sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
319787 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช
๒๕๓๘ กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนหมายเลข
๑ หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ และหมายเลข ๕
ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่วันละสามร้อยยี่สิบบาท
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุมให้งดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๔ ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับกับประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตโดยอนุโลม
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๘,๘๐๐
๑๕,๐๐๐
๖๓,๘๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๗๐๐
๗,๕๐๐
๕๒,๒๐๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๗,๒๕๐
๓,๗๕๐
๔๑,๐๐๐
ประธานสภาเขต
๑๒,๗๖๐
๘๗๐
๑๓,๖๓๐
สมาชิกสภาเขต
๙,๖๓๐
๔๔๐
๑๐,๐๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๖/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ |
319786 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ 2 ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2538 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตภาษีเจริญ
เขตเลือกตั้งที่
๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๓๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
เป็นปีที่ ๕๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๓๘
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างตามความในมาตรา
๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง ให้เริ่มตั้งแต่วันที่
๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากนายโกวิทย์ ธารณา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน
๒๕๓๘ เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ว่างลง
และเนื่องจากมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๐ กรกฎาคม
๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒๘ ก/หน้า ๙/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ |
864110 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 30/04/2536) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น
ของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือน และเงินเพิ่ม ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข
๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
เมื่อใดได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข
๕ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ให้ปรับใช้บัญชีอัตราตำแหน่งเงินเดือน
และเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข ๒ หมายเลข
๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕ กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๓]
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา
๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา
๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๑[๔]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๔๔,๐๐๐
๔๒,๔๘๐
๓๕,๐๐๐
๑๗,๕๐๐
๗๙,๐๐๐
๕๙,๙๘๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๒๖,๖๒๐
๓,๐๖๐
๒๙,๖๘๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๒๓,๙๘๐
๑,๕๓๐
๒๕,๕๑๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๒๙,๑๕๐
๒๖,๖๒๐
๒๖,๖๒๐
๒๓,๙๘๐
๖,๑๒๐
๓,๐๖๐
๓,๐๖๐
๑,๕๓๐
๓๕,๒๗๐
๒๙,๖๘๐
๒๙,๖๘๐
๒๕,๕๑๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๒[๕]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๕๒,๐๐๐
๕๐,๒๐๐
๔๑,๕๐๐
๒๐,๗๕๐
๙๓,๕๐๐
๗๐,๙๕๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๐,๑๘๐
๔,๔๑๐
๓๔,๕๙๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๒๗,๑๘๐
๒,๒๑๐
๒๙,๓๙๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๓๓,๐๕๐
๓๐,๑๘๐
๓๐,๑๘๐
๒๗,๑๘๐
๘,๘๒๐
๔,๔๑๐
๔,๔๑๐
๒,๒๑๐
๔๑,๘๗๐
๓๔,๕๙๐
๓๔,๕๙๐
๒๙,๓๙๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๓[๖]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๖๐,๐๐๐
๕๗,๙๒๐
๔๘,๐๐๐
๒๔,๐๐๐
๑๐๘,๐๐๐
๘๑,๙๒๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๔๐
๖,๗๕๐
๔๑,๓๙๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๑,๒๐๐
๓,๓๘๐
๓๔,๕๘๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๓๗,๙๓๐
๓๔,๖๔๐
๓๔,๖๔๐
๓๑,๒๐๐
๑๓,๕๐๐
๖,๗๕๐
๖,๗๕๐
๓,๓๘๐
๕๑,๔๓๐
๔๑,๓๙๐
๔๑,๓๙๐
๓๔,๕๘๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๔[๗]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๖๘,๐๐๐
๖๕,๖๔๐
๕๔,๕๐๐
๒๗,๒๕๐
๑๒๒,๕๐๐
๙๒,๘๙๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๙,๗๘๐
๑๐,๐๘๐
๔๙,๘๖๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๕,๘๓๐
๕,๐๔๐
๔๐,๘๗๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๔๓,๕๖๐
๓๙,๗๘๐
๓๙,๗๘๐
๓๕,๘๓๐
๒๐,๑๖๐
๑๐,๐๘๐
๑๐,๐๘๐
๕,๐๔๐
๖๓,๗๒๐
๔๙,๘๖๐
๔๙,๘๖๐
๔๐,๘๗๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๕[๘]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๗๖,๕๐๐
๗๓,๘๕๐
๖๑,๐๐๐
๓๐,๕๐๐
๑๓๗,๕๐๐
๑๐๔,๓๕๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔๕,๗๑๐
๑๖,๑๐๐
๖๑,๘๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๔๑,๑๗๐
๘,๐๕๐
๔๙,๒๒๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๕๐,๐๖๐
๔๕,๗๑๐
๔๕,๗๑๐
๔๑,๑๗๐
๓๒,๒๐๐
๑๖,๑๐๐
๑๖,๑๐๐
๘,๐๕๐
๘๒,๒๖๐
๖๑,๘๑๐
๖๑,๘๑๐
๔๙,๒๒๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๙]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๐]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๑]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๑๒]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และตามบัญชีหมายเลข
๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๓] มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๔] บัญชีหมายเลข
๑ อัตราเงินเดือน และบัญชีหมายเลข ๒ อัตราเงินเพิ่ม แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๑ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๕] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๒ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๖] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๓ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๗] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๔ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๘] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๕ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖ |
304763 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครและกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 6) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่มหมายเลข ๑ หมายเลข ๒ หมายเลข
๓ หมายเลข ๔ และหมายเลข ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๖๑,๐๐๐
๔๑,๕๐๐
๑๐๒,๕๐๐
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๕๘,๘๙๐
๒๐,๗๕๐
๗๙,๖๔๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๓,๖๐๐
๔,๔๐๐
๓๘,๐๐๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๐,๒๖๐
๒,๒๐๐
๓๒,๔๖๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๖,๘๐๐
๘,๘๐๐
๔๕,๖๐๐
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๘
๓๓,๖๐๐
๔,๔๐๐
๓๘,๐๐๐
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๓๓,๖๐๐
๔,๔๐๐
๓๘,๐๐๐
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๒
๓๐,๒๖๐
๒,๒๐๐
๓๒,๔๖๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ |
304761 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ เขตเลือกตั้งที่ 1 และเขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ 2 ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2535 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตประเวศ เขตเลือกตั้งที่ ๑
และเขตภาษีเจริญ
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ.
๒๕๓๕
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตประเวศ เขตเลือกตั้งที่ ๑ และ
เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ได้ว่างลง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ เขตเลือกตั้งที่ ๑ และเขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ขึ้นแทน
ตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๓๕"
มาตรา
๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ
เขตเลือกตั้งที่ ๑ และเขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความใน
มาตรา ๒๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๔ ให้กำหนดวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๕ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา
๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๓๕ ถึงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
+----------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหต ุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากนายประดิษฐ์
บัวน้ำจืด สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ
เขตเลือกตั้งที่ ๑ และนายสุธา ชันแสง สมาชิก
สภากรุงเทพมหานคร เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒
ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพ
มหานคร เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ
เขตเลือกตั้งที่ ๑ และ
เขตภาษีเจริญ เขตเลือกตั้งที่ ๒ ว่างลง และเนื่องจากมาตรา
๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสมาชิกสภากรุงเทพ
มหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๕/๒๑/๑๘/๑๔ มีนาคม ๒๕๓๕] |
304759 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๔
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นปีที่ ๔๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔ และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ |
328395 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๔
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นปีที่ ๔๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๓๔ กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละสองร้อยบาท
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ |
674924 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/12/2533) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑ และได้รับเงินเพิ่มตามบัญชีหมายเลข ๒
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
มาตรา ๔
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕
กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ
และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน[๒]
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๓๑,๗๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๓๐,๖๐๐ บาท
๓.
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๔.
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๓๐๐ บาท
๕.
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๖.
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๗.
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๘. เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๓๐๐ บาท
บัญชีหมายเลข ๒
อัตราเงินเพิ่ม
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] บัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓ |
304758 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง เขตเลือกตั้งที่ 1 ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2533
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตจอมทอง
เขตเลือกตั้งที่
๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ.
๒๕๓๓
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตจอมทอง เขตเลือกตั้งที่ ๑
ได้ว่างลง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง เขตเลือกตั้งที่ ๑
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓"
มาตรา
๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา
๓
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๔ ให้กำหนดวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๓๓ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา
๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา
๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
+-----------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหต ุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากนายอนุสรณ์
บุณยนิตย์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่
๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ว่างลง และเนื่องจากที่มาตรา ๒๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภา
กรุงเทพมหานครให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๓/๑๘๓/๑พ/๒๑ กันยายน ๒๕๓๓] |
319784 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นปีที่ ๔๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้บัญชีหมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๓๑,๗๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๓๐,๖๐๐ บาท
๓.
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๔.
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๓๐๐ บาท
๕.
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๖. ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๗.
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๘.
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๓๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓ |
304757 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2533 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๓
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
๑.
ประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๖,๒๐๐ บาท
๒.
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท
๓.
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๔. ประธานสภาเขต เดือนละ ๖,๖๖๐ บาท
๕. สมาชิกสภาเขต เดือนละ ๔,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓ |
674912 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/12/2533) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งลงเฉพาะวันที่ขาดการประชุมเกิน วันละสองร้อยบาท
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม ให้งดเงินประจำตำแหน่งในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้หมายความรวมถึงเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา ๔
ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง
สมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสี่และวรรคห้า
มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาเขต โดยอนุโลม
มาตรา ๕
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่งของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖
กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมครั้งละหนึ่งร้อยบาท
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง[๒]
๑.
ประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๖,๒๐๐ บาท
๒.
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท
๓. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๔. ประธานสภาเขต เดือนละ ๖,๖๖๐ บาท
๕. สมาชิกสภาเขต เดือนละ ๔,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓
และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓ |
319783 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง เขตเลือกตั้งที่ 2 ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2533
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่
๒ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ.
๒๕๓๓
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นปีที่ ๔๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ ๒ ได้ว่างลง
หนึ่งตำแหน่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๐๔ และมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๒
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๓๓"
มาตรา
๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้ง
ที่ ๒ หนึ่งตำแหน่ง ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา
๑๐๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย
มาตรา
๔
ระยะเวลารับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
มาตรา
๕ ให้กำหนดวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๓๓ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
+----------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจาก พลอากาศเอก
สิทธิ
เศวตศิลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๒
ได้ลาออกจากตำแหน่ง
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓
เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
เขตเลือกตั้งที่ ๒
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดจำนวนเขตเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรในแต่ละจังหวัด
จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่
ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งของแต่ละเขตเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๓๑
ลงวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง และเนื่องจากมาตรา ๑๐๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติ
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
จึง
จำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๓/๒๐๑/๑พ/๕ ตุลาคม ๒๕๓๓] |
674914 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/11/2534) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งลงเฉพาะวันที่ขาดการประชุมเกิน วันละสองร้อยบาท
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม ให้งดเงินประจำตำแหน่งในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้หมายความรวมถึงเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา ๔
ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง
สมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสี่และวรรคห้า
มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาเขต โดยอนุโลม
มาตรา ๕
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่งของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖
กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๒]
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละสองร้อยบาท[๓]
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง[๔]
๑.
ประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๖,๒๐๐ บาท
๒.
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๔,๐๐๐ บาท
๓. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๔. ประธานสภาเขต เดือนละ ๖,๖๖๐ บาท
๕. สมาชิกสภาเขต เดือนละ ๔,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓
และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๓] มาตรา ๖ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๔] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ |
304760 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.
๒๕๓๕
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๔๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๕"
มาตรา
๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓
ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามความใน มาตรา ๔๗
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๔ ให้กำหนดวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๕ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา
๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
ถึงวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
+-----------------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจาก พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเหตุให้
ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลง ซึ่งมาตรา ๔๗
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจาก
ตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่า
ราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น
ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน และโดยที่
มาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
บัญญัติว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จะทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๕/๑๖/๖๔/๔ มีนาคม ๒๕๓๕] |
674926 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 08/11/2534) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑ และได้รับเงินเพิ่มตามบัญชีหมายเลข ๒
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
มาตรา ๔
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕
กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๒]
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ
และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน[๓]
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๓๑,๗๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๓๐,๖๐๐ บาท
๓.
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๔.
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๓๐๐ บาท
๕.
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๖.
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๗.
