sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
614351 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (ค) (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษ เป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามมาตรา ๑๘ (ค) (๕)
ข้อ ๒ ให้กำหนดตำแหน่งดังต่อไปนี้
เป็นตำแหน่งประเภททั่วไป ตามมาตรา ๑๘ (ค) (๕) ได้แก่
(๑)
ระดับชำนาญงานพิเศษ
(๒)
ระดับชำนาญงาน
(๓)
ระดับปฏิบัติงาน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๘ (ค) (๕)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้บัญญัติให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับอื่นได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๒๖/๒๘ กันยายน ๒๕๕๒ |
648343 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2554
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎ
ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒ กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามตำแหน่ง
ประเภทสายงาน และระดับที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.พ.อ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
และ ก.พ.อ. ได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ
และอัตรานั้นไว้แล้ว ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ
และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๒)
ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ซึ่ง ก.พ.อ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น
เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง
ประเภท สายงาน ระดับ
และอัตรานั้นไว้แล้วผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่ง
ประเภท สายงาน ระดับและอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนดตาม (๑)
(๓)
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดิมหรือต่างประเภทในระดับใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม
เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับใด แต่เงินเดือนเดิมต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง
(๔) ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๕
ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ
ตำแหน่งศาสตราจารย์ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ และตำแหน่ง ประเภท
สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือน ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งศาสตราจารย์
ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๗,๕๖๐ บาท เว้นแต่ผู้นั้นผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนต่อไปได้อีกไม่เกิน ๖๙,๘๑๐
บาท
(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีขั้นต่ำขั้นสูงที่ ก.พ.อ. กำหนด เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่
ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๓๗,๘๓๐ บาท
(๓) ผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ.
กำหนดให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๕ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๓๒ หรือมาตรา ๓๔ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ข้อ ๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๓๓ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๘ ในระหว่างที่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับ
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ประเภทใด สายงานใด ระดับใด
ถ้าเงินเดือนที่ได้รับต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมและไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ประกอบกับมีการปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๑๒/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
680621 | กฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
การได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ.
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาท้ายกฎ
ก.พ.อ. นี้
ข้อ ๓
ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับกับการจ่ายเงินประจำตำแหน่งตามกฎ ก.พ.อ. นี้โดยอนุโลม
ข้อ ๔
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ได้แก่
(๑) ศาสตราจารย์
(๒) รองศาสตราจารย์
(๓) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๔) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
การได้รับเงินประจำตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตามวรรคหนึ่งผู้ใดได้รับในอัตราใด
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. ประกาศกำหนด
ข้อ ๕
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ได้แก่
(๑) อธิการบดี
(๒) รองอธิการบดี
(๓) คณบดี
(๔) หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
(๕) ผู้ช่วยอธิการบดี
(๖)
รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
(๗) ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต
ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองตามที่
ก.พ.อ. กำหนด
(๘) ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
การได้รับเงินประจำตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตาม (๗)
และ (๘) ผู้ใดได้รับในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
ประกาศกำหนด
ข้อ ๖
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช.)
ที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป ทั้งนี้ การได้รับเงินประจำตำแหน่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. ประกาศกำหนด
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะตามวรรคหนึ่ง ได้แก่
(๑) วิชาชีพเฉพาะกายภาพบำบัด
(๒) วิชาชีพเฉพาะการทันตแพทย์
(๓) วิชาชีพเฉพาะการผลิตไอโซโทป
(๔) วิชาชีพเฉพาะการพยาบาล
(๕) วิชาชีพเฉพาะการแพทย์
(๖) วิชาชีพเฉพาะการสัตวแพทย์
(๗) วิชาชีพเฉพาะกิจกรรมบำบัด
(๘) วิชาชีพเฉพาะกีฏวิทยารังสี
(๙) วิชาชีพเฉพาะชีววิทยารังสี
(๑๐) วิชาชีพเฉพาะเทคนิคการแพทย์
(๑๑) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์เคมี
(๑๒) วิชาชีพเฉพาะนิวเคลียร์ฟิสิกส์
(๑๓) วิชาชีพเฉพาะฟิสิกส์รังสี
(๑๔) วิชาชีพเฉพาะเภสัชกรรม
(๑๕) วิชาชีพเฉพาะรังสีการแพทย์
(๑๖) วิชาชีพเฉพาะวิทยาการคอมพิวเตอร์
(๑๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมการเกษตร
(๑๘) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเคมี
(๑๙) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเครื่องกล
(๒๐) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมชลประทาน
(๒๑) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมนิวเคลียร์
(๒๒) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมปิโตรเลียม
(๒๓) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้า
(๒๔) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
(๒๕) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโยธา
(๒๖) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมโลหการ
(๒๗) วิชาชีพเฉพาะวิศวกรรมเหมืองแร่
(๒๘) วิชาชีพเฉพาะเวชศาสตร์การสื่อความหมาย
(๒๙) วิชาชีพเฉพาะสถาปัตยกรรม
ข้อ ๗
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช.)
ที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป
ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะตามวรรคหนึ่ง ได้แก่
(๑) ด้านกิจการนักศึกษา
(๒) ด้านจิตวิทยา
(๓) ด้านช่างภาพการแพทย์
(๔) ด้านนิติการ
(๕) ด้านแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
(๖) ด้านบรรณารักษ์
(๗) ด้านบริหารงานบุคคล
(๘) ด้านบริหารทั่วไป
(๙) ด้านประชาสัมพันธ์
(๑๐) ด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน
(๑๑) ด้านวิจัย
(๑๒) ด้านวิชาการเกษตร
(๑๓) ด้านวิชาการเงินและบัญชี
(๑๔) ด้านวิชาการช่างทันตกรรม
(๑๕) ด้านวิชาการช่างศิลป์
(๑๖) ด้านวิชาการตรวจสอบภายใน
(๑๗) ด้านวิชาการบัญชี
(๑๘) ด้านวิชาการประมง
(๑๙) ด้านวิชาการพัสดุ
(๒๐) ด้านวิชาการโภชนาการ
(๒๑) ด้านวิชาการรังสีเทคนิค
(๒๒) ด้านวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์
(๒๓) ด้านวิชาการเวชสถิติ
(๒๔) ด้านวิชาการศึกษา
(๒๕) ด้านวิชาการสถิติ
(๒๖) ด้านวิชาการสัตวบาล
(๒๗) ด้านวิชาการโสตทัศนศึกษา
(๒๘) ด้านวิชาการอาชีวบำบัด
(๒๙) ด้านวิทยาศาสตร์
(๓๐) ด้านวิเทศสัมพันธ์
(๓๑) ด้านวิศวกรรม
(๓๒) ด้านสังคมสงเคราะห์
(๓๓) ด้านสุขศึกษา
(๓๔) ด้านเอกสารสนเทศ
ข้อ ๘
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๔
ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ ตำแหน่งใด ระดับใด และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราสำหรับตำแหน่งนั้น
ข้อ ๙
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่งประเภทผู้บริหารที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อ
๕ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) ในกรณีที่เป็นตำแหน่งว่าง
และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ.อ. นี้
ในอัตราที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้นนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนหรือรักษาการในตำแหน่ง
แล้วแต่กรณี เป็นต้นไป จนถึงวันที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหกเดือน
ข้อ ๑๐
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
ข้อ ๑๑
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอาจารย์ ๓
และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๙
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๒) ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๙ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ให้ได้รับในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๓) ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๘
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
ข้อ ๑๒
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งครูและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งครูและรับเงินเดือนอันดับ คศ. ๔
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับในอัตรา
๙,๙๐๐ บาท
(๒) ตำแหน่งครูและรับเงินเดือนอันดับ คศ. ๓ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ให้ได้รับในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๓) ตำแหน่งครูและรับเงินเดือนอันดับ คศ. ๒
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
ข้อ ๑๓
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเคยดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ
ซึ่งทำหน้าที่สอนและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
แล้วแต่กรณี ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับ ๙
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ ให้ได้รับในอัตรา
๙,๙๐๐ บาท
(๒) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับ ๘
ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ให้ได้รับในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๓) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ระดับ ๗ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ให้ได้รับในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
ข้อ ๑๔
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓
ได้รับเงินประจำตำแหน่งนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
ข้อ ๑๕
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
(วช. หรือ ชช.) มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตามกฎ ก.พ.อ. นี้
โดยให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราดังกล่าวนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
แต่ทั้งนี้ ไม่ก่อนวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ให้ไว้
ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งวิชาการ
ตำแหน่ง
อัตรา
(บาท/เดือน)
ศาสตราจารย์
๑๕,๖๐๐
๑๓,๐๐๐
รองศาสตราจารย์
๙,๙๐๐
๕,๖๐๐
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕,๖๐๐
๓,๕๐๐
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
อธิการบดี
๑๕,๐๐๐
รองอธิการบดี
คณบดี หัวหน้าหน่วยงานที่
เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
๑๐,๐๐๐
ผู้ช่วยอธิการบดี
รองคณบดีหรือรองหัวหน้า
หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
๕,๖๐๐
ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี
ผู้อำนวยการ
สำนักงานวิทยาเขต
หรือตำแหน่งอื่นตามที่
ก.พ.อ.
กำหนด
๑๐,๐๐๐
๕,๖๐๐
ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้าหน่วยงาน
ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
ตามที่
ก.พ.อ. กำหนด
๕,๖๐๐
๒
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
(วช. หรือ ชช.)
ระดับ
อัตรา (บาท/เดือน)
เชี่ยวชาญพิเศษ
๑๓,๐๐๐
เชี่ยวชาญ
๙,๙๐๐
ชำนาญการพิเศษ
๕,๖๐๐
ชำนาญการ
๓,๕๐๐
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่
ก.พ.อ. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นการกำหนดการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในระหว่างที่ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยเทียบเคียงกับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๙ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
ปณตภร/ปรับปรุง
๒๗ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๖/๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ |
731555 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔) และมาตรา ๕๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการ
เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล
ในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการนั้น ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘
หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาจากผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นเป็นหลัก
และให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘ หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.พ.อ. นี้
ข้อ ๓ เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดตามมาตรา ๑๐ แล้ว เห็นว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดมีผลการปฏิบัติราชการในระดับที่ต้องให้ได้รับการพัฒนาปรับปรุงตนเอง
ให้แจ้งผู้นั้นทราบเกี่ยวกับผลการประเมินพร้อมทั้งกำหนดให้ผู้นั้นเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองโดยให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ทั้งนี้ ในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง
ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองโดยกำหนดเป้าหมายในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการให้ชัดเจน
เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งต่อไป
การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการพัฒนาปรับปรุงตนเองของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามวรรคหนึ่ง
ให้มีระยะเวลาไม่เกินสามรอบการประเมิน
ในกรณีที่ผู้ถูกประเมินเห็นว่าการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บังคับบัญชา
มีความไม่เป็นธรรมอาจทำคำคัดค้านยื่นต่อผู้บังคับบัญชารวมไว้กับผลการประเมินเพื่อเป็นหลักฐานได้
ข้อ ๔ เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองตามข้อ
๓ แล้ว
ปรากฏว่าผู้นั้นไม่ผ่านการประเมินในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการตามคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง
ให้รายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘
เมื่อได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘
อาจดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้รับการประเมินประสงค์จะออกจากราชการก็ให้สั่งให้ออกจากราชการ
(๒) สั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองอีกครั้งหนึ่งโดยทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองเป็นครั้งที่สอง
หรือ
(๓) สั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นออกจากราชการ
กรณีผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘ มีคำสั่งตามวรรคสอง (๒)
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองโดยให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองโดยกำหนดเป้าหมายในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการให้ชัดเจนเป็นครั้งที่สองเพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งต่อไป
เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองในครั้งที่สองแล้วปรากฏว่าผู้นั้นไม่ผ่านการประเมินในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการตามคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองให้รายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๒๘ เพื่อสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นออกจากราชการ
ข้อ ๕ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๒๘ มีคำสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการตามข้อ ๔ แล้ว ให้รายงานสภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ
ในกรณีที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมและมีมติเป็นประการใด
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๒๘ ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
และให้แจ้งคำสั่งหรือการปฏิบัติดังกล่าวให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นทราบ
ข้อ ๖ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามกฎ ก.พ.อ. นี้
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.อ.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากราชการตามข้อ ๕
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการได้
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
หรือสภาสถาบันอุดมศึกษาสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตลอดจนให้ทางราชการได้มีโอกาสหมุนเวียนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาทำหน้าที่แทน
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ กรกฎาคม
๒๕๕๘
ปัญจพร/ผู้ตรวจ
๒๑ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๖๒ ก/หน้า ๒๑/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
729077 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออก กฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ
๓/๑ แห่งกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๓/๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการผู้ใดเมื่อได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่
ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนเดิมโดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่ง
ทั้งนี้
ในการคิดคำนวณเงินเดือนเพิ่มให้คิดจากฐานในการคำนวณเดิมที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการนั้นดำรงตำแหน่งอยู่
ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการซึ่งได้รับเงินเดือนสูงขึ้นตามวรรคหนึ่ง
ผู้ใดต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ
ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นดังกล่าว ในวันที่ ๓๐ กันยายน ของปีสุดท้ายก่อนที่จะพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีการปรับเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษา
และปรับเงินเดือนชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อน
รวมทั้งให้จ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว
ทำให้เงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการถึงขั้นสูงได้เร็วขึ้น
จึงสมควรกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ
ซึ่งได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่
มีสิทธิได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของเงินเดือนเดิมได้
โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งถัดไปอีกตำแหน่งหนึ่ง
เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปุณิกา - วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๒๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๒/๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ |
728311 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของกฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับชำนาญงานพิเศษ และตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด
ให้ได้รับเงินเดือน ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์
ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๗๔,๓๒๐ บาท เว้นแต่ผู้นั้นผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนต่อไปได้อีกไม่เกิน ๗๖,๘๐๐
บาท
(๒) ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีขั้นต่ำขั้นสูงที่ ก.พ.อ. กำหนด
เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๔๑,๖๒๐ บาท
(๓) ผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานพิเศษ
เพื่อให้สอดคล้องกับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
และตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๓/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
639790 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามตำแหน่ง
ประเภทสายงาน และระดับที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.พ.อ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
และ ก.พ.อ. ได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ
และอัตรานั้นไว้แล้ว ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามตำแหน่ง ประเภท สายงาน ระดับ
และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๒)
ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นซึ่ง ก.พ.อ.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้น
เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งและได้กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่ง
ประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่ง
ประเภท สายงาน ระดับ และอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนดตาม (๑)
(๓)
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดิมหรือต่างประเภทในระดับใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม
เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับใดแต่เงินเดือนเดิมต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง
(๔)
ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๕
ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ
๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ
และตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือน
ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๖๔,๓๔๐ บาท เว้นแต่ผู้นั้นผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนต่อไปได้อีกไม่เกิน ๖๖,๔๘๐
บาท
(๒)
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานพิเศษ
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีขั้นต่ำขั้นสูงที่ ก.พ.อ. กำหนด
เว้นแต่ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในสายงานที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน ๓๖,๐๒๐ บาท
(๓)
ผู้ดำรงตำแหน่ง ประเภท สายงาน และระดับอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ
๔ ในกรณีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ
๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๓๒ หรือมาตรา ๓๔ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ข้อ
๖ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๓๓ ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ
๗ ในระหว่างที่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับ
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ประเภทใด สายงานใด ระดับใด ถ้าเงินเดือนที่ได้รับต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมและไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๓๗/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
506724 | กฎ ก.พ.อ. ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงกำหนดกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งซึ่งผู้บังคับบัญชาจะดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนก็ได้
ไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ
๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
ข้อ
๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพโดยองค์กรวิชาชีพได้วินิจฉัยว่า
เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างร้ายแรง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้กำหนดว่า หากข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษากระทำผิดวินัยกรณีที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้บังคับบัญชาจะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎนี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๘๘ ก/หน้า ๔/๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ |
728309 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 | กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎ
ก.พ.อ.
ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ กฎ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้ดำรงตำแหน่งใด
ประเภทใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด
ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาท้ายกฎ
ก.พ.อ. นี้
ข้อ ๔ ในวาระเริ่มแรก
ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายกฎ
ก.พ.อ. นี้
ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งอาจารย์
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการ
ผู้ดำรงตำแหน่งทั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
ได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายกฎ ก.พ.อ.
นี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาท
ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งวิชาการ
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๔๓,๖๐๐
๕๙,๕๐๐
๗๐,๓๖๐
๗๖,๘๐๐
๗๔,๓๒๐
ขั้นต่ำ
๑๐,๑๙๐
-
-
-
ตำแหน่ง
อาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
ศาสตราจารย์
หมายเหตุ ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการตำแหน่งศาสตราจารย์ ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน
๗๔,๓๒๐ บาท เว้นแต่ผู้นั้นผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน
๗๖,๘๐๐ บาท
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
บาท
บาท
ขั้นสูง
๕๙,๕๐๐
๗๐,๓๖๐
ขั้นต่ำ
๒๖,๖๖๐
๓๒,๘๕๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
ตำแหน่ง
ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า
ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี
หรือเทียบเท่า
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๖,๙๐๐
๔๓,๖๐๐
๕๘,๓๙๐
๖๙,๐๔๐
๗๔,๓๒๐
ขั้นต่ำ
๘,๓๔๐
๑๕,๐๕๐
๒๒,๑๔๐
๓๑,๔๐๐
๔๓,๘๑๐
ขั้นต่ำ
ชั่วคราว
-
๑๓,๑๖๐
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ปฏิบัติการ
ชำนาญการ
ชำนาญการพิเศษ
เชี่ยวชาญ
เชี่ยวชาญพิเศษ
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภททั่วไป
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๑,๐๑๐
๓๘,๗๕๐
๕๔,๘๒๐
ขั้นต่ำ
๔,๘๗๐
๑๐,๑๙๐
๑๕,๔๑๐
ระดับ
ปฏิบัติงาน
ชำนาญงาน
เชี่ยวชาญพิเศษ
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้
ให้เทียบเคียงกับบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
หรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี ในการนี้
ได้มีการปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกัน
เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน
โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง
ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
700933 | กฎ ก.พ.อ. การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
การได้รับเงินประจำตำแหน่ง
ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓๐) ของวรรคสอง ในข้อ ๖ แห่งกฎ ก.พ.อ.
การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖
(๓๐) วิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิก
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.พ.อ.
ได้กำหนดให้มีสายงานจิตวิทยาคลินิกเพิ่มขึ้นและกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งสายงานจิตวิทยาคลินิกซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไป
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.พ.อ.
การได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อเพิ่มเติมให้ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะจิตวิทยาคลินิกเป็นตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ มกราคม ๒๕๕๗
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖ ก/หน้า ๙/๘ มกราคม ๒๕๕๗ |
563636 | กฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการโอนข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) และมาตรา ๓๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงออกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษาไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ต้องเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการและได้รับการสรรหาหรือมีหลักฐานแสดงว่าจะได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันอุดมศึกษาที่จะรับโอนให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามมาตรา
๑๘ (ข) (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖)
และได้แสดงเจตนายินยอมเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
ข้อ ๒ ได้รับความยินยอมจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดและสถาบันอุดมศึกษาที่จะรับโอน
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาที่จะรับโอนต้องมีตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตำแหน่งวิชาการเพื่อรองรับ
เว้นแต่สถาบันอุดมศึกษาที่จะรับโอนไม่มีตำแหน่งและอัตราเงินเดือนรองรับหากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดยินยอมให้ตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไปไว้ในสถาบันอุดมศึกษาที่รับโอนก็ให้กระทำได้
ข้อ ๔ สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดอาจสงวนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไว้ก็ได้
และเมื่อข้าราชการผู้นั้นพ้นจากการดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาที่รับโอน
และแสดงเจตนาขอโอนกลับมารับราชการที่ต้นสังกัดเดิมภายในเก้าสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
ให้สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดเดิมรับโอนข้าราชการผู้นั้นตามความประสงค์ ทั้งนี้
เว้นแต่ข้าราชการผู้นั้นจะได้แสดงเจตนาไว้ก่อนการโอนว่าไม่ประสงค์จะขอโอนกลับมารับราชการในสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดเดิมอีก
ข้อ ๕ ให้โอนไปบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิชาการในระดับและขั้นเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ได้บัญญัติให้การโอนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในต่างสถาบันอุดมศึกษา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๓/๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ |
639792 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และมาตรา ๑๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออก กฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กฎ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งและประเภทที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในกฎ
ก.พ.อ. นี้
ข้อ
๓ ผู้ดำรงตำแหน่งใด ประเภทใด ระดับใด
จะได้รับเงินเดือนเท่าใด
ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแนบท้าย
กฎ ก.พ.อ. นี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ
๒.
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
๓.
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
๔.
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภททั่วไป
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นการกำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในระหว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อให้สอดคล้องกับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๔๐/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
563638 | กฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง พ.ศ. 2550
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) และมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงออกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้มีคุณวุฒิไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
(๒)
เป็นผู้มีระยะเวลาและประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ข้อ ๒ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามข้อ
๑ กลับไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกับตำแหน่งเดิมที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งโดยพลัน
ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งได้
สถาบันอุดมศึกษาอาจเปลี่ยนตำแหน่งที่ครองอยู่ หรือตำแหน่งว่างมีเงินและไม่มีเงินเพื่อแต่งตั้งผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งก็ได้
ทั้งนี้
ตำแหน่งที่เปลี่ยนต้องมีระดับตำแหน่งเท่ากับตำแหน่งเดิม
โดยตำแหน่งที่เปลี่ยนต้องตรงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
และคำนึงถึงภาระงานของตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๓ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นตามข้อ
๒ ให้รับเงินเดือนในขั้นที่พึงจะได้รับตามสถานภาพเดิม
และให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีสถานภาพอย่างใดในการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ตนมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
แต่ ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ.ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ได้บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด
ตามมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ (๑) แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แต่งตั้งผู้นั้นไปดำรงตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะที่ผู้นั้นมีอยู่ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.กำหนด จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๕๗ ก/หน้า ๖/๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ |
530644 | กฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการและเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ
และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้สถาบันอุดมศึกษาสงวนตำแหน่งไว้ให้แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้นั้น
ข้อ ๒ เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย
ให้มีสิทธิขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
โดยทำคำร้องขอพร้อมด้วยหนังสือรับรองประวัติการรับราชการทหารยื่นต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร
และเมื่อสั่งบรรจุและแต่งตั้งแล้วให้นับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเพื่อประโยชน์ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ และกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ให้สั่งบรรจุและแต่งตั้งและให้ได้รับเงินเดือน
ดังนี้
(๑) ให้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่เทียบเท่ากับระดับเดิม
โดยให้ปรับเงินเดือนให้ปีละหนึ่งขั้นแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น
ในกรณีที่รับราชการทหารไม่ถึงหนึ่งปีแต่ครบแปดเดือนก็ให้ปรับเงินเดือนให้หนึ่งขั้น
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตาม (๑)
ให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด
ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ถ้าผู้นั้นขอกลับเข้ารับราชการภายในหกสิบวันภายหลังครบกำหนดเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติซึ่งต้องไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติงานดังกล่าว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
สั่งบรรจุและแต่งตั้งและให้ได้รับเงินเดือนในอันดับที่เทียบเท่ากับระดับเดิม
เว้นแต่การไปปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
สภาสถาบันอุดมศึกษาจะอนุมัติให้ปรับเงินเดือนให้สูงกว่าเดิมไม่เกินปีละหนึ่งขั้นก็ได้แต่ต้องไม่เกินขั้นสูงของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งนั้น
ข้อ ๔ ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการไปด้วยเหตุใด ๆ
อันมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการ ตามข้อ ๒ และข้อ ๓
หากประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้ยื่นคำร้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
การบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้คำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษาเป็นสำคัญและให้บรรจุกลับในระดับและขั้นเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ได้บัญญัติให้การกลับเข้ารับราชการการนับวันรับราชการ
และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๑๑ ก/หน้า ๓๘/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
648340 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และมาตรา ๑๖
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๑
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.พ.อ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงออกกฎ ก.พ.อ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒ กฎ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้ดำรงตำแหน่งใด
ประเภทใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด
ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแนบท้ายกฎ
ก.พ.อ. นี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งวิชาการ
๒. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
๓. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
๔. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภททั่วไป
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๑๖ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
กำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งใด
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ.
กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นการกำหนดให้การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในระหว่างที่ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้สอดคล้องกับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑ มีการปรับบัญชีเงินเดือนให้เหมาะสมกับค่าของงาน
ค่าครองชีพและอัตราเงินเดือนที่จ่ายในตลาดแรงงาน จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๑๐/๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
523980 | กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยโรคที่มีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2549
| กฎ ก
กฎ ก.พ.อ.
ว่าด้วยโรคที่มีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) และมาตรา ๗ (ข) (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงออกกฎ ก.พ.อ.ไว้ดังต่อไปนี้
โรคตามมาตรา
๗ (ข) (๒) คือ
๑.
วัณโรคในระยะอันตราย
๒.
โรคติดยาเสพติดให้โทษ
๓.
โรคพิษสุราเรื้อรัง
๔.
โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
๕.
โรคทางจิตที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๔๙
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ
ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗ (ข) (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้กำหนดลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาว่าต้องไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ.อ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๒ ก/หน้า ๑๖/๘ มกราคม ๒๕๕๐ |
614831 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔[๒]
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามข้อ ๕.๑.๓
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้มีผลใช้บังคับ ดังนี้
(๑)
กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รายใดที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้พิจารณาก่อนวันที่
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ และยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๒) กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ตาม (๑)
รายใดมีผลการประเมินผลงานทางวิชาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕.๑.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อ ๒
โดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขได้
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓[๓] ผลงานทางวิชาการ
ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓[๔]
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
๑.๓ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓[๕]
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
๑.๓ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่ ๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๓.๓ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๖]
สภาสถาบันอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรก เพิ่มเติมได้อีก ๒ คน
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคม โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง[๗]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง
พร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
สภาสถาบันอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรก เพิ่มเติมได้อีก ๒ คน
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคม โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง[๘]
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่น การเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้นเป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๙]
ข้อ
๑๑[๑๐]
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุน และการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา เป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๑๑] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณา
โดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๑๒]
กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๑๓]
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๑๔] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๑๕]
การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จ เว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๑๖]
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๑.๑[๑๗]
แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓) (แก้ไขเพิ่มเติม)
๑.๒[๑๘]
แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
(แก้ไขเพิ่มเติม)
๑.๓
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๔
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๕
แนวทางการประเมินผลการสอน
๑.๖[๑๙]
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ (แก้ไขเพิ่มเติม
บทความทางวิชาการ)
๑.๗
ตัวอย่างแนบท้าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒๐]
(ยกเลิก)[๒๑]
ข้อ
๒ การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๒๒]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๒๓]
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๔]
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔[๒๕]
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๖]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๗]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖[๒๘]
ข้อ ๘ คำนิยาม รูปแบบ
การเผยแพร่ ลักษณะคุณภาพ ลักษณะการมีส่วนร่วม
และแนวทางการประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
๑.๑
แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓)
๑.๒
แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
๑.๓
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการรับใช้สังคม
๑.๔
แนวทางการประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม
๑.๕
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่ และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖[๒๙]
ข้อ
๔ การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามข้อ ๕.๑.๓ ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศนี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๕.๑.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๔] ข้อ ๕.๒.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ข้อ ๕.๓.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๖] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า ซึ่งเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๗] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคหก เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๘] ข้อ ๖.๒.๓ วรรคเจ็ด เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๙] หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึง ข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๑] ข้อ ๑๑/๑ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๒] ข้อ ๑๑/๒ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๓] ข้อ ๑๑/๓ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔] ข้อ ๑๑/๔ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๕] ข้อ ๑๑/๕ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๖] เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๗] แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๘] แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๙] คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๒๑] ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ยกเลิกโดยเงื่อนเวลาสิ้นสุด
[๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๒๕] ข้อ ๔ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๒๓/๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
[๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๓๗/๘ มีนาคม ๒๕๕๖
[๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๔/๙ เมษายน ๒๕๕๖ |
680564 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2555 | ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
โดยที่ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕
กำหนดให้การบังคับใช้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ให้มีผลใช้บังคับกับผู้ที่ยื่นคำขอไว้แล้วก่อนที่ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ทำให้มีผลกระทบกับผู้ที่ยื่นคำขอไว้แล้ว ก.พ.อ. จึงเห็นสมควรปรับปรุงการบังคับใช้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์เสียใหม่ให้เหมาะสม
นอกจากนี้ ก.พ.อ. เห็นว่าในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์
ควรลดขั้นตอนเพื่อให้การพิจารณาเกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น ในกรณีที่
ผลการประเมินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเป็นเอกฉันท์
ก็ไม่จำเป็นต้องประชุมคณะกรรมการอีก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ.
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มเติม
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ
๔ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๒
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามข้อ ๕.๑.๓
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้มีผลใช้บังคับ ดังนี้
(๑)
กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รายใดที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้พิจารณาก่อนวันที่
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ และยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๒) กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ตาม (๑)
รายใดมีผลการประเมินผลงานทางวิชาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕.๑.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อ ๒
โดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขได้
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๒
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และรองศาสตราจารย์ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๒ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๒๓/๒๕ มกราคม ๒๕๕๖ |
675946 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2555 | ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อให้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ส่งเสริมให้คณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
โดยการสร้างผลงานทางวิชาการอย่างเหมาะสมตามพันธกิจ วิสัยทัศน์
และยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งที่เป็นความรู้ใหม่และความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมหรือประเทศ
จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๑๘ ประกอบกับมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ. นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๕.๑.๓ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑)
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคมหรือประเทศ
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษา
ได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ต่อไปจนแล้วเสร็จ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
ปริยานุช/จัดทำ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ตรวจ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
789608 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 | ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
พ.ศ.
๒๕๖๐
เพื่อให้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เป็นช่องทางในการพัฒนาคุณภาพวิชาการและนวัตกรรมของประเทศ
รวมทั้งครอบคลุมผลงานที่คณาจารย์ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตนมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
ตลอดจนผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาไทยก้าวสู่ความเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับนานาชาติและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบังคับ
ทั้งนี้ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพันธกิจและนโยบายการพัฒนาอาจารย์ของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาได้
แต่ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกลางที่ ก.พ.อ. กำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศ
ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. ดังนี้
๑.๑ ประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
๑.๒ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑.๓ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
๑.๔ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
๑.๕ ประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
๑.๖ ประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒/๑ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการพัฒนาคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
หมวด
๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓ ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ประกอบด้วย
๓.๑ ประธานกรรมการ
ซึ่งต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๓.๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มิใช่บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
การพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖
ถึงข้อ ๑๐
ข้อ ๔ การพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตามที่กำหนดในประกาศนี้และเอกสารแนบท้าย
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้ ๒ วิธี คือ
การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และการแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหกปี หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงานที่กำหนดโดยสถาบันนั้น
ๆ
ในกรณีที่ผู้ขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการเคยได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่
ก.พ.อ. รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค หรือปฏิบัติงานด้านวิชาชีพที่ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งมาแล้ว
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอน หรือปฏิบัติงานด้านวิชาชีพนั้นมารวมคำนวณเวลาในการสอนให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
ในกรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่ม ให้นับระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒ ผลการสอน ต้องประเมินคุณภาพการสอนของผู้ขอที่ครอบคลุมข้อมูลที่จำเป็นทุก
ๆ ด้าน
โดยเฉพาะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และสามารถประเมินการเรียนรู้ได้ผลถูกต้องที่สุด
ทั้งในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้สูงขึ้นตามระดับตำแหน่งที่ประเมินได้
ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีความชำนาญในการสอน จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
สำหรับกรณีที่ผู้ขอได้ทำการสอนหลายวิชาหรือสอนวิชาที่มีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอน
ในทุกวิชาหรือทุกหัวข้อที่ผู้ขอเป็นผู้สอน แล้วแต่กรณี
ซึ่งรวมกันได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีคุณภาพดีมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันตามข้อ
๕ แนวทางการประเมินผลการสอนในเอกสารแนบท้าย
๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดี
และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ หรือ
(๓) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑
เรื่อง หรือ
(๔) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และตำราหรือหนังสือ ๑ เล่ม
สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้น
ผู้ขออาจใช้ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคมหรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดีมาก แทนงานวิจัย
ตาม (๒) - (๔) ได้
การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
ประกาศนียบัตร หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ
ตามข้อนี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม
จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้าย
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
ไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
รวมถึงไม่คัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตน
โดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองเพื่อแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน
(๔)
ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ปราศจากอคติ และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบ
โดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
(๖)
หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์
ผู้ขอตำแหน่งจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ
๕.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผู้ขอต้องดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๒.๒ ผลการสอน ให้นำความในข้อ ๕.๑.๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่ต้องมีความชำนาญพิเศษในการสอน
๕.๒.๓ ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการ ได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑
ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดี และมีปริมาณอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ
หรือ
(๓) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑
เรื่อง
และ
(๔) ตำรา หรือ หนังสือ ๑ เล่ม
วิธีที่ ๒
ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพ และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยอย่างน้อย ๓
เรื่อง ซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง
และมีคุณภาพดี ๑ เรื่อง หรือ
(๒) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดี หรือ
(๓) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง
และผลงานวิชาการรับใช้สังคมซึ่งมีคุณภาพดี
สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยวิธีที่ ๒ นั้น
ผู้ขออาจใช้ตำราหรือหนังสือซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒
เล่มและมีคุณภาพดี ๑ เล่ม แทนผลงานตาม (๑) - (๓) ได้
การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ
ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ประกาศนียบัตร
หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ตามข้อนี้จะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม
จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด
ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิม
และต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้าย
๕.๒.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผู้ขอต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒ ผลการสอน
ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
๕.๓.๓ ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๕ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย ๕ เรื่อง
และ
(๓) ตำรา หรือ หนังสือ ๑ เล่ม
วิธีที่ ๒ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๕ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย ๕ เรื่อง
สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้น
ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีมาก และมีปริมาณอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย
๒ เรื่อง
และ
(๓) ตำรา หรือ หนังสือ ๒ เล่ม
วิธีที่ ๒
ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และมีปริมาณอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๓ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ หรือ
ตำราหรือหนังสือ ๑ เล่ม และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม
รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย ๓ เรื่อง หรือ
(๓) ตำรา หรือ หนังสือ ๓ เล่ม
การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ
ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ประกาศนียบัตร
หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ตามข้อนี้จะกระทำมิได้
เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม
จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด
ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิม
และต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้าย
๕.๓.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖ วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ โดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการตามเอกสารแนบท้าย
๖.๑.๒ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในสาขาวิชานั้น
ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
(๑) ประธานกรรมการ
ซึ่งต้องแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ.
กำหนด สำหรับสาขาวิชาที่เสนอขอ
หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับผลงานที่เสนอขอ
โดยต้องเป็นบุคคลที่มิใช่บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้ขอสังกัดและไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของสถาบันอุดมศึกษานั้น
รวมทั้งมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดได้ ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ เกณฑ์การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคม
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา
ให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรกเพิ่มเติมได้ไม่เกินสองคน
โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง
พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ก.พ.อ. จะพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้
รวมทั้งสาระและความถูกต้องเหมาะสมของการพิจารณาอนุมัติ และแจ้งผลการพิจารณาให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทราบต่อไป
และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติตามนั้น
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาของตำแหน่งทางวิชาการที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ขอด้วย
๖.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑ ให้นำความในข้อ ๖.๑.๑ และ ๖.๑.๓
มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งตามข้อนี้ด้วยโดยอนุโลม
แต่ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
๖.๒.๒
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๓ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว
ให้เสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็น เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล
เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๗ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
เช่น
การเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
๗.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ ๑ เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
๗.๓ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ ๑ เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น
ข้อ ๘ แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ
(แบบ ก.พ.อ. ๐๔) แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
และอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๙ กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้
ไม่ว่าโดยผู้ขอคนเดิมหรือผู้ขอคนใหม่ ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงาน ทางวิชาการนั้นใหม่อีก เว้นแต่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
เห็นว่าเป็นผลงานที่ล้าสมัยหรือมีเหตุสมควรอื่นที่จะไม่ใช้ผลการพิจารณานั้นอีกต่อไป
ในกรณีเช่นนี้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องระบุเหตุผลทางวิชาการโดยชัดแจ้งด้วย
หมวด
๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑ กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่น ไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
หรือนำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
หรือคัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตนโดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
หรือละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน
เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และกระทำการใด ๆ ที่เบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัยและไม่เสนอผลงานตามความเป็นจริง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้น และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
แต่ไม่เกินสิบปี นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒ กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้วหากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองหรือนำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
หรือคัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตนโดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ หรือละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน
เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และกระทำการใด ๆ
ที่เบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัยและไม่เสนอผลงานตามความเป็นจริง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
สำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ. เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ถอดถอน และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
แต่ไม่เกินสิบปี นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด
๓
การเสนอขอทบทวนผลการพิจารณา
ข้อ ๑๑ กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขออาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุน
และการขอทบทวนดังกล่าวแต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับทราบมติ
ภายใต้บังคับข้อ ๖.๑.๔ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑) การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณา โดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒) การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก) ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข) ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
จากที่แต่งตั้งไว้เดิม จำนวนสองถึงสามคนเพื่อพิจารณาคำชี้แจง
ข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอ ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ ๑๓ กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ ๑๔ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการที่ยื่นไว้เดิมทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ หากผู้ขอมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ภายใต้บังคับข้อ ๖.๑.๔.
กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๕ การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่ง ตามประกาศ ก.พ.อ.
เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ และ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
ต่อไปจนแล้วเสร็จ ทั้งนี้
สภาสถาบันอุดมศึกษาจะแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ได้ไม่ก่อนวันที่ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับนั้น ๆ
มีผลบังคับใช้
ข้อ ๑๖ มิให้นำความในข้อ ๓ (๓.๑)
มาใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งไม่มีกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้ายประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.
๒๕๖๐ (ก.พ.อ. ๐๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/อัญชลี/จัดทำ
๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๔๓/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
695303 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 | ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
พ.ศ. ๒๕๕๖
ด้วยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนดหลักเกณฑ์ของผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ว่าจะต้องมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด สำหรับตำแหน่งที่เสนอขอ
และจะต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๑๘ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ.
จึงกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการทั้งที่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นวารสารออนไลน์
สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการตามประกาศนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ
ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ ในกรณีวารสารทางวิชาการที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามข้อ
๒ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณายอมรับวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
มีกำหนดการเผยแพร่ที่แน่นอนชัดเจน และสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ ๒ ฉบับ
(๒)
มีการระบุสำนักพิมพ์หรือหน่วยงานที่ตีพิมพ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของวารสาร
และสาขาวิชาของบทความที่จะรับตีพิมพ์
(๓)
มีคณะบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน
(๔)
มีหลักฐานที่ตรวจสอบได้ว่า วารสารมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer)
ที่พิจารณาคุณภาพบทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสารอยู่ในรายชื่อด้วย
(๕)
บทความทุกบทความมีการควบคุมคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ที่ตรงหรือเกี่ยวเนื่องกับสาขาของบทความ
และไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
(๖)
วารสารทุกฉบับมีการเผยแพร่บทความที่มีผู้นิพนธ์จากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
กรณีที่บทความมีผู้นิพนธ์ร่วมที่เป็นบุคคลจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกให้ถือว่าเป็นบทความจากหน่วยงานภายนอก
(๗)
มีบทคัดย่อของบทความที่เป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกบทความ
กรณีที่บทความตีพิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศอื่น ๆ
จะต้องมีบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษด้วย
(๘)
มีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน
เป็นรูปแบบเดียวกันในทุกบทความ ได้แก่ ชื่อและที่อยู่ผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ
ตัวบทความและเอกสารอ้างอิง
ข้อ
๔ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณายอมรับวารสารทางวิชาการตามหลักเกณฑ์ข้อ
๓ แล้ว ให้จัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบ ภายใน ๓๐
วัน นับแต่วันที่ออกประกาศ
ข้อ
๕ เพื่อให้วารสารทางวิชาการตามข้อ ๓
ได้มีการพัฒนาขึ้นไปเป็นที่ยอมรับตามข้อ ๒
จึงกำหนดให้หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการตามข้อ ๓ มีผลบังคับใช้เป็นเวลา ๓
ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศ ก.พ.อ. นี้มีผลบังคับใช้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าว ก.พ.อ.
จะไม่รับรองวารสารตามข้อ ๓
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศวารสารทางวิชาการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ได้แก่
วารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง/หน้า ๑๔/๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ |
684845 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ณ วันที่ 18/10/2555) (ฉบับที่ 7)
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน
ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้
๒ วิธี คือ การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และ การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓[๒] ผลงานทางวิชาการ
ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑)
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคมหรือประเทศ
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอาจกำหนดการยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๓]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง พร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่น การเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้นเป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๔]
ข้อ
๑๑[๕]
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุน และการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา เป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๖] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณา โดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๗]
กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๘]
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๙] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๑๐]
การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จ เว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
๑.๑
แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ.๐๓)
๑.๒
แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ.๐๔)
๑.๓
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๔
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๕
แนวทางการประเมินผลการสอน
๑.๖
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
๑.๗
ตัวอย่างแนบท้าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๑]
(ยกเลิก)[๑๒]
ข้อ
๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ. นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๓]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๔]
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๕]
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔[๑๖] การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๗]
ณัฐพร/ผู้จัดทำ
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ปณตภร/ปรับปรุง
๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๕.๑.๓ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๔] หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๑/๑ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๑/๒ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] ข้อ ๑๑/๓ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ข้อ ๑๑/๔ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ข้อ ๑๑/๕ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๑๒] ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ยกเลิกโดยเงื่อนเวลาสิ้นสุด
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑๖] ข้อ ๔ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
614837 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) ประกอบมาตรา ๒๐ และมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
จึงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนด
ระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ดังนี้
ข้อ ๑
กรณีการกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลางซึ่งเป็นตำแหน่งระดับควบต้องเป็นไปตามโครงสร้างระดับตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด กรณีการกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
และตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ในข้อบังคับสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดระดับตำแหน่งโดยยึดหลักการวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่งอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑) หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง
(๒) ความยุ่งยากของงาน ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
(๓) การควบคุม กำกับ ตรวจสอบหรือบังคับบัญชา
(๔) ความรู้ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน
ข้อ
๒[๒] กรณีการกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษในข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นตามภารกิจของหน่วยงานที่จะให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑)
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน
วิจัย ให้บริการทางวิชาการ และหลักเกณฑ์การกำหนดหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งรวมถึงสำนักงานอธิการบดี สำนักงานเลขานุการคณะ
และหน่วยงานอื่นซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
(๒)
ภายใต้บังคับข้อ ๒/๑ หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องกำหนดตัวชี้วัดภาระงานของหน่วยงาน
และลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่ง
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดความยุ่งยากและความซับซ้อนของงาน
ความรู้ความสามารถ ความชำนาญและความเชี่ยวชาญที่ต้องการสำหรับตำแหน่ง ทั้งนี้
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของแต่ละระดับตำแหน่งต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งระดับชำนาญการ ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ
ความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือวิจัย
โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล แนวความคิด
วิธีการเพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข)
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ในหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรืองานพัฒนา ทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่
ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
โดยต้องประยุกต์ทฤษฎีแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก
หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
(๓)
การกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษกำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ
และในสำนักงานอธิการบดี
ข้อ
๒/๑[๓] ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่จะใช้ในการกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษในสำนักงานอธิการบดีอย่างน้อยต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(๑)
การกำหนดกรอบตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษในสำนักงานอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษา
ต้องเป็นตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจหลักในด้านต่าง ๆ
ของสำนักงานอธิการบดีซึ่งภารกิจดังกล่าวจะต้องได้เกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบคุณภาพไม่น้อยกว่าหนึ่งองค์ประกอบตามตัวบ่งชี้
และเกณฑ์การประเมินในแต่ละองค์ประกอบดังกล่าว
ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา ที่คณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากำหนด
ดังต่อไปนี้
ก)
องค์ประกอบคุณภาพด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
ข)
องค์ประกอบคุณภาพด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
ค)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
ง)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
จ)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการบริหารและการจัดการ
ฉ)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการเงินและงบประมาณ
ช)
องค์ประกอบคุณภาพด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
(๒)
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ หมายถึง ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี
หลักวิชา หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
โดยมีลักษณะงานและวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(ก)
ลักษณะงาน
ก
๑) งานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรือ
ก
๒) งานพัฒนาทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ โดยต้องประยุกต์ทฤษฎี
แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
(ข)
วัตถุประสงค์
ลักษณะงานตาม
ก ๑) และ ก ๒) ต้องมีวัตถุประสงค์ในด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านดังต่อไปนี้
ข
๑) เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมากหรือ
ข
๒) เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคคล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ
ข
๓) เพื่อปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๓)
การประเมินภารกิจหลักของสำนักงานอธิการบดีตาม (๑)
และการประเมินลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่งตาม (๒)
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันอุดมศึกษาตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนด จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน เพื่อทำหน้าที่พิจารณา วิเคราะห์
เหตุผลความจำเป็นของกรอบตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษและประเมินภารกิจและลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานเพื่อนำเสนอสภาสถาบันอุดมศึกษา
การพิจารณาประเมินภารกิจหลักและหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการพิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งพร้อมปริมาณงานย้อนหลังไม่น้อยกว่าห้าปี
และแผนการปฏิบัติงานของตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีกห้าปี
ตลอดจนเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีระดับตำแหน่งเชี่ยวชาญพิเศษดังกล่าว
ข้อ ๓
การกำหนดระดับตำแหน่งต้องสอดคล้องกับกรอบของตำแหน่งและแผนพัฒนากำลังคนที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
ข้อ ๔
การกำหนดระดับตำแหน่งดังกล่าว ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส
ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ตามโครงสร้างระดับตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๒) ไม่มีผลให้มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(๓) ไม่มีผลทำให้อัตรากำลังเพิ่มขึ้น
(๔) การกำหนดระดับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานให้เป็นระดับสูงขึ้น
ต้องมีระดับตำแหน่งไม่สูงเท่าระดับตำแหน่งบริหารของหน่วยงานนั้น
(๕) ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด
ข้อ ๕
หลักเกณฑ์วิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน จำแนกตามประเภทตำแหน่ง ดังนี้
(๑) ตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นและระดับกลาง
ต้องประเมินจากการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
การปฏิบัติงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและคุณภาพของงาน
(ข) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
(ค) ความประพฤติ
(๒) ตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ต้องประเมินจากผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ผลงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ขอบเขตของผลงาน
(ข) คุณภาพของผลงาน
(ค) ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงาน
(ง) ประโยชน์ของผลงาน
(จ) ความรู้ความชำนาญงานและประสบการณ์
(๓) ตำแหน่งผู้บริหารต้องประเมินจากการปฏิบัติงาน
คุณลักษณะและสมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งผู้บริหาร
การปฏิบัติงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
(ข) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
(ค) การวางแผน ควบคุม ติดตามผลการปฏิบัติงานและพัฒนางาน
(ง) การแนะนำ สอนงานและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้บริหารต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารที่ ก.พ.อ.
รับรอง
(๔) ตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องประเมินจากการปฏิบัติงาน
ผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
การปฏิบัติงานและผลงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ปริมาณงานในหน้าที่
(ข) คุณภาพของงานในหน้าที่
(ค) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ
หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
กรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ต้องประเมินองค์ประกอบด้านการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคมเพิ่มด้วย
กรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องประเมินองค์ประกอบด้านการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคม
และองค์ประกอบด้านความเป็นที่ยอมรับนับถือในงานด้านนั้นๆ
หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ เพิ่มด้วย
ทั้งนี้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
และการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ สำหรับตำแหน่งที่ ก.พ.อ.
ได้กำหนดโครงสร้างระดับตำแหน่งเป็นระดับ ๗ - ๘ ต้องดำเนินการเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ
๘ แล้ว
ข้อ ๗
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามประกาศนี้ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ต้องแต่งตั้ง
โดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา
หรือคณะกรรมการตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษามอบหมาย
ข้อ
๘[๔] การประเมินต้องดำเนินการโดยองค์คณะบุคคลและมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ในกรณีการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
มีความรู้ความสามารถตรงกับวิชาชีพความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญที่เสนอขอ
และเป็นบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้นทั้งหมด ทั้งนี้
ในกรณีการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องแต่งตั้งกรรมการประเมินจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนด
การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามวรรคหนึ่งต้องมีจำนวนกรรมการ
ดังนี้
(๑)
วิธีปกติ ต้องแต่งตั้งกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
(๒)
วิธีพิเศษเฉพาะกรณีการประเมินบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ใช้ในกรณีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติต่างไปจากหลักเกณฑ์การขอกรณีตามปกติในเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
หรือกรณีการขอที่มิได้เป็นไปตามลำดับตำแหน่งต้องแต่งตั้งกรรมการ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
การประเมินผลงานในตำแหน่งระดับชำนาญการโดยคณะกรรมการ
อาจให้กรรมการส่งผลการประเมินให้ผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย แทนการประชุมได้
แต่การประเมินผลงานตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องจัดให้มีการประชุมพิจารณาผลงานร่วมกัน
ข้อ ๙
การกำหนดเงื่อนไขของผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณา
อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม
(๒)
ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว
(๓)
กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
ข้อ ๑๐
เกณฑ์การตัดสิน ต้องใช้คะแนนเสียงข้างมาก เว้นแต่โดยวิธีพิเศษ
ต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๔ ใน ๕ ของกรรมการประเมิน
ข้อ ๑๑
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ.นี้ ต้องเสนอ ก.พ.อ.
พิจารณาเป็นกรณีไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีแนบท้ายประกาศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(ฉบับที่ ๒)[๕]
ข้อ ๔
การใด ๆ ที่ดำเนินการไปโดยชอบด้วยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แล้ว ให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยประกาศนี้
แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามประกาศนี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๔๒/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(ฉบับที่ ๒)
[๓] ข้อ ๒/๑ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(ฉบับที่ ๒)
[๔] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(ฉบับที่ ๒)
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๔๒/วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๑ |
684603 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556 | ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๕๖
อนุสนธิประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้กำหนดหลักเกณฑ์
ผลงานทางวิชาการในการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ว่าจะต้องมีผลงานวิจัย
หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
หรือผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
โดยมีเงื่อนไขว่าผลงานดังกล่าวจะต้องมีคุณภาพดีและลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบ คือ
(๑) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคมหรือประเทศ ก.พ.อ.
พิจารณาแล้วเห็นว่า เงื่อนไขคุณภาพทั้ง ๓
องค์ประกอบดังกล่าวเทียบได้กับคุณภาพในระดับดีมาก
ประกอบกับผลงานทางวิชาการบางประเภทอาจไม่สามารถมีครบทั้ง ๓ องค์ประกอบ
จึงมีมติให้ยกเลิกคุณภาพทั้ง ๓ องค์ประกอบดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ.
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ
๕.๑.๓ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกคำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพของบทความทางวิชาการ
ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
และให้ใช้ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๔ การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามข้อ ๕.๑.๓ ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ เมษายน ๒๕๕๖
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๑๐ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๒๔/๙ เมษายน ๒๕๕๖ |
683291 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2556 | ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่อให้หลักเกณฑ์การเสนอผลงานทางวิชาการในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ครอบคลุมผลงานที่คณาจารย์ได้นำความรู้
ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
ซึ่งเป็นภาระหน้าที่หนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๑๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๕.๑.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๒ ตามประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ
ก.พ.อ. นี้ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑)
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๕.๒.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕.๒.๓ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
๑.๓ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๒.๓ (๑) และ (๒) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกความในข้อ ๕.๓.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๕.๓.๓ ผลงานทางวิชาการ
ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
๑.๓ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่ ๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๓.๓ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
ข้อ ๕
ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคหก ในข้อ ๖.๑.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ ๓
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้
สภาสถาบันอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรก เพิ่มเติมได้อีก ๒ คน
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคมโดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง
ข้อ ๖
ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคเจ็ด ในข้อ ๖.๒.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้
สภาสถาบันอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรก เพิ่มเติมได้อีก ๒ คน
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคมโดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง
ข้อ ๗
ให้ยกเลิกแบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) และแบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
ตามเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้แบบคำขอฯ
และแบบเสนอแต่งตั้งฯ ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้แทน
ข้อ ๘ คำนิยาม รูปแบบ
การเผยแพร่ ลักษณะคุณภาพ ลักษณะการมีส่วนร่วม และแนวทางการประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓)
๒. เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
๓. เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการรับใช้สังคม
๔. เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ แนวทางการประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม
๕.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่ และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๓๗/๘ มีนาคม ๒๕๕๖ |
675948 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2555 | ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๕
เนื่องจากการแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ต่อไปจนแล้วเสร็จ เป็นการจำกัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๑๘ ประกอบกับมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ
ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
733614 | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2558
| ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ก.พ.อ.)
เรื่อง
มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการเป็นไปตามพันธกิจและเป้าหมายของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา
รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการได้เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการไปปฏิบัติงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม
อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร
และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้รับ
นำมาถ่ายทอดให้แก่นิสิตนักศึกษา
เพื่อผลิตนิสิตนักศึกษาที่มีคุณภาพในการรองรับต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และมติคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘ ก.พ.อ.
จึงกำหนดมาตรฐานภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจและเป้าหมายของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
ภาระงานสอน หมายถึง
การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ครอบคลุมการสอนทุกประเภท เช่น งานสอนแบบบรรยาย
งานสอนปฏิบัติการ งานสอนภาคสนาม งานควบคุมวิทยานิพนธ์ เป็นต้น
ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น
หมายถึง งานศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบตามกระบวนการวิธีวิจัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่จะนำไปสู่การประยุกต์ในด้านต่าง
ๆ ทั้งนี้
รวมถึงการวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจบริการ และชุมชนท้องถิ่น
เพื่อแก้ปัญหา เชิงเทคนิค และวิศวกรรม การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
และการบริหารจัดการ รวมถึงงานวิชาการประเภทอื่น ๆ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ภาระงานบริการวิชาการ หมายถึง
งานที่มีลักษณะนำความรู้ที่มีอยู่แล้วไปช่วยทำความเข้าใจกับปัญหา แก้ปัญหา
หรือปรับปรุงพัฒนาตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงงานส่งเสริมเผยแพร่ความรู้
ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพต่อกลุ่มบุคคล สังคม
ภาระงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม หมายถึง
งานหรือกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นการดำรงไว้ซึ่งคุณค่า
อัตลักษณ์ของท้องถิ่น เอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งปลูกฝังความเป็นชาติ ในลักษณะต่าง ๆ
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๓ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งดำรงตำแหน่งวิชาการ ต้องมีภาระงานไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ ๓๕ ชั่วโมง ดังนี้
(๑) ภาระงานสอน
(๒) ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น
(๓) ภาระงานบริการวิชาการ
(๔) ภาระงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
(๕) ภาระงานอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา
และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดสัดส่วนภาระงานด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านตาม
(๑) ถึง (๕) และวิธีการคิดภาระงานให้สอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละสถาบัน
ข้อ ๕ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดผลงานทางวิชาการ
โดยคำนึงถึงความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นที่ยอมรับในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ
หรือระดับนานาชาติ ให้สอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละสถาบัน โดยผลงานทางวิชาการที่กำหนดสอดคล้องกับประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจลดหรือยกเว้นภาระงานให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร และอาจกำหนดมาตรฐานภาระงานที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้นก็ได้
ข้อ ๗ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หลังจากที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
และรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบภายในเก้าสิบวัน
นับแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นชอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ สิงหาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๖ สิงหาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๖๕/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
817396 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
ตามประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิม
ส่งผลให้คณาจารย์ไม่สามารถนำผลงานทางวิชาการที่เป็นผลงานก่อนได้รับการแต่งตั้งซึ่งมีการเตรียมผลงานทางวิชาการไว้แล้วมาใช้ในการยื่นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
ดังนั้น ก.พ.อ. จึงเห็นควรกำหนดระยะเวลาผ่อนผันในช่วงเปลี่ยนผ่านเกณฑ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศ ก.พ.อ นี้ ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒/๑ แห่งประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสาม
ของข้อ ๓ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการพัฒนาคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
ข้อ
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๑๗
แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๑๗ ในวาระเริ่มแรก มิให้นำความในวรรคสี่
ของข้อ ๕.๒.๓ และวรรคสามของข้อ ๕.๓.๓ มาใช้บังคับแก่การยื่นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการก่อนวันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ แต่ต้องเสนอผลงานทางวิชาการที่ทำเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิมด้วย ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้น
ได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
(peer review) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดหลักเกณฑ์การนำผลงานทางวิชาการก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการมายื่นเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นได้
โดยกำหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขอื่นที่สูงกว่ามาตรฐานตามวรรคหนึ่งก็ได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๗ กุมภาพันธ์
๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง/หน้า ๖/๒๖ ตุลาคม
๒๕๖๑ |
684849 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/03/2556)
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔[๒]
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามข้อ ๕.๑.๓
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้มีผลใช้บังคับ ดังนี้
(๑)
กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รายใดที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้พิจารณาก่อนวันที่
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ และยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๒) กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ตาม (๑)
รายใดมีผลการประเมินผลงานทางวิชาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕.๑.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อ ๒
โดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขได้
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓[๓]
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ
๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒)
มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒)
ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓[๔]
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
๑.๓ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๒.๓ (๑) และ (๒) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓[๕]
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
๑.๓ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่ ๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม
โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ
ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๔) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๓.๓ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๖]
สภาสถาบันอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรก เพิ่มเติมได้อีก ๒ คน
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคม โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง[๗]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง
พร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
สภาสถาบันอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรก เพิ่มเติมได้อีก ๒ คน
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคม โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ.
ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง[๘]
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่น การเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้นเป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๙]
ข้อ
๑๑[๑๐]
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุน และการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา เป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๑๑] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณา
โดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๑๒]
กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๑๓]
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๑๔] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๑๕]
การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จ เว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๑๖]
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๑.๑[๑๗]
แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓) (แก้ไขเพิ่มเติม)
๑.๒[๑๘]
แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
(แก้ไขเพิ่มเติม)
๑.๓
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๔
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๕
แนวทางการประเมินผลการสอน
๑.๖
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
๑.๗
ตัวอย่างแนบท้าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๙]
(ยกเลิก)[๒๐]
ข้อ
๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้ ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๒๑]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๒๒]
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๓]
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔[๒๔]
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๕]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕[๒๖]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖[๒๗]
ข้อ ๘ คำนิยาม รูปแบบ
การเผยแพร่ ลักษณะคุณภาพ ลักษณะการมีส่วนร่วม
และแนวทางการประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
๑.๑
แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓)
๑.๒
แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
๑.๓
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการรับใช้สังคม
๑.๔
แนวทางการประเมินผลงานวิชาการรับใช้สังคม
๑.๕
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่ และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๕.๑.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๔] ข้อ ๕.๒.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ข้อ ๕.๓.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๖] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า ซึ่งเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๗] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคหก เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๘] ข้อ ๖.๒.๓ วรรคเจ็ด เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๙] หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึง ข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๑] ข้อ ๑๑/๑ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๒] ข้อ ๑๑/๒ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๓] ข้อ ๑๑/๓ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๔] ข้อ ๑๑/๔ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๕] ข้อ ๑๑/๕ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๖] เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๗] แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ. ๐๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๘] แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ. ๐๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๒๐] ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ยกเลิกโดยเงื่อนเวลาสิ้นสุด
[๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๒๔] ข้อ ๔ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๒๓/๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
[๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๓๗/๘ มีนาคม ๒๕๕๖ |
676685 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ณ วันที่ 18/10/2555) | ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน
ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้
๒ วิธี คือ การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และ การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชา นั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓[๒] ผลงานทางวิชาการ
ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กาหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑)
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคมหรือประเทศ
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒)
ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้น
มีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอนซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ
ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนด
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอาจกำหนดการยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๓]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่นการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่งให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ
ก.พ.อ. เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ
ไปและห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๔]
ข้อ
๑๑[๕]
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๖] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ
ให้มีมติรับไว้พิจารณาโดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๗] กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๘]
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๙] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๑๐] การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จเว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๓)
๒.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๑]
ข้อ
๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๒]
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๓]
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๔]
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษา
ได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ต่อไปจนแล้วเสร็จ
ณัฐพร/ผู้จัดทำ
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๕.๑.๓ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๔] หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๑/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๑/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] ข้อ ๑๑/๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ข้อ ๑๑/๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ข้อ ๑๑/๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
684847 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/01/2556)
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔[๒]
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามข้อ ๕.๑.๓
ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้มีผลใช้บังคับ ดังนี้
(๑)
กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รายใดที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้พิจารณาก่อนวันที่
๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ และยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
(๒) กรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ตาม (๑)
รายใดมีผลการประเมินผลงานทางวิชาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕.๑.๓ ตามประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อ ๒
โดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๕.๑.๓
ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขได้
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓[๓]
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑)
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคมหรือประเทศ
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๒.๓ (๑) และ (๒) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๔]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง
พร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น โดยวิธีที่
๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่น การเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้นเป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ
ก.พ.อ. เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ ไป
และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๕]
ข้อ
๑๑[๖]
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุน และการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา เป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๗] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณา
โดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๘] กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๙] สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๑๐] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๑๑] การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จ เว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
๑.๑
แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.อ.๐๓)
๑.๒
แบบเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยผู้บังคับบัญชา (ก.พ.อ.๐๔)
๑.๓
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๔
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
๑.๕
แนวทางการประเมินผลการสอน
๑.๖
คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
๑.๗
ตัวอย่างแนบท้าย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๒]
(ยกเลิก)[๑๓]
ข้อ
๒ การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๔]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๕]
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๖]
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔[๑๗]
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๘]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๙]
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๙ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๕.๑.๓ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า ซึ่งเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๕] หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๑/๑ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] ข้อ ๑๑/๒ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ข้อ ๑๑/๓ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ข้อ ๑๑/๔ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๑] ข้อ ๑๑/๕ เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๑๓] ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ยกเลิกโดยเงื่อนเวลาสิ้นสุด
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
[๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑๗] ข้อ ๔ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๒๓/๒๕ มกราคม ๒๕๕๖ |
831313 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
พ.ศ.
๒๕๖๐
เพื่อให้หลักเกณฑ์การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ เป็นช่องทางในการพัฒนาคุณภาพวิชาการและนวัตกรรมของประเทศ
รวมทั้งครอบคลุมผลงานที่คณาจารย์ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตนมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
ตลอดจนผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาไทยก้าวสู่ความเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับนานาชาติและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบังคับ
ทั้งนี้ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพันธกิจและนโยบายการพัฒนาอาจารย์ของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาได้
แต่ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานกลางที่ ก.พ.อ. กำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศ
ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. ดังนี้
๑.๑ ประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
๑.๒ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
๑.๓ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
๑.๔ ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
๑.๕ ประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖
๑.๖ ประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒/๑[๒] (ยกเลิก)
หมวด
๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓ ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ประกอบด้วย
๓.๑ ประธานกรรมการ
ซึ่งต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๓.๒ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มิใช่บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษานั้น
ๆ โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
การพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖
ถึงข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการพัฒนาคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น[๓]
ข้อ ๔ การพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ผลการสอน ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตามที่กำหนดในประกาศนี้และเอกสารแนบท้าย
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้ ๒ วิธี คือ
การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และการแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหกปี หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์ และทำการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
และพ้นระยะทดลองการปฏิบัติงานที่กำหนดโดยสถาบันนั้น ๆ
ในกรณีที่ผู้ขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการเคยได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่
ก.พ.อ. รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค หรือปฏิบัติงานด้านวิชาชีพที่ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เสนอขอกำหนดตำแหน่งมาแล้ว
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอน หรือปฏิบัติงานด้านวิชาชีพนั้นมารวมคำนวณเวลาในการสอนให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
ในกรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่ม ให้นับระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒ ผลการสอน ต้องประเมินคุณภาพการสอนของผู้ขอที่ครอบคลุมข้อมูลที่จำเป็นทุก
ๆ ด้าน
โดยเฉพาะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และสามารถประเมินการเรียนรู้ได้ผลถูกต้องที่สุด
ทั้งในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ แต่สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้สูงขึ้นตามระดับตำแหน่งที่ประเมินได้
ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีความชำนาญในการสอน จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
สำหรับกรณีที่ผู้ขอได้ทำการสอนหลายวิชาหรือสอนวิชาที่มีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอน
ในทุกวิชาหรือทุกหัวข้อที่ผู้ขอเป็นผู้สอน แล้วแต่กรณี
ซึ่งรวมกันได้ไม่น้อยกว่าสามหน่วยกิตระบบทวิภาค และมีคุณภาพดีมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันตามข้อ
๕ แนวทางการประเมินผลการสอนในเอกสารแนบท้าย
๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดี
และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ หรือ
(๓) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑
เรื่อง หรือ
(๔) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และตำราหรือหนังสือ ๑ เล่ม
สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้น
ผู้ขออาจใช้ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคมหรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดีมาก แทนงานวิจัย
ตาม (๒) - (๔) ได้
การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
ประกาศนียบัตร หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ
ตามข้อนี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม
จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้าย
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
ไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
รวมถึงไม่คัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตน
โดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองเพื่อแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน
(๔)
ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ปราศจากอคติ และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบ
โดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
(๖)
หากผลงานทางวิชาการมีการใช้ข้อมูลจากการทำการวิจัยในคนหรือสัตว์
ผู้ขอตำแหน่งจะต้องยื่นหลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบันที่มีการดำเนินการ
๕.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผู้ขอต้องดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๒.๒ ผลการสอน ให้นำความในข้อ ๕.๑.๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่ต้องมีความชำนาญพิเศษในการสอน
๕.๒.๓ ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการ ได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑
ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดี และมีปริมาณอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๑ รายการ
หรือ
(๓) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม ๑
เรื่อง
และ
(๔) ตำรา หรือ หนังสือ ๑ เล่ม
วิธีที่ ๒
ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพ และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยอย่างน้อย ๓
เรื่อง ซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง
และมีคุณภาพดี ๑ เรื่อง หรือ
(๒) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งมีคุณภาพดี หรือ
(๓) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก อย่างน้อย ๒ เรื่อง
และผลงานวิชาการรับใช้สังคมซึ่งมีคุณภาพดี
สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยวิธีที่ ๒ นั้น ผู้ขออาจใช้ตำราหรือหนังสือซึ่งมีคุณภาพดีมาก
อย่างน้อย ๒ เล่มและมีคุณภาพดี ๑ เล่ม แทนผลงานตาม (๑) - (๓) ได้
การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ
ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ประกาศนียบัตร
หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ตามข้อนี้จะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม
จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด
ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิม
และต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้าย
๕.๒.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผู้ขอต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒ ผลการสอน
ผู้ขอต้องมีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
๕.๓.๓ ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๕ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย ๕ เรื่อง
และ
(๓) ตำรา หรือ หนังสือ ๑ เล่ม
วิธีที่ ๒ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และมีปริมาณอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๕ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย ๕ เรื่อง
สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นั้น
ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีมาก และมีปริมาณอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๒ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑
และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย
๒ เรื่อง
และ
(๓) ตำรา หรือ หนังสือ ๒ เล่ม
วิธีที่ ๒
ผลงานทางวิชาการต้องประกอบด้วยผลงานซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และมีปริมาณอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัย ๓ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ๑ เรื่อง
ซึ่งต้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามที่
ก.พ.อ. กำหนด หรือฐานข้อมูล TCI กลุ่ม ๑ หรือ
ตำราหรือหนังสือ ๑ เล่ม และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม
รวมกันทั้งหมดอย่างน้อย ๓ เรื่อง หรือ
(๓) ตำรา หรือ หนังสือ ๓ เล่ม
การนำงานวิจัยหรืองานใด ๆ
ที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ประกาศนียบัตร
หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา มาเสนอเป็นผลงานทางวิชาการ ตามข้อนี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้ขอได้แสดงหลักฐานว่าได้ทำการศึกษาหรือวิจัยเพิ่มเติมขยายผลต่อจากเรื่องเดิม
จนปรากฏความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเห็นได้ชัด
ในกรณีเช่นนี้ให้พิจารณาเฉพาะผลการศึกษาหรือวิจัยที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องเป็นผลงานหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิม
และต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้นได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer reviewer) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้าย
๕.๓.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖ วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ โดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการตามเอกสารแนบท้าย
๖.๑.๒ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในสาขาวิชานั้น
ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
(๑) ประธานกรรมการ
ซึ่งต้องแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ.
กำหนด สำหรับสาขาวิชาที่เสนอขอ หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับผลงานที่เสนอขอ
โดยต้องเป็นบุคคลที่มิใช่บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาที่ผู้ขอสังกัดและไม่ได้อยู่ในบังคับบัญชาของสถาบันอุดมศึกษานั้น
รวมทั้งมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดได้ ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ เกณฑ์การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ในกรณีที่ผู้ขอเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคม
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา
ให้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนหรือผู้ที่ปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เสนอขอ
ทำหน้าที่เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคแรกเพิ่มเติมได้ไม่เกินสองคน โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ก.พ.อ ก่อนดำเนินการแต่งตั้ง
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง
พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ก.พ.อ.
จะพิจารณาการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้
รวมทั้งสาระและความถูกต้องเหมาะสมของการพิจารณาอนุมัติ และแจ้งผลการพิจารณาให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทราบต่อไป
และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติตามนั้น
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาของตำแหน่งทางวิชาการที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ขอด้วย
๖.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑ ให้นำความในข้อ ๖.๑.๑ และ ๖.๑.๓
มาใช้บังคับกับการแต่งตั้งตามข้อนี้ด้วยโดยอนุโลม
แต่ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
๖.๒.๒
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๓
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็น เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล
เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๗ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
เช่น การเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
๗.๒ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ ๑ เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
๗.๓ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ ๑ เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่างน้อยห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น
ข้อ ๘ แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ
(แบบ ก.พ.อ. ๐๔) แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
และอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๙ กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้
ไม่ว่าโดยผู้ขอคนเดิมหรือผู้ขอคนใหม่ ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงาน ทางวิชาการนั้นใหม่อีก เว้นแต่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
เห็นว่าเป็นผลงานที่ล้าสมัยหรือมีเหตุสมควรอื่นที่จะไม่ใช้ผลการพิจารณานั้นอีกต่อไป
ในกรณีเช่นนี้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ต้องระบุเหตุผลทางวิชาการโดยชัดแจ้งด้วย
หมวด
๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่น ไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
หรือนำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
หรือคัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตนโดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
หรือละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน
เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และกระทำการใด ๆ
ที่เบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัยและไม่เสนอผลงานตามความเป็นจริง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้น และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
แต่ไม่เกินสิบปี นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒ กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้วหากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้ โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองหรือนำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
หรือคัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตนโดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่ หรือละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน
เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น และกระทำการใด ๆ
ที่เบี่ยงเบนผลการศึกษาหรือวิจัยและไม่เสนอผลงานตามความเป็นจริง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
สำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ. เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ถอดถอน และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
แต่ไม่เกินสิบปี นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด
๓
การเสนอขอทบทวนผลการพิจารณา
ข้อ ๑๑ กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขออาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุน
และการขอทบทวนดังกล่าวแต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับทราบมติ
ภายใต้บังคับข้อ ๖.๑.๔
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑) การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณา โดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒) การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก) ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข) ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
จากที่แต่งตั้งไว้เดิม จำนวนสองถึงสามคนเพื่อพิจารณาคำชี้แจง
ข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอ ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ ๑๓ กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ ๑๔ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการที่ยื่นไว้เดิมทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น ทั้งนี้ หากผู้ขอมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ภายใต้บังคับข้อ ๖.๑.๔.
กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๕ การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่ง ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล
ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๖ และ (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
ต่อไปจนแล้วเสร็จ ทั้งนี้
สภาสถาบันอุดมศึกษาจะแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ได้ไม่ก่อนวันที่ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับนั้น ๆ
มีผลบังคับใช้
ข้อ ๑๖ มิให้นำความในข้อ ๓ (๓.๑)
มาใช้บังคับกับสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งไม่มีกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ข้อ
๑๗[๔]
ในวาระเริ่มแรก มิให้นำความในวรรคสี่
ของข้อ ๕.๒.๓ และวรรคสามของข้อ ๕.๓.๓ มาใช้บังคับแก่การยื่นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการก่อนวันที่
๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ แต่ต้องเสนอผลงานทางวิชาการที่ทำเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเดิมด้วย ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการทุกประเภทต้องได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
พร้อมแสดงหลักฐานว่าการเผยแพร่นั้น ได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ๆ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (peer review) ที่มาจากหลากหลายสถาบันตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดหลักเกณฑ์การนำผลงานทางวิชาการก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการมายื่นเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้นได้
โดยกำหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขอื่นที่สูงกว่ามาตรฐานตามวรรคหนึ่งก็ได้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้ายประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.
