sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
389688 | กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
สำนักงานเขต
หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๒ การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
ให้กำหนดตามแนวทางดังต่อไปนี้
(๑)
สอดคล้องกับภารกิจหลักและรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ
(๒)
มีความเป็นเอกภาพในทางการบริหารจัดการ มีความยืดหยุ่น และพร้อมต่อการปรับเปลี่ยน
(๓)
มุ่งสัมฤทธิ์ผลตามภารกิจ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการบริหาร
เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารจัดการ
(๔)
คำนึงถึงระดับ ประเภท ปริมาณและคุณภาพของสถานศึกษา ผู้รับบริการและความเหมาะสมด้านอื่น
ข้อ ๓ ให้สำนักงานเขตมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
กลุ่มอำนวยการ
(๒)
กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๓)
กลุ่มนโยบายและแผน
(๔)
กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๕)
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
นอกจากส่วนราชการตาม
(๑) ถึง (๕) แล้ว ในระยะเริ่มแรก
สำนักงานเขตอาจจัดตั้งกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
โดยให้ยุบเลิกภายในสามปีนับตั้งแต่มีการจัดตั้งส่วนราชการดังกล่าวด้วยก็ได้
ข้อ ๔
เพื่อให้การแบ่งส่วนราชการและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตเหมาะสมกับภารกิจ
ปริมาณ และคุณภาพการจัดการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตอาจมีส่วนราชการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษานั้นมากกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ
๓ ก็ได้ ทั้งนี้
โดยความเห็นชอบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการจัดให้มีส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอาจเสนอให้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตเป็นศูนย์
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มก็ได้
ข้อ ๕ กลุ่ม ศูนย์
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มอาจแบ่งส่วนราชการเป็นกลุ่มงาน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงาน
การแบ่งส่วนราชการเป็นกลุ่มงาน
หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงานให้ทำเป็นประกาศสำนักงานเขต
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๖ ในการระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในประกาศกระทรวงตามมาตรา
๓๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตโดยให้สำนักงานเขตมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา
และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น
(๒)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา
และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓)
ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖)
ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม
สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗)
จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘)
ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙)
ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐)
ประสาน ส่งเสริม การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
(๑๑)
ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๒)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ
หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้มอบหมาย
สำนักงานเขตอาจมีอำนาจหน้าที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ ๗
การระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการภายในสำนักงานเขตให้พิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยให้อยู่ในแนวทางที่กำหนดในข้อ
๒
ข้อ ๘
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๔ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
บัญญัติให้การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
พัชรินทร์/สุนันทา
แก้ไข
๒๒ กันยายน ๒๕๔๖
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ปิติวรรณ/ปรับปรุง
๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๕๓/๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
389665 | กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดและการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำข้อเสนอนโยบาย แผนพัฒนาการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา
และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๒)
กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนทรัพยากร การจัดตั้ง
จัดสรรทรัพยากร และบริหารงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๓)
พัฒนาระบบการบริหาร และส่งเสริม ประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งส่งเสริมการนิเทศการบริหารและการจัดการศึกษา
(๔)
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษา
(๕)
พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
และกำกับดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ
และประสาน ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นของเขตพื้นที่การศึกษา
(๖)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๒
ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักอำนวยการ
(๒) สำนักการคลังและสินทรัพย์
(๓) สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๔) สำนักทดสอบทางการศึกษา
(๕) นักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๖) สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
(๘) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
(๙) สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ
(๑๐) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ข้อ ๓
ส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักอำนวยการ
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
งานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน งานบริหารงานทั่วไป งานอาคารสถานที่
ยานพาหนะ และงานอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ข) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม
สนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความร่วมมือด้านความมั่นคงของชาติ
และกิจการพิเศษ รวมทั้งประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เกี่ยวกับงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับงานออกแบบและก่อสร้าง
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการ
มูลนิธิ และกองทุน
(จ)
ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของนักเรียนนักศึกษา
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักการคลังและสินทรัพย์
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงิน
การบัญชี การพัสดุและการบริหารสินทรัพย์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเขตพื้นที่การศึกษา
(ข) ตรวจสอบและจัดระบบการควบคุมการใช้จ่ายเงินของทางราชการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับเครือข่ายข้อมูลทางการเงิน
การบัญชี การพัสดุ
และการประสานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเขตพื้นที่การศึกษา
(ง) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม
(ข) เสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค) ส่งเสริม
และประสานงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(ง) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักทดสอบทางการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา
วิจัย และพัฒนาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา รวมทั้งจัดระบบ วิธีการทดสอบ
และพัฒนาเครื่องมือวัดมาตรฐานสำหรับการประเมินผลการจัดการศึกษา
และการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ข)
ดำเนินการสอบวัดความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะระดับต่าง ๆ
ให้กับนักเรียนและประชาชนทั่วไป
(ค) พัฒนาและส่งเสริมวิชาการด้านการทดสอบและประเมินผลทางการศึกษา
รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านการทดสอบและประเมินผล
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับระบบข้อมูลและทะเบียนประวัติผู้สำเร็จการศึกษาและจัดทำระบบการเทียบโอนผลการศึกษา
รวมทั้งประสานความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษา ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
(จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงและเสมอภาค
(ข) วิจัยและพัฒนาต้นแบบการใช้สื่อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพการพัฒนาของเทคโนโลยีและความพร้อมของบุคลากร
(ค) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ง) ติดตามและประเมินผล
เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและความเสมอภาคในการใช้และการผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖)
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว
องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
(ข)
จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลและเครือข่ายสารสนเทศ รวมทั้งส่งเสริมการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิเทศสัมพันธ์
การประสานนโยบายและความร่วมมือทางการศึกษาขั้นพื้นฐานกับองค์กรและหน่วยงานต่างประเทศ
(ง) จัดทำข้อเสนอการจัดตั้ง
จัดสรรงบประมาณด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนการจัดการศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
รวมทั้งประเมินและรายงานผล
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
จัดระบบสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
(ค) วิจัยและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ
(จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๘) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา
วิเคราะห์ รูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและแสวงหาความร่วมมือหรือทุน
เพื่อการพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษา
(ข) ดำเนินการนำร่อง
เพื่อให้สามารถนำรูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การปฏิบัติ
(ค) ให้คำปรึกษา
แนะนำ ติดตาม และประเมินผล เกี่ยวกับการนำรูปแบบและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ
(ง) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๙) สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) พัฒนาระบบงาน
โครงสร้างส่วนราชการ หลักเกณฑ์
และมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ค) จัดทำข้อเสนอนโยบาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย
งานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๑๐) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ข) วิจัยและพัฒนาสื่อต้นแบบและนวัตกรรมสื่อการศึกษา
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ และหลักสูตรสถานศึกษา
(ค) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
และดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ
(ง) พัฒนาระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายใน ระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายการเรียนรู้และการวิจัยทางการศึกษา
รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนและประสานการพัฒนาระบบและมาตรฐานการแนะแนว
(จ) พัฒนาและส่งเสริมเกี่ยวกับภาษาไทยและการแปล
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ บัญญัติว่า
การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว
สมควรแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
และระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพงาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
พัชรินทร์/สุนันทา แก้ไข
๒๒ กันยายน ๒๕๔๖
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ปณตภร/ปรับปรุง
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๑๗/๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
389627 | กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐมนตรี
ประสานนโยบายระหว่างกระทรวง โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี
รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี
(๒)
สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
รัฐสภาและประชาชน
(๓)
ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง
(๔)
ประสานงานและติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีกับส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับของกระทรวง
(๕)
ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
(๖)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรีหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๒ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ ดังต่อไปนี้
(๑)
งานบริหารทั่วไป
(๒)
กลุ่มงานประสานการเมือง
(๓)
กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ
ข้อ ๓ ส่วนราชการของสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
งานบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการและงานการประชุมของรัฐมนตรี
งานบริหารทั่วไป และช่วยอำนวยการของสำนักงานรัฐมนตรี
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒)
กลุ่มงานประสานการเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานนโยบายระหว่างกระทรวงและประสานกับรัฐสภาตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
การประชาสัมพันธ์ ชี้แจงทำความเข้าใจและให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน
รับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน และงานรับข้อร้องเรียนหรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓)
กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงาน วิเคราะห์ กลั่นกรอง
และให้ความเห็นแก่รัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัติภารกิจของรัฐมนตรี
ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมือง
และรายงานเพื่อการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี ประสานงานและติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีกับส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับของกระทรวง
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
๒๕๔๖ บัญญัติว่า การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว สมควรแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี
กระทรวงศึกษาธิการ
และระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ปิติวรรณ/ปรับปรุง
๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๑/๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
609934 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน
เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอน
ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด
ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๒๓ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี
ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้แทนกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ดังนี้
หลักเกณฑ์
๑.
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจะต้องตั้งอยู่ในมัสยิดที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วเท่านั้น
โดยจะให้การอุดหนุนไม่เกินมัสยิดละ ๑ แห่ง
๒.
เงินอุดหนุนค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด
แบ่งได้ดังนี้
ที่
จำนวนนักเรียน
(คน)
จัดสรรค่าตอบแทนผู้สอน
(คน)
ค่าตอบแทนคนละ/เดือน
(บาท)
ค่าบริหารจัดการมัสยิด/เดือน
(บาท)
รวมเป็นเงิน
(บาท)
๑
ไม่เกิน
๘๐ คน
๒
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๕,๐๐๐
๒
๘๑
๑๒๐ คน
๓
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๗,๐๐๐
๓
๑๒๑
คนขึ้นไป
๔
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๙,๐๐๐
๓.
คุณสมบัติผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ดังนี้
๓.๑
เป็นผู้มีสัญชาติไทย
๓.๒ มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
๓.๓
มีความรู้ทางการศึกษาสายสามัญไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับหรือเทียบเท่าตามที่กำหนดในแผนการศึกษาแห่งชาติ
หรือตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่กรณีและมีความรู้ด้านศาสนาอิสลามไม่ต่ำกว่าชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่
๓ ของหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง (มุตาวัซซีเตาะฮ์) หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์สอนศาสนาไม่น้อยกว่า
๓ ปี โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
๓.๔
เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๔.
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ต้องจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด
พ.ศ. ๒๕๔๘
วิธีการ
การขอรับการอุดหนุนและการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการมัสยิดต้องดำเนินการ
ดังนี้
๑.
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดหรือผู้แทนจัดทำแบบคำขอรับการอุดหนุนตามแบบที่กำหนดจำนวน ๓ ชุด
โดยสำรวจจำนวนผู้เรียน และผู้สอน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี ส่งต่อนายทะเบียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มัสยิดตั้งอยู่
จำนวน ๒ ชุด ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายนของทุกปี
๒.
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติผู้สอนของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓ และรวบรวมแบบคำขอรับการอุดหนุนส่งมายังสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
๓.
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเบิกจ่ายเงิน พร้อมทั้งโอนเงินอุดหนุนค่าบริหารจัดการมัสยิดเข้าบัญชีศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้สอนทุกคนเป็นรายเดือน
๔.
ผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนต้องเป็นผู้สอนอยู่จนถึงเดือนที่ขอเบิก กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอน
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ศูนย์ตั้งอยู่
ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
๕.
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้รวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบและรายงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทราบภายใน
๑๕ วัน ของไตรมาสถัดไป
เงื่อนไข
๑.
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่จัดตั้งตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ.
๒๕๔๘ จะต้องอยู่ในบริเวณชุมชนที่มัสยิดตั้งอยู่
๒.
ผู้สอนและมัสยิดที่เป็นศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่เคยได้รับเงินค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการมัสยิด
ยังคงได้รับการอุดหนุนต่อไป
ทั้งนี้
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๒]
ข้อ ๓
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา)
และผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจะต้องตั้งอยู่ในมัสยิดที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วเท่านั้น
โดยจะให้การอุดหนุนไม่เกินมัสยิดละ ๑ แห่ง
ข้อ ๔
เงินอุดหนุนค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด แบ่งได้ดังนี้
ที่
จำนวนนักเรียน
(คน)
จัดสรร
ค่าตอบแทน
ผู้สอน
(คน)
ค่าตอบแทน
คนละ/เดือน
(บาท)
ค่าบริหารจัดการ
มัสยิด/เดือน
(บาท)
รวมเป็นเงิน
(บาท)
๑
ไม่เกิน
๘๐ คน
๒
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๕,๐๐๐
๒
๘๑
- ๑๒๐ คน
๓
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๗,๐๐๐
๓
๑๒๑
คนขึ้นไป
๔
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๙,๐๐๐
ข้อ ๕
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ต้องจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด พ.ศ.
๒๕๔๙
ข้อ ๖
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดหรือผู้แทน
จัดทำแบบคำขอรับการอุดหนุนตามแบบที่กำหนด (แบบ ตก. ๑ ตก. ๒ และ ตก. ๓) จำนวน ๒ ชุด
โดยสำรวจจำนวนผู้เรียนและผู้สอน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ของทุกปี โดยโรงเรียนเก็บไว้
จำนวน ๑ ชุด ส่งต่อนายทะเบียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มัสยิดตั้งอยู่
จำนวน ๑ ชุด ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี
ข้อ ๗
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติผู้สอนและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓ และสรุปคำขอรับการอุดหนุน (แบบ ตก. ๑ ตก. ๒
และ ตก. ๓) ของศูนย์การศึกษาทุกศูนย์ ลงในแบบสรุปข้อมูลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) (แบบ ตก. ๔) และแบบสรุปรายชื่อศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
(แบบ ตก. ๕) ส่งไปยังสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับแบบ ตก. ๑ ตก.
๒ และ ตก. ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บไว้พร้อมที่จะตรวจสอบ
ข้อ ๘
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเบิกจ่ายเงิน
พร้อมทั้งโอนเงินอุดหนุนค่าบริหารจัดการเข้าบัญชีศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้สอนทุกคนเป็นรายเดือน
ข้อ ๙
ผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน
ต้องเป็นผู้สอนอยู่จนถึงเดือนที่ขอเบิกกรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอน
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ศูนย์ตั้งอยู่
ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง (ตามแบบ ตก. ๔ ตก. ๕)
ข้อ ๑๐
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นผู้รวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
และรายงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทราบภายใน
๑๕ วัน ของไตรมาสถัดไป (ตามแบบ ตก. ๖)
ข้อ ๑๑
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา)
ต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑๒
การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลาม
ประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ต้องไม่เกินจำนวนผู้เรียน ณ วันที่
๑๐ มิถุนายน ของแต่ละปี
หากมีการปรับลดจำนวนนักเรียนลงให้ปรับลดเงินค่าตอบแทนผู้สอนด้วย
ข้อ
๑๓ สำหรับปีงบประมาณ
๒๕๕๑ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดสตูล และ ๔
อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย) ให้ยื่นคำขอตามข้อ ๖
ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ โดยใช้จำนวนผู้เรียน ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอรับการอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการศูนย์ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ... (แบบ ตก. ๑)
๒. แบบสำรวจข้อมูลประวัติผู้สอน
(แบบ ตก. ๒)
๓. บัญชีรายชื่อผู้เรียน
(แบบ ตก. ๓)
๔. ข้อมูลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ปีงบประมาณ ... (แบบ ตก. ๔)
๕. รายชื่อศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) (แบบ ตก. ๕)
๖. บัญชีรายชื่อผู้สอนที่มีการเปลี่ยนแปลงกรณีถอดถอน
(แบบ ตก. ๖)
๗. บัญชีรายชื่อผู้สอนที่มีการเปลี่ยนแปลงกรณีแต่งตั้งเพิ่มเติม
(แบบ ตก. ๗)
๘. แบบรายงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ปีงบประมาณ ... (แบบ ตก. ๘)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๔/๑๑ มกราคม ๒๕๔๙
[๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๔๐/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
389651 | กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.
๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.
๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๕
ข้อ ๒ ให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์
การแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
จัดทำงบประมาณและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง
เพื่อการบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษา วิเคราะห์
จัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
(๒) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
(๓) แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
(๔) จัดทำงบประมาณและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการและการตรวจสอบภายในราชการทั่วไปของกระทรวง
(๖)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน
(๗)
ส่งเสริมสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
(๘) ส่งเสริมประสานการศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมและการกีฬา เพื่อการศึกษา ตลอดจนงานอื่น ๆ
ที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง
(๙) ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับงานความช่วยเหลือและความร่วมมือกับต่างประเทศในส่วนที่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง
(๑๐)
พัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของกระทรวง
(๑๑) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมิได้อยู่ในอำนาจของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง
(๑๒)
ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๓ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักอำนวยการ
(๒) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๓) สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
(๔) สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
(๕) สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
(๖)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๗) สำนักตรวจราชการ และติดตามประเมินผล
(๘) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
(๙) สำนักนิติการ
(๑๐) สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
(๑๑)
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ข้อ ๔ ส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงานปลัดกระทรวง
รวมทั้งการจัดระบบการอำนวยการและการประสานราชการของผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวง
(ข)
ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงาน การบริหารงานบุคคล
การพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร การบริหารงานการคลังและสินทรัพย์ของกระทรวงและสำนักงานปลัดกระทรวง
(ค)
ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การปฏิบัติราชการของกระทรวงและสำนักงานปลัดกระทรวง
(ง) ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงในงานที่เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นงานที่มิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำข้อเสนอนโยบาย
แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง
รวมทั้งวางและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงและสำนักงานปลัดกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของรัฐ
(ข)
ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ค) สนับสนุนและให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ง) พัฒนาระบบคลังข้อมูล และฐานข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
และเป็นศูนย์กลางข้อมูลของกระทรวง
(จ)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของกระทรวง
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
(ข) พัฒนาผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารการศึกษาระดับสูง
(ค)
วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
และให้บริการการศึกษาแก่ผู้บริหารการศึกษา
(ง) ประสานเครือข่ายการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งเสริม สนับสนุน
และประสานงานกิจการลูกเสือและยุวกาชาดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับสภากาชาดไทย และนโยบายของกระทรวง
(ข) ส่งเสริม สนับสนุน ศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนานักเรียน นักศึกษา โดยผ่านกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
(ค) ส่งเสริมการป้องกัน แก้ไข
และคุ้มครองความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
(ง) ส่งเสริม สนับสนุน
และประสานงานการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของนักเรียนนักศึกษา
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ประสานการดำเนินงานด้านการต่างประเทศของกระทรวงกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
(ข)
จัดทำนโยบายและแผนความร่วมมือและงบประมาณด้านต่างประเทศ
(ค)
จัดทำฐานข้อมูลกลางด้านการต่างประเทศที่เกี่ยวกับการศึกษา
(ง) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา
ให้บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการศึกษากับต่างประเทศ
เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค
(จ)
ประสานการระดมทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาบุคลากรของกระทรวง
รวมทั้งประสานการระดมนักวิชาการเพื่อร่วมเป็นคณะกรรมการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระหว่างประเทศ
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู
และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รวมทั้งปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักตรวจราชการ และติดตามประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวง
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ
จัดทำแผนการตรวจราชการ
และดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจราชการ ติดตาม
และประเมินผลตามนโยบายและแผนการตรวจราชการของกระทรวง
(ค) วิจัยและพัฒนาระบบ
และประสานเครือข่ายการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลของกระทรวง
(ง)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๘) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ เป้าหมายการให้บริการ
กำหนดกรอบวงเงินงบประมาณ แผนงบประมาณ และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
รวมทั้งจัดทำนโยบาย แผนปฏิบัติราชการ และงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง
(ข) ศึกษา วิเคราะห์
วิจัยและจัดทำสถิติ ประมวลผลข้อมูล ดัชนีด้านการบริหารจัดการศึกษา
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเงินกู้ยืมต่างประเทศ
(ง) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา
และประสานงานตามนโยบายพิเศษ นโยบายเร่งด่วน งานการศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมและการกีฬาเพื่อการศึกษา
(จ) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา
และให้คำปรึกษาแนะนำวิชาการด้านการจัดการศึกษา การวางแผนการงบประมาณ
การติดตามประเมินผล การรายงานผลและประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานในกระทรวงและในสำนักงานปลัดกระทรวงให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการ
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๙) สำนักนิติการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา
วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวกับการศึกษาและการปฏิบัติราชการของกระทรวง
รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายของส่วนราชการ
และหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(ข)
ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในความรับผิดชอบของกระทรวง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา
งานเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่ง อาญา
งานคดีปกครองและงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงและสำนักงานปลัดกระทรวง
(ง) ดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์และร้องทุกข์
การร้องเรียนและขอความเป็นธรรมของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(จ)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวง
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๑๐) สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน
และหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
รวมทั้งประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งในและต่างประเทศ
(ข) ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ
และดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(ค) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ระดมทรัพยากร
พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียน และพัฒนาบุคลากรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและเครือข่าย
รวมทั้งกำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล
การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(ง) ส่งเสริม ผลิต พัฒนา
เผยแพร่การเรียนรู้และให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รวมทั้งบริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษาและสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๑๑) สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
เป็นหน่วยงานในการส่งเสริมและประสานงานการศึกษาเอกชนและดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน
(ข) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์
แผนพัฒนาการศึกษาเอกชน กำหนดกฎระเบียบ และเกณฑ์มาตรฐานกลางในการจัดการศึกษาเอกชน
รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพ
การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาเอกชน
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนทางการศึกษาเอกชน การอุดหนุนการศึกษาเอกชน การคุ้มครองการทำงาน
สิทธิประโยชน์ของครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเอกชน
(ง)
เป็นศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนข้อมูลและทะเบียนกลางทางการศึกษาเอกชน ตลอดจนติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาเอกชน
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ กรกฎคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
บัญญัติว่า การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว
สมควรแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ และระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๔/๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
865199 | ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2563 | ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
พ.ศ. ๒๕๖๓
เนื่องจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๖๒ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ กำหนดให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ส่งผลให้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ถูกยกเลิก
และข้อ ๖ ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
กำหนดให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษาใช้กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติดังกล่าวเป็นหลักในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
โดยให้ทำเป็นประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษานำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ประกอบกับในปัจจุบันคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ประกาศกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการไว้แล้ว
ดังนั้น จึงต้องกำหนดมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาในแต่ละระดับ
เพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๖ ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า
กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
ข้อ ๔ การศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐในเรื่องการจัดหลักสูตร
การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาและเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
การศึกษาระบบทวิภาคีตามวรรคหนึ่งต้องมีการจัดแผนการเรียน
แผนการฝึกอาชีพ การฝึกทำงาน การวัดผลและการประเมินผล เพื่อมุ่งเน้นผลิตผู้สำเร็จการศึกษาในระดับฝีมือ
ระดับเทคนิค และระดับเทคโนโลยี ให้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ มีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ และกิจนิสัยที่เหมาะสมปฏิบัติงานได้จริง ปฏิบัติงานที่ใช้เทคนิคในการทำงาน
สร้างและพัฒนางาน วางแผน จัดการพัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ มีสมรรถนะนำไปปฏิบัติงานหรือประกอบอาชีพอิสระได้ตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
และมาตรฐานสมรรถนะของสาขาวิชานั้น ๆ โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ
ข้อ ๕ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทุกระดับคุณวุฒิประเภทวิชาและสาขาวิชาต้องมีคุณภาพตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ และต้องมีคุณลักษณะพิเศษ
ดังนี้
(๑) สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาที่ฝึกอาชีพได้ทันที
(๒) มีสมรรถนะเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับและแต่ละสาขาวิชา
ข้อ ๖ โครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต การคิดหน่วยกิตต่อภาคเรียน
และการจัดการฝึกอาชีพให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับและแต่ละสาขาวิชา
ซึ่งการฝึกอาชีพในสถานประกอบการต้องมีระยะเวลาของการฝึกอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
ไม่น้อยกว่า ๒ ภาคเรียน หรือ ๑ ปีการศึกษาของหลักสูตร
ทั้งนี้ หากสถานประกอบการมีความประสงค์จะให้ผู้เรียนฝึกอาชีพในสถานประกอบการเกินกว่าที่กำหนดไว้ให้ดำเนินการได้
โดยพิจารณาร่วมกับสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา
ข้อ ๗ ผู้สอนและบุคลากรสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
สถานศึกษา หรือสถาบันการอาชีวศึกษาต้องดำเนินการ ดังนี้
(๑) ครูผู้สอนวิชาชีพในสาขาวิชาของสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีไม่น้อยกว่าร้อยละสามสิบ
ต้องได้รับการพัฒนาวิชาชีพที่สอนไม่น้อยกว่าแปดสิบชั่วโมงต่อคนต่อปีการศึกษา
จากสถานประกอบการที่ร่วมจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
(๒) สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา
ต้องจัดให้มีผู้มีประสบการณ์ มีความชำนาญ และมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพมาถ่ายทอดทักษะประสบการณ์และความรู้แก่ผู้เรียนและผู้สอนไม่น้อยกว่าสองครั้ง
ครั้งละไม่ต่ำกว่าสองชั่วโมงต่อสาขาวิชาต่อภาคเรียน
ข้อ ๘ สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการที่ร่วมกันจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีต้องมีวัสดุ ครุภัณฑ์ พื้นที่
และอุปกรณ์การศึกษา สำหรับผู้เรียนเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและการฝึกอาชีพ
ข้อ ๙ สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังนี้
(๑) ผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
(๒) จัดการเรียนในสาขาวิชาตรงความต้องการสถานประกอบการ
(๓) ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ
(๔) ทำสัญญาการฝึกอาชีพระหว่างผู้เรียนกับสถานประกอบการ
(๕) ทำแผนการเรียน แผนการฝึกอาชีพ
และแผนการนิเทศร่วมกับสถานประกอบการตลอดหลักสูตร
(๖) จัดให้มีการปฐมนิเทศก่อนการฝึกอาชีพ
และปัจฉิมนิเทศหลังเสร็จสิ้นการฝึกอาชีพ
(๗) เตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนการฝึกอาชีพ
(๘) จัดให้มีครูนิเทศก์การฝึกอาชีพในสถานประกอบการ
(๙) มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการฝึกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ
(๑๐) ประชาสัมพันธ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้กับสถานประกอบการ
ผู้เรียน และผู้ปกครองทราบ
ข้อ ๑๐ สถานประกอบการที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีต้องให้ความร่วมมือ
ดังนี้
(๑) ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม
จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(๒) จัดลักษณะงานที่ฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่ผู้เรียนกำลังศึกษา
(๓) ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา
(๔) ทำสัญญาการฝึกอาชีพระหว่างผู้เรียนกับสถานประกอบการ
(๕) ทำแผนการเรียน แผนการฝึกอาชีพ และแผนการนิเทศร่วมกับสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาตลอดหลักสูตร
(๖) ประเมินการฝึกอาชีพร่วมกับสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา
(๗) จัดให้มีครูฝึกในสถานประกอบการ
(๘) จัดให้มีผู้ประสานงานและผู้ควบคุมการฝึกอาชีพ
การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานประกอบการ
(๙) ประชาสัมพันธ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้กับผู้เรียน
ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ
(๑๐) จัดให้มีสวัสดิการและหรือเบี้ยเลี้ยงที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน
ตามข้อตกลง
ข้อ ๑๑ ครูฝึกในสถานประกอบการต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังนี้
(๑) มีคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
(๒) กำหนดจำนวนครูฝึกในสถานประกอบการเพื่อการฝึกอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ต้องมีครูฝึกหนึ่งคนต่อผู้เรียนไม่เกินสิบคน
ระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ต้องมีครูฝึกหนึ่งคน ต่อผู้เรียนไม่เกินแปดคน
(๓) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูฝึกตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้เรียนต้องมีคุณสมบัติและเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ดังนี้
(๑) มีพื้นความรู้และคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษา
(๒) เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจากสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ
ข้อ ๑๓ การจัดการเรียนการสอนและการฝึกอาชีพของสถานประกอบการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) การจัดการเรียนการสอนและการฝึกอาชีพต้องเป็นไปตามจุดประสงค์สาขาวิชา
และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของสาขาวิชาและสาขางาน
(๒) ผู้เรียนมีการบันทึกการฝึกอาชีพ แฟ้มสะสมผลงาน
บันทึกคุณธรรม จริยธรรม และจิตอาสา ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ข้อ ๑๔ การนิเทศผู้เรียนในสถานประกอบการ แบ่งเป็นสองกรณี
และให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) กรณีที่ ๑ การนิเทศในประเทศ ให้ดำเนินการนิเทศ
ดังนี้
(๑.๑) ให้ครูนิเทศก์ไปนิเทศในสถานประกอบการอย่างน้อย
๓ ครั้งต่อ ๑ ภาคเรียน
(๑.๒) ให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนิเทศในประเทศอย่างสม่ำเสมอและให้รายงานผลการนิเทศต่อผู้บริหารสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาทราบ
(๑.๓) ให้ใช้วิธีการนิเทศที่หลากหลาย
(๒) กรณีที่ ๒ การนิเทศในต่างประเทศ ให้ดำเนินการนิเทศ
ดังนี้
(๒.๑) ให้ครูนิเทศก์ไปนิเทศอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อภาคเรียน
หรือ
(๒.๒) ให้ภาคีเครือข่ายในต่างประเทศเป็นผู้นิเทศแทนในทุกภาคเรียน
หรือ
(๒.๓) ให้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนิเทศต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ
(๒.๔) การไปนิเทศในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจตามระเบียบก่อนการเดินทาง
(๓) การไปนิเทศการฝึกอาชีพให้เป็นไปตามแผนการฝึกอาชีพที่จัดทำขึ้น
หากการฝึกอาชีพไม่ครบถ้วนสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดการฝึกอาชีพให้เป็นไปตามจุดประสงค์สาขาวิชา
(๔) ครูนิเทศต้องผ่านการอบรมการนิเทศการฝึกอาชีพจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมาย
(๕) ชั่วโมงนิเทศการฝึกอาชีพในสถานประกอบการให้คิดเป็นเวลาชั่วโมงสอนปกติ
หากชั่วโมงสอนเกินภาระงานที่กำหนดสามารถเบิกค่าสอนเกินภาระงานได้ตามระเบียบ
(๖) การเดินทางไปนิเทศให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ตามระเบียบ
ข้อ ๑๕ การวัดผลและประเมินผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแต่ละระดับ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และใช้วิธีการประเมินอย่างหลากหลายตามสภาพจริง
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนการฝึกอาชีพ โดยคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียนและสมรรถนะที่ต้องการ
ข้อ ๑๖ การประกันคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกหลักสูตรต้องกำหนดระบบการประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
ดังนี้
(๑) กำหนดสมรรถนะรายวิชา
โดยปรับปรุงรายวิชาเดิมหรือพัฒนารายวิชาใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
(๒) การประกันคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
มีคุณวุฒิตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ มีทักษะและความสามารถในการกำกับดูแล
มีความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน สถานประกอบการมีความพึงพอใจในศักยภาพผู้สำเร็จการศึกษา
(๓) มีใบรับรองการฝึกอาชีพจากสถานประกอบการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐที่นักเรียนหรือนักศึกษาได้ไปฝึกอาชีพด้วย
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ
วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓
จรูญ ชูลาภ
ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา
พิไลภรณ์/จัดทำ
๑ กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๑๗ กันยายน ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๒๙/๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ |
389663 | กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 | กฎกระทรวง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอนโยบาย แผน
และมาตรฐานการศึกษาของชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
การเสนอนโยบายและแผนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการประเมินผลการจัดการศึกษา
โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
รวมทั้งจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรด้านการศึกษาของชาติ
(๒)
ประสานการจัดทำข้อเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ
(๓)
วิจัยและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษา
การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้และภูมิปัญญาของชาติ
ตลอดจนการรวบรวมและพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนานโยบายและแผนการศึกษาของชาติ
(๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ
(๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา
(๖)
ปฏิบัติงานอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๒ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักอำนวยการ
(๒)
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา
(๓)
สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา
(๔)
สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา
(๕)
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
(๖)
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ข้อ ๓ ส่วนราชการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา งานเลขานุการของสภาการศึกษา
และงานอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(ข)
พัฒนาระบบงานและดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการวางแผนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการพัฒนาการศึกษาของชาติ
(ง)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การพัสดุ
สวัสดิการ การบริหารทั่วไป งานอาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒)
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษา จัดทำข้อเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
รวมทั้งข้อเสนอนโยบายเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
(ข) ให้คำปรึกษา เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำและการบริหารนโยบายและแผนการศึกษาที่บูรณาการศาสนา
ศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษา
(ค) ประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดการนำนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ
(ง)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓)
สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายการศึกษา
นโยบายด้านการเรียนรู้ของชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ
(ข)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการพัฒนาการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ
การประเมินผลประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาและการดำเนินงานของโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการศึกษา
(ค)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔)
สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายการศึกษา
(ข)
ดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในเรื่องกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษา
รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดให้มีกฎหมาย หรือปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย งานนิติกรรมและสัญญา
งานเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่ง อาญา
งานคดีปกครองและงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(ง)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕)
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
จัดทำกรอบมาตรฐานการศึกษาของชาติ
และประสานการจัดทำมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับและประเภทการศึกษา
(ข)
จัดทำข้อเสนอนโยบายด้านการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษา
นโยบายและแผนส่งเสริมการเรียนรู้ที่บูรณาการ ศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมและกีฬากับการศึกษา
(ค)
ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดระบบและกระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต
(ง)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖)
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
วิจัยและพัฒนาทางการศึกษาเพื่อการเสนอแนะนโยบาย และวางแผนการศึกษาระดับชาติ รวมทั้งวิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลสถิติ
ฐานข้อมูลวิจัยทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง และระบบการให้บริการ
(ข)
จัดทำข้อเสนอนโยบาย พัฒนา
ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
จัดทำแผนและมาตรฐานข้อมูลด้านสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
รวมทั้งจัดทำสถิติและดัชนีทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง
(ค)
ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
ให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยทางการศึกษาและพัฒนาสารสนเทศทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
(ง) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ให้ไว้
ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ บัญญัติว่า การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว
สมควรแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
พัชรินทร์/สุนันทา
แก้ไข
๒๒ กันยายน ๒๕๔๖
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๕๒
ปิติวรรณ/ปรับปรุง
๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๖๓ ก/หน้า ๑๒/๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
832349 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อให้การดำเนินการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปด้วยความเหมาะสมกับภารกิจ
ปริมาณ และคุณภาพการจัดการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๖ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ประกอบกับคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๓
(๔) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๓
ข้อ
๔ ในประกาศฉบับนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ข้อ
๕
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำ นโยบาย แผนพัฒนา
และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(๒)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา
และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา
และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓)
ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕)
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖)
ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗)
จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘)
ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙)
ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐)
ประสาน ส่งเสริม การดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
(๑๑)
ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๑๒)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๖ ให้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ไว้ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มนโยบายและแผน
(๓) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๔) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
(๕) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๖) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๗) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๘) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๙) หน่วยตรวจสอบภายใน
(๑๐)[๒]
กลุ่มกฎหมายและคดี
ข้อ
๗
ส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ปฏิบัติงานสารบรรณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ
(ง) จัดระบบบริหารงาน การควบคุมภายใน และพัฒนาองค์กร
(จ) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจการ ผลงาน และบริการข้อมูลข่าวสาร
(ฉ) ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกเขตพื้นที่การศึกษา
(ช) ดำเนินการเลือกตั้งและสรรหากรรมการและอนุกรรมการ
(ซ) ประสาน ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพ
(ฌ)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มิใช่งานของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(ญ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) กลุ่มนโยบายและแผน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(ข)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและแจ้งการจัดสรรงบประมาณ
(ค) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน
และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณและผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผน
(ง) ดำเนินการวิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก
และโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ ดำเนินการ และส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ค) ดำเนินงานสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ง) ดำเนินการวิเคราะห์ และปฏิบัติงานระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(จ) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน
(ข) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบัญชี
(ค) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานพัสดุ
(ง) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารสินทรัพย์
(จ) ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานบริหารการเงิน งานบัญชี
งานพัสดุ และงานบริหารสินทรัพย์
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) กลุ่มบริหารงานบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) วางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
(ข) ส่งเสริม สนับสนุนการมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
(ค) วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง ย้าย โอน
และการลาออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ง) ศึกษา วิเคราะห์ และดำ เนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การเลื่อนเงินเดือน
การมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(จ) จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ
(ฉ) จัดทำข้อมูลระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(ช) ปฏิบัติการบริการและอำนวยความสะดวกในเรื่องการออกหนังสือรับรองต่าง ๆ
การออกบัตรประจำตัว และการขออนุญาตต่าง ๆ
(ซ)[๓] (ยกเลิก)
(ฌ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานฝึกอบรมการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง
(ข) ดำเนินงานฝึกอบรมพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน
(ค) ดำเนินงานพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไป ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(ง) ปฏิบัติงานส่งเสริม สนับสนุน
และยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม
หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศหรือต่างประเทศ
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสริมสร้างระบบเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ช)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๗) กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ค) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
(ง) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
รวมทั้งประเมิน ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(จ) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาสื่อนวัตกรรมการนิเทศทางการศึกษา
(ช) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๘) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินงานเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา
(ข) ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(ค) ส่งเสริม สนับสนุน
และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคล
ครอบครัว องค์กร ชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
(ง)
ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย
และมาตรฐานการศึกษา
(จ) ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้มีความสามารถพิเศษ
(ฉ) ส่งเสริมงานการแนะแนว สุขภาพ อนามัย กีฬา และนันทนาการ ลูกเสือ
ยุวกาชาด เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร ประชาธิปไตย วินัยนักเรียน
การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และงานกิจการนักเรียนอื่น
(ช) ส่งเสริม สนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(ซ) ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด
และส่งเสริมป้องกันแก้ไขและคุ้มครองความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
รวมทั้งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(ฌ) ดำเนินงานวิเทศสัมพันธ์
(ญ) ประสาน ส่งเสริมการศึกษากับการศาสนาและการวัฒนธรรม
(ฎ) ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมทางการศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(ฏ) ประสานและส่งเสริมสถานศึกษาให้มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(ฐ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๙) หน่วยตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับหัวหน้าส่วนราชการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการเงิน การบัญชี
และตรวจสอบระบบการดูแลทรัพย์สิน
(ข)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการดำเนินงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับผลผลิตหรือเป้าหมายที่กำหนด
(ค) ดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินการบริหารความเสี่ยง
(ง) ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในตามที่กฎหมายกำหนด
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๑๐)[๔]
กลุ่มกฎหมายและคดี ให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการมีวินัยและรักษาวินัย
(ข) ดำเนินการสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
(ค) ดำเนินการสอบสวนเกี่ยวกับวินัยและการตรวจพิจารณาวินัย
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์
(ฉ) ดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
(ช) ดำเนินการเกี่ยวกับงานคดีปกครอง คดีแพ่ง
คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ของรัฐ
(ซ) ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฌ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำข้อมูลและติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนางานกฎหมายและงานคดีของรัฐ
(ญ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๕]
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
วิวรรธน์/จัดทำ
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๑๓/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๒] ข้อ
๖ (๑๐) เพิ่มโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๓] ข้อ
๗ (๕) (ซ) ยกเลิกโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๔] ข้อ
๗ (๑๐) เพิ่มโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๒๗/๗ กันยายน ๒๕๖๑ |
609932 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การกำหนดชื่อปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาเป็นระบบและสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๘ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ วันที่ ๕ มกราคม
๒๕๔๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๒[๑]
ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในระดับปริญญาตรี
โท และเอก ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น
ในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา หรือสถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้
ข้อ
๔ ประเภทของการกำหนดชื่อปริญญา แบ่งเป็น
๔ ประเภท ดังนี้
๔.๑
ปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านศิลปศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่าศิลปศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Arts) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(Master of Arts)
และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
๔.๑.๑
กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities)
(๑)
สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา อาทิ พุทธศาสตร์ พุทธศาสนศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ
(๒)
สาขาวิชาภาษา วรรณคดี อาทิ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต จารึกภาษาไทย การแปล
วรรณคดีไทย วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ
(๓)
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี อาทิ โบราณคดี ประวัติศาสตร์
(๔)
สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมศึกษา อารยธรรมศึกษา
๔.๑.๒
กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
(๑)
สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (Social and Behavioral Science) อาทิ ประชากรศาสตร์ ภูมิภาคศึกษา พฤติกรรมศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาการจัดการ (Management) อาทิ การจัดการ บริหารสถาบันการพาณิชย์ การเลขานุการ
(๓)
สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ (Mass Communication and Information) อาทิ ภาพยนตร์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ วารสารศาสตร์ การพิพิธภัณฑ์
บรรณารักษศาสตร์
(๔)
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (Home Economics) อาทิ อาหารและโภชนาการ
เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คหกรรมศิลป์ การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
(๕)
สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ (Service Industries) อาทิ การภัตตาคาร
การโรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการด้านต่าง ๆ
๔.๒
ปริญญาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Science)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
๔.๒.๑
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
(๑)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) อาทิ ชีววิทยา
ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ จุลชีววิทยา พิษวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา กีฏวิทยา พันธุศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) อาทิ เคมี
ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์กายภาพ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา
(๓)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and Statistics) อาทิ คณิตศาสตร์ การวิจัยดำเนินงาน สถิติ คณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial Science)
(๔)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computing) อาทิ วิทยาการคอมพิวเตอร์
๔.๒.๒
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences)
(๑)
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (Agriculture) อาทิ ปฐพีศาสตร์ ประมง พืชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร
วนผลิตภัณฑ์ วนศาสตร์ สัตวบาล สัตวศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental Sciences and Natural Resources) อาทิ การจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาการสิ่งแวดล้อม
(๓)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Sciences) อาทิ กายวิภาคศาสตร์
นิติเวชศาสตร์ เวชนิทัศน์ สรีรวิทยา
(๔)
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Public Health) อาทิ การสาธารณสุขทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพ
สาธารณสุขมูลฐาน สุขศึกษา
(๕)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ (Other Applied Sciences)
๔.๓
ปริญญาวิชาชีพ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้เน้นการศึกษาในลักษณะของศาสตร์เชิงประยุกต์
เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย
ขององค์กรวิชาชีพ หรือสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพหรือกฎหมายรองรับ แต่มีลักษณะเป็นวิชาชีพ
๔.๓.๑
กลุ่มสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามสาขาวิชาชีพนั้น
ๆ เป็นหลักในทุกระดับปริญญา (บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต)
สำหรับระดับปริญญาเอกอาจกำหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิตก็ได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้
คือ
(๑)
สาขาวิชากายภาพบำบัด (Physical Therapy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า กายภาพบำบัดบัณฑิต
(Bachelor of Physical Therapy)
(๒)
สาขาวิชาการบัญชี (Accountancy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy)
(๓)
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (Bachelor of Thai Traditional Medicine) การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)
(๔)
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery)
(๕)
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เทคนิคการแพทยบัณฑิต
(Bachelor of Medical Technology)
(๖)
สาขาวิชานิติศาสตร์ (Laws) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า นิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws)
(๗)
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า พยาบาลศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Nursing Science)
(๘)
สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า แพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
(๙)
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Pharmacy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy) หรือ Doctor of Pharmacy สำหรับหลักสูตร ๖
ปี
(๑๐)
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Engineering) อาทิ วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมอุตสาหการ
(๑๑)
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (Education) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศึกษาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education)
(๑๒)
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) ให้ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture) หรือภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture)
(๑๓)
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
(Doctor of Veterinary Medicine)
๔.๓.๒
กลุ่มสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพ แต่เป็นศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ
การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามกลุ่มสาขาวิชาที่กำหนดต่อไปนี้
(๑)
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (Fine and Applied Arts) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศิลปบัณฑิต
(Bachelor of Fine Arts) หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Fine and Applied Arts)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า ศิลปมหาบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
ศิลปดุษฎีบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อาทิ การถ่ายรูปและการถ่ายภาพยนตร์
การละครหรือนาฏศาสตร์ จิตรกรรม ดุริยางคศาสตร์ ประติมากรรม
(๒)
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Business Administration)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๓)
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (Public Administration)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Public Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๔)
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economics)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๕)
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Social Work)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Social work) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๖)
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สารสนเทศศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต
และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า สารสนเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
๔.๔
ปริญญาทางเทคโนโลยี สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเป็นการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การศึกษา เคหการและการดูแลรักษาสุขภาพและมีลักษณะเป็นหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ
(Multidisciplinary) เพื่อสร้างความชำนาญการเฉพาะทางให้ใช้เฉพาะระดับปริญญาตรี โดยให้ใช้ชื่อว่า
เทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอก ให้ใช้ชื่อปริญญาตามศาสตร์ที่เน้นในการศึกษา
เช่น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) หรือวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ ได้แก่
(๑)
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) อาทิ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ วนผลิตภัณฑ์
(๒)
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม (Engineering Technology and Industrial Technology) อาทิ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ
๕ ชื่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
ปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท ปริญญาเอก)
๑.