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๘,๑๐๐ บาท
๘. เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๓๐๐ บาท
บัญชีหมายเลข ๒
อัตราเงินเพิ่ม
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๓] บัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ |
674910 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/07/2532)
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งลงเฉพาะวันที่ขาดการประชุมเกิน วันละสองร้อยบาท
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม ให้งดเงินประจำตำแหน่งในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้หมายความรวมถึงเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา ๔
ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง
สมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสี่และวรรคห้า
มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาเขต โดยอนุโลม
มาตรา ๕
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่งของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖
กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมครั้งละหนึ่งร้อยบาท
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง[๒]
๑.
ประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๒,๐๐๐ บาท
๒.
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๑๕๐ บาท
๓. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
๔. ประธานสภาเขต เดือนละ ๕,๘๕๐ บาท
๕. สมาชิกสภาเขต เดือนละ ๓,๗๕๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓
และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ |
304756 | พระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2532 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.
๒๕๓๒
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒
เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพ
มหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราช
กฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๒"
มาตรา
๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่ละคน
ต้องไม่เกินกว่าจำนวน
ดังต่อไปนี้
(๑)
สามแสนห้าหมื่นบาทสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานคร
(๒)
สี่ล้านสองแสนบาทสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานคร
มาตรา
๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
นี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
+----------------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๒
ประกาศใช้บังคับแล้ว และตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๑
ได้บัญญัติว่า เมื่อได้ประกาศ
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตเลือกตั้งใดหรือประกาศ
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่าย
เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาไม่ได้
จึงจำเป็นต้อง
ตราพระราชกฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๒/๒๐๑/๔พ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒] |
319781 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2531 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตหนองแขม
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ.
๒๕๓๑
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
เป็นปีที่ ๔๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตหนองแขม ได้ว่างลง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภากรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๓๑"
มาตรา
๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา
๓
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม ขึ้น
แทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๔ ให้กำหนดวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๓๑ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา
๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึงวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑
มาตรา
๖ ให้รัฐมนตรีการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลตรี
ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
+--------------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหต ุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยได้มีคำสั่งให้นายแสวง ฤกษ์จรัล พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เพราะสมาชิกภาพของนายแสวง
ฤกษ์จรัลสิ้นสุดลงเนื่องจากเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม
จึงว่างลงนับแต่วันที่ ๒๓
กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑
ซึ่งเป็นวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งดังกล่าว และ
โดยที่มาตรา ๒๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจาก
ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการ
เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
จึงจำเป็นต้องตราพระราช
กฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๑/๑๗๔/๓๓๐/๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๑] |
319782 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 2) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๓๒
เป็นปีที่ ๔๔
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้บัญชีหมายเลข
๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๖,๐๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๕,๐๐๐ บาท
๓.
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
๔.
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๕,๐๕๐ บาท
๕. ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
๖.
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
๗.
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
๘.
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๕,๐๕๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ |
304755 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2532 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.
๒๕๓๒
-------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒
เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการ
โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๔๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
"พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
สภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๓๒"
มาตรา
๒
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร ตามความในมาตรา ๑๗ วรรคสอง และมาตรา ๔๗
วรรคสอง แห่งพระราช
บัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๔ ให้กำหนดวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.
๒๕๓๓ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา
๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒
มาตรา
๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
+----------------------------------------------------------------------------------------------------------+
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอายุของสภากรุงเทพ
มหานครและวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สิ้นสุดลง
เมื่อวันที่ ๑๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งมาตรา ๑๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
บัญญัติให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่
เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และมาตรา ๔๗ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้จัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
และมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
และในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลา
รับสมัครเลือกตั้งด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
[รก.๒๕๓๒/๒๐๑/๑พ/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒] |
321701 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2532 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
เป็นปีที่ ๔๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
๑.
ประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๒,๐๐๐ บาท
๒.
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๑๕๐ บาท
๓.
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
๔. ประธานสภาเขต เดือนละ ๕,๘๕๐ บาท
๕. สมาชิกสภาเขต เดือนละ ๓,๗๕๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ |
304754 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2531 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑
เป็นปีที่ ๔๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน ได้ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขนหนึ่งตำแหน่ง ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง ให้เริ่มตั้งแต่วันที่
๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งเมื่อวันที่
๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้ จ่าสิบโท ประจักษ์
แจ้งอรุณ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน เพราะเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ตามมาตรา ๑๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อวันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ให้เป็นไปตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ และเนื่องจากมาตรา
๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่าเมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๒ กรกฎาคม
๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๖๘/หน้า ๑๑๖/๒๘ เมษายน ๒๕๓๑ |
319780 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2531 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๓๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑
เป็นปีที่ ๔๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน ได้ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางเขน ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๓๑
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน หนึ่งตำแหน่ง ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ไม่เว้นวันหยุดราชการ
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจาก
พลเอก เสฐียร ศิริวิโรจน์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๓๑ เป็นเหตุให้ตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตบางเขน ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง และเนื่องจากมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่าเมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๒ กรกฎาคม
๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๕๓/หน้า ๑๐๐/๕ เมษายน ๒๕๓๑ |
674922 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 11/07/2532)
| พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑ และได้รับเงินเพิ่มตามบัญชีหมายเลข ๒
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
มาตรา ๔
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕
กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ
และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน[๒]
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๖,๐๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๕,๐๐๐ บาท
๓.
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
๔.
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๕,๐๕๐ บาท
๕.
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๗,๕๕๐ บาท
๖.
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
๗.
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๖,๗๐๐ บาท
๘. เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๕,๐๕๐ บาท
บัญชีหมายเลข ๒
อัตราเงินเพิ่ม
๑.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๒.
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] บัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ |
533235 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนต์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดที่จอดยานยนต์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในถนนสายต่างๆ
ให้สอดคล้องกับกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๓๕
ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.
๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๑๑
แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จึงออกประกาศกำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในถนนสายต่างๆ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๒] กำหนดที่จอดยานยนตร์ ในช่วงนอกเวลาห้ามจอดรถ ในถนนสายต่างๆ ดังนี้
(๑) ถนนทรงสวัสดิ์
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด
ถึงแยกถนนเยาวราช
(๒) ถนนพาดสาย
ตั้งแต่แยกถนนเยาวพานิช
ถึงแยกถนนทรงสวัสดิ์
(๓) ถนนเยาวพานิช
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด
ถึงแยกถนนพาดสาย
(๔) ถนนทรงวาด
ตั้งแต่แยกถนนราชวงศ์
ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๕) ถนนมหาจักร
ตั้งแต่แยกถนนหลวง
ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๖) ถนนสันติภาพ
ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๗) ถนนไมตรีจิตต์
ตั้งแต่ห้าแยกพลับพลาไชย
ถึงแยกสะพานเจริญสวัสดิ์
(๘) ถนนมิตตพันธ์
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๙) ถนนรอบวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม
ฝั่งรอบนอกวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม
(๑๐) ถนนลำภุญไชย
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔
ถึงแยกถนนเยาวราช
(๑๑) ซอยธนาคารกรุงเทพอุทิศ
ตั้งแต่แยกถนนเสือป่า
ถึงแยกถนนพลับพลาไชย
(๑๒) ถนนยมราชสุขุม
ตั้งแต่แยกถนนวรจักร
ถึงแยกถนนพลับพลาไชย
(๑๓) ถนนหลวง
ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๑๔) ถนนสาลีรัฐวิภาค
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน
ถึงแยกถนนสุทธิสารวินิจฉัย
(๑๕) ถนนประดิพัทธ์
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน
ถึงแยกถนนพระรามที่ ๖
(๑๖) ถนนรองเมือง
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔
ถึงแยกถนนพระรามที่ ๑
(๑๗) ซอยรองเมือง ๑
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง
ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๑๘) ซอยรองเมือง ๒
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง
ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๑๙) ซอยรองเมือง ๓
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง
๕
(๒๐) ซอยรองเมือง ๔
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง
ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๒๑) ซอยรองเมือง ๕
ตั้งแต่แยกถนนจรัสเมือง
ถึงแยกถนนพระรามที่ ๑
(๒๒) ถนนจรัสเมือง
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง
ถึงแยกถนนบรรทัดทอง
(๒๓) ถนนเจริญเมือง
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง
ถึงแยกถนนบรรทัดทอง
(๒๔) ถนนมหานคร
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔
ถึงแยกถนนสี่พระยา
(๒๕) ถนนมหรรณพ
ตั้งแต่แยกถนนดินสอ ถึงแยกถนนตะนาว
(๒๖) ถนนบริพัตร
ตั้งแต่แยกถนนเยาวราช
ถึงแยกถนนดำรงรักษ์
(๒๗) ถนนพาหุรัด
ตั้งแต่แยกถนนบ้านหม้อ
ถึงแยกถนนจักรเพชร
(๒๘) ถนนบูรพา
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง
ถึงแยกถนนพาหุรัด
(๒๙) ถนนพระสุเมรุ
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง
ถึงหน้าป้อมพระสุเมรุ
(๓๐) ถนนนครสวรรค์
ตั้งแต่แยกถนนจักรพรรดิพงษ์
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๓๑) ถนนบ้านหม้อ
ตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด
ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๓๒) ถนนวิสุทธิกษัตริย์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินนอก
ถึงแยกถนนสามเสน
(๓๓) ถนนนครไชยศรี
ตั้งแต่แยกถนนสวรรคโลก
ถึงแยกถนนสามเสน
(๓๔) ถนนประชาราษฎร์สาย ๒
ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์
ถึงแยกถนนประชาราษฎร์สาย ๑
(๓๕) ถนนท่าดินแดง
ตั้งแต่แยกถนนลาดหญ้า
ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๓๖) ถนนรอบตลาดใต้สะพานรัชดาภิเษก
(ตลาดพลู)
ตั้งแต่แยกถนนเทอดไท
ถึงท่าน้ำคลองบางหลวง
(๓๗) ถนนรามบุตรี
ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์
ถึงแยกถนนตะนาว
(๓๘) ถนนพระอาทิตย์
ตั้งแต่ทางเข้าวัดสังเวช
ถึงแยกถนนเจ้าฟ้า
(๓๙) ถนนอัษฎางค์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง
ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๔๐) ถนนมหาราช
ตั้งแต่หน้าโรงเรียนราชินี
ถึงแยกถนนหน้าพระลาน
(๔๑) ถนนเจริญรัถ
ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
ถึงแยกถนนเจริญนคร
(๔๒) ถนนบางกอกน้อย - ตลิ่งชัน
ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์
ถึงสะพานข้ามคลองชักพระ
(๔๓) ถนนเจ้าสาย (กะทะ)
ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๔) ถนนมังกร
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๕) ซอยพันธ์จิตต์
ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๖) ซอยนานา
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔
ถึงแยกถนนไมตรีจิตต์
(๔๗) ถนนกรุงเกษม
ตั้งแต่แยกสะพานเจริญสวัสดิ์
ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๔๘) ถนนพลับพลาไชย
ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง
ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๔๙) ถนนพรานนก
ตั้งแต่แยกถนนอิสรภาพ
ถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์
(๕๐) ถนนข้าวสาร
ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์
ถึงแยกถนนตะนาว
(๕๑) ถนนจักรพรรดิพงษ์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินนอก
ถึงแยกถนนหลานหลวง
(๕๒) ถนนลูกหลวง
ตั้งแต่แยกถนนสามเสน
ถึงแยกถนนหลานหลวง
(๕๓) ถนนอำนวยสงคราม
ตั้งแต่แยกถนนสามเสน
ถึงแยกถนนพิชัย
(๕๔) ถนนประชาราษฎร์สาย ๑
ตั้งแต่เชิงสะพานพิบูลย์สงคราม
ถึงเชิงสะพานพระรามที่ ๖
(๕๕) ถนนกรุงเทพ - นนท์
ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์สาย ๒
ถึงทางรถไฟ
(๕๖) ถนนเฟื่องนคร
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง
ถึงแยกถนนบำรุงเมือง
(๕๗) ถนนบุญศิริ
ตั้งแต่แยกถนนตะนาว
ถึงแยกถนนอัษฎางค์
(๕๘) ถนนเจริญกรุง
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย
ถึงแยกถนนราชินี
(๕๙) ถนนพระพิพิธ
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย
ถึงแยกถนนราชินี
(๖๐) ถนนสนามไชย
ตั้งแต่แยกถนนมหาราช
ถึงแยกถนนราชดำเนินใน
(๖๑) ซอยเศรษฐการ
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย
ถึงแยกถนนมหาราช
(๖๒) ถนนดำรงรักษ์
ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร
ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๖๓) ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์)
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน
ถึงแยกซอยอารีย์ ๕
(๖๔) ถนนอรุณอัมรินทร์
ตั้งแต่แยกถนนพรานนก
ถึงเชิงสะพานคลองมอญ
(๖๕) ถนนสารสิน
ตั้งแต่แยกถนนวิทยุ
ถึงแยกราชดำริ
(๖๖) [๓]
เขตทางถนนราชดำริ
ตั้งแต่แยกถนนสารสิน
ถึงบริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๖
ข้อ ๒
กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในถนนสายต่างๆ ตามข้อ ๑ ดังนี้
ประเภท
ชั่วโมง
แรก/บาท
ชั่วโมง
ต่อไป/บาท
หมายเหตุ
๑. รถจักรยานยนต์
๕
๑๐
เศษของชั่วโมง
๒. รถยนต์ขนาดไม่เกิน ๔ ล้อ
๑๐
๒๐
ให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
๓. รถยนต์ขนาด ๖ ล้อ
๒๐
๓๐
๔. รถยนต์ขนาด ๘ ล้อ
๓๐
๔๐
๕. รถยนต์ขนาด ๑๐ ล้อ
๔๐
๖๐
๖. รถยนต์ขนาดเกิน ๑๐ ล้อ
๕๐
๘๐
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๗
ร้อยเอก
กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๒) [๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๓) [๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๔) [๖]
วชิระ/จัดทำ
๑๒
มีนาคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๙ ง/หน้า๒๗/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
[๒] ข้อ
๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๓)
[๓] ข้อ
๑ (๖๖) เพิ่มโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๔)
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๖๓/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒๕ ง/หน้า ๒๑/๒๘ มีนาคม
๒๕๓๘
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๔๗/๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ |
828163 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครบริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔
(๒)
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๕
ข้อ ๓
การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด บางลำภู
ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร มี ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑)
ประเภทการจอดประจำ
(๒)
ประเภทการจอดชั่วคราว
ข้อ ๔[๒] ให้รถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร และรถจักรยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันตามชนิดยานยนต์ ดังต่อไปนี้
(๑) รถยนต์เดือนละ ๔,๐๐๐
บาท
(๒) รถจักรยานยนต์เดือนละ ๑,๐๐๐
บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ ๕ ให้ผู้ที่ประสงค์นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำติดต่อเพื่อขอมีบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยยื่นเอกสารประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์แสดงต่อเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามชนิดยานยนต์และค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวน
๓๐๐ บาท โดยค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวนนี้จะคืนให้เมื่อยกเลิกการใช้บริการและคืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
แต่จะริบไว้เป็นค่าปรับในกรณีที่ไม่คืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
หรือบัตรจอดยานยนต์สูญหาย หัก งอ หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตร
และในกรณีที่ประสงค์ใช้บริการจอดยานยนต์ต่อไปให้ดำเนินการขอมีบัตรจอดยานยนต์พร้อมชำระค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์ทุกครั้ง
ในกรณีใช้สิทธิจอดยานยนต์ไม่ครบเดือนจะไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืนแต่อย่างใด
การนำยานยนต์เข้าและออกจากอาคารที่จอดยานยนต์จะต้องแสดงบัตรจอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ประจำตู้ทางเข้าและออกทุกครั้ง
พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ ๖[๓] ให้รถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร และรถจักรยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวได้ตั้งแต่เวลา
๐๖.๐๐ น. ถึง ๐๒.๓๐ น. ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันตามชนิดยานยนต์
ดังต่อไปนี้
(๑) รถยนต์
(ก) ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๒๐ บาท
(ข)
ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๓๐ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที คิด ๑๕ บาท ถ้าเกิน
๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
(๒) รถจักรยานยนต์
(ก) ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๑๐ บาท
(ข)
ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๑๕ บาท เศษของชั่วโมง ถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที คิด ๕ บาท ถ้าเกิน
๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
ให้ยานยนต์ซึ่งเข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวตั้งแต่เวลา
๒๑.๐๐ น. ถึง ๐๒.๓๐ น.
โดยในกรณีใช้ระยะเวลาการจอดยานยนต์ตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไปให้เสียค่าธรรมเนียมในลักษณะเหมาจ่ายต่อคันตามชนิดยานยนต์
ดังต่อไปนี้
(๑) รถยนต์คันละ ๑๐๐ บาท
(๒) รถจักรยานยนต์คันละ ๕๐ บาท
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์เกินกำหนดเวลา
นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดแล้ว
จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด แม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม
โดยรถยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ ๑๐๐ บาท และรถจักรยานยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ
๓๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ ๗
ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวรับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
และให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ในกรณีบัตรจอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวสูญหาย
หัก งอ หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตรแล้ว ผู้ถือบัตรหรือผู้ครอบครองยานยนต์ต้องชำระค่าปรับในกรณีนี้จำนวน
๓๐๐ บาท
ข้อ ๘
บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่จอดยานยนต์
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ หรือเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยให้ผู้แจ้งนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
เพื่อตรวจสอบพร้อมบันทึกสาเหตุการสูญหายตามแบบ ปค. ๑๔
ก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ข้อ ๙ อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร เป็นสถานที่สำหรับจอดยานยนต์เท่านั้น
กรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด ๆ
อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารที่จอดยานยนต์แห่งนี้ทั้งสิ้น
ข้อ ๑๐[๔]
ให้ผู้ใช้บริการจอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำ
นำรถยนต์เข้าจอดได้เฉพาะบริเวณชั้น ๔ ชั้น ๕ ชั้น ๖ ชั้นดาดฟ้าและชั้นใต้ดิน
เว้นแต่กรณีจำเป็นให้จอดในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่แนะนำสำหรับรถจักรยานยนต์ให้จอดชั้นใต้ดิน
ข้อ ๑๑[๕]
กรณีสิทธิการจอดประเภทการจอดประจำในแต่ละเดือนสิ้นสุดลง
ให้ผู้ใช้บริการดำเนินการขอต่อสิทธิการจอดทันที
และหากวันที่สิ้นสุดสิทธิการจอดตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ดำเนินการต่อสิทธิการจอดล่วงหน้าก่อนวันหยุดนั้น
ๆ หากจอดรถไว้ภายในอาคารที่จอดยานยนต์ขณะที่สิทธิการจอดสิ้นสุดลง ต้องชำระค่าธรรมเนียม
รวมทั้งค่าธรรมเนียมเพิ่ม ตามอัตราและเงื่อนไขเช่นเดียวกับการจอดชั่วคราว
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ธีระชน มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครบริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒)[๖]
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๖
มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๕๘/๑ มิถุนายน ๒๕๕๔
[๒] ข้อ ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครบริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒)
[๓] ข้อ ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครบริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒)
[๔] ข้อ ๑๐
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครบริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒)
[๕] ข้อ ๑๑
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครบริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒)
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๓๙/๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ |
304752 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น ให้ลดเงินประจำตำแหน่งลงเฉพาะวันที่ขาดการประชุมเกิน
วันละสองร้อยบาท สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม
ให้งดเงินประจำตำแหน่งในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้หมายความรวมถึงเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา ๔ ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง
สมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสี่และวรรคห้า
มาใช้บังคับกับสมาชิกสภาเขต โดยอนุโลม
มาตรา ๕ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่งของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖ กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุมครั้งละหนึ่งร้อยบาท
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
๑. ประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๑,๒๐๐ บาท
๒. รองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๙,๘๐๐ บาท
๓. สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๗,๐๐๐ บาท
๔. ประธานสภาเขต เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท
๕. สมาชิกสภาเขต เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขตกรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ |
304753 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น
ของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข
๑ และได้รับเงินเพิ่มตามบัญชีหมายเลข ๒ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับแต่งตั้ง
แล้วแต่กรณี
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
มาตรา ๔ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕ กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละหนึ่งร้อยห้าสิบบาท
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา
๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีหมายเลข
๑
อัตราเงินเดือน
๑. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๓,๘๒๐ บาท
๒. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๓,๒๔๐ บาท
๓. เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๗,๐๖๐ บาท
๔. ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๖,๓๖๐ บาท
๕. ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๘,๐๐๐ บาท
๖. ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๗,๐๐๐ บาท
๗. เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๗,๐๐๐ บาท
๘. เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เดือนละ ๖,๓๐๐ บาท
บัญชีหมายเลข
๒
อัตราเงินเพิ่ม
๑. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
๒. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ |
325857 | พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตห้วยขวาง และเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2521 | พระราชกฤษฎีกา
เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท
เขตห้วยขวาง
และเขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
เป็นปีที่ ๓๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตห้วยขวาง และเขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์แก่การปกครองและความสะดวกของประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๕ แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
พุทธศักราช ๒๕๒๐ และมาตรา ๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เขตพญาไท เขตห้วยขวางและเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๑
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไทและเขตบางกะปิ
กับเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดย
(๑) โอนแขวงดินแดง เขตพญาไท ไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง
(๒) โอนแขวงสามเสนนอก เขตบางกะปิ ไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง
มาตรา ๔ ให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตห้วยขวางกับเขตพญาไท
โดย
(๑) โอนพื้นที่บางส่วนของแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง ด้านทิศใต้
ไปขึ้นกับแขวงสามเสนใน เขตพญาไท โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง โดยถือศูนย์กลางถนนอโศก
- ดินแดง เริ่มต้นจากกึ่งกลางลำรางนาซองไปตามถนนอโศก - ดินแดง ถึงศูนย์กลางถนนอโศก
- ดินแดง ที่แยกไปถนนเพชรบุรี เป็นแนวแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง โดยถือกึ่งกลางลำรางนาซองไปตามคลองสามเสน
ถึงศูนย์กลางถนนอโศก - ดินแดง เป็นแนวแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง โดยถือศูนย์กลางถนนอโศก
- ดินแดง เริ่มต้นจากกึ่งกลางคลองสามเสน ไปตามถนนอโศก - ดินแดง ถึงศูนย์กลางถนนอโศก
- ดินแดง ตอนที่แยกไปถนนดินแดง เป็นแนวแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตแขวงสามเสนใน เขตพญาไท โดยถือกึ่งกลางลำรางนาซอง
เริ่มต้นจากศูนย์กลางถนนอโศก - ดินแดง ไปตามลำรางนาซอง ถึงกึ่งกลางคลองสามเสน เป็นแนวแบ่งเขต
(๒) โอนพื้นที่บางส่วนของแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง ด้านทิศตะวันตก
ไปขึ้นกับแขวงมักกะสัน เขตพญาไท โดยมีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตแขวงสามเสนใน เขตพญาไท และแขวงห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง โดยถือกึ่งกลางคลองสามเสน ถึงแนวเขตแขวงมักกะสัน เขตพญาไท เป็นแนวแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตแขวงคลองตัน เขตพระโขนง โดยถือกึ่งกลางคลองแสนแสบ
เริ่มต้นจากศูนย์กลางถนนอโศก - ดินแดง ไปตามคลองแสนแสบ
ถึงแนวเขตแขวงมักกะสัน เขตพญาไท เป็นแนวแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง โดยถือศูนย์กลางถนนอโศก - ดินแดง เริ่มต้นจากกึ่งกลางคลองสามเสนไปตามถนนอโศก
- ดินแดง ถึงกึ่งกลางคลองแสนแสบ เป็นแนวแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตแขวงมักกะสัน เขตพญาไท
โดยถือแนวแบ่งเขต แขวงมักกะสันกับเขตแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
เริ่มต้นจากกึ่งกลางคลองสามเสน ไปตามแนวเขต เขตพญาไท ถึงกึ่งกลางคลองแสนแสบ เป็นแนวแบ่งเขต
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก เกรียงศักดิ์
ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท เขตห้วยขวาง และเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เพื่อประโยชน์แก่การปกครองและความสะดวกของประชาชน
สมควรโอนแขวงดินแดง เขตพญาไท และแขวงสามเสนนอก เขตบางกะปิ ไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง และโอนพื้นที่บางส่วนของแขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
ไปขึ้นกับแขวงสามเสนในและแขวงมักกะสัน เขตพญาไท ตามลำดับ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
สายสัมพันธ์/จัดทำ
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๔๘/หน้า ๑๘๐/๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑ |
304751 | พระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | พระราชกฤษฎีกา
ให้เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่ ๔๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๔๔ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามความในมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เว้นวันหยุดราชการ
ระยะเวลารับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงวันที่
๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ และมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
ประกอบกับมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว และในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๓๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๗ กันยายน ๒๕๒๘ |
700763 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ
ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔
และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๒] การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้มี ๔ ประเภท ดังนี้
๑.๑ ประเภทการจอดประจำ ๒๔ ชั่วโมง
๑.๒ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐
น.) โดยไม่รวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
๑.๓ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐
น.) โดยรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ๒๔ ชั่วโมง
๑.๔ ประเภทการจอดชั่วคราว (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น.)
