสั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปแล้วตามมาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ หรือมาตรา ๖๖ (๒) สั่งแต่งตั้ง ซึ่งหมายถึงสั่งย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นตามมาตรา ๕๗ สั่งเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ตามมาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๕๙ สั่งรับโอนมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๔ หรือมาตรา ๖๐ สั่งแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกับตำแหน่งเดิมตามมาตรา ๖๒ สั่งแต่งตั้งผู้ประจำกระทรวง ประจำทบวง ประจำกรม ประจำกอง หรือประจำจังหวัด ให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๖๙ สั่งแต่งตั้งผู้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๗๐ สั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้ออกจากราชการหรือออกจากงาน กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามมาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๒๑ มาตรา ๑๒๖ มาตรา ๑๒๘ มาตรา ๑๒๙ หรือมาตรา ๑๓๐ (๓) สั่งให้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เลื่อนขั้นเงินเดือน หรือให้ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ (๔) สั่งให้ประจำกระทรวง ประจำทบวง ประจำกรม ประจำกอง หรือประจำจังหวัด ตามมาตรา ๖๙ หรือสั่งให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนตามมาตรา ๗๐ (๕) สั่งให้โอน หรือสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๑๓ (๖) สั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๖๗ มาตรา ๑๐๗ มาตรา ๑๑๔ (๑) (๒) (๓) (๕) (๖) มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๑๘ หรือมาตรา ๑๒๓ หรือสั่งให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๔๖ มาตรา ๕๙ มาตรา ๙๖ มาตรา ๙๙ หรือ มาตรา ๑๐๐ หรือตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๙ หรือมาตรา ๔๐ (๗) ประกาศการพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๘) ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนดำรงตำแหน่ง หรือประกาศพระบรมราชโองการให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดที่ออกคำสั่งหรือประกาศดังกล่าวรายงานไปยัง ก.พ. โดยส่งสำเนาคำสั่งหรือประกาศนั้นอย่างละ ๓ ฉบับ ไปให้ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ออกคำสั่งหรือประกาศ และสำหรับกรณีสั่งบรรจุและแต่งตั้งตาม (๑) ให้ส่งทะเบียนประวัติของข้าราชการพลเรือน (ก.พ.๗) ของผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งที่ได้กรอกรายการและตรวจสอบถูกต้องแล้วไปพร้อมกันด้วย ในกรณีที่จังหวัดเป็นผู้ออกคำสั่ง ให้จังหวัดรายงานไปยังกรมเจ้าสังกัดของข้าราชการพลเรือนผู้นั้นอีกส่วนหนึ่งด้วย ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนผู้ใดได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศหรือลาติดตามคู่สมรสตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ ได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น สมรส หย่า เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือตาย ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดที่อนุญาต หรือได้รับแจ้ง รายงานไปยัง ก.พ. ภายในห้าวันทำการนับแต่วันอนุญาตหรือวันได้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี ในกรณีที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาตหรือได้รับแจ้ง ให้จังหวัดรายงานไปยังกรมเจ้าสังกัดของข้าราชการพลเรือนผู้นั้นอีกส่วนหนึ่งด้วย ข้อ ๕ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๒๐/หน้า ๒๘/๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๕
317228
ระเบียบ ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งผู้ทำการในอากาศ พ.ศ. 2534
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ทำการในอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ทำการในอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๑ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ก.พ. จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งผู้ทำการในอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อกำหนดว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ทำการในอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ปี” หมายถึง ปีงบประมาณ “ส่วนราชการ” หมายถึง ส่วนราชการที่เหตุพิเศษที่จะต้องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศ “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการซึ่งแต่ละส่วนราชการแต่งตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามระเบียบนี้ “ผู้ทำการในอากาศ” หมายถึง ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งส่วนราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในอากาศเป็น (๑) นักบิน หรือนักบินผู้ตรวจการบิน บนอากาศยานเป็นประจำ หรือนักบินทดสอบบนเครื่องบินทดสอบเป็นประจำ (๒) ผู้ควบคุมและใช้อุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) บนเครื่องบินทดสอบเป็นประจำ (๓) ผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) บนอากาศยานหรือบนเครื่องบินทดสอบเป็นประจำ หรือช่างอากาศ ช่างเครื่องบิน พนักงานวิทยุ บนอากาศยานเป็นประจำ “ต.น.ก. ๑” หมายถึง เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งผู้ทำการในอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบิน นักบินผู้ตรวจการบินหรือนักบินทดสอบ “ต.น.ก. ๒” หมายถึง เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งผู้ทำการในอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและใช้อุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) “ต.น.ก. ๓” หมายถึง เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งผู้ทำการในอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ช่างอากาศ ช่างเครื่องบิน หรือพนักงานวิทยุ ข้อ ๕ ผู้ทำการในอากาศต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบิน ต้องเป็นผู้สำเร็จวิชาการบินตามหลักสูตรโรงเรียนการบินของกองทัพอากาศ หรือกองทัพบก หรือศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือของกระทรวงคมนาคม และต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบินทำการบินประจำเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัดหรือเฮลิคอปเตอร์ได้ (๒) ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบินผู้ตรวจการบิน หรือนักบินทดสอบ ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ไม่ต่ำกว่านักบินพาณิชย์ตรี และต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการว่าเป็นผู้มีความสามารถในการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน มีความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบินที่จะเป็นนักบินผู้ตรวจการบิน หรือนักบินทดสอบได้ (๓) ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและใช้อุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบินทดสอบ การวิเคราะห์และประเมินผลการบินทดสอบจากกรมการบินพาณิชย์ หรือสถาบันอื่นในต่างประเทศ และต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและใช้อุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ได้ (๔) ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการแก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) จากกรมการบินพาณิชย์ หรือสถาบันอื่นในต่างประเทศและต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ได้ (๕) ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นช่างอากาศ หรือช่างเครื่องบินต้องเป็นผู้สำเร็จหลักสูตรวิชาช่างเครื่องบิน หรือหลักสูตรช่างอากาศยานจากกองทัพอากาศ หรือศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย หรือสถาบันอื่นในต่างประเทศและต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นช่างอากาศ หรือช่างเครื่องบินประจำเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัดหรือเฮลิคอปเตอร์ได้ (๖) ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุ ต้องเป็นผู้สำเร็จหลักสูตรวิชาสื่อสารพนักงานวิทยุประจำอากาศยาน และต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานวิทยุประจำเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัดหรือเฮลิคอปเตอร์ได้ ข้อ ๖ ให้ผู้ทำการในอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นนักบิน นักบินผู้ตรวจการบิน หรือนักบินทดสอบ ได้รับ ต.น.ก. ๑ ดังนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ และระดับ ๒ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๒,๖๖๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๓,๕๔๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๕ ขึ้นไป และมีหรือเคยมีชั่วโมงทำการบินมาแล้วไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ชั่วโมง ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๔,๔๓๐ บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งเข้าปฏิบัติหน้าที่ให้ได้รับ ต.น.ก. ๑ ทุกเดือนตั้งแต่วันรายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นไปจนถึงวันสุดท้ายของปีแรก (๒) ส่วนในปีต่อ ๆ ไป ให้ได้รับ ต.น.ก.๑ ตามระยะเวลาที่ได้ทำการบินในปีก่อนหน้านั้นเป็นเกณฑ์คำนวณดังนี้ ก. ถ้ามีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ๔๘ ชั้วโมงขึ้นไป ให้ได้รับ ต.น.ก. ๑ ทุกเดือนตลอดปี ข. ถ้ามีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ๒๔ ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๔๘ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.น.ก. ๑ ใน ๙ เดือนแรกของปี ค. ถ้ามีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.น.ก. ๑ ใน ๗ เดือนแรกของปี ง. ถ้าไม่มีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นเลย ไม่ให้ได้รับ ต.น.ก. ๑ ในปีถัดไป ข้อ ๗ ให้ผู้ทำการในอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและใช้อุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ได้รับ ต.น.ก. ๒ ดังนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ และระดับ ๒ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๒,๑๗๕ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๒,๙๐๐ บาท ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ มาใช้โดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้ผู้ทำการในอากาศซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ช่างอากาศ ช่างเครื่องบิน หรือพนักงานวิทยุ ได้รับ ต.น.ก. ๓ ดังนี้ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑ และระดับ ๒ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๑,๓๓๐ บาท ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๑,๗๗๐ บาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับปีแรกที่ได้รับแต่งตั้งเข้าปฏิบัติหน้าที่ ให้ได้รับ ต.น.ก. ๓ ทุกเดือนตั้งแต่วันรายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นต้นไปจนถึงวันสุดท้ายของปีแรก (๒) ส่วนในปีต่อ ๆ ไป ให้ได้รับ ต.น.ก. ๓ ตามระยะเวลาที่ได้ทำการบินในปีก่อนหน้านั้นเป็นเกณฑ์คำนวณ ดังนี้ ก. ถ้ามีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ๒๔ ชั่วโมงขึ้นไป ให้ได้รับ ต.น.ก. ๓ ทุกเดือนตลอดปี ข. ถ้ามีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ๑๒ ชั่วโมงขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.น.ก. ๓ ใน ๙ เดือนแรกของปี ค. ถ้ามีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นไม่ถึง ๑๒ ชั่วโมง ให้ได้รับ ต.น.ก. ๓ ใน ๗ เดือนแรกของปี ง. ถ้าไม่มีเวลาบินในปีก่อนหน้านั้นเลย ไม่ให้ได้รับ ต.น.ก. ๓ ในปีถัดไป ข้อ ๙ ในกรณีที่ทางราชการมีคำสั่งให้ผู้ทำการในอากาศผู้ใดไปปฏิบัติหน้าที่อื่นอันเป็นเหตุให้ผู้นั้นไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับ ต.น.ก. ๑ ต.น.ก. ๒ หรือ ต.น.ก. ๓ ตามข้อกำหนดนี้เมื่อใด ให้งดจ่าย ต.น.ก. ๑ ต.น.ก. ๒ หรือ ต.น.ก. ๓ แล้วแต่กรณี สำหรับผู้นั้นตั้งแต่วันที่ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นเป็นต้นไป ข้อ ๑๐ นักบิน นักบินผู้ตรวจการบิน นักบินทดสอบ ผู้ควบคุมและใช้อุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ผู้แก้ไขและปรับแต่งอุปกรณ์แอวิออนิคส์ (Avionics) ช่างอากาศ ช่างเครื่องบิน หรือพนักงานวิทยุ ต้องรับการตรวจสมรรถภาพของร่างการ และทดสอบความรู้ความสามารถเพื่อความเหมาะสมของตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ จากคณะกรรมการอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๑๘/หน้า ๕๒๕/๔ กรกฎาคม ๒๕๓๔
304206
ระเบียบว่าด้วยวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการ ที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก.พ. วางระเบียบวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน ข้อ ๒ ให้ยกเลิกระเบียบว่าด้วยวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ฉบับลงวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๓ ข้าราชการออกจากราชการไปแล้ว ถ้าสมัครกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ในชั้น อันดับและขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือแสดงคุณสมบัติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ และหลักฐานแสดงพื้นความรู้ (๒) หนังสือรับรองการตรวจโรคจากแพทย์ซึ่งทางราชการรับรอง (๓) ประวัติการรับราชการที่ได้เคยทำมาก่อนแล้วทุกแห่ง โดยมีหนังสือรับรองของเจ้าสังกัดเดิมซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ว่ามีความประพฤติอย่างไร และออกจากราชการนั้นไปเพราะเหตุใด (๔) ประวัติระหว่างอยู่นอกราชการจนถึงวันยื่นใบสมัครกลับเข้ารับราชการ โดยมีหนังสือรับรองของผู้อำนวยการ หรือของผู้จัดการหน่วยงาน ซึ่งผู้นั้นเคยทำงานภายหลังที่ออกจากราชการทุกแห่ง (ถ้าเคย) ว่ามีความประพฤติอย่างไร ทำงานในหน้าที่อย่างไร ผลของงานในหน้าที่เป็นอย่างไร และออกจากงานนั้นไปเพราะเหตุใด ข้อ ๔ ข้าราชการผู้ใดออกจากราชการไปเพราะหย่อนความสามารถด้วยเหตุใด ๆ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน จะกลับเข้ารับราชการได้ต่อเมื่อเหตุที่ทำให้หย่อนความสามารถนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีเจ้าสังกัดที่จะรับบรรจุ แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณารับสมัคร ตลอดจนตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ ตามข้อ ๓ และข้อ ๔ ถ้าเห็นเป็นการสมควรให้นำเสนอผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ เพื่อพิจารณาอนุมัติ การพิจารณาให้เพ่งเล็งถึงผลแห่งงานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งข้าราชการพลเรือนที่จะบรรจุใหม่นั้น ต้องมีลักษณะงานคล้ายกับตำแหน่งเดิม หรือต้องใช้วิชาที่ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร นอกจากนี้จะให้ทดลองปฏิบัติการงานดูก่อนบรรจุก็ได้ ข้อ ๖ เมื่อผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมกับราชการที่จะรับเข้าบรรจุและอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๓๐ สั่งบรรจุได้ ข้อ ๗ ห้ามมิให้บรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการก่อนวันที่ผู้มีอำนาจและหน้าที่พิจารณาอนุมัติการโอนตามมาตรา ๓๐ ได้พิจารณาอนุมัติ ข้อ ๘ ในกรณีที่เห็นสมควรจะบรรจุในชั้น อันดับ หรือขั้นที่สูงกว่าเดิม ให้ขออนุมัติ ก.พ. เป็นราย ๆ ไป การขออนุมัติ ก.พ. ให้เจ้ากระทรวงที่จะรับบรรจุส่งเอกสารต่าง ๆ ตามข้อ ๓ และข้อ ๔ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการที่ควรบรรจุในชั้น อันดับหรือขั้นที่สูงกว่าเดิมโดยละเอียดไปเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย ข้อ ๙ เมื่อได้สั่งบรรจุแล้วให้ส่งเอกสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้อย่างละสองชุดไปยังสำนักงาน ก.พ. ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันบรรจุเป็นต้นไป คือ (๑) สำเนาใบสมัคร (๒) สำเนาคำสั่งบรรจุ (๓) สำเนารายงานการประชุม หรือสำเนามติคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี (๔) สำเนาหนังสือแสดงคุณสมบัติ หลักฐานแสดงพื้นความรู้ และหนังสือรับรองการตรวจโรคจากแพทย์ซึ่งทางราชการรับรอง (๕) สำเนารายงานการตรวจสอบ (๖) ทะเบียนประวัติข้าราชการพลเรือน (ก.พ. ๗) ที่กรอกข้อความและตรวจสอบถูกต้องแล้ว แบบรายงานการตรวจสอบให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ การบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยวิธีการพิจารณารับบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ ฉบับลงวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ให้เป็นไปตามระเบียบนั้น วิธีการพิจารณาเพื่อรับบรรจุข้าราชการตามมาตรา ๕๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๕ ก่อนวันประกาศใช้บังคับระเบียบนี้ให้เป็นอันใช้ได้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายงานการตรวจสอบข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๑/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๖๓๒/๑๕ กันยายน ๒๕๐๗
654004
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2508 (ฉบับ Update ณ วันที่ 01/05/2511)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า แต่เดิมมาเคยมีทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ให้แก่นักเรียนที่เรียนสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์ เมื่อนักเรียนทุนเหล่านี้เรียนสำเร็จแล้วก็ได้กลับมารับราชการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาการให้ทุนเล่าเรียนหลวงได้ยุติลง สมควรที่จะได้จัดเรื่องนี้ขึ้นอีก คณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติสนองตามพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยให้ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบแข่งขันกันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงตามระเบียบที่ ก.พ. จะได้กำหนดต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ก.พ. จึงวางระเบียบทุนเล่าเรียนหลวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘” ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทุนเล่าเรียนหลวง ข้อ ๓ กําหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญของกระทรวงศึกษาธิการได้ดีเยี่ยมปีละ ๙ ทุน แบ่งเป็นแผนกดังนี้ ๓.๑ ผู้ที่สอบทางแผนกศิลปะ ๓ ทุน ๓.๒ ผู้ที่สอบทางแผนกวิทยาศาสตร์ ๓ ทุน ๓.๓ ผู้ที่สอบทางแผนกทั่วไป ๓ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใดผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔ ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีกำหนด ๔ ปี โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมารับราชการ ข้อ ๕ ถ้าครบ ๔ ปี ตามที่ได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อ โดยสังกัดกระทรวงทบวงกรมใด หรือองค์การรัฐบาลใดก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงแห่งทุนนั้น ๆ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ยกเว้น (๒) ข้อ ๗ ผู้สมัครสอบต้องมีอายุนับถึงวันหมดเขตการรับสมัครไม่เกิน ๑๙ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๘[๒] ผู้สมัครสอบจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ ก.พ. ข้อ ๙[๓] ผู้สมัครสอบต้องมีชื่อในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียนผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญประจำปีการศึกษาก่อนปีที่มีการจัดการสอบเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นไปเพียงรุ่นเดียว โดยต้องได้คะแนนรวมในหมวดวิชาบังคับร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และสำหรับแผนกวิทยาศาสตร์ต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ส่วนแผนกศิลปะ กับแผนกทั่วไปต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบจะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้เข้าสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญเกินกว่า ๑ ครั้ง ข้อ ๑๑ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี โดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ต้นสังกัดแสดงด้วย สิทธิในการสอบรับทุน ข้อ ๑๒ ผู้สมัครสอบมีสิทธิในการสมัครสอบรับทุนตามสาขาที่ตนเรียน ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกศิลปะจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๑ ๑๒.๒ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกวิทยาศาสตร์จะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๒ ๑๒.๓ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกทั่วไปจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๓ วิชาที่กำหนดให้เรียน ข้อ ๑๓ ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ในประเทศไหน ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยพิจารณาความประสงค์ คุณวุฒิ และคุณลักษณะของผู้ที่ได้รับทุน การสอบ ข้อ ๑๔ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป การควบคุมดูแล ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและระเบียบการของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐[๔] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑[๕] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๙๓/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑ [๓] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๐๒/๑๘ เมษายน ๒๕๑๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑
653958
ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ พนักงานคดีปกครองที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง (ต.พ.ป.) ตามระเบียบนี้ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งพนักงานคดีปกครองระดับ ๕ ถึงระดับ ๘ ตามที่ ก.ศ.ป. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งพนักงานคดีปกครองระดับ ๕ ถึงระดับ ๘ จากคณะกรรมการที่สำนักงานศาลปกครองแต่งตั้งโดยให้ได้รับ ต.พ.ป. ดังนี้ (๑) พนักงานคดีปกครองระดับ ๕ และระดับ ๖ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท (๒) พนักงานคดีปกครองระดับ ๗ และระดับ ๘ ให้ได้รับในอัตราเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ข้อ ๔ พนักงานคดีปกครองซึ่งจะได้รับ ต.พ.ป. ต้องปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้อ ๕ พนักงานคดีปกครองผู้ใดปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ได้รับ ต.พ.ป. สำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว ถ้าในเดือนใดไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ไม่มีสิทธิได้รับ ต.พ.ป. สำหรับเดือนนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ลา ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาป่วย ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๖๐ วันทำการ (๒) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตร ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ไม่เกิน ๙๐ วัน (๓) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ในปีงบประมาณหนึ่งไม่เกิน ๔๕ วันทำการ แต่ในปีที่เริ่มรับราชการให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ (๔) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนประจำปี ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ไม่เกินระยะเวลาที่ผู้นั้นมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการลา (๕) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมิใช่เป็นการลาภายในระยะเวลาสิบสองเดือนแรกที่เข้ารับราชการในสำนักงานศาลปกครองและตั้งแต่เริ่มรับราชการยังไม่เคยลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือยังไม่เคยลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (๖) ผู้ลาไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน (๗) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาไปฝึกอบรมหรือดูงาน ให้ได้รับ ต.พ.ป. ระหว่างลาได้ไม่เกิน ๖๐ วัน ข้อ ๖ พนักงานคดีปกครองซึ่งมีสิทธิได้รับ ต.พ.ป. ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งประเภทอื่นอยู่ด้วย ให้มีสิทธิได้รับ ต.พ.ป. หรือเงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีอัตราสูงสุดเพียงอัตราเดียว ข้อ ๗ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกาซึ่งได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา (ต.ก.ก.) ตามระเบียบว่าด้วยการให้เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเป็นของสำนักงานศาลปกครอง ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับ ต.ก.ก. ต่อเนื่องไปจนกว่าบุคคลนั้นจะพ้นจากตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่อาจบรรจุบุคคลที่พ้นจากตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ลงในตำแหน่งพนักงานคดีปกครองซึ่งมีสิทธิได้รับ ต.พ.ป. ตามระเบียบนี้ได้ เพราะ ก.ศ.ป. ยังมิได้กำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสำหรับตำแหน่งพนักงานคดีปกครองให้บุคคลดังกล่าวได้รับ ต.ก.ก. ต่อเนื่องไปจนกว่า ก.ศ.ป. จะกำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานคดีปกครองขึ้นและบุคคลนั้นไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานคดีปกครองภายในสองเดือนนับแต่วันที่ ก.ศ.ป. กำหนดมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานคดีปกครอง ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ทำหน้าที่ประธานกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๗๗/๕ เมษายน ๒๕๔๓
327666
ระเบียบ ว่าด้วยวันสั่งให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยวันสั่งให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง หน้าที่ราชการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก.พ. วางระเบียบวันสั่งให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่กระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน ข้อ ๒ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ จะสั่งให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการตั้งแต่วันใดให้เป็นไปตามระเบียบ ดังต่อไปนี้ (๑) การสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีที่มีคำสั่งให้พักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาไว้แล้ว ให้ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันพักราชการหรือวันสั่งให้ออกไว้ก่อน ถ้าไม่เคยมีคำสั่งให้พักราชการหรือให้ออกไว้ก่อน ให้ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันซึ่งระบุในคำสั่งให้พ้นหน้าที่ แต่ไม่ก่อนวันออกคำสั่ง หรือจะสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันที่คำสั่งถึงผู้รับคำสั่งก็ได้ เว้นแต่ในกรณีทำความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ราชการ ให้สั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันละทิ้งหน้าที่ราชการ (๒) การสั่งไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกในกรณีต้องรับอาญาจำคุก ถ้าไม่เคยมีคำสั่งให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ให้ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันต้องจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด และถ้าให้นับวันต้องคุมขังรวมเข้าในกำหนดโทษตามคำพิพากษานั้นด้วย ให้ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันเริ่มต้องคุมขังสำหรับตอนที่ต้องคุมขังติดต่อกันมาจนถึงวันมีคำพิพากษานั้น แต่ถ้ามีคำสั่งให้พักราชการไว้แล้วก่อนวันต้องคุมขัง ให้ไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตั้งแต่วันพักราชการ (๓) การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาตามมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ถ้ามีคำสั่งพักราชการไว้แล้ว ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันพักราชการ ในกรณีที่มีการสั่งให้ออกไว้ก่อนเช่นนี้ ถ้าจะสั่งให้ออกเด็ดขาดตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ อีกชั้นหนึ่ง ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันที่สั่งให้ออกไว้ก่อน (๔) การสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากที่กล่าวใน (๑) (๒) และ (๓) ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันซึ่งระบุในคำสั่งให้พ้นหน้าที่ แต่ต้องไม่ก่อนวันออกคำสั่ง หรือจะสั่งให้ออกตั้งแต่วันที่คำสั่งถึงผู้รับคำสั่งก็ได้ แต่ถ้ากรณีใดมีเหตุสมควรจะสั่งให้ออกย้อนหลัง จะสั่งให้ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้น ๆ ก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการเสียประโยชน์ตามสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งให้ออกนั้น ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จอมพล ผ. ชุณหะวัณ รองนายกรับมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๒/ตอนที่ ๔๔/หน้า ๘๙๑/๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๘
654008
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. 2508 (ฉบับ Update ณ วันที่ 24/04/2516)
ระเบียบ ก ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า แต่เดิมมาเคยมีทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ให้แก่นักเรียนที่เรียนสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์ เมื่อนักเรียนทุนเหล่านี้เรียนสำเร็จแล้วก็ได้กลับมารับราชการเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติได้เป็นอย่างดี แต่ต่อมาการให้ทุนเล่าเรียนหลวงได้ยุติลง สมควรที่จะได้จัดเรื่องนี้ขึ้นอีก คณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติสนองตามพระราชปรารภให้รื้อฟื้นการให้ทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นใหม่ โดยให้ผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สอบแข่งขันกันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงตามระเบียบที่ ก.พ. จะได้กำหนดต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ก.พ. จึงวางระเบียบทุนเล่าเรียนหลวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง พ.ศ. ๒๕๐๘” ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทุนเล่าเรียนหลวง ข้อ ๓ กําหนดให้มีทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญของกระทรวงศึกษาธิการได้ดีเยี่ยมปีละ ๙ ทุน แบ่งเป็นแผนกดังนี้ ๓.๑ ผู้ที่สอบทางแผนกศิลปะ ๓ ทุน ๓.๒ ผู้ที่สอบทางแผนกวิทยาศาสตร์ ๓ ทุน ๓.๓ ผู้ที่สอบทางแผนกทั่วไป ๓ ทุน ถ้าปรากฏว่าในปีใดผู้มีสิทธิจะได้รับทุนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในมาตรฐาน หรือเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสมถึงขนาดแล้ว ก.พ. อาจพิจารณางดให้ทุนเฉพาะรายหรือทั้งหมดก็ได้ ข้อ ๔[๒] ทุนทั้งหมดนี้ให้เพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีกำหนดไม่เกิน ๕ ปี โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องกลับมารับราชการ ข้อ ๕[๓] ถ้าครบ ๕ ปี ตามที่ได้รับทุนแล้ว ผู้ได้รับทุนประสงค์จะขอรับทุนต่อโดยสังกัดกระทรวงทบวงกรมใด หรือองค์การรัฐบาลใดก็ตาม การผูกพันเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานย่อมเกิดขึ้นตามระเบียบและข้อตกลงแห่งทุนนั้น ๆ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ ข้อ ๖ ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ยกเว้น (๒) ข้อ ๗[๔] ผู้สมัครสอบต้องมีอายุนับถึงวันหมดเขตรับสมัครไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ ข้อ ๘[๕] ผู้สมัครสอบจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากคณะกรรมการแพทย์ ก.พ. ข้อ ๙[๖] ผู้สมัครสอบต้องมีชื่อในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องรายชื่อนักเรียนผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในการสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญประจำปีการศึกษาก่อนปีที่มีการจัดการสอบเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงขึ้นไปเพียงรุ่นเดียว โดยต้องได้คะแนนรวมในหมวดวิชาบังคับร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๐ และสำหรับแผนกวิทยาศาสตร์ต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕ ส่วนแผนกศิลปะ กับแผนกทั่วไปต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ข้อ ๑๐ ผู้สมัครสอบจะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้เข้าสอบประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญเกินกว่า ๑ ครั้ง ข้อ ๑๑ ผู้สมัครสอบจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี โดยมีหนังสือรับรองความประพฤติของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อํานวยการโรงเรียนที่ต้นสังกัดแสดงด้วย สิทธิในการสอบรับทุน ข้อ ๑๒ ผู้สมัครสอบมีสิทธิในการสมัครสอบรับทุนตามสาขาที่ตนเรียน ดังต่อไปนี้ ๑๒.๑ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกศิลปะจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๑ ๑๒.๒ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกวิทยาศาสตร์จะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๒ ๑๒.๓ ผู้ที่มีชื่อในประกาศทางแผนกทั่วไปจะต้องสอบเพื่อรับทุนตามข้อ ๓.๓ วิชาที่กำหนดให้เรียน ข้อ ๑๓[๗] ผู้ที่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงจะเลือกเรียนวิชาใด ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด ในประเทศไหน ก.พ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยพิจารณาความประสงค์ คุณวุฒิและคุณลักษณะของผู้ได้รับทุน ทั้งนี้ ผู้ได้รับทุนจะเลือกเรียนในประเทศไทยก็ได้ การสอบ ข้อ ๑๔ ก.พ. เป็นผู้ดําเนินการสอบ กําหนดหลักสูตรและวิธีการสอบ ซึ่งจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป การควบคุมดูแล ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงต้องอยู่ในความดูแลของ ก.พ. และต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับและระเบียบการของ ก.พ. โดยเคร่งครัด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐[๘] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑[๙] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔[๑๐] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๔[๑๑] ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๖[๑๒] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๒/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๙๓/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๔] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๑๖ [๕] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๑ [๖] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๐ [๗] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยทุนเล่าเรียนหลวง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๔ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๔/ตอนที่ ๓๓/หน้า ๒๐๒/๑๘ เมษายน ๒๕๑๐ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนที่ ๓๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑ พฤษภาคม ๒๕๑๑ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๓๑/หน้า ๑๔๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๑๔ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๘/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๖๖๑/๒๘ กันยายน ๒๕๑๔ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๐/ตอนที่ ๔๓/หน้า ๑๓๓/๒๔ เมษายน ๒๕๑๖
319610
กฎทบวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
กฎทบวง กฎทบวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ข้อ ๑๘ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๗ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวงไว้ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ แห่งกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕ ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการตามข้อ ๑๑ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตราฐานกำหนดตำแหน่ง (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ ๑๑ (ข) ให้ได้รับเงินเดือนในระดับตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ (๑) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ (ค) (๑) ถึง (๘) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ ๑๑ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ระบุไว้ใน (ก) เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ (๒) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ (ค) (๙) ถึง (๑๓) ให้ได้รับเงินเดือนในระดับตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับโอนข้าราชการ หรือบรรจุผู้ออำจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑๑ (ก) ก.ม. อาจกำหนดให้ผูนั้นได้รับเงินเดือนในระดับหรือขั้นเงินเดือนไม่สูงกว่าเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับหรือเคยได้รับอยู่ในขณะออกจากราชการได้ แต่ต้องไม่สูงกว่าขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน โดย ก.ม. จะกำหนดให้มีระดับตามที่กำหนดไว้ในบัญชีดังกล่าวหรือไม่ก็ได้” ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อัมภิญา/พิมพ์ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖/ตอนที่ ๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๒ หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถรับโอนข้าราชการหรือบรรจุผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ซึ่งออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการในมหาวิทยาลัย และให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฏทบวงนี้
304211
ข้อบังคับของ ก.พ. ว่าด้วยวิธีจัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ
ข้อบังคับของ ก ข้อบังคับของ ก.พ. ว่าด้วยวิธีจัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือน ที่ส่งไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๔๙๗ ก.พ. วางข้อบังคับว่าด้วยวิธีจัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปเล่าเรียนในต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้ให้เรียกว่า ข้อบังคับว่าด้วยวิธีจัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒ ข้อ ๒ คำว่า ผู้ดูแลนักเรียน หมายความถึง ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูต ที่ปรึกษาการศึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูต หรือตำแหน่งผู้ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ดำเนินการควบคุมดูแลนักเรียนไทยฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ ข้อ ๓ คำว่า สถานศึกษา หมายความถึงโรงเรียนชั้นประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, เตรียมอุดมศึกษา, อาชีวศึกษา, วิทยาลัย, หรือมหาวิทยาลัย, หรือสถานฝึกงาน, หรือสถานที่รับทำการฝึกและอบรม หมวดที่ ๒ ว่าด้วยผู้จัดการผู้อำนวยการและผู้ดำเนินการ ข้อ ๔ ก.พ. เป็นผู้จัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือน ส่งไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ โดยตั้ง อ.ก.พ. วิสามัญ เป็นผู้อำนวยการ ข้อ ๕ ก.พ. มอบให้กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินการตามคำอำนวยการของ อ.ก.พ. วิสามัญ เฉพาะในประเทศที่ไม่มีข้าราชการดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูต ที่ปรึกษาการศึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูต หรือตำแหน่งผู้ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศจะมอบให้สถานทูต หรือสถานกงสุล เป็นผู้ดูแลนักเรียน หรือจัดให้มีเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำสถานทูต หรือสถานกงสุล ทำหน้าที่ผู้ดูแลนักเรียนในความควบคุมของสถานทูต หรือสถานกงสุล นั้นก็ได้ ข้อ ๖ ในประเทศที่มีที่ปรึกษาการวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูต ที่ปรึกษาการศึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูต หรือผู้ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศให้ที่ปรึกษาการวัฒนธรรมประจำสถานเอกอัครราชทูต ที่ปรึกษาการศึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูต หรือผู้ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการตามคำอำนวยการของ อ.ก.พ. วิสามัญ หมวด ๓ ว่าด้วยประเภทและชั้นนักเรียน ข้อ ๗ นักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปเล่าเรียนในต่างประเทศมี ๓ ประเภท คือ ประเภทที่ ๑ นักเรียนทุนรัฐบาล ประเภทที่ ๒ ข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาตามระเบียบว่าด้วยข้าราชการลาไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ประเภทที่ ๓ นักเรียนทุนส่วนตัว ซึ่งได้มอบให้อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ข้อ ๘ นักเรียนตามข้อบังคับนี้ แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น คือ ชั้น ๑ ได้แก่นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาวิชาไม่สูงกว่าชั้นมัธยมศึกษา ชั้น ๒ ได้แก่นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาในชั้นเตรียมอุดมศึกษา ชั้น ๓ ได้แก่นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาหรือวิชาชีพไม่สูงกว่าชั้นปริญญาตรี ชั้น ๔ ได้แก่นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาในชั้นอุดมศึกษาสูงกว่าชั้นปริญญาตรี หมวด ๔ ว่าด้วยที่พำนักอาศัย ข้อ ๙ นักเรียนชั้นหนึ่ง ชั้นสอง และชั้นสาม ต้องพำนักอาศัยในครอบครัว หรือในสถานที่ซึ่งผู้ดูแลนักเรียนจะได้จัดหาให้ แต่ถ้าสถานศึกษาใด มีข้อบังคับให้นักเรียนต้องพำนักในสถานศึกษานั้น ก็ให้จัดให้นักเรียนได้พำนักตามข้อบังคับของสถานศึกษา นักเรียนจะย้ายสถานที่พำนัก จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลนักเรียนก่อนจึงจะกระทำได้ ข้อ ๑๐ นักเรียนชั้น ๔ อาจจะจัดหาหรือย้ายที่พำนักอาศัยได้ตามที่เห็นสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ดูแลนักเรียน หมวด ๕ ว่าด้วยสถานศึกษา ข้อ ๑๑ นักเรียนต้องศึกษา ณ สถานศึกษาตามที่ผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนด โดยพิจารณาถึงพื้นความรู้และงบประมาณค่าเล่าเรียนของนักเรียนแต่ละคนประกอบด้วย เว้นแต่ถ้าทางราชการได้กำหนดไว้ว่าให้นักเรียนคนใดได้ศึกษาในสถานศึกษาใดโดยเฉพาะ หรือได้สั่งการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาสำหรับนักเรียนคนใดเป็นการเฉพาะราย ก็ให้ผู้ดูแลนักเรียนจัดให้นักเรียนได้ศึกษาในสถานศึกษาตามที่กำหนดไว้หรือตามที่สั่งเปลี่ยนแปลงนั้น นักเรียนจะขอย้ายสถานศึกษา ต้องชี้แจงเหตุผลไปยังผู้ดูแลนักเรียนให้ทราบก่อน ผู้ดูแลนักเรียนต้องชี้แจงแสดงความเห็นประกอบเสนอไปยังสำนักงาน ก.พ. เมื่อ อ.ก.พ. วิสามัญได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว จึงจะย้ายได้ หมวด ๖ ว่าด้วยการเรียน ข้อ ๑๒ นักเรียนต้องศึกษาในวิชาและตามกำหนดเวลาที่ อ.ก.พ. วิสามัญอนุมัติ ถ้าจะเปลี่ยนแปลงวิชาศึกษาหรือยืดเวลาศึกษาออกไปอีกต้องได้รับอนุญาตจาก อ.ก.พ. วิสามัญก่อน จึงจะกระทำได้ ข้อ ๑๓ นักเรียนต้องทำรายงานการศึกษาสำหรับภาคที่แล้วมาโดยสังเขปตามแบบท้ายข้อบังคับนี้ ส่งไปยังผู้ดูแลนักเรียนก่อนกำหนดหยุดเรียนของภาคนั้น ๆ ข้อ ๑๔ ถ้าผู้ดูแลนักเรียนเห็นว่านักเรียนคนใดควรได้รับการฝึกงาน ดูงาน หรือทำการค้นคว้า หรือศึกษาทบทวนวิชาใด เพื่อเป็นการเพิ่มเติมความรู้ในวิชาสาขาเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกันกับวิชาที่ศึกษาอยู่ในระหว่างหยุดภาคเรียน หรือในเวลาอื่นซึ่งไม่ขัดกับเวลาศึกษาอันเป็นประจำอยู่ ก็อาจกระทำได้โดยอนุมัติของ อ.ก.พ. วิสามัญ หมวด ๗ ว่าด้วยการกีฬา การสังคม และการพักผ่อน ข้อ ๑๕ ผู้ดูแลนักเรียนต้องจัดให้นักเรียนเล่นกีฬาตามสมควร ข้อ ๑๖ ผู้ดูแลนักเรียนต้องจัดให้นักเรียนได้มีการสังคมพบปะกับบุคคล ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษา และวัฒนธรรมตามสมควร ข้อ ๑๗ ในระหว่างที่สถานศึกษาหยุดการสอนให้ผู้ดูแลนักเรียนจัดให้นักเรียนได้รับการพักผ่อน ณ สถานที่ตามที่เห็นสมควร หมวดที่ ๘ ว่าด้วยเงินค่าใช้จ่าย ข้อ ๑๘ ให้ อ.ก.พ. วิสามัญ กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนประเภท ๑ เป็นรายปี ไว้เป็นหลักทั่วไปสำหรับประเทศหนึ่ง ๆ ส่วนงบประมาณสำหรับนักเรียนประเภท ๒ - ๓ ให้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันเฉพาะราย แต่ไม่ให้มากกว่าค่าใช้จ่ายของนักเรียนประเภท ๑ ข้อ ๑๙ ผู้ดูแลนักเรียนต้องจัดให้นักเรียนใช้จ่ายภายในประเภทที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ก. เงินกระเป๋า ข. ค่าอาหารและค่าที่พัก ค. ค่าเล่าเรียน ง. ค่าตำราเรียน จ. ค่ารักษาพยาบาล ฉ. ค่ายานพาหนะและขนส่ง ช. ค่าพักผ่อน ซ. ค่าเสื้อผ้า ฌ. ค่าอุปกรณ์ในการศึกษา ญ. ค่าใช้จ่ายในการดูงาน และให้ใช้จ่ายภายในวงเงินงบประมาณที่ได้กำหนด ถ้ามีกรณีพิเศษที่ต้องจ่ายเงินเกินงบประมาณหรือจ่ายนอกเหนือประเภทที่กล่าวข้างต้น ต้องได้รับอนุญาตจาก อ.ก.พ. วิสามัญก่อนจึงจะจ่ายได้เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งจะรอขออนุมัติ อ.ก.พ. วิสามัญไม่ทันท่วงที ก็ให้ผู้ดูแลนักเรียนทดรองจ่ายไปก่อน ตามความจำเป็นแล้วรายงานขออนุมัติไปยัง อ.ก.พ. วิสามัญพร้อมด้วยเหตุผล ข้อ ๒๐ วิธีการจ่ายเงินของนักเรียนชั้นหนึ่ง ให้ดำเนินการดังนี้ ก. เงินกระเป๋ารายเดือน ค่ายานพาหนะ ค่าพักผ่อน ให้นักเรียนลงนามรับไปจ่าย โดยมิต้องมีใบสำคัญจ่ายเงิน ข. ค่าใช้จ่ายประเภทอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ๒๐ ก. ต้องจ่ายโดยมีใบสำคัญรับเงิน ข้อ ๒๑ วิธีการจ่ายเงินของนักเรียนชั้นสอง ชั้นสาม ชั้นสี่ ให้กำหนดดังนี้ ก. เงินกระเป๋ารายเดือน ค่าอาหารและค่าที่พักค่ายานพาหนะ ค่าพักผ่อน ค่าใช้จ่ายในการดูงาน ให้นักเรียนลงนามรับไปโดยไม่ต้องมีใบสำคัญจ่ายเงิน ข. ค่าใช้จ่ายประเภทอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ๒๑ ก. ต้องจ่ายโดยมีใบสำคัญรับเงิน หมวด ๙ ว่าด้วยวินัย ข้อ ๒๒ นักเรียนในความดูแลของรัฐบาลต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในวินัยโดยเคร่งครัด ดังต่อไปนี้ ก. ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ ข. ต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้ดูแลนักเรียนซึ่งสั่งการในหน้าที่โดยชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการ หรือสั่งตามคำอำนวยการของ อ.ก.พ. วิสามัญทุก ๆ กรณี ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง ค. ต้องขยันหมั่นเพียรในการศึกษา และต้องศึกษาตามแนวการศึกษาที่ทางการกำหนด ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงแนวการศึกษาโดยมิได้รับความเห็นชอบของ อ.ก.พ. วิสามัญ, ง. ต้องรักษาชื่อเสียงมิให้ขึ้นชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามมิให้ประพฤติตนเป็นคนเสเพล เป็นนักการพนัน เสพเครื่องดองของเมาจนไม่สามารถครองสติได้ กระทำให้เกิดมีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นทางนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติของตนและหรือของประเทศชาติ จ. ต้องสุภาพเรียบร้อยต่อบุคคลทั่วไป ห้ามมิให้แสดงตนเป็นการดูหมั่นเหยียดหยามต่อบุคคลใด ๆ ฉ. ต้องรักษาความสามัคคีในระหว่างนักเรียนไทยด้วยกัน และพยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เป็นที่เชิดชูเกียรติยศแห่งประเทศชาติของตน ช. การสมรสระหว่างที่ยังเป็นนักเรียนในความดูแลของรัฐบาล ถ้าได้รับอนุมัติจาก อ.ก.พ. วิสามัญ จึงจะกระทำได้ หมวด ๑๐ ว่าด้วยโทษฐานผิดวินัย ข้อ ๒๓ โทษฐานผิดวินัย มีดังต่อไปนี้ (๑) ให้กลับประเทศไทย (๒) ตัดเงินกระเป๋ารายเดือน (๓) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๒๔ ถ้านักเรียนผู้ทำผิดวินัย มีฐานเป็นข้าราชการ ให้เจ้ากระทรวงพิจารณาลงโทษฐานผิดวินัยตามกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดวินัยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ข้อ ๒๕ การลงโทษตามข้อ ๒๓ (๑) ให้กระทำได้โดยมติของ อ.ก.พ. วิสามัญ ข้อ ๒๖ การสั่งตัดเงินกระเป๋ารายเดือนให้ผู้ดูแลนักเรียนสั่งตัดได้ไม่เกินร้อยละ ๒๕ ข้อ ๒๗ การตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้ดูแลนักเรียนมีอำนาจสั่งได้ หมวด ๑๑ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๘ ถ้านักเรียนป่วยจนไม่สามารถจะศึกษาต่อไปได้ให้ผู้ดูแลนักเรียนรายงานขอส่งตัวกลับประเทศไทย เมื่อได้รับอนุมัติจาก อ.ก.พ. วิสามัญแล้ว ก็ให้ส่งตัวกลับได้ ข้อ ๒๙ นักเรียนประเภท ๑ ถ้าเล่าเรียนไม่สำเร็จภายในกำหนดดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ส่งตัวกลับประเทศไทย โดยอนุมัติ อ.ก.พ. วิสามัญ ๑. ถ้าการศึกษาได้แบ่งการศึกษาออกเป็นภาคหรือชั้น มีกำหนดให้สอบไล่สำหรับภาคหรือชั้นนั้น ๆ ในปลายปีของการศึกษา นักเรียนจำต้องสอบไล่วิชาในภาคหรือชั้นนั้นให้ได้ในสมัยการสอบไล่ปลายปีการศึกษานั้น ถ้าสอบตก ให้โอกาสเข้าสอบในสมัยต่อมาอีก ๑ สมัยแห่งการสอบปลายปี และถ้าสอบไม่ได้โดยไม่มีเหตุผลสมควรให้ส่งตัวกลับ ๒. ถ้าการศึกษามีการสอบไล่หนเดียวรวด นักเรียนต้องเข้าสอบตามกำหนด ถ้ามีกำหนดเวลาให้เลือกได้ก็ให้เข้าสอบตามกำหนดเวลาซึ่งผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนด ในกรณีสอบไล่ตก ถ้ามีโอกาสเข้าสอบซ้ำได้อีกก็ให้โอกาสเข้าสอบในสมัยต่อมาอีก ๑ สมัย ถ้าสอบไม่ได้โดยไม่มีเหตุผลสมควรให้ส่งตัวกลับ แต่ถ้าไม่มีระเบียบให้โอกาสเข้าสอบซ้ำอีก แต่มีระเบียบให้เรียนวิชาบางอย่างเพิ่มเติม เพื่อรับปริญญาธรรมดา ก็ให้เรียนเพิ่มเติมได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดโดยอนุมัติแห่ง อ.ก.พ.วิสามัญ ทั้งนี้ ไม่ให้เกินเวลา ๑ ปี ๓. การศึกษาที่สอบทีละวิชา ถ้าสอบวิชานั้นไม่ได้ภายในกำหนดปกติ ซึ่งผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดโดยอนุมัติแห่ง อ.ก.พ.วิสามัญ ก็ให้โอกาสเข้าสอบเฉพาะวิชานั้น ๆ ในสมัยแห่งการสอบต่อมาอีก ๑ ปี และถ้าสอบไม่ได้ให้ส่งตัวกลับหรือถ้าผู้ดูแลนักเรียนเห็นว่าในการสอบไล่ตกครั้งที่ ๒ นี้มีเหตุผลควรได้รับความผ่อนผันให้เข้าสอบเป็นคำรบ ๓ ก็ให้ผู้ดูแลนักเรียนเสนอขออนุมัติมายัง อ.ก.พ. วิสามัญ และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงให้อยู่เพื่อเข้าสอบเป็นคำรบ ๓ ได้ ข้อ ๓๐ ให้ผู้ดูแลนักเรียนสนใจตรวจตราให้นักเรียนศึกษาตามแนวการศึกษาที่กำหนดไว้ และให้ส่งรายงานการศึกษาตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๑๓ และบัญชีค่าใช้จ่ายของนักเรียนไปยังสำนักงาน ก.พ. ๖ เดือนต่อครั้ง วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๒ พลเอก ถ. กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [เอกสารแนบท้าย] ๑. Student’s Department (ดูภาพจากข้อมูลกฎหมาย) [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๓๙/หน้า ๗๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๐๒
593995
ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐและนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ พ.ศ. 2551