ปริญญาศิลปศาสตร์
ศิลปศาสตรบัณฑิต ศศ.บ.
Bachelor of Arts B.A.
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศศ.ม.
Master of Arts M.A.
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศศ.ด.
Doctor of Arts D.A.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.
ปริญญาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต วท.บ.
Bachelor of Science B.S., B.Sc.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วท.ม.
Master of Science M.S., M.Sc.
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วท.ด.
Doctor of Science D.S., D.Sc.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.
ปริญญาสำหรับวิชาชีพ
๓.๑
สาขาวิชากายภาพบำบัด
๑)
กายภาพบำบัดบัณฑิต กภ.บ.
1) Bachelor of Physical Therapy B.PT.
๒)
กายภาพบำบัดมหาบัณฑิต กภ.ม.
2) Master of Physical Therapy M.PT
๓)
กายภาพบำบัดดุษฎีบัณฑิต กภ.ด.
3) Doctor of Physical Therapy D.PT.
๓.๒
สาขาวิชาการบัญชี
๑)
บัญชีบัณฑิต บช.บ.
1) Bachelor of Accountancy B.Acc.
๒)
บัญชีมหาบัณฑิต บช.ม.
2) Master of Accountancy M.Acc.
๓)
บัญชีดุษฎีบัณฑิต บช.ด.
3) Doctor of Accountancy D.Acc.
๓.๓
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
๑)
การแพทย์แผนไทยบัณฑิต พท.บ.
1) Bachelor of Thai Traditional B.TM.
Medicine
๒)
การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต พท.ม.
2) Master of Thai Traditional M.TM.
Medicine
๓)
การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต พท.ด.
3) Doctor of Thai Traditional D.TM.
Medicine
และ
๑) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.บ.
1) Bachelor of Applied Thai B.TM.
บัณฑิต
Traditional Medicine
๒)
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.ม.
2) Master of Applied Thai M.TM.
มหาบัณฑิต
Traditional Medicine
๓)
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.ด.
๓) Doctor of Applied Thai D.TM.
ดุษฎีบัณฑิต
Traditional Medicine
๓.๔
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
๑)
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ท.บ.
1) Doctor of Dental Surgery D.D.S.
๓.๕
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
๑)
เทคนิคการแพทยบัณฑิต ทพ.บ.
1) Bachelor of Medical Technology B.MT.
๒)
เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต ทพ.ม.
2) Master of Medical Technology M.MT.
๓)
เทคนิคการแพทยดุษฎีบัณฑิต ทพ.ด.
3) Doctor of Medical Technology D.MT.
๓.๖
สาขาวิชานิติศาสตร์
๑)
นิติศาสตรบัณฑิต น.บ.
1) Bachelor of Laws LL.B.
๒)
นิติศาสตรมหาบัณฑิต น.ม.
2) Master of Laws LL.M.
๓)
นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต น.ด.
3) Doctor of Laws LL.D.
๓.๗
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
๑)
พยาบาลศาสตรบัณฑิต พย.บ.
1) Bachelor of Nursing Science B.N.S.
๒)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พย.ม.
2) Master of Nursing Science M.N.S.
๓)
พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต พย.ด.
3) Doctor of Nursing Science D.N.S.
๓.๘
สาขาวิชาแพทยศาสตร์
๑)
แพทยศาสตรบัณฑิต พ.บ.
1) Doctor of Medicine M.D.
๓.๙
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
๑)
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ.
1) Bachelor of Pharmacy B.Pharm.
๒)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ภ.ม.
2) Master of Pharmacy M.Pharm.
๓)
เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภ.ด.
3) Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑๐
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
๑)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วศ.บ.
1) Bachelor of Engineering B.Eng.
๒)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วศ.ม.
2) Master of Engineering M.Eng.
๓)
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต วศ.ด.
3) Doctor of Engineering D.Eng.
๓.๑๑
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
๑)
ศึกษาศาสตรบัณฑิต ศษ.บ.
1) Bachelor of Education B.Ed.
๒)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ศษ.ม.
2) Master of Education M.Ed.
๓)
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศษ.ด.
3) Doctor of Education Ed.D.,D.Ed.
๓.๑๒
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
๑)
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถ.บ.
1) Bachelor of Architecture B.Arch.
๒)
สถาปัตยกรรมศาสตร สถ.ม.
2) Master of Architecture M.Arch.
มหาบัณฑิต
๓)
สถาปัตยกรรมศาสตร สถ.ด.
3) Doctor of Architecture D.Arch.
ดุษฎีบัณฑิต
และ
๑) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.บ.
1) Bachelor of Landscape B.L.A.
บัณฑิต
Architecture
๒)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.ม.
2) Master of Landscape Architecture M.L.A.
มหาบัณฑิต
๓)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.ด.
3) Doctor of Landscape Architecture D.L.A.
ดุษฎีบัณฑิต
๓.๑๓
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
๑)
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต สพ.บ.
1) Doctor of Veterinary Medicine D.V.M.
๔.
ปริญญาสำหรับศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพ
หรือกึ่งวิชาชีพ
๔.๑
สาขาวิชาทางวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
(Fine and Applied Arts)
๑)
ศิลปบัณฑิต ศล.บ.
Bachelor of Fine Arts B.F.A.
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ศป.บ.
หรือ Bachelor of Fine and
Applied Arts
๒)
ศิลปมหาบัณฑิต ศล.ม.
Master of Fine Arts M.F.A.
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศป.ม.
หรือ Master of Fine and
Applied Arts
๓)
ศิลปดุษฎีบัณฑิต ศล.ด.
Doctor of Fine Arts หรือ D.F.A.
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศป.ด.
Doctor of Fine and Applied Arts
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๒
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
(Business Administration)
๑)
บริหารธุรกิจบัณฑิต บธ.บ.
Bachelor of Business Administration B.B.A.
๒)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บธ.ม.
Master of Business Administration M.B.A.
๓)
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.
Doctor of Business Administration D.B.A.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๓
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
(Public Administration)
๑)
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต รป.บ.
Bachelor of Public Administration B.P.A.
๒)
รัฐประศาสนศาสตร รป.ม.
Master of Public Administration M.P.A.
มหาบัณฑิต
๓)
รัฐประศาสนศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต รป.ด.
Doctor of Public Administration D.P.A.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๔
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)
๑)
เศรษฐศาสตรบัณฑิต ศ.บ.
Bachelor of Economics B.Econ.
๒)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ศ.ม.
Master of Economics M.Econ.
๓)
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศ.ด.
Doctor of Economics D.Econ.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๕
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
(Social Work)
๑)
สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.บ.
Bachelor of Social Work B.S.W.
บัณฑิต
๒)
สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.ม.
Master of Social Work M.S.W.
มหาบัณฑิต
๓)
สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.ด.
Doctor of Social Work D.S.W.
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๖
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
๑)
สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สท.บ.
Bachelor of Information Science B.I.S.
๒)
สารสนเทศศาสตร สท.ม.
Master of Information Science M.I.S.
มหาบัณฑิต
๓)
สารสนเทศศาสตร สท.ด.
Doctor of Information Science D.I.S.
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๕.
ปริญญาทางเทคโนโลยี
ให้ใช้เฉพาะระดับปริญญาตรี
โดยใช้ชื่อว่า
เทคโนโลยีบัณฑิต ทล.บ.
Bachelor of Technology B.Tech.
สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอกให้ใช้ชื่อปริญญาตามศาสตร์ที่เน้นการศึกษาทั้งปริญญาภาษาไทยและปริญญาภาษาอังกฤษ
ข้อ
๖ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องกำหนดชื่อปริญญาที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๒]
ข้อ
๓ สาขาวิชารัฐศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า รัฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Political Science) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Political Science) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Political Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๔ สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า นิเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Communication Arts) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Communication Arts) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Communication Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๕ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Health) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Public Health) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Public Health) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๖ การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ของสาขาวิชารัฐศาสตร์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
๑.
สาขาวิชารัฐศาสตร์
๑)
รัฐศาสตรบัณฑิต ร.บ.
๑) Bachelor of Political Science B.Pol.Sc.
๒)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ร.ม.
๒) Master of Political Science M.Pol.Sc.
๓)
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ร.ด.
๓) Doctor of Political Science D.Pol.Sc.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
๑)
นิเทศศาสตรบัณฑิต นศ.บ.
๑) Bachelor of Communication Arts B.Com.Arts
๒)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นศ.ม.
๒) Master of Communication Arts M.Com.Arts
๓)
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต นศ.ด.
๓) Doctor of Communication Arts D.Com.Arts
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
๑)
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ส.บ.
๑) Bachelor of Public Health B.P.H
๒)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ส.ม.
๒) Master of Public Health M.P.H.
๓)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต ส.ด.
๓) Doctor of Public Health Dr.P.H.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
ข้อ ๗ การกำหนดชื่อปริญญาตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันในกรณีจัดทำหลักสูตรในสาขาวิชารัฐศาสตร์
นิเทศศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ ในลักษณะของศาสตร์เชิงวิชาชีพ หรือกึ่งวิชาชีพ
หากสถาบันอุดมศึกษาใดจัดทำหลักสูตรโดยการจัดเนื้อหาเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ทางศิลปศาสตร์
ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ หรือศาสตร์บริสุทธิ์ทางวิทยาศาสตร์
ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ก็สามารถใช้ชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หรือ
วิทยาศาสตรบัณฑิตตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑[๓]
ข้อ ๒ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต
(Master of Applied Thai Traditional Medicine) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Applied Thai Traditional Medicine)
ข้อ ๓ การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทยและภาษาอังกฤษของสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ดังนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก)
๑)
การแพทย์แผนไทยประยุกต์
บัณฑิต
พทป.บ.
๑) Bachelor of Applied.
Thai Traditional Medicine
B.ATM
๒) การแพทย์แผนไทยประยุกต์
มหาบัณฑิต
พทป.ม.
๒) Master of Applied.
Thai Traditional Medicine
M.ATM
๓) การแพทย์แผนไทยประยุกต์
ดุษฎีบัณฑิต
พทป.ด.
๓) Doctor of Applied
Thai Traditional Medicine
D.ATM.
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๔ ง/หน้า ๙๘/๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
[๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๓/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๕/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ |
792084 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาหลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทอาชีวศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
หลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทอาชีวศึกษา[๑]
เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการอาชีวศึกษาหลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทอาชีวศึกษา เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เกิดความเท่าเทียมกัน
และเป็นธรรมแก่ผู้เรียนผู้ศึกษาอันสอดคล้องกับหลักการและจุดหมายของหลักสูตรต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๘/๒๕๕๙ เรื่อง
การบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบประเภทอาชีวศึกษาดังนี้
๑. ให้ใช้ประกาศฉบับนี้
ในการดำเนินการพิจารณาอนุญาตการจัดตั้งหลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทอาชีวศึกษา
๒. มาตรฐานการจัดตั้งที่ใช้ในการจัดตั้งโรงเรียน
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับ
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓. การใช้หลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ
๔. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาดำเนินการออกหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนหลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทอาชีวศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้
๕. อำนาจการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการหรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด
ซึ่งแตกต่างไปจากข้อ ๔ ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาหลักสูตรต่างประเทศในโรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทอาชีวศึกษา แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๙ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๑๙/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
794400 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์ ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ
๒
การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์
ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๓
การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบอื่น
ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๑
ข้อ
๕
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๖
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑ มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๗/๓ มกราคม ๒๕๖๑ |
797391 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาอังกฤษต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น
ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๒
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๖๐ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/จัดทำ
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๑๒/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
813701 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑[๑]
เนื่องด้วยมีการออกกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงสมควรปรับปรุงมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และมาตรฐานการอาชีวศึกษา สำหรับการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๓ ที่กำหนดว่า
ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยอำนาจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตามมติในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ จึงให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๙
ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา สำหรับการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑ ในการจัดการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาด้านอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และการฝึกอบรมวิชาชีพ ดังต่อไปนี้คือ
มาตรฐานการอาชีวศึกษา
ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน ๙ ประเด็นการประเมินดังนี้
มาตรฐานที่
๑ คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์
การจัดการอาชีวศึกษา
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้สำเร็จการศึกษา
อาชีวศึกษาให้มีความรู้
มีทักษะและการประยุกต์ใช้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา
และมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ประกอบด้วยประเด็นการประเมินดังนี้
๑.๑
ด้านความรู้
ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ตามหลักการทฤษฎี และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน หรือทำงาน
โดยเน้นความรู้เชิงทฤษฎีและหรือข้อเท็จจริง
เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา
๑.๒
ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้
ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่
๒๑ ทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิตเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา
สามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
และการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีสุขภาวะที่ดี
๑.๓
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่ดี
ภูมิใจและรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย เคารพกฎหมาย
เคารพสิทธิของผู้อื่นมีความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีจิตสาธารณะ
และมีจิตสานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ ๒ การจัดการอาชีวศึกษา
สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และบริหารจัดการทรัพยากรของสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความสำเร็จในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษา
ประกอบด้วยประเด็นการประเมินดังนี้
๒.๑
ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา
สถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
ชุมชน สถานประกอบการ ตลาดแรงงาน มีการปรับปรุงรายวิชาเดิม หรือกำหนดรายวิชาใหม่ หรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม
ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดแรงงานโดยความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒.๒
ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
สถานศึกษามีครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาและมีจานวนตามเกณฑ์ที่กำหนดได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
เพื่อเป็นผู้พร้อมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ
จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งวัยเรียนและวัยทำงานตามหลักสูตร
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษาตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนของแต่ละหลักสูตรส่งเสริม
สนับสนุน กำกับ ดูแลให้ครูจัดการเรียน การสอนรายวิชาให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
๒.๓
ด้านการบริหารจัดการ
สถานศึกษาบริหารจัดการบุคลากร
สภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ
สื่อ แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ครุภัณฑ์ และงบประมาณ
ของสถานศึกษาที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
๒.๔
ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
สถานศึกษามีความสำเร็จในการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กากับดูแลสถานศึกษามอบหมาย
โดยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียน
รวมทั้งการช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนจากผู้ปกครอง ชุมชน
สถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
มาตรฐานที่
๓ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
สถานศึกษาร่วมมือกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ
เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการจัดทำนวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย ประกอบด้วยประเด็นการประเมินดังนี้
๓.๑
ด้านความร่วมมือในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
สถานศึกษามีการสร้างความร่วมมือกับบุคคล
ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการจัดการศึกษา
การจัดทรัพยากรทางการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การบริการทางวิชาการและวิชาชีพ
โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคนในชุมชนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
๓.๒
ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย
สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดทำนวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ งานวิจัย โดยผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา
ผู้เรียน หรือร่วมกับบุคคล ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์
และเผยแพร่สู่สาธารณชน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปุณิกา/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๒
นุสรา/ตรวจ
๒๙
มีนาคม ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๘ ง/หน้า ๔/๑๘
กันยายน ๒๕๖๑ |
794402 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ
๒
การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์
ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๓
การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔
สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาพยาบาลศาสตร์อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๑
ข้อ
๕
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๖
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑ มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๘/๓ มกราคม ๒๕๖๑ |
790271 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทย
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทย
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทย ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทยต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทยอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๒
ข้อ
๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/ตรวจ
๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง/หน้า ๘/๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๐ |
810819 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานการอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.
๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ และมาตรฐานการศึกษาของชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๑ มุ่งเน้นการพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ
มีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา และทักษะศตวรรษที่ ๒๑ มีคุณธรรมจริยธรรม
เคารพกฎหมาย มีภาวะผู้นำ รู้รักษ์คุณค่าความเป็นไทยและรู้บริบทสากล
โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
สร้างวิถีการเรียนรู้ของคนไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้สู่การร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม
เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงเห็นสมควรปรับปรุงมาตรฐานการอุดมศึกษาให้สอดคล้องตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
เพื่อใช้เป็นกลไกระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษาและระดับหน่วยงาน
ในการส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามหลักการข้างต้น โดยมีการกำกับติดตาม
ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษาจะครอบคลุมด้านผลลัพธ์ผู้เรียน
การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่สังคม ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
และการบริหารจัดการ ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของประเภทสถาบันโดยเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมและสามารถตรวจสอบได้
ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญ
คือการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณลักษณะของคนไทยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๑
จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้ เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานการอุดมศึกษา ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙
ข้อ ๔ มาตรฐานการอุดมศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐาน ๕ ด้านดังนี้
(๑) มาตรฐานที่ ๑
ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน
(๑.๑)
เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และความรอบรู้ด้านต่าง ๆ ในการสร้างสัมมาอาชีพความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน
และสังคม มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเป็นผู้มีคุณธรรม ความเพียร มุ่งมั่น มานะ
บากบั่น และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๑.๒) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่
๒๑ มีความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม
มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก
สามารถสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าให้กับตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ
(๑.๓) เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ความเป็นไทย
ร่วมมือรวมพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาและเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืนทั้งในระดับครอบครัว
ชุมชน สังคม และประชาคมโลก
(๒) มาตรฐานที่ ๒
ด้านการวิจัยและนวัตกรรม
สถาบันอุดมศึกษามีผลงานวิจัยที่เป็นการสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่
สร้างสรรค์นวัตกรรมหรือทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม
ศิลปวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของประเภทสถาบัน
มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
องค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรมตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ความต้องการจำเป็นของสังคม ชุมชน
ภาครัฐและเอกชน และประเทศ ผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมมีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาผู้เรียน
การสร้างคุณภาพชีวิต หรือการสร้างโอกาสมูลค่าเพิ่ม
และขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ
(๓) มาตรฐานที่ ๓
ด้านการบริการวิชาการ
สถาบันอุดมศึกษาให้บริการวิชาการเหมาะสม
สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคม ตามระดับความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของประเภทสถาบัน
โดยมีการบริหารจัดการที่ประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
ภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ และมีความโปร่งใส ชัดเจน และตรวจสอบได้
ผลลัพธ์ของการบริการวิชาการนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของผู้เรียน
ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
(๔) มาตรฐานที่ ๔
ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
สถาบันอุดมศึกษามีการจัดการเรียนรู้ การวิจัย
หรือการบริการวิชาการซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสรางความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม
การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศอย่างเหมาะสม
ตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของประเภทสถาบัน ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
หรือการสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
(๕) มาตรฐานที่ ๕
ด้านการบริหารจัดการ
(๕.๑) สถาบันอุดมศึกษามีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการเพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
(๕.๒) สถาบันอุดมศึกษามีการบริหารงานตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสถาบันอุดมศึกษาตลอดจนมีการบริหารจัดการบุคลากรและทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ยืดหยุ่นคล่องตัวโปร่งใสและตรวจสอบได้
(๕.๓) สถาบันอุดมศึกษามีระบบประกันคุณภาพ
มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการจัดการศึกษาระดับหลักสูตร คณะ
และสถาบันที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมีการกำกับให้การจัดการศึกษาและการดำเนินงานตามพันธกิจเป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
และมาตรฐานอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ
๑๙๙ ง/หน้า ๑๙/๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
792081 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ.