ข้อ ๒[๓] ให้รถยนต์ไม่เกิน ๔ ล้อ
ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดประจำ
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคัน ดังนี้
๒.๑ ประเภทการจอดประจำ ๒๔ ชั่วโมง เดือนละ ๓,๐๐๐.- บาท หรือปีละ ๓๐,๐๐๐.- บาท
๒.๒ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐
น.) โดยไม่รวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนละ ๑,๑๐๐.- บาท หรือปีละ ๑๑,๐๐๐.- บาท
๒.๓ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐
น.) โดยรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ๒๔ ชั่วโมง เดือนละ ๑,๕๐๐.- บาท หรือปีละ ๑๕,๐๐๐.- บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
เป็นอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ข้อ ๓[๔]
ให้ผู้ที่ประสงค์นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำ ติดต่อเพื่อขอมีบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์โดยยื่นเอกสารประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์แสดงต่อเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียม
และค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวน ๓๐๐ บาท
โดยค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวนนี้จะคืนให้เมื่อยกเลิกการใช้บริการและคืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
แต่จะริบไว้เป็นค่าปรับในกรณีที่ไม่คืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
หรือบัตรจอดยานยนต์สูญหาย หัก งอ
หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตร
และในกรณีที่ประสงค์ใช้บริการจอดยานยนต์ต่อไป
ให้ดำเนินการขอมีบัตรจอดยานยนต์พร้อมชำระค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์ทุกครั้ง
ในกรณีที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือนหรือรายปีแล้ว
ถ้าใช้สิทธิจอดยานยนต์ไม่ครบเดือนหรือครบปีจะไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืนแต่อย่างใด
การนำยานยนต์เข้าและออกจากอาคารที่จอดยานยนต์จะต้องแสดงบัตรจอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ประจำตู้ทางเข้าและออกทุกครั้งพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ
๔ ให้รถยนต์ไม่เกิน ๔ ล้อ
ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดชั่วคราวได้ระหว่างเวลา
๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น. ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคัน ดังนี้
๔.๑
รถยนต์
ก.
ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๒๐ บาท
ข.
ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๒๐ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที คิด ๑๐ บาท ถ้าเกิน
๓๐ นาที คิด ๒๐ บาท
๔.๒
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์ไว้ในอาคารที่จอดยานยนต์เกินกำหนดเวลาที่อนุญาตไว้
นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามปกติแล้วจะต้องเสียเงินเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด
แม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม โดยรถยนต์เสียครั้งละ ๑๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ข้อ ๕[๕]
ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวรับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัดและให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ในกรณีบัตรจอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวสูญหาย หัก งอ
หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตรแล้ว
ผู้ถือบัตรหรือผู้ครอบครองยานยนต์ต้องชำระค่าปรับในกรณีนี้จำนวน ๓๐๐ บาท
ข้อ ๖[๖]
บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่จอดยานยนต์
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยให้ผู้แจ้งนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
เพื่อตรวจสอบพร้อมบันทึกสาเหตุการสูญหายตามแบบ ปค. ๑๔
ก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ข้อ
๗
อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครแห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับจอดยานยนต์เท่านั้น
กรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด ๆ
อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารแห่งนี้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
มุดตาฝ้า หมันงะ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๒)[๗]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๓)[๘]
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๗ มกราคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๒] ข้อ ๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๒)
[๓] ข้อ ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๒)
[๔] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๓)
[๕] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๓)
[๖] ข้อ ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๓)
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๓๐/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๓๒/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
327529 | พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2520 | พระราชกฤษฎีกา
แบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
และหัวหน้าส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๐
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐
เป็นปีที่ ๓๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๐
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
(๒) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗
(๓) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๔ กรุงเทพมหานครมีส่วนราชการดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๓) สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร
(๔) สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
(๕) สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
(๖) สำนักการแพทย์
(๗) สำนักอนามัย
(๘) สำนักการศึกษา
(๙) สำนักการโยธา
(๑๐) สำนักการระบายน้ำ
(๑๑) สำนักรักษาความสะอาด
(๑๒) สำนักสวัสดิการสังคม
(๑๓) สำนักการคลัง
(๑๔) สำนักตำรวจเทศกิจ
(๑๕) เขต
มาตรา ๕ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
งานติดต่อประสานราชการภายในกรุงเทพมหานครและกับกระทรวง
ทบวง กรม อันเกี่ยวกับราชการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
งานประชุม และงานการเมืองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
งานต้อนรับและรับรองแขกของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และราชการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๖ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) งานธุรการและรับรอง
(๒) งานเรื่องราวร้องทุกข์
(๓) งานเรื่องราวและนโยบายเฉพาะกิจ
มาตรา ๘ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสภากรุงเทพมหานคร งานระเบียบและการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
งานประชุมคณะกรรมการสามัญประจำสภา งานประชุมคณะกรรมการวิสามัญเฉพาะกิจและงานประชุมคณะกรรมการวิสามัญประจำสภา
มาตรา ๙ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) งานธุรการ
(๒) งานระเบียบและการประชุม
มาตรา ๑๑ สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลราชการประจำโดยทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
งานบริหารบุคคล งานฝึกอบรม งานผังเมือง งานงบประมาณ งานกฎหมายและคดี งานด้านการปกครองและทะเบียน
งานการประชาสัมพันธ์ และงานด้านวิศวกรรมจราจร และเป็นหน่วยงานกลางประสานราชการระหว่างสำนักและเขตรวมทั้งราชการอื่นที่มิได้กำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักใด
มาตรา ๑๒ สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร มีปลัดกรุงเทพมหานคร
เป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร และขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๓ สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) กองกลาง
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองฝึกอบรม
(๔) กองผังเมือง
(๕) กองงบประมาณ
(๖) กองกฎหมายและคดี
(๗) กองปกครองและทะเบียน
(๘) กองประชาสัมพันธ์
(๙) กองวิศวกรรมจราจร
มาตรา ๑๔ สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ แนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการทั่วไปของส่วนราชการและของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติราชการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๑๕ สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครและขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๖ สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๗ สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๘ สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๙ สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผน ๑
(๓) กองนโยบายและแผน ๒
(๔) กองนโยบายและแผน ๓
มาตรา ๒๐ สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล และปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร
การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และการดำเนินการผลิตพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๑ สำนักการแพทย์ มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักการแพทย์ และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๒ สำนักการแพทย์
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการแพทย์
(๓) วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
(๔) วชิรพยาบาล
(ก) กองบริการทั่วไป
(ข) กองบริการทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์
(ค) กองศัลยกรรม
(ง) กองโอสถกรรม
(จ) กองสูตินรีเวชกรรม
(ฉ) กองการพยาบาล
(๕) โรงพยาบาลกลาง
(ก) กองบริการทั่วไป
(ข) กองบริการทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์
(ค) กองศัลยกรรม
(ง) กองโอสถกรรม
(จ) กองสูตินรีเวชกรรม
(๖) โรงพยาบาลตากสิน
(ก) กองบริการทั่วไป
(ข) กองบริการทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์
(ค) กองศัลยกรรม
(ง) กองโอสถกรรม
(จ) กองสูตินรีเวชกรรม
(๗) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(ก) กองบริการทั่วไป
(ข) กองบริการทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์
(ค) กองศัลยกรรม
(ง) กองโอสถกรรม
(จ) กองสูตินรีเวชกรรม
มาตรา ๒๓ สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมและประสานกิจกรรมที่เกี่ยวกับอนามัยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ตลอดจนจัดให้มีบริการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ
มาตรา ๒๔ สำนักอนามัย
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักอนามัยและขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๕ สำนักอนามัย
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองส่งเสริมสาธารณสุข
(๓) กองอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๔) กองควบคุมโรคสัตว์
(๕) กองส่งเสริมสุขภาพ
(๖) กองทันตสาธารณสุข
(๗) กองพยาบาลสาธารณสุข
(๘) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข
มาตรา ๒๖ สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
และการนิเทศการศึกษา
มาตรา ๒๗ สำนักการศึกษา มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักการศึกษาและขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๘ สำนักการศึกษา
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๓) กองโรงเรียน
(๔) กองวิชาการ
มาตรา ๒๙ สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานโยธา การออกแบบ การก่อสร้างและบูรณะ ควบคุมการก่อสร้าง ควบคุมอาคาร
การรังวัดที่ดินและที่สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐ สำนักการโยธา
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักการโยธา และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๑ สำนักการโยธา
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองออกแบบ
(๓) กองก่อสร้างและบูรณะ
(๔) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๕) กองควบคุมอาคาร
(๖) กองรังวัดที่ดินและที่สาธารณะ
มาตรา ๓๒ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วม และการกำจัดน้ำโสโครกในเขตกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๓ สำนักการระบายน้ำ
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำ
และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๔ สำนักการระบายน้ำ
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการ
(๓) กองควบคุมระบบระบายน้ำ
(๔) กองบำรุงรักษาคูและคลอง
(๕) กองโรงงานกำจัดน้ำเสีย
มาตรา ๓๕ สำนักรักษาความสะอาด
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุมและดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
ตลอดจนการจัดให้มีและบำรุงรักษาส้วมสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๖ สำนักรักษาความสะอาด
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักรักษาความสะอาด
และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗ สำนักรักษาความสะอาด
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการ
(๓) กองเก็บขนมูลฝอย
(๔) กองกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
มาตรา ๓๘ สำนักสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการ งานสันทนาการ และงานสวนสาธารณะ
มาตรา ๓๙ สำนักสวัสดิการสังคม
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักสวัสดิการสังคม
และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๐ สำนักสวัสดิการสังคม
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองสังคมสงเคราะห์
(๓) กองสันทนาการ
(๔) กองสวนสาธารณะ
มาตรา ๔๑ สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานการคลัง การเงิน การบัญชี การพัสดุ การพาณิชย์ และการซ่อมบำรุงรักษายานพาหนะ
เครื่องจักรกล และเครื่องทุ่นแรงของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๒ สำนักการคลัง มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักการคลัง และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๓ สำนักการคลัง
มีหน่วยงานดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๕) กองบัญชีและตรวจสอบ
(๖) กองระบบการคลัง
(๗) กองโรงงานช่างกล
มาตรา ๔๔ สำนักตำรวจเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลและบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๕ สำนักตำรวจเทศกิจ
มีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักตำรวจเทศกิจ
และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๖ เขตเป็นส่วนราชการซึ่งแบ่งความรับผิดชอบดำเนินกิจการ
ตามการแบ่งเขตพื้นที่ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร มี ๒๔ เขต คือ เขตพระโขนง เขตพญาไท เขตยานนาวา
เขตดุสิต เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตบางเขน เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตบางกะปิ
เขตพระนคร เขตภาษีเจริญ เขตบางรัก เขตคลองสาน เขตบางขุนเทียน เขตสัมพันธวงศ์ เขตราษฎร์บูรณะ
เขตบางกอกใหญ่ เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตห้วยขวาง เขตตลิ่งชัน เขตลาดกระบัง และเขตหนองแขม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานปกครอง งานทะเบียน งานโยธา งานรักษาความสะอาด งานอนามัย
งานศึกษาธิการ งานคลัง งานรายได้ งานตำรวจเทศกิจ และงานอื่นตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๔๗ เขต มีหัวหน้าเขตเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าเขต
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของเขต และขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๘ เขต มีหน่วยงานดังนี้
(๑) งานปกครอง
(๒) งานทะเบียน
(๓) งานโยธา
(๔) งานรักษาความสะอาด
(๕) งานอนามัย
(๖) งานศึกษาธิการ
(๗) งานคลัง
(๘) งานรายได้
(๙) งานตำรวจเทศกิจ
มาตรา ๔๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่จำเป็นต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ ในการนี้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
บัญญัติว่า การตั้ง เปลี่ยนแปลง หรือยุบส่วนราชการ การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนราชการ
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการ ให้จัดทำเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ขึ้น
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๔/ตอนที่ ๔๖/หน้า ๔๖๔/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๐ |
792537 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[๒]
ข้อ ๒[๓]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) จัดประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมต่าง ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓)
เป็นศูนย์กลางการประสานราชการด้านนโยบายระหว่างกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร
รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๕)
เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลด้านการบริหารราชการของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒ ทวิ[๔]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและธุรการทั่วไป
(๑.๒) งานการเจ้าหน้าที่
(๑.๓) งานการประชุม
(๑.๔) งานการคลังและงบประมาณ
(๑.๕) งานบัญชีและพัสดุ
(๑.๖) งานการผลิตเอกสารที่ใช้ในการประชุมต่าง ๆ
(๑.๗) งานเผยแพร่ข่าวสาร และข้อมูลประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
(๑.๘)
งานต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและงานพิธีการต่าง
ๆ ของสำนักงาน
(๑.๙) ประสานงานพิธีการ รัฐพิธี
และพระราชพิธีกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๑.๑๐) จัดทำ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงาน
(๑.๑๑) งานควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) ส่วนประสานนโยบาย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ดำเนินการด้านการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ
หรือกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน
(๒.๒)
ดำเนินการด้านนโยบายและการตรวจราชการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ดำเนินการประสานงานกับสภากรุงเทพมหานคร รัฐสภา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมติคณะรัฐมนตรี
บันทึกสั่งการและคำสั่งต่าง ๆ
(๒.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) ส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ดำเนินการด้านการรับและตรวจสอบเรื่องร้องทุกข์ เรื่องร้องเรียน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๓.๒)
ดำเนินการด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๓)
ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๓.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงานที่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และนอกสังกัดกรุงเทพมหานครเสนอ ตลอดจนเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของงานตามกฎหมาย
ระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อพิจารณาเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๓) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๔.๔) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๔.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕)
กลุ่มงานเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงาน
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อกฎหมายระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อคิดเห็นเสนอต่อรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
ศึกษาและสรุปข้อเท็จจริงเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๓) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๕.๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๖) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร[๕]
ข้อ ๓[๖] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑)
ราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๒)
งานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓) วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) จัดทำยุทธศาสตร์
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๕) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการกรุงเทพมหานคร
(๖)
ดำเนินการตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๗] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานด้านเลขานุการ
(๑.๒) งานด้านบริหารทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ
(๑.๓)
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)
และการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการใน ก.ก. และ อ.ก.ก. ที่เกี่ยวข้อง
(๑.๔) งานด้านการคลัง พัสดุ และครุภัณฑ์
(๑.๕) งานการเจ้าหน้าที่และการดำเนินการใน อ.ก.ก. หน่วยงาน
(๑.๖) งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๗) การจัดทำวารสารและรายงานประจำปี
(๑.๘) การดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๙) การจัดทำ ติดตาม รายงานและประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกองและของสำนักงาน
(๑.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองสรรหาบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสรรหาและเลือกสรรข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าสู่ตำแหน่ง
(๒.๓)
เป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) การสรรหาและเลือกสรรเพื่อรับทุนการศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน
ตามความต้องการของกรุงเทพมหานคร
(๒.๕) การรับโอน การบรรจุกลับ และการเปลี่ยนประเภทข้าราชการ
(๒.๖) การพัฒนาสายอาชีพนักทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบงานและการจ้างงานรูปแบบใหม่
(๓.๒) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน
(๓.๓) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓.๔) การกำหนดกรอบและทิศทางการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓.๕)
การนำนวัตกรรมและเทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่ไปใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองอัตรากาลัง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) การจัดทำแผนกำลังคน แผนสืบทอดตำแหน่ง
แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
(๔.๓)
การกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการคัดเลือกบุคคลและประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญดารงตำแหน่งประเภททั่วไป
และประเภทวิชาการ
(๔.๕) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๔.๗) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านภารกิจ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอัตรากาลังของกรุงเทพมหานคร
(๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
การจัดทำฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
(๕.๓) ให้คำปรึกษา
แนะนำทางด้านข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครแก่หน่วยงานและข้าราชการของกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) เป็นศูนย์กลางการรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๕) การตรวจสอบคำสั่ง
(๕.๖) การควบคุมและแก้ไขทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้.
(๖.๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษามาตรฐานวินัยข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพิจารณา ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๓) การเสริมสร้างจริยธรรม
คุณธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๔) การเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ
ติดตามและดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรุงเทพมหานคร
(๖.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครอง เนื่องจากการดำเนินการตามมติ
ก.ก.
(๖.๖)
การพิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงาน
ก.ก.
(๖.๗) การจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับหลักเกณฑ์ วิธีการ คำสั่ง
และหนังสือเวียนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การตรวจร่างสัญญา และงานนิติการอื่น ๆ
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น
(๗.๓) การพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๗.๔) การปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร
(๗.๕) การให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ติดตามและประเมิน
ผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
(๗.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๘]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)[๙]
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
กำหนดทิศทางและแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์นโยบายของกรุงเทพมหานคร
และการติดตามรายงานการประเมินผล
(๑.๒)
พัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมกับบทบาทและภารกิจของกรุงเทพมหานครและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการฝึกอบรมพัฒนา
(๑.๓) ศึกษา วิเคราะห์
นวัตกรรมด้านการบริหารและนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการเผยแพร่แนวคิดและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
(๑.๔) ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษา
อบรมดูงานทั้งในและต่างประเทศและเรียนรู้ด้วยตนเอง
(๑.๕)
ศึกษา ค้นคว้า
และเผยแพร่วิทยาการบริหารสมัยใหม่และองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งผลิตและพัฒนำนวัตกรรมการเรียนรู้ให้มีความทันสมัย
(๑.๖)
ออกแบบและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารและการพัฒนาคนในภาพรวม
(๑.๗)
บริหารจัดการความรู้ด้านการพัฒนาคน พัฒนางานที่ได้จากการศึกษา
วิจัยและส่งเสริมการนำความรู้ไปพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรม
(๑.๘)
เผยแพร่ข้อมูลความรู้และนวัตกรรมด้านการบริหารมหานคร
(๑.๙)
ให้คำปรึกษาแนะนำการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ประกอบการพัฒนา
(๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองกลาง
(๓)[๑๐]
สำนักงานการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓. งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔.
การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๑๑]
สำนักงานปกครองและทะเบียนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑)
ศึกษา ปรับปรุง กำกับ ดูแล ติดตามประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการปกครอง
การเลือกตั้ง และการทะเบียน
(๕.๒)
ให้คำปรึกษา แนะนา เสนอความเห็น และตอบข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๕.๓)
ติดตาม สนับสนุน และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ นโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย
และกรุงเทพมหานคร
(๕.๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตหรือแขวง
(๕.๕) ประสานงาน อำนวยการ สนับสนุน และดำเนินการเลือกตั้งและการทำประชามติ
รวมทั้งสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(๕.๖)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานมูลนิธิ สมาคม
(๕.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานการข่าว และงานกิจการมวลชน
(๕.๘)
ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและป้องกันการทุจริตทางการทะเบียน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
ร้องทุกข์
(๕.๙)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประสานราชการส่วนภูมิภาค และสนับสนุนกิจการศาสนา
(๕.๑๐)
จัดทำฐานข้อมูลด้านการปกครอง การเลือกตั้ง การทะเบียน
และความมั่นคงภายในเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
(๕.๑๑)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๑๒] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ การตรวจสอบการบริหาร
การตรวจสอบระบบ IT สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ ให้คำปรึกษา
แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)[๑๓]
สำนักงานประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง
ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖.
บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗.
พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘.
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๑๔] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๑๕] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๖] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๗] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๘]
ข้อ ๘[๑๙] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๒๐]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๒๑] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๒๒] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี
การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๒๓] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔)
ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข และบริการทางวิชาการ
(๒.๕)
พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)[๒๔] ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
(ศูนย์เอราวัณ) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑๑.๑)
บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
(๑๑.๒)
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินและให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
(๑๑.๓)
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย
(๑๑.๔) จัดให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในโซนพื้นที่รับผิดชอบ โดยชุดปฏิบัติการที่มีความพร้อม
ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานวิชาชีพ
(๑๑.๕) จัดให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษ เช่น เหตุสาธารณภัย อุบัติภัย
วินาศภัย ภัยจากสารเคมี โรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ รวมถึงภารกิจพิเศษ
(๑๑.๖)
จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผลตามมาตรฐานของประเทศ
(๑๑.๗)
พัฒนาบุคลากรในเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ และดำเนินการวิจัยส่งเสริมความรู้
และบริการทางวิชาการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
(๑๑.๘)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสาร งานทะเบียน และสถิติด้านการแพทย์ฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร
(๑๑.๙) บริหารจัดการงบประมาณและการเงินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๑๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๒)[๒๕]
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑๒.๑) การให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๒.๒) การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๒.๓) การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๒.๔) บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๑๒.๕) จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๑๒.๖) ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๒.๗) พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๒.๘) สนับสนุนการสอนภาคปฏิบัติแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๑๒.๙) การบริการด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
(๑๒.๑๐)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๒.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓)[๒๖]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๔)[๒๗] โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๔.๑) ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๔.๒) ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๔.๓) ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๔.๔) ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๔.๕) พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๔.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๒๘]
ขอ ๑๒[๒๙] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๓๐]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๓๑]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๓๒]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓)[๓๓]
ศูนย์บริการสาธารณสุข
๒๐ ป้อมปราบศัตรูพ่าย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย
๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
(๘๒)[๓๔] ศูนย์บริการสาธารณสุข
๖๙ คันนายาว
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ
รายงานที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้ การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร
สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๓๕]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑)[๓๖] กองการพยาบาลสาธารณสุข
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๑.๑) เป็นศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านของกรุงเทพมหานคร เชื่อมโยงเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อการจัดบริการผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
(๑๑.๒) เป็นศูนย์กลางข้อมูล
(Data
Center) ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงของกรุงเทพมหานคร
(๑๑.๓) การสนับสนุนและดำเนินการให้ศูนย์บริการสาธารณสุขเข้าสู่การรับรองคุณภาพจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (PHCA)
(๑๑.๔) พัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่บ้านและสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการพยาบาลสาธารณสุขให้กับส่วนราชการอื่น
(๑๑.๕) จัดหาและสร้างศักยภาพ
ผลิตผู้ดูแลจิตอาสา นักบริบาลภาคประชาชน เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย
ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในบ้าน
(๑๑.๖) พัฒนาสนับสนุนการดำเนินงานจัดบริการกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกรุงเทพมหานคร
(๑๑.๗) การพัฒนางานศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบการพยาบาล
และนวัตกรรมเพื่อการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานนวัตกรรมลงวารสารในประเทศ
และต่างประเทศ
(๑๑.๘) พัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายงานพยาบาล สนับสนุนการศึกษาต่อในระดับต่าง
ๆ และการศึกษาเฉพาะทาง ติดตามประเมินผล การพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล
(๑๑.๙) เป็นสถาบันสมทบของสภาการพยาบาล เพื่อการรับรองหน่วยกิตความรู้
การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพในสังกัดสำนักอนามัย
(๑๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab) โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
สารเสพติด และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร
การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ
ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓)[๓๗]
ศูนย์บริการสาธารณสุข
๒๐ ป้อมปราบศัตรูพ่าย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๘๒)[๓๘]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ คันนายาว มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๘๒.๑) การให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุข
(๘๒.๒) การรักษาพยาบาล
(๘๒.๓) การควบคุมและป้องกันโรค
(๘๒.๔) การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ
(๘๒.๕) การพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
(๘๒.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๓๙]
ข้อ ๑๔[๔๐] สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๕[๔๑] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) การดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
(๑.๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้างสำนักการศึกษา
(๑.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๑.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๖) การดูแลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
(๑.๗) การประชาสัมพันธ์
(๑.๘) การดูแลศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
(๑.๙) การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนักการศึกษา
(๑.๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมพิเศษ
(๑.๑๑) การบริหารงานก่อสร้างอาคารเรียน
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. สำนักงานการเจ้าหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
(๒.๒)
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๓) การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(๒.๔) การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
(๒.๕) การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
(๒.๖) การปรับปรุงข้อมูลบุคคลในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การลา สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
(๒.๘)
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๒.๙)
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีและเลื่อนวิทยฐานะ
สายงานการสอน สายงานการบริหารสถานศึกษา และสายงานการนิเทศการศึกษา
(๒.๑๐)
การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. กองคลัง
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การดำเนินการด้านการเงิน การคลัง รวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา
(๓.๒) การบริหารงบประมาณ
(๓.๓)
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
(๓.๔) การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนาส่งเงินและการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชีให้กับเจ้าหน้าที่กองคลัง และส่วนราชการอื่น ๆ
(๓.๕) การจัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายทางการบัญชี ติดตามรวบรวมรายงานในด้านการเงินการคลังของสำนักการศึกษา
(๓.๖) การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้กับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๗) การดำเนินการสำรวจวัสดุ -
ครุภัณฑ์ที่ทางโรงเรียนต้องการ
(๓.๘) การให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา
(๔.๒) การกำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุน
นโยบายและแผนการศึกษา
(๔.๓)
การดำเนินการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การวิจัยทางการศึกษา
(๔.๕)
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๖) การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
(๔.๗) การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
(๔.๘) การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการประเมินผลการจัดการศึกษา
(๔.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. กองเทคโนโลยีการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การกำหนดกรอบนโยบายทิศทางแผนเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๒) การศึกษา ออกแบบ วิเคราะห์
พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๓) การผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๔) การส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
(๕.๕) การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและติดตามประเมินผลด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๖) การประสานความร่วมมือด้านวิชาการและเทคโนโลยีการศึกษากับหน่วยงานภายนอก
ผลิตและเผยแพร่งานวิชาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการฝึกอบรม
(๖.๓)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม การฝึกอบรม การวางแผน การประเมินผล
และการติดตามผลการฝึกอบรม
(๖.๔) การส่งเสริมการฝึกอบรม
ประชุม สัมมนา การดูงานภายในและต่างประเทศ
(๖.๕)
การส่งเสริมเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศ
(๖.๖) การบริหารงานลูกเสือ
ยุวกาชาดและผู้บาเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
(๖.๗) การบริหารงานลูกเสือในฐานะสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานครและบริหารงานยุวกาชาดในฐานะสำนักงานคณะกรรมการยุวกาชาดกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การอบรม ประชุม
สัมมนาการจัดกลุ่มกองลูกเสือ การจัดตั้งปรับหมู่ยุวกาชาด
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
กองเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การจัดทำแผนและหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ ระเบียบ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับงานคุ้มครองสิทธิเด็ก
(๗.๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานสุขภาวะสุขภาพนักเรียน
(๗.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมนักเรียนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน
(๗.๕)
การดำเนินการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๖) การประสานความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
(๗.๗) การดำเนินการรับถ่ายโอนโรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๗.๘) การวิเคราะห์และประมาณการจำนวนนักเรียน/ห้องเรียนล่วงหน้า
(๗.๙) การจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา
ทะเบียนนักเรียนในสถานศึกษา
(๗.๑๐) การตรวจสอบวุฒิการศึกษา และการเทียบโอนผลการเรียนรู้
(๗.๑๑)
การจัดทำประกาศส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ การจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
(๗.๑๒) การดำเนินการรับนักเรียนจากหน่วยงานภายนอก
เด็กเรียนร่วม เด็กพิเศษ และนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร์
หรือไม่มีสัญชาติไทย
(๗.๑๓) การประสานและบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๑๔)
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาหรือประสบปัญหาด้านต่าง ๆ
(๗.๑๕) การดำเนินการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๑๖) การส่งเสริม สนับสนุนสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ
ของนักเรียนในระดับชาติและนานาชาติ
(๗.๑๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๘.๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการวิเคราะห์ วิจัย
รูปแบบกระบวนการนิเทศ
(๘.๒)
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
(๘.๓) การจัดการเรียนตามหลักสูตรปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร
(๘.๔)
การปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๘.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๔๒] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้างและบูรณะ
การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน
และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๔๓] สำนักการโยธา
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ[๔๔]
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๒) ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ
ท่อระบายน้ำ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ
(๓) วางแผน ควบคุมและบริหารจัดการการระบายน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ปัญหาน้ำเค็มและภัยแล้งของกรุงเทพมหานคร
(๔) วางแผน ควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ
บ่อสูบน้ำ การปิด - เปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำ การผลิตอุปกรณ์ท่อระบายน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
(๕) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำ
รวมถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและป้องกันสิ่งก่อสร้างมิให้รุกล้ำในคูคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำ จัดเก็บขยะ วัชพืชและผักตบชวาในคูคลอง
บึง รับน้ำและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗) บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการติดตาม
เฝ้าระวัง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ
รวมทั้งรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมาบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานสากล
(๘) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการน้ำ
และควบคุมดูแลระบบโทรมาตรของกรุงเทพมหานคร
(๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือให้คำปรึกษา แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การจัดการคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) จัดหา ควบคุม ให้บริการติดตั้ง รวมทั้งซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ
ทั้งชนิดไฟฟ้าและเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องมือกล และยานพาหนะต่าง ๆ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและบริหารงานทั่วไป
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง การเงินและบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานพัสดุ
(๑.๗) งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๙) งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๐) งานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(๑.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) ศึกษา วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระดับชาติ
และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) วางแผน จัดทำ กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย
และคลองมหาสวัสดิ์
(๒.๕) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำของพื้นที่ปิดล้อม (Polder) และก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ
แก้มลิง หรือธนาคารน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒.๖) กำหนดขนาดและระดับก้นท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒.๗) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
รวมทั้งบริหารศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
(๒.๘) พิจารณาอนุญาต กำหนดรูปแบบและข้อกำหนดงานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์
และงานปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๒.๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ การศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม
เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมความรู้ ให้คำปรึกษา แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำในเมือง
การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ควบคุมดูแลศูนย์บริหารจัดการน้ำกรุงเทพมหานคร
ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๓.๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารหน่วยงาน
และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
(๓.๓) จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและควบคุมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๔) วิเคราะห์และประยุกต์ใช้งาน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำในการวางแผน
ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับภาวะของน้ำท่วม
(๓.๕) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบและใช้งานเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดระบบโทรมาตร
(๓.๗) ตรวจสอบ ปรับปรุงค่าระดับหมุดหลักฐานและเสาวัดระดับน้ำ (Staff Gauge)
(๓.๘) เป็นศูนย์สื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๙) กำหนดแนวทางการจัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศระบายน้ำและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานระบบควบคุมน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผน ก่อสร้าง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบอาคารบังคับน้ำ ได้แก่
อุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำ
(๔.๒) บริหารจัดการระบบอาคารบังคับน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำเค็ม
(๔.๓) บริหารจัดการแก้มลิง เพื่อเป็นที่พักน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) วางแผนการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในคลอง
(๔.๕) ควบคุมระดับน้ำในคลอง เพื่อการเดินเรือและการท่องเที่ยว
(๔.๖) ติดตั้ง ควบคุม ซ่อมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ระบบแสงสว่าง
และระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอุโมงค์ทางลอดรถยนต์
(๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ
(๕.๒) วางแผน ควบคุมและดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
(๕.๓) วางแผน ควบคุม และดำเนินการผลิตฝาบ่อพักและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
พร้อมปิด - เปลี่ยนฝาบ่อพักและซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๔) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำหนุนและน้ำท่วม
(๕.๕) วางแผน ควบคุม และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระบบท่อระบายน้ำ
และบ่อสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม
(๕.๖) วางแผน สำรวจ ตรวจสอบและออกแบบระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองระบบคลอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) พัฒนาประสิทธิภาพคู คลอง และแหล่งน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
(๖.๒) ก่อสร้างเขื่อนริมคลอง เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๖.๓) พัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลและบำรุงรักษาคู
คลอง และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางน้ำ
(๖.๔) จัดเก็บขยะ กำจัดวัชพืชผักตบชวาในคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๕) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำคู คลอง บึงรับน้ำและป้องกันสิ่งก่อสร้างในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๖) พิจารณาอนุญาตสิ่งก่อสร้างผ่านคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการด้านการจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) วางแผนและควบคุมการก่อสร้าง การซ่อมและบำรุงรักษาโรงควบคุมคุณภาพน้ำ
ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗.๓) บริหารจัดการการเดินระบบรวบรวมน้ำ เสีย
และระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๗.๔) เฝ้าระวัง
ติดตามและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๗.๕) บริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
(๗.๖) ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๗.๗) สร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองเครื่องจักรกล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๘.๑) วางแผน สำรวจ ออกแบบ ควบคุม กำกับดูแล จัดหา เก็บรักษาเครื่องสูบน้ำ
เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนระบบไฟฟ้าควบคุมพร้อมอุปกรณ์
(๘.๒) วางแผนกำหนดจุดติดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็วที่สามารถปฏิบัติงานในภารกิจเร่งด่วนตามแผนงานและกรณีฉุกเฉิน
(๘.๓) บริการติดตั้ง เคลื่อนย้าย แก้ไข ดัดแปลง
และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และยานพาหนะทุกประเภท
(๘.๔) บริการตรวจ ซ่อม บำรุงรักษาติดตั้งดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินระบบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะทุกประเภทของหน่วยงาน และเครื่องสูบน้ำของสำนักงานเขต
(๘.๕) กำหนดมาตรฐาน รายละเอียดคุณสมบัติเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
ยานพาหนะ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ระบบเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท
(๘.๖) จัดหา เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ตลอดจนเชื้อเพลิง
สารหล่อลื่นของเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร
(๘.๗) จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ
ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
(๘.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๔๕]
ข้อ ๒๐[๔๖] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม พัฒนา และดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๒) การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๓) การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลงานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๔) การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
(๕) การบริหารจัดการมูลฝอย ของเสียอันตราย
สิ่งปฏิกูลและไขมันของกรุงเทพมหานครทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดเก็บ รวบรวม นำไปใช้ประโยชน์
บำบัดและกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(๖) การให้บริการสาธารณะด้านการรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร
(๗) การตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง คุณภาพอากาศและเสียงจากแหล่งกำเนิด
(๘) การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๙) การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
และดูแลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) การปฏิบัติงานในสถานการณ์พิเศษ
เหตุภัยพิบัติ เหตุการณ์เร่งด่วนอย่างบูรณาการ
(๑๑) การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๑[๔๗] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองกำจัดมูลฝอย
(๕) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๔๘]
ข้อ ๒๒[๔๙] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๕๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๕๑]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
และให้บริการที่พัก (ค้างแรม) ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๕๒]
ข้อ ๒๔[๕๓] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้ การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๕๔] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๕๕]
ข้อ ๒๖[๕๖] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๕๗] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๕๘]
ข้อ ๒๗[๕๙]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน การจัดทำแผนพัฒนาเขต
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การจัดให้มีและควบคุมตลาด
ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย
ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ
และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ
การควบคุมอาคาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้ การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว
ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง
ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน
การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ
การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ
การควบคุม ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม
การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยอาหาร
การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย)
การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี
การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้
การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. ๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด)
ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา การนิเทศและตรวจเยี่ยม
การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง
ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์) การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร
(MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ
ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง
ระบบงานเงินเดือน ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง
ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น) การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน
การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว
การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต การอนุรักษ์ส่งเสริม
เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๖๐]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๖๑] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๖๒]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๖๓]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๖๔]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๖๕]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๖๖]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๖๗]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔)[๖๘]
โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(ริดวานอุปถัมภ์)
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๖๙]
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๗๐]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๗๑]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๗๒]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๗๓]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๗๔]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖)[๗๕]
โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม
(สินทรัพย์ - เพ็ญสุวรรณอนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๗๖]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๗๗]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๗๘]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗)[๗๙]
โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(กระวลราษฎร์วิทยา)
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๘๐]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๘๑]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๘๒]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๘๓]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๘๔]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘)
โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๘๕] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๘๖]
ข้อ
๒๙[๘๗] สำนักพัฒนาสังคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
๒.