ข้อบังคับ ก ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ. จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๘ และข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ ให้เลขาธิการ ก.พ. รักษาการตามข้อบังคับนี้ ข้อ ๕ ในข้อบังคับนี้ “บุคลากรภาครัฐ” หมายความว่า ข้าราชการทุกประเภทรวมทั้งพนักงาน ลูกจ้างของส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. แต่ไม่รวมถึงข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ซึ่งรับทุนของรัฐบาล “นักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ.” (ก) นักเรียนทุนของรัฐบาล (ข) นักเรียนทุนส่วนตัว “นักเรียนทุนของรัฐบาล” หมายความว่า นักเรียนซึ่งรับทุนของรัฐบาลเพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรม หรือผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ทั้งนี้ ทุนดังกล่าวเป็นทุนซึ่งจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดิน หรือทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดให้เป็นทุนของรัฐบาล และให้หมายความรวมถึงนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงด้วย “นักเรียนทุนส่วนตัว” หมายความว่า นักเรียนทุนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นักเรียนทุนของ รัฐบาลที่ฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ. “ศึกษา” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียน หรือการวิจัยตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพและให้หมายความรวมถึงการฝึกฝนภาษา การรับคำแนะนำก่อนเข้าศึกษา การฝึกอบรม หรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หรือต่อจากการศึกษานั้นด้วย “ฝึกอบรม” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้วยการเรียนหรือการวิจัยตามหลักสูตรของการฝึกอบรม หรือการสัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินงานตามโครงการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ การไปเสนอผลงานทางวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทั้งนี้ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และให้หมายความรวมถึงการฝึกฝนภาษา การรับคำแนะนำก่อนเข้าฝึกอบรมหรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม หรือต่อจากการฝึกอบรมนั้นด้วย “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานที่ที่บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. เข้าศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ “ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่าย” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. รับเป็นผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายให้แก่บุคลากรภาครัฐ หรือนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. “สำนักงานผู้ดูแลนักเรียน” หมายความว่า สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงาน ก.พ. ที่ทำหน้าที่ดูแลบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. และให้หมายความรวมถึงสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือสำนักงานของบุคคลอื่นที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย ข้อ ๖ ให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดูแลจัดการการศึกษา ควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตามข้อบังคับนี้ ในการนี้ สำนักงาน ก.พ. จะมอบหมายให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้ หมวด ๑ สถานศึกษา ข้อ ๗ บุคลากรภาครัฐต้องเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง การย้ายสถานศึกษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติในแต่ละประเภททุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือระเบียบที่กำหนดไว้ ข้อ ๘ นักเรียนทุนของรัฐบาลต้องเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด การย้ายสถานศึกษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน ข้อ ๙ นักเรียนทุนส่วนตัวจะเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาใด หรือจะย้ายสถานศึกษา ให้เป็นไปตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. หากไม่มีข้อตกลง ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดให้ หมวด ๒ ที่พักอาศัย ข้อ ๑๐ บุคลากรภาครัฐต้องพักอาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง ข้อ ๑๑ นักเรียนทุนของรัฐบาลต้องพักอาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม หากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนพิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสม สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอาจจัดให้ใหม่หรือแนะนำให้ย้ายไปพักในที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง ข้อ ๑๒ นักเรียนทุนส่วนตัวอาจจัดหาหรือย้ายที่พักอาศัยได้ตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. หากไม่มีข้อตกลงให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดให้ ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง หมวด ๓ การศึกษา ข้อ ๑๓ บุคลากรภาครัฐต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามสาขาวิชา ระดับการศึกษา ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากทางราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดโดยเคร่งครัด หากจำเป็นจะต้องเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา ระดับการศึกษา หรือขยายเวลาในการศึกษา จะต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติในแต่ละประเภททุนก่อน (๒) ต้องตั้งใจศึกษา อุทิศเวลาให้แก่การศึกษาอย่างเต็มที่ และพยายามศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่ทางราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดอนุมัติ หากศึกษาครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่สำเร็จ และไม่ประสงค์จะขอขยายเวลาการลาต่อไป หรือไม่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาการลาก็ให้ยุติการศึกษา (๓) ต้องรายงานผลการศึกษาต่อส่วนราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษา หรือตามระยะเวลาที่ทางราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดกำหนด หากมีอุปสรรคในการศึกษาก็ให้รายงานทันทีโดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษา ยินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง ข้อ ๑๔ นักเรียนทุนของรัฐบาลต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ ก.พ. หรือหน่วยงานเจ้าของทุนกำหนดโดยเคร่งครัด หากจำเป็นจะต้องเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาหรือระดับการศึกษา จะต้องได้รับอนุมัติจาก ก.พ. หรือหน่วยงานเจ้าของทุนก่อน แล้วแต่กรณี (๒) ต้องตั้งใจศึกษา อุทิศเวลาให้แก่การศึกษาอย่างเต็มที่ และพยายามศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หรือที่สำนักงาน ก.พ. ขยายให้ หากศึกษาครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่สำเร็จ สำนักงาน ก.พ. จะให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย หรือจะอนุญาตให้อยู่ศึกษาต่อตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยสำนักงาน ก.พ. จะระงับการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับผู้นั้นในระหว่างนั้น เว้นแต่ค่าพาหนะเดินทาง และค่าขนส่งสิ่งของกลับประเทศไทยก็ได้ (๓) ต้องรายงานผลการศึกษาต่อสำนักงาน ก.พ. ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษาหรือตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หากมีอุปสรรคในการศึกษาก็ให้รายงานทันที โดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษา ยินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง ข้อ ๑๕ นักเรียนทุนส่วนตัวต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามแนวการศึกษาที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. โดยเคร่งครัด การเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา หรือระดับการศึกษา กระทำได้ตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. (๒) ต้องรายงานผลการศึกษา ความคืบหน้าต่อสำนักงาน ก.พ. ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษา หรือตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษา ยินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง หมวด ๔ การใช้จ่ายเงิน ข้อ ๑๖ เงินค่าใช้จ่ายของบุคลากรภาครัฐให้เป็นความรับผิดชอบของตัวบุคลากรภาครัฐเอง โดยไม่ต้องส่งเงินผ่านสำนักงาน ก.พ. เว้นแต่หน่วยงานเจ้าของทุนหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดได้ทำข้อตกลงฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ. ให้กำหนดเงินค่าใช้จ่ายตามข้อตกลงนั้น ในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายให้กำหนดเงินค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับนักเรียนทุนของรัฐบาล ข้อ ๑๗ นักเรียนทุนของรัฐบาลต้องศึกษาและทำความเข้าใจคู่มือการเบิกจ่ายเงินของนักเรียนทุนของรัฐบาลและต้องใช้จ่ายเงินตามประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ ข้อ ๑๘ นักเรียนทุนส่วนตัวต้องศึกษาและทำความเข้าใจประเภทค่าใช้จ่าย และวิธีการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ. ข้อ ๑๙ ทุนการศึกษาของนักเรียนทุนของรัฐบาลประกอบด้วยค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ดังต่อไปนี้ ๑. ค่าตรวจสุขภาพและอนามัย ๒. ค่าธรรมเนียมในการทำและต่ออายุหนังสือเดินทาง ๓. ค่าธรรมเนียมในการขออนุมัติและต่อวีซ่า ๔. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานศึกษา ๕. ค่าเรียนภาษาต่างประเทศ และค่าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบความรู้เพื่อใช้ประกอบในการสมัครเข้าศึกษา ๖. ค่าธรรมเนียมในการทดสอบความรู้เพื่อใช้ประกอบในการสมัครเข้าศึกษา ๗. ค่าเครื่องแต่งกาย ๘. ค่าเครื่องคอมพิวเตอร์ ๙. ค่าพาหนะเดินทางและขนส่งสิ่งของ ๑๐. ค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางไปประเทศที่ศึกษาและกลับประเทศไทย ๑๑. ค่าธรรมเนียมในการศึกษา และค่าเล่าเรียน ๑๒. ค่าประกันสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล ๑๓. ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นในการครองชีพ ๑๔. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา ๑๕. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกงานและดูงาน ๑๖. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๒๐ เงินค่าใช้จ่ายและวิธีการเบิกจ่ายสำหรับนักเรียนทุนส่วนตัวให้เป็นไปตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. ข้อ ๒๑ งบประมาณค่าใช้จ่าย รายละเอียดเกี่ยวกับเงินที่จะจ่าย จำนวนเงินที่จะจ่าย กำหนดเวลาที่จะจ่ายเงิน และวิธีการเบิกจ่ายเงินตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๙ ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๒๒ การจ่ายเงินทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการไปศึกษาของผู้รับทุนให้จ่ายตามข้อตกลงระหว่างสำนักงาน ก.พ. และผู้รับทุนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาการรับทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดเรื่องต่อไปนี้ จำนวนเงินที่จะจ่าย กำหนดเวลาที่จะจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายเงิน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การควบคุมดูแลการศึกษา การเข้ารับราชการ หรือปฏิบัติงานของทางราชการ การชดใช้เงินทุนกรณีผิดสัญญา ข้อ ๒๓ ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทำรายงานค่าครองชีพในประเทศซึ่งรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายในการครองชีพของทุนอื่น ๆ ที่ให้กับนักเรียนทุนที่ศึกษาในประเทศนั้น พร้อมความเห็นว่าสมควรปรับปรุงค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับประเทศหรือเมืองในประเทศนั้นหรือไม่ต่อสำนักงาน ก.พ. อย่างน้อยทุก ๒ ปี เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณาปรับปรุงค่าใช้จ่ายตามความในหมวดนี้ให้เหมาะสมต่อไป หมวด ๕ เงินชดเชยค่าใช้จ่าย ข้อ ๒๔ ให้สำนักงาน ก.พ. เรียกเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาของบุคลากรภาครัฐ และนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ ตามอัตราที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๖ วินัยและการปฏิบัติตน ข้อ ๒๕ บุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ ต้องรักษาวินัยและปฏิบัติตนตามที่บัญญัติในหมวดนี้โดยเคร่งครัด ข้อ ๒๖ ก่อนการศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ (๑) บุคลากรภาครัฐ ต้องรายงานตัวต่อส่วนราชการ หรือหน่วยงานเจ้าสังกัดและต้องรับทราบและถือปฏิบัติตามระเบียบและข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (๒) นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัว ต้องรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. และต้องรับทราบและถือปฏิบัติตามระเบียบและข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๗ เมื่อเดินทางถึงประเทศที่ศึกษาหรือฝึกอบรม และระหว่างที่ศึกษาหรือฝึกอบรมอยู่ในต่างประเทศ (๑) บุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนของรัฐบาลและนักเรียนทุนส่วนตัวต้องรายงานตัวต่อสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยด่วน ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางและแจ้งสถานที่พักอาศัย (๒) บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนของรัฐบาลที่อยู่ระหว่างศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ หากประสงค์จะทำการสมรสให้รีบรายงาน พร้อมส่งหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีจะทำการสมรสกับชาวต่างชาติ ต้องแสดงเหตุผลให้เป็นที่พอใจว่าจะไม่สละสัญชาติไทย สำหรับนักเรียนทุนส่วนตัวให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. (๓) บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนของรัฐบาลจะทำงานเพื่อหารายได้ในระหว่างศึกษาหรือฝึกอบรมมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สำหรับนักเรียนทุนส่วนตัวให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. (๔) บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนของรัฐบาลจะเดินทางกลับประเทศไทย หรือเดินทางออกจากประเทศที่กำลังศึกษาหรือฝึกอบรมมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สำหรับนักเรียนทุนส่วนตัวให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. (๕) บุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวในความดูแลของ ก.พ. ในต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้ (ก) ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับของประเทศที่ศึกษาหรือฝึกอบรมอยู่ และประเทศที่เดินทางผ่านโดยเคร่งครัด (ข) ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และคำแนะนำของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยเคร่งครัด (ค) ต้องรักษาความสามัคคี ในระหว่างนักเรียนและคนไทยด้วยกัน และต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนของประเทศที่ไปศึกษาด้วย (ง) ต้องไม่รายงานเท็จ หรือรายงานโดยปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ต่อสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน (จ) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์จากทางราชการโดยมิชอบ (ฉ) ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ช) ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่เกียรติยศชื่อเสียงของตน เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ หมกมุ่นในการพนัน ก่อหนี้สินจนเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของตน ก่อการวิวาท แสดงกิริยาอันไม่สุภาพเรียบร้อย ก่อเรื่องชู้สาว เสพหรือค้ายาเสพติดให้โทษ (ซ) การอื่นซึ่งสำนักงาน ก.พ. ประกาศกำหนด ข้อ ๒๘ บุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวในความดูแลของ ก.พ. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือฝ่าฝืนข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ หรือข้อ ๒๗ แห่งข้อบังคับนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัยตามระเบียบนี้ ต้องได้รับการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษตามความร้ายแรงแห่งกรณี ดังนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นบุคลากรภาครัฐ สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (ข) ให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย (ค) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัด ดำเนินการทางวินัยตามกฎหมาย (๒) ในกรณีที่เป็นนักเรียนทุนของรัฐบาล สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (ข) ชะลอการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ.เห็นสมควร (ค) ให้คืนเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ์แก่ทางราชการ (ง) ให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย (จ) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัด ดำเนินการทางวินัยตามกฎหมาย (๓) ในกรณีที่เป็นนักเรียนทุนส่วนตัว สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (ก) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (ข) เสนอให้ผู้ฝากชะลอการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือน หรือยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย (ค) ให้พ้นจากความดูแลของ ก.พ. (ง) แจ้งให้ผู้ฝากหรือออกค่าใช้จ่ายดำเนินการทางวินัยตามกฎหมาย ข้อ ๒๙ เมื่อสำเร็จการศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ หรือเมื่อทางราชการไม่อนุมัติให้อยู่ศึกษาหรือฝึกอบรมต่อ หรือได้รับอนุมัติให้ยุติการศึกษา ให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) บุคลากรภาครัฐ และนักเรียนทุนของรัฐบาลต้องเดินทางกลับประเทศไทยและรายงานตัวภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน ณ ต่างประเทศ (๒) นักเรียนทุนส่วนตัวให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. ข้อ ๓๐ ให้สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรภาครัฐและนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตามที่ประกาศกำหนด (๒) รวบรวมรายชื่อ ที่อยู่ที่ติดต่อได้ของบุคลากรภาครัฐและนักเรียนที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ซึ่งสำเร็จการศึกษาหรือฝึกอบรมแล้ว และติดตามการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งสร้างเครือข่ายหรือร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป (๓) หน้าที่อื่นตามที่ ก.พ. กำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๕๙/๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑
304212
ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537
ข้อบังคับ ก ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๗[๑] โดยที่ข้าราชการพลเรือนมีหน้าที่และความรับผิดชอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกันหลายฝ่าย ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่ายตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงสมควรให้มีข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ เป็นประมวลความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะของข้าราชการพลเรือน อันจะยังผลให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาและยกย่องของบุคคลโดยทั่วไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๕) และมาตรา ๙๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงออกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ ดังต่อไปนี้ จรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อ ๑ ข้าราชการพลเรือนพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดี และประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนพึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพใดมีจรรยาวิชาชีพกำหนดไว้ ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ ข้อ ๕ ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้องสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ ข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา และใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนพึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ข้อ ๘ ข้าราชการพลเรือนพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานการให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตนทั้งในด้านการให้ความคิดเห็น การช่วยทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย ข้อ ๙ ข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงดูแลเอาใจใส่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญ กำลังใจ สวัสดิการและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ข้อ ๑๐ ข้าราชการพลเรือนพึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ข้อ ๑๑ ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดจนผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมนุษยสัมพันธ์อันดี ข้อ ๑๒ ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม ข้อ ๑๓ ข้าราชการพลเรือนพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผลหรือแนะนำให้ติดต่อยังหน่วยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ต่อไป ข้อ ๑๔ ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป ข้อ ๑๕ ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชนจะให้กันโดยเสน่หาจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หากได้รับไว้แล้วและทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัย ก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามสมควรแก่กรณี ข้อ ๑๖ ข้อบังคับฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๙ ง/หน้า ๘/๘ มีนาคม ๒๕๓๗
566548
ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ข้อบังคับ ก ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน ข) ของข้อ ๔ แห่งข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข) นักเรียนทุนรัฐบาล หมายความว่า นักเรียนซึ่งรับทุนการศึกษา หรือผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ทั้งนี้ ทุนดังกล่าวเป็นทุนซึ่งจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นทุนของรัฐบาลและให้หมายความรวมถึงนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงด้วย” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๘ การดูแลผู้รับทุนของรัฐบาล เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ “หมวด ๘ การดูแลผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ข้อ ๓๙ การดูแลผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ให้เป็นไปตามความในหมวดนี้ ข้อ ๔๐ การจ่ายเงินทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุนให้จ่ายตามข้อตกลงระหว่างสำนักงาน ก.พ. และผู้รับทุนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาการรับทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดเรื่องต่อไปนี้ จำนวนเงินที่จะจ่าย กำหนดเวลาที่จะจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายเงิน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การควบคุมดูแลการศึกษา การเข้ารับราชการ หรือปฏิบัติงานของทางราชการ การชดใช้เงินทุนกรณีผิดสัญญา” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๒๔/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
650126
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน คำปรารภ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ กำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนได้พิจารณาโดยถี่ถ้วนแล้วเห็นว่า ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนทุกตำแหน่งมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ราชการแผ่นดินในส่วนที่ตนรับผิดชอบเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม ดังนั้น การใช้อำนาจเพื่อให้หน้าที่ที่ตนรับผิดชอบลุล่วงข้าราชการพลเรือนทั้งปวงจึงต้องมีคุณธรรม ซึ่งเป็นการอันพึงทำ เพราะนำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมและตนเอง และศีลธรรมซึ่งเป็นการอันพึงเว้น เพราะเป็นโทษแก่ส่วนรวมและตนเองประกอบกันขึ้นเป็นจริยธรรมข้าราชการพลเรือนอันเป็นความประพฤติที่ดีงาม สมกับความเป็นข้าราชการ อนึ่ง มาตรา ๒๘๐ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙ และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙ ดังนั้น บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนทุกตำแหน่งจึงมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ มีความเป็นกลางทางการเมือง อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๙ ประการ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้ (๑) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม (๒) การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ (๓) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (๔) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย (๕) การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ (๖) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง (๗) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ (๘) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๙) การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ประกอบค่านิยมหลักสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้คำแนะนำให้หน่วยงานทั้งหลายถือปฏิบัติ ก.พ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นเป็นประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน เพื่อให้ข้าราชการทั้งหลายเกิดสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการควรแก่ความไว้วางใจและเชื่อมั่นของปวงชน และดำรงตนตั้งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดีงาม สมกับความเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นตัวอย่างแห่งธรรมจรรยาอันสูงสุดเพื่อใช้บังคับเป็นมาตรฐานกลางไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๑[๑] ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันครบเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒ ในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนี้ “ประมวลจริยธรรม” หมายความว่า ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ฉบับนี้ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการ และลูกจ้างในสังกัดราชการพลเรือน “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในกรณีที่เป็นข้าราชการส่วนภูมิภาค “คณะกรรมการจริยธรรม” หมายความว่า คณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ “ของขวัญ” หมายความว่า ของขวัญตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม หมวด ๒ จริยธรรมข้าราชการพลเรือน ข้อ ๓ ข้าราชการต้องยึดมั่นในจริยธรรมและยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมโดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา และไม่กระทำการเลี่ยงประมวลจริยธรรมนี้ ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีผู้ทักท้วงว่าการกระทำใดของข้าราชการอาจขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการต้องไม่กระทำการดังกล่าว หรือหากกำลังกระทำการดังกล่าว ต้องหยุดกระทำการและส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมพิจารณาวินิจฉัย ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการจะกระทำการนั้นมิได้ (๒) เมื่อรู้หรือพบเห็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ ข้าราชการมีหน้าที่ต้องรายงานการฝ่าฝืนดังกล่าวพร้อมพยานหลักฐาน (หากมี) ต่อหัวหน้าส่วนราชการและหรือคณะกรรมการจริยธรรมโดยพลัน ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ฝ่าฝืนจริยธรรมต้องรายงานต่อปลัดกระทรวง หรือผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปของหัวหน้าส่วนราชการนั้นแล้วแต่กรณี และหรือคณะกรรมการจริยธรรม (๓) ต้องรายงานการดำรงตำแหน่งทั้งที่ได้รับค่าตอบแทนและไม่ได้รับค่าตอบแทนในนิติบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐและกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ ต่อหัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการจริยธรรม ในกรณีที่การดำรงตำแหน่งนั้น ๆ อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่หรืออาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่เสียหาย ความในข้อนี้ให้ใช้บังคับกับการเป็นลูกจ้าง การรับจ้างทำของ การเป็นตัวแทน การเป็นนายหน้าและการมีนิติสัมพันธ์อื่นในทำนองเดียวกันด้วย (๔) ในกรณีที่ข้าราชการเข้าร่วมประชุมและพบว่ามีการกระทำซึ่งมีลักษณะตาม (๒) ของข้อนี้หรือมีการเสนอเรื่อง ซึ่งมีลักษณะตาม (๒) ของข้อนี้ผ่านข้าราชการ ข้าราชการมีหน้าที่ต้องคัดค้านการกระทำดังกล่าว และบันทึกการคัดค้านของตนไว้ในรายงานการประชุมหรือในเรื่องนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ข้าราชการต้องมีจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) อุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเต็มกำลังความสามารถที่มีอยู่ ในกรณีที่ต้องไปปฏิบัติงานอื่นของรัฐด้วย จะต้องไม่ทำให้งานในหน้าที่เสียหาย (๒) ละเว้นจากการกระทำทั้งปวงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่ของตนหรือของข้าราชการอื่น ไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอื่นโดยมิชอบ (๓) ใช้ดุลพินิจและตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ ความสามารถ เยี่ยงที่ปฏิบัติในวิชาชีพ ตรงไปตรงมา ปราศจากอคติส่วนตน ตามข้อมูลพยานหลักฐานและความเหมาะสมของแต่ละกรณี (๔) เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้อง และแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการทราบโดยพลัน (๕) ไม่ขัดขวางการตรวจสอบของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมายหรือประชาชนต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมายหรือประชาชนในการตรวจสอบโดยให้ข้อมูลที่เป็นจริงและครบถ้วน เมื่อได้รับคำร้องขอในการตรวจสอบ (๖) ไม่สั่งราชการด้วยวาจาในเรื่องที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ในกรณีที่สั่งราชการด้วยวาจาในเรื่องดังกล่าว ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาบันทึกเรื่องเป็นลายลักษณ์อักษรตามคำสั่งเพื่อให้ผู้สั่งพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ ๕ ข้าราชการต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ตนมีต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูง หรือผู้มีบุญคุณส่วนตัว มาประกอบการใช้ดุลพินิจให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น หรือปฏิบัติต่อบุคคลนั้นต่างจากบุคคลอื่นเพราะชอบหรือชัง (๒) ไม่ใช้เวลาราชการ เงิน ทรัพย์สิน บุคลากร บริการ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกของทางราชการไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย (๓) ไม่กระทำการใด หรือดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติการใดในฐานะส่วนตัว ซึ่งก่อให้เกิดความเคลือบแคลงหรือสงสัยว่าจะขัดกับประโยชน์ส่วนรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน้าที่ ในกรณีมีความเคลือบแคลงหรือสงสัย ให้ข้าราชการผู้นั้นยุติการกระทำดังกล่าวไว้ก่อนแล้วแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าส่วนราชการ และคณะกรรมการจริยธรรมพิจารณา เมื่อคณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัยเป็นประการใดแล้วจึงปฏิบัติตามนั้น (๔) ในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบในหน่วยงานโดยตรงหรือหน้าที่อื่นในราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการต้องยึดถือประโยชน์ของทางราชการเป็นหลัก ในกรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ของทางราชการ หรือประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม อันจำเป็นต้องวินิจฉัยหรือชี้ขาด ต้องยึดประโยชน์ของทางราชการและประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ข้อ ๖ ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ หรือยอมให้ผู้อื่นเรียก รับ หรือยอมจะรับซึ่งของขวัญแทนตนหรือญาติของตน ไม่ว่าก่อนหรือหลังดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นการให้โดยธรรมจรรยา หรือเป็นการให้ตามประเพณีหรือให้แก่บุคคลทั่วไป (๒) ไม่ใช้ตำแหน่ง หรือกระทำการที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใด เพราะมีอคติ (๓) ไม่เสนอ หรืออนุมัติโครงการ การดำเนินการ หรือการทำนิติกรรมหรือสัญญา ซึ่งตนเองหรือบุคคลอื่นจะได้ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือประมวลจริยธรรมนี้ ข้อ ๗ ข้าราชการต้องเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างตรงไปตรงมาโดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรีที่ชอบด้วยกฎหมายในกรณีมีข้อสงสัย หรือมีข้อทักท้วงว่าการกระทำไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรีที่ชอบด้วยกฎหมาย ข้าราชการต้องแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการจริยธรรมพิจารณา และจะดำเนินการต่อไปได้ต่อเมื่อได้ข้อยุติจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่แล้ว (๒) ในกรณีที่เห็นว่าคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือการดำเนินการใดที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ต้องทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ (๓) ในกรณีที่เห็นว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำเรื่องเสนอให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา และส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการให้ได้ข้อยุติทางกฎหมายต่อไป (๔) ไม่เลี่ยงกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องว่างของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น และต้องเร่งแก้ไขช่องว่างดังกล่าวโดยเร็ว (๕) ไม่ยอมให้บุคคลอื่นอาศัยชื่อตนเองถือครองทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแทนบุคคลอื่นอันเป็นการเลี่ยงกฎหมาย หรือใช้ชื่อบุคคลอื่นถือครองสิ่งดังกล่าวแทนตนเพื่อปกปิดทรัพย์สินของตน (๖) เมื่อทราบว่ามีการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในส่วนราชการของตน หัวหน้าส่วนราชการต้องดำเนินการที่จำเป็น เพื่อให้เกิดการเคารพกฎหมายขึ้นโดยเร็ว (๗) เมื่อได้รับคำร้อง หรือคำแนะนำจากผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นว่ากฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการของตน สร้างภาระเกินสมควรแก่ประชาชน หรือสร้างความไม่เป็นธรรมให้เกิดขึ้น ต้องดำเนินการทบทวนกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับดังกล่าวโดยเร็ว ข้อ ๘ ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง ให้บริการแก่ประชาชนโดยมีอัธยาศัยที่ดีและไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วง โดยไม่หลีกเลี่ยง ละเลย หรือละเว้นการใช้อำนาจเกินกว่าที่มีอยู่ตามกฎหมาย (๒) ปฏิบัติหน้าที่ หรือดำเนินการอื่น โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่กระทำการให้กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือก่อภาระหรือหน้าที่ให้บุคคลโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย (๓) ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยมีอัธยาศัยที่ดี ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลผู้มาติดต่อโดยไม่เป็นธรรมในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะดำเนินการตามมาตรการที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเป็นการเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผล เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป (๔) ละเว้นการให้สัมภาษณ์ การอภิปราย การแสดงปาฐกถา การบรรยาย หรือการวิพากษ์วิจารณ์อันกระทบต่อความเป็นกลางทางการเมือง เว้นแต่เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการตามหลักวิชา (๕) ไม่เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษให้แก่ญาติพี่น้อง พรรคพวก เพื่อนฝูงหรือผู้มีบุญคุณและต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด (๖) ไม่ลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้เป็นของตนเองโดยมิได้ระบุแหล่งที่มา ข้อ ๙ ข้าราชการต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัดและรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้าและใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการดำเนินงานเพื่อการในหน้าที่และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงโดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการดำเนินงานไปเพื่อการอื่น อันไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือบุคคลอื่น (๒) ชี้แจง แสดงเหตุผลที่แท้จริงอย่างครบถ้วนในกรณีที่กระทำการอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพบุคคลอื่น ไม่อนุญาต หรือไม่อนุมัติตามคำขอของบุคคล หรือเมื่อบุคคลร้องขอตามกฎหมาย เว้นแต่การอันคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กำหนดยกเว้นไว้ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการภายในสิบห้าวันทำการ นับแต่กระทำการดังกล่าวหรือได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ข้าราชการต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษาคุณภาพและมาตรฐานแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ปฏิบัติงานโดยมุ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้เกิดผลดีที่สุดจนเต็มกำลังความสามารถ (๒) ใช้งบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิและประโยชน์ที่ทางราชการจัดให้ ด้วยความประหยัดคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย (๓) ใช้ความรู้ความสามารถ ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ ตามคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๑ ข้าราชการต้องยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ไม่แสดงการต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือสนับสนุนให้นำการปกครองในระบอบอื่นที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ในประเทศไทย (๒) จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และไม่ละเมิดองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาทไม่ว่าทางกาย หรือทางวาจา ข้อ ๑๒ ข้าราชการต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของราชการโดยรวม โดยอย่างน้อยต้องวางตน ดังนี้ (๑) ไม่ละเมิดหลักสำคัญทางศีลธรรม ศาสนา และประเพณี ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างประมวลจริยธรรมนี้กับหลักสำคัญทางศีลธรรม ศาสนา หรือประเพณี ข้าราชการต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมพิจารณาวินิจฉัย (๒) หัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาในส่วนราชการทุกระดับชั้นต้องปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยความเที่ยงธรรม โดยไม่เห็นแก่ความสัมพันธ์หรือบุญคุณส่วนตัว และควบคุมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมโดยเคร่งครัด (๓) หัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาในส่วนราชการทุกระดับชั้นต้องสนับสนุนส่งเสริมและยกย่องผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มีความซื่อสัตย์ มีผลงานดีเด่น มีความรู้ความสามารถและขยันขันแข็ง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และยึดมั่นในระบบคุณธรรม (๔) ไม่กระทำการใดอันอาจนำความเสื่อมเสียและไม่ไว้วางใจให้เกิดแก่ส่วนราชการหรือราชการโดยรวม หมวด ๓ กลไกและระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม ส่วนที่ ๑ องค์กรคุ้มครองจริยธรรม ข้อ ๑๓ ก.พ. มีหน้าที่ควบคุมกำกับให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างทั่วถึงและจริงจัง โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) วางระเบียบเพื่อกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การใช้บังคับประมวลจริยธรรม (๒) คุ้มครองและประกันความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมและกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม (๓) คุ้มครองข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมามิให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการผู้นั้น (๔) เผยแพร่และปลูกฝังจริยธรรมให้เป็นที่รับทราบอย่างกว้างขวางทั้งในหมู่ข้าราชการและประชาชน (๕) ส่งเสริมและยกย่องส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บังคับบัญชา และข้าราชการที่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างจริงจัง (๖) ติดตาม สอดส่องการใช้บังคับ และการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ในกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรมและยังไม่มีการดำเนินการใด ก.พ.อาจมีมติให้หัวหน้าส่วนราชการของข้าราชการผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมได้ (๗) ประสานงานกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้การปฏิบัติตามค่านิยมหลักสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนประมวลจริยธรรมนี้มีผลใช้บังคับอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพและทั่วถึง (๘) ประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ของหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการจริยธรรม และข้าราชการทั้งปวง และจัดทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี และผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ (๙) ตีความ และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากประมวลจริยธรรมนี้ (๑๐) ประมวลการตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ทุกปีและเผยแพร่ให้ข้าราชการทราบเพื่อยึดถือและเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป (๑๑) ทบทวนว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมนี้หรือไม่ทุกสี่ปี (๑๒) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่จะตกลงกับผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้อ ๑๔ ให้ ก.พ. โดยข้อเสนอของหัวหน้าส่วนราชการ แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการขึ้น เพื่อควบคุม กำกับให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ คณะกรรมการจริยธรรมประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกผู้มีความซื่อสัตย์เป็นประจักษ์โดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ. (๒) กรรมการผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการเลือกกันเองให้เหลือสองคน (๓) กรรมการสองคนซึ่งเป็นข้าราชการในส่วนราชการที่ได้รับคัดเลือกจากข้าราชการพนักงานราชการและลูกจ้างของส่วนราชการนั้น ตามวิธีการดำเนินการที่แต่ละส่วนราชการเห็นสมควร (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสองคน ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการร่วมกันเสนอ ให้หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมเป็นเลขานุการคณะกรรมการจริยธรรม กรรมการจริยธรรมต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย และเป็นผู้มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของส่วนราชการนั้น ข้อ ๑๕ คณะกรรมการจริยธรรมมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) ควบคุม กำกับ ส่งเสริมและให้คำแนะนำในการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในส่วนราชการ (๒) สอดส่องดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมในส่วนราชการ ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนว่ามีการฝ่าฝืนจริยธรรม ให้ส่งเรื่องให้หัวหน้าส่วนราชการเพื่อปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้โดยเร็ว (๓) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในส่วนราชการเมื่อได้วินิจฉัยแล้วให้ส่งคำวินิจฉัยให้ ก.พ. โดยพลัน ถ้า ก.พ. มิได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ก.พ. รับเรื่อง ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมเป็นที่สุด (๔) ส่งเรื่องให้ ก.พ.พิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายส่วนราชการ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของ ก.พ. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน (๕) คุ้มครองและประกันความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการ (๖) คุ้มครองข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมา มิให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการผู้นั้น (๗) เสนอผลการประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ของหัวหน้าส่วนราชการต่อ ก.พ. และประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการเพื่อเสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อประกอบการเลื่อนเงินเดือน หรือเลื่อนตำแหน่งข้าราชการในกลุ่มงาน (๘) เสนอแนะการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมนี้ หรือการอื่นที่เห็นสมควรต่อ ก.พ. (๙) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่ ก.พ. มอบหมาย การประชุมคณะกรรมการจริยธรรมให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับ ข้อ ๑๖ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้บริหารส่วนราชการตั้งแต่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ หรือดำรงตำแหน่งประเภทอื่นที่ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ และประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ควบคุมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ สนับสนุนส่งเสริมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มีความซื่อสัตย์มีผลงานและความรู้ความสามารถ และปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) คุ้มครองและประกันความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการ (๒) คุ้มครองข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมา มิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารส่วนราชการตั้งแต่ประเภทอำนวยการขึ้นไป ถูกข้าราชการผู้ใดกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ข้าราชการผู้ถูกกล่าวหานั้นไม่อาจดำเนินการเกี่ยวกับการออกคำสั่งแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย หรือการดำเนินการใดที่เป็นผลร้ายหรือกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของข้าราชการผู้กล่าวหานั้น จะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการแล้ว (๓) ส่งเสริมและเผยแพร่การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างสม่ำเสมอ (๔) ติดตามสอดส่องให้ข้าราชการในส่วนราชการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างเคร่งครัด (๕) ปฏิบัติตามมติหรือคำวินิจฉัย ก.พ. หรือคณะกรรมการจริยธรรม คำแนะนำของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมมีคำวินิจฉัยใด และหัวหน้าส่วนราชการไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น ให้เสนอความเห็นของตนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมไปให้ ก.พ. วินิจฉัยได้ เว้นแต่กรณีนั้นมีคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ ก.พ. วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไว้แล้ว (๖) รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประมวลจริยธรรมนี้ หรือการอื่นตามที่เห็นสมควรเสนอต่อ ก.พ. (๗) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ ก.พ. มอบหมาย ข้อ ๑๗ ให้จัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมขึ้นในทุกส่วนราชการขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ ซึ่งมีความเป็นอิสระ โดยมีข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไปเป็นหัวหน้ากลุ่ม และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ยกย่องข้าราชการที่เป็นแบบอย่างที่ดี และติดตามสอดส่องการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างสม่ำเสมอ (๒) สืบสวนข้อเท็จจริงการฝ่าฝืนจริยธรรมเพื่อรายงานผลให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา ทั้งนี้ โดยอาจมีผู้ร้องขอหรืออาจดำเนินการตามที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมาย หรือตามที่เห็นสมควรก็ได้ (๓) ให้ความช่วยเหลือและดูแลข้าราชการซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมามิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม ให้นำความในข้อ ๑๖ (๒) มาใช้กับข้าราชการในกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมด้วย โดยอนุโลมโดยให้ ก.พ. เป็นผู้ให้ความเห็นชอบ (๔) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ (๕) ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่หัวหน้าส่วนราชการคณะกรรมการจริยธรรม หรือตามที่ ก.พ. มอบหมาย ทั้งนี้ โดยไม่กระทบต่อความเป็นอิสระของผู้ดำรงตำแหน่งในกลุ่มงานดังกล่าว ส่วนที่ ๒ ระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม ข้อ ๑๘ การฝ่าฝืนจริยธรรมตามความในหมวด ๒ ของประมวลจริยธรรมนี้เป็นความผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๗ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๙ เมื่อมีกรณีการฝ่าฝืนจริยธรรม ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งลงโทษทางวินัย ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือสั่งให้ได้รับการพัฒนาตามที่เห็นสมควร ข้อ ๒๐ ให้หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการจริยธรรม และ ก.พ. ส่งเสริมจริยธรรมข้าราชการ โดยอย่างน้อยต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน ย้ายหรือโอนข้าราชการ ให้ใช้พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นั้นพิจารณาควบคู่กับความรู้ความสามารถ (๒) ปลูกฝังจริยธรรมให้ข้าราชการใหม่ จัดให้ข้าราชการลงลายมือชื่อรับทราบประมวลจริยธรรม จัดให้มีสมุดบันทึกประวัติในส่วนที่เกี่ยวกับจริยธรรมของข้าราชการแต่ละคน รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมผู้บริหาร และข้าราชการอย่างสม่ำเสมอ (๓) ประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการ (๔) คุ้มครองข้าราชการผู้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างเพียงพอ (๕) ยกย่องข้าราชการและส่วนราชการที่ถือปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้โดยเคร่งครัด (๖) ตอบข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ (๗) จัดให้มีการศึกษาค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้และดำเนินการแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมนั้น (๘) เผยแพร่ให้ประชาชน ผู้เป็นคู่สมรส ญาติ พี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูงของข้าราชการตลอดจนประชาชนผู้มาติดต่อราชการทราบประมวลจริยธรรมของข้าราชการ เพื่อไม่ทำการอันเป็นการส่งเสริมหรือก่อให้เกิดการฝ่าฝืนจริยธรรม (๙) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ข้อ ๒๑ เมื่อมีปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ในเรื่องใด ข้าราชการอาจเสนอเรื่องที่เป็นปัญหาดังกล่าวให้หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการที่ตนสังกัดนำเสนอเพื่อขอคำวินิจฉัยหรืออนุญาตแล้วแต่กรณีจากคณะกรรมการจริยธรรมได้ ในกรณีที่เรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายส่วนราชการ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของ ก.พ. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน แล้วแต่กรณี คณะกรรมการจริยธรรมอาจส่งเรื่องให้ ก.พ. วินิจฉัย ในกรณีที่ ก.พ. เห็นว่าเรื่องดังกล่าวตามวรรคหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันควรแก่การขอคำแนะนำจากผู้ตรวจการแผ่นดินก็ให้กระทำได้ ข้าราชการที่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรม ก.พ. หรือผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ต้องรับผิดทางวินัย ข้อ ๒๒ ในกรณีที่จำเป็นต้องดำเนินการเรื่องใดโดยด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์ของทางราชการ และไม่อาจเรียกประชุมคณะกรรมการจริยธรรมได้ทัน ข้าราชการอาจขอคำแนะนำจากหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการที่ตนสังกัด หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ต้องให้คำแนะนำตามสมควรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรม ก.พ. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน หากไม่มีคำวินิจฉัยในเรื่องที่เป็นปัญหามาก่อน หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมอาจให้คำแนะนำโดยยึดประโยชน์สูงสุดของส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งต้องมุ่งสร้างความสำนึกและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีของข้าราชการที่สร้างความไว้วางใจและเชื่อมั่นของปวงชน และการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีงาม ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมและ ก.พ.ทราบ ข้าราชการที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมตามแนวทางที่คณะกรรมการจริยธรรม ก.พ. หรือผู้ตรวจการแผ่นดินเคยวินิจฉัยไว้แล้วโดยสุจริตไม่ต้องรับผิดทางวินัย บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๓ ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมและจัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมในส่วนราชการทุกแห่งภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ประมวลจริยธรรมนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๔ เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่ประมวลจริยธรรมนี้มีผลใช้บังคับ ให้ ก.พ. จัดให้มีการประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ พร้อมดำเนินการปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติหรือแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมให้เหมาะสม ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ. รับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม คณะกรรมการจริยธรรม หัวหน้าส่วนราชการ และผู้ตรวจการแผ่นดินอย่างกว้างขวางและต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ครบหนึ่งปีของการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง/หน้า ๗๓/๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
304214
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507
ตราครุฑ ตราครุฑ กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ---------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 9 ผู้ใดได้รับปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ อธิการบดีโดยได้รับอนุมัติของ อ.ก.ม. อาจคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกบรรจุเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญของมหาวิทยาลัยที่ใช้วิชา นั้น ๆ ในชั้นใด ๆ ที่ไม่สูงกว่าชั้นโทได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ และให้นำความในข้อ 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (1) ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใด จะใช้สำหรับราชการในมหาวิทยาลัยส่วนใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.ม. พิจารณากำหนด (2) ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใด จะเทียบเท่าปริญญา อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรชั้นใด และจะถือเป็นปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรตามกฎกระทรวงนี้ได้หรือไม่ ให้ ก.ม. พิจารณากำหนด (3) การบรรจุผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในประเทศเข้าเป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญ โดยจะให้ได้รับเงินเดือนในชั้น อันดับ และขั้นใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ผู้ได้รับปริญญาตรี อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือ อนุปริญญา ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าสามปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือน สามัญชั้นตรี อันดับ 1 ขั้น 1,000 บาท (ข) ผู้ได้รับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนด เวลาศึกษาไม่น้อยกว่าสี่ปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,250 บาท (ค) ผู้ได้รับปริญญาตรีทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์หรือทางศิลปะ สาขาจิตรกรรม สาขาประติมากรรม หรือสาขาภาพพิมพ์ ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,300 บาท (ง) ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในประเทศเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมี หลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าห้าปี ภายในปีการศึกษา 2510 นอกจากที่ระบุไว้ใน (ค) จะ บรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,300 บาท (จ) 1) ผู้ได้รับปริญญาตรีทางแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ หรือสัตวแพทย์ศาสตร์ ซึ่งมีหลักสูตร กำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าหกปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,800 บาท 2) ผู้ได้รับปริญญาตรีทางแพทย์ศาสตร์ดังกล่าวใน 1) ซึ่งได้ฝึกหัดงานในวิชาชีพตามข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัยเป็นผลดีมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,900 บาท (ฉ) ผู้ได้รับปริญญาโท ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาต่อจากปริญญาตรีไม่น้อยกว่าสองปี และรวม ทั้งปริญญาตรีไม่น้อยกว่าหกปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,800 บาท (ช) ผู้ได้รับปริญญาโททางสถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือทางวิทยาศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ ซึ่งมี หลักสูตรกำหนดเวลาศึกษารวมทั้งปริญญาตรีไม่น้อยกว่าเจ็ดปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือน สามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,900 บาท (ซ) ผู้ได้รับปริญญาโทในประเทศ ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาต่อจากปริญญาตรีไม่น้อยกว่า สองปีและรวมทั้งปริญญาตรีไม่น้อยกว่าเจ็ดปี ภายในปีการศึกษา 2514 นอกจากที่ระบุไว้ใน (ช) จะ บรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,900 บาท (ฌ) ผู้ได้รับปริญญาเอก จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 3 ขั้น 2,450 บาท (ญ) ผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในประเทศ นอกจากที่กล่าวใน (ก) ถึง (ฌ) จะบรรจุให้ได้รับเดือนในชั้น อันดับ และขั้นใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ม.จะได้อนุมัติเป็นราย ๆ ไป ทั้งนี้ ให้วางหลักเกณฑ์ไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนด โดยให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม (ก) ถึง (ฌ) ประกอบ การพิจารณาด้วย (4) การบรรจุผู้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากต่างประเทศ เข้าเป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญ โดยจะให้ได้รับเงินเดือนในชั้น อันดับ และขั้นใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ม.จะได้อนุมัติเป็น ราย ๆ ไป ทั้งนี้ ให้วางหลักเกณฑ์ไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนด โดยให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม (3) (ก) ถึง (ฌ) ประกอบการพิจารณาด้วย' ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อ 9 ทวิ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ให้ไว้ ณ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2514 จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ---------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวง (พ.ศ.2507) กฎ กระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2509) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระ ราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ว่าด้วยการบรรจุผู้ได้รับปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ได้กำหนดอัตราเงินเดือนไว้แตกต่าง กับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 622 (พ.ศ.2513) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 ว่าด้วยการบรรจุผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ฉะนั้น เพื่อให้การบรรจุผู้ได้ รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ สอดคล้องกับกฎ ก.พ. ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตรากฎกระทรวงนี้ขึ้น