๒๕๖๐
เพื่อให้การดำเนินการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปด้วยความเหมาะสมกับภารกิจ
ปริมาณ และคุณภาพการจัดการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๖ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ประกอบกับคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๓
(๔) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๓
ข้อ ๔ ในประกาศฉบับนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ข้อ ๕
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำ นโยบาย แผนพัฒนา
และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(๒) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา
และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา
และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) กำกับ ดูแล ติดตาม
และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา
และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ประสาน ส่งเสริม การดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
และคณะทำงานด้านการศึกษา
(๑๑) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๑๒)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๖ ให้แบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ไว้ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มนโยบายและแผน
(๓) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(๔) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
(๕) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๖) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๗) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๘) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๙) หน่วยตรวจสอบภายใน
ข้อ ๗
ส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ปฏิบัติงานสารบรรณสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ
(ง) จัดระบบบริหารงาน การควบคุมภายใน และพัฒนาองค์กร
(จ) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจการ ผลงาน และบริการข้อมูลข่าวสาร
(ฉ) ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกเขตพื้นที่การศึกษา
(ช) ดำเนินการเลือกตั้งและสรรหากรรมการและอนุกรรมการ
(ซ) ประสาน ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพ
(ฌ)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มิใช่งานของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(ญ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) กลุ่มนโยบายและแผน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย
มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(ข)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและแจ้งการจัดสรรงบประมาณ
(ค) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน
และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณและผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผน
(ง) ดำเนินการวิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม
เลิก และโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ ดำเนินการ และส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ค) ดำเนินงานสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ง) ดำเนินการวิเคราะห์
และปฏิบัติงานระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(จ) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน
(ข) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบัญชี
(ค) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานพัสดุ
(ง) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารสินทรัพย์
(จ) ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานบริหารการเงิน
งานบัญชี งานพัสดุ และงานบริหารสินทรัพย์
(ฉ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) กลุ่มบริหารงานบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) วางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
(ข) ส่งเสริม สนับสนุนการมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
(ค) วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง ย้าย
โอน และการลาออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ง) ศึกษา วิเคราะห์ และดำ
เนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน
การมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(จ) จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ
(ฉ) จัดทำข้อมูลระบบจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
(ช)
ปฏิบัติการบริการและอำนวยความสะดวกในเรื่องการออกหนังสือรับรองต่าง ๆ การออกบัตรประจำตัว
และการขออนุญาตต่าง ๆ
(ซ) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเพื่อดำเนินงานวินัย อุทธรณ์
ร้องทุกข์ และการดำเนินคดีของรัฐ
(ฌ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานฝึกอบรมการพัฒนาก่อนแต่งตั้ง
(ข) ดำเนินงานฝึกอบรมพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน
(ค) ดำเนินงานพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไป
ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(ง) ปฏิบัติงานส่งเสริม สนับสนุน
และยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศหรือต่างประเทศ
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และเสริมสร้างระบบเครือข่ายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ช)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๗) กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ค) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
(ง) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา
รวมทั้งประเมิน ติดตาม และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(จ) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาสื่อนวัตกรรมการนิเทศทางการศึกษา
(ช) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๘) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริม สนับสนุน
และดำเนินงานเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา
(ข) ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(ค) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเตรียมข้อมูลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคล
ครอบครัว องค์กร ชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
(ง)
ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย
และมาตรฐานการศึกษา
(จ) ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้มีความสามารถพิเศษ
(ฉ) ส่งเสริมงานการแนะแนว สุขภาพ อนามัย กีฬา
และนันทนาการ ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี
ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร ประชาธิปไตย วินัยนักเรียน
การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และงานกิจการนักเรียนอื่น
(ช) ส่งเสริม สนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(ซ) ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด
และส่งเสริมป้องกันแก้ไขและคุ้มครองความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
รวมทั้งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(ฌ) ดำเนินงานวิเทศสัมพันธ์
(ญ) ประสาน ส่งเสริมการศึกษากับการศาสนาและการวัฒนธรรม
(ฎ) ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมทางการศึกษา
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
(ฏ)
ประสานและส่งเสริมสถานศึกษาให้มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(ฐ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๙) หน่วยตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับหัวหน้าส่วนราชการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการเงิน การบัญชี
และตรวจสอบระบบการดูแลทรัพย์สิน
(ข)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการดำเนินงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับผลผลิตหรือเป้าหมายที่กำหนด
(ค) ดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินการบริหารความเสี่ยง
(ง) ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในตามที่กฎหมายกำหนด
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๑๓/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
800049 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ
พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช
๑๔๓๙[๑]
เพื่อสนับสนุน
ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ พร้อมกับให้ผู้เรียนได้รับวุฒิบัตรเมื่อสำเร็จการศึกษาและสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของโต๊ะครู ผู้เรียน
ผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของสถาบันศึกษาปอเนาะที่เหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบันนี้
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
พ.ศ. ๒๕๕๐ และข้อ ๓ (๑) แห่งประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง การกำหนดประเภทและลักษณะของโรงเรียน
การจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรของโรงเรียนนอกระบบ ประกอบกับมติคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในการประชุม
ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ
พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช ๑๔๓๙ ดังปรากฏแนบท้ายประกาศนี้ โดยดำเนินการตามกำหนดเวลาดังนี้
ปีการศึกษา
๒๕๖๑ ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช ๑๔๓๙
ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ ๑
ปีการศึกษา
๒๕๖๒ ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช ๑๔๓๙
ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ ๒
ปีการศึกษา
๒๕๖๓ ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช ๑๔๓๙
ในชั้นระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง ปีที่ ๓
ปีการศึกษา
๒๕๖๔ ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช ๑๔๓๙
ในชั้นระดับต้น ปีที่ ๔ และทุกชั้นเรียน
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
มีอำนาจในการยกเลิก เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการจัดการศึกษา
ทั้งนี้
ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนอะ พุทธศักราช ๒๕๖๑/ฮิจเราะฮฺศักราช ๑๔๓๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ภูมิกิติ/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ |
812161 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้นเพื่อให้การดำเนินการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปด้วยความเหมาะสมกับภารกิจ
ปริมาณ คุณภาพการจัดการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
สนองนโยบายของรัฐบาลด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ
และสนับสนุนระบบงานกฎหมายและคดีของรัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ประกอบคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๐)
ของข้อ ๖ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
(๑๐) กลุ่มกฎหมายและคดี
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ (๕) (ซ)
แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๐)
ของข้อ ๗ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
(๑๐) กลุ่มกฎหมายและคดี ให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาการมีวินัยและรักษาวินัย
(ข) ดำเนินการสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
(ค) ดำเนินการสอบสวนเกี่ยวกับวินัยและการตรวจพิจารณาวินัย
(ง) ดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์
(ฉ) ดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
(ช) ดำเนินการเกี่ยวกับงานคดีปกครอง คดีแพ่ง
คดีอาญา และคดีอื่น ๆ ของรัฐ
(ซ) ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฌ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำข้อมูลและติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนางานกฎหมายและงานคดีของรัฐ
(ญ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วิวรรธน์/จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๒๗/๗ กันยายน ๒๕๖๑ |
739702 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดและเจตนารมณ์ของเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา
ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับเป็นแนวทางการบริหารจัดการ
และพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า
แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘
๒. ให้ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้
เป็นแนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา
สำหรับหลักสูตรที่เปิดใหม่และหลักสูตรปรับปรุงของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก
๓.๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
๔. สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น
สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และกำหนดตัวบ่งชี้ด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
๕. ระบบการจัดการศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกระดับกำหนดให้ใช้ระบบทวิภาคเป็นระบบมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
แต่มิได้จำกัดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องใช้ระบบทวิภาคในการจัดการศึกษาเพียงระบบเดียว
สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาระบบอื่นได้เช่นกัน อาทิ ระบบไตรภาค
หรือระบบจตุรภาค กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาระบบอื่น
จะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้นไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งภาคการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา การคิดหน่วยกิต รายวิชาภาคทฤษฎีและรายวิชาภาคปฏิบัติ
การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม การทำโครงการหรือกิจกรรมอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตระบบดังกล่าวกับหน่วยกิตระบบทวิภาค
อนึ่ง
ระบบการจัดการศึกษาอื่นใดที่สถาบันอุดมศึกษานำมาใช้ในการจัดการศึกษาควรเป็นระบบมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๖. การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาศึกษาทั่วไปมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
โดยให้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ
จนเกิดความซาบซึ้งและสามารถติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเองการจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว
ไม่ควรมีรายวิชาต่อเนื่องหรือรายวิชาขั้นสูงอีก
และไม่ควรนำรายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของวิชาเฉพาะมาจัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป
๗. การเปิดสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญา
สถาบันอุดมศึกษามีภารกิจหลักในการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญา
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสาขาวิชาการและวิชาชีพต่าง
ๆ ออกมารับใช้สังคม รวมทั้งมุ่งเน้นการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา
เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพระดับสูงให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่
สำหรับการผลิตบุคลากรในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี (ระดับประกาศนียบัตร
และระดับอนุปริญญา) ควรเป็นภารกิจของสถานศึกษาประเภทอื่น เช่น วิทยาลัยชุมชน
วิทยาลัยอาชีวศึกษา เป็นต้น ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่จะเปิดสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญา
ควรมีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่งในการเปิดสอนและต้องคำนึงถึงความต้องการบุคลากรในสาขาวิชานั้นเป็นสำคัญ
รวมทั้งคำนึงถึงความซ้ำซ้อนในการเปิดสอนสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนอยู่แล้วในสถาบันอื่น
๘. การเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง)
หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติการอยู่แล้วให้มีความรู้ด้านวิชาการมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งได้รับการฝึกปฏิบัติขั้นสูงเพิ่มเติม ดังนั้น
จึงจัดไว้ในกลุ่มหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการที่เน้นทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้น
ๆ เท่านั้น เพื่อให้บัณฑิตจบไปเป็นนักปฏิบัติ
การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้
ต้องมีการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมกับสถานประกอบการในภาคการผลิตหรือการบริการ
โดยอาจจัดในรูปสหกิจศึกษา หรือการฝึกงานในสถานประกอบการ
และเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (ต่อเนื่อง) ให้รับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาเท่านั้น
ในด้านอาจารย์ผู้สอนจำนวนหนึ่งต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในทางปฏิบัติมาแล้วและหากเป็นผู้สอนจากสถานประกอบการต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
๙. จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์
๙.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
และอาจารย์ผู้สอนทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ
ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร นอกจากนั้น
ในระดับบัณฑิตศึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดเช่นกัน
ทั้งนี้
อาจารย์ประจำที่สถาบันอุดมศึกษารับเข้าใหม่ตั้งแต่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ฉบับปี
พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศใช้
ต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ
สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่เผยแพร่รายชื่อและคุณวุฒิของอาจารย์ทุกประเภทข้างต้นของแต่ละหลักสูตรในแต่ละภาคการศึกษา
โดยเผยแพร่ในเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา
เพื่อให้สาธารณชนและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการผดุงรักษามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของชาติ
๙.๒ คุณวุฒิที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตร หมายถึง
คุณวุฒิที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสาขาวิชาที่ประกาศไปแล้ว
หากสาขาวิชาใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานสาขาวิชา หรือประกาศมาตรฐานสาขาวิชาไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้
ให้อ้างอิงจากกลุ่มสาขาวิชาเดียวกันในตารางของ ISCED (International Standard Classification of Education)
๙.๓ คุณสมบัติด้านตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรกลุ่มวิชาการ
และหลักสูตรกลุ่มวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
ควรเป็นตำแหน่งทางวิชาการที่ได้จากการประเมินผลงานที่สอดคล้องกับลักษณะของกลุ่มหลักสูตรนั้น
ๆ
กรณีอาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก แม้ยังไม่มีผลงานทางวิชาการหลังสำเร็จการศึกษาอนุโลมให้เป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาโทได้
แต่ทั้งนี้หากจะทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาเอก
หรือเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ต้องมีผลงานทางวิชาการภายหลังสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย ๑ ชิ้น ภายใน ๒ ปี หรือ ๒
ชิ้น ภายใน ๔ ปี หรือ ๓ ชิ้น ภายใน ๕ ปี
๙.๔ สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีที่เน้นปฏิบัติการ คำว่า ประสบการณ์ด้านปฏิบัติการ หมายถึง
การทำงานร่วมกับสถานประกอบการโดยมีหลักฐานรับรองผลการปฏิบัติงานที่เกิดประโยชน์กับสถานประกอบการ
หรือมีผลงานทางวิชาการประเภทการพัฒนาเทคโนโลยี
หรือผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมเผยแพร่มาแล้ว
๙.๕ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์หรือมีตำแหน่งทางวิชาการพิเศษทุกระดับ
จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมหรือผู้สอบได้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงหรือสูงมากตามที่กำหนดในแต่ละระดับปริญญา
โดยให้พิจารณาจากผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเนื้อหาวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
๙.๖
สำหรับคุณสมบัติอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระและผู้สอบการค้นคว้าอิสระในระดับปริญญาโท
ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และผู้สอบวิทยานิพนธ์
๑๐. การบริหารหลักสูตรกรณีมีข้อตกลงร่วมผลิตกับสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา
๑๐.๑ การตกลงร่วมผลิต หมายถึง การทำ
ข้อตกลงร่วมมือกันอย่างเป็นทางการระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับองค์กรภายนอกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร
โดยผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยและคณะกรรมการระดับนโยบายขององค์กรภายนอกนั้น
ๆ
องค์กรภายนอกต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาในหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาของประเทศนั้น
หรือเป็นหน่วยราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
หรือองค์การมหาชน หรือบริษัทเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น
หากเป็นบริษัทเอกชนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ให้เสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
โดยต้องแสดงศักยภาพและความพร้อมในการร่วมผลิตบัณฑิตของบริษัทดังกล่าว
๑๐.๒ ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว บุคลากรที่มาจากองค์กรที่มีความร่วมมือนั้นสามารถทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำและอาจารย์ประจำหลักสูตรได้
ทั้งนี้
เฉพาะกรณีหลักสูตรระดับปริญญาตรีกลุ่มวิชาชีพหรือปฏิบัติการบุคลากรที่มาจากองค์กรที่มีความร่วมมือนั้นสามารถทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้แต่ต้องไม่เกิน
๒ คน
บุคลากรที่มาจากองค์กรที่มีความร่วมมือเพื่อทำหน้าที่อาจารย์ประจำ
อาจารย์ประจำหลักสูตร
และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับนั้น
ๆ และต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจทักษะการจัดการเรียนการสอน
การวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
และมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้น ๆ ตามแนวทางของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
๑๑. ภาระงานคุมวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
ภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระให้นับรวมจำนวนนักศึกษาเก่าที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาด้วย
ทั้งนี้
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระต้องจัดสรรเวลาให้คำปรึกษานักศึกษาอย่างเหมาะสม
๑๒. ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดระบบตรวจสอบการคัดลอกผลงาน
หรือการซ้ำซ้อนกับงานของผู้อื่นหรือการจ้างทำรายงานการค้นคว้าอิสระหรือวิทยานิพนธ์โดยใช้ระบบที่ทันสมัย
เช่น ผ่านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
หากพบว่ามีการคัดลอก การซ้ำซ้อนกับงานของผู้อื่น
หรือมีการจ้างทำรายงานการค้นคว้าอิสระหรือวิทยานิพนธ์
ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาถอดถอนรายงานการค้นคว้าอิสระหรือวิทยานิพนธ์ชิ้นนั้น
๑๓. การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ
หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม
(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม
หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก
หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขานั้น ๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ
อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย
และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย ๓
หน่วยงานและรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕
๑๔. แนวทางการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก (แบบ ๑)
การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก (แบบ ๑)
ซึ่งเป็นแผนการศึกษาแบบทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
ให้สถาบันอุดมศึกษาคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
๑๔.๑ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
และเป็นผลงานที่ชี้ชัดได้ว่าสามารถที่จะสนับสนุนการวิจัยในสาขาวิชาที่เปิดสอนได้
๑๔.๒ สถาบันที่จะเปิดสอนต้องมีหลักสูตรที่ดี
มีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเชื่อถือได้ และมีทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ
๑๔.๓ สถาบันที่จะเปิดสอนต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมที่จะรองรับ
และสนับสนุนงานวิจัยของผู้เรียน
๑๔.๔ สถาบันที่จะเปิดสอนควรมีเครือข่ายความร่วมมือสนับสนุน
๑๔.๕
สถาบันที่จะเปิดสอนควรพร้อมที่จะร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นได้
๑๕. การศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
๑๕.๑ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
มิใช่ส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับปริญญาโท ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
หากต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ให้เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงหรือหลักสูตรระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
ทั้งนี้
ในการศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโทสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินร้อยละ ๔๐
ของหลักสูตรที่จะเข้าศึกษา
๑๕.๒ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
มิใช่ส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับปริญญาเอกผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
หากต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกให้ใช้คุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าเข้าศึกษา
๑๕.๓ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีระยะเวลาการศึกษา ๖ ปี
หรือเทียบเท่าปริญญาโท สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงได้โดยไม่ต้องเข้าศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโทมาก่อน
๑๖. ปริญญาบัตรและใบแสดงผลการศึกษา
การออกใบปริญญาบัตรและใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อปริญญาและชื่อสาขาวิชา
ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรฉบับที่เสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
ทั้งนี้
เพื่อมิให้เกิดปัญหาเมื่อนำไปสมัครงานหรือศึกษาต่อ
๑๗. การควบคุมมาตรฐานหลักสูตร
สภาสถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ความเห็นชอบ/อนุมัติหลักสูตรให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฉบับปี
พ.ศ. ๒๕๕๘ แต่สภาสถาบันสามารถกำหนดเกณฑ์มาตรฐานหรือกำหนดแนวปฏิบัติที่เหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐานฉบับนี้ได้
ทั้งนี้
เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น
ในกรณีมีเหตุอันควรให้เชื่อได้ว่าการจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดำเนินการเข้าติดตามตรวจสอบและเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณา
๑๘. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ตรวจ
๑๐ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๒๕/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
731987 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา นำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิต
ในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๙
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ.
๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑๓/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
701335 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ตั้งโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท[๑]
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท
เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวได้อย่างมีคุณภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๕๐ ข้อ ๒ ข้อ ๘ ข้อ ๑๓ ประกอบกับมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในคราวประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๖
จึงประกาศกำหนดให้โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาทเป็นสถานศึกษาที่มีการบริหาร
และการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๕๗
จุฑามาศ/ผู้ตรวจ
๒๐ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๒ ง/หน้า ๑๒/๒๑ มกราคม ๒๕๕๗ |
743656 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2558 (หลักสูตรหกปี) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ (หลักสูตรหกปี)[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ (หลักสูตรหกปี)
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ (หลักสูตรหกปี) ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (หลักสูตรหกปี)
ข้อ
๒
การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์
(หลักสูตรหกปี) ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (หลักสูตรหกปี) ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓
สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ (หลักสูตรหกปี)
อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๐
ข้อ
๔
กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ (หลักสูตรหกปี)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๘ เมษายน ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๐/๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ |
703782 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด พ.ศ. 2557 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๕๗
ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓
ได้กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเป็นหน่วยงานส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
ดังนั้น เพื่อให้การประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนด้านวิชาการ
และด้านการพัฒนาบุคลากรในแต่ละจังหวัดมีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพประกอบกับมติคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในการประชุม
ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
เห็นสมควรเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศการจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนในระดับจังหวัด ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
ประธานกรรมการ หมายความว่า
ประธานกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
ผู้แทนโรงเรียนเอกชน
หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ
หรือผู้บริหารของโรงเรียนนอกระบบ
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล
และจังหวัดสงขลา
ข้อ ๖ คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัด
ประกอบด้วย
(๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขตในจังหวัด
และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด
เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ
(๒) กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนหน่วยงานราชการ ได้แก่
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขตที่ดูแลโรงเรียนเอกชน
ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทุกเขตยกเว้นเขต ๑
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด
(๓) กรรมการผู้แทนโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับละไม่เกินสองคน
ผู้แทนโรงเรียนเอกชนประเภทอาชีวศึกษาไม่เกินสองคน
ผู้แทนโรงเรียนเอกชนนอกระบบไม่เกินสองคน
ผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเอกชน
สมาคมละหนึ่งคนแต่ไม่เกินจังหวัดละสามคน
กรณีจังหวัดที่มีจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ๕ เขตขึ้นไป
อาจมีกรรมการผู้แทนโรงเรียนเอกชนเพิ่มขึ้นได้อีกระดับหรือประเภทละหนึ่งคน
(๔) กรรมการตามข้อ ๖ (๑) (๒) และ (๓) เลือกกรรมการตามข้อ ๖ (๓)
เป็นประธานกรรมการ
(๕) กรรมการตามข้อ ๖ (๑) (๒) (๓) และ (๔) เสนอชื่อศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัด
หรือศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัด
ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาเอกชน ไม่เกินสองคนเป็นกรรมการ
(๖) กรรมการตามข้อ ๖ (๑) (๒) (๓) และ (๔) เสนอชื่อบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาเอกชน
ไม่เกินสองคนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
กรรมการตามข้อ ๖ (๑) (๒) (๓) และ (๔)
อาจเสนอชื่อบุคคลภายนอกเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการด้วยก็ได้
(๗) ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต ๑ เป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้ประธานกรรมการเสนอชื่อบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่กรรมการทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการหนึ่งคน
ข้อ ๗ วิธีการคัดเลือกกรรมการตามข้อ
๖ (๓) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต ๑
ประสานให้โรงเรียนเอกชนในจังหวัดดำเนินการคัดเลือกกรรมการผู้แทนโรงเรียนเอกชนและประสานงานให้สมาคมเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดดำเนินการคัดเลือกกรรมการ
ผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเอกชนให้เป็นไปตามจำนวนที่กำหนดไว้
โดยขึ้นบัญชีสำรองไว้ระดับหรือประเภทละไม่เกินสองคน
กรณีเป็นโรงเรียนในระบบที่เปิดสอนเกินกว่าหนึ่งระดับหรือประเภท
ให้มีผู้แทนได้เพียงระดับหรือประเภทเดียว
ข้อ ๘ จังหวัดใดมีโรงเรียนไม่ครบระดับหรือประเภทที่กำหนดไว้ตามข้อ
๖ (๓)
หรือไม่มีสมาคมเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเอกชนให้ถือว่ามีกรรมการครบองค์ประกอบเท่าที่มีอยู่
ข้อ ๙ ให้กรรมการตามข้อ
๖ (๓) (๔) (๕) และ (๖) อยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการตามข้อ ๖ (๓) (๔) (๕) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งตามวาระ
แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่
ในกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นำวิธีการตามข้อ
๖ (๔) มาใช้ในการคัดเลือกประธานกรรมการ
และให้อยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการตามข้อ ๖ (๓) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ผู้ได้รับการขึ้นบัญชีสำรองตามลำดับเป็นกรรมการแทน
กรณีผู้ได้รับการขึ้นบัญชีสำรองได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการครบแล้ว
ให้นำวิธีการตามข้อ ๗
มาใช้ในการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างและให้อยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่กรรมการตามข้อ ๖ (๕) (๖)
พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้นำวิธีการตาม ข้อ ๖ (๕)
(๖) มาใช้ในการคัดเลือกกรรมการตามข้อ ๖ (๕) (๖) ตามแต่กรณี
และให้อยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ข้อ ๑๐ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
เขต ๑ ส่งรายชื่อกรรมการตามข้อ ๖ (๓) (๔) (๕) และ (๖) ผู้ช่วยเลขานุการ
และบัญชีรายชื่อสำรองตามข้อ ๗ ให้สำนักงานออกประกาศแต่งตั้งกรรมการ
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่จังหวัดใดมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพียงเขตเดียว
ให้ถือว่าเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑ ตามประกาศนี้
ข้อ ๑๒ คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดมีหน้าที่
ดังนี้
(๑)
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน และโรงเรียนเอกชนทุกประเภท
ทุกระดับ
(๒) เสนอโครงการพัฒนาการศึกษาเอกชนต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และดำเนินโครงการพัฒนาผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนของจังหวัด
(๓) รับฟังปัญหาจากผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร
ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และสถานประกอบการ
เพื่อเสนอแนะต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดำเนินการอื่นตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย
ข้อ ๑๓ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการให้แล้วเสร็จภายใน
๙๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๑๔ ให้กรรมการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การจัดตั้งคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนในระดับจังหวัด ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ
หรือจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการตามประกาศนี้
ข้อ ๑๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการให้เป็นไปตามประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๗ เมษายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕๓ ง/หน้า ๒๒/๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗ |
762957 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาในต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2559 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แนวทางการจัดการศึกษาในต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาไทย
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีความพร้อมด้านวิชาการดำเนินการจัดการศึกษาในต่างประเทศ
ได้อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพในระดับนานาชาติ รวมทั้ง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตามมติในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาในต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
๓.๑
การจัดการศึกษาในต่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษาของไทย หมายถึง การดำเนินการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศโดยสถาบันอุดมศึกษาของไทย
ทั้งการจัดการเรียน การสอน โดยสถาบันอุดมศึกษาของไทย หรือโดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
ทั้งนี้ ยกเว้นการจัดการศึกษาระดับปริญญาเอก
๓.๒
สถาบันอุดมศึกษาของไทย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย
ในกำกับและในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการ
๓.๓
สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มิใช่สถาบันอุดมศึกษาของไทย
หมายรวมถึง หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรือวิจัย อาทิ สถาบันวิจัย
สถาบันวิชาชีพเฉพาะทางชั้นสูง
ข้อ
๔ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ลักษณะการจัดการเรียนการสอนในต่างประเทศ
หมายรวมวิธีการเรียนการสอนในชั้นเรียน โครงการ/กิจกรรมสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน
เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยอาจจัดการศึกษาตามรูปแบบดังนี้
(๑)
เป็นการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของไทย โดยได้รับปริญญาของไทย หรือ
(๒)
เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศโดยได้รับปริญญาของไทย
และ/หรือปริญญาร่วม
ข้อ
๕ แนวทางการจัดการศึกษา
๕.๑
สถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ไปจัดการศึกษาในต่างประเทศต้องเป็นสถาบันที่จัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของไทย
และจัดการศึกษาอย่างมีมาตรฐานและคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ และเกณฑ์อื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการการอุดมศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย
๕.๒
สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
ต้องจัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายมีมาตรฐานคุณภาพตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้น
ๆ และได้รับการรับรองวิทยฐานะโดยหน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมอบหมายให้ทำหน้าที่ในประเทศนั้น ๆ
ข้อ
๖ การจัดการศึกษา
๖.๑
สถาบันอุดมศึกษาของไทยต้องดำเนินการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามระเบียบ กฎหมาย
ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้น ๆ
๖.๒
ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยทำความตกลงร่วมมือในการจัดการศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา
แล้วแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบ
ข้อ
๗ หลักสูตร/สาขาวิชา
๗.๑
หลักสูตรที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยเปิดสอนตามข้อ ๔ (๑) ต้องสอดคล้องตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้นและเกณฑ์มาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
และต้องมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเป็นไปตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
กรณีเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
โดยได้รับปริญญาของไทย และ/หรือปริญญาร่วม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบ
และกฎหมายตามข้อตกลงความร่วมมือ
๗.๒
สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องรายงานข้อมูลการจัดการศึกษา ได้แก่ จำนวนนักศึกษา
จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลอาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และข้อมูลวิทยานิพนธ์ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาทราบ
และติดตามกำกับดูแลการจัดการศึกษา
ข้อ
๘ การให้ปริญญาให้เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างทั้งสองสถาบัน
ข้อ
๙ กรณีสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในต่างประเทศอยู่ในวันก่อนที่ประกาศกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการปรับปรุงการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงนี้ในภาคการศึกษาถัดไป
๒ ภาคการศึกษาติดต่อกัน
ข้อ
๑๐ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
หรือมีความจำ เป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๕ ง/หน้า ๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
761678 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2559 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้อง กำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๑
ข้อ
๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
วิศนี/ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕๘ ง/หน้า ๒๒/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
739700 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยที่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
ได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวสำหรับการผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับพลวัตของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยมีเจตนารมณ์ให้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘
รองรับการบริหารจัดการหลักสูตรให้ได้คุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
และตามจุดเน้นของแต่ละสาขาวิชา
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
(การศึกษาหลังปริญญาตรี) ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
(การศึกษาหลังประกาศนียบัตรบัณฑิต หรือปริญญาโท)
ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกทุกสาขาวิชา
สำหรับหลักสูตรที่จะเปิดใหม่และหลักสูตรเก่าที่จะปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
๔. ในประกาศกระทรวงนี้
อาจารย์ประจำ หมายถึง
บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรนั้น
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามพันธกิจของการอุดมศึกษา และปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
สำหรับอาจารย์ประจำที่สถาบันอุดมศึกษารับเข้าใหม่ตั้งแต่เกณฑ์มาตรฐานนี้เริ่มบังคับใช้ต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ
อาจารย์ประจำหลักสูตร หมายถึง
อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน
ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหลายหลักสูตรได้ในเวลาเดียวกัน
แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่อาจารย์ผู้นั้นมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หมายถึง
อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องอยู่ประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาโดยจะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า
๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้นพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ ให้เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้อีกหนึ่งหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถซ้ำได้ไม่เกิน
๒ คน
อาจารย์พิเศษ หมายถึง
ผู้สอนที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ
๕. ปรัชญา
และวัตถุประสงค์
๕.๑ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ
ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ
เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ
เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จในตัวเอง
๕.๒ หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ
ปรัชญาของการอุดมศึกษา
ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล
เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง
ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ
รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง
มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้ ในระดับปริญญาโท
มุ่งให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม
ในขณะที่ระดับปริญญาเอก
มุ่งให้มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน
สังคม และประเทศ
๖. ระบบการจัดการศึกษา
ใช้ระบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ ๑
ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์
สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต
โดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค หรือระบบจตุรภาค
ให้ถือแนวทางดังนี้
ระบบไตรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการศึกษาปกติ ๑
ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์
โดย ๑ หน่วยกิตระบบไตรภาค เทียบได้กับ ๑๒/๑๕ หน่วยกิตระบบทวิภาค หรือ
๔ หน่วยกิต ระบบทวิภาค เทียบได้กับ ๕ หน่วยกิตระบบไตรภาค
ระบบจตุรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ภาคการศึกษาปกติ ๑
ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๐ สัปดาห์
โดย ๑ หน่วยกิตระบบจตุรภาค เทียบได้กับ ๑๐/๑๕ หน่วยกิตระบบทวิภาค หรือ
๒ หน่วยกิต ระบบทวิภาค เทียบได้กับ ๓ หน่วยกิตระบบจตุรภาค
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่น
ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย
๗. การคิดหน่วยกิต
๗.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า ๑๕
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า ๓๐
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๓ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๔ การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
ที่ใช้เวลา ทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ
ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต ระบบทวิภาค
๗.๕ การค้นคว้าอิสระ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า ๔๕
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๖ วิทยานิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า ๔๕
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๘. โครงสร้างหลักสูตร
๘.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ให้มีจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
๘.๒ ปริญญาโท ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓๖
หน่วยกิต โดยแบ่งการศึกษาเป็น ๒ แผน คือ
แผน ก เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ดังนี้
แบบ ก ๑ ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้โดยไม่นับหน่วยกิต
แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด
แบบ ก ๒ ทำวิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า
๑๒ หน่วยกิต
แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษางานรายวิชา
โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
และไม่เกิน ๖ หน่วยกิต
๘.๓ ปริญญาเอก แบ่งการศึกษาเป็น ๒ แบบ
โดยเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพชั้นสูง คือ
แบบ ๑
เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้โดยไม่นับหน่วยกิต
แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนดดังนี้
แบบ ๑.๑ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต
แบบ ๑.๒ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า
๗๒ หน่วยกิต
ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ตามแบบ ๑.๑ และแบบ ๑.๒
จะต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน
แบบ ๒
เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้
แบบ ๒.๑ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า ๑๒
หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า ๒๔
หน่วยกิต
ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ตามแบบ ๒.๑ และแบบ ๒.๒
จะต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน
๙. การรับและเทียบโอนหน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจยกเว้นหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาหรือวิทยานิพนธ์จากหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ให้กับนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถที่สามารถวัดมาตรฐานได้
ทั้งนี้
นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ
และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
อนึ่ง ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
หากเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
ให้เทียบโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินร้อยละ ๔๐ ของหลักสูตรที่จะเข้าศึกษา
๑๐. จำนวน คุณวุฒิ
และคุณสมบัติของอาจารย์
๑๐.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิต
๑๐.๑.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร
มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิชาชีพ
อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพนั้น ๆ
๑๐.๑.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอย่างน้อย ๕ คน
มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์
ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย ๓ รายการ
ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวน
หรือมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่า ๑๐ คน
ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีนั้นให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
๑๐.๑.๓ อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ
ที่มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๑ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
ในกรณีของอาจารย์พิเศษ อาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโท แต่ทั้งนี้
ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี ทั้งนี้ อาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ
๕๐ ของรายวิชาโดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิชาชีพ
อาจารย์ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพนั้น ๆ
๑๐.๒ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
๑๐.๒.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิชาชีพ
อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพนั้น ๆ
๑๐.๒.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอย่างน้อย ๕ คน
มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวนหรือมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่า
๑๐ คน
ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีนั้นให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
๑๐.๒.๓ อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน
และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์
ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย ๑ รายการ
ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
ในกรณีของอาจารย์พิเศษ อาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาเอกแต่ทั้งนี้ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี ทั้งนี้ อาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ
๕๐ ของรายวิชาโดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิชาชีพ
อาจารย์ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพนั้น ๆ
๑๐.๓ ปริญญาโท
๑๐.๓.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
๑๐.๓.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอย่างน้อย ๓ คน
มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวน
หรือมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่า ๑๐ คน
ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีนั้นให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
๑๐.๓.๓ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ แบ่งออกเป็น ๒
ประเภท คือ
๑) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและการค้นคว้าอิสระ
ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาและเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการ ต้องเป็นผลงานวิจัย
๒) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)
ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติดังนี้
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นอาจารย์ประจำ
ต้องมีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการเช่นเดียวกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า ๑๐ เรื่อง
กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ไม่มีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดข้างต้น
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ
โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น
และแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
๑๐.๓.๔ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์
ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน รวมไม่น้อยกว่า ๓
คน ทั้งนี้
ประธานกรรมการสอบต้องไม่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
โดยอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องมีคุณวุฒิ คุณสมบัติ และผลงานทางวิชาการดังนี้
๑) กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตร
ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าหรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
๒) กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ ไม่น้อยกว่า ๑๐
เรื่อง
กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ไม่มีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดข้างต้น
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือการค้นคว้าอิสระ
โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น
และแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
๑๐.๓.๕ อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ
ที่มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า
ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๑ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
ทั้งนี้ อาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
๑๐.๔ ปริญญาเอก
๑๐.๔.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
๑๐.๔.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอย่างน้อย ๓ คน
มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปี ย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์
ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวน หรือมีจำนวนนักศึกษาน้อยกว่า ๑๐ คน
ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีนั้นให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
๑๐.๔.๓ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
๒) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)
ต้องมีคุณวุฒิและคุณสมบัติดังนี้
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นอาจารย์ประจำ
ต้องมีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการเช่นเดียวกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง
กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ไม่มีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดข้างต้น
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นที่ยอมรับ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์
โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นและแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
๑๐.๔.๔ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์
ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน รวมไม่น้อยกว่า ๕
คน ทั้งนี้ประธานกรรมการสอบต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
โดยอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องมีคุณวุฒิ คุณสมบัติ และผลงานทางวิชาการดังนี้
๑) กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าหรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์
และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๓ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย ๑ รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
๒) กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๕ เรื่อง
กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ไม่มีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดข้างต้น
ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมากเป็นที่ยอมรับ
ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์
โดยผ่านความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นและแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบ
๑๐.๔.๕ อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ
ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
หรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอน และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๑ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
ในกรณีรายวิชาที่สอนไม่ใช่วิชาในสาขาวิชาของหลักสูตร
อนุโลมให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่ารองศาสตราจารย์
ทำหน้าที่อาจารย์ผู้สอนได้
ทั้งนี้ อาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
๑๑. ภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
๑๑.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร ๑ คน
ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกตามหลักเกณฑ์ดังนี้
กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
และมีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์
ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกรวมได้ไม่เกิน ๕
คน ต่อภาคการศึกษา
กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
และดำรงตำแหน่งระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป
หรือมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์
ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกรวมได้ไม่เกิน
๑๐ คนต่อภาคการศึกษา
กรณีอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์และมีความจำเป็นต้องดูแลนักศึกษาเกินกว่าจำนวนที่กำหนดให้เสนอต่อสภาสถาบันพิจารณา
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๑๕ คนต่อภาคการศึกษา
หากมีความจำเป็นต้องดูแลนักศึกษามากกว่า ๑๕ คน ให้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นรายกรณี
๑๑.๒ อาจารย์ประจำหลักสูตร ๑ คน
ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโทได้ไม่เกิน ๑๕ คน
หากเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
ให้คิดสัดส่วนจำนวนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ ๑ คน
เทียบได้กับจำนวนนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ ๓ คน แต่ทั้งนี้รวมแล้วต้องไม่เกิน ๑๕
คนต่อภาคการศึกษา
๑๑.๓ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ต้องทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และ/หรืออาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์
และ/หรืออาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรนั้นด้วย
๑๒. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑๒.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิต จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
๑๒.๒ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตหรือปริญญาโท หรือเทียบเท่า
๑๒.๓ ปริญญาโท
จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
๑๒.๔ ปริญญาเอก จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่มีผลการเรียนดีมาก
หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า
และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑๓. การลงทะเบียนเรียนและระยะเวลาการศึกษา
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๑๕ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และให้ใช้เวลาศึกษาในแต่ละหลักสูตรดังนี้
๑๓.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๓ ปีการศึกษา
๑๓.๒ ปริญญาโท ให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๕ ปีการศึกษา
๑๓.๓ ปริญญาเอก
ผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๘
ปีการศึกษา
ส่วนผู้ที่สำเร็จปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน
๖ ปีการศึกษา
การลงทะเบียนเรียนสำหรับผู้เข้าศึกษาแบบไม่เต็มเวลา
ให้สถาบันอุดมศึกษากำหนดจำนวนหน่วยกิตที่ให้ลงทะเบียนเรียนได้ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ
โดยเทียบเคียงกับจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดข้างต้นในสัดส่วนที่เหมาะสม
หากสถาบันอุดมศึกษาใดมีเหตุผลและความจำเป็นพิเศษ
การลงทะเบียนเรียนที่มีจำนวนหน่วยกิตแตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นก็อาจทำได้
แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
๑๔. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาจะต้องปฏิบัติดังนี้
๑๔.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
และต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
๑๔.๒ ปริญญาโท
๑๔.๒.๑ แผน ก แบบ ก ๑ เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย
โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์
หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๑๔.๒.๒ แผน ก แบบ ก ๒ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ
(Proceedings) ดังกล่าว
๑๔.๒.๓ แผน ข ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร
โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น พร้อมทั้งเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระและสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
และรายงานการค้นคว้าอิสระหรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
๑๔.๓ ปริญญาเอก
๑๔.๓.๑ แบบ ๑ สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์
เสนอวิทยานิพนธ์
และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
อย่างน้อย ๒ เรื่อง
๑๔.๓.๒ แบบ ๒ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร
โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์
เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๑๕. ชื่อประกาศนียบัตรและชื่อปริญญา
๑๕.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้ใช้ชื่อว่า ประกาศนียบัตรบัณฑิต (Graduate Diploma) อักษรย่อ ป.บัณฑิต (Grad. Dip.) แล้วตามด้วยชื่อสาขาวิชาต่อท้าย
๑๕.๒ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ให้ใช้ชื่อว่า ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง (Higher Graduate Diploma) อักษรย่อ ป.บัณฑิตชั้นสูง
(Higher Grad. Dip.) แล้วตามด้วยชื่อสาขาวิชาต่อท้าย
๑๕.๓ ปริญญาโทและปริญญาเอก
สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้นในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา
หรือกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
ตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑๖. การประกันคุณภาพของหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรโดยมีองค์ประกอบในการประกันคุณภาพอย่างน้อย
๖ ด้าน คือ
(๑) การกำกับมาตรฐาน
(๒) บัณฑิต
(๓) นักศึกษา
(๔) คณาจารย์
(๕) หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
(๖) สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
๑๗. การพัฒนาหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยโดยมีการประเมิน และรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรทุกปีการศึกษาเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะ
ๆ อย่างน้อย ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรือทุกรอบ ๕ ปี
๑๘. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ตรวจ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๑๒/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
729006 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. 2558 เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถาบันการอาชีวศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
ของสถาบันการอาชีวศึกษา[๑]
ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๓๔ วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง
กำหนดให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษามีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐาน
และหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และแผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรา ๑๗ วรรคสอง
กำหนดให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณามาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับปริญญาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
จึงประกาศให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถาบันการอาชีวศึกษา ตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
เพื่อให้สถาบันการอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งเสริมการกำกับดูแล
การตรวจสอบ
การประเมินผลและการประกันคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
ทั้งนี้ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หลักการและมาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับปริญญา
พ.ศ. ๒๕๕๘ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง
ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถาบันการอาชีวศึกษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ มิถุนายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๑๙ มิถุนายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๒๗/๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ |
718067 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
อนุสนธิประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ ข้อ ๖
ให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาตินี้เป็นหลักในการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
และให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสถานศึกษานำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษานั้น โดยที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการไว้แล้ว
ดังนั้น จึงกำหนดมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ให้สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
เพื่อเป็นหลักและแนวทางในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแต่ละระดับ
ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๕๗ จึงประกาศกำหนดมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อาชีวศึกษาแห่งชาติ
และมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
ข้อ ๓ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของผู้สำเร็จการศึกษาในแต่ละระดับ
โดยมีแนวทางการจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๔ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนามาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก
๕ ปี
ข้อ ๕ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องวินิจฉัยรายละเอียดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแนบท้ายประกาศนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือว่าคำวินิจฉัยของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
ภีราพร/ผู้ตรวจ
๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง/หน้า ๔/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ |
771696 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี พ.ศ. 2560 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยี
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยี ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยี ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยี อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๒
ข้อ
๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๙/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐ |
761680 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2559
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙
จึงออกประกาศให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งเสริม การกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล
และการประกันคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา ตามเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานการอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๙ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ลงวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
วิศนี/ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๕๘ ง/หน้า ๒๓/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
744788 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๐
ข้อ
๔ กรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้าย
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ.