๒๕๖๐ (ก.พ.อ. ๐๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๕]
ข้อ ๑
ประกาศ ก.พ.อ นี้ ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๕
มีนาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๔๓/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๒] ข้อ
๒/๑ ยกเลิกโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓] ข้อ ๓
วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๔] ข้อ ๑๗
เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖๙ ง/หน้า ๖/๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ |
615471 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการจำแนกตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2552
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการจำแนกตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ. จึงกำหนดมาตรฐานการจำแนกตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๒
ข้อ ๒ ตำแหน่งวิชาการ
เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การศึกษา
การอบรม การวิจัยค้นคว้าในสาขาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
การให้คำแนะนำปรึกษาแก่นิสิตนักศึกษา การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(๑)
ศาสตราจารย์
(๒)
รองศาสตราจารย์
(๓)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๔)
อาจารย์
ข้อ ๓ ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่
ตำแหน่งที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานทั่วไปในสำนักงานอธิการบดีหรือสำนักงานวิทยาเขต
หรือในฐานะหัวหน้าส่วนราชการภายในสำนักงานอธิการบดี
หรือในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจและหน้าที่ในการบริหารงานทั่วไปในคณะ สถาบัน
สำนัก ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
ซึ่งแบ่งส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษา
โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมากหรือสูงมากเป็นพิเศษที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ข้อ ๔ ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร มี ๒ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า
(๒)
ตำแหน่งผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า
ข้อ ๕ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ได้แก่
ตำแหน่งปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาซึ่งไม่อาจมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิด้านอื่นปฏิบัติงานแทนได้
ตำแหน่งประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ
ได้แก่
ตำแหน่งปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นงานเชี่ยวชาญเฉพาะตามภารกิจหลักของหน่วยงาน
และจะต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาที่มีความสามารถและมีประสบการณ์เป็นอย่างสูงเฉพาะด้าน
ข้อ ๖ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะและเชี่ยวชาญเฉพาะ
มี ๕ ระดับ ดังต่อไปนี้
(๑)
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเกี่ยวกับทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทางและเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ
ความรู้ใหม่ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ โดยต้องประยุกต์ทฤษฎี แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก
หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน ตลอดจนให้คำปรึกษา แนะนำ
หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
(ข)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาเกี่ยวกับภารกิจหลักของสำนักงานอธิการบดี
โดยใช้ความรู้ ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทางและเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ
ความรู้ใหม่ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติโดยต้องประยุกต์ทฤษฎี
แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก
หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ
แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒)
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเกี่ยวกับทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทางและเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ
ความรู้ใหม่ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ โดยต้องประยุกต์ทฤษฎี
แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน
ตลอดจนให้คำปรึกษา
แนะนำหรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
(ข)
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่มีลักษณะงานที่ใช้วิชาชีพ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุม
กำกับหน่วยงานที่มีลักษณะงานเป็นงานวิชาชีพเฉพาะที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลายและมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนมากเป็นพิเศษ
ตลอดจนกำกับ ตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์
(๓)
ตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน ทักษะ
และประสบการณ์สูงมากในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า
ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล
แนวความคิด วิธีการ เพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข)
ตำแหน่งหัวหน้างานที่มีลักษณะงานที่ใช้วิชาชีพและมิได้ใช้วิชาชีพ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมการปฏิบัติงานที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลาย
และมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ตลอดจนกำกับ
ตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์
(๔)
ตำแหน่งระดับชำนาญการ ได้แก่ ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน ทักษะ
และประสบการณ์สูงในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง
วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล แนวความคิด
วิธีการ เพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข)
ตำแหน่งหัวหน้างานที่มีลักษณะงานที่ใช้วิชาชีพและมิได้ใช้วิชาชีพ
ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมการปฏิบัติงานที่มีขอบเขตเนื้อหาของงานหลากหลาย
และมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนค่อนข้างมาก ตลอดจนกำกับ
ตรวจสอบผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์
(๕)
ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
โดยใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ
ตรวจสอบเฉพาะที่จำเป็น
ข้อ ๗ ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก
หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไปตามประกาศ ก.พ.อ. นี้
ข้อ ๘ ตำแหน่งประเภททั่วไป มี ๓ ระดับ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ตำแหน่งระดับชำนาญงานพิเศษ ได้แก่ ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ
ความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์สูงมากในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย
โดยใช้หรือประยุกต์ หลักการ เหตุผล แนวความคิด วิธีการ
เพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(๒)
ตำแหน่งระดับชำนาญงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์
ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงาน
(ข)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญงาน ทักษะ
หรือประสบการณ์สูงในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า
ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัย โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล
แนวความคิด วิธีการ เพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(๓)
ตำแหน่งระดับปฏิบัติงาน ได้แก่ ตำแหน่งดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับตรวจสอบ หรือตามคำสั่ง
หรือแบบหรือแนวทางปฏิบัติ หรือคู่มือ
(ข)
ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ โดยใช้ความรู้ความสามารถตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ
และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงาน
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๔๑ ง/หน้า ๑๙/๒๘ กันยายน ๒๕๕๒ |
599533 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ. จึงกำหนดมาตรฐานภาระงานทางวิชาการเพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและพัฒนาองค์ความรู้อย่างเหมาะสมต่อการดำรงตำแหน่ง
โดยให้สภาสถาบันอุดมศึกษานำไปออกข้อบังคับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ ต้องมีภาระงานทั้งหมดไม่น้อยกว่าสามสิบห้าหน่วยชั่วโมงต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ
โดยมีภาระงานสอนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบห้าของภาระงานทั้งหมด
ส่วนภาระงานที่เหลือให้เป็นอำนาจของสภาสถาบันอุดมศึกษาในการพิจารณากำหนดสัดส่วนของภาระงานด้านอื่น
ๆ
ในกรณีที่เป็นการสอนระบบทวิภาค
อย่างน้อยต้องมีภาระงานสอนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าสองรายวิชา รายวิชาละสามหน่วยกิต
ในกรณีที่เป็นการสอนรายวิชาที่มีผู้สอนร่วมกันหลายคน
หรือสอนมากกว่าสองรายวิชาภาระงานสอนต้องไม่น้อยกว่าภาระงานสอนตามวรรคสอง
วิธีการคำนวณภาระงานสอนตามวรรคนี้ให้เป็นไปตามสภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดภาระงานสอนและภาระงานอื่นน้อยกว่าที่กำหนดในสองวรรคก่อนก็ได้
โดยให้สอดคล้องกับพันธกิจของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาหรือแต่ละสาขาวิชา
ข้อ ๒ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์อย่างน้อยต้องมีภาระงานดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
(๒)
มีภาระงานที่ปรากฏเป็นผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(ก)
งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ปีละหนึ่งรายการ หรือ
(ข)
ตำรา หรือหนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ปีละหนึ่งรายการ
หรือ
(ค)
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เทียบได้กับงานวิจัยตาม (ก) ปีละหนึ่งรายการ หรือ
(ง)
บทความทางวิชาการ ปีละสองรายการ
ข้อ ๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์อย่างน้อยต้องมีภาระงานดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
(๒)
มีภาระงานที่ปรากฏเป็นผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(ก)
งานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ปีละสองรายการ หรือ
(ข)
ตำรา หรือหนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ปีละสองรายการ หรือ
(ค)
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เทียบได้กับงานวิจัยตาม (ก) ปีละสองรายการ
ข้อ ๔ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
อย่างน้อยต้องมีภาระงานดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
(๒)
มีภาระงานที่ปรากฏเป็นผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(ก)
งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ปีละหนึ่งรายการ
หรือ
(ข)
ตำรา หรือหนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ปีละสองรายการ หรือ
(ค)
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เทียบได้กับงานวิจัยตาม (ก) ปีละหนึ่งรายการ
ในกรณีที่สาขาวิชาใดไม่มีวารสารระดับนานาชาติเผยแพร่ผลงานให้สภาสถาบันอุดมศึกษาประกาศกำหนดวารสารทางวิชาการเพื่อการเผยแพร่
ข้อ ๕ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔
แต่ละรายการอาจเป็นผลงานของผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการแต่ผู้เดียว
หรือเป็นผลงานร่วมกับผู้อื่นตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับสภาพของผลงานและสาขาวิชา
ข้อ ๖ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๒ ข้อ ๓
และข้อ ๔ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยให้สภาสถาบันอุดมศึกษาประกาศรายชื่อวารสารทางวิชาการโดยพิจารณาจากวารสารที่มีกระบวนการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
(peer review) ก่อนเผยแพร่
และเป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับในวงวิชาการแต่ละสาขาวิชา และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบ
ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจลดหรือยกเว้นภาระงานให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
และอาจกำหนดมาตรฐานภาระงานทางวิชาการฯ ที่แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้นก็ได้
ข้อ ๘ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
โดยคำนึงถึงมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ. นี้ ทั้งนี้ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาให้สอดคล้องกับสาขาวิชาและค่าเฉลี่ยของผลงานทางวิชาการทุกประเภท
ข้อ ๙ ให้ใช้มาตรฐานภาระงานทางวิชาการตามประกาศนี้บังคับแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มหาวิทยาลัยนครพนม
และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
และให้สภาสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าว
ดำเนินการออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๒๔/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
601565 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๒
เพื่อความคล่องตัวและประสิทธิภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
จึงกำหนดวิธีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
สำหรับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ทั้งโดยวิธีปกติและโดยวิธีพิเศษ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้
เป็นวรรคห้า ของข้อ ๖.๑.๓ ในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ดังนี้
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอาจกำหนดการยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
614827 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (Update ณ วันที่ 09/01/2552)
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน
ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้
๒ วิธี คือ การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และ การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชา นั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา และมีความชำนาญพิเศษในการสอน
และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้น
มีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอนซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ
ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้
จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนด ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่นการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่งให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ
ไปและห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๒]
ข้อ
๑๑[๓] กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา
เป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๔] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณาโดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๕] กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๖] สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ.กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม
กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๗] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๘] การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จเว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ.๐๓)
๒.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๙]
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒]
หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๓] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๔]
ข้อ ๑๑/๑ เพิ่มเติมโดย ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕] ข้อ ๑๑/๒ เพิ่มเติมโดย ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๑/๓ เพิ่มเติมโดย ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๑/๔ เพิ่มเติมโดย ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] ข้อ ๑๑/๕ เพิ่มเติมโดย ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒ |
676687 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/03/2552)
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน
ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้
๒ วิธี คือ การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และ การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชา นั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา และมีความชำนาญพิเศษในการสอน
และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้น
มีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอนซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ
ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้
จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนด ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอาจกำหนดการยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๒]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่นการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่งให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ
ก.พ.อ. เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ
ไปและห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๓]
ข้อ
๑๑[๔] กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๕] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณาโดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๖] กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๗] สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม
กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๘] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๙] การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จเว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๓)
๒.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๐]
ข้อ
๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๑]
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๒]
ณัฐพร/ผู้จัดทำ
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๓]
หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๔] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕]
ข้อ ๑๑/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๑/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๑/๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] ข้อ ๑๑/๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ข้อ ๑๑/๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ |
570405 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่ง
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงกำหนดมาตรฐานการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
และการตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับการเปลี่ยนตำแหน่ง
การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ดังนี้
ข้อ ๑ การเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
และการตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามมาตรา ๑๘ (ก) (ข) (๗)
และ (๘) หรือ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ ต้องเป็นไปตามกรอบของตำแหน่งอันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และจำนวนของข้าราชการที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา
รวมทั้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด
ข้อ ๒ การเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ทำได้ทุกกรณีทั้งตำแหน่งที่มีคนครอง
ตำแหน่งว่างมีเงินและไม่มีเงิน
กรณีการเปลี่ยนตำแหน่งที่มีคนครองต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะขอเปลี่ยน
ข้อ ๓ การเปลี่ยนระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้ดำเนินการ ดังนี้
(๑)
ให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งได้ไม่ต่ำหรือสูงกว่าระดับควบของแต่ละสายงาน
(๒)
ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานอาจเปลี่ยนระดับตำแหน่งสูงกว่าระดับควบของแต่ละสายงาน
เพื่อรับโอน หรือย้าย หรือบรรจุและแต่งตั้งบุคคลกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๓๔ (๑)
หรือ (๒) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
เมื่อตำแหน่งว่างลงให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งเป็นระดับควบตามเดิมโดยให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งได้ดังนี้
(ก)
ตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (ก)
ให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งได้ไม่เกินระดับสูงสุดของตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑)
(ข)
ตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (ค)
ให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งได้ไม่เกินระดับสูงสุดของตำแหน่งที่บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น
ข้อ ๔ การตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้ทำได้ทุกกรณีทั้งตำแหน่งที่มีคนครอง ตำแหน่งว่างมีเงินและไม่มีเงิน
เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีตัดโอนตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานจากหน่วยงานหนึ่งไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งที่ว่างอยู่ภายในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่ว่างอยู่นั้นต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่ตัดโอน
ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นต้องเปลี่ยนตำแหน่งให้ดำเนินการตามข้อ ๑
(๒)
กรณีตัดโอนตำแหน่งและข้าราชการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
หรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับส่วนราชการอื่น
หากจะต้องตัดโอนอัตราเงินเดือนของตำแหน่งไปด้วยให้สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดและสถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนราชการอื่นที่รับโอนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๓๖/๒๔ มกราคม ๒๕๕๑ |
599531 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการเลื่อนขั้นเงินเดือน
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ดังนี้
ข้อ ๑ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้เลื่อนปีละสองครั้ง คือ วันที่ ๑ เมษายน และวันที่ ๑ ตุลาคม
ข้อ ๒ ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปีละสองครั้ง
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้นำผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดมาเป็นหลัก
พร้อมทั้งพิจารณาประกอบกับข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน
การรักษาวินัยและจรรยาบรรณ การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
และข้อควรพิจารณาอื่น ๆ ด้วย
การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ครั้งที่หนึ่งในวันที่ ๑ เมษายน ให้เลื่อนได้ครึ่งขั้นหรือหนึ่งขั้น
ครั้งที่สองในวันที่ ๑ ตุลาคม
เมื่อได้พิจารณาผลการปฏิบัติงานครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังรวมกันแล้ว
เห็นว่ามีมาตรฐานสูง
ผู้มีอำนาจอาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนตลอดทั้งปีของข้าราชการผู้นั้นได้ไม่เกินสองขั้น
ข้อ ๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นให้เลื่อนได้ตามหลักเกณฑ์ของข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข้อ ๔ สถาบันอุดมศึกษาใดที่มีพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามากกว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอาจนำหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาก็ได้
ทั้งนี้
ให้มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๒๒/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
595953 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
ตามประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดหมวด ๓ การอุทธรณ์
กรณีผลการพิจารณาคุณภาพผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนดไว้นั้น เพื่อให้การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ก.พ.อ. จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก หมวด ๓ การอุทธรณ์ ข้อ ๑๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ
ข้อ ๑๑ กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา เป็นที่สุด
ข้อ ๑๑/๑ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ
ให้มีมติรับไว้พิจารณาโดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ ๑๑/๒ กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ ๑๑/๓ สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ.กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ ๑๑/๔ กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ ๑๑/๕ การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒ |
530509 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือการคัดเลือก
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษาโดยวิธีการสอบแข่งขันหรือการคัดเลือก[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขเพื่อเป็นมาตรฐานให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
โดยวิธีการสอบแข่งขันหรือการคัดเลือกไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ใช้วิธีการสอบแข่งขัน
เว้นแต่มีเหตุพิเศษดังต่อไปนี้จะใช้วิธีการคัดเลือกก็ได้
(๑) กรณีการบรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับทุนการศึกษา
(๒)
กรณีการบรรจุและแต่งตั้งผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาชีพและในระดับคุณวุฒิที่ขาดแคลนตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
(๓) กรณีการบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ
(๔) กรณีอื่นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
ข้อ ๒ สถาบันอุดมศึกษาต้องประกาศหลักสูตร
วิธีการสอบแข่งขันหรือการคัดเลือกเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชี
ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าในเวลาอันควร
ข้อ ๓ การสอบแข่งขันหรือการคัดเลือกต้องดำเนินการโดยองค์คณะบุคคล
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๔๑/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
586347 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา[๑]
โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา ตามประกาศ ก.พ.อ.
ฉบับลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย
ก.พ.อ.
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๙)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
จึงกำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ จรรยาบรรณที่กำหนดจะต้องครอบคลุมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทตำแหน่ง
โดยต้องคำนึงถึงลักษณะงาน ลักษณะวิชาชีพและลักษณะวิชาการด้วย
ข้อ ๒ จรรยาบรรณที่กำหนดต้องยึดมั่นในหลักการต่อไปนี้
(๑)
ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
(๒)
ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
(๓)
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๕)
มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
(๖)
ไม่ใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรมต่อนักศึกษา
ข้อ ๓ จรรยาบรรณที่กำหนดต้องครอบคลุม
(๑)
จรรยาบรรณต่อตนเอง
(๒)
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(๓)
จรรยาบรรณต่อการปฏิบัติงาน
(๔)
จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
(๕)
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา
(๖)
จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
(๗)
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
(๘)
จรรยาบรรณต่อนิสิตนักศึกษาและผู้รับบริการ
(๙)
จรรยาบรรณต่อประชาชน
(๑๐)
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๔ การกระทำผิดจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาดังต่อไปนี้อย่างน้อยให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
(๑)
การนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนโดยมิชอบ
(๒)
การล่วงละเมิดทางเพศหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกับนักศึกษาซึ่งมิใช่คู่สมรสของตน
(๓)
การเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากนักศึกษาหรือผู้รับบริการเพื่อกระทำหรือไม่กระทำการใด
(๔)
การเปิดเผยความลับของนักศึกษาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากความไว้วางใจ ทั้งนี้
โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักศึกษาหรือผู้รับบริการ
(๕)
การสอน หรืออบรมนักศึกษาเพื่อให้กระทำการที่รู้อยู่ว่าผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง
(๖)
การกระทำความผิดอื่นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามสภาพและความร้ายแรงของการกระทำ
ข้อ ๕ ให้มีองค์กรและกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณซึ่งอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานดังต่อไปนี้
(๑)
องค์กรพิจารณาและวินิจฉัยการกระทำความผิดจรรยาบรรณ
จะต้องเป็นคณะบุคคลที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง
(๒)
การริเริ่มดำเนินการทางจรรยาบรรณอาจกระทำได้โดยผู้กล่าวหา
หรือผู้บังคับบัญชาขอให้ดำเนินการ หรือคณะกรรมการจรรยาบรรณเห็นสมควรสอบสวน
(๓)
การสอบสวนและพิจารณาต้องยึดหลักการให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบข้อกล่าวหา
การรับฟังการแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหาอย่างเพียงพอ
การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านผู้สอบสวนหรือกรรมการได้การคุ้มครองผู้กล่าวหาหรือพยานที่เป็นนักศึกษา
ข้อ ๖ การกระทำผิดจรรยาบรรณที่เป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ถ้าไม่เป็นความผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการดังนี้
(๑)
ตักเตือน หรือ
(๒)
สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด หรือ
(๓)
ทำทัณฑ์บน
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้วให้บันทึกไว้ในทะเบียนประวัติบุคคลด้วย
ข้อ ๗ จรรยาบรรณที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดไม่เป็นความผิดวินัย
หรือเป็นความผิดวินัย หรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๘ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีมาตรการส่งเสริมจรรยาบรรณแก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ
โดยอาจกำหนดให้คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือหน่วยงานอื่นมีหน้าที่ดำเนินการดังกล่าว
ข้อ ๙ ในการกำหนดจรรยาบรรณให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๔๑ ง/หน้า ๓๕/๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ |
560699 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ. จึงกำหนดมาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ จรรยาบรรณที่กำหนดจะต้องครอบคลุมข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาทุกประเภทตำแหน่ง
โดยต้องคำนึงถึงลักษณะงาน ลักษณะวิชาชีพและลักษณะวิชาการด้วย
ข้อ ๒ จรรยาบรรณที่กำหนดต้องยึดมั่นในหลักการต่อไปนี้
(๑) ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
(๒) ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
(๔) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๕) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
(๖) ไม่ใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรมต่อนักศึกษา
ข้อ ๓ จรรยาบรรณที่กำหนดต้องครอบคลุม
(๑) จรรยาบรรณต่อตนเอง
(๒) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(๓) จรรยาบรรณต่อการปฏิบัติงาน
(๔) จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน
(๕) จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา
(๖) จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
(๗) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
(๘) จรรยาบรรณต่อนิสิตนักศึกษาและผู้รับบริการ
(๙) จรรยาบรรณต่อประชาชน
(๑๐) จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๔ การกระทำผิดจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาดังต่อไปนี้อย่างน้อยให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
(๑) การนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนโดยมิชอบ
(๒) การล่วงละเมิดทางเพศหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกับนักศึกษาซึ่งมิใช่คู่สมรส
ของตน
(๓) การเรียก รับ
หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากนักศึกษาหรือผู้รับบริการเพื่อกระทำหรือไม่กระทำการใด
(๔)
การเปิดเผยความลับของนักศึกษาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากความไว้วางใจ ทั้งนี้ โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักศึกษาหรือผู้รับบริการ
(๕) การสอน
หรืออบรมนักศึกษาเพื่อให้กระทำการที่รู้อยู่ว่าผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง
(๖)
การกระทำความผิดอื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดตามสภาพและความร้ายแรงของการกระทำ
ข้อ ๕ ให้มีองค์กรและกระบวนการดำเนินการทางจรรยาบรรณซึ่งอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานดังต่อไปนี้
(๑) องค์กรพิจารณาและวินิจฉัยการกระทำความผิดจรรยาบรรณ
จะต้องเป็นคณะบุคคลที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง
(๒)
การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางจรรยาบรรณต่อคณะบุคคลที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง
(๓) การริเริ่มดำเนินการทางจรรยาบรรณอาจกระทำได้โดยผู้กล่าวหา
หรือผู้บังคับบัญชาขอให้ดำเนินการ หรือคณะกรรมการจรรยาบรรณเห็นสมควรสอบสวน
(๔) การสอบสวนและพิจารณาต้องยึดหลักการให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบข้อกล่าวหา
การรับฟังการแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหาอย่างเพียงพอ การเปิดโอกาสให้มีการคัดค้านผู้สอบสวนหรือกรรมการได้
การคุ้มครองผู้กล่าวหาหรือพยานที่เป็นนักศึกษา
ข้อ ๖ โทษทางจรรยาบรรณ ประกอบด้วย
(๑) การตักเตือน
(๒) การภาคทัณฑ์
(๓) การประณาม
(๔) การบันทึกในทะเบียนประวัติบุคคล
(๕) การงดขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภายในเวลาที่กำหนดตามความเหมาะสม
(๖) การห้ามขอตำแหน่งทางวิชาการภายในเวลาที่กำหนดตามความเหมาะสม
(๗) โทษอื่นที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดตามสภาพและความร้ายแรงของความผิด
การกำหนดโทษต้องคำนึงถึงสภาพและความร้ายแรงของความผิด
และอาจกำหนดโทษอย่างเดียว หรือหลายอย่างรวมกันได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการลงโทษทางวินัยหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๗ จรรยาบรรณที่กำหนดจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการประพฤติผิดจรรยาบรรณในเรื่องใดไม่เป็นความผิดวินัย
หรือเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง หรือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๘ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีมาตรการส่งเสริมจรรยาบรรณแก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอโดยอาจกำหนดให้คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือหน่วยงานอื่นมีหน้าที่ดำเนินการดังกล่าว
ข้อ ๙ ในการกำหนดจรรยาบรรณให้สภาสถาบันอุดมศึกษารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๓๖/๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
535991 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ. และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้น ๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ผลการสอน
ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้
๒ วิธี คือ การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และ การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชา นั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓[๒] ผลงานทางวิชาการ
ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ
(๒) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
(๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๑.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องเป็นงานที่มีลักษณะคุณภาพ ๓ องค์ประกอบดังนี้ร่วมด้วย คือ (๑)
ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ (๒) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ และ (๓)
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคมหรือประเทศ
๕.๑.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒)
ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔) ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์
ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง
ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้น
มีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอนซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ
ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ในการพิจารณากำหนด
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒
ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ ๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ในกรณีการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดนั้น สภาสถาบันอาจกำหนดการยกเว้นการประชุมไว้ในข้อบังคับของสภาสถาบัน
โดยให้ถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้[๓]
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่นการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ
หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘
แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓) แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔)
แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙
กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่งให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด ๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์พิเศษ
ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ
ไปและห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด ๓
การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ[๔]
ข้อ
๑๑[๕]
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา
และสามารถเสนอขอทบทวนผลการพิจารณาได้ไม่เกินสองครั้ง
โดยแสดงเหตุผลทางวิชาการสนับสนุนและการขอทบทวนดังกล่าว
แต่ละครั้งให้ยื่นเรื่องได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องการขอทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการแล้ว
ให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
มีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัย
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๑[๖] ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ดำเนินการดังนี้
(๑)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่หนึ่ง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการ
จะมีมติไม่รับการพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการ ให้มีมติรับไว้พิจารณาโดยมอบคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งนั้น
(๒)
การทบทวนผลการพิจารณาครั้งที่สอง
(ก)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งไม่มีเหตุผลทางวิชาการหรือมิได้ชี้แจงข้อโต้แย้งโดยมีเหตุผลเพิ่มเติมจากครั้งที่หนึ่ง
จะมีมติไม่รับพิจารณาก็ได้
(ข)
ในกรณีที่เห็นว่าคำชี้แจงข้อโต้แย้งมีเหตุผลทางวิชาการและได้ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมจากการขอทบทวนครั้งที่หนึ่ง
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
เพื่อพิจารณาคำชี้แจงข้อโต้แย้งและผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้
ให้ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการชุดเดิมทำหน้าที่เป็นประธาน
ข้อ
๑๑/๒[๗]
กรณีมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเพิ่มเติม
ให้สถาบันอุดมศึกษาจ่ายเงินสมนาคุณกรรมการสำหรับการทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการที่แต่งตั้งเพิ่มนั้นด้วย
ข้อ
๑๑/๓[๘] สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาเฉพาะคำชี้แจงข้อโต้แย้งของผลงานทางวิชาการทุกประเภทที่คุณภาพไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนดเท่านั้น หากผู้ขอกำหนดตำแหน่งมีผลงานทางวิชาการใหม่เพิ่มเติม
หรือมีการแก้ไขผลงานเดิม กรณีนี้จะต้องดำเนินการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่
และให้ถือว่าวันที่ยื่นผลงานทางวิชาการเพิ่มเติมหรือวันที่ยื่นขอแก้ไขผลงานเดิมเป็นวันเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการใหม่
ข้อ
๑๑/๔[๙] กรณีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามหมวดนี้
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่สุด
ข้อ
๑๑/๕[๑๐]
การเสนอขออุทธรณ์และการพิจารณาคำอุทธรณ์ผลงานทางวิชาการที่ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ให้ดำเนินการตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐
ต่อไปจนแล้วเสร็จ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จเว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๓)
๒.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๑]
ข้อ
๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑๒]
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑๓]
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๔]
ข้อ ๓
ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา
ดังต่อไปนี้
๑) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
๒) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
๓) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
๕) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษา
ได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ต่อไปจนแล้วเสร็จ
ณัฐพร/จัดทำ
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ศิรวัชร์/ปรับปรุง
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒] ข้อ ๕.๑.๓ แก้ไขเพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๖.๑.๓ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๔] หมวด ๓ การทบทวนผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการ ข้อ ๑๑ ถึงข้อ ๑๑/๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๕] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๖] ข้อ ๑๑/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๗] ข้อ ๑๑/๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๘] ข้อ ๑๑/๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] ข้อ ๑๑/๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] ข้อ ๑๑/๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๓/๙ มกราคม ๒๕๕๒
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๐/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ |
582821 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง วิธีการพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ ของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
วิธีการพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการ
ของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์
ก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับข้อ ๖.๒.๕ ของประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ก.พ.อ.
จึงกำหนดวิธีการพิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์
เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะนำเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ให้ ก.พ.อ.
พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการของบุคคลนั้นตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
กระบวนการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ.อ. กำหนดไว้
(๒)
การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการต้องเป็นไปตามวิธีการที่
ก.พ.อ. กำหนดไว้
(๓)
สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติอนุมัติกำหนดตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชาที่ถูกต้องและวันที่แต่งตั้งมีความถูกต้อง
(๔)
ไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งในประการอื่น
ข้อ ๓ หาก ก.พ.อ.
พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อ ๒ ให้ ก.พ.อ. เสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาสั่งการต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๒๙/๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
562692 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.11 พ.ศ. 2550
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเพื่อให้ผู้ดำรง
ตำแหน่งศาสตราจารย์
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณสมบัติ ผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ที่รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๐ จะประเมินให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑
ในสาขาวิชาเดียวกับสาขาวิชาที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์นั้นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานตามที่
ก.พ.อ. กำหนด มีผลการสอน ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำ วิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
(๒)
ผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้นภายหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาเดิม
และต้องเป็นผลงานวิจัยค้นคว้าใหม่ ๆ
หรืองานริเริ่มอย่างอื่นที่ยังผลให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ
ซึ่งเป็นผลงานในสาขาวิชาเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์
เช่น ผลงานวิจัย ตำรา หนังสือ
หรืองานริเริ่มอย่างอื่นที่ยังผลให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด
กรณีที่มีผู้มีส่วนร่วมหลายคน
ให้ผู้มีส่วนร่วมส่งหลักฐานรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานว่าแต่ละคนมีส่วนร่วมในปริมาณเท่าใด
พร้อมระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบโดยเทียบเคียงกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้มีส่วนร่วมทุกคนในผลงานนั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย
(๓)
เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก)
ได้รับการอ้างอิงในวารสาร ตำรา
หรือหนังสือที่เชื่อถือได้ในวงวิชาการโดยเฉพาะที่เป็นผลงานใหม่
หรือการอ้างอิงผลงานซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่า มีการนำผลงานวิจัยค้นคว้าหรือสิ่งประดิษฐ์ของตนไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
หรือวิชาชีพอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาเดียวกัน
และหลักฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้
(ข)
การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ
ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการนำผลงานทางวิชาการหรือสิ่งประดิษฐ์ของผู้ขอไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการอย่างกว้างขวาง
จนเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพเดียวกัน และหลักฐานดังกล่าวเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้
(ค)
การอ้างอิงตนเองหรือการอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ของศิษย์ที่ตนทำหน้าที่ควบคุมหรือปรึกษาวิทยานิพนธ์
มิให้นำมานับ
(ง)
การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ ควรมีการอ้างอิงทั้งงานเดิมและงานใหม่
อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
และสามารถนับความเป็นแหล่งอ้างอิงได้ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน
(๔)
เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือในวงวิชาการหรือวิชาชีพในสาขาวิชานั้น ๆ ได้แก่
(ก)
ได้รับรางวัล รางวัลเกียรติยศ รางวัลประกาศเกียรติคุณ หรือได้เกียรติบัตรยกย่องทางวิชาการในระดับชาติ
หรือนานาชาติ
(ข)
ได้รับเชิญเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ
ในประเทศหรือต่างประเทศ
(ค)
ได้รับเชิญไปเสนอผลงานทางวิชาการ
หรือบรรยายทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในระดับนานาชาติ
(ง)
ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาเฉพาะด้านในองค์กรวิชาการหรือวิชาชีพ
(จ)
ผลงานทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในลักษณะอื่นที่เทียบเคียงได้
(๕)
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑
ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕.๑.๔ ของประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๓ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ที่รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๐ จะประเมินให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑
ในสาขาวิชาที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเดิมที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานตามที่ ก.พ.อ. กำหนด มีผลการสอน ผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการที่จะประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๒ (๑)
(๒) (๓) (๔) และ (๕) โดยผลการสอนในสาขาวิชาที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเดิมผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษา
ข้อ ๔ วิธีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ที่รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๐ ให้ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนดต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑
พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
(๒)
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอนในสาขาวิชาที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเดิมของผู้ขอกำหนดตำแหน่งตามข้อ
๓ โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
(๓)
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามวิธีการกำหนดไว้ในข้อ
๖.๒.๓ ของประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
หากเสนอขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ ในสาขาวิชาเดิมตามข้อ ๒
ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสามถึงห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการจะต้องมีปริมาณ
คุณภาพ และความสม่ำเสมอต่อเนื่องที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมากตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนดสำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์
หากเสนอขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ ในสาขาวิชาที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเดิมตามข้อ ๓
ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการจะต้องมีปริมาณ คุณภาพ และความสม่ำเสมอต่อเนื่องที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่นตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนดสำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
(๔)
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ
ตาม (๓) แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
(๕)
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้แจ้ง ก.พ.อ. ทราบ
พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๒ (๒) (๓) และ (๔) และแบบคำขอ (ก.พ.อ. ๐๕) จำนวน ๑ ชุด ทั้งนี้ ก.พ.อ.
อาจพิจารณาในสาระและความถูกต้องเหมาะสมของการพิจารณาอนุมัติและจะแจ้งผลการพิจารณาให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่
ก.พ.อ. ได้รับเรื่อง
เว้นแต่ในกรณีมีเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจแจ้งผลการพิจารณาภายในกำหนดได้จะแจ้งให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ
ข้อ ๕ แบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ (ก.พ.อ.๐๕) ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖ การใดที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศ
ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๗ การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ระดับ ๑๑ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด
ในวันที่ประกาศ ก.พ.อ. นี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณสมบัติและผลงานทางวิชาการเพื่อให้ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
ได้รับเงินเดือนในอันดับ ท.๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ.๐๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๒๘/๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ |
530512 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) ประกอบมาตรา ๒๐ และมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
จึงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนด
ระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ดังนี้
ข้อ ๑
กรณีการกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลางซึ่งเป็นตำแหน่งระดับควบต้องเป็นไปตามโครงสร้างระดับตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด กรณีการกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
และตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ในข้อบังคับสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดระดับตำแหน่งโดยยึดหลักการวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่งอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑) หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง
(๒) ความยุ่งยากของงาน ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
(๓) การควบคุม กำกับ ตรวจสอบหรือบังคับบัญชา
(๔) ความรู้ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน
ข้อ ๒
การกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษในข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นตามภารกิจของหน่วยงานที่จะให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) หลักเกณฑ์วิธีการกำหนดหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา (ได้แก่ หน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ เช่น คณะ
สถาบัน สำนัก เป็นต้น)
และหลักเกณฑ์วิธีการกำหนดหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
(ได้แก่ หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ เช่น
สำนักงานอธิการบดี สำนักงานเลขานุการคณะ เป็นต้น)
(๒) หลักเกณฑ์วิธีการกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องกำหนดตัวชี้วัดภาระงานของหน่วยงาน
และลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่ง
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดความยุ่งยากและความซับซ้อนของงาน
ความรู้ความสามารถ ความชำนาญและความเชี่ยวชาญที่ต้องการสำหรับตำแหน่ง ทั้งนี้
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของแต่ละระดับตำแหน่งต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) ตำแหน่งระดับชำนาญการ ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ
ความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือวิจัย
โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผลแนวความคิด
วิธีการเพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข) ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่
ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
โดยต้องประยุกต์ทฤษฎีแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก
หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ
หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
(๓) การกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
กำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา (ได้แก่
หน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ เช่น คณะสถาบัน สำนัก เป็นต้น)
และหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะระดับสำนักงานอธิการบดี
(๔) การกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
กำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา (ได้แก่
หน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ เช่น คณะ สถาบัน สำนัก
เป็นต้น)
ข้อ ๓
การกำหนดระดับตำแหน่งต้องสอดคล้องกับกรอบของตำแหน่งและแผนพัฒนากำลังคนที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด
ข้อ ๔
การกำหนดระดับตำแหน่งดังกล่าว ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส
ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ตามโครงสร้างระดับตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๒) ไม่มีผลให้มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(๓) ไม่มีผลทำให้อัตรากำลังเพิ่มขึ้น
(๔) การกำหนดระดับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานให้เป็นระดับสูงขึ้น
ต้องมีระดับตำแหน่งไม่สูงเท่าระดับตำแหน่งบริหารของหน่วยงานนั้น
(๕) ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด
ข้อ ๕
หลักเกณฑ์วิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน จำแนกตามประเภทตำแหน่ง ดังนี้
(๑) ตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นและระดับกลาง
ต้องประเมินจากการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
การปฏิบัติงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและคุณภาพของงาน
(ข) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
(ค) ความประพฤติ
(๒) ตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ต้องประเมินจากผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ผลงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ขอบเขตของผลงาน
(ข) คุณภาพของผลงาน
(ค) ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงาน
(ง) ประโยชน์ของผลงาน
(จ) ความรู้ความชำนาญงานและประสบการณ์
(๓) ตำแหน่งผู้บริหารต้องประเมินจากการปฏิบัติงาน
คุณลักษณะและสมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งผู้บริหาร
การปฏิบัติงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
(ข) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
(ค) การวางแผน ควบคุม ติดตามผลการปฏิบัติงานและพัฒนางาน
(ง) การแนะนำ สอนงานและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งผู้บริหารต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารที่ ก.พ.อ.
รับรอง
(๔) ตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องประเมินจากการปฏิบัติงาน
ผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
การปฏิบัติงานและผลงานต้องประเมินอย่างน้อยตามองค์ประกอบ ดังนี้
(ก) ปริมาณงานในหน้าที่
(ข) คุณภาพของงานในหน้าที่
(ค) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ
หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ
กรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ต้องประเมินองค์ประกอบด้านการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคมเพิ่มด้วย
กรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องประเมินองค์ประกอบด้านการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคม
และองค์ประกอบด้านความเป็นที่ยอมรับนับถือในงานด้านนั้นๆ
หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น ๆ เพิ่มด้วย
ทั้งนี้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องมีคุณวุฒิและประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๖
การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
และการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๘ สำหรับตำแหน่งที่ ก.พ.อ.
ได้กำหนดโครงสร้างระดับตำแหน่งเป็นระดับ ๗ - ๘
ต้องดำเนินการเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ ๘ แล้ว
ข้อ ๗
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามประกาศนี้ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ ต้องแต่งตั้ง
โดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา
หรือคณะกรรมการตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษามอบหมาย
ข้อ ๘
การประเมินต้องดำเนินการโดยองค์คณะบุคคลและมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ในกรณีการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องเป็นองค์คณะบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตรงกับวิชาชีพที่เสนอขอ
และเป็นบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้นทั้งหมด โดยต้องพิจารณากำหนดจำนวนกรรมการ
ดังนี้
(๑) วิธีปกติ ต้องแต่งตั้งกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน
(๒) วิธีพิเศษเฉพาะกรณีการประเมินบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ใช้ในกรณีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติต่างไปจากหลักเกณฑ์การขอกรณีตามปกติในเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
หรือกรณีการขอที่มิได้เป็นไปตามลำดับตำแหน่งต้องแต่งตั้งกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่า
๕ คน
ทั้งนี้
การประเมินผลงานโดยองค์คณะบุคคลในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องจัดให้มีการประชุมพิจารณาผลงานร่วมกันเพื่อให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ข้อ ๙
การกำหนดเงื่อนไขของผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณา
อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม
(๒)
ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว
(๓)
กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
ข้อ ๑๐
เกณฑ์การตัดสิน ต้องใช้คะแนนเสียงข้างมาก เว้นแต่โดยวิธีพิเศษ
ต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๔ ใน ๕ ของกรรมการประเมิน
ข้อ ๑๑
กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในประกาศ ก.พ.อ.นี้ ต้องเสนอ ก.พ.อ.
พิจารณาเป็นกรณีไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีแนบท้ายประกาศ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๔๒/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
599529 | ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง วิธีการพิจารณากลั่นกรองการเสนอขอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
วิธีการพิจารณากลั่นกรองการเสนอขอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ก่อนนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ ๐๕๐๙(๒)/ว ๑
ลงวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เรื่อง ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
จึงกำหนดวิธีการพิจารณากลั่นกรองการเสนอขอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ กระบวนการพิจารณากำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
และกระบวนการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดไว้
ข้อ ๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่พิจารณา
วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นตามภารกิจของหน่วยงานที่จะให้มีกรอบตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
และคณะกรรมการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษเพื่อนำเสนอสภาสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดไว้
ข้อ ๔ สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติอนุมัติกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษในชื่อตำแหน่งและวันที่แต่งตั้งที่ถูกต้อง
ข้อ ๕ กระบวนการพิจารณากำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
และกระบวนการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งในประการอื่น
ข้อ ๖ หาก ก.พ.อ.
พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการไม่เป็นไปตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ ก.พ.อ.
เสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาสั่งการต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๒๐/๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
563400 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น มาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษา
และมิใช่ข้าราชการการเมือง และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๒ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
และมิใช่ข้าราชการการเมือง
และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
ข้อ ๑ การรับโอนข้าราชการที่มิใช่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
และมิใช่ข้าราชการการเมือง
และการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่นมาเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องได้รับความยินยอมจากต้นสังกัดเดิม
(๒)
ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
(๓)
ผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้รับโอนได้
ข้อ ๒ การรับโอนข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งตามระบบจำแนกตำแหน่งต้องเป็นการรับโอนมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าเดิม
และรับเงินเดือนในอันดับและขั้นเงินเดือนที่ไม่สูงกว่าเดิม
แต่ในกรณีผู้สอบแข่งขันหรือคัดเลือกได้ให้ได้รับในอันดับและขั้นเงินเดือนในตำแหน่งที่สอบแข่งขันหรือคัดเลือกได้
เว้นแต่ผู้นั้นได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของตำแหน่งที่สอบแข่งขันหรือคัดเลือกได้
จะให้ได้รับในขั้นที่เทียบได้ตรงหรือใกล้เคียงกับขั้นเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิม
แต่ไม่เกินขั้นสูงสุดของตำแหน่งที่สอบแข่งขันหรือคัดเลือกได้ ก็ได้
ข้อ ๓ การรับโอนข้าราชการประเภทอื่นนอกจากข้อ ๒
สภาสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเทียบตำแหน่งเพื่อกำหนดระดับตำแหน่ง
อันดับและขั้นเงินเดือนของตำแหน่งตามประเภทของตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ดังนี้
(๑)
การเทียบเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการตามมาตรา ๑๘ (ก) โดยหลักเกณฑ์และวิธีการเทียบตำแหน่งต้องมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าสู่ตำแหน่งที่
ก.พ.อ.ได้กำหนดไว้
(๒)
การเทียบเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารตามมาตรา ๑๘ (ข) (๗) และ (๘)
(๓)
การเทียบเข้าสู่ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ตามมาตรา ๑๘
(ค)
ประกาศ ณ วันที่ ๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๓/๒๕ กันยายน ๒๕๕๐ |
587481 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ฉบับที่ 2)
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(ฉบับที่ ๒)[๑]]
โดยที่
ก.พ.อ. เห็นควรกำหนดให้มีหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษไว้ในสำนักงานอธิการบดีเพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) มาตรา ๒๐ และมาตรา ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
จึงกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ในสำนักงานอธิการบดี
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่ง
และการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
จึงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งประกาศ ก.พ.อ เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒
กรณีการกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษในข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นตามภารกิจของหน่วยงานที่จะให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งอย่างน้อยต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑)
หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน
วิจัย ให้บริการทางวิชาการ
และหลักเกณฑ์การกำหนดหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งรวมถึงสำนักงานอธิการบดี สำนักงานเลขานุการคณะ
และหน่วยงานอื่นซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
(๒)
ภายใต้บังคับข้อ ๒/๑ หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องกำหนดตัวชี้วัดภาระงานของหน่วยงาน และลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่ง
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดความยุ่งยากและความซับซ้อนของงาน
ความรู้ความสามารถ ความชำนาญและความเชี่ยวชาญที่ต้องการสำหรับตำแหน่ง ทั้งนี้
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของแต่ละระดับตำแหน่งต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก)
ตำแหน่งระดับชำนาญการ ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ
ความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และต้องทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือวิจัย
โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล แนวความคิด
วิธีการเพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข)
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ในหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรืองานพัฒนา ทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่
ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
โดยต้องประยุกต์ทฤษฎีแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก
หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ
หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
(๓)
การกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษกำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการ
และในสำนักงานอธิการบดี
ข้อ ๒
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ดังนี้
ข้อ ๒/๑
ข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่จะใช้ในการกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษในสำนักงานอธิการบดีอย่างน้อยต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังนี้
(๑)
การกำหนดกรอบตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษในสำนักงานอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษา
ต้องเป็นตำแหน่งที่ปฏิบัติภารกิจหลักในด้านต่าง ๆ
ของสำนักงานอธิการบดีซึ่งภารกิจดังกล่าวจะต้องได้เกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบคุณภาพไม่น้อยกว่าหนึ่งองค์ประกอบตามตัวบ่งชี้
และเกณฑ์การประเมินในแต่ละองค์ประกอบดังกล่าว
ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา
ที่คณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษากำหนด
ดังต่อไปนี้
ก)
องค์ประกอบคุณภาพด้านปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
ข)
องค์ประกอบคุณภาพด้านกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา
ค)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
ง)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
จ)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการบริหารและการจัดการ
ฉ)
องค์ประกอบคุณภาพด้านการเงินและงบประมาณ
ช)
องค์ประกอบคุณภาพด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
(๒)
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ หมายถึง
ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง โดยมีลักษณะงานและวัตถุประสงค์
ดังต่อไปนี้
(ก)
ลักษณะงาน
ก
๑) งานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรือ
ก
๒) งานพัฒนาทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่
ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ โดยต้องประยุกต์ทฤษฎี แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
(ข)
วัตถุประสงค์
ลักษณะงานตาม
ก ๑) และ ก ๒) ต้องมีวัตถุประสงค์ในด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านดังต่อไปนี้
ข
๑) เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมากหรือ
ข
๒) เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคคล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ
ข
๓) เพื่อปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๓)
การประเมินภารกิจหลักของสำนักงานอธิการบดีตาม (๑)
และการประเมินลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่งตาม (๒)
ให้แต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันอุดมศึกษาตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนด จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน เพื่อทำหน้าที่พิจารณา วิเคราะห์
เหตุผลความจำเป็นของกรอบตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษและประเมินภารกิจและลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานเพื่อนำเสนอสภาสถาบันอุดมศึกษา
การพิจารณาประเมินภารกิจหลักและหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการพิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งพร้อมปริมาณงานย้อนหลังไม่น้อยกว่าห้าปี
และแผนการปฏิบัติงานของตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีกห้าปี ตลอดจนเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีระดับตำแหน่งเชี่ยวชาญพิเศษดังกล่าว
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ การประเมินต้องดำเนินการโดยองค์คณะบุคคลและมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ในกรณีการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องดำเนินการโดยคณะกรรมการซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
มีความรู้ความสามารถตรงกับวิชาชีพความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญที่เสนอขอ
และเป็นบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้นทั้งหมด ทั้งนี้
ในกรณีการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องแต่งตั้งกรรมการประเมินจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนด
การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามวรรคหนึ่งต้องมีจำนวนกรรมการ
ดังนี้
(๑)
วิธีปกติ ต้องแต่งตั้งกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
(๒)
วิธีพิเศษเฉพาะกรณีการประเมินบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ใช้ในกรณีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติต่างไปจากหลักเกณฑ์การขอกรณีตามปกติในเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
หรือกรณีการขอที่มิได้เป็นไปตามลำดับตำแหน่งต้องแต่งตั้งกรรมการ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
การประเมินผลงานในตำแหน่งระดับชำนาญการโดยคณะกรรมการ
อาจให้กรรมการส่งผลการประเมินให้ผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย แทนการประชุมได้
แต่การประเมินผลงานตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องจัดให้มีการประชุมพิจารณาผลงานร่วมกัน
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔
การใด ๆ ที่ดำเนินการไปโดยชอบด้วยประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ แล้ว ให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยประกาศนี้
แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๔๒/วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๑ |
556238 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ตามประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
กำหนดให้การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์
ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ก.พ.อ. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
สำหรับการกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ทั้งวิธีปกติและวิธีพิเศษดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม
โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ
๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๔ ประกาศ ก.พ.อ.
นี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๘
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ |
614825 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 (Update ณ วันที่ 18/06/2550)
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ.
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศ ก.พ.อ.
และเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้แทน
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ.
นี้นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด
๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ข้อ ๓
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการสภาสถาบันประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
๓.๒
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด
ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถาบันนั้นๆ
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบคน
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ และข้อ ๕ ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๖ -
ข้อ ๑๐
ข้อ ๔
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งผลการสอน
ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้ ๒ วิธี คือ
การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และ การแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ ๕
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๕.๑.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
หรือ
ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ดำรงตำแหน่งอาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
หรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ผู้ใดได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา
หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่าสองหน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้นมาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ
โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้สามในสี่ส่วนของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นรวมกัน
เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๕.๑.๒ ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน
และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชา
นั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๑.๓ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑
ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
๑.๒ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ
หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
๕.๑.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ดังนี้
(๑) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
รวมทั้งไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ
ในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่
(๒) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในผลงานทางวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า
(๓)
ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน
(๔)
ผลงานทางวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง
และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว
หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
และเสนอผลงานตามความเป็นจริงไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
(๕)
ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย
๕.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๕.๒.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
๕.๒.๒ ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา และมีความชำนาญพิเศษในการสอน
และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน
ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชาซึ่งแต่ละวิชานั้น
มีผู้สอนร่วมกันหลายคน
จะต้องเสนอเอกสารคำสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอนซึ่งมีคุณภาพดี
และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๒.๓ ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑
ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ
หรือ
๑.๒ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี
และ
(๒) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ
ซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๒.๓ (๑) และ (๒)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๕.๒.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนด ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
๕.๓
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๕.๓.๑ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
๕.๓.๒ ผลการสอน
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน
โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๕.๓.๓ ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้
๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่ ๑ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้
ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ หรือ
๑.๒ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
วิธีที่ ๒ ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้
(๑) ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใดๆ
หรือ
(๒) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น หรือ
(๓) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ ๕.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓)
ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้
ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
๕.๓.๔ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในการพิจารณากำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕.๑.๔
ข้อ ๖
วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ ให้ดำเนินการดังนี้
๖.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์
๖.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอรับการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ที่ ก.พ.อ.
กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๑.๓ ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑) ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้นๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นรายๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง
และแจ้งให้ ก.พ.อ. ทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
และแบบคำขอฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๖.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
๖.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอฯ ที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๖.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๖.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ในสาขาวิชานั้นๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑)
ประธานกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่ ๑
ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามถึงห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่ ๒
ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนห้าคนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
เพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้นๆ
โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นรายๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
โดยวิธีที่ ๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๖.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๖.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณา
๖.๒.๕ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาอนุมัติแล้ว
ให้เสนอ ก.พ.อ.
ให้ความเห็นเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และแบบคำขอฯ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้
(เช่นการเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน
หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่แตกต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม)
โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๗.๑
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก
๗.๒
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ ๑
เท่านั้น
และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน
พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง
ทั้งนี้ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น
ข้อ ๘ แบบคำขอฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๓)
แบบเสนอแต่งตั้งฯ (แบบ ก.พ.อ. ๐๔) แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ
ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๙ กรณีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในระดับตำแหน่งและสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการมาแล้ว
หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการคราวก่อน
มาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการใหม่ อีกครั้งหนึ่งให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ
ใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละชิ้นที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น
โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก
หมวด
๒
การลงโทษ
ข้อ ๑๐
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณากำหนดมาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอกำหนดตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการดังต่อไปนี้
๑๐.๑
กรณีที่ตรวจพบว่าผู้ขอกำหนดตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้งดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณีๆ
ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติ
๑๐.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้น
เป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองให้สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์พิเศษ ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์พิเศษ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.
เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน
และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณีๆ
ไปและห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี
นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันอุดมศึกษามีมติให้ถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวด
๓
การอุทธรณ์
ข้อ ๑๑
กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการอาจยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณานั้นได้
โดยยื่นอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องอุทธรณ์แล้วให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาคำอุทธรณ์
เมื่อมีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาวินิจฉัยและให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาถือเป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๒
การพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องไว้แล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ให้ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ต่อไปจนแล้วเสร็จเว้นแต่การละเมิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ให้ใช้ประกาศนี้บังคับ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน
ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ.๐๓)
๒.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ (ก.พ.อ. ๐๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศ
ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒]
ข้อ ๒
การพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ที่มีผลการประเมินเป็นเอกฉันท์ว่าคุณภาพของผลงานทางวิชาการของผู้ขอกำหนดตำแหน่งอยู่ในเกณฑ์หรือไม่อยู่ในเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง
ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
จะไม่กำหนดให้มีการประชุม โดยถือเอาผลการประเมินดังกล่าวเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการก็ได้
ข้อ ๓ ประกาศ ก.พ.อ. นี้
ให้ใช้บังคับกับการพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์
ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ดวงเพ็ญ/พิมพ์
ดำรง/ปรับปรุง
๑๓ มีนาคม๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/๒ เมษายน ๒๕๕๐
[๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๘๑/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ |
658928 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ มาตรา ๔๙ วรรคสาม มาตรา ๕๐ วรรคสอง มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๖๕
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ คำสั่ง
และประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้
ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นายกสภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ผู้บังคับบัญชา หมายความว่า
ผู้บังคับบัญชาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บังคับบัญชาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏและตำแหน่งอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานในส่วนราชการของมหาวิทยาลัย
โดยออกเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดมหาวิทยาลัย
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือน
ในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน
พนักงานมหาวิทยาลัย หมายความว่า
พนักงานมหาวิทยาลัยตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย
ก.พ.อ. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ หมายความว่า
คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการบริหารมหาวิทยาลัย
ข้อ
๕ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
หมวด ๑
หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนพิจารณา
ข้อ
๖ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่ข้าราชการจะกระทำได้ต่อเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย
หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน
และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า
เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการที่กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงที่ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ข้อ
๗ ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้นรายงานเป็นหนังสือให้อธิการบดีทราบโดยพลัน
เมื่ออธิการบดีได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง
หรือมีกรณีกล่าวหาต่ออธิการบดี
หรือความปรากฏต่ออธิการบดีว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้อธิการบดีพิจารณาดำเนินการต่อไปโดยเร็ว
ข้อ
๘ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ
๙ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือน
หรือพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวนอย่างน้อยสามคน
ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ที่ดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
และกรรมการอย่างน้อยอีกสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือพนักงานมหาวิทยาลัยก็ได้
และให้นำข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คณะกรรมการสอบสวนต้องมีผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย
อย่างน้อยหนึ่งคน
เมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนแล้ว
แม้ภายหลังประธานกรรมการจะดำรงตำแหน่งระดับต่ำกว่าหรือเทียบได้ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่กระทบถึงการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ
ข้อ
๑๐ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องระบุชื่อ
และตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาเรื่องที่กล่าวหา
ชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนและผู้ช่วยเลขานุการ
(ถ้ามี)
โดยในคำสั่งให้ระบุไว้ด้วยว่าเป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ ให้มีสาระสำคัญตามแบบ วน.๑
ท้ายข้อบังคับนี้
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไม่กระทบถึงการที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
ข้อ
๑๑ เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
แจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อ
และวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ ให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับด้วย
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับทราบคำสั่งหรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้
ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
(๒)
ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวน
และส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่ารับทราบตาม (๑)
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา ให้ประธานกรรมการ
และให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๒ เมื่อได้รับเรื่องตามข้อ ๑๑ (๒)
แล้ว
ให้ประธานกรรมการดำเนินการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวางแนวทางการสอบสวนต่อไป
ข้อ
๑๓ การประชุมคณะกรรมการสอบสวนต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่การประชุมตามข้อ ๒๒ และข้อ ๓๗
ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
การประชุมคณะกรรมการสอบสวนต้องมีประธานกรรมการอยู่ร่วมประชุมด้วย
แต่ในกรณีจำเป็นที่ประธานกรรมการไม่สามารถเข้าประชุมได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทน
การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการสอบสวนให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ
๑๔ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาจำนวนไม่เกินหนึ่งคน
เข้าร่วมฟังการสอบสวนในการประชุมที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบได้
แต่ทนายความหรือที่ปรึกษาจะให้ถ้อยคำหรือตอบคำถามแทนผู้ถูกกล่าวหาหรือเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสอบสวนไม่ได้
ให้ทนายความหรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๕ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑)
รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามเรื่องที่กล่าวหา
(๒)
มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองผู้ถูกกล่าวหา
(๔)
เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดา
มารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาของผู้กล่าวหา
(๕)
มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม
การคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโดยแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือคัดค้านด้วยว่าจะทำให้การสอบสวนไม่ได้ความจริงและความยุติธรรมอย่างไร
ในการนี้ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งสำเนาหนังสือคัดค้านและแจ้งวันที่ได้รับหนังสือคัดค้านดังกล่าวให้ประธานกรรมการทราบและรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย
ในการพิจารณาเรื่องการคัดค้าน
ผู้ซึ่งถูกคัดค้านอาจทำคำชี้แจงได้ หากผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าหนังสือคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้
ให้สั่งให้ผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน
หากเห็นว่าหนังสือคัดค้านไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้
ให้สั่งยกคำคัดค้านนั้นโดยให้สั่งการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือคัดค้าน
ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการดังกล่าวด้วย
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนโดยเร็ว
การสั่งยกคำคัดค้านให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในสิบห้าวันตามวรรคสาม
ให้ถือว่าผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน
และให้เลขานุการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการตามข้อ
๑๗ ต่อไป
การพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน
ไม่กระทบถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนเห็นว่าตนมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านตามข้อ
๑๕ วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และให้นำข้อ ๑๕
วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ภายใต้บังคับข้อ ๙
เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเพิ่มหรือลดจำนวนผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
ให้ดำเนินการได้โดยให้แสดงเหตุแห่งการสั่งนั้นไว้ด้วย และให้นำข้อ ๑๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งไม่กระทบถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ
๑๘ คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนตามหลักเกณฑ์
วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับนี้
เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดกระบวนการสอบสวน
ในการนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมประวัติและความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาและจัดทำบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนไว้ทุกครั้งด้วย
ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสอบสวน
ข้อ
๑๙ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถสอบสวนให้แล้วเสร็จในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้
ให้คณะกรรมการสอบสวนขอขยายเวลาการสอบสวนต่อนายกสภามหาวิทยาลัยก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและให้นายกสภามหาวิทยาลัยขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๒๐ การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้กรรมการสอบสวนบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร
จากผู้ใด และเมื่อใด
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับ
แต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้
จะใช้สำเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้องก็ได้
ถ้าหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลาย
หรือโดยเหตุประการอื่น จะให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
ข้อ
๒๑ เมื่อได้พิจารณาเรื่องที่กล่าวหาและวางแนวทางการสอบสวนตามข้อ
๑๒ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกล่าวหามาเพื่อแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหาให้ทราบว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร ในการนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาและมีสิทธิที่จะให้ถ้อยคำ
หรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตลอดจนอ้างพยานหลักฐานหรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒๒
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๒ ท้ายข้อบังคับนี้
โดยทำเป็นสองฉบับเพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
เก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่
อย่างไร
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าการกระทำตามที่ถูกล่าวหาดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด
หากผู้ถูกกล่าวหายังคงยืนยันตามที่รับสารภาพให้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพรวมทั้งเหตุผลในการรับสารภาพ
(ถ้ามี) และสาเหตุแห่งการกระทำไว้ด้วยในกรณีเช่นนี้
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้ หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาโดยละเอียดจะทำการสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
แล้วดำเนินการตามข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาแล้วดำเนินการตามข้อ
๒๒ ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาแล้วแต่ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหาหรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนส่งบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๒
ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหา
ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ หรือสถานที่ติดต่อที่ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งให้ทราบ
พร้อมทั้งมีหนังสือสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่
การแจ้งข้อกล่าวหาในกรณีเช่นนี้ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๒ เป็นสามฉบับ
เพื่อเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
ส่งให้ผู้ถูกล่าวหาสองฉบับโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาเก็บไว้หนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบส่งกลับคืนมารวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าวแม้จะไม่ได้รับแบบ วน. ๒
คืนให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหาแล้ว
และให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามวรรคห้าต่อไป
ข้อ
๒๒ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๑ แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร และเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
หรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด
แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา
โดยระบุข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด
และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบโดยระบุวัน เวลา สถานที่
และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหาสำหรับพยานบุคคลจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๓ ท้ายข้อบังคับนี้โดยทำเป็นสองฉบับ
เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับและให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือไม่
ถ้าผู้ถูกล่าวหาประสงค์จะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ
ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงภายในเวลาอันสมควร
แต่อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อกล่าวหาและสรุปพยานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำเพิ่มเติมรวมทั้งนำสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยเร็ว
การนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง
หรือจะอ้างพยานหลักฐานแล้วขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่าง
ๆ เสร็จแล้วให้ดำเนินการตามข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาแล้วแต่ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบหรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนส่งบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๓
ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
หรือสถานที่ติดต่อที่ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งให้ทราบพร้อมทั้งมีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงนัดมาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
การแจ้งในกรณีนี้ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๓ เป็นสามฉบับ เพื่อเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาสองฉบับโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาเก็บไว้หนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบส่งกลับคืนมารวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว แม้จะไม่ได้รับแบบ วน. ๓
คืน หรือไม่ได้รับคำชี้แจงจากผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำตามนัด
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาแล้วและไม่ประสงค์ที่จะแก้ข้อกล่าวหา
ในกรณีเช่นนี้คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจะสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
แล้วดำเนินการตามข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ ต่อไป
แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหามาขอให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือขอนำสืบแก้ข้อกล่าวหาก่อนที่คณะกรรมการสอบสวนจะเสนอสำนวนการสอบสวนตามข้อ
๓๘
โดยมีเหตุผลอันสมควรให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอ
ข้อ
๒๓ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานตามข้อ
๒๒ เสร็จแล้วก่อนเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ ๓๘
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจำเป็นจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการได้
ถ้าพยานหลักฐานที่ได้เพิ่มเติมมานั้นเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนสรุปพยานหลักฐานดังกล่าวให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้เฉพาะพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่สนับสนุนข้อกล่าวหานั้น
ทั้งนี้ ให้นำข้อ ๒๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๔ ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ยื่นคำชี้แจงหรือให้ถ้อยคำแก้ข้อกล่าวหาไว้แล้วมีสิทธิยื่นคำชี้แจงเพิ่มเติม
หรือขอให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนก่อนการสอบสวนแล้วเสร็จ
เมื่อการสอบสวนแล้วเสร็จและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาคนใหม่ตามข้อ
๓๖
ผู้ถูกกล่าวหาจะยื่นคำชี้แจงต่อบุคคลดังกล่าวก็ได้ในกรณีเช่นนี้ให้รับคำชี้แจงนั้นรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ
๒๕ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
จึงจะสอบสวนได้
ข้อ
๒๖ ก่อนเริ่มสอบปากคำพยาน
ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้พยานทราบว่ากรรมการสอบสวนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อกรรมการสอบสวนอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๒๗ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ห้ามมิให้กรรมการสอบสวนผู้ใดกระทำการล่อลวง ขู่เข็ญ
ให้สัญญาหรือกระทำการใดเพื่อจูงใจให้บุคคลนั้นให้ถ้อยคำอย่างใด ๆ
ข้อ
๒๘ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ซึ่งจะถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน
ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่บุคคลตามข้อ ๑๔
หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน
การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ให้บันทึกถ้อยคำมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๔ หรือแบบ วน. ๕ ท้ายข้อบังคับนี้
แล้วแต่กรณี เมื่อได้บันทึกถ้อยคำเสร็จแล้ว
ให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟังหรือจะให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านเองก็ได้
เมื่อผู้ให้ถ้อยคำรับว่าถูกต้องแล้ว
ให้ผู้ให้ถ้อยคำและผู้บันทึกถ้อยคำลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
และให้คณะกรรมการสอบสวนทุกคนซึ่งร่วมสอบสวนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย
ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายหน้า
ให้กรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกหน้า
ในการบันทึกถ้อยคำ
ห้ามมิให้ขูดลบหรือบันทึกข้อความทับ ถ้าจะต้องแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้วให้ใช้วิธีขีดฆ่าหรือตกเติม
และให้กรรมการสอบสวนผู้ร่วมสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือตกเติม
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ
ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้น
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้นำมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๙ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกบุคคลใดมาเป็นพยาน
ให้บุคคลนั้นมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำตามวัน เวลา และสถานที่ที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
ในกรณีที่พยานมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำหรือไม่มา
หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนตามข้อ ๑๘
และรายงานการสอบสวนตามข้อ ๓๘
ข้อ
๓๐ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น
หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ จะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนตามข้อ ๑๘ และรายงานการสอบสวนตามข้อ
๓๘
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่จะต้องสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่
ประธานกรรมการจะรายงานต่อผู้สั่งแต่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานแทนก็ได้โดยกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่จะต้องสอบสวนไปให้
ในกรณีเช่นนี้ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานเลือกข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างเป็นอื่นที่เห็นสมควรอย่างน้อยอีกสองคนมาร่วมเป็นคณะทำการสอบสวน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะทำการสอบสวนมีฐานะเป็นคณะกรรมการสอบสวนตามข้อบังคับนี้ และให้นำข้อ ๑๓
วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๘ วรรคสอง ข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ ข้อ ๒๗ ข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๓๒ ภายใต้บังคับข้อ ๖
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
กรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยตามรายงาน
ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวนโดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวน
หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่การสวนสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการผู้อื่น
ให้คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาในเบื้องต้นว่าข้าราชการผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วยหรือไม่
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นอยู่ด้วย
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีโดยเร็วต่อไป
ภายใต้บังคับข้อ
๖ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยตามรายงาน
ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้สอบสวนหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
กรณีเช่นนี้ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้สอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนโดยแยกเป็นสำนวนการสอบสวนใหม่
ให้นำสำเนาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในสำนวนการสอบสวนเดิมรวมในสำนวนการสอบสวนใหม่หรือบันทึกให้ปรากฏว่านำพยานหลักฐานใดจากสำนวนการสอบสวนเดิมมาประกอบการพิจารณาในสำนวนการสอบสวนใหม่ด้วย
ข้อ
๓๔ ในกรณีการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและระหว่างสอบสวนถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นที่ควรให้ผู้ถูกกล่าวหาพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวด
๕ ของข้อบังคับนี้ ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเสนอแนะให้มีการสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนต่อไป
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดหรือต้องรับผิดในคดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าว
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว
ให้ถือเอาคำพิพากษานั้นเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องสอบสวนพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา
แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามข้อ
๒๒ ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย
ข้อ
๓๖ ในระหว่างการสอบสวน
แม้จะมีการสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาไปอยู่นอกบังคับบัญชาของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปจนเสร็จแล้วทำรายงานการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ
๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔
และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของผู้ถูกกล่าวหาเพื่อดำเนินการตามข้อ
๓๙ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีต่อไป ทั้งนี้
ให้ผู้บังคับบัญชาคนใหม่มีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ
๔๔ ด้วย
ข้อ
๓๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่าง
ๆ เสร็จแล้วให้ประชุมพิจารณาลงมติดังนี้
(๑)
ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่
ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด และควรได้รับโทษ สถานใด
(๒)
กรณีถูกสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๕๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ อย่างไร
ข้อ
๓๘ เมื่อได้ประชุมพิจารณาลงมติตามข้อ
๓๗ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนทำรายงานการสอบสวนซึ่งมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๖
ท้ายข้อบังคับนี้ เสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้กับรายงานการสอบสวน
โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบสวนด้วย
รายงานการสอบสวนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ
ดังนี้
(๑)
สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่ามีอย่างใดบ้าง ในกรณีที่ไม่ได้สอบสวนพยานตามข้อ
๒๙ และข้อ ๓๐ ให้รายงานเหตุที่ไม่ได้สอบสวนนั้นให้ปรากฏไว้ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพให้บันทึกเหตุผลในการรับสารภาพ
(ถ้ามี) ไว้ด้วย
(๒)
วินิจฉัยเปรียบเทียบพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหากับพยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวหา
(๓)
ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่อย่างไร ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด และควรได้รับโทษสถานใด อย่างไร
หรือให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๕๗ (๙)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
กรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้หรือไม่อย่างไร
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานการสอบสวนแล้ว
ให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งสารบาญต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนแล้วเสร็จ
ข้อ
๓๙ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนการสอบสวนมาแล้วให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนการสอบสวนตามข้อ
๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดหรือไม่มีเหตุที่จะให้ออกจากราชการตามมาตรา
๕๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
สมควรยุติเรื่อง หรือกระทำผิดที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว
(๒)
ในกรณีการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออกให้อธิการบดีพิจารณา
ถ้าเห็นสมควรให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาก็ให้เสนอโดยเร็วและเมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติเป็นประการใดให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี สั่งการให้เป็นไปตามนั้นโดยเร็ว
(๓)
ในกรณีการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าควรให้ผู้ถูกกล่าวหาออกจากราชการตามมาตรา
๕๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาโดยเร็ว
และเมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสองหรือวรรคสาม
แล้วแต่กรณี สั่งให้เป็นไปตามนั้นโดยเร็ว
ข้อ
๔๐ ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด
ให้กำหนดประเด็นพร้อมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเพื่อดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมไม่อาจทำการสอบสวนได้
หรือผู้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมเห็นเป็นการสมควร
จะแต่งตั้งคณะกรรรมการสอบสวนคณะใหม่ขึ้นทำการสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ให้นำข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมไปให้ผู้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็น
ข้อ
๔๑ ในกรณีปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามข้อ
๙ ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘
สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง
ข้อ
๔๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้อง
ให้การสอบสวนตอนนั้นเสียไปเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
การประชุมของคณะกรรมการสอบสวนมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓
วรรคหนึ่ง
(๒)
การสอบปากคำบุคคลดำเนินการไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘ วรรคสอง ข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖
ข้อ ๒๗ ข้อ ๒๘ วรรคหนึ่ง หรือข้อ ๓๑
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี
สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ
๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนไม่เรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหา
และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
หรือไม่ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่มีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง
หรือนัดมาให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามข้อ ๒๒ ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘
หรือสภามหาวิทยาลัยแล้วแต่กรณี สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงให้ถ้อยคำ
และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๒ ด้วย
ข้อ
๔๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับนี้
นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ และข้อ ๔๓
ถ้าการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว
แต่ถ้าการสอบสวนตอนนั้นมิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้
หมวด ๒
การกำหนดโทษและการสั่งลงโทษ
ข้อ
๔๕ ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น ตามควรแห่งกรณี
ให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ข้อ
๔๖ ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาโดยมติสภามหาวิทยาลัยสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้ลงโทษไล่ออก
ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดในกรณีดังต่อไปนี้ให้ลงโทษไล่ออกหรือปลดออก
(๑)
แก้ไขผลการเรียนหรือผลการสอบของนักศึกษาโดยมิชอบ
(๒)
มีหน้าที่ออกข้อสอบแล้วเปิดเผยข้อสอบโดยมิชอบ
(๓)
แอบอ้างเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นผลงานทางวิชาการของตน
(๔)
ล่วงละเมิดทางเพศกับนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียน
(๕)
ประพฤติผิดชู้สาวหรือกระทำอนาจารกับนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนในกรณีร้ายแรง
ข้อ
๔๗ การสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามข้อ
๔๕ ให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
(๑)
อธิการบดี มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
(๒)
ในกรณีที่อธิการบดีกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
ข้อ
๔๘ การสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๔๖
ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามมติสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๔๙ การสั่งลงโทษให้ทำเป็นคำสั่งโดยในคำสั่งให้ระบุว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด และระบุกรณีกระทำผิดกับเหตุผลในการกำหนดสถานโทษไว้ด้วย ทั้งนี้ ให้แจ้งสิทธิ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งด้วย
ข้อ
๕๐ การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามข้อ ๔๗
มิให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง
เว้นแต่การสั่งลงโทษผู้ถูกสั่งพักราชการหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้สั่งลงโทษย้อนหลังได้ตามข้อ
๖๗ (๑) หรือ (๒)
ข้อ
๕๑ การสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามข้อ
๔๘ มิให้สั่งย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑)
การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก
โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก
โดยปกติให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือวันถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
(๒)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกไปแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
การลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีเช่นนี้ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการตามคำสั่งเดิม
แต่ถ้าวันออกจากราชการตามคำสั่งเดิมไม่ถูกต้องก็ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
(๓)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปแล้ว
ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังถึงวันที่ควรต้องลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
(๔)
การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งนั้นได้ออกจากราชการโดยถูกสั่งลงโทษปลดออก
หรือไล่ออก
หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่นหรือได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการไปก่อนแล้วให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการนั้น
(๕)
การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งนั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนแล้วให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ
(๖)
กรณีใดมีเหตุสมควรสั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังก็ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นได้
แต่ ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำให้เสียประโยชน์ตามสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งลงโทษนั้น
ข้อ
๕๒ การสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษเป็นไล่ออกหรือปลดออก
จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใดให้นำข้อ ๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๕๓ การสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษเป็นลดขั้นเงินเดือน
ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งลงโทษเดิมใช้บังคับ ทั้งนี้
การสั่งย้อนหลังดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ถูกสั่งลงโทษได้รับไปแล้ว
ข้อ
๕๔ การสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษตามข้อ
๕๒ และข้อ ๕๓ ให้นำข้อ ๔๙
มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้ระบุเหตุผลในการสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษไว้ในคำสั่งด้วย
ข้อ
๕๕ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการผู้ใดแล้ว
ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยให้สภามหาวิทยาลัยทราบโดยเร็ว
ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยเห็นว่าการยุติเรื่องการงดโทษหรือการลงโทษ
เป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการและสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ได้มีการสั่งการใหม่ให้เพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น หรือลดโทษ
เป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษหรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอันยกเลิก
ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลงอัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก
ในกรณีที่คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิกหรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิกให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิกหรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ
หมวด ๓
การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว
ข้อ
๕๖[๒] ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือเป็นการตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากราชการไปแล้ว
เว้นแต่พ้นจากราชการเพราะเหตุตาย ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม
แล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยตามข้อบังคับนี้ต่อไปเสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้พ้นจากราชการ
แต่ต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นจากราชการและในกรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณา
ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสีย
ในกรณีข้าราชการพ้นจากราชการเพราะเหตุถูกลงโทษไล่ออกจากราชการไปแล้ว
ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาตามวรรคหนึ่งจะลงโทษไม่ถึงกับไล่ออก หรือไล่ออกเพราะเหตุอื่นใดอันมิใช่เพราะเหตุทุจริต
ผู้บังคับบัญชาจะสั่งงดโทษก็ได้
แต่ถ้าผลการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นกระทำการทุจริต
ให้ผู้บังคับบัญชาเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษเพราะเหตุอื่นเป็นคำสั่งลงโทษไล่ออกเพราะทุจริตต่อไป
หมวด ๔
การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ
ข้อ
๕๗ ข้าราชการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือกระทำผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ
หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นตามข้อบังคับนี้
หมวด ๕
การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ
๕๘ การสั่งให้ข้าราชการพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนระยะเวลาให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ
๕๙ เมื่อข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
(๓)
ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และได้ถูกควบคุม ขังหรือต้องจำคุกเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๔)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น
ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ
๖๐ การสั่งพักราชการให้สั่งพักได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
ข้อ
๖๑ ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวน
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดไว้แล้ว
ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ข้อ
๖๒ การสั่งพักราชการ
ห้ามมิให้สั่งพักย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑)
ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุมขังหรือต้องจำคุก
(๒)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้วถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง
ให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม
หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ
๖๓ คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพัก
ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการ ทั้งนี้ ให้ระบุสิทธิและระยะเวลาในการร้องทุกข์ไว้ในคำสั่งด้วย
เมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการผู้ใดพักราชการแล้ว
ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้นั้นทราบได้หรือผู้นั้นไม่ยอมรับทราบคำสั่ง
ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ
ที่ทำการที่ผู้นั้นรับราชการอยู่และมีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้ผู้นั้น
ณ ที่อยู่ของผู้นั้นซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งพักราชการแล้ว
ข้อ
๖๔ เมื่อข้าราชการผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ
๕๙ และผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้น
จะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ให้นำข้อ
๖๐ ข้อ ๖๑ และข้อ ๖๓ มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ
๖๕ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการผู้ใดพักราชการไว้แล้วผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี จะพิจารณาตามข้อ ๖๔ และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้
ข้อ
๖๖ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
จะสั่งให้ออกตั้งแต่วันใด ให้นำข้อ ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่สำหรับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีตามข้อ ๖๕
ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป
ข้อ
๖๗ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าภายหลังจะต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ทั้งนี้
สำหรับการสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสตราจารย์และตำแหน่งประเภททั่วไปวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ดำเนินการนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๑)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือหกสิบห้าปีบริบูรณ์
แล้วแต่กรณี และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ก็ให้ดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษให้เป็นไปตามข้อ ๔๕
ในการสั่งลงโทษตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๒)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้ดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษให้เป็นไปตามข้อ ๔๕ แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นและให้นำ
(๑) วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๓)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัยและไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือหกสิบห้าปีบริบูรณ์
แล้วแต่กรณี และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ก็ให้สั่งยุติเรื่อง
และให้เป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๔)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๕)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้สั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออกโดยมติของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๖๘ การออกคำสั่งพักราชการ
คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
หรือคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการให้มีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๗ วน. ๘ และ
วน. ๙ แล้วแต่กรณี ท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ
๖๙ เงินเดือน
เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือนและเงินช่วยเหลืออย่างอื่น
และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
หมวด ๖
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
ข้อ
๗๐ ข้าราชการผู้ใดถูกสั่งลงโทษ ภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภามหาวิทยาลัยได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ
๗๑ สภามหาวิทยาลัยอาจให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
พิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัย
ข้อ
๗๒ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ทำเป็นหนังสือถึงนายกสภามหาวิทยาลัย
โดยให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
หนังสืออุทธรณ์ต้องแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการอุทธรณ์ให้เห็นว่าได้ถูกลงโทษโดยไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม
หรือไม่เป็นธรรมอย่างไร และลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์
ในการอุทธรณ์
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาประกอบการอุทธรณ์
ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์
ข้อ
๗๓ เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์
ผู้จะอุทธรณ์มีสิทธิขอตรวจหรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนหรือของผู้สอบสวนได้
ส่วนการขอตรวจหรือคัดบันทึกถ้อยคำบุคคล พยานหลักฐานอื่น หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษที่จะอนุญาตหรือไม่ โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ในการรักษาวินัยของข้าราชการ
ตลอดจนเหตุผลและความจำเป็นเป็นเรื่อง ๆ ไป
ข้อ
๗๔ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านผู้เป็นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษ
(๒)
มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษ
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองผู้อุทธรณ์
(๔)
เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ หรือเป็นคู่สมรส บุพการี
ผู้สืบสันดานหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาของผู้กล่าวหาหรือของผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ
การคัดค้านตามวรรคหนึ่งต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสืออุทธรณ์หรือแจ้งเพิ่มเติมเป็นหนังสือก่อนที่คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และสภามหาวิทยาลัยเริ่มพิจารณาอุทธรณ์แล้วแต่กรณี
เมื่อมีเหตุหรือมีการคัดค้านตามวรรคหนึ่ง
ผู้ที่ถูกคัดค้านจะขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้นก็ได้
ถ้าผู้ที่ถูกคัดค้านมิได้ขอถอนตัว
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์หรือสภามหาวิทยาลัยแล้วแต่กรณี
พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน หากเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือ ให้แจ้งผู้ที่ถูกคัดค้านทราบและมิให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้น
เว้นแต่คณะกรรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี
พิจารณาเห็นว่า
การให้ผู้ที่ถูกคัดค้านร่วมพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
เพราะจะทำให้ได้ความจริงและเป็นธรรมจะให้ผู้ที่ถูกคัดค้านร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้นก็ได้
ข้อ
๗๕ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถือวันที่ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษเป็นวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ถ้าผู้ถูกลงโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษ
และมีการแจ้งคำสั่งลงโทษให้ผู้ลงโทษทราบกับมอบสำเนาคำสั่งลงโทษให้ผู้ถูกลงโทษแล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี
เวลาและสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษได้โดยตรงและได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งลงโทษทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกลงโทษ
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกลงโทษ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
โดยส่งสำนาคำสั่งลงโทษไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกลงโทษเก็บไว้หนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งลงโทษส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีเช่นนี้
เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้ถูกลงโทษได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งลงโทษฉบับที่ให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งลงโทษกลับคืนมา
ให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษได้รับแจ้งคำสั่งแล้ว
ข้อ
๗๖ การยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งผ่านผู้บังคับบัญชาก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับหนังสืออุทธรณ์แล้วให้ลงวันเดือนปีที่ได้รับไว้ในหนังสืออุทธรณ์
และให้ถือว่าวันที่ได้รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
และให้ผู้บังคับบัญชานั้นดำเนินการตามข้อ ๗๙ (๑) ต่อไป
ในกรณีที่มีผู้นำหนังสืออุทธรณ์มายื่นเองให้ยื่นที่สำนักงานอธิการบดีและให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือ
ประทับตรารับหนังสือ และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
ในกรณีที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันส่งหนังสืออุทธรณ์
เมื่อได้ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งคำแถลงการณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
เริ่มพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้ โดยยื่นหรือส่งตรงต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
ข้อ
๗๗ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๗๐ และมีสาระสำคัญตามข้อ ๗๒
ในกรณีที่มีปัญหาว่าอุทธรณ์รายใดเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณาเสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัยโดยเร็ว
ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยมีมติไม่รับอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไว้พิจารณา
ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปมิได้
ข้อ
๗๘ ผู้อุทธรณ์จะขอถอนอุทธรณ์ก่อนที่สภามหาวิทยาลัยพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นก็ได้
โดยทำเป็นหนังสือยื่นหรือส่งตรงต่อนายกสภามหาวิทยาลัย เมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้วการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ
ข้อ
๗๙ เมื่อได้รับเรื่องการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้มีการดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้
(๑)
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ ๗๖ วรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสืออุทธรณ์และให้ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษจัดส่งหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวพร้อมทั้งสำเนาหลักฐานการรับแจ้งคำสั่งลงโทษของผู้อุทธรณ์
สำนวนการสืบสวนหรือการพิจารณาในเบื้องต้นและสำนวนการดำเนินการทางวินัยพร้อมทั้งคำชี้แจงของตน
(ถ้ามี)
ไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์จากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
(๒)
เมื่อสำนักงานอธิการบดีได้รับเรื่องอุทธรณ์ตามข้อ ๗๖ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
แล้ว ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์แล้วให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์รวบรวมหลักฐานตาม
(๑) ให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
(๓)
เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ได้รับเรื่องอุทธรณ์แล้ว
ให้พิจารณาเรื่องอุทธรณ์และนำเสนอสภามหาวิทยาลัยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องตาม
(๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี
(๔)
เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่องอุทธรณ์ตาม (๓) แล้ว
ให้พิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ
๗๖
ข้อ
๘๐ การพิจารณาอุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และสภามหาวิทยาลัยพิจารณาจากสำนวนการสืบสวนหรือการพิจารณาในเบื้องต้น
และสำนวนการดำเนินการทางวินัย
และในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน
บริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใดๆ
มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้แถลงการณ์ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และให้นำข้อ ๑๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่นัดให้ผู้อุทธรณ์มาแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อที่ประชุม
ให้แจ้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่สั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือ ให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาต่อที่ประชุมนั้นได้
ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี
และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว
ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่สั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษหรือผู้แทนเข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ได้
ในการพิจารณาอุทธรณ์
ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
เห็นสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรมให้เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาสั่งให้มีการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๘๑ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว
(๑)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษถูกต้องชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสมกับความผิดแล้วให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมายแต่เห็นว่าระดับโทษยังไม่เหมาะสมกับความผิดให้มีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษให้เหมาะสมกับความผิด
(๓)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมายให้มีมติเพิกถอนคำสั่งและให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสม
(๔)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง
และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดวินัยหรือพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย
ให้มีมติให้ยกโทษ
(๕)
ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมให้มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ในกรณีที่มีผู้ถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกัน
และเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน
เมื่อผู้ถูกลงโทษคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว
และผลการพิจารณาเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ แม้ผู้ถูกลงโทษคนอื่นจะไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ในการพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่งให้บันทึกเหตุผลการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม
และให้ถือรายงานการประชุมเป็นคำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๘๒ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้มีมติตามข้อ
๘๑ แล้ว
ให้นายกสภามหาวิทยาลัยดำเนินการให้มีการสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้นในโอกาสแรกที่ทำได้
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นจะให้มีการรับรองรายงานการประชุมก่อนก็ได้ ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งลงโทษ
ดำเนินการตามมติดังกล่าวโดยเร็ว และในการแก้ไขคำสั่งลงโทษให้นำข้อ ๕๒ ข้อ ๕๓ ข้อ
๕๔ และข้อ ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๘๓ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๘๒
แล้วให้แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วและผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปนี้มิได้
เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นปลดออกหรือไล่ออกหรือสั่งให้ออกจากราชการให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ
ก.พ.อ. ต่อไป
หมวด ๗
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๘๔ ข้าราชการผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ยกเว้นการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภามหาวิทยาลัย
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ
๘๕ เมื่อข้าราชการผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
(๑)
กรณีถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
(๒)
กรณีเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
กรณีมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา กรณีใดกรณีหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(ก)
บริหารงานบุคคลโดยเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สถานภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อกฎหมาย
หรือมีอคติเกี่ยวกับเพศ สภาพ ความพิการของร่างกาย หรือการนับถือศาสนา
(ข)
ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ หรือ
(ค)
ประวิงเวลาหรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องเป็นเหตุให้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
ข้อ
๘๖ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เมื่อมีกรณีเป็นปัญหาขึ้นระหว่างกันควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน
ฉะนั้นเมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม
หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๘๕
และมีความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นให้โอกาสและรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
เพื่อเป็นทางในการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในชั้นต้น
ถ้าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือ
หรือผู้บังคับบัญชามิได้ดำเนินการใด ๆ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับทราบความประสงค์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
หรือดำเนินการปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำชี้แจง
หรือได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจก็ให้ร้องทุกข์ตามข้อ ๘๗
ข้อ
๘๗ การร้องทุกข์ให้ทำเป็นหนังสือถึงนายกสภามหาวิทยาลัย
โดยให้ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้นจะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนไม่ได้
หนังสือร้องทุกข์ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์
และมีสาระสำคัญที่แสดงข้อเท็จจริงและปัญหาของเรื่องให้เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจ
เนื่องจากการกระทำหรือมีคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างไร
และความประสงค์ของการร้องทุกข์
ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิขอแถลงการณ์ด้วยวาจาประกอบการร้องทุกข์ได้และให้นำข้อ
๗๑ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๘๘ สภามหาวิทยาลัยอาจให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องทุกข์เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัย
ข้อ
๘๙ ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านผู้เป็นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ได้
และให้นำข้อ ๗๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๐ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
(๑)
ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าผู้ถูกสั่งไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
และมีการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกสั่งทราบพร้อมกับมอบสำเนาคำสั่งให้กับผู้ถูกสั่ง
แล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี เวลา
และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่ง ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกสั่งซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการโดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกสั่งเก็บไว้ฉบับหนึ่ง
และให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมาเพื่อเป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่า
ผู้ถูกสั่งได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา
ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้รับทราบคำสั่งแล้ว
(๒)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์โดยตรง
ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องทุกข์รับทราบหรือควรได้ทราบคำสั่งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ได้มีคำสั่งใด ๆ
ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ข้อ
๙๑ การยื่นหรือส่งเรื่องร้องทุกข์ให้นำข้อ ๗๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๒ ร้องทุกข์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องยื่นหรือส่งภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๘๔ และเป็นร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามข้อ ๘๗
ในกรณีที่มีปัญหาว่าร้องทุกข์รายใดเป็นร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณาเสนอให้สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้วินิจฉัย
หากสภามหาวิทยาลัยมีมติไม่รับร้องทุกข์ไว้พิจารณาให้แจ้งมตินั้นให้ผู้ร้องทุกข์และผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
และผู้ร้องทุกข์จะร้องทุกข์ต่อไปมิได้
ในกรณีสภามหาวิทยาลัยมีมติให้รับร้องทุกข์ไว้พิจารณา
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์เสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัยโดยเร็ว
ข้อ
๙๓ ผู้ร้องทุกข์จะถอนร้องทุกข์ก็ได้และให้นำข้อ
๗๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๔ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และสภามหาวิทยาลัยพิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
ในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลใด
หรืออาจขอให้ผู้แทนหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
หรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้นำข้อ ๘๐ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๕ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทุกข์ได้ยื่นหรือส่งเรื่องร้องทุกข์และให้นำข้อ
๗๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๖ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้ว
(๑)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
หรือการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ร้องทุกข์มิได้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๘๕ (๓) ให้มีมติยกคำร้องทุกข์
(๒)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีมติแก้ไขโดยเพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นหรือให้ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแต่บางส่วน
และไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางส่วน ให้มีมติให้แก้ไขหรือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๔)
ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ร้องทุกข์มีลักษณะตามข้อ ๘๕ (๓)
ให้มีมติให้แก้ไขหรือถ้าแก้ไขไม่ได้ให้สั่งดำเนินการประการอื่น
หรือให้ข้อแนะนำตามที่เห็นสมควร เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการคับข้องใจ
ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
(๕)
ถ้าเห็นว่าสมควรดำเนินการโดยประการอื่นใด
เพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรม
ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
การพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่ง
ให้บันทึกเหตุผลการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุมและให้ถือรายงานการประชุมเป็นคำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๙๗ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้มีมติตามข้อ ๙๖ แล้ว
ให้นายกสภามหาวิทยาลัยดำเนินการให้มีการสั่งหรือปฏิบัติในโอกาสแรกที่ทำได้
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นจะให้มีการรับรองรายงานการประชุมก่อนก็ได้ ทั้งนี้
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ดำเนินการตามมติดังกล่าวโดยเร็ว
ข้อ
๙๘ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๙๗ แล้ว
ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วและผู้ร้องทุกข์จะร้องทุกข์ต่อไปมิได้
หมวด ๘
การนับระยะเวลา
ข้อ
๙๙ การนับระยะเวลาตามข้อบังคับนี้
สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลาให้นับวันต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มระยะเวลาที่ขยายออกไป
ส่วนเวลาสุดสิ้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๑๐๐ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ส่วนการดำเนินการภายหลังการสอบสวนเสร็จให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อบังคับนี้
ข้อ
๑๐๑ กรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการอุทธรณ์หรือร้องทุกข์
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบ วน. ๑
๒.
บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาตามข้อ ๒๑ (แบบ วน.๒)
๓.
บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามข้อ
๒๒ (แบบ วน.๓)
๔.
บันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา (แบบ วน.๔)
๕.
บันทึกถ้อยคำพยานของฝ่ายกล่าวหา/ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา (แบบ วน.๕)
๖.
รายงานการสอบสวน (แบบ วน.๖)
๗.
แบบ วน. ๗
๘.
แบบ วน. ๘
๙.
แบบ วน. ๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๗
มาตรา ๔๙ วรรคสาม มาตรา ๕๐ วรรคสอง มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๖๕
วรรคหนึ่ง
กำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับนี้
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๓]
ข้อ ๔ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๓/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑
[๒] ข้อ ๕๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๑๓๒/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
502044 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2549
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และ ศาสตราจารย์ ไว้ดังนี้
หมวดที่ ๑
การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
กำหนดให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ซึ่งประกอบด้วย
(๑)
ประธานกรรมการ ต้องเป็นกรรมการจากสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบัน
โดยคัดสรรจากบัญชี รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด ซึ่งครอบคลุมคณะหรือสาขาวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอน
ในสถาบันนั้น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๑๐ คน
ก.
หลักเกณฑ์
การพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้ถือคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ความรู้ความสามารถและผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
การพิจารณาแต่งตั้งในวรรคแรกกระทำได้
๒ วิธี คือ การแต่งตั้งโดยวิธีปกติ และการแต่งตั้งโดยวิธีพิเศษ
ข้อ
๑ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีปกติให้ดำเนินการ
ดังนี้
๑.๑
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๑.๑.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์
และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า ๙ ปี หรือ
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์
และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือ
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์
และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือ
ผู้ใดดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
แต่ได้โอนหรือย้ายมาบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษา หากผู้นั้นเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาที่
ก.พ.อ. รับรอง และได้สอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งเทียบค่าได้ ไม่น้อยกว่า ๒ หน่วยกิต/ทวิภาค
อาจนำระยะเวลาระหว่างเป็นอาจารย์พิเศษในภาคการศึกษาที่สอนนั้น
มาเป็นเวลาในการขอแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการ โดยให้คำนวณเวลาในการสอนพิเศษให้ ๓ ใน
๔ ของเวลาที่ทำการสอน
กรณีที่อาจารย์ผู้ใดได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
ให้นับเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ก่อนได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นและเวลาที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์หลังจากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้น
รวมกัน เพื่อขอแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
๑.๑.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่ง
ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นสำหรับการสอนทั้งรายวิชาไม่น้อยกว่า
๑ รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๑.๑.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย (๑)
และ (๒) ต่อไปนี้
(๑)
๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีและได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และ
(๒)
งานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี
และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
๑.๒
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๑.๒.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า
๓ ปี
๑.๒.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นสำหรับการสอนทั้งรายวิชาไม่น้อยกว่า
๑ รายวิชา ซึ่งมีคุณภาพดีและได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๑.๒.๓
ผลงานทางวิชาการ ประกอบด้วย (๑)
และ (๒) ต่อไปนี้
(๑)
๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และ
(๒)
งานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๑.๒.๓ (๑) และ (๒) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้ จะต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย
๑.๓
ตำแหน่งศาสตราจารย์
๑.๓.๑
คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า
๒ ปี
๑.๓.๒
ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
และมีความเชี่ยวชาญในการสอน และเสนอเอกสารหรือสื่อการสอนตามที่สภาสถาบันกำหนด โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อบังคับของสภาสถาบัน
๑.๓.๓
ผลงานทางวิชาการ ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้
๒ วิธี ดังนี้
วิธีที่
๑ ประกอบด้วย (๑) และ (๒) ต่อไปนี้
(๑)
๑.๑ ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
๑.๒
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก
และ
(๒)
งานแต่ง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา
ไม่น้อยกว่า ๑ เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด
วิธีที่
๒ ประกอบด้วย (๑) หรือ (๒) หรือ (๓) ต่อไปนี้
(๑)
ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด
ๆ หรือ
(๒)
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น
หรือ
(๓)
งานแต่ง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา
ไม่น้อยกว่า ๑ เล่ม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ผลงานทางวิชาการตามข้อ
๑.๓.๓ (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว
ทั้งนี้ ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย
ข.
วิธีการ
ข้อ
๒ วิธีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ โดยวิธีปกติให้ดำเนินการดังนี้
๒.๑
การแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
๒.๑.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอเสนอแต่งตั้งที่ ก.พ.อ. กำหนด พร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๒.๑.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๒.๑.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการในสาขาวิชานั้น
ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑)
ประธานกรรมการแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓-๕ คน
การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
ต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด
และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ และกำหนดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
โดยมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
จากบัญชีรายชื่อดังกล่าวได้ ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๒.๑.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๒.๑.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง และแจ้งให้
ก.พ.อ. ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และแบบคำขอแต่งตั้งฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๒.๒
การแต่งตั้งตำแหน่งรองศาสตราจารย์
๒.๒.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอเสนอแต่งตั้งที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๒.๒.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๒.๒.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ
ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑)
ประธานกรรมการแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓-๕ ท่าน
การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้น ๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อดังกล่าวได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นราย ๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๒.๒.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๒.๒.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติและให้อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง และแจ้งให้
ก.พ.อ. ทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้งพร้อมกับสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และแบบคำขอแต่งตั้งฯ
คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต้องระบุสาขาวิชาเชี่ยวชาญของตำแหน่งทางวิชาการที่สั่งแต่งตั้งนั้นด้วย
๒.๓
การแต่งตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์
๒.๓.๑
ให้คณะวิชาเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ตามแบบคำขอเสนอแต่งตั้งที่ ก.พ.อ. กำหนดพร้อมด้วยผลงานทางวิชาการ
๒.๓.๒
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประเมินผลการสอน
โดยอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอนได้ตามความเหมาะสม
๒.๓.๓
ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการในสาขาวิชานั้นๆ
ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
(๑)
ประธานกรรมการแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
(๒)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
หากเสนอขอตามวิธีที่
๑ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓-๕ ท่าน พิจารณาผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
หากเสนอขอตามวิธีที่
๒ ให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ ท่าน พิจารณาผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอความเห็นเบื้องต้น
ก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณา
การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการต้องคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่
ก.พ.อ. กำหนดสำหรับสาขาวิชานั้นๆ โดยต้องเป็นบุคคลภายนอกสถาบันที่ผู้ขอสังกัด และมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอ
และกำหนดให้ต้องมีการประชุมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
และให้การดำเนินการอยู่ในชั้นความลับทุกขั้นตอน
ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่สถาบันอุดมศึกษาไม่สามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อดังกล่าวได้
ให้ขอความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. เป็นรายๆ ไป
เกณฑ์การตัดสิน
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น โดยวิธีที่
๑ หรือวิธีที่ ๒ การตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
๒.๓.๔
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ
๒.๓.๓ แล้ว ให้นำเสนอต่อสภาสถาบันพิจารณา
๒.๓.๕
เมื่อสภาสถาบันพิจารณาอนุมัติแล้วให้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผ่าน
ก.พ.อ. เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง พร้อมส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
ผลการประเมินผลงานทางวิชาการ และผลงานทางวิชาการ จำนวน ๑ ชุด
ข้อ
๓ การแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ
กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์
ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
(เช่น การเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
มาก่อน หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะเวลาที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์
หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นโดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ)
โดยให้ดำเนินการดังนี้
ผลงานทางวิชาการ
๓.๑
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
การแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
จะต้องเสนอผลงานทางวิชาการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งโดยวิธีปกติและผลงานทางวิชาการจะต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
๓.๒
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์
การแต่งตั้งตำแหน่งรองศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษ
จะต้องเสนอผลงานทางวิชาการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งโดยวิธีปกติและผลงานทางวิชาการจะต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก
๓.๓
ตำแหน่งศาสตราจารย์
การแต่งตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีพิเศษสามารถเสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่
๑ เท่านั้น และผลงานทางวิชาการจะต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเด่น
ข้อ
๔ วิธีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการวิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการดังนี้
๔.๑
ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์วิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
โดยวิธีปกติโดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ ท่าน เป็นคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๔ ใน ๕ เสียง
ทั้งนี้ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
๔.๒
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์วิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งรองศาสตราจารย์
โดยวิธีปกติโดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ ท่าน เป็นคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า ๔ ใน ๕ เสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
๔.๓
ตำแหน่งศาสตราจารย์วิธีพิเศษ
ให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิธีปกติโดยอนุโลม
โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๕ ท่าน เป็นคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ
และการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า ๔ ใน ๕ เสียง
ทั้งนี้
ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น
ข้อ
๕ แบบคำขอ (แบบ ก.พ.อ.๐๓) แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
แนวทางในการประเมินผลการสอนของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการประเภทต่าง
ๆ ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ลักษณะการตีพิมพ์เผยแพร่และผลงานทางวิชาการที่จำแนกตามระดับคุณภาพ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ หมวดที่ ๒
การลงโทษ
ข้อ
๖ มาตรการในการป้องกันและลงโทษผู้ขอตำแหน่งอันส่อให้เห็นว่าเป็นผู้ที่กระทำผิดทางจริยธรรมและจรรยาบรรณอันเกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการและเป็นผู้ที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
๖.๑
กรณีหากตรวจพบว่าผู้ขอตำแหน่งระบุการมีส่วนร่วมในผลงานไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือมีพฤติการณ์ส่อว่ามีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
หรือนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นไปใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการโดยอ้างว่าเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
ให้อธิการบดีสั่งงดการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการในครั้งนั้นและดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี
ๆ ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลา ไม่น้อยกว่า ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่สภาสถาบันมีมติ
๖.๒
กรณีที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไปแล้ว
หากภายหลังตรวจสอบพบหรือทราบว่าผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการครั้งนั้นเป็นการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือนำเอาผลงานของผู้อื่นไปใช้
โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเองให้อธิการบดีสั่งถอดถอนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ
รองศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์พิเศษ ส่วนตำแหน่งศาสตราจารย์และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้สภาสถาบันพิจารณาเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ. เพื่อนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ถอดถอน และดำเนินการทางวินัยตามข้อเท็จจริงและความร้ายแรงแห่งการกระทำผิดเป็นกรณี ๆ
ไป และห้ามผู้กระทำผิดนั้นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการมีกำหนดเวลา ไม่น้อยกว่า ๕ ปี นับตั้งแต่วันที่อธิการบดีมีคำสั่งถอดถอน
หรือนับตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถอดถอน แล้วแต่กรณี
หมวดที่ ๓
การอุทธรณ์
ข้อ
๗ กรณีที่ผลการพิจารณาคุณภาพของผลงานทางวิชาการไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ผู้เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการอาจยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณานั้นได้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อสภาสถาบันได้ภายใน
๙๐ วัน นับแต่วันที่รับทราบมติ
เมื่อสภาสถาบันได้รับเรื่องอุทธรณ์แล้วให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาคำอุทธรณ์
เมื่อมีความเห็นประการใดให้เสนอต่อสภาสถาบันวินิจฉัยและให้คำวินิจฉัยของสภาสถาบันถือเป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๘ เมื่อประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ให้ดำเนินการ
ดังนี้
๘.๑
การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และตำแหน่งรองศาสตราจารย์หากผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งยื่นเรื่อง ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
(วันที่สภาสถาบันรับเรื่อง)
ให้สภาสถาบันแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และดำเนินการพิจารณาตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ส่วนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาใช้หลักเกณฑ์ตามที่ ก.ม. กำหนด
๘.๒
การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ หากผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งยื่นเรื่อง
ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ (วันที่ ก.พ.อ. รับเรื่อง) ให้ ก.พ.อ. ดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ม. กำหนด
๘.๓
การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และตำแหน่งศาสตราจารย์ หากผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งยื่นเรื่อง
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป (วันที่สภาสถาบันรับเรื่อง) ให้สภาสถาบันดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.พ.อ. กำหนดไว้ในประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๔/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙ |
530503 | ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง มาตรฐานการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลโดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าคุณวุฒิหรือเงินเดือน ที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่ง
| ประกาศ ก
ประกาศ
ก.พ.อ.
เรื่อง
มาตรฐานการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลโดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าคุณวุฒิหรือเงินเดือน
ที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่ง[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๓) และมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
เพื่อเป็นมาตรฐานให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย
ที่จะบรรจุและแต่งตั้งบุคคลผู้มีความรู้ ความสามารถ
ความชำนาญเข้ารับราชการในตำแหน่งวิชาการ โดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าคุณวุฒิหรือสูงกว่าเงินเดือนที่กำหนดไว้สำหรับตำแหน่งนั้น
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กรณีการบรรจุบุคคลโดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าคุณวุฒิ
สำหรับตำแหน่งตาม มาตรา ๑๘ (ก) (๔) ให้บรรจุได้สำหรับผู้มีคุณสมบัติ ดังนี้
(๑) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท ในหลักสูตรแผน ก.
หรือที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านั้น
(๒) มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันอุดมศึกษา
โดยสภาสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดวิธีการประเมินเพื่อวัดความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญงานไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลตามข้อ ๑
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้บรรจุและแต่งตั้งโดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าคุณวุฒิ
ซึ่งคำนวณขั้นเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากคุณวุฒิตามระยะเวลาของประสบการณ์ได้ไม่เกินปีละสองขั้น
ข้อ ๓ กรณีการบรรจุบุคคลโดยให้ได้รับเงินเดือนในอันดับสูงกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของตำแหน่งตามมาตรา
๑๘ (ก) (๑) (๒) หรือ (๓) ให้บรรจุได้สำหรับผู้มีคุณสมบัติดังนี้
(๑) มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาเอก
(๒) มีผลงานวิชาการเทียบได้กับตำแหน่งทางวิชาการที่จะบรรจุ
โดยให้สภาสถาบันอุดมศึกษาประเมินตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง
ตามมาตรา ๑๘ (ก) (๑) (๒) และ (๓)
(๓)
มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพที่สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องใช้ภายหลังจากได้รับปริญญาเอกมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
(๔) มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญสูงมากเป็นพิเศษ
และเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการสอนหรือวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา
โดยสภาสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดวิธีการประเมินเพื่อวัดความรู้ ความสามารถ
และความชำนาญงานไว้อย่างชัดเจน
ข้อ ๔ การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลตามข้อ ๓
สภาสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้บรรจุและแต่งตั้งโดยให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นต่ำของตำแหน่ง
ซึ่งคำนวณขั้นเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของประสบการณ์ได้ไม่เกินปีละสองขั้น
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๓๙/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
528684 | ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550
| ประกาศ ก
ประกาศ ก.พ.อ.
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือน
ในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ก.พ.อ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาไว้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การสอนหรือวิจัย
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขยายเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด่วนมาก ที่ ศธ ๐๕๐๙.๕/ว ๑ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์
๒๕๔๘
(๒) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขยายเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับปรับปรุง) ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ด่วนที่สุด ที่ ศธ ๐๕๐๙.๕/ว
๑ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศ ก.พ.อ. นี้ นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ ๓ การต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามความต้องการของสถาบันอุดมศึกษามิใช่สิทธิของผู้ขอต่อเวลาราชการ
ข้อ ๔ ให้สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาวางแผนอัตรากำลังระยะ
๔ ปี (หรือกว่านั้น) โดยกำหนดเกณฑ์ และวิธีการในการวิเคราะห์ความต้องการคณาจารย์เป็นรายสาขาวิชาที่ชัดเจน
และนำมากำหนดจำนวนและคุณสมบัติของคณาจารย์ที่ต้องการเป็นรายสาขาวิชาเป็นรายปี
ข้อ ๕ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่จะได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้
(๑) ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือตำแหน่งรองศาสตราจารย์ อยู่ก่อนหรือ ณ
วันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีที่เกษียณอายุราชการ หากดำรงตำแหน่งหลังจากนี้ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณารับเข้าปฏิบัติงานต่อในแนวทางอื่นๆ
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ผู้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
หรือเทียบเท่า
(๒) เป็นผู้เกษียณอายุราชการตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จ บำนาญ ข้าราชการ พ.ศ.
๒๔๙๔ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
(๓) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสุขภาพโดยมีใบรับรองแพทย์จากสถาบันของรัฐรับรองและรับรองไว้ไม่เกิน
๑ ปี
(๔) ทำหน้าที่สอนหรือวิจัย
(๕) มีภาระงานและมีผลงานทางวิชาการย้อนหลัง ๓ ปี จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีที่เกษียณอายุราชการตามหลักเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด ดังนี้
(ก) ตำแหน่งศาสตราจารย์
(ก ๑) ปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา
ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ
(ก ๒) มีผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(ก ๒.๑) ตำราที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ
(ก ๒.๒) หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ
(ก ๒.๓) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เรื่อง หรือ
(ก ๒.๔) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่เฉลี่ยปีละ ๑ รายการ
หรือ
(ก ๒.๕) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๓ เรื่อง
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด
กรณีที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ครบ
๓ ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ให้ใช้ผลงานทางวิชาการที่เคยเสนอกำหนดตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์มานับรวมได้
(ข) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์
(ข ๑) ปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา
ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ
(ข ๒) มีผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้
(ข ๒.๑) ตำราที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ
(ข ๒.๒) หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ
(ข ๒.๓) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เรื่อง หรือ
(ข ๒.๔) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่เฉลี่ยปีละ๑ รายการ
หรือ
(ข ๒.๕) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๒ เรื่อง
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่
ก.พ.อ. กำหนด
กรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ไม่ครบ
๓ ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ให้ใช้ผลงานทางวิชาการที่เคยเสนอกำหนดตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์มานับรวมได้
ข้อ ๖ การพิจารณาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ต่อเวลาราชการให้ดำเนินการดังนี้
(๑) สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดจำนวนและตัวบุคคลของคณาจารย์ที่จะเกษียณอายุราชการ
และจะให้ปฏิบัติงานต่อด้วยแนวทางต่าง ๆ รวมทั้งแนวทางการต่อเวลาราชการ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขฉบับนี้ทั้งนี้เฉพาะในสาขาวิชาที่ได้วิเคราะห์แล้วในข้อ ๔ ว่ามีความขาดแคลนและจำเป็นต้องรักษาคณาจารย์ให้ปฏิบัติงานต่อภายหลังเกษียณอายุราชการเท่านั้น
(๒) สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา พิจารณาดำเนินการอนุมัติต่อเวลาราชการแก่คณาจารย์ที่ผ่านการพิจารณาในข้อ
๖ (๑) ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕ และต้องได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นด้วย ทั้งนี้ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้ต่อเวลาราชการให้แล้วเสร็จก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นจะเกษียณอายุราชการไม่น้อยกว่า
๖ เดือน
ข้อ ๗ สถาบันอุดมศึกษาต้องกำกับและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ได้รับการต่อเวลาราชการ
ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
(๑) ผู้ได้รับการต่อเวลาราชการปฏิบัติงานตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำที่ ก.พ.อ.
กำหนดตามหนังสือทบวงมหาวิทยาลัยที่ ทม ๐๒๐๒.๔/ว ๑๙ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๒
(๒) ผู้ได้รับการต่อเวลาราชการมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมจะปฏิบัติงานต่อไปโดยมีการตรวจสุขภาพประจำปี
(๓) ผู้ได้รับการต่อเวลาราชการปฏิบัติหน้าที่โดยมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ข้อ ๘ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ
ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์
ข้อ ๙ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ
และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการสอนหรือวิจัยเท่านั้น
ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการบริหารได้ในกรณีที่ภาระงานใดอาจถือว่าเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือวิจัย
หรือไม่นั้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาสถาบันอุดมศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ฃ
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๒๘/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
580817 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย
พ.ศ.
๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย
เพื่อให้ข้าราชการมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น
อันจะเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและยกย่องของบุคคลทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นายกสภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อ ๔
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับพนักงานมหาวิทยาลัย
ตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๐
และพนักงานราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ด้วย
ข้อ ๕
ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
หมวด
๑
คณะกรรมการจรรยาบรรณ
ข้อ ๖
ให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณประกอบด้วยบุคคลที่มีความเป็นอิสระ
เป็นกลางและเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งดังนี้
(๑) ประธาน แต่งตั้งจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒) กรรมการ
แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศาสนา
ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านสังคมศาสตร์และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน
และอาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
คุณสมบัติหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม (๒)
ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบ
ข้อ ๗
ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่ประธานและกรรมการว่างลงก่อนกำหนด
ให้ดำเนินการแต่งตั้งแทนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน
ในกรณีที่คณะกรรมการจรรยาบรรณพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่
ข้อ ๘
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว
คณะกรรมการจรรยาบรรณพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
(๔)
สภามหาวิทยาลัยให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องต่อหน้าที่
หรือหย่อนความสามารถ
(๕) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ข้อ ๙
คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
(๒) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นแก่มหาวิทยาลัย
หรือสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการจัดให้มีมาตรการในการส่งเสริมจรรยาบรรณและการดำเนินการทางจรรยาบรรณ
(๓)
พิจารณาความผิดและกำหนดโทษทางจรรยาบรรณแก่ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ
(๔)
ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวกับเรื่องจรรยาบรรณตามที่มหาวิทยาลัยหรือสภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
ข้อ ๑๐
การประชุมคณะกรรมการจรรยาบรรณให้นำข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด
๒
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๑๑
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อตนเองดังนี้
(๑) มีศีลธรรมอันดี
ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
(๒)
มีทัศนคติที่ดีรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมจริยธรรม
รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและทักษะในการทำงาน
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น
(๓) มีความอดทนอดกลั้น เสียสละ
และรับผิดชอบงานที่ปฏิบัติ
(๔) มีความสุภาพ อ่อนโยน สัมมาคารวะ
และมีมนุษยสัมพันธ์อันดี
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๑) และ (๒)
ไม่ถือว่าเป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๓) และ
(๔)เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
หมวด
๓
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๑๒
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพดังนี้
(๑) รัก ศรัทธา
รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพของตน
(๒)
ใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์
ในกรณีที่วิชาชีพใดมีจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนดไว้
ก็ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นด้วย
(๓) ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ
การกระทำผิดจรรยาบรรณข้อนี้ไม่ถือเป็นความผิดวินัย
หมวด
๔
จรรยาบรรณต่อมหาวิทยาลัยและการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๓
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อมหาวิทยาลัย
และการปฏิบัติงาน ดังนี้
(๑) รัก ศรัทธา และมีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัย
ไม่ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสีย
(๒)
ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระมัดระวัง
มิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง
(๓)
อุทิศตนและเวลาให้เป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่
(๔) ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ
รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียรมุ่งสัมฤทธิ์ผลของงาน
และคำนึงถึงประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
รับผิดชอบ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๖) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๑) ไม่เป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕)
เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๖)
เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หมวด
๕
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา
ข้อ ๑๔
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้
(๑)
มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๒)
ให้ความเคารพนับถือและเสนอแนะความคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชาโดยสุจริต
(๓) รายงานข้อราชการต่อผู้บังคับบัญชาตามความเป็นจริง
และไม่ปกปิดข้อความที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
การกระทำผิดจรรยาบรรณตามข้อนี้เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
หมวด
๖
จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ข้อ ๑๕
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
(๑) ดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน
ขวัญ กำลังใจ และสวัสดิการด้านต่างๆ อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
(๒)
รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาและสอนแนะส่งเสริมท้วงติงด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้อง
(๓)
ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
การกระทำผิดจรรยาบรรณตามข้อนี้เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
หมวด
๗
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
ข้อ ๑๖
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงานดังนี้
(๑) ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ
รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี
ร่วมแรงร่วมใจกันในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(๒) ปฏิบัติต่อกันด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ
มีมนุษยสัมพันธ์ และให้เกียรติ เคารพนับถือกันตามสมควร
(๓)
ละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยมิชอบ
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๑) ไม่เป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๒)
เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๓)
เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หมวด
๗
จรรยาบรรณต่อนักเรียน
นักศึกษา ประชาชนและสังคม
ข้อ ๑๗
ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อนักเรียน
นักศึกษา ประชาชนและสังคม ดังนี้
(๑) รักและเมตตานักเรียน นักศึกษา
เอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนโดยเสมอหน้า เท่าเทียมกัน
(๒) อบรมสั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม
ให้แก่นักเรียนนักศึกษาอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๓) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั้งทางกายวาจาและจิตใจ
(๔)
ละเว้นจากการล่วงละเมิดทางเพศหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกับนักเรียนนักศึกษาซึ่งมิใช่คู่สมรสของตนเอง
(๕)
ละเว้นจากการจัดการเรียนการสอนหรืออบรมนักเรียน
นักศึกษาเพื่อให้กระทำการที่รู้อยู่ว่าผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง
(๖) ละเว้นจากการเรียกรับ
หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากนักเรียนนักศึกษาหรือประชาชนผู้รับบริการ
เพื่อกระทำหรือไม่กระทำการตามหน้าที่
(๗) ละเว้นจากการเปิดเผยความลับของนักเรียน
นักศึกษาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากความไว้วางใจทั้งนี้โดยมิชอบ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน นักศึกษา
(๘)
ให้บริการประชาชนผู้รับบริการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความเป็นธรรมเอื้อเฟื้อ
มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยน
(๙) ช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชนในทางสร้างสรรค์
เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๑) (๒) (๓) และ (๙)
ไม่เป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๘)
เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม (๔) (๕) (๖) และ (๗)
เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
หมวด
๙
การดำเนินการทางจรรยาบรรณ
ข้อ ๑๘
ข้าราชการต้องยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ากระทำผิด อาจถูกลงโทษทางจรรยาบรรณอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ดังนี้
(๑) การตักเตือน
(๒) การภาคทัณฑ์
(๓) การประณาม
(๔) การบันทึกในทะเบียนประวัติบุคคล
(๕)
การงดขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภายในกำหนดเวลาตามความเหมาะสม
(๖)
การห้ามขอตำแหน่งทางวิชาการภายในเวลาที่กำหนดตามความเหมาะสม
การกำหนดโทษต้องคำนึงถึงสภาพและความร้ายแรงของความผิด
และอาจกำหนดโทษอย่างเดียวหรือหลายอย่างรวมกันได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการลงโทษทางวินัยหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๑๙
เมื่อข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดจรรยาบรรณ
หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณว่า ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณ
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้นหรือคณะกรรมการจรรยาบรรณ แล้วแต่กรณี
รายงานเป็นหนังสือให้อธิการบดีทราบโดยพลัน
เมื่ออธิการบดีได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง
หรือมีกรณีกล่าวหาต่ออธิการบดีหรือความปรากฏต่ออธิการบดีว่าข้าราชการผู้ใด
กระทำผิดจรรยาบรรณ ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว
ในกรณีที่อธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดจรรยาบรรณ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
การสอบสวนต้องยึดหลักการให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหา
และได้แก้ข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอตลอดจนคัดค้านผู้สอบสวนหรือกรรมการได้
ทั้งนี้ให้นำข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๐
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณา
โดยจะมีความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
เมื่อคณะกรรมการจรรยาบรรณได้พิจารณามีมติประการใด
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งให้เป็นไปตามนั้น
และแจ้งผลให้ผู้ถูกดำเนินการทางจรรยาบรรณทราบโดยเร็ว
ข้อ ๒๑
การสั่งลงโทษทางจรรยาบรรณให้ทำเป็นคำสั่ง
โดยในคำสั่งให้ระบุว่าผู้ถูกลงโทษได้กระทำความผิดจรรยาบรรณอย่างไม่ร้ายแรง
หรือร้ายแรงตามข้อบังคับนี้ข้อใดและระบุกรณีการทำผิดกับเหตุผลในการกำหนดโทษไว้ด้วย
ทั้งนี้ให้แจ้งสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งด้วย
ข้อ ๒๒
ในกรณีที่คณะกรรมการจรรยาบรรณมีมติว่าการกระทำผิดจรรยาบรรณของข้าราชการผู้ใดเป็นความผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑ โดยเร็ว
หมวด
๑๐
การอุทธรณ์โทษทางจรรยาบรรณ
ข้อ ๒๓
ข้าราชการผู้ใดถูกลงโทษทางจรรยาบรรณมีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภามหาวิทยาลัยได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง
หลักเกณฑ์การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
ให้นำข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
กร
ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๔๕
และมาตรา ๔๖ ประกอบกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
กำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณที่ข้าราชการต้องยึดถือประพฤติปฏิบัติโทษและการดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ
การอุทธรณ์โทษทางจรรยาบรรณ และให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการมีจรรยาบรรณและดำเนินการทางจรรยาบรรณเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับอันจะเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ
จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕
มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๔๖/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ |
620292 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ในส่วนของการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ มาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๕
พฤษภาคม ๒๕๕๒ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๒
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๖
แห่งข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕๖ ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือเป็นการตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น แม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากราชการไปแล้ว
เว้นแต่พ้นจากราชการเพราะเหตุตาย ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม
แล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยตามข้อบังคับนี้ต่อไปเสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้พ้นจากราชการ
แต่ต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นจากราชการและในกรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณา
ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสีย
ในกรณีข้าราชการพ้นจากราชการเพราะเหตุถูกลงโทษไล่ออกจากราชการไปแล้ว
ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาตามวรรคหนึ่งจะลงโทษไม่ถึงกับไล่ออก
หรือไล่ออกเพราะเหตุอื่นใดอันมิใช่เพราะเหตุทุจริต ผู้บังคับบัญชาจะสั่งงดโทษก็ได้
แต่ถ้าผลการสอบสวนได้ความว่าข้าราชการผู้นั้นกระทำการทุจริต
ให้ผู้บังคับบัญชาเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษเพราะเหตุอื่นเป็นคำสั่งลงโทษไล่ออกเพราะทุจริตต่อไป
ข้อ ๔ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๑๓๒/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
622203 | ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ว่าด้วย เครื่องแบบพิธีการของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552
| ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ว่าด้วย
เครื่องแบบพิธีการของพนักงานมหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยเป็นการสมควรกำหนดเครื่องแบบพิธีการของพนักงานมหาวิทยาลัย
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะสมกับงานพิธีการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบกับความในมาตรา ๖๕/๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ในการประชุมครั้งที่ ๕๐ (๘/๒๕๕๒) เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงมีมติออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ว่าด้วย เครื่องแบบพิธีการของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
พนักงานมหาวิทยาลัย หมายความว่า
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย หมายความว่า
ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ดุมตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย หมายความว่า
ดุมโลหะสีทอง มีการนำตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นองค์ประกอบ ตามรูปที่ ๑
แนบท้ายข้อบังคับนี้
ลายดอกกาซะลอง หมายความว่า ลายที่ประกอบด้วย ดอกบาน
ดอกตูม เกสร และใบของต้นกาซะลอง ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ข้อ ๔ ลักษณะเครื่องแบบปกติขาว
เครื่องแบบพิธีการประเภทเครื่องแบบปกติขาวของพนักงานมหาวิทยาลัย
มีดังนี้
(ก)
สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยชาย ประกอบด้วย
(๑)
หมวก ทรงหม้อตาลสีขาว กระบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมสีดำ สายรัดคางสีทอง
กว้างหนึ่งเซนติเมตร มีดุมตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ขนาดเล็กติดที่ข้างหมวกข้างละหนึ่งดุม ผ้าพันหมวกเป็นแถบลายถักสีขาว
ที่หน้าหมวกติดตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ปักดิ้นทองสูงห้าเซนติเมตร บนหมอนสักหลาดสีขาว
(๒)
เสื้อ แบบราชการสีขาว ใช้ดุมตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยห้าดุม
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย
(๓)
กางเกงขายาวสีขาว แบบราชการ ไม่พับปลายขา
(๔)
เข็มขัดหนังสีดำ
(๕)
รองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ และถุงเท้าสีดำ
(ข)
สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยหญิง ประกอบด้วย
(๑)
หมวก เป็นหมวกแก็ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทองมีดุมโลหะสีทอง ลายดุนตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยติดที่ข้างหมวกข้างละหนึ่งดุม
ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ปักดิ้นสีทองสูง
สี่จุดห้าเซนติเมตรบนหมอนสักหลาดสีขาว
(๒)
เสื้อ ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอแหลม แขนยาวถึงข้อมือ มีตะเข็บหลังสี่ตะเข็บ
ที่แนวสาบอกมีดุมตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งจุดห้าเซนติเมตร สามดุม มีกระเป๋าล่างข้างละหนึ่งกระเป๋า
เป็นกระเป๋าเฉียงเล็กน้อย ไม่มีใบปกกระเป๋า
และให้ใช้เสื้อคอพับแขนยาวสีขาวผูกผ้าพันคอสีดำ เงื่อนกลาสี
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้ายด้วย
(๓)
กระโปรง ให้ใช้กระโปรงสีขาว ยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย
(๔)
รองเท้า ถุงเท้า ให้ใช้รองเท้าหนังหุ้มส้นปิดปลายเท้าสีดำ ไม่มีลวดลาย
ส้นสูงไม่เกินสิบเซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ
ข้อ ๕ เครื่องหมายประดับคอเสื้อ
ให้มีเครื่องหมายเป็นโลหะสีทองตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ใช้ติดคอเสื้อเครื่องแบบปกติขาวของพนักงานมหาวิทยาลัยตอนหน้าทั้งสองข้าง
ข้อ ๖ อินทรธนู
ให้มีอินทรธนูแข็ง
พื้นสักหลาดสีดำ ขนาดกว้างห้าเซนติเมตร
ยาวตามความยาวของบ่ามีแถบไหมสีทองขนาดหนึ่งเซนติเมตรตรึงขอบอินทรธนู
ปลายอินทรธนูมนติดดุมตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย มีขอบวงกลมรอบเม็ดดุมสองเส้น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งจุดห้าเซนติเมตร บนอินทรธนูปักดิ้นทองลายดอกกาซะลอง
ตามรูปที่ ๒ แนบท้ายข้อบังคับนี้
และให้ติดอินทรธนูทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ
ข้อ ๗ ลักษณะเครื่องแบบครึ่งยศ
เครื่องแบบครึ่งยศมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาวเว้นแต่กางเกงของพนักงานมหาวิทยาลัยชายหรือกระโปรงของพนักงานมหาวิทยาลัยหญิง
ให้ใช้ผ้าสีดำและให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นโดยไม่สวมสายสะพาย
ข้อ ๘ ลักษณะเครื่องแบบเต็มยศ
เครื่องแบบเต็มยศมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ
และการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ให้สวมสายสะพายร่วมกับเหรียญราชอิสริยาภรณ์
ข้อ ๙ โอกาสการใช้เครื่องแบบ
ให้พนักงานมหาวิทยาลัยแต่งเครื่องแบบพิธีการนี้เป็นคราว
ๆ ไปตามประกาศหรือคำสั่งของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีกฎหมาย
ระเบียบหรือข้อบังคับที่ว่าด้วยการนั้นโดยเฉพาะ
ข้อ ๑๐ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รูปที่ ๑ กระดุมข้างหมวก , กระดุมเสื้อ , เข็มติดคอเสื้อ
๒.
รูปที่ ๒ อินทรธนู
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๔๖/๖ มกราคม ๒๕๕๓ |
573411 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการลาออกจากราชการ พ.ศ. 2550
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการลาออกจากราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเกี่ยวกับการลาออกจากราชการ
การอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการลาออกจากราชการของข้าราชการ
เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเกิดความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ และมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๓๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการลาออกจากราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๓ ในข้อบังคับนี้
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นายกสภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
และให้หมายความรวมถึงพนักงานราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ
และพนักงานมหาวิทยาลัยตามระเบียบสภามหาวิทยาลัย ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย
หนังสือขอลาออก หมายความว่า
หนังสือขอลาออกจากราชการตามแบบพิมพ์ที่แนบท้ายข้อบังคับนี้
ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง หมายความถึง
คณบดี ผู้อำนวยการสำนักหรือสถาบัน หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
ในกรณีที่คณบดีหรือผู้อำนวยการตามวรรคหนึ่งลาออก
ให้ถือว่าอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง
ข้อ
๔ ข้าราชการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหรือส่งหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง
มีสาระสำคัญตามแบบหนังสือขอลาออก
ในกรณีที่อธิการบดีขอลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหรือส่งหนังสือขอลาออกต่อนายกสภามหาวิทยาลัย
ภายใต้บังคับข้อ
๙ การยื่นหรือส่งหนังสือขอลาออก
ให้ยื่นหรือส่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นพิเศษ
ผู้ขอลาออกจากราชการจะขออนุญาตลาออกก่อนล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวันก็ได้
โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นพิเศษนั้นในหนังสือขอลาออก
หนังสือขอลาออกที่ยื่นหรือส่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่าสามสิบวัน
โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออก
หรือที่มิได้ระบุวันขอลาออก
ให้ถือวันถัดจากวันครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันยื่นหรือส่งหนังสือขอลาออกเป็นวันขอลาออก
ข้อ
๕ การลาออกจากราชการ
ให้อธิการบดีเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออก เว้นแต่การอนุญาตให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับ
๑๐ และตำแหน่งศาสตราจารย์ลาออกจากราชการให้อธิการบดีนำเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อมีมติอนุญาตให้ลาออก
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่อธิการบดีขอลาออกจากราชการ
ให้นายกสภามหาวิทยาลัยอนุญาตให้ลาออกตามมติสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๖ เมื่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งของผู้ขอลาออกจากราชการได้รับหนังสือขอลาออกแล้ว
ให้บันทึกวันยื่นหรือส่งหนังสือขอลาออกนั้นไว้เป็นหลักฐาน
และให้ตรวจสอบว่าหนังสือขอลาออกดังกล่าวได้ยื่นหรือส่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันหรือไม่
พร้อมทั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้หนังสือขอลาออกและให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปแต่ละระดับ
เสนอความเห็นตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกตามข้อ ๕
ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับรายงาน
ข้อ
๗ เมื่อผู้มีอำนาจอนุญาตการลาออกตามข้อ
๕ ได้รับหนังสือขอลาออกแล้ว ถ้าเป็นหนังสือขอลาออก
ที่ยื่นหรือส่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
หรือที่มิได้ระบุวันลาออก
ให้พิจารณาว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าควรอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ ให้มีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออก
และแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกด้วย
(๒)
ในกรณีที่พิจารณาเห็นว่า ควรยับยั้งการอนุญาตให้ลาออก เนื่องจากจำเป็น
เพื่อประโยชน์แก่ราชการ ให้มีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรให้เสร็จสิ้นก่อนวันขอลาออกแล้วแจ้งคำสั่งดังกล่าวพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ขอลาออกทราบก่อนวันขอลาออกด้วย
ทั้งนี้ การยับยั้ง
การอนุญาตให้ลาออก จะยับยั้งได้ไม่เกินเก้าสิบวัน
โดยสั่งยับยั้งได้เพียงครั้งเดียว
และจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขอลาออกเกินกว่าเหตุมิได้
เมื่อครบกำหนดเวลาที่ยับยั้งแล้ว
ให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเวลาที่ยับยั้ง
ในกรณีเป็นหนังสือขอลาออกที่ยื่นหรือส่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่าสามสิบวัน
เมื่อผู้มีอำนาจตามข้อ ๕ ได้รับหนังสือขอลาออกแล้ว
ให้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันขอลาออกว่าจะอนุญาตให้ยื่นหรือส่งล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกน้อยกว่าสามสิบวันตามที่ผู้ขอลาออกได้ยื่นหรือส่งไว้หรือไม่
ทั้งนี้
เพื่อจะได้ทราบว่าวันขอลาออกในกรณีดังกล่าวคือวันที่ระบุไว้ในหนังสือขอลาออก
หรือวันถัดจากวันครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันยื่นหรือส่งหนังสือขอลาออก
แล้วให้พิจารณาดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี
ข้อ
๘ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจตามข้อ ๕
มิได้มีคำสั่งอนุญาตให้ลาออกตามข้อ ๗ (๑)
และมิได้มีคำสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกก่อนวันขอลาออก ตามข้อ ๗ (๒)
ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันที่ขอลาออก
ในกรณีที่ผู้ขอลาออกได้ออกจากราชการไปตามวรรคหนึ่ง
หรือเนื่องจากครบกำหนดเวลายับยั้งการอนุญาตให้ลาออกแล้ว
ให้มีหนังสือแจ้งวันออกจากราชการให้ผู้ขอลาออกทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
และแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบด้วย
ข้อ
๙ การยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการ
เพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ให้ยื่นหรือส่งต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือนายกสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี
อย่างช้าภายในวันที่ขอลาออก และให้ผู้ได้รับหนังสือขอลาออกส่งหนังสือขอลาออกตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจตามข้อ
๕ โดยเร็ว เมื่อผู้มีอำนาจตามข้อ ๕
ได้รับหนังสือขอลาออกแล้วให้พิจารณาอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ตั้งแต่วันที่ขอลาออก
ข้อ
๑๐ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
(แบบ)หนังสือขอลาออกจากราชการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๗
และมาตรา ๕๖ กำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับ
ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการลาออกจากราชการ การอนุญาตให้ลาออก
และการยับยั้งการลาออกเพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
และเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับนี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๘/๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑ |
602998 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ
และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ
การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับ
ของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงให้ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการ การนับวันรับราชการ
และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ก.พ.อ. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ก.บ.ม. หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่ง หมายความว่า
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามโครงสร้างระดับตำแหน่งที่ ก.พ.อ.
กำหนด
ข้อ ๔ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาการบรรจุกลับเข้ารับราชการ
การนับวันรับราชการ และเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๕ การกลับเข้ารับราชการในกรณีออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมาย
ว่าด้วยการรับราชการทหารหรือออกจากราชการโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเพื่อไปปฏิบัติงานใด
ๆ ให้เป็นไปตาม กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกลับเข้ารับราชการการนับวันรับราชการและเงินเดือนที่จะได้รับของผู้ขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๖ การกลับเข้ารับราชการในกรณีออกจากราชการไปด้วยเหตุใด
ๆ อันมิใช่ออกจากราชการตามข้อ ๕
หากประสงค์จะขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการให้ทำคำร้องขอกลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการยื่นต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
การบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้คำนึงถึงประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญและให้บรรจุกลับในระดับและขั้นเงินเดือนไม่สูงกว่าเดิม
ข้อ ๗ ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๙๑/๗ เมษายน ๒๕๕๒ |
807600 | ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และการเสนอเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2561 | ข้อบังคับ ก.อ.ร.
ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และการเสนอเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗/๔ และประกอบมาตรา ๑๗/๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ (ก.อ.ร.) จึงออกข้อบังคับ
ก.อ.ร. ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับ ก.อ.ร.
ว่าด้วยการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และเสนอเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในข้อบังคับ ก.อ.ร. นี้
ก.อ.ร.
หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์
ประธาน
ก.อ.ร. หมายความว่า ประธานคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์
เลขานุการ
ก.อ.ร. หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ที่ประชุม
ก.อ.ร. หมายความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์
สำนักงาน
หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะอนุกรรมการ
ก.อ.ร. หมายความว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ที่ ก.อ.ร. แต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่
ก.อ.ร มอบหมาย
ข้อ
๔ ให้ประธาน ก.อ.ร. เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
และให้ ก.อ.ร. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับตามข้อบังคับนี้
ข้อ
๕ ในกรณีที่ข้อบังคับนี้ มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๖ การอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และการเสนอเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน
ข้อบังคับ ก.อ.ร. นี้
ข้อ
๗ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
มีสิทธิอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือเสนอร้องทุกข์ต่อ ก.อ.ร. ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ
ก.อ.ร. ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ไม่พอใจในผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือ
(๒)
สภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับที่ออกตามความในมาตรา
๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งต้องไม่เกินเก้าสิบวัน แล้วแต่กรณี
ข้อ
๘ การอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เป็นเรื่องเฉพาะตัวต้องกระทำด้วยตนเอง
จะอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์สำหรับผู้อื่นไม่ได้ และให้ทำคำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือยื่นต่อประธาน
ก.อ.ร. ภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัย หรือวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการพิจารณาตามข้อ
๗ แล้วแต่กรณี
คำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ของผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๒)
วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาหรือวันที่พ้นกำหนดการพิจารณา ที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
ตามข้อ ๗
(๓)
การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๔)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เห็นว่าเป็นปัญหาของเรื่องอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๕)
คำขอของผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๖)
ลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถส่งคำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ด้วยตนเองได้
ผู้นั้นจะมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งส่งคำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวแทนก็ได้
หากผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของ
ก.อ.ร. ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ หรือจะทำเป็นหนังสือถึงประธาน
ก.อ.ร. ต่างหากก็ได้แต่ต้องยื่นหรือส่งหนังสือขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อสำนักงานก่อนที่
ก.อ.ร. จะเริ่มพิจารณา
ข้อ
๙ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้ ก.อ.ร. รับฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ทุกกรณี และผู้นั้นมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้ามาในกระบวนพิจารณาของ
ก.อ.ร. ได้คนหนึ่ง การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้กระทำลงต่อหน้าผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือ
ก.อ.ร. ให้ถือว่าเป็นการทำแทนผู้นั้น เว้นแต่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์จะได้คัดค้านเสียในขณะนั้น
และหาก ก.อ.ร. พิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้
หากสภาสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาจะแถลงแก้
ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มาแถลงแก้ต่อที่ประชุมครั้งนั้นได้
ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี
ข้อ
๑๐ การอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ ตามข้อ
๗ ให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือยื่นต่อสำนักงานก็ได้
กรณีที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ส่งหนังสืออุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ทางไปรษณีย์หรือวิธีอื่นที่
ก.อ.ร. กำหนดให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ประสงค์จะยื่นหรือส่งคำแถลงการณ์หรือเอกสารเพิ่มเติมให้ทำเป็นหนังสือถึงประธาน
ก.อ.ร. หาก ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์นั้นแล้วเสร็จก่อนให้คำแถลงการณ์นั้นตกไป
และไม่จำต้องพิจารณาเอกสารเพิ่มเติมดังกล่าวอีก
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ยื่นอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ต่อสถาบันอุดมศึกษา
ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งหนังสืออุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ และสำนวนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ดังต่อไปนี้
ให้สำนักงานภายในเจ็ดวัน
(๑)
สำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
(๒)
รายงานการประชุมของสภาสถาบันอุดมศึกษาและคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
(๓)
ข้อบังคับสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
กรณีที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ยื่นอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ต่อสำนักงาน
ให้เลขานุการ ก.อ.ร.
จัดส่งสำเนาคำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ให้ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในกำหนดเจ็ดวัน และรายงานให้ ก.อ.ร. ทราบ
ข้อ
๑๒ ห้ามมิให้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการไว้เป็นการเฉพาะ
(๒)
เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
(๓)
เป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงเดียวกันกับเรื่องที่เคยมีคำวินิจฉัยหรือการดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว
(๔)
เป็นเรื่องที่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์พ้นจากสภาพการเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษานั้นไปแล้ว
ข้อ
๑๓ ให้ ก.อ.ร. จำหน่ายอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ออกจากสารบบ
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ตายก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๒)
ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ถอนอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ก่อนที่ ก.อ.ร. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้น
(๓)
ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามมติ ก.อ.ร.
ข้อ
๑๔ ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านกรรมการ ก.อ.ร. โดยทำเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านยื่นต่อประธาน
ก.อ.ร. ภายในระยะเวลาอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ ถ้ากรรมการ ก.อ.ร. ผู้นั้น มีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๒)
มีส่วนได้เสียในเรื่องที่อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๔)
มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
เมื่อประธาน
ก.อ.ร. ได้รับหนังสือคัดค้าน ให้แจ้งกรรมการ ก.อ.ร. ทราบก่อนเริ่มพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
เพื่อพิจารณาว่าสมควรถอนตัวหรือไม่ กรรมการ ก.อ.ร. ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง อาจถอนตัวจากการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
เว้นแต่การถอนตัวนั้น จะมีผลกระทบต่อองค์ประชุม ก.อ.ร. อาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาขอให้กรรมการ
ก.อ.ร. เข้าร่วมประชุมต่อไปได้
กรณีที่กรรมการ
ก.อ.ร. มิได้ขอถอนตัว ให้ที่ประชุม ก.อ.ร. พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้านถ้าที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการ
เห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือให้แจ้งกรรมการผู้นั้นทราบ และไม่ให้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์เรื่องนั้น
เว้นแต่การให้กรรมการผู้นั้นร่วมพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
เพราะจะทำให้ได้ความจริงและเป็นธรรม จะอนุญาตให้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ก็ได้
การที่กรรมการ
ก.อ.ร. ผู้ถูกคัดค้านที่ถูกสั่งไม่ให้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือถอนตัวเพราะมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านนั้น
ย่อมไม่กระทบถึงการกระทำใด ๆ ที่ได้กระทำไปแล้วแม้ว่าจะได้ดำเนินการหลังจากที่ได้มีการยื่นคำคัดค้านแล้ว
ข้อ
๑๕ ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็น ก.อ.ร. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
ก.อ.ร. ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ โดยแต่ละคณะให้มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง
ตรวจสอบสำนวนอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วเสนอต่อ
ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาวินิจฉัย เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ ก.อ.ร. หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจาก
ก.อ.ร.
คณะอนุกรรมการ ก.อ.ร. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ใน ก.อ.ร. คนหนึ่งเป็นประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.ร. คนหนึ่งเป็นอนุกรรมการ
และอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์สองคน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงานหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิจารณาตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นการตรวจสอบ
กลั่นกรองสำนวนอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นกรรมการและเลขานุการ
การคัดค้านอนุกรรมการ
ก.อ.ร. ตามวรรคสอง ให้นำข้อ ๑๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๖ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบสำนวน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ
ก.อ.ร. เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๗ เมื่อสำนักงาน ได้รับเอกสารตามข้อ
๑๑ จากสถาบันอุดมศึกษาครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน สรุปสำนวนเสนอต่อ
ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสาร
ข้อ
๑๘ การนับระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ให้นับตั้งแต่วันที่สำนักงานได้รับเอกสารตามข้อ
๑๑ จากสถาบันอุดมศึกษาครบถ้วนแล้ว
ข้อ
๑๙ คำวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๒)
ชื่อคู่กรณีในการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๓)
สรุปคำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และคำขอของผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๔)
สรุปคำแก้คำอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
(๕)
ประเด็นที่จะต้องพิจารณา
(๖)
คำแนะนำแต่ละประเด็นพร้อมเหตุผล
(๗)
สรุปคำวินิจฉัยที่กำหนดให้คู่กรณีในการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ปฏิบัติหรือดำเนินการต่อไป
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งต้องลงลายมือชื่อของ
ก.อ.ร. ที่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์นั้น ถ้าผู้ใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้จดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยด้วย
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาและสภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันและผู้ร้องทุกข์ได้เสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อ
ก.อ.ร. ให้นำข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ส่วนที่ ๑
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่พอใจผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษามีสิทธิอุทธรณ์ผลการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นต่อ
ก.อ.ร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ โดยให้ยื่นหรือส่งภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๘ และต้องเป็นประเด็นที่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษา
กรณีที่
ก.อ.ร. เห็นว่าหนังสืออุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งนั้น อ่านไม่ออก
อ่านไม่เข้าใจ มีสาระสำคัญไม่ครบถ้วนถูกต้อง หรือไม่ลงชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
เลขานุการ ก.อ.ร. มีอำนาจสั่งให้ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์มิได้ปฏิบัติตามก็ให้ ก.อ.ร. มีมติไม่รับอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์นั้น
กรณีอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๘ หากกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ก.อ.ร. มีอำนาจรับอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ดังกล่าวไว้พิจารณาได้
ข้อ
๒๒ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์ของ ก.อ.ร. ให้พิจารณาจากผลการพิจารณาวินิจฉัยของสภาสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์นั้น
และให้ ก.อ.ร. มีอำนาจดังนี้
(๑)
ให้สถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
(๒)
ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาส่งผู้แทนมาให้ถ้อยคำเป็นพยานหรือชี้แจงข้อเท็จจริง
(๓)
เรียกให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษามาให้ถ้อยคำเป็นพยานหรือชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ตามที่ ก.อ.ร. เห็นสมควร
ในกรณีที่
ก.อ.ร. เห็นว่าข้อเท็จจริงซึ่งได้มาจากการแสวงหาเพิ่มเติมตามข้อ (๑) (๒) และ (๓) อาจเป็นผลร้ายหรือไม่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์
ให้เลขานุการ ก.อ.ร. มีหนังสือแจ้งผู้นั้นให้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนภายในเวลาที่
ก.อ.ร. กำหนด
ส่วนที่ ๒
การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๒๓ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์เสนอเรื่องร้องทุกข์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาและสภาสถาบันอุดมศึกษามิได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์นั้นให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวัน
ผู้นั้นมีสิทธิเสนอเรื่องร้องทุกข์นั้นต่อ ก.อ.ร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
โดยให้ยื่นหรือส่งภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๘
ข้อ
๒๔ ให้ ก.อ.ร. แจ้งให้สภาสถาบันอุดมศึกษาชี้แจงเหตุแห่งความล่าช้าและเร่งพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จและรายงานให้
ก.อ.ร. ทราบเพื่อประกอบการพิจาณาภายในสามสิบวันหากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่
ก.อ.ร. กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สถาบันอุดมศึกษารายงานข้อเท็จจริงการพิจารณาพร้อมทั้งจัดส่งเรื่องร้องทุกข์และสำนวนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้
ก.อ.ร. ภายในสามวันทำการนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและให้สถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์นั้นกับ
ก.อ.ร. ด้วย
ข้อเท็จจริงรวมถึงพยานหลักฐานที่สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้ในการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้ถือเสมือนเป็นสำนวนการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของ
ก.อ.ร. แต่ทั้งนี้ เป็นดุลพินิจของ ก.อ.ร.
ที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานหรือให้มีการสอบสวนใหม่ก็ได้
ข้อ
๒๕ การพิจารณาวินิฉัยเรื่องร้องทุกข์ของ
ก.อ.ร. ให้นำข้อ ๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓
คำวินิจฉัย ก.อ.ร.
และมติ ก.อ.ร.
ข้อ
๒๖ เมื่อ ก.อ.ร. ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้วให้มีคำวินิจฉัยหรือมติดังนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติต่อผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือยกคำร้องทุกข์แล้วแต่กรณี
(๒)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือผู้ร้องทุกข์นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีคำวินิจฉัยหรือมติสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาแก้ไข เพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น
หรือให้ปฏิบัติต่อผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
ถ้าเห็นว่าสมควรดำเนินการโดยประการอื่น เพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมหรือสมควรเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือผู้ร้องทุกข์
ให้มีคำวินิจฉัยหรือมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อ
๒๗ เมื่อ ก.อ.ร. ได้มีคำวินิจฉัยหรือมติ
ตามข้อ ๒๖ ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งคำวินิจฉัยหรือมติให้ผู้อุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือและแจ้งให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือการร้องทุกข์ทราบโดยเร็ว
เมื่อ
ก.อ.ร. มีคำวินิจฉัยหรือมติตามข้อ ๒๖ (๒) และ (๓) ให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษา ผู้เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์เรื่องร้องทุกข์หรือการร้องทุกข์
ดำเนินการออกคำสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยหรือมติจากเลขานุการ
ก.อ.ร. และเมื่อได้ออกคำสั่งหรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือมติแล้ว ให้แจ้ง ก.อ.ร. ทราบภายในเจ็ดวัน
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ ก.อ.ร. มีมติตามข้อ ๒๒ หรือข้อ
๒๕ แล้ว ให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งมติให้สถาบันอุดมศึกษาทราบโดยเร็ว และให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้นภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากเลขานุการ ก.อ.ร. และเมื่อได้มีการดำเนินการตามมติเสร็จสิ้นแล้ว
ให้รายงานผลการดำเนินการและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังเลขานุการ ก.อ.ร.
โดยเร็ว
ข้อ
๒๙ เมื่อสถาบันอุดมศึกษา ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยหรือมติจาก
ก.อ.ร. แล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหรือดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยหรือมติดังกล่าวภายในเวลา
ที่ ก.อ.ร. กำหนด
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษามีเหตุขัดข้องหรือมีเหตุอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้
ให้สถาบันอุดมศึกษาหารือมายัง ก.อ.ร. ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยหรือมติจาก
ก.อ.ร.
ประกาศ ณ
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง
จันทรางศุ
ประธาน ก.อ.ร.
ภูมิกิติ/จัดทำ
๑๘ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๑๒/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ |
510287 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2549
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัย
แก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
เพื่อให้การรักษาวินัยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ในระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา
๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีหลักเกณฑ์ที่มีมาตรฐานในการสอบสวนพิจารณา
ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
อันจะมีผลให้การบริหารราชการแผ่นดินของมหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการได้
โดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๙
และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๙ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
เท่าที่ ก.พ.อ. ยังไม่กำหนดหรือไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการสอบสวนพิจารณาที่
ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ
๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายถึง สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายถึง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
การสอบสวน หมายถึง การสอบสวนพิจารณากรณีข้าราชการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรง
ข้อ
๕ กรณีที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยผู้นั้นรายงานเป็นหนังสือให้อธิการบดีทราบโดยพลัน
เมื่ออธิการบดีได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว
ถ้าพิจารณาเห็นว่าเป็นกรณีที่จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน
หากผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
แล้วแต่กรณี ความร้ายแรงของความผิด
ข้อ
๖ หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวน ให้นำกฎ
ก.พ. ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนการสอบสวนมาแล้ว
ให้อธิการบดีตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนการสอบสวนแล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนและอธิการบดีเห็นว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้อธิการบดีพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี โดยลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน
๕ % และเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
(๒)
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรืออธิการบดีเห็นว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้เสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา เมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติเป็นประการใด ให้อธิการบดีสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
ข้อ
๘ การสอบสวนที่ได้ดำเนินการก่อนข้อบังคับนี้ใช้บังคับและยังสอบสวนไม่แล้วเสร็จ
ให้ดำเนินการสอบสวนต่อไปได้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้
ข้อ
๙ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่ง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ข้อบังคับนี้
ให้สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจตีความและวินิจฉัย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๔/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
510291 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการ ของคณาจารย์ประจำ พ.ศ. 2549
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการ ของคณาจารย์ประจำ
พ.ศ.
๒๕๔๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบังคับ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการ ของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๒) และ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการ ของคณาจารย์ประจำ พ.ศ.