575209
ข้อบังคับไม่ให้แต่งตั้งข้าราชการสตรีเข้ารับราชการบางตำแหน่งในกระทรวงพาณิชย์
ข้อบังคับ ข้อบังคับ ไม่ให้แต่งตั้งข้าราชการสตรีเข้ารับราชการ บางตำแหน่งในกระทรวงพาณิชย์[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๘๕ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำความตกลงกับ ก.พ. วางข้อบังคับไว้มิให้แต่งตั้งข้าราชการสตรีเข้ารับราชการในตำแหน่งซึ่งโดยปกติมีหน้าที่ในลักษณะ ดังต่อไปนี้ ก. ต้องออกไปปฏิบัติราชการนอกสถานที่ราชการ ข. ต้องปฏิบัติราชการในเวลาค่ำคืนดึกดื่น ค. ต้องปฏิบัติราชการอันมีลักษณะตรากตรำ หรือ ฝ่าอันตราย ง. ต้องปฏิบัติราชการในต่างประเทศ ทั้งนี้ นอกจากงานในหน้าที่ที่พึงใช้สตรี วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๙๓ ภ. บริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๘/ตอนที่ ๔/หน้า ๑๕/๙ มกราคม ๒๔๙๔
304220
กฎทบวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
กฎทบวง กฎทบวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๖ ทวิ ของกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ “ข้อ ๖ ทวิ ให้มีอนุกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำทุกมหาวิทยาลัย เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย” ประกอบด้วย (๑) ประธานซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ (๒) อนุกรรมการซึ่งเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย และหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ จำนวนสามคน (๓) อนุกรรมการซึ่งเลือกจากคณาจารย์และข้าราชการประจำ จำนวนสามคน (๔) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอนุกรรมการตาม (๒) และ (๓) เลือกจากบุคคลภายนอก จำนวนสามคน ให้ อ.ก.ม. นี้ ตั้งเลขานุการหนึ่งคน หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกอนุกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ประธานและอนุกรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่ตำแหน่งประธานหรืออนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้งประธานหรือเลือกอนุกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานหรือผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ประธานและอนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งประธานและเลือกอนุกรรมการใหม่ ให้ประธานและอนุกรรมการปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งประธานและเลือกอนุกรรมการใหม่ ในกรณีที่อนุกรรมการตาม (๒) พ้นจากตำแหน่งผู้บริหารที่กำหนดไว้ใน (๒) หรืออนุกรรมการตาม (๓) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย และหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม. ปฏิบัติการตามที่ ก.ม. มอบหมายและให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและปลัดทบวงมหาวิทยาลัยตามที่รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยหรือปลัดทบวงมหาวิทยาลัยปรึกษา การประชุม อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย ให้นำความในข้อ ๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ ของกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎทบวงนี้ การใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎทบวงนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ภายใต้บังคับวรรคสาม ในกรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. ให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย ให้อำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ ๒๔ และให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย หรืออธิการบดี แล้วแต่กรณี กรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้อำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยและให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรืออธิบดี เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี แล้วแต่กรณี” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๐ ทวิ ของกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ “ข้อ ๑๐ ทวิ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ (๑) คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย และหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน (๒) นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และอธิการบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้า และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๔ ทวิ ของกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๔ ทวิ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งเลื่อน (๑) ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับ ๑๐ ตำแหน่งอธิการบดี หรือตำแหน่งศาสตราจารย์ (๒) อธิการบดีผู้บังคับบัญชา สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่อันดับ ๙ ลงมา นอกจากตำแหน่งตาม (๑)” ข้อ ๕ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ในวันที่กฎทบวงนี้ใช้บังคับ หากดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้นให้ดำเนินการต่อไปตามกฎทบวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ บุญชู ตรีทอง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ บัญญัติว่า การกำหนดอัตราเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การรักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎทบวง การใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎทบวงให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม และโดยที่ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับแทนกฎมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่เดิม ได้มีบทบัญญัติเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ อ.ก.พ. กระทรวง และ อ.ก.พ. กรม ซึ่งมีผลทำให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย มีหน้าที่พิจารณาความผิดและกำหนดโทษผู้กระทำผิดความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และยังมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ด้วย ซึ่งหลักการดังกล่าวยังไม่เหมาะสม และยังไม่ชัดเจนพอที่จะนำมาอนุโลมใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยโดยอนุโลมได้ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ สำหรับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเป็นไปโดยเหมาะสมชัดเจน และสอดคล้องกับสภาพของการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย สมควรกำหนดให้มีอนุกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ และกำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน และผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน เพื่อให้เหมาะสมและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงนี้ ประภาศรี ทองนที/พิมพ์ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๑/๓ มิถุนายน ๒๕๓๙
320580
ข้อบังคับของ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. 2538
ข้อบังคับ ก ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับของ ก.พ. ว่าด้วยวิธีจัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒ ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้ “นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ” ได้แก่ ก) ข้าราชการลา หมายความถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ยกเว้นข้าราชการกลาโหมพลเรือน ข) นักเรียนทุนรัฐบาล หมายความถึง นักเรียนซึ่งรับทุนการศึกษาที่จ่ายจากเงินงบประมาณหรือจากเงินอื่นใดของทางราชการและให้หมายความรวมถึงนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงด้วย ค) นักเรียนทุนอื่น ๆ หมายความถึง นักเรียนทุนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นักเรียนทุนรัฐบาลที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. “ศึกษา” หมายความถึง การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียน หรือการวิจัยตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น และหมายความรวมตลอดถึงการฝึกฝนภาษา และการรับคำแนะนำก่อนเข้าศึกษาและการฝึกอบรมหรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หรือต่อจากการศึกษานั้นด้วย “ฝึกอบรม” หมายความถึง การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้วยการเรียน การวิจัย การอบรมสัมมนา หรือการทำงานโดยไม่มีการรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น และหมายความรวมตลอดถึงการฝึกฝนภาษา และการรับคำแนะนำก่อนเข้าฝึกอบรมหรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม หรือต่อจากการฝึกอบรมนั้นด้วย “สถานศึกษา” หมายความถึง สถานที่ที่นักเรียนเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม “ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่าย” หมายความถึง บุคคลซึ่งทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. รับเป็นผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายให้แก่นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ “สำนักงานผู้ดูแลนักเรียน” หมายความถึง สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงาน ก.พ. และให้หมายความรวมถึงสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือสำนักงานของบุคคลอื่นที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลนักเรียนด้วย หมวด ๑ ผู้ดำเนินการแทน ข้อ ๕ ในการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศตามข้อบังคับนี้ ก.พ. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการแทน ในการนี้ สำนักงาน ก.พ. จะมอบหมายให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้ หมวด ๒ สถานศึกษา ข้อ ๖ ข้าราชการลา ต้องเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง การย้ายสถานศึกษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติในแต่ละประเภททุนตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือระเบียบที่กำหนดไว้ ข้อ ๗ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด การย้ายสถานศึกษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน ข้อ ๘ นักเรียนทุนอื่น ๆ จะเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาใด หรือจะย้ายสถานศึกษา ให้เป็นไปตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. หากไม่มีข้อตกลงให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดให้ หมวด ๓ ที่พักอาศัย ข้อ ๙ ข้าราชการลา ต้องพักอาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง ข้อ ๑๐ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องพักอาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม หากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนพิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสม สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอาจจัดให้ใหม่ หรือแนะนำให้ย้ายไปพักในที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง ข้อ ๑๑ นักเรียนทุนอื่น ๆ อาจจัดหา หรือย้ายที่พักอาศัยได้ตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. หากไม่มีข้อตกลงให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดให้ ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง หมวด ๔ การศึกษา ข้อ ๑๒ ข้าราชการลาต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามสาขาวิชา ระดับการศึกษา ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากทางราชการโดยเคร่งครัด หากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา ระดับการศึกษา หรือขยายเวลาในการศึกษา จะต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติในแต่ละประเภททุนก่อน (๒) ต้องตั้งใจศึกษา อุทิศเวลาให้แก่การศึกษาอย่างเต็มที่ และพยายามศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่ทางราชการอนุมัติ หากศึกษาครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่สำเร็จและไม่ประสงค์จะขอขยายเวลาการลาต่อไป หรือไม่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาการลา ก็ให้ยุติการศึกษาแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการโดยด่วน (๓) ต้องรายงานผลการศึกษาต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษา หรือตามระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด หากมีอุปสรรคในการศึกษา ก็ให้รายงานทันทีโดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษายินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง ข้อ ๑๓ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ ก.พ. กำหนดโดยเคร่งครัด หากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา หรือระดับการศึกษา จะต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือผู้ที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายก่อน (๒) ต้องตั้งใจศึกษา อุทิศเวลาให้แก่การศึกษาอย่างเต็มที่ และพยายามศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หรือที่สำนักงาน ก.พ. ขยายให้หากศึกษาครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่เสร็จ สำนักงาน ก.พ. จะให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทยหรือจะอนุญาตให้อยู่ศึกษาต่อตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยสำนักงาน ก.พ. จะระงับการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับผู้นั้นในระหว่างนั้น เว้นแต่ค่าพาหนะเดินทาง และค่าขนส่งสิ่งของกลับประเทศไทยก็ได้ (๓) ต้องรายงานผลการศึกษาต่อสำนักงาน ก.พ. ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษาหรือตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หากมีอุปสรรคในการศึกษาก็ให้รายงานทันทีโดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษายินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง ข้อ ๑๔ นักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามแนวทางการศึกษาที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. โดยเคร่งครัด การเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา หรือระดับการศึกษา กระทำได้ตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. (๒) ต้องรายงานผลการศึกษา ความคืบหน้าต่อสำนักงาน ก.พ. ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษา หรือตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษายินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง หมวด ๕ การใช้จ่ายเงิน ข้อ ๑๕ เงินค่าใช้จ่ายของข้าราชการลาให้เป็นความรับผิดชอบของตัวข้าราชการเอง โดยไม่ต้องส่งเงินผ่านสำนักงาน ก.พ. เว้นแต่ข้าราชการลาซึ่งได้รับทุนและเจ้าของทุนได้ทำสัญญาฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ. ให้กำหนดเงินค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับนักเรียนทุนรัฐบาล ข้อ ๑๖ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องศึกษาและทำความเข้าใจคู่มือการเบิกจ่ายเงินของนักเรียนทุนรัฐบาลและต้องใช้จ่ายเงินตามประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ ข้อ ๑๗ นักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจข้อตกลงและวิธีการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ ข้อ ๑๘ ทุนการศึกษาที่จะจ่ายให้เป็นเงินค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาลประกอบด้วยค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายก่อนออกเดินทางไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ก. ค่าตรวจร่างกายและอนามัย ข. ค่าธรรมเนียมในการออกวีซ่า ค. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานศึกษา ง. ค่าเรียนภาษาต่างประเทศและค่าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบความรู้เพื่อใช้ประกอบในการสมัครเข้าศึกษา จ. ค่าธรรมเนียมในการทดสอบความรู้เพื่อใช้ประกอบในการสมัครเข้าศึกษา (๒) ค่าเครื่องแต่งกาย (๓) ค่าพาหนะเดินทางและขนส่งสิ่งของ (๔) ค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางไปประเทศที่ศึกษาและกลับประเทศไทย (๕) ค่าธรรมเนียมในการศึกษาและค่าเล่าเรียน (๖) ค่าประกันสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล (๗) ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นในการครองชีพ (๘) ค่าตำราและอุปกรณ์การศึกษา (๙) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกงาน และดูงาน (๑๐) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๙ เงินค่าใช้จ่ายและวิธีการเบิกจ่ายสำหรับนักเรียนทุนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ผู้ฝาก และออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. โดยอนุโลมตามประเภทค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล ตามข้อ ๑๘ และอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๒๐ งบประมาณค่าใช้จ่าย รายละเอียดเกี่ยวกับเงินที่จะจ่าย จำนวนเงินที่จะจ่าย กำหนดเวลาที่จะจ่ายเงิน และวิธีการเบิกจ่ายเงินตามข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หมวด ๖ เงินชดเชยค่าใช้จ่าย ข้อ ๒๑ ให้สำนักงาน ก.พ. เรียกเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศในความดูแลของ ก.พ. ตามอัตราที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๗ วินัยและการปฏิบัติตน ข้อ ๒๒ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของประเทศที่ศึกษาอยู่ และประเทศที่เดินทางผ่านโดยเคร่งครัด ข้อ ๒๓ ก่อนออกเดินทางไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ข้าราชการลาจะต้องรายงานตัวต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือสำนักงาน ก.พ. เพื่อรับทราบข้อปฏิบัติสำหรับข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ข้อ ๒๔ ก่อนออกเดินทางไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ จะต้องรายงานรายละเอียดการเดินทางตามแบบที่กำหนด ข้อ ๒๕ เมื่อเดินทางถึงประเทศที่ไปศึกษา หรือฝึกอบรมแล้ว ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาลและนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องรายงานตัวต่อสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยด่วน ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางถึงและแจ้งสถานที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วน ข้อ ๒๖ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาลและนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ ๒๗ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่เกียรติยศชื่อเสียงของตน เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ หมกมุ่นในการพนัน ก่อหนี้สินจนเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของตน ก่อการวิวาท แสดงกิริยาอันไม่สุภาพเรียบร้อย ก่อเรื่องชู้สาว ค้าหรือมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง เป็นต้น ข้อ ๒๘ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องรักษาความสามัคคีในระหว่างนักเรียนและคนไทยด้วยกัน และต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนของประเทศที่ไปศึกษาด้วย ข้อ ๒๙ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และคำแนะนำของสำนักงาน ก.พ. และ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยเคร่งครัด ข้อ ๓๐ ข้าราชการลาและนักเรียนทุนรัฐบาลที่อยู่ระหว่างการศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ หากประสงค์จะทำการสมรสให้รีบรายงาน พร้อมส่งหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะทำการสมรสกับชาวต่างชาติ ต้องแสดงเหตุผลให้เป็นที่พอใจว่าจะไม่สละสัญชาติไทย ข้อ ๓๑ ข้าราชการลา และนักเรียนทุนรัฐบาลจะทำงานเพื่อหารายได้ในระหว่างศึกษามิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สำหรับนักเรียนทุนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. ข้อ ๓๒ ข้าราชการลา หรือนักเรียนทุนรัฐบาล จะเดินทางกลับประเทศไทยหรือเดินทางออกจากประเทศที่กำลังศึกษาระหว่างศึกษามิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สำหรับนักเรียนทุนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. ข้อ ๓๓ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดวันที่ได้รับอนุมัติไว้หรือเมื่อทางราชการไม่อนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อ ข้าราชการลา หรือนักเรียนทุนรัฐบาลต้องรีบเดินทางกลับประเทศไทย ภายในระยะเวลาที่ควรจะเดินทางถึงตามปกติตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๓๔ การเดินทางกลับประเทศไทยในทุกกรณีเมื่อเดินทางถึงแล้ว ข้าราชการลาต้องรายงานตัวต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางถึงให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดทราบโดยด่วน ข้อ ๓๕ การเดินทางกลับประเทศไทยในทุกกรณีเมื่อเดินทางถึงแล้ว นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. โดยด่วน ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางถึงให้สำนักงาน ก.พ. ทราบโดยด่วน ข้อ ๓๖ ข้าราชการลาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ส่วนราชการเจ้าสังกัดสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สามารถดำเนินการดังนี้ (๑) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (๒) ให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย (๓) ดำเนินการทางวินัย ข้อ ๓๗ นักเรียนทุนรัฐบาลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนสามารถดำเนินการดังนี้ (๑) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (๒) ชะลอการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือน (๓) ให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย ข้อ ๓๘ นักเรียนทุนอื่น ๆ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สามารถดำเนินการดังนี้ (๑) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (๒) ให้พ้นจากความดูแลของ ก.พ. (๓) ให้ยุติการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทย ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๓๙/๘ สิงหาคม ๒๕๓๘
319611
กฎทบวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
กฎทบวง กฎทบวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ แห่งกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕ ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการตามข้อ ๑๑ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ ๑๑ (ข) ให้ได้รับเงินเดือน ตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ (๑) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ (ค) (๑) ถึง (๘) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ ๑๑ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ระบุไว้ใน (ก) เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ (๒) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ (ค) (๙) ถึง (๑๓) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับโอนข้าราชการ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑๑ (ก) ก.ม. อาจกำหนดให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับหรือขั้นเงินเดือนไม่สูงกว่าเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับได้ แต่ต้องไม่สูงกว่าขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง โดย ก.ม. จะกำหนดให้มีอันดับตามที่กำหนดไว้ในบัญชีดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑๑ อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง” ข้อ ๒[๑] กฎทบวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ กระแส ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนซึ่งอนุโลมนำมาใช้กับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงฉบับนี้ ประภาศรี ทองนที/พิมพ์ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒ ก/หน้า ๔/๕ มกราคม ๒๕๓๘
624874
ข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยจรรยาของผู้บริหารกระทรวงการคลัง เพื่อป้องกันการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. 2553
ข้อบังคับกระทรวงการคลัง ข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยจรรยาของผู้บริหารกระทรวงการคลัง เพื่อป้องกันการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่มาตรา ๗๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้ส่วนราชการกำหนดข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานในส่วนราชการนั้นตามหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ และกระทรวงการคลังเล็งเห็นความจำเป็นในการวางข้อบังคับสำหรับผู้บริหารกระทรวงการคลังเพื่อป้องกันการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการระดับผู้บริหารกระทรวงการคลังเป็นไปด้วยความโปร่งใสมีความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ปราศจากข้อครหาของประชาชนและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงวางข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยจรรยาของผู้บริหารกระทรวงการคลังเพื่อป้องกันการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยจรรยาของผู้บริหารกระทรวงการคลังเพื่อป้องกันการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศใช้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “ผู้บริหารกระทรวงการคลัง” หมายความว่า (๑) ข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงการคลังตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นขึ้นไปและตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งเทียบเท่าตามที่สำนักงาน ก.พ. จะกำหนด (๒) ข้าราชการพลเรือนในสังกัดกระทรวงการคลังที่ปฏิบัติหน้าที่โดยตำแหน่งหรือได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการหรือผู้แทนกระทรวงการคลังในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และนิติบุคคล (๓) ข้าราชการพลเรือนนอกเหนือจาก (๑) หรือ (๒) ที่กระทรวงการคลังเห็นว่ามีหรืออาจมีการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” หมายความว่า (๑) คู่สมรส (๒) บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (๓) ผู้อื่นซึ่งทำหน้าที่แทนหรือร่วมกันทำธุรกรรมกับผู้บริหารกระทรวงการคลัง หรือบุคคลตาม (๑) หรือ (๒) ในการถือครองหลักทรัพย์และหรือการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ นิติบุคคล โดยให้หมายความรวมถึงประธานกรรมการและรองประธานกรรมการด้วย “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ส่วนราชการ ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐด้วย “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ “นิติบุคคล” หมายความว่า บริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคลห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ไม่รวมถึงบริษัทมหาชนจำกัดและบริษัทจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ “หลักทรัพย์” หมายความว่า หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “การได้มาซึ่งหลักทรัพย์” หมายความว่า การซื้อ รับ แลกเปลี่ยน หรือรับโอน ซึ่งหลักทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการถือครองหลักทรัพย์ที่กระทำโดยตนเอง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะกระทำในหรือต่างประเทศ “การจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์” หมายความว่า การขาย ให้ แลกเปลี่ยน หรือโอน ซึ่งหลักทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกตลาดหลักทรัพย์ที่กระทำโดยตนเองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะกระทำในหรือต่างประเทศ ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางวินิจฉัย ตีความข้อกำหนด รวมถึงกำหนดแบบการรายงานการถือครองหลักทรัพย์และการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ และแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อบังคับนี้ หมวด ๒ ข้อห้ามการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้บริหารกระทรวงการคลัง ข้อ ๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้บริหารกระทรวงการคลังต้องไม่กระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้ ข้อ ๖ ผู้บริหารกระทรวงการคลังต้องไม่เป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้บริหาร ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้าง รวมทั้งการรับจ้าง หรือรับทำการงานใด ๆ ในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลที่อาจขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือประกอบธุรกิจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังที่ตนสังกัดหรือมีหน้าที่ในฐานะผู้มีอำนาจกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี หรือกระทบต่อความมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้บริหารกระทรวงการคลัง ยกเว้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กระทรวงการคลังมอบหมาย ข้อ ๗ ผู้บริหารกระทรวงการคลังต้องไม่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังที่ตนสังกัดหรือมีหน้าที่ในฐานะผู้มีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี ซึ่งจะก่อให้เกิดการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม เว้นแต่การเป็นคู่สัญญาในการให้บริการของหน่วยงานตามธุรกรรมปกติโดยไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตนในการได้มาซึ่งสัญญาดังกล่าว ข้อ ๘ ห้ามผู้บริหารกระทรวงการคลังและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้มาซึ่งหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลโดยได้รับสิทธิพิเศษอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารกระทรวงการคลังผู้นั้น ข้อ ๙ ในกรณีผู้บริหารกระทรวงการคลังได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังไปเป็นกรรมการหรือผู้แทนกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคล หากรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคลนั้นให้สิทธิการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของกระทรวงการคลัง ให้ผู้บริหารกระทรวงการคลังผู้นั้นแจ้งรายละเอียดและเงื่อนไขของหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อกระทรวงการคลังภายใน ๑๕ วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งจากรัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคล หากกระทรวงการคลังเห็นว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายการถือครองหลักทรัพย์หรือนโยบายการลงทุนของรัฐบาลหรือกระทรวงการคลัง ให้ผู้บริหารกระทรวงการคลังโอนสิทธิการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวแก่กระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการต่อไป หากกระทรวงการคลังเห็นว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับนโยบายการถือครองหลักทรัพย์หรือการลงทุนของรัฐบาลหรือกระทรวงการคลัง ผู้บริหารกระทรวงการคลังสามารถใช้สิทธิการได้มาซึ่งหลักทรัพย์นั้นได้ โดยให้รายงานการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวตามที่กำหนดในหมวด ๓ ข้อ ๑๐ ผู้บริหารกระทรวงการคลังต้องไม่ใช้ข้อมูลที่ล่วงรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการและเป็นข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยทั่วไปหรือต่อสาธารณะไปแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น หมวด ๓ การเปิดเผยข้อมูลและการรายงาน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้บริหารกระทรวงการคลังเห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตนและการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องอาจมีการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาทราบในกรณีดังกล่าว เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาความเหมาะสมในการมอบหมายงาน ข้อ ๑๒ ให้ผู้บริหารกระทรวงการคลังรายงานการถือครองหลักทรัพย์และรายงานการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดดังนี้ (๑) กรณีรายงานการถือครองหลักทรัพย์ครั้งแรก ให้รายงานภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ หรือวันที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง หรือวันที่มีการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ครั้งแรกซึ่งเกิดขึ้นหลังจากวันที่เข้าดำรงตำแหน่ง แล้วแต่กรณี (๒) กรณีรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์อันเนื่องมาจากการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ ให้รายงานทุกรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนถัดจากเดือนที่มีการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์นั้น (๓) กรณีรายงานการลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล ให้รายงานทุกรายการภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนถัดจากเดือนที่มีการทำสัญญาการจัดการกองทุนส่วนบุคคล หรือเปลี่ยนแปลงบริษัทจัดการหรือวงเงิน หรือนโยบายการลงทุน หรือเมื่อเลิกสัญญาดังกล่าว ข้อ ๑๓ การจัดส่งรายงานตามข้อ ๑๒ ให้ผู้บริหารกระทรวงการคลังจัดส่งรายงานโดยใส่ซองปิดผนึกยื่นต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้ (๑) ปลัดกระทรวงการคลังให้รายงานการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (๒) ผู้บริหารกระทรวงการคลังนอกเหนือจาก (๑) ให้รายงานต่อปลัดกระทรวงการคลัง ข้อ ๑๔ ให้กลุ่มตรวจสอบภายใน กระทรวงการคลังเป็นผู้เก็บรักษาและเปิดผนึกซอง เพื่อวิเคราะห์รายงานตามข้อ ๑๒ ทุก ๆ ๓ เดือนนับจากวันที่ได้รับรายงานจากผู้บริหารกระทรวงการคลัง ในกรณีที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ หรือการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ที่อาจมีการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมของผู้บริหารกระทรวงการคลังและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดในข้อบังคับนี้ ให้รายงานผลการวิเคราะห์ดังกล่าวเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือปลัดกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งหลักทรัพย์ที่อาจมีการขัดหรือแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวมของผู้บริหารกระทรวงการคลังและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มิให้เจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจสอบภายในที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่รับทราบการรายงาน เปิดเผยหรือใช้ข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริหารกระทรวงการคลังและบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บริหารกระทรวงการคลัง เว้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับนี้หรือมีอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หมวด ๔ การบังคับใช้ ข้อ ๑๕ ผู้บริหารกระทรวงการคลังผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หากเข้าลักษณะการกระทำผิดวินัย ให้ได้รับโทษทางวินัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่หากไม่เข้าลักษณะการกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือ หรือสั่งให้ได้รับการพัฒนาตามที่เห็นสมควร (๒) นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเงินเดือน (๓) นำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งการเป็นกรรมการในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือนิติบุคคล ประกาศ ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๒๙/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
319608
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
ตราครุฑ ตราครุฑ กฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ---------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้ `อธิการบดี' หมายความรวมถึง ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยด้วย ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการมหาวิทยาลัยคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า `ก.ม.' ประกอบ ด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี (ถ้ามี) เป็นรองประธานประธานคณะกรรมการ บริหารสภาการศึกษาแห่งชาติ ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อธิการบดี ทุกมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน และเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามความใน กฎกระทรวงนี้ ให้เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นเลขานุการของ ก.ม. ข้อ 3 ในการประชุมของ ก.ม. ถ้าประธาน ก.ม. ไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รอง ประธาน ก.ม. เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.ม. และรองประธาน ก.ม. ไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการ คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน ข้อ 4 ก.ม. มีอำนาจตั้งอนุกรรมการวิสามัญเพื่อให้กระทำการใด ๆ ตามที่ ก.ม. มอบหมายได้ ข้อ 5 ให้มีอนุกรรมการ ก.ม. ประจำทุกมหาวิทยาลัยเรียกโดยย่อว่า `อ.ก.ม.' ประกอบด้วย อธิการบดีเป็นประธาน รองอธิการบดี (ถ้ามี) เป็นรองประธาน คณบดีและเลขาธิการมหาวิทยาลัย (ถ้า มี) เป็นอนุกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามความในกฎกระทรวงนี้ ให้เลขาธิการมหาวิทยาลัย เป็นเลขานุการ อ.ก.ม. ในกรณีไม่มีเลขาธิการมหาวิทยาลัย ให้อธิการบดีแต่งตั้งอนุกรรมการผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นเลขานุการ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยใดมีวิทยาลัยเป็นส่วนราชการอยู่ด้วยไม่ว่าวิทยาลัยเดียวหรือหลายวิทยาลัย ให้อธิการ ของวิทยาลัยนั้น ๆ เป็น อ.ก.ม. ด้วย การประชุมของ อ.ก.ม. ให้นำความในข้อ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม การกำหนดอัตราเงินเดือน ------------------- ข้อ 6 ข้าราชการของมหาวิทยาลัยตำแหน่งใด ควรได้รับเงินเดือนในชั้นใด อันดับใด ให้ ก.ม. กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพของงานในตำแหน่งนั้น ๆ การบรรจุ การแต่งตั้ง และการโอนข้าราชการ ---------------------------------- ข้อ 7 บุคคลที่จะได้รับการบรรจุหรือแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัย ต้องมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (4) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตาม ที่กำหนดในกฎ ก.พ. ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนว่าด้วยโรค (5) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (6) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกพักราชการ (7) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (8) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (9) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษเพราะประพฤติชั่วถึงต้องออกจากองค์การรัฐบาล องค์การสาธารณะ เทศบาล หรือสุขาภิบาล (10) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกจากราชการเพราะกระทำผิดทางวินัย (11) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการตามกฎหมาย ผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 (7) (8) (9) (10) และ (11) ก.ม. อาจพิจารณาสอบสวนว่าผู้นั้น ได้กลับตนประพฤติเป็นคนดี และในกรณีขาดคุณสมบัติตามข้อ 7 (9) (10) หรือ (11) ผู้นั้นได้ออกจาก ราชการไปเกินสองปีแล้ว จะยกเว้นให้เป็นรายบุคคลก็ได้ มติของ ก.ม. ในการประชุมปรึกษายกเว้น ต้องเป็นเอกฉันท์ การลงมติให้กระทำโดยลับ ข้อ 8 ให้ อ.ก.ม. จัดการสอบแข่งขันบุคคลที่จะเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา อันดับ หนึ่ง และชั้นตรี อันดับหนึ่งในมหาวิทยาลัย ตามหลักสูตรและวิธีการต่อไปนี้ (1) ให้ อ.ก.ม. มีอำนาจตั้งกรรมการเพื่อดำเนินการสอบแข่งขัน วางระเบียบวิธีการสอบ ประกาศรับสมัคร กำหนดเวลา สถานที่สอบ และประกาศแจ้งความที่เกี่ยวกับการสอบให้ผู้สมัครสอบแข่งขัน ทราบ (2) กรรมการสอบแข่งขันต้องมีไม่น้อยกว่าสามคนและอย่างน้อยจะต้องเป็นกรรมการใน อ.ก.ม. คนหนึ่ง ในการสอบแข่งขันข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา ให้ตั้งกรรมการจากผู้ทีมีคุณวุฒิ ความ สามารถเหมาะสม และเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรีขึ้นไป ในการสอบแข่งขันวิชาข้าราชการพลเรือน สามัญชั้นตรี ให้ตั้งกรรมการจากผู้ทีมีคุณวุฒิความสามารถเหมาะสม และเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญชั้นโทขึ้นไป (3) การประกาศรับสมัครผู้สอบแข่งขัน ให้มีกำหนดเวลายื่นใบสมัครไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (4) ให้ อ.ก.ม. ตรวจสอบคุณสมบัติและพื้นความรู้ของผู้สมัครสอบแข่งขัน หากเป็นการถูกต้อง ก็ให้ประกาศรายชื่อให้เป็นผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันได้ ค่าธรรมเนียมการสอบแข่งขันจะไม่คืนให้ ในเมื่อผู้นั้นมีรายชื่อตามประกาศว่าเป็นผู้มีสิทธิสมัครสอบ แข่งขันแล้ว (6) ผู้ใดได้คะแนนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบเป็นผู้สอบแข่งขันได้ (7) เมื่อการสอบแข่งขันสิ้นสุดลงแล้ว ให้ อ.ก.ม. ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้เรียงตามลำดับ คะแนนจากสูงลงไปต่ำ ถ้ามีผู้สอบได้คะแนนสูงเท่ากัน ให้กรรมการสอบสัมภาษณ์เฉพาะผู้ได้คะแนน เท่ากันนั้นอีกครั้งหนึ่ง ผู้ได้คะแนนมากกว่าย่อมอยู่ในอันดับสูงกว่า (8) ตามปกติให้มีการสอบแข่งขันปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ให้อยู่ในอำนาจของอธิการบดีจะพึงพิจารณา แต่เมื่อมีการสอบแข่งขันอีกและได้ประกาศผลการสอบแข่งขันแล้ว บัญชีการสอบแข่งขันครั้งก่อนเป็นอันยกเลิก บัญชีการสอบแข่งขันแต่ละคราวให้ใช้ได้เพียงสองปี (9) หลักสูตรการสอบแข่งขันเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา และชั้นตรี ให้อนุโลม ตามที่ ก.พ. กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และสำหรับภาควิชาการให้เพิ่ม วิชาความรู้ทางกฎหมาย ซึ่งจะได้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยราชการที่สอบแข่งขันด้วย ข้อ 9 ผู้ใดได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพอธิการบดีโดยได้รับอนุมัติของ อ.ก.ม. อาจคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกบรรจุเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญของมหาวิทยาลัยที่ใช้วิชานั้น ๆ ในชั้นใด ๆ ที่ไม่สูงกว่าชั้นโทได้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการต่อไปนี้ และให้นำความในข้อ 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม (1) ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใด จะใช้สำหรับราชการในมหาวิทยาลัยส่วนใด ให้เป็นไป ตามที่ อ.ก.ม. พิจารณากำหนด (2) ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใด จะเทียบเท่าอนุปริญญา หรือปริญญาชั้นใด และจะถือ เป็นปริญญา หรือประกาศนียบัตรเกียรตินิยมตามกฎกระทรวงนี้ได้หรือไม่ให้เสนอ ก.ม. พิจารณากำหนด (3) การบรรจุผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพในประเทศเข้าเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญ โดยจะให้ได้รับเงินเดือนในขั้น อันดับ และชั้นใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ก. ผู้ได้รับอนุปริญญาหรือปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาไม่น้อยกว่าสามปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี อันดับ 1 ขั้น 750 บาท ข. ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลา ศึกษาไม่น้อยกว่าสี่ปีจะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี อันดับ 1 ขั้น 900 บาท และ ถ้าได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเกียรตินิยม จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,050 บาท ค. ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลา ศึกษาทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าห้าปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรีอันดับ 2 ขั้น 1,100บาท และถ้าได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรเกียรตินิยมจะบรรจุได้ไม่สูงกว่าชั้นโท อันดับ 1 ขั้น 1,300 บาท ง. ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลา ศึกษาทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าหกปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทอันดับ 1 ขั้น 1,400 บาท ถ้าได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเกียรตินิยม จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,600 บาท ผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรดังกล่าวในวรรคก่อนถ้าได้ทำการฝึกหัดงานในวิชาชีพนั้นเป็นผลดีมา แล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทอันดับ 2 ขั้น 1,600 บาท และถ้าได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเกียรตินิยม จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,750 บาท จ. ผู้ได้รับปริญญาโท ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาทั้งสิ้นรวมทั้งปริญญาตรีด้วยไม่น้อยกว่าหกปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,600 บาท ฉ. ผู้ได้รับปริญญาโท ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาทั้งสิ้นรวมทั้งปริญญาตรีด้วยไม่น้อยกว่าเจ็ดปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,750 บาท ช. ผู้ได้รับปริญญาโท ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษาทั้งสิ้นรวมทั้งปริญญาตรีด้วยไม่น้อยกว่าแปดปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,900 บาท ซ. ผู้ได้รับปริญญาเอกหรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาเอก จะบรรจุได้ไม่สูงกว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 2,050 บาท ฌ. ผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหลายอย่างซึ่งเป็นวิชาที่ให้ในส่วนราชการที่ขอบรรจุนั้น จะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนในชั้น อันดับ และขั้นใด ให้เสนอ ก.ม. พิจารณากำหนดเป็นราย ๆ ไป แต่ ต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 3 ขั้น 2,500 บาท (4) การบรรจุผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพจากต่างประเทศเข้าเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยจะให้ได้รับเงินเดือนในชั้น อันดับ และขั้นใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ก. ผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่าสามปีจะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี อันดับ 2 ขั้น 1,200 บาท และ ถ้าได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรเกียรตินิยม จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,600 บาท ข. ผู้ได้รับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งมีหลักสูตรกำหนดเวลาศึกษา ไม่น้อยกว่าสี่ปี จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท อันดับ 2 ขั้น 1,600 บาท ค. ผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรสูงกว่าที่กล่าวใน ก.และข. จะบรรจุได้ไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือน สามัญชั้นโท อันดับ 3 ขั้น 2,200 บาท ทั้งนี้ให้เสนอ ก.ม. พิจารณาเป็นราย ๆ ไป ง. ผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนอกจากที่กล่าวใน ก.ข.และค. หรือได้รับปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรจากต่างประเทศหลายอย่าง หรือได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรจากสถานศึกษาในประเทศ รวมกับปริญญา หรือประกาศนียบัตรจากต่างประเทศหรือได้ฝึกงานในวิชาชีพภายหลังได้รับปริญญาหรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเป็นผลดีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ซึ่งปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และการฝึกงานดังกล่าวเป็นวิชาชีพและการฝึกงานที่ใช้ในส่วนราชการที่ขอบรรจุ จะบรรจุให้ได้รับเงิน เดือนในชั้น อันดับ และขั้นใด ให้เสนอ ก.ม. พิจารณากำหนดเป็นราย ๆ ไป แต่ต้องไม่สูงกว่าข้าราชการพลเรือน สามัญชั้นโท อันดับ 3 ขั้น 2,500 บาท ข้อ 10 การสอบคัดเลือก ให้อธิการบดีตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งหรือหลายคนร่วมกับ อ.ก.ม. ทำการสอบคัดเลือกตามหลักสูตรที่ อ.ก.ม. กำหนด การคัดเลือก ให้อธิการบดีตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งหรือหลายคนร่วมกับ อ.ก.ม. ทำการคัดเลือก เมื่อได้ทำการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมการรายงานผลของการคัดเลือก หรือสอบคัดเลือกต่ออธิการบดี เพื่อดำเนินการบรรจุและแต่งตั้งต่อไป ข้อ 11 การบรรจุบุคคลเข้าเป็นข้าราชการของมหาวิทยาลัยในตำแหน่งวิชาการช่างฝีมือ นักพิมพ์ หรือผู้ชำนาญการพิเศษต่าง ๆ โดยจะให้ได้รับเงินเดือนในชั้นจัตวา ให้อธิการบดีเสนอเรื่องมายัง อ.ก.ม. เพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป ข้อ 12 มหาวิทยาลัยใดมีความจำเป็นที่จะบรรจุข้าราชการจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ เป็นพิเศษ ให้อธิการบดีเสนอเรื่องไปให้ ก.ม. สอบสวน เมื่อ ก.ม. สอบสวนเห็นสมควรแล้วให้เสนอ ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วให้บรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นเป็นข้าราชการ พลเรือนสามัญได้ ข้อ 13 ข้าราชการของมหาวิทยาลัยไปรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อ ออกจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายแล้ว ประสงค์จะเข้ารับราชการในชั้น อันดับ และขั้นที่ได้รับ อยู่ในขณะที่ไปรับราชการทหาร ให้มหาวิทยาลัยเจ้าสังกัดเดิมรับบรรจุทีเดียว ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่ไปรับราชการทหารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าชั้นเดิมและให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขณะที่รับราชการ ทหารไม่เกินปีละหนึ่งขั้น โดยนับเวลาในระหว่างวันที่รับราชการทหารเป็นเกณฑ์คำนวณ ก็ให้ผู้มีอำนาจ บรรจุพิจารณาและสั่งบรรจุได้ในอัตราเงินเดือนที่ว่างอยู่ (2) ถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนไม่สูงกว่าชั้นเดิมและให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ใน (1) หรือถ้าจะบรรจุให้ได้รับเงินเดือนในชั้นที่สูงกว่าชั้นเดิม เมื่ออธิการบดีเจ้าสังกัดพิจารณาเห็น สมควร ให้เสนอเรื่องไปขออนุมัติ ก.ม. เป็นราย ๆ ไป เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ก็ให้บรรจุในอัตราเงิน เดือนที่ว่างอยู่ ข้อ 14 ข้าราชการของมหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ถ้ามหาวิทยาลัย เจ้าสังกัดเดิมเรียกกลับเข้าบรรจุในราชการ ให้นำความในข้อ 13 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 14 การโอนข้าราชการพลเรือนสามัญของมหาวิทยาลัยไปบรรจุต่างกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี หรือต่างกระทรวงในชั้น อันดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม อาจทำได้โดยความยินยอมของอธิการบดี เว้นแต่ ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นพิเศษ ต้องได้รับความยินยอมของนายกรัฐมนตรี การโอนข้าราชการของกรมอื่นหรือกระทรวงอื่นนอกจากข้าราชการการเมือง ข้าราชการพลเรือน วิสามัญ และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ มาบรรจุในมหาวิทยาลัยในชั้น อันดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่า เดิม อาจทำได้โดยกรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดและมหาวิทยาลัยได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว การโอนข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งบรรจุ การโอนข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ชั้นเอกลงมา ให้ อ.ก.ม. ที่จะรับโอนมานั้นพิจารณาอนุมัติและ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุ ในกรณีข้าราชการเป็นข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการทหาร หรือข้าราชการพลเรือนสังกัด กระทรวงกลาโหม ให้ ก.