๒๕๕๘ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๗/๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ |
744790 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาศิลปกรรมศาสตร์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๖๐
ข้อ
๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้าย
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๘/๒๙ มกราคม ๒๕๕๙ |
714355 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2557 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๘ วรรคห้า และมาตรา ๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. ๒๕๔๑ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๓๖
ข้อ ๒ ให้แบ่งส่วนราชการในคณะมนุษยศาสตร์ ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
(๓) ภาควิชาประวัติศาสตร์
(๔) ภาควิชาปรัชญา
(๕) ภาควิชาภาษาตะวันตก
(๖) ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก
(๗) ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์
(๘) ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
สุทธศรี
วงษ์สมาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๙๓ ง/หน้า ๒๐/๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ |
724214 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2557 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตร
และจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี
สาขาวิชาคหกรรมศาตร์อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๑/๖ มีนาคม ๒๕๕๘ |
731985 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๙
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๗๐ ง/หน้า ๑๒/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘ |
739698 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยที่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
ได้ประกาศใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวสำหรับการผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับพลวัตของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยมีเจตนารมณ์ให้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
รองรับการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีลักษณะที่แตกต่างตามจุดเน้นของสาขาวิชาการและวิชาชีพต่าง
ๆ ตอบสนองการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ตลาดแรงงาน ความก้าวหน้าของศาสตร์และเทคโนโลยี
รวมทั้งบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาที่จะเปิดใหม่และหลักสูตรเก่าที่จะปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก
๓.๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๒ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๓๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
๔. ในประกาศกระทรวงนี้
อาจารย์ประจำ หมายถึง
บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรนั้น
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามพันธกิจของการอุดมศึกษา และปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา
สำหรับอาจารย์ประจำที่สถาบันอุดมศึกษารับเข้าใหม่ตั้งแต่เกณฑ์มาตรฐานนี้เริ่มบังคับใช้ต้องมีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง มาตรฐานความสามารถภาษาอังกฤษของอาจารย์ประจำ
อาจารย์ประจำหลักสูตร หมายถึง
อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน
ซึ่งมีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชาดังกล่าว ทั้งนี้
สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหลายหลักสูตรได้ในเวลาเดียวกัน
แต่ต้องเป็นหลักสูตรที่อาจารย์ผู้นั้นมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หมายถึง
อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องอยู่ประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษา
โดยจะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า ๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ ยกเว้น
พหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ ให้เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้อีกหนึ่งหลักสูตร
และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถซ้ำได้ไม่เกิน ๒ คน
อาจารย์พิเศษ หมายถึง
ผู้สอนที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ
๕. ปรัชญา
และวัตถุประสงค์
มุ่งให้การผลิตบัณฑิตมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติปรัชญาของการอุดมศึกษา
ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา
และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากลให้การผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาอยู่บนฐานความเชื่อว่ากำลังคนที่มีคุณภาพต้องเป็นบุคคลที่มีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองดีที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม
และมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองบนฐานภูมิปัญญาไทย ภายใต้กรอบศีลธรรมจรรยาอันดีงาม
เพื่อนำพาประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและทัดเทียมมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับส่งเสริมกระบวนการผลิตบัณฑิตที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
ที่มีการสื่อสารแบบไร้พรมแดน มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ตามกรอบมาตรฐานและจรรยาบรรณที่กำหนด
สามารถสร้างสรรค์งานที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล
โดยแบ่งหลักสูตรเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้
๕.๑ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ แบ่งเป็น ๒ แบบ ได้แก่
๕.๑.๑ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎี
และภาคปฏิบัติ เน้นความรู้และทักษะด้านวิชาการ
สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างสร้างสรรค์
๕.๑.๒ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ
ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรี สำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถระดับสูง
โดยใช้หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว ให้รองรับศักยภาพของผู้เรียน
โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาบางรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนอยู่แล้ว
และสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทำวิจัยที่ลุ่มลึกทางวิชาการ
๕.๒ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ แบ่งเป็น ๒ แบบ
ได้แก่
๕.๒.๑ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นความรู้
สมรรถนะและทักษะด้านวิชาชีพตามข้อกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ หรือมีสมรรถนะและทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้น
ๆ โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการ หรือสหกิจศึกษา
หลักสูตรแบบนี้เท่านั้นที่จัดหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ได้
เพราะมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติการอยู่แล้ว
ให้มีความรู้ด้านวิชาการมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้รับการฝึกปฏิบัติขั้นสูงเพิ่มเติม
หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี
และจะต้องสะท้อนปรัชญาและเนื้อหาสาระของหลักสูตรปริญญาตรีนั้น ๆ โดยครบถ้วน
และให้ระบุคำว่า ต่อเนื่อง ในวงเล็บต่อท้ายชื่อหลักสูตร
๕.๒.๒ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ
มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้
สมรรถนะทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการขั้นสูงโดยใช้หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว
ให้รองรับศักยภาพของผู้เรียน
โดยกำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาบางรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนอยู่แล้ว และทำวิจัยที่ลุ่มลึกหรือได้รับการฝึกปฏิบัติขั้นสูงในหน่วยงานองค์กร
หรือสถานประกอบการ
หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการหรือทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการต้องมีการเรียนรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๒ หน่วยกิต
๖. ระบบการจัดการศึกษา
ใช้ระบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาค การศึกษาปกติ ๑
ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์
สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค หรือระบบจตุรภาค
ให้ถือแนวทางดังนี้
ระบบไตรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๒ สัปดาห์
โดย ๑ หน่วยกิตระบบไตรภาค เทียบได้กับ ๑๒/๑๕ หน่วยกิตระบบทวิภาค หรือ
๔ หน่วยกิตระบบทวิภาค เทียบได้กับ ๕ หน่วยกิตระบบไตรภาค
ระบบจตุรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๐ สัปดาห์
โดย ๑ หน่วยกิตระบบจตุรภาค เทียบได้กับ ๑๐/๑๕ หน่วยกิตระบบทวิภาค หรือ
๒ หน่วยกิตระบบทวิภาค เทียบได้กับ ๓ หน่วยกิตระบบจตุรภาค
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่น
ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย
๗. การคิดหน่วยกิต
๗.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า ๑๕
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า ๓๐
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๓ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕
ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗.๔
การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น
ๆ ไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ
ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๘. จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา
๘.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๒๐
หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
และไม่เกิน ๑๒ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๘.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๕๐
หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๑๐ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
และไม่เกิน ๑๕ ปี การศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๘.๓ หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า ๖ ปี)
ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๘๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๑๒ ปีการศึกษา
สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน ๑๘ ปีการศึกษา
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๘.๔ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า
๗๒ หน่วยกิตใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๔ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
และไม่เกิน ๖ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา ทั้งนี้
ให้นับเวลาศึกษาจากวันที่เปิดภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรนั้น
๙. โครงสร้างหลักสูตร
ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี
โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชาดังนี้
๙.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง
หมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ
ใส่ใจต่อความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด
ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ภาษาและกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
อนึ่ง การจัดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
อาจได้รับการยกเว้นรายวิชาที่ได้ศึกษามาแล้วในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือระดับอนุปริญญา
ทั้งนี้
จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่ได้รับการยกเว้นดังกล่าว
เมื่อนับรวมกับรายวิชาที่จะศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ต้องไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
๙.๒ หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมดังนี้
๙.๒.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) ทางวิชาการ
ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า ๗๒ หน่วยกิต
๙.๒.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) ทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า ๗๒ หน่วยกิต
โดยต้องเรียนวิชาทางปฏิบัติการตามที่มาตรฐานวิชาชีพกำหนด
หากไม่มีมาตรฐานวิชาชีพกำหนดต้องเรียนวิชาทางปฏิบัติการไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต
และทางทฤษฎีไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
หลักสูตร (ต่อเนื่อง) ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า
๔๒ หน่วยกิต ในจำนวนนั้นต้องเป็นวิชาทางทฤษฏีไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต
๙.๒.๓ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี)
ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า ๙๐ หน่วยกิต
๙.๒.๔ หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า ๖ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า
๑๐๘ หน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดหมวดวิชาเฉพาะในลักษณะวิชาเอกเดี่ยว วิชาเอกคู่
หรือวิชาเอกและวิชาโทก็ได้ โดยวิชาเอกต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต และวิชาโทต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า
๑๕ หน่วยกิต ในกรณีที่จัดหลักสูตรแบบวิชาเอกคู่ต้องเพิ่มจำนวนหน่วยกิตของวิชาเอกอีกไม่น้อยกว่า
๓๐ หน่วยกิต และให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๕๐ หน่วยกิต
สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้า
ผู้เรียนต้องเรียนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาในหมวดวิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
๙.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ
ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีโดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจยกเว้นหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ให้กับนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ
ที่สามารถวัดมาตรฐานได้ ทั้งนี้
นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ
และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๑๐. จำนวน คุณวุฒิ
และคุณสมบัติของอาจารย์
๑๐.๑ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการประกอบด้วย
๑๐.๑.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร
มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าหรือมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และต้องมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๑ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
๑๐.๑.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
มีคุณวุฒิและคุณสมบัติเช่นเดียวกับอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวนอย่างน้อย ๕ คน
กรณีที่หลักสูตรจัดให้มีวิชาเอกมากกว่า ๑ วิชาเอก
ให้จัดอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่าวิชาเอกละ
๓ คน
กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวน
ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีนั้นให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
๑๐.๑.๓ อาจารย์ผู้สอน อาจเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า
หรือมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน
ในกรณีที่มีอาจารย์ประจำ
ที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและทำหน้าที่อาจารย์ผู้สอนก่อนที่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. ๒๕๕๘ จะประกาศใช้ ให้สามารถทำหน้าที่อาจารย์ผู้สอนต่อไปได้
ในกรณีของอาจารย์พิเศษอาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโท แต่ทั้งนี้ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี ทั้งนี้
อาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ ๕๐
ของรายวิชาโดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
๑๐.๒ หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
และหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ประกอบด้วย
๑๐.๒.๑ อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าหรือมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
และต้องมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาและเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อย
๑ รายการ ในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
ที่เน้นทักษะด้านวิชาชีพตามข้อกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ
อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพนั้น ๆ
กรณีร่วมผลิตหลักสูตรกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา หากจำเป็น
บุคลากรที่มาจากหน่วยงานนั้นอาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโทและผลงานทางวิชาการ แต่ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานแห่งนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี
๑๐.๒.๒ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิและคุณสมบัติเช่นเดียวกับอาจารย์ประจำหลักสูตร
จำนวนอย่างน้อย ๕ คน
ในกรณีของหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการที่เน้นทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้น
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย ๒ ใน ๕ คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านปฏิบัติการ
โดยอาจเป็นอาจารย์ประจำของสถาบันอุดมศึกษา
หรือเป็นบุคลากรของหน่วยงานที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งมีข้อตกลงในการผลิตบัณฑิตของหลักสูตรนั้นร่วมกัน
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๒ คน
กรณีร่วมผลิตหลักสูตรกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา หากจำเป็น
บุคลากรที่มาจากหน่วยงานนั้นอาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโทและผลงานทางวิชาการ แต่ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานแห่งนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี
กรณีที่หลักสูตรจัดให้มีวิชาเอกมากกว่า ๑ วิชาเอก
ให้จัดอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่าวิชาเอกละ
๓ คน
และหากเป็นปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการที่เน้นทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์สาขาวิชานั้น
ต้องมีสัดส่วนอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในด้านปฏิบัติการ ๑ ใน ๓
กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสาขาวิชาที่ไม่สามารถสรรหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามจำนวน
ทางสถาบันอุดมศึกษาต้องเสนอจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีนั้นให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาเป็นรายกรณี
๑๐.๒.๓ อาจารย์ผู้สอน
อาจเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษที่มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า
หรือมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือในสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน
ในกรณีที่มีอาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และทำหน้าที่อาจารย์ผู้สอนก่อนที่เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘
จะประกาศใช้ ให้สามารถทำหน้าที่อาจารย์ผู้สอนต่อไปได้
สำหรับกรณีร่วมผลิตหลักสูตรกับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษา หากจำเป็น
บุคลากรที่มาจากหน่วยงานนั้นอาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโทและผลงานทางวิชาการ แต่ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานแห่งนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี
ในกรณีของอาจารย์พิเศษอาจได้รับการยกเว้นคุณวุฒิปริญญาโท แต่ทั้งนี้ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
และมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี ทั้งนี้ อาจารย์พิเศษต้องมีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ
๕๐ ของรายวิชาโดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น
สำหรับหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการที่เน้นทักษะด้านวิชาชีพตามข้อกำหนดของมาตรฐานวิชาชีพ
อาจารย์ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพนั้น ๆ
๑๑. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑๑.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี ๕ ปี และไม่น้อยกว่า ๖ ปี)
จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
๑๑.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า
หรือระดับอนุปริญญา (๓ ปี) หรือเทียบเท่า
ในสาขาวิชาที่ตรงกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษา
๑๑.๓ หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทั้งทางวิชาการ
และทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
และมีผลการเรียนในหลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ ทุกภาคการศึกษา อนึ่ง
ในระหว่างการศึกษาในหลักสูตรแบบก้าวหน้า
หากภาคการศึกษาใดภาคการศึกษาหนึ่งมีผลการเรียนต่ำกว่า ๓.๕๐ จากระบบ ๔
ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า จะถือว่าผู้เรียนขาดคุณสมบัติในการศึกษาหลักสูตรแบบก้าวหน้า
๑๒. การลงทะเบียนเรียน
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๒ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๙ หน่วยกิต
ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
และจะสำเร็จการศึกษาได้ดังนี้
๑๒.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน ๖
ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน ๑๔ ภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๑๒.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน ๘
ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน ๑๗ ภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๑๒.๓ หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า ๖ ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน
๑๐ ภาค การศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน ๒๐
ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๑๒.๔ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน ๔
ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน ๘ ภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
สำหรับการลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อน ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๙
หน่วยกิต
หากสถาบันอุดมศึกษาใดมีเหตุผลและความจำเป็น
การลงทะเบียนเรียนที่มีจำนวนหน่วยกิตแตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นก็อาจทำได้
แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ ต้องเรียนให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร
๑๓. เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
ให้สถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์การวัดผลเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละรายวิชา
และเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า จึงถือว่าเรียนจบหลักสูตรปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ระบบการวัดผลและการสำเร็จการศึกษาที่แตกต่างจากนี้
จะต้องกำหนดให้มีค่าเทียบเคียงกันได้
๑๔. ชื่อปริญญา
สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว
ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น
ในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา
หรือกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑๕. การประกันคุณภาพของหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตร โดยมีองค์ประกอบในการประกันคุณภาพอย่างน้อย
๖ ด้าน คือ
(๑) การกำกับมาตรฐาน
(๒) บัณฑิต
(๓) นักศึกษา
(๔) อาจารย์
(๕) หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
(๖) สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
๑๖. การพัฒนาหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย
โดยมีการประเมินและรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรทุกปีการศึกษา
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรเป็นระยะ ๆ
อย่างน้อยตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรือทุกรอบ ๕ ปี
๑๗. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ตรวจ
๑๔ ธันวาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๙๕ ง/หน้า ๒/๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ |
716841 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2557 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒ กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๖/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น
ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
สุทธศรี
วงษ์สมาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์พ.ศ. ๒๕๕๗ (มคอ.๑)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
ภีราพร/ผู้ตรวจ
๑๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง/หน้า ๖/๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ |
754735 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2559 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๕๙
การกำหนดชื่อปริญญาตามคุณวุฒิสาขาวิชา
ที่แสดงถึงการมีความรู้ตามหลักการพื้นฐานของศาสตร์ที่ครอบคลุมสาขาวิชา
โดยในระดับปริญญาตรีควรกำหนดให้มีพื้นฐานในสาขาศิลปศาสตร์
หรือวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ให้ได้รับคุณวุฒิตามชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต
หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต
เพื่อให้การกำหนดชื่อปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาเป็นระบบและสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
เห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญาให้เหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว
ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น
ในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา
หรือสถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ.
๒๕๕๙ นี้
ข้อ
๔ ให้ยกเลิก
๔.๑
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๔.๒
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่
๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๔.๓
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๘
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
๔.๔
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่
๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
๔.๕
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่
๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
๔.๖
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๔
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ
๕ ประเภทของการกำหนดชื่อปริญญา
แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๕.๑
ปริญญาประเภทวิชาการ
๕.๑.๑
ปริญญาศิลปศาสตร์
สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านศิลปศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่าศิลปศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Arts) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(Master of Arts)
และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑)
กลุ่มสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์ (Humanities)
๑.๑)
สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา อาทิ พุทธศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา ศาสนาเปรียบเทียบ
๑.๒)
สาขาวิชาภาษา วรรณคดี อาทิ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต จารึกภาษาไทย
การแปล วรรณคดีไทย วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ
๑.๓)
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี อาทิ ไทยคดีศึกษา ประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ
๑.๔
สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม อาทิ อารยธรรมศึกษา
(๒)
กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
๒.๑)
สาขาวิชาจิตวิทยา (Psychology) อาทิ จิตวิทยาสังคม พฤติกรรมศาสตร์
๒.๒)
สาขาวิชาสังคมวิทยา (Sociology) อาทิ มานุษยวิทยา วัฒนธรรมศึกษา
๕.๑.๒
ปริญญาวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่า
วิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้
คือ
(๑)
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
๑.๑)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) อาทิ
ชีววิทยา ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ จุลชีววิทยา พิษวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา กีฏวิทยา
พันธุศาสตร์
๑.๒)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) อาทิ
เคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์กายภาพ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา
๑.๓)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and Statistics) อาทิ คณิตศาสตร์ การวิจัยดำเนินงาน สถิติ คณิตศาสตร์ประกันภัย
๑.๔)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computing) อาทิ วิทยาการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ
(๒)
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences)
๒.๑)
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (Agriculture) อาทิ ประมง พืชไร่ วนศาสตร์ สัตวบาล สัตวศาสตร์
๒.๒)
สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental Sciences and Natural Resources) อาทิ การจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาการสิ่งแวดล้อม
๒.๓)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Sciences) อาทิ
กายวิภาคศาสตร์ นิติเวชศาสตร์ เวชนิทัศน์ สรีรวิทยา
๒.๔)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ (Other Applied Sciences) อาทิ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ วัสดุศาสตร์ การเหมืองแร่
๕.๑.๓ ปริญญาตามชื่อศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (Political Sciences) อาทิ การเมือง การปกครอง นโยบายสาธารณะ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) อาทิ
เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
(๑)
สาขาวิชารัฐศาสตร์ (Political Sciences) ให้ใช้ชื่อปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Political Science) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of
Political Science) และรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(Doctor of Political Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
(๒)
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ให้ใช้ชื่อปริญญาเศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economics) เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Economics) และเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(Doctor of Economics) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
๕.๒
ปริญญาประเภทวิชาชีพ
๕.๒.๑
สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้เน้นการศึกษาในลักษณะของศาสตร์เชิงประยุกต์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ
สาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายขององค์กรวิชาชีพ
กลุ่มสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามสาขาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นหลัก ในทุกระดับปริญญา (บัณฑิต
มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต) สำหรับปริญญาเอกอาจกำหนดชื่อปริญญาเป็น
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑)
สาขาวิชากายภาพบำบัด (Physical Therapy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับ ปริญญาตรีว่า
กายภาพบำบัดบัณฑิต (Bachelor of Physical Therapy) หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
(๒)
สาขาวิชาการบัญชี (Accountancy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy) หรือ (Bachelor of Accounting) หรือบริหารธุรกิจบัณฑิต
(บัญชี) (Bachelor of Business Administration) (Accountancy) หรือ (Bachelor of Business Administration) (Accounting)
(๓)
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญา
ในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (Bachelor of Thai Traditional Medicine)
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ให้ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)
(๔)
สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนจีนบัณฑิต
(Bachelor of Traditional Chinese Medicine)
(๕)
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
เทคนิคการแพทยบัณฑิต (Bachelor of Medical Technology)
(๖)
สาขาวิชานิติศาสตร์ (Laws) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า นิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws)
(๗)
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Nursing Science)
(๘)
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering)
(๙)
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (Education) หรือสาขาวิชาครุศาสตรอุตสาหกรรม (Industrial Education, Technical Education) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
ศึกษาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education) หรือครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต (Bachelor of Science in Industrial Education) หรือ (Bachelor of Science in Technical Education)
(๑๐)
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture) หรือภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture)
(๑๑)
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Health)
๕.๒.๒
สาขาวิชาทางด้านวิชาชีพ ซึ่งมีระดับชั้นปริญญาตรีเป็นปริญญาสูงสุด ให้ใช้ชื่อปริญญาตามสาขาวิชาชีพนั้น
ๆ เป็นหลักในระดับชั้นปริญญาตรี สำหรับระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอก
ให้ใช้วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) สำหรับปริญญาเอกอาจกำหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(Doctor of Philosophy) ได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑)
สาขาวิชาทันตแพทย์ศาสตร์ (Dentistry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery)
(๒)
สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry)
(๓)
สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า แพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
(๔)
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Pharmacy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เภสัชศาสตรบัณฑิต (Doctor of Pharmacy)
(๕)
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Veterinary Medicine)
๕.๓
ปริญญาประเภทกึ่งวิชาชีพและปฏิบัติการ
๕.๓.๑
ประเภทกึ่งวิชาชีพ
กลุ่มสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพหรือกฎหมายรองรับแต่เป็นศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ
การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามกลุ่มสาขาวิชาที่กำหนด
การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามสาขาวิชาชีพนั้น ๆ เป็นหลักในทุกระดับปริญญา (บัณฑิต
มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต)
สำหรับปริญญาเอกอาจกำหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิตได้
กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
(๑)
สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์ ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Prosthetics and Orthotics)
(๒)
สาขาวิชาการจัดการ (Management) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า การจัดการบัณฑิต (Bachelor of Management)
(๓)
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ (Music) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Music)
(๔)
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (Communication Arts) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
นิเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Communication Arts)
(๕)
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Business Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration)
(๖)
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (Public Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Administration)
(๗)
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (Fine and Applied Arts) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
ศิลปบัณฑิต (Bachelor of Fine Arts) หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Fine and Applied Arts)
(๘)
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Social Work) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Social Work)
(๙)
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า
สารสนเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Information Science)
ทั้งนี้
กรณีจัดทำหลักสูตรในสาขาวิชาประเภทกึ่งวิชาชีพ หากสถาบันอุดมศึกษาใด จัดหลักสูตร
โดยจัดเนื้อหาเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ทางศิลปศาสตร์
หรือศาสตร์บริสุทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ให้ใช้ชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต
หรือปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตได้
๕.๓.๒
ประเภทปฏิบัติการ
สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเป็นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
ให้ใช้ชื่อปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) และเทคโนโลยีมหาบัณฑิต (Master of Technology) หรืออุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Industrial Technology) และอุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Industrial Technology) หรือชื่อปริญญาอื่น
ที่แสดงให้เห็นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
ข้อ
๖ ชื่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
และอักษรย่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท ปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท ปริญญาเอก)
๑.
๑.๑
๑.๒
๑.๓
๑.๓.๑
๑.๓.๒
๒.
๒.๑
๒.๑.๑
๒.๑.๒
ปริญญาประเภทวิชาการ
ปริญญาศิลปศาสตร์
ศิลปศาสตรบัณฑิต
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาตามชื่อศาสตร์
สาขาวิชารัฐศาสตร์
รัฐศาสตรบัณฑิต
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาประเภทวิชาชีพ
ชื่อปริญญาตามสาขาวิชา
สาขาวิชากายภาพบำบัด
กายภาพบำบัดบัณฑิต
กายภาพบำบัดมหาบัณฑิต
กายภาพบำบัดดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบัญชี
ศศ.บ
ศศ.ม.
ศศ.ด.
ปร.ด.
วท.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
ร.บ.
ร.ม.
ร.ด.
ปร.ด.
ศ.บ.
ศ.ม.
ศ.ด.
ปร.ด.
กภ.บ.
กภ.ม.
กภ.ด.
ปร.ด.
Bachelor of Arts
Master of Arts
Doctor of Arts
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Science
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Political Science
Master of Political Science
Doctor of Political Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Economics
Master of Economics
Doctor of Economics
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Physical Therapy
Master of Physical Therapy
Doctor of Physical Therapy
หรือ
Doctor of Philosophy
B.A.
M.A.
D.A.
Ph.D.
B.S.,B.Sc.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
B.Pol.Sc.
M.Pol.Sc.
D.Pol.Sc.
Ph.D.
B.Econ.
M.Econ.
D.Econ.
Ph.D.
B.PT.
M.PT.
D.PT.
Ph.D.
๒.๑.๓
๒.๑.๔
๒.๑.๕
บัญชีบัณฑิต
บัญชีมหาบัณฑิต
บช.ม.
บัญชีดุษฎีบัณฑิต
บช.ด.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
การแพทย์แผนไทยบัณฑิต
การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต
การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต
การแพทย์แผนไทยประยุกต์
มหาบัณฑิต
การแพทย์แผนไทยประยุกต์
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
การแพทย์แผนจีนบัณฑิต
การแพทย์แผนจีนมหาบัณฑิต
การแพทย์แผนจีนดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
เทคนิคการแพทยบัณฑิต
บช.บ.
ปร.ด.
พท.บ.
พท.ม.
พท.ด.
ปร.ด.
พทป.บ.
พทป.ม.
พทป.ด.
ปร.ด.
พจ.บ
พจ.ม.
พจ.ด.
ปร.ด.
ทพ.บ.
Bachelor of Accountancy
หรือ
Bachelor of Accounting
Master of Accountancy
หรือ
Master of Accounting
Doctor of Accountancy
หรือ
Doctor of Accounting
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Thai Traditional
Medicine
Master of Thai Traditional
Medicine
Doctor of Thai Traditional
Medicine
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Applied Thai
Traditional Medicine
Master of Applied Thai
Traditional Medicine
Doctor of Applied Thai
Traditional Medicine
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Traditional
Chinese Medicine
Master of Traditional Chinese
Medicine
Doctor of Traditional Chinese
Medicine
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Medical
Technology
B.Acc.
M.Acc.
D.Acc.
Ph.D.
B.TM.
M.TM.
D.TM.
Ph.D.
B.ATM.
M.ATM.
D.ATM.
Ph.D.
B.CM.
M.CM.
D.CM.
Ph.D.
B.MT.
๒.๑.๖
๒.๑.๗
๒.๑.๘
๒.๑.๙
๒.๑.๑๐
๒.๑.๑๑
๒.๒
๒.๒.๑
๒.๒.๒
๒.๒.๓
๒.๒.๔
๒.๒.๕
๓.
๓.๑
๓.๑.๑
๓.๑.๒
๓.๑.๓
๓.๑.๔
๓.๑.๕
๓.๑.๖
๓.๑.๗
๓.๑.๘
เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต
เทคนิคการแพทยดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชานิติศาสตร์
นิติศาสตรบัณฑิต
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
พยาบาลศาสตรบัณฑิต
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ศึกษาศาสตรบัณฑิต
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
และ
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
และ
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ชื่อปริญญาตามสาขาวิชาชีพ
โดย
ระดับปริญญาตรีเป็นปริญญาสูงสุด
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์
ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาแพทยศาสตร์
แพทยศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
เภสัชศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาประเภทกึ่งวิชาชีพ
และปฏิบัติการ
ประเภทกึ่งวิชาชีพ
สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์
กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต
กายอุปกรณศาสตรมหาบัณฑิต
กายอุปกรณศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการ
การจัดการบัณฑิต
การจัดการมหาบัณฑิต
การจัดการดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์
ดุริยางคศาสตรบัณฑิต
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
นิเทศศาสตรบัณฑิต
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บริหารธุรกิจบัณฑิต
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาทางวิจิตรศิลป์
และประยุกต์ศิลป์
ศิลปบัณฑิต
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ศิลปมหาบัณฑิต
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ศิลปดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ทพ.ม.
ทพ.ด.
ปร.ด.
น.บ.
น.ม.
น.ด.
ปร.ด.
พย.บ.
พย.ม.
พย.ด.
ปร.ด.
วศ.บ.
วศ.ม.
วศ.ด.
ปร.ด.
ศษ.บ.
ศษ.ม.
ศษ.ด.
ปร.ด.
ค.อ.บ.
ค.อ.ม.
ค.อ.ด.
ปร.ด.
สถ.บ.
สถ.ม.
สถ.ด.
ปร.ด.
ภ.สถ.บ.
ภ.สถ.ม.
ภ.สถ.ด.
ปร.ด.
ส.บ.
ส.ม.
ส.ด.
ปร.ด.
ท.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
ทศ.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
พ.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
ภ.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
สพ.บ.
วท.ม.
วท.ด.
ปร.ด.
กอ.บ.
กอ.ม.
กอ.ด.
ปร.ด.
กจ.บ.
กจ.ม.
กจ.ด.
ปร.ด
ดศ.บ.
ดศ.ม.
ดศ.ด.
ปร.ด.
นศ.บ.
นศ.ม.
นศ.ด.
ปร.ด.
บธ.บ.
บธ.ม.
บธ.ด.
ปร.ด.
รป.บ.
รป.ม.
รป.ด.
ปร.ด.
ศล.บ.
ศป.บ.
ศล.ม.
ศป.ม.
ศล.ด.
ศป.ด.
ปร.ด.
สส.บ.
สส.ม.
สส.ด.
Master of Medical Technology
Doctor of Medical Technology
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Laws
Master of Laws
Doctor of Laws
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Nursing Science
Master of Nursing Science
Doctor of Nursing Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Engineering
Master of Engineering
Doctor of Engineering
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Education
Master of Education
Doctor of Education
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Science in
Industrial
Education
หรือ
Bachelor of Science in
Technical Education
Master of Science in Industrial
Education
หรือ
Master of Science in Technical
Education
Doctor of Science in Industrial
Education
หรือ
Doctor of Science in Technical
Education
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Architecture
Master of Architecture
Doctor of Architecture
หรือ
Doctor of Philosophy
และ
Bachelor of Landscape
Architecture
Master of Landscape
Architecture
Doctor of Landscape
Architecture
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Public Health
Master of Public Health
Doctor of Public Health
หรือ
Doctor of Philosophy
Doctor of Dental Surgery
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Doctor of Optometry
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Doctor of Medicine
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Doctor of Pharmacy
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Doctor of Veterinary Medicine
Master of Science
Doctor of Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Prosthetics and
Orthotics
Master of Prosthetics and
Orthotics
Doctor of Prosthetics and
Orthotics
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Management
Master of Management
Doctor of Management
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Music
Master of Music
Doctor of Music
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Communication
Arts
Master of Communication Arts
Doctor of Communication Arts
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Business
Administration
Master of Business
Administration
Doctor of Business
Administration
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Public
Administration
Master of Public Administration
Doctor of Public Administration
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Fine Arts
หรือ
Bachelor of Fine and Applied
Arts
Master of Fine Arts
หรือ
Master of Fine and Applied
Arts
Doctor of Fine Arts
หรือ
Doctor of Fine and Applied
Arts
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Social Work
Master of Social Work
Doctor of Social Work
M.MT.
D.MT.
Ph.D.
LL.B.
LL.M.
LL.D.
Ph.D.
B.N.S.
M.N.S.
D.N.S.
Ph.D.
B.Eng.
M.Eng.
D.Eng.
Ph.D.
B.Ed.
M.Ed.
Ed.D., D.Ed
Ph.D.
B.S.Ind.Ed.
B.S.Tech.Ed.
M.S.Ind.Ed.
M.S.Tech.Ed.
D.Ind.Ed.,
D.Tech.Ed.
Ph.D.
B.Arch.
M.Arch.
D.Arch.
Ph.D.
B.L.A.
M.L.A.
D.L.A.
Ph.D.
B.P.H.
M.P.H.
Dr.P.H.
Ph.D.
D.D.S.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
O.D.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
M.D.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
Pharm.D.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
D.V.M.
M.S.,M.Sc.
D.S.,D.Sc.
Ph.D.
B.PO.
M.PO.
D.PO.
Ph.D.
B.M.
M.M.
D.M.
Ph.D.
B.M.
M.M.
D.M.
Ph.D.
B.Com.Arts.
M.Com.Arts.
D.Com.Arts.
Ph.D.
B.B.A.
M.B.A.
D.B.A.
Ph.D.
B.P.A.
M.P.A.
D.P.A.
Ph.D.
B.F.A.
M.F.A.
D.F.A.
Ph.D.
B.S.W.
M.S.W.
D.S.W.
๓.๑.๙
๓.๒
๓.๒.๑
๓.๒.๒
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
สารสนเทศศาสตรบัณฑิต
สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต
สารสนเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ประเภทปฏิบัติการ
เทคโนโลยีบัณฑิต
เทคโนโลยีมหาบัณฑิต
อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ปร.ด.
สท.บ.
สท.ม.
สท.ด.
ปร.ด.
ทล.บ.
ทล.ม.
อส.บ.
อส.ม.
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Information Science
Master of Information Science
Doctor of Information Science
หรือ
Doctor of Philosophy
Bachelor of Technology
Master of Technology
Bachelor of Industrial
Technology
Master of Industrial Technology
Ph.D.
B.I.S.
M.I.S.
D.I.S.
Ph.D.
B.Tech.
M.Tech.
B.Ind.Tech.
M.Ind.Tech.
ข้อ
๗ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องกำหนดชื่อปริญญา ที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๙
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๒๒ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๖/๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
665096 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วรวัจน์
เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ.
๒๕๕๔ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๖/๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
683281 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี
สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ให้สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพและเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
๓. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
๔. ชื่อคุณวุฒิการศึกษา
ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ทล.บ.
๕.
คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพครอบคลุมอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป
และด้านสมรรถนะวิชาชีพ สามารถศึกษาค้นคว้า
พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในวิชาการสัมพันธ์กับวิชาชีพเพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในขอบเขตที่กว้างขวาง
วางแผนและบริหารงานการผลิตหรือบริการในงานอาชีพ
มีส่วนร่วมพัฒนาและริเริ่มวิธีการปฏิบัติ รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและหมู่คณะ
มีอิสระในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนหรือจัดการงานผู้อื่น รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน
๖.