๒๕๔๙
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้งและถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการ ของคณาจารย์ประจำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ. ๒๕๔๙
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ คำสั่ง และประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณาจารย์ประจำ หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย และหมายความรวมถึง ผู้ปฏิบัติงานประจำ ทำหน้าที่สอน และวิจัย
ของมหาวิทยาลัยด้วย
ตำแหน่งทางวิชาการ หมายความว่า ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ก.พ.อ. หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๕ การพิจารณาแต่งตั้งคณาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์
และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ฉบับลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
แบบประเมินของคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ในเรื่องของการประเมินผลการสอนการประเมินเอกสารประกอบการสอน การประเมินเอกสารคำสอน
และการประเมินผลงานทางวิชาการ ซึ่ง ก.พ.อ. มิได้กำหนด ให้ใช้แบบประเมินของ ก.ม. ไปพลางก่อน
จนกว่าสภามหาวิทยาลัยจะได้กำหนดแบบประเมินใหม่
ข้อ
๖ ให้อธิการบดีแต่งตั้งเลขานุการคนหนึ่ง เพื่อปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการและอาจแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้อีกตามจำนวนที่เหมาะสม
ให้อนุกรรมการประเมินผลการสอน
กรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ
เป็นกรรมการที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดให้มีขึ้น และกำหนดให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้
ตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๘
ให้อนุกรรมการประเมินผลการสอน
และกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการได้รับค่าตอบแทน
ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนการพิจารณาผลงานทางวิชาการของคณาจารย์
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ
๗ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
ให้อธิการบดีมีอำนาจออกประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๔๙
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๗/๑๔ กันยายน ๒๕๔๙ |
658859 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย
เพื่อให้ข้าราชการมีความประพฤติดี สำนึกในหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น
อันจะเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและยกย่องของบุคคลทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นายกสภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อ ๔ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับกับพนักงานมหาวิทยาลัย
ตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๐
และพนักงานราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ด้วย
ข้อ ๕ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
คณะกรรมการจรรยาบรรณ
ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณประกอบด้วยบุคคลที่มีความเป็นอิสระ
เป็นกลาง และเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งดังนี้
(๑)
ประธาน แต่งตั้งจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
(๒)
กรรมการ
แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศาสนา
ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านสังคมศาสตร์และด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน
และอาจให้มีผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
คุณสมบัติหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกกรรมการตาม
(๒) ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบ
ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่ประธานและกรรมการว่างลงก่อนกำหนด
ให้ดำเนินการแต่งตั้งแทนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง
และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ที่ตนแทน
ในกรณีที่คณะกรรมการจรรยาบรรณพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่
ข้อ ๘ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว
คณะกรรมการจรรยาบรรณพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
พ้นจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
(๔)
สภามหาวิทยาลัยให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องต่อหน้าที่
หรือหย่อนความสามารถ
(๕)
ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
ข้อ ๙ คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
สนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
(๒)
ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นแก่มหาวิทยาลัย หรือสภามหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการจัดให้มีมาตรการในการส่งเสริมจรรยาบรรณและการดำเนินการทางจรรยาบรรณ
(๓)
พิจารณาความผิดและกำหนดโทษทางจรรยาบรรณแก่ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ
(๔)
ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวกับเรื่องจรรยาบรรณตามที่มหาวิทยาลัยหรือสภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
ข้อ ๑๐ การประชุมคณะกรรมการจรรยาบรรณให้นำข้อบังคับมหาวิทยาลัยว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๑๑ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อตนเองดังนี้
(๑)
มีศีลธรรมอันดี ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
(๒)
มีทัศนคติที่ดีรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมจริยธรรม
รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและทักษะในการทำงาน
เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น
(๓)
มีความอดทนอดกลั้น เสียสละ และรับผิดชอบงานที่ปฏิบัติ
(๔)
มีความสุภาพ อ่อนโยน สัมมาคารวะ และมีมนุษยสัมพันธ์อันดี
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๑) และ (๒) ไม่ถือว่าเป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๓) และ (๔)เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
หมวด ๓
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๑๒ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพดังนี้
(๑)
รัก ศรัทธา รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพของตน
(๒)
ใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์
ในกรณีที่วิชาชีพใดมีจรรยาบรรณวิชาชีพกำหนดไว้
ก็ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นด้วย
(๓)
ร่วมมือและส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ
การกระทำผิดจรรยาบรรณข้อนี้ไม่ถือเป็นความผิดวินัย
หมวด ๔
จรรยาบรรณต่อมหาวิทยาลัยและการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๓ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อมหาวิทยาลัย
และการปฏิบัติงาน ดังนี้
(๑)
รัก ศรัทธา และมีเจตคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัย ไม่ทำให้มหาวิทยาลัยเสื่อมเสีย
(๒)
ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระมัดระวัง
มิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง
(๓)
อุทิศตนและเวลาให้เป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว
ขยันหมั่นเพียรมุ่งสัมฤทธิ์ผลของงาน และคำนึงถึงประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ
(๕)
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบ มีความโปร่งใส
สามารถตรวจสอบได้ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๖)
ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่แสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๑) ไม่เป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๒) (๓) (๔) และ (๕) เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๖) เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หมวด ๕
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา
ข้อ ๑๔ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชาดังนี้
(๑)
มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
(๒)
ให้ความเคารพนับถือและเสนอแนะความคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชาโดยสุจริต
(๓)
รายงานข้อราชการต่อผู้บังคับบัญชาตามความเป็นจริง
และไม่ปกปิดข้อความที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
การกระทำผิดจรรยาบรรณตามข้อนี้เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
หมวด ๖
จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
ข้อ ๑๕ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
(๑)
ดูแลเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญกำลังใจ
และสวัสดิการด้านต่าง ๆ อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
(๒)
รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาและสอนแนะส่งเสริมท้วงติงด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้อง
(๓)
ปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
การกระทำผิดจรรยาบรรณตามข้อนี้เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
หมวด ๗
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
ข้อ ๑๖ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงานดังนี้
(๑)
ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี
ร่วมแรงร่วมใจกันในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(๒)
ปฏิบัติต่อกันด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ และให้เกียรติ
เคารพนับถือกันตามสมควร
(๓)
ละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยมิชอบ
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๑) ไม่เป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๒) เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๓) เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หมวด ๗
จรรยาบรรณต่อนักเรียน
นักศึกษา ประชาชนและสังคม
ข้อ ๑๗ ข้าราชการต้องมีจรรยาบรรณต่อนักเรียน
นักศึกษา ประชาชนและสังคม ดังนี้
(๑)
รักและเมตตานักเรียน นักศึกษา
เอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนโดยเสมอหน้า เท่าเทียมกัน
(๒)
อบรมสั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม
ให้แก่นักเรียนนักศึกษาอย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๓)
ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั้งทางกายวาจาและจิตใจ
(๔)
ละเว้นจากการล่วงละเมิดทางเพศหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกับนักเรียนนักศึกษาซึ่งมิใช่คู่สมรสของตนเอง
(๕)
ละเว้นจากการจัดการเรียนการสอนหรืออบรมนักเรียน
นักศึกษาเพื่อให้กระทำการที่รู้อยู่ว่าผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง
(๖)
ละเว้นจากการเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากนักเรียน นักศึกษาหรือประชาชนผู้รับบริการ
เพื่อกระทำหรือไม่กระทำการตามหน้าที่
(๗)
ละเว้นจากการเปิดเผยความลับของนักเรียน
นักศึกษาที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากความไว้วางใจ ทั้งนี้ โดยมิชอบ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน นักศึกษา
(๘)
ให้บริการประชาชนผู้รับบริการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ
มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาสุภาพอ่อนโยน
(๙)
ช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชนในทางสร้างสรรค์ เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๙) ไม่เป็นความผิดวินัย
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๘) เป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
การกระทำผิดจรรยาบรรณตาม
(๔) (๕) (๖) และ (๗)
เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงและเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
หมวด ๙
การดำเนินการทางจรรยาบรรณ
ข้อ ๑๘ ข้าราชการต้องยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ากระทำผิด อาจถูกลงโทษทางจรรยาบรรณอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ดังนี้
(๑)
การตักเตือน
(๒)
การภาคทัณฑ์
(๓)
การประณาม
(๔)
การบันทึกในทะเบียนประวัติบุคคล
(๕)
การงดขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ภายในกำหนดเวลาตามความเหมาะสม
(๖)
การห้ามขอตำแหน่งทางวิชาการภายในเวลาที่กำหนดตามความเหมาะสม
การกำหนดโทษต้องคำนึงถึงสภาพและความร้ายแรงของความผิด
และอาจกำหนดโทษอย่างเดียวหรือหลายอย่างรวมกันได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการลงโทษทางวินัยหรือไม่ก็ตาม
ข้อ ๑๙ เมื่อข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดจรรยาบรรณ
หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาหรือต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณว่า
ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณ ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้นหรือคณะกรรมการจรรยาบรรณ
แล้วแต่กรณี รายงานเป็นหนังสือให้อธิการบดีทราบโดยพลัน
เมื่ออธิการบดีได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง
หรือมีกรณีกล่าวหาต่ออธิการบดีหรือความปรากฏต่ออธิการบดีว่าข้าราชการผู้ใด
กระทำผิดจรรยาบรรณ ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว
ในกรณีที่อธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดจรรยาบรรณ
ให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
การสอบสวนต้องยึดหลักการให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหา
และได้แก้ข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอตลอดจนคัดค้านผู้สอบสวนหรือกรรมการได้ ทั้งนี้ ให้นำข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งเรื่องให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณา
โดยจะมีความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้
เมื่อคณะกรรมการจรรยาบรรณได้พิจารณามีมติประการใด
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งให้เป็นไปตามนั้น
และแจ้งผลให้ผู้ถูกดำเนินการทางจรรยาบรรณทราบโดยเร็ว
ข้อ ๒๑ การสั่งลงโทษทางจรรยาบรรณให้ทำเป็นคำสั่ง
โดยในคำสั่งให้ระบุว่าผู้ถูกลงโทษได้กระทำความผิดจรรยาบรรณอย่างไม่ร้ายแรง
หรือร้ายแรงตามข้อบังคับนี้ข้อใดและระบุกรณีการทำผิดกับเหตุผลในการกำหนดโทษไว้ด้วย
ทั้งนี้ ให้แจ้งสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งด้วย
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่คณะกรรมการจรรยาบรรณมีมติว่าการกระทำผิดจรรยาบรรณของข้าราชการผู้ใดเป็นความผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑ โดยเร็ว
หมวด ๑๐
การอุทธรณ์โทษทางจรรยาบรรณ
ข้อ ๒๓ ข้าราชการผู้ใดถูกลงโทษทางจรรยาบรรณมีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภามหาวิทยาลัยได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง
หลักเกณฑ์การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
ให้นำข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๔๕
และมาตรา ๔๖ ประกอบกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
กำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณที่ข้าราชการต้องยึดถือประพฤติปฏิบัติโทษและการดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ
การอุทธรณ์โทษทางจรรยาบรรณ และให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการมีจรรยาบรรณและดำเนินการทางจรรยาบรรณเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับอันจะเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ
จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับนี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๔๖/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ |
793207 | ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ว่าด้วยเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2560 | ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ว่าด้วยเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) และมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และมาตรา ๖๕/๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครั้งที่
๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงให้ออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ว่าด้วยเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา หมายความว่า
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ข้อ ๔ ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้
ในการตีความหรือวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาขัดข้องเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อบังคับนี้หรือในกรณีที่ข้อบังคับนี้มิได้กำหนดไว้ให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัยชี้ขาด
และคำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นที่สุด
หมวด
๑
เครื่องแบบของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
ข้อ ๕ เครื่องแบบของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
ให้มี ๒ ชนิด คือ
(๑) เครื่องแบบพิธีการ มี ๓ ประเภท
(ก) เครื่องแบบปกติขาว
(ข) เครื่องแบบครึ่งยศ
(ค) เครื่องแบบเต็มยศ
(๒) เครื่องแบบปฏิบัติราชการประเภทเครื่องแบบสีกากี
ข้อ ๖ เครื่องแบบปกติขาว ประกอบด้วย
(๑) หมวก
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้หมวกทรงหม้อตาลสีขาว
กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร
มีดุมโลหะสีทองดุลองค์พระธาตุยาคูขนาด ๒ เซนติเมตร ติดที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม
ผ้าพันหมวกสีขาว
ที่หน้าหมวกติดตรามหาวิทยาลัยยอดประทับองค์พระธาตุยาคูปักดิ้นสีทองสูง ๕ เซนติเมตร
ล้อมรอบด้วยกลีบดอกพะยอม บนคลื่นน้ำดำปักบนหมอนสักหลาดสีขาว
ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง
แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชายแต่เป็นทรงอ่อน
แบบที่ ๒ หมวกแก็ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว สายรัดคางสีทอง
มีดุมโลหะสีทองดุลองค์พระธาตุยาคูขนาด ๒ เซนติเมตรที่ข้างหมวกข้างละ ๑ ดุม
ผ้าพันหมวกสีขาว ที่หน้าหมวกติดตรามหาวิทยาลัยยอดประทับองค์พระธาตุยาคูปักดิ้นสีทองสูง
๔.๕ เซนติเมตร ล้อมรอบด้วยกลีบดอกพะยอมบนคลื่นน้ำดำปักบนหมอนสักหลาดสีขาว
ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันควร
(๒) เสื้อ
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้เสื้อนอกคอปกสีขาว มีตะเข็บหลัง ๔
ตะเข็บ ด้านหน้ามีกระเป๋าบนและล่างอย่างละ ๒ กระเป๋า
กระเป๋าบนมีปกรูปมนชายกลางแหลมไม่ขัดดุน
กระเป๋าล่างไม่มีปกที่แนวอกติดดุมโลหะสีทองดุลตรามหาวิทยาลัย ขนาด ๒ เซนติเมตร
จำนวน ๕ ดุม เสื้อนี้ประดับอินทรธนูแข็งปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้ใช้เสื้อนอกคอแบะสีขาวแบบคอกลม
แขนยาวถึงข้อมือมีตะเข็บหลัง ๔ ตะเข็บ ที่แนวอกติดดุมโลหะสีทองดุลตรามหาวิทยาลัย
ขนาด ๒ เซนติเมตร จำนวน ๓ ดุม มีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า
เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อยไม่มีปก
เสื้อนี้ประดับอินทรธนูแข็งและให้ใช้เชิ้ตคอพับสีขาวผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสีประกอบด้วย
ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
(๓) อินทรธนู
ให้ใช้อินทรธนูแข็งกว้าง ๔ เซนติเมตร ยาวตามความยาวของบ่า
พื้นสักหลาดสีดำติดทับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ มีแถบไหมสีทองกว้าง ๕
มิลลิเมตร เป็นขอบ ด้านคอปลายมนติดดุมโลหะสีทอง ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยขนาดเล็ก
บนอินทรธนูปักดิ้นสีทองลายช่อดอกพะยอมยอดตูมประทับบนฐานแพรวากาฬสินธุ์
รูปแบบของอินทรธนูและตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยที่ติดปกคอเสื้อปรากฏตามรูปแบบแนบท้ายข้อบังคับนี้
(๔) เครื่องหมายแสดงต้นสังกัด
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้ใช้เครื่องหมายตราประจำมหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะโปร่งสีทองไม่มีขอบสูง
๒ เซนติเมตร ติดที่คอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
(๕) กางเกง กระโปรง
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้กางเกงขายาวสีขาว ไม่พับปลายขา
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้ใช้กระโปรงสีขาว ตีเกล็ดด้านหน้า ๒
เกล็ด และด้านหลัง ๒ เกล็ด ยาวปิดเข่า ชายกระโปรงไม่บาน ใช้กับเสื้อนอกคอแบะสีขาว
(๖) รองเท้า ถุงเท้า
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย
ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ ถุงเท้าสีดำ
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้ใช้รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้าไม่มีลวดลาย
ส้นสูงไม่เกิน ๕ เซนติเมตร ถุงเท้ายาวสีเนื้อ
ข้อ ๗ เครื่องแบบครึ่งยศ
ลักษณะส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบปกติขาว
เว้นแต่กางเกงของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชายหรือกระโปรงของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิงให้ใช้ผ้าสีดำ
และให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
โดยไม่ต้องสวมสายสะพาย
ข้อ ๘ เครื่องแบบเต็มยศ
มีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ
และสำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย
ให้สวมสายสะพายร่วมกับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ด้วย
ข้อ ๙ เครื่องแบบปฏิบัติราชการประเภทเครื่องแบบสีกากี
ประกอบด้วย
(๑) หมวก
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้หมวกได้ ๒ แบบ
แบบที่ ๑ หมวกทรงหม้อตาลสีกากี
กะบังหน้าทำด้วยหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ สายรัดคางหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ
มีดุมโลหะสีทองดุลองค์พระธาตุยาคู ขนาด ๒ เซนติเมตร ผ้าพันหมวกสีกากีที่หน้าหมวกติดตรามหาวิทยาลัยยอดประทับองค์พระธาตุยาคูปักดิ้นสีทองสูง
๕ เซนติเมตร ล้อมรอบด้วยกลีบดอกพะยอม บนคลื่นน้ำดำ ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
แบบที่ ๒ หมวกแก็ปทรงอ่อนสีกากี ที่หน้าหมวกติดตรามหาวิทยาลัยยอดประทับองค์พระธาตุยาคูปักดิ้นสีทองสูง
๕ เซนติเมตร ล้อมรอบด้วยกลีบดอกพะยอม บนคลื่นน้ำดำ
ปักบนหมอนสีกากีปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้ใช้หมวกได้ ๓ แบบ
แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบหมวกของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย แบบที่ ๑
แต่เป็นทรงอ่อน
แบบที่ ๒ หมวกแก็ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี
สายรัดคางสีทองกว้าง ๑ เซนติเมตร มีดุมโลหะสีทองดุลองค์พระธาตุยาคู
ขนาด ๒ เซนติเมตร ผ้าพันหมวกสีกากี
ที่หน้าหมวกติดตรามหาวิทยาลัยยอดประทับองค์พระธาตุยาคูปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕
เซนติเมตร ล้อมรอบด้วยกลีบดอกพะยอมบนคลื่นน้ำดำปักบนหมอนสีกากี
ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
แบบที่ ๓ หมวกหนีบสีกากี ด้านหน้ามีดุมโลหะสีทองดุลองค์พระธาตุยาคู
ขนาด ๒ เซนติเมตร ติดซ้อนกัน
ติดตรามหาวิทยาลัยยอดประทับองค์พระธาตุยาคูปักดิ้นสีทองสูง ๔.๕ เซนติเมตร
ล้อมรอบด้วยกลีบดอกพะยอม บนคลื่นน้ำดำ ติดที่ด้านซ้ายเหนือขอบหมวก
ห่างจากมุมพับด้านหน้าหมวกประมาณ ๔ เซนติเมตร ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
การสวมหมวก ให้สวมในโอกาสอันสมควร
(๒) เสื้อ
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้เสื้อได้ ๒ แบบ
แบบที่ ๑ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี แขนยาวรัดข้อมือ มีดุมที่ข้อมือข้างละ
๑ ดุม หรือแขนสั้นมีกระเป๋าเย็บติดที่หน้าอกเสื้อข้างละ
๑ กระเป๋า เป็นกระเป๋าเสื้อมีแถบอยู่ตรงกลาง ตามทางดิ่ง กว้าง ๓.๕
เซนติเมตร
มีใบปกกระเป๋ารูปมนชายกลางแหลมหรือเป็นกระเป๋าเสื้อชนิดไม่มีแถบกลางกระเป๋าและใบปกกระเป๋าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มุมกระเป๋าและมุมปกกระเป๋าเป็นรูปตัดพองามที่ปากกระเป๋าทั้งสองข้างติดดุมข้างละ ๑
ดุม สำหรับขัดใบปกกระเป๋า ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีสาบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร
ติดดุมตามแนวอกเสื้อ ๕ ดุม ระยะห่างกันพอสมควรและติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอ
ปลายมน ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ
ในโอกาสไปงานพิธีให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสีสอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่สอง
ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
แบบที่ ๒ เสื้อคอแบะปล่อยเอวแบบคอตื้นสีประเภทสีกากี แขนสั้น
ตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีกระดุมที่อกเสื้อ ๔ กระดุม
มีกระเป๋าเย็บติดภายนอกเป็นกระเป๋าบนและล่างอย่างละ ๒ กระเป๋า กระเป๋าบนมีใบปกมนชายกลางแหลม
มีแถบกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางกระเป๋าทางดิ่ง กระเป๋าล่างเป็นกระเป๋าย่าม
มีใบปกรูปตัด ที่ฝากระเป๋าทั้งสองกระเป๋า ติดดุมข้างละ ๑ ดุม
สำหรับขัดกับใบปกกระเป๋าที่เอวด้านหลังคาดด้วยผ้าสีเดียวกับเสื้อขนาดกว้าง ๕
เซนติเมตร ชายเสื้อที่ตะเข็บกลางหลังเปิดไว้ถึงผ้าคาดเอวติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้าง
ให้ใช้เสื้อแบบที่ ๒ แทนแบบที่ ๑ ในโอกาสอันควรดุมที่ใช้กับเสื้อทั้งสองแบบมีลักษณะเป็นกลมแบบทำด้วยวัสดุสีเดียวกับสีเสื้อ
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วยปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้ใช้เสื้อได้ ๔ แบบ
แบบที่ ๑ อนุโลมตามแบบเสื้อของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย แบบที่ ๑
ในโอกาสไปงานพิธี ให้ใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาวผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสี
สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อภายใต้กระดุมเม็ดที่ ๒
แบบที่ ๒ เสื้อคอพับสีประเภทสีกากี
สีอ่อนกว่ากระโปรงหรือสีเดียวกีบกระโปรง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อมีสาบกว้างประมาณ
๒.๕ เซนติเมตร แขนยาวรัดข้อมือ ขอบปลายแขนกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือแขนสั้นเหนือข้อศอกเล็กน้อย
ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร
เดินคิ้วด้านหน้าเสื้อต่อจากเส้นบ่ามีตะเข็บผ่ากลางอกยาวตลอดตัวทั้งสองด้าน มีดุม
๕ ดุม
ด้านหลังจากเส้นต่อบ่าหลังมีตะเข็บผ่านตามตัวเสื้อทั้งสองด้านเช่นเดียวกับด้านหน้า
ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อตัวยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอปลายมนด้านไหล่กว้าง
๓ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อ
การสวมให้สอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรง ปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
แบบที่ ๓ เสื้อคอพับปล่อยเอวสีประเภทสีกากี
สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกง ผ่าอกตลอดตัวเสื้อไม่มีสาบ ด้านหน้ามีคิ้วตามสาบ
มีดุม ๔ ดุม แขนยาวหรือแขนสั้นตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร
มีคิ้วหน้าหลังเช่นเดียวกับแบบที่ ๒ และมีเส้นแนวตะเข็บเช่นเดียวกับแบบที่ ๒
ทั้งหน้าหลังความยาวของเสื้อให้คลุมสะโพกพองาม
ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอเสื้อด้านหน้าทั้งสองข้างที่ไหล่เสื้อประดับอินทรธนูสีเดียวกับเสื้อยาวตามความยาวของบ่าเย็บติดกับเสื้อเหนือบ่าทั้งสองข้างจากไหล่ไปคอปลายมน
ด้านไหล่กว้าง ๔ เซนติเมตร ด้านคอกว้าง ๓ เซนติเมตร
ตอนปลายขัดดุมติดกับตัวเสื้อปรากฏตามรูปแบบท้ายข้อบังคับนี้
แบบที่ ๔ เสื้อคอแบะปล่อยเอวสีประเภทสีกากี
สีเดียวกับกระโปรงหรือกางเกงผ่าอกตลอดตัวเสื้อไม่มีสาบ
แขนยาวจรดข้อมือหรือแขนสั้นเหนือศอกเล็กน้อย ตลบชายกว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นคิ้วตามสาบดุม
๓ ดุม ต่อด้านหน้าและด้านหลังยาวตามตัว
ติดเครื่องหมายแสดงสังกัดที่ปกคอแบะทั้งสองข้าง และมีกระเป๋าล่างข้างละ ๑ กระเป๋า
เป็นกระเป๋าเจาะเฉียงเล็กน้อย
ไม่มีใบปกกระเป๋าดุมที่ใช้กับเสื้อแบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๔
มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน สีกากีสีเดียวกับสีเสื้อ
การสวมเสื้อแบบที่ ๓ และแบบที่ ๔
ให้ปล่อยชายเสื้อทับประโปรงหรือกางเกงและคาดเข็มขัดทับเอวเสื้อได้
ในโอกาสไปงานพิธีให้ใช้เสื้อแบบที่ ๑ หรือแบบที่ ๒
โดยใช้เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกลาสี
สอดชายผ้าผูกคอไว้ภายในเสื้อใต้ดุมเม็ดที่ ๒ ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายด้วย
(๓) เครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับเครื่องแบบปฏิบัติราชการ
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย
ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง
ตรามหาวิทยาลัย ๒ เซนติเมตร ติดที่ปกเสื้อตอนหน้าทั้งสองข้าง
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง
ให้มีเครื่องหมายแสดงสังกัดเช่นเดียวกับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชายติดที่ปกคอด้านหน้าทั้งสองข้างของเสื้อแบบที่
๑ แบบที่ ๒ และแบบที่ ๓ สำหรับเสื้อแบบที่ ๔ ให้ติดที่ปกคอแบะทั้งสองข้างเหนือแนวเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(๔) ป้ายชื่อและตำแหน่ง
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำ ขนาดกว้างไม่เกิน
๒.๕ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร แสดงชื่อ ชื่อสกุล
และชื่อตำแหน่งในการบริหารงานหรือชื่อตำแหน่งในสายงานที่ปฏิบัติประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนขวา
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้มีป้ายชื่อพื้นสีดำ
ขนาดกว้างไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ยาวไม่เกิน ๗.๕ เซนติเมตร แสดงชื่อ ชื่อสกุล
และชื่อตำแหน่งในการบริหารงานหรือชื่อตำแหน่งในสายงานที่ปฏิบัติประดับที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนขวา
(๕) กางเกง กระโปรง
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้กางเกงแบบราชการสีประเภทสีกากี
ไม่พับปลายขา
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง
ให้ใช้กางเกงหรือกระโปรงสีประเภทสีกากีได้ ๕
แบบ
แบบที่ ๑ กางเกงอนุโลมตามแบบของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย
แบบที่ ๒ กางเกงขายาว ขาตรง ไม่มีลวดลาย ขอบกางเกงกว้างประมาณ ๒.๕
เซนติเมตร มีหรือไม่มีกระเป๋าก็ได้ มีซิบด้านหน้าหรือด้านข้าง
แบบที่ ๓ กระโปรงยาวปิดเข่า ปลายบานเล็กน้อย
แบบที่ ๔ กระโปรงมีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ
ยาวครึ่งเข่าปลายบานเล็กน้อย
แบบที่ ๕ กระโปรงกางเกง แบบกางเกงยาวครึ่งเข่า
มีตะเข็บหน้า ๒ ตะเข็บ ตะเข็บหลัง ๒ ตะเข็บ
มีจีบกระทบด้านหน้าและด้านหลัง
(๖) เข็มขัด
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้เข็มขัดทำด้วยด้ายถักสีกากี กว้าง
๓ เซนติเมตร หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอน ปลายมน กว้าง
๓.๕ เซนติเมตร ยาว ๕ เซนติเมตร ดุลลายตรามหาวิทยาลัยอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด
ไม่มีเข็มสำหรับสอดรูปลายเข็มขัดหุ้มด้วยโลหะสีทอง กว้าง ๑ เซนติเมตร
พนักงานในสถาบันอุดศึกษาหญิง ให้ใช้เข็มขัดได้ ๒ แบบ
แบบที่ ๑ ใช้คาดทับขอบกระโปรง
โดยใช้เข็มขัดอนุโลมตามแบบของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย
แบบที่ ๒ ใช้คาดทับเสื้อ
โดยใช้เข็มขัดผ้าสีประเภทสีกากีสีเดียวกับเสื้อ กว้าง ๒.๕ เซนติเมตร หัวสี่เหลี่ยมหุ้มผ้า
(๗) รองเท้า ถุงเท้า
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาชาย ให้ใช้รองเท้าหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
หรือวัตถุเทียมหนังสีดำ หรือสีน้ำตาล หุ้มส้นหรือหุ้มข้อแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลายและไม่มีโลหะ
ถุงเท้าสีเดียวกับรองเท้า
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาหญิง ให้ใช้รองเท้าหนังสีดำหรือสีน้ำตาล
หรือวัตถุเทียมหนังสีดำ หรือสีน้ำตาล
หุ้มส้นหรือรัดส้น แบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลายและไม่มีโลหะ ส้นสูงไม่เกิน
๑๐ เซนติเมตร และจะใช้ถุงเท้ายาวสีเนื้อด้วยก็ได้
หมวด
๒
การแต่งเครื่องแบบ
เครื่องแต่งกาย และการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ข้อ ๑๐ การแต่งเครื่องแบบ
(๑) เครื่องแบบปกติขาว
ประเภทของงาน ใช้ในงานพิธี เช่น
พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธีเปิดสถานที่ราชการ งานเลี้ยงที่เกี่ยวกับราชการ
การรับเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์
งานวางพระมาลาอนุสาวรีย์ต่าง ๆ งานส่วนตัว เช่น งานมงคลสมรส งานพระราชทานเพลิงศพ
ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
(ก)
ให้ประดับเครื่องหมายแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
(ข) หากมีเครื่องหมายอื่น ให้ประดับได้เช่นกัน อาทิ ปีกร่ม เป็นต้น
(ค) ในพระราชพิธีบางอย่างมีข้อยกเว้น คือ
แต่งเครื่องแบบปกติขาวและให้ประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ไม่ประดับดาราและดวงตรา
(๒) เครื่องแบบครึ่งยศ
ประเภทของงาน
ส่วนมากเป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแต่เป็นงานที่มีความสำคัญรองไปจากงานซึ่งต้องแต่งเครื่องแบบเต็มยศ
เช่น งานเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือบุคคลสำคัญ ฯลฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
(ก) ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ
ยกเว้นไม่สวมสายสะพายและไม่สวมสายสร้อย
(ข) หากมีเครื่องหมายอื่น ให้ประดับได้เช่นกัน อาทิ ปีกร่ม เป็นต้น
(ค) การแต่งกายในโอกาสที่ทางราชการกำหนดให้แต่งไว้ทุกข์
ให้ติดปลอกแขนดำที่ต้นแขนซ้าย
(๓) เครื่องแบบเต็มยศ
ประเภทของงาน พระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล
งานสโมสรสันนิบาตทำเนียบรัฐบาล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และถ้าได้รับพระราชทาน ชั้นสายสะพายให้สวมสายสะพายที่ระบุในหมายกำหนดการหรือที่มีอยู่
ถ้าได้รับพระราชทานมากกว่า ๑ สาย ต้องประดับดาราของสายอื่น ๆ ด้วย ผู้ซึ่งยังไม่ได้รับพระราชทานสายสะพาย
ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่าที่มี
อนึ่ง
การแต่งกายเต็มยศนอกจากสวมสายสะพายเต็มยศแล้ว ต้องประดับเหรียญที่ได้รับพระราชทาน และที่มีสิทธิประดับด้วย
หมวด
๓
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๑๑ ให้พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาแต่งเครื่องแบบพิธีการ
หรือเครื่องแบบปฏิบัติราชการในการเข้าร่วมพระราชพิธี รัฐพิธี
หรือพิธีตามที่ระบุในหมายกำหนดการ หรือกำหนดการการแต่งเครื่องแบบในโอกาสอื่น
ๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยจัดทำเป็นประกาศมหาวิทยาลัย
ข้อ ๑๒ ผู้ซึ่งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
หรือได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศ
ให้ปรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ๆ ในเวลาแต่งเครื่องแบบเต็มยศ
ข้อ ๑๓ ผู้ซึ่งได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ
เครื่องหมายกิตติมศักดิ์ เข็มวิทยฐานะ หรือเครื่องหมายแสดงความสามารถ
ให้ประดับตามระเบียบของส่วนราชการหรือสถาบันนั้น ๆ กำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไปแล้ว
ให้ใช้เครื่องแบบเหมือนกับผู้ปฏิบัติงานได้ ยกเว้นผู้ซึ่งถูกให้ออกจากราชการ
หรือผู้ซึ่งได้รับโทษทางวินัยขั้นปลดออก หรือไล่ออก
ข้อ ๑๕ การแต่งเครื่องแบบตามแบบข้อบังคับนี้ให้เป็นไปตามหมายสำนักพระราชวัง
หรือตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งของมหาวิทยาลัยในโอกาสอันควร
ข้อ ๑๖ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เหรียญหรือตราที่เป็นเครื่องประดับต่างประเทศร่วมกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญอิสริยาภรณ์ไทย และการแต่งกายที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งมงกุฎไทยและหนังสือเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดพิมพ์ขึ้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ศาสตราจารย์กิตติคุณสุทธิพร จิตต์มิตรภาพ
นายกสภามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เครื่องแบบและเครื่องแต่งกายของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
แนบท้ายข้อบังคับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ว่าด้วยเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๒๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๕๓/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
602996 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่ง ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. 2551
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่ง
การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่ง
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการเปลี่ยนตำแหน่ง
การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง และการตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ลงวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พ.ศ. ๒๕๔๗ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงให้ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
และการตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ก.พ.อ. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ก.บ.ม. หมายความว่า คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
ข้าราชการ หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่ง หมายความว่า
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามโครงสร้างตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
หน่วยงาน หมายความว่า กอง คณะ สถาบัน สำนัก
วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือคณะ
และส่วนงานที่ประกาศโดยสภามหาวิทยาลัย
ข้อ ๔ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีปัญหาการตีความในการใช้ข้อบังคับนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ การเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
และการตัดโอนตำแหน่งตามมาตรา ๑๘ (ก) (ข) (๗) และ (๘) หรือ (ค)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ดำเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องเป็นไปตามกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือน
และจำนวนข้าราชการที่พึงมีตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
(๒)
ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.พ.อ.
กำหนด และที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดเพิ่มเติม
(๓)
ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด
ข้อ ๖ ให้ ก.บ.ม.
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาการเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
และการตัดโอนตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
หมวด ๒
การเปลี่ยนตำแหน่ง
ข้อ ๗ การเปลี่ยนตำแหน่งให้เปลี่ยนตำแหน่งได้ทุกกรณี
ทั้งตำแหน่งที่มีคนครอง ตำแหน่งว่าง มีเงินและไม่มีเงิน
กรณีการเปลี่ยนตำแหน่งที่มีคนครอง
ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะขอเปลี่ยน
โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑)
ต้องสอดคล้องกับลักษณะงานที่ปฏิบัติและภาระงานหลักของหน่วยงานนั้นด้วย
(๒)
ต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ
ความประพฤติและความเหมาะสมของผู้ครองตำแหน่งที่จะเปลี่ยนตำแหน่งด้วย
(๓)
กรณีที่หน่วยงานมีอัตราว่างไม่มีเงินให้เปลี่ยนตำแหน่งสลับกับตำแหน่งที่มีเงินเพื่อให้กรอบตำแหน่งเป็นไปตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
(๔)
ต้องไม่เป็นเหตุผลที่จะขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่เพื่อทดแทน
และไม่เป็นเหตุผลให้มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
ข้อ ๘ หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งวิชาการ เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งประเภททั่วไป
วิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๙ หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งวิชาการ ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
หมวด ๓
การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
ข้อ ๑๐ การเปลี่ยนระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ว่าง
ให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งได้ไม่ต่ำหรือสูงกว่าระดับควบของแต่ละสายงาน
ข้อ ๑๑ ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน
อาจเปลี่ยนระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ว่างเพื่อรับโอน
หรือย้าย
หรือบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการมหาวิทยาลัยอาจเปลี่ยนระดับตำแหน่งให้สูงกว่าระดับควบของแต่ละสายงาน
และเมื่อตำแหน่งว่างลงให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งเป็นระดับควบตามเดิม ดังต่อไปนี้
(๑)
ตำแหน่งวิชาการ ให้เปลี่ยนระดับตำ แหน่งได้ไม่เกินระดับสูงสุดของตำแหน่งศาสตราจารย์
(๒)
ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
ให้เปลี่ยนระดับตำแหน่งได้ไม่เกินระดับสูงสุดของตำแหน่งที่บังคับบัญชาหน่วยงานนั้น
หมวด ๔
การตัดโอนตำแหน่ง
ข้อ ๑๒ การตัดโอนตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ
หรือตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ทำได้ทุกกรณี
ทั้งตำแหน่งที่มีคนครอง ตำแหน่งว่างมีเงิน และตำแหน่งว่างไม่มีเงิน
เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีตัดโอนตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานจากหน่วยงานหนึ่งไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งที่ว่างอยู่ภายในมหาวิทยาลัย
ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่ว่างอยู่นั้นต้องมีระดับไม่ต่ำกว่าระดับตำแหน่งที่ตัดโอน
ในกรณีตัดโอนตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
หากมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนตำแหน่งจากสายงานเดิมไปเป็นตำแหน่งที่รับแต่งตั้งให้ดำเนินการตามข้อ
๕ และข้อ ๗
(๒)
กรณีตัดโอนตำแหน่งและข้าราชการระหว่างมหาวิทยาลัย
หรือมหาวิทยาลัยกับส่วนราชการอื่น
ต้องได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่ายและเจ้าตัวสมัครใจ ทั้งนี้
หากจะต้องตัดโอนอัตราเงินเดือนของตำแหน่งไปด้วย ให้มหาวิทยาลัยต้นสังกัดและมหาวิทยาลัยหรือส่วนราชการอื่นที่รับโอนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด
หน่วยงานที่ให้ตัดโอนต้องไม่มีผลกระทบต่อภารกิจหลักที่สำคัญ
และหน่วยงานที่ได้รับตำแหน่งเพิ่มจากการตัดโอนต้องมีภาระงานที่จำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลัง
ข้อ ๑๓ การตัดโอนตำแหน่งที่มีคนครองต้องพิจารณาความรู้
ความสามารถ และประสบการณ์ให้ตรงกับลักษณะงานของหน่วยงานที่รับตัดโอน
หมวด ๕
การดำเนินการ
ข้อ ๑๔ การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.บ.ม กำหนด
ข้อ ๑๕ การเปลี่ยนตำแหน่ง การเปลี่ยนระดับตำแหน่ง
และการตัดโอนตำแหน่งในกรณีอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ให้เสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาเป็นกรณีไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๘๖/๗ เมษายน ๒๕๕๒ |
797096 | ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2560 | ข้อบังคับ ก
ข้อบังคับ
ก.อ.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
พ.ศ.
๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗/๔
และประกอบมาตรา ๑๗/๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ (ก.อ.ร.)
จึงออกข้อบังคับ ก.อ.ร. ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับ ก.อ.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในข้อบังคับ ก.อ.ร. นี้
ก.อ.ร. หมายความว่า
คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์
ประธาน ก.อ.ร. หมายความว่า
ประธานคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์
เลขานุการ ก.อ.ร. หมายความว่า
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ที่ประชุม ก.อ.ร. หมายความว่า
ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะอนุกรรมการ ก.อ.ร. หมายความว่า
คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ที่ ก.อ.ร.
แต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.อ.ร. มอบหมาย
สำนวนการสอบสวน หมายความว่า
สำนวนการสอบสวนกรณีมีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๔
ให้ประธาน ก.อ.ร. เป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้ ก.อ.ร.
มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับตามข้อบังคับนี้
ข้อ ๕
ในกรณีที่ข้อบังคับนี้ มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด
๑
การยื่นอุทธรณ์และการดำเนินการก่อนการพิจารณา
ข้อ ๖
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.อ.ร. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับกับการถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดม ศึกษา
ผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
(๒) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่
(๓)
เมื่อข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดไปรับราชการทหาร
ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
(๔) ถูกจำคุกในความผิดที่มิใช่กระทำโดยประมาท
หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๗
การอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงเป็นเรื่องเฉพาะตัว
ต้องกระทำด้วยตนเอง
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถอุทธรณ์ด้วยตนเองได้
ผู้อุทธรณ์จะมอบหมายให้ทายาทโดยธรรมหรือบุคคลอื่นในกรณีที่ไม่มีทายาทโดยธรรม
ทำการอุทธรณ์แทนได้
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งลงโทษทางวินัยหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการถึงแก่ความตายไปก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดหรือทายาทคนหนึ่งคนใดของผู้นั้นมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งแทนได้
ข้อ ๘
การอุทธรณ์ต้องยื่นภายในกำหนดระยะเวลาสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์แต่ถึงแก่ความตายในระยะเวลาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้ทายาทของผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๙
การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร.
โดยใช้ถ้อยคำสุภาพและมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ ตำแหน่ง
สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์
(๒)
วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์
(๔) คำขอของผู้อุทธรณ์
(๕) ลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์
(๖) คำสั่งลงโทษทางวินัย
ในการอุทธรณ์
หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อ ก.อ.ร.
ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์ หรือจะทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร.
โดยยื่นหรือส่งหนังสือขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อสำนักงานในวันยื่นหนังสืออุทธรณ์ก็ได้
ข้อ ๑๐
การยื่นอุทธรณ์ตามข้อ ๙
ให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์พร้อมกับสำเนารับรองถูกต้องหนึ่งฉบับต่อสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือยื่นต่อสำนักงาน
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อสถาบันอุดมศึกษา
ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการจัดส่งอุทธรณ์และสำนวนการดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงไปยังประธาน
ก.อ.ร. โดยเร็ว
กรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือมีคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงให้วันที่สถาบันอุดมศึกษาประทับตรารับหนังสือไว้เป็นหลักฐานตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณเป็นวันรับอุทธรณ์
กรณีที่ผู้อุทธรณ์ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์หรือวิธีอื่นที่
ก.อ.ร. กำหนด ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นหรือส่งคำแถลงการณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร. หาก ก.อ.ร.
พิจารณาเรื่องอุทธรณ์นั้นแล้วเสร็จก่อน ให้คำแถลงการณ์นั้นตกไป
ข้อ ๑๑
ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ที่สถาบันอุดมศึกษา
ให้สถาบันอุดมศึกษาส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้สำนักงานภายในเจ็ดวัน
(๑)
หนังสืออุทธรณ์
(๒)
สำเนาหลักฐานการรับทราบคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษของผู้อุทธรณ์
(๓)
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๔)
คำคัดค้านกรรมการสอบสวน (ถ้ามี)
(๕)
รายงานการประชุมของสภาสถาบันอุดมศึกษา
และคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการพิจารณาสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
(๖)
สำนวนการสอบสวนและหลักฐานการสอบสวนทั้งหมดในกรณีตามมาตรา ๔๙
หรือเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา ๕๗ พร้อมบัญชีเอกสาร
(๗)
ข้อบังคับสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับการสอบสวนและการพิจารณาลงโทษทางวินัย
เมื่อสำนักงาน ได้รับหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ ๑๐
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดส่งสำเนาอุทธรณ์และแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง
ให้ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในเจ็ดวันและรายงานให้ ก.อ.ร.
เพื่อทราบในการประชุมครั้งถัดไป
ข้อ ๑๒
เมื่อสำนักงาน ได้รับเอกสารตามข้อ ๑๑ จากสถาบันอุดมศึกษาครบถ้วนแล้วให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน
สรุปสำนวนเสนอต่อ ก.อ.ร. เพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสาร
หมวด
๒
การพิจารณาอุทธรณ์
ข้อ ๑๓
อุทธรณ์ที่ ก.อ.ร. จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นไปตามข้อ ๙
และยื่นหรือส่งภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๘
ในกรณีที่ ก.อ.ร.
เห็นว่าหนังสืออุทธรณ์ที่ยื่นไว้ตามวรรคหนึ่งนั้น อ่านไม่ออก อ่านไม่เข้าใจ
มีสาระสำคัญไม่ครบถ้วนถูกต้อง หรือไม่ลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ ก.อ.ร
มีอำนาจสั่งให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าผู้อุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามก็ให้มีมติไม่รับอุทธรณ์
กรณีอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นระยะเวลาตามข้อ ๘
หากกรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ก.อ.ร. มีอำนาจรับอุทธรณ์ดังกล่าวไว้พิจารณาได้
ข้อ ๑๔
การนับระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์
(๑)
กรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
ให้นับแต่วันที่ประธาน ก.อ.ร. ได้รับอุทธรณ์พร้อมเอกสารตามข้อ ๑๑
ครบถ้วนจากสถาบันอุดมศึกษา
(๒)
กรณีที่ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อสำนักงาน ให้นับแต่วันที่สำนักงานได้รับอุทธรณ์
ข้อ ๑๕ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านกรรมการ ก.อ.ร.
โดยทำเป็นหนังสือแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านยื่นต่อประธาน
ก.อ.ร. ภายในระยะเวลาอุทธรณ์ ถ้ากรรมการ ก.อ.ร. ผู้นั้นมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
(๒)
มีส่วนได้ส่วนเสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์
(๔)
เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นหรือเคยเป็นผู้สั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษทางวินัย
(๕)
เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินการสั่งให้ออกจากราชการหรือการดำเนินการทางวินัย
(๖)
มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติหรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์
เมื่อประธาน ก.อ.ร. ได้รับหนังสือคัดค้าน
ให้แจ้งกรรมการ ก.อ.ร.
ทราบก่อนเริ่มพิจารณาอุทธรณ์เพื่อให้พิจารณาว่าสมควรถอนตัวหรือไม่ กรรมการ ก.อร.
ซึ่งมีกรณีตามวรรคหนึ่ง อาจขอถอนตัวจากการพิจาณาอุทธรณ์
เว้นแต่การถอนตัวนั้นจะมีผลกระทบต่อองค์ประชุม ก.อ.ร.
อาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาขอให้กรรมการ ก.อ.ร. เข้าร่วมประชุมต่อไปได้
กรณีที่กรรมการ ก.อ.ร. มิได้ขอถอนตัว
ให้ที่ประชุม ก.อ.ร. พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน ถ้าที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือให้แจ้งกรรมการผู้นั้นทราบ
และไม่ให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์เรื่องนั้น เว้นแต่การให้กรรมการผู้นั้นร่วมพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
เพราะจะทำให้ได้ความจริงและเป็นธรรม จะอนุญาตให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์ด้วยก็ได้
การที่กรรมการ ก.อ.ร.
ผู้ถูกคัดค้านที่ถูกสั่งไม่ให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์หรือถอนตัวเพราะมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านนั้น
ย่อมไม่กระทบถึงการกระทำใด ๆ
ที่ได้กระทำไปแล้วแม้ว่าจะได้ดำเนินการหลังจากที่ได้มีการยื่นคำคัดค้าน
ข้อ ๑๖
ในกรณีมีเหตุผลความจำเป็น ก.อ.ร. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ก.อ.ร.
ขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ โดยแต่ละคณะให้มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้พิจารณากลั่นกรอง
ตรวจสอบสำนวนอุทธรณ์ของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แล้วเสนอต่อ ก.อ.ร.
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ ก.อ.ร.หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจาก
ก.อ.ร.
คณะอนุกรรมการ ก.อ.ร.
ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน ก.อ.ร.
คนหนึ่งเป็นประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.อ.ร. คนหนึ่งเป็นอนุกรรมการ
และอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์สองคนซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนในสำนักงานหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิจารณาตามความจำเป็น
และในกรณีที่เป็นการตรวจสอบกลั่นกรองสำนวนอุทธรณ์
ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวน เป็นกรรมการและเลขานุการ
การคัดค้านอนุกรรมการ ก.อ.ร. ตามวรรคสอง
ให้นำข้อ ๑๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๗
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้รับผิดชอบสำนวน
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ ก.อ.ร.
เกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๘
การพิจารณาอุทธรณ์ให้ ก.อ.ร. พิจารณาจากสำนวนการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นและสำนวนการสอบสวนและให้มีอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
หรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
(๒)
ให้บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
หรือสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำเป็นพยานหรือชี้แจงข้อเท็จจริง
และจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(๓)
สั่งให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม
ในกรณีที่ ก.อ.ร.
เห็นว่าข้อเท็จจริงซึ่งได้มาจากการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตาม (๑) ถึง (๓) อาจเป็นผลร้ายหรือไม่เป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ ให้เลขานุการ ก.อ.ร.
มีหนังสือแจ้งผู้อุทธรณ์ให้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนภายในระเวลาที่
ก.อ.ร. กำหนด
ข้อ ๑๙
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา ให้ ก.อ.ร.
รับฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ทุกกรณี
และผู้อุทธรณ์มีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนพิจารณาของ ก.อ.ร. ได้คนหนึ่ง
การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้กระทำลงต่อหน้าผู้อุทธรณ์และ ก.อ.ร. ให้ถือว่าเป็นการกระทำแทนผู้อุทธรณ์
เว้นแต่ผู้อุทธรณ์จะได้คัดค้านเสียในขณะนั้น และหาก ก.อ.ร.
พิจารณาเห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาก็ได้
หากสถาบันอุดมศึกษาประสงค์จะมาแถลงแก้
ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มาแถลงแก้ต่อที่ประชุมครั้งนั้นได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี
ข้อ ๒๐
เมื่อความปรากฏแก่ ก.อ.ร. ว่าผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้รอการวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นออกไปจนกว่าทายาทตามข้อ ๗ จะมีคำขอเข้ามาหรือโดยที่ ก.อ.ร.
เรียกเข้ามาเพื่อเปิดโอกาสให้ทายาทเข้ามาแถลงชี้แจงประเด็นการอุทธรณ์
โดยให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อประธาน ก.อ.ร.
ภายในกำหนดสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ถึงแก่ความตาย และให้ ก.อ.ร.
ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์ต่อไป
ทั้งนี้ จะวินิจฉัยเป็นผลร้ายยิ่งกว่า
แก่ผู้อุทธรณ์ที่ถึงแก่ความตายนั้นไม่ได้
ข้อ ๒๑
เมื่อ ก.อ.ร. ได้พิจารณาอุทธรณ์แล้วให้มีมติหรือคำวินิจฉัยดังนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการ
หรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสมกับความผิดแล้ว
ให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการ
หรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงไม่ชอบด้วยกฎหมายให้มีมติเพิกถอนคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยนั้น
(ก) ถ้าการสั่งให้ออกจากราชการ
หรือการสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงไม่ชอบด้วยกฎหมายสารบัญญัติ
ให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งลงโทษทางวินัย สั่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการตามเดิม
และในกรณีที่อุทธรณ์ใดเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรงให้อธิการบดีพิจารณาลงโทษในความผิดวินัยไม่ร้ายแรงนั้น
(ข)
ถ้าการสั่งลงโทษนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีสบัญญัติ
ให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
ดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายกำหนดให้ครบถ้วน เมื่อดำเนินการครบถ้วนแล้ว
หากอธิการบดียังคงยืนยันคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงดังกล่าว
ก็ให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัย
ยืนยันคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงนั้น
แต่หากอธิการบดีมีความเห็นอย่างอื่นก็ให้ดำเนินการเพิกถอนคำสั่งเดิมและอาจมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
(๓)
ถ้าเห็นว่าโทษที่ผู้อุทธรณ์ได้รับโทษไม่เหมาะสมกับความผิด
ให้อธิการบดีสั่งลงโทษตามมติของ ก.อ.ร.
ข้อ ๒๒
คำวินิจฉัยหรือคำสั่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑)
ชื่อผู้อุทธรณ์
(๒)
ชื่อคู่กรณีในอุทธรณ์
(๓)
สรุปอุทธรณ์และคำขอของผู้อุทธรณ์
(๔)
สรุปคำแก้อุทธรณ์
(๕)
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
(๖)
คำวินิจฉัยแต่ละประเด็นพร้อมเหตุผล
(๗)
สรุปคำวินิจฉัยที่กำหนดให้คู่กรณีปฏิบัติหรือดำเนินการต่อไป
(๘)
แจ้งสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
คำวินิจฉัยหรือคำสั่งตามวรรคหนึ่ง
ต้องลงลายมือชื่อของ ก.อ.ร. ที่นั่งพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นด้วย
ถ้าผู้ใดมีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้ผู้นั้นจดแจ้งเหตุดังกล่าวไว้ในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ ๒๓
ผู้อุทธรณ์จะขอถอนอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่ ก.อ.ร.
จะพิจารณาอุทธรณ์เสร็จสิ้นก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือถึงประธาน ก.อ.ร.
แต่ถ้าผู้อุทธรณ์ถอนอุทธรณ์ด้วยวาจาให้เลขานุการ ก.อ.ร.
บันทึกไว้และจัดให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้วการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ และให้ประธาน ก.อ.ร.
มีคำสั่งจำหน่ายอุทธรณ์ออกจากสารบบ
การถอนอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ไม่ตัดสิทธิผู้อุทธรณ์ที่ยื่นอุทธรณ์ใหม่ภายในระยะเวลาอุทธรณ์
หมวด
๓
การดำเนินการตามมติและคำวินิจฉัยของ
ก.อ.ร.
ข้อ ๒๔
ในกรณีที่ ก.อ.ร. มีมติตามข้อ ๑๘ แล้วให้เลขานุการ ก.อ.ร. แจ้งมติให้สถาบันอุดมศึกษาทราบโดยเร็ว
ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการออกคำสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากเลขานุการ
ก.อ.ร. และเมื่อได้มีการดำเนินการตามมติ ก.อ.ร.
เสร็จสิ้นแล้วให้รายงานผลการดำเนินการและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังเลขานุการ
ก.อ.ร. โดยเร็ว
ข้อ ๒๕
เมื่อ ก.อ.ร. ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ ๒๑ แล้วให้เลขานุการ ก.อ.ร.
แจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือและแจ้งให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว
เมื่อ ก.อ.ร. มีมติตามข้อ ๒๑ (๒) (ก) และ (๓)
ให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงดำเนินการออกคำสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากเลขานุการ
ก.อ.ร. และเมื่อได้ออกคำสั่งหรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วให้แจ้ง
ก.อ.ร. ทราบภายในเจ็ดวัน
ข้อ ๒๖
ในกรณีที่อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงมีคำสั่งตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ
ก.อ.ร. ให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการ
ทั้งนี้ ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือนสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้
ระหว่างถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
ประธาน
ก.อ.ร.
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๓
เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๕๐/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
580885 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2551
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ มาตรา ๔๙ วรรคสาม มาตรา ๕๐ วรรคสอง มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๖๕
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ทั้งนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนดตามมาตรา ๑๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ คำสั่ง
และประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้
ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นายกสภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ผู้บังคับบัญชา หมายความว่า
ผู้บังคับบัญชาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้บังคับบัญชาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏและตำแหน่งอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานในส่วนราชการของมหาวิทยาลัย
โดยออกเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดมหาวิทยาลัย
ข้าราชการฝ่ายพลเรือน หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือน
ในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน
พนักงานมหาวิทยาลัย หมายความว่า
พนักงานมหาวิทยาลัยตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย
ก.พ.อ. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ หมายความว่า
คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจำมหาวิทยาลัยตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาว่าด้วยการบริหารมหาวิทยาลัย
ข้อ
๕ ให้นายกสภามหาวิทยาลัยรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้ข้อบังคับนี้
หมวด ๑
หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนพิจารณา
ข้อ
๖ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่ข้าราชการจะกระทำได้ต่อเมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าได้กระทำผิดวินัย
หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยพลัน
และต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า
เว้นแต่เป็นกรณีการกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
หรือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
จะไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการที่กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงที่ไม่แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ข้อ
๗ ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
หรือปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการผู้นั้นรายงานเป็นหนังสือให้อธิการบดีทราบโดยพลัน
เมื่ออธิการบดีได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง
หรือมีกรณีกล่าวหาต่ออธิการบดี
หรือความปรากฏต่ออธิการบดีว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้อธิการบดีพิจารณาดำเนินการต่อไปโดยเร็ว
ข้อ
๘ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้อธิการบดีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา
๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ในกรณีอธิการบดีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ
๙ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือน
หรือพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวนอย่างน้อยสามคน
ประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน
ที่ดำรงตำแหน่งระดับไม่ต่ำกว่าหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหา
และกรรมการอย่างน้อยอีกสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ในกรณีจำเป็นจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือพนักงานมหาวิทยาลัยก็ได้
และให้นำข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ ข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คณะกรรมการสอบสวนต้องมีผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย
อย่างน้อยหนึ่งคน
เมื่อมีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนแล้ว
แม้ภายหลังประธานกรรมการจะดำรงตำแหน่งระดับต่ำกว่าหรือเทียบได้ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่กระทบถึงการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ
ข้อ
๑๐ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องระบุชื่อ
และตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหาเรื่องที่กล่าวหา
ชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการสอบสวนและผู้ช่วยเลขานุการ
(ถ้ามี)
โดยในคำสั่งให้ระบุไว้ด้วยว่าเป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ ให้มีสาระสำคัญตามแบบ วน.๑
ท้ายข้อบังคับนี้
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งไม่กระทบถึงการที่ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
ข้อ
๑๑ เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
แจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อ
และวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้ ให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับด้วย
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับทราบคำสั่งหรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบได้
ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
(๒)
ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวน
และส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่ารับทราบตาม (๑)
พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา ให้ประธานกรรมการ
และให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๒ เมื่อได้รับเรื่องตามข้อ ๑๑ (๒)
แล้ว
ให้ประธานกรรมการดำเนินการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวางแนวทางการสอบสวนต่อไป
ข้อ
๑๓ การประชุมคณะกรรมการสอบสวนต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่การประชุมตามข้อ ๒๒ และข้อ ๓๗
ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
การประชุมคณะกรรมการสอบสวนต้องมีประธานกรรมการอยู่ร่วมประชุมด้วย
แต่ในกรณีจำเป็นที่ประธานกรรมการไม่สามารถเข้าประชุมได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทน
การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการสอบสวนให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ
๑๔ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาจำนวนไม่เกินหนึ่งคน
เข้าร่วมฟังการสอบสวนในการประชุมที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบได้
แต่ทนายความหรือที่ปรึกษาจะให้ถ้อยคำหรือตอบคำถามแทนผู้ถูกกล่าวหาหรือเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสอบสวนไม่ได้
ให้ทนายความหรือที่ปรึกษาที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ
๑๕ ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑)
รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามเรื่องที่กล่าวหา
(๒)
มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองผู้ถูกกล่าวหา
(๔)
เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดา
มารดาหรือร่วมบิดาหรือมารดาของผู้กล่าวหา
(๕)
มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม
การคัดค้านผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการโดยแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสือคัดค้านด้วยว่าจะทำให้การสอบสวนไม่ได้ความจริงและความยุติธรรมอย่างไร
ในการนี้ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งสำเนาหนังสือคัดค้านและแจ้งวันที่ได้รับหนังสือคัดค้านดังกล่าวให้ประธานกรรมการทราบและรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนด้วย
ในการพิจารณาเรื่องการคัดค้าน
ผู้ซึ่งถูกคัดค้านอาจทำคำชี้แจงได้ หากผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าหนังสือคัดค้านมีเหตุผลรับฟังได้
ให้สั่งให้ผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน
หากเห็นว่าหนังสือคัดค้านไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้
ให้สั่งยกคำคัดค้านนั้นโดยให้สั่งการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือคัดค้าน
ทั้งนี้ ให้แสดงเหตุผลในการพิจารณาสั่งการดังกล่าวด้วย
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วส่งเรื่องให้คณะกรรมการสอบสวนรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนโดยเร็ว
การสั่งยกคำคัดค้านให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในสิบห้าวันตามวรรคสาม
ให้ถือว่าผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน
และให้เลขานุการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการตามข้อ
๑๗ ต่อไป
การพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน
ไม่กระทบถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนเห็นว่าตนมีเหตุอันอาจถูกคัดค้านตามข้อ
๑๕ วรรคหนึ่ง ให้ผู้นั้นรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และให้นำข้อ ๑๕
วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ ภายใต้บังคับข้อ ๙
เมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเพิ่มหรือลดจำนวนผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
ให้ดำเนินการได้โดยให้แสดงเหตุแห่งการสั่งนั้นไว้ด้วย และให้นำข้อ ๑๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเปลี่ยนแปลงผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่งไม่กระทบถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ
๑๘ คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนตามหลักเกณฑ์
วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับนี้
เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดกระบวนการสอบสวน
ในการนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมประวัติและความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาและจัดทำบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนไว้ทุกครั้งด้วย
ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าร่วมทำการสอบสวน
ข้อ
๑๙ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถสอบสวนให้แล้วเสร็จในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งได้
ให้คณะกรรมการสอบสวนขอขยายเวลาการสอบสวนต่อนายกสภามหาวิทยาลัยก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งและให้นายกสภามหาวิทยาลัยขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๒๐ การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้กรรมการสอบสวนบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร
จากผู้ใด และเมื่อใด
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับ
แต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้
จะใช้สำเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้องก็ได้
ถ้าหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลาย
หรือโดยเหตุประการอื่น จะให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
ข้อ
๒๑ เมื่อได้พิจารณาเรื่องที่กล่าวหาและวางแนวทางการสอบสวนตามข้อ
๑๒ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกล่าวหามาเพื่อแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามเรื่องที่กล่าวหาให้ทราบว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร ในการนี้ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะได้รับแจ้งสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาและมีสิทธิที่จะให้ถ้อยคำ
หรือชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตลอดจนอ้างพยานหลักฐานหรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒๒
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๒ ท้ายข้อบังคับนี้
โดยทำเป็นสองฉบับเพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
เก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่
อย่างไร
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าการกระทำตามที่ถูกล่าวหาดังกล่าวเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด
หากผู้ถูกกล่าวหายังคงยืนยันตามที่รับสารภาพให้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพรวมทั้งเหตุผลในการรับสารภาพ
(ถ้ามี) และสาเหตุแห่งการกระทำไว้ด้วยในกรณีเช่นนี้
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนต่อไปก็ได้ หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหาโดยละเอียดจะทำการสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
แล้วดำเนินการตามข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามิได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพ
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาแล้วดำเนินการตามข้อ
๒๒ ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาแล้วแต่ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบข้อกล่าวหาหรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนส่งบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๒
ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหา
ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ หรือสถานที่ติดต่อที่ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งให้ทราบ
พร้อมทั้งมีหนังสือสอบถามผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่
การแจ้งข้อกล่าวหาในกรณีเช่นนี้ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๒ เป็นสามฉบับ
เพื่อเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
ส่งให้ผู้ถูกล่าวหาสองฉบับโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาเก็บไว้หนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบส่งกลับคืนมารวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าวแม้จะไม่ได้รับแบบ วน. ๒
คืนให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหาแล้ว
และให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามวรรคห้าต่อไป
ข้อ
๒๒ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๑ แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใดสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร และเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
หรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด
แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา
โดยระบุข้อกล่าวหาที่ปรากฏตามพยานหลักฐานว่าเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด
และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ทราบโดยระบุวัน เวลา สถานที่
และการกระทำที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหาสำหรับพยานบุคคลจะระบุหรือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้
การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง
ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๓ ท้ายข้อบังคับนี้โดยทำเป็นสองฉบับ
เพื่อมอบให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับและให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบไว้เป็นหลักฐานด้วย
เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาว่าจะยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือหรือไม่
ถ้าผู้ถูกล่าวหาประสงค์จะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ
ให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหายื่นคำชี้แจงภายในเวลาอันสมควร
แต่อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อกล่าวหาและสรุปพยานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำเพิ่มเติมรวมทั้งนำสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะยื่นคำชี้แจงเป็นหนังสือ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาโดยเร็ว
การนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
ผู้ถูกกล่าวหาจะนำพยานหลักฐานมาเอง
หรือจะอ้างพยานหลักฐานแล้วขอให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานหลักฐานนั้นมาก็ได้
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่าง
ๆ เสร็จแล้วให้ดำเนินการตามข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาแล้วแต่ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบหรือไม่มารับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนส่งบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๓
ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
หรือสถานที่ติดต่อที่ผู้ถูกกล่าวหาแจ้งให้ทราบพร้อมทั้งมีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงนัดมาให้ถ้อยคำและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา
การแจ้งในกรณีนี้ให้ทำบันทึกมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๓ เป็นสามฉบับ เพื่อเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาสองฉบับโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาเก็บไว้หนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบส่งกลับคืนมารวมไว้ในสำนวนการสอบสวนหนึ่งฉบับ
เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว แม้จะไม่ได้รับแบบ วน. ๓
คืน หรือไม่ได้รับคำชี้แจงจากผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำตามนัด
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาแล้วและไม่ประสงค์ที่จะแก้ข้อกล่าวหา
ในกรณีเช่นนี้คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนต่อไปก็ได้
หรือถ้าเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจะสอบสวนต่อไปตามควรแก่กรณีก็ได้
แล้วดำเนินการตามข้อ ๓๗ และข้อ ๓๘ ต่อไป
แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหามาขอให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือขอนำสืบแก้ข้อกล่าวหาก่อนที่คณะกรรมการสอบสวนจะเสนอสำนวนการสอบสวนตามข้อ
๓๘
โดยมีเหตุผลอันสมควรให้คณะกรรมการสอบสวนให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาตามที่ผู้ถูกกล่าวหาร้องขอ
ข้อ
๒๓ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานตามข้อ
๒๒ เสร็จแล้วก่อนเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ ๓๘
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจำเป็นจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการได้
ถ้าพยานหลักฐานที่ได้เพิ่มเติมมานั้นเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนสรุปพยานหลักฐานดังกล่าวให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้เฉพาะพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่สนับสนุนข้อกล่าวหานั้น
ทั้งนี้ ให้นำข้อ ๒๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๔ ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ยื่นคำชี้แจงหรือให้ถ้อยคำแก้ข้อกล่าวหาไว้แล้วมีสิทธิยื่นคำชี้แจงเพิ่มเติม
หรือขอให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อคณะกรรมการสอบสวนก่อนการสอบสวนแล้วเสร็จ
เมื่อการสอบสวนแล้วเสร็จและยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชาคนใหม่ตามข้อ
๓๖
ผู้ถูกกล่าวหาจะยื่นคำชี้แจงต่อบุคคลดังกล่าวก็ได้ในกรณีเช่นนี้ให้รับคำชี้แจงนั้นรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ
๒๕ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
จึงจะสอบสวนได้
ข้อ
๒๖ ก่อนเริ่มสอบปากคำพยาน
ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งให้พยานทราบว่ากรรมการสอบสวนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อกรรมการสอบสวนอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย
ข้อ
๒๗ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ห้ามมิให้กรรมการสอบสวนผู้ใดกระทำการล่อลวง ขู่เข็ญ
ให้สัญญาหรือกระทำการใดเพื่อจูงใจให้บุคคลนั้นให้ถ้อยคำอย่างใด ๆ
ข้อ
๒๘ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ให้คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ซึ่งจะถูกสอบปากคำเข้ามาในที่สอบสวนคราวละหนึ่งคน
ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบสวน เว้นแต่บุคคลตามข้อ ๑๔
หรือบุคคลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวน
การสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาและพยาน
ให้บันทึกถ้อยคำมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๔ หรือแบบ วน. ๕ ท้ายข้อบังคับนี้
แล้วแต่กรณี เมื่อได้บันทึกถ้อยคำเสร็จแล้ว
ให้อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟังหรือจะให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านเองก็ได้
เมื่อผู้ให้ถ้อยคำรับว่าถูกต้องแล้ว
ให้ผู้ให้ถ้อยคำและผู้บันทึกถ้อยคำลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
และให้คณะกรรมการสอบสวนทุกคนซึ่งร่วมสอบสวนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้นด้วย
ถ้าบันทึกถ้อยคำมีหลายหน้า
ให้กรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกหน้า
ในการบันทึกถ้อยคำ
ห้ามมิให้ขูดลบหรือบันทึกข้อความทับ ถ้าจะต้องแก้ไขข้อความที่ได้บันทึกไว้แล้วให้ใช้วิธีขีดฆ่าหรือตกเติม
และให้กรรมการสอบสวนผู้ร่วมสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนกับผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่งที่ขีดฆ่าหรือตกเติม
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ
ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำนั้น
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้
ให้นำมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๙ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกบุคคลใดมาเป็นพยาน
ให้บุคคลนั้นมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำตามวัน เวลา และสถานที่ที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
ในกรณีที่พยานมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำหรือไม่มา
หรือคณะกรรมการสอบสวนเรียกพยานไม่ได้ภายในเวลาอันสมควร
คณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนพยานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนตามข้อ ๑๘
และรายงานการสอบสวนตามข้อ ๓๘
ข้อ
๓๐ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนพยานหลักฐานใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น
หรือมิใช่พยานหลักฐานในประเด็นสำคัญ จะงดการสอบสวนพยานหลักฐานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนตามข้อ ๑๘ และรายงานการสอบสวนตามข้อ
๓๘
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่จะต้องสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่
ประธานกรรมการจะรายงานต่อผู้สั่งแต่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานแทนก็ได้โดยกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่จะต้องสอบสวนไปให้
ในกรณีเช่นนี้ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานเลือกข้าราชการฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างเป็นอื่นที่เห็นสมควรอย่างน้อยอีกสองคนมาร่วมเป็นคณะทำการสอบสวน
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะทำการสอบสวนมีฐานะเป็นคณะกรรมการสอบสวนตามข้อบังคับนี้ และให้นำข้อ ๑๓
วรรคหนึ่ง ข้อ ๑๘ วรรคสอง ข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖ ข้อ ๒๗ ข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๓๒ ภายใต้บังคับข้อ ๖
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
กรณีมีมูลว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยตามรายงาน
ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวนโดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้ทำการสอบสวน
หรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่การสวนสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการผู้อื่น
ให้คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาในเบื้องต้นว่าข้าราชการผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วยหรือไม่
ถ้าเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นอยู่ด้วย
ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีโดยเร็วต่อไป
ภายใต้บังคับข้อ
๖ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า
กรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยตามรายงาน
ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเป็นผู้สอบสวนหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ก็ได้
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
กรณีเช่นนี้ให้ใช้พยานหลักฐานที่ได้สอบสวนมาแล้วประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนโดยแยกเป็นสำนวนการสอบสวนใหม่
ให้นำสำเนาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในสำนวนการสอบสวนเดิมรวมในสำนวนการสอบสวนใหม่หรือบันทึกให้ปรากฏว่านำพยานหลักฐานใดจากสำนวนการสอบสวนเดิมมาประกอบการพิจารณาในสำนวนการสอบสวนใหม่ด้วย
ข้อ
๓๔ ในกรณีการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและระหว่างสอบสวนถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุผลความจำเป็นที่ควรให้ผู้ถูกกล่าวหาพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในหมวด
๕ ของข้อบังคับนี้ ให้ประธานกรรมการรายงานไปยังผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเสนอแนะให้มีการสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนต่อไป
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดหรือต้องรับผิดในคดีที่เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าว
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้ว
ให้ถือเอาคำพิพากษานั้นเป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องสอบสวนพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหา
แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามข้อ
๒๒ ให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย
ข้อ
๓๖ ในระหว่างการสอบสวน
แม้จะมีการสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาไปอยู่นอกบังคับบัญชาของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนต่อไปจนเสร็จแล้วทำรายงานการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ
๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔
และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของผู้ถูกกล่าวหาเพื่อดำเนินการตามข้อ
๓๙ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณีต่อไป ทั้งนี้
ให้ผู้บังคับบัญชาคนใหม่มีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ
๔๔ ด้วย
ข้อ
๓๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานต่าง
ๆ เสร็จแล้วให้ประชุมพิจารณาลงมติดังนี้
(๑)
ผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยหรือไม่
ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด และควรได้รับโทษ สถานใด
(๒)
กรณีถูกสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๕๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือไม่ อย่างไร
ข้อ
๓๘ เมื่อได้ประชุมพิจารณาลงมติตามข้อ
๓๗ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนทำรายงานการสอบสวนซึ่งมีสาระสำคัญตามแบบ วน. ๖
ท้ายข้อบังคับนี้ เสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้กับรายงานการสอบสวน
โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบสวนด้วย
รายงานการสอบสวนอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ
ดังนี้
(๑)
สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่ามีอย่างใดบ้าง ในกรณีที่ไม่ได้สอบสวนพยานตามข้อ
๒๙ และข้อ ๓๐ ให้รายงานเหตุที่ไม่ได้สอบสวนนั้นให้ปรากฏไว้ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถ้อยคำรับสารภาพให้บันทึกเหตุผลในการรับสารภาพ
(ถ้ามี) ไว้ด้วย
(๒)
วินิจฉัยเปรียบเทียบพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหากับพยานหลักฐานที่หักล้างข้อกล่าวหา
(๓)
ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่อย่างไร ถ้าผิดเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด และควรได้รับโทษสถานใด อย่างไร
หรือให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๕๗ (๙)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
กรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงแต่ผลการสอบสวนไม่อาจลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงได้หรือไม่อย่างไร
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ทำรายงานการสอบสวนแล้ว
ให้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งสารบาญต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
และให้ถือว่าการสอบสวนแล้วเสร็จ
ข้อ
๓๙ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้เสนอสำนวนการสอบสวนมาแล้วให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตรวจสอบความถูกต้องของสำนวนการสอบสวนตามข้อ
๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดหรือไม่มีเหตุที่จะให้ออกจากราชการตามมาตรา
๕๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
สมควรยุติเรื่อง หรือกระทำผิดที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควรโดยเร็ว
(๒)
ในกรณีการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงสมควรลงโทษปลดออกหรือไล่ออกให้อธิการบดีพิจารณา
ถ้าเห็นสมควรให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาก็ให้เสนอโดยเร็วและเมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติเป็นประการใดให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี สั่งการให้เป็นไปตามนั้นโดยเร็ว
(๓)
ในกรณีการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าควรให้ผู้ถูกกล่าวหาออกจากราชการตามมาตรา
๕๗ (๙) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ให้เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาโดยเร็ว
และเมื่อสภามหาวิทยาลัยมีมติเป็นประการใด ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสองหรือวรรคสาม
แล้วแต่กรณี สั่งให้เป็นไปตามนั้นโดยเร็ว
ข้อ
๔๐ ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี เห็นสมควรให้สอบสวนเพิ่มเติมประการใด
ให้กำหนดประเด็นพร้อมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมเพื่อดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมไม่อาจทำการสอบสวนได้
หรือผู้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมเห็นเป็นการสมควร
จะแต่งตั้งคณะกรรรมการสอบสวนคณะใหม่ขึ้นทำการสอบสวนเพิ่มเติมก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ให้นำข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้ส่งพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมไปให้ผู้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมโดยไม่ต้องทำความเห็น
ข้อ
๔๑ ในกรณีปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามข้อ
๙ ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘
สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง
ข้อ
๔๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้อง
ให้การสอบสวนตอนนั้นเสียไปเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
การประชุมของคณะกรรมการสอบสวนมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓
วรรคหนึ่ง
(๒)
การสอบปากคำบุคคลดำเนินการไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘ วรรคสอง ข้อ ๒๕ ข้อ ๒๖
ข้อ ๒๗ ข้อ ๒๘ วรรคหนึ่ง หรือข้อ ๓๑
ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี
สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ
๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนไม่เรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหา
และสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
หรือไม่ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่มีหนังสือขอให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง
หรือนัดมาให้ถ้อยคำหรือนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามข้อ ๒๒ ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘
หรือสภามหาวิทยาลัยแล้วแต่กรณี สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาที่จะชี้แจงให้ถ้อยคำ
และนำสืบแก้ข้อกล่าวหาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๒ ด้วย
ข้อ
๔๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าการสอบสวนตอนใดทำไม่ถูกต้องตามข้อบังคับนี้
นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ และข้อ ๔๓
ถ้าการสอบสวนตอนนั้นเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ หรือสภามหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนแก้ไขหรือดำเนินการตอนนั้นให้ถูกต้องโดยเร็ว
แต่ถ้าการสอบสวนตอนนั้นมิใช่สาระสำคัญอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้แก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องหรือไม่ก็ได้
หมวด ๒
การกำหนดโทษและการสั่งลงโทษ
ข้อ
๔๕ ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชา พิจารณาลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น ตามควรแห่งกรณี
ให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่สำหรับโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยหรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
ข้อ
๔๖ ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาโดยมติสภามหาวิทยาลัยสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้ลงโทษไล่ออก
ข้าราชการผู้ใดกระทำผิดในกรณีดังต่อไปนี้ให้ลงโทษไล่ออกหรือปลดออก
(๑)
แก้ไขผลการเรียนหรือผลการสอบของนักศึกษาโดยมิชอบ
(๒)
มีหน้าที่ออกข้อสอบแล้วเปิดเผยข้อสอบโดยมิชอบ
(๓)
แอบอ้างเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาเป็นผลงานทางวิชาการของตน
(๔)
ล่วงละเมิดทางเพศกับนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียน
(๕)
ประพฤติผิดชู้สาวหรือกระทำอนาจารกับนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนในกรณีร้ายแรง
ข้อ
๔๗ การสั่งลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามข้อ
๔๕ ให้ผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษ
(๑)
อธิการบดี มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
(๒)
ในกรณีที่อธิการบดีกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ หรือตัดเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินร้อยละห้าและเป็นเวลาไม่เกินสามเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือนครั้งหนึ่งไม่เกินหนึ่งขั้น
ข้อ
๔๘ การสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๔๖
ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสองหรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามมติสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๔๙ การสั่งลงโทษให้ทำเป็นคำสั่งโดยในคำสั่งให้ระบุว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ฐานใด มาตราใด และระบุกรณีกระทำผิดกับเหตุผลในการกำหนดสถานโทษไว้ด้วย ทั้งนี้ ให้แจ้งสิทธิ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งด้วย
ข้อ
๕๐ การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือนตามข้อ ๔๗
มิให้สั่งลงโทษย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง
เว้นแต่การสั่งลงโทษผู้ถูกสั่งพักราชการหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้สั่งลงโทษย้อนหลังได้ตามข้อ
๖๗ (๑) หรือ (๒)
ข้อ
๕๑ การสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามข้อ
๔๘ มิให้สั่งย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑)
การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุก
โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก
โดยปกติให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกตั้งแต่วันต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือวันถูกคุมขังติดต่อกันจนถึงวันต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
(๒)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออกไปแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
การลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีเช่นนี้ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการตามคำสั่งเดิม
แต่ถ้าวันออกจากราชการตามคำสั่งเดิมไม่ถูกต้องก็ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
(๓)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๕๗ หรือมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปแล้ว
ถ้าจะต้องสั่งใหม่หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังถึงวันที่ควรต้องลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามกรณีนั้นในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
(๔)
การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งนั้นได้ออกจากราชการโดยถูกสั่งลงโทษปลดออก
หรือไล่ออก
หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่นหรือได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการไปก่อนแล้วให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันออกจากราชการนั้น
(๕)
การสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะต้องถูกสั่งนั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปก่อนแล้วให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ
(๖)
กรณีใดมีเหตุสมควรสั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังก็ให้สั่งปลดออกหรือไล่ออกย้อนหลังไปถึงวันที่ควรจะต้องออกจากราชการตามกรณีนั้นได้
แต่ ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำให้เสียประโยชน์ตามสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ถูกสั่งลงโทษนั้น
ข้อ
๕๒ การสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษเป็นไล่ออกหรือปลดออก
จะสั่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันใดให้นำข้อ ๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๕๓ การสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษเป็นลดขั้นเงินเดือน
ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันที่คำสั่งลงโทษเดิมใช้บังคับ ทั้งนี้
การสั่งย้อนหลังดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงสิทธิและประโยชน์ที่ผู้ถูกสั่งลงโทษได้รับไปแล้ว
ข้อ
๕๔ การสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษตามข้อ
๕๒ และข้อ ๕๓ ให้นำข้อ ๔๙
มาใช้บังคับโดยอนุโลมและให้ระบุเหตุผลในการสั่งเพิ่มโทษหรือลดโทษไว้ในคำสั่งด้วย
ข้อ
๕๕ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงแก่ข้าราชการผู้ใดแล้ว
ให้รายงานการดำเนินการทางวินัยให้สภามหาวิทยาลัยทราบโดยเร็ว
ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยเห็นว่าการยุติเรื่องการงดโทษหรือการลงโทษ
เป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
จะสั่งให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนการดำเนินการและสั่งการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ได้มีการสั่งการใหม่ให้เพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ถ้าเพิ่มโทษเป็นสถานโทษที่หนักขึ้น หรือลดโทษ
เป็นสถานโทษที่เบาลง หรืองดโทษหรือยกโทษ คำสั่งลงโทษเดิมให้เป็นอันยกเลิก
ถ้าลดโทษเป็นอัตราโทษที่เบาลงอัตราโทษส่วนที่เกินก็ให้เป็นอันยกเลิก
ในกรณีที่คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนเป็นอันยกเลิกหรืออัตราโทษส่วนที่เกินเป็นอันยกเลิกให้คืนเงินเดือนที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วตามคำสั่งที่เป็นอันยกเลิกหรืออัตราโทษส่วนเกินที่เป็นอันยกเลิกนั้นให้แก่ผู้ถูกลงโทษ
หมวด ๓
การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว
ข้อ
๕๖ ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือเป็นการตั้งเรื่องกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นแม้ภายหลังผู้นั้นจะพ้นจากราชการไปแล้ว
เว้นแต่พ้นจากราชการเพราะเหตุตาย หรือถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ
ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยตามข้อบังคับนี้ต่อไปเสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้พ้นจากราชการ
แต่ต้องดำเนินการทางวินัยภายในหนึ่งปีนับแต่วันพ้นจากราชการ
และในกรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณา
ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน ก็ให้งดโทษเสีย
หมวด ๔
การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือกระทำความผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ
ข้อ
๕๗ ข้าราชการผู้ใดถูกกล่าวหาหรือกระทำผิดวินัยก่อนวันโอนมาบรรจุ
หากการกระทำนั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นตามข้อบังคับนี้
หมวด ๕
การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ
๕๘ การสั่งให้ข้าราชการพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนระยะเวลาให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
และผลแห่งการสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ
๕๙ เมื่อข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
ผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา
(๓)
ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และได้ถูกควบคุม ขังหรือต้องจำคุกเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๔)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้มีอำนาจดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น
ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ
๖๐ การสั่งพักราชการให้สั่งพักได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๖๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
ข้อ
๖๑ ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวน
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดไว้แล้ว
ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย
ข้อ
๖๒ การสั่งพักราชการ
ห้ามมิให้สั่งพักย้อนหลังไปก่อนวันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑)
ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุมขังหรือต้องจำคุก
(๒)
ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้วถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง
ให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม
หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ
๖๓ คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพัก
ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการ ทั้งนี้ ให้ระบุสิทธิและระยะเวลาในการร้องทุกข์ไว้ในคำสั่งด้วย
เมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการผู้ใดพักราชการแล้ว
ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้นั้นทราบได้หรือผู้นั้นไม่ยอมรับทราบคำสั่ง
ให้ปิดสำเนาคำสั่งไว้ ณ ที่ทำการที่ผู้นั้นรับราชการอยู่และมีหนังสือแจ้งพร้อมกับส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปให้ผู้นั้น
ณ ที่อยู่ของผู้นั้นซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งพักราชการแล้ว
ข้อ
๖๔ เมื่อข้าราชการผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ
๕๙ และผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการนั้น
จะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ให้นำข้อ
๖๐ ข้อ ๖๑ และข้อ ๖๓ มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ
๖๕ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการผู้ใดพักราชการไว้แล้วผู้มีอำนาจตามข้อ
๘ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี จะพิจารณาตามข้อ ๖๔
และสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้
ข้อ
๖๖ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
จะสั่งให้ออกตั้งแต่วันใด ให้นำข้อ ๖๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่สำหรับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีตามข้อ ๖๕
ให้สั่งให้ออกตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป
ข้อ
๖๗ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าภายหลังจะต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
หรือตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ทั้งนี้
สำหรับการสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งในระดับเดียวกันที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสตราจารย์และตำแหน่งประเภททั่วไปวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ดำเนินการนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๑)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือหกสิบห้าปีบริบูรณ์
แล้วแต่กรณี และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ก็ให้ดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษให้เป็นไปตามข้อ ๔๕
ในการสั่งลงโทษตัดเงินเดือน
หรือลดขั้นเงินเดือน
ให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันสุดท้ายก่อนวันพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๒)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้ดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษให้เป็นไปตามข้อ ๔๕
แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นและให้นำ (๑) วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๓)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัยและไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์หรือหกสิบห้าปีบริบูรณ์
แล้วแต่กรณี และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
ก็ให้สั่งยุติเรื่อง
และให้เป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๔)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๕)
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้สั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออกโดยมติของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๖๘ การออกคำสั่งพักราชการ
คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการให้มีสาระสำคัญตามแบบ
วน. ๗ วน. ๘ และ วน. ๙ แล้วแต่กรณี ท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ
๖๙ เงินเดือน
เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือนและเงินช่วยเหลืออย่างอื่น
และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการ
และผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
สำหรับผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบดังกล่าวให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
หมวด ๖
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
ข้อ
๗๐ ข้าราชการผู้ใดถูกสั่งลงโทษ
ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อสภามหาวิทยาลัยได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ
๗๑ สภามหาวิทยาลัยอาจให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
พิจารณากลั่นกรองอุทธรณ์เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัย
ข้อ
๗๒ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษให้ทำเป็นหนังสือถึงนายกสภามหาวิทยาลัย
โดยให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
หนังสืออุทธรณ์ต้องแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการอุทธรณ์ให้เห็นว่าได้ถูกลงโทษโดยไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม
หรือไม่เป็นธรรมอย่างไร และลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์
ในการอุทธรณ์
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาประกอบการอุทธรณ์
ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์
ข้อ
๗๓ เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์
ผู้จะอุทธรณ์มีสิทธิขอตรวจหรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนหรือของผู้สอบสวนได้
ส่วนการขอตรวจหรือคัดบันทึกถ้อยคำบุคคล พยานหลักฐานอื่น หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษที่จะอนุญาตหรือไม่
โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ในการรักษาวินัยของข้าราชการ ตลอดจนเหตุผลและความจำเป็นเป็นเรื่อง
ๆ ไป
ข้อ
๗๔ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านผู้เป็นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษ
(๒)
มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัยที่ผู้อุทธรณ์ถูกลงโทษ
(๓)
มีสาเหตุโกรธเคืองผู้อุทธรณ์
(๔)
เป็นผู้กล่าวหาหรือเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ หรือเป็นคู่สมรส บุพการี
ผู้สืบสันดานหรือพี่น้องร่วมบิดามารดา
หรือร่วมบิดาหรือมารดาของผู้กล่าวหาหรือของผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ
การคัดค้านตามวรรคหนึ่งต้องแสดงข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านไว้ในหนังสืออุทธรณ์หรือแจ้งเพิ่มเติมเป็นหนังสือก่อนที่คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และสภามหาวิทยาลัยเริ่มพิจารณาอุทธรณ์แล้วแต่กรณี
เมื่อมีเหตุหรือมีการคัดค้านตามวรรคหนึ่ง
ผู้ที่ถูกคัดค้านจะขอถอนตัวไม่ร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้นก็ได้
ถ้าผู้ที่ถูกคัดค้านมิได้ขอถอนตัว
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์หรือสภามหาวิทยาลัยแล้วแต่กรณี
พิจารณาข้อเท็จจริงที่คัดค้าน หากเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นน่าเชื่อถือ
ให้แจ้งผู้ที่ถูกคัดค้านทราบและมิให้ร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้น เว้นแต่คณะกรรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์หรือสภามหาวิทยาลัย
แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นว่า
การให้ผู้ที่ถูกคัดค้านร่วมพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
เพราะจะทำให้ได้ความจริงและเป็นธรรมจะให้ผู้ที่ถูกคัดค้านร่วมพิจารณาอุทธรณ์นั้นก็ได้
ข้อ
๗๕ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถือวันที่ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษเป็นวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ถ้าผู้ถูกลงโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษ
และมีการแจ้งคำสั่งลงโทษให้ผู้ลงโทษทราบกับมอบสำเนาคำสั่งลงโทษให้ผู้ถูกลงโทษแล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี
เวลาและสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษได้โดยตรงและได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งลงโทษทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกลงโทษ
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกลงโทษ ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
โดยส่งสำนาคำสั่งลงโทษไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกลงโทษเก็บไว้หนึ่งฉบับ
และให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งลงโทษส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีเช่นนี้
เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้ถูกลงโทษได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งลงโทษฉบับที่ให้ผู้ถูกลงโทษลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งลงโทษกลับคืนมา
ให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษได้รับแจ้งคำสั่งแล้ว
ข้อ
๗๖ การยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งผ่านผู้บังคับบัญชาก็ได้ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับหนังสืออุทธรณ์แล้วให้ลงวันเดือนปีที่ได้รับไว้ในหนังสืออุทธรณ์
และให้ถือว่าวันที่ได้รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
และให้ผู้บังคับบัญชานั้นดำเนินการตามข้อ ๗๙ (๑) ต่อไป
ในกรณีที่มีผู้นำหนังสืออุทธรณ์มายื่นเองให้ยื่นที่สำนักงานอธิการบดีและให้ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือ
ประทับตรารับหนังสือ
และลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
ในกรณีที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันส่งหนังสืออุทธรณ์
เมื่อได้ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งคำแถลงการณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
เริ่มพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้ โดยยื่นหรือส่งตรงต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
ข้อ
๗๗ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๗๐ และมีสาระสำคัญตามข้อ ๗๒
ในกรณีที่มีปัญหาว่าอุทธรณ์รายใดเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณาเสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัยโดยเร็ว
ในกรณีที่สภามหาวิทยาลัยมีมติไม่รับอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไว้พิจารณา
ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปมิได้
ข้อ
๗๘ ผู้อุทธรณ์จะขอถอนอุทธรณ์ก่อนที่สภามหาวิทยาลัยพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นก็ได้
โดยทำเป็นหนังสือยื่นหรือส่งตรงต่อนายกสภามหาวิทยาลัย
เมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้วการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ
ข้อ
๗๙ เมื่อได้รับเรื่องการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้มีการดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้
(๑)
เมื่อผู้บังคับบัญชาได้รับหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ ๗๖ วรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นส่งหนังสืออุทธรณ์ต่อไปยังผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหนังสืออุทธรณ์และให้ผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษจัดส่งหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวพร้อมทั้งสำเนาหลักฐานการรับแจ้งคำสั่งลงโทษของผู้อุทธรณ์
สำนวนการสืบสวนหรือการพิจารณาในเบื้องต้นและสำนวนการดำเนินการทางวินัยพร้อมทั้งคำชี้แจงของตน
(ถ้ามี) ไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์จากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
(๒)
เมื่อสำนักงานอธิการบดีได้รับเรื่องอุทธรณ์ตามข้อ ๗๖ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
แล้ว
ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์แล้วให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์รวบรวมหลักฐานตาม
(๑) ให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง
(๓)
เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ได้รับเรื่องอุทธรณ์แล้ว
ให้พิจารณาเรื่องอุทธรณ์และนำเสนอสภามหาวิทยาลัยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องตาม
(๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี
(๔)
เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่องอุทธรณ์ตาม (๓) แล้ว
ให้พิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้อุทธรณ์ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ
๗๖
ข้อ
๘๐ การพิจารณาอุทธรณ์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และสภามหาวิทยาลัยพิจารณาจากสำนวนการสืบสวนหรือการพิจารณาในเบื้องต้น
และสำนวนการดำเนินการทางวินัย
และในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ ห้างหุ้นส่วน
บริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใดๆ
มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้แถลงการณ์ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และให้นำข้อ ๑๔
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่นัดให้ผู้อุทธรณ์มาแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อที่ประชุม
ให้แจ้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่สั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ก็ให้มาแถลงหรือมอบหมายเป็นหนังสือ ให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาต่อที่ประชุมนั้นได้
ทั้งนี้
ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่สั่งลงโทษหรือเพิ่มโทษหรือผู้แทนเข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ได้
ในการพิจารณาอุทธรณ์
ถ้าคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์
เห็นสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรมให้เสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาสั่งให้มีการสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๘๑ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว
(๑)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษถูกต้องชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสมกับความผิดแล้วให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมายแต่เห็นว่าระดับโทษยังไม่เหมาะสมกับความผิดให้มีมติเปลี่ยนแปลงระดับโทษให้เหมาะสมกับความผิด
(๓)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมายให้มีมติเพิกถอนคำสั่งและให้ดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสม
(๔)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษไม่ถูกต้อง และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดวินัยหรือพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย
ให้มีมติให้ยกโทษ
(๕)
ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมให้มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ในกรณีที่มีผู้ถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้กระทำร่วมกัน
และเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน
เมื่อผู้ถูกลงโทษคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว
และผลการพิจารณาเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ แม้ผู้ถูกลงโทษคนอื่นจะไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ในการพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่งให้บันทึกเหตุผลการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม
และให้ถือรายงานการประชุมเป็นคำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๘๒ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้มีมติตามข้อ
๘๑ แล้ว
ให้นายกสภามหาวิทยาลัยดำเนินการให้มีการสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมตินั้นในโอกาสแรกที่ทำได้
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นจะให้มีการรับรองรายงานการประชุมก่อนก็ได้ ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งลงโทษ
ดำเนินการตามมติดังกล่าวโดยเร็ว และในการแก้ไขคำสั่งลงโทษให้นำข้อ ๕๒ ข้อ ๕๓ ข้อ
๕๔ และข้อ ๕๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๘๓ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๘๒
แล้วให้แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วและผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อไปนี้มิได้
เว้นแต่การเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นปลดออกหรือไล่ออกหรือสั่งให้ออกจากราชการให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ
ก.พ.อ. ต่อไป
หมวด ๗
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ข้อ
๘๔ ข้าราชการผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ยกเว้นการสั่งลงโทษหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อสภามหาวิทยาลัย
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำหรือได้รับคำสั่ง
การร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้
ข้อ
๘๕ เมื่อข้าราชการผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้
(๑)
กรณีถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
(๒)
กรณีเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
กรณีมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา กรณีใดกรณีหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(ก)
บริหารงานบุคคลโดยเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สถานภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรมหรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อกฎหมาย
หรือมีอคติเกี่ยวกับเพศ สภาพ ความพิการของร่างกาย หรือการนับถือศาสนา
(ข)
ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ หรือ
(ค)
ประวิงเวลาหรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องเป็นเหตุให้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
ข้อ
๘๖ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เมื่อมีกรณีเป็นปัญหาขึ้นระหว่างกันควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน
ฉะนั้นเมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม
หรือมีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทำหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๘๕
และมีความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นให้โอกาสและรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
เพื่อเป็นทางในการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในชั้นต้น
ถ้าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือ
หรือผู้บังคับบัญชามิได้ดำเนินการใด ๆ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับทราบความประสงค์ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
หรือดำเนินการปรึกษาหารือแล้วไม่ได้รับคำชี้แจง
หรือได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจก็ให้ร้องทุกข์ตามข้อ ๘๗
ข้อ
๘๗ การร้องทุกข์ให้ทำเป็นหนังสือถึงนายกสภามหาวิทยาลัย
โดยให้ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้นจะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนไม่ได้
หนังสือร้องทุกข์ต้องลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้ร้องทุกข์
และมีสาระสำคัญที่แสดงข้อเท็จจริงและปัญหาของเรื่องให้เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจ
เนื่องจากการกระทำหรือมีคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างไร
และความประสงค์ของการร้องทุกข์
ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิขอแถลงการณ์ด้วยวาจาประกอบการร้องทุกข์ได้และให้นำข้อ
๗๑ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๘๘ สภามหาวิทยาลัยอาจให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณากลั่นกรองเรื่องร้องทุกข์เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัย
ข้อ
๘๙ ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านผู้เป็นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ได้
และให้นำข้อ ๗๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๐ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
(๑)
ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าผู้ถูกสั่งไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
และมีการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกสั่งทราบพร้อมกับมอบสำเนาคำสั่งให้กับผู้ถูกสั่ง
แล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี เวลา
และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่ง ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกสั่งซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการโดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้ถูกสั่งเก็บไว้ฉบับหนึ่ง
และให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมาเพื่อเป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่า
ผู้ถูกสั่งได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้ถูกสั่งลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา
ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งได้รับทราบคำสั่งแล้ว
(๒)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือต่อผู้ร้องทุกข์โดยตรง
ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ร้องทุกข์รับทราบหรือควรได้ทราบคำสั่งนั้นเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
(๓)
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ได้มีคำสั่งใด ๆ
ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นวันทราบเรื่องอันเป็นเหตุให้ร้องทุกข์
ข้อ
๙๑ การยื่นหรือส่งเรื่องร้องทุกข์ให้นำข้อ ๗๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๒ ร้องทุกข์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องยื่นหรือส่งภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๘๔ และเป็นร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามข้อ ๘๗
ในกรณีที่มีปัญหาว่าร้องทุกข์รายใดเป็นร้องทุกข์ที่รับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณาเสนอให้สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้วินิจฉัย
หากสภามหาวิทยาลัยมีมติไม่รับร้องทุกข์ไว้พิจารณาให้แจ้งมตินั้นให้ผู้ร้องทุกข์และผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
และผู้ร้องทุกข์จะร้องทุกข์ต่อไปมิได้
ในกรณีสภามหาวิทยาลัยมีมติให้รับร้องทุกข์ไว้พิจารณา
ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์เสนอให้สภามหาวิทยาลัยวินิจฉัยโดยเร็ว
ข้อ
๙๓ ผู้ร้องทุกข์จะถอนร้องทุกข์ก็ได้และให้นำข้อ
๗๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๔ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้คณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์และสภามหาวิทยาลัยพิจารณาจากเรื่องราวการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
ในกรณีจำเป็นและสมควรอาจขอเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
รวมทั้งคำชี้แจงจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลใด
หรืออาจขอให้ผู้แทนหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
หรือบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้นำข้อ ๘๐ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๕ การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
ให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทุกข์ได้ยื่นหรือส่งเรื่องร้องทุกข์และให้นำข้อ
๗๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๙๖ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์แล้ว
(๑)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
หรือการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ร้องทุกข์มิได้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๘๕ (๓) ให้มีมติยกคำร้องทุกข์
(๒)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีมติแก้ไขโดยเพิกถอนหรือยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นหรือให้ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๓)
ถ้าเห็นว่าการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์นั้นถูกต้องตามกฎหมายแต่บางส่วน
และไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางส่วน ให้มีมติให้แก้ไขหรือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
(๔)
ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ร้องทุกข์มีลักษณะตามข้อ ๘๕ (๓)
ให้มีมติให้แก้ไขหรือถ้าแก้ไขไม่ได้ให้สั่งดำเนินการประการอื่น
หรือให้ข้อแนะนำตามที่เห็นสมควร
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการคับข้องใจ
ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ
(๕)
ถ้าเห็นว่าสมควรดำเนินการโดยประการอื่นใด
เพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรม
ให้มีมติให้ดำเนินการได้ตามควรแก่กรณี
การพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่ง
ให้บันทึกเหตุผลการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุมและให้ถือรายงานการประชุมเป็นคำวินิจฉัยของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ
๙๗ เมื่อสภามหาวิทยาลัยได้มีมติตามข้อ ๙๖ แล้ว
ให้นายกสภามหาวิทยาลัยดำเนินการให้มีการสั่งหรือปฏิบัติในโอกาสแรกที่ทำได้
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นจะให้มีการรับรองรายงานการประชุมก่อนก็ได้ ทั้งนี้
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ดำเนินการตามมติดังกล่าวโดยเร็ว
ข้อ
๙๘ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๙๗ แล้ว
ให้แจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วและผู้ร้องทุกข์จะร้องทุกข์ต่อไปมิได้
หมวด ๘
การนับระยะเวลา
ข้อ
๙๙ การนับระยะเวลาตามข้อบังคับนี้
สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
แต่ถ้าเป็นกรณีขยายเวลาให้นับวันต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มระยะเวลาที่ขยายออกไป
ส่วนเวลาสุดสิ้น
ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๑๐๐ ในกรณีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ส่วนการดำเนินการภายหลังการสอบสวนเสร็จให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อบังคับนี้
ข้อ
๑๐๑ กรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ให้มีการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ต่อไปตามกฎหมาย ระเบียบ
หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการอุทธรณ์หรือร้องทุกข์
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบ วน. ๑
๒.
บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาตามข้อ ๒๑ (แบบ วน.๒)
๓.
บันทึกการแจ้งและรับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาตามข้อ
๒๒ (แบบ วน.๓)
๔.
บันทึกถ้อยคำของผู้ถูกกล่าวหา (แบบ วน.๔)
๕.
บันทึกถ้อยคำพยานของฝ่ายกล่าวหา/ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา (แบบ วน.๕)
๖.
รายงานการสอบสวน (แบบ วน.๖)
๗.
แบบ วน. ๗
๘.
แบบ วน. ๘
๙.
แบบ วน. ๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๑๗
มาตรา ๔๙ วรรคสาม มาตรา ๕๐ วรรคสอง มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๖๕ วรรคหนึ่ง
กำหนดให้สภาสถาบันอุดมศึกษาออกข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์
เพื่อให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการ จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับนี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๗ ง/หน้า ๑๓/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ |
571037 | ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2550
| ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง
มาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบมาตรา ๑๗ (๒)
แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ และโดยมติสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงให้ออกข้อบังคับไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ก.บ.ม. หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ตำแหน่ง หมายความว่า
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามโครงสร้างตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
ก.พ.อ. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ตำแหน่งระดับชำนาญการ หมายความว่า
ตำแหน่งเฉพาะตัวของข้าราชการ ตามมาตรา ๑๘ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีปริมาณงานในหน้าที่
คุณภาพของงานในหน้าที่ และผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่
ก.พ.อ. กำหนดเป็นระดับชำนาญการ ระดับ ๖, ๗ - ๘
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ หมายความว่า
ตำแหน่งเฉพาะตัวของข้าราชการตามมาตรา ๑๘ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีปริมาณงานในหน้าที่
คุณภาพของงานในหน้าที่
ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญและการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพ เพื่อบริการต่อสังคมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ ก.พ.อ.
กำหนดเป็นระดับเชี่ยวชาญ ระดับ ๙
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ หมายความว่า
ตำแหน่งเฉพาะตัวของข้าราชการตามมาตรา ๑๘ (ค) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีปริมาณงานในหน้าที่
คุณภาพของงานในหน้าที่และความเป็นที่ยอมรับนับถือในงานด้านนั้นหรือในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ ก.พ.อ. กำหนดเป็นระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับ ๑๐
หมวด ๑
การกำหนดตำแหน่ง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ
๔ ให้ ก.บ.ม.
มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณากำหนดระดับตำแหน่งและการพิจารณา เพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ตามข้อบังคับนี้หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
ข้อ
๕ การกำหนดระดับตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้เป็นไปตามกรอบของตำแหน่งและแผนพัฒนากำลังคนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดคราวละสี่ปี
กรอบของตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณากำหนดตามโครงสร้างตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่ ก.พ.อ.
กำหนด
และให้นำแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับแต่ละตำแหน่งเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานมาพิจารณาประกอบด้วย
ข้อ
๖ การพิจารณากำหนดระดับตำแหน่งให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข
ดังนี้
(๑)
การพิจารณาปรับปรุงระบบงานหรือวิธีการทำงานใหม่
(๒)
การพิจารณาระบบบริหารงานในมหาวิทยาลัยในเรื่องการกระจายอำนาจบริหารจัดการ
(๓)
การพัฒนาบทบาท หน้าที่
คุณภาพงานของตำแหน่งเพื่อปฏิบัติภารกิจตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ซึ่งมีผลให้ความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์เพิ่มสูงขึ้น
(๔)
การจัดลำดับความสำคัญของงานตามแผนงาน โครงการที่สอดคล้องตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย
(๕)
การเปลี่ยนแปลงการจัดแบ่งหน่วยงานภายในใหม่
เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน
ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
(๖)
การไม่ขัดต่อการแบ่งส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ข้อ
๗ การกำหนดระดับตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑)
ตามโครงสร้างระดับตำแหน่ง และตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๒)
เป็นเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน
(๓)
ไม่มีผลให้มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(๔)
ไม่มีผลทำให้อัตรากำลังเพิ่มขึ้น
(๕)
ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด
ส่วนที่ ๒
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
และตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ข้อ
๘ การกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับควบให้เป็นไปตามโครงสร้างระดับตำแหน่ง
และมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ
๙ การกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ให้ยึดหลักการวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่ง ดังนี้
(๑)
หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ได้แก่
กิจกรรมที่ตำแหน่งนั้นต้องปฏิบัติขอบเขตและความหลากหลายของงาน
และผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
(๒)
ความยุ่งยากของงาน ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ได้แก่
การมีคำแนะนำแนวทางหรือคู่มือ ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน
และระดับการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
(๓)
การควบคุม กำกับ และตรวจสอบ ได้แก่
ความจำเป็นในการได้รับการให้ทิศทางการได้รับคำแนะนำ หรือการได้รับคำปรึกษาในการปฏิบัติงาน
และความจำเป็นในการได้รับการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของงานโดยผู้บังคับบัญชา
(๔)
ความรู้ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน คือ
ความรู้ที่จำเป็นในการผลิตผลงานให้ได้คุณภาพและปริมาณตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่
ความรู้ระดับพื้นฐาน ความรู้ระดับพื้นฐานชั้นสูง
ความรู้เชิงหลักการหรือแนวคิดวิชาชีพ นโยบายของหน่วยงาน
และการประยุกต์หลักการมาใช้ในการปฏิบัติงาน
ข้อ
๑๐ การกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งประเภทผู้บริหารให้ยึดหลักการวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่ง
ดังนี้
(๑)
หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ได้แก่
จำนวนและระดับตำแหน่งของผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
ระดับความรับผิดชอบของตำแหน่ง จำนวนงบประมาณและลักษณะของกิจกรรมทางการเงิน
และความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ และการรักษาความลับของราชการ
(๒)
ความยุ่งยากของงาน ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ได้แก่
ขอบเขตของการตัดสินใจความคิดริเริ่มที่ต้องใช้ในงาน และลักษณะ
และวัตถุประสงค์ของการติดต่อกับผู้อื่นในการปฏิบัติงาน
(๓)
ระดับความสำคัญของการควบคุมบังคับบัญชาและการตรวจสอบงาน
(๔)
ความรู้ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน คือ ความรู้ความสามารถที่ต้องการของตำแหน่งและความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชา
ได้แก่ ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
ความรู้ในศิลปะการบังคับบัญชา การบริหารและการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความรู้ในทฤษฎี แนวคิดในวิชาชีพและการประยุกต์ใช้ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญแตกต่างกัน
การกำหนดระดับตำแหน่งประเภทผู้บริหารภายในหน่วยงาน
ต้องมีระดับตำแหน่งไม่สูงเท่าระดับตำแหน่งประเภทผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานนั้น
หลักเกณฑ์
วิธีการ และแบบประเมินให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ข้อ
๑๑ การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสินเพื่อกำหนดระดับตำแหน่งตามข้อ
๙ และข้อ ๑๐ ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับแต่ละตำแหน่ง ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ
ก.บ.ม.
ส่วนที่ ๓
ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อ
๑๒ การกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษให้พิจารณาความจำเป็นตามภารกิจของหน่วยงานตามหลักเกณฑ์ตามข้อ
๑๓ และข้อ ๑๔
ข้อ
๑๓ การวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานเพื่อกำหนดให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้พิจารณาดังนี้
(๑)
หน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลัก หมายถึง
หน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะซึ่งมีหน้าที่ในการสอน การวิจัย
การให้บริการทางวิชาการ ให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
(๒)
หน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลัก หมายถึง
หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนภารกิจหลัก
กรณีหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการกรณีหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าสำนักงานอธิการบดี
ให้มีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ข้อ
๑๔ การพิจารณาความจำเป็นของตำแหน่งเพื่อกำหนดให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้พิจารณาดังนี้
(๑)
ภาระงานของหน่วยงาน ให้พิจารณาจากลักษณะงาน คุณภาพและปริมาณงานของหน่วยงาน
(๒)
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่ง ให้พิจารณาดังนี้
(ก)
ตำแหน่งระดับชำนาญการ ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญงาน
ทักษะ หรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง และต้องทำการศึกษา
ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือวิจัย โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล แนวความคิด
วิธีการ เพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข)
ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่
ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้าน หรือเฉพาะทาง และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
โดยต้องประยุกต์ทฤษฎี
แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงานเพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมากหรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ
หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์
วิธีการ และแบบประเมินให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ส่วนที่ ๔
การดำเนินการ
ข้อ
๑๕ การวิเคราะห์ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในสาระสำคัญ ถึงระดับที่จะต้องมีการปรับปรุงระดับตำแหน่งให้จัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะเสนอขอปรับปรุงการกำหนดระดับตำแหน่ง
ได้แก่ ชื่อตำแหน่ง ระดับ เลขที่ สังกัด
หน้าที่ความรับผิดชอบเดิมและใหม่ของตำแหน่งดังกล่าว
ลักษณะงานที่ปฏิบัติเดิมและใหม่ของตำแหน่งดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ
๑๖ เมื่อ ก.บ.ม.
พิจารณาและเสนอให้สภามหาวิทยาลัยมีมติกำหนดกรอบตำแหน่งในหน่วยงานใดแล้ว
ให้มีการประกาศให้ข้าราชการได้รับทราบร่วมกัน
เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้เตรียมความพร้อมในการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ข้อ
๑๗ ให้มีการจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณากรอบตำแหน่งเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการสืบค้น
และเพื่อแสดงความโปร่งใส
หมวด ๒
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ส่วนที่ ๑
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ข้อ
๑๘ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ข้อ
๑๙ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นและระดับกลาง
ต้องประเมินจากการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ข้อ
๒๐ การประเมินการปฏิบัติงานให้ประเมินตามองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑)
ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและคุณภาพของงาน
(๒)
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
(๓)
ความประพฤติ
ข้อ
๒๑ ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามข้อ
๒๐ (๑) ของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นให้พิจารณา ดังนี้
(๑)
ความรอบรู้ ความชำนาญ
ความสามารถในการวิเคราะห์งานที่ปฏิบัติและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
ความเข้าใจในนโยบายและเป้าหมายของหน่วยงาน
(๓)
ความรู้ความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติงานปัจจุบัน และการพัฒนาปรับปรุงความรู้
ความเข้าใจ ความสนใจที่จะนำไปใช้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
และเพื่อที่จะรับงานที่สูงขึ้นได้
การพิจารณาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง
ของตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลางซึ่งเป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ ขึ้นไป
นอกจากต้องพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งาน
การพัฒนางาน และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานประกอบด้วย
ข้อ
๒๒ คุณภาพของงานตามข้อ ๒๐ (๑)
ให้พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
โดยคำนึงถึงความสำเร็จในเวลาที่กำหนด ความถูกต้อง แม่นยำ ความครบถ้วนสมบูรณ์
และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงาน
ข้อ
๒๓ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามข้อ ๒๐
(๒) ให้พิจารณาจากความตั้งใจ
ความเต็มใจและความมุ่งมั่นที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จและเป็นผลดีแก่ทางราชการ
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตลอดทั้งไม่ละเลยต่องานและพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลของงานที่เกิดขึ้น
ข้อ
๒๔ ความประพฤติตามข้อ ๒๐ (๓)
ให้พิจารณาจากอุปนิสัย บุคลิกลักษณะ ท่วงที วาจา การวางตัว
รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ตลอดจนการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและหน่วยงาน
ข้อ
๒๕ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นและตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ให้ประเมิน ดังนี้
(๑)
ความอุตสาหะ ให้พิจารณาจากความมีมานะ อดทน และเอาใจใส่ในหน้าที่การงาน กระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
การอุทิศเวลาให้กับทางราชการและความขยันหมั่นเพียร
(๒)
ความมีมนุษยสัมพันธ์
ให้พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การยอมรับในความสามารถของผู้ร่วมงานทุกระดับ
ความสามารถในการแก้ไขและลดข้อขัดแย้งอันอาจจะเป็นอุปสรรคต่องานราชการหรือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อ
รวมทั้งความเต็มใจในการให้ความช่วยเหลือและให้บริการผู้มาติดต่อ
(๓)
ความสามารถในการสื่อความหมาย
ให้พิจารณาจากความสามารถในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทั้งด้วยวาจา
หรือลายลักษณ์อักษร
และความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสาร การบันทึก
หรือการรายงาน
ข้อ
๒๖ การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสิน
เพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง ตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ข้อ
๒๗ การประเมินให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม.
แต่งตั้งซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ส่วนที่ ๒
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ข้อ
๒๘ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด
ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ข้อ
๒๙ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ให้ประเมินจากผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ข้อ
๓๐ การประเมินผลงานให้ประเมินตามองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑)
ขอบเขตของผลงาน
(๒)
คุณภาพของผลงาน
(๓)
ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงาน
(๔)
ประโยชน์ของผลงาน
(๕)
ความรู้ความชำนาญงานและประสบการณ์
ผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑)
ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือการฝึกอบรม
(๒)
ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว
(๓)
กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
การประเมินผลงานตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานจริง
หรือพิจารณาจากแฟ้มงานที่ได้บันทึกผลงานที่ปฏิบัติ ในช่วงระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
โดยผลงานนั้นแสดงให้เห็นถึงทักษะความรู้ความสามารถ ความชำนาญ
และผลสัมฤทธิ์ของงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์
ข้อ
๓๑ การพิจารณาผลงานให้กำหนดเงื่อนไข
ขอบเขตมาตรฐานของผลงาน ดังนี้
(๑)
ปริมาณขั้นต่ำของผลงานแต่ละประเภท
(๒)
คุณภาพผลงานซึ่งเหมาะสมกับระดับตำแหน่ง สายงาน และลักษณะงานของหน่วยงาน
(๓)
การเผยแพร่ผลงานเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์และป้องกันการลอกเลียน
ข้อ
๓๒ ขอบเขตของผลงานตามข้อ ๓๐ (๑)
ให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงานที่เกิดจากงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง
และแนวคิดหรือแผนงานที่จะดำเนินการในอนาคต ซึ่งเป็นการพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง
ข้อ
๓๓ คุณภาพของผลงานตามข้อ ๓๐ (๒)
ให้พิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เชื่อถือได้
ข้อ
๓๔ ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงานตามข้อ
๓๐ (๓) ให้พิจารณาจากการใช้หลักวิชาการเฉพาะทางในการปฏิบัติงานที่มีความยุ่งยากมาก
และความจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติด้วยตนเองได้
ข้อ
๓๕ การประเมินประโยชน์ของผลงานตามข้อ
๓๐ (๔) ให้พิจารณาจากประโยชน์ของผลงานที่มีต่อหน่วยงานหรือผู้รับบริการ
หรือต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยเสริมยุทธศาสตร์ของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี
ข้อ
๓๖ การประเมินความรู้ความชำนาญงานและประสบการณ์ตามข้อ
๓๐ (๕) ให้พิจารณาจากความรู้ ความชำนาญงาน
และประสบการณ์ที่ทำให้สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยตนเองได้เป็นที่ยอมรับในงานนั้น
ข้อ
๓๗ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นและตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ให้ประเมิน ดังนี้
(๑)
ความอุตสาหะ ให้พิจารณาจากความมีมานะ อดทน และเอาใจใส่ในหน้าที่การงาน ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
การอุทิศเวลาให้กับทางราชการ และความขยันหมั่นเพียร
(๒)
ความมีมนุษยสัมพันธ์ ให้พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การยอมรับในความสามารถของผู้ร่วมงานทุกระดับความสามารถในการแก้ไขและลดข้อขัดแย้งอันอาจจะเป็นอุปสรรคต่องานราชการหรือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อ
รวมทั้งความเต็มใจในการให้ความช่วยเหลือและบริการผู้มาติดต่อ
(๓)
ความสามารถในการสื่อความหมาย
ให้พิจารณาจากความสามารถในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ทั้งด้วยวาจา
หรือลายลักษณ์อักษร
ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารการบันทึก
หรือการรายงาน
ข้อ
๓๘ การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสินเพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ข้อ
๓๙ การประเมินให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม.
แต่งตั้งซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
หลักเกณฑ์
วิธีการ และแบบประเมิน ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ส่วนที่ ๓
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ข้อ
๔๐ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
กรณีที่มีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่งมากกว่าจำนวนกรอบตำแหน่งที่กำหนดให้คัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินตามจำนวนกรอบตำแหน่งโดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ
โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ ดังนี้
(๑)
แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคล
และตรวจสอบกรณีมีการทักท้วงผลการคัดเลือก
(๒)
การคัดเลือกให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
(ก)
สำรวจข้อมูลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน
(ข)
ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินคุณลักษณะของผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน
(ค)
ให้แจ้งข้าราชการผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือก
(ง)
รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอคณะกรรมการคัดเลือก
(จ)
สรุปความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการ
(ฉ)
ให้แจ้งผู้ได้รับการคัดเลือกทราบ
(ช)
ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกอย่างเปิดเผยและเปิดโอกาสให้มีการทักท้วงได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๔๑ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารต้องประเมินจากการปฏิบัติงาน
คุณลักษณะและสมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ข้อ
๔๒ การประเมินการปฏิบัติงานให้ประเมินตามองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑)
ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน
(๒)
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
(๓)
การวางแผน การควบคุม การติดตามผลการปฏิบัติงานและการพัฒนางาน
(๔)
การแนะนำ การสอนงานและการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหารต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารที่
ก.พ.อ. รับรอง
ข้อ
๔๓ ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามข้อ
๔๒ (๑) ให้พิจารณาจากการมีความรู้และประสบการณ์ในทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ความสามารถในการบริหารงาน ความสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จโดยประหยัดทรัพยากร
ความสามารถในการตัดสินใจ และความคิดริเริ่ม
ข้อ
๔๔ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตามข้อ ๔๒
(๒) ให้พิจารณาจากความสามารถในการบริหารงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
การดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงโดยคำนึงถึงเป้าหมายและความสำเร็จของงานเป็นหลัก
และการยอมรับปัญหาที่เกิดจากการทำงานและความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
โดยให้พิจารณาจากผลของการปฏิบัติงานประกอบด้วย
ข้อ
๔๕ การวางแผน การควบคุม
การติดตามผลการปฏิบัติงานและการพัฒนางานตามข้อ ๔๒ (๓) ให้พิจารณาจากความสามารถในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน
ควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
และติดตามประเมินผลงานของหน่วยงานและการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
ตลอดจนการปรับปรุงและการพัฒนางาน
ข้อ
๔๖ การแนะนำ การสอนงาน
และการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาตามข้อ ๔๒ (๔) ให้พิจารณาจากการให้คำปรึกษา แนะนำ
สอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา
และการปรับปรุงและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ
๔๗ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหารให้ประเมิน
ดังนี้
(๑)
ความประพฤติ
ให้พิจารณาจากอุปนิสัยความประพฤติทั้งในด้านส่วนตัวและการรักษาวินัยข้าราชการ ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากประวัติส่วนตัว
ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่น
(๒)
ความมีมนุษยสัมพันธ์
ให้พิจารณาจากการให้ความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวกับราชการทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกัน
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยหรือส่วนราชการอื่น
ข้อ
๔๘ การประเมินสมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหารให้ประเมิน
ดังนี้
(๑)
ความเป็นผู้นำ ให้พิจารณาจากความสามารถในการวางตน และเป็นตัวอย่างที่ดี
การมีศิลปะในการโน้มน้าว จูงใจ กระตุ้นและให้กำลังใจแก่ผู้ร่วมงาน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ความตั้งใจและเต็มใจร่วมกันทำงานให้สำเร็จ
และความสนใจและความสามารถในการพัฒนาทักษะ
ความรู้ความสามารถของทีมงานด้วยวิธีการอย่างเหมาะสม
(๒)
การคิดเชิงกลยุทธ์ ให้พิจารณาจากความสามารถในการประเมินสถานการณ์ การกำหนดกลยุทธ์
การลดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็ง การแปรวิกฤตเป็นโอกาส
และการคิดเพื่อให้ได้รับชัยชนะในทุกสถานการณ์
(๓)
การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา
ให้พิจารณาจากความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยมีหลายทางเลือก
การเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
และการใช้ข้อมูลประกอบในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
(๔)
วิสัยทัศน์ ให้พิจารณาจากความสามารถในการคาดการณ์หรือพยากรณ์สถานการณ์ข้างหน้าอย่างมีหลักการและเหตุผล
และการกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการดำเนินการเพื่อรองรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งด้านที่เป็นผลโดยตรงและผลกระทบ
ข้อ
๔๙ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ที่ ก.พ.อ. กำหนดให้เป็นระดับ ๗ - ๘ ให้แต่งตั้งเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ
๘
ข้อ
๕๐ การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสินเพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะงานของหน่วยงาน และระดับตำแหน่งของตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ข้อ
๕๑ การประเมินให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม.
แต่งตั้งซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
หลักเกณฑ์
วิธีการ และแบบประเมิน ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ส่วนที่ ๔
ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อ
๕๒ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการตามข้อ
๕๓ ข้อ ๕๔ และข้อ ๕๕ ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญหรือระดับเชี่ยวชาญพิเศษ แล้วแต่กรณี
กรณีที่มีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมากกว่าจำนวนกรอบตำแหน่งที่กำหนดให้คัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินตามจำนวนกรอบตำแหน่ง
โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ดังนี้
(๑)
แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคล
และตรวจสอบกรณีมีการทักท้วงผลการคัดเลือก
(๒)
การคัดเลือกให้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
(ก)
สำรวจข้อมูลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน
(ข)
ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินคุณลักษณะของผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน
(ค)
ให้แจ้งข้าราชการผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือก
(ง)
รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอคณะกรรมการคัดเลือก
(จ)
สรุปความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการคัดเลือก
(ฉ)
ให้แจ้งผู้ได้รับการคัดเลือกทราบและส่งผลงานตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด
(ช)
ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกอย่างเปิดเผยและเปิดโอกาสให้มีการทักท้วงได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๕๓ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการ
ต้องมีคุณวุฒิการศึกษาและมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(๑)
วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งในระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบหกปี
(๒)
วุฒิอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองปี
(๓)
วุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
(๔)
วุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕)
วุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
กรณีได้รับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ให้นับระยะเวลาดำรงตำแหน่งรวมกันตามอัตราส่วนได้โดยตำแหน่งที่ดำรงอยู่เดิม
ต้องเป็นตำแหน่งที่ได้มีการกำหนดความจำเป็นของหน่วยงานให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการแล้ว
ข้อ
๕๔ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ต้องมีวุฒิการศึกษาและมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(๑)
ต้องมีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและต้องดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ
๓ ขึ้นไปมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(๒)
กรณีที่มิได้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการให้เทียบคุณสมบัติข้าราชการ
เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ ดังนี้
(ก)
ต้องดำรงตำแหน่งระดับ ๘ และมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีความรู้
ความสามารถและประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งที่ขอเทียบคุณสมบัติมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(ข)
ให้พิจารณาเทียบคุณสมบัติที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ระดับ ๘
ย้อนหลังได้ไม่เกินสามปี โดยพิจารณาจากประเภทและขอบข่ายของงานที่รับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานในภาพรวม และผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ระดับ ๘
ซึ่งหมายถึง คู่มือปฏิบัติงาน ผลงาน ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์
หรือวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่องานในหน้าที่ในด้านการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางาน
หรือเป็นผลงานริเริ่มสร้างสรรค์ การให้ความเห็น คำแนะนำ
หรือเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้นซึ่งผลงานดังกล่าวสามารถนำไปเสนอขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญได้
ข้อ
๕๕ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องมีวุฒิการศึกษาและมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(๑)
ต้องมีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และต้องดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(๒)
กรณีที่มิได้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญให้เทียบคุณสมบัติข้าราชการ
เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับ ๑๐ ดังนี้
(ก)
ต้องดำรงตำแหน่งระดับ ๙ และมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งที่ขอเทียบคุณสมบัติมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(ข)
ให้พิจารณาเทียบคุณสมบัติที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ระดับ ๙
ย้อนหลังได้ไม่เกินสองปี โดยพิจารณาจากประเภทและขอบข่ายของงานที่รับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานในภาพรวม และผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ระดับ ๙
ซึ่งหมายถึง คู่มือปฏิบัติงาน ผลงาน ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์
หรือวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่องานในหน้าที่ในด้านการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางาน
หรือเป็นผลงานริเริ่มสร้างสรรค์ การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ
การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบรูปแบบ
เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
ซึ่งผลงานดังกล่าวสามารถนำไปเสนอขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษได้
ข้อ
๕๖ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษให้ประเมินจากการปฏิบัติงาน ผลงาน
และคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ข้อ
๕๗ การประเมินในกรณีตำแหน่งระดับชำนาญการ
ให้พิจารณาตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม. ดังนี้
(๑)
ปริมาณงานในหน้าที่ หมายถึง ขนาดหรือความมากน้อยของงาน
(๒)
คุณภาพของงานในหน้าที่ หมายถึง ความยากง่าย การอาศัยเทคนิค วิธีการ
(๓)
ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ หมายถึง การใช้ประโยชน์จากผลงาน
ผลงานเป็นงานสร้างสรรค์และมีความคิดริเริ่ม
ผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑)
ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือการฝึกอบรม
(๒)
ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว
(๓)
กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
ข้อ
๕๘ การพิจารณาผลงานให้กำหนดเงื่อนไข
ขอบเขตมาตรฐานของผลงานตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม. ดังนี้
(๑)
ปริมาณขั้นต่ำของผลงานแต่ละประเภท
(๒)
คุณภาพผลงานซึ่งเหมาะสมกับระดับตำแหน่ง สายงาน และลักษณะงานของหน่วยงาน
(๓)
การเผยแพร่ผลงานเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์และป้องกันการลอกเลียน
ข้อ
๕๙ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับ ๘ ให้แต่งตั้งเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ ๘
ข้อ
๖๐ การประเมินในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ให้พิจารณา ดังนี้
(๑)
ปริมาณงานในหน้าที่ หมายถึง ขนาดหรือความมากน้อยของงาน
(๒)
คุณภาพของงานในหน้าที่ หมายถึง ความยากง่าย การอาศัยเทคนิค วิธีการ
(๓)
ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง
ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางค่อนข้างมาก
ผลงานที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
และผลงานที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานค่อนข้างมาก
ผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๕๗ วรรคสอง
และการพิจารณาผลงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขขอบเขตมาตรฐานของผลงานตามข้อ ๕๘
(๔)
การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพเพื่อบริการต่อสังคม หมายถึง การให้ความเห็น
คำแนะนำ หรือเสนอแนะ การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ
แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
ข้อ
๖๑ การประเมินในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ให้พิจารณา ดังนี้
(๑)
ปริมาณงานในหน้าที่ หมายถึง ขนาดหรือความมากน้อยของงาน
(๒)
คุณภาพของงานในหน้าที่ หมายถึง ความยากง่าย การอาศัยเทคนิค วิธีการ
(๓)
ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หมายถึง
ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมาก ผลงานที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
ผลงานที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานมาก
(๔)
การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพเพื่อบริการต่อสังคม หมายถึง การให้ความเห็น
คำแนะนำ หรือเสนอแนะ การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ
แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
(๕)
ความเป็นที่ยอมรับนับถือในงานด้านนั้น หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น หมายถึง การได้รับการยกย่องหรือได้รับรางวัลในระดับชาติสำหรับผลงานหรือผลการปฏิบัติงานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
หรือในงานที่เกี่ยวข้อง
การมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
หรือในงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เชื่อถืออย่างกว้างขวางในระดับชาติ
ข้อ
๖๒ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ประเมินตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ
ก.บ.ม. ดังนี้
(๑)
ความคิดริเริ่ม ให้พิจารณาจากการคิดค้นระบบ แนวทาง
วิธีดำเนินการใหม่เพื่อประสิทธิผลของงาน การแสดงความคิดเห็น
การให้ข้อเสนอแนะอย่างสมเหตุสมผลซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้
การแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมอยู่เสมอโดยเฉพาะในสาขาวิชาชีพ
ในงานของตนหรือในงานของหน่วยงานการตรวจสอบ การปรับปรุง การแก้ไข
หรือการดัดแปลงวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาการสนใจในงานที่ยุ่งยากซับซ้อน
ความไวต่อสถานการณ์หรือความฉับไวในการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกที่มีผลกระทบต่องาน
(๒)
การตัดสินใจแก้ไขปัญหา ให้พิจารณาจากความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยมีหลายทางเลือก
การเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การใช้ข้อมูลประกอบในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะในสายวิชาชีพ
ในงานของตน หรือในงานของหน่วยงาน
(๓)
การพัฒนาตนเอง ให้พิจารณาจากการติดตาม ศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้ใหม่หรือสิ่งที่เป็นความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพอยู่เสมอ
การสนใจและปรับตนเองให้ก้าวทันวิทยาการใหม่ตลอดเวลา การนำความรู้และวิทยาการใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ ๕
การดำเนินการ
ข้อ
๖๓ การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม. แต่งตั้ง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตรงกับวิชาชีพที่เสนอขอและมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
และเป็นบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้นทั้งหมด โดยให้พิจารณากำหนดจำนวนกรรมการ
ดังนี้
(๑)
วิธีปกติ ให้แต่งตั้งกรรมการ จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
(๒)
วิธีพิเศษ ใช้ในกรณีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติต่างไปจากหลักเกณฑ์การขอกรณีตามปกติในเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
หรือกรณีขอที่มิได้เป็นไปตามลำดับตำแหน่งให้แต่งตั้งกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
การประเมินเพื่อแต่งตั้งในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการประเมินผลงานเพื่อพิจารณาผลงานร่วมกันและให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน
หลักเกณฑ์
วิธีการ และแบบประเมิน ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ข้อ
๖๔ เกณฑ์การตัดสิน
ให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก เว้นแต่โดยวิธีพิเศษ ให้ใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของกรรมการประเมิน
ข้อ
๖๕ การประเมินข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้จัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
(๑)
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับข้าราชการ ได้แก่ ชื่อ อายุตัวและอายุราชการ
ตำแหน่งและระดับตำแหน่งตลอดจนระยะเวลาดำรงตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง และสังกัด
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ข้าราชการต้องมีเพื่อการแต่งตั้ง
ได้แก่ ระยะเวลาดำรงตำแหน่งประสบการณ์การปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถ
สมรรถนะเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ วุฒิการศึกษา การอบรม และความสามารถอื่น
(๒)
ผลการปฏิบัติงานหรือผลงาน แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ ก.พ.อ.
กำหนด
(๓)
คุณลักษณะหรือสมรรถนะของบุคคล แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ ก.พ.อ.
กำหนด
การพิจารณาตามวรรคหนึ่ง
ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมด้วย
ข้อ
๖๖ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ข้อ
๖๗ กรณีที่ข้าราชการใดไม่ผ่านการประเมิน
ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งผลการประเมินให้ข้าราชการผู้นั้นทราบ
พร้อมทั้งแจ้งสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทราบด้วย
ข้อ
๖๘ การให้ได้รับเงินเดือนของผู้ได้รับการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นให้เป็นไปตามกฎ
ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ทั้งนี้
หาก ก.พ.อ. ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว ให้พิจารณาใช้กฎ ก.พ.
หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไปพลางก่อน
ข้อ
๖๙ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ให้เสนอ ก.พ.อ. พิจารณาเป็นกรณีไป
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๗๐ บรรดา กฎ ก.ค. กฎ ก.พ. ระเบียบ
ข้อบังคับ การกำหนดกรอบอัตรากำลัง การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรือกรณีอื่นใด
ซึ่งได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓
และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕
ที่ใช้บังคับกับข้าราชการครูและข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอยู่ในวันก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ
ให้คงใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามมาตรา ๗๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้
จนกว่าจะได้มีการออกกฎ ก.พ.อ. ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๗๑ ในระหว่างที่ยังไม่มี ก.บ.ม.
ตามข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ตามมติสภาสถาบันฯ ครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘ ทำหน้าที่ ก.บ.ม.
ไปก่อน ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันหลังจากข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๗๒ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เกษม
วัฒนชัย
นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๕๐/๓๑ มกราคม ๒๕๕๑ |
573403 | ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2550
| ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ.
๒๕๕๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกอบกับมาตรา ๑๘ (๒) และ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖
กันยายน ๒๕๕๐ จึงตราข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ว่าด้วยการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า
สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
อธิการบดี หมายความว่า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ก.บ.ม. หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้าราชการ หมายความว่า
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย
ตำแหน่ง หมายความว่า
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามโครงสร้างตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
ก.พ.อ. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
กรอบของตำแหน่ง หมายความว่า ชื่อตำแหน่ง
ระดับตำแหน่ง จำนวนตำแหน่ง
ข้อ ๔ ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้
และมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามมติของ ก.บ.ม.
และมีอำนาจในการวินิจฉัย ตีความ ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑
การกำหนดตำแหน่ง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ การกำหนดระดับตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้เป็นไปตามกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่ง และแผนพัฒนากำลังคนคราวละสี่ปี
ตามที่สภามหาวิทยาลัยเห็นชอบ
กรอบของตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ให้พิจารณากำหนดตามโครงสร้างระดับตำแหน่งข้าราชการที่ ก.พ.อ. กำหนด
และให้พิจารณาแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับแต่ละตำแหน่งเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานประกอบด้วย
ข้อ ๖ ให้ ก.บ.ม. มีหน้าที่ในการวิเคราะห์การพิจารณากำหนดระดับตำแหน่งและจำนวนตำแหน่งเพื่อดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการ
ตามข้อบังคับนี้
ข้อ ๗ การพิจารณากำหนดระดับตำแหน่งให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข
ดังนี้
(๑) การพิจารณาปรับปรุงระบบงานหรือวิธีการทำงานใหม่
(๒) การพิจารณาระบบบริหารงานในมหาวิทยาลัยในเรื่องการกระจายอำนาจบริหารจัดการ
(๓) การพัฒนาบทบาท หน้าที่ คุณภาพงานของตำแหน่ง
เพื่อปฏิบัติภารกิจตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ซึ่งมีผลให้ความรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์เพิ่มสูงขึ้น
(๔) การจัดลำดับความสำคัญของงานตามแผนงานโครงการที่สอดคล้องตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย
(๕) การเปลี่ยนแปลงการจัดแบ่งหน่วยงานภายในใหม่
เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน
ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
(๖) การไม่ขัดต่อการแบ่งส่วนราชการที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ข้อ ๘ การกำหนดระดับตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ตามโครงสร้างระดับตำแหน่ง และตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๒) เป็นเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของหน่วยงาน
(๓) ไม่มีผลให้มีการเพิ่มงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(๔) ไม่มีผลทำให้อัตรากำลังเพิ่มขึ้น
(๕) ต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความไม่ซ้ำซ้อน และความประหยัด
(๖) การกำหนดระดับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานให้เป็นระดับสูงขึ้น
ต้องมีระดับตำแหน่งไม่สูงเท่าระดับตำแหน่งบริหารของหน่วยงานนั้น
ส่วนที่ ๒
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
และตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ข้อ ๙ การกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับควบ ให้เป็นไปตามโครงสร้างระดับตำแหน่ง
และมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.พ.อ. กำหนด
ข้อ ๑๐ การกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ให้ยึดหลักการวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่ง ดังนี้
(๑) หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ได้แก่ กิจกรรมที่ตำแหน่งนั้นต้องปฏิบัติขอบเขตและความหลากหลายของงาน
และผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
(๒) ความยุ่งยากของงาน ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ได้แก่
การมีคำแนะนำแนวทางหรือคู่มือ ความมีอิสระในการปฏิบัติงาน
และระดับการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
(๓) การควบคุม กำกับ และตรวจสอบ ได้แก่
ความจำเป็นในการได้รับการให้ทิศทางการได้รับคำแนะนำ
หรือการได้รับคำปรึกษาในการปฏิบัติงาน
และความจำเป็นในการได้รับการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของงานโดยผู้บังคับบัญชา
(๔) ความรู้ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน คือ ความรู้ที่จำเป็นในการผลิตผลงานให้ได้คุณภาพและปริมาณตามเป้าหมายที่กำหนด
ได้แก่ ความรู้ระดับพื้นฐาน ความรู้ระดับพื้นฐานชั้นสูง
ความรู้เชิงหลักการหรือแนวคิดวิชาชีพ นโยบายของหน่วยงาน
และการประยุกต์หลักการมาใช้ในการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๑ การกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ให้ยึดหลักการวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่ง ดังนี้
(๑) หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ได้แก่
จำนวนและระดับตำแหน่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ระดับความรับผิดชอบของตำแหน่ง
จำนวนเงินงบประมาณและลักษณะของกิจกรรมทางการเงิน
และความยุติธรรมความซื่อสัตย์และการรักษาความลับของราชการ
(๒) ความยุ่งยากของงาน ความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ได้แก่
ขอบเขตของการตัดสินใจ ความคิดริเริ่มที่ต้องใช้ในงานและลักษณะ
และวัตถุประสงค์ของการติดต่อกับผู้อื่นในการปฏิบัติงาน
(๓) ระดับความสำคัญของการควบคุมบังคับบัญชาและการตรวจสอบงาน
(๔) ความรู้ที่ต้องการในการปฏิบัติงาน คือ
ความรู้ความสามารถที่ต้องการของตำแหน่ง
และความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชา
ได้แก่ ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
ความรู้ในศิลปะการบังคับบัญชา การบริหาร
และการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความรู้ในทฤษฎี แนวคิดในวิชาชีพ
และการประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญแตกต่างกัน
การกำหนดระดับตำแหน่งประเภทผู้บริหารภายในหน่วยงาน
ต้องมีระดับตำแหน่งไม่สูงเท่าระดับตำแหน่งประเภทผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานนั้น
ข้อ ๑๒ การกำหนดค่านํ้าหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสินเพื่อกำหนดระดับตำแหน่งตามข้อ
๑๐ และข้อ ๑๑ ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับแต่ละตำแหน่ง และให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ
ก.บ.ม.
ส่วนที่ ๓
ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อ ๑๓ การกำหนดตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้พิจารณาความจำเป็นตามภารกิจของหน่วยงานตามหลักเกณฑ์ตามข้อ
๑๔ และข้อ ๑๕
ข้อ ๑๔ การวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานเพื่อกำหนดให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้พิจารณาดังนี้
(๑) หน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลัก หมายถึง
หน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะซึ่งมีหน้าที่ในการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการ
ให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
(๒) หน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลัก หมายถึง
หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนภารกิจหลัก
กรณีหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการ กรณีหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าสำนักงานอธิการบดีให้มีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ข้อ ๑๕ การวิเคราะห์และประเมินค่างานของตำแหน่งเพื่อกำหนดระดับตำแหน่งของตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้พิจารณาดังนี้
(๑) ภาระงานของหน่วยงานให้พิจารณาจากลักษณะงาน
คุณภาพและปริมาณงานของหน่วยงาน
(๒) ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพงานของตำแหน่ง ให้พิจารณาดังนี้
(ก) ตำแหน่งระดับชำนาญการ ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้
ความสามารถความชำนาญงาน ทักษะ หรือประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และต้องทำการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์หรือวิจัย
โดยใช้หรือประยุกต์หลักการ เหตุผล แนวความคิด
วิธีการเพื่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
หรือพัฒนางานในหน้าที่และงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
หรือแก้ไขปัญหาในงานหลักที่ปฏิบัติ ซึ่งมีความยุ่งยากและมีขอบเขตกว้างขวาง
(ข) ตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญและระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ลักษณะงานต้องปฏิบัติโดยผู้มีความรู้ทฤษฎี หลักวิชา
หรือหลักการเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และเป็นงานเชิงพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน หรืองานพัฒนาทฤษฎี หลักการ ความรู้ใหม่
ซึ่งต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง
และนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
โดยต้องประยุกต์ทฤษฎีแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับเนื้อหาของงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาในงานที่มีความยุ่งยากมากและมีขอบเขตกว้างขวางมาก
หรือถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ หรือปรับปรุงผสมผสานเทคนิคระดับสูงระหว่างสาขาที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ ๔
การดำเนินการ
ข้อ ๑๖ การวิเคราะห์ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานของตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในสาระสำคัญ
ถึงระดับที่จะต้องมีการปรับปรุงระดับตำแหน่ง ให้จัดทำข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่จะเสนอขอปรับปรุงการกำหนดระดับตำแหน่ง
ได้แก่ ชื่อตำแหน่ง ระดับ เลขที่ สังกัด หน้าที่
ความรับผิดชอบเดิมและใหม่ของตำแหน่งดังกล่าว ลักษณะงานที่ปฏิบัติเดิมและใหม่ของตำแหน่งดังกล่าว
เพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๑๗ เมื่อ ก.บ.ม. พิจารณาและเสนอให้สภามหาวิทยาลัยมีมติกำหนดกรอบของตำแหน่งในหน่วยงานใดแล้ว
ให้มีการประกาศให้ข้าราชการได้รับทราบร่วมกัน
เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้เตรียมความพร้อมในการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ข้อ ๑๘ ให้มีการจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณากรอบของตำแหน่ง
เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการสืบค้น และเพื่อแสดงความโปร่งใส
หมวด ๒
การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ส่วนที่ ๑
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ข้อ ๑๙ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
ข้อ ๒๐ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้น
และระดับกลางต้องประเมินจากการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งตามที่
ก.พ.อ. และสภามหาวิทยาลัยกำหนด
ข้อ ๒๑ การประเมินการปฏิบัติงานให้ประเมินตามองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑)
ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและคุณภาพของงานให้พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
โดยคำนึงถึงความสำเร็จในเวลาที่กำหนด ความถูกต้องแม่นยำ ความครบถ้วนสมบูรณ์
และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงาน
(๒) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้พิจารณาจากความตั้งใจ ความเต็มใจ
และความมุ่งมั่นที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จและเป็นผลดีแก่ทางราชการ
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตลอดทั้งไม่ละเลยต่องานและพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลของงานที่เกิดขึ้น
(๓) ความประพฤติให้พิจารณาจากอุปนิสัย บุคลิกลักษณะ ท่วงที วาจา การวางตัว
รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ตลอดจนการปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการและหน่วยงาน
ข้อ ๒๒ ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามข้อ ๒๑
(๑) ของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นให้พิจารณา ดังนี้
(๑) ความรอบรู้ ความชำนาญ
ความสามารถในการวิเคราะห์งานที่ปฏิบัติและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) ความเข้าใจในนโยบายและเป้าหมายของหน่วยงาน
(๓) ความรู้ความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติงานปัจจุบัน
และการพัฒนาปรับปรุงความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจที่จะนำไปใช้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
และเพื่อที่จะรับงานที่สูงขึ้นได้
การพิจารณาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลางซึ่งเป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ
๓ ขึ้นไป นอกจากต้องพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้วให้พิจารณาเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์งาน
การพัฒนางาน และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานประกอบด้วย
ข้อ ๒๓ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น
และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลางให้พิจารณากำหนดองค์ประกอบในการประเมิน ดังนี้
(๑) ความอุตสาหะให้พิจารณาจากความมีมานะ อดทน และเอาใจใส่ในหน้าที่การงาน กระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
การอุทิศเวลาให้กับทางราชการและความขยันหมั่นเพียร
(๒)
ความมีมนุษยสัมพันธ์ให้พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
การยอมรับในความสามารถของผู้ร่วมงานทุกระดับความสามารถในการแก้ไขและลดข้อขัดแย้งอันอาจจะเป็นอุปสรรคต่องานราชการหรือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อ
รวมทั้งความเต็มใจในการให้ความช่วยเหลือและให้บริการผู้มาติดต่อ
(๓)
ความสามารถในการสื่อความหมายให้พิจารณาจากความสามารถในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ทั้งด้วยวาจา
หรือลายลักษณ์อักษร และความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสาร
การบันทึก หรือการรายงาน
(๔) หรืออื่น ๆ
ตามที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยกำหนดโดยทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๒๔ การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบ
และเกณฑ์การตัดสิน เพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้น และตำแหน่งปฏิบัติการระดับกลาง
และให้เป็นไปตามข้อเสนอของ ก.บ.ม.
โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยโดยทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๒๕ การประเมินให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม. แต่งตั้ง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับตำแหน่งไม่ตํ่ากว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ส่วนที่ ๒
ตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ข้อ ๒๖ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ข้อ ๒๗ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
ให้ประเมินจากผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งตามที่ ก.พ.อ. และสภามหาวิทยาลัยกำหนด
ผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังนี้
(๑) ต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือการฝึกอบรม
(๒)
ต้องมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว
(๓)
กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
ข้อ ๒๘ ผลงาน หมายความว่า
งานที่ได้พัฒนาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ซึ่งสามารถพิสูจน์หรือมีหลักฐานรายละเอียดต่าง
ๆ ประกอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานนั้นมีความรู้ความสามารถ
ประสบการณ์ที่จะได้เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น และเป็นประโยชน์ต่องาน และการพัฒนางานในหน้าที่
การประเมินผลงานให้ประเมินตามองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑) ขอบเขตของผลงานให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน
หรือผลสำเร็จของงานที่เกิดจากงานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง
และแนวคิดหรือแผนงานที่จะดำเนินการในอนาคต
ซึ่งเป็นการพัฒนางานในตำแหน่งที่จะได้รับการแต่งตั้ง
(๒) คุณภาพของผลงานให้พิจารณาจากคุณภาพของผลงานที่เชื่อถือได้
โดยมีผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องรับรอง
(๓)
ความยุ่งยากซับซ้อนของผลงานให้พิจารณาจากการใช้หลักวิชาการเฉพาะทางในการปฏิบัติงานที่มีความยุ่งยากมาก
และความจำเป็นต้องมีการตัดสินใจหรือแก้ปัญหาในงานที่ปฏิบัติด้วยตนเองได้
(๔) ประโยชน์ของผลงานให้พิจารณาจากประโยชน์ของผลงานที่มีต่อหน่วยงาน
หรือผู้รับบริการ หรือต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งสามารถช่วยเสริมยุทธศาสตร์ของหน่วยงานได้เป็นอย่างดี
(๕) ความรู้ความชำนาญงานและประสบการณ์ให้พิจารณาจากความรู้ ความชำนาญงาน
และประสบการณ์ที่ทำให้สามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบด้วยตนเองได้เป็นที่ยอมรับในงานนั้น
การประเมินผลงานตามวรรคสองให้พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานจริง
หรือพิจารณาจากแฟ้มงานที่ได้บันทึกผลงานที่ปฏิบัติในช่วงระยะเวลาไม่น้อยกว่าสองปี
โดยผลงานนั้นแสดงให้เห็นถึงทักษะความรู้ความสามารถ ความชำนาญ
และผลสัมฤทธิ์ของงานซึ่งเป็นที่ประจักษ์
เป็นประโยชน์ต่องานและการพัฒนางานในหน้าที่
ข้อ ๒๙ การพิจารณาผลงานให้กำหนดเงื่อนไข
ขอบเขตมาตรฐานของผลงาน ดังนี้
(๑) ปริมาณขั้นต่ำของผลงานแต่ละประเภท
(๒) คุณภาพผลงานซึ่งเหมาะสมกับระดับตำแหน่ง สายงาน และลักษณะงานของหน่วยงาน
(๓) การเผยแพร่ผลงานเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์และป้องกันการลอกเลียน
ข้อ ๓๐ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์ให้พิจารณากำหนดองค์ประกอบในการประเมิน
เช่น
(๑) ความอุตสาหะให้พิจารณาจากความมีมานะ อดทน และเอาใจใส่ในหน้าที่การงาน ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
การอุทิศเวลาให้กับทางราชการ และความขยันหมั่นเพียร
(๒)
ความมีมนุษยสัมพันธ์ให้พิจารณาจากความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การยอมรับในความสามารถของผู้ร่วมงานทุกระดับ ความสามารถในการแก้ไขและลดข้อขัดแย้งอันอาจจะเป็นอุปสรรคต่องานราชการหรือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มารับบริการหรือผู้มาติดต่อ
รวมทั้งความเต็มใจในการให้ความช่วยเหลือและบริการผู้มาติดต่อ
(๓)
ความสามารถในการสื่อความหมายให้พิจารณาจากความสามารถในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
การสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานทั้งด้วยวาจา
หรือลายลักษณ์อักษร ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสาร
การบันทึก หรือการรายงาน
ข้อ ๓๑ การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสิน
เพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งต้องกำหนดให้เหมาะสมกับระดับตำแหน่งของตำแหน่งปฏิบัติการระดับต้นที่มีประสบการณ์
และให้เป็นไปตามข้อเสนอของ ก.บ.ม.
โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยโดยทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๓๒ การประเมินให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม.
แต่งตั้งซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ส่วนที่ ๓
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ข้อ ๓๓ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่
ก.พ.อ. กำหนด ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
กรณีที่มีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามวรรคหนึ่งมากกว่าจำนวนกรอบตำแหน่งที่กำหนดให้คัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินตามจำนวนกรอบตำแหน่งโดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ
โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ ดังนี้
(๑) ให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคล
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้
รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคลและตรวจสอบกรณีมีการทักท้วงผลการคัดเลือก
(๒) การคัดเลือกให้กองบริหารงานบุคคล
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะงานเป็นอย่างเดียวกันเป็นผู้ดำเนินการ
โดยรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๓๔ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารต้องประเมินจากการปฏิบัติงาน
คุณลักษณะและสมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ข้อ ๓๕ การประเมินการปฏิบัติงานให้ประเมินตามองค์ประกอบ
ดังนี้
(๑) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้พิจารณาจากการมีความรู้และประสบการณ์ในทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ความสามารถในการบริหารงาน ความสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จโดยประหยัดทรัพยากร
ความสามารถในการตัดสินใจ และความคิดริเริ่ม
(๒)
ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ให้พิจารณาจากความสามารถในการบริหารงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
การดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงโดยคำนึงถึงเป้าหมาย
และความสำเร็จของงานเป็นหลักและการยอมรับปัญหาที่เกิดจากการทำงานและความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมโดยให้พิจารณาจากผลของการปฏิบัติงานประกอบด้วย
(๓) การวางแผน การควบคุม
การติดตามผลการปฏิบัติงานและการพัฒนางานให้พิจารณาจากความสามารถในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน
ควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
และติดตามประเมินผลงานของหน่วยงานและการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการปรับปรุงและการพัฒนางาน
(๔) การแนะนำ
การสอนงานและการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้พิจารณาจากการให้คำปรึกษาแนะนำ
สอนงานผู้ใต้บังคับบัญชา
และการปรับปรุงและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหารต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารที่
ก.พ.อ. รับรอง
ข้อ ๓๖ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหารให้พิจารณากำหนดองค์ประกอบในการประเมิน
ดังนี้
(๑)
ความประพฤติให้พิจารณาจากอุปนิสัยความประพฤติทั้งในด้านส่วนตัวและการรักษาวินัยข้าราชการ
ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากประวัติส่วนตัว
ประวัติการทำงาน และพฤติกรรมที่ปรากฏทางอื่น
(๒)
ความมีมนุษยสัมพันธ์ให้พิจารณาจากการให้ความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวกับราชการทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกัน
อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยหรือส่วนราชการอื่น
(๓) หรืออื่น ๆ
ตามที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยกำหนดโดยทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๓๗ การประเมินสมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งประเภทผู้บริหารให้พิจารณากำหนดองค์ประกอบในการประเมิน
ดังนี้
(๑) ความเป็นผู้นำให้พิจารณาจากความสามารถในการวางตน และเป็นตัวอย่างที่ดี
การมีศิลปะในการโน้มน้าว จูงใจ
กระตุ้นและให้กำลังใจแก่ผู้ร่วมงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
ความตั้งใจและเต็มใจร่วมกันทำงานให้สำเร็จ
และความสนใจและความสามารถในการพัฒนาทักษะ ความรู้
ความสามารถของทีมงานด้วยวิธีการอย่างเหมาะสม
(๒) การคิดเชิงกลยุทธ์ให้พิจารณาจากความสามารถในการประเมินสถานการณ์
การกำหนดกลยุทธ์ การลดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็ง การแปรวิกฤตเป็นโอกาส
และการคิดเพื่อให้ได้รับชัยชนะในทุกสถานการณ์
(๓)
การตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาให้พิจารณาจากความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยมีหลายทางเลือก
การเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
และการใช้ข้อมูลประกอบในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
(๔) วิสัยทัศน์ให้พิจารณาจากความสามารถในการคาดการณ์
หรือพยากรณ์สถานการณ์ข้างหน้าอย่างมีหลักการและเหตุผล
และการกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการดำเนินการเพื่อรองรับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งด้านที่เป็นผลโดยตรงและผลกระทบ
(๕) หรืออื่น ๆ
ตามที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยกำหนดโดยทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๓๘ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้เป็นระดับ ๗ - ๘
ให้แต่งตั้งเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ ๘ แล้ว
ข้อ ๓๙ การกำหนดวิธีการประเมินค่าน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบและเกณฑ์การตัดสินเพื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งต้องกำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะงานของหน่วยงาน
และระดับตำแหน่งของตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
และให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ม.
ข้อ ๔๐ การประเมินให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม. แต่งตั้ง ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่า
ส่วนที่ ๔
ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อ ๔๑ ให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของข้าราชการตามข้อ
๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๔ ก่อนการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับเชี่ยวชาญพิเศษ แล้วแต่กรณี
กรณีที่มีบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามวรรคหนึ่งมากกว่าจำนวนกรอบของตำแหน่งที่กำหนด
ให้คัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการประเมินตามจำนวนกรอบของตำแหน่ง
โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ดังนี้
(๑) ให้มหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคล
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้รายงานผลการพิจารณาคัดเลือกบุคคล
และตรวจสอบกรณีมีการทักท้วงผลการคัดเลือก
(๒) การคัดเลือกให้กองบริหารงานบุคคล หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะงานเป็นอย่างเดียวกันเป็นผู้ดำเนินการ
โดยรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๔๒ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการ
ต้องมีคุณวุฒิการศึกษาและมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(๑) วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งในระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบหกปี
(๒) วุฒิอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบสองปี
(๓) วุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าปี
(๔) วุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) วุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
ต้องดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
กรณีได้รับวุฒิการศึกษาเพิ่มขึ้นและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งให้นับระยะเวลาดำรงตำแหน่งรวมกันตามอัตราส่วนได้โดยตำแหน่งที่ดำรงอยู่เดิมต้องเป็นตำแหน่งที่ได้มีการกำหนดความจำเป็นของหน่วยงานให้มีตำแหน่งระดับชำนาญการแล้ว
ข้อ ๔๓ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ต้องมีวุฒิการศึกษาและมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(๑) ต้องมีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และต้องดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓
ขึ้นไปมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(๒) กรณีที่มิได้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการให้เทียบคุณสมบัติข้าราชการ
เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ ดังนี้
(ก) ต้องดำรงตำแหน่งระดับ ๘ และมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งที่ขอเทียบคุณสมบัติมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(ข) ให้พิจารณาเทียบคุณสมบัติที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ระดับ ๘ ย้อนหลังได้ไม่เกินสามปี
โดยพิจารณาจากประเภทและขอบข่ายของงานที่รับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงานในภาพรวม
และผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ระดับ ๘ ซึ่งหมายถึง คู่มือปฏิบัติงาน ผลงาน ศึกษา
ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่องานในหน้าที่ในด้านการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางาน
หรือเป็นผลงานริเริ่มสร้างสรรค์ การให้ความเห็น คำแนะนำ
หรือเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้นซึ่งผลงานดังกล่าวสามารถนำไปเสนอขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญได้
ข้อ ๔๔
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ
ต้องมีวุฒิการศึกษาและมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ดังนี้
(๑) ต้องมีวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และต้องดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(๒) กรณีที่มิได้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญให้เทียบคุณสมบัติข้าราชการ
เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับ ๑๐ ดังนี้
(ก) ต้องดำรงตำแหน่งระดับ ๙ และมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์จากการดำรงตำแหน่งที่ขอเทียบคุณสมบัติมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(ข) ให้พิจารณาเทียบคุณสมบัติที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ระดับ ๙
ย้อนหลังได้ไม่เกินสองปี โดยพิจารณาจากประเภทและขอบข่ายของงานที่รับผิดชอบ
ปริมาณและคุณภาพของงานในภาพรวม และผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ระดับ ๙
ซึ่งหมายถึง คู่มือปฏิบัติงาน ผลงาน ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์
หรือวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่องานในหน้าที่ในด้านการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางาน
หรือเป็นผลงานริเริ่มสร้างสรรค์ การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ
การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ
เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
ซึ่งผลงานดังกล่าวสามารถนำไปเสนอขอกำหนดตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษได้
ข้อ ๔๕ การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษให้ประเมินจากการปฏิบัติงาน
ผลงานและคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่ง
ข้อ ๔๖ การประเมินตำแหน่งระดับชำนาญการ ให้พิจารณา
ดังนี้
(๑) ปริมาณงานในหน้าที่ หมายถึง ขนาดหรือความมากน้อยของงาน
(๒) คุณภาพของงานในหน้าที่ หมายถึง ความยากง่าย การอาศัยเทคนิค วิธีการ
(๓) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ หมายถึง การใช้ประโยชน์จากผลงาน
ผลงานเป็นงานสร้างสรรค์และมีความคิดริเริ่ม
โดยต้องมิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือการฝึกอบรมมิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ในการประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว
และในกรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
ข้อ ๔๗ การพิจารณาผลงานให้กำหนดเงื่อนไข
ขอบเขตมาตรฐานของผลงานตามประกาศของมหาวิทยาลัย โดยมีมาตรฐานของผลงานดังนี้
(๑) ปริมาณขั้นต่ำของผลงานแต่ละประเภท
(๒) คุณภาพผลงานซึ่งเหมาะสมกับระดับตำแหน่ง สายงานและลักษณะงานของหน่วยงาน
(๓) การเผยแพร่ผลงานเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์และป้องกันการลอกเลียน
ข้อ ๔๘ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับ ๘ ให้แต่งตั้งเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ ๘
ข้อ ๔๙ การประเมินในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญให้พิจารณา
ดังนี้
(๑) ปริมาณงานในหน้าที่ หมายถึง ขนาดหรือความมากน้อยของงาน
(๒) คุณภาพของงานในหน้าที่ หมายถึง ความยากง่าย การอาศัยเทคนิค วิธีการ
(๓) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง
ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางค่อนข้างมาก ผลงานที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
และผลงานที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานค่อนข้างมาก
(๔) การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพเพื่อบริการต่อสังคม หมายถึง การให้ความเห็น
คำแนะนำ หรือเสนอแนะ การให้คำปรึกษาแนะนำการอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ
แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
ผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณาตาม
(๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๔๖ (๓) และการพิจารณาผลงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขขอบเขตมาตรฐานของผลงานตามข้อ
๔๗
ข้อ ๕๐ การประเมินในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษให้พิจารณา
ดังนี้
(๑) ปริมาณงานในหน้าที่ หมายถึง ขนาดหรือความมากน้อยของงาน
(๒) คุณภาพของงานในหน้าที่ หมายถึง ความยากง่าย การอาศัยเทคนิค วิธีการ
(๓) ผลงานที่แสดงความเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ หมายถึง
ผลงานที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมาก
ผลงานที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบหรือมาตรฐานของงาน
ผลงานที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่หรือเทคนิควิธีการใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่องานมาก
(๔) การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพเพื่อบริการต่อสังคม
หมายถึง การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ
การให้คำปรึกษาแนะนำการอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ
เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
(๕) ความเป็นที่ยอมรับนับถือในงานด้านนั้น หรือในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้น
หมายถึง การได้รับการยกย่องหรือได้รับรางวัลในระดับชาติสำหรับผลงานหรือผลการปฏิบัติงานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
หรือในงานที่เกี่ยวข้อง การมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานสนับสนุน
งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น
หรือในงานที่เกี่ยวข้องเป็นที่เชื่อถืออย่างกว้างขวางในระดับชาติ
ผลงานที่นำเสนอเพื่อพิจารณาตาม
(๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๔๖ (๓)
และการพิจารณาผลงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขขอบเขตมาตรฐานของผลงานตามข้อ ๔๗
ข้อ ๕๑ การประเมินคุณลักษณะของบุคคลที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งระดับชำนาญการระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้พิจารณากำหนดองค์ประกอบในการประเมิน ดังนี้
(๑) ความคิดริเริ่มให้พิจารณาจากการคิดค้นระบบ แนวทาง วิธีดำเนินการใหม่
เพื่อประสิทธิผลของงาน การแสดงความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะอย่างสมเหตุสมผลซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้
การแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมอยู่เสมอโดยเฉพาะในสาขาวิชาชีพ ในงานของตน
หรือในงานของหน่วยงาน การตรวจสอบ การปรับปรุง การแก้ไข
หรือการดัดแปลงวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา
การสนใจในงานที่ยุ่งยากซับซ้อน
ความไวต่อสถานการณ์หรือความฉับไวในการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกที่มีผลกระทบต่องาน
(๒)
การตัดสินใจแก้ไขปัญหาให้พิจารณาจากความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
การวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยมีหลายทางเลือก
การเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
การใช้ข้อมูลประกอบในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในสายวิชาชีพ ในงานของตน
หรือในงานของหน่วยงาน
(๓) การพัฒนาตนเองให้พิจารณาจากการติดตาม ศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้ใหม่หรือสิ่งที่เป็นความก้าวหน้าทางวิชาการหรือวิชาชีพอยู่เสมอ
การสนใจและปรับตนเองให้ก้าวทันวิทยาการใหม่ตลอดเวลา
การนำความรู้และวิทยาการใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) หรืออื่น ๆ
ตามที่คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยกำหนดโดยทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๕๒ การประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการ
ระดับเชี่ยวชาญ และระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการประเมินผลงานที่
ก.บ.ม. แต่งตั้ง
ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถตรงกับวิชาชีพที่เสนอขอและมีระดับตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่เสนอขอหรือเทียบเท่าและเป็นบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษานั้นทั้งหมด
โดยให้พิจารณากำหนดจำนวนกรรมการ ดังนี้
(๑) วิธีปกติ ให้แต่งตั้งกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
(๒) วิธีพิเศษ
ใช้ในกรณีการแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติต่างไปจากหลักเกณฑ์การขอกรณีตามปกติในเรื่องระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
หรือกรณีขอที่มิได้เป็นไปตามลำดับตำแหน่งให้แต่งตั้งกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
การประเมินเพื่อแต่งตั้งในกรณีตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
และระดับเชี่ยวชาญพิเศษต้องจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการประเมินผลงานเพื่อพิจารณาผลงานร่วมกันและให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ข้อ ๕๓ เกณฑ์การตัดสินให้ใช้คะแนนเสียงข้างมาก
เว้นแต่โดยวิธีพิเศษ ให้ใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของกรรมการประเมิน
ส่วนที่ ๕
การดำเนินการ
ข้อ ๕๔ การประเมินข้าราชการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้จัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
(๑) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับข้าราชการ ได้แก่ ชื่อ อายุตัวและอายุราชการ ตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
ตลอดจนระยะเวลาดำรงตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง และสังกัด
สำหรับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่ข้าราชการต้องมีเพื่อการแต่งตั้ง
ได้แก่ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถ
สมรรถนะเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ วุฒิการศึกษา การอบรม
และความสามารถอื่น
(๒) ผลการปฏิบัติงานหรือผลงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามข้อ ๒๐
หรือข้อ ๒๗ แล้วแต่กรณี หรือตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
(๓) คุณลักษณะหรือสมรรถนะของบุคคล แล้วแต่กรณี
ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การพิจารณาตาม
(๑) ถึง (๓) ให้มีการศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมด้วย
ข้อ ๕๕ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับนี้
ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
แต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย
ข้อ ๕๖ กรณีที่ข้าราชการใดไม่ผ่านการประเมิน
ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งผลการประเมินให้ข้าราชการผู้นั้นทราบ
ข้อ ๕๗ การให้ได้รับเงินเดือนของผู้ได้รับการประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
ให้เป็นไปตามกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้อ ๕๘ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
ให้เสนอ ก.พ.อ. พิจารณาเป็นกรณีไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
กร ทัพพะรังสี
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๙/๑๙ มีนาคม ๒๕๕๑ |
830840 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๒
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่
๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๗
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๗๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๗๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย
มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า
ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ
ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย
และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
กรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการแล้ว
ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย
และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการและต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๗๐ วรรคสอง
จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ
หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี
การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง
วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามมาตรา
๗๖
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๕/๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา
๗๕/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แล้วแต่กรณี
การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม
และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้
ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต
ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้
ดังนั้น สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต
อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พัชรภรณ์/จัดทำ
๙
เมษายน ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๑๐
เมษายน ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑๓/๕ เมษายน ๒๕๖๒ |
727730 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๑/๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๓๑/๑ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น
เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ก.ร.
อาจกำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี
ๆ ไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔
และให้ใช้บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๕ ในวาระเริ่มแรก
ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
ได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่
ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
มาตรา ๖ ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตำแหน่งประเภทบริหาร
บาท
บาท
ขั้นสูง
๗๔,๓๒๐
๗๖,๘๐๐
ขั้นต่ำ
๕๑,๑๔๐
๕๖,๓๘๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ต้น
สูง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
บาท
บาท
ขั้นสูง
๕๙,๕๐๐
๗๐,๓๖๐
ขั้นต่ำ
๒๖,๖๖๐
๓๒,๘๕๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
ระดับ
ต้น
สูง
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๖,๙๐๐
๔๓,๖๐๐
๕๘,๓๙๐
๖๙,๐๔๐
๗๖,๘๐๐
ขั้นต่ำ
๘,๓๔๐
๑๕,๐๕๐
๒๒,๑๔๐
๓๑,๔๐๐
๔๓,๘๑๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๗,๑๔๐
๑๓,๑๖๐
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ปฏิบัติการ
ชำนาญการ
ชำนาญการ
พิเศษ
เชี่ยวชาญ
ทรงคุณวุฒิ
/ตำแหน่ง
- ๒ -
ตำแหน่งประเภททั่วไป
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๑,๐๑๐
๓๘,๗๕๐
๕๔,๘๒๐
๖๙,๐๔๐
ขั้นต่ำ
๔,๘๗๐
๑๐,๑๙๐
๑๕,๔๑๐
๔๘,๒๒๐
ระดับ
ปฏิบัติงาน
ชำนาญงาน
อาวุโส
ทักษะพิเศษ
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เหมาะสม เป็นธรรม
และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตอบแทนในภาคเอกชน
ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน
และปัจจัยอื่นที่จำเป็น
สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๕ พฤษภาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
506722 | ข้อบังคับ ก.พ.อ.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. 2549
| ข้อบังคับ ก
ข้อบังคับ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ
หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๔ (๔) และมาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๗ ก.พ.อ. จึงออกข้อบังคับ ก.พ.อ. ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับ ก.พ.อ.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการ
หรือถูกสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.อ. ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งให้ออกจากราชการ
หรือคำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ
หรือคำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับนี้
ข้อ
๔ ก.พ.อ. อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำการพิจารณาอุทธรณ์แทน
ก.พ.อ. ตามข้อบังคับนี้ได้
ข้อ
๕ การอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ หรือคำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้อุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือถึงประธาน
ก.พ.อ. หรือเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
โดยในหนังสือให้แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการอุทธรณ์ให้เห็นว่าผู้อุทธรณ์ได้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
หรือถูกสั่งลงโทษ โดยไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นธรรมอย่างไร และลงลายมือชื่อและที่อยู่ของผู้อุทธรณ์
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิขอตรวจหรือคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนหรือของผู้สอบสวนได้
รวมทั้งมีสิทธิขอตรวจหรือคัดบันทึกถ้อยคำบุคคลพยานหลักฐานอื่น หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้อุทธรณ์ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
หรือถูกสั่งลงโทษด้วย ทั้งนี้ หากพยานหลักฐานดังกล่าวมีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้
ตามที่กำหนดในกฎหมาย ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ข้อ
๗ การยื่นอุทธรณ์ตามข้อ ๕ ให้ยื่นได้
๓ วิธี ดังนี้
(๑)
ยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(๒)
ยื่นที่สำนักงานอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
หรือมีคำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก
(๓)
ส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กรณียื่นอุทธรณ์ตาม
(๑) หรือ (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับหนังสือออกใบรับหนังสือ ประทับตรารับหนังสือและลงทะเบียนรับหนังสือไว้เป็นหลักฐาน
ในวันที่รับหนังสือตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณและให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ
ก.พ.อ.
กรณีที่ส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ตาม
(๓) ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ
ก.พ.อ.
ในการอุทธรณ์
ถ้าผู้อุทธรณ์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นพิจารณาของ ก.พ.อ. ให้แสดงความประสงค์ไว้ในหนังสืออุทธรณ์
หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้ แต่ต้องยื่นหรือส่งหนังสือขอแถลงการณ์ด้วยวาจาก่อนที่
ก.พ.อ. เริ่มพิจารณาอุทธรณ์ โดยอาจยื่นตาม (๑) หรือ (๓) ได้
ข้อ
๘ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ
๗ (๑) หรือ (๓) แล้ว ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบสำนวนอุทธรณ์ในเรื่องนั้น
โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้
(๑)
แจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเอกสารตามข้อ ๙
ให้ ก.พ.อ. เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามวัน
(๒)
รายงานกรณีที่ได้รับเรื่องอุทธรณ์ให้
ก.พ.อ. ทราบโดยเร็ว
ในกรณีที่ได้มีการยื่นอุทธรณ์ที่สำนักงานอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาตามข้อ
๗ (๒) และสถาบันอุดมศึกษาส่งหนังสืออุทธรณ์พร้อมกับเอกสารตามข้อ ๙ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแล้ว
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนอุทธรณ์ในเรื่องนั้น
และให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นรายงานกรณีที่ได้รับเรื่องอุทธรณ์ให้ ก.พ.อ. ทราบโดยเร็ว
ข้อ
๙ เมื่อสถาบันอุดมศึกษาได้รับหนังสืออุทธรณ์ตามข้อ
๗ (๒) หรือได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามข้อ ๘ (๑) แล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษาส่งเอกสารดังต่อไปนี้
ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์
หรือได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แล้วแต่กรณี
(๑)
หนังสืออุทธรณ์
(๒)
สำเนาหลักฐานการรับทราบคำสั่งให้ออกจากราชการ
หรือคำสั่งลงโทษของผู้อุทธรณ์
(๓)
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๔)
คำคัดค้านกรรมการสอบสวน (ถ้ามี)
(๕)
รายงานการประชุมของสภาสถาบันอุดมศึกษา หรือคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการพิจารณาสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษ
(๖)
สำนวนการสอบสวนและหลักฐานการสอบสวนทั้งหมดในกรณีตามมาตรา
๔๙ หรือมาตรา ๕๗ (๔) หรือเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา
๕๗ (๑) (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) หรือมาตรา ๕๘ พร้อมบัญชีเอกสาร
กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเอกสารไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้สถาบันอุดมศึกษาชี้แจงแสดงเหตุผลกรณีจัดส่งเอกสารล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย
ข้อ
๑๐ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับเอกสารตามข้อ
๙ จากสถาบันอุดมศึกษาครบถ้วนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสำนวนสรุปสำนวนเสนอต่อ
ก.พ.อ. เพื่อพิจารณาภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารครบถ้วน หากล่วงเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการได้
ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ ก.พ.อ. ทราบโดยเร็ว
ข้อ
๑๑ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิคัดค้านกรรมการผู้พิจารณาอุทธรณ์
ถ้าผู้นั้นมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นคู่กรณีกับผู้อุทธรณ์
(๒)
เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณีหรือผู้อุทธรณ์
(๓)
เป็นญาติของคู่กรณีหรือผู้อุทธรณ์ คือ
เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ
หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
(๔)
เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้แทน หรือตัวแทนของคู่กรณี หรือผู้อุทธรณ์
(๕)
เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
หรือผู้อุทธรณ์
(๖)
กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
การยื่นคัดค้าน
การพิจารณาคำคัดค้านกรรมการผู้พิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้อ
๑๒ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาอุทธรณ์ ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
หรือถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งให้ออกจากราชการ หรือคำสั่งลงโทษเป็นวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ถ้าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษ
และมีการแจ้งคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษให้ผู้นั้นทราบกับมอบสำเนาคำสั่งให้ผู้นั้นแล้วทำบันทึกลงวันเดือนปี
เวลา และสถานที่ที่แจ้ง และลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว
ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ถ้าไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรงและได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษ
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษ
ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ โดยส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าวไปให้สองฉบับ
เพื่อให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
หรือถูกสั่งลงโทษลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งแล้วส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
ในกรณีนี้เมื่อครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว
แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา
ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือถูกสั่งลงโทษได้รับแจ้งคำสั่งแล้ว
ข้อ
๑๓ เมื่อได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว ผู้อุทธรณ์จะยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมต่อ
ก.พ.อ. ก่อนที่ ก.พ.อ. เริ่มพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้ โดยอาจยื่นหรือส่งตามข้อ ๗ (๑) หรือ
(๓) ได้
ผู้อุทธรณ์จะขอถอนอุทธรณ์ก่อนที่
ก.พ.อ. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นตรงต่อ ก.พ.อ. และอาจยื่นหรือส่งตามข้อ
๗ (๑) หรือ (๓) ได้ เมื่อได้ถอนอุทธรณ์แล้วการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นอันระงับ
ข้อ
๑๔ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้องในสาระสำคัญตามข้อ
๕ และยื่นภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีปัญหาว่าอุทธรณ์รายใดเป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้หรือไม่
ให้ ก.พ.อ. เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่
ก.พ.อ. มีมติไม่รับอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการหรือคำสั่งลงโทษไว้พิจารณาให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาแจ้งคำวินิจฉัยนั้น
พร้อมทั้งแจ้งสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว
ข้อ
๑๕ ให้ ก.พ.อ. พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับหนังสืออุทธรณ์และเอกสารจากสถาบันอุดมศึกษาตามข้อ
๙ ครบถ้วน
การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา
๖๒ ให้ ก.พ.อ. พิจารณาจากเอกสารตามข้อ ๙ ในกรณีจำเป็นและสมควรอาจทำการไต่สวนเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
การไต่สวนเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้รวมถึงการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(๒)
รับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของผู้อุทธรณ์
หรือของพยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้าง เว้นแต่ ก.พ.อ. พิจารณาเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็น
ฟุ่มเฟือย หรือเพื่อประวิงเวลา
(๓)
ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากผู้อุทธรณ์
พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(๔)
ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(๕)
ออกไปตรวจสถานที่
พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่
ก.พ.อ. เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นมีสิทธิได้รับค่าป่วยการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์ของ
ก.พ.อ. ตามวรรคสอง ก.พ.อ. อาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ หรือคณะอนุกรรมการไต่สวน ทำการไต่สวนเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงแทนได้
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจาให้
ก.พ.อ. รับฟังคำแถลงการณ์ของ ผู้อุทธรณ์ทุกกรณี และผู้อุทธรณ์มีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาของ
ก.พ.อ ได้ การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าผู้อุทธรณ์ ให้ถือว่าเป็นการกระทำของผู้อุทธรณ์
เว้นแต่ผู้อุทธรณ์จะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น
กรณีที่จะมีการแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ตามวรรคห้า
ให้ ก.พ.อ. แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ หรือคำสั่งลงโทษทราบด้วยว่า
ถ้าประสงค์จะแถลงแก้ ก็ให้มาแถลง
หรือมอบหมายเป็นหนังสือให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นผู้แทนมาแถลงแก้ด้วยวาจาได้ ทั้งนี้ ให้แจ้งล่วงหน้าตามควรแก่กรณี และเพื่อประโยชน์ในการแถลงแก้ดังกล่าว
ให้ผู้บังคับบัญชาที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ หรือคำสั่งลงโทษ หรือผู้แทนเข้าฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ได้
ข้อ
๑๖ ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามข้อ ๑๕ ถ้า
ก.พ.อ. เห็นสมควรที่จะต้องสอบสวนใหม่
หรือสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความถูกต้องและเหมาะสมตามความเป็นธรรม ให้มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมในเรื่องนั้นได้ตามความจำเป็น
โดยจะสอบสวนเองหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้สอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมแทนก็ได้
หรือกำหนดประเด็น
หรือข้อสำคัญที่ต้องการทราบส่งไปให้ผู้สอบสวนเดิมทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้
การสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติม
หรือส่งประเด็นหรือข้อสำคัญไปเพื่อให้ผู้สอบสวนเดิมตามวรรคหนึ่ง ให้นำหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาตามที่กำหนดในมาตรา
๔๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๑๗ เมื่อ ก.พ.อ. ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา
๖๒ แล้ว
(๑)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการ
หรือสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสมกับความผิดแล้ว ให้มีมติยกอุทธรณ์
(๒)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการ
หรือสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมาย แต่เห็นว่า การให้ออกจากราชการไม่เหมาะสมกับกรณี หรือเห็นว่าโทษไม่เหมาะสมกับความผิด
ให้มีมติสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษให้เหมาะสม
(๓)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการ
หรือสั่งลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีมติเพิกถอนคำสั่ง และให้สั่งให้ดำเนินการให้เหมาะสม
(๔)
ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งให้ออกจากราชการหรือสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมให้มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ในกรณีที่มีผู้ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกในความผิดที่ได้กระทำร่วมกัน
และเป็นความผิดในเรื่องเดียวกัน โดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน เมื่อผู้ถูกลงโทษคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าว
และผลการพิจารณาเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์ แม้ผู้ถูกลงโทษคนอื่นจะไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์
หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้วให้มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ข้อ
๑๘ คำวินิจฉัยของ ก.พ.อ. ตามข้อ ๑๔ หรือข้อ
๑๗ ต้องมีลายมือชื่อของกรรมการที่วินิจฉัยเรื่องนั้น
ถ้ากรรมการคนใดมีความเห็นแย้ง
ให้มีสิทธิทำความเห็นแย้งของตนรวมไว้ในคำวินิจฉัยได้
ให้
ก.พ.อ. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อรับผิดชอบจัดทำสารบบคำวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ การจัดสารบบดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
ข้อ
๑๙ เมื่อ ก.พ.อ. ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ
๑๗ และมีมติเป็นประการใด
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาแจ้งคำวินิจฉัยนั้นพร้อมทั้งแจ้งสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือ และแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามข้อ
๑๔ หรือข้อ ๑๗ หรือในกรณีที่ ก.พ.อ. มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๑๕ วรรคหนึ่ง
ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมาย
ว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
ข้อ
๒๑ การนับระยะเวลาตามข้อบังคับ ก.พ.อ.
นี้ สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา ส่วนเวลาสิ้นสุด
ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
ข้อ
๒๒ ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใดได้ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
หรือร้องทุกข์ไว้แล้วก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์หรือร้องทุกข์นั้นยังไม่แล้วเสร็จ
ให้ ก.พ.อ. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์หรือร้องทุกข์นั้นต่อไปตามกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์หรือร้องทุกข์นั้น
ข้อ
๒๓ ให้ประธาน ก.พ.อ. รักษาการตามข้อบังคับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.พ.อ.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้ข้อบังคับ
ก.พ.อ. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้การอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการและคำสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ ก.พ.อ. จึงจำเป็นต้องออกข้อบังคับ ก.พ.อ. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
คุณากร/ผู้ตรวจ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๑๖/๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ |
728556 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่
๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ก.ร. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
รัฐสภา หมายความว่า
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๕
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖
การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ
ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพคุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มาตรา ๗ ข้าราชการรัฐสภา มี ๒ ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่
ข้าราชการรัฐสภาซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่
ข้าราชการรัฐสภาซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔
มาตรา ๘ วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี
วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการรัฐสภา ให้เป็นไปตามที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๙
เครื่องแบบของข้าราชการรัฐสภาและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๐
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับข้าราชการรัฐสภาให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑
บำเหน็จบำนาญข้าราชการรัฐสภาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒ มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่ ก.ร. กำหนด
มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่งจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย
หมวด ๒
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
มาตรา ๑๓
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า ก.ร.
ประกอบด้วย ประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภา เป็นรองประธานกรรมการ
เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคนซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเลือกจำนวนสี่คน วุฒิสภาเลือกจำนวนสี่คน
และผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญจำนวนสี่คนซึ่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองจำนวนสองคน
และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกกันเองจำนวนสองคน
เป็นกรรมการ
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๑๔
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๓ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑)
เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้วหรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา
๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖
เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๑๕ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เลือกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
ขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๙ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๙ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ได้อีกแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๑๗
เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญว่างลงเพราะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๑๕ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๐ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
แล้วแต่กรณี
เลือกผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ให้กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๒๐ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งตนแทน
กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
มาตรา ๑๘
การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญเป็นกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๑๙
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๐
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๑ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของ
ก.ร. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง
มาตรา ๒๒ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน
การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ
เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภาเพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(๓) ออกกฎ ก.ร.
และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
(๔) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภา
และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
(๖) กำกับ ดูแล ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภาในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๗)
พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการรัฐสภา
(๘) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) กำหนดเรื่องการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น
และเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการรัฐสภา
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ร.
มาตรา
๒๓
ก.ร. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร.
เพื่อทำการใด ๆ แทนได้
การประชุมของ อ.ก.ร. ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ส่วนที่
๑
การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๔ การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม
ดังต่อไปนี้
(๑)
การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้
ความสามารถของบุคคล ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ
(๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน
โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน
ศักยภาพ และความประพฤติและจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้
(๔) การดำเนินการทางวินัย
ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
(๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
มาตรา ๒๕
ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
และความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.ร.
ส่วนที่
๒
การกำหนดตำแหน่ง
และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
มาตรา ๒๖
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ มี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา รองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา และตำแหน่งอื่นที่ ก.ร.
กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการภายในระดับสำนักผู้อำนวยการกลุ่มงาน และตำแหน่งอื่นที่
ก.ร. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.ร. กำหนด
เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๒๗
ระดับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ มีดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับต้น
(ข) ระดับสูง
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับต้น
(ข) ระดับสูง
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติการ
(ข) ระดับชำนาญการ
(ค) ระดับชำนาญการพิเศษ
(ง) ระดับเชี่ยวชาญ
(จ) ระดับทรงคุณวุฒิ
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติงาน
(ข) ระดับชำนาญงาน
(ค) ระดับอาวุโส
(ง) ระดับทักษะพิเศษ
การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๒๘ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจะมีในส่วนราชการใด
จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อน และประหยัดเป็นหลัก
และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๙
มาตรา ๒๙ ให้ ก.ร. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน
และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน
ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน
หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย
มาตรา ๓๐
ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในฐานะใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๑
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นตํ่าขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด
ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้
ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๓๑/๑[๒]
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น
เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ก.ร. อาจกำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี
ๆ ไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้
มาตรา ๓๒
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้ ก.ร. พิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้สอดคล้องกับการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาโดยให้กระทำเป็นประกาศรัฐสภา
และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม
และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่งตามประกาศรัฐสภาดังกล่าวเป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้
เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่
ให้ ก.ร. กำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้
ประกาศรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง
และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนดตามวรรคสองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
มาตรา ๓๓
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในบางสายงานหรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
ตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๔
เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานด้านกฎหมายของรัฐสภา
ให้มีตำแหน่งนักกฎหมายนิติบัญญัติในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ซึ่งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในทางนิติศาสตร์
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย
การบริหารราชการแผ่นดินและระบบงานด้านนิติบัญญัติ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านกฎหมายและติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามความรับผิดชอบของรัฐสภา
ให้นักกฎหมายนิติบัญญัติได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายนิติบัญญัติ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ส่วนที่
๓
การสรรหา
การบรรจุ และการแต่งตั้ง
มาตรา ๓๖ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในส่วนนี้
มาตรา ๓๗
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒)
เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๓) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๕) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก
เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑)
เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม
ข. (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.ร.
ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม
การลงมติให้กระทำโดยลับ
การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีตามวรรคสอง ก.ร. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้
มาตรา ๓๘
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น
โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา
๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
มาตรา ๓๙
ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๓๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๔๕
ด้วย
สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) หรือ (๒)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา
๓๘ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๑
ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคล
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานสูง
เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ
เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๒
การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้
เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นำเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. แล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นำเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. แล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่เรียกชื่ออย่างอื่น แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา
๔๓
ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๐ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
แต่ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ ๕
วินัยและการดำเนินการทางวินัย
และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสองก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน
ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง
และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๔๗
ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๔
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๔๖ การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในหรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้
เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
การบรรจุข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กลับเข้ารับราชการในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้ออกจากราชการไป
เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ
เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
ให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้วแต่กรณี
และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสาม ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๗
การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.ร. กำหนด
มาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร.
เป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๔๘ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้
และไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ
หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว
ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีคุณวุฒิความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา
๔๙
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๔๕ แล้ว
หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
การรับเงินเดือน
สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้
ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ ก.ร. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย
มาตรา ๕๐
ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๓๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๓๗ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา
๔๕ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญว่างลง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้
ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับ มติ ก.ร. หรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ
เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ
หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๒
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน
การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่
ก.ร. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน
การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย
และการออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
มาตรา ๕๔
ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาโดยความเห็นชอบของ ก.ร. ในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้
ส่วนที่
๔
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๕๕
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
เพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต
มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๕๖
ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี
มาตรา ๕๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในประมวลจริยธรรมและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติหรือรางวัลด้วยก็ได้
มาตรา ๕๘
การให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม
ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๕๙
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
ผลการประเมินตามวรรคหนึ่ง
ให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย
มาตรา ๖๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
ส่วนที่
๕
วินัยและการดำเนินการทางวินัย
มาตรา ๖๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๓
มาตรา ๖๒
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย
และป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๖๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย
เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้
โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๖๔
การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
และต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติโดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ตามมาตรา ๖๑
มาตรา ๖๕
เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ตามส่วนนี้ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำ ลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร.
กำหนดก็ได้
มาตรา ๖๖
เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๖๕ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้
ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว
ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ แล้วแต่กรณี
มาตรา
๖๗
ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๖๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง
มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา
๖๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ
ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง
แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๗๑
หรือมาตรา ๗๒ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๙
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งต่างกัน
หรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งประเภทและระดับดังกล่าวในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเดียวกัน
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๒)
สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิร่วมด้วย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๓) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๗๐ หลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้
มาตรา ๗๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน
จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา
๗๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่งมาตรา ๖๙
หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙ หรือมาตรานี้ได้
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
มาตรา ๗๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา
หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามส่วนนี้
อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการกับข้าราชการอื่น
ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา
จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จ
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษและการให้ความคุ้มครองพยาน
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๔
ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ
(๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานอื่นของรัฐหรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง
ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
มาตรา ๗๕[๓] ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย
มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า
ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ
ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย
และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
กรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา
หลังจากที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา
ดำเนินการทางวินัย
และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
โดยต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการและต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๗๐ วรรคสอง
จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ
หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดำเนินการทางวินัยมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี
การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง
วรรคสอง และวรรคสาม
ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามมาตรา
๗๖
มาตรา ๗๕/๑[๔] ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว
การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แล้วแต่กรณี
การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง
หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
มาตรา ๗๖
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีได้
ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการ
หรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
หรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.ร. กำหนด
ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา
และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘
ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ
หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น
และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๘๘
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณาและไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน
การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
มาตรา ๗๗ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้
หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้วให้รายงาน ก.ร. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีที่ ก.ร.
เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.ร. มีมติ
ในกรณีตามวรรคสอง ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๗๐
มาตรา ๗๘ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่
และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๙
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา ๔๗
ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามส่วนนี้โดยอนุโลม
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา
หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณาหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ
แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามส่วนนี้โดยอนุโลม
แต่ทั้งนี้ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น
แล้วแต่กรณี
ส่วนที่
๖
การออกจากราชการ
มาตรา ๘๐
ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓)
ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๘๒
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๐ มาตรา
๗๖ มาตรา ๘๓ หรือมาตรา ๘๔ หรือ
(๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๘๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในตำแหน่งตามมาตรา
๒๗ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง)
จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๒
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก
ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวันและผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ
จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้
ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้ง
ให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนด
หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก
การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๘๓
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๗ ก.
(๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๖)
(๔)
เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่
สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
(๖)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๗)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา
๖๘ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๘)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน ก.ร.
และให้นำมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา
๘๔
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้
มาตรา ๘๕
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๘๓ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๘๓ ได้
มาตรา ๘๖
การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ
เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ส่วนที่
๗
การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
มาตรา ๘๗
ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา
๘๓ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๘
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้
เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๘๗
การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๙
ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์ ก.ร. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้ง
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และการร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๙๐ เมื่อ ก.ร.
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.ร. มีคำวินิจฉัย
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา ๙๑ ให้นำมาตรา ๗๔
มาใช้บังคับกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ของ ก.ร. และ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
หมวด ๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๙๒
ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง มีดังต่อไปนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๔) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๕) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๖) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๗) ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๘) โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๙) โฆษกประธานวุฒิสภา
(๑๐) โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๑๓) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๔) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๕) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๖) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๗) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๑๘) ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
(๑๙) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๒๐) ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒๑) ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
(๒๒) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒๓) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๒๔) ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่งจะมีจำนวนเท่าใดให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
และให้นำคุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง เว้นแต่ ข. (๑)
และ (๒) มาใช้บังคับกับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองโดยอนุโลม
มาตรา ๙๓
ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ถ้าได้เงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๙๔
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
โดยเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราสำหรับข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการทุกประเภทและไม่เกินอัตราร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่
ให้ ก.ร.
พิจารณาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้สอดคล้องกับการปรับนั้น
โดยให้กระทำเป็นประกาศรัฐสภาซึ่งประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม
และให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายประกาศรัฐสภาดังกล่าวเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน
มาตรา ๙๕
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๙๒ (๑) (๓) (๕) (๗) (๘) (๑๐) (๑๑) (๑๓) (๑๕) (๑๗) (๑๘) (๒๐) (๒๒) และ
(๒๔) ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๙๒ (๒) (๔) (๖) (๙)
(๑๒) (๑๔) (๑๖) (๑๙) (๒๑) และ (๒๓) ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
มาตรา ๙๖
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๙๕
วรรคหนึ่ง ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง
หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ แล้วแต่กรณี
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๙๕
วรรคสอง ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเมื่อประธานวุฒิสภา
หรือรองประธานวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๗ ให้ ก.ร.
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกตามมาตรา ๑๓
ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๙๘ ให้ อ.ก.ร.
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง
อ.ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๙๙
ผู้ใดเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง แล้วแต่กรณี
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป
มาตรา ๑๐๐ บรรดากฎหมาย ข้อบังคับ
กฎ ประกาศ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี มติ ก.ร. หรือคำสั่งใดที่กล่าวอ้างถึง ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้หมายความถึง
ข้าราชการรัฐสภา ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๐๑ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๙ บทบัญญัติในหมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ยังไม่ใช้บังคับ ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปพลางก่อนจนกว่า ก.ร.
จะได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและจัดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าประเภทตำแหน่ง
สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ จึงให้นำบทบัญญัติในหมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ
และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
และจัดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าประเภทตำแหน่งสายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ
ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งหากมีเหตุผลและความจำเป็น
ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะรายได้
ให้ ก.ร.
ดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๒
ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ประกาศ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎ ประกาศ
หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ไม่อาจนำกฎ ประกาศ
หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่งการจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๐๓
การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๐๔ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ ก.ร. พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๑๓๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๑๓๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ[๕]
ตำแหน่งประเภทบริหาร
บาท
บาท
ขั้นสูง
๗๔,๓๒๐
๗๖,๘๐๐
ขั้นต่ำ
๕๑,๑๔๐
๕๖,๓๘๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ต้น
สูง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
บาท
บาท
ขั้นสูง
๕๙,๕๐๐
๗๐,๓๖๐
ขั้นต่ำ
๒๖,๖๖๐
๓๒,๘๕๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
ระดับ
ต้น
สูง
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๖,๙๐๐
๔๓,๖๐๐
๕๘,๓๙๐
๖๙,๐๔๐
๗๖,๘๐๐
ขั้นต่ำ
๘,๓๔๐
๑๕,๐๕๐
๒๒,๑๔๐
๓๑,๔๐๐
๔๓,๘๑๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๗,๑๔๐
๑๓,๑๖๐
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ปฏิบัติการ
ชำนาญการ
ชำนาญการ
พิเศษ
เชี่ยวชาญ
ทรงคุณวุฒิ
ตำแหน่งประเภททั่วไป
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๑,๐๑๐
๓๘,๗๕๐
๕๔,๘๒๐
๖๙,๐๔๐
ขั้นต่ำ
๔,๘๗๐
๑๐,๑๙๐
๑๕,๔๑๐
๔๘,๒๒๐
ระดับ
ปฏิบัติงาน
ชำนาญงาน
อาวุโส
ทักษะพิเศษ
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
๑.
ตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ระดับสูง
ระดับต้น
๒๑,๐๐๐
๑๔,๕๐๐
๑๐,๐๐๐
๒.
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ระดับสูง
ระดับต้น
๑๐,๐๐๐
๕,๖๐๐
๓.
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ทรงคุณวุฒิ
เชี่ยวชาญ
ชำนาญการพิเศษ
ชำนาญการ
๑๕,๖๐๐
๑๓,๐๐๐
๙,๙๐๐
๕,๖๐๐
๓,๕๐๐
๔.
ตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ทักษะพิเศษ
๙,๙๐๐
บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตำแหน่ง
จำนวนตำแหน่ง
อัตรา
(บาท)
ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษารองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานวุฒิสภา
โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานรัฐสภา
เลขานุการรองประธานรัฐสภา
เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานวุฒิสภา
เลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
๑
๑
๒
๒
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๕๔,๙๑๐
๕๔,๙๑๐
๕๔,๙๑๐
๕๔,๙๑๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตำแหน่ง
จำนวนตำแหน่ง
อัตรา
(บาท)
ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษารองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานวุฒิสภา
โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานรัฐสภา
เลขานุการรองประธานรัฐสภา
เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานวุฒิสภา
เลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
๑
๑
๒
๒
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑๕,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
ประกอบกับได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของราชการฝ่ายรัฐสภาสอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดระบบตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานและให้มีบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาเป็นการเฉพาะ
กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษอาจรับราชการต่อไปได้
และปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
รวมทั้งเพิ่มตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองบางตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้สอดคล้องกับภารกิจของงานด้านนิติบัญญัติของรัฐสภา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๖]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ในวาระเริ่มแรก ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
ได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่
ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
มาตรา ๖
ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เหมาะสม
เป็นธรรม และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
ค่าตอบแทนในภาคเอกชน ฐานะการคลังของประเทศ
ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ
ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น
สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒[๗] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันปรากฏปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม
และไม่เสมอภาคในการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปแล้ว นอกจากนี้
ยังมีปัญหาความแตกต่างระหว่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการฝ่ายพลเรือนกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต
ซึ่งทำให้การดำเนินการทางวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษแก่ข้าราชการที่ถูกองค์กรตรวจสอบการทุจริตชี้มูลความผิดหลังออกจากราชการไปแล้วในบางกรณีไม่อาจดำเนินการตามฐานความผิดที่ชี้มูลได้ ดังนั้น
สมควรให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ซึ่งออกจากราชการเป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับกฎหมายขององค์กรตรวจสอบการทุจริต
อันจะเป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๙ เมษายน ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๑๐ เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๘/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๒] มาตรา ๓๐/๑
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] มาตรา ๗๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๔] มาตรา
๗๕/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๕] บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑๓/๕ เมษายน
๒๕๖๒ |
850407 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/05/2558) | พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่
๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ก.ร. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
รัฐสภา หมายความว่า
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๕ ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖ การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ
ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพคุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มาตรา ๗ ข้าราชการรัฐสภา มี ๒
ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่
ข้าราชการรัฐสภาซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่
ข้าราชการรัฐสภาซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔
มาตรา ๘ วันเวลาทำงาน
วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๙ เครื่องแบบของข้าราชการรัฐสภาและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๐ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับข้าราชการรัฐสภาให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการรัฐสภาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒ มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่ ก.ร. กำหนด
มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่งจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย
หมวด ๒
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า
ก.ร. ประกอบด้วย
ประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภา เป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ
ก.พ. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคนซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเลือกจำนวนสี่คน
วุฒิสภาเลือกจำนวนสี่คน
และผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญจำนวนสี่คนซึ่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองจำนวนสองคน
และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกกันเองจำนวนสองคน
เป็นกรรมการ
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๑๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๓ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑)
เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้วหรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๑๕ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เลือกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๔ ขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๙ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๙ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ได้อีกแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๑๗ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญว่างลงเพราะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๑๕ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๐ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
แล้วแต่กรณี
เลือกผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ให้กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๒๐ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งตนแทน
กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
มาตรา ๑๘ การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญเป็นกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๑๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๑ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของ
ก.ร. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณี ตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง
มาตรา ๒๒ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน
การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ
เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภาเพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(๓) ออกกฎ ก.ร.
และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
(๔) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภา
และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
(๖) กำกับ ดูแล ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภาในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน
เดือน ปีเกิดและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการรัฐสภา
(๘) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) กำหนดเรื่องการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น
และเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการรัฐสภา
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ร.
มาตรา ๒๓ ก.ร. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร. เพื่อทำการใด ๆ แทนได้
การประชุมของ อ.ก.ร. ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ส่วนที่
๑
การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๔ การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม
ดังต่อไปนี้
(๑)
การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถของบุคคล
ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ
(๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน
โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน
ศักยภาพ และความประพฤติและจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้
(๔) การดำเนินการทางวินัย
ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
(๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
มาตรา ๒๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
และความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.ร.
ส่วนที่
๒
การกำหนดตำแหน่ง
และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
มาตรา ๒๖ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา รองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา และตำแหน่งอื่นที่ ก.ร.
กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการภายในระดับสำนักผู้อำนวยการกลุ่มงาน และตำแหน่งอื่นที่
ก.ร. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.ร. กำหนด
เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๒๗ ระดับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มีดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับต้น
(ข) ระดับสูง
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับต้น
(ข) ระดับสูง
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติการ
(ข) ระดับชำนาญการ
(ค) ระดับชำนาญการพิเศษ
(ง) ระดับเชี่ยวชาญ
(จ) ระดับทรงคุณวุฒิ
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติงาน
(ข) ระดับชำนาญงาน
(ค) ระดับอาวุโส
(ง) ระดับทักษะพิเศษ
การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๒๘ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจะมีในส่วนราชการใด
จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อน และประหยัดเป็นหลัก
และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๙
มาตรา ๒๙ ให้ ก.ร. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน
และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน
ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน
ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน
หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย
มาตรา ๓๐ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในฐานะใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๑ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นตํ่าขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด
ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้
ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๓๑/๑[๒] ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น
เพื่อเป็นการเยียวยาให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ก.ร.
อาจกำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามที่เห็นสมควรเป็นกรณี
ๆ ไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้
มาตรา ๓๒ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้ ก.ร. พิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้สอดคล้องกับการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาโดยให้กระทำเป็นประกาศรัฐสภา
และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม
และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่งตามประกาศรัฐสภาดังกล่าวเป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้
เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่
ให้ ก.ร. กำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้
ประกาศรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนดตามวรรคสองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
มาตรา ๓๓ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในบางสายงานหรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
ตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๔
เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานด้านกฎหมายของรัฐสภา
ให้มีตำแหน่งนักกฎหมายนิติบัญญัติในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ซึ่งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในทางนิติศาสตร์
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย
การบริหารราชการแผ่นดินและระบบงานด้านนิติบัญญัติ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านกฎหมายและติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามความรับผิดชอบของรัฐสภา
ให้นักกฎหมายนิติบัญญัติได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายนิติบัญญัติ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ส่วนที่
๓
การสรรหา
การบรรจุ และการแต่งตั้ง
มาตรา ๓๖ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในส่วนนี้
มาตรา ๓๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒)
เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๓) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๕) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก
เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑)
เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม
ข. (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.ร.
ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม
การลงมติให้กระทำโดยลับ
การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีตามวรรคสอง ก.ร. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้
มาตรา ๓๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น
โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา
๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
มาตรา ๓๙ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๓๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๔๕
ด้วย
สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) หรือ (๒)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา
๓๘ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๑ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคล
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานสูง
เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ
เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้
เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นำเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. แล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นำเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. แล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่เรียกชื่ออย่างอื่น แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๔๓ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา
๓๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๐
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
แต่ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ ๕
วินัยและการดำเนินการทางวินัย และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสองก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน
ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง
และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๔๗
ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๔ การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๔๖ การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในหรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้
เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
การบรรจุข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กลับเข้ารับราชการในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้ออกจากราชการไป
เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ
เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
ให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้วแต่กรณี
และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสาม ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๗ การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.ร. กำหนด
มาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ โดยผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด แล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๔๘ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้
และไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ
หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว
ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีคุณวุฒิความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๔๙ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๔๕ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
การรับเงินเดือน
สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้
ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ ก.ร. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย
มาตรา ๕๐ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๓๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๓๗ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา
๔๕ อยู่ก่อนก็ดี
มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญว่างลง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้
ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับ มติ ก.ร. หรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ
หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ
หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน
การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่
ก.ร. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย
และการออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาโดยความเห็นชอบของ ก.ร.
ในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้
ส่วนที่
๔
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๕๕ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
เพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต
มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๕๖ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี
มาตรา ๕๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในประมวลจริยธรรมและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติหรือรางวัลด้วยก็ได้
มาตรา ๕๘ การให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม
ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๕๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
ผลการประเมินตามวรรคหนึ่ง
ให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย
มาตรา ๖๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
ส่วนที่
๕
วินัยและการดำเนินการทางวินัย
มาตรา ๖๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๓
มาตรา ๖๒ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย
และป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๖๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้
โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๖๔ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
และต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติโดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ตามมาตรา ๖๑
มาตรา ๖๕ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ตามส่วนนี้ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำ ลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร.
กำหนดก็ได้
มาตรา ๖๖ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา
๖๕ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้
ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว
ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา
๖๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง
มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา ๖๖
ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ
ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๗๑ หรือมาตรา ๗๒ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๙ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งต่างกัน
หรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งประเภทและระดับดังกล่าวในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเดียวกัน
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๒)
สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิร่วมด้วย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๓) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๗๐ หลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้
มาตรา ๗๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน
จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่งมาตรา ๖๙ หรือมาตรานี้
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙ หรือมาตรานี้ได้
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
มาตรา ๗๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา
หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามส่วนนี้
อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการกับข้าราชการอื่น
ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา
จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จ
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน
การลดโทษและการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๔ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ
(๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานอื่นของรัฐหรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง
ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
มาตรา ๗๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
หรือเป็นการกล่าวหาโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา อันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย
ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา
และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
แต่ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ต้องดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
มาตรา ๗๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีได้
ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการ
หรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
หรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.ร. กำหนด ทั้งนี้
ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา
และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘
ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ
หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น
และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๘๘
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณาและไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน
การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
มาตรา ๗๗ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้
หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้วให้รายงาน ก.ร. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีที่ ก.ร.
เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.ร. มีมติ
ในกรณีตามวรรคสอง ให้ ก.ร.
มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนดตามมาตรา ๗๐
มาตรา ๗๘ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่
และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๙ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา
๔๗ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามส่วนนี้โดยอนุโลม
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา
หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณาหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ
แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามส่วนนี้โดยอนุโลม
แต่ทั้งนี้ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น
แล้วแต่กรณี
ส่วนที่
๖
การออกจากราชการ
มาตรา ๘๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา
๘๒
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๐ มาตรา ๗๖ มาตรา ๘๓ หรือมาตรา
๘๔ หรือ
(๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๘๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในตำแหน่งตามมาตรา
๒๗ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง)
จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก
ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวันและผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ
จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้ง
ให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนด
หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก
การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๘๓ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๗ ก.
(๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๖)
(๔)
เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่
สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
(๕)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
(๖)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๗)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา
๖๘ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๘)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน ก.ร.
และให้นำมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๘๔ เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง
และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๘๓ โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๘๓ ได้
มาตรา ๘๖ การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ
เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ส่วนที่
๗
การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
มาตรา ๘๗ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา
๘๓ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้
เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๘๗
การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๙ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์
ก.ร. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้ง อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และการร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๙๐ เมื่อ ก.ร.
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.ร. มีคำวินิจฉัย
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา ๙๑ ให้นำมาตรา ๗๔
มาใช้บังคับกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ของ ก.ร. และ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
หมวด ๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๙๒ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มีดังต่อไปนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๔) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๕) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๖) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๗) ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๘) โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๙) โฆษกประธานวุฒิสภา
(๑๐) โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๑๓) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๔) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๕) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๖) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๗) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๑๘) ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
(๑๙) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๒๐) ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒๑) ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
(๒๒) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒๓) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๒๔) ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่งจะมีจำนวนเท่าใดให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
และให้นำคุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง เว้นแต่ ข. (๑)
และ (๒) มาใช้บังคับกับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองโดยอนุโลม
มาตรา ๙๓ ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ถ้าได้เงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๙๔ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
โดยเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราสำหรับข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการทุกประเภทและไม่เกินอัตราร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่
ให้ ก.ร.
พิจารณาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้สอดคล้องกับการปรับนั้น
โดยให้กระทำเป็นประกาศรัฐสภาซึ่งประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม
และให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายประกาศรัฐสภาดังกล่าวเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน
มาตรา ๙๕ การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๙๒ (๑) (๓) (๕) (๗) (๘) (๑๐) (๑๑) (๑๓) (๑๕) (๑๗) (๑๘) (๒๐) (๒๒) และ (๒๔)
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๙๒ (๒) (๔) (๖) (๙)
(๑๒) (๑๔) (๑๖) (๑๙) (๒๑) และ (๒๓) ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
มาตรา ๙๖ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๙๕
วรรคหนึ่ง ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง
หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ แล้วแต่กรณี
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๙๕
วรรคสอง ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเมื่อประธานวุฒิสภา
หรือรองประธานวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๗ ให้ ก.ร.
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกตามมาตรา ๑๓
ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๙๘ ให้ อ.ก.ร.
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง
อ.ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๙๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง แล้วแต่กรณี
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป
มาตรา ๑๐๐ บรรดากฎหมาย ข้อบังคับ
กฎ ประกาศ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี มติ ก.ร. หรือคำสั่งใดที่กล่าวอ้างถึง ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
หรือพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้หมายความถึง ข้าราชการรัฐสภา ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๐๑ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๙ บทบัญญัติในหมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ยังไม่ใช้บังคับ
ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปพลางก่อนจนกว่า ก.ร.
จะได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและจัดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าประเภทตำแหน่ง
สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ จึงให้นำบทบัญญัติในหมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ
และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
และจัดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าประเภทตำแหน่งสายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ
ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งหากมีเหตุผลและความจำเป็น
ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะรายได้
ให้ ก.ร.
ดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ
ประกาศ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎ
ประกาศ หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ไม่อาจนำกฎ ประกาศ
หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่งการจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๐๓ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๐๔ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ ก.ร.
พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา
๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๑๓๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ[๓]
ตำแหน่งประเภทบริหาร
บาท
บาท
ขั้นสูง
๗๔,๓๒๐
๗๖,๘๐๐
ขั้นต่ำ
๕๑,๑๔๐
๕๖,๓๘๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ต้น
สูง
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
บาท
บาท
ขั้นสูง
๕๙,๕๐๐
๗๐,๓๖๐
ขั้นต่ำ
๒๖,๖๖๐
๓๒,๘๕๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
ระดับ
ต้น
สูง
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๖,๙๐๐
๔๓,๖๐๐
๕๘,๓๙๐
๖๙,๐๔๐
๗๖,๘๐๐
ขั้นต่ำ
๘,๓๔๐
๑๕,๐๕๐
๒๒,๑๔๐
๓๑,๔๐๐
๔๓,๘๑๐
ขั้นต่ำชั่วคราว
๗,๑๔๐
๑๓,๑๖๐
๑๙,๘๖๐
๒๔,๔๐๐
๒๙,๙๘๐
ระดับ
ปฏิบัติการ
ชำนาญการ
ชำนาญการ
พิเศษ
เชี่ยวชาญ
ทรงคุณวุฒิ
ตำแหน่งประเภททั่วไป
บาท
บาท
บาท
บาท
ขั้นสูง
๒๑,๐๑๐
๓๘,๗๕๐
๕๔,๘๒๐
๖๙,๐๔๐
ขั้นต่ำ
๔,๘๗๐
๑๐,๑๙๐
๑๕,๔๑๐
๔๘,๒๒๐
ระดับ
ปฏิบัติงาน
ชำนาญงาน
อาวุโส
ทักษะพิเศษ
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
๑.
ตำแหน่งประเภทบริหาร
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ระดับสูง
ระดับต้น
๒๑,๐๐๐
๑๔,๕๐๐
๑๐,๐๐๐
๒.
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ระดับสูง
ระดับต้น
๑๐,๐๐๐
๕,๖๐๐
๓.
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ทรงคุณวุฒิ
เชี่ยวชาญ
ชำนาญการพิเศษ
ชำนาญการ
๑๕,๖๐๐
๑๓,๐๐๐
๙,๙๐๐
๕,๖๐๐
๓,๕๐๐
๔.
ตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับ
อัตรา
(บาท/เดือน)
ทักษะพิเศษ
๙,๙๐๐
บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตำแหน่ง
จำนวนตำแหน่ง
อัตรา
(บาท)
ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษารองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานวุฒิสภา
โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานรัฐสภา
เลขานุการรองประธานรัฐสภา
เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานวุฒิสภา
เลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
๑
๑
๒
๒
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๕๔,๙๑๐
๕๔,๙๑๐
๕๔,๙๑๐
๕๔,๙๑๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๕,๐๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๔๒,๒๐๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
๓๗,๗๘๐
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
ตำแหน่ง
จำนวนตำแหน่ง
อัตรา
(บาท)
ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษารองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
โฆษกประธานวุฒิสภา
โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานรัฐสภา
เลขานุการรองประธานรัฐสภา
เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการประธานวุฒิสภา
เลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร
๑
๑
๒
๒
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑
๑
๑
๑
เท่าจำนวนรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎร
เท่าจำนวนรองประธานวุฒิสภา
๑
๑๕,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๑๕,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๑๐,๐๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๔,๙๐๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
๓,๗๘๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
ประกอบกับได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของราชการฝ่ายรัฐสภาสอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดระบบตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานและให้มีบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาเป็นการเฉพาะ
กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษอาจรับราชการต่อไปได้
และปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ รวมทั้งเพิ่มตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองบางตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้สอดคล้องกับภารกิจของงานด้านนิติบัญญัติของรัฐสภา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘[๔]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๕ ในวาระเริ่มแรก
ให้ปรับเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและระดับชำนาญการและผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานและระดับชำนาญงาน
ได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ได้รับอยู่เดิมตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้อีกร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่
ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้มีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
มาตรา ๖ ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เหมาะสม เป็นธรรม
และได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตอบแทนในภาคเอกชน
ฐานะการคลังของประเทศ ความแตกต่างระหว่างรายได้ของข้าราชการระดับต่าง ๆ
ในประเภทเดียวกันและต่างประเภทกัน และปัจจัยอื่นที่จำเป็น
สมควรปรับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘
พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘
พฤษภาคม ๒๕๕๔
วริญา/เพิ่มเติม
ปัญญา/ตรวจ
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๘/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๒] มาตรา
๓๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๓] บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๔/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ |
648933 | พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ.
๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่
๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภา หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้
ประธานรัฐสภา หมายความว่า
ประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รองประธานรัฐสภา หมายความว่า
รองประธานรัฐสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ก.ร. หมายความว่า
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
รัฐสภา หมายความว่า
สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๕ ให้ประธานรัฐสภารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖ การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ
ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพคุณธรรม
และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มาตรา ๗ ข้าราชการรัฐสภา มี ๒
ประเภท
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ได้แก่
ข้าราชการรัฐสภาซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๓
(๒) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ได้แก่
ข้าราชการรัฐสภาซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๔
มาตรา ๘ วันเวลาทำงาน
วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๙ เครื่องแบบของข้าราชการรัฐสภาและระเบียบว่าด้วยการแต่งกายของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
มาตรา ๑๐ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับข้าราชการรัฐสภาให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑ บำเหน็จบำนาญข้าราชการรัฐสภาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒ มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการรัฐสภา
ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่ ก.ร. กำหนด
มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่งจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย
หมวด ๒
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า
คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรียกโดยย่อว่า
ก.ร. ประกอบด้วย
ประธานรัฐสภาเป็นประธานกรรมการ รองประธานรัฐสภา เป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ
ก.พ. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนแปดคนซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเลือกจำนวนสี่คน
วุฒิสภาเลือกจำนวนสี่คน และผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญจำนวนสี่คนซึ่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเองจำนวนสองคน
และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกกันเองจำนวนสองคน
เป็นกรรมการ
ให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
ก.ร.
มาตรา ๑๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา
๑๓ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑)
เคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่ามาแล้วหรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการข้าราชการประเภทใดประเภทหนึ่งมาแล้ว
(๒) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
ข้าราชการการเมือง ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง สมาชิกรัฐสภา กรรมการพรรคการเมือง
หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเลือกใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๖ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงเพราะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๑๕ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๙ ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เลือกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๔ ขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง หรือวันเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
แล้วแต่กรณี
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับสำหรับกรณีที่ตำแหน่งว่างเพราะการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๙ และวาระของกรรมการที่เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๑๙ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
รัฐสภาอาจเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งออกจากตำแหน่งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ได้อีกแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
มาตรา ๑๗ เมื่อตำแหน่งกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญว่างลงเพราะพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา
๑๕ หรือเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๐ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
แล้วแต่กรณี
เลือกผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญขึ้นแทนภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ให้กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างเพราะพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๒๐ อยู่ในตำแหน่งตามวาระของกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งตนแทน
กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
มาตรา ๑๘ การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญเป็นกรรมการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด
มาตรา ๑๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕
กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พ้นจากการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
(๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๑ การประชุมของ ก.ร.
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของ
ก.ร. โดยอนุโลม เว้นแต่กรณี ตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง
มาตรา ๒๒ ให้ ก.ร.
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน
การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ
เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภาเพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(๓) ออกกฎ ก.ร.
และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎ ก.ร.
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
(๔) ตีความและวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้พระราชบัญญัตินี้
รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิอย่างอื่น
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการรัฐสภา
และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
(๖) กำกับ ดูแล ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภาในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน
เดือน ปีเกิดและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการรัฐสภา
(๘) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) กำหนดเรื่องการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์อื่น
และเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ข้าราชการรัฐสภา
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.ร.
มาตรา ๒๓ ก.ร. มีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรียกโดยย่อว่า อ.ก.ร. เพื่อทำการใด ๆ แทนได้
การประชุมของ อ.ก.ร. ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ส่วนที่
๑
การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มาตรา ๒๔ การจัดระเบียบข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ให้คำนึงถึงระบบคุณธรรม
ดังต่อไปนี้
(๑)
การรับบุคคลเพื่อบรรจุเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถของบุคคล
ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และประโยชน์ของทางราชการ
(๒) การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพขององค์กรและลักษณะของงาน
โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
(๓) การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่ง
และการให้ประโยชน์อื่นแก่ข้าราชการต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมโดยพิจารณาจากผลงาน
ศักยภาพ และความประพฤติและจะนำความคิดเห็นทางการเมืองหรือสังกัดพรรคการเมืองมาประกอบการพิจารณามิได้
(๔) การดำเนินการทางวินัย
ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
(๕) การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง
มาตรา ๒๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
และความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ และต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวมกลุ่มตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ก.ร.
ส่วนที่
๒
การกำหนดตำแหน่ง
และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
มาตรา ๒๖ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มี ๔ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา รองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา และตำแหน่งอื่นที่ ก.ร.
กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการภายในระดับสำนักผู้อำนวยการกลุ่มงาน และตำแหน่งอื่นที่
ก.ร. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่
ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.ร. กำหนด
เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร
ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๒๗ ระดับตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
มีดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับต้น
(ข) ระดับสูง
(๒) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับต้น
(ข) ระดับสูง
(๓) ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติการ
(ข) ระดับชำนาญการ
(ค) ระดับชำนาญการพิเศษ
(ง) ระดับเชี่ยวชาญ
(จ) ระดับทรงคุณวุฒิ
(๔) ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับ ดังต่อไปนี้
(ก) ระดับปฏิบัติงาน
(ข) ระดับชำนาญงาน
(ค) ระดับอาวุโส
(ง) ระดับทักษะพิเศษ
การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๒๘ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญจะมีในส่วนราชการใด
จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อน และประหยัดเป็นหลัก
และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๙
มาตรา ๒๙ ให้ ก.ร. จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
โดยจำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน
และจัดตำแหน่งในประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกันที่คุณภาพของงานเท่ากันโดยประมาณเป็นระดับเดียวกัน
ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่
ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน
ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ระบุชื่อตำแหน่งในสายงาน
หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไว้ด้วย
มาตรา ๓๐ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาตำแหน่งใดบังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในฐานะใด
ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๑ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นตํ่าขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินเดือนเท่าใด
ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เงินประจำตำแหน่งตามมาตรานี้
ไม่ถือเป็นเงินเดือนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๓๒ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ให้ ก.ร.
พิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้สอดคล้องกับการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาโดยให้กระทำเป็นประกาศรัฐสภา
และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม
และให้ถือว่าเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่งตามประกาศรัฐสภาดังกล่าวเป็นเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงและเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชบัญญัตินี้
เมื่อมีการปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
การปรับเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับอยู่เดิมเข้าสู่อัตราในบัญชีที่ได้รับการปรับใหม่
ให้ ก.ร. กำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้
ประกาศรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนดตามวรรคสองให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
มาตรา ๓๓ การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๓๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในบางสายงานหรือตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
ตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๓๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๔
เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานด้านกฎหมายของรัฐสภา
ให้มีตำแหน่งนักกฎหมายนิติบัญญัติในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ซึ่งเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในทางนิติศาสตร์
การร่างกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย
การบริหารราชการแผ่นดินและระบบงานด้านนิติบัญญัติ
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านกฎหมายและติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามความรับผิดชอบของรัฐสภา
ให้นักกฎหมายนิติบัญญัติได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายนิติบัญญัติ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ส่วนที่
๓
การสรรหา
การบรรจุ และการแต่งตั้ง
มาตรา ๓๖ การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในส่วนนี้
มาตรา ๓๗ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข. ลักษณะต้องห้าม
(๑) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๒) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๓) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
(๔) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๕) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
(๖) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก
หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
(๙) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก
เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๐) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก
เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๑)
เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม
ข. (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ก.ร. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้
แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๘) หรือ (๙)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว
และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (๑๐)
ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว
และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.ร.
ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม
การลงมติให้กระทำโดยลับ
การขอยกเว้นตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีตามวรรคสอง ก.ร. จะยกเว้นให้เป็นการเฉพาะราย
หรือจะประกาศยกเว้นให้เป็นการทั่วไปก็ได้
มาตรา ๓๘ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด
ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น
โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการตามมาตรา
๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
มาตรา ๓๙ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด
ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๓๗ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา ๔๕
ด้วย
สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) หรือ (๒)
ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ อาจคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขันตามมาตรา
๓๘ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๑ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งจะบรรจุบุคคล
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานสูง
เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ
เชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๔๒ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้
เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นำเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. แล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี นำเสนอ ก.ร.
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. แล้ว ให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี
เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๓) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
ให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่เรียกชื่ออย่างอื่น แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
มาตรา ๔๓ ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา
๓๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๐
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป
แต่ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง
ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ ๕ วินัยและการดำเนินการทางวินัย
และถ้าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องออกจากราชการตามวรรคสองก็ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามวรรคสองไปก่อน
ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง
และวรรคสามให้ใช้บังคับกับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาตามมาตรา ๔๗
ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๔๔ การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งในสายงานที่ไม่มีกำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
จะกระทำมิได้
มาตรา ๔๕ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็น ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งก็ได้
ในกรณีที่ ก.ร. กำหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุณวุฒิที่ ก.ร. รับรอง
มาตรา ๔๖ การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในหรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิมจะกระทำมิได้
เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
การบรรจุข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้ออกจากราชการไปเนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการหรือออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
กลับเข้ารับราชการในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ตลอดจนจะสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด
และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้ออกจากราชการไป
เนื่องจากถูกสั่งให้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารหรือได้รับอนุมัติจาก
ก.ร. ให้ไปปฏิบัติงานใด ๆ
ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการ เมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการ
ให้มีสิทธินับวันรับราชการก่อนถูกสั่งให้ออกจากราชการรวมกับวันรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หรือวันที่ได้ปฏิบัติงานใด ๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. แล้วแต่กรณี
และวันรับราชการเมื่อได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการเป็นเวลาราชการติดต่อกันเสมือนว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกสั่งให้ออกจากราชการ
สำหรับผู้ซึ่งออกจากราชการไปที่มิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ซึ่งได้รับบรรจุกลับเข้ารับราชการตามวรรคสาม
ให้มีสิทธินับเวลาราชการก่อนออกจากราชการเพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๗ การโอนข้าราชการตามกฎหมายอื่น
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือการโอนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ ก.ร. กำหนด
มาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ อาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจ
โดยผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ แล้วแต่กรณี ทำความตกลงกับเจ้าสังกัด
แล้วเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้
จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด และให้ได้รับเงินเดือนเท่าใด
ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีคุณวุฒิ
ความสามารถ และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้ที่โอนมารับราชการตามวรรคหนึ่ง
เป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๔๘ พนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่ใช่ออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้
และไม่ใช่ข้าราชการการเมืองข้าราชการวิสามัญ
หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ผู้ใดออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว
ถ้าสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและทางราชการต้องการจะรับผู้นั้นเข้ารับราชการ
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ ก.ร. เพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด และได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณากำหนด
แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีคุณวุฒิความสามารถ
และความชำนาญงานในระดับเดียวกัน
เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการ
ให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงานของผู้เข้ารับราชการตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๔๙ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๔๕ แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
แต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือน
หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับอยู่ก่อนได้รับคำสั่งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
การรับเงินเดือน
สิทธิและประโยชน์ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งให้กลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันตามวรรคหนึ่งได้
ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ ก.ร. พิจารณาเป็นการเฉพาะราย
มาตรา ๕๐ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา
๓๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘
หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา
๓๗ หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.ร. ตามมาตรา
๔๕ อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดีให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการโดยพลัน
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่
และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคำสั่งให้ออกนั้น
และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญว่างลง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้
ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับ มติ ก.ร. หรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ
หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ
หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ประจำส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นการชั่วคราว
โดยให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนเงินเดือน
การดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๕๓ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็น
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิมโดยให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนโดยมีระยะเวลาตามที่
ก.ร. กำหนดได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
การให้พ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย
และการออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
ในกรณีที่หมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลาการให้รับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งให้เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาโดยความเห็นชอบของ ก.ร.
ในการสั่งการตามสมควรเพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้
ส่วนที่
๔
การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๕๕ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
เพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต
มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๕๖ ผู้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตนต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างมีคุณธรรมและเที่ยงธรรมและเสริมสร้างแรงจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำรงตนเป็นข้าราชการที่ดี
มาตรา ๕๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประพฤติตนอยู่ในประมวลจริยธรรมและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
และจะให้บำเหน็จความชอบอย่างอื่นซึ่งอาจเป็นคำชมเชย
เครื่องเชิดชูเกียรติหรือรางวัลด้วยก็ได้
มาตรา ๕๘ การให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม
ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๕๙ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนด
ผลการประเมินตามวรรคหนึ่ง
ให้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการด้วย
มาตรา ๖๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือให้ได้รับสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
ส่วนที่
๕
วินัยและการดำเนินการทางวินัย
มาตรา ๖๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
จะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๓
มาตรา ๖๒ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย
และป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร.
กำหนด
มาตรา ๖๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้
โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๖๔ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ทำเป็นคำสั่ง
ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด
และต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติโดยในคำสั่งลงโทษให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยในกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ตามมาตรา ๖๑
มาตรา ๖๕ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ทราบโดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
อำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ตามส่วนนี้ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ำ ลงไปปฏิบัติแทนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร.
กำหนดก็ได้
มาตรา ๖๖ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา
๖๕ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
รีบดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้
ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยโดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว
ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา
๖๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลถ้าความผิดนั้นมิใช่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
และได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษตามควรแก่กรณีโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา
ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งยุติเรื่อง
มาตรา ๖๘ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา
๖๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง
แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๗๑
หรือมาตรา ๗๒ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๙ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งต่างกัน
หรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งประเภทและระดับดังกล่าวในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเดียวกัน
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๒)
สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เว้นแต่เป็นกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิร่วมด้วย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
(๓) สำหรับกรณีอื่น ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๗๐ หลักเกณฑ์ วิธีการ
และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
ในกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้
มาตรา ๗๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด
ในกรณีมีเหตุอันควรลดหย่อน
จะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่สำหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย
ในกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
การลงโทษตามมาตรานี้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่งมาตรา ๖๙ หรือมาตรานี้ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๖๙
หรือมาตรานี้ได้
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก
ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ
มาตรา ๗๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา
หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามส่วนนี้
อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการผู้บังคับบัญชาอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในฐานะที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงกรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการกับข้าราชการอื่น
ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลตามความในวรรคหนึ่งเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมา
จนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนพิจารณาทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดผู้บังคับบัญชาอาจใช้ดุลพินิจกันผู้นั้นไว้เป็นพยานหรือพิจารณาลดโทษทางวินัยตามควรแก่กรณีได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองอันเป็นเท็จ
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย
หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน
การลดโทษและการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๔ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
และให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วยคือ
(๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานอื่นของรัฐหรือห้างหุ้นส่วนบริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง
ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ
หรือให้ส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
มาตรา ๗๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
หรือเป็นการกล่าวหาโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
อันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ
แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย
ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา
และดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
แต่ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ต้องดำเนินการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง
ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
มาตรา ๗๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีได้
ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการ
หรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิมหรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน
หรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่ ก.ร. กำหนด ทั้งนี้
ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
เมื่อได้มีการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการหรือออกจากราชการไว้ก่อนแล้วภายหลังปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีก
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา
และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการ
หรือสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนออกจากราชการด้วยเหตุอื่นที่มิใช่เป็นการลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็ให้ผู้นั้นมีสถานภาพเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตลอดระยะเวลาระหว่างที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเสมือนว่าผู้นั้นเป็นผู้ถูกสั่งพักราชการ
เงินเดือน เงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และเงินช่วยเหลืออย่างอื่น
และการจ่ายเงินดังกล่าวของผู้ถูกสั่งพักราชการและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๘๘
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณาและไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
ให้นำความในวรรคหกมาใช้บังคับกับกรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน
การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการและการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
มาตรา ๗๗ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้
หรือสั่งยุติเรื่อง หรืองดโทษแล้วให้รายงาน ก.ร. ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
ในกรณีที่ ก.ร.
เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยเป็นการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม หากมีมติเป็นประการใด
ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.ร. มีมติ
ในกรณีตามวรรคสอง ให้ ก.ร. มีอำนาจสอบสวนใหม่หรือสอบสวนเพิ่มเติมได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๗๐
มาตรา ๗๘ เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่
และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม
พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๙ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งโอนมาตามมาตรา
๔๗ ผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ
ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นดำเนินการทางวินัยตามส่วนนี้โดยอนุโลม
แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือพิจารณา หรือสอบสวนของผู้บังคับบัญชาเดิมก่อนวันโอนก็ให้สืบสวนหรือพิจารณาหรือสอบสวนต่อไปจนเสร็จ
แล้วส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นพิจารณาดำเนินการต่อไปตามส่วนนี้โดยอนุโลม
แต่ทั้งนี้ในการสั่งลงโทษทางวินัยให้พิจารณาตามความผิดและลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการที่โอนมานั้น
แล้วแต่กรณี
ส่วนที่
๖
การออกจากราชการ
มาตรา ๘๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา
๘๒
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๐ มาตรา ๗๖ มาตรา ๘๓ หรือมาตรา
๘๔ หรือ
(๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๘๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในตำแหน่งตามมาตรา
๒๗ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
มาตรา ๘๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก
ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวันและผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เห็นว่ามีเหตุผลและความจำเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอลาออกก็ได้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ
จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาการยับยั้ง
ให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มิได้ยับยั้งตามวรรคสามให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ตำแหน่งทางการเมือง หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา
สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก
การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้งการลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๘๓ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๗ ก.
(๑) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๖)
(๔)
เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงอยู่
สำหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดด้วย
(๕) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
(๖)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ
หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๗)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา
๖๘ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๘)
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน ก.ร.
และให้นำมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๘๔ เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง
และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร
ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา ๘๓ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ระดับเหนือขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา ๘๓ ได้
มาตรา ๘๖ การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้ง ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการ
เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ส่วนที่
๗
การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
มาตรา ๘๗ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา
๘๓ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. เพื่อขอให้แก้ไขหรือแก้ความคับข้องใจได้ ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา
๘๗
การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๙ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์
ก.ร. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้ง อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และการร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๙๐ เมื่อ ก.ร.
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ก.ร. มีคำวินิจฉัย
ผู้บังคับบัญชาผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าเป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มาตรา ๙๑ ให้นำมาตรา ๗๔
มาใช้บังคับกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และเรื่องร้องทุกข์ของ ก.ร. และ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
หมวด ๔
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มาตรา ๙๒ ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
มีดังต่อไปนี้
(๑) ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา
(๒) ที่ปรึกษารองประธานรัฐสภา
(๓) ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๔) ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา
(๕) ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๖) ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา
(๗) ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๘) โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๙) โฆษกประธานวุฒิสภา
(๑๐) โฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๑๑) เลขานุการประธานรัฐสภา
(๑๒) เลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๑๓) เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๔) เลขานุการประธานวุฒิสภา
(๑๕) เลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๑๖) เลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๑๗) เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(๑๘) ผู้ช่วยเลขานุการประธานรัฐสภา
(๑๙) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา
(๒๐) ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒๑) ผู้ช่วยเลขานุการประธานวุฒิสภา
(๒๒) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒๓) ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานวุฒิสภา
(๒๔) ผู้ช่วยเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามวรรคหนึ่งจะมีจำนวนเท่าใดให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
และให้นำคุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง เว้นแต่ ข. (๑)
และ (๒) มาใช้บังคับกับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองโดยอนุโลม
มาตรา ๙๓ ให้ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
ถ้าได้เงินประจำตำแหน่งหรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามระเบียบที่
ก.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๙๔ เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
โดยเป็นการปรับเพิ่มเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราสำหรับข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการทุกประเภทและไม่เกินอัตราร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่
ให้ ก.ร. พิจารณาปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองให้สอดคล้องกับการปรับนั้น
โดยให้กระทำเป็นประกาศรัฐสภาซึ่งประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนาม
และให้ถือว่าบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายประกาศรัฐสภาดังกล่าวเป็นบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ในกรณีที่การปรับเป็นร้อยละเท่ากันทุกอัตราหากทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน
มาตรา ๙๕ การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา
๙๒ (๑) (๓) (๕) (๗) (๘) (๑๐) (๑๑) (๑๓) (๑๕) (๑๗) (๑๘) (๒๐) (๒๒) และ (๒๔)
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา ๙๒ (๒) (๔) (๖) (๙)
(๑๒) (๑๔) (๑๖) (๑๙) (๒๑) และ (๒๓) ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง
มาตรา ๙๖ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๙๕
วรรคหนึ่ง ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากตำแหน่ง
หรือเมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ แล้วแต่กรณี
(๔) สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๙๕
วรรคสอง ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง หรือเมื่อประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง
แล้วแต่กรณี
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๗ ให้ ก.ร.
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่
ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ดำเนินการจัดให้มีการเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกตามมาตรา ๑๓
ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๙๘ ให้ อ.ก.ร.
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง
อ.ก.ร. ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๙๙ ผู้ใดเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้นั้นเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง แล้วแต่กรณี
ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป
มาตรา ๑๐๐ บรรดากฎหมาย ข้อบังคับ
กฎ ประกาศ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี มติ ก.ร. หรือคำสั่งใดที่กล่าวอ้างถึง ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้หมายความถึง ข้าราชการรัฐสภา ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๐๑ ในระหว่างที่ ก.ร.
ยังมิได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา ๒๙ บทบัญญัติในหมวด ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ยังไม่ใช้บังคับ ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการพลเรือนท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๓๘ มาใช้บังคับแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญไปพลางก่อนจนกว่า ก.ร.
จะได้จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและจัดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าประเภทตำแหน่ง
สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ จึงให้นำบทบัญญัติในหมวด ๓
ข้าราชการรัฐสภาสามัญแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับ
และให้ผู้บังคับบัญชาสั่งแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
และจัดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าประเภทตำแหน่งสายงาน
และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งแล้วเสร็จ
ในการจัดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งหากมีเหตุผลและความจำเป็น
ก.ร.
อาจอนุมัติให้แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้มีคุณสมบัติต่างไปจากคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะรายได้
ให้ ก.ร. ดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ
ประกาศ หรือระเบียบหรือกำหนดกรณีใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎ
ประกาศ
หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ไม่อาจนำกฎ ประกาศ
หรือระเบียบหรือกรณีที่กำหนดไว้แล้วมาใช้บังคับได้ตามวรรคหนึ่งการจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๐๓ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือเคยดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ และมิได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
หรือมีกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
มาตรา ๑๐๔ การปรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญเข้าตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ให้ ก.ร.
พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา
๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
และให้ได้รับการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๑๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
พ.ศ. ๒๕๕๑
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ตำแหน่งประเภทบริหาร
๒. บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
๓. บัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
๔. บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๑๘
ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
และมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
ประกอบกับได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน
ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของราชการฝ่ายรัฐสภาสอดคล้องกับการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป
สมควรปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดระบบตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาให้จำแนกตามกลุ่มลักษณะงานและให้มีบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาเป็นการเฉพาะ
กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญหรือระดับทรงคุณวุฒิหรือตำแหน่งประเภททั่วไป
ระดับอาวุโสหรือระดับทักษะพิเศษอาจรับราชการต่อไปได้
และปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญ รวมทั้งเพิ่มตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองบางตำแหน่งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้สอดคล้องกับภารกิจของงานด้านนิติบัญญัติของรัฐสภา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘
พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘
พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๓๔ ก/หน้า ๘/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ |
716058 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการกรณีสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ พ.ศ. 2557
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ
กรณีสมัครไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง (๒) และมาตรา ๘๓
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.
ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนสำหรับกรณีที่สมัครไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ ตามมาตรา ๘๓ (๒)
ให้สั่งได้เฉพาะการสมัครไปปฏิบัติงานในหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
(๑) รัฐวิสาหกิจ
(๒) องค์การมหาชน
(๓) หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
(๔) หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ
(๕) หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี
(๖) หน่วยงานอื่นตามที่ ก.ร. กำหนด
หน่วยงานตามวรรคหนึ่งต้องเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเวลาไม่เกินห้าปี
ข้อ ๓ การไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ของทางราชการตามกฎ
ก.ร. นี้ หมายถึง การไปปฏิบัติงานตามความประสงค์ร่วมกันของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาต้นสังกัดและหน่วยงานตามข้อ
๒ และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
โดยอาจเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาต้นสังกัด หน่วยงานตามข้อ ๒
หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการโดยรวมก็ได้
ข้อ ๔ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานใด
ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการตามกฎ ก.ร. นี้
ให้สั่งได้เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
(๑) ได้แสดงความสมัครใจเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ถึงห้าสิบปีบริบูรณ์
(ข) มีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๓) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) อยู่ระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย
(ข) อยู่ระหว่างรับราชการชดใช้ทุน
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ก.ร.
จะพิจารณายกเว้นคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นการเฉพาะรายก็ได้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร
วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ
ตามความประสงค์ของทางราชการ
และการสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๒๐/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
833700 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 | กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๖๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๗ และมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ
ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๖/๑ ของกฎ ก.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๑๖/๑ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง
โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวันและให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย
ให้สำนักงานเลขานุการ ก.ร. เสนอรายงานผลการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต่อประธาน ก.ร. ภายในเจ็ดวันทำการ
นับถัดจากวันที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. ได้รับรายงานจาก อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้
คือ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้ในกฎ
ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ทำให้การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ซึ่งไม่สอดคล้องกับกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ
เพื่อให้มีกรอบระยะเวลาดำเนินการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกระบวนการพิจารณา
และมีการกำหนดกรอบระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์แล้วเสร็จ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. ฉบับนี้
พิไลภรณ์/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๑๒/๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
716060 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการกรณีทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2557
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ
กรณีทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง (๔) และมาตรา ๘๓
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.
ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อมีกรณีที่ทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งใดที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงตำแหน่งอยู่
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
แจ้งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทราบและให้แสดงความประสงค์ว่าต้องการจะรับราชการต่อไปหรือไม่
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นไม่ประสงค์จะรับราชการต่อไป
ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุที่มีการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นนับแต่วันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
และให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนดตามมาตรา ๘๓ (๔)
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นประสงค์จะรับราชการต่อไป
ให้ข้าราชการผู้นั้นแสดงความจำนงด้วยว่าได้แสดงความประสงค์จะขอย้ายหรือโอนไปรับราชการในตำแหน่งใดหรือที่หน่วยงานใดหรือส่วนราชการใด
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นอยู่ในระหว่างการรับราชการชดใช้ทุน
ข้าราชการผู้นั้นไม่ต้องแสดงความประสงค์ตามวรรคหนึ่ง
และให้ย้ายหรือโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นไปรับราชการต่อไป ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นพิเศษที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้
การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๓ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามข้อ
๒ แสดงความจำนงขอย้ายหรือโอนให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
การย้ายหรือโอนไปดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำเนินการตามกฎ ก.ร. ว่าด้วยการนั้น
(๒) การโอนไปดำรงตำแหน่งข้าราชการประเภทอื่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้สำหรับการนั้น
ข้อ ๔ ในกรณีที่ขอย้ายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต้น
หรือในกรณีที่ขอโอนให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เป็นผู้ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาและคุณลักษณะส่วนบุคคลของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามข้อ
๒ เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ในตำแหน่งที่ขอย้าย
หรือเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุในตำแหน่งที่ขอโอน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕ ในกรณีที่จะต้องดำเนินการย้ายหรือโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามข้อ
๒ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
หรือผู้มีอำนาจสั่งบรรจุในตำแหน่งที่ขอโอน แล้วแต่กรณี ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเวลาไว้เป็นอย่างอื่น
โดยให้การย้ายหรือโอนมีผลตั้งแต่วันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
แต่ถ้าไม่ต้องดำเนินการย้ายหรือโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ในตำแหน่งที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นดำรงอยู่ก่อนวันที่หน่วยงานหรือตำแหน่งนั้นเลิกหรือถูกยุบ
มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นออกจากราชการตามข้อ ๒ วรรคสอง
ข้อ ๖ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร. นี้ การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่
ก.ร. กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร
วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่งที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติหน้าที่หรือดำรงตำแหน่งอยู่
และการสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๒๓/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
716051 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2557
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๗ และมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้เรียกว่า กฎ ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๔ ให้ ก.ร. ตั้ง
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๕ ให้ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.ร. และ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
หรือด้านกฎหมายที่ ก.ร.
เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมิใช่ข้าราชการรัฐสภาสามัญจำนวนไม่เกินหกคน
และผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
เป็น อ.ก.ร.
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ ก.ร. เป็นเลขานุการ
ประธาน อ.ก.ร. และ อ.ก.ร.
ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันแต่งตั้ง
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคสาม หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธาน
อ.ก.ร. หรือ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้ประธาน อ.ก.ร. หรือ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธาน
อ.ก.ร. หรือ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
ข้อ ๖ ผู้อุทธรณ์
ได้แก่
(๑) ผู้ถูกสั่งลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(๒) ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๘๓ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ
(๘)
ข้อ ๗ การอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์และอุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
หนังสืออุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและมีสาระสำคัญ
ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด
และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์
(๒) คำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ และวันที่รับทราบคำสั่ง
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์รวมทั้งพยานหลักฐาน
(ถ้ามี)
(๔) คำขอของผู้อุทธรณ์
ข้อ ๘ ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ
ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ
โดยให้ยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการนับกำหนดเวลาอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับหนังสืออุทธรณ์ออกใบรับหนังสืออุทธรณ์ และลงทะเบียนรับหนังสืออุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสืออุทธรณ์ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
ส่วนกรณีส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันที่ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
สำหรับวันทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ
ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งหรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการทราบโดยตรงได้
ให้ส่งสำเนาคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการรับทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งในประเทศ
หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
เมื่อได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้
การนับเวลาเริ่มต้นตามวรรคสาม
ให้นับวันถัดจากวันรับทราบคำสั่งลงโทษส่วนเวลาสิ้นสุดนั้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ข้อ ๙ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามข้อ
๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘
ในกรณีมีปัญหาว่าอุทธรณ์ใดจะรับไว้พิจารณาหรือไม่
ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณามีคำสั่ง
ในกรณีที่ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ใดไว้พิจารณาให้รายงานให้ ก.ร. ทราบ
ข้อ ๑๐ ผู้อุทธรณ์จะขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
เพื่อประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ ก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้
ข้อ ๑๑ อุทธรณ์ที่ยื่นไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์อาจถอนอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นก็ได้
การถอนอุทธรณ์ ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์
แต่ถ้าผู้อุทธรณ์ถอนอุทธรณ์ด้วยวาจาต่อหน้า อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
ให้บันทึกไว้และให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อมีการถอนอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้การพิจารณาอุทธรณ์เป็นอันระงับไป
แล้วให้รายงาน ก.ร. เพื่อทราบ
ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ตรวจคำอุทธรณ์ในเบื้องต้นและดำเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ดำเนินการถูกต้องตามข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ
๘ ให้เสนอคำอุทธรณ์ดังกล่าวต่อ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย
(๒) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามข้อ ๗
ให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขานุการ ก.ร.
แนะนำให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากไม่มีการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็ให้เสนอ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
เพื่อพิจารณาต่อไป
(๓) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๘
ก็ให้เสนอ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับความเห็นตามข้อ ๑๒ ให้ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ พิจารณามีคำสั่ง ดังนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามข้อ ๖ ข้อ ๗ หรือข้อ ๘
ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณา และให้รายงาน ก.ร. เพื่อทราบ
(๒) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่อาจรับไว้พิจารณาได้
ก็ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๑๔ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ มีคำวินิจฉัย ดังนี้
ก. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย
(๑)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและระดับโทษเหมาะสมแล้วให้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์
(๒) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งและให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง
(๓) ถ้าเห็นว่าการดำเนินการทางวินัยถูกต้องตามกฎหมาย
และเห็นว่าผู้อุทธรณ์ควรได้รับโทษเบาลง
ให้มีคำวินิจฉัยให้ลดโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง
แต่ถ้าเห็นว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะลดโทษต่ำกว่าปลดออกไม่ได้
(๔) ถ้าเห็นว่าการดำเนินการทางวินัยถูกต้องตามกฎหมาย
และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดทางวินัย
หรือพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกโทษ
(๕) ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ข. กรณีอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ
(๑) ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
และเหมาะสมแก่กรณีแล้ว ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์
(๒) ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งและให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง
(๓)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการถูกต้องตามกฎหมายและเห็นว่ายังไม่มีเหตุที่จะให้ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการ
ในกรณีเช่นนี้ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งและให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการต่อไป
(๔)
ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
ให้มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ในกรณีเห็นสมควรให้มีการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้อุทธรณ์
หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ก็ให้ดำเนินการเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเท่าที่ทำได้
โดยให้นำประโยชน์ของทางราชการมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้พิจารณาจากสำนวนการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชา
หรือพิจารณาจากการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาในกรณีที่สั่งให้ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี
และอาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
ห้างหุ้นส่วน บริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๑
ประกอบกับมาตรา ๗๔
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นได้อุทธรณ์การถูกลงโทษต่อ ก.ร.
ให้พิจารณาเรื่องอุทธรณ์รวมกับเรื่องรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๗ เมื่อ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงาน ก.ร.
เพื่อทราบ หาก ก.ร. มีข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุงประการใด
ให้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ ก.ร. และให้เลขานุการ ก.ร. แจ้งให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี
ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ร. โดยเร็ว
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์การถูกลงโทษ
ก.ร.
มีมติเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์และมีผู้ถูกลงโทษคนอื่นถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้ร่วมกันกับผู้อุทธรณ์อันเป็นความผิดในเรื่องเดียวกันโดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน
แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้ ก.ร.
มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ข้อ ๑๙ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ให้ อ.ก.ร. กฎหมายและระเบียบ ทำหน้าที่ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ตามกฎ ก.ร. นี้ไปพลางก่อนจนกว่า ก.ร. จะได้แต่งตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร
วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๘๗ กำหนดว่า
ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๘๓ (๑)
(๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
โดยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. และมาตรา
๘๙ กำหนดว่า ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.ร. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้ง
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๕/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
716055 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๓๑ วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความใน
(๖) และ (๗) ของข้อ ๓ แห่งกฎ ก.ร.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๕๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๖) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ
สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ สายงานพยาบาลวิชาชีพ และสายงานเภสัชกรรม
และดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการในแต่ละสายงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ
สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ สายงานพยาบาลวิชาชีพ และสายงานเภสัชกรรม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร
วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.ร.
เห็นสมควรกำหนดให้สายงานพยาบาลวิชาชีพและสายงานเภสัชกรรม
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๘/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
716053 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ. 2557
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๘ และมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้เรียกว่า กฎ ก.ร. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.
๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของข้าราชการรัฐสภาสามัญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร. นี้
ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ ตามกฎ ก.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
นี้
ข้อ ๔ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เมื่อมีกรณีเป็นปัญหาขึ้นระหว่างกัน ควรจะได้ปรึกษาหารือทำความเข้าใจกัน ฉะนั้น
เมื่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาผู้ใดมีปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
หากแสดงความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา
ให้ผู้บังคับบัญชานั้นให้โอกาสและรับฟังหรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเพื่อเป็นทางแห่งการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นต้น
ในกรณีที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาตามวรรคหนึ่ง
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้นั้นจัดให้มีการปรึกษาหารือหรือแก้ไขความคับข้องใจนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความประสงค์ที่จะปรึกษาหารือ
ถ้าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นมิได้ดำเนินการใด ๆ หรือดำเนินการแล้วแต่ไม่เป็นที่พอใจ
ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอาจร้องทุกข์ต่อ ก.ร.
ต่อไปได้อีกภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบวันดังกล่าว
ถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นไม่ประสงค์จะปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ก็ให้ร้องทุกข์ตามกฎ
ก.ร. นี้
ข้อ ๕ ภายใต้บังคับข้อ
๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา
และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.ร.
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ตามวรรคหนึ่งนั้น
ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ
(๒) ประวิงเวลา
หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางเรื่องอันเป็นเหตุให้เสียสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร
(๓) ไม่เป็นไปตามหรือขัดกับระบบคุณธรรมตามมาตรา ๒๔
ข้อ ๖ การร้องทุกข์ให้ร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะร้องทุกข์สำหรับผู้อื่นไม่ได้
คำร้องทุกข์ให้ทำเป็นหนังสือโดยใช้ถ้อยคำสุภาพและอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ
ดังนี้
(๑) ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด
และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
(๒) เหตุแห่งการร้องทุกข์ตามข้อ ๕
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้ร้องทุกข์เห็นว่าเป็นปัญหาของเรื่องร้องทุกข์
(๔) คำขอของผู้ร้องทุกข์
(๕)
ลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ร้องทุกข์แทนกรณีที่จำเป็นตามข้อ
๙
ข้อ ๗ ในการยื่นคำร้องทุกข์ให้แนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องพร้อมคำร้องทุกข์ด้วย
กรณีที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้เพราะพยานหลักฐานอยู่ในความครอบครองของหน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่น
หรือเพราะเหตุอื่นใด ให้ระบุเหตุที่ไม่อาจแนบพยานหลักฐานไว้ด้วย
กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนตามข้อ ๙
ให้แนบหลักฐานการมอบหมายให้ร้องทุกข์แทนนั้นมาด้วย
ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นการพิจารณาคำร้องทุกข์
ให้แสดงความประสงค์ไว้ในคำร้องทุกข์ด้วย
หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้แต่ต้องยื่นหรือส่งหนังสือก่อนเริ่มการพิจารณาคำร้องทุกข์
ข้อ ๘ ให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นคำร้องทุกข์ต่อ
ก.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ตามข้อ ๕
โดยให้ยื่นคำร้องทุกข์ที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ได้ยื่นคำร้องทุกข์ที่สำนักงานเลขานุการ
ก.ร. ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องทุกข์ออกใบรับคำร้องทุกข์และลงทะเบียนรับคำร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับคำร้องทุกข์ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสือร้องทุกข์ส่วนกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ส่งหนังสือร้องทุกข์ทางไปรษณีย์
ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือร้องทุกข์เป็นวันยื่นหนังสือร้องทุกข์
เมื่อได้ยื่นคำร้องทุกข์ไว้แล้ว
ผู้ร้องทุกข์จะยื่นหรือส่งหนังสือร้องทุกข์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนเริ่มพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ก็ได้
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิร้องทุกข์เจ็บป่วยจนไม่สามารถร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองหรืออยู่ในต่างประเทศและคาดหมายได้ว่าไม่อาจร้องทุกข์ได้ทันภายในเวลาที่กำหนด
ให้ผู้มีสิทธิร้องทุกข์มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นคำร้องทุกข์แทนตนได้
การมอบหมายตามวรรคหนึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีสิทธิร้องทุกข์พร้อมทั้งหลักฐานแสดงเหตุจำเป็นข้างต้น
ถ้าไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน
ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการนับระยะเวลาร้องทุกข์
การนับวันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์นั้น ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(๑)
ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้ถือว่าวันที่ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๒) ในกรณีที่ไม่มีการลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งตาม (๑)
แต่มีการแจ้งคำสั่งให้ทราบพร้อมสำเนาคำสั่งและทำบันทึกวันเดือนปี เวลา
สถานที่ที่แจ้ง
โดยลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้วให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๓) ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งคำสั่งตาม (๒)
และได้แจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ให้ส่งสำเนาคำสั่งไปสองฉบับเพื่อให้เก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
และให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งแล้วส่งกลับคืนเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ
กรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่ามีผู้รับแล้วแม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ลงลายมือชื่อและวันเดือนปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา
ก็ให้ถือว่าผู้มีสิทธิร้องทุกข์ได้รับทราบคำสั่งอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์แล้ว
(๔) ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาโดยไม่มีคำสั่งเป็นหนังสือ
ให้ถือวันที่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้มีสิทธิร้องทุกข์รับทราบหรือควรรับทราบคำสั่งที่ไม่เป็นหนังสือนั้นเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
(๕) ในกรณีที่เหตุแห่งการร้องทุกข์เกิดจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาโดยไม่ได้มีคำสั่งอย่างใด
ให้ถือวันที่ผู้ร้องทุกข์ควรได้ทราบถึงการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นวันทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ไม่ประสงค์จะให้มีการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ต่อไปจะขอถอนเรื่องร้องทุกข์ก่อนที่
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ หรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
จะพิจารณาเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้นก็ได้
การถอนคำร้องทุกข์ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ยื่นหรือส่งตรงต่อ
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ หรือ ก.ร.
แล้วแต่กรณี แต่ถ้าผู้ร้องทุกข์ถอนคำร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ หรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
ให้บันทึกไว้และให้ผู้ร้องทุกข์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้วการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นอันระงับไป
ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานเลขานุการ
ก.ร. ตรวจคำร้องทุกข์ในเบื้องต้นและดำเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ให้เสนอคำร้องทุกข์ดังกล่าวต่อ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย
(๒)
ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่มีการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของ
ก.ร. แนะนำให้ผู้ร้องทุกข์แก้ไขให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
ก็ให้เสนอ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อพิจารณาต่อไป
(๓) ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ตามข้อ ๑๔
ก็ให้เสนอ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อพิจารณาต่อไป
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับความเห็นตามข้อ ๑๒ ให้ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ พิจารณามีคำสั่ง ดังนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ตามข้อ ๑๔
ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณาและให้รายงาน ก.ร. เพื่อทราบ
(๒) ถ้าเห็นว่าเป็นคำร้องทุกข์ที่อาจรับไว้พิจารณาได้
ก็ให้มีคำสั่งรับคำร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้รับคำร้องทุกข์ดังต่อไปนี้ไว้พิจารณา
(๑) เป็นกรณีที่ไม่อาจร้องทุกข์ได้ตามข้อ ๕
(๒) ผู้ยื่นคำร้องทุกข์มิใช่บุคคลที่ได้รับมอบหมายตามข้อ ๙
(๓) เป็นคำร้องทุกข์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ ๔
หรือข้อ ๘
(๔)
เป็นเรื่องที่ได้เคยมีการร้องทุกข์และได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
(๕) เป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องทุกข์ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วแต่ไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ ๑๕ เมื่อ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ มีคำสั่งรับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณาแล้ว ให้ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
มีหนังสือแจ้งพร้อมทั้งส่งสำเนาคำร้องทุกข์ให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์เสนอต่อ
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันได้รับหนังสือ
หากมีเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องก็ให้เสนอมาพร้อมกันด้วย
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
เห็นว่าคำชี้แจงของผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์หรือพยานหลักฐานที่ส่งมาให้ยังไม่ครบถ้วนหรือชัดเจนเพียงพอ
ให้สั่งให้ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์จัดทำคำชี้แจงเพิ่มเติมหรือส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาให้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์มิได้จัดทำคำชี้แจงภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ
๑๕ หรือข้อ ๑๖ ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ยอมรับข้อเท็จจริงตามข้อร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
และให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
พิจารณาดำเนินการต่อไปตามที่เห็นเป็นการยุติธรรม
ข้อ ๑๘ การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ให้
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ พิจารณาจากพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องประกอบกับคำร้องทุกข์และคำชี้แจงของผู้บังคับบัญชาที่เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ในกรณีจำเป็นและสมควร
ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ มีอำนาจดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๗๔ มาใช้บังคับ
ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ขอแถลงการณ์ด้วยวาจา หาก อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
เห็นว่าการแถลงการณ์ด้วยวาจาไม่จำเป็นแก่การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
จะให้งดการแถลงการณ์ด้วยวาจาเสียก็ได้ แต่ให้บันทึกเหตุผลไว้ด้วย
ข้อ ๑๙ ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ถ้า อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ เห็นว่า
(๑) เป็นคำร้องทุกข์ที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้ตามข้อ
๑๔ ก็ให้มีมติไม่รับเรื่องร้องทุกข์นั้นไว้พิจารณา
(๒)
การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชามิได้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ก็ให้มีมติให้ยกคำร้องทุกข์
(๓) การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของผู้บังคับบัญชามีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ ก็ให้มีมติให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง
หรือเห็นควรดำเนินการอื่นใดเพื่อให้มีความถูกต้องตามกฎหมายและมีความเป็นธรรมก็ให้มีมติให้ดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การพิจารณามีมติตามวรรคหนึ่งให้บันทึกเหตุผลของการพิจารณาวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุมด้วย
ข้อ ๒๐ เมื่อ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ได้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์เสร็จสิ้นแล้วให้รายงาน
ก.ร. เพื่อทราบ หาก ก.ร.
มีข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุงประการใดให้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ ก.ร.
และให้เลขานุการ ก.ร. แจ้งให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ
ก.ร. โดยเร็ว พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
ข้อ ๒๑ มติ ก.ร. ตามข้อ
๒๐ ให้เป็นที่สุดและให้มีผลผูกพันผู้ร้องทุกข์ ผู้บังคับบัญชา ผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์
และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่กำหนดไว้ในมตินั้น
ข้อ ๒๒ ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ วรรคสอง ข้อ
๘ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ เมื่อ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เห็นสมควร
หรือเมื่อผู้ร้องทุกข์หรือผู้บังคับบัญชาผู้เป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์มีคำขอ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ มีอำนาจขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อ ๒๓ การนับระยะเวลาตามกฎ ก.ร. นี้
สำหรับเวลาเริ่มต้นให้นับวันถัดจากวันแรกแห่งเวลานั้นเป็นวันเริ่มนับระยะเวลา
ส่วนเวลาสิ้นสุด
ถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาตรงกับวันหยุดราชการให้นับวันเริ่มเปิดทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งระยะเวลา
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ
ก.ร. นี้ ให้ ก.ร. เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๒๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ให้ อ.ก.ร. กฎหมายและระเบียบ ทำหน้าที่ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ตามกฎ ก.ร. นี้ไปพลางก่อนจนกว่า ก.ร. จะได้แต่งตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร
วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๘๘ กำหนดว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน
ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร. แล้วแต่กรณี
เว้นแต่เป็นกรณีที่มีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา ๘๗ และมาตรา ๘๙ กำหนดว่า
ในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ก.ร. จะพิจารณาวินิจฉัยเองหรือจะตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๑/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
848212 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. 2557 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ
ก.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
พ.ศ.
๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๗ และมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร. นี้เรียกว่า กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] กฎ
ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๔ ให้ ก.ร. ตั้ง
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๕ ให้ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.ร. และ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ
และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
หรือด้านกฎหมายที่ ก.ร. เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมิใช่ข้าราชการรัฐสภาสามัญจำนวนไม่เกินหกคน
และผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนสำนักงานศาลปกครอง
และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็น อ.ก.ร.
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ ก.ร. เป็นเลขานุการ
ประธาน อ.ก.ร. และ อ.ก.ร.
ผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันแต่งตั้ง
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคสาม หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธาน
อ.ก.ร. หรือ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้ประธาน อ.ก.ร. หรือ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธาน
อ.ก.ร. หรือ อ.ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
ข้อ ๖ ผู้อุทธรณ์
ได้แก่
(๑) ผู้ถูกสั่งลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
(๒) ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๘๓ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ
(๘)
ข้อ ๗ การอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์และอุทธรณ์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น
จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบหมายให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนไม่ได้
หนังสืออุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและมีสาระสำคัญ
ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด
และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์
(๒) คำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ และวันที่รับทราบคำสั่ง
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์รวมทั้งพยานหลักฐาน (ถ้ามี)
(๔) คำขอของผู้อุทธรณ์
ข้อ ๘ ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ
ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ
โดยให้ยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการนับกำหนดเวลาอุทธรณ์
ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับหนังสืออุทธรณ์ออกใบรับหนังสืออุทธรณ์ และลงทะเบียนรับหนังสืออุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐานในวันที่รับหนังสืออุทธรณ์ตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
และให้ถือวันที่รับหนังสือตามหลักฐานดังกล่าวเป็นวันยื่นหนังสืออุทธรณ์
ส่วนกรณีส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ออกใบรับฝากเป็นหลักฐานฝากส่ง
หรือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันที่ยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์
สำหรับวันทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ
ให้ถือวันที่ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งหรือไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการทราบโดยตรงได้
ให้ส่งสำเนาคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งลงโทษหรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการรับทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งในประเทศ
หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
เมื่อได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์จะยื่นหรือส่งหนังสืออุทธรณ์หรือเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้
การนับเวลาเริ่มต้นตามวรรคสาม
ให้นับวันถัดจากวันรับทราบคำสั่งลงโทษส่วนเวลาสิ้นสุดนั้น ถ้าวันสุดท้ายแห่งเวลาตรงกับวันหยุดราชการ
ให้นับวันเริ่มเปิดราชการใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งเวลา
ข้อ ๙ อุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาได้ต้องเป็นอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามข้อ
๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘
ในกรณีมีปัญหาว่าอุทธรณ์ใดจะรับไว้พิจารณาหรือไม่
ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์พิจารณามีคำสั่ง
ในกรณีที่ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ใดไว้พิจารณาให้รายงานให้
ก.ร. ทราบ
ข้อ ๑๐ ผู้อุทธรณ์จะขอแถลงการณ์ด้วยวาจา
เพื่อประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ ก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้
ข้อ ๑๑ อุทธรณ์ที่ยื่นไว้แล้ว
ผู้อุทธรณ์อาจถอนอุทธรณ์ในเวลาใด ๆ ก่อนที่ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นก็ได้
การถอนอุทธรณ์ ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์
แต่ถ้าผู้อุทธรณ์ถอนอุทธรณ์ด้วยวาจาต่อหน้า อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
ให้บันทึกไว้และให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
เมื่อมีการถอนอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้การพิจารณาอุทธรณ์เป็นอันระงับไป
แล้วให้รายงาน ก.ร. เพื่อทราบ
ข้อ ๑๒ ให้สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
ตรวจคำอุทธรณ์ในเบื้องต้นและดำเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ดำเนินการถูกต้องตามข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ
๘ ให้เสนอคำอุทธรณ์ดังกล่าวต่อ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อพิจารณาวินิจฉัย
(๒) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามข้อ ๗
ให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขานุการ ก.ร.
แนะนำให้ผู้อุทธรณ์แก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มีการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็ให้เสนอ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อพิจารณาต่อไป
(๓) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๘
ก็ให้เสนอ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับความเห็นตามข้อ ๑๒ ให้ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ พิจารณามีคำสั่ง ดังนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามข้อ ๖
ข้อ ๗ หรือข้อ ๘ ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณา
และให้รายงาน ก.ร. เพื่อทราบ
(๒) ถ้าเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่อาจรับไว้พิจารณาได้
ก็ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาวินิจฉัย
ข้อ ๑๔ การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
ให้ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ มีคำวินิจฉัย ดังนี้
ก. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย
(๑)
ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและระดับโทษเหมาะสมแล้วให้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์
(๒) ถ้าเห็นว่าการสั่งลงโทษดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งและให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง
(๓) ถ้าเห็นว่าการดำเนินการทางวินัยถูกต้องตามกฎหมาย
และเห็นว่าผู้อุทธรณ์ควรได้รับโทษเบาลง
ให้มีคำวินิจฉัยให้ลดโทษเป็นสถานโทษหรืออัตราโทษที่เบาลง แต่ถ้าเห็นว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะลดโทษต่ำกว่าปลดออกไม่ได้
(๔) ถ้าเห็นว่าการดำเนินการทางวินัยถูกต้องตามกฎหมาย
และเห็นว่าการกระทำของผู้อุทธรณ์ไม่เป็นความผิดทางวินัย
หรือพยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดวินัย ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกโทษ
(๕) ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ข. กรณีอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการ
(๑) ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
และเหมาะสมแก่กรณีแล้ว ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์
(๒) ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งและให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง
(๓)
ถ้าเห็นว่าการสั่งให้ออกจากราชการถูกต้องตามกฎหมายและเห็นว่ายังไม่มีเหตุที่จะให้ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการ
ในกรณีเช่นนี้ให้มีคำวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งและให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการต่อไป
(๔)
ถ้าเห็นว่าข้อความในคำสั่งให้ออกจากราชการไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้เป็นการถูกต้องเหมาะสม
ในกรณีเห็นสมควรให้มีการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้อุทธรณ์
หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ก็ให้ดำเนินการเพิ่มเติมให้ครบถ้วนเท่าที่ทำได้
โดยให้นำประโยชน์ของทางราชการมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้พิจารณาจากสำนวนการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชา
หรือพิจารณาจากการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาในกรณีที่สั่งให้ออกจากราชการ แล้วแต่กรณี
และอาจเรียกเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลใด ๆ หรือให้ผู้แทนหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ
ห้างหุ้นส่วน บริษัท ข้าราชการหรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณาได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๑
ประกอบกับมาตรา ๗๔
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว
ถ้าปรากฏว่าผู้นั้นได้อุทธรณ์การถูกลงโทษต่อ ก.ร.
ให้พิจารณาเรื่องอุทธรณ์รวมกับเรื่องรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖/๑[๒] การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ให้
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
เว้นแต่มีเหตุขัดข้องที่ทำให้การพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว
ก็ให้ขยายระยะเวลาได้อีกซึ่งไม่เกินสองครั้ง โดยแต่ละครั้งจะต้องไม่เกินหกสิบวันและให้บันทึกเหตุขัดข้องให้ปรากฏไว้ด้วย
ให้สำนักงานเลขานุการ ก.ร. เสนอรายงานผลการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ต่อประธาน ก.ร. ภายในเจ็ดวันทำการ
นับถัดจากวันที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. ได้รับรายงานจาก อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์
ข้อ ๑๗ เมื่อ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงาน ก.ร.
เพื่อทราบ หาก ก.ร. มีข้อแนะนำหรือข้อควรปรับปรุงประการใด
ให้แก้ไขปรับปรุงตามความเห็นของ ก.ร. และให้เลขานุการ ก.ร. แจ้งให้ประธานรัฐสภา
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการวุฒิสภา
หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๖ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วแต่กรณี
ทราบหรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ร. โดยเร็ว
พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์การถูกลงโทษ
ก.ร.
มีมติเป็นคุณแก่ผู้อุทธรณ์และมีผู้ถูกลงโทษคนอื่นถูกลงโทษทางวินัยในความผิดที่ได้ร่วมกันกับผู้อุทธรณ์อันเป็นความผิดในเรื่องเดียวกันโดยมีพฤติการณ์แห่งการกระทำอย่างเดียวกัน
แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์หากพฤติการณ์ของผู้ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์เป็นเหตุในลักษณะคดีอันเป็นเหตุเดียวกับกรณีของผู้อุทธรณ์แล้ว
ให้ ก.ร. มีมติให้ผู้ที่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ได้รับการพิจารณาการลงโทษให้มีผลในทางที่เป็นคุณเช่นเดียวกับผู้อุทธรณ์ด้วย
ข้อ ๑๙ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ให้ อ.ก.ร. กฎหมายและระเบียบ ทำหน้าที่ อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์ ตามกฎ ก.ร. นี้ไปพลางก่อนจนกว่า ก.ร. จะได้แต่งตั้ง อ.ก.ร.
อุทธรณ์และร้องทุกข์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน ก.ร.
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๘๗ กำหนดว่า ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา
๘๓ (๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่ง
โดยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. และมาตรา
๘๙ กำหนดว่า ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ก.ร. จะพิจารณาวินิจฉัยเอง หรือจะตั้ง
อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
กฎ ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๒[๓]
ข้อ ๑
กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้
คือ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ไว้ในกฎ
ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ทำให้การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ซึ่งไม่สอดคล้องกับกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ
เพื่อให้มีกรอบระยะเวลาดำเนินการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกระบวนการพิจารณา
และมีการกำหนดกรอบระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์แล้วเสร็จ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. ฉบับนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘
ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๘
ตุลาคม ๒๕๕๗
พิไลภรณ์/เพิ่มเติม
๘ พฤศจิกายน
๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๕/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๒] ข้อ
๑๖/๑ เพิ่มโดยกฎ ก.ร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๕ ก/หน้า ๑๒/๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ |
690811 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ
กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป
หรือมีลักษณะต้องห้าม
กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตน
ไม่เหมาะสม
กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำ
โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง (๓) (๖) (๗) และ
(๘) และมาตรา ๘๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุดังต่อไปนี้
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ต้องให้ผู้นั้นมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ
และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
(๑) ขาดคุณสมบัติทั่วไปเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยตามมาตรา ๓๗ ก. (๑)
(๒) มีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา ๓๗ ข.
(๑)
(๓) มีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากเป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมืองตามมาตรา
๓๗ ข. (๒)
(๔) มีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากเป็นคนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ทั้งนี้
ตามมาตรา ๓๗ ข. (๓)
(๕) มีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากเป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา ๓๗ ข. (๖)
(๖)
ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามมาตรา
๘๓ (๘)
หากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
พิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่ามีเหตุตามวรรคหนึ่ง
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๘๓ (๓) หรือ (๘) เพราะเหตุดังกล่าว แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุดังต่อไปนี้
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้า
(๑) ขาดคุณสมบัติทั่วไปเนื่องจากไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา
๓๗ ก. (๓)
(๒) หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการตามมาตรา ๘๓ (๖)
การสอบสวนตามวรรคหนึ่งและการสั่งให้ออกจากราชการ ให้นำความในมาตรา ๗๐
วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔ เมื่อมีกรณีที่จะต้องสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพราะเหตุที่มีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา
๖๘ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง
หากผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่ามีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๘๓ (๗)
ข้อ ๕ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการตามกฎ
ก.ร. นี้ ให้ทำเป็นคำสั่งระบุเหตุแห่งการสั่งให้ออกจากราชการ
ระบุวันที่จะให้ออกจากราชการซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
รวมทั้งต้องแจ้งสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
และเมื่อมีคำสั่งแล้วให้แจ้งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
ข้อ ๖ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการตามกฎ ก.ร. นี้แล้ว ให้รายงาน ก.ร.
และให้นำมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ ก.ร. เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
และมีมติเป็นประการใดให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.ร. มีมติ
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีคำสั่งหรือปฏิบัติตามที่ ก.ร.
มีมติแล้วให้แจ้งคำสั่งหรือการปฏิบัติดังกล่าวให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทราบ
ข้อ ๗ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามกฎ ก.ร. นี้
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร. ภายในสามสิบวัน นับแต่วันทราบหรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากราชการตามข้อ
๕
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามมาตรา
๘๓ (๓) กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้าม มาตรา ๘๓ (๖)
กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม มาตรา ๘๓ (๗)
กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และมาตรา ๘๓ (๘)
กรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความยุติธรรมและปราศจากอคติ
โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของทางราชการและเป็นหลักประกันความเป็นธรรมแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ สิงหาคม
๒๕๕๖
ชาญ/ผู้ตรวจ
๓๐ สิงหาคม
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๑ ก/หน้า ๗/๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ |
692052 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการกรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ พ.ศ. 2556
| กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ
กรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง (๑) และมาตรา ๘๓
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอตามมาตรา
๘๓ วรรคหนึ่ง (๑) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
พิจารณาดำเนินการตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๓ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
มีอำนาจพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ
เมื่อปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) มีวันลาป่วยรวมกันในหนึ่งปีงบประมาณเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันทำการ
หรือมีวันลาป่วยรวมกันเกินหกสิบวันทำการในแต่ละปีงบประมาณติดต่อกันสองปีงบประมาณ ทั้งนี้ ไม่รวมกรณีป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
(๒)
ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในฐานะผู้ป่วยในตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตในสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตหรือสถานที่อื่นที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตกำหนด ทั้งนี้ โดยมีระยะเวลารวมกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ข้อ ๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีวันลาป่วยตามข้อ
๓ (๑) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ส่งตัวผู้นั้นไปรับการตรวจจากสถานพยาบาลของรัฐเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๕ เมื่อได้รับผลการตรวจตามข้อ
๔ แล้ว ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ต้องนำผลการตรวจ
รายละเอียดเกี่ยวกับโรค หรือความเจ็บป่วยของผู้นั้น
ระยะเวลาในการรักษาตัวและความเห็นของแพทย์มาประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าเห็นว่าผู้นั้นต้องลาป่วยต่อไปอีกเป็นเวลานานจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้โดยสม่ำเสมอให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
(๒)
ถ้าเห็นควรให้โอกาสผู้นั้นมีเวลาในการพักรักษาตัวต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ให้กำหนดระยะเวลาให้ผู้นั้นลาป่วยอีกครั้งหนึ่งเพื่อพักรักษาตัวต่อไปได้ตามที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินหกสิบวันทำการและเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว
ให้สั่งให้ผู้นั้นไปรับการตรวจจากสถานพยาบาลของรัฐตามข้อ ๔ อีกครั้งหนึ่ง
ถ้าผลการตรวจของแพทย์เห็นว่าผู้นั้นยังคงต้องพักรักษาตัวต่อไปอีก
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ให้โอกาสผู้นั้นพักรักษาตัวต่อไปตาม (๒) ถ้าผู้นั้นประสงค์ที่จะออกจากราชการ
ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ข้อ ๖ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแสดงความผิดปกติทางจิตตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต
โดยมีพฤติกรรมที่แสดงออกโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต
ร่างกายหรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ส่งตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาลของรัฐเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการ
ในกรณีที่สถานพยาบาลของรัฐเห็นว่าผู้นั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตในฐานะผู้ป่วยในตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตในสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตหรือสถานที่อื่นที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตกำหนด
และผู้นั้นเข้ารับการบำบัดรักษาโดยมีระยะเวลารวมกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันตามข้อ ๓
(๒) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ข้อ ๗ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเป็นผู้ป่วยในตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตและเข้ารับการรักษาในสถานบำบัดรักษาทางสุขภาพจิตหรือสถานที่อื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตกำหนดรวมกันเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
ตามข้อ ๓ (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน
ข้อ ๘ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการตามกฎ
ก.ร. นี้ ให้ทำเป็นคำสั่งระบุเหตุแห่งการสั่งให้ออกจากราชการ
ระบุวันที่จะให้ออกจากราชการซึ่งต้องเป็นไปตามระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
รวมทั้งต้องแจ้งสิทธิและระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคำสั่งนั้นด้วย และเมื่อมีคำสั่งแล้วให้แจ้งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ออกจากราชการ
ข้อ ๙ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ มีคำสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการตามกฎ ก.ร. นี้แล้ว ให้รายงาน ก.ร.
และให้นำมาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ ก.ร. เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม
และมีมติเป็นประการใดให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.ร. มีมติ
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีคำสั่งหรือปฏิบัติตามที่ ก.ร.
มีมติแล้วให้แจ้งคำสั่งหรือการปฏิบัติดังกล่าวให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทราบ
ข้อ ๑๐ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามกฎ
ก.ร. นี้ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร.
ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากราชการตามข้อ ๘
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอและการสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ กันยายน
๒๕๕๖
ชาญ/ผู้ตรวจ
๒๔ กันยายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๒๑/๑๐ กันยายน ๒๕๕๖ |
687803 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น
(ซ) และ (ฌ) ของข้อ ๘ (๑๐) แห่ง กฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๕
(ซ) ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ฌ) ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่ง กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศหรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเนื่องจากได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๘ (๑๐)
ได้กำหนดเวลาปฏิบัติราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนโดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวันในแต่ละรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
และกำหนดมิให้นับการลาประเภทต่าง ๆ
รวมเป็นวันลาที่ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนไว้
แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรและการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพซึ่งกำหนดขึ้นใหม่ตามระเบียบ
ก.ร. ว่าด้วยการลาของข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ สมควรกำหนดให้การลาทั้ง ๒
ประเภทดังกล่าว มิให้นับเป็นวันลาที่จะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน และข้อ
๑๑
เพิ่มกรณีข้าราชการรัฐสภาสามัญลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเฉพาะเหตุจากการปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
หากการลานั้นครอบคลุมทั้งรอบการประเมินและส่งผลให้ไม่สามารถประเมินผลการปฏิบัติราชการได้
สมควรกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. ฉบับนี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๗ มิถุนายน
๒๕๕๖
เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ
๑๙ มิถุนายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๔/๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
725254 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๓๑
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร.
จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท
สายงาน และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้ และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามที่ ก.ร. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญในอัตรา
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๑๐,๐๐๐ บาท
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้แก่
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและรองเลขาธิการวุฒิสภา
(ข) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.ร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้แก่ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและเลขาธิการวุฒิสภา
(ข) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.ร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๕,๖๐๐ บาท
(๕) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๑๐,๐๐๐ บาท
(๖)[๒]
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ สายงานพยาบาลวิชาชีพ และสายงานเภสัชกรรม
และดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการในแต่ละสายงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗)[๓]
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ สายงานพยาบาลวิชาชีพ
และสายงานเภสัชกรรม ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิตำแหน่งใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท หรืออัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
(๑๐) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔ การกำหนดประเภทตำแหน่ง
สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. ก่อน
ข้อ ๕ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. นี้
ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
พลเอก
ธีรเดช มีเพียร
ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๓๑ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด
ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออก
กฎ ก.ร. นี้
กฎ
ก.ร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๗[๔]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่ ก.ร.
เห็นสมควรกำหนดให้สายงานพยาบาลวิชาชีพและสายงานเภสัชกรรม
เป็นสายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ
และระดับชำนาญการพิเศษ จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.ร. นี้
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
นุสรา/ผู้ตรวจ
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๒๑/๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
[๒] ข้อ ๓ (๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.ร.ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๗
[๓] ข้อ ๓ (๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ
ก.ร.ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๗
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๗๓ ก/หน้า ๑๘/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
696679 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด) | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ร. นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
ครึ่งปีแรก หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
ครึ่งปีหลัง หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน
ครึ่งปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมา แล้วแต่กรณี
ค่ากลาง หมายความว่า
ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร กำหนด หารด้วยสอง เพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปใช้คิดฐานในการคำนวณ
ฐานในการคำนวณ หมายความว่า
ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น
(๑) ฐานในการคำนวณระดับล่าง ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดตามที่
ก.ร. กำหนดกับค่ากลางหารด้วยสอง
(๒) ฐานในการคำนวณระดับบน ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.ร.
กำหนดกับค่ากลางหารด้วยสอง
ในกรณีที่คำนวณตามวิธีดังกล่าวแล้ว
มีผลทำให้ฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่า
มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับฐานในการคำนวณระดับบนของระดับตำแหน่งที่ต่ำกว่าซึ่งอยู่ถัดลงไป
ก.ร. อาจปรับฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่านั้นเสียใหม่ให้สูงขึ้นได้
โดยต้องนำภาพรวมของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนทั้งระบบมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ช่วงเงินเดือน หมายความว่า
ช่วงของเงินเดือนระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึงเงินเดือนขั้นสูง
แล้วแต่กรณี และช่วงเงินเดือนที่ ก.ร. ปรับให้สอดคล้องกับฐานในการคำนวณด้วย
ข้อ ๓ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา
๔๒ เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
ข้อ ๔ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. นี้
และให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๕๙ มาประกอบการพิจารณา
โดยให้เลื่อนได้ไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้รับการจัดสรรให้ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน
ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด โดยให้สอดคล้องกับวงเงินที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้ส่วนราชการตามกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนขั้นสูงตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
แต่ใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากันจะกระทำมิได้
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของฐานในการคำนวณ
และให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนประกาศอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน
โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับการมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
ข้อ ๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง
ดังนี้
(๑) ครั้งที่หนึ่ง
เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑
เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
(๒) ครั้งที่สอง
เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง โดยให้เลื่อนในวันที่
๑ ตุลาคมของปีถัดไป
ข้อ ๖ ให้ ก.ร.
กำหนดค่ากลาง ฐานในการคำนวณ และช่วงเงินเดือนตามกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๗ ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญทราบเป็นข้อมูลเฉพาะแต่ละบุคคล
การแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย
อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อนฐานในการคำนวณ จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน
และเงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนเงินเดือนนั้น
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนให้แจ้งเหตุผลที่ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละหกสิบ
(๒)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
(๓) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน
(๕) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๖)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน
หรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
(๗) ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม
ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ
ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๘) ในครึ่งปีที่แล้วมา
สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๙) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่มาทำงานสายเกินจำนวนยี่สิบหกครั้ง
(๑๐) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ
โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (๗) หรือ (๘)
และวันลาดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ
ประเทศซาอุดีอาระเบีย เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค)
ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
(ซ)[๒]
ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ฌ)[๓]
ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
การนับจำนวนวันลาสำหรับการลาป่วยและการลากิจส่วนตัว
ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๙ ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ให้นำข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย
การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งโอน
เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ ไปช่วยราชการในต่างส่วนราชการ
ได้รับมอบหมายหรือได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด หรือไปช่วยงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ
ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและปฏิบัติงานในครึ่งปีที่แล้วมาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๑[๔]
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศหรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
หรือได้รับอนุญาตให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเนื่องจากได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญามาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นไม่ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
และถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
และเป็นการถูกลงโทษจากการกระทำความผิดเดียวกัน
ถ้าถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษ
จะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะเหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือโทษทางอาญาที่ถึงที่สุดแล้วมีผลทำให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นเสียใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้
ข้อ ๑๕ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญในวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๖ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นถึงแก่ความตายก่อนหรือในวันที่
๑ เมษายน หรือ ๑ ตุลาคม
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญโดยให้มีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงระดับเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้ว
หากผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้นต่ำกว่าเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษได้
โดยให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งหลังสุดมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนดังกล่าว
โดยให้เลื่อนเงินเดือนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น
ข้อ ๑๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามกฎ
ก.ร. นี้ แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า
มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ ก.ร.
พร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย ถ้า ก.ร. เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ข้อ ๑๙ ในวันที่กฎ ก.ร.
นี้ใช้บังคับ ถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือน
แต่ต้องรอการเลื่อนเงินเดือนไว้เพราะเหตุที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา
ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.ร. นี้ใช้บังคับ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้นั้นที่รอไว้ทั้งหมด
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการรัฐสภาสามัญประเภทใด
ระดับใดยังมีผลใช้บังคับอยู่ คำว่า เงินเดือนขั้นต่ำ ตามกฎ ก.ร. นี้ ให้หมายความถึงเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในประมวลจริยธรรมและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร.
สมควรกำหนดให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญเป็นไปตามหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติราชการ
และการประพฤติตน จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.ร. นี้
กฎ
ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๕]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่กฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๘ (๑๐) ได้กำหนดเวลาปฏิบัติราชการซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนโดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวันในแต่ละรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
และกำหนดมิให้นับการลาประเภทต่าง ๆ รวมเป็นวันลาที่ไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนไว้
แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรและการลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพซึ่งกำหนดขึ้นใหม่ตามระเบียบ
ก.ร. ว่าด้วยการลาของข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ สมควรกำหนดให้การลาทั้ง ๒ ประเภทดังกล่าว
มิให้นับเป็นวันลาที่จะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน และข้อ ๑๑ เพิ่มกรณีข้าราชการรัฐสภาสามัญลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพเฉพาะเหตุจากการปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
หากการลานั้นครอบคลุมทั้งรอบการประเมินและส่งผลให้ไม่สามารถประเมินผลการปฏิบัติราชการได้
สมควรกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. ฉบับนี้
เอกฤทธิ์/ผู้จัดทำ
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔๑/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕
[๒] ข้อ ๘ (๑๐) (ซ)
เพิ่มโดยกฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] ข้อ ๘ (๑๐) (ฌ)
เพิ่มโดยกฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๔] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๔/๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ |
696498 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. 2556 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการย้าย
การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๔๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ร. นี้
ย้าย หมายความว่า
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเดียวกัน
ซึ่งจะเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
โอน หมายความว่า
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอื่น
ซึ่งจะเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้
เลื่อน หมายความว่า
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดียวกันในระดับที่สูงกว่าเดิม
ระดับที่ต่ำกว่าเดิม หมายความรวมถึง
ตำแหน่งในประเภทและระดับที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร.
นี้ว่าการย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภทและระดับดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะย้ายหรือโอน
หรือตำแหน่งในประเภทและระดับที่ ก.ร. กำหนดไว้ตามข้อ ๕
ตำแหน่งระดับควบ หมายความว่า ตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการที่
ก.ร. กำหนดให้เป็นตำแหน่งที่สามารถปรับให้เป็นตำแหน่งที่มีระดับสูงขึ้นหรือต่ำลงได้ภายในกรอบระดับตำแหน่งที่กำหนดตามมาตรา
๒๘
ข้อ ๓ การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงระบบคุณธรรม
ลักษณะของงานในตำแหน่งนั้น ผลสัมฤทธิ์ของงาน และประสิทธิภาพขององค์กร
รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตลอดจนศักยภาพ ความประพฤติ
และพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นั้น
ข้อ ๔ การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดตามกฎ ก.ร.
นี้
จะกระทำได้ต่อเมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้งนั้น
เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา ๔๕ วรรคสอง
ในกรณีที่เป็นการย้าย การโอน หรือการเลื่อนตามข้อ ๕๐ ข้อ ๕๑ ข้อ ๕๒
ข้อ ๕๓ ข้อ ๕๔ ข้อ ๕๕ และข้อ ๕๖ นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว
การกำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่เข้ารับการพิจารณาย้าย โอน
หรือเลื่อนต้องได้รับเงินเดือนและมีคุณสมบัติเพิ่มเติม อาจทำได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕ ก.ร.
อาจกำหนดให้ตำแหน่งประเภทและระดับใดจะต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการรัฐสภาสามัญที่จะย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภทและระดับดังกล่าวได้
ข้อ ๖
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ถูกย้ายหรือโอนนั้น
การให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
การย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ถูกย้ายหรือโอนตามวรรคหนึ่ง
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท สายงาน
และระดับเดียวกับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมก่อนมีการย้ายหรือการโอนตามวรรคหนึ่ง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ข้อ ๗
การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นหรือประเภทบริหารระดับต้น
ให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
ย้ายหรือโอนผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการหรือประเภทบริหาร แล้วแต่กรณี
ตามกฎ ก.ร. นี้
(๒)
ย้ายหรือโอนผู้ซึ่งได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นหรือประเภทบริหารระดับต้น
แล้วแต่กรณี ตามกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๘
เพื่อประโยชน์ในการย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้จัดแบ่งตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
(๑) กลุ่มที่ ๑ ได้แก่ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๑๕,๖๐๐ บาท
(๒) กลุ่มที่ ๒ ได้แก่
ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่
๑ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่ ๒
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๙
เพื่อประโยชน์ในการย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้จัดแบ่งตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงออกเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
(๑) กลุ่มที่ ๑ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
และตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงและได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกับตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
(๒) กลุ่มที่ ๒ ได้แก่ ตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
และตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงและได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกับตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๑ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๑๐
ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษที่ไม่อาจดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้
การดำเนินการในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
หมวด ๑
การย้าย
ข้อ ๑๑
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปในระดับเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๑๒
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ให้กระทำได้เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปมาก่อน
โดยให้ย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภททั่วไป
และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
ข้อ ๑๓
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภทวิชาการ
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในระดับที่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภทวิชาการ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๑ แล้ว ทั้งนี้
ให้ย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมได้ไม่เกินหนึ่งระดับ
ข้อ ๑๔
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญลงมา
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในระดับเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๑๕
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่
๑ ตามข้อ ๘ (๑) และในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๘ (๒)
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๘ (๒) ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่ ๑
ตามข้อ ๘ (๑) ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๑
แล้ว
ข้อ ๑๖
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ให้กระทำได้เฉพาะการย้ายไปดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการเท่านั้น
โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุอาจดำเนินการได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้นั้นเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ
และถึงลำดับที่ที่จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นตามมาตรา ๓๘
(๒)
ผู้นั้นได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในกรณีที่มีเหตุพิเศษในตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการตามมาตรา
๔๐
(๓) กรณีอื่นที่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษตามที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๑๗
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการ หรือประเภทบริหาร
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ให้กระทำได้เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะต้องพิจารณาดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภทวิชาการ
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร.
กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
(๒) การย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภทวิชาการไม่เกินหนึ่งระดับ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๑ แล้ว
ข้อ ๑๘
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการในระดับเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๑๙ การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร.
กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร. กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๓ แล้ว
ข้อ ๒๐
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๒ แล้ว
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๓ แล้ว
ข้อ ๒๑
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๒๒
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๒๓
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร.
กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ประเภทวิชาการ หรือประเภทอำนวยการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๔ แล้ว
ข้อ ๒๔
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๑ ตามข้อ ๙ (๑) หรือในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙ (๒)
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๙ (๒) ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑ ตามข้อ
๙ (๑) ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๖ แล้ว
ข้อ ๒๕
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๑ ตามข้อ ๙ (๑) มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑
ตามข้อ ๙ (๑) ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร.
กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑ ตามข้อ ๙
(๑) ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๖ แล้ว
ข้อ ๒๖
การย้ายข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้กระทำได้เฉพาะการย้ายไปดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) เท่านั้น โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๕
แล้ว
หมวด ๒
การโอน
ข้อ ๒๗
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
จะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนประสงค์จะรับโอนผู้นั้น
และต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่ผู้นั้นสังกัดอยู่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๒๘
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในกรณีดังต่อไปนี้
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่ผู้นั้นสังกัดอยู่จะไม่ให้ความยินยอมมิได้
(๑) การโอนผู้สอบแข่งขันได้และถึงลำดับที่ที่จะบรรจุตามมาตรา ๓๘
(๒)
การโอนผู้ได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในกรณีที่มีเหตุพิเศษไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จัดให้มีการคัดเลือกตามมาตรา
๔๐
(๓) การโอนผู้ได้รับการเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปตามข้อ
๓๐ ประเภทวิชาการตามข้อ ๓๔ หรือข้อ ๓๖ วรรคสอง ประเภทอำนวยการตามข้อ ๓๘ ข้อ ๓๙
วรรคสี่ หรือข้อ ๔๐ หรือประเภทบริหารตามข้อ ๔๓ ข้อ ๔๔ วรรคสอง ข้อ ๔๕ วรรคสอง
หรือข้อ ๔๖ วรรคสามหรือวรรคสี่
(๔) การโอนในกรณีอื่นที่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษตามที่ ก.ร.
กำหนด
ข้อ ๒๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปในระดับเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
และจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๓๐
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปในระดับที่สูงกว่าเดิม
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๐ แล้ว
ข้อ ๓๑
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ให้กระทำได้เฉพาะผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปมาแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะต้องแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภททั่วไป
ข้อ ๓๒ การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการตั้งแต่ระดับเชี่ยวชาญลงมา
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในระดับเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
และจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๓๓
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่
๑ ตามข้อ ๘ (๑) และในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๘ (๒)
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๘ (๒) ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่ ๑
ตามข้อ ๘ (๑) ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๑ แล้ว
ข้อ ๓๔
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในระดับที่สูงกว่าเดิม
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๑ แล้ว
ข้อ ๓๕
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ให้กระทำได้เฉพาะการโอนไปดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการเท่านั้น
โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนอาจดำเนินการได้
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการและถึงลำดับที่ที่จะบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นตามมาตรา
๓๘
(๒)
ผู้นั้นได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการในกรณีที่มีเหตุพิเศษในตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการตามมาตรา
๔๐
(๓) กรณีอื่นที่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษตามที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๓๖
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทอำนวยการ
หรือประเภทบริหาร ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะต้องแต่งตั้งผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภทวิชาการ
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป
ประเภทอำนวยการ หรือประเภทบริหาร ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในระดับที่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นเคยดำรงอยู่เดิมในตำแหน่งประเภทวิชาการไม่เกินหนึ่งระดับ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๕๑ แล้ว
ข้อ ๓๗
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการในระดับเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน และจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๓๘
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๓ แล้ว
ข้อ ๓๙
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร. กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร. กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๓ แล้ว
ข้อ ๔๐
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๒ แล้ว
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือประเภทวิชาการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๓ แล้ว
ข้อ ๔๑
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๔๒
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่ต่ำกว่าเดิม
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
และจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
ข้อ ๔๓
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้กระทำได้เฉพาะการโอนไปดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๕ แล้ว
ข้อ ๔๔
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ก.ร. กำหนดว่าต้องได้รับความยินยอมจากข้าราชการผู้นั้นตามข้อ ๕
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ให้ความยินยอมแล้ว
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการ ซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๔ แล้ว
ข้อ ๔๕
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑
ตามข้อ ๙ (๑) หรือกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙ (๒)
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มเดียวกัน
ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๙ (๒) ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑ ตามข้อ
๙ (๑)
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๖ แล้ว
ข้อ ๔๖
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๑ ตามข้อ ๙ (๑) มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑
ตามข้อ ๙ (๑) ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอน
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๒ ตามข้อ ๙
(๒) มาก่อน ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่ ๑ ตามข้อ ๙
(๑)
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๖ แล้ว
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
หรือประเภทอำนวยการซึ่งไม่เคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงมาก่อน
ไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงให้กระทำได้เฉพาะการโอนไปดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๙ (๒) โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะรับโอนจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๕ แล้ว
หมวด ๓
การเลื่อน
ข้อ ๔๗
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ
ประเภทอำนวยการ
และประเภทบริหารไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในประเภทเดียวกัน
ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในหมวด ๔ การดำเนินการเพื่อย้าย โอน หรือเลื่อน ทั้งนี้
ให้เลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าระดับที่ผู้นั้นดำรงอยู่ได้ไม่เกินหนึ่งระดับ
ข้อ ๔๘
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้กระทำได้เฉพาะการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๘ (๒) และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๑ แล้ว
ข้อ ๔๙
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ให้กระทำได้เฉพาะการเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๙ (๒) และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ
๕๕ แล้ว
หมวด ๔
การดำเนินการเพื่อย้าย
โอน หรือเลื่อน
ข้อ ๕๐
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานตามข้อ
๓๐
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญงาน
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ และสมรรถนะที่เหมาะสมกับตำแหน่งระดับชำนาญงาน
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสตามข้อ
๓๐ และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับอาวุโส
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญงาน และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งระดับอาวุโส
โดยให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
การโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษตามข้อ
๓๐
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับทักษะพิเศษ
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ สมรรถนะ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งระดับทักษะพิเศษ
โดยให้ประเมินบุคคลและประเมินผลงานโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้ง
การประเมินผลงานจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ผ่านการประเมินบุคคลแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินผลงานแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕๑
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการตามข้อ
๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๗ (๒) ข้อ ๓๔ และข้อ ๓๖ วรรคสอง
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญงานและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งระดับชำนาญการ
โดยให้ประเมินบุคคลและประเมินผลงานโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้ง
การประเมินผลงานจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินบุคคลแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินผลงานแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษตามข้อ
๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๗ (๒) ข้อ ๓๔ และข้อ ๓๖ วรรคสอง
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญงาน และประสบการณ์สูงเหมาะสมกับตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ
โดยให้ประเมินบุคคลและประเมินผลงานโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้ง
การประเมินผลงานจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินบุคคลแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินผลงานแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญตามข้อ
๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๗ (๒) ข้อ ๓๔ และข้อ ๓๖ วรรคสอง
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ สมรรถนะ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงมากเหมาะสมกับตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ
โดยให้คณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินบุคคลและประเมินผลงานการประเมินผลงานจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินบุคคลแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินผลงานแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่ ก.ร. กำหนด
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิตามข้อ
๑๓ วรรคสอง ข้อ ๑๕ วรรคสอง ข้อ ๑๗ (๒) ข้อ ๓๓ วรรคสอง ข้อ ๓๔ และข้อ ๓๖ วรรคสอง
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับทรงคุณวุฒิที่ว่าง
ให้ใช้วิธีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง
เพื่อให้ได้รายชื่อผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษเหมาะสมกับตำแหน่งระดับทรงคุณวุฒิ
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เลือกผู้นั้นจากรายชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับทรงคุณวุฒิซึ่ง
ก.ร. กำหนดให้เป็นตำแหน่งระดับควบและมีผู้ครองอยู่
ให้ดำเนินการโดยการประเมินซึ่งต้องสะท้อนให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
ทักษะ สมรรถนะ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์สูงมากเป็นพิเศษเหมาะสมกับตำแหน่งระดับทรงคุณวุฒิ
โดยให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุเป็นผู้ประเมินบุคคล
และให้คณะกรรมการที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินผลงาน การประเมินผลงานจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินบุคคลแล้ว
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อผู้นั้นผ่านการประเมินผลงานแล้ว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
การเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ถ้าตำแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่เป็นตำแหน่งระดับควบและเป็นการเลื่อนผู้นั้นขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นเองในระดับชำนาญการ
ระดับชำนาญการพิเศษหรือระดับเชี่ยวชาญ การประเมินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
แต่ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุเป็นผู้ประเมินบุคคล
ข้อ ๕๒
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นตามข้อ
๒๐ วรรคหนึ่ง และข้อ ๔๐ วรรคหนึ่ง
ให้ใช้วิธีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งเพื่อให้ได้รายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์เข้าสู่ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เลือกผู้นั้นจากรายชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕๓
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงตามข้อ
๑๙ วรรคสี่ ข้อ ๒๐ วรรคสอง ข้อ ๓๘ ข้อ ๓๙ วรรคสี่ และข้อ ๔๐ วรรคสอง
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
ให้ใช้วิธีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งเพื่อให้ได้รายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์เข้าสู่ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เลือกผู้นั้นจากรายชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕๔ การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นตามข้อ
๒๓ วรรคสอง และข้อ ๔๔ วรรคสอง
ให้ใช้วิธีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาแต่งตั้งเพื่อให้ได้รายชื่อผู้อยู่ในเกณฑ์เข้าสู่ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เลือกผู้นั้นจากรายชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕๕
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๒ ตามข้อ ๙ (๒) ตามข้อ ๒๖ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๖ วรรคสี่
และการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้นเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามข้อ
๔๙ ให้ใช้วิธีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เลือกผู้นั้นจากผลการเลือกสรรดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๕๖
การย้ายหรือการโอนข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงในกลุ่มที่
๑ ตามข้อ ๙ (๑) ตามข้อ ๒๔ วรรคสอง ข้อ ๒๕ วรรคสาม ข้อ ๔๕ วรรคสอง และข้อ ๔๖
วรรคสาม ให้ใช้วิธีการเลือกสรรโดยคณะกรรมการที่ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้ง
และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เลือกผู้นั้นจากผลการเลือกสรรดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการภายในระดับสำนักอยู่ก่อนวันที่
๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ ให้ถือว่าเป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญตามกฎ
ก.ร. นี้
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่ง
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงให้ถือว่าเป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิตามกฎ
ก.ร. นี้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ ๑๐ หรือระดับ ๑๑
อยู่ก่อนวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔
ให้ถือว่าเป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิตามกฎ
ก.ร. นี้
ข้อ ๕๘ การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการนั้นจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๕๙
ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามกฎ ก.ร. นี้
ให้นำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ใช้อยู่ในวันที่กฎ ก.ร. นี้ใช้บังคับ
มาใช้บังคับไปพลางก่อนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎ ก.ร. นี้
ในกรณีที่ไม่อาจนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ใช้อยู่ในวันที่กฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับมาใช้กับกรณีใดได้ การจะดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร.
กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติว่า การย้าย การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในหรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการย้าย
การโอน
หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญในหรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ |
712149 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2557 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย
พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๖
และมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ
ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด ๑
การดำเนินการเมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีการกระทำผิดวินัย
ข้อ ๒ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตามลำดับชั้นให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ทราบโดยเร็ว โดยทำเป็นหนังสือซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อผู้กล่าวหา (ถ้ามี)
(๒) ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
(๓)
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งการกระทำที่ถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย
(๔) พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่มี
ข้อ ๓ การกล่าวหาที่จะดำเนินการตามกฎ
ก.ร. นี้ ถ้าเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือให้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) ระบุชื่อของผู้กล่าวหา และลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา
(๒) ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา หรือข้อเท็จจริงที่เพียงพอให้ทราบว่าเป็นการกล่าวหาข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
(๓)
ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำที่มีการกล่าวหาเพียงพอที่จะเข้าใจได้
หรือแสดงพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
ในกรณีที่เป็นการกล่าวหาด้วยวาจา ให้ผู้บังคับบัญชาผู้ได้รับฟังการกล่าวหาจัดให้มีการทำบันทึกคำกล่าวหาที่มีรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง
และให้ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๔ กรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยที่จะดำเนินการตาม
กฎ ก.ร. นี้ อาจมีลักษณะดังนี้
(๑) มีการกล่าวหาที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้กล่าวหา
ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา แต่ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นเพียงพอที่จะทราบว่ากล่าวหาข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดและข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์นั้นเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
หรือ
(๒) มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาอันเป็นที่น่าสงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
โดยมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
หมวด ๒
การสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้น
ข้อ ๕ เมื่อได้รับรายงานตามข้อ
๒ หรือความปรากฏต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ว่ามีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้โดยเร็ว
(๑)
พิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่
(๒) ดำเนินการสืบสวนหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวน
และพิจารณาว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือไม่ ในการนี้
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
อาจสืบสวนเองหรือให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการสืบสวนแล้วรายงานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดหรือเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้วและเห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยให้ดำเนินการตามข้อ
๖ ต่อไป
ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
พิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ดำเนินการต่อไปตามหมวด ๓ ถ้าพิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการต่อไปตามหมวด
๔
แต่ถ้าพิจารณาเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ให้ยุติเรื่อง
ข้อ ๗ กรณีที่ถือว่าไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยและผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ สั่งให้ยุติเรื่องได้ อาจเป็นกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอให้ทราบว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดวินัย
(๒)
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แวดล้อมและพยานหลักฐานไม่เพียงพอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่ามีการกระทำผิดวินัย
หรือไม่เพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้
(๓) พฤติการณ์แห่งการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดทางวินัย
หมวด ๓
การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ข้อ ๘ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ ๕
และข้อ ๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้
โดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนก็ได้ แต่ถ้าได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ต้องดำเนินการตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ จนแล้วเสร็จ
ข้อ ๙ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ดำเนินการทางวินัยโดยไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ต้องดำเนินการตามหมวดนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้
ต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่พิจารณาเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาดังกล่าว
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ขยายเวลาได้ตามความจำเป็น
โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย
ข้อ ๑๐ ในการดำเนินการตามข้อ ๙
ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลาที่กำหนด
พร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่กำหนด
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
ข้อ ๑๑ เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ได้ดำเนินการตามข้อ ๑๐ แล้ว ให้พิจารณาสั่งหรือดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหา
ให้สั่งยุติเรื่องตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง โดยให้ทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๔
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน
ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิดตามมาตรา ๗๑ และที่กำหนดไว้ในข้อ ๖๓
โดยทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๕
(๓) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษจะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนตามมาตรา
๗๑ ก็ได้ โดยทำเป็นคำสั่งงดโทษตามข้อ ๖๗
(๔) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ดำเนินการตามหมวด ๔ ต่อไป
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ดำเนินการทางวินัยโดยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
และการคัดค้านกรรมการสอบสวนให้นำข้อ ๑๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสี่ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙
ข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งต่างกัน
หรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมาตรา ๖๙ และที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๖
ข้อ ๑๓ คณะกรรมการสอบสวนตามข้อ ๑๒
ต้องดำเนินการสอบสวน รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา
แล้วเก็บรวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
และทำรายงานการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ทั้งนี้
ต้องให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจำเป็นไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอขยายเวลาตามความจำเป็น
ในการนี้ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนจะขยายเวลาให้ตามที่เห็นสมควรโดยต้องแสดงเหตุผลไว้ด้วย
หรือจะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนยุติการดำเนินการแล้วพิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ
๑๑ ต่อไปก็ได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในเวลาที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดำเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อ ๑๔ เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนตามข้อ
๑๓ แล้ว ให้พิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ ๑๑
หรือสั่งหรือดำเนินการดังต่อไปนี้ก่อนพิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ ๑๑ ก็ได้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ให้กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการใดไม่ถูกต้อง
ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
หมวด ๔
การดำเนินการในกรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามข้อ ๕
และข้อ ๖ ปรากฏว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙
แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป
ในกรณีที่เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการดำเนินการตามข้อ ๑๑ (๔)
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙
แล้วแต่กรณี แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อดำเนินการต่อไปตามหมวดนี้
ส่วนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนตามข้อ ๑๓ จะนำมาใช้ในการสอบสวนนี้หรือไม่เพียงใด
ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสอบสวนที่จะแต่งตั้งขึ้นใหม่นี้
ข้อ ๑๖ ในกรณีร่วมกันแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา
๖๙ (๒)
ให้ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนของแต่ละส่วนราชการสังกัดรัฐสภาทำความตกลงกันเพื่อกำหนดตัวบุคคลเป็นคณะกรรมการสอบสวน
แล้วให้แต่ละส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลนั้นเป็นคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๑๗ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ให้แต่งตั้งจากข้าราชการรัฐสภาสามัญ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง
และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อยสองคน โดยให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นจะแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งมิใช่ข้าราชการการเมืองก็ได้
ในขณะที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ประธานกรรมการต้องดำรงตำแหน่งตามที่ ก.ร. กำหนด
กรรมการสอบสวนอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนิติกร
หรือผู้ได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือผู้ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย
หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย
เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการที่แต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่ข้าราชการการเมืองด้วยก็ได้
และให้นำข้อ ๑๙ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ ข้อ ๒๓ และข้อ ๒๔ มาใช้บังคับกับผู้ช่วยเลขานุการโดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้ระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
เรื่องที่กล่าวหาชื่อของประธานกรรมการและกรรมการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร.
กำหนด ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการ ให้ระบุชื่อผู้ช่วยเลขานุการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน
ให้ดำเนินการโดยทำเป็นคำสั่งตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร. กำหนด
และให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบต่อไป
การเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ไม่กระทบกระเทือนถึงการสอบสวนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ข้อ ๒๐ เมื่อได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำสั่งโดยเร็ว
และให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ในการนี้
ให้แจ้งตำแหน่งของประธานกรรมการ กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ (ถ้ามี) รวมทั้งสิทธิที่จะคัดค้านกรรมการสอบสวนไปพร้อมกัน
และให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาไว้หนึ่งฉบับด้วย ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
ถ้าได้ทำบันทึกลงวันที่และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้ง
พร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันรับทราบ
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยตรงก่อน
แต่ถ้าไม่อาจแจ้งให้ทราบโดยตรงได้หรือมีเหตุจำเป็นอื่น
ให้แจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งในประเทศ
หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
(๒) ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาให้ประธานกรรมการโดยเร็ว
แล้วให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อและวัน เดือน
ปีที่ได้รับแล้วเก็บรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
และส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้กรรมการทราบเป็นรายบุคคล
(๓) ส่งหลักฐานการรับทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งของผู้ถูกกล่าวหาไปให้ประธานกรรมการเพื่อเก็บรวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
โดยจะส่งไปให้หลังจากที่ได้ดำเนินการตาม (๒) แล้วก็ได้
ข้อ ๒๑ เมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้
กรรมการสอบสวนอาจถูกคัดค้านได้
(๑) เป็นผู้กล่าวหาตามข้อ ๓
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้กล่าวหาตามข้อ ๓
(๓) เป็นญาติของผู้กล่าวหาตามข้อ ๓ คือ
เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ
หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงสามชั้น
หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางการสมรสนับได้เพียงสองชั้น
(๔) เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหาหรือกับคู่หมั้นหรือคู่สมรสของผู้ถูกกล่าวหา
(๕) เป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน
(๖) เป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำผิดตามเรื่องที่กล่าวหา
(๗)
เป็นผู้มีเหตุอื่นซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การสอบสวนไม่เป็นกลางหรือเสียความเป็นธรรม
ข้อ ๒๒ การคัดค้านกรรมการสอบสวนต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือนับแต่วันที่ทราบว่ามีกรณีตามข้อ
๒๑
โดยหนังสือคัดค้านต้องแสดงข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นเหตุแห่งการคัดค้านตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๒๑
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการคัดค้านเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง
ให้ส่งสำเนาหนังสือคัดค้านไปให้ประธานกรรมการเพื่อทราบและเก็บรวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวน
รวมทั้งแจ้งให้ผู้ถูกคัดค้านทราบ และต้องให้โอกาสผู้ถูกคัดค้านได้ชี้แจงเป็นหนังสือต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้ถูกคัดค้านได้ลงลายมือชื่อและวันที่ที่ได้รับแจ้งไว้เป็นหลักฐาน
ในการนี้
ผู้ถูกคัดค้านต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่กรรมการสอบสวนตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการคัดค้านไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสั่งไม่รับคำคัดค้านนั้นและแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบ
ข้อ ๒๓ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๒ แล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าคำคัดค้านรับฟังได้
ให้สั่งให้ผู้ถูกคัดค้านพ้นจากหน้าที่ในการเป็นกรรมการสอบสวนในกรณีที่เห็นสมควรจะแต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นกรรมการสอบสวนแทนผู้ถูกคัดค้านก็ได้
แต่ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อยกว่าสามคนให้แต่งตั้งผู้อื่นให้เป็นกรรมการสอบสวนแทนผู้ถูกคัดค้าน
และให้นำข้อ ๑๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าคำคัดค้านไม่อาจรับฟังได้ ให้สั่งยกคำคัดค้าน
และมีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้าน ผู้ถูกคัดค้าน และประธานกรรมการทราบโดยเร็ว
คำสั่งยกคำคัดค้านให้เป็นที่สุด
ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณาและสั่งการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำคัดค้าน
ถ้าไม่ได้สั่งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ผู้ถูกคัดค้านนั้นพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
และให้ดำเนินการตาม (๑) ต่อไป
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่กรรมการสอบสวนผู้ใดเห็นว่าตนมีกรณีตามข้อ
๒๑ ให้ผู้นั้นแจ้งให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบ
และให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาสั่งการตามข้อ ๒๓ โดยอนุโลมต่อไป
ข้อ ๒๕ คณะกรรมการสอบสวนมีหน้าที่สอบสวนและพิจารณาตามหลักเกณฑ์
วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้ เพื่อแสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรมตลอดกระบวนการสอบสวน
ในการนี้
ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมประวัติและความประพฤติของผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กล่าวหาเท่าที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณา
และจัดทำบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนไว้ทุกครั้งด้วย
ในการสอบสวนและพิจารณาห้ามมิให้มีบุคคลอื่นอยู่หรือร่วมด้วย
เว้นแต่เป็นการสอบปากคำตามข้อ ๓๑ หรือเป็นกรณีที่กฎ ก.ร. นี้
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๖ ให้ประธานกรรมการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบตามข้อ
๒๐ (๒)
ในกรณีที่ไม่อาจจัดประชุมได้ภายในกำหนดให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทราบ
ในการประชุมคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง
ให้คณะกรรมการสอบสวนกำหนดประเด็นและวางแนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐาน
ข้อ ๒๗ เมื่อได้วางแนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานตามข้อ
๒๖ แล้วให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
(๒)
แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
(๓) ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงแสดงพยานหลักฐานเพื่อแก้ข้อกล่าวหา
(๔) พิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๕)
ทำรายงานการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้อ ๒๘ ให้คณะกรรมการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่การสอบสวนโดยไม่รับฟังแต่เพียงข้ออ้างหรือพยานหลักฐานของผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาเท่านั้น
ในกรณีที่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใดที่กล่าวอ้างหรือพาดพิงถึงบุคคล
เอกสาร หรือวัตถุใดที่จะเป็นประโยชน์แก่การสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานนั้นไว้ให้ครบถ้วน ถ้าไม่อาจเข้าถึงหรือได้มาซึ่งพยานหลักฐานดังกล่าว
ให้บันทึกเหตุนั้นไว้ด้วย
ข้อ ๒๙ ในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานให้สอบปากคำคราวละหนึ่งคน
และในการสอบปากคำพยาน
ต้องแจ้งให้พยานทราบว่ากรรมการสอบสวนมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
การให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย
ในการสอบปากคำตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีกรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมดจึงจะทำการสอบปากคำได้
แต่ในกรณีที่กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมดมีมากกว่าสามคน
จะให้กรรมการสอบสวนไม่น้อยกว่าสามคนทำการสอบปากคำก็ได้
ข้อ ๓๐ การสอบปากคำตามข้อ
๒๙ ต้องมีการบันทึกถ้อยคำของผู้ให้ถ้อยคำตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร. กำหนด
แล้วอ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟังหรือให้ผู้ให้ถ้อยคำอ่านเองก็ได้ แล้วให้ผู้ให้ถ้อยคำ
ผู้บันทึกถ้อยคำและกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคำลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำนั้นไว้เป็นหลักฐานในกรณีที่บันทึกถ้อยคำใดมีหลายหน้า
ให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคำหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในบันทึกถ้อยคำทุกหน้า
ในการบันทึกถ้อยคำ ห้ามมิให้ขูด ลบ
หรือบันทึกข้อความทับข้อความที่ได้บันทึกไว้ในบันทึกถ้อยคำแล้ว ถ้าจะต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความที่บันทึกไว้
ให้ใช้วิธีขีดฆ่าข้อความเดิมและเพิ่มเติมข้อความใหม่ด้วยวิธีตกเติม
แล้วให้ผู้ให้ถ้อยคำและกรรมการสอบสวนซึ่งอยู่ร่วมในการสอบปากคำหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ตรงที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทุกแห่ง
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่ยอมลงลายมือชื่อ
ให้บันทึกเหตุที่ไม่ลงลายมือชื่อนั้นไว้ในบันทึกถ้อยคำด้วย
ในกรณีที่ผู้ให้ถ้อยคำไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา
๙ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๓๑ ในการสอบปากคำ
ห้ามมิให้บุคคลอื่นอยู่ในที่สอบปากคำ เว้นแต่เป็นบุคคล ซึ่งกรรมการสอบสวนที่ทำการสอบปากคำอนุญาตให้อยู่ในที่สอบสวนเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
หรือเป็นทนายความหรือที่ปรึกษาของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งผู้ถูกกล่าวหาขอนำเข้ามาในการสอบปากคำผู้ถูกกล่าวหาตามจำนวนที่กรรมการสอบสวนที่ทำการสอบปากคำเห็นสมควร
ข้อ ๓๒ ห้ามมิให้กรรมการสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด
ๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง บังคับ
หรือกระทำโดยมิชอบไม่ว่าด้วยประการใด
เพื่อจูงใจให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือพยานให้ถ้อยคำอย่างใด
ข้อ ๓๓ การนำเอกสารหรือวัตถุมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวน
ให้คณะกรรมการสอบสวนจัดให้มีการบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด
เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนให้ใช้ต้นฉบับ
แต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้จะใช้สำเนาที่กรรมการสอบสวนหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้องก็ได้
ในกรณีที่ไม่สามารถหาต้นฉบับเอกสารได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายหรือโดยเหตุประการอื่นคณะกรรมการสอบสวนจะสืบจากสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนก็ได้
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานเพื่อชี้แจงหรือให้ถ้อยคำตามวัน
เวลา และสถานที่ที่กำหนดแล้ว แต่บุคคลนั้นไม่มาหรือมาแต่ไม่ชี้แจงหรือไม่ให้ถ้อยคำ
หรือในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนไม่อาจเรียกบุคคลใดมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำได้ภายในเวลาอันควรคณะกรรมการสอบสวนจะไม่สอบสวนบุคคลนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวนและในรายงานการสอบสวนด้วย
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนพยานบุคคลใดหรือการรวบรวมพยานเอกสารหรือวัตถุใดจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น
หรือพยานหลักฐานนั้นมิใช่สาระสำคัญจะงดสอบสวนหรือไม่รวบรวมพยานหลักฐานนั้นก็ได้
แต่ต้องบันทึกเหตุนั้นไว้ในบันทึกประจำวันที่มีการสอบสวน และในรายงานการสอบสวนด้วย
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่จะต้องสอบปากคำพยานหรือรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งอยู่ต่างท้องที่ประธานกรรมการจะรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอให้มอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานในท้องที่นั้นที่เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนสอบปากคำพยานหรือรวบรวมพยานหลักฐานแทนก็ได้
โดยกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่จะต้องสอบสวนไปให้ กรณีเช่นนี้
ถ้าผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นควรจะมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายนั้นดำเนินการตามที่คณะกรรมการสอบสวนร้องขอก็ได้
ในการสอบปากคำพยานและรวบรวมพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง
ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายเลือกข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่เห็นสมควรอย่างน้อยอีกสองคนมาร่วมเป็นคณะทำการสอบสวน
และให้คณะทำการสอบสวนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการสอบสวนตาม กฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๓๗ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้รวบรวมข้อเท็จจริง
ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๒๗ (๑) แล้ว
ให้มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาทำความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวน
ให้รายงานผลการสอบสวนพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
แต่ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจากข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย
รวมทั้งพยานหลักฐานที่รวบรวมได้เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวน
ให้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
การประชุมตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการสอบสวนทั้งหมด
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดหรือต้องรับผิดในคดีเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดตามข้อกล่าวหา
คณะกรรมการสอบสวนจะนำเอาคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นมาใช้เป็นพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาโดยไม่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานอื่นก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบและต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้น
เพื่อใช้เป็นสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบด้วย
ข้อ ๓๙ การแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้ทำเป็นบันทึกระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการใด
เมื่อใด อย่างไร เป็นความผิดวินัยในกรณีใดและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา
โดยจะระบุชื่อพยานด้วยหรือไม่ก็ได้
รวมทั้งแจ้งให้ทราบสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะให้ถ้อยคำหรือยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือ
สิทธิที่จะแสดงพยานหลักฐานหรือจะอ้างพยานหลักฐานเพื่อขอให้เรียกพยานหลักฐานนั้นมาได้
แล้วแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
บันทึกตามวรรคหนึ่ง ให้ทำตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร. กำหนด
โดยให้ทำเป็นสองฉบับมีข้อความตรงกัน ให้ประธานกรรมการและกรรมการอีกอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย
ข้อ ๔๐ เมื่อได้จัดทำบันทึกตามข้อ ๓๙ แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนมีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบตามวัน เวลา
และสถานที่ที่คณะกรรมการสอบสวนกำหนด
เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้มาพบคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาพร้อมทั้งอธิบายข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
และให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบข้อกล่าวหาโดยลงลายมือชื่อพร้อมทั้งวันเดือนปีในบันทึกนั้นแล้วมอบบันทึกให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
และอีกหนึ่งฉบับเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวน
ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อในบันทึกเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวไว้ในบันทึกนั้น
ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานตั้งแต่วันที่มาพบคณะกรรมการสอบสวนแล้ว
และให้มอบบันทึกนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาหนึ่งฉบับ
และอีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ในสำนวนการสอบสวน
แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมรับบันทึกดังกล่าว
ให้ส่งบันทึกนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ข้อ ๔๑ เมื่อได้แจ้งข้อกล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบตามข้อ
๔๐ แล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งกำหนดวัน เวลา สถานที่
และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในวันที่มาพบคณะกรรมการสอบสวน
หรือแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการก็ได้
ในกรณีแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบตั้งแต่วันที่ครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือดังกล่าวทางไปรษณีย์
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาพบตามที่กำหนดในข้อ
๔๐ ให้ส่งบันทึกตามข้อ ๓๙ จำนวนหนึ่งฉบับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกกล่าวหา
ณ ที่อยู่ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาตั้งแต่วันที่ครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ส่งบันทึกดังกล่าวทางไปรษณีย์
คณะกรรมการสอบสวนจะส่งหนังสือกำหนดวัน เวลา สถานที่
และวิธีการที่จะให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและชี้แจงว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่
อย่างไร เพราะเหตุใด ไปพร้อมกับบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่อาจชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ตามวัน
เวลา สถานที่ และวิธีการที่กำหนดตามข้อ ๔๑ หรือข้อ ๔๒
โดยได้อ้างเหตุผลหรือความจำเป็น หรือในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีเหตุจำเป็น
จะกำหนดวัน เวลา สถานที่ หรือวิธีการเสียใหม่เพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรมก็ได้
ข้อ ๔๔ ในการสอบสวนให้คณะกรรมการสอบสวนถามผู้ถูกกล่าวหาด้วยว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่
อย่างไร เพราะเหตุใด
คณะกรรมการสอบสวนจะดำเนินการตามวรรคหนึ่งไปในคราวเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการตามข้อ
๔๐ ก็ได้
ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาใด
ให้คณะกรรมการสอบสวนบันทึกการรับสารภาพตามข้อกล่าวหานั้นไว้เป็นหนังสือ
ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในข้อกล่าวหานั้นก็ได้
แล้วดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อ ๔๖ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มาให้ถ้อยคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาหรือไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลาตามข้อ
๔๑ และข้อ ๔๒ ให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์จะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนจะเห็นควรดำเนินการเป็นอย่างอื่นเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นธรรม
ข้อ ๔๗ ในกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังจากที่คณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาในเรื่องที่สอบสวนแล้ว
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าพยานหลักฐานที่เพิ่มเติมนั้นมีน้ำหนักสนับสนุนข้อกล่าวหา
ให้แจ้งสรุปพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
แต่ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นมีผลทำให้ข้อกล่าวหาในเรื่องที่สอบสวนนั้นเปลี่ยนแปลงไปหรือต้องเพิ่มข้อกล่าวหา
ให้กำหนดข้อกล่าวหาใหม่หรือกำหนดข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแล้วแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหานั้นให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๓๙ ข้อ ๔๐
ข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ ข้อ ๔๓ และข้อ ๔๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๔๘ ในการสอบสวน
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่ควรกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย
ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็ว
เมื่อได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย
ให้ยุติไม่ต้องดำเนินการทางวินัยสำหรับเรื่องอื่นนั้น
(๒) ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นด้วย
ให้ดำเนินการทางวินัยในเรื่องอื่นนั้นด้วยตามกฎ ก.ร. นี้
ในกรณีที่การกระทำผิดวินัยในเรื่องอื่นนั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
จะแต่งตั้งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ดำเนินการสอบสวนและพิจารณาในเรื่องอื่นนั้นก็ได้
ข้อ ๔๙ ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้อื่น
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย
ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็วเพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎ
ก.ร. นี้ ต่อไป
ในกรณีที่การสอบสวนพาดพิงไปถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นหรือบุคคลอื่น
ถ้าคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำการในเรื่องที่สอบสวนนั้นด้วย
ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยเร็วเพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป
ข้อ ๕๐ ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้อื่นร่วมกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องที่สอบสวนตามข้อ
๔๙ วรรคหนึ่ง ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำการสอบสวนผู้นั้น
โดยจะแต่งตั้งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมหรือจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคณะใหม่ดำเนินการสอบสวนและพิจารณาก็ได้
แต่ถ้าเป็นกรณี ตามมาตรา ๖๙ ให้ส่งเรื่องไปยังผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙
เพื่อดำเนินการต่อไป
พยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนในเรื่องที่สอบสวนเดิม
คณะกรรมการสอบสวนจะใช้ประกอบการพิจารณาดำเนินการทางวินัยแก่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้แจ้งให้ผู้นั้นทราบและให้โอกาสผู้นั้นได้ใช้สิทธิตามกฎ
ก.ร. นี้แล้ว
ข้อ ๕๑ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหานำสืบแก้ข้อกล่าวหา
และได้รวบรวมพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาได้แล้ว
ให้คณะกรรมการสอบสวนประชุมเพื่อพิจารณาทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
ในการพิจารณาทำความเห็นตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการสอบสวนต้องพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย
และพิจารณามีมติในเรื่องที่สอบสวนให้ครบทุกข้อกล่าวหาและทุกประเด็น
ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยในเรื่องที่สอบสวนหรือไม่
ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัย
ต้องพิจารณาให้ได้ความด้วยว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามกฎ ก.ร.
ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญข้อใด
ควรได้รับโทษสถานใดและมีเหตุอันควรลดหย่อนหรือไม่ เพียงใด
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องในหน้าที่ราชการ
ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือมีมลทินหรือมัวหมอง ในกรณีที่ถูกสอบสวน
ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ตามมาตรา ๘๓ (๖) หรือ (๗)
แล้วแต่กรณี ก็ให้ทำความเห็นเสนอไว้ในรายงานการสอบสวนด้วย
การประชุมเพื่อพิจารณาทำความเห็นตามข้อนี้ต้องมีกรรมการสอบสวนมาประชุมไม่น้อยกว่าสามคนและไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด
ข้อ ๕๒ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการตามข้อ
๕๑ แล้ว
ให้จัดทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามแบบตัวอย่างที่
ก.ร. กำหนด โดยให้เสนอไปพร้อมสำนวนการสอบสวน
รายงานการสอบสวนตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องประกอบด้วยเรื่องที่สอบสวนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อกล่าวหา พยานหลักฐานที่สนับสนุนหรือหักล้างข้อกล่าวหา
ประเด็นที่ต้องพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนตามข้อ ๕๑ วรรคสอง และวรรคสาม และลายมือชื่อกรรมการสอบสวนทุกคน
รวมทั้งให้ประธานกรรมการลงลายมือชื่อกำกับไว้ในรายงานการสอบสวนหน้าอื่นด้วยทุกหน้า
ในกรณีที่กรรมการสอบสวนคนใดมีเหตุจำเป็นไม่อาจลงลายมือชื่อได้
ให้ประธานกรรมการสอบสวนบันทึกเหตุจำเป็นดังกล่าวไว้ด้วย
และในกรณีที่กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้ง
ให้แสดงชื่อและสรุปความเห็นแย้งของผู้นั้นไว้ในรายงานการสอบสวนด้วย ในการนี้
ผู้มีความเห็นแย้งนั้นจะทำบันทึกรายละเอียดความเห็นแย้งและลงลายมือชื่อของตนแนบไว้กับรายงานการสอบสวนด้วยก็ได้
ข้อ ๕๓ ให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนและจัดทำรายงานการสอบสวนพร้อมทั้งสำนวนการสอบสวนเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการสอบสวนครั้งแรกตามข้อ
๒๖
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมีเหตุผลและความจำเป็น
ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ให้ประธานกรรมการรายงานต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อขอขยายเวลาสอบสวนตามความจำเป็น
ในการนี้ ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอาจขยายเวลาได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน
และติดตามเร่งรัดการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วด้วย
ข้อ ๕๔ เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้รับรายงานการสอบสวนและสำนวนการสอบสวนแล้ว
ให้พิจารณาตรวจสอบความถูกต้องของการสอบสวน ถ้าเห็นว่าการสอบสวนถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามข้อ ๕๕
แต่ถ้าเห็นว่าการสอบสวนยังไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ก็ให้สั่งหรือดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่เห็นว่ายังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาหรือการแจ้งข้อกล่าวหายังไม่ครบถ้วนให้สั่งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาให้ครบถ้วนโดยเร็ว
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานเพิ่มเติม
ให้กำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม
(๓) ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการไม่ถูกต้อง
ให้สั่งให้คณะกรรมการสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้องโดยเร็ว
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการตามที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้จัดทำรายงานเสนอผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาดำเนินการตามข้อ ๕๕
ต่อไป
ข้อ ๕๕ เมื่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าการสอบสวนถูกต้องครบถ้วนแล้วให้พิจารณาสั่งหรือดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดวินัยตามข้อกล่าวหา
ให้สั่งยุติเรื่องตามมาตรา ๖๘ วรรคสอง โดยทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๔
(๒) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน ตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิดตามมาตรา
๗๑ และที่กำหนดไว้ในข้อ ๖๓ โดยทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๕
(๓) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยเล็กน้อย
และมีเหตุอันควรงดโทษจะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนตามมาตรา
๗๑ ก็ได้ โดยทำเป็นคำสั่งงดโทษตามข้อ ๖๗
(๔) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ให้สั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี
ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้
แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก ตามมาตรา ๗๒ โดยทำเป็นคำสั่งตามข้อ ๖๕
(๕) ในกรณีที่เห็นว่าผลการสอบสวนยังไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะลงโทษเพราะกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
แต่เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หรือมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตามมาตรา ๘๓ (๖) หรือ (๗) แล้วแต่กรณี
ต่อไป
ในกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙
(๑) หรือ (๒) ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ของผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้สั่งหรือดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๖ ในกรณีที่มีการย้าย
การโอน หรือการเลื่อนผู้ถูกกล่าวหา
อันมีผลทำให้ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเปลี่ยนไป
ให้คณะกรรมการสอบสวนที่ได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้นดำเนินการต่อไปจนเสร็จ แล้วให้ทำรายงานการสอบสวนเสนอไปพร้อมกับสำนวนการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเดิมตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินการเพื่อส่งไปยังผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่พิจารณาสั่งหรือดำเนินการตามข้อ
๕๕ ต่อไป และถ้าในระหว่างการสอบสวนมีกรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนต้องสั่งการอย่างใดเพื่อให้การสอบสวนนั้นดำเนินการต่อไปได้
ให้ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเดิมส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่เป็นผู้พิจารณาต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใหม่ตามวรรคหนึ่ง
เห็นสมควรให้ดำเนินการตามข้อ ๕๔ จะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนคณะเดิมดำเนินการ
หรือในกรณีที่เห็นเป็นการสมควร
จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่เพื่อดำเนินการก็ได้ โดยให้นำข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘
มาใช้บังคับ
ข้อ ๕๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้องตามข้อ
๑๗ ให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙ แล้วแต่กรณี
แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้อง
ข้อ ๕๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าการดำเนินการใดไม่ถูกต้องตามกฎ
ก.ร. นี้ ให้เฉพาะการดำเนินการนั้นเสียไป
และถ้าการดำเนินการนั้นเป็นสาระสำคัญที่ต้องดำเนินการหรือหากไม่ดำเนินการอันจะทำให้เสียความเป็นธรรม
ให้แก้ไขหรือดำเนินการนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยเร็ว
ข้อ ๕๙ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาผู้ใดตายในระหว่างการสอบสวน
ให้การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้นั้นเป็นอันยุติ
แต่ให้คณะกรรมการสอบสวนและผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อไปเท่าที่สามารถจะกระทำได้
แล้วทำความเห็นเสนอต่อส่วนราชการต้นสังกัดเพื่อพิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี ต่อไป
ข้อ ๖๐ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสอบสวนโดยอนุโลม
เว้นแต่องค์ประชุมกรรมการสอบสวนตามข้อ ๓๗ และข้อ ๕๑
หมวด ๕
กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ข้อ ๖๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือหรือมีหนังสือรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตาม
กฎ ก.ร. นี้ ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙
แล้วแต่กรณี จะพิจารณาดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้
ข้อ ๖๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีดังต่อไปนี้
ถือเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
หรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๖๙ แล้วแต่กรณี
จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้
(๑) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน
โดยไม่กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการอีกเลย
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ได้ดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการสืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๒)
กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๓) กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา
หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพและได้มีการบันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือหรือมีหนังสือรับสารภาพต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎ
ก.ร. นี้
หมวด ๖
การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน
ข้อ ๖๓ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอำนาจสั่งลงโทษได้
ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ หรือร้อยละ ๔
ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคำสั่งลงโทษเป็นเวลาหนึ่งเดือน สองเดือน
หรือสามเดือน
(๓) ลดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ หรือร้อยละ ๔
ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคำสั่งลงโทษ
การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ถ้าจำนวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดมีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเศษทิ้ง
หมวด ๗
การสั่งยุติเรื่อง
ลงโทษ หรืองดโทษ
ข้อ ๖๔ การสั่งยุติเรื่องตามมาตรา
๖๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๖๘ วรรคสอง
ให้ทำเป็นคำสั่งระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
เรื่องที่ถูกกล่าวหาและผลการพิจารณา ทั้งนี้ ตามแบบตัวอย่าง ที่ ก.ร. กำหนด
และให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้สั่งและวันเดือนปีที่ออกคำสั่งไว้ด้วย
ข้อ ๖๕ การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก หรือไล่ออก
ให้ทำเป็นคำสั่งระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกลงโทษ
แสดงข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญว่าผู้ถูกลงโทษกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรืออย่างร้ายแรงในกรณีใด
ตามกฎ ก.ร.
ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญข้อใดพร้อมทั้งสิทธิในการอุทธรณ์และระยะเวลาในการอุทธรณ์ตามมาตรา
๘๗ ไว้ในคำสั่งนี้ด้วย ทั้งนี้ ตามแบบตัวอย่างที่
ก.ร. กำหนด
และให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้สั่งและวันเดือนปีที่ออกคำสั่งไว้ด้วย
ข้อ ๖๖ การสั่งลงโทษ
ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันหรือระยะเวลาดังต่อไปนี้
(๑) การสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง
(๒) การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่เดือนที่มีคำสั่ง
(๓) การสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก ให้สั่งให้มีผลตามระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยวันออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา
๘๐ วรรคสอง
ข้อ ๖๗ การสั่งงดโทษตามมาตรา ๗๑ วรรคสาม
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ทำเป็นคำสั่ง
และให้ระบุไว้ในคำสั่งด้วยว่าได้ให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้ว
ทั้งนี้ ตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร.
กำหนด
ข้อ ๖๘ การสั่งงดโทษตามมาตรา ๗๕ วรรคสอง
สำหรับกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งออกจากราชการไปแล้วแต่มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงอยู่ก่อนตามมาตรา
๗๕ วรรคหนึ่ง และผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งงดโทษ ทั้งนี้ ตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร. กำหนด
ข้อ ๖๙ เมื่อได้มีคำสั่งยุติเรื่อง
ลงโทษ หรืองดโทษแล้ว
ให้ดำเนินการแจ้งคำสั่งให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยเร็ว
และให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบไว้เป็นหลักฐาน
และให้มอบสำเนาคำสั่งให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้หนึ่งฉบับด้วย
ถ้าผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่ง
เมื่อได้ทำบันทึกลงวันที่และสถานที่ที่แจ้งและลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้วให้ถือวันที่แจ้งนั้นเป็นวันรับทราบ
ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ทราบตามวรรคหนึ่งได้หรือมีเหตุจำ เป็นอื่น
ให้ส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหา ณ
ที่อยู่ของผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าผู้ถูกลงโทษหรือผู้ถูกกล่าวหาได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งในประเทศ
หรือเมื่อครบสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
หมวด ๘
การมีคำสั่งใหม่กรณีมีการเพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
ข้อ ๗๐ ในกรณีที่มีการเพิ่มโทษ
ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
มีคำสั่งใหม่ โดยให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม แล้วสั่งใหม่ให้เป็นไปตามนั้น
ข้อ ๗๑ คำสั่งใหม่ตามข้อ
๗๐ ให้เป็นไปตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร. กำหนด โดยอย่างน้อยให้มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
(๑) อ้างถึงคำสั่งเดิมก่อนมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
(๒) อ้างถึงมติของ ก.ร. หรือคำวินิจฉัยขององค์กรตามกฎหมายอื่น
ที่ให้เพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ แล้วแต่กรณี โดยแสดงสาระสำคัญโดยสรุปไว้ด้วย
(๓) สั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมตาม (๑) และมีคำสั่งใหม่ให้เป็นไปตาม (๒)
(๔) ระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว
ข้อ ๗๒ ในกรณีที่คำสั่งเดิมเป็นคำสั่งลงโทษไล่ออกหรือปลดออก
ถ้ามีการลดโทษเพื่อจะสั่งลงโทษใหม่ในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง งดโทษ หรือยกโทษ
ในคำสั่งใหม่ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการและสั่งลงโทษใหม่ในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
งดโทษ หรือยกโทษ แล้วแต่กรณี
การสั่งให้กลับเข้ารับราชการให้สั่งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งตามเดิม
หรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกันหรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่
ก.ร. กำหนด ทั้งนี้
ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ในกรณีที่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการได้เพราะเหตุที่ก่อนที่จะมีคำสั่งใหม่นั้น
ผู้นั้นพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตาย
หรือออกจากราชการเนื่องจากเหตุอื่น ให้สั่งงดโทษหรือสั่งยุติเรื่อง แล้วแต่กรณี
แล้วให้แสดงเหตุที่ไม่อาจสั่งให้กลับเข้ารับราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ในคำสั่งใหม่ให้ระบุด้วยว่า เงินเดือนระหว่างที่ถูกไล่ออกหรือปลดออก
ให้เบิกจ่ายให้ผู้นั้นตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๗๓ ในกรณีที่คำสั่งลงโทษเดิมเป็นคำสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ถ้ามีการเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
ในคำสั่งใหม่ให้ระบุการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้วดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าเป็นกรณียกโทษ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับโทษทางวินัยมาก่อน
และให้ผู้นั้นกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนมีการลงโทษ
ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใดให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้นทั้งหมด
(๒) ถ้าเป็นกรณีงดโทษ
ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใดให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้นทั้งหมด
(๓) ถ้าเป็นกรณีที่มีผลให้ยังคงต้องลงโทษผู้นั้นอยู่
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มโทษหรือลดโทษก็ตามให้ดำเนินการดังนี้
(ก) ถ้าเป็นการเพิ่มโทษให้เป็นโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
หรือเพิ่มอัตราโทษ ให้คิดคำนวณจำนวนเงินเดือนที่จะตัดหรือลดตามอัตราโทษจากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคำสั่งลงโทษเดิม
(ข) ถ้าเป็นการเพิ่มโทษจากโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
เป็นปลดออกหรือไล่ออก ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไปแล้วนั้นให้ผู้นั้น
(ค) ถ้าเป็นการลดโทษให้เป็นโทษภาคทัณฑ์ ให้ลงโทษให้เป็นไปตามนั้น
ในกรณีที่ได้มีการตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือนผู้นั้นไปเท่าใด
ให้คืนเงินที่ได้ตัดหรือลดไว้ดังกล่าวให้ผู้นั้นทั้งหมด
(ง) ถ้าเป็นการลดโทษให้เป็นโทษตัดเงินเดือน
หรือลดอัตราโทษของโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน
ให้คิดคำนวณจำนวนเงินที่จะตัดหรือลดตามอัตราโทษใหม่จากเงินเดือนเดิมในขณะที่มีคำสั่งลงโทษเดิม
ในกรณีที่จำนวนเงินที่จะต้องตัดหรือลดตามคำสั่งลงโทษใหม่
ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ได้ถูกตัดหรือลดตามคำสั่งลงโทษเดิม
ให้คืนเงินส่วนที่ได้ตัดหรือลดไว้เกินนั้นให้ผู้นั้น
หมวด ๙
การสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๗๔ เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณา
หรือผลแห่งคดีได้ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ พิจารณาเห็นว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการต่อไปอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๒) ผู้นั้นถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจโดยพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ พิจารณาเห็นว่าถ้าผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดการเสียหายแก่ราชการ
(๓)
ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณาหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น
(๔)
ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญาหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาและได้ถูกควบคุม
ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบห้าวันแล้ว
(๕)
ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
พิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น
ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๗๕ การสั่งพักราชการให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนหรือพิจารณา
เว้นแต่ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดได้ร้องทุกข์ตามมาตรา ๘๘
และผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์เห็นว่าสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
เนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือพิจารณา
และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป
หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการแล้วยังไม่แล้วเสร็จและผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนหรือพิจารณาเสร็จสิ้น
ข้อ ๗๖ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน
หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดในคดีอาญาหลายคดี ถ้าจะสั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีใดที่เข้าลักษณะตามข้อ
๗๔ ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นทุกสำนวนหรือทุกคดีที่เข้าลักษณะตามข้อ ๗๔
ด้วย
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว
ถ้าภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาในคดีอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้น
ก็ให้สั่งพักราชการในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นและเข้าลักษณะตามข้อ ๗๕ นั้นด้วย
ข้อ ๗๗ การสั่งพักราชการ
ให้สั่งพักตั้งแต่วันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา
หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา
การสั่งพักราชการในเรื่องนั้นให้สั่งพักย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุม ขัง
หรือต้องจำคุก
(๒) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการไว้แล้ว
ถ้าจะต้องสั่งใหม่เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องให้สั่งพักตั้งแต่วันให้พักราชการตามคำสั่งเดิม
หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการในขณะที่ออกคำสั่งเดิม
ข้อ ๗๘ คำสั่งพักราชการต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพักราชการ
ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งพักราชการ และวันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับ
เมื่อได้มีคำสั่งให้ผู้ใดพักราชการ ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบ
และให้นำข้อ ๖๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๗๙ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ
๗๔ และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนหรือพิจารณา หรือการดำเนินคดีนั้น จะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้
ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการไว้แล้ว
จะพิจารณาตามวรรคหนึ่งและสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการนั้นออกจากราชการไว้ก่อนแทนการสั่งพักราชการก็ได้
ข้อ ๘๐ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันออกคำสั่ง
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ได้สั่งให้พักราชการไว้ก่อนแล้ว
ให้สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตั้งแต่วันสั่งพักราชการเป็นต้นไป
หรือในกรณีที่มีเหตุตามข้อ ๗๗ ให้สั่งให้มีผลตั้งแต่วันที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๗ นั้น
ให้นำข้อ ๗๕ ข้อ ๗๖ และข้อ ๗๘
มาใช้บังคับแก่การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม
ข้อ ๘๑ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
และประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิออกจากราชการไว้ก่อน
ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน
ข้อ ๘๒ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนและปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาแล้ว
ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา
๗๒
(๒) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๘๗ แล้วดำเนินการตามมาตรา ๗๑
แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สั่งงดโทษตามมาตรา ๗๕ วรรคสอง
โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และแสดงกรณีกระทำผิดวินัยนั้นไว้ในคำสั่งด้วย
(ก)
ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๘๗ และสั่งยุติเรื่อง
แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการและแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
(ก)
ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๔) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย
ถ้าจะดำเนินการตามมาตรา ๗๑
ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น
โดยยังไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการแต่ถ้าเป็นการสั่งยุติเรื่อง
ให้สั่งได้โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
ข้อ ๘๓ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน
และปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา
๗๒
(๒) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๘๗ แล้วดำเนินการตามมาตรา ๗๑
แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้สั่งงดโทษตามมาตรา ๗๕ วรรคสอง โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
และแสดงกรณีกระทำผิดวินัยนั้นไว้ในคำสั่งด้วย
(ก)
ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๘๗ และสั่งยุติเรื่อง แต่หากมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
ให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการและแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
(ก)
ผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว
(ข) ผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ
(ค) ผู้นั้นได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว โดยมิใช่เพราะเหตุตาย
(๔)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วย ถ้าจะดำเนินการตามมาตรา
๗๑ ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น โดยยังไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
แต่ถ้าเป็นการสั่งยุติเรื่องให้สั่งยุติเรื่องโดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
และแสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ในคำสั่งนั้นด้วย
(๕) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
แต่มีกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นอีกด้วยให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคำสั่งด้วยว่าผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่น
ส่วนการดำเนินการตามมาตรา ๗๑ ให้รอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีกรณีอื่นนั้น
(๖) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย
แต่มีกรณีที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นด้วยให้สั่งยุติเรื่อง
และสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคำสั่งด้วยว่าผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่นนั้น
ข้อ ๘๔ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดพักราชการในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญา
หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา และปรากฏผลแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษให้ดำเนินการตามมาตรา
๗๒ โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๒)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๘๓ (๘) แล้วแต่กรณี
โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษตาม (๑) หรือ (๒)
แต่ศาลรอการกำหนดโทษหรือให้รอการลงโทษ หรือได้รับโทษอย่างอื่นนอกจาก (๑) หรือ (๒)
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๘๗
และดำเนินการทางวินัยตามกฎ ก.ร. นี้ต่อไป
(๔)
ในกรณีที่ในคำพิพากษาถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าผู้นั้นกระทำผิดอาญา
หรือมิได้มีการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ ๘๗
และถ้าการกระทำดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามกฎ
ก.ร. นี้ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการตาม (๓) หรือ (๔)
ได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
หรือได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว
หรือมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
แต่ให้แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการไว้ด้วย
ข้อ ๘๕ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีที่ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
และปรากฏผลแห่งคดีถึงที่สุดแล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษให้ดำเนินการตามมาตรา
๗๒ โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
(๒)
ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๘๓ (๘) แล้วแต่กรณี
โดยไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
(๓) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษตาม (๑) หรือ (๒)
แต่ศาลรอการกำหนดโทษหรือให้รอการลงโทษ หรือได้รับโทษอย่างอื่นนอกจาก (๑) หรือ (๒)
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๘๗ และดำเนินการทางวินัยตามกฎ ก.ร.
นี้ต่อไป
(๔)
ในกรณีที่ในคำพิพากษาถึงที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าผู้นั้นกระทำผิดอาญา
หรือมิได้มีการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการตามข้อ ๘๗
และถ้าการกระทำดังกล่าวมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามกฎ
ก.ร. นี้ต่อไป
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตาม (๓) หรือ (๔)
มีกรณีอื่นที่ถูกสั่งพักราชการด้วยให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการโดยให้แสดงไว้ในคำสั่งด้วยว่าผู้นั้นยังไม่อาจกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการในกรณีอื่น
แต่ถ้าผู้นั้นได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือมีกรณีอื่นที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น
หรือได้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่นไปแล้ว
หรือมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ไม่ต้องสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการ
แต่ให้แสดงเหตุที่ไม่สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการไว้ด้วย
ข้อ ๘๖ ในกรณีข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีที่ถูกดำเนินการทางวินัย
หรือถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาที่ไม่เข้าลักษณะตามข้อ ๗๔
และมีกรณีอื่นที่ผู้นั้นถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
เมื่อปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีถึงที่สุดในเรื่องที่มิได้มีคำสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
หรือผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดเว้นแต่เป็นโทษจำคุกสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๗๒
(๒) ในกรณีที่ผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ให้รอการดำเนินการตามมาตรา ๗๑
ไว้ก่อนจนกว่าจะปรากฏผลการสอบสวนหรือพิจารณาหรือผลแห่งคดีถึงที่สุดในกรณีอื่นนั้นจึงดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป
(๓) ในกรณีที่สมควรให้ผู้นั้นออกจากราชการตามมาตรา ๘๓ (๖) (๗) หรือ
(๘) ให้ดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากราชการได้
(๔) ในกรณีที่ผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัยในเรื่องนั้น
ให้สั่งยุติเรื่อง
ข้อ ๘๗ ในกรณีที่จะต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ใดกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือต้องสั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนผู้ใดกลับเข้ารับราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งตามเดิม
หรือตำแหน่งอื่นในประเภทเดียวกันและระดับเดียวกัน หรือในตำแหน่งประเภทและระดับที่
ก.ร. กำหนด ทั้งนี้
ผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น
ในกรณีที่สั่งให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงและประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ข้อ ๘๘ คำสั่งพักราชการ
คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน คำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือคำสั่งให้กลับเข้ารับราชการ
ให้มีสาระสำคัญตามแบบตัวอย่างที่ ก.ร. กำหนด
หมวด ๑๐
การนับระยะเวลา
ข้อ ๘๙ การนับระยะเวลาตามกฎ ก.ร. นี้
ถ้ากำหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือนมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย
เว้นแต่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้ซึ่งต้องใช้อำนาจตาม กฎ ก.ร. นี้
จะได้เริ่มการในวันนั้น
ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้ซึ่งต้องใช้อำนาจตามกฎ ก.ร. นี้
ต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้นับวันสิ้นสุดของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแม้ว่าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
ในกรณีที่บุคคลอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคสองต้องทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดราชการ
ให้ถือว่าระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทำงานที่ถัดจากวันหยุดนั้น
หมวด ๑๑
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ ๙๐ ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นเป็นพิเศษที่ไม่อาจนำหลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้มาใช้บังคับได้
การดำเนินการในเรื่องนั้นจะสมควรดำเนินการประการใดให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๙๑ ในกรณีที่ได้มีการสั่งให้สอบสวนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดโดยถูกต้องตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ก่อนวันที่กฎ ก.ร. นี้ใช้บังคับ
และการสอบสวนนั้นยังไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการสอบสวนผู้นั้นตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือหลักเกณฑ์นั้นต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ส่วนการพิจารณาและการดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามกฎ
ก.ร. นี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร
วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๗๐ กำหนดให้หลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย
และการดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนในกรณีที่เป็นความผิดวินัยที่ปรากฏชัดแจ้ง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. มาตรา ๗๑
กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
จะมีอำนาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงในสถานโทษและอัตราโทษใดได้เพียงใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. มาตรา ๗๖
กำหนดให้หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสั่งพักราชการ
การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ระยะเวลาให้พักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อน
การให้กลับเข้าปฏิบัติราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
และการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามผลการสอบสวนหรือพิจารณาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. และมาตรา ๗๘ กำหนดให้เมื่อมีกรณีเพิ่มโทษ ลดโทษ งดโทษ หรือยกโทษ
ให้ผู้สั่งมีคำสั่งใหม่ และในคำสั่งดังกล่าวให้สั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษเดิม
พร้อมทั้งระบุวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับโทษที่ได้รับไปแล้ว
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๗ ก/หน้า ๑/๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ |
663507 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๖๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องกระทำการอันเป็นข้อปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๒) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
(๓) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบของทางราชการ และปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทางราชการ
(๔)
ต้องถือว่าเป็นหน้าที่พิเศษที่จะสนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวอันอาจเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติ
และต้องป้องกันภยันตราย ซึ่งจะบังเกิดแก่ประเทศชาติจนเต็มความสามารถ
(๕) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ
อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
(๖)
ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการ
หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ
จะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น
และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม
ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
(๗) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ
จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
(๘) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
(๙) ต้องสุภาพเรียบร้อย
รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
(๑๐) ต้องต้อนรับ และให้ความสะดวกแก่สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ติดต่อราชการอันเกี่ยวกับหน้าที่ของตนโดยไม่ชักช้า
และด้วยความสุภาพเรียบร้อย
(๑๑) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๑๒) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน
และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย
โดยไม่กระทำการใด ๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
ข้อ ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
การรายงานโดยปกปิดข้อความที่ควรต้องแจ้งถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย
(๒) ต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งคราว
(๓)
ต้องไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
(๔) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ
(๕)
ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาผลประโยชน์อันอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรม
หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
(๖) ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง กรรมการพรรคการเมือง
หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดในพรรคการเมือง
(๗) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ
หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
(๘) ต้องไม่กระทำการอย่างใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่
หรือข่มเหงกันในการปฏิบัติราชการ
(๙) ต้องไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๔
(๑๐) ต้องไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม
สมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ติดต่อราชการ
ข้อ ๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำการประการใดประการหนึ่งดังต่อไปนี้ต่อข้าราชการด้วยกัน
หรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในหรือนอกสถานที่ราชการโดยผู้ถูกกระทำมิได้ยินยอมต่อการกระทำนั้น
หรือทำให้ผู้ถูกกระทำเดือดร้อนรำคาญ
ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ตามข้อ ๓ (๙)
(๑) กระทำการด้วยการสัมผัสทางกายที่มีลักษณะส่อไปในทางเพศ เช่น
การจูบ การโอบกอด การจับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นต้น
(๒) กระทำการด้วยวาจาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ร่างกาย
พูดหยอกล้อ พูดหยาบคาย เป็นต้น
(๓) กระทำการด้วยอากัปกิริยาที่ส่อไปในทางเพศ เช่น การใช้สายตาลวนลาม
การทำสัญญาณ หรือสัญลักษณ์ใด ๆ เป็นต้น
(๔) การแสดงหรือสื่อสารด้วยวิธีการใด ๆ ที่ส่อไปในทางเพศ เช่น แสดงรูปลามกอนาจาร
ส่งจดหมาย ข้อความ หรือการสื่อสารรูปแบบอื่น เป็นต้น
(๕) การแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ส่อไปในทางเพศ
ซึ่งผู้ถูกกระทำไม่พึงประสงค์หรือเดือดร้อนรำคาญ
ข้อ ๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๒ หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ ๓ ผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัย
ข้อ ๖ การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๑)
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต
(๒) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(๓) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน
โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(๔) กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(๕) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง
หรือทำร้ายสมาชิกรัฐสภาหรือประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
(๖) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก
โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒
หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ ๓ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
ข้อ ๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยตามกฎ
ก.ร. ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ก่อนวันที่กฎ ก.ร. นี้ใช้บังคับ
ให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งลงโทษผู้นั้นตามกรณีกระทำผิดวินัยที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ดังกล่าว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๖๑ กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องรักษาวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๑/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
671989 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ร. นี้
ปี หมายความว่า ปีงบประมาณ
ครึ่งปีแรก หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
ครึ่งปีหลัง หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน
ครึ่งปีที่แล้วมา หมายความว่า
ระยะเวลาครึ่งปีแรกหรือครึ่งปีหลัง ที่ผ่านมา แล้วแต่กรณี
ค่ากลาง หมายความว่า
ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดกับเงินเดือนสูงสุดที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับได้รับตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร กำหนด หารด้วยสอง เพื่อให้ได้ตัวเลขที่จะนำไปใช้คิดฐานในการคำนวณ
ฐานในการคำนวณ หมายความว่า
ตัวเลขที่จะนำไปใช้ในการคิดคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละประเภท
แต่ละสายงาน และแต่ละระดับ โดยแบ่งออกเป็น
(๑) ฐานในการคำนวณระดับล่าง ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนต่ำสุดตามที่
ก.ร. กำหนดกับค่ากลางหารด้วยสอง
(๒) ฐานในการคำนวณระดับบน ได้แก่ ผลรวมของเงินเดือนสูงสุดตามที่ ก.ร.
กำหนดกับค่ากลางหารด้วยสอง
ในกรณีที่คำนวณตามวิธีดังกล่าวแล้ว
มีผลทำให้ฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่า
มีค่าต่ำกว่าหรือเท่ากับฐานในการคำนวณระดับบนของระดับตำแหน่งที่ต่ำกว่าซึ่งอยู่ถัดลงไป
ก.ร. อาจปรับฐานในการคำนวณระดับล่างของระดับตำแหน่งที่สูงกว่านั้นเสียใหม่ให้สูงขึ้นได้
โดยต้องนำภาพรวมของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือนทั้งระบบมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
ช่วงเงินเดือน หมายความว่า
ช่วงของเงินเดือนระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำถึงค่ากลาง หรือระหว่างค่ากลางถึงเงินเดือนขั้นสูง
แล้วแต่กรณี และช่วงเงินเดือนที่ ก.ร. ปรับให้สอดคล้องกับฐานในการคำนวณด้วย
ข้อ ๓ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา
๔๒ เป็นผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน
ข้อ ๔ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. นี้
และให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่
ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๕๙ มาประกอบการพิจารณา
โดยให้เลื่อนได้ไม่เกินวงเงินที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาได้รับการจัดสรรให้ใช้ในการเลื่อนเงินเดือน
ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด โดยให้สอดคล้องกับวงเงินที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้ส่วนราชการตามกฎ
ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้เลื่อนได้ไม่เกินเงินเดือนขั้นสูงตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
การเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยมิได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
แต่ใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญทุกคนได้รับการเลื่อนเงินเดือนในอัตราร้อยละที่เท่ากันจะกระทำมิได้
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง ให้เลื่อนได้ในอัตราไม่เกินร้อยละหกของฐานในการคำนวณ
และให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนประกาศอัตราร้อยละของฐานในการคำนวณที่ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน
โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปอย่างช้าที่สุดพร้อมกับการมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน
การคำนวณจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนถ้ามีเศษไม่ถึงสิบบาทให้ปัดเป็นสิบบาท
ข้อ ๕ การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญโดยปกติให้เลื่อนปีละสองครั้ง
ดังนี้
(๑) ครั้งที่หนึ่ง
เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีแรก โดยให้เลื่อนในวันที่ ๑
เมษายนของปีที่ได้เลื่อน
(๒) ครั้งที่สอง
เป็นการเลื่อนเงินเดือนสำหรับการปฏิบัติราชการในครึ่งปีหลัง โดยให้เลื่อนในวันที่
๑ ตุลาคมของปีถัดไป
ข้อ ๖ ให้ ก.ร.
กำหนดค่ากลาง ฐานในการคำนวณ และช่วงเงินเดือนตามกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๗ ผลการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญแต่ละคนในแต่ละครั้ง
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจัดให้มีการแจ้งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญทราบเป็นข้อมูลเฉพาะแต่ละบุคคล
การแจ้งผลการเลื่อนเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้ประกอบด้วย
อัตราร้อยละที่ได้รับการเลื่อนฐานในการคำนวณ จำนวนเงินที่ได้รับการเลื่อน
และเงินเดือนที่พึงได้รับเมื่อได้รับการเลื่อนตามผลการเลื่อนเงินเดือนนั้น
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนให้แจ้งเหตุผลที่ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นทราบด้วย
ข้อ ๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละหกสิบ
(๒)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
(๓) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๔) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน
(๕) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(๖)
ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน
หรือได้ปฏิบัติราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือนก่อนถึงแก่ความตาย
(๗) ในครึ่งปีที่แล้วมา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม
ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ
ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๘) ในครึ่งปีที่แล้วมา
สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(๙) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่มาทำงานสายเกินจำนวนยี่สิบหกครั้ง
(๑๐) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการ
โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงวันลาตาม (๗) หรือ (๘)
และวันลาดังต่อไปนี้
(ก) ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ
ประเทศซาอุดีอาระเบีย เฉพาะวันลาที่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลาตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน
(ค)
ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ
(ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่
(จ) ลาพักผ่อน
(ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
การนับจำนวนวันลาสำหรับการลาป่วยและการลากิจส่วนตัว
ให้นับเฉพาะวันทำการ
ข้อ ๙ ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
ให้นำข้อมูลการลา พฤติกรรมการมาทำงาน การรักษาวินัย
การปฏิบัติตนเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ
และข้อควรพิจารณาอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ ๑๐ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งโอน
เลื่อนตำแหน่ง ย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ ไปช่วยราชการในต่างส่วนราชการ ได้รับมอบหมายหรือได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่หรืองานพิเศษอื่นใด
หรือไปช่วยงานในหน่วยงานอื่นของรัฐ
ให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการและปฏิบัติงานในครึ่งปีที่แล้วมาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทุกตำแหน่งและทุกแห่งมาประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนด้วย
ข้อ ๑๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศหรือถูกสั่งให้ไปทำการใดซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งให้มีการคำนวณเพื่อหาอัตราเงินเดือนที่ข้าราชการผู้นั้นจะได้รับเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่
ก.ร. กำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเอาเหตุที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญามาเป็นเหตุในการไม่พิจารณาเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นไม่ได้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์
และถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเป็นการถูกลงโทษจากการกระทำความผิดเดียวกัน
ถ้าถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุที่ถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษ
จะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะเหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันนั้นไม่ได้
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือโทษทางอาญาที่ถึงที่สุดแล้วมีผลทำให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นเสียใหม่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้
ข้อ ๑๕ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นจะต้องพ้นจากราชการไปเพราะเหตุเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญในวันที่
๓๐ กันยายนของปีที่จะพ้นจากราชการ
ข้อ ๑๖ ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือนแต่ผู้นั้นถึงแก่ความตายก่อนหรือในวันที่
๑ เมษายน หรือ ๑ ตุลาคม ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญโดยให้มีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ข้อ ๑๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับเงินเดือนถึงระดับเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่แล้ว
หากผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอื่นและเงินเดือนที่ได้รับอยู่นั้นต่ำกว่าเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งใหม่นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนสั่งเลื่อนเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษได้
โดยให้นำผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งหลังสุดมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนดังกล่าว
โดยให้เลื่อนเงินเดือนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้น
ข้อ ๑๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนเงินเดือนตามกฎ
ก.ร. นี้ แต่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนพิจารณาแล้วเห็นว่า
มีเหตุผลพิเศษที่สมควรเลื่อนเงินเดือนให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนนำเสนอ ก.ร. พร้อมด้วยเหตุผลเพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย
ถ้า ก.ร. เห็นชอบด้วยจึงจะสั่งเลื่อนเงินเดือนได้
ข้อ ๑๙ ในวันที่กฎ ก.ร.
นี้ใช้บังคับ ถ้าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนเงินเดือน
แต่ต้องรอการเลื่อนเงินเดือนไว้เพราะเหตุที่ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือถูกฟ้องคดีอาญา
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่กฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับ
ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนมีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการผู้นั้นที่รอไว้ทั้งหมด
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่เงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวของข้าราชการรัฐสภาสามัญประเภทใด
ระดับใดยังมีผลใช้บังคับอยู่ คำว่า เงินเดือนขั้นต่ำ ตามกฎ ก.ร. นี้ ให้หมายความถึงเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ประพฤติตนอยู่ในประมวลจริยธรรมและระเบียบวินัยและปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของทางราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนตามควรแก่กรณีตามที่กำหนดในกฎ
ก.ร. สมควรกำหนดให้การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญเป็นไปตามหลักการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติราชการ
และการประพฤติตน จึงจำเป็นต้องออกกฎ
ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๔๑/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ |
663509 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ
การกันเป็นพยาน
การลดโทษ
และการให้ความคุ้มครองพยาน
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๗๓ วรรคสี่
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในกฎ ก.ร. นี้
วินัย หมายความว่า
วินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๖ (๑) แห่งกฎ ก.ร. ว่าด้วยวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ.
๒๕๕๕
พยาน หมายความว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามมาตรา ๗๓
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภาหรือระเบียบของทางราชการ
อันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ซึ่งได้รับความคุ้มครองพยาน และอาจได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ ตามกฎ ก.ร.
นี้
ข้อมูลหรือถ้อยคำตามวรรคหนึ่งจะถือว่าเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการต่อเมื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดำเนินการทางวินัยได้
หรือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้กระทำความผิดได้
และมีผลทำให้สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินเป็นอย่างมากหรือมีผลทำให้สามารถรักษาไว้ซึ่งระบบบริหารราชการที่ดีโดยรวมได้
ในกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิดวินัยเสียเองหรืออาจจะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดวินัยด้วย
ไม่ให้ได้รับบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษตามข้อนี้
ข้อ ๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ที่อาจจะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดวินัยกับข้าราชการอื่น
ถ้าได้ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชา
หรือให้ถ้อยคำเกี่ยวกับการกระทำผิดวินัยที่ได้กระทำมาต่อบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภาหรือระเบียบของทางราชการ
และข้อมูลหรือถ้อยคำนั้นเป็นปัจจัยสำคัญจนเป็นเหตุให้มีการสอบสวนทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิด
อาจได้รับการกันเป็นพยาน การลดโทษ หรือการให้ความคุ้มครองพยานตามกฎ ก.ร. นี้
ข้อ ๕ การให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๓ หรือข้อ
๔ ที่จะได้รับประโยชน์ตามกฎ ก.ร. นี้ จะต้องเป็นความเชื่อโดยสุจริตว่ามีการกระทำผิดวินัยหรือเป็นไปตามที่ตนเองเชื่อว่าเป็นความจริง
และไม่มีการกลับถ้อยคำนั้นในภายหลัง
การให้ข้อมูลหรือถ้อยคำตามวรรคหนึ่ง
ไม่ถือเป็นการเปิดเผยความลับของทางราชการ และไม่เป็นการกระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน
ข้อ ๖ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นที่ได้รับข้อมูลมีหน้าที่รายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการต่อไป
หมวด ๒
การคุ้มครองพยาน
ข้อ ๗ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองพยาน
ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่เปิดเผยชื่อ หรือข้อมูลใด ๆ
ที่จะทำให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำ
(๒) ไม่ใช้อำนาจไม่ว่าในทางใดหรือกระทำการอื่นใดอันเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่เป็นธรรมซึ่งอาจมีผลทำให้กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของผู้นั้นในทางเสียหาย
(๓)
ให้ความคุ้มครองมิให้ผู้นั้นถูกกลั่นแกล้งหรือถูกข่มขู่เพราะเหตุที่มีการให้ข้อมูลหรือถ้อยคำ
(๔) ประสานงานกับพนักงานอัยการเพื่อเป็นทนายแก้ต่างคดีให้ถ้าผู้นั้นถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาล
ในกรณีที่พยานผู้ใดร้องขอเป็นหนังสือ
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งจะพิจารณาย้ายผู้นั้นหรือพิจารณาดำเนินการอื่นใดที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อให้ผู้นั้นได้รับความคุ้มครอง
โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
และไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือกระบวนการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ก็ได้
ข้อ ๘ พยานผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นยังไม่ได้ให้การคุ้มครองตามข้อ
๗ หรือการให้การคุ้มครองดังกล่าวยังไม่เพียงพอ
อาจยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเพื่อพิจารณาดำเนินการ
ข้อ ๙ เมื่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งได้รับคำร้องตามข้อ
๘ แล้ว หากมีมูลน่าเชื่อว่าเป็นไปตามที่พยานกล่าวอ้าง
ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งดำเนินการให้ความคุ้มครองพยานในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้
ข้อ ๑๐ การให้ความคุ้มครองพยานตามหมวดนี้ให้พิจารณาดำเนินการในโอกาสแรกที่สามารถกระทำได้
และให้เริ่มตั้งแต่มีการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ แล้วแต่กรณี
จนกว่าจะมีการสั่งยุติเรื่องหรือการดำเนินการทางวินัยตามกฎหมายแก่ผู้เป็นต้นเหตุเสร็จสิ้น
หมวด ๓
การกันเป็นพยาน
และการลดโทษ
ข้อ ๑๑ ก่อนมีการแจ้งเรื่องกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัย
ถ้าผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๔
ไม่ใช่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดวินัยในเรื่องนั้น
และเป็นกรณีที่ไม่อาจแสวงหาข้อมูลหรือพยานหลักฐานอื่นใดเพื่อดำเนินการทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำความผิดวินัยในเรื่องนั้นได้นอกจากจะได้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานจากผู้นั้น
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจกันผู้นั้นเป็นพยานได้
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ที่ถูกกันเป็นพยานตามข้อ ๑๑
ไม่มาให้ถ้อยคำต่อบุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภาหรือระเบียบของทางราชการ
หรือมาแต่ไม่ให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการ
หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือกลับคำให้การ
ให้การกันผู้นั้นไว้เป็นพยานเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ ๑๓ ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งแจ้งเรื่องการกันข้าราชการรัฐสภาสามัญตามข้อ
๑๑ ไว้เป็นพยาน หรือการสิ้นสุดการกันเป็นพยานตามข้อ ๑๒
ให้บุคคลหรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภาหรือระเบียบของทางราชการและข้าราชการผู้นั้นทราบ
ข้อ ๑๔ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ
๔
ผู้ใดได้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำที่สำคัญจนเป็นเหตุให้ลงโทษทางวินัยแก่ผู้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำผิดได้
และผู้นั้นต้องถูกลงโทษทางวินัยเพราะเหตุที่ได้ร่วมกระทำผิดวินัยนั้นด้วย
ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมิได้เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำความผิดวินัยนั้น
หรือได้ร่วมกระทำความผิดวินัยไปเพราะตกอยู่ในอำนาจบังคับหรือกระทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจพิจารณาลดโทษให้ผู้นั้นต่ำกว่าโทษที่ควรได้รับจริงได้
แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่าการลดโทษที่อาจกระทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
หมวด ๔
การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ
ข้อ ๑๕ ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ให้ข้อมูลหรือถ้อยคำตามข้อ
๓ ได้ดังนี้
(๑) ให้ถือว่าการให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำนั้นเป็นข้อควรพิจารณาอื่นตามกฎ
ก.ร.
ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนที่ผู้บังคับบัญชาต้องนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
(๒) เครื่องหมายที่เห็นสมควรเพื่อเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ
(๓) รางวัล
(๔) คำชมเชยเป็นหนังสือ
ข้อ ๑๖ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งพิจารณาให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษตามข้อ
๑๕ แก่ผู้ให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคำตามข้อ ๓
ตามระดับความมากน้อยของประโยชน์และผลดียิ่งต่อทางราชการที่ได้รับจากการให้ข้อมูลหรือถ้อยคำนั้น
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๗๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติว่า
หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ
และการให้ความคุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ในการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ
และการให้ความคุ้มครองพยาน
สำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ถ้อยคำในฐานะพยานอันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อทางราชการ
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๐ ก/หน้า ๕/๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ |
678884 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการ
กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) มาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง (๕) และมาตรา ๘๓
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎ ก.ร.
ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๑๘ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ข้อ ๓ การสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการนั้น
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาพิจารณาจากผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นเป็นหลัก
และให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ร.
นี้
ข้อ ๔ เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามมาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
แล้วเห็นว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีผลการปฏิบัติราชการในระดับที่ต้องปรับปรุง
ก็ให้แจ้งผู้นั้นทราบเกี่ยวกับผลการประเมิน
พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้นั้นเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองโดยให้ลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน
ทั้งนี้
ในการพัฒนาปรับปรุงตนเองให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง
โดยกำหนดเป้าหมายในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการให้ชัดเจนเพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติราชการครั้งต่อไป
การประเมินผลการปฏิบัติราชการและการพัฒนาปรับปรุงตนเองของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามวรรคหนึ่งให้มีระยะเวลาไม่เกินสามรอบการประเมิน
ในกรณีที่ผู้ถูกประเมินเห็นว่าการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้บังคับบัญชามีความไม่เป็นธรรมอาจทำคำคัดค้านยื่นต่อผู้บังคับบัญชารวมไว้กับผลการประเมินเพื่อเป็นหลักฐานได้
ข้อ ๕ เมื่อผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญตามคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองตามข้อ
๔ แล้ว
ปรากฏว่าผู้นั้นไม่ผ่านการประเมินในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการตามคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเอง
ให้รายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เมื่อได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ อาจดำเนินการดังนี้
(๑)
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้รับการประเมินประสงค์จะออกจากราชการ
ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการ หรือ
(๒)
สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นเข้ารับการพัฒนาปรับปรุงตนเองอีกครั้งหนึ่งโดยทำคำมั่นในการพัฒนาปรับปรุงตนเองเป็นครั้งที่สอง
หรือ
(๓) สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นออกจากราชการ
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีคำสั่งตาม (๑)
หรือ (๓) แล้วแต่กรณี ให้รายงาน ก.ร. ในกรณีที่ ก.ร.
เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมและมีมติเป็นประการใดให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ ก.ร. มีมติ
ข้อ ๖ เมื่อ ก.ร.
มีมติเป็นประการใดแล้ว และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีคำสั่งหรือปฏิบัติตามที่
ก.ร. มีมติแล้ว
ให้แจ้งคำสั่งหรือการปฏิบัติดังกล่าวให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทราบ
ข้อ ๗ ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามกฎ ก.ร. นี้
มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร. ภายในสามสิบวัน นับแต่วันทราบหรือวันที่ถือว่าทราบคำสั่งให้ออกจากราชการตามข้อ
๕
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้ กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๘๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒
มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
และการสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ ธันวาคม
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๘ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๒/๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
667559 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2555 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการพัฒนาข้าราชการรัฐสภาสามัญ
ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๓๘
วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๔๐
และข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา
๔๗ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเวลาหกเดือนนับแต่วันได้รับการบรรจุและแต่งตั้งหรือนับแต่วันที่โอนมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
อาจขยายเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้ไม่เกินสามเดือน
ในระหว่างการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้มีการพัฒนาข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
โดยให้ถือว่าระยะเวลาในการพัฒนาดังกล่าวเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ในกรณีลาคลอดบุตร ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน
ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือเข้ารับการเตรียมพล
ไม่ให้นับเวลาดังกล่าวเป็นเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดไว้ในข้อนี้
ข้อ ๓ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการในเรื่องการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและพัฒนาข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎ
ก.ร. นี้ ให้เป็นไปตามหลักการที่ว่าการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการที่มีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น
รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
ข้อ ๔ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๒ ปฏิบัติ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยภารกิจ งานหรือกิจกรรมของงาน และเป้าหมายในการปฏิบัติงาน
ตามแบบที่เลขานุการ ก.ร. กำหนด รวมทั้งต้องชี้แจงให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการประพฤติตน
วิธีปฏิบัติงาน รายการประเมิน วิธีการประเมิน
และเกณฑ์การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นจากการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วย
ข้อ ๕ ให้ผู้บังคับบัญชาตามข้อ
๔
มอบหมายให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่มีความรู้ความเข้าใจในระเบียบแบบแผนของทางราชการและการเป็นข้าราชการที่ดี
เป็นผู้ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมีหน้าที่สอนงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ
ติดตามผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ และให้จัดทำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการทุกสามเดือน
ตามแบบที่เลขานุการ ก.ร. กำหนด
เพื่อประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันและสายงานเดียวกัน
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันแต่ต่างสายงาน
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
แต่ถ้าเป็นตำแหน่งประเภทเดียวกันแม้จะต่างสายงานแต่จัดอยู่ในกลุ่มสายงานที่เกี่ยวข้องตามที่
ก.ร. กำหนด จะให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิมก็ได้
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าย้ายไปดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งคนละประเภทกับตำแหน่งเดิม
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยให้เริ่มนับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนับแต่วันที่ดำรงตำแหน่งใหม่
ข้อ ๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าโอนไปดำรงตำแหน่งใหม่ในต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ให้นำความในข้อ ๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่เป็นการโอนโดยผลของกฎหมายให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้อ ๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และได้ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ถ้าได้รับการบรรจุกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๖
ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปโดยให้นับเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อจากที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งเดิม
ข้อ ๙ การพัฒนาข้าราชการรัฐสภาสามัญที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาดำเนินการในกระบวนการ ดังต่อไปนี้
(๑) การปฐมนิเทศเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง
อำนาจหน้าที่ ผู้บริหาร และวัฒนธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ที่อยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(๒)
การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎ
และระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(๓)
การอบรมสัมมนาร่วมกันเพื่อปลูกฝังการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นข้าราชการที่ดี
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาประเมินผลการพัฒนาตามวรรคหนึ่งเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อใช้ประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้อ ๑๐ ให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยสองครั้ง
โดยครั้งแรกให้ประเมินเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาสามเดือน และครั้งที่สองให้ประเมินเมื่อทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมาแล้วเป็นเวลาหกเดือน
ในกรณีที่มีการขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งด้วย
ข้อ ๑๑ ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ถ้าผู้บังคับบัญชาหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๕
ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการผู้ใดน่าจะมีผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
อาจขอให้คณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการดำเนินการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดเวลาประเมินที่กำหนดไว้ตามข้อ
๒
แล้วรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ พิจารณาสั่งการตามข้อ ๑๕ ก็ได้
ข้อ ๑๒ การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้กระทำโดยผู้บังคับบัญชาตามข้อ ๔ และคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ตามลำดับ
แล้วให้รายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ เพื่อพิจารณาสั่งการตามข้อ ๑๕ ต่อไป
ข้อ ๑๓ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา
๔๒ แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ประกอบด้วย
ประธานกรรมการ และกรรมการอีกจำนวนสองคน โดยแต่งตั้งจากข้าราชการรัฐสภาสามัญที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้รับมอบหมายตามข้อ
๔ และให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญจากหน่วยงานการเจ้าหน้าที่เป็นเลขานุการ
ข้อ ๑๔ การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยให้นำบันทึกผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๕ และผลการพัฒนาข้าราชการตามข้อ ๙ มาประกอบการประเมินด้วย
การประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการในส่วนของผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อยต้องกำหนดให้ประกอบด้วย
ความสามารถในการเรียนรู้งาน ความสามารถในการปรับใช้ความรู้กับงานในหน้าที่
และความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมาย
และในส่วนของพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
อย่างน้อยต้องกำหนดให้ประกอบด้วย ความประพฤติ ความมีคุณธรรม จริยธรรม
และการรักษาวินัย ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามแบบที่เลขานุการ ก.ร. กำหนด
คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
และพฤติกรรมของผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้มีสัดส่วนเท่ากัน
และผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต้องได้คะแนนในแต่ละส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ
จึงจะถือว่าผ่านการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามมาตรฐานที่กำหนด
ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับรายงานผลการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามข้อ
๑๑ หรือข้อ ๑๒ แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
ดำเนินการดังนี้
(๑)
ในกรณีที่ประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนครบกำหนดเวลาประเมินและปรากฏว่าผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
แต่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เห็นควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป
ให้สั่งให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไป ในการนี้ ให้แสดงเหตุผลหรือความเห็นไว้ด้วย
แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎ
ก.ร นี้
(๒) ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ให้มีคำสั่งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้นรับราชการต่อไป
แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบและรายงานให้ ก.ร ทราบ
(๓) ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
แต่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้สั่งขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการออกไปได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ วรรคสอง
ในการนี้ ให้แสดงเหตุผลหรือความเห็นไว้ด้วย แล้วแจ้งให้ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎ
ก.ร. นี้
(๔) ในกรณีที่ผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
และผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒
เห็นว่าไม่ควรให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปหรือไม่ควรขยายเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้มีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับรายงาน
แล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบและรายงานให้ ก.ร ทราบ
ในกรณีที่ครบระยะเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตาม (๑) หรือ (๓) แล้ว
ถ้าผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีคำสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
โดยให้นำความใน (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้ ให้เลขานุการ ก.ร. กำหนดแบบเกี่ยวกับการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้ และคำสั่งให้ออกจากราชการกรณีที่ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการมีผลการประเมินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด
เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาถือปฏิบัติ
ข้อ ๑๗ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.ร. ว่าด้วยการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ในวันที่กฎ ก.ร. นี้ใช้บังคับ
ให้คงดำเนินการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการต่อไปและประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎ
ก.ร. ดังกล่าว
ให้ไว้
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
สมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
กำหนดให้ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๓๘ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา
๔๐
และข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งโอนมาบรรจุเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามมาตรา
๔๗ ในระหว่างที่ยังทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้ได้รับการพัฒนาเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี
และมีผลการประเมินการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ พฤษภาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๒ พฤษภาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๒๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
652602 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยโรค
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๓๗ ข. (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร. ไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ โรคตามมาตรา ๓๗
ข. (๓)
(๑) วัณโรคในระยะแพร่กระจายเชื้อ
(๒) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๓) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
(๔) โรคพิษสุราเรื้อรัง
(๕)
โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามที่
ก.ร. กำหนด
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
พลเอก
ธีรเดช มีเพียร
รองประธานรัฐสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๗ ข. (๓)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
และไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงต้องออก กฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘ สิงหาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๖๔ ก/หน้า ๙/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
649852 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๓๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกกฎ ก.ร.
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด
สายงานใด ระดับใด ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งประเภท สายงาน และระดับนั้น ในขั้นต่ำของระดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งประเภท
สายงาน และระดับ ที่ได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่ง ก.ร.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
และ ก.ร. กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ
และอัตรานั้นไว้แล้ว ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งประเภทสายงาน ระดับ
และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
(๒)
ผู้นั้นมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง และ ก.ร.
กำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ
และอัตราตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ร. กำหนด
(๓)
ผู้นั้นได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้น ซึ่ง ก.ร.
รับรองว่าปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้ง
และกำหนดเงินเดือนที่ควรได้รับในตำแหน่งประเภท สายงาน ระดับ และอัตรานั้นไว้แล้ว ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งอาจปรับให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่งประเภท
สายงาน ระดับ และอัตราที่ ก.ร. กำหนดตาม (๑) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
หรือเทียบเท่าเพิ่มขึ้น หรือสูงขึ้นจากประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หรือเทียบเท่าจะต้องดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ข) ผู้ได้รับปริญญาโทเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นจากปริญญาตรีจะต้องดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิปริญญาตรีมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(ค)
ผู้ได้รับปริญญาเอกเพิ่มขึ้นหรือสูงขึ้นจากปริญญาโทจะต้องดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งโดยใช้วุฒิปริญญาโทมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(ง) ผู้ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้นและเป็นคุณวุฒิที่ ก.ร.
กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ
ปรับให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นไม่ก่อนวันที่ได้รับคุณวุฒิเพิ่มขึ้น
(๔) ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภท ระดับ สายงานที่ ก.ร.
กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราเงินเดือนที่จะได้รับหลังผ่านการทดลองปฏิบัติราชการไว้แล้ว
ให้ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราที่ ก.ร. กำหนด
(๕) ภายใต้บังคับข้อ ๔
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทเดิมหรือต่างประเภทในระดับใดให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิม
เว้นแต่ผู้นั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับใดแต่เงินเดือนเดิมต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับนั้น
ให้ได้รับเงินเดือนในขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง
(๖)
ผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ
ชำนาญการพิเศษเชี่ยวชาญ หรือทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนดตามมาตรา ๔๐
ให้ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าค่ากึ่งกลางของเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของระดับที่ได้รับแต่งตั้งในอัตราที่
ก.ร. กำหนด
ข้อ ๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา
๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ หรือมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ.
๒๕๕๔ ให้ได้รับเงินเดือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ
ข้อ ๔ ในกรณีที่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับ
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ถ้าเงินเดือนที่ได้รับต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่ได้รับแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมและไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราว
ข้อ ๕ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ
ก.ร. นี้ ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
พลเอก
ธีรเดช มีเพียร
ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๒๖
กำหนดตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาสามัญไว้ ๔ ประเภท ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ
ตำแหน่งประเภทวิชาการ และตำแหน่งประเภททั่วไป และมาตรา ๒๗ กำหนดระดับตำแหน่งให้สอดคล้องกับประเภทตำแหน่งทั้ง
๔ ประเภทไว้ ประกอบกับมาตรา ๓๑
กำหนดให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือนตามตำแหน่งในแต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ในบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว
โดยผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด
ระดับใดจะได้รับเงินเดือนเท่าใดตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. ดังนั้น
เพื่อให้การรับเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญสอดคล้องกับการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา
๒๖ และมาตรา ๒๗ และเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินเดือน
จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ มิถุนายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑๘/๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
649854 | กฎ ก.ร. ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2554 | กฎ ก
กฎ ก.ร.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๓๑
วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร.
จึงออกกฎ ก.ร. ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎ ก.ร.
นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภท
สายงาน และระดับตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. นี้ และปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
(๒) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด
หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่
เว้นแต่ในกรณีที่ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการหรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะเป็นงานวิชาชีพหรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป
(๓)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นไม่เต็มเดือนในเดือนใด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับเดือนนั้นตามส่วนจำนวนวันที่ได้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าว
(๔)
ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งนั้นเกินหนึ่งตำแหน่ง
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งสำหรับตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว
(๕) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทเดียวกันที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้ปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ตนไปปฏิบัติหน้าที่
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามอัตราเดิมของตนต่อไป
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน
หรือรักษาการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งต่างประเภทกัน
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไปนับแต่วันที่เข้าปฏิบัติหน้าที่หลักในตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่
หรือรักษาราชการแทน หรือรักษาการในตำแหน่ง แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหกเดือน
(๖) ข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศตามที่ ก.ร. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราของตำแหน่งเดิมต่อไป
ข้อ ๓ ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญในอัตรา
ดังต่อไปนี้
(๑) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๑๐,๐๐๐ บาท
(๒) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท
(ก) รองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้แก่
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและรองเลขาธิการวุฒิสภา
(ข) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.ร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๓) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ดังต่อไปนี้
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท
(ก) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้แก่ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและเลขาธิการวุฒิสภา
(ข) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงตามที่ ก.ร. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้
(๔) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๕,๖๐๐ บาท
(๕) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๑๐,๐๐๐ บาท
(๖) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์
ทักษะ และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท
(๗) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ
สายงานวิชาการคอมพิวเตอร์ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท
(๘) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท
(๙) ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิตำแหน่งใด
จะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท หรืออัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท ให้เป็นไปตามที่ ก.ร. กำหนด
(๑๐) ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา
๙,๙๐๐ บาท
ข้อ ๔ การกำหนดประเภทตำแหน่ง
สายงาน ระดับ
และจำนวนตำแหน่งที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในวันก่อนวันที่กฎ
ก.ร. นี้ใช้บังคับ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ร. ก่อน
ข้อ ๕ กรณีอื่นนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎ ก.ร. นี้
ให้เสนอ ก.ร. พิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
พลเอก
ธีรเดช มีเพียร
ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา
ประธาน
ก.ร.
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ร. ฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๓๑ วรรคสามและวรรคสี่
บัญญัติว่า
ข้าราชการรัฐสภาสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการรัฐสภาสามัญท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.ร. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด
ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งในอัตราใด
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ร. จึงจำเป็นต้องออก
กฎ ก.ร. นี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๙ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๙ มิถุนายน
๒๕๕๔
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๒๑/๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
711475 | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/04/2555 (ครั้งที่ 5) (ฉบับที่ 6) | ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ[๑]
เพื่อให้การบริหารค่าตอบแทนตามลักษณะงานและผลผลิตของงาน
และสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับขนาดของงาน ขีดสมรรถนะ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการ
คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาจึงเห็นควรกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑๔ และข้อ ๑๕ วรรคสาม ของระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ คณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) จึงกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
ข้อ
๒ ในประกาศนี้
พนักงานราชการ หมายความว่า พนักงานราชการตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘
ค่าตอบแทน หมายความว่า เงินเดือนซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานราชการในการปฏิบัติงานให้แก่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ตามอัตราที่กำหนดในประกาศนี้
ค่าตอบแทนพิเศษ หมายถึง เงินที่จ่ายเพิ่มให้กับพนักงานราชการ
เมื่อมีผลการประเมินการปฏิบัติงาน คุณภาพงาน และปริมาณงาน ในระดับดีเด่น
ข้อ
๓ หลักการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานราชการ
(๑)
หลักคุณภาพ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้ระบบสัญญาจ้าง
(๒)
หลักความยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในโอกาส ไม่เหลื่อมล้ำ และไม่เลือกปฏิบัติ
(๓)
หลักการจูงใจ การจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้เพียงพอ โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง
ค่าตอบแทนในภาคเอกชน อัตราเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ และฐานะการคลังของประเทศ
(๔)
หลักความสามารถ อัตราค่าตอบแทนจะจ่ายตามความรู้ความสามารถ ขีดสมรรถนะและผลงานตามการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ข้อ
๔ อัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๕ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนตามบัญชีกลุ่มงาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
กลุ่มงานบริการ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ. ๓) หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนต้น
(ม. ๓) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. ๖) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๔ ของบัญชี
(ค)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๖
ของบัญชี
(ง)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่
๘ ของบัญชี
(๒)
กลุ่มงานเทคนิค ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบขั้น
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือในกรณีที่เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะของบุคคลซึ่งมิได้ผ่านการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาใดเป็นการเฉพาะ
จะต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในงานที่จะปฏิบัติไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำของบัญชี
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่ ๓
ของบัญชี
(ค)
ผู้ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนขั้นที่
๕ ของบัญชี
(๓)[๒]
กลุ่มงานบริหารทั่วไป ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๔,๐๒๐ บาท
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๘,๓๖๐ บาท
(ค)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๒,๘๐๐ บาท
(๔)[๓]
กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๔ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๕,๑๙๐ บาท
(ข)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรีที่มีหลักสูตรกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า ๕ ปี ต่อจากวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายเฉพาะปริญญาที่
ก.ร. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนตามหลักสูตร ๕ ปี ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๖,๒๓๐ บาท
(ค)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาโททั่วไปหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๑๙,๘๙๐ บาท
(ง)
ผู้ได้รับวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแรกบรรจุ ๒๔,๗๐๐ บาท
(๕)
กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ใช้บัญชีอัตราค่าตอบแทนเป็นแบบช่วง
(ก)
ผู้ได้รับวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงาน ซึ่งลักษณะงานดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ผู้มีประสบการณ์
ไม่ต่ำกว่า ๖ ปีสำหรับวุฒิปริญญาตรี ๔ ปีสำหรับวุฒิปริญญาโท ๒ ปีสำหรับวุฒิปริญญาเอก
ตามลำดับ หรือ
(ข)
ผู้มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการ
ทั้งนี้
ให้ได้รับค่าตอบแทนอัตราต่ำสุดของบัญชี
(๖)
กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิการศึกษา
ประสบการณ์ และผลงานความเชี่ยวชาญพิเศษตามความต้องการของงานหรือโครงการตามอัตราบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่จะให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนแตกต่างไปจากที่กำหนดในประกาศนี้ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเสนอ
ก.ร. พิจารณา
ข้อ
๖ ผู้ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานราชการซึ่งมีประสบการณ์ตรงตามลักษณะงานในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง
ให้ได้รับการปรับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นดังนี้
(๑)
กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิคที่มีวุฒิการศึกษา ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น
๑ ขั้น ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕
ขั้น
(๒)
กลุ่มงานบริหารทั่วไปและกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ
๕ ต่อทุกประสบการณ์ ๒ ปี แต่ให้ได้รับอัตราค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน ๕ ช่วง
ข้อ
๗ หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปี
ให้พนักงานราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน
และต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในรอบปีที่แล้วมาไม่น้อยกว่า ๘ เดือน (๑ ตุลาคม ถึง
๓๐ กันยายน) เพื่อจูงใจให้พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดี
ในวันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปี โดยให้พิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนพนักงานราชการ ดังนี้
(๑)
กลุ่มงานบริการและกลุ่มงานเทคนิค
(ก)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนประจำปีหนึ่งขั้น
ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี
(ข)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ - ๕ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น
ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น
ทั้งนี้
ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕
ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน
(๒)
กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ และกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
(ก)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทน จำนวนร้อยละ ๓ - ๕ จากฐานค่าตอบแทนที่ได้รับ
ต้องเป็นผู้มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดี
(ข)
พนักงานราชการ ที่จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษจำนวนร้อยละ ๓ ของฐานค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีนั้น
ต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น
ทั้งนี้
ให้ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่น มีสัดส่วนได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕
ของจำนวนพนักงานราชการแต่ละกลุ่มงานที่มีอยู่ ณ วันที่ ๑ กันยายน
ข้อ
๘ ในกรณีที่มีการคำนวณเพื่อปรับอัตราค่าตอบแทน
เลื่อนขั้นค่าตอบแทน หรือกำหนดค่าตอบแทนพิเศษ หากคำนวณแล้วมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท
ข้อ
๙ ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จัดทำคำสั่งเลื่อนขั้นค่าตอบแทนและการได้รับค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานราชการตามการประเมินผลการปฏิบัติงานในข้อ
๗
ข้อ
๑๐ พนักงานราชการในกลุ่มงานใด ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อต่อสัญญาจ้างได้
ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในกลุ่มงานนั้นตามผลการประเมินการปฏิบัติงานตามหลักการในข้อ
๗ ได้
ข้อ
๑๑ ให้พนักงานราชการกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะและกลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนวิชาชีพ ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ และค่าตอบแทนอื่น
ๆ ที่ปฏิบัติงานหรือมีลักษณะงานเช่นเดียวกับข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ได้รับค่าตอบแทนดังกล่าว
ทั้งนี้ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะต้องแจ้งให้
ก.ร. ทราบภายใน ๓๐ วัน ว่า พนักงานราชการตำแหน่งใดบ้างที่ได้รับค่าตอบแทน หาก ก.ร.
มิได้แจ้งการแก้ไข ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ต่อไป
ข้อ
๑๒ ให้พนักงานราชการได้รับสิทธิประโยชน์ตามระเบียบคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามที่ส่วนราชการสังกัดรัฐสภากำหนด เว้นแต่การลาไปศึกษา
ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัย การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ และการลาติดตามคู่สมรส
ข้อ
๑๓ ให้พนักงานราชการได้รับค่าตอบแทนการออกจากราชการโดยไม่มีความผิด
ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
โภคิน พลกุล
ประธาน ก.ร.
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริการ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๒.[๕]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเทคนิค (แก้ไขเพิ่มเติม)
๓.[๖]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานบริหารทั่วไป (แก้ไขเพิ่มเติม)
๔.[๗]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๕.[๘]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ (แก้ไขเพิ่มเติม)
๖.[๙]
บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ (แก้ไขเพิ่มเติม)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๓)[๑๐]
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๔)[๑๑]
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑๒]
ประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา
เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๓]
ข้อ
๕ ให้พนักงานราชการซึ่งได้รับค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้ว
ต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีจำนวนค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ให้พนักงานราชการนั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละแปดพันหกร้อยสิบบาท
ข้อ
๖ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด
และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละหนึ่งหมื่นห้าพันบาท
ข้อ
๗ ในกรณีที่การจ้างพนักงานราชการในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานตามที่คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาประกาศกำหนด
และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับกลุ่มงานนั้นต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ให้พนักงานราชการที่ได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งดังกล่าวที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท แต่เมื่อรวมกับค่าตอบแทนแล้วต้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นสองพันสองร้อยแปดสิบห้าบาท
กรณีที่พนักงานราชการได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งที่มีอัตราค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละเก้าพันบาท
ให้พนักงานราชการผู้นั้นได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละเก้าพันบาท
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๒/๑๐ กันยายน ๒๕๔๘
[๒] ข้อ ๕ (๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๕ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานบริการ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๕] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานเทคนิค แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๖] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานบริหารทั่วไป แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๗] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๘] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๙] บัญชีอัตราค่าตอบแทนพนักงานราชการ
กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เรื่อง ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ของพนักงานราชการ
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๓/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๓๐/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑๓/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๙/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๖๘/๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.