ม. มีอำนาจเทียบกับชั้น อันดับ และขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือน และ วันรับราชการในขณะดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการข้าราชการอัยการ ทหาร หรือข้าราชการพลเรือน สังกัดกระทรวงกลาโหม ให้ถือว่าเป็นวันราชการที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญของมหาวิทยาลัย ข้อ 16 การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการของมหาวิทยาลัยให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ เป็นผู้บรรจุ และแต่งตั้ง (1) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ชั้นเอกหรือตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าลงมา ให้ อธิการบดีเป็นผู้บรรจุและแต่งตั้ง (2) สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นพิเศษ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บรรจุ ส่วนการแต่งตั้งนั้น ถ้าเป็นตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี อธิการ เลขาธิการ ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ อาจารย์ชั้นพิเศษ หัวหน้าแผนกวิชา ผู้อำนวยการกอง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ แต่งตั้ง เกณฑ์การบรรจุและการแต่งตั้ง ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับ การบรรจุและการแต่งตั้งมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่การแต่งตั้งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี อธิการ ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ อาจารย์ชั้นพิเศษ หรือหัวหน้าแผนกวิชา จะแต่งตั้งจากข้าราชการพล เรือนวิสามัญก็ได้ การเลื่อนชั้น อันดับ และขั้นเงินเดือน --------------------------- ข้อ 17 ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวาที่ได้รับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี และ ได้รับเงินเดือนชั้นจัตวาอันดับพิเศษชั้นสูงสุดมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี และดำรงตำแหน่งประจำ แผนกหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีถ้าหัวหน้าแผนก หัวหน้ากอง หรือผู้บังคับบัญชาในตำแหน่งที่ เทียบเท่าและคณบดี อธิการ หรือเลขาธิการ หรือรองอธิการบดีในกรณีที่ไม่มีตำแหน่งเลขาธิการ แล้วแต่ กรณี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชารับรองว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติ ความรู้ และความสามารถ สมควรที่จะเป็นข้า ราชการสามัญชั้นตรีได้ คณบดี อธิการ หรือเลขาธิการ หรือรองอธิการบดี ในกรณีที่ไม่มีตำแหน่งเลขาธิการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจะคัดเลือกให้เลื่อนชั้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี โดยอนุมัติ อ.ก.ม. ก็ได้ กำหนดเวลาสิบห้าปีและสี่ปี ให้ลดเป็นสิบปีและสองปีตามลำดับ สำหรับข้าราชการพลเรือนสามัญ ชั้นจัตวาที่ได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งตามกฎ ก.พ. ออกตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้บรรจุเข้ารับราชการได้ในอัตราชั้นจัตวา อันดับ 3 ขั้น 650 บาท ข้อ 18 การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรีขึ้นเป็นชั้นโท ให้อธิการบดีพิจารณาคัดเลือกจาก ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรี ซึ่งมีความประพฤติ ความรู้ และความสามารถที่จะเลื่อนเป็นชั้นโท ได้ และรับราชการในชั้นตรี หรือ อ.ก.ม. เทียบไม่ต่ำกว่าชั้นตรีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี เสนอชื่อไปยัง อ.ก.ม. เมื่อ อ.ก.ม. พิจารณาแล้วเห็นสมควรเลื่อนชั้นได้ ให้อธิการบดีสั่งเลื่อนชั้นต่อ ไป กำหนดเวลาสามปีให้ลดเป็นหนึ่งปี สำหรับผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร ซึ่ง ก.ม. เทียบได้ ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ข้อ 19 การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นเป็นชั้นเอก ให้อธิการบดีพิจารณาคัดเลือก ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโท ซึ่งมีความประพฤติ ความรู้ และความสามารถที่จะเลื่อนเป็นชั้นเอกได้ และรับราชการในชั้นโท หรือ ก.ม. เทียบไม่ต่ำกว่าชั้นโทมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี เสนอชื่อ ไปยัง ก.ม. เมื่อ ก.ม. พิจารณาแล้วเห็นสมควรเลื่อนชั้นได้ก็ให้อธิการบดีสั่งเลื่อนชั้นต่อไป กำหนดเวลาสามปีให้ลดเป็นสองปี สำหรับผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตร ซึ่ง ก.ม. เทียบ ไม่ต่ำกว่าปริญญาโทและลดเป็นหนึ่งปีสำหรับผู้ที่ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตร ซึ่ง ก.ม. เทียบไม่ต่ำ กว่าปริญญาเอก ข้อ 20 การเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นเอกขึ้นเป็นชั้นพิเศษ ให้อธิการบดีพิจารณาคัดเลือก จากข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นเอก ซึ่งมีความประพฤติ ความรู้ และความสามารถที่จะเลื่อนเป็นชั้นพิเศษ ได้ และได้รับราชการในชั้นเอกหรือที่ ก.ม. เทียบไม่ต่ำกว่าชั้นเอกมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี กับเป็นผู้ที่ มีคุณวุฒิดังต่อไปนี้คือ (1) เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาเอก หรือประกาศนียบัตร ซึ่ง ก.ม. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาเอก และรับ ราชการมาแล้ว หรือสอนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ก.ม. รับรองวิทยฐานะมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ห้าปี ภายหลังได้รับปริญญาเอก หรือ (2) เป็นผู้ที่ได้รับปริญญาโท หรือประกาศนียบัตร ซึ่ง ก.ม. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และรับ ราชการมาแล้วหรือสอนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่ง ก.ม. รับรองวิทยฐานะมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี ภายหลังได้รับปริญญาโท หรือ (3) เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตร ซึ่ง ก.ม. เทียบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และรับราชการ มาแล้วหรือสอนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่ง ก.ม. รับรองวิทยฐานะมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี ภายหลังได้รับปริญญาตรี แล้วเสนอชื่อไปยัง ก.ม. เมื่อ ก.ม. พิจารณาเห็นสมควรเลื่อนชั้นได้ ก็ให้รายงานไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติแล้วก็ให้นายกรัฐมนตรีสั่งเลื่อนชั้นต่อไป ข้อ 21 ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้เลื่อนชั้นใด ได้รับเงินเดือนในอันดับและขั้นต่ำของชั้นที่ได้ เลื่อนนั้น แต่ถ้าผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าอันดับและขั้นต่ำของชั้นที่ได้เลื่อนขึ้นก็ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ และขั้นเท่ากับอัตราเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ข้อ 22 การเลื่อนอันดับและการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎ ก.พ. ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวแก่เรื่อง เหล่านี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม การรักษาวินัย การสอบสวน และการออกจากราชการ --------------------------------------- ข้อ 23 การรักษาวินัย การสอบสวน และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และกฎ ก.พ. ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวแก่เรื่องเหล่านี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ------------------- ข้อ 24 การกำหนดอัตราเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การสอบสวน การ รักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนวิสามัญให้นำกฎ ก.พ. ออกตามความในกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวแก่เรื่องเหล่านี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ลูกจ้าง ----- ข้อ 25 การกำหนดอัตราค่าจ้าง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินค่าจ้าง การสอบสวน การ รักษาวินัย และการออกจากงานของลูกจ้าง ให้นำระเบียบของกระทรวงการคลังในส่วนที่เกี่ยวแก่เรื่อง เหล่านี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม บทเบ็ดเตล็ด --------- ข้อ 26 การกำหนดอัตราเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนชั้น การเลื่อนอันดับ การ เลื่อนขั้น การโอน การสอบสวน การรักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนของ มหาวิทยาลัย ซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงนี้ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และ กฎ ก.พ. และระเบียบออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 27 ในกรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบออกตาม ความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นบรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. หรือรัฐมนตรีกระทรวงเจ้าสังกัดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือนายกรัฐมนตรีตามลำดับบรรดา อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรมให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. และบรรดา อำนาจหน้าที่ของอธิบดีให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี ให้ไว้ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2507 จอมพล ถ. กิตติขจร นายกรัฐมนตรี --------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:-เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนชั้น การเลื่อนอันดับ การเลื่อนขั้น การโอน การสอบสวน การรักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการ และลูกจ้างในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี จะต้องตราเป็นกฎกระทรวง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการในมหาวิทยาลัย จึงต้องตรากฎกระทรวงนี้เพื่อให้การเป็นไปตาม กฎหมายดังกล่าวแล้ว
304218
กฎทบวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
กฎทบวง กฎทบวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ.๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ข้อ ๑๘ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๗ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ การกำหนดอัตราเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การรักษาวินัย และการออกจาราชการของข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎทบวงนี้ การใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎทบวงนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนกฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ในกรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้บรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. ให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ม. มหาวิทยาลัย ให้อำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ ตามข้อ ๒๔ และให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย หรืออธิบดีแล้วแต่กรณี” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๒๔ ทวิ ของกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ “ข้อ ๒๔ ทวิ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งเลื่อน (๑) ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ ๑๐ หรือตำแหน่งศาสตราจารย์ (๒) อธิการบดีผู้บังคับบัญชา สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ ๙ และในระดับที่ต่ำกว่าระดับ ๙ ลงมา นอกจากตำแหน่งศาสตราจารย์” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อัมภิญา/พิมพ์ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๙๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๘ หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจในการสั่งบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้ในกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ยังไม่ชัดเจน จึงทำให้การสั่งการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปด้วยความสับสนสมควรแก้ไขในเรื่องนี้โดยกำหนดให้อำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ ๒๔ แห่งกฎทบวงฯ เพื่อกำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงนี้
304219
กฎทบวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
กฎทบวง กฎทบวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 ------------------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวง ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 13 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 13 ให้ ก.ม. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ไว้เป็น บรรทัดฐานทุกตำแหน่ง ในมาตราฐานกำหนดตำแหน่ง ให้แสดงชื่อของตำแหน่ง หน้าที่และความรับ ผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ ดำรงตำแหน่งจะ ต้องมีและสำหรับตำแหน่งตามข้อ 15 (ข) และ (ค) (2) ให้แสดงอันดับเงินเดือน ที่ให้ ได้รับ โดยอนุโลมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน' ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎทบวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ได้รับ เงินเดือนตามตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ 11 (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ 11 (ข) ให้ได้รับ เงิน เดือนในอันดับตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ (1) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 (ค) (1) ถึง (8) ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ 11 (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ระบุไว้ ใน (ก) เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึง ขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ (2) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 (ค) (9) ถึง (13) ให้ได้รับเงิน เดือนในอันดับตามที่ ก.ม. กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับโอนข้าราชการหรือบรรจุ ผู้ออก จากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 11 (ก) ก.ม. อาจกำหนดให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับหรือขั้นเงินเดือนไม่สูงกว่าเงิน เดือนที่ผู้นั้นได้รับหรือ เคยได้รับอยู่ในขณะออกจากราชการได้ แต่ต้องไม่สูงกว่า ขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนโดย ก.ม. จะกำหนดให้มีอันดับตามที่กำหนดไว้ในบัญชีดังกล่าวหรือไม่ก็ ได้' ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 และข้อ 17 แห่งกฎทบวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออก ตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไป นี้แทน `ข้อ 16 ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 11 อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับผู้ ดำรง ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง ผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ดำรง ตำแหน่งชำนาญการหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ หรือผู้ดำรงตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ เป็น รายเดือนตาม หลักเกณฑ์ที่ ก.ม. และกระทรวงการกำหนด อัตราเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามบัญชีอัตราเงินประจำ ตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ข้อ 17 การให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยได้รับ เงินเดือนตาม ข้อ 15 ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ตำแหน่งใดมีอัตราเงินเดือนหลายอันดับ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือน ขั้นต่ำ ของอันดับถัดไป ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ 24 มีคำสั่งให้ผู้นั้นได้รับ เงินเดือนในอันดับถัดไปนั้น' ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 19 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 19 ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการ ยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และต้องมี คุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับ อนุมัติจาก ก.ม. ตามข้อ 26 ด้วย สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ซึ่งขาดคุณสมบัติทั่วไปตามกฎหมายว่า ด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับการ บรรจุและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว' ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 21 ผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ให้ดำรง ตำแหน่งใดถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาด คุณสมบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง อยู่ก่อนหรือภายหลัง การสอบแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ม. ตามข้อ 26 จะบรรจุและ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น ไม่ได้' ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 24 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (1) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับ 10 และตำแหน่งศาสตราจารย์ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยโดยอนุมัติของ ก.ม. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยรายงาน นายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (2) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่อันดับ 9 ลงมาอธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ และแต่งตั้ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตาม ข้อ 11 (ก) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด' ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 24 ทวิ แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความ ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎทบวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 24 ทวิ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งเลื่อน (1) ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับ 10 หรือ ตำแหน่งศาสตราจารย์ (2) อธิการบดีผู้บังคับบัญชา สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับ 9 และ ในอันดับที่ต่ำกว่าอันดับ 9 ลงมา นอกจากตำแหน่งศาสตราจารย์' ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 25 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 25 ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใดตามข้อ 18 วรรคหนึ่ง และข้อ 22 ให้ทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในตำแหน่งโดยอนุโลมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กำหนดเวลาและวิธีการ ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด' ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 27 การย้ายข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัยไป แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งซึ่ง อาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่ไม่สูงกว่าเดิม แต่ถ้าจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่ง อาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่ต่ำกว่าเดิม จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ม. แล้ว' ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 28 วรรคหนึ่ง แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออก ตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไป นี้แทน `ข้อ 28 การเลื่อนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและ แต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้ รับคัดเลือก เพื่อดำรงตำแหน่งนั้น กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้ สอบคัดเลือกได้ หรือผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด' ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 29 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 29 การโอนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ไป แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยในต่างมหาวิทยาลัย อาจกระทำได้ เมื่อ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ ดำรง ตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้น ที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่การโอนผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับ คัดเลือก ให้กระทำได้ตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด' ข้อ 12 กฎทบวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2535 เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2535 เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 ได้กำหนดให้นำ บทบัญญัติในมาตราต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 มาใช้บังคับกับ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยโดยอนุโลม และโดยที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ทำให้ไม่ สามารถนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับกับข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัยได้อีกต่อไป สมควรแก้ไขกฎทบวงดังกล่าวให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 ด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงนี้
588711
ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ข้อบังคับ ก ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ (๑๑) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ก.พ. ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับของ ก.พ. ว่าด้วยวิธีจัดการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนที่ส่งไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒ ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้ “นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ” ได้แก่ ก) ข้าราชการลา หมายความถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ยกเว้นข้าราชการกลาโหมพลเรือน ข)[๒] นักเรียนทุนรัฐบาล หมายความว่า นักเรียนซึ่งรับทุนการศึกษา หรือผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ทั้งนี้ ทุนดังกล่าวเป็นทุนซึ่งจ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือทุนที่ได้จากแหล่งทุนอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นทุนของรัฐบาลและให้หมายความรวมถึงนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงด้วย ค) นักเรียนทุนอื่น ๆ หมายความถึง นักเรียนทุนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นักเรียนทุนรัฐบาลที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. “ศึกษา” หมายความถึง การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียน หรือการวิจัยตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น และหมายความรวมตลอดถึงการฝึกฝนภาษา และการรับคำแนะนำก่อนเข้าศึกษาและการฝึกอบรมหรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หรือต่อจากการศึกษานั้นด้วย “ฝึกอบรม” หมายความถึง การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ หรือประสบการณ์ด้วยการเรียน การวิจัย การอบรมสัมมนา หรือการทำงานโดยไม่มีการรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการนั้น และหมายความรวมตลอดถึงการฝึกฝนภาษา และการรับคำแนะนำก่อนเข้าฝึกอบรมหรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม หรือต่อจากการฝึกอบรมนั้นด้วย “สถานศึกษา” หมายความถึง สถานที่ที่นักเรียนเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม “ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่าย” หมายความถึง บุคคลซึ่งทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. รับเป็นผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายให้แก่นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ “สำนักงานผู้ดูแลนักเรียน” หมายความถึง สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในต่างประเทศซึ่งเป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงาน ก.พ. และให้หมายความรวมถึงสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือสำนักงานของบุคคลอื่นที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลนักเรียนด้วย หมวด ๑ ผู้ดำเนินการแทน ข้อ ๕ ในการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศตามข้อบังคับนี้ ก.พ. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการแทน ในการนี้ สำนักงาน ก.พ. จะมอบหมายให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้ หมวด ๒ สถานศึกษา ข้อ ๖ ข้าราชการลา ต้องเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง การย้ายสถานศึกษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติในแต่ละประเภททุนตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือระเบียบที่กำหนดไว้ ข้อ ๗ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด การย้ายสถานศึกษาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน ข้อ ๘ นักเรียนทุนอื่น ๆ จะเข้าศึกษา ณ สถานศึกษาใด หรือจะย้ายสถานศึกษา ให้เป็นไปตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. หากไม่มีข้อตกลงให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดให้ หมวด ๓ ที่พักอาศัย ข้อ ๙ ข้าราชการลา ต้องพักอาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดและสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง ข้อ ๑๐ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องพักอาศัยในสถานที่ที่เหมาะสม หากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนพิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสม สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนอาจจัดให้ใหม่ หรือแนะนำให้ย้ายไปพักในที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง ข้อ ๑๑ นักเรียนทุนอื่น ๆ อาจจัดหา หรือย้ายที่พักอาศัยได้ตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. หากไม่มีข้อตกลงให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนจะได้กำหนดให้ ทั้งนี้ จะต้องแจ้งที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ ในกรณีมีการย้ายที่พักอาศัยจะต้องแจ้งที่พักอาศัยแห่งใหม่ให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วนทุกครั้ง หมวด ๔ การศึกษา ข้อ ๑๒ ข้าราชการลาต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามสาขาวิชา ระดับการศึกษา ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากทางราชการโดยเคร่งครัด หากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา ระดับการศึกษา หรือขยายเวลาในการศึกษา จะต้องยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติในแต่ละประเภททุนก่อน (๒) ต้องตั้งใจศึกษา อุทิศเวลาให้แก่การศึกษาอย่างเต็มที่ และพยายามศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่ทางราชการอนุมัติ หากศึกษาครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่สำเร็จและไม่ประสงค์จะขอขยายเวลาการลาต่อไป หรือไม่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาการลา ก็ให้ยุติการศึกษาแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการโดยด่วน (๓) ต้องรายงานผลการศึกษาต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษา หรือตามระยะเวลาที่ทางราชการกำหนด หากมีอุปสรรคในการศึกษา ก็ให้รายงานทันทีโดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษายินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง ข้อ ๑๓ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามสาขาวิชาและระดับการศึกษาที่ ก.พ. กำหนดโดยเคร่งครัด หากจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา หรือระดับการศึกษา จะต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือผู้ที่สำนักงาน ก.พ. มอบหมายก่อน (๒) ต้องตั้งใจศึกษา อุทิศเวลาให้แก่การศึกษาอย่างเต็มที่ และพยายามศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หรือที่สำนักงาน ก.พ. ขยายให้หากศึกษาครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังไม่เสร็จ สำนักงาน ก.พ. จะให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทยหรือจะอนุญาตให้อยู่ศึกษาต่อตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยสำนักงาน ก.พ. จะระงับการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำหรับผู้นั้นในระหว่างนั้น เว้นแต่ค่าพาหนะเดินทาง และค่าขนส่งสิ่งของกลับประเทศไทยก็ได้ (๓) ต้องรายงานผลการศึกษาต่อสำนักงาน ก.พ. ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษาหรือตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หากมีอุปสรรคในการศึกษาก็ให้รายงานทันทีโดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษายินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง ข้อ ๑๔ นักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาดังนี้ (๑) ต้องศึกษาตามแนวทางการศึกษาที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. โดยเคร่งครัด การเปลี่ยนแปลงสาขาวิชา หรือระดับการศึกษา กระทำได้ตามที่ผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. (๒) ต้องรายงานผลการศึกษา ความคืบหน้าต่อสำนักงาน ก.พ. ทุก ๆ สิ้นภาคการศึกษา หรือตามระยะเวลาที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด โดยทำรายงานผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน และในกรณีที่จำเป็นต้องทำคำรับรองต่อสถานศึกษายินยอมให้สถานศึกษาส่งรายงานผลการศึกษาไปยังสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยตรง หมวด ๕ การใช้จ่ายเงิน ข้อ ๑๕ เงินค่าใช้จ่ายของข้าราชการลาให้เป็นความรับผิดชอบของตัวข้าราชการเอง โดยไม่ต้องส่งเงินผ่านสำนักงาน ก.พ. เว้นแต่ข้าราชการลาซึ่งได้รับทุนและเจ้าของทุนได้ทำสัญญาฝากอยู่ในความดูแลของ ก.พ. ให้กำหนดเงินค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับนักเรียนทุนรัฐบาล ข้อ ๑๖ นักเรียนทุนรัฐบาลต้องศึกษาและทำความเข้าใจคู่มือการเบิกจ่ายเงินของนักเรียนทุนรัฐบาลและต้องใช้จ่ายเงินตามประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ ข้อ ๑๗ นักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องศึกษาและทำความเข้าใจข้อตกลงและวิธีการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ ข้อ ๑๘ ทุนการศึกษาที่จะจ่ายให้เป็นเงินค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาลประกอบด้วยค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายก่อนออกเดินทางไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ก. ค่าตรวจร่างกายและอนามัย ข. ค่าธรรมเนียมในการออกวีซ่า ค. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานศึกษา ง. ค่าเรียนภาษาต่างประเทศและค่าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบความรู้เพื่อใช้ประกอบในการสมัครเข้าศึกษา จ. ค่าธรรมเนียมในการทดสอบความรู้เพื่อใช้ประกอบในการสมัครเข้าศึกษา (๒) ค่าเครื่องแต่งกาย (๓) ค่าพาหนะเดินทางและขนส่งสิ่งของ (๔) ค่าใช้จ่ายระหว่างเดินทางไปประเทศที่ศึกษาและกลับประเทศไทย (๕) ค่าธรรมเนียมในการศึกษาและค่าเล่าเรียน (๖) ค่าประกันสุขภาพและค่ารักษาพยาบาล (๗) ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่นในการครองชีพ (๘) ค่าตำราและอุปกรณ์การศึกษา (๙) ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกงาน และดูงาน (๑๐) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๑๙ เงินค่าใช้จ่ายและวิธีการเบิกจ่ายสำหรับนักเรียนทุนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ผู้ฝาก และออกค่าใช้จ่ายได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงาน ก.พ. โดยอนุโลมตามประเภทค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล ตามข้อ ๑๘ และอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๒๐ งบประมาณค่าใช้จ่าย รายละเอียดเกี่ยวกับเงินที่จะจ่าย จำนวนเงินที่จะจ่าย กำหนดเวลาที่จะจ่ายเงิน และวิธีการเบิกจ่ายเงินตามข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด หมวด ๖ เงินชดเชยค่าใช้จ่าย ข้อ ๒๑ ให้สำนักงาน ก.พ. เรียกเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศในความดูแลของ ก.พ. ตามอัตราที่ ก.พ. กำหนด หมวด ๗ วินัยและการปฏิบัติตน ข้อ ๒๒ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของประเทศที่ศึกษาอยู่ และประเทศที่เดินทางผ่านโดยเคร่งครัด ข้อ ๒๓ ก่อนออกเดินทางไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ข้าราชการลาจะต้องรายงานตัวต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือสำนักงาน ก.พ. เพื่อรับทราบข้อปฏิบัติสำหรับข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ ข้อ ๒๔ ก่อนออกเดินทางไปศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ จะต้องรายงานรายละเอียดการเดินทางตามแบบที่กำหนด ข้อ ๒๕ เมื่อเดินทางถึงประเทศที่ไปศึกษา หรือฝึกอบรมแล้ว ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาลและนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องรายงานตัวต่อสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยด่วน ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางถึงและแจ้งสถานที่พักอาศัยให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบโดยด่วน ข้อ ๒๖ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาลและนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ ๒๗ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก่เกียรติยศชื่อเสียงของตน เช่น ประพฤติตนเป็นคนเสเพล เสพของมึนเมาจนไม่สามารถครองสติได้ หมกมุ่นในการพนัน ก่อหนี้สินจนเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของตน ก่อการวิวาท แสดงกิริยาอันไม่สุภาพเรียบร้อย ก่อเรื่องชู้สาว ค้าหรือมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครอง เป็นต้น ข้อ ๒๘ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องรักษาความสามัคคีในระหว่างนักเรียนและคนไทยด้วยกัน และต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนของประเทศที่ไปศึกษาด้วย ข้อ ๒๙ ข้าราชการลา นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และคำแนะนำของสำนักงาน ก.พ. และ สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนโดยเคร่งครัด ข้อ ๓๐ ข้าราชการลาและนักเรียนทุนรัฐบาลที่อยู่ระหว่างการศึกษาหรือฝึกอบรมในต่างประเทศ หากประสงค์จะทำการสมรสให้รีบรายงาน พร้อมส่งหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนทราบ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะทำการสมรสกับชาวต่างชาติ ต้องแสดงเหตุผลให้เป็นที่พอใจว่าจะไม่สละสัญชาติไทย ข้อ ๓๑ ข้าราชการลา และนักเรียนทุนรัฐบาลจะทำงานเพื่อหารายได้ในระหว่างศึกษามิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สำหรับนักเรียนทุนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. ข้อ ๓๒ ข้าราชการลา หรือนักเรียนทุนรัฐบาล จะเดินทางกลับประเทศไทยหรือเดินทางออกจากประเทศที่กำลังศึกษาระหว่างศึกษามิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สำหรับนักเรียนทุนอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงของผู้ฝากและออกค่าใช้จ่ายที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน ก.พ. ข้อ ๓๓ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดวันที่ได้รับอนุมัติไว้หรือเมื่อทางราชการไม่อนุมัติให้อยู่ศึกษาต่อ ข้าราชการลา หรือนักเรียนทุนรัฐบาลต้องรีบเดินทางกลับประเทศไทย ภายในระยะเวลาที่ควรจะเดินทางถึงตามปกติตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ข้อ ๓๔ การเดินทางกลับประเทศไทยในทุกกรณีเมื่อเดินทางถึงแล้ว ข้าราชการลาต้องรายงานตัวต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางถึงให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดทราบโดยด่วน ข้อ ๓๕ การเดินทางกลับประเทศไทยในทุกกรณีเมื่อเดินทางถึงแล้ว นักเรียนทุนรัฐบาล และนักเรียนทุนอื่น ๆ ต้องรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. โดยด่วน ในกรณีที่ไม่อาจไปรายงานตัวด้วยตนเองได้ ก็ให้ส่งรายงานการเดินทางถึงให้สำนักงาน ก.พ. ทราบโดยด่วน ข้อ ๓๖ ข้าราชการลาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ส่วนราชการเจ้าสังกัดสำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สามารถดำเนินการดังนี้ (๑) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (๒) ให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย (๓) ดำเนินการทางวินัย ข้อ ๓๗ นักเรียนทุนรัฐบาลผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนสามารถดำเนินการดังนี้ (๑) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (๒) ชะลอการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือน (๓) ให้ยุติการศึกษา และเดินทางกลับประเทศไทย ข้อ ๓๘ นักเรียนทุนอื่น ๆ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ สำนักงาน ก.พ. หรือสำนักงานผู้ดูแลนักเรียน สามารถดำเนินการดังนี้ (๑) ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร (๒) ให้พ้นจากความดูแลของ ก.พ. (๓) ให้ยุติการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทย หมวด ๘[๓] การดูแลผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ข้อ ๓๙[๔] การดูแลผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ให้เป็นไปตามความในหมวดนี้ ข้อ ๔๐[๕] การจ่ายเงินทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผู้รับทุนให้จ่ายตามข้อตกลงระหว่างสำนักงาน ก.พ. และผู้รับทุนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาการรับทุน ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดเรื่องต่อไปนี้ จำนวนเงินที่จะจ่าย กำหนดเวลาที่จะจ่ายเงิน วิธีการเบิกจ่ายเงิน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การควบคุมดูแลการศึกษา การเข้ารับราชการ หรือปฏิบัติงานของทางราชการ การชดใช้เงินทุนกรณีผิดสัญญา ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ประธาน ก.พ. ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๖] [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๓๙/๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ [๒] ข้อ ๔ ข) นิยามคำว่า “นักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๓] หมวด ๘ การดูแลผู้รับทุนของรัฐบาลเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการศึกษา ข้อ ๓๙ ถึง ข้อ ๔๐ เพิ่มโดยข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๔] ข้อ ๓๙ เพิ่มโดยข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๕] ข้อ ๔๐ เพิ่มโดยข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยการดูแลจัดการการศึกษาของนักเรียนฝ่ายพลเรือนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๖๕ ง/หน้า ๒๔/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
451557
กฎกระทรวงว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกอบกับมาตรา ๖๕ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๒) กฎทบวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๓) กฎทบวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๔) กฎทบวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๕) กฎทบวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๖) กฎทบวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๗) กฎทบวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ (๘) กฎทบวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ข้อ ๒[๑] กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ข้อ ๑๘ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ม.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งรับผิดชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง จำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน โดยต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งรับราชการอยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใดพ้นจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ก.ม. มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามความในกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ข้อ ๕ การประชุม ก.ม. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุม ก.ม. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการประชุม ก.ม. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๖ ก.ม. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ม. วิสามัญ” เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ก.ม. มอบหมายได้ ในกรณีที่กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ อ.ก.ม. วิสามัญ ที่ได้รับแต่งจาก ก.ม. คณะนั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ในระหว่างที่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ อ.ก.ม. วิสามัญปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.ม. วิสามัญใหม่ ข้อ ๗ ให้มีอนุกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำทุกมหาวิทยาลัย เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย” ประกอบด้วย (๑) ประธาน ซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ (๒) อนุกรรมการ ซึ่งเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย และหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ จำนวนสามคน (๓) อนุกรรมการ ซึ่งเลือกจากคณาจารย์และข้าราชการประจำ จำนวนสามคน (๔) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งอนุกรรมการตาม (๒) และ (๓) เลือกจากบุคคลภายนอกจำนวนสามคน ให้ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกอนุกรรมการตาม (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ประธานและอนุกรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่ตำแหน่งประธานหรืออนุกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้งประธานหรือเลือกอนุกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประธานหรือได้รับเลือกเป็นอนุกรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ประธานและอนุกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งประธานและเลือกอนุกรรมการใหม่ ให้ประธานและอนุกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งประธานและเลือกอนุกรรมการใหม่ ในกรณีที่อนุกรรมการตาม (๒) พ้นจากตำแหน่งผู้บริหารที่กำหนดไว้ใน (๒) หรืออนุกรรมการตาม (๓) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย และหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้พ้นจากตำแหน่งอนุกรรมการ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยมีหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน และการร้องทุกข์ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม. ปฏิบัติการตามที่ ก.ม. มอบหมายและให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาปรึกษา ข้อ ๘ ให้มีอนุกรรมการสามัญ ประจำทุกมหาวิทยาลัย เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย” ประกอบด้วยอธิการบดีเป็นประธาน รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบันหรือผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าแผนกอิสระ ถ้ามี เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ อธิการบดีด้วยความเห็นชอบของอนุกรรมการโดยตำแหน่ง จะแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นอนุกรรมการอีกจำนวนไม่เกินห้าคนก็ได้ อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ให้อธิการบดีแต่งตั้งรองอธิการบดีคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใดมีวิทยาลัยเป็นส่วนราชการ ให้หัวหน้าของวิทยาลัยนั้นเป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่งด้วย อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎกระทรวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม. ปฏิบัติการตามที่ ก.ม. มอบหมาย และให้ความเห็นแก่อธิการบดีตามที่อธิการบดีปรึกษา ข้อ ๙ ให้นำข้อ ๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมของ อ.ก.ม. วิสามัญ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยและ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมอบหมาย ข้อ ๑๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และการอื่นตามที่ ก.ม. กำหนด ก.ม. อาจกำหนดให้มีผู้แทนของกลุ่มข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมในฐานะที่ปรึกษาด้วยก็ได้ จำนวน คุณสมบัติ การเลือกตั้ง และวาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนของกลุ่มข้าราชการพลเรือนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๑๒ การกำหนดตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ การใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ภายใต้บังคับวรรคสาม ในกรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. ให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย ให้อำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ ๒๗ และให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวงหรืออธิบดี เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรืออธิการบดี แล้วแต่กรณี กรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้อำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนและการร้องทุกข์ของ อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยและให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรืออธิบดีเป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ (๑) คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการวิทยาลัย และหัวหน้าหน่วยงานซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสองเดือน (๒) นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและอธิการบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงมีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้า และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น ข้อ ๑๔ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการ ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งในสายงานต่างๆ ดังนี้ (๑) บรรณารักษ์ (๒) โสตทัศนศึกษา (๓) แพทย์ (๔) พยาบาล (๕) วิจัย (๖) ตำแหน่งในสายงานวิชาการอื่น ที่ ก.ม. กำหนด (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) ผู้อำนวยการศูนย์ ผู้อำนวยการสถาบัน หรือผู้อำนวยการสำนัก (๕) หัวหน้าแผนกอิสระ (๖) รองคณบดี (๗) รองผู้อำนวยการศูนย์ รองผู้อำนวยการสถาบัน หรือรองผู้อำนวยการสำนัก (๘) หัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าแผนกวิชา (๙) ผู้อำนวยการกอง (๑๐) เลขานุการคณะ (๑๑) หัวหน้ากอง (๑๒) หัวหน้าแผนก (๑๓) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๑๕ มหาวิทยาลัยใดจะมีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด และจะต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอย่างใด ให้ ก.ม. กำหนดโดยให้คำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน ข้อ ๑๖ ให้ ก.ม. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไว้เป็นบรรทัดฐานทุกตำแหน่ง ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้แสดงชื่อของตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีและสำหรับตำแหน่งตามข้อ ๑๘ (ข) และ (ค) (๒) ให้แสดงอันดับเงินเดือนที่ให้ได้รับ โดยอนุโลมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใดที่ ก.ม. กำหนดเปลี่ยนแปลงไป ให้ ก.ม. พิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม ข้อ ๑๘ ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการตามข้อ ๑๔ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ตามข้อ ๑๔ (ข) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ (๑) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๔ (ค) (๑) ถึง (๘) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ ๑๔ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ระบุไว้ใน (ก) เว้นแต่ (๑.๑) ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี (๑.๑.๑) เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ ๙ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่ ท ๑๐ ได้ (๑.๑.๒) เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ ๑๐ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๑ ได้ โดยให้ได้รับเงินเดือนในวันแรกของการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งถัดไป และในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของระดับเดิมตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละระดับที่ข้าราชการจะได้รับเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔ ในวันแรกของการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งถัดไป (๑.๒) ผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ ๙ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท ๑๐ ได้ เฉพาะกรณีตำแหน่งรองอธิการบดีที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัยของรัฐ จากเงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนในวันแรกของการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งถัดไปและในขั้นที่เทียบได้ตรงกันกับขั้นเงินเดือนของระดับเดิมตามตารางเทียบขั้นเงินเดือนแต่ละระดับที่ข้าราชการจะได้รับ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๔ ในวันแรกของการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งถัดไป (๒) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๔ (ค) (๙) ถึง (๑๓) ให้ได้รับเงินเดือนตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับโอนข้าราชการ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑๔ (ก) ก.ม. อาจกำหนดให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับหรือขั้นเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิมที่ผู้นั้นได้รับได้ แต่ต้องไม่สูงกว่าขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง โดย ก.ม. จะกำหนดให้มีอันดับตามที่กำหนดไว้ในบัญชีดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๑๙ ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๑๔ อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้อ ๒๐ การให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนตามข้อ ๑๘ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ตำแหน่งใดมีอัตราเงินเดือนหลายอันดับ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับเงินเดือนขั้นต่ำของอันดับถัดไป ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ ๒๗ มีคำสั่งให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอันดับถัดไปนั้น ข้อ ๒๑ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับสำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ ข้อ ๓๓ ข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ ข้อ ๒๒ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.ม. ตามข้อ ๓๐ ด้วย สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ซึ่งขาดคุณสมบัติทั่วไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว ข้อ ๒๓ ให้ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๒๔ ผู้สอบแข่งขันได้ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้าปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอยู่ก่อนหรือภายหลังการสอบแข่งขันโดยไม่ได้รับการอนุมัติจาก ก.ม. ตามข้อ ๓๐ จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยอาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๒๖ มหาวิทยาลัยใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่ราชการที่จะต้องบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงมากเป็นพิเศษเข้ารับราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิให้มหาวิทยาลัยนั้นดำเนินการขออนุมัติ ก.ม. เมื่อ ก.ม. ได้พิจารณาอนุมัติให้บรรจุและได้กำหนดตำแหน่งที่จะแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒๗ บรรจุและแต่งตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๒๗ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับ ๑๐ และตำแหน่งศาสตราจารย์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาโดยอนุมัติของ ก.ม. เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและเสนอชื่อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่อันดับ ๙ ลงมา อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ตามข้อ ๑๔ (ก) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๒๘ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งเลื่อน (๑) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในอันดับ ๑๐ ตำแหน่งอธิการบดี หรือตำแหน่งศาสตราจารย์ (๒) อธิการบดีผู้บังคับบัญชา สำหรับตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่อันดับ ๙ ลงมา นอกจากตำแหน่งตาม (๑) ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใดตามข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง และข้อ ๒๕ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งโดยอนุโลมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เว้นแต่กำหนดเวลาและวิธีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ม. อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยก็ได้ ในกรณีที่ ก.ม. กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ม. รับรอง ข้อ ๓๑ การย้ายข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่ไม่สูงกว่าเดิม แต่ถ้าจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ม. แล้ว ข้อ ๓๒ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นกรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๓๓ การโอนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยในต่างมหาวิทยาลัยอาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในอันดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม เว้นแต่การโอนผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๓๔ การโอนพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญ หรือการโอนข้าราชการซึ่งไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยและไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญหรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย อาจกระทำได้เมื่อมหาวิทยาลัยที่จะรับโอนทำความตกลงกับเจ้าสังกัดแล้ว การโอนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาทำงานหรือเวลาราชการของผู้ซึ่งโอนมาตามวรรคหนึ่งเป็นเวลาราชการที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎกระทรวงนี้ด้วย ข้อ ๓๕ ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหายและประสงค์จะเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒๗ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๓๖ ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใดได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใดๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาสี่ปี นับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒๗ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ ๓๗ การกำหนดอัตราค่าจ้าง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินค่าจ้าง การสอบสวน การรักษาวินัยและการออกจากงานของลูกจ้างของมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้นำระเบียบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับลูกจ้างของส่วนราชการมาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา ๓๘ ให้ ก.ม. อ.ก.ม. วิสามัญ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย และ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ เป็น ก.ม. อ.ก.ม. วิสามัญ อ.ก.ม. อุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัย และ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยตามกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๓๙ ในระหว่างที่ ก.ม. ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามกฎกระทรวงนี้ ให้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนดที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไป ข้อ ๔๐ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎกระทรวงหรือกฎทบวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับให้การนั้นดำเนินการต่อไปจนกว่า ก.ม. จะมีมติเปลี่ยนแปลง ข้อ ๔๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎทบวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มีจำนวนหลายฉบับและใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้วทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้และไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการโดยกำหนดให้โอนทบวงมหาวิทยาลัยไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวก เหมาะสมและสอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ มยุรี/พิมพ์ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ อมราลักษณ์/พัชรินทร์/ตรวจ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๖๙ก/๑/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