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนการศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะของสาขาวิชานั้น
ๆ ในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลิตผู้มีความรอบรู้และมีสมรรถนะในการปฏิบัติ
และพัฒนางานระดับเทคโนโลยี สามารถจัดการและควบคุมการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยในการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ชุมชนและสถานประกอบการ สามารถประกอบอาชีพอิสระ
พัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
๗. การจัดการศึกษาในระบบและระบบทวิภาคีใช้ระยะเวลา ๒ ปีการศึกษา
การจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบทวิภาค โดยกำหนดให้ ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
และใน ๑ ภาคเรียนปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๘ สัปดาห์
สำหรับภาคเรียนฤดูร้อน
ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติ
การจัดภาคเรียนระบบอื่น ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น
รวมทั้งการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
๘.
การคิดหน่วยกิตต่อภาคเรียน
๘.๑ รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปราย ไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง
เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๒
รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า ๓๖
ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๓ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม
ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๔ การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง
เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๕ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า ๕๔
ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๖ การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑
หน่วยกิต
๙. จำนวนหน่วยกิต
มีจำนวนหน่วยกิตรวมระหว่าง ๗๒ - ๘๗ หน่วยกิต
๑๐. โครงสร้างหลักสูตร
๑๐.๑ หมวดวิชาทักษะชีวิต
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการปรับตัวและดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่
เห็นคุณค่าของตนและการพัฒนาตน มีความใฝ่รู้ แสวงหาและพัฒนาความรู้ใหม่
มีความสามารถในการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์
การแก้ปัญหาและการจัดการมีทักษะในการสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรมมนุษยสัมพันธ์
รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต
การจัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต สามารถทำได้ในลักษณะเป็นรายวิชา
หรือลักษณะบูรณาการให้ครอบคลุมกลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวดวิชาทักษะชีวิต
๑๐.๒ หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะวิชาชีพ มีความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ประเมินผล แก้ปัญหา ควบคุมงาน สอนงาน และพัฒนางาน
โดยบูรณาการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพรวมไม่น้อยกว่า
๕๑ หน่วยกิต ประกอบด้วย ๔ กลุ่ม ดังนี้
๑๐.๒.๑ กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
๑๐.๒.๒ กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก
๑๐.๒.๓ ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
๑๐.๒.๔ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
ในการกำหนดให้เป็นสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง
ต้องศึกษากลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ รวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
นอกจากนี้กำหนดให้มีโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จำนวน ๖ หน่วยกิต
ในกรณีที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคีอาจยกเว้นการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพได้
๑๐.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี
ประกอบด้วยวิชาที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตหรือทักษะวิชาชีพ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อการประกอบอาชีพ
หรือการศึกษาต่อรวมไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
การยกเว้นการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
และหมวดวิชาเลือกเสรีสามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียน
หรือโดยการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิตตามหลักสูตร
ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๑.
เงื่อนไขการจัดการเรียนรู้
๑๑.๑ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานที่
ครุภัณฑ์ คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ให้เหมาะสมและเพียงพอในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
๑๑.๒
การจัดอัตราส่วนของเวลาการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาทักษะวิชาชีพประมาณ
๔๐ ต่อ ๖๐ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา
๑๑.๓
สถาบันการอาชีวศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการฝึกอาชีพเน้นการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
โดยร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการเรียนการสอนตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๑.๔ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพตามโครงสร้างหลักสูตร
จำนวน ๖ หน่วยกิต สอดคล้องกับงานอาชีพสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๑๑.๕
สถาบันการอาชีวศึกษาต้องจัดให้มีการประเมินมาตรฐานวิชาชีพในแต่ละหลักสูตรเพื่อเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา
๑๑.๖ สถาบันการอาชีวศึกษาต้องส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพ
ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ระเบียบวินัย
ปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
ทำนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและส่งเสริมการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำประโยชน์ต่อชุมชน
๑๒. คุณสมบัติผู้เรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ในสาขาวิชาที่ตรงหรือสัมพันธ์กัน
๑๓. คุณสมบัติผู้สอน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๔. การเรียกชื่อปริญญา
ใช้ชื่อปริญญาตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชาและการใช้ชื่ออักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
๑๕.
การวัดผลและประเมินผลการเรียน และการสำเร็จการศึกษา
๑๕.๑ การวัดผลและประเมินผลการเรียน
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
๑๕.๒ การสำเร็จการศึกษา
ต้องได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนน
และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
การให้ปริญญาตรีเกียรตินิยมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๖.
การประกันคุณภาพหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจนอย่างน้อยประกอบด้วย ๔ ประเด็น
คือ
๑๖.๑ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
๑๖.๒ การบริหารหลักสูตร
๑๖.๓ ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
๑๖.๔ ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน
๑๗. การกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา หลักสูตร
และการอนุมัติ
๑๗.๑ การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๗.๒
การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงสาระสำคัญของหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
ให้เป็นหน้าที่ของสถาบันการอาชีวศึกษา
และเสนอสภาสถาบันการอาชีวศึกษาให้ความเห็นชอบ
๑๗.๓ การอนุมัติใช้หลักสูตรให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑๗.๔ การประกาศใช้หลักสูตรให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๘.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยทุก ๕ ปี
๑๙.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๒๙/๘ มีนาคม ๒๕๕๖ |
684909 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครนายก | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การเปลี่ยนชื่อศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครนายก[๑]
ด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาตตามที่ขอรับพระมหากรุณาธิคุณ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
กระทรวงศึกษาธิการ ขอประกาศเปลี่ยนชื่อศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครนายก
เป็นศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธร ประจำจังหวัดนครนายก อำเภอเมืองนครนายก
จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๕
ซึ่งเป็นวันที่ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓ เมษายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๕ พฤษภาคม
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔๐ ง/หน้า ๕/๑๘ เมษายน ๒๕๕๖ |
681917 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๖
ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗
กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
และพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๙
การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
ให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
จึงเห็นสมควรจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติขึ้นเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา
เป็นหลักในการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาทุกระดับอย่างมีคุณภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
๔. วัตถุประสงค์
เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาในแต่ละระดับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษา
สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพและเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษา
๕.
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วย
๕.๑ ระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา ได้แก่
(๑) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(๒) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(๓) ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
๕.๒ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับคุณวุฒิ
ประเภทวิชาและสาขาวิชาต้องครอบคลุมอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ
(๑) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ พฤติกรรมลักษณะนิสัย และทักษะทางปัญญา
(๒) ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป ได้แก่
ความรู้และทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การประยุกต์ใช้ตัวเลข การจัดการและการพัฒนางาน
(๓) ด้านสมรรถนะวิชาชีพ ได้แก่
ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพสู่การปฏิบัติจริง
รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ
๕.๓ ชื่อคุณวุฒิอาชีวศึกษา โครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิต
ระยะเวลาในการศึกษาต้องเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
๖.
ให้คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาตินี้เป็นหลักในการกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
และให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๗. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษา และสถานศึกษาใช้มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับ
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน
และการพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาโดยดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๘.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยทุก ๕ ปี สำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ก่อนแล้ว
ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับประกาศนี้ ภายใน ๓ ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๙.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เผยแพร่หลักสูตรแต่ละระดับและสาขาวิชาที่ดำเนินการได้มาตรฐาน
ตามแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๐.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำกับ ดูแล
ติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษา
เพื่อให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานตามวัตถุประสงค์ของประกาศนี้
๑๑.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๓๑/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ |
683279 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา
สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพและเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑
พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
๓. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
๔. ชื่อคุณวุฒิการศึกษา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ใช้อักษรย่อ ปวช.
๕.
คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพครอบคลุมอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไปและด้านสมรรถนะวิชาชีพ
มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการและการดำเนินงาน
มีทักษะการปฏิบัติงานในขอบเขตสำคัญและบริบทต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานประจำ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะไปสู่บริบทใหม่
สามารถให้คำแนะนำ แก้ปัญหาเฉพาะด้าน และรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
มีส่วนร่วมในคณะทำงานหรือมีการประสานงานกลุ่ม รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน
๖.
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนการศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาการอาชีวศึกษา
และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะของสาขาวิชานั้น ๆ ในการจัดการศึกษา
โดยมุ่งเน้นผลิตผู้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในระดับฝีมือ
มีสมรรถนะที่สามารถปฏิบัติงานอาชีพได้จริง มีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน
สอดคล้องกับความต้องการของเศรษฐกิจและสังคม สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข
และพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
๗. การจัดการศึกษาในระบบและระบบทวิภาคีใช้ระยะเวลา
๓ ปีการศึกษา การจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบทวิภาค โดยกำหนดให้ ๑ ปีการศึกษา
แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน และใน ๑ ภาคเรียนปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๘
สัปดาห์ สำหรับภาคเรียนฤดูร้อน ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติ
การจัดภาคเรียนระบบอื่น ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น
รวมทั้งการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
๘.
การคิดหน่วยกิตต่อภาคเรียน
๘.๑ รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปราย ไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง
เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๒
รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า ๓๖
ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๓ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม
ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๔ การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง
เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๕ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า ๕๔
ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๖ การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑
หน่วยกิต
๙. จำนวนหน่วยกิต มีจำนวนหน่วยกิตรวมระหว่าง
๑๐๐ - ๑๒๐ หน่วยกิต
๑๐. โครงสร้างหลักสูตร
๑๐.๑ หมวดวิชาทักษะชีวิต
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการปรับตัวและดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่
เห็นคุณค่าของตนและการพัฒนาตน มีความใฝ่รู้ แสวงหาและพัฒนาความรู้ใหม่ มีความสามารถในการใช้เหตุผล
การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการจัดการมีทักษะในการสื่อสาร
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรม จริยธรรม
มนุษยสัมพันธ์รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมไม่น้อยกว่า ๒๑ หน่วยกิต
การจัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต สามารถทำได้ในลักษณะเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการ
ให้ครอบคลุมกลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศึกษา กลุ่มวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวดวิชาทักษะชีวิต
๑๐.๒ หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะวิชาชีพ มีความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ แก้ปัญหา
บูรณาการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมไม่น้อยกว่า ๖๙ หน่วยกิต ประกอบด้วย ๕
กลุ่ม ดังนี้
๑๐.๒.๑ กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน
๑๐.๒.๒ กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
๑๐.๒.๓ กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก
๑๐.๒.๔ ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
๑๐.๒.๕ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
ในการกำหนดให้เป็นสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง
ต้องศึกษากลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐานและกลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ รวมไม่น้อยกว่า
๓๕ หน่วยกิต นอกจากนี้ กำหนดให้มีการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ จำนวน ๔ หน่วยกิต
และโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จำนวน ๔ หน่วยกิต
๑๐.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี
ประกอบด้วยวิชาที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตและหรือทักษะวิชาชีพ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อการประกอบอาชีพ
หรือการศึกษาต่อรวมไม่น้อยกว่า ๑๐ หน่วยกิต
๑๐.๔ กิจกรรมเสริมหลักสูตร
เป็นส่วนที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตและหรือทักษะวิชาชีพผู้เรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยสัปดาห์ละ
๒ ชั่วโมงทุกภาคเรียน กิจกรรมเสริมหลักสูตรนี้ไม่นับหน่วยกิต
การยกเว้นการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต
หมวดวิชาทักษะวิชาชีพและหมวดวิชาเลือกเสรี สามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียน
หรือโดยการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิตตามหลักสูตร
ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๑.
เงื่อนไขการจัดการเรียนรู้
๑๑.๑ สถานศึกษาต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์
ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแต่ละลักษณะของการผลิตและพัฒนาผู้เรียน
๑๑.๒ การจัดอัตราส่วนของเวลาการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาทักษะวิชาชีพประมาณ
๒๐ ต่อ ๘๐ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา
๑๑.๓ สถานศึกษาสามารถพัฒนารายวิชาได้ตามเงื่อนไขของหลักสูตร
๑๑.๔ สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้งในระบบ นอกระบบ
และระบบทวิภาคี โดยกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียนและระดับคุณวุฒิของแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
๑๑.๕ สถานศึกษาที่มีความร่วมมือในการจัดการศึกษากับสถานประกอบการ
สามารถจัดได้ใน ๒ ลักษณะ ได้แก่ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
และการศึกษาระบบทวิภาคี โดยจะต้องร่วมกันกำหนดรายวิชา การจัดทำแผนการฝึกอาชีพ
การวัดผลและการประเมินผล
๑๑.๖
สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียนนำสู่การปฏิบัติในอาชีพตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๑๑.๗ สถานศึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
ระเบียบวินัย ปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
ทำนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และส่งเสริมการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำประโยชน์ต่อชุมชน
๑๑.๘ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
๑๒. คุณสมบัติผู้เรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า
๑๓. คุณสมบัติผู้สอน
เป็นผู้มีวุฒิการศึกษา มีความรู้ความสามารถที่ตรงหรือเหมาะสมกับวิชาที่สอน
๑๔.
การวัดผลและประเมินผลการเรียน และการสำเร็จการศึกษา
๑๔.๑ การวัดผลและประเมินผลการเรียน
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
๑๔.๒ การสำเร็จการศึกษา ต้องได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนน
และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
๑๕.
การประกันคุณภาพหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจนอย่างน้อยประกอบด้วย ๔ ประเด็น
คือ
๑๕.๑ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
๑๕.๒ การบริหารหลักสูตร
๑๕.๓ ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
๑๕.๔ ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน
๑๖.
การกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา หลักสูตร และการอนุมัติ
๑๖.๑ การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๖.๒
การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงสาระสำคัญของหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษา
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑๖.๓
การอนุมัติหลักสูตรให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑๖.๔ การประกาศใช้หลักสูตรให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๖.๕ การพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม
สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาสามารถดำเนินการได้
โดยต้องรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ
๑๗.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยทุก ๕ ปี
๑๘.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๒๕/๘ มีนาคม ๒๕๕๖ |
665107 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วรวัจน์
เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ.
๒๕๕๔ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ.๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
698256 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งโรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของจังหวัดนครศรีธรรมราช | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ตั้งโรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของจังหวัดนครศรีธรรมราช[๑]
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พิจารณาเห็นสมควรจัดตั้งโรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของจังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวได้อย่างมีคุณภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๕ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ข้อ ๘ ข้อ ๑๓ ประกอบกับมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖
จึงประกาศกำหนดให้โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของจังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหาร และการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๓๖/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
665103 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ. ๒๕๕๔
ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วรวัจน์
เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ.
๒๕๕๔ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ พ.ศ.๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๗/๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
692206 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเก็บเงินบำรุงการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การเก็บเงินบำรุงการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.)
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[๑]
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรให้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การเก็บเงินบำรุงการศึกษา ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร
๐๙๐๑/๑๑๓๙ ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ เรื่อง ขอความเห็นชอบในการเก็บเงินบำรุงการศึกษาและการระดมทรัพยากร
และคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ ๔๒๒/๒๕๕๕ เรื่อง นโยบาย หลักเกณฑ์
และวิธีการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเก็บเงินบำรุงการศึกษา
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาภาคภาษาอังกฤษ
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนนอกหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยมุ่งเน้นหลักสูตรที่มีเนื้อหาสาระและทักษะทางวิชาชีพมากกว่าปกติ
การสอนด้วยบุคลากรพิเศษ การสอนด้วยรูปแบบ หรือวิธีการที่แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติ
หรือการสอนที่ใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จัดหาให้เป็นพิเศษ
ตามอัตราที่เหมาะสมกับสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาอาชีวศึกษา
และเป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียนภายใต้หลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ กันยายน
๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๖ กันยายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๒๑/๑๒ กันยายน ๒๕๕๖ |
665094 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาไทย ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาไทย พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาไทย ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาไทย พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใด
จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาภาษาไทยอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้
ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วรวัจน์
เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย พ.ศ. ๒๕๕๔ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย พ.ศ. ๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ |
664556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗
กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
และพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๙
การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดตามหลักสูตรที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
จึงเห็นสมควรให้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา
และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของผู้เรียนในแต่ละระดับคุณวุฒิ ประเภทวิชาและสาขาวิชา
รวมทั้งเพื่อใช้เป็นหลักในการจัดทำมาตรฐานด้านต่าง ๆ
เพื่อให้การจัดการศึกษามุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันในการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศไว้ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๔
๒. ให้ใช้ประกาศนี้
สำหรับการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพตามกรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพในทุกระดับคุณวุฒิ
ประเภทวิชาและสาขาวิชา และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
๓. วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานในการกำหนดกรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพให้สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ให้สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษา
๔. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ
ประกอบด้วย
๔.๑ ระดับคุณวุฒิอาชีวศึกษา ได้แก่
(๑) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพระยะสั้น
(๒) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(๓) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(๔) ระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
๔.๒ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับคุณวุฒิ
ประเภทวิชาและสาขาวิชา ต้องครอบคลุมอย่างน้อย ๓ ด้าน คือ
(๑) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพ พฤติกรรมลักษณะนิสัยและทักษะทางปัญญา
(๒) ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป ได้แก่
ความรู้และทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น
การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การประยุกต์ใช้ตัวเลข การจัดการและการพัฒนางาน
(๓) ด้านสมรรถนะวิชาชีพ ได้แก่
ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพสู่การปฏิบัติจริง
รวมทั้งประยุกต์สู่อาชีพ
๔.๓ ชื่อคุณวุฒิการศึกษา
ให้เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพแต่ละระดับการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชาและการใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชานั้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
๔.๔ จำนวนหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตรและระยะเวลาในการศึกษา
ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานหลักสูตรแต่ละระดับ
๕. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติไปพัฒนากรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพสาขาวิชาแต่ละระดับคุณวุฒิ
เพื่อสถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาของระดับคุณวุฒิเดียวกันมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้
๖. ให้สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยกรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพตามระดับคุณวุฒิของแต่ละสาขา และรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๗. ให้สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยทุก ๆ ๕ ปี
๘. ให้สถานศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษาพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับประกาศนี้
สำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่แล้ว
ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘
๙. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วรวัจน์
เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๓/๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ |
685285 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
อาศัยความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒. ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
จำนวน ๒๘ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาดิจิตอลกราฟิก สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาช่างทองหลวง สาขาวิชาออกแบบรูปพรรณอัญมณีและเครื่องประดับ
สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบแฟชั่น สาขาวิชาการจัดการงานคหกรรม
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สาขาวิชาเทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาวิชาการโรงแรม และสาขาวิชาการท่องเที่ยว
ของสถาบันการอาชีวศึกษา
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
ทั้ง ๒๘ สาขาวิชาเป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
๓. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
๔. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
๕. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
๖. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
๗. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
๘. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง
๙. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน
๑๐. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑๑. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
๑๒. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการตลาด
๑๓. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
๑๔. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
๑๕. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
๑๖. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาดิจิตอลกราฟิก
๑๗. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
๑๘. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
๑๙. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาช่างทองหลวง
๒๐. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาออกแบบรูปพรรณอัญมณีและเครื่องประดับ
๒๑. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ
๒๒. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบแฟชั่น
๒๓. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการจัดการงานคหกรรม
๒๔. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
๒๕. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
๒๖. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
๒๗. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ
๒๘. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยว
๒๙. กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการโรงแรม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ เมษายน ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒๙ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๑/๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ |
674049 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบึงกาฬ | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบึงกาฬ[๑]
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาเห็นสมควร
จัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบึงกาฬ
เป็นศูนย์การศึกษาพิเศษในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการได้อย่างมีคุณภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๐
แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๒ ข้อ ๘ ข้อ ๑๓ ประกอบกับมติคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๔ เมื่อวันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ จึงประกาศกำหนดให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหาร
และการจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการในสังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ
ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กันยายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๔๔ ง/หน้า ๑๗/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ |
692806 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชากายภาพบำบัด ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชากายภาพบำบัด ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชากายภาพบำบัดอยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๒๓/๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ |
655207 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 6) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๖)[๑]
โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๕๓ โดยกำหนดให้การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ให้ดำเนินการได้เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายวิชาชีพ
(ปฏิบัติการ)ตามบัญชีแนบท้ายประกาศ ได้แก่ ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต
และปริญญาอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต แต่เนื่องจากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
มิได้มีการกำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์
จึงเป็นการสมควรกำหนดชื่อปริญญาเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การใช้ชื่อปริญญาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ ให้ใช้ชื่อว่า อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
ข้อ ๒ ให้กำหนดชื่อปริญญาภาษาไทยหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ว่า อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต ใช้อักษรย่อว่า อส.บ. และใช้ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษว่า
Bachelor of Industrial Technology ใช้อักษรย่อว่า B.Ind.Tech.
ข้อ ๓ กรณีสถาบันอุดมศึกษาใด
ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ไว้แล้ว
ให้ใช้ชื่อปริญญาในสาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๘/๙ กันยายน ๒๕๕๔ |
666928 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาพยาบาลศาสตร์ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาพยาบาลศาสตร์ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใด
จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ
ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๕ เอกสารแนบท้าย
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.
๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๙/๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ |
700995 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษา
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[๑]
โดยที่สมควรกำหนดตัวชี้วัด
และระดับคุณภาพการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ วรรคสอง
ของกฎกระทรวงกำหนดการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๕๕
จึงประกาศให้เกณฑ์การประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีตัวชี้วัด
ค่าน้ำหนัก และระดับคุณภาพของแต่ละตัวชี้วัดให้เป็นไปตามบัญชีรายละเอียด ๑
แนบท้ายประกาศนี้
เงื่อนไขประกอบเกณฑ์การประเมินความพร้อม
และเกณฑ์ผ่านการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปตามบัญชีรายละเอียด
๒ แนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีรายละเอียด ๑ เกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัด
และระดับคุณภาพการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒. บัญชีรายละเอียด ๒ เงื่อนไขประกอบเกณฑ์การประเมินความพร้อมและเกณฑ์ผ่านการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพการประเมินความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มกราคม ๒๕๕๗
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๓ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๙/๙ มกราคม ๒๕๕๗ |
686809 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ
พ.ศ.
๒๕๕๖
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ
อาศัยความในมาตรา ๘ และ ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
๑.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.[๑]
ให้ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือของสถาบันการอาชีวศึกษา
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓.
ให้กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
จุฑามาศ/ผู้จัดทำ
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๕๔/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ |
692808 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำบัด
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำบัด
ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชากายภาพบำบัด ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชากายภาพบำบัด ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต
โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่น ๆ
ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใดจัดการศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชากายภาพบำบัด อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชากายภาพบำบัด พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๒๔/๒๓ กันยายน ๒๕๕๖ |
683283 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. 2556 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา
สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้สามารถผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพและเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จึงออกประกาศไว้ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๖
๒.
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
๓. ให้ยกเลิก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
๔. ชื่อคุณวุฒิการศึกษา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ใช้อักษรย่อ ปวส.
๕.
คุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพครอบคลุมอย่างน้อย
๓ ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป
และด้านสมรรถนะวิชาชีพ
สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในวิชาการที่สัมพันธ์กับวิชาชีพในการวางแผน
แก้ปัญหาและจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม
มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาการริเริ่มสิ่งใหม่ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
ผู้อื่นและหมู่คณะ เป็นอิสระในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนหรือจัดการงานผู้อื่น
มีส่วนร่วมที่เกี่ยวกับการวางแผน การประสานงานและการประเมินผล รวมทั้งมีคุณธรรม
จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน
๖.
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนการศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพหรือมาตรฐานสมรรถนะของสาขาวิชานั้น
ๆ ในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลิตผู้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในระดับเทคนิค
สามารถปฏิบัติงานที่ใช้เทคนิค ควบคุมการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
ชุมชนและสถานประกอบการ
สามารถประกอบอาชีพอิสระและพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
๗.
การจัดการศึกษาในระบบและระบบทวิภาคีใช้ระยะเวลา ๒ ปีการศึกษา
การจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบทวิภาค โดยกำหนดให้ ๑ ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
และใน ๑ ภาคเรียนปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๘ สัปดาห์ สำหรับภาคเรียนฤดูร้อน
ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติ
การจัดภาคเรียนระบบอื่น ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น
รวมทั้งการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
๘.
การคิดหน่วยกิตต่อภาคเรียน
๘.๑ รายวิชาทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปราย ไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง
เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๒
รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการทดลองหรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า ๓๖
ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๓ รายวิชาปฏิบัติที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงานหรือภาคสนาม
ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๔ การฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง
เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๕ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า ๕๔
ชั่วโมง เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๘.๖ การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ๕๔ ชั่วโมง เท่ากับ ๑
หน่วยกิต
๙. จำนวนหน่วยกิต
มีจำนวนหน่วยกิตรวมระหว่าง ๗๘ - ๙๐ หน่วยกิต
๑๐. โครงสร้างหลักสูตร
๑๐.๑ หมวดวิชาทักษะชีวิต
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการปรับตัวและดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่
เห็นคุณค่าของตนและการพัฒนาตน มีความใฝ่รู้ แสวงหาและพัฒนาความรู้ใหม่
มีความสามารถในการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการจัดการ
มีทักษะในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีคุณธรรม
จริยธรรม มนุษยสัมพันธ์ รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมไม่น้อยกว่า ๑๘
หน่วยกิต
การจัดวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต สามารถทำได้ในลักษณะเป็นรายวิชา
หรือลักษณะบูรณาการให้ครอบคลุมกลุ่มวิชาภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของหมวดวิชาทักษะชีวิต
๑๐.๒ หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะวิชาชีพ มีความสามารถในการคิด
วิเคราะห์ วางแผน จัดการ ประเมินผล แก้ปัญหา ควบคุมและสอนงาน บูรณาการความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน
รวมไม่น้อยกว่า ๕๔ หน่วยกิต ประกอบด้วย ๕ กลุ่ม ดังนี้
๑๐.๒.๑ กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน
๑๐.๒.๒ กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ
๑๐.๒.๓ กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก
๑๐.๒.๔ ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
๑๐.๒.๕ โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
ในการกำหนดให้เป็นสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง
ต้องศึกษากลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐานและกลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะในสาขาวิชานั้น ๆ
รวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต นอกจากนี้ กำหนดให้มีการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
จำนวน ๔ หน่วยกิต และโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จำนวน ๔ หน่วยกิต
๑๐.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี
ประกอบด้วยวิชาที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตและหรือทักษะวิชาชีพ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อการประกอบอาชีพ
หรือการศึกษาต่อรวมไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
๑๐.๔ กิจกรรมเสริมหลักสูตร
เป็นส่วนที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตและหรือทักษะวิชาชีพ
ผู้เรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมงทุกภาคเรียน
กิจกรรมเสริมหลักสูตรนี้ไม่นับหน่วยกิต
การยกเว้นการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาทักษะชีวิต หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ
และหมวดวิชาเลือกเสรี สามารถทำได้โดยการเทียบโอนผลการเรียน หรือโดยการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิตตามหลักสูตร
ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
๑๑.
เงื่อนไขการจัดการเรียนรู้
๑๑.๑ สถานศึกษาต้องจัดเตรียมความพร้อมในด้านอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์
ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนแต่ละลักษณะของการผลิตและพัฒนาผู้เรียน
๑๑.๒
การจัดอัตราส่วนของเวลาการเรียนรู้ภาคทฤษฎีต่อภาคปฏิบัติในหมวดวิชาทักษะวิชาชีพประมาณ
๔๐ ต่อ ๖๐ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสาขาวิชา
๑๑.๓ สถานศึกษาสามารถพัฒนารายวิชาได้ตามเงื่อนไขของหลักสูตร
๑๑.๔ สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้งในระบบ นอกระบบ
และระบบทวิภาคี
โดยกำหนดวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะให้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียนและระดับคุณวุฒิของแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
๑๑.๕ สถานศึกษาที่มีความร่วมมือในการจัดการศึกษากับสถานประกอบการ
สามารถจัดได้ใน ๒ ลักษณะ ได้แก่ การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
และการศึกษาระบบทวิภาคี โดยจะต้องร่วมกันกำหนดรายวิชา การจัดทำแผนการฝึกอาชีพ
การวัดผลและการประเมินผล
๑๑.๖ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนจัดทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียนนำสู่การปฏิบัติในอาชีพตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
๑๑.๗ สถานศึกษาต้องจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม
ระเบียบวินัย ปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างการเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
ทำนุบำรุงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
และส่งเสริมการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการทำประโยชน์ต่อชุมชน
๑๑.๘ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
๑๒. คุณสมบัติผู้เรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
๑๓. คุณสมบัติผู้สอน
เป็นผู้มีวุฒิการศึกษา มีความรู้ความสามารถที่ตรงหรือเหมาะสมกับวิชาที่สอน
๑๔.
การวัดผลและประเมินผลการเรียน และการสำเร็จการศึกษา
๑๔.๑ การวัดผลและประเมินผลการเรียน
ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
๑๔.๒ การสำเร็จการศึกษา
ต้องได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามโครงสร้างที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนน
และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
๑๕. การประกันคุณภาพหลักสูตร
ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบประกันคุณภาพไว้ให้ชัดเจน อย่างน้อยประกอบด้วย ๔ ประเด็น
คือ
๑๕.๑ คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา
๑๕.๒ การบริหารหลักสูตร
๑๕.๓ ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
๑๕.๔ ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน
๑๖.
การกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา หลักสูตร และการอนุมัติ
๑๖.๑ การปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๖.๒
การพัฒนาหลักสูตรหรือการปรับปรุงสาระสำคัญของหลักสูตรตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษา
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑๖.๓ การอนุมัติหลักสูตรให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑๖.๔ การประกาศใช้หลักสูตรให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๑๖.๕ การพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชาเพิ่มเติม
สถาบันการอาชีวศึกษาหรือสถานศึกษาสามารถดำเนินการได้
โดยต้องรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ
๑๗.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
อย่างน้อยทุก ๕ ปี
๑๘.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้ได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๓๓/๘ มีนาคม ๒๕๕๖ |
654231 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๘๓ เขต นั้น
เนื่องจากได้มีการแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย
อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล
จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย และตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ
ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔
จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว
ให้สอดคล้องกับการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา
๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๔ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
จึงออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ให้เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย
เขต ๒ ประกอบด้วย ท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี
จังหวัดหนองคาย โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๒
ตั้งอยู่ที่อำเภอโพนพิสัย
๒. ให้ยกเลิกเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย
เขต ๓
๓. กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ประกอบด้วย ท้องที่ทุกอำเภอของจังหวัดบึงกาฬ
และให้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองบึงกาฬ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๓/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
654233 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๘๓ เขต นั้น
เนื่องจากได้มีการแยกตำบลแจ่มหลวง ตำบลบ้านจันทร์ และตำบลแม่แดด
ออกจากอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และรวมตั้งเป็นอำเภอกัลยาณิวัฒนา
จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.
๒๕๕๒ จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว
ให้สอดคล้องกับการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา
๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๔ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
จึงออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒.๓๘ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้
๒.๓๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖ ตั้งอยู่ที่
อำเภอจอมทอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๔/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
654239 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๔
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
เพื่อบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๔๒ เขต นั้น
เนื่องจากได้มีการแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย
อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล
จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย และตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ
ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔
จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว
ให้สอดคล้องกับการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และมาตรา ๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๔ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
จึงออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวไว้ ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๑ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้
๒๑ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๒๑ ประกอบด้วย ท้องที่จังหวัดหนองคาย และจังหวัดบึงกาฬ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองหนองคาย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๑๕/๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
631843 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ให้โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัด
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[๑]
โดยที่กระทรวงศึกษาธิการ
มีความประสงค์จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ พิการ
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก
ให้มีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์
ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการปัญหาดังกล่าวจะต้องจัดการศึกษาโดยให้บริการทางการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสและคนพิการหลายเขตพื้นที่การศึกษา
หากให้โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์มีการบริหารจัดการในเขตพื้นที่การศึกษาจะทำให้ไม่สามารถบริการด้านการศึกษาได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศกำหนดให้โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์
เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๕
กรกฎาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๕
กรกฎาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๖/๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
633851 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2553 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ.
๒๕๕๓[๑]
โดยที่สภามหาวิทยาลัยนเรศวรในคราวประชุมครั้งที่
๑๕๑ (๓/๒๕๕๓) เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๓
ได้มีมติให้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๑ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกอบกับมาตรา ๗๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร
ว่าด้วยการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๕๓ ดังที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร
ว่าด้วยการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
นันทนภัสร์/ตรวจ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๖/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
649943 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
กำหนดให้จัดทำมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชาเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตในสาขาหรือสาขาวิชาของแต่ละระดับคุณวุฒิมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
กรณีจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์
(หลักสูตรห้าปี) ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่า มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์
(หลักสูตรห้าปี)
ข้อ ๒ การจัดทำหลักสูตรหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)
ต้องมุ่งให้เกิดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต โดยมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน
และองค์ประกอบอื่น ๆ ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี) ที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาใด
จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์หรือสาขาศึกษาศาสตร์
(หลักสูตรห้าปี) อยู่ในวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์
ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๔ มิถุนายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๒ ง/หน้า ๑๒/๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
630717 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
พ.ศ.
๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมและเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากลและสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อ ๕
ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒[๑]
ให้ใช้ประกาศนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่แล้ว
จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
ข้อ ๓ ให้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
ข้อ ๔ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ.๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๐/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
635693 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พ.ศ. 2553 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
พ.ศ.
๒๕๕๓
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๓
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
สำนักงานเขต หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๓ ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา
และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น
(๒)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา
และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา
และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับตรวจสอบ
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) กำกับ ดูแล ติดตาม
และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา
และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ประสาน ส่งเสริม
การดำเนินการของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
(๑๑)
ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ
เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๒)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ
หรือปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๔ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขต ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๖) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
ข้อ ๕ ให้ส่วนราชการสำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงานเขต
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม
และยานพาหนะ
(ง) จัดระบบบริหารงาน การควบคุมภายใน
และพัฒนาองค์กรสำนักงานเขต
(จ) ประชาสัมพันธ์
เผยแพร่กิจการและผลงานของสำนักงานเขตและส่วนราชการในสังกัด
(ฉ) เผยแพร่และให้บริการข้อมูลข่าวสาร
(ช)
ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก เขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ประสานงานที่เกี่ยวกับการสรรหากรรมการและอนุกรรมการในระดับต่าง ๆ
(ฌ)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสำนักงานเขต
ที่มิใช่งานของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(ญ)
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพในสำนักงานเขต สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา
(ฎ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) วางแผนอัตรากำลัง กำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ
(ข) สรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน
และการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ค) ดำเนินงานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ
(ง) พัฒนาบุคลากร ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ
และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(จ) ดำเนินงานวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์
และการดำเนินคดีของรัฐ
(ฉ) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา
(ช) จัดทำมาตรฐาน คุณภาพงาน
กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขต
(ซ)
ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลเขตพื้นที่การศึกษา
และคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ฌ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ข)
จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายมาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(ค)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและแจ้งการจัดสรรงบประมาณ
(ง) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน
และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณและผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผน
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก
และโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ฉ) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
(ช)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(ข)
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
(ค)
ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
(ง) ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ
ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ
(จ) ส่งเสริมงานการแนะแนว สุขภาพอนามัย
กีฬาและนันทนาการ ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร
ประชาธิปไตย วินัยนักเรียน การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และงานกิจการนักเรียนอื่น
(ฉ)
ส่งเสริมสนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(ช)
ส่งเสริมงานกิจกรรมพิเศษและงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ซ)
ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด และส่งเสริมป้องกัน แก้ไข
และคุ้มครองความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา รวมทั้งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(ฌ) ดำเนินงานวิเทศสัมพันธ์
(ญ) ประสาน
ส่งเสริมการศึกษากับการศาสนาและการวัฒนธรรม
(ฎ) ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(ฏ) ประสานและส่งเสริมสถานศึกษาให้มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(ฐ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตร
การสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ค) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
(ง) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม
มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งประเมิน ติดตาม
และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(จ) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
(ช) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน
(ข) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบัญชี
(ค) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานพัสดุ
(ง)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบริหารสินทรัพย์
(จ)
ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานบริหารการเงิน งานบัญชี
งานพัสดุและงานบริหารสินทรัพย์
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑
กันยายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑
กันยายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ |
640847 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๓
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓ เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘)
ของข้อ ๔ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๘) หน่วยตรวจสอบภายใน
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๘)
ของข้อ ๕ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๘) หน่วยตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับหัวหน้าส่วนราชการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการเงิน การบัญชี และตรวจสอบระบบการดูแลทรัพย์สิน
(ข)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการดำเนินงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับผลผลิตหรือเป้าหมายที่กำหนด
(ค)
ดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินการบริหารความเสี่ยง
(ง)
ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในตามที่กฎหมายกำหนด
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๔๒/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
640849 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๓
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๓
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพิ่มเติมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗)
ของข้อ ๔ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗) หน่วยตรวจสอบภายใน
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗)
ของข้อ ๕ แห่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๗) หน่วยตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับหัวหน้าส่วนราชการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(ก)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการเงิน การบัญชี และตรวจสอบระบบการดูแลทรัพย์สิน
(ข)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานตรวจสอบการดำเนินงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับผลผลิตหรือเป้าหมายที่กำหนด
(ค)
ดำเนินงานเกี่ยวกับการประเมินการบริหารความเสี่ยง
(ง)
ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในตามที่กฎหมายกำหนด
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๔๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
638637 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์
พ.ศ.
๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากลและสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อ ๕
ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๓
๒. ให้ใช้ประกาศนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่แล้ว
จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
๓. ให้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๒๗/๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
636378 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนและการประสานส่งเสริมสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนและการประสานส่งเสริมสถานศึกษา
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเขตพื้นที่การศึกษา
ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นั้น
เพื่อให้การจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๘ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และมาตรา
๘ และมาตรา ๓๖ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อคราวประชุม
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ วันที่ ๑๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงกำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ในการประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนและประสานและส่งเสริมสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดังนี้
๑. การประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชน
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
โดยรวมถึงการมอบอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเดิม ได้ดำเนินการอยู่เดิมด้วย
๒. การประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชน
ในด้านวิชาการและพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามระดับการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน
โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประสานส่งเสริมและสนับสนุนในระดับประถมศึกษา
และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ประสานส่งเสริมและสนับสนุนในระดับมัธยมศึกษา
๓. การประสานและส่งเสริมสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในด้านวิชาการและพัฒนาบุคลากร โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ประสานส่งเสริมในระดับประถมศึกษาและให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ประสานส่งเสริมในระดับมัธยมศึกษา
ทั้งนี้
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนและประสานส่งเสริมให้สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ กันยายน
๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๕๓/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ |
633855 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวรผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2553 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการสรรหา
กรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวรผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ.
๒๕๕๓[๑]
โดยที่สภามหาวิทยาลัยนเรศวรในคราวประชุมครั้งที่
๑๕๑ (๓/๒๕๕๓) เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๓ ได้มีมติให้ออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร
ว่าด้วยการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวรผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๑ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกอบกับมาตรา ๗๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร
ว่าด้วยการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยนเรศวรผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๕๓
ดังที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร
ว่าด้วยการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
นันทนภัสร์/ตรวจ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๗/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
636376 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษา
และระดับมัธยมศึกษา
สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นั้น
เพื่อให้การจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๕๓ และมาตรา ๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๕๓ วันที่ ๑๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงกำหนดให้สถานศึกษา
ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
๑. โรงเรียนพุทธโสธร
อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๑
ให้ไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๖
๒. โรงเรียนเกาะสีชัง
อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๓
ให้ไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘
๓. โรงเรียน
ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม
เขต ๒ ให้ไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙
๔. โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต
๑ ให้ไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔
๕. โรงเรียนวัดคลองสน
อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ให้ไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๑๗
นอกจากสถานศึกษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว
สถานศึกษาใดจัดการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
ให้อยู่ในอำนาจบริหารจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่
จนกว่าจะมีการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต่อไป
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๕๑/๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ |
641268 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. 2553 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการบัญชี และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการบัญชีของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากลและสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบกับข้อ ๕ ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๓
๒.
ให้ใช้ประกาศนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการบัญชี ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่แล้ว
จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
๓.
ให้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๑ ง/หน้า ๒๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
633859 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
บัดนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓
และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และมาตรา ๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษาเมื่อคราวประชุม
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยให้อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๒ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร
เขต ๑ และให้อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๓
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๒
และได้กำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน
๑๘๓ เขต ดังต่อไปนี้
๑. ให้ยุบรวมเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต ๑ เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต ๒
และเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
เขต ๓ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
โดยประกอบด้วยท้องที่ ทุกเขตในกรุงเทพมหานคร
และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ เขตราชเทวี
๒. ให้เขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
เพื่อบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มิได้อยู่ในการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน ๑๘๒
เขต ดังต่อไปนี้
๒.๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษากระบี่
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดกระบี่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองกระบี่
๒.๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง อำเภอด่านมะขามเตี้ย และอำเภอศรีสวัสดิ์
จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี
เขต ๑ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี
๒.๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพนมทวน อำเภอท่ามะกา และอำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอพนมทวน
๒.๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอทองผาภูมิ
๒.๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบ่อพลอย
๒.๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอดอนจาน
และอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
๒.๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท อำเภอยางตลาด และอำเภอฆ้องชัย
จังหวัดกาฬสินธุ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอห้วยเม็ก
๒.๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอเขาวง อำเภอคำม่วง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอสมเด็จ อำเภอนามน
และอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอห้วยผึ้ง
๒.๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย อำเภอไทรงาม อำเภอลานกระบือ
และอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองกำแพงเพชร
๒.๑๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอคลองขลุง อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองลาน
อำเภอบึงสามัคคี และอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอคลองขลุง
๒.๑๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอบ้านฝาง และอำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต ๑ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองขอนแก่น
๒.๑๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอเปือยน้อย อำเภอบ้านแฮด
และอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบ้านไผ่
๒.๑๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพล อำเภอหนองสองห้อง อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ และอำเภอโนนศิลา
จังหวัดขอนแก่น
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอพล
๒.๑๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอน้ำพอง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอกระนวน อำเภออุบลรัตน์ และอำเภอซำสูง
จังหวัดขอนแก่น
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอน้ำพอง
๒.๑๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน อำเภอภูเวียง และอำเภอหนองนาคำ
จังหวัดขอนแก่น
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๕ ตั้งอยู่ที่
อำเภอชุมแพ
๒.๑๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมือง อำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม และอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองจันทบุรี
๒.๑๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอมะขาม อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอสอยดาว
และอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอมะขาม
๒.๑๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง และอำเภอบ้านโพธิ์
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
๒.๑๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพนมสารคาม อำเภอบางคล้า อำเภอสนามชัยเขต อำเภอราชสาส์น อำเภอแปลงยาว
อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอพนมสารคาม
๒.๒๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอบ้านบึง และอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองชลบุรี
๒.๒๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพนัสนิคม อำเภอบ่อทอง อำเภอพานทอง และอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอพนัสนิคม
๒.๒๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอศรีราชาและอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบางละมุง
๒.๒๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ จังหวัดชัยนาท
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองชัยนาท
๒.๒๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ
เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวแดง
และอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองชัยภูมิ
๒.๒๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ อำเภอบ้านแท่น อำเภอคอนสาร และอำเภอเกษตรสมบูรณ์
จังหวัดชัยภูมิ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอภูเขียว
๒.๒๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอจัตุรัส อำเภอเนินสง่า อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว
และอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอจัตุรัส
๒.๒๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมือง อำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองชุมพร
๒.๒๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ อำเภอสวี อำเภอละแม และอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอหลังสวน
๒.๒๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงชัย และอำเภอ เวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองเชียงราย
๒.๓๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแม่ลาว อำเภอพาน อำเภอแม่สรวย อำเภอป่าแดด และอำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแม่ลาว
๒.๓๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอดอยหลวง
จังหวัดเชียงราย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแม่จัน
๒.๓๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอขุนตาล อำเภอพญาเม็งราย และอำเภอเวียงแก่น
จังหวัดเชียงราย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเทิง
๒.๓๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง อำเภอ ดอยสะเก็ด และอำเภอแม่ออน
จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองเชียงใหม่
๒.๓๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๒ เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่
เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอแม่ริม อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง อำเภอสะเมิง
และอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแม่ริม
๒.๓๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย อำเภอเวียงแหง และอำเภอไชยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอฝาง
๒.๓๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสันป่าตอง อำเภอสารภี อำเภอหางดง อำเภอแม่วาง และอำเภอดอยหล่อ
จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสันป่าตอง
๒.๓๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย และอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕ ตั้งอยู่ที่
อำเภอฮอด
๒.๓๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอจอมทอง และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖ ตั้งอยู่ที่
อำเภอจอมทอง
๒.๓๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองตรัง อำเภอนาโยง อำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว และอำเภอหาดสำราญ
จังหวัดตรัง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองตรัง
๒.๔๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอห้วยยอด อำเภอกันตัง อำเภอวังวิเศษ อำเภอสิเกา และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอห้วยยอด
๒.๔๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาตราด
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ประกอบด้วยท้องที่
ทุกอำเภอจังหวัดตราด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองตราด
๒.๔๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองตาก
๒.๔๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแม่สอด
๒.๔๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครนายก
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดนครนายก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนครนายก
๒.๔๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนครปฐม
๒.๔๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอพุทธมณฑล และอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต ๒ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม
เขต ๒ ตั้งอยู่ที่ อำเภอนครชัยศรี
๒.๔๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนครพนม อำเภอนาแก อำเภอปลาปาก อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม และอำเภอวังยาง
จังหวัดนครพนม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนครพนม
๒.๔๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอศรีสงคราม อำเภอบ้านแพง อำเภอนาทม อำเภอนาหว้า อำเภอโพนสวรรค์
และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอศรีสงคราม
๒.๔๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนครราชสีมา
๒.๕๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโชคชัย อำเภอห้วยแถลง และอำเภอหนองบุนนาก
จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอจักราช
๒.๕๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย อำเภอเสิงสาง และอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอครบุรี
๒.๕๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสีคิ้ว อำเภอปากช่อง และอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสีคิ้ว
๒.๕๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๕ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอด่านขุนทด อำเภอขามทะเลสอ อำเภอโนนไทย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอพระทองคำ และอำเภอเทพารักษ์
จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๕ ตั้งอยู่ที่
อำเภอด่านขุนทด
๒.๕๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๖
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบัวใหญ่ อำเภอคง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอบัวลาย และอำเภอสีดา
จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๖
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบัวใหญ่
๒.๕๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๗
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอชุมพวง อำเภอพิมาย อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอลำทะเมนชัย และอำเภอเมืองยาง
จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๗
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๗ ตั้งอยู่ที่
อำเภอชุมพวง
๒.๕๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม อำเภอลานสกา
และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต
๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
๒.๕๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอทุ่งสง อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน อำเภอนาบอน อำเภอฉวาง
อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอพิปูน และอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต
๒ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอทุ่งสง
๒.๕๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอหัวไทร
อำเภอชะอวด และอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต
๓ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเชียรใหญ่
๒.๕๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล อำเภอขนอม อำเภอพรหมคีรี และอำเภอนบพิตำ
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต
๔ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอท่าศาลา
๒.๖๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโกรกพระ อำเภอพยุหะคีรี และอำเภอชุมแสง
จังหวัดนครสวรรค์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์
เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์
๒.๖๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอลาดยาว อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอแม่วงก์ อำเภอชุมตาบง และอำเภอแม่เปิน
จังหวัดนครสวรรค์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอลาดยาว
๒.๖๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก อำเภอหนองบัว อำเภอตากฟ้า และอำเภอตาคลี
จังหวัดนครสวรรค์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอไพศาลี
๒.๖๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนนทบุรี
๒.๖๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบางใหญ่
๒.๖๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร
จังหวัดนราธิวาส
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมือง
๒.๖๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง อำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงปาดี
จังหวัดนราธิวาส
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสุไหงโก-ลก
๒.๖๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ และอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอระแงะ
๒.๖๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองน่าน อำเภอแม่จริม อำเภอบ้านหลวง อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น อำเภอเวียงสา
อำเภอสันติสุข และอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองน่าน
๒.๖๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอสองแคว อำเภอบ่อเกลือ
และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอปัว
๒.๗๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอชำนิ อำเภอลำปลายมาศ และอำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองบุรีรัมย์
๒.๗๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอประโคนชัย อำเภอกระสัง อำเภอห้วยราช อำเภอบ้านกรวด และอำเภอพลับพลาชัย
จังหวัดบุรีรัมย์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอประโคนชัย
๒.๗๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอนางรอง อำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย อำเภอหนองกี่ อำเภอโนนสุวรรณ
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอหนองหงส์ และอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอนางรอง
๒.๗๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอคูเมือง อำเภอนาโพธิ์ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
และอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอพุทไธสง
๒.๗๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก และอำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองปทุมธานี
๒.๗๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอลำลูกกา
๒.๗๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน
และอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์
เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
๒.๗๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอปราณบุรี อำเภอหัวหิน อำเภอกุยบุรี และอำเภอสามร้อยยอด
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์
เขต ๒ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอปราณบุรี
๒.๗๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ
และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองปราจีนบุรี
๒.๗๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอกบินทร์บุรี
๒.๘๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองปัตตานี
๒.๘๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอยะรัง อำเภอมายอ และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอโคกโพธิ์
๒.๘๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ และอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสายบุรี
๒.๘๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน
อำเภอบ้านแพรก อำเภออุทัย อำเภอวังน้อย อำเภอภาชี และอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา
๒.๘๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเสนา อำเภอบางซ้าย อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน
เภอลาดบัวหลวง อำเภอบางบาล และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต ๒ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเสนา
๒.๘๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองพะเยา อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ และอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองพะเยา
๒.๘๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอปง และอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอจุน
๒.๘๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพังงา
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดพังงา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองพังงา
๒.๘๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองพัทลุง
อำเภอควนขนุน อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต และอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองพัทลุง
๒.๘๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอตะโหมด อำเภอกงหรา อำเภอศรีชัยสน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าบอน และอำเภอปากพะยูน
จังหวัดพัทลุง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอตะโหมด
๒.๙๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอสามง่าม อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอวชิรบารมี
อำเภอวังทรายพูน และอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองพิจิตร
๒.๙๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอดงเจริญ
และอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอตะพานหิน
๒.๙๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองพิษณุโลก
๒.๙๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอวังทอง อำเภอบางกระทุ่ม และอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอวังทอง
๒.๙๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอชาติตระการ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอวัดโบสถ์
๒.๙๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอบ้านแหลม อำเภอเขาย้อย และอำเภอหนองหญ้าปล้อง
จังหวัดเพชรบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองเพชรบุรี
๒.๙๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ อำเภอบ้านลาด และอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอท่ายาง
๒.๙๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอชนแดน และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
๒.๙๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอน้ำหนาว และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอหล่มสัก
๒.๙๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอหนองไผ่ และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบึงสามพัน
๒.๑๐๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสอง อำเภอหนองม่วงไข่ และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองแพร่
๒.๑๐๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอลอง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอลอง
๒.๑๐๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดภูเก็ต
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองภูเก็ต
๒.๑๐๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอแกดำ และอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองมหาสารคาม
๒.๑๐๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอวาปีปทุม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอนาดูน อำเภอยางสีสุราช และอำเภอนาเชือก
จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอวาปีปทุม
๒.๑๐๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน อำเภอกุดรัง และอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอโกสุมพิสัย
๒.๑๐๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดมุกดาหาร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองมุกดาหาร
๒.๑๐๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย และอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
๒.๑๐๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแม่สะเรียง อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแม่สะเรียง
๒.๑๐๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองยโสธร
๒.๑๑๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอกุดชุม อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา อำเภอทรายมูล และอำเภอไทยเจริญ
จังหวัดยโสธร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอกุดชุม
๒.๑๑๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองยะลา
๒.๑๑๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหา และอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ตั้งอยู่ที่ อำเภอบันนังสตา
๒.๑๑๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเบตง และอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเบตง
๒.๑๑๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอจังหาร อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอธวัชบุรี
อำเภอทุ่งเขาหลวง และอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
๒.๑๑๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภออาจสามารถ อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอพนมไพร อำเภอโพนทราย
อำเภอเมืองสรวง อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสุวรรณภูมิ
๒.๑๑๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก อำเภอโพธิ์ชัย และอำเภอเสลภูมิ
จังหวัดร้อยเอ็ด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอโพนทอง
๒.๑๑๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาระนอง
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดระนอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองระนอง
๒.๑๑๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองระยอง อำเภอบ้านฉาง อำเภอบ้านค่าย อำเภอปลวกแดง และอำเภอนิคมพัฒนา
จังหวัดระยอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองระยอง
๒.๑๑๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ และอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแกลง
๒.๑๒๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี
เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอปากท่อ อำเภอวัดเพลง อำเภอจอมบึง
อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองราชบุรี
๒.๑๒๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอโพธาราม อำเภอบ้านโป่ง อำเภอบางแพ และอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอโพธาราม
๒.๑๒๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองลพบุรี อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองลพบุรี
๒.๑๒๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าหลวง อำเภอลำสนธิ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ
อำเภอหนองม่วง และอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอชัยบาดาล
๒.๑๒๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองลำปาง อำเภองาว อำเภอห้างฉัตร และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๑ เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง
เขต ๑ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองลำปาง
๒.๑๒๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเกาะคา อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก อำเภอสบปราบ อำเภอเสริมงาม และอำเภอแม่ทะ
จังหวัดลำปาง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเกาะคา
๒.๑๒๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแจ้ห่ม อำเภอวังเหนือ และอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแจ้ห่ม
๒.๑๒๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองลำพูน อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านธิ และอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองลำพูน
๒.๑๒๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง และอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบ้านโฮ่ง
๒.๑๒๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองเลย อำเภอนาด้วง อำเภอปากชม อำเภอเชียงคาน และอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองเลย
๒.๑๓๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอวังสะพุง อำเภอผาขาว อำเภอภูกระดึง อำเภอเอราวัณ อำเภอหนองหิน และอำเภอภูหลวง
จังหวัดเลย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอวังสะพุง
๒.๑๓๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ และอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอด่านซ้าย
๒.๑๓๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอโนนคูณ อำเภอพยุห์
อำเภอวังหิน และอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองศรีสะเกษ
๒.๑๓๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอราษีไศล
อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภออุทุมพรพิสัย
๒.๑๓๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอขุขันธ์ อำเภอภูสิงห์ อำเภอไพรบึง และอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีษะเกษ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอขุขันธ์
๒.๑๓๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอศรีรัตนะและอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอกันทรลักษ์
๒.๑๓๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอเต่างอย
อำเภอภูพาน และอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสกลนคร
๒.๑๓๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๒ เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร
เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอส่องดาว อำเภอนิคมน้ำอูน
อำเภอพรรณานิคม อำเภอพังโคน อำเภอวาริชภูมิ และอำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสว่างแดนดิน
๒.๑๓๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอวานรนิวาส อำเภอบ้านม่วง อำเภอคำตากล้า และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอวานรนิวาส
๒.๑๓๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองสงขลา
อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม และอำเภอสิงหนคร
จังหวัดสงขลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสงขลา
๒.๑๔๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอหาดใหญ่ อำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง อำเภอบางกล่ำ และอำเภอคลองหอยโข่ง
จังหวัดสงขลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอหาดใหญ่
๒.๑๔๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอนาทวี
๒.๑๔๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสตูล
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดสตูล
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสตูล
๒.๑๔๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
๒.๑๔๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางพลี
๒.๑๔๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ประกอบด้วยท้องที่
ทุกอำเภอ จังหวัดสมุทรสงคราม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
๒.๑๔๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดสมุทรสาคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสมุทรสาคร
๒.๑๔๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น
และอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสระแก้ว
๒.๑๔๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภออรัญประเทศ อำเภอตาพระยา อำเภอวัฒนานคร และอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภออรัญประเทศ
๒.๑๔๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด อำเภอหนองแซง
อำเภอพระพุทธบาท อำเภอเสาไห้ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสระบุรี
๒.๑๕๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอแก่งคอย อำเภอวังม่วง อำเภอหนองแค อำเภอวิหารแดง และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอแก่งคอย
๒.๑๕๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดสิงห์บุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสิงห์บุรี
๒.๑๕๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอคีรีมาศ และอำเภอบ้านด่านลานหอย
จังหวัดสุโขทัย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสุโขทัย
๒.๑๕๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอศรีนคร
จังหวัดสุโขทัย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสวรรคโลก
๒.๑๕๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้าและอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
๒.๑๕๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภออู่ทอง อำเภอสองพี่น้อง และอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภออู่ทอง
๒.๑๕๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเดิมบางนางบวช
อำเภอสามชุก อำเภอด่านช้าง และอำเภอหนองหญ้าไซ
จังหวัดสุพรรณบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเดิมบางนางบวช
๒.๑๕๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก อำเภอเกาะพะงัน
และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
๒.๑๕๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอท่าชนะ อำเภอบ้านตาขุน
อำเภอพนม และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอพุนพิน
๒.๑๕๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอบ้านนาเดิม และอำเภอชัยบุรี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเวียงสระ
๒.๑๖๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอลำดวน อำเภอศรีขรภูมิ อำเภอสำโรงทาบ
และอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุรินทร์
๒.๑๖๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอรัตนบุรี อำเภอสนม อำเภอจอมพระ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม
และอำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอรัตนบุรี
๒.๑๖๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ อำเภอบัวเชด อำเภอศรีณรงค์ และอำเภอพนมดงรัก
จังหวัดสุรินทร์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอปราสาท
๒.๑๖๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม อำเภอโพธิ์ตาก
และอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองหนองคาย
๒.๑๖๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอโพนพิสัย อำเภอโซ่พิสัย อำเภอปากคาด อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี
จังหวัดหนองคาย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอโพนพิสัย
๒.๑๖๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบึงกาฬ อำเภอศรีวิไล อำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า
จังหวัดหนองคาย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบึงกาฬ
๒.๑๖๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองหนองบัวลำภู อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
๒.๑๖๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอนากลาง
๒.๑๖๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ประกอบด้วยท้องที่ ทุกอำเภอ
จังหวัดอ่างทอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองอ่างทอง
๒.๑๖๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ประกอบด้วยท้องที่
ทุกอำเภอ จังหวัดอำนาจเจริญ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
๒.๑๗๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม และอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองอุดรธานี
๒.๑๗๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๒ เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีธาตุ อำเภอหนองแสง อำเภอโนนสะอาด
อำเภอวังสามหมอ และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอกุมภวาปี
๒.๑๗๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านดุง อำเภอพิบูลย์รักษ์ อำเภอไชยวาน อำเภอทุ่งฝน และอำเภอกู่แก้ว
จังหวัดอุดรธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอหนองหาน
๒.๑๗๓ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูงและอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต ๔ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบ้านผือ
๒.๑๗๔ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล อำเภอตรอน อำเภอพิชัย ละอำเภอทองแสนขัน
จังหวัดอุตรดิตถ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
๒.๑๗๕ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอฟากท่าและอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอน้ำปาด
๒.๑๗๖ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอทัพทัน และอำเภอสว่างอารมณ์
จังหวัดอุทัยธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองอุทัยธานี
๒.๑๗๗ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอหนองฉาง อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอหนองฉาง
๒.๑๗๘ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเขื่องใน อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอดอนมดแดง
และอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๑
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี
๒.๑๗๙ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขมราฐ อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอกุดข้าวปุ้น และอำเภอนาตาล
จังหวัดอุบลราชธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอตระการพืชผล
๒.๑๘๐ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม และอำเภอตาลสุม
จังหวัดอุบลราชธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๓
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอพิบูลมังสาหาร
๒.๑๘๑ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๔
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอวารินชำราบ
๒.๑๘๒ ให้เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอทุ่งศรีอุดม
และอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕
เปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเดชอุดม
๓. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานใดที่มิได้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใดตามประกาศฉบับนี้
ให้อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตนั้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔
สิงหาคม ๒๕๕๓
นันทนภัสร์/ตรวจ
๒๔
สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๒๘/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
630726 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ของสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ.
๒๕๕๓[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานและคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
ของสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชนในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๖
และมาตรา ๔๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.
๒๕๕๑
ข้อ ๓ ให้สถาบันอุดมศึกษารับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
(ปวส.) หรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี (๔ ปี)
ตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ
ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ ๔ สถาบันอุดมศึกษาที่จะจัดให้มีการจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) ให้ดำเนินการได้เฉพาะหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี/สายวิชาชีพ
(ปฏิบัติการ) ตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาดำเนินการ
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีรายชื่อปริญญาตรีสายเทคโนโลยี/สายวิชาชีพ
(ปฏิบัติการ) ที่สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๑/๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
630312 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ.
๒๕๕๓[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
เป็นการเพิ่มเติมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๔๑ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จึงกำหนดชื่อปริญญา
ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนจีนบัณฑิต (Bachelor of
Traditional Chinese Medicine)
ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า การแพทย์แผนจีนมหาบัณฑิต (Master of
Traditional Chinese Medicine)
และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า การแพทย์แผนจีนดุษฎีบัณฑิต (Doctor
of Traditional Chinese
Medicine)
ข้อ ๔ การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ของสาขาวิชาการแพทย์แผนจีน ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
๑)
การแพทย์แผนจีนบัณฑิต
พจ.บ.
๑)
Bachelor of Traditional
Chinese
Medicine
B.CM.
๒)
การแพทย์แผนจีนมหาบัณฑิต
พจ.ม.
๒)
Master of Traditional
Chinese
Medicine
M.CM.
๓)
การแพทย์แผนจีนดุษฎีบัณฑิต
พจ.ด.
๓)
Doctor of Traditional
Chinese
Medicine
D.CM.
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๖
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๒๖/๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
635696 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พ.ศ. 2553 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
พ.ศ.
๒๕๕๓
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๓๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๓
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ลงวันที่ ๑๘
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
(๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
สำนักงานเขต หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๓ ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา
และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(๒)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา
และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา
และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับตรวจสอบ
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) กำกับ ดูแล ติดตาม
และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล
เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา
และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ประสาน ส่งเสริม
การดำเนินการของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
(๑๑)
ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ
เอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๒)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ
หรือปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๔ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขต ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๖) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
(๗) กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
ข้อ ๕ ให้ส่วนราชการสำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงานเขต
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
(ค) ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม
และยานพาหนะ
(ง) จัดระบบบริหารงาน การควบคุมภายใน
และพัฒนาองค์กรสำนักงานเขต
(จ) ประชาสัมพันธ์
เผยแพร่กิจการและผลงานของสำนักงานเขตและส่วนราชการในสังกัด
(ฉ) เผยแพร่และให้บริการข้อมูลข่าวสาร
(ช) ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ประสานงานที่เกี่ยวกับการสรรหากรรมการและอนุกรรมการในระดับต่าง ๆ
(ฌ)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสำนักงานเขตที่มิใช่งานของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(ญ)
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพในสำนักงานเขต
สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา
(ฎ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) วางแผนอัตรากำลัง กำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ
(ข) สรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน
และการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ค) ดำเนินงานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ
(ง) พัฒนาบุคลากร ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ
และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(จ) ดำเนินงานวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์
และการดำเนินคดีของรัฐ
(ฉ) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา
(ช) จัดทำมาตรฐาน คุณภาพงาน
กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขต
(ซ)
ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานประจำปี ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลเขตพื้นที่การศึกษา
และคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ฌ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ข)
จัดทำนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(ค)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและแจ้งการจัดสรรงบประมาณ
(ง) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน
และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณและผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผน
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก
และโอนสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
(ฉ)
ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
(ช)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(ข)
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
(ค) ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
(ง) ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ
ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ
(จ) ส่งเสริมงานการแนะแนว สุขภาพอนามัย
กีฬาและนันทนาการ ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร
ประชาธิปไตย วินัยนักเรียน การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และงานกิจการนักเรียนอื่น
(ฉ)
ส่งเสริมสนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(ช)
ส่งเสริมงานกิจกรรมพิเศษและงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ซ)
ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้สารเสพติด และส่งเสริมป้องกันแก้ไข
และคุ้มครองความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา รวมทั้งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(ฌ) ดำเนินงานวิเทศสัมพันธ์
(ญ) ประสาน
ส่งเสริมการศึกษากับการศาสนาและการวัฒนธรรม
(ฎ) ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(ฏ) ประสานและส่งเสริมสถานศึกษาให้มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(ฐ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตร
การสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ค) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
(ง) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม
มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งประเมิน ติดตาม
และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(จ) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
(ช) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน
(ข) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบัญชี
(ค) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานพัสดุ
(ง)
ดำเนินงานเกี่ยวกับงานบริหารงานบริหารสินทรัพย์
(จ)
ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานบริหารการเงิน งานบัญชี
งานพัสดุและงานบริหารสินทรัพย์
(ฉ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(๗) กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) กำกับ ดูแล ประสาน ส่งเสริม
และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
(ข) ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน
และการเปลี่ยนแปลงกิจการโรงเรียนเอกชน
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับการสงเคราะห์และเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและที่กฎหมายอื่นกำหนด
(ง)
ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานการศึกษาเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด
(จ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑
กันยายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๑
กันยายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๔๐/๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ |
633863 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
และเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓
และมาตรา ๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษาเมื่อคราวประชุม ครั้งที่
๒/๒๕๕๓ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จึงกำหนดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
และที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เพื่อบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๔๒ เขต ดังต่อไปนี้
๑. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่ เขตพญาไท บางซื่อ ดุสิต สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี
พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางแค บางขุนเทียน บางบอน ทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ จอมทอง
คลองสาน ธนบุรี ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และหนองแขม
กรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ เขตราชเทวี
๒. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่ เขตบางรัก วัฒนา สาทร พระโขนง บางนา คลองเตย บางคอแหลม
ยานนาวา ดินแดง ห้วยขวาง จตุจักร ลาดพร้าว บางเขน สายไหม บึงกุ่ม บางกะปิ
วังทองหลาง ดอนเมือง หลักสี่ ลาดกระบัง สะพานสูง คันนายาว มีนบุรี คลองสามวา
หนองจอก ประเวศ และสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ เขตห้วยขวาง
๓. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดนนทบุรี และพระนครศรีอยุธยา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนนทบุรี
๔. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๔ ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดปทุมธานี และสระบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองปทุมธานี
๕. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๕ ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดสิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท และอ่างทอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๕
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี
๖. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๖ ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๖
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
๗. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต
๗ ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๗
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี
๘. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต ๘ ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๘
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองราชบุรี
๙. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดสุพรรณบุรี และนครปฐม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๙
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
๑๐. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๐
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเพชรบุรี
๑๑. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๑ ประกอบด้วยท้องที่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
๑๒. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพัทลุง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
๑๓. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๓
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดตรังและกระบี่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองตรัง
๑๔. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๔
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดพังงา ภูเก็ต และระนอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองพังงา
๑๕. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๕
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๕
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนราธิวาส
๑๖. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดสงขลาและสตูล
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๖
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสงขลา
๑๗. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๗
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดจันทบุรี และตราด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๗
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองจันทบุรี
๑๘. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดชลบุรี และระยอง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๘
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองชลบุรี
๑๙. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๙
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดเลย และหนองบัวลำภู
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๙
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเลย
๒๐. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๐
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดอุดรธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๐
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองอุดรธานี
๒๑. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๑
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดหนองคาย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองหนองคาย
๒๒. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๒
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดนครพนม และมุกดาหาร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครพนม
๒๓. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๓
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดสกลนคร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสกลนคร
๒๔. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๔
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดกาฬสินธุ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
๒๕. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดขอนแก่น
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองขอนแก่น
๒๖. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๖
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๖
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองมหาสารคาม
๒๗. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๗
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดร้อยเอ็ด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๗
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
๒๘. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดศรีสะเกษ และยโสธร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๘
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
๒๙. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดอุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๙
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี
๓๐. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๐
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดชัยภูมิ
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๐
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองชัยภูมิ
๓๑. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๑
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดนครราชสีมา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๑
ตั้งอยู่ที่ จังหวัดนครราชสีมา
๓๒. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๒
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดบุรีรัมย์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองบุรีรัมย์
๓๓. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดสุรินทร์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุรินทร์
๓๔. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่
๓๕. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๕ ประกอบด้วยท้องที่
จังหวัดลำปาง และลำพูน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๕
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองลำปาง
๓๖. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดเชียงราย และพะเยา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเชียงราย
๓๗. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๗
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดแพร่ และน่าน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๗
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองแพร่
๓๘. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๘
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดสุโขทัย และตาก
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๘
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุโขทัย
๓๙. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๙
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดพิษณุโลก และอุตรดิตถ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๙
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองพิษณุโลก
๔๐. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๐
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดเพชรบูรณ์
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๐
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
๔๑. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดกำแพงเพชร และพิจิตร
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร
๔๒. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒
ประกอบด้วยท้องที่ จังหวัดนครสวรรค์ และอุทัยธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๔๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเฉพาะแต่ระดับมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใดตามประกาศฉบับนี้
ให้ไปสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตนั้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
นันทนภัสร์/ตรวจ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๖๒/๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
628477 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาโลจิสติกส์
พ.ศ.
๒๕๕๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาโลจิสติกส์ และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาโลจิสติกส์
ของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากล
และสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อ ๕
ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศนี้
เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ. ๒๕๕๒
๒. ให้ใช้ประกาศนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาโลจิสติกส์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่แล้ว
จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
๓. ให้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ.๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕
พฤษภาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๕
พฤษภาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓/๒๙ เมษายน ๒๕๕๓ |
532429 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม
พ.ศ.