607875
ข้อบังคับกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยจรรยาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการทูต การกงสุล และการต่างประเทศ พ.ศ. 2552
ข้อบังคับกระทรวงการต่างประเทศ ข้อบังคับกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานการทูต การกงสุล และการต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๒ กระทรวงการต่างประเทศเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงานด้านการต่างประเทศเพื่อรักษาอธิปไตยและส่งเสริมความมั่นคง เสถียรภาพ และเกียรติภูมิของประเทศ รวมทั้งนำการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ในเชิงสร้างสรรค์มาสู่ประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีกับนานาอารยประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในทุกมิติ เพื่อนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ความอยู่ดีกินดีของคนไทยทั้งประเทศและความสงบสุขของสังคมโลก เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ในด้านการต่างประเทศของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ตามภารกิจข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและสอดคล้องกับหลักสากล จึงสมควรให้มีข้อบังคับกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยจรรยาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการทูต การกงสุล และการต่างประเทศขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ กระทรวงการต่างประเทศจึงได้กำหนดข้อบังคับจรรยาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการทูต การกงสุล และการต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักแห่งความประพฤติและการปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นการเพิ่มเติมจากแนวปฏิบัติมาตรฐานกลางตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และโดยเฉพาะเมื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีของนักการทูตหรือผู้ที่ปฏิบัติงานการต่างประเทศของไทยให้ควรแก่ความไว้วางใจ และเชื่อมั่นของปวงชน และให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยจรรยาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการทูต การกงสุล และการต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “จรรยา” หมายความว่า ข้อกำหนดความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่คณะ “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคลอื่นนอกเหนือจากข้าราชการที่ปฏิบัติงานทางการทูต การกงสุล และการต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงลูกจ้างทุกประเภทและพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศและต่างประเทศ “การทูต” หมายความว่า ภารกิจที่เกี่ยวกับการเป็นผู้แทนรัฐ การเจรจา การสนทนา ติดต่อ สื่อสาร “การกงสุล” หมายความว่า ภารกิจที่เกี่ยวกับการออกหนังสือเดินทาง การออกเอกสารเดินทาง การคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของชาวไทยในต่างประเทศ และการดำเนินการในเรื่องสัญชาติและนิติกรณ์ “การต่างประเทศ” หมายความว่า ภารกิจในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศ ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศรักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำนาจปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับข้อบังคับ หมวด ๑ ค่านิยมหลัก ข้อ ๕ ค่านิยมหลักในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการทูต การกงสุล และการต่างประเทศ พึงยึดค่านิยมหลัก ดังต่อไปนี้ ๕.๑ ยึดมั่นและกล้ายืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ไม่โอนอ่อนตามอิทธิพลใด ๆ มั่นคงในเหตุผล ในหลักวิชา ยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาข้าราชการ อีกทั้งรักษาชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ แห่งสถาบันอย่างเคร่งครัด ๕.๒ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ เสียสละ อดทน เพื่อให้งานแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยยึดมั่นในผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นสำคัญ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ๕.๓ เคารพต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้ความสำคัญต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานวิชาชีพที่จะต้องปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคและมีเมตตาธรรม หมวด ๒ จรรยา ข้อ ๖ การเป็นผู้แทน พึงตระหนักในหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสถานภาพ “การเป็นผู้แทน” ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายทั้งขณะที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ให้ได้ผลสำเร็จสมบูรณ์ตรงตามวัตถุประสงค์ และดำรงตนอย่างเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และการเป็นผู้แทนของประเทศด้วยเกียรติและศักดิ์ศรี สำหรับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตนั้น พึงสำนึกในสถานภาพที่สำคัญที่สุดคือการเป็นผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมและเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศที่ไปประจำการนอกเหนือจากการเป็นผู้แทนของรัฐบาล ข้อ ๗ การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบและมารยาทที่เกี่ยวข้อง พึงเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับทางการทูตและการกงสุล กฎหมายและระเบียบของรัฐผู้รับแบบธรรมเนียมมารยาททางการทูต ทางการกงสุล โดยคำนึงถึงประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นของรัฐผู้รับ และหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๘ การดำรงตน ๘.๑ การวางตน พึงดำรงตนให้เหมาะสมกับฐานะและตำแหน่งหน้าที่ และพึงละเว้นการใดที่กระทบกระเทือนหรือทำให้เสื่อมเสียต่อการปฏิบัติราชการ ๘.๒ การรักษาชื่อเสียง พึงรักษามารยาทและประพฤติตนให้ถูกต้องตามศีลธรรมอย่างเคร่งครัดและ พึงหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจนำไปสู่ความเสื่อมเสียต่อตนเอง ครอบครัว และชื่อเสียงขององค์กร รวมทั้งละเว้นกระทำการอันไม่เหมาะสมทางเพศ ๘.๓ การให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็น พึงดำเนินการให้ข้อมูลหรือเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นทางการเมื่อได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการแล้วเท่านั้น การแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ผู้นั้น พึงสำนึกถึงสถานะของการเป็นผู้แทนประเทศอยู่เสมอ ๘.๔ การทำงานอื่นนอกเหนืองานราชการ พึงเว้นปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาชีพหรือการพาณิชย์เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนเมื่อไปปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ ๘.๕ การใช้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต พึงเว้นจากการใช้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ข้อ ๙ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ๙.๑ ความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานและการให้ข้อแนะนำ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่พึงรายงานและให้ข้อแนะนำที่มีเนื้อหาสาระครบถ้วน ตรงไปตรงมา ไม่ลำเอียงหรือมีอคติ พร้อมทั้งพึงแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายใด ๆ ไม่ว่ารายงานและข้อแนะนำนั้นจะสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาหรือไม่ ๙.๒ ความสัมพันธ์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ๙.๒.๑ การเป็นต้นแบบที่ดี ผู้บังคับบัญชาพึงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและความประพฤติส่วนตัว ใช้ความรอบรู้ กล้าหาญ และเที่ยงธรรมในการปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม ยกย่อง เชิดชู และสนับสนุนผู้ที่มีความรู้ ความสามารถคู่คุณธรรม หมั่นส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน ๙.๒.๒ การแสดงภาวะผู้นำ ผู้บังคับบัญชาพึงแสดงวิสัยทัศน์และกำหนดทิศทางการพัฒนาขององค์กรอย่างมีระบบและชัดเจน และเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับ และพึงแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ๙.๒.๓ การเลือกใช้คนให้ถูกกับงาน ผู้บังคับบัญชาพึงสร้างโอกาสและการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมงานในองค์กรโดยนำความถนัดหรือชำนาญที่แตกต่างของผู้ร่วมงานในหน่วยงานของตนมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร ๙.๓ ความสัมพันธ์ต่อผู้ร่วมงาน ๙.๓.๑ ความสามัคคี พึงยกย่องนับถือให้เกียรติกัน สมัครสมานสามัคคีและเกื้อกูลกัน มีความเสียสละอดทน รู้จักเกรงใจ และให้อภัย ๙.๓.๒ การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค พึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมอันอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อผู้ร่วมงานในสำนักงานหรือต่างสำนักงานกัน ระมัดระวังมิให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ร่วมงานส่งผลร้ายต่อการปฏิบัติงาน และไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้ร่วมงานทุกระดับ รวมทั้งเจ้าหน้าที่และลูกจ้างท้องถิ่นเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ สถานะของบุคคล ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม ความเห็นทางการเมือง หรือสถานะอื่นใด ข้อ ๑๐ ความสัมพันธ์ต่อประชาชน สังคม และองค์กร พึงตระหนักและให้ความสำคัญกับงาน “การทูตเพื่อประชาชน” ที่มุ่งหวังให้การต่างประเทศเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือ คุ้มครองและดูแลผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ อีกทั้งพึงให้บริการประชาชนด้วยความสุภาพ มีน้ำใจโดยเสมอภาค เป็นธรรมและคำนึงถึงความถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว และประหยัด พึงมี “จิตสำนึกสาธารณะ” และยืนหยัดในการประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมและเป็นภูมิคุ้มกันสำหรับการพัฒนาจริยธรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืนในองค์กรและสังคม ข้อ ๑๑ แนวปฏิบัติทั่วไป ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกคนพึงมีหน้าที่รายงานโดยสุจริตถึงการปฏิบัติที่ขัดหรือสงสัยว่าจะขัดต่อหลักการต่าง ๆ ในข้อบังคับฉบับนี้ ต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง หรือในกรณีที่ไม่อาจรายงานต่อผู้บังคับบัญชาได้ อาจขอคำปรึกษาจากผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป ผู้บังคับบัญชาพึงมีหน้าที่สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติสอดคล้องกับแนวทางในข้อบังคับฉบับนี้ หมวด ๓ การบังคับใช้ ข้อ ๑๒ ข้อบังคับฉบับนี้ เป็นข้อบังคับที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทุกระดับพึงทำความเข้าใจและยึดมั่นในการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับแนวทางในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน การไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับนี้อันมิใช่ความผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตักเตือน รวมทั้งนำไปประกอบการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนเงินเดือนหรือสั่งให้ได้รับการพัฒนา และหากมีปัญหาในการปฏิบัติงานเกิดขึ้น ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ปรึกษาผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ วีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๕๑/๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒
304217
กฎทบวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
กฎทบวง กฎทบวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ข้อ ๑๘ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๗ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๒๐ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวงไว้ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ แห่งกฎทบวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕ ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการ (๑) ศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๗ ถึงระดับ ๙ และถ้าศาสตราจารย์ผู้ใดเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. กำหนดให้ผู้นั้นรับเงินเดือนในระดับ ๑๐ ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๑๐ และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม. กำหนดแล้ว (๒) รองศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๖ ถึงระดับ ๘ แล้วถ้ารองศาสตราจารย์ผู้ใดเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ ก.ม. กำหนดให้ผู้นั้นรับเงินเดือนในระดับ ๙ ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๙ และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม. กำหนดแล้ว (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนในระดบ ๕ ถึงระดับ ๗ และถ้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ผู้ใดเป็นผู้ชำนาญการและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนในระดับ ๘ ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๘ และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม. กำหนดแล้ว (๔) อาจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ๓ ถึงระดับ ๖ และถ้าอาจารย์ผู้ใดเป็นผู้ชำนาญการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนในระดับ ๗ ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ ๗ และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม.กำหนดแล้ว (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ (๑) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ (ค) (๑) ถึง (๘) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งในข้อ ๑๑ (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งที่ระบุไว้ใน (ก) เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของระดับ ๙ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวให้ได้รับเงินเดือนในระดับ ๑๐ ได้ (๒) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อ ๑๑ (ค) (๙) ถึง (๑๓) ให้ได้รับเงินเดือนในระดับตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑ เกษม สุวรรณกุล รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย อัมภิญา/พิมพ์ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๖๙/หน้า ๓๙๓/๑๑ กรกฏาคม ๒๕๒๑ หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเลื่อนระดับเงินเดือนของผู้ดำรงตำแหน่งอธิบการบดีในมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงนี้
304216
กฎทบวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
ตราครุฑ ตราครุฑ กฎทบวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ---------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพล เรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ข้อ 18 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 217 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2520 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ออกกฎทบวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน `ข้อ 3 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า `ก.ม.' ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเป็นรองประธาน และ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิได้เป็นข้าราชการการเมือง กรรมการพรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือสมาชิกรัฐสภาเว้นแต่สมาชิกสภาปฏิรูป การปกครองแผ่นดิน จำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน โดยต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้า ราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งรับราชการอยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย ถ้าออกจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้พ้นจากตำแหน่ง ก.ม. มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามความในกฎทบวงนี้' ให้ไว้ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 วิมลศิริ ชำนาญเวช รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎทบวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 บัญญัติว่า กรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจะ เป็นสมาชิกรัฐสภาไม่ได้ แต่สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินมีลักษณะพิเศษผิดไปจากสมาชิกรัฐสภา สมควรให้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงนี้
304215
กฎทบวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
ตราครุฑ ตราครุฑ กฎทบวง ฉบับที่ 1 ( พ.ศ. 2516 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ---------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และข้อ 18 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 217 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐออกกฎทบวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ซึ่งถือว่าเป็นกฎทบวงตามประกาศของคณะ ปฏิวัติ ฉบับที่ 217 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน `ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า 'ก.ม.` ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นรองประธาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อธิการบดีทุกมหาวิทยาลัย อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ปฏิบัติการตามความในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ซึ่งถือว่าเป็นกฎทบวงตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 217 ให้ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นเลขานุการของ ก.ม.' ให้ไว้ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 บ. บิณฑสันต์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎทบวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการจัดตั้งทบวงมหาวิทยาลัย ของรัฐขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 เพื่อให้มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการและกำกับการศึกษาของรัฐในระดับอุดมศึกษานอกจากที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของกระทรวงศึกษาธิการ สมควรปรับปรุงคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้เหมาะสม และสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎทบวงฉบับนี้
319609
กฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
ตราครุฑ ตราครุฑ กฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2519) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507 ---------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และข้อ 18 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 217 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยออกกฎทบวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) กฎกระทรวง (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 (3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2514) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 (4) กฎทบวง ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ข้อ 2 กฎทบวงฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า `ก.ม.' ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นรองประธาน และ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิได้เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิก รัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง จำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกิน สิบห้าคน โดยต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งรับราชการอยู่ไม่น้อยกว่ากึ่ง หนึ่งของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นกรรมการและเลขาธิการ กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหา วิทยาลัย ถ้าออกจากตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้พ้นจากตำแหน่ง ก.ม. มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามความในกฎทบวงนี้ ข้อ 4 กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ถ้า ตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนดสามสิบวัน เว้นแต่ วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการแทนนั้น ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งกรรมการ ใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง กรรมการให้ใหม่ ข้อ 5 การประชุม ก.ม. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุม ก.ม. ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน ในการประชุม ก.ม. ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ กรรมการผู้นั้นไม่ มีสิทธิเข้าประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่ม ขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ 6 ก.ม. มีอำนาจตั้งอนุกรรมการวิสามัญ เรียกโดยย่อว่า `อ.ก.ม. วิสามัญ' เพื่อทำ การใด ๆ แทนได้ ในกรณีที่กรรมการของ ก.ม.ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ อ.ก.ม. วิสามัญ ที่ได้รับแต่งตั้งจาก ก.ม. คณะนั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วย ในระหว่างที่ยังมิได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ก.ม. ใหม่ ให้ อ.ก.ม. วิสามัญ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.ม.วิสามัญใหม่ ข้อ 7 ให้มีอนุกรรมการสามัญ ประจำทุกมหาวิทยาลัยเรียกโดยย่อ ๆ ว่า `อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย' ประกอบด้วยอธิการบดีเป็นประธาน รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการศูนย์ สถาบันหรือสำนัก และหัวหน้า แผนกอิสระ ถ้ามี เป็นอนุกรรมการโดยตำแหน่ง ทั้งนี้ อธิการบดีด้วยความเห็นชอบของอนุกรรมการโดย ตำแหน่ง จะแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยนั้น เป็นอนุกรรมการอีกจำนวนไม่ เกินห้าคนก็ได้อนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้อยู่ตำแหน่งได้คราวละสองปี ให้อธิการบดีแต่งตั้งรองอธิการบดีคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใดมีวิทยาลัยเป็นส่วนราชการ ให้หัวหน้าของวิทยาลัยนั้น เป็นอนุกรรมการโดย ตำแหน่งด้วย อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม.ปฏิบัติการตามที่ ก.ม. มอบหมาย และให้ความเห็นแก่อธิการบดีตามที่อธิการบดีปรึกษา การประชุม อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย ให้นำความในข้อ 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 8 อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย มอบหมาย ข้อ 9 ในการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ และการอื่นตามที่ ก.ม.กำหนด ก.ม.อาจกำหนดให้มี ผู้แทนของกลุ่มข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมใน ฐานะที่ปรึกษาด้วยก็ได้ จำนวน คุณสมบัติ การเลือกตั้ง และวาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนกลุ่มข้าราชการพลเรือนตาม วรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 10 การกำหนดอัตราเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การรักษาวินัย และการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือน ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎทบวงนี้ การใดที่มิได้กำหนดไว้กฎทบวงนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนด ไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนกฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ในกรณีที่นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนกฎ ก.พ.และระเบียบที่ออกตามความใน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับนั้น ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.พ. เป็นอำนาจ หน้าที่ของ ก.ม. ให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.พ.กระทรวง หรือ อ.ก.พ.กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย และให้อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี เป็นอำนาจ หน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ หรืออธิการบดี แล้วแต่ กรณี ข้อ 11 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการ ได้แก่ (1) ศาสตราจารย์ (2) รองศาสตราจารย์ (3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (4) อาจารย์ (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ได้แก่ตำแหน่งในสายงานต่าง ๆ ดังนี้ (1) บรรณารักษ์ (2) โสตทัศนศึกษา (3) แพทย์ (4) พยาบาล (5) วิจัย (6) ตำแหน่งในสายงานวิชาการอื่น ที่ ก.ม.กำหนด (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ ได้แก่ (1) อธิการบดี (2) รองอธิการบดี (3) คณบดี (4) ผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน หรือสำนัก (5) หัวหน้าแผนกอิสระ (6) รองคณบดี (7) รองผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน หรือสำนัก (8) หัวหน้าภาควิชา หรือหัวหน้าแผนกวิชา (9) ผู้อำนวยการ (10) เลขานุการคณะ (11) หัวหน้ากอง (12) หัวหน้าแผนก (13) ตำแหน่งอื่น ที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 12 มหาวิทยาลัยใดจะมีตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด และจะต้องใช้ผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอย่างใด ให้ ก.ม.กำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่ความรับ ผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน ข้อ 13 ให้ ก.ม. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไว้เป็น หลักฐานทุกตำแหน่งในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้แสดงชื่อของตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบ ของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี และสำหรับ ตำแหน่งตามข้อ 15(ข) และ (ค) (2) ให้แสดงระดับเงินเดือนที่ให้ได้รับ โดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ ในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ข้อ 14 ในกรณีที่ลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบปริมาณและคุณภาพของงาน ของตำแหน่งข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใด ที่ ก.ม.กำหนด เปลี่ยนแปลงไปให้ ก.ม.พิจารณาปรับปรุงการกำหนด ตำแหน่งนั้นเสียใหม่ให้เหมาะสม ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ได้รับเงิน เดือนตามตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ สอน วิจัย และให้บริการทางวิชาการ (1) ศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ 7 ถึงระดับ 9 และถ้าศาตราจารย์ผู้ใดเป็น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนในระดับ 10 ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ 10 และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม.กำหนดแล้ว (2) รองศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ 6 ถึงระดับ 8 และถ้ารองศาตราจารย์ ผู้ใดเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนใน ระดับ 9 ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ 9 และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม. กำหนดแล้ว (3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ 5 ถึงระดับ 7 และถ้าผู้ช่วยศาตราจารย์ ผู้ใดเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษและมีผลงานทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนใน ระดับ 8 ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ 8 และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม. กำหนดแล้ว (4) อาจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ 3 ถึงระดับ 6 และถ้าอาจารย์ผู้ใดเป็นผู้ชำนาญการ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.กำหนด ให้ผู้นั้นรับเงินเดือนในระดับ 7 ได้ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับ 7 และได้ผ่านการประเมินตามวิธีการที่ ก.ม.กำหนดแล้ว (ข) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่ให้บริการทางวิชาการ ให้ได้รับเงินเดือนในระดับตามที่ ก.ม.กำหนดไว้ใน มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ค) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับงานบริหารและธุรการ (1) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 11 (ค) (1) ถึง (8) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งจากผู้ ดำรงตำแหน่งในข้อ 11 (ก) ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งตามที่ระบุไว้ใน (ก) (2) ตำแหน่งตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 11 (ค) (9) ถึง (13) ให้ได้รับเงินเดือนในระดับตาม ที่ ก.ม.กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ข้อ 16 ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 11 (ค) (1) ถึง (8) อาจได้รับเงินประจำตำแหน่งเป็นราย เดือน ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม. และกระทรวงการคลังกำหนด ข้อ 17 การให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ได้รับเงินเดือนตามข้อง 15 ให้เป็นไปตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 โดยอนุโลม ภายใต้บังคับข้อ 15 (ก) ตำแหน่งใดมีอัตราเงินเดือนหลายระดับเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนั้นได้รับ เงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับถัดไป ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามข้อ 24 มีคำสั่งให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในระดับ ถัดไปนั้น ข้อ 18 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหา วิทยาลัยให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชี ผู้สอบแข่งขันได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับสำหรับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามข้อ 22 ข้อ 23 ข้อ 29 ข้อ 30 ข้อ 31 และข้อ 32 ข้อ 19 ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาด คุณสมบัติตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และต้องมีคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่ ก.ม. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือได้รับอนุมัติจาก ก.ม. ตามข้อ 26 ด้วย สำหรับผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 24 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัยในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว ข้อ 20 ให้ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขันตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิก บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 21 ผู้สอบแข่งขันได้ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ถ้า ปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปโดยไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งอยู่ก่อน หรือภายหลัง การสอบแข่งขัน โดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ม. ตามข้อ 26 จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่ได้ ข้อ 22 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยอาจคัด เลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนด ข้อ 23 มหาวิทยาลัยใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่ราชการ ที่จะต้องบรรจุ บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงมากเป็นพิเศษ เข้ารับราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ให้มหาวิทยาลัยนั้นดำเนินการขออนุมัติ ก.ม.เมื่อ ก.ม.ได้พิจารณาอนุมัติให้บรรจุและได้กำหนดตำแหน่งที่ จำแต่งตั้งและเงินเดือนที่จะให้ได้รับแล้ว ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ 24 บรรจุและแต่งตั้งได้ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 24 การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย ให้ผู้มีอำนาจต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุแต่งตั้ง (1) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ 10 และตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ปลัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐโดยอนุมัติของ ก.ม.เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและเสนอชื่อต่อ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ รายงานนายก รัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง (2) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9 ลงมา อธิการบดี ผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามข้อ 11 (ก) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 25 ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัยตำแหน่งใดตามข้อ 18 วรรคหนึ่งและข้อ 22 ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งโดย อนุโลมตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 เว้นแต่กำหนดเวลา และวิธีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 26 ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตำแหน่งใด ต้องมี คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ตามที่ ก.ม.กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ม.อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยได้ ในกรณีที่ ก.ม.กำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.ม.รับรอง ข้อ 27 การย้ายข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในมหาวิทยาลัยเดียวกัน ต้องย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนใน ระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม แต่ถ้าจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะ กระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ม.แล้ว ข้อ 28 การเลื่อนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยขึ้น แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันหรือผู้ สอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้นได้ หรือจากผู้ได้รับคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งนั้น กรณีใดจะเลื่อนและ แต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.ม.กำหนด การสอบแข่งขัน ให้เป็นไปตามข้อ 20 ส่วนการสอบคัดเลือกและคัดเลือกให้ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการ หลักสูตรและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้ ตลอดจนวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่ง สำหรับผู้สอบแข่ง ขันได้ ให้แต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ สำหรับผู้สอบคัดเลือกได้ หรือผู้ได้รับคัดเลือก ให้ แต่งตั้งได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความประพฤติและประวัติการรับ ราชการ ข้อ 29 การโอนข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยในต่าง มหาวิทยาลัย อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนนั้นแล้ว โดยให้ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซึ่งอาจได้รับเงินเดือนในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิมและรับเงินเดือนในขั้นที่ไม่สูงกว่า เดิม เว้นแต่การโอนผู้สอบแข่งขันได้ ผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับการเลือก ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 30 การโอนพนักงานเทศบาลที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาลวิสามัญหรือการโอนข้าราชการซึ่งไม่ใช่ ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยและไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย อาจกระทำได้เมื่อมหาวิทยาลัยที่จะรับโอนทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้ว การโอนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.กำหนด เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ ให้ถือเวลาทำงานหรือเวลาราชการของผู้ซึ่งโอนมา ตามวรรคหนึ่ง เป็นเวลาราชการที่ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎทบวงนี้ด้วย ข้อ 31 ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใด ไปรับ ราชการทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความ เสียหายและประสงค์จะเข้ารับราชการในตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยภายในกำหนดหนึ่ง ร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตาม ข้อ 24 สั่งบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 32 ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยผู้ใด ได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณ บำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้า รับราชการภายในกำหนดสี่ปี นับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ 24 สั่ง บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.กำหนด ข้อ 33 การกำหนดอัตราค่าจ้าง การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินค่าจ้าง การสอบสวน การรักษาวินัยและการออกจากงาน ของลูกจ้างของมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัย ของรัฐ ให้นำระเบียบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับลูกจ้างของส่วนราชการใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 34 ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยและอนุกรรมการวิสามัญ ซึ่ง ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่กฎทบวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะแต่งตั้ง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยและอนุกรรมการวิสามัญตามกฎทบวงนี้ใหม่ ทั้งนี้ ภายใน ระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่กฎทบวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 35 ในระหว่างที่ ก.ม.ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์แกละวิธีการเพื่อปฏิบัติการตามกฎทบวงนี้ ให้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม. กำหนดและใช้บังคับอยู่ในวันที่กฎทบวงนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับต่อไป ข้อ 36 การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎกระทรวงหรือกฎทบวงที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ในวันที่ ก.ม. กำหนดตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎทบวงนี้ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.ม. กำหนด ให้ไว้ ณ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2519 นิพนธ์ ศศิธร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ -------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศกฎทบวงฉบับนี้ คือ โดยที่สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับ การกำหนดอัตราเงินเดือน การบรรจุ การแต่งตั้ง การโอน การสอบสวน การรักษาวินัย และการออก จากราชการของข้าราชการและลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับข้าราชการพลเรือนทั่วไป จึง จำเป็นต้องออกกฎทบวงนี้
832184
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “สถาบันอุดมศึกษา” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” มาตรา ๘ ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ หมายถึงปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปุณิกา/จัดทำ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑๐๕/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
315402
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ------------ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง นายสมศักดิ์ จักรไพวงศ์ ข้าราชการ พลเรือนในมหาวิทยาลัย ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ ๙ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่ง ก.พ. มีมติอนุมัติให้รับโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรง ตำแหน่ง รองปลัดทบวง (นักบริหาร ๑๐) สำนักงานปลัดทบวง ทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี [รก.๒๕๔๓/๗๑ง/๒/๕ กันยายน ๒๕๔๓] ชไมพร/แก้ไข ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
571133
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”[๒] หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “สถาบันอุดมศึกษา”[๓] หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖[๔] ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๒) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๕) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๘ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๘/๑[๕] ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ.อ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดให้มีวันหยุดพิเศษเฉพาะกรณีเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาก็ได้ สภาสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการอนุญาตให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นในระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๐ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๒ คณะกรรมการ มาตรา ๑๑[๖] ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน มาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ ก.พ.อ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (๓)[๗] กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน (๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๘)[๘] พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา (๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๕ การประชุมของ ก.พ.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้นไม่ได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๖[๙] ก.พ.อ. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.พ.อ. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.พ.อ. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.พ.อ. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่งจะไม่กำหนดภาระหน้าที่ของตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง โดยกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานแทนก็ได้ ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือที่ ก.อ.ร. กำหนดตามมาตรา ๑๗/๔ (๒)[๑๐] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์[๑๑] มาตรา ๑๗/๑[๑๒] ให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.ร.” ประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) คนหนึ่งซึ่ง ก.พ.อ. มอบหมาย เป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง ก.พ.อ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน ก.พ.อ. และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหารการอุดมศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านบริหารงานบุคคล จำนวนไม่เกินห้าคน ให้รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ[๑๓] การได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗/๒[๑๔] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗/๓[๑๕] นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๗/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ก.พ.อ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๑๗/๔[๑๖] ก.อ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๒ และพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ (๒) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๕[๑๗] ก.อ.ร. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.อ.ร. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.อ.ร. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ.ร. กำหนด มาตรา ๑๗/๖[๑๘] การประชุมของ ก.อ.ร. ให้นำมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๑๘[๑๙] ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (๕) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ (๑) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ระดับเชี่ยวชาญ (๓) ระดับชำนาญการ (๔) ระดับปฏิบัติการ (๕) ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) มีสิทธิใช้ตำแหน่งวิชาการเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป มาตรา ๑๙[๒๐] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ ในระหว่างการต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๑ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนราชการใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สอบแข่งขัน (๒) คัดเลือก โดยปกติให้ดำเนินการโดยวิธีสอบแข่งขัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม โอกาสที่บุคคลทั่วไปจะเข้ารับการคัดเลือก และประโยชน์สูงสุดที่สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการคัดเลือก ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีหรือจากผู้ได้รับคัดเลือก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับตามวรรคสามและวรรคสี่ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามมาตรา ๒๐ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น การรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย ก.พ.อ. จะวางหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ มาตรา ๒๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ให้ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เมื่อผู้บริหารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองพ้นจากตำแหน่งประเภทผู้บริหารแล้ว ให้ผู้นั้นกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมและให้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้นในขั้นที่ได้รับอยู่ในขณะที่พ้นตำแหน่งประเภทผู้บริหาร การได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่ มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รองอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดินจะมีได้ไม่เกินห้าอัตรา และในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขต ให้มีรองอธิการบดีดังกล่าวเพิ่มได้วิทยาเขตละหนึ่งอัตรา ผู้ช่วยอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา รองคณบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[๒๑] การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๒๒ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ ในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๒๐ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่ ก.พ.อ. รับรองตามมาตรา ๑๔ (๘) มาตรา ๓๑[๒๒] การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๒ การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสามารถกระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในต่างสถาบันอุดมศึกษา อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ทั้งสองฝ่ายยินยอมในการโอนและเจ้าตัวสมัครใจ (๒) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด (๓) การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๓[๒๓] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการเมื่อถูกสั่งให้ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย (๒) ออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งแต่ละกรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๔ การเลื่อนเงินเดือน [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัยและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้อธิการบดีมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเสนอแนะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง อธิการบดีจะสั่งการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน[๒๔] [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๓๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาวินัยและจรรยาบรรณตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๓๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร และดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย วางตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มที่ รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกัน การกลั่นแกล้ง การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นการปฏิบัติราชการหรือได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มาตรา ๔๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ในการกำหนดจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่ง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้น จะกำหนดว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดเป็นความผิดวินัยหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยก็ได้ มาตรา ๔๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้นไม่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตักเตือน สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือทำทัณฑ์บน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนทัณฑ์บน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตักเตือน การมีคำสั่ง หรือการทำทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด มาตรา ๔๗ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดเมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยละเลยไม่ดำเนินการทางวินัยตามหมวด ๖ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาในการกล่าวหาหรือดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๘ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๖ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๔๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยที่มิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้บุคคลใดสืบสวนเบื้องต้นว่าการกล่าวหานั้นมีหลักฐานตามสมควรหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา และผู้มีอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[๒๕] มาตรา ๕๐ ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๑ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกสอบสวนกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๒ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๓[๒๖] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” มาตรา ๕๓/๑[๒๗] ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๕๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเคยถูกกล่าวหา หรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ หมวด ๗ การออกจากราชการ มาตรา ๕๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก มาตรา ๕๖ วิธีการลาออก การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มิได้อนุญาตให้ลาออก และมิได้ยับยั้งการลาออกภายในเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก การยับยั้งการลาออกจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางการเมืองหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลาออกเกินกว่าเหตุมิได้ มาตรา ๕๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน (๑) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๔) (๕) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (๖) มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ เว้นแต่ทางราชการยังมีความจำเป็นที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (๗) ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ (๘) ถูกจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติว่าถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๔) ให้ดำเนินการสอบสวนโดยให้นำมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๕) หรือ (๗) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ มาตรา ๕๙[๒๘] การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ มาตรา ๖๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษมิได้ดำเนินการทางวินัยหรือมิได้สั่งให้ออกจากราชการโดยเคร่งครัดหรือเป็นธรรม จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการ และสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๖๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ.ร. กำหนด ให้ ก.อ.ร. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ ก.อ.ร. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๓[๒๙] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน โดยจะต้องมีการกำหนดหลักประกันความเป็นธรรมเพื่อคุ้มครองผู้ร้องทุกข์มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.อ.ร. หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๖๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษดำเนินการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.อ.ร. แล้วแต่กรณี โดยเร็ว [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๕[๓๐] การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา[๓๑] มาตรา ๖๕/๑[๓๒] การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้าง การบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน เงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่ง การลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๒[๓๓] พนักงานในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๖๕/๑ ได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนั้น ตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในส่วนราชการหรือส่วนงานใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๖ ให้ดำเนินการให้มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ม. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ทำหน้าที่ ก.พ.อ. ไปพลางก่อน ในกรณีที่มีกฎหมายใดระบุถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ถือว่ากฎหมายดังกล่าวหมายถึงข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่ยังมีมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) ประกอบด้วย (๑) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๒) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๓) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๔) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๕) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๖) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน การคัดเลือกกรรมการตาม (๕) ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คัดเลือกผู้แทนสถาบันละหนึ่งคน และให้ผู้แทนซึ่งได้รับคัดเลือกประชุมและเลือกกันเองให้เหลือสองคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกกรรมการตาม (๖) ให้นำวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม มหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยังเป็นส่วนราชการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา ๖๘ ในกรณีที่มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ มีน้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๒) (๔) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งในสิ้นปีที่มีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าห้าแห่ง และให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๑) (๓) และ (๕) อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๖๙ ในวาระเริ่มแรกจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๓) จากผู้ซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑) (๒) (๔) และ (๕) เสนอแนะ มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๑ ในกรณีที่มีกฎหมายก่อนหรือหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บัญญัติให้มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ วรรคสี่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ยังมีข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ถือว่าข้าราชการในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการตั้งแต่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ โดยการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และในระหว่างการต่อเวลาราชการดังกล่าว ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้[๓๔] ในระหว่างที่ ก.พ.อ. ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้[๓๕] ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ผู้นั้นมีสภาพเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป รวมทั้งให้คืนเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนเงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินดังกล่าวแก่ทางราชการและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนบำเหน็จแก่ทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ให้มีสิทธิได้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๗๓ ผู้ใดเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๗๔ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎทบวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใดซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๐ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดากฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเดิมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือ ก.ค. หรือ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ. และให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย อ.ก.ค. กรม อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้อำนาจหน้าที่ในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี มาตรา ๗๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัย หรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการสอบสวนหรือการพิจารณานั้น แล้วแต่กรณี เป็นอันใช้ได้ มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ มาตรา ๗๗ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่เกี่ยวกับข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาจะต้องมารวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอยู่ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก.ม. ก.ค. และ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเสมอภาค เป็นเอกเทศ และสอดคล้องกับภารกิจโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงสมควรกำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้คณาจารย์และบุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓๖] มาตรา ๑๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการต่อเวลาราชการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดตำแหน่ง การแต่งตั้ง และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังคงได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเสียใหม่เพื่อให้การต่อเวลาราชการเป็นไปตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของอธิการบดีและบทบัญญัติเพื่อรองรับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓๗] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๑ ให้ดำเนินการให้มี ก.อ.ร. ตามมาตรา ๑๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.อ. ทำหน้าที่ ก.อ.ร. ไปพลางก่อน มาตรา ๑๒ เรื่องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ก.พ.อ. ให้ ก.พ.อ. พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้นำข้อบังคับ ก.พ.อ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. ๒๕๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของคณะอนุกรรมการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยแก้ไขจากคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และแก้ไขคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๘] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ มีอำนาจเสนอมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดได้ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังไม่มีบทบัญญัติเช่นว่านั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจเสนอมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแก่กรณีเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวให้คำนึงถึงเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่นประกอบด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒[๔๐] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๘ ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ หมายถึงปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๓๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “สถาบันอุดมศึกษา” แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๔] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๕] มาตรา ๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๖] มาตรา ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๗] มาตรา ๑๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๘] มาตรา ๑๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๙] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๐] มาตรา ๑๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๑] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๑ ถึง มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๒] มาตรา ๑๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๓] มาตรา ๑๗/๑ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๑๔] มาตรา ๑๗/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๕] มาตรา ๑๗/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๖] มาตรา ๑๗/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๗] มาตรา ๑๗/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๘] มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๙] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๐] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๑] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๒] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๓] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๔] มาตรา ๓๕ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๕] มาตรา ๔๙ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๖] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๗] มาตรา ๕๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๘] มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๙] มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓๐] มาตรา ๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๓๑] หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ ถึง มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๒] มาตรา ๖๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๓] มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๔] มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๕] มาตรา ๗๒ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๒๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๕/๕ เมษายน ๒๕๖๒ [๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๖๖/๑๔ เมษายน ๒๕๖๒ [๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๑๐๕/๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
831449
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/04/2562)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”[๒] หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๒) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๕) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๘ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดให้มีวันหยุดพิเศษเฉพาะกรณีเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาก็ได้ สภาสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการอนุญาตให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นในระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๐ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๒ คณะกรรมการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน มาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ ก.พ.อ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (๓)[๓] กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน (๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๘)[๔] พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา (๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๕ การประชุมของ ก.พ.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้นไม่ได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๖[๕] ก.พ.อ. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.พ.อ. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.พ.อ. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.พ.อ. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่งจะไม่กำหนดภาระหน้าที่ของตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง โดยกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานแทนก็ได้ ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือที่ ก.อ.ร. กำหนดตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) [๖] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์[๗] มาตรา ๑๗/๑[๘] ให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.ร.” ประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) คนหนึ่งซึ่ง ก.พ.อ. มอบหมาย เป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง ก.พ.อ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน ก.พ.อ. และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหารการอุดมศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านบริหารงานบุคคล จำนวนไม่เกินห้าคน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ การได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗/๒[๙] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗/๓[๑๐] นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๗/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ก.พ.อ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๑๗/๔[๑๑] ก.อ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๒ และพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ (๒) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๕[๑๒] ก.อ.ร. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.อ.ร. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.อ.ร. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ.ร. กำหนด มาตรา ๑๗/๖[๑๓] การประชุมของ ก.อ.ร. ให้นำมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๑๘[๑๔] ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (๕) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ (๑) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ระดับเชี่ยวชาญ (๓) ระดับชำนาญการ (๔) ระดับปฏิบัติการ (๕) ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) มีสิทธิใช้ตำแหน่งวิชาการเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป มาตรา ๑๙[๑๕] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ ในระหว่างการต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๑ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนราชการใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สอบแข่งขัน (๒) คัดเลือก โดยปกติให้ดำเนินการโดยวิธีสอบแข่งขัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม โอกาสที่บุคคลทั่วไปจะเข้ารับการคัดเลือก และประโยชน์สูงสุดที่สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการคัดเลือก ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีหรือจากผู้ได้รับคัดเลือก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับตามวรรคสามและวรรคสี่ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามมาตรา ๒๐ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น การรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย ก.พ.อ. จะวางหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ มาตรา ๒๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ให้ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เมื่อผู้บริหารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองพ้นจากตำแหน่งประเภทผู้บริหารแล้ว ให้ผู้นั้นกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมและให้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้นในขั้นที่ได้รับอยู่ในขณะที่พ้นตำแหน่งประเภทผู้บริหาร การได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่ มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รองอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดินจะมีได้ไม่เกินห้าอัตรา และในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขต ให้มีรองอธิการบดีดังกล่าวเพิ่มได้วิทยาเขตละหนึ่งอัตรา ผู้ช่วยอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา รองคณบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[๑๖] การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๒๒ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ ในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๒๐ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่ ก.พ.อ. รับรองตามมาตรา ๑๔ (๘) มาตรา ๓๑[๑๗] การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๒ การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสามารถกระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในต่างสถาบันอุดมศึกษา อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ทั้งสองฝ่ายยินยอมในการโอนและเจ้าตัวสมัครใจ (๒) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด (๓) การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๓[๑๘] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการเมื่อถูกสั่งให้ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย (๒) ออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งแต่ละกรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๔ การเลื่อนเงินเดือน [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัยและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้อธิการบดีมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเสนอแนะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง อธิการบดีจะสั่งการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน[๑๙] [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๓๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาวินัยและจรรยาบรรณตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๓๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร และดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย วางตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มที่ รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกัน การกลั่นแกล้ง การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นการปฏิบัติราชการหรือได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มาตรา ๔๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ในการกำหนดจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่ง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้น จะกำหนดว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดเป็นความผิดวินัยหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยก็ได้ มาตรา ๔๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้นไม่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตักเตือน สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือทำทัณฑ์บน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนทัณฑ์บน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตักเตือน การมีคำสั่ง หรือการทำทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด มาตรา ๔๗ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดเมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยละเลยไม่ดำเนินการทางวินัยตามหมวด ๖ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาในการกล่าวหาหรือดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๘ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๖ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๔๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยที่มิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้บุคคลใดสืบสวนเบื้องต้นว่าการกล่าวหานั้นมีหลักฐานตามสมควรหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา และผู้มีอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๕๐ ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๑ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกสอบสวนกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๒ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๓[๒๐] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” มาตรา ๕๓/๑[๒๑] ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๕๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเคยถูกกล่าวหา หรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ หมวด ๗ การออกจากราชการ มาตรา ๕๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก มาตรา ๕๖ วิธีการลาออก การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มิได้อนุญาตให้ลาออก และมิได้ยับยั้งการลาออกภายในเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก การยับยั้งการลาออกจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางการเมืองหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลาออกเกินกว่าเหตุมิได้ มาตรา ๕๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน (๑) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๔) (๕) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (๖) มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ เว้นแต่ทางราชการยังมีความจำเป็นที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (๗) ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ (๘) ถูกจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติว่าถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๔) ให้ดำเนินการสอบสวนโดยให้นำมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๕) หรือ (๗) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ มาตรา ๕๙[๒๒] การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ มาตรา ๖๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษมิได้ดำเนินการทางวินัยหรือมิได้สั่งให้ออกจากราชการโดยเคร่งครัดหรือเป็นธรรม จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการ และสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๖๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ.ร. กำหนด ให้ ก.อ.ร. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ ก.อ.ร. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๓[๒๓] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน โดยจะต้องมีการกำหนดหลักประกันความเป็นธรรมเพื่อคุ้มครองผู้ร้องทุกข์มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.อ.ร. หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๖๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษดำเนินการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.อ.ร. แล้วแต่กรณี โดยเร็ว [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๕[๒๔] การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา[๒๕] มาตรา ๖๕/๑[๒๖] การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้าง การบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน เงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่ง การลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๒[๒๗] พนักงานในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๖๕/๑ ได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนั้น ตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในส่วนราชการหรือส่วนงานใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๖ ให้ดำเนินการให้มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ม. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ทำหน้าที่ ก.พ.อ. ไปพลางก่อน ในกรณีที่มีกฎหมายใดระบุถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ถือว่ากฎหมายดังกล่าวหมายถึงข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่ยังมีมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) ประกอบด้วย (๑) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๒) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๓) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๔) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๕) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๖) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน การคัดเลือกกรรมการตาม (๕) ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คัดเลือกผู้แทนสถาบันละหนึ่งคน และให้ผู้แทนซึ่งได้รับคัดเลือกประชุมและเลือกกันเองให้เหลือสองคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกกรรมการตาม (๖) ให้นำวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม มหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยังเป็นส่วนราชการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา ๖๘ ในกรณีที่มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ มีน้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๒) (๔) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งในสิ้นปีที่มีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าห้าแห่ง และให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๑) (๓) และ (๕) อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๖๙ ในวาระเริ่มแรกจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๓) จากผู้ซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑) (๒) (๔) และ (๕) เสนอแนะ มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๑ ในกรณีที่มีกฎหมายก่อนหรือหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บัญญัติให้มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ วรรคสี่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ยังมีข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ถือว่าข้าราชการในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการตั้งแต่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ โดยการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และในระหว่างการต่อเวลาราชการดังกล่าว ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้[๒๘] ในระหว่างที่ ก.พ.อ. ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้[๒๙] ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ผู้นั้นมีสภาพเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป รวมทั้งให้คืนเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนเงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินดังกล่าวแก่ทางราชการและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนบำเหน็จแก่ทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ให้มีสิทธิได้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๗๓ ผู้ใดเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๗๔ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎทบวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใดซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๐ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดากฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเดิมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือ ก.ค. หรือ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ. และให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย อ.ก.ค. กรม อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้อำนาจหน้าที่ในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี มาตรา ๗๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัย หรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการสอบสวนหรือการพิจารณานั้น แล้วแต่กรณี เป็นอันใช้ได้ มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ มาตรา ๗๗ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่เกี่ยวกับข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาจะต้องมารวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอยู่ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก.ม. ก.ค. และ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเสมอภาค เป็นเอกเทศ และสอดคล้องกับภารกิจโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงสมควรกำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้คณาจารย์และบุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓๐] มาตรา ๑๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการต่อเวลาราชการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดตำแหน่ง การแต่งตั้ง และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังคงได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเสียใหม่เพื่อให้การต่อเวลาราชการเป็นไปตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของอธิการบดีและบทบัญญัติเพื่อรองรับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๑ ให้ดำเนินการให้มี ก.อ.ร. ตามมาตรา ๑๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.อ. ทำหน้าที่ ก.อ.ร. ไปพลางก่อน มาตรา ๑๒ เรื่องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ก.พ.อ. ให้ ก.พ.อ. พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้นำข้อบังคับ ก.พ.อ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. ๒๕๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของคณะอนุกรรมการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยแก้ไขจากคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และแก้ไขคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ กุลชาติ/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๙ เมษายน ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๙ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๓๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓] มาตรา ๑๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] มาตรา ๑๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๕] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] มาตรา ๑๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๗] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๑ ถึง มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๘] มาตรา ๑๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๙] มาตรา ๑๗/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๐] มาตรา ๑๗/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๑] มาตรา ๑๗/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๒] มาตรา ๑๗/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๓] มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๔] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๕] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๖] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๗] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๘] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๙] มาตรา ๓๕ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๐] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๑] มาตรา ๕๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๒] มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๓] มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒๔] มาตรา ๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒๕] หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ ถึง มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๖] มาตรา ๖๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๗] มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๘] มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๙] มาตรา ๗๒ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๒๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๕/๕ เมษายน ๒๕๖๒
832746
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/04/2562)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”[๒] หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๒) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๕) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๘ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๘/๑[๓] ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ.อ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดให้มีวันหยุดพิเศษเฉพาะกรณีเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาก็ได้ สภาสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการอนุญาตให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นในระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๐ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๒ คณะกรรมการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน มาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ ก.พ.อ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (๓)[๔] กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน (๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๘)[๕] พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา (๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๕ การประชุมของ ก.พ.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้นไม่ได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๖[๖] ก.พ.อ. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.พ.อ. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.พ.อ. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.พ.อ. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่งจะไม่กำหนดภาระหน้าที่ของตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง โดยกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานแทนก็ได้ ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือที่ ก.อ.ร. กำหนดตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) [๗] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์[๘] มาตรา ๑๗/๑[๙] ให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.ร.” ประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) คนหนึ่งซึ่ง ก.พ.อ. มอบหมาย เป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง ก.พ.อ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน ก.พ.อ. และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหารการอุดมศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านบริหารงานบุคคล จำนวนไม่เกินห้าคน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ การได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗/๒[๑๐] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗/๓[๑๑] นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๗/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ก.พ.อ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๑๗/๔[๑๒] ก.อ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๒ และพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ (๒) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๕[๑๓] ก.อ.ร. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.อ.ร. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.อ.ร. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ.ร. กำหนด มาตรา ๑๗/๖[๑๔] การประชุมของ ก.อ.ร. ให้นำมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๑๘[๑๕] ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (๕) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ (๑) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ระดับเชี่ยวชาญ (๓) ระดับชำนาญการ (๔) ระดับปฏิบัติการ (๕) ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) มีสิทธิใช้ตำแหน่งวิชาการเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป มาตรา ๑๙[๑๖] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ ในระหว่างการต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๑ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนราชการใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สอบแข่งขัน (๒) คัดเลือก โดยปกติให้ดำเนินการโดยวิธีสอบแข่งขัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม โอกาสที่บุคคลทั่วไปจะเข้ารับการคัดเลือก และประโยชน์สูงสุดที่สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการคัดเลือก ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีหรือจากผู้ได้รับคัดเลือก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับตามวรรคสามและวรรคสี่ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามมาตรา ๒๐ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น การรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย ก.พ.อ. จะวางหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ มาตรา ๒๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ให้ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เมื่อผู้บริหารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองพ้นจากตำแหน่งประเภทผู้บริหารแล้ว ให้ผู้นั้นกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมและให้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้นในขั้นที่ได้รับอยู่ในขณะที่พ้นตำแหน่งประเภทผู้บริหาร การได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่ มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รองอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดินจะมีได้ไม่เกินห้าอัตรา และในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขต ให้มีรองอธิการบดีดังกล่าวเพิ่มได้วิทยาเขตละหนึ่งอัตรา ผู้ช่วยอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา รองคณบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[๑๗] การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๒๒ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ ในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๒๐ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่ ก.พ.อ. รับรองตามมาตรา ๑๔ (๘) มาตรา ๓๑[๑๘] การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๒ การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสามารถกระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในต่างสถาบันอุดมศึกษา อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ทั้งสองฝ่ายยินยอมในการโอนและเจ้าตัวสมัครใจ (๒) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด (๓) การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๓[๑๙] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการเมื่อถูกสั่งให้ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย (๒) ออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งแต่ละกรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๔ การเลื่อนเงินเดือน [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัยและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้อธิการบดีมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเสนอแนะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง อธิการบดีจะสั่งการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน[๒๐] [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๓๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาวินัยและจรรยาบรรณตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๓๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร และดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย วางตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มที่ รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกัน การกลั่นแกล้ง การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นการปฏิบัติราชการหรือได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มาตรา ๔๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ในการกำหนดจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่ง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้น จะกำหนดว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดเป็นความผิดวินัยหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยก็ได้ มาตรา ๔๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้นไม่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตักเตือน สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือทำทัณฑ์บน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนทัณฑ์บน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตักเตือน การมีคำสั่ง หรือการทำทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด มาตรา ๔๗ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดเมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยละเลยไม่ดำเนินการทางวินัยตามหมวด ๖ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาในการกล่าวหาหรือดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๘ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๖ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๔๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยที่มิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้บุคคลใดสืบสวนเบื้องต้นว่าการกล่าวหานั้นมีหลักฐานตามสมควรหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา และผู้มีอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๕๐ ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๑ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกสอบสวนกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๒ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๓[๒๑] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” มาตรา ๕๓/๑[๒๒] ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ มาตรา ๕๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเคยถูกกล่าวหา หรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ หมวด ๗ การออกจากราชการ มาตรา ๕๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก มาตรา ๕๖ วิธีการลาออก การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มิได้อนุญาตให้ลาออก และมิได้ยับยั้งการลาออกภายในเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก การยับยั้งการลาออกจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางการเมืองหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลาออกเกินกว่าเหตุมิได้ มาตรา ๕๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน (๑) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๔) (๕) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (๖) มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ เว้นแต่ทางราชการยังมีความจำเป็นที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (๗) ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ (๘) ถูกจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติว่าถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๔) ให้ดำเนินการสอบสวนโดยให้นำมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๕) หรือ (๗) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ มาตรา ๕๙[๒๓] การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ มาตรา ๖๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษมิได้ดำเนินการทางวินัยหรือมิได้สั่งให้ออกจากราชการโดยเคร่งครัดหรือเป็นธรรม จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการ และสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๖๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ.ร. กำหนด ให้ ก.อ.ร. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ ก.อ.ร. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๓[๒๔] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน โดยจะต้องมีการกำหนดหลักประกันความเป็นธรรมเพื่อคุ้มครองผู้ร้องทุกข์มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.อ.ร. หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๖๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษดำเนินการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.อ.ร. แล้วแต่กรณี โดยเร็ว [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๕[๒๕] การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา[๒๖] มาตรา ๖๕/๑[๒๗] การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้าง การบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน เงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่ง การลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๒[๒๘] พนักงานในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๖๕/๑ ได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนั้น ตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในส่วนราชการหรือส่วนงานใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๖ ให้ดำเนินการให้มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ม. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ทำหน้าที่ ก.พ.อ. ไปพลางก่อน ในกรณีที่มีกฎหมายใดระบุถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ถือว่ากฎหมายดังกล่าวหมายถึงข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่ยังมีมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) ประกอบด้วย (๑) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๒) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๓) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๔) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๕) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๖) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน การคัดเลือกกรรมการตาม (๕) ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คัดเลือกผู้แทนสถาบันละหนึ่งคน และให้ผู้แทนซึ่งได้รับคัดเลือกประชุมและเลือกกันเองให้เหลือสองคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกกรรมการตาม (๖) ให้นำวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม มหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยังเป็นส่วนราชการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา ๖๘ ในกรณีที่มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ มีน้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๒) (๔) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งในสิ้นปีที่มีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าห้าแห่ง และให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๑) (๓) และ (๕) อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๖๙ ในวาระเริ่มแรกจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๓) จากผู้ซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑) (๒) (๔) และ (๕) เสนอแนะ มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๑ ในกรณีที่มีกฎหมายก่อนหรือหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บัญญัติให้มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ วรรคสี่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ยังมีข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ถือว่าข้าราชการในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการตั้งแต่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ โดยการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และในระหว่างการต่อเวลาราชการดังกล่าว ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้[๒๙] ในระหว่างที่ ก.พ.อ. ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้[๓๐] ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ผู้นั้นมีสภาพเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป รวมทั้งให้คืนเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนเงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินดังกล่าวแก่ทางราชการและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนบำเหน็จแก่ทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ให้มีสิทธิได้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๗๓ ผู้ใดเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๗๔ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎทบวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใดซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๐ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดากฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเดิมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือ ก.ค. หรือ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ. และให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย อ.ก.ค. กรม อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้อำนาจหน้าที่ในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี มาตรา ๗๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัย หรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการสอบสวนหรือการพิจารณานั้น แล้วแต่กรณี เป็นอันใช้ได้ มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ มาตรา ๗๗ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่เกี่ยวกับข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาจะต้องมารวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอยู่ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก.ม. ก.ค. และ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเสมอภาค เป็นเอกเทศ และสอดคล้องกับภารกิจโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงสมควรกำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้คณาจารย์และบุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓๑] มาตรา ๑๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการต่อเวลาราชการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดตำแหน่ง การแต่งตั้ง และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังคงได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเสียใหม่เพื่อให้การต่อเวลาราชการเป็นไปตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของอธิการบดีและบทบัญญัติเพื่อรองรับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๑ ให้ดำเนินการให้มี ก.อ.ร. ตามมาตรา ๑๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.อ. ทำหน้าที่ ก.อ.ร. ไปพลางก่อน มาตรา ๑๒ เรื่องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ก.พ.อ. ให้ ก.พ.อ. พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้นำข้อบังคับ ก.พ.อ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. ๒๕๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของคณะอนุกรรมการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยแก้ไขจากคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และแก้ไขคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๓] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๔] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ มีอำนาจเสนอมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดได้ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังไม่มีบทบัญญัติเช่นว่านั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจเสนอมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแก่กรณีเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวให้คำนึงถึงเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่นประกอบด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๓๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓] มาตรา ๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๔] มาตรา ๑๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] มาตรา ๑๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๖] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๗] มาตรา ๑๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๘] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๑ ถึง มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๙] มาตรา ๑๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๐] มาตรา ๑๗/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๑] มาตรา ๑๗/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๒] มาตรา ๑๗/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๓] มาตรา ๑๗/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๔] มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๕] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๖] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๗] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๘] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๙] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๐] มาตรา ๓๕ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๑] มาตรา ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๒] มาตรา ๕๓/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ [๒๓] มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๔] มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒๕] มาตรา ๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒๖] หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ ถึง มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๗] มาตรา ๖๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๘] มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๙] มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๐] มาตรา ๗๒ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๒๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๕/๕ เมษายน ๒๕๖๒ [๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๖๖/๑๔ เมษายน ๒๕๖๒