๒๕๕๐
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปด้วยความรวดเร็วบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของสภาการศึกษาเมื่อคราวประชุม
ครั้งที่ ๕/๒๕๔๙ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ จึงปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาที่กำหนดไว้เดิมและกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมในจังหวัดยะลา
ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ ๑ เขตดังต่อไปนี้
๑. เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองยะลา อำเภอรามันและอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองยะลา
๒. เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอบันนังสตา อำเภอยะหาและอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอบันนังสตา
๓. เขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเบตง และอำเภอธารโตจังหวัดยะลา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเบตง
๔. เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองปัตตานี
๕. เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอยะรัง อำเภอมายอ และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอโคกโพธิ์
๖. เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสายบุรี อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ และอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสายบุรี
๗. เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๑ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๑ ตั้งอยู่ที่
อำเภอเมืองนราธิวาส
๘. เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๒ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอสุไหงโก - ลก อำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง อำเภอตากใบ และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๒ ตั้งอยู่ที่
อำเภอสุไหงโก ลก
๙. เขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๓ ประกอบด้วยท้องที่
อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะและอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๓ ตั้งอยู่ที่
อำเภอระแงะ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๙
มีนาคม ๒๕๕๐
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๒๒/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐ |
607114 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา ในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี ๒ ปริญญา
ในสถาบันอุดมศึกษาไทย
พ.ศ.
๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี
๒ ปริญญา ในสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างหลากหลาย
ทันสมัย มีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสอดคล้องกับความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพ
เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาใน ๒ หลักสูตรที่แตกต่างกัน
แต่มีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกันในระยะเวลาเดียวกันได้
ซึ่งอาจใช้เวลาศึกษาสั้นลงและประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ทำให้ผู้ศึกษามีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทั้ง ๒ ศาสตร์
และสามารถเชื่อมโยงศาสตร์เหล่านั้นได้อย่างบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี
๒ ปริญญา ในสถาบันอุดมศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี ๒ ปริญญา
ในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี ๒ ปริญญา
(Dual Bachelors Degree Program)
หมายถึง หลักสูตรระดับปริญญาตรีสองหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนศึกษาพร้อมกัน
โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้งสองหลักสูตร
ข้อ ๔
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา การคิดหน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร การรับและเทียบโอนหน่วยกิต
จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตร คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
การลงทะเบียนเรียน ระยะเวลาการศึกษา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา การกำหนดชื่อปริญญา
การประกันคุณภาพของหลักสูตร และการพัฒนาหลักสูตร ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๘ และหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๕
หลักสูตรที่จะนำมาจัดการศึกษาแบบควบระดับปริญญาตรี
๒ ปริญญา ต้องเป็นหลักสูตรที่สถาบันเปิดสอนแยกเป็นสองหลักสูตร
ข้อ ๖
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาหลักสูตรควบปริญญาตรี
๒ ปริญญา ต้องกำหนดวิชาที่สามารถเรียนร่วมกันได้
และวิชาเฉพาะที่ต้องการให้ศึกษาจากทั้งสองหลักสูตรให้ชัดเจนทั้งจำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิต
ข้อ ๗
ผู้เข้าศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษาที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
ซึ่งอาจเป็นแผนการศึกษาที่ศึกษาต่อเนื่องกันอย่างครบถ้วน
ข้อ ๘
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
มิถุนายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๕๑/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๒ |
583460 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ.
๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขการกำหนดชื่ออักษรย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษของชื่อปริญญาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้สอดคล้องกับชื่อปริญญา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๔๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑
จึงปรับปรุงชื่อย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษของปริญญาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
(ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙) ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor
of Applied Thai Traditional
Medicine) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาบัณฑิต
(Master of Applied
Thai Traditional Medicine)
และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor
of Applied Thai Traditional
Medicine)
ข้อ ๓
การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทยและภาษาอังกฤษของสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
ดังนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท และปริญญาเอก)
๑) การแพทย์แผนไทยประยุกต์
บัณฑิต
พทป.บ.
๑)
Bachelor of Applied.
Thai Traditional Medicine
B.ATM
๒) การแพทย์แผนไทยประยุกต์
มหาบัณฑิต
พทป.ม.
๒)
Master of Applied.
Thai Traditional Medicine
M.ATM
๓) การแพทย์แผนไทยประยุกต์
ดุษฎีบัณฑิต
พทป.ด.
๓)
Doctor of Applied
Thai Traditional Medicine
D.ATM.
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สมชาย
วงศ์สวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๙
กรกฎาคม ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๕/๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ |
572235 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน
เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา)
และค่าบริหารจัดการมัสยิด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
ในจังหวัดสตูล และ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย)
ให้ได้รับการดูแล ส่งเสริมในหลักเกณฑ์เดียวกับศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๓
ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐
อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด
ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน
เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
และค่าบริหารจัดการมัสยิด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา)
และผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจะต้องตั้งอยู่ในมัสยิดที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วเท่านั้น
โดยจะให้การอุดหนุนไม่เกินมัสยิดละ ๑ แห่ง
ข้อ ๔
เงินอุดหนุนค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด แบ่งได้ดังนี้
ที่
จำนวนนักเรียน
(คน)
จัดสรรค่าตอบแทน
ผู้สอน
(คน)
ค่าตอบแทนคนละ/
เดือน
(บาท)
ค่าบริหารจัดการ
มัสยิด/เดือน(บาท)
รวมเป็นเงิน
(บาท)
๑
ไม่เกิน
๘๐ คน
๒
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๕,๐๐๐
๒
๘๑
- ๑๒๐ คน
๓
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๗,๐๐๐
๓
๑๒๑
คนขึ้นไป
๔
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๙,๐๐๐
ข้อ ๕
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ต้องจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด พ.ศ.
๒๕๔๙
ข้อ ๖
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดหรือผู้แทน
จัดทำแบบคำขอรับการอุดหนุนตามแบบที่กำหนด (แบบ ตก. ๑ ตก. ๒ และ ตก. ๓) จำนวน ๒ ชุด
โดยสำรวจจำนวนผู้เรียนและผู้สอน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ของทุกปี โดยโรงเรียนเก็บไว้
จำนวน ๑ ชุด ส่งต่อนายทะเบียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มัสยิดตั้งอยู่
จำนวน ๑ ชุด ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี
ข้อ ๗
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติผู้สอนและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓ และสรุปคำขอรับการอุดหนุน (แบบ ตก. ๑ ตก. ๒
และ ตก. ๓) ของศูนย์การศึกษาทุกศูนย์
ลงในแบบสรุปข้อมูลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) (แบบ ตก. ๔)
และแบบสรุปรายชื่อศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) (แบบ ตก. ๕) ส่งไปยังสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ของทุกปี สำหรับแบบ ตก. ๑
ตก. ๒ และ ตก. ๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเก็บไว้พร้อมที่จะตรวจสอบ
ข้อ ๘
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเบิกจ่ายเงิน
พร้อมทั้งโอนเงินอุดหนุนค่าบริหารจัดการเข้าบัญชีศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้สอนทุกคนเป็นรายเดือน
ข้อ ๙
ผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน
ต้องเป็นผู้สอนอยู่จนถึงเดือนที่ขอเบิกกรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอน ให้อิหม่ามประจำมัสยิดแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ศูนย์ตั้งอยู่
ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง (ตามแบบ ตก. ๔ ตก. ๕)
ข้อ ๑๐
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นผู้รวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ
และรายงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทราบภายใน
๑๕ วัน ของไตรมาสถัดไป (ตามแบบ ตก. ๖)
ข้อ ๑๑
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา)
ต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๑๒
การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลาม
ประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ต้องไม่เกินจำนวนผู้เรียน ณ วันที่
๑๐ มิถุนายน ของแต่ละปี หากมีการปรับลดจำนวนนักเรียนลงให้ปรับลดเงินค่าตอบแทนผู้สอนด้วย
ข้อ ๑๓
สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๑
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดสตูล และ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา
(อำเภอจะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย) ให้ยื่นคำขอตามข้อ ๖ ภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน
๒๕๕๐ โดยใช้จำนวนผู้เรียน ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอรับการอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการศูนย์ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ... (แบบ ตก. ๑)
๒. แบบสำรวจข้อมูลประวัติผู้สอน
(แบบ ตก. ๒)
๓. บัญชีรายชื่อผู้เรียน
(แบบ ตก. ๓)
๔. ข้อมูลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ปีงบประมาณ ... (แบบ ตก. ๔)
๕. รายชื่อศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) (แบบ ตก. ๕)
๖. บัญชีรายชื่อผู้สอนที่มีการเปลี่ยนแปลงกรณีถอดถอน
(แบบ ตก. ๖)
๗. บัญชีรายชื่อผู้สอนที่มีการเปลี่ยนแปลงกรณีแต่งตั้งเพิ่มเติม
(แบบ ตก. ๗)
๘. แบบรายงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ปีงบประมาณ ... (แบบ ตก. ๘)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๔๐/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
609930 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549 (Update ณ วันที่ 26/03/2551) (ครั้งที่ 1) (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การกำหนดชื่อปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาเป็นระบบและสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๘ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ วันที่ ๕ มกราคม
๒๕๔๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในระดับปริญญาตรี
โท และเอก ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น
ในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา หรือสถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้
ข้อ
๔ ประเภทของการกำหนดชื่อปริญญา แบ่งเป็น
๔ ประเภท ดังนี้
๔.๑
ปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านศิลปศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่าศิลปศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Arts) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(Master of Arts)
และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
๔.๑.๑
กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities)
(๑)
สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา อาทิ พุทธศาสตร์ พุทธศาสนศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ
(๒)
สาขาวิชาภาษา วรรณคดี อาทิ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต จารึกภาษาไทย การแปล
วรรณคดีไทย วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ
(๓)
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี อาทิ โบราณคดี ประวัติศาสตร์
(๔)
สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมศึกษา อารยธรรมศึกษา
๔.๑.๒
กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
(๑)
สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (Social and Behavioral Science) อาทิ ประชากรศาสตร์ ภูมิภาคศึกษา พฤติกรรมศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาการจัดการ (Management) อาทิ การจัดการ บริหารสถาบันการพาณิชย์ การเลขานุการ
(๓)
สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ (Mass Communication and Information) อาทิ ภาพยนตร์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ วารสารศาสตร์ การพิพิธภัณฑ์
บรรณารักษศาสตร์
(๔)
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (Home Economics) อาทิ อาหารและโภชนาการ
เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คหกรรมศิลป์ การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
(๕)
สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ (Service Industries) อาทิ การภัตตาคาร
การโรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการด้านต่าง ๆ
๔.๒
ปริญญาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Science)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
๔.๒.๑
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
(๑)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) อาทิ ชีววิทยา
ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ จุลชีววิทยา พิษวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา กีฏวิทยา พันธุศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) อาทิ เคมี
ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์กายภาพ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา
(๓)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and Statistics) อาทิ คณิตศาสตร์ การวิจัยดำเนินงาน สถิติ คณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial Science)
(๔)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computing) อาทิ วิทยาการคอมพิวเตอร์
๔.๒.๒
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences)
(๑)
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (Agriculture) อาทิ ปฐพีศาสตร์ ประมง พืชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร
วนผลิตภัณฑ์ วนศาสตร์ สัตวบาล สัตวศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental Sciences and Natural Resources) อาทิ การจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาการสิ่งแวดล้อม
(๓)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Sciences) อาทิ กายวิภาคศาสตร์
นิติเวชศาสตร์ เวชนิทัศน์ สรีรวิทยา
(๔)
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Public Health) อาทิ การสาธารณสุขทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพ
สาธารณสุขมูลฐาน สุขศึกษา
(๕)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ (Other Applied Sciences)
๔.๓
ปริญญาวิชาชีพ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้เน้นการศึกษาในลักษณะของศาสตร์เชิงประยุกต์
เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย
ขององค์กรวิชาชีพ หรือสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพหรือกฎหมายรองรับ แต่มีลักษณะเป็นวิชาชีพ
๔.๓.๑
กลุ่มสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามสาขาวิชาชีพนั้น
ๆ เป็นหลักในทุกระดับปริญญา (บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต)
สำหรับระดับปริญญาเอกอาจกำหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิตก็ได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้
คือ
(๑)
สาขาวิชากายภาพบำบัด (Physical Therapy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า กายภาพบำบัดบัณฑิต
(Bachelor of Physical Therapy)
(๒)
สาขาวิชาการบัญชี (Accountancy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy)
(๓)
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (Bachelor of Thai Traditional Medicine) การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)
(๔)
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery)
(๕)
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เทคนิคการแพทยบัณฑิต
(Bachelor of Medical Technology)
(๖)
สาขาวิชานิติศาสตร์ (Laws) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า นิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws)
(๗)
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า พยาบาลศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Nursing Science)
(๘)
สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า แพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
(๙)
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Pharmacy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy) หรือ Doctor of Pharmacy สำหรับหลักสูตร ๖
ปี
(๑๐)
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Engineering) อาทิ วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมอุตสาหการ
(๑๑)
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (Education) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศึกษาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education)
(๑๒)
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) ให้ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture) หรือภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture)
(๑๓)
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
(Doctor of Veterinary Medicine)
๔.๓.๒
กลุ่มสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพ แต่เป็นศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ
การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามกลุ่มสาขาวิชาที่กำหนดต่อไปนี้
(๑)
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (Fine and Applied Arts) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศิลปบัณฑิต
(Bachelor of Fine Arts) หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Fine and Applied Arts)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า ศิลปมหาบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
ศิลปดุษฎีบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อาทิ การถ่ายรูปและการถ่ายภาพยนตร์
การละครหรือนาฏศาสตร์ จิตรกรรม ดุริยางคศาสตร์ ประติมากรรม
(๒)
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Business Administration)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๓)
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (Public Administration)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Public Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๔)
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economics)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๕)
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Social Work)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Social work) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๖)
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สารสนเทศศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต
และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า สารสนเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
๔.๔
ปริญญาทางเทคโนโลยี สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเป็นการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การศึกษา เคหการและการดูแลรักษาสุขภาพและมีลักษณะเป็นหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ
(Multidisciplinary) เพื่อสร้างความชำนาญการเฉพาะทางให้ใช้เฉพาะระดับปริญญาตรี โดยให้ใช้ชื่อว่า
เทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอก ให้ใช้ชื่อปริญญาตามศาสตร์ที่เน้นในการศึกษา
เช่น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) หรือวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ ได้แก่
(๑)
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) อาทิ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ วนผลิตภัณฑ์
(๒)
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม (Engineering Technology and Industrial Technology) อาทิ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ
๕ ชื่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
ปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท ปริญญาเอก)
๑.
ปริญญาศิลปศาสตร์
ศิลปศาสตรบัณฑิต ศศ.บ.
Bachelor of Arts B.A.
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศศ.ม.
Master of Arts M.A.
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศศ.ด.
Doctor of Arts D.A.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.
ปริญญาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต วท.บ.
Bachelor of Science B.S., B.Sc.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วท.ม.
Master of Science M.S., M.Sc.
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วท.ด.
Doctor of Science D.S., D.Sc.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.
ปริญญาสำหรับวิชาชีพ
๓.๑
สาขาวิชากายภาพบำบัด
๑)
กายภาพบำบัดบัณฑิต กภ.บ.
1) Bachelor of Physical Therapy B.PT.
๒)
กายภาพบำบัดมหาบัณฑิต กภ.ม.
2) Master of Physical Therapy M.PT
๓)
กายภาพบำบัดดุษฎีบัณฑิต กภ.ด.
3) Doctor of Physical Therapy D.PT.
๓.๒
สาขาวิชาการบัญชี
๑)
บัญชีบัณฑิต บช.บ.
1) Bachelor of Accountancy B.Acc.
๒)
บัญชีมหาบัณฑิต บช.ม.
2) Master of Accountancy M.Acc.
๓)
บัญชีดุษฎีบัณฑิต บช.ด.
3) Doctor of Accountancy D.Acc.
๓.๓
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
๑)
การแพทย์แผนไทยบัณฑิต พท.บ.
1) Bachelor of Thai Traditional B.TM.
Medicine
๒)
การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต พท.ม.
2) Master of Thai Traditional M.TM.
Medicine
๓)
การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต พท.ด.
3) Doctor of Thai Traditional D.TM.
Medicine
และ
๑) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.บ.
1) Bachelor of Applied Thai B.TM.
บัณฑิต
Traditional Medicine
๒)
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.ม.
2) Master of Applied Thai M.TM.
มหาบัณฑิต
Traditional Medicine
๓)
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.ด.
๓) Doctor of Applied Thai D.TM.
ดุษฎีบัณฑิต
Traditional Medicine
๓.๔
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
๑)
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ท.บ.
1) Doctor of Dental Surgery D.D.S.
๓.๕
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
๑)
เทคนิคการแพทยบัณฑิต ทพ.บ.
1) Bachelor of Medical Technology B.MT.
๒)
เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต ทพ.ม.
2) Master of Medical Technology M.MT.
๓)
เทคนิคการแพทยดุษฎีบัณฑิต ทพ.ด.
3) Doctor of Medical Technology D.MT.
๓.๖
สาขาวิชานิติศาสตร์
๑)
นิติศาสตรบัณฑิต น.บ.
1) Bachelor of Laws LL.B.
๒)
นิติศาสตรมหาบัณฑิต น.ม.
2) Master of Laws LL.M.
๓)
นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต น.ด.
3) Doctor of Laws LL.D.
๓.๗
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
๑)
พยาบาลศาสตรบัณฑิต พย.บ.
1) Bachelor of Nursing Science B.N.S.
๒)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พย.ม.
2) Master of Nursing Science M.N.S.
๓)
พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต พย.ด.
3) Doctor of Nursing Science D.N.S.
๓.๘
สาขาวิชาแพทยศาสตร์
๑)
แพทยศาสตรบัณฑิต พ.บ.
1) Doctor of Medicine M.D.
๓.๙
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
๑)
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ.
1) Bachelor of Pharmacy B.Pharm.
๒)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ภ.ม.
2) Master of Pharmacy M.Pharm.
๓)
เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภ.ด.
3) Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑๐
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
๑)
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วศ.บ.
1) Bachelor of Engineering B.Eng.
๒)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วศ.ม.
2) Master of Engineering M.Eng.
๓)
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต วศ.ด.
3) Doctor of Engineering D.Eng.
๓.๑๑
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
๑)
ศึกษาศาสตรบัณฑิต ศษ.บ.
1) Bachelor of Education B.Ed.
๒)
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ศษ.ม.
2) Master of Education M.Ed.
๓)
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศษ.ด.
3) Doctor of Education Ed.D.,D.Ed.
๓.๑๒
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
๑)
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถ.บ.
1) Bachelor of Architecture B.Arch.
๒)
สถาปัตยกรรมศาสตร สถ.ม.
2) Master of Architecture M.Arch.
มหาบัณฑิต
๓)
สถาปัตยกรรมศาสตร สถ.ด.
3) Doctor of Architecture D.Arch.
ดุษฎีบัณฑิต
และ
๑) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.บ.
1) Bachelor of Landscape B.L.A.
บัณฑิต
Architecture
๒)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.ม.
2) Master of Landscape Architecture M.L.A.
มหาบัณฑิต
๓)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.ด.
3) Doctor of Landscape Architecture D.L.A.
ดุษฎีบัณฑิต
๓.๑๓
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
๑)
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต สพ.บ.
1) Doctor of Veterinary Medicine D.V.M.
๔.
ปริญญาสำหรับศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพ
หรือกึ่งวิชาชีพ
๔.๑
สาขาวิชาทางวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
(Fine and Applied Arts)
๑)
ศิลปบัณฑิต ศล.บ.
Bachelor of Fine Arts B.F.A.
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ศป.บ.
หรือ Bachelor of Fine and
Applied Arts
๒)
ศิลปมหาบัณฑิต ศล.ม.
Master of Fine Arts M.F.A.
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศป.ม.
หรือ Master of Fine and
Applied Arts
๓)
ศิลปดุษฎีบัณฑิต ศล.ด.
Doctor of Fine Arts หรือ D.F.A.
หรือ
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศป.ด.
Doctor of Fine and Applied Arts
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๒
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
(Business Administration)
๑)
บริหารธุรกิจบัณฑิต บธ.บ.
Bachelor of Business Administration B.B.A.
๒)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บธ.ม.
Master of Business Administration M.B.A.
๓)
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.
Doctor of Business Administration D.B.A.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๓
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
(Public Administration)
๑)
รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต รป.บ.
Bachelor of Public Administration B.P.A.
๒)
รัฐประศาสนศาสตร รป.ม.
Master of Public Administration M.P.A.
มหาบัณฑิต
๓)
รัฐประศาสนศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต รป.ด.
Doctor of Public Administration D.P.A.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๔
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)
๑)
เศรษฐศาสตรบัณฑิต ศ.บ.
Bachelor of Economics B.Econ.
๒)
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ศ.ม.
Master of Economics M.Econ.
๓)
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศ.ด.
Doctor of Economics D.Econ.
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๕
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
(Social Work)
๑)
สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.บ.
Bachelor of Social Work B.S.W.
บัณฑิต
๒)
สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.ม.
Master of Social Work M.S.W.
มหาบัณฑิต
๓)
สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.ด.
Doctor of Social Work D.S.W.
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๖
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
๑)
สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สท.บ.
Bachelor of Information Science B.I.S.
๒)
สารสนเทศศาสตร สท.ม.
Master of Information Science M.I.S.
มหาบัณฑิต
๓)
สารสนเทศศาสตร สท.ด.
Doctor of Information Science D.I.S.
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๕.
ปริญญาทางเทคโนโลยี
ให้ใช้เฉพาะระดับปริญญาตรี
โดยใช้ชื่อว่า
เทคโนโลยีบัณฑิต ทล.บ.
Bachelor of Technology B.Tech.
สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอกให้ใช้ชื่อปริญญาตามศาสตร์ที่เน้นการศึกษาทั้งปริญญาภาษาไทยและปริญญาภาษาอังกฤษ
ข้อ
๖ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องกำหนดชื่อปริญญาที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๒]
ข้อ ๓ สาขาวิชารัฐศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า รัฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Political Science) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Political Science) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Political Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๔ สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า นิเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Communication Arts) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Communication Arts) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Communication Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๕ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Health) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Public Health) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Public Health) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๖ การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ของสาขาวิชารัฐศาสตร์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
๑.
สาขาวิชารัฐศาสตร์
๑)
รัฐศาสตรบัณฑิต ร.บ.
๑) Bachelor of Political Science B.Pol.Sc.
๒)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ร.ม.
๒) Master of Political Science M.Pol.Sc.
๓)
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ร.ด.
๓) Doctor of Political Science D.Pol.Sc.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๒.
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
๑)
นิเทศศาสตรบัณฑิต นศ.บ.
๑) Bachelor of Communication Arts B.Com.Arts
๒)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นศ.ม.
๒) Master of Communication Arts M.Com.Arts
๓)
นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต นศ.ด.
๓) Doctor of Communication Arts D.Com.Arts
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
๑)
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ส.บ.
๑) Bachelor of Public Health B.P.H
๒)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ส.ม.
๒) Master of Public Health M.P.H.
๓)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต ส.ด.
๓) Doctor of Public Health Dr.P.H.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
ข้อ ๗ การกำหนดชื่อปริญญาตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันในกรณีจัดทำหลักสูตรในสาขาวิชารัฐศาสตร์
นิเทศศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ ในลักษณะของศาสตร์เชิงวิชาชีพ หรือกึ่งวิชาชีพ
หากสถาบันอุดมศึกษาใดจัดทำหลักสูตรโดยการจัดเนื้อหาเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ทางศิลปศาสตร์
ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ หรือศาสตร์บริสุทธิ์ทางวิทยาศาสตร์
ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ก็สามารถใช้ชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หรือ
วิทยาศาสตรบัณฑิตตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๔ ง/หน้า ๙๘/๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
[๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๓/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ |
493511 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. 2549 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อให้การกำหนดชื่อปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาเป็นระบบและสอดคล้องกับแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๘ ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ วันที่ ๕ มกราคม
๒๕๔๙ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๒[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรในระดับปริญญาตรี
โท และเอก ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น
ในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา หรือสถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้
ข้อ ๔ ประเภทของการกำหนดชื่อปริญญา แบ่งเป็น ๔ ประเภท
ดังนี้
๔.๑
ปริญญาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์บริสุทธิ์ทางด้านศิลปศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่าศิลปศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Arts) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(Master of Arts)
และศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
๔.๑.๑
กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities)
(๑)
สาขาวิชาปรัชญา ศาสนา เทววิทยา อาทิ พุทธศาสตร์ พุทธศาสนศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ
(๒)
สาขาวิชาภาษา วรรณคดี อาทิ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาบาลีและสันสกฤต จารึกภาษาไทย การแปล
วรรณคดีไทย วรรณคดีอังกฤษ วรรณคดีเปรียบเทียบ
(๓)
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี อาทิ โบราณคดี ประวัติศาสตร์
(๔)
สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมศึกษา อารยธรรมศึกษา
๔.๑.๒
กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social Sciences)
(๑)
สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (Social and Behavioral Science) อาทิ ประชากรศาสตร์ ภูมิภาคศึกษา พฤติกรรมศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาการจัดการ (Management) อาทิ การจัดการ บริหารสถาบันการพาณิชย์ การเลขานุการ
(๓)
สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ (Mass Communication and Information) อาทิ ภาพยนตร์
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ วารสารศาสตร์ การพิพิธภัณฑ์
บรรณารักษศาสตร์
(๔)
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (Home Economics) อาทิ อาหารและโภชนาการ
เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คหกรรมศิลป์ การอบรมเลี้ยงดูเด็ก
(๕)
สาขาวิชาอุตสาหกรรมบริการ (Service Industries) อาทิ การภัตตาคาร
การโรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการด้านต่าง ๆ
๔.๒
ปริญญาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเน้นศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์สาขาวิชานั้น ๆ เป็นหลัก ให้ใช้ชื่อปริญญาว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Science)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ คือ
๔.๒.๑
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences)
(๑)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) อาทิ ชีววิทยา
ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ จุลชีววิทยา พิษวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา กีฏวิทยา พันธุศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Sciences) อาทิ เคมี
ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ภูมิศาสตร์กายภาพ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา
(๓)
สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ (Mathematics and Statistics) อาทิ คณิตศาสตร์ การวิจัยดำเนินงาน สถิติ คณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial Science)
(๔)
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ (Computing) อาทิ วิทยาการคอมพิวเตอร์
๔.๒.๒
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences)
(๑)
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (Agriculture) อาทิ ปฐพีศาสตร์ ประมง พืชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร
วนผลิตภัณฑ์ วนศาสตร์ สัตวบาล สัตวศาสตร์
(๒)
สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (Environmental Sciences and Natural Resources) อาทิ การจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาการสิ่งแวดล้อม
(๓)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Sciences) อาทิ กายวิภาคศาสตร์
นิติเวชศาสตร์ เวชนิทัศน์ สรีรวิทยา
(๔)
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Public Health) อาทิ การสาธารณสุขทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพ
สาธารณสุขมูลฐาน สุขศึกษา
(๕)
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่น ๆ (Other Applied Sciences)
๔.๓
ปริญญาวิชาชีพ สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้เน้นการศึกษาในลักษณะของศาสตร์เชิงประยุกต์
เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย
ขององค์กรวิชาชีพ หรือสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพหรือกฎหมายรองรับ แต่มีลักษณะเป็นวิชาชีพ
๔.๓.๑
กลุ่มสาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามสาขาวิชาชีพนั้น
ๆ เป็นหลักในทุกระดับปริญญา (บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต)
สำหรับระดับปริญญาเอกอาจกำหนดชื่อปริญญาเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิตก็ได้ กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้
คือ
(๑)
สาขาวิชากายภาพบำบัด (Physical Therapy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า กายภาพบำบัดบัณฑิต
(Bachelor of Physical Therapy)
(๒)
สาขาวิชาการบัญชี (Accountancy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy)
(๓)
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า การแพทย์แผนไทยบัณฑิต (Bachelor of Thai Traditional Medicine) การแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (Bachelor of Applied Thai Traditional Medicine)
(๔)
สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery)
(๕)
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เทคนิคการแพทยบัณฑิต
(Bachelor of Medical Technology)
(๖)
สาขาวิชานิติศาสตร์ (Laws) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า นิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws)
(๗)
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (Nursing Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า พยาบาลศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Nursing Science)
(๘)
สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า แพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)
(๙)
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ (Pharmacy) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เภสัชศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Pharmacy) หรือ Doctor of Pharmacy สำหรับหลักสูตร ๖
ปี
(๑๐)
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Engineering) อาทิ วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมอุตสาหการ
(๑๑)
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (Education) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศึกษาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education)
(๑๒)
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) ให้ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Architecture) หรือภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture)
(๑๓)
สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Medicine) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
(Doctor of Veterinary Medicine)
๔.๓.๒
กลุ่มสาขาวิชาที่ไม่ได้กำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพ แต่เป็นศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพหรือกึ่งวิชาชีพ
การกำหนดชื่อปริญญาให้ใช้ตามกลุ่มสาขาวิชาที่กำหนดต่อไปนี้
(๑)
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (Fine and Applied Arts) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ศิลปบัณฑิต
(Bachelor of Fine Arts) หรือศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Fine and Applied Arts)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า ศิลปมหาบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
ศิลปดุษฎีบัณฑิต หรือศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อาทิ การถ่ายรูปและการถ่ายภาพยนตร์
การละครหรือนาฏศาสตร์ จิตรกรรม ดุริยางคศาสตร์ ประติมากรรม
(๒)
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (Business Administration)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๓)
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ (Public Administration)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Public Administration) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๔)
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า เศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economics)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๕)
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (Social Work)
ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Social work) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า
สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
(๖)
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ (Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า สารสนเทศศาสตรบัณฑิต
(Bachelor of Information Science) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาโทว่า สารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต
และให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาเอกว่า สารสนเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
๔.๔
ปริญญาทางเทคโนโลยี สาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้มีลักษณะเป็นการนำวิทยาศาสตร์ประยุกต์ไปใช้พัฒนาความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติการเฉพาะ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม การศึกษา เคหการและการดูแลรักษาสุขภาพและมีลักษณะเป็นหลักสูตรแบบพหุวิทยาการ
(Multidisciplinary) เพื่อสร้างความชำนาญการเฉพาะทางให้ใช้เฉพาะระดับปริญญาตรี โดยให้ใช้ชื่อว่า
เทคโนโลยีบัณฑิต (Bachelor of Technology) สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอก ให้ใช้ชื่อปริญญาตามศาสตร์ที่เน้นในการศึกษา
เช่น วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Science) หรือวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Science) กลุ่มสาขาวิชาที่ใช้ชื่อปริญญานี้ ได้แก่
(๑)
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology) อาทิ เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ วนผลิตภัณฑ์
(๒)
กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม (Engineering Technology and Industrial Technology) อาทิ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๕ ชื่อปริญญาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ให้ใช้ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท ปริญญาเอก)
(ตามระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก)
๑. ปริญญาศิลปศาสตร์
ศิลปศาสตรบัณฑิต ศศ.บ.
Bachelor of Arts B.A.
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ศศ.ม.
Master of Arts M.A.
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศศ.ด.
Doctor of Arts D.A.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๒. ปริญญาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตรบัณฑิต วท.บ.
Bachelor of Science B.S., B.Sc.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วท.ม.
Master of Science M.S., M.Sc.
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต วท.ด.
Doctor of Science D.S., D.Sc.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
Doctor of Philosophy Ph.D.
๓. ปริญญาสำหรับวิชาชีพ
๓.๑ สาขาวิชากายภาพบำบัด
๑) กายภาพบำบัดบัณฑิต กภ.บ.
1) Bachelor of Physical Therapy B.PT.
๒) กายภาพบำบัดมหาบัณฑิต กภ.ม.
2) Master of Physical Therapy M.PT
๓) กายภาพบำบัดดุษฎีบัณฑิต กภ.ด.
3) Doctor of Physical Therapy D.PT.
๓.๒ สาขาวิชาการบัญชี
๑) บัญชีบัณฑิต บช.บ.
1) Bachelor of Accountancy B.Acc.
๒) บัญชีมหาบัณฑิต บช.ม.
2) Master of Accountancy M.Acc.
๓) บัญชีดุษฎีบัณฑิต บช.ด.
3) Doctor of Accountancy D.Acc.
๓.๓ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย
๑) การแพทย์แผนไทยบัณฑิต พท.บ.
1) Bachelor of Thai Traditional B.TM.
Medicine
๒) การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต พท.ม.
2) Master of Thai Traditional M.TM.
Medicine
๓) การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต พท.ด.
3) Doctor of Thai Traditional D.TM.
Medicine
และ ๑) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.บ.
1) Bachelor of Applied Thai B.TM.
บัณฑิต
Traditional Medicine
๒) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.ม.
2) Master of Applied Thai M.TM.
มหาบัณฑิต
Traditional Medicine
๓) การแพทย์แผนไทยประยุกต์ พท.ด.
๓) Doctor of Applied Thai D.TM.
ดุษฎีบัณฑิต
Traditional Medicine
๓.๔ สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์
๑) ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ท.บ.
1) Doctor of Dental Surgery D.D.S.
๓.๕ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
๑) เทคนิคการแพทยบัณฑิต ทพ.บ.
1) Bachelor of Medical Technology B.MT.
๒) เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต ทพ.ม.
2) Master of Medical Technology M.MT.
๓) เทคนิคการแพทยดุษฎีบัณฑิต ทพ.ด.
3) Doctor of Medical Technology D.MT.
๓.๖ สาขาวิชานิติศาสตร์
๑) นิติศาสตรบัณฑิต น.บ.
1) Bachelor of Laws LL.B.
๒) นิติศาสตรมหาบัณฑิต น.ม.
2) Master of Laws LL.M.
๓) นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต น.ด.
3) Doctor of Laws LL.D.
๓.๗ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
๑) พยาบาลศาสตรบัณฑิต พย.บ.
1) Bachelor of Nursing Science B.N.S.
๒) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พย.ม.
2) Master of Nursing Science M.N.S.
๓) พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต พย.ด.
3) Doctor of Nursing Science D.N.S.
๓.๘ สาขาวิชาแพทยศาสตร์
๑) แพทยศาสตรบัณฑิต พ.บ.
1) Doctor of Medicine M.D.
๓.๙ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
๑) เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ.
1) Bachelor of Pharmacy B.Pharm.
๒) เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ภ.ม.
2) Master of Pharmacy M.Pharm.
๓) เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภ.ด.
3) Doctor of Philosophy Ph.D.
๓.๑๐ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
๑) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วศ.บ.
1) Bachelor of Engineering B.Eng.
๒) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วศ.ม.
2) Master of Engineering M.Eng.
๓) วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต วศ.ด.
3) Doctor of Engineering D.Eng.
๓.๑๑ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
๑) ศึกษาศาสตรบัณฑิต ศษ.บ.
1) Bachelor of Education B.Ed.
๒) ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ศษ.ม.
2) Master of Education M.Ed.
๓) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศษ.ด.
3) Doctor of Education Ed.D.,D.Ed.
๓.๑๒ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
๑) สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถ.บ.
1) Bachelor of Architecture B.Arch.
๒) สถาปัตยกรรมศาสตร สถ.ม.
2) Master of Architecture M.Arch.
มหาบัณฑิต
๓) สถาปัตยกรรมศาสตร สถ.ด.
3) Doctor of Architecture D.Arch.
ดุษฎีบัณฑิต
และ ๑) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.บ.
1) Bachelor of Landscape B.L.A.
บัณฑิต
Architecture
๒) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.ม.
2) Master of Landscape Architecture M.L.A.
มหาบัณฑิต
๓) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร ภ.สถ.ด.
3) Doctor of Landscape Architecture D.L.A.
ดุษฎีบัณฑิต
๓.๑๓ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
๑) สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต สพ.บ.
1) Doctor of Veterinary Medicine D.V.M.
๔. ปริญญาสำหรับศาสตร์ในลักษณะเชิงวิชาชีพ
หรือกึ่งวิชาชีพ
๔.๑ สาขาวิชาทางวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
(Fine and Applied Arts)
๑) ศิลปบัณฑิต ศล.บ.
Bachelor of Fine Arts B.F.A.
หรือ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต ศป.บ.
หรือ Bachelor of Fine and
Applied Arts
๒) ศิลปมหาบัณฑิต ศล.ม.
Master of Fine Arts M.F.A.
หรือ ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ศป.ม.
หรือ Master of Fine and
Applied Arts
๓) ศิลปดุษฎีบัณฑิต ศล.ด.
Doctor of Fine Arts หรือ D.F.A.
หรือ ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศป.ด.
Doctor of Fine and Applied Arts
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๒ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
(Business Administration)
๑) บริหารธุรกิจบัณฑิต บธ.บ.
Bachelor of Business Administration B.B.A.
๒) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บธ.ม.
Master of Business Administration M.B.A.
๓) บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บธ.ด.
Doctor of Business Administration D.B.A.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๓ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
(Public Administration)
๑) รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต รป.บ.
Bachelor of Public Administration B.P.A.
๒) รัฐประศาสนศาสตร รป.ม.
Master of Public Administration M.P.A.
มหาบัณฑิต
๓) รัฐประศาสนศาสตร
ดุษฎีบัณฑิต รป.ด.
Doctor of Public Administration D.P.A.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๔ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (Economics)
๑) เศรษฐศาสตรบัณฑิต ศ.บ.
Bachelor of Economics B.Econ.
๒) เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ศ.ม.
Master of Economics M.Econ.
๓) เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศ.ด.
Doctor of Economics D.Econ.
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๕ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
(Social Work)
๑) สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.บ.
Bachelor of Social Work B.S.W.
บัณฑิต
๒) สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.ม.
Master of Social Work M.S.W.
มหาบัณฑิต
๓) สังคมสงเคราะห์ศาสตร สส.ด.
Doctor of Social Work D.S.W.
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๔.๖ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
๑) สารสนเทศศาสตรบัณฑิต สท.บ.
Bachelor of Information Science B.I.S.
๒) สารสนเทศศาสตร สท.ม.
Master of Information Science M.I.S.
มหาบัณฑิต
๓) สารสนเทศศาสตร สท.ด.
Doctor of Information Science D.I.S.
ดุษฎีบัณฑิต
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด.
หรือ Doctor of Philosophy Ph.D.
๕. ปริญญาทางเทคโนโลยี
ให้ใช้เฉพาะระดับปริญญาตรี
โดยใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีบัณฑิต ทล.บ.
Bachelor of Technology B.Tech.
สำหรับปริญญาโทและปริญญาเอก
ให้ใช้ชื่อปริญญาตามศาสตร์ที่เน้น
การศึกษาทั้งปริญญาภาษาไทย
และปริญญาภาษาอังกฤษ
ข้อ ๖ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องกำหนดชื่อปริญญาที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๔ ง/หน้า ๙๘/๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
612945 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.
๒๕๕๒[๑]
ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๖
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗ กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก
จึงเห็นสมควรให้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติขึ้น
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และเพื่อเป็นการประกันคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขา/สาขาวิชา
รวมทั้งเพื่อใช้เป็นหลักในการจัดทำมาตรฐานด้านต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการศึกษามุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันในการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีคุณภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงออกประกาศไว้ดังนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.
ให้ใช้ประกาศนี้สำหรับการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อให้บัณฑิต
มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในทุกระดับคุณวุฒิและสาขา/สาขาวิชา
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร
การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา
๔. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ประกอบด้วย
๔.๑ ระดับคุณวุฒิ ได้แก่
ระดับที่ ๑ อนุปริญญา (๓ ปี)
ระดับที่ ๒ ปริญญาตรี
ระดับที่ ๓ ประกาศนียบัตรบัณฑิต
ระดับที่ ๔ ปริญญาโท
ระดับที่ ๕ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ระดับที่ ๖ ปริญญาเอก
๔.๒
คุณภาพของบัณฑิตทุกระดับคุณวุฒิและสาขา/สาขาวิชาต่าง ๆ
ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดและต้องครอบคลุมอย่างน้อย
๕ ด้าน คือ
(๑) ด้านคุณธรรม จริยธรรม
(๒) ด้านความรู้
(๓) ด้านทักษะทางปัญญา
(๔)
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(๕) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับสาขา/สาขาวิชาที่เน้นทักษะทางปฏิบัติต้องเพิ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
โดยมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านของแต่ละระดับคุณวุฒิและลักษณะของหลักสูตรอย่างน้อยต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดไว้ในแนวทางการปฏิบัติ
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
๔.๓ ชื่อปริญญา จำนวนหน่วยกิต ระยะเวลาในการศึกษา
และการเทียบโอน ผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
๕.
ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษานำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ไปพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาต่าง
ๆ ของแต่ละระดับคุณวุฒิ
เพื่อสถาบันอุดมศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้คุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตในสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒิเดียวกันมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติ
และระดับสากล
๖.
ให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิตามระดับคุณวุฒิของแต่ละสาขา/สาขาวิชา
โดยจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา
และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา
รายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) และรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร
โดยมีหัวข้ออย่างน้อยตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
และดำเนินการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและการประเมินผลเพื่อให้มั่นใจว่า บัณฑิตมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามข้อ
๔.๒
๗.
ให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร
โดยมีตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน
และเกณฑ์การประเมินตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิตามระดับคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชานั้น
ๆ
๘.
ให้สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก
ๆ ๕ ปี
๙.
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเผยแพร่หลักสูตรที่ดำเนินการได้มาตรฐานตามประกาศนี้ต่อสาธารณะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑๐. ให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหลักสูตรที่จะรับนักศึกษาใหม่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษา
๒๕๕๓ เป็นต้นไปตามประกาศนี้
สำหรับหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่แล้วต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับประกาศนี้ภายในปีการศึกษา
๒๕๕๕
๑๑. ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษากำกับ ดูแล
ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามเจตนารมณ์ของประกาศนี้
๑๒.
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๒๕ ง/หน้า ๑๗/๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
502042 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2549
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้า
ในสถาบันอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙
เพื่อส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษได้มีโอกาสศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ตามความต้องการและสอดคล้องกับศักยภาพของตนเอง
อันส่งผลให้การบริหารงานด้านวิชาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ จึงกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าในสถาบันอุดมศึกษาไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๒[๑]
ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีความสามารถพิเศษได้ศึกษาตามศักยภาพที่มีอยู่นั้น
ให้เรียกว่า การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้า (Honors Program)
ข้อ ๔ ในประกาศฉบับนี้
การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้า
หมายถึง การจัดการศึกษาโดยใช้หลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้วให้รองรับศักยภาพของผู้มีความสามารถพิเศษ
โดยสถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้ศึกษาในรายวิชาที่ก้าวหน้ากว่าที่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรนั้น
หรือให้ผู้เรียนได้ศึกษาบางรายวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนอยู่แล้ว หรือสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทำวิจัยเพื่อความลุ่มลึกทางวิชาการ
หรือวิธีการอื่นที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด
ผู้มีความสามารถพิเศษ
หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนผู้เข้าศึกษาตามหลักสูตรปกติ
แต่มีความสามารถเป็นพิเศษในด้านสติปัญญา ความรู้ความสามารถ หรือคุณสมบัติอื่นใดที่สะท้อนความเป็นผู้มีความสามารถพิเศษทางวิชาการตามที่สถาบันอุดมศึกษาจะกำหนดสำหรับหลักสูตรนั้นๆ
สถาบันอุดมศึกษา
หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในสังกัดและในกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และให้หมายความรวมถึงสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๕ การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าต้องสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีและหลักเกณฑ์หรือแนวทางอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการและหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ข้อ ๖ สถาบันอุดมศึกษาที่จะจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าต้องมีความพร้อมทั้งในด้านผู้สอน
อาคารสถานที่ ห้องสมุด อุปกรณ์การเรียนการสอน ระบบการให้คำปรึกษาและคำแนะนำ และมีระบบที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการศึกษาหรือการค้นคว้าวิจัย
เพื่อการบรรลุซึ่งศักยภาพของนักศึกษาแต่ละคน
ข้อ ๗ สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดหลักเกณฑ์การรับนักศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา วิธีการศึกษา การวัดผลการศึกษาและเกณฑ์การสำเร็จของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าที่ชัดเจน
สถาบันอุดมศึกษาอาจรับหรือเทียบโอนผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษจากหลักสูตรปกติหรือหลักสูตรอื่นเข้าศึกษาก็ได้
ทั้งนี้ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดซึ่งอาจกำหนดโดยประกาศทั่วไป
หรือกำหนดเป็นการเฉพาะสำหรับแต่ละหลักสูตร
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดตามวรรคสองต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ
และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และต้องมีระยะเวลาศึกษาในหลักสูตรเพียงพอกับการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
ข้อ ๘ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการนั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๘ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๒/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙ |
622582 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2552 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์
พ.ศ.
๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์ และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้ทั้งในระดับชาติและระดับสากลและสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อ ๕
ของประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๕๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒
๒. ให้ใช้ประกาศนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่แล้ว
จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
๓. ให้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๓/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ |
620813 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์
พ.ศ.
๒๕๕๒[๑]
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และเพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาคอมพิวเตอร์
อาศัยความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่
๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๒
๒. ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี
สาขาคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สำหรับสถาบันอุดมศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตรนี้อยู่แล้ว
จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในปีการศึกษา ๒๕๕๕
๓. ให้มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นไปตามเอกสารแนบท้ายประกาศ
๔. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามประกาศนี้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากประกาศนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๒ เอกสารแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒
ธันวาคม ๒๕๕๒
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒
ธันวาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๑ ง/หน้า ๑๔/๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ |
543713 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทย กับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทย
กับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
พ.ศ.
๒๕๕๐
เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยดำเนินการความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศอย่างมีมาตรฐาน
คุณภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็งและความเป็นเลิศทางวิชาการ ให้สอดคล้องตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุม
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง แนวทางความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง นโยบายและมาตรการการส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศมาจัดการศึกษาในประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
๔.๑ ความตกลงร่วมมือทางวิชาการ หมายถึง ความตกลงร่วมมือเพื่อดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี การให้บริการทางวิชาการ และการแลกเปลี่ยนด้านศิลปะและวัฒนธรรม
หรือกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ ที่สภาสถาบันอุดมศึกษาไทยเห็นควรดำเนินการความตกลงร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
ทั้งในลักษณะทวิภาคี และพหุภาคี
๔.๒ สถาบันอุดมศึกษาไทย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และสถาบันวิจัยในสังกัดและกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
๔.๓ สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มิใช่สถาบันอุดมศึกษาไทย
รวมถึงสถาบันวิจัย สถาบันฝึกอบรมวิชาชีพชั้นสูง สถาบันวิชาชีพเฉพาะทางชั้นสูงโดยต้องเป็นสถาบันที่มีคุณภาพ
และมาตรฐาน จัดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานโดยหน่วยงานของรัฐ
หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมอบหมายในประเทศนั้นๆ
ข้อ ๕ ลักษณะ และวิธีการดำเนินการ
๕.๑ การดำเนินการความตกลงร่วมมือทางวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องคำนึงถึงประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพ
และมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพของสถาบันทั้งสอง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเกื้อกูลและส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพร่วมกัน
เพื่อบรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการ การพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนของสถาบันทั้งสอง
และการพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตามปรัชญาและพันธกิจของสถาบัน
๕.๒ การดำเนินการความตกลงทางวิชาการใดๆ ต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา
โดยต้องแจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบ ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน นับจากวันที่สภาสถาบันอุดมศึกษาให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและทันสมัยสามารถเอื้อต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและการดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือนั้นๆ
และเพื่อเสนอต่อสาธารณชนต่อไป
ข้อ ๖ ขอบเขตความร่วมมือ
ความตกลงร่วมมือทางวิชาการครอบคลุมกิจกรรมดังนี้ คือ
การเรียนการสอน ทั้งในระบบชั้นเรียน และระบบการศึกษาทางไกลซึ่งมีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาในระบบชั้นเรียน
และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกลที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
การวิจัย การถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีการให้บริการทางวิชาการ กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม
หรือกิจกรรมทางวิชาการอื่นที่สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาเห็นสมควร
๖.๑ การเรียน การสอน
๖.๑.๑ ขอบเขตของความร่วมมือทางการเรียนการสอนครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์
บุคลากรทางการศึกษา นักศึกษา อุปกรณ์การเรียนการสอน ตลอดจนการจัดหลักสูตรร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
๖.๑.๒ การจัดหลักสูตร/การเรียนการสอนร่วมกันเพื่อให้ปริญญา
ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ข้อบังคับ และประกาศที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยหลักสูตรนั้นต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่แล้วของสถาบันอุดมศึกษา
หรือเป็นหลักสูตรใหม่ที่พัฒนาร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ
๖.๑.๓ ในการจัดหลักสูตรร่วมกัน สถาบันทั้งสองต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันที่เกี่ยวข้อง
และให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเสนอหลักสูตรดังกล่าวให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง
หรือรับทราบหลักสูตร
๖.๑.๔ การจัดการเรียนการสอนในประเทศไทย สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องเป็นผู้บริหารหลักสูตรและการสอน
และจัดคณาจารย์ประจำสถาบันอุดมศึกษาไทยร่วมสอนในหลักสูตรและสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศสามารถจัดคณาจารย์ร่วมสอน
รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
และคณาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ
๖.๑.๕ การให้ปริญญา อาจเป็นปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาไทย
หรือต่างประเทศ หรือปริญญาร่วม ขึ้นอยู่กับข้อตกลงความร่วมมือ หรือระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการให้ปริญญาของสถาบันที่ร่วมมือกัน
กรณีปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ นักศึกษาต้องเดินทางไปศึกษาในสถาบันนั้นๆ โดยมีระยะเวลาศึกษาไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีการศึกษา
หรือกึ่งหนึ่งของระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร หรือตามข้อบังคับของสถาบัน
๖.๒ การวิจัย
๖.๒.๑ การดำเนินการร่วมมือทางการวิจัย สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องคำนึงถึงประโยชน์ของความร่วมมือ
เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ตามหลักสูตรของการศึกษาในระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท หรือปริญญาเอกของสถาบัน ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบต่อประโยชน์ของประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
และสังคม
๖.๒.๒ การดำเนินการความร่วมมือทางการวิจัย ต้องไม่ขัดต่อระเบียบสภาวิจัยแห่งชาติว่าด้วยการอนุญาตให้นักวิจัยชาวต่างประเทศเข้ามาทำการวิจัยในประเทศไทย
และระเบียบหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๖.๓ การถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี
การดำเนินการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีสถาบันอุดมศึกษาไทยต้องคำนึงถึงประโยชน์ของการพัฒนาทางวิชาการและผลประโยชน์ของไทย
และต้องเป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของไทย และระเบียบหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๖.๔ การให้บริการทางวิชาการ
การดำเนินการความร่วมมือทางการให้บริการวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องคำนึงถึงความร่วมมือที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในสถาบันอุดมศึกษาในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนากำลังคน การพัฒนากิจการนักศึกษา
เป็นต้น
๖.๕ กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม
การดำเนินการกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันอุดมศึกษาไทยต้องคำนึงถึงการแลกเปลี่ยนที่เกื้อหนุนต่อการสนับสนุน
ส่งเสริมเพื่อให้มีการพัฒนาความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน
และเผยแพร่วัฒนธรรม เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันในด้านศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศที่เกี่ยวข้อง
๖.๖ กิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ
สถาบันอุดมศึกษาไทยอาจดำเนินการกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น
อาทิ กิจกรรมด้านกีฬา กิจการนักศึกษา การจัดประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศ และการเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการโครงการ
(Consultancy) เป็นต้น โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษา
ข้อ ๗ ให้สถาบันอุดมศึกษาไทยเสนอสภาสถาบันพิจารณาทบทวนสถานะความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศซึ่งได้ลงนามก่อนประกาศนี้มีผลบังคับใช้
หากปรากฏว่าความตกลงร่วมมือนั้นไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ภายในระยะเวลา ๓ ปี นับจากวันลงนามหรือระยะเวลาที่มีการดำเนินการครั้งล่าสุด
ให้ถือว่าความตกลงร่วมมือดังกล่าวสิ้นสุดลง
ให้สถาบันอุดมศึกษาไทยติดตามประเมินผลการดำเนินการความตกลงร่วมมือทางวิชาการเป็นระยะทุก
๓ ปี
เมื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองสิ้นสุดลง
ให้สถาบันอุดมศึกษาไทยรายงานผลให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาทราบ เพื่อการจัดทำฐานข้อมูลที่ครบถ้วนและทันสมัยสามารถเอื้อต่อการจัดทำหรือตัดสินใจเชิงนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือนั้นๆ
และเพื่อเสนอต่อสาธารณชนต่อไป
ข้อ ๘ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการนั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๕
พฤษภาคม ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ |
513667 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
มาตรฐานการอุดมศึกษา[๑]
ตามที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๔ กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาเพื่อใช้เป็นกลไกระดับกระทรวง
ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษา และระดับหน่วยงานเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาการอุดมศึกษาต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ในคราวประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ จึงประกาศมาตรฐานการอุดมศึกษาไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรฐานการอุดมศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐาน ๓ ด้าน ๑๒
ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑. มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต
บัณฑิตระดับอุดมศึกษาเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม
มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ
มีความสำนึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก
ตัวบ่งชี้
๑.๑ บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน สามารถเรียนรู้
สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติงานและสร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
๑.๒ บัณฑิตมีจิตสำนึก ดำรงชีวิต และปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ
โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
๑.๓ บัณฑิตมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีการดูแล
เอาใจใส่ รักษาสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้อง เหมาะสม
๒. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา
มีการบริหารจัดการการอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และพันธกิจของการอุดมศึกษาอย่างมีดุลยภาพ
ก. มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของการบริหารการอุดมศึกษา
มีการบริหารจัดการการอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้
(๑) มีการบริหารจัดการบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของประเภทสถาบันและสังคมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างมีอิสระทางวิชาการ
(๒) มีการบริหารจัดการทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีการจัดการศึกษาผ่านระบบและวิธีการต่างๆ อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าคุ้มทุน
(๓) มีระบบการประกันคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ข. มาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารการอุดมศึกษา
การดำเนินงานตามพันธกิจของการอุดมศึกษาทั้ง ๔ ด้าน
อย่างมีดุลยภาพ โดยมีการประสานความร่วมมือรวมพลังจากทุกภาคส่วนของชุมชน และสังคมในการจัดการความรู้
ตัวบ่งชี้
(๑) มีหลักสูตรและการเรียน การสอนที่ทันสมัย ยืดหยุ่น
สอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของประเภทสถาบันและสังคม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนแบบผู้เรียนเป็นสำคัญ
เน้นการเรียนรู้และการสร้างงานด้วยตนเองตามสภาพจริง ใช้การวิจัยเป็นฐาน มีการประเมินและใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน
และการบริหารจัดการหลักสูตร ตลอดจนมีการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับหลักสูตรและการเรียน
การสอน
(๒) มีการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นการขยายพรมแดนความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมตามศักยภาพของประเภทสถาบัน มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับนานาชาติของสังคมและประเทศชาติ
(๓) มีการให้บริการวิชาการที่ทันสมัย เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของสังคมตามระดับความเชี่ยวชาญของประเภทสถาบัน
มีการประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของสังคมและประเทศชาติ
(๔) มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ วัฒนธรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
มีการปรับใช้ศิลปะ วัฒนธรรมต่างประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
๓. มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้
การแสวงหา การสร้างและการจัดการความรู้ตามแนวทาง/หลักการอันนำไปสู่สังคมฐานความรู้
และสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้
๓.๑ มีการแสวงหา การสร้าง และการใช้ประโยชน์ความรู้
ทั้งส่วนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทศ เพื่อเสริมสร้างสังคมฐานความรู้
๓.๒ มีการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการวิจัยแบบบูรณาการ
หลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการสร้างเครือข่าย และหลักการประสานความร่วมมือรวมพลังอันนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๒๐
ตุลาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๐๕ ง/หน้า ๕/๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ |
609941 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุน
เพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอน
ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด
ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๒๓ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี
ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการดูแลศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้แทนกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด ดังนี้
หลักเกณฑ์
๑.
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนจะต้องตั้งอยู่ในมัสยิดที่จดทะเบียนจัดตั้งแล้วเท่านั้น
โดยจะให้การอุดหนุนไม่เกินมัสยิดละ ๑ แห่ง
๒.
เงินอุดหนุนค่าตอบแทนผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และค่าบริหารจัดการมัสยิด
แบ่งได้ดังนี้
ที่
จำนวนนักเรียน
(คน)
จัดสรรค่าตอบแทนผู้สอน
(คน)
ค่าตอบแทนคนละ/เดือน
(บาท)
ค่าบริหารจัดการมัสยิด/เดือน
(บาท)
รวมเป็นเงิน
(บาท)
๑
ไม่เกิน
๘๐ คน
๒
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๕,๐๐๐
๒
๘๑
๑๒๐ คน
๓
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๗,๐๐๐
๓
๑๒๑
คนขึ้นไป
๔
๒,๐๐๐
๑,๐๐๐
๙,๐๐๐
๓.
คุณสมบัติผู้สอนในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ดังนี้
๓.๑
เป็นผู้มีสัญชาติไทย
๓.๒ มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
๓.๓
มีความรู้ทางการศึกษาสายสามัญไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับหรือเทียบเท่าตามที่กำหนดในแผนการศึกษาแห่งชาติ
หรือตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่กรณีและมีความรู้ด้านศาสนาอิสลามไม่ต่ำกว่าชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่
๓ ของหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง (มุตาวัซซีเตาะฮ์) หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์สอนศาสนาไม่น้อยกว่า
๓ ปี โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
๓.๔
เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๔.
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ต้องจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด
พ.ศ. ๒๕๔๘
วิธีการ
การขอรับการอุดหนุนและการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการมัสยิดต้องดำเนินการ
ดังนี้
๑.
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดหรือผู้แทนจัดทำแบบคำขอรับการอุดหนุนตามแบบที่กำหนดจำนวน ๓ ชุด
โดยสำรวจจำนวนผู้เรียน และผู้สอน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี ส่งต่อนายทะเบียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มัสยิดตั้งอยู่
จำนวน ๒ ชุด ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายนของทุกปี
๒.
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบคุณสมบัติผู้สอนของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๓ และรวบรวมแบบคำขอรับการอุดหนุนส่งมายังสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
๓.
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการเบิกจ่ายเงิน พร้อมทั้งโอนเงินอุดหนุนค่าบริหารจัดการมัสยิดเข้าบัญชีศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) และจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้สอนทุกคนเป็นรายเดือน
๔.
ผู้สอนที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนต้องเป็นผู้สอนอยู่จนถึงเดือนที่ขอเบิก กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอน
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ศูนย์ตั้งอยู่
ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
๕.
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้รวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบและรายงานการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทราบภายใน
๑๕ วัน ของไตรมาสถัดไป
เงื่อนไข
๑.
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่จัดตั้งตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ.
๒๕๔๘ จะต้องอยู่ในบริเวณชุมชนที่มัสยิดตั้งอยู่
๒.
ผู้สอนและมัสยิดที่เป็นศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่เคยได้รับเงินค่าตอบแทนผู้สอนและค่าบริหารจัดการมัสยิด
ยังคงได้รับการอุดหนุนต่อไป
ทั้งนี้
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดลธี/พิมพ์
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๔/๑๑ มกราคม ๒๕๔๙ |
521324 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แก้ไขบัญชีรายละเอียด 3 แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพในการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แก้ไขบัญชีรายละเอียด ๓ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไข
ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพในการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๗ กระทรวงศึกษาธิการให้มีการแก้ไขบัญชีรายละเอียด ๓ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายละเอียด ๓ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพในการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ให้ใช้บัญชีรายละเอียด ๓/๑ แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ตามบัญชีรายละเอียด ๓/๑ แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๓[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ประกาศไว้
ณ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีรายละเอียด ๓/๑
แนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ตัวชี้วัด และระดับคุณภาพในการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๖
ธันวาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๑๓๑ ง/หน้า ๒๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๙ |
572247 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัด
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[๑]
โดยที่กระทรวงศึกษาธิการ
มีความประสงค์จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก
ให้มีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการปัญหาดังกล่าวมีไม่เพียงพอและครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แต่ละแห่งจะต้องจัดการศึกษาโดยให้บริการหลายเขตพื้นที่การศึกษา
หากให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์มีการบริหารจัดการในเขตพื้นที่การศึกษาจะทำให้ไม่สามารถบริการด้านการศึกษาสงเคราะห์ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๒๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศกำหนดให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตามบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้และโรงเรียนที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีวัตถุประสงค์ในลักษณะเดียวกันเป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เป็นสถานศึกษาที่มีการบริหารและการจัดการในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๔๓/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
528822 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ฉบับที่
๒ พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ได้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นไปตาม ข้อ ๓ (๑) ถึง (๗)
สำหรับส่วนราชการตาม (๗) ให้มีเฉพาะในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ตามบัญชีแนบท้ายประกาศ นั้น
บัดนี้
การบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีปริมาณสถานศึกษาเอกชนและภารกิจที่ต้องรับผิดชอบในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับ
ดูแลเพิ่มมากขึ้น
จึงมีความจำเป็นในการแบ่งส่วนราชการเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๓๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในคราวประชุม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศให้เพิ่มกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
เป็นส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร
๒. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต ๑
๓. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต ๑
๔. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต ๑
๕. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่
๖. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต
๗. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โสรศ/ผู้จัดทำ
๑๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๓๖/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ |
624044 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ.
๒๕๕๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์
และสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ เป็นการเพิ่มเติม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๖
และมาตรา ๔๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ จึงกำหนดชื่อปริญญา ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๓ กันยายน ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต (Bachelor of
Prosthetics and Orthotics)
และใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า กายอุปกรณศาสตรมหาบัณฑิต (Master
of Prosthetics and
Orthotics)
ข้อ ๔
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (Bachelor of
Music) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (Master
of Music) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Music)
หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๕
การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ของสาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์ และสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก)
๑)
สาขาวิชากายอุปกรณศาสตร์
๑) กายอุปกรณศาสตรบัณฑิต
๒) กายอุปกรณศาสตรมหาบัณฑิต
กอ.บ.
กอ.ม.
๑)
Bachelor
of
Prosthetics
and
Orthotics
๒)
Master
of
Prosthetics
and
Orthotics
B.PO.บ
M.PO.บ
๒)
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์
๑) ดุริยางคศาสตรบัณฑิต
๒) ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
๓)
ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หรือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ดศ.บ.
ดศ.ม.
ดศ.ด.
ปร.ด.
๑)
Bachelor
of
Music
๒)
Master
of
Music
๓)
Doctor
of
Music
หรือ
Doctor
of
Philosophy
B.M.บ
M.M.บ
D.M.บ
Ph.Dบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
575177 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.
๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดชื่อปริญญาในสาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ เป็นการเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๔๑ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงกำหนดชื่อปริญญา ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้ เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
สาขาวิชารัฐศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า รัฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of
Political Science) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Political
Science) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor
of Political Science)
หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy)
ข้อ ๔
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า นิเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of
Communication Arts) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Communication
Arts) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(Doctor of Communication
Arts) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of
Philosophy)
ข้อ ๕
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ใช้ชื่อในระดับปริญญาตรีว่า สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (Bachelor of
Public Health) ใช้ชื่อในระดับปริญญาโทว่า
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Public
Health) และใช้ชื่อในระดับปริญญาเอกว่า
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Public
Health) หรือปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of
Philosophy)
ข้อ ๖
การกำหนดชื่อและอักษรย่อปริญญาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ของสาขาวิชารัฐศาสตร์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ดังต่อไปนี้
ชื่อปริญญาภาษาไทยและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษและอักษรย่อ
(ตามระดับปริญญาตรี
ปริญญาโท
และปริญญาเอก)
๑.
สาขาวิชารัฐศาสตร์
๑) รัฐศาสตรบัณฑิต ร.บ.
๑)
Bachelor of Political
Science B.Pol.Sc.
๒) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ร.ม.
๒)
Master of Political
Science M.Pol.Sc.
๓) รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ร.ด.
๓)
Doctor of Political
Science D.Pol.Sc.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปร.ด.
Doctor of
Philosophy Ph.D.
๒.
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
๑) นิเทศศาสตรบัณฑิต นศ.บ.
๑)
Bachelor of Communication
Arts B.Com.Arts
๒) นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต นศ.ม.
๒)
Master of Communication
Arts M.Com.Arts
๓) นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต นศ.ด.
๓)
Doctor of Communication
Arts D.Com.Arts
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปร.ด.
Doctor of
Philosophy Ph.D.
๓.
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
๑) สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ส.บ.
๑)
Bachelor of Public
Health B.P.H
๒) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ส.ม.
๒)
Master of Public
Health M.P.H.
๓) สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต ส.ด.
๓)
Doctor of Public
Health Dr.P.H.
หรือ
หรือ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปร.ด.
Doctor of
Philosophy Ph.D.
ข้อ ๗
การกำหนดชื่อปริญญาตามข้อ ๑ ข้อ ๒
และข้อ ๓ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันในกรณีจัดทำหลักสูตรในสาขาวิชารัฐศาสตร์
นิเทศศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ ในลักษณะของศาสตร์เชิงวิชาชีพ หรือกึ่งวิชาชีพ
หากสถาบันอุดมศึกษาใดจัดทำหลักสูตรโดยการจัดเนื้อหาเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ทางศิลปศาสตร์
ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ หรือศาสตร์บริสุทธิ์ทางวิทยาศาสตร์
ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ก็สามารถใช้ชื่อปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หรือ
วิทยาศาสตรบัณฑิตตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๓๑
มีนาคม ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๓/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ |
571012 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
ปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติม
พ.ศ.
๒๕๕๑
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖
ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการบริหารและจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
สามารถยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๗ วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๔๕ มาตรา ๘ และมาตรา ๓๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
เมื่อคราวประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๑
จึงปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาที่กำหนดไว้เดิม
และกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมในจังหวัด กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปราจีนบุรี
มหาสารคาม เลย พัทลุง และอุทัยธานี จังหวัดละ ๑ เขต ดังต่อไปนี้
๑. เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง อำเภอด่านมะขามเตี้ย
และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี
๒. เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอพนมทวน อำเภอท่ามะกา และอำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอพนมทวน
๓. เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๓
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอสังขละบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอทองผาภูมิ
๔. เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๔
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต ๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอบ่อพลอย
๕. เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง
และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเชียงใหม่
๖. เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอแม่ริม อำเภอพร้าว อำเภอแม่แตง อำเภอสะเมิง
และอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่ริม
๗. เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่อาย อำเภอเวียงแหง
และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอฝาง
๘. เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอสันป่าตอง อำเภอสารภี อำเภอหางดง อำเภอแม่วาง
และอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔
ตั้งอยู่ที่ อำเภอสันป่าตอง
๙. เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย และอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๕
ตั้งอยู่ที่ อำเภอฮอด
๑๐. เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอจอมทอง และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖
ตั้งอยู่ที่ อำเภอจอมทอง
๑๑. เขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์
อำเภอศรีมโหสถ และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี
๑๒. เขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอกบินทร์บุรี
๑๓. เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอศรีบรรพต
และอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองพัทลุง
๑๔. เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอตะโหมด อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าบอน
และอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอตะโหมด
๑๕. เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย อำเภอแกดำ และอำเภอบรบือ
จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองมหาสารคาม
๑๖. เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอวาปีปทุม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอนาดูน อำเภอยางสีสุราช
และอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอวาปีปทุม
๑๗. เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๓
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน อำเภอกุดรัง และอำเภอชื่นชม
จังหวัดมหาสารคาม
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอโกสุมพิสัย
๑๘. เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองเลย อำเภอนาด้วง อำเภอปากชม อำเภอเชียงคาน
และอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองเลย
๑๙. เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอวังสะพุง อำเภอผาขาว อำเภอภูกระดึง อำเภอเอราวัณ
อำเภอหนองหิน และอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอวังสะพุง
๒๐. เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๓
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ และอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต ๓
ตั้งอยู่ที่ อำเภอด่านซ้าย
๒๑. เขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๑
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอทัพทัน
และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๑
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองอุทัยธานี
๒๒. เขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๒
ประกอบด้วยท้องที่ อำเภอหนองฉาง อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต และอำเภอบ้านไร่
จังหวัดอุทัยธานี
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต ๒
ตั้งอยู่ที่ อำเภอหนองฉาง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๔ ง/หน้า ๑๘/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
670667 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้
ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตร
การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่ได้มีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรนี้ได้ใช้ในสถานศึกษาในสังกัด
และในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ซึ่งการจัดการเรียนการสอนมีความจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ
ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตรงตามมาตรฐานของหลักสูตร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
กระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัด
และในกำกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
หนังสือเรียน หมายถึง
เอกสารที่จัดเป็นรูปเล่มใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง
อาจจะมีลักษณะเป็นหนังสือเล่มเดียวตามสาระการเรียนรู้ หรือรายวิชาใด หรือเป็นชุดคือมีหลายเล่มในชุดเดียวกันก็ได้
และอาจจะมีแบบฝึกหัดประกอบ
สำหรับให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติหรืออาจจะมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น แบบเรียน
ตำราเรียน คู่มือเรียน เป็นต้น
สถานศึกษา หมายถึง
สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เอกชน หมายถึง
ผู้ที่มีความประสงค์จะจัดทำหรือผลิตหนังสือเรียน
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ข้อ
๔ ให้มีการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
โดยให้มีการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนที่เอกชนขออนุญาตใช้ในสถานศึกษา
ตามประกาศของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ข้อ
๕ ให้เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคุณภาพหนังสือเรียน
ข้อ
๖ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
ดำเนินการตรวจคุณภาพหนังสือเรียน
ตามแนวปฏิบัติที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ
๗ คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจคุณภาพหนังสือเรียนเล่มใด
จะต้องตรวจด้วยตนเอง ต้องรับผิดชอบในการตรวจนั้น ๆ
โดยตลอดและจะต้องบันทึกผลการตรวจตามข้อ ๖ เสนอต่อสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พร้อมกับคืนต้นฉบับ
ข้อ ๘[๒]
ให้เอกชนปฏิบัติตามประกาศของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามข้อ ๔ และจะต้องชำระค่าตรวจให้แก่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามอัตราที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ
๙ ค่าตอบแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ตรวจ
ให้จ่ายได้ไม่เกินอัตราที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
ข้อ
๑๐ หนังสือเรียนที่ผ่านการตรวจแล้วให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
อนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษาได้
ข้อ
๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๕[๓]
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
[๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๕
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.