752522
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๖ ก.พ.อ. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.พ.อ. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.พ.อ. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.พ.อ. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือที่ ก.อ.ร. กำหนดตามมาตรา ๑๗/๔ (๒)” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๑ มาตรา ๑๗/๒ มาตรา ๑๗/๓ มาตรา ๑๗/๔ มาตรา ๑๗/๕ และมาตรา ๑๗/๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ “หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๑ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.ร.” ประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) คนหนึ่งซึ่ง ก.พ.อ. มอบหมาย เป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง ก.พ.อ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน ก.พ.อ. และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหารการอุดมศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านบริหารงานบุคคล จำนวนไม่เกินห้าคน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ การได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗/๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๗/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ก.พ.อ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๑๗/๔ ก.อ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๒ และพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ (๒) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๕ ก.อ.ร. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.อ.ร. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.อ.ร. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีกา รและเงื่อนไขที่ ก.อ.ร. กำหนด มาตรา ๑๗/๖ การประชุมของ ก.อ.ร. ให้นำมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม” มาตรา ๗ ให้แก้ไขคำว่า “ก.พ.อ.” ในหมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นคำว่า “ก.อ.ร.” ทุกแห่ง มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน โดยจะต้องมีการกำหนดหลักประกันความเป็นธรรมเพื่อคุ้มครองผู้ร้องทุกข์มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.อ.ร. หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๖๕ การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม” มาตรา ๑๐ ให้แก้ไขคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” และคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และคำว่า “ลดเงินเดือน” ทุกแห่ง บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับใด ที่ใช้คำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” และคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ใช้คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และคำว่า “ลดเงินเดือน” แทน มาตรา ๑๑ ให้ดำเนินการให้มี ก.อ.ร. ตามมาตรา ๑๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.อ. ทำหน้าที่ ก.อ.ร. ไปพลางก่อน มาตรา ๑๒ เรื่องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ก.พ.อ. ให้ ก.พ.อ. พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้นำข้อบังคับ ก.พ.อ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. ๒๕๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของคณะอนุกรรมการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยแก้ไขจากคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และแก้ไขคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ พจนา/ตรวจ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๒๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙
791507
กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๔ ข้อ ๒ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ดำรงตำแหน่งใด ประเภทใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้ ข้อ ๔ ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งอาจารย์ ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ ผู้ดำรงตำแหน่งทั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน ได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ[๒] บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๔๓,๖๐๐ ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๑๐,๑๙๐ - - - ตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร บาท บาท ขั้นสูง ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ขั้นต่ำ ๒๖,๖๖๐ ๓๒,๘๕๐ ขั้นต่ำชั่วคราว ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี หรือเทียบเท่า บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ บาท บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๖,๙๐๐ ๔๓,๖๐๐ ๕๘,๓๙๐ ๖๙,๐๔๐ ๗๔,๓๒๐ ขั้นต่ำ ๘,๓๔๐ ๑๕,๐๕๐ ๒๒,๑๔๐ ๓๑,๔๐๐ ๔๓,๘๑๐ ขั้นต่ำ ชั่วคราว - ๑๓,๑๖๐ ๑๙,๘๖๐ ๒๔,๔๐๐ ๒๙,๙๘๐ ระดับ ปฏิบัติการ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภททั่วไป บาท บาท บาท ขั้นสูง ๒๑,๐๑๐ ๓๘,๗๕๐ ๕๔,๘๒๐ ขั้นต่ำ ๔,๘๗๐ ๑๐,๑๙๐ ๑๕,๔๑๐ ระดับ ปฏิบัติงาน ชำนาญงาน เชี่ยวชาญพิเศษ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี ในการนี้ ได้มีการปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ให้เหมาะสม โดยยกเลิกการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๗๔,๓๒๐ บาท เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งหรือระดับที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ ปริยานุช/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๒] บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๒๒/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐
787170
กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ ท้ายกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้ แทน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ บาท บาท บาท บาท ขั้นสูง ๔๓,๖๐๐ ๕๙,๕๐๐ ๗๐,๓๖๐ ๗๖,๘๐๐ ขั้นต่ำ ๑๐,๑๙๐ - - - ตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ให้เหมาะสม โดยยกเลิกการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๗๔,๓๒๐ บาท เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งหรือระดับที่ดำรงอยู่ และสอดคล้องกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๒๒/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐
732376
กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๒ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามตำแหน่ง ประเภทสายงาน และระดับที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.พ.อ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง และ ก.พ.อ. ได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด (๒) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ซึ่ง ก.พ.อ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้วผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับและอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนดตาม (๑) (๓) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดิมหรือต่างประเภทในระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับใด แต่เงินเดือนเดิมต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับนั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง (๔) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๕ ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๓/๑[๒] (ยกเลิก) ข้อ ๔[๓] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ ก.พ.อ. กำหนด สำหรับประเภทและตำแหน่งหรือระดับนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๔๑,๖๒๐ บาท ข้อ ๔/๑[๔] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงานและระดับใดที่ได้รับเงินเดือนถึงอัตราเงินเดือนขั้นสูงหรืออัตราเงินเดือนสูงสุดตามข้อ ๔ แล้ว ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งหรือระดับที่ดำรงอยู่ โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งหรือระดับถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่งหรือระดับหนึ่งของแต่ละประเภทตำแหน่ง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า ให้ไปอาศัยรับเงินเดือนของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ไปอาศัยรับเงินเดือนของตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ ให้ไปอาศัยรับเงินเดือนของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ในการคิดคำนวณเงินเดือนเพิ่ม ให้คิดจากฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนของประเภทและตำแหน่งหรือระดับที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำรงอยู่ เว้นแต่กรณีผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๔๑,๖๒๐ บาท เมื่อได้รับเงินเดือนสูงกว่า ๔๑,๖๒๐ บาท ให้ใช้ฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนของตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ ระดับบน ๒ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นดังกล่าวในวันที่ ๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ ข้อ ๔/๒[๕] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างประเภท ต่างสายงาน หรือต่างระดับ และเงินเดือนที่ได้รับอยู่สูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม แต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนสูงสุดที่จะได้รับตามข้อ ๔/๑ ข้อ ๕ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่เดิม ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๓ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๘ ในระหว่างที่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ถ้าเงินเดือนที่ได้รับต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมและไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ. หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประกอบกับมีการปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖] ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘[๗] ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีการปรับเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษา และปรับเงินเดือนชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อน รวมทั้งให้จ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ทำให้เงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการถึงขั้นสูงได้เร็วขึ้น จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ ซึ่งได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ มีสิทธิได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนเดิมได้ โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๘] ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ข้อ ๕ ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ซึ่งได้รับเงินเดือนสูงกว่า ๗๔,๓๒๐ บาท ในการได้รับเงินเดือนตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้คิดคำนวณเงินเดือนเพิ่ม โดยใช้ฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนของตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับบน ๒ ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการกำหนดฐานในการคำนวณใหม่ที่สอดคล้องกับกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ประเภททั่วไป และประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงอัตราเงินเดือนขั้นสูง ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งหรือระดับที่ดำรงอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ และเพื่อมิให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของอัตราเงินเดือนระหว่างข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ ปริญสินีย์/จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๑๒/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๓/๑ ยกเลิกโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ข้อ ๔/๒ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๓/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๒/๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๑๙/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐
830953
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/06/2559)
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”[๒] หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๒) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๕) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๘ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดให้มีวันหยุดพิเศษเฉพาะกรณีเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาก็ได้ สภาสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการอนุญาตให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นในระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๐ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๒ คณะกรรมการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน มาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ ก.พ.อ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (๓)[๓] กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน (๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๘)[๔] พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา (๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๕ การประชุมของ ก.พ.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้นไม่ได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๖[๕] ก.พ.อ. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.พ.อ. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.พ.อ. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.พ.อ. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่งจะไม่กำหนดภาระหน้าที่ของตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง โดยกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานแทนก็ได้ ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หรือที่ ก.อ.ร. กำหนดตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) [๖] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์[๗] มาตรา ๑๗/๑[๘] ให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์คณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.อ.ร.” ประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) คนหนึ่งซึ่ง ก.พ.อ. มอบหมาย เป็นประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง ก.พ.อ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิได้เป็นกรรมการใน ก.พ.อ. และเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านบริหารการอุดมศึกษา ด้านกฎหมาย และด้านบริหารงานบุคคล จำนวนไม่เกินห้าคน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ การได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗/๒[๙] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๗/๓[๑๐] นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๗/๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๗/๑ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ก.พ.อ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก มาตรา ๑๗/๔[๑๑] ก.อ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๒ และพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ (๒) ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๕[๑๒] ก.อ.ร. จะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่ ก.อ.ร. มอบหมายก็ได้ การตั้งคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่ง ก.อ.ร. จะกำหนดให้คณะอนุกรรมการคณะใดปฏิบัติการตามที่มอบหมาย แล้วเสนอ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาหรือเพื่อทราบ แล้วแต่กรณี ก็ได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ อำนาจหน้าที่ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.อ.ร. กำหนด มาตรา ๑๗/๖[๑๓] การประชุมของ ก.อ.ร. ให้นำมาตรา ๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๑๘[๑๔] ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (๕) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ (๑) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ระดับเชี่ยวชาญ (๓) ระดับชำนาญการ (๔) ระดับปฏิบัติการ (๕) ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) มีสิทธิใช้ตำแหน่งวิชาการเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป มาตรา ๑๙[๑๕] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ ในระหว่างการต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๑ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนราชการใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สอบแข่งขัน (๒) คัดเลือก โดยปกติให้ดำเนินการโดยวิธีสอบแข่งขัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม โอกาสที่บุคคลทั่วไปจะเข้ารับการคัดเลือก และประโยชน์สูงสุดที่สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการคัดเลือก ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีหรือจากผู้ได้รับคัดเลือก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับตามวรรคสามและวรรคสี่ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามมาตรา ๒๐ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น การรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย ก.พ.อ. จะวางหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ มาตรา ๒๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ให้ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เมื่อผู้บริหารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองพ้นจากตำแหน่งประเภทผู้บริหารแล้ว ให้ผู้นั้นกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมและให้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้นในขั้นที่ได้รับอยู่ในขณะที่พ้นตำแหน่งประเภทผู้บริหาร การได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่ มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รองอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดินจะมีได้ไม่เกินห้าอัตรา และในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขต ให้มีรองอธิการบดีดังกล่าวเพิ่มได้วิทยาเขตละหนึ่งอัตรา ผู้ช่วยอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา รองคณบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[๑๖] การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๒๒ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ ในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๒๐ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่ ก.พ.อ. รับรองตามมาตรา ๑๔ (๘) มาตรา ๓๑[๑๗] การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๒ การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสามารถกระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในต่างสถาบันอุดมศึกษา อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ทั้งสองฝ่ายยินยอมในการโอนและเจ้าตัวสมัครใจ (๒) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด (๓) การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๓[๑๘] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการเมื่อถูกสั่งให้ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย (๒) ออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งแต่ละกรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๔ การเลื่อนเงินเดือน [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัยและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้อธิการบดีมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเสนอแนะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง อธิการบดีจะสั่งการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน[๑๙] [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๓๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง [คำว่า “เลื่อนเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๓๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาวินัยและจรรยาบรรณตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๓๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร และดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย วางตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มที่ รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกัน การกลั่นแกล้ง การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นการปฏิบัติราชการหรือได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มาตรา ๔๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ในการกำหนดจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่ง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้น จะกำหนดว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดเป็นความผิดวินัยหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยก็ได้ มาตรา ๔๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้นไม่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตักเตือน สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือทำทัณฑ์บน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนทัณฑ์บน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตักเตือน การมีคำสั่ง หรือการทำทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด มาตรา ๔๗ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดเมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยละเลยไม่ดำเนินการทางวินัยตามหมวด ๖ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาในการกล่าวหาหรือดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๘ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] หมวด ๖ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๔๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยที่มิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้บุคคลใดสืบสวนเบื้องต้นว่าการกล่าวหานั้นมีหลักฐานตามสมควรหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา และผู้มีอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๕๐ ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๑ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกสอบสวนกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๒ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งพ้นจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย อาจถูกดำเนินการทางวินัยเพราะมีการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนพ้นจากราชการได้ แต่ต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเคยถูกกล่าวหา หรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ หมวด ๗ การออกจากราชการ มาตรา ๕๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก มาตรา ๕๖ วิธีการลาออก การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มิได้อนุญาตให้ลาออก และมิได้ยับยั้งการลาออกภายในเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก การยับยั้งการลาออกจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางการเมืองหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลาออกเกินกว่าเหตุมิได้ มาตรา ๕๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน (๑) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๔) (๕) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (๖) มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ เว้นแต่ทางราชการยังมีความจำเป็นที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (๗) ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ (๘) ถูกจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติว่าถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๔) ให้ดำเนินการสอบสวนโดยให้นำมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๕) หรือ (๗) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ มาตรา ๕๙[๒๐] การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ มาตรา ๖๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษมิได้ดำเนินการทางวินัยหรือมิได้สั่งให้ออกจากราชการโดยเคร่งครัดหรือเป็นธรรม จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการ และสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๖๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง [คำว่า “ลดเงินเดือน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.อ.ร. กำหนด ให้ ก.อ.ร. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ ก.อ.ร. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๓[๒๑] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน โดยจะต้องมีการกำหนดหลักประกันความเป็นธรรมเพื่อคุ้มครองผู้ร้องทุกข์มิให้ถูกกลั่นแกล้ง หรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากการร้องทุกข์ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.อ.ร. หรือในกรณีที่ ก.อ.ร. มิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๖๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษดำเนินการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.อ.ร. แล้วแต่กรณี โดยเร็ว [คำว่า “ก.อ.ร.” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙] มาตรา ๖๕[๒๒] การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา[๒๓] มาตรา ๖๕/๑[๒๔] การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้าง การบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน เงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่ง การลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๒[๒๕] พนักงานในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๖๕/๑ ได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนั้น ตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในส่วนราชการหรือส่วนงานใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๖ ให้ดำเนินการให้มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ม. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ทำหน้าที่ ก.พ.อ. ไปพลางก่อน ในกรณีที่มีกฎหมายใดระบุถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ถือว่ากฎหมายดังกล่าวหมายถึงข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่ยังมีมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) ประกอบด้วย (๑) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๒) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๓) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๔) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๕) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๖) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน การคัดเลือกกรรมการตาม (๕) ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คัดเลือกผู้แทนสถาบันละหนึ่งคน และให้ผู้แทนซึ่งได้รับคัดเลือกประชุมและเลือกกันเองให้เหลือสองคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกกรรมการตาม (๖) ให้นำวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม มหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยังเป็นส่วนราชการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา ๖๘ ในกรณีที่มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ มีน้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๒) (๔) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งในสิ้นปีที่มีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าห้าแห่ง และให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๑) (๓) และ (๕) อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๖๙ ในวาระเริ่มแรกจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๓) จากผู้ซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑) (๒) (๔) และ (๕) เสนอแนะ มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๑ ในกรณีที่มีกฎหมายก่อนหรือหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บัญญัติให้มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ วรรคสี่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ยังมีข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ถือว่าข้าราชการในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการตั้งแต่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ โดยการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และในระหว่างการต่อเวลาราชการดังกล่าว ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้[๒๖] ในระหว่างที่ ก.พ.อ. ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้[๒๗] ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ผู้นั้นมีสภาพเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป รวมทั้งให้คืนเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนเงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินดังกล่าวแก่ทางราชการและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนบำเหน็จแก่ทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ให้มีสิทธิได้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๗๓ ผู้ใดเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๗๔ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎทบวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใดซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๐ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดากฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเดิมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือ ก.ค. หรือ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ. และให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย อ.ก.ค. กรม อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้อำนาจหน้าที่ในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี มาตรา ๗๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัย หรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการสอบสวนหรือการพิจารณานั้น แล้วแต่กรณี เป็นอันใช้ได้ มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ มาตรา ๗๗ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่เกี่ยวกับข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาจะต้องมารวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอยู่ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก.ม. ก.ค. และ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเสมอภาค เป็นเอกเทศ และสอดคล้องกับภารกิจโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงสมควรกำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้คณาจารย์และบุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๒๘] มาตรา ๑๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการต่อเวลาราชการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดตำแหน่ง การแต่งตั้ง และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังคงได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเสียใหม่เพื่อให้การต่อเวลาราชการเป็นไปตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของอธิการบดีและบทบัญญัติเพื่อรองรับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๒๙] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๑๑ ให้ดำเนินการให้มี ก.อ.ร. ตามมาตรา ๑๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.อ. ทำหน้าที่ ก.อ.ร. ไปพลางก่อน มาตรา ๑๒ เรื่องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและอยู่ในอำนาจการพิจารณาของ ก.พ.อ. ให้ ก.พ.อ. พิจารณาต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ มาตรา ๑๓ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้นำข้อบังคับ ก.พ.อ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. ๒๕๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๗/๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของคณะอนุกรรมการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และแก้ไขถ้อยคำให้สอดคล้องกับระบบการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยแก้ไขจากคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และแก้ไขคำว่า “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ กุลชาติ/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๓๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓] มาตรา ๑๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] มาตรา ๑๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๕] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] มาตรา ๑๗ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๗] หมวด ๒/๑ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ มาตรา ๑๗/๑ ถึง มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๘] มาตรา ๑๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๙] มาตรา ๑๗/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๐] มาตรา ๑๗/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๑] มาตรา ๑๗/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๒] มาตรา ๑๗/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๓] มาตรา ๑๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๑๔] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๕] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๖] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๗] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๘] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๙] มาตรา ๓๕ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๐] มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๑] มาตรา ๖๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒๒] มาตรา ๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒๓] หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ ถึง มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๔] มาตรา ๖๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๕] มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๖] มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๗] มาตรา ๗๒ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๕๓ ก/หน้า ๒๗/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙
702189
กฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้ ข้อ ๓ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับกับการจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามกฎ ก.พ.อ. นี้โดยอนุโลม ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การได้รับเงินประจำตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามวรรคหนึ่งผู้ใดได้รับในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. ประกาศกำหนด ข้อ ๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การได้รับเงินประจำตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (๗) และ (๘) ผู้ใดได้รับในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. ประกาศกำหนด ข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.) ที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป ทั้งนี้ การได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. ประกาศกำหนด ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ (๑) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด (๒) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์ (๓) วิชาชีพเฉพาะการผลิตไอโซโทป (๔) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล (๕) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์ (๖) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์ (๗) วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด (๘) วิชาชีพเฉพาะกีฏวิทยารังสี (๙) วิชาชีพเฉพาะชีววิทยารังสี (๑๐) วิชาชีพเฉพาะเทคนิคการแพทย์ (๑๑) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์เคมี (๑๒) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์ฟิสิกส์ (๑๓) วิชาชีพเฉพาะฟิสิกส์รังสี (๑๔) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม (๑๕) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์ (๑๖) วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์ (๑๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมการเกษตร (๑๘) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเคมี (๑๙) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล (๒๐) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน (๒๑) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์ (๒๒) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมปิโตรเลียม (๒๓) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า (๒๔) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร (๒๕) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา (๒๖) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโลหการ (๒๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเหมืองแร่ (๒๘) วิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย (๒๙) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม (๓๐)[๒] วิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิก ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.) ที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ (๑) ด้านกิจการนักศึกษา (๒) ด้านจิตวิทยา (๓) ด้านช่างภาพการแพทย์ (๔) ด้านนิติการ (๕) ด้านแนะแนวการศึกษาและอาชีพ (๖) ด้านบรรณารักษ์ (๗) ด้านบริหารงานบุคคล (๘) ด้านบริหารทั่วไป (๙) ด้านประชาสัมพันธ์ (๑๐) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน (๑๑) ด้านวิจัย (๑๒) ด้านวิชาการเกษตร (๑๓) ด้านวิชาการเงินและบัญชี (๑๔) ด้านวิชาการช่างทันตกรรม (๑๕) ด้านวิชาการช่างศิลป์ (๑๖) ด้านวิชาการตรวจสอบภายใน (๑๗) ด้านวิชาการบัญชี (๑๘) ด้านวิชาการประมง (๑๙) ด้านวิชาการพัสดุ (๒๐) ด้านวิชาการโภชนาการ (๒๑) ด้านวิชาการรังสีเทคนิค (๒๒) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ (๒๓) ด้านวิชาการเวชสถิติ (๒๔) ด้านวิชาการศึกษา (๒๕) ด้านวิชาการสถิติ (๒๖) ด้านวิชาการสัตวบาล (๒๗) ด้านวิชาการโสตทัศนศึกษา (๒๘) ด้านวิชาการอาชีวบำบัด (๒๙) ด้านวิทยาศาสตร์ (๓๐) ด้านวิเทศสัมพันธ์ (๓๑) ด้านวิศวกรรม (๓๒) ด้านสังคมสงเคราะห์ (๓๓) ด้านสุขศึกษา (๓๔) ด้านเอกสารสนเทศ ข้อ ๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ ตำแหน่งใด ระดับใด และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราสำหรับตำแหน่งนั้น ข้อ ๙ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อ ๕ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ในกรณีที่เป็นตำแหน่งว่าง และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้ ในอัตราที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี เป็นต้นไป จนถึงวันที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือน ข้อ ๑๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว ข้อ ๑๑ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๓ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท (๓) ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๘ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท ข้อ ๑๒ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งครูและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งครูและรับเงินเดือนอันดับ คศ. ๔ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งครูและรับเงินเดือนอันดับ คศ. ๓ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท (๓) ตำแหน่งครูและรับเงินเดือนอันดับ คศ. ๒ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท ข้อ ๑๓ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่สอนและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับ ๙ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท (๒) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับ ๘ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท (๓) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับ ๗ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท ข้อ ๑๔ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ได้รับเงินประจำตำแหน่งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง ข้อ ๑๕ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (วช. หรือ ชช.) มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎ ก.พ.อ. นี้ โดยให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราดังกล่าวนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แต่ทั้งนี้ ไม่ก่อนวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ. บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่ง อัตรา (บาท/เดือน) ศาสตราจารย์ ๑๕,๖๐๐ ๑๓,๐๐๐ รองศาสตราจารย์ ๙,๙๐๐ ๕,๖๐๐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ๕,๖๐๐ ๓,๕๐๐ ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร อธิการบดี ๑๕,๐๐๐ รองอธิการบดี คณบดี หัวหน้าหน่วยงานที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ๑๐,๐๐๐ ผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดีหรือรองหัวหน้า หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ๕,๖๐๐ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการ สำนักงานวิทยาเขต หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ๑๐,๐๐๐ ๕,๖๐๐ ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงาน ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ๕,๖๐๐ ๒ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (วช. หรือ ชช.) ระดับ อัตรา (บาท/เดือน) เชี่ยวชาญพิเศษ ๑๓,๐๐๐ เชี่ยวชาญ ๙,๙๐๐ ชำนาญการพิเศษ ๕,๖๐๐ ชำนาญการ ๓,๕๐๐ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการกำหนดการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในระหว่างที่ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยเทียบเคียงกับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.อ. ได้กำหนดให้มีสายงานจิตวิทยาคลินิกเพิ่มขึ้นและกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งสายงานจิตวิทยาคลินิกซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อเพิ่มเติมให้ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิกเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๖/๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๖ วรรคสอง (๓๐) เพิ่มโดยกฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖ ก/หน้า ๙/๘ มกราคม ๒๕๕๗
831141
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า“พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๘/๑ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม ก.พ.อ. อาจกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไปก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ได้กำหนดให้คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ มีอำนาจเสนอมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดได้ แต่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังไม่มีบทบัญญัติเช่นว่านั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจเสนอมาตรการเยียวยาให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามควรแก่กรณีเช่นเดียวกับข้าราชการประเภทอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวให้คำนึงถึงเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการประเภทอื่นประกอบด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ชญานิศ/จัดทำ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๒ นุสรา/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๙ ก/หน้า ๖๖/๑๔ เมษายน ๒๕๖๒
571041
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” ระหว่างบทนิยามคำว่า “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” และคำว่า “สภาสถาบันอุดมศึกษา” ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ““พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความใน (๘) ของมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๘) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (๕) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ (๑) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ระดับเชี่ยวชาญ (๓) ระดับชำนาญการ (๔) ระดับปฏิบัติการ (๕) ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) มีสิทธิใช้ตำแหน่งวิชาการเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป” มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ ในระหว่างการต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง” มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด” มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด” มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ “การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน” มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๙ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ” มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ และมาตรา ๖๕/๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ “หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้าง การบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน เงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่ง การลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๒ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๖๕/๑ ได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนั้น ตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในส่วนราชการหรือส่วนงานใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด” มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการตั้งแต่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ โดยการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และในระหว่างการต่อเวลาราชการดังกล่าว ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ ในระหว่างที่ ก.พ.อ. ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้” มาตรา ๑๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการต่อเวลาราชการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดตำแหน่ง การแต่งตั้ง และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังคงได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเสียใหม่เพื่อให้การต่อเวลาราชการเป็นไปตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของอธิการบดีและบทบัญญัติเพื่อรองรับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ชาญ/ตรวจ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ กุลชาติ/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
830836
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ “มาตรา ๕๓/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปุณิกา/จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๕/๕ เมษายน ๒๕๖๒
443275
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๒) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๕) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๘ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดให้มีวันหยุดพิเศษเฉพาะกรณีเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาก็ได้ สภาสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการอนุญาตให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นในระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๐ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๒ คณะกรรมการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน มาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ ก.พ.อ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (๓) กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน (๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๘) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และระดับตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา (๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๕ การประชุมของ ก.พ.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้นไม่ได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๖ ก.พ.อ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อทำการใดแทนได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่งจะไม่กำหนดภาระหน้าที่ของตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง โดยกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานแทนก็ได้ ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๑๘ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย หรือทำหน้าที่วิจัยโดยเฉพาะ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ หรือตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ การแต่งตั้งให้ผู้ทำหน้าที่วิจัยโดยเฉพาะ ให้ดำรงตำแหน่งตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการระดับศาสตราจารย์หรือระดับรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณ อาจให้รับราชการเพื่อทำหน้าที่สอนหรือวิจัยต่อไปได้ จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๑ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนราชการใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สอบแข่งขัน (๒) คัดเลือก โดยปกติให้ดำเนินการโดยวิธีสอบแข่งขัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม โอกาสที่บุคคลทั่วไปจะเข้ารับการคัดเลือก และประโยชน์สูงสุดที่สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการคัดเลือก ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีหรือจากผู้ได้รับคัดเลือก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับตามวรรคสามและวรรคสี่ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามมาตรา ๒๐ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น การรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย ก.พ.อ. จะวางหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ มาตรา ๒๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ให้ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เมื่อผู้บริหารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองพ้นจากตำแหน่งประเภทผู้บริหารแล้ว ให้ผู้นั้นกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมและให้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้นในขั้นที่ได้รับอยู่ในขณะที่พ้นตำแหน่งประเภทผู้บริหาร การได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่ มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รองอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดินจะมีได้ไม่เกินห้าอัตรา และในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขต ให้มีรองอธิการบดีดังกล่าวเพิ่มได้วิทยาเขตละหนึ่งอัตรา ผู้ช่วยอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา รองคณบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ และตำแหน่งศาสตราจารย์ ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๒๒ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ ในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๒๐ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่ ก.พ.อ. รับรองตามมาตรา ๑๔ (๘) มาตรา ๓๑ การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๒ การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสามารถกระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในต่างสถาบันอุดมศึกษา อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ทั้งสองฝ่ายยินยอมในการโอนและเจ้าตัวสมัครใจ (๒) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด (๓) การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นที่มีอยู่ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการเมื่อถูกสั่งให้ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย (๒) ออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งแต่ละกรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๔ การเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๕ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัยและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้อธิการบดีมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเสนอแนะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง อธิการบดีจะสั่งการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ มาตรา ๓๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๓๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาวินัยและจรรยาบรรณตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๓๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร และดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย วางตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มที่ รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกัน การกลั่นแกล้ง การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นการปฏิบัติราชการหรือได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มาตรา ๔๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ในการกำหนดจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่ง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้น จะกำหนดว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดเป็นความผิดวินัยหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยก็ได้ มาตรา ๔๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้นไม่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตักเตือน สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือทำทัณฑ์บน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนทัณฑ์บน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตักเตือน การมีคำสั่ง หรือการทำทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด มาตรา ๔๗ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดเมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยละเลยไม่ดำเนินการทางวินัยตามหมวด ๖ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาในการกล่าวหาหรือดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๘ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดขั้นเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ หมวด ๖ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๔๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยที่มิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้บุคคลใดสืบสวนเบื้องต้นว่าการกล่าวหานั้นมีหลักฐานตามสมควรหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา และผู้มีอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๕๐ ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๑ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกสอบสวนกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๒ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งพ้นจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย อาจถูกดำเนินการทางวินัยเพราะมีการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนพ้นจากราชการได้ แต่ต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเคยถูกกล่าวหา หรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ หมวด ๗ การออกจากราชการ มาตรา ๕๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก มาตรา ๕๖ วิธีการลาออก การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มิได้อนุญาตให้ลาออก และมิได้ยับยั้งการลาออกภายในเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก การยับยั้งการลาออกจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางการเมืองหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลาออกเกินกว่าเหตุมิได้ มาตรา ๕๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน (๑) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๔) (๕) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (๖) มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ เว้นแต่ทางราชการยังมีความจำเป็นที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (๗) ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ (๘) ถูกจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติว่าถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๔) ให้ดำเนินการสอบสวนโดยให้นำมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๕) หรือ (๗) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ มาตรา ๕๙ การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งเทียบเท่าระดับ ๑๐ ขึ้นไป และตำแหน่งศาสตราจารย์ ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย มาตรา ๖๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษมิได้ดำเนินการทางวินัยหรือมิได้สั่งให้ออกจากราชการโดยเคร่งครัดหรือเป็นธรรม จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการ และสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๖๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.อ. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ ก.พ.อ. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ ก.พ.อ. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.พ.อ. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสภาบันอุดมศึกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษดำเนินการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.พ.อ. แล้วแต่กรณี โดยเร็ว มาตรา ๖๕ การอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ การร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำความในมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๖ ให้ดำเนินการให้มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ม. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ทำหน้าที่ ก.พ.อ. ไปพลางก่อน ในกรณีที่มีกฎหมายใดระบุถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ถือว่ากฎหมายดังกล่าวหมายถึงข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่ยังมีมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) ประกอบด้วย (๑) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๒) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๓) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๔) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๕) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๖) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน การคัดเลือกกรรมการตาม (๕) ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คัดเลือกผู้แทนสถาบันละหนึ่งคน และให้ผู้แทนซึ่งได้รับคัดเลือกประชุมและเลือกกันเองให้เหลือสองคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกกรรมการตาม (๖) ให้นำวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม มหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยังเป็นส่วนราชการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา ๖๘ ในกรณีที่มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ มีน้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๒) (๔) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งในสิ้นปีที่มีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าห้าแห่ง และให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๑) (๓) และ (๕) อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๖๙ ในวาระเริ่มแรกจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๓) จากผู้ซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑) (๒) (๔) และ (๕) เสนอแนะ มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๑ ในกรณีที่มีกฎหมายก่อนหรือหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บัญญัติให้มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ วรรคสี่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ยังมีข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ถือว่าข้าราชการในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไปเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณ อาจให้รับราชการเพื่อทำหน้าที่สอนหรือวิจัยต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ผู้นั้นมีสภาพเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป รวมทั้งให้คืนเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนเงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินดังกล่าวแก่ทางราชการและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนบำเหน็จแก่ทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ให้มีสิทธิได้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๗๓ ผู้ใดเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๗๔ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎทบวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใดซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๐ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดากฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเดิมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือ ก.ค. หรือ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ. และให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย อ.ก.ค. กรม อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้อำนาจหน้าที่ในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี มาตรา ๗๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัย หรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการสอบสวนหรือการพิจารณานั้น แล้วแต่กรณี เป็นอันใช้ได้ มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ มาตรา ๗๗ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่เกี่ยวกับข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาจะต้องมารวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอยู่ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก.ม. ก.ค. และ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเสมอภาค เป็นเอกเทศ และสอดคล้องกับภารกิจโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงสมควรกำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้คณาจารย์และบุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ สุกัญญา/ผู้จัดทำ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ชาญ/ตรวจ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ กุลชาติ/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๓๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
752957
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/02/2551)
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ “ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนในสถาบันอุดมศึกษา “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”[๒] หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา “สภาสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัย หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาเกี่ยวกับการอาชีวศึกษาและการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง (๒) เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. (๓) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๔) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๕) เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๖) เป็นบุคคลล้มละลาย (๗) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๙) เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น (๑๐) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ มาตรา ๘ อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินเพิ่มพิเศษสำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิหรือความสามารถเป็นพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๙ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดให้มีวันหยุดพิเศษเฉพาะกรณีเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาก็ได้ สภาสถาบันอุดมศึกษามีอำนาจกำหนดข้อบังคับในการอนุญาตให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการลาหยุดราชการเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ หรือตามโครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการและได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นในระหว่างลาได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๐ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๒ คณะกรรมการ มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.อ.” ประกอบด้วย (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน (๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (๓) กรรมการซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่าแปดคนแต่ไม่เกินสิบคน (๔) กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาสองคน อธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาสองคน และผู้แทนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสองคน เป็นกรรมการ (๕) เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ต้องดำรงหรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานเป็นที่ประจักษ์และไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมายหรือด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ให้รัฐมนตรีดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง การได้มาซึ่งกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและอธิการบดีสถาบันอุดมศึกษาตาม (๔) จะต้องไม่มาจากสถาบันอุดมศึกษาเดียวกัน มาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) และ (๔) มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่แทนภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนก็ได้ กรณีที่มีการดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้กรรมการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่ มาตรา ๑๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๒ กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๓) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก กรรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) นอกจากต้องพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกสภาสถาบันอุดมศึกษา อธิการบดี หรือข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๔ ก.พ.อ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (๒) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลอื่น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม (๓) กำหนดมาตรฐานการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว (๔) ออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ หรือข้อบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ (๕) กำหนดกรอบอัตรากำลัง และอัตราส่วนสูงสุดของวงเงินที่จะพึงใช้เพื่อการบริหารงานบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละสถาบัน (๖) กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้แทนของสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๗) กำหนดอัตราค่าตอบแทนให้กับนายกสภาสถาบันอุดมศึกษาและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (๘)[๓] พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ และตำแหน่งที่ควรแต่งตั้ง (๙) กำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา (๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ ตามกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๕ การประชุมของ ก.พ.อ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะร่วมประชุมเพื่อพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้นไม่ได้ การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๖ ก.พ.อ. มีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อทำการใดแทนได้ การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๑๗ หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคล วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการพิจารณาตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่งจะไม่กำหนดภาระหน้าที่ของตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง โดยกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานแทนก็ได้ ข้อบังคับตามวรรคหนึ่งต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและแต่งตั้ง มาตรา ๑๘[๔] ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่ (๑) ศาสตราจารย์ (๒) รองศาสตราจารย์ (๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (๔) อาจารย์ (๕) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่ (๑) อธิการบดี (๒) รองอธิการบดี (๓) คณบดี (๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๕) ผู้ช่วยอธิการบดี (๖) รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่ (๑) ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ระดับเชี่ยวชาญ (๓) ระดับชำนาญการ (๔) ระดับปฏิบัติการ (๕) ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษานั้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขตนอกที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษา และมีรองอธิการบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวิทยาเขต จะกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีสำหรับวิทยาเขตนั้นด้วยก็ได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตาม (ก) มีสิทธิใช้ตำแหน่งวิชาการเป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป มาตรา ๑๙[๕] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ ในระหว่างการต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้ การต่อเวลาราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๑ ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการในส่วนราชการใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อบังคับดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดขั้นตอนโดยไม่จำเป็น มาตรา ๒๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้บรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) สอบแข่งขัน (๒) คัดเลือก โดยปกติให้ดำเนินการโดยวิธีสอบแข่งขัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา จะใช้วิธีคัดเลือกก็ได้ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชี ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความเที่ยงธรรม โอกาสที่บุคคลทั่วไปจะเข้ารับการคัดเลือก และประโยชน์สูงสุดที่สถาบันอุดมศึกษาจะได้รับ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือวิธีการคัดเลือก ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ตามลำดับที่ในบัญชีหรือจากผู้ได้รับคัดเลือก แล้วแต่กรณี ข้อบังคับตามวรรคสามและวรรคสี่ ต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๓ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามมาตรา ๒๐ สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองแล้ว มาตรา ๒๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น การรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย ก.พ.อ. จะวางหลักเกณฑ์ในการอนุมัติให้สถาบันอุดมศึกษาบรรจุและแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นก็ได้ มาตรา ๒๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้ได้รับเงินเดือนจนถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ให้ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง เมื่อผู้บริหารตามวรรคหนึ่งและวรรคสองพ้นจากตำแหน่งประเภทผู้บริหารแล้ว ให้ผู้นั้นกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมและให้รับเงินเดือนตามตำแหน่งนั้นในขั้นที่ได้รับอยู่ในขณะที่พ้นตำแหน่งประเภทผู้บริหาร การได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรานี้ ไม่ตัดสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการในการได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการตามตำแหน่งวิชาการที่ตนครองอยู่ มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งจากบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง รองอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดินจะมีได้ไม่เกินห้าอัตรา และในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดมีวิทยาเขต ให้มีรองอธิการบดีดังกล่าวเพิ่มได้วิทยาเขตละหนึ่งอัตรา ผู้ช่วยอธิการบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา รองคณบดีที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งจากงบประมาณแผ่นดิน จะมีได้ไม่เกินสามอัตรา มาตรา ๒๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง เว้นแต่การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้รัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[๖] การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๒๙ ผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๒๒ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะมีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ ในระหว่างที่ผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ มาตรา ๓๐ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรา ๒๐ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดให้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่ ก.พ.อ. รับรองตามมาตรา ๑๔ (๘) มาตรา ๓๑[๗] การเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๒ การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสามารถกระทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในต่างสถาบันอุดมศึกษา อาจกระทำได้เมื่อผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ทั้งสองฝ่ายยินยอมในการโอนและเจ้าตัวสมัครใจ (๒) การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด (๓) การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๓[๘] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๓๔ ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการอาจขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ออกจากราชการเมื่อถูกสั่งให้ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย (๒) ออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ การกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งแต่ละกรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด หมวด ๔ การเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๓๕ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของตำแหน่งและผลงานที่ได้ปฏิบัติมา การรักษาวินัยและจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนความสามารถและความอุตสาหะในการปฏิบัติงานตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้อธิการบดีมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนตามข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเสนอแนะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง อธิการบดีจะสั่งการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังกล่าวก็ได้ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำรงตำแหน่งอธิการบดี ให้นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อน[๙] มาตรา ๓๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย มาตรา ๓๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาวินัยและจรรยาบรรณตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัด มาตรา ๓๘ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาตรา ๓๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร และดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการ ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของทางราชการ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๐ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย การรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย วางตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย อุทิศเวลาให้กับทางราชการอย่างเต็มที่ รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติราชการด้วยกัน การกลั่นแกล้ง การดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติราชการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่กระทำการ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน การกระทำดังกล่าวให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย มาตรา ๔๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เว้นแต่เป็นการปฏิบัติราชการหรือได้รับมอบหมายจากอธิการบดี มาตรา ๔๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาต้องปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ในการกำหนดจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่ง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย จรรยาบรรณที่กำหนดขึ้น จะกำหนดว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดเป็นความผิดวินัยหรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วยก็ได้ มาตรา ๔๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้นไม่เป็นความผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตักเตือน สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือทำทัณฑ์บน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือน ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนทัณฑ์บน ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย หลักเกณฑ์และวิธีการในการตักเตือน การมีคำสั่ง หรือการทำทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด มาตรา ๔๗ ผู้บังคับบัญชาผู้ใดเมื่อปรากฏว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยละเลยไม่ดำเนินการทางวินัยตามหมวด ๖ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย ผู้บังคับบัญชาผู้ใดกลั่นแกล้งผู้ใต้บังคับบัญชาในการกล่าวหาหรือดำเนินการทางวินัย ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง มาตรา ๔๘ โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ (๑) ภาคทัณฑ์ (๒) ตัดเงินเดือน (๓) ลดขั้นเงินเดือน (๔) ปลดออก (๕) ไล่ออก ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกตามมาตรานี้ ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ หมวด ๖ การดำเนินการทางวินัย มาตรา ๔๙ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกกล่าวหาโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยที่มิใช่ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ ก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวน ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายให้บุคคลใดสืบสวนเบื้องต้นว่าการกล่าวหานั้นมีหลักฐานตามสมควรหรือไม่ก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณา และผู้มีอำนาจในการสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย คำว่าผู้บังคับบัญชาตามมาตรานี้ ให้หมายถึงผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๕๐ ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการ หรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๑ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้ถูกสอบสวนกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๔๙ ลงโทษตามควรแก่กรณี ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๒ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) เรียกให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอบสวน ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน (๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน มาตรา ๕๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งพ้นจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย อาจถูกดำเนินการทางวินัยเพราะมีการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก่อนพ้นจากราชการได้ แต่ต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากราชการ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเคยถูกกล่าวหา หรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำเนินการสอบสวนและลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ หมวด ๗ การออกจากราชการ มาตรา ๕๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ (๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก มาตรา ๕๖ วิธีการลาออก การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ถ้าผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มิได้อนุญาตให้ลาออก และมิได้ยับยั้งการลาออกภายในเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันขอลาออก การยับยั้งการลาออกจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิทางการเมืองหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ลาออกเกินกว่าเหตุมิได้ มาตรา ๕๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน (๑) เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ (๒) สมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ (๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) (๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๗ (ก) (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ (ข) (๔) (๕) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (๖) มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่ เว้นแต่ทางราชการยังมีความจำเป็นที่จะให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป (๗) ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้ (๘) ถูกจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๙) ถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติว่าถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๔) ให้ดำเนินการสอบสวนโดยให้นำมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การสั่งให้ออกจากราชการตาม (๕) หรือ (๗) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๕๘ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ มาตรา ๕๙[๑๐] การออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) และตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะตามมาตรา ๑๘ (ค) (๑) ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ มาตรา ๖๐ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยหรือสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการในเรื่องใดไปแล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งลงโทษมิได้ดำเนินการทางวินัยหรือมิได้สั่งให้ออกจากราชการโดยเคร่งครัดหรือเป็นธรรม จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการ และสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้ หมวด ๘ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ มาตรา ๖๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง มาตรา ๖๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.อ. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ ก.พ.อ. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของ ก.พ.อ. ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือในกรณีที่ ก.พ.อ. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง มาตรา ๖๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ยกเว้นกรณีการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภาสภาบันอุดมศึกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง มาตรา ๖๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษดำเนินการแก้ไขคำสั่งลงโทษ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.พ.อ. แล้วแต่กรณี โดยเร็ว มาตรา ๖๕ การอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๖๑ การร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓ และการแก้ไขคำสั่งลงโทษตามมาตรา ๖๔ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับที่ออกตามมาตรา ๑๗ ในการพิจารณาอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน และให้นำความในมาตรา ๖๒ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา[๑๑] มาตรา ๖๕/๑[๑๒] การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้าง การบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน เงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่ง การลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๒[๑๓] พนักงานในสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่ออกตามมาตรา ๖๕/๑ ได้ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นมีอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดหน่วยงานนั้น ตำแหน่งพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในส่วนราชการหรือส่วนงานใด ในฐานะใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด บทเฉพาะกาล มาตรา ๖๖ ให้ดำเนินการให้มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.พ.อ. ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ก.ม. ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ ทำหน้าที่ ก.พ.อ. ไปพลางก่อน ในกรณีที่มีกฎหมายใดระบุถึงข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้ถือว่ากฎหมายดังกล่าวหมายถึงข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี มาตรา ๖๗ ในระหว่างที่ยังมีมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๑๑ (๔) ประกอบด้วย (๑) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๒) กรรมการซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๓) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๔) กรรมการซึ่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน (๕) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันคัดเลือกกันเองสองคน (๖) กรรมการซึ่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยคัดเลือกกันเองสองคน การคัดเลือกกรรมการตาม (๕) ให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน คัดเลือกผู้แทนสถาบันละหนึ่งคน และให้ผู้แทนซึ่งได้รับคัดเลือกประชุมและเลือกกันเองให้เหลือสองคน เป็นกรรมการ การคัดเลือกกรรมการตาม (๖) ให้นำวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม มหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่งหมายความว่า มหาวิทยาลัยและสถาบันที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยังเป็นส่วนราชการอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ เป็นส่วนราชการสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา ๖๘ ในกรณีที่มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ มีน้อยกว่าห้าแห่ง ให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๒) (๔) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งในสิ้นปีที่มีมหาวิทยาลัยน้อยกว่าห้าแห่ง และให้กรรมการตามมาตรา ๖๗ (๑) (๓) และ (๕) อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ มาตรา ๖๙ ในวาระเริ่มแรกจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๑ (๓) จากผู้ซึ่งกรรมการตามมาตรา ๑๑ (๑) (๒) (๔) และ (๕) เสนอแนะ มาตรา ๗๐ ผู้ใดเป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๑ ในกรณีที่มีกฎหมายก่อนหรือหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ บัญญัติให้มหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ วรรคสี่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ยังมีข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ถือว่าข้าราชการในมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๗๒ ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิให้นำมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับและให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีตำแหน่งวิชาการตั้งแต่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และจะพ้นจากราชการในสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หากสถาบันอุดมศึกษามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และมีความประสงค์ที่จะให้ผู้นั้นรับราชการอยู่ต่อไป สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ได้ โดยการต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด และในระหว่างการต่อเวลาราชการดังกล่าว ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับการต่อเวลาราชการจะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) และงานบริหารอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้[๑๔] ในระหว่างที่ ก.พ.อ. ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่เดิมมาใช้บังคับโดยอนุโลมเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัตินี้[๑๕] ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ได้ออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ผู้นั้นมีสภาพเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป รวมทั้งให้คืนเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนเงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินดังกล่าวแก่ทางราชการและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป สำหรับข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ถ้าก่อนออกจากราชการเป็นผู้ที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อไป และในการออกจากราชการนั้น ถ้าเป็นผู้รับบำนาญ ให้งดรับบำนาญตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป แต่ถ้าเป็นผู้รับบำเหน็จ ให้คืนบำเหน็จแก่ทางราชการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ข้าราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ให้มีสิทธิได้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาตรา ๗๓ ผู้ใดเป็นข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ และมีตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด มาตรา ๗๔ บรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎทบวง กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใดซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามมาตรา ๖๗ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๐ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดากฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเดิมปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓ โดยอนุโลมไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีการออกกฎกระทรวง กฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของ ก.ม. หรือ ก.ค. หรือ ก.พ. เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.อ. และให้อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัย อ.ก.ค. กรม อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา อ.ก.พ. กระทรวง หรือ อ.ก.พ. กรม เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาสถาบันอุดมศึกษา และให้อำนาจหน้าที่ในการสั่งบรรจุและแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี มาตรา ๗๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัย หรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นหรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ส่วนการสอบสวน การพิจารณาและการดำเนินการเพื่อลงโทษหรือให้ออกจากราชการ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งให้สอบสวนโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังสอบสวนไม่เสร็จก็ให้สอบสวนตามกฎหมายนั้นต่อไปจนกว่าจะเสร็จ (๒) ในกรณีที่ได้มีการสอบสวนหรือพิจารณาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเสร็จไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการสอบสวนหรือการพิจารณานั้น แล้วแต่กรณี เป็นอันใช้ได้ มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ มาตรา ๗๗ การใดอยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่เกี่ยวกับข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนสามัญในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาจะต้องมารวมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่เนื่องจากข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐอยู่ภายใต้ระบบการบริหารงานบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ก.ม. ก.ค. และ ก.พ. ดังนั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีความเสมอภาค เป็นเอกเทศ และสอดคล้องกับภารกิจโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงสมควรกำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้คณาจารย์และบุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๖] มาตรา ๑๔ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการต่อเวลาราชการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดตำแหน่ง การแต่งตั้ง และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้น ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๖ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษายังคงได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะได้มีการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ การได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ตำแหน่งใดให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง หรือตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวบางส่วนไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดระบบตำแหน่งและประเภทตำแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และปรับปรุงการกำหนดหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเสียใหม่เพื่อให้การต่อเวลาราชการเป็นไปตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย และตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น นอกจากนี้ สมควรที่จะให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของอธิการบดีและบทบัญญัติเพื่อรองรับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ กุลชาติ/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๓๓/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ [๒] มาตรา ๔ นิยามคำว่า “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๓] มาตรา ๑๔ (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๔] มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๕] มาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๖] มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๗] มาตรา ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๘] มาตรา ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๙] มาตรา ๓๕ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๐] มาตรา ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๑] หมวด ๙ การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มาตรา ๖๕/๑ ถึง มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๒] มาตรา ๖๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๓] มาตรา ๖๕/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๔] มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๕] มาตรา ๗๒ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๓๖/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
787168
กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกข้อ ๓/๑ แห่งกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ ก.พ.อ. กำหนด สำหรับประเภทและตำแหน่งหรือระดับนั้น เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๔๑,๖๒๐ บาท” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔/๑ และข้อ ๔/๒ แห่งกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔ “ข้อ ๔/๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงานและระดับใดที่ได้รับเงินเดือนถึงอัตราเงินเดือนขั้นสูงหรืออัตราเงินเดือนสูงสุดตามข้อ ๔ แล้ว ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งหรือระดับที่ดำรงอยู่ โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งหรือระดับถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่งหรือระดับหนึ่งของแต่ละประเภทตำแหน่ง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า ให้ไปอาศัยรับเงินเดือนของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ไปอาศัยรับเงินเดือนของตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ ให้ไปอาศัยรับเงินเดือนของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ในการคิดคำนวณเงินเดือนเพิ่ม ให้คิดจากฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนของประเภทและตำแหน่งหรือระดับที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นดำรงอยู่ เว้นแต่กรณีผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๔๑,๖๒๐ บาท เมื่อได้รับเงินเดือนสูงกว่า ๔๑,๖๒๐ บาท ให้ใช้ฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนของตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ ระดับบน ๒ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นดังกล่าวในวันที่ ๓๐ กันยายนของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ ข้อ ๔/๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างประเภท ต่างสายงาน หรือต่างระดับ และเงินเดือนที่ได้รับอยู่สูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม แต่ไม่เกินอัตราเงินเดือนสูงสุดที่จะได้รับตามข้อ ๔/๑” ข้อ ๕ ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ซึ่งได้รับเงินเดือนสูงกว่า ๗๔,๓๒๐ บาท ในการได้รับเงินเดือนตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้คิดคำนวณเงินเดือนเพิ่ม โดยใช้ฐานในการคำนวณสำหรับการเลื่อนเงินเดือนของตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับบน ๒ ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการกำหนดฐานในการคำนวณใหม่ที่สอดคล้องกับกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ. หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ประเภททั่วไป และประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ เมื่อได้รับเงินเดือนถึงอัตราเงินเดือนขั้นสูง ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งหรือระดับที่ดำรงอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ และเพื่อมิให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของอัตราเงินเดือนระหว่างข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ ภวรรณตรี/จัดทำ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ ปุณิกา/ตรวจ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๑๙/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐
748630
กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. เห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการและเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการจำแนกตำแหน่งตามลักษณะงาน จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ให้สถาบันอุดมศึกษาสงวนตำแหน่งไว้ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้น ข้อ ๓ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย ให้มีสิทธิขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยทำคำร้องขอพร้อมด้วยหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหารยื่นต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร และเมื่อสั่งบรรจุและแต่งตั้งแล้วให้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทีเทียบเท่ากับระดับเดิมและให้ได้รับเงินเดือน ดังนี้ (๑) กรณีผู้บรรจุกลับจากรับราชการทหารมีเวลารับราชการทหารตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งปี ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเดิมได้ไม่เกินร้อยละสามของฐานเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ ถ้ายังมีเศษของเวลาที่เหลือจากหกเดือนที่ไปรับราชการทหาร เมื่อนำเศษเวลาที่เหลือไปรวมกับเวลาในการปฏิบัติราชการของครึ่งปีที่แล้วมาก่อนออกจากราชการไปรับราชการทหารแล้ว มีเวลาปฏิบัติราชการรวมกันไม่น้อยกว่าสี่เดือน ก็ให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินร้อยละสาม โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนที่ได้ปรับเพิ่มข้างต้นแล้ว (๒) กรณีผู้บรรจุกลับจากรับราชการทหารมีเวลารับราชการทหารตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป สำหรับหกเดือนแรกให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเดิมได้ไม่เกินร้อยละสามของฐานเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนออกจากราชการ และในรอบหกเดือนต่อ ๆ ไป ให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มได้อีกรอบละไม่เกินร้อยละสาม โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบ ถ้ายังมีเศษของเวลาที่เหลือจากหกเดือนที่ไปรับราชการทหาร เมื่อนำเศษเวลาที่เหลือไปรวมกับเวลาในการปฏิบัติราชการของครึ่งปีที่แล้วมาก่อนออกจากราชการไปรับราชการทหารแล้ว มีเวลาปฏิบัติราชการรวมกันไม่น้อยกว่าสี่เดือน ก็ให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินร้อยละสาม โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนที่ได้ปรับเพิ่มข้างต้นแล้ว (๓) การบรรจุและแต่งตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นขอกลับเข้ารับราชการภายในหกสิบวันภายหลังครบกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติซึ่งต้องไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สั่งบรรจุและแต่งตั้งและให้ได้รับเงินเดือนที่เทียบเท่ากับระดับตำแหน่งเดิม เว้นแต่การไปปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง สภาสถาบันอุดมศึกษาจะอนุมัติให้ปรับเงินเดือนให้สูงกว่าเดิมตามหลักเกณฑ์และวิธีการทำนองเดียวกับการบรรจุผู้ออกจากราชการไปรับราชการทหารกลับเข้ารับราชการก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับที่บรรจุกลับ ข้อ ๕ ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการ ตามข้อ ๓ และข้อ ๔ หากประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ยื่นคำร้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด การบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งต้องสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี และมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) และให้คำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาเป็นสำคัญ และให้บรรจุกลับในระดับตำแหน่งที่เทียบเท่ากับระดับตำแหน่งเดิมและเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ชินวรณ์ บุญยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ.
791495
กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 10/06/2558)
กฎ ก กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๒ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามตำแหน่ง ประเภทสายงาน และระดับที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.พ.อ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง และ ก.พ.อ. ได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด (๒) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ซึ่ง ก.พ.อ. รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้วผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับและอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนดตาม (๑) (๓) ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดิมหรือต่างประเภทในระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับใด แต่เงินเดือนเดิมต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับนั้น ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง (๔) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๕ ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๓/๑[๒] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการผู้ใดเมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนเดิมโดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้ ในการคิดคำนวณเงินเดือนเพิ่มให้คิดจากฐานในการคำนวณเดิมที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการนั้นดำรงตำแหน่งอยู่ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการซึ่งได้รับเงินเดือนสูงขึ้นตามวรรคหนึ่ง ผู้ใดต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นดังกล่าว ในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ ข้อ ๔[๓] ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษ และตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๗๔,๓๒๐ บาท เว้นแต่ผู้นั้นผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนต่อไปได้อีกไม่เกิน ๗๖,๘๐๐ บาท (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีขั้นต่ำขั้นสูงที่ ก.พ.อ. กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๔๑,๖๒๐ บาท (๓) ผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๕ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่เดิม ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๔ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๓ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด ข้อ ๘ ในระหว่างที่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ถ้าเงินเดือนที่ได้รับต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมและไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน ก.พ.อ. หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประกอบกับมีการปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔] ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘[๕] ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีการปรับเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษา และปรับเงินเดือนชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อน รวมทั้งให้จ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ทำให้เงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการถึงขั้นสูงได้เร็วขึ้น จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ ซึ่งได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ มีสิทธิได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนเดิมได้ โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้ ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๑๒/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ [๒] ข้อ ๓/๑ เพิ่มโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๓] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๓/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๒/๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