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓.
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยกำหนดเป็นแนวทาง
แผนการดำเนินการให้กับสำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔.
ส่งเสริม สนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นของรัฐ มูลนิธิต่าง ๆ NGOs และองค์กรต่างประเทศ
๕.
บริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
๖.
ส่งเสริมให้บุคคลมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
๗.
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของบุคคล
๘.
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก
สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบปัญหาทางสังคม
๙.
จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์คัดกรองช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก เพื่อจัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
๑๐. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมของกรุงเทพมหานคร
๑๑.
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓๐[๘๘] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑.
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
งานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒)
งานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนัก
(๑.๓)
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔)
งานการเงิน และการบัญชี
(๑.๕)
งานบริหารงบประมาณ
(๑.๖)
งานพัสดุ
(๑.๗)
งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘)
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของสำนัก
(๑.๙)
งานดูแลอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
(๑.๑๐)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย และแผนปฏิบัติราชการของสำนัก
(๒.๒) ประสาน เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดสำนัก
(๒.๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสังคมของสำนักและสำนักงานเขต
(๒.๔) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา ผลิตเอกสาร คู่มือ
และสื่อการเรียนรู้สำหรับโครงการฝึกอบรมของสำนัก
(๒.๕)
สร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสังคม
(๒.๖)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมของกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
กำหนดแนวทางในการจัดระบบ การสำรวจ การจัดเก็บการประมวลการใช้ประโยชน์ และการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสวัสดิการสังคม
(๒.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓.
สำนักงานการพัฒนาชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนในทุกมิติ
ทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
(๓.๒)
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีแผนแม่บทด้านการพัฒนาชุมชน กำหนดรูปแบบแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน
(๓.๓)
ดำเนินการจัดระเบียบชุมชน สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์ ชุมชน
และพัฒนากลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน
(๓.๔)
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่สถาบันครอบครัวจนถึงระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(๓.๕)
สร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมในทุกระดับ
(๓.๖)
สร้างกลไกในการติดตามการพัฒนาชุมชนตามแนวทางศาสตร์พระราชา
(๓.๗)
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำระบบมาตรฐานชุมชน
(๓.๘)
การจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการชุมชน
(๓.๙)
พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ กฎหมาย แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ชุมชนและสังคม
(๓.๑๐)
ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือในการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนและผู้มีรายได้น้อย
(๓.๑๑)
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยกำหนดเป็นแนวทาง
แผนการดำเนินการให้กับสำนักงานเขต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๓.๑๒)
ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการเงิน ส่งเสริมวินัยการออม การบริหารรายได้ของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
(๓.๑๓)
ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนไปจนถึงสถาบันการเงินชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาการจัดตั้งกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชุมชน
และกองทุนตามนโยบายรัฐบาล
(๓.๑๔)
บูรณาการการทำงานสนับสนุนและประสานการปฏิบัติงานของสำนัก สำนักงานเขตและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
(๓.๑๕)
จัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนกรุงเทพมหานคร
(๓.๑๖)
แนะนำ ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและประสานจัดหาที่อยู่อาศัย
(๓.๑๗)
ส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นของรัฐ มูลนิธิต่าง ๆ NGOs และองค์กรต่างประเทศ
(๓.๑๘)
บริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
(๓.๑๙)
จัดทำและกำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยสำหรับรองรับสังคมผู้สูงอายุ
(๓.๒๐)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔.
สำนักงานการส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑)
ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพ
(๔.๒)
จัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
(๔.๓)
ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
(๔.๔)
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
(๔.๕)
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
(๔.๖)
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนและช่องทางการจำหน่าย
(๔.๗)
ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
(๔.๘)
ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี และให้คำปรึกษา แนะนำการนิเทศแก่โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครและศูนย์ฝึกอาชีพ
(๔.๙)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
(๔.๑๐) พัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในการฝึกอบรมวิชาชีพ
(๔.๑๑)
สนับสนุนการฝึกอบรมวิชาชีพแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔.๑๒)
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔.๑๓)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕.
สำนักงานสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑)
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก
สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ
และได้รับสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
(๕.๒)
ส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพให้แก่กลุ่มเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว
ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ ให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตามความเหมาะสม
(๕.๓)
จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์คัดกรองช่วยเหลือด้อยโอกาส ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก เพื่อจัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์
รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ตามความจำเป็นพื้นฐานอย่างเหมาะสม
(๕.๔)
ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดวางระบบและกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตามที่กฎหมายกำหนด
(๕.๕)
ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
และการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สตรี และเด็ก ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕.๖)
จัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์ตามระเบียบกรุงเทพมหานครและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสถาบันครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กฎหมายว่าด้วยความเท่าเทียมระหว่างเพศ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขอทาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
กฎหมายว่าด้วยหอพัก กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๗)
สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ภาคเอกชน ภาคประชาชน
และเครือข่ายองค์กรสวัสดิการสังคมทุกระดับ
(๕.๘)
งานการประชุม งานเลขานุการคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕.๙)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๘๙]
ข้อ ๓๑[๙๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง การวิเคราะห์
วางแผน ออกแบบ ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๙๑] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง[๙๒]
ข้อ ๓๓[๙๓] สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดนโยบายด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งจัดทำแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๒) ควบคุม กำกับดูแล ประสาน ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ
ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๓) ดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การวางผังเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย ติดตามและประเมินผลส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
และพัฒนามาตรฐาน มาตรการกลไกด้านการผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔) ควบคุม ส่งเสริม และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๕) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๖) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) ดำเนินการสำรวจ รังวัด จัดทำแผนที่ และกำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครเพื่อการบริหาร
ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘) เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลของกรุงเทพมหานครด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๔[๙๔] สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) ปฏิบัติงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการ
(๑.๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของสำนัก ยกเว้นการจัดฝึกอบรม
(๑.๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี บริหารงบประมาณ ทะเบียนทรัพย์สิน และการพัสดุ
(๑.๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการประชุม งานประชาสัมพันธ์และโสตทัศนูปกรณ์
(๑.๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของสำนัก และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
งานนิติกรรมและสัญญา การดำเนินคดี งานพิจารณาอุทธรณ์ ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือ
หรือการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
(๑.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนัก
(๑.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับนโยบาย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๒) ประสานงาน ติดตามแผนงาน โครงการ ด้านการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ติดตามและประเมินผลแผนงาน โครงการตามตัวชี้วัด แผนพัฒนากรุงเทพมหานครและแผนพัฒนาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔) ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
(๒.๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ผังเมืองเฉพาะ วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ผังพัฒนาเขต การวางผังเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
และอื่น ๆ
(๒.๖) ให้บริการและเผยแพร่งานวิชาการด้านการผังเมือง ด้านการพัฒนาเมือง และองค์ความรู้ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
(๒.๗) จัดการสัมมนา อบรม ดูงาน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานด้านผังเมืองแก่บุคลากรทั้งในและนอกหน่วยงาน
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) สำนักงานภูมิสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) เป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมืองด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๓.๒) พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศด้านการผังเมืองและพัฒนาเมือง
(๓.๓) จัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บข้อมูลกายภาพ
ตลอดจนประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
(๓.๔) ดำเนินการสำรวจ รังวัดภาคพื้นและการสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม
เพื่อจัดทำและผลิตแผนที่มาตราส่วนต่าง ๆ ในระบบภูมิสารสนเทศ
(๓.๕) ดำเนินการสำรวจ รังวัด กำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร เพื่อการบริหาร
ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(๓.๖) ดำเนินการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแก่บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงาน
(๓.๗) พัฒนา ออกแบบ วางแผน ควบคุมและดูแลการเผยแพร่สารสนเทศทางระบบอินเทอร์เน็ต
(๓.๘) จัดวางระบบงานข้อมูลและระบบงานสถิติ เพื่อการบริหารข้อมูลเมืองและสนับสนุนการให้บริการข้อมูลสำหรับหน่วยงานภายใน
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานวางผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผนการพัฒนากายภาพของเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองและกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๒) ควบคุม กำกับดูแล ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง
เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๓) ดำเนินการวางและจัดทาผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง โดยกำหนดวิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทิศทางในการพัฒนาเมือง การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การจัดทำแผนและผังพัฒนาเขตและกลุ่มเขต วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ออกแบบวางผังและปฏิบัติให้เป็นไปตามผังพัฒนาพื้นที่ส่วนต่าง
ๆ ของเมืองด้วยวิธีการทางผังเมือง
(๔.๕) คิดค้นและพัฒนามาตรฐาน และมาตรการกลไกทางผังเมืองในการพัฒนาเมืองตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) ติดตาม ประเมินผลกระทบและสถานการณ์จากการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๗) ดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในกระบวนการด้านผังเมือง
(๔.๘) สร้างเครือข่ายประชาคมหรือเครือข่ายการพัฒนาเมืองระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานระดับต่าง
ๆ เพื่อความร่วมมือในงานด้านผังเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๙) การพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด
ผังเมืองและการรักษาสภาพแวดล้อม
(๔.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักงานพัฒนาและฟื้นฟูเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ออกแบบ และวางผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมืองรวม
ทั้งกำกับ ดูแล และบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน
ประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม
(๕.๒) การดำเนินการพัฒนาย่าน และหรือบริเวณพื้นที่เฉพาะแห่งของเมืองที่มีคุณค่า
หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณคดี และสถาปัตยกรรม รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งเขตเพลิงไหม้หรือพื้นที่ที่ประสบอุบัติภัยอื่น
ๆ เพื่อประสานและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนหรือผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๓) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการพัฒนาเมืองรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๔) การดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมบูรณะโบราณสถานและอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
รวมทั้งการรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพมหานครทั้งในอดีตและปัจจุบัน
(๕.๕) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ กำหนดคุณภาพ และมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมวิศวกรรม
และการผังเมือง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๖) ให้คำปรึกษา สนับสนุน และสำรวจออกแบบ เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๗) กำหนดมาตรฐานทางผังเมืองและอาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๘) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๙) วางแผนและบริหารการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนหรือผังการพัฒนา
เพื่อการอนุรักษ์ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๐) บริหารจัดการศูนย์นิทรรศการเมือง บริหารกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร
(๕.๑๑) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองควบคุมผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา พัฒนา
กำหนดกรอบแนวทางการจัดทำมาตรการ ข้อกฎหมาย และวิธีการทางผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมืองโดยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๖.๒) ดำเนินการพัฒนากฎหมายผังเมือง จัดทำและยกร่างข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ กฎกระทรวง
พระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๓) ควบคุม ส่งเสริม และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖.๔) วางแผนกำหนดแนวทางการปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๕) การติดตาม ประเมินผล ดำเนินการใช้บังคับและประสานการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
รวมทั้งวิเคราะห์ความเหมาะสมของข้อกฎหมายผังเมือง
(๖.๖) การบูรณาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครด้วยฐานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๙๕]
ข้อ ๓๕[๙๖]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) ปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัย
รวมทั้งบรรเทาสาธารณภัยประเภทอื่น ๆ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ
(๒) กำหนดมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยในการป้องกัน
ระงับอัคคีภัย และบรรเทาสาธารณภัย
(๓) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างประเทศในการดำเนินการป้องกันระงับอัคคีภัย และบรรเทาสาธารณภัยทุกประเภท
(๔) ให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
(๕) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๖) จัดทำแผนแม่บท
แผนปฏิบัติการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนแม่บทระดับกรุงเทพมหานครและระดับชาติ
(๗) ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้แก่หน่วยงานภาครัฐ
เอกชนและประชาชนทั่วไป
(๘) จัดหา
ควบคุม และบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในงานด้านสาธารณภัย
(๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๖[๙๗]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง
การเงิน และบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานด้านกฎหมาย
(๑.๗) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๘) งานควบคุมดูแลอาคาร
สถานที่ และยานพาหนะ
(๑.๙) งานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ
อุปกรณ์ และยานพาหนะ
(๑.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๒.๑) จัดทำและกำหนดนโยบาย
แนวทางหรือแผนแม่บทด้านสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งติดตามประเมินผลและกำกับการปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผน
(๒.๒) ศึกษา
วิเคราะห์เพื่อวางระบบมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณภัย
(๒.๓) ศึกษา
วิเคราะห์และเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณภัย การเกิดอัคคีภัย และด้านวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย
(๒.๔) ตรวจสอบแบบแปลน
ระบบและอุปกรณ์ในการป้องกันอัคคีภัยของอาคารสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งประเมินความเสี่ยงของอาคารต่อการเกิดอัคคีภัย
(๒.๕) ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้และศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้
(๒.๖) การประสานความร่วมมือด้านสาธารณภัยกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ
(๒.๗) ศึกษา
วิเคราะห์ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๒.๘) จัดทำข้อมูล ข่าวสาร ผลงานทางวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อจัดพิมพ์และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไป
(๒.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) สำนักงานอำนวยการสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๓.๑) อำนวยการและประสานการรับแจ้งและระงับเหตุการณ์
เฝ้าระวัง ติดตาม และรายงานสถานการณ์สาธารณภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง
(๓.๒) พัฒนาและจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓.๓) อำนวยการ บริหารจัดการสาธารณภัย ประสานและติดตามการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัยทุกระดับ
(๓.๔) จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครเพื่อบริหารจัดการสาธารณภัยและขับเคลื่อนการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
(๓.๕) จัดชุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการกู้ภัยกรณีเกิดเหตุสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือร้ายแรง
และการปฏิบัติการกู้ภัยทางน้ำ
(๓.๖) จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครและกำกับ
ควบคุมดูแลอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓.๗) สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะในการกู้ภัยสารเคมี
อาคารสูง
อาคารขนาดใหญ่พิเศษให้แก่สถานีดับเพลิงและกู้ภัย
(๓.๘) ให้ความช่วยเหลือ
การสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๔.๑) ระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่น
ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ
(๔.๒) กู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตรวจตรา ป้องกันอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่น
ๆ
(๔.๓) สำรวจและจัดทำแผนที่แหล่งน้ำ
แหล่งชุมชนและเส้นทางจุดอันตราย
(๔.๔) ดูแลและรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนยานพาหนะต่าง ๆ
ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทุกโอกาส
(๔.๕) ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่
(๔.๖) ให้การช่วยเหลืองานด้านบริการแก่ประชาชน
ส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ๆ ตามที่ร้องขอ
(๔.๗) จัดทำยุทธศาสตร์
แผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับกอง
(๔.๘) ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ
เอกชน และประชาชนทั่วไป
(๔.๙) รวบรวม
วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๒ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๓ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๔ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๘) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๕ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๙) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๖ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๙๘]
ข้อ ๓๗[๙๙] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๑๐๐] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๘๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๙๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๙๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๙๔]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๙๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๙๖]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)[๑๙๗]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)[๑๙๘]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)[๑๙๙]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)[๒๐๐]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)[๒๐๑]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)[๒๐๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)[๒๐๓]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)[๒๐๔]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๙)[๒๐๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)[๒๐๖]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๑)[๒๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๒) [๒๐๘]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๓)[๒๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๔)[๒๑๐]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๕)[๒๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๖) [๒๑๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๗)[๒๑๓]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗
กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
ปวันวิทย์/เพิ่มเติม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๑
กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๒๔ มกราคม ๒๕๖๒
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๑ มกราคม ๒๕๖๓
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๗ กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๖๓
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๔ มกราคม ๒๕๖๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๓] มาตรา
๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๔] มาตรา
๒ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๕] หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๓ ถึง มาตรา ๓ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๖] มาตรา
๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๗] มาตรา
๓ ทวิแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๘] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙] ข้อ ๕
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)
[๑๐] ข้อ ๕
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๑] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)
[๑๒] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๑๓] ข้อ ๕
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๔] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๑๕] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๖] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๗] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๘] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๙] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๐] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๑] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๒] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๓] ข้อ ๑๑
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๒๔] ข้อ
๑๑ (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๒)
[๒๕] ข้อ
๑๑ (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๖)
[๒๖] ข้อ ๑๑
(๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๒๗] ข้อ ๑๑
(๑๔) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๙)
[๒๘] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๙] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๓๐] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๓๑] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๓๒] ข้อ ๑๓
ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๓๓] ข้อ
๑๓ (๓๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๗)
[๓๔] ข้อ ๑๓ ก. (๘๒) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๔)
[๓๕] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๓๖] ข้อ ๑๓ ข. (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๔)
[๓๗] ข้อ
๑๓ (๓๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๗)
[๓๘] ข้อ ๑๓ ข. (๘๒) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๔)
[๓๙] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๔๐] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๔๑] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๔๒] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๔๓] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๔๔] หมวด
๑๑ สำนักการระบายน้ำ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)
[๔๕] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๔๖] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๔๗] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๔๘] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๙] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๐] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๑] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๕๒] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๓] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๔] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๕] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๖] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๗] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๘] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๙] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๖๐] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๖๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑ สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๕)
[๖๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๗๐] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๗๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๗๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๗๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๗๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๗๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๕ สำนักงานเขตดอนเมือง (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๑)
[๗๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๗๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๗๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๖ สำนักงานเขตจอมทอง (๑๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๓)
[๘๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๘๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๘๒] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๘๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๘๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๘๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๘๖] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
[๘๗] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
[๘๘] ข้อ ๓๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
[๘๙] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙๐] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙๑] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙๒] หมวด
๑๙ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๙๓] มาตรา
๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๙๔] มาตรา
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๙๕] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)
[๙๖] ข้อ
๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)
[๙๗] ข้อ ๓๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)
[๙๘] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๙] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๑๐๐] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า
๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗
ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๗๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๗๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๗๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๗๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๗๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๘๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๘๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๘๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๘๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๘๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๘๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๘๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๙๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๙๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐
มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔
ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๙๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑
[๑๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๓๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๓/๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
[๒๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๒๕/๓ กันยายน ๒๕๖๑
[๒๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง/หน้า ๑๙/๑๔ กันยายน ๒๕๖๑
[๒๐๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๔๑/๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๒๐๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๑๖ ง/หน้า ๑๒/๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๒๐๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๒ ง/หน้า ๒๔/๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๒๐๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๓๑/๑๑ มกราคม ๒๕๖๒
[๒๐๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
[๒๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่
๒๙ ง/หน้า ๑๙๙/๑๘ เมษายน ๒๕๖๒
[๒๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง/หน้า ๒๓/๒๕ กันยายน
๒๕๖๒
[๒๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๒๔/๑๖ ธันวาคม
๒๕๖๒
[๒๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๓/๕ กุมภาพันธ์
๒๕๖๓
[๒๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๙ ง/หน้า ๕/๕ กุมภาพันธ์
๒๕๖๓
[๒๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๖๗/๗ เมษายน ๒๕๖๓
[๒๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๕๙ ง/หน้า ๒๒/๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๓ |
870215 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 117) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๗)
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อศูนย์บริการสาธารณสุข
๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย สังกัดสำนักอนามัย เป็น ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ ป้อมปราบศัตรูพ่าย
เพื่อให้ชื่อของศูนย์บริการสาธารณสุขมีความสอดคล้องกับเขตที่ตั้งของศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งใหม่
และสอดคล้องกับความคิดเห็นของประชาชนที่มารับบริการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ (๓๓) และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๓๓)
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ ป้อมปราบศัตรูพ่าย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ
วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๕
ธันวาคม ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๒๙
ธันวาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๒๕๙ ง/หน้า ๒๒/๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๓ |
829314 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 110) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๑๑๐)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๑ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ การกำหนดอำนาจหน้าที่
และการกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกความในหมวด
๒๐ ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐) ลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข้อ
๓๕ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่
ดังนี้
(๑)
ปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งบรรเทาสาธารณภัยประเภทอื่น ๆ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ
(๒)
กำหนดมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยในการป้องกัน ระงับอัคคีภัย และบรรเทาสาธารณภัย
(๓)
ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างประเทศในการดำเนินการป้องกันระงับอัคคีภัย
และบรรเทาสาธารณภัยทุกประเภท
(๔)
ให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
(๕)
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๖)
จัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนแม่บทระดับกรุงเทพมหานครและระดับชาติ
(๗)
ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้แก่หน่วยงานภาครัฐ
เอกชนและประชาชนทั่วไป
(๘)
จัดหา ควบคุม และบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในงานด้านสาธารณภัย
(๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓๖ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีส่วนราชการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑.๑)
งานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒)
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓)
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔)
งานการคลัง การเงิน และบัญชี
(๑.๕)
งานงบประมาณ
(๑.๖)
งานด้านกฎหมาย
(๑.๗)
งานประชาสัมพันธ์
(๑.๘)
งานควบคุมดูแลอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
(๑.๙)
งานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ
(๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒)
สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๒.๑)
จัดทำและกำหนดนโยบาย แนวทางหรือแผนแม่บทด้านสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งติดตามประเมินผลและกำกับการปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผน
(๒.๒)
ศึกษา วิเคราะห์เพื่อวางระบบมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณภัย
(๒.๓)
ศึกษา วิเคราะห์และเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณภัย การเกิดอัคคีภัย และด้านวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย
(๒.๔)
ตรวจสอบแบบแปลน ระบบและอุปกรณ์ในการป้องกันอัคคีภัยของอาคารสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
รวมทั้งประเมินความเสี่ยงของอาคารต่อการเกิดอัคคีภัย
(๒.๕)
ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้และศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้
(๒.๖)
การประสานความร่วมมือด้านสาธารณภัยกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ
(๒.๗)
ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๒.๘) จัดทำข้อมูล ข่าวสาร ผลงานทางวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อจัดพิมพ์และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไป
(๒.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
สำนักงานอำนวยการสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๓.๑)
อำนวยการและประสานการรับแจ้งและระงับเหตุการณ์ เฝ้าระวัง ติดตาม และรายงานสถานการณ์สาธารณภัยตลอด
๒๔ ชั่วโมง
(๓.๒)
พัฒนาและจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓.๓) อำนวยการ บริหารจัดการสาธารณภัย ประสานและติดตามการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัยทุกระดับ
(๓.๔) จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครเพื่อบริหารจัดการสาธารณภัยและขับเคลื่อนการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
(๓.๕) จัดชุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการกู้ภัยกรณีเกิดเหตุสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือร้ายแรง
และการปฏิบัติการกู้ภัยทางน้ำ
(๓.๖)
จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครและกำกับ ควบคุมดูแลอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓.๗) สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะในการกู้ภัยสารเคมี
อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษให้แก่สถานีดับเพลิงและกู้ภัย
(๓.๘)
ให้ความช่วยเหลือ การสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๔.๑)
ระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ
(๔.๒) กู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตรวจตรา ป้องกันอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่น
ๆ
(๔.๓)
สำรวจและจัดทำแผนที่แหล่งน้ำ แหล่งชุมชนและเส้นทางจุดอันตราย
(๔.๔) ดูแลและรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนยานพาหนะต่าง ๆ
ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทุกโอกาส
(๔.๕)
ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่
(๔.๖)
ให้การช่วยเหลืองานด้านบริการแก่ประชาชน ส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ๆ ตามที่ร้องขอ
(๔.๗)
จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับกอง
(๔.๘)
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(๔.๙)
รวบรวม วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๒ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๓ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๔ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๘) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๕ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๙) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๖ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๑๗ กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒ |
874388 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 13/03/2562) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[๒]
ข้อ ๒[๓]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) จัดประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมต่าง ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) เป็นศูนย์กลางการประสานราชการด้านนโยบายระหว่างกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร
รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๕) เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลด้านการบริหารราชการของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒ ทวิ[๔]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและธุรการทั่วไป
(๑.๒) งานการเจ้าหน้าที่
(๑.๓) งานการประชุม
(๑.๔) งานการคลังและงบประมาณ
(๑.๕) งานบัญชีและพัสดุ
(๑.๖) งานการผลิตเอกสารที่ใช้ในการประชุมต่าง ๆ
(๑.๗) งานเผยแพร่ข่าวสาร และข้อมูลประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
(๑.๘) งานต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและงานพิธีการต่าง
ๆ ของสำนักงาน
(๑.๙) ประสานงานพิธีการ รัฐพิธี
และพระราชพิธีกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๑.๑๐) จัดทำ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงาน
(๑.๑๑) งานควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) ส่วนประสานนโยบาย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ดำเนินการด้านการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร
และการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ
หรือกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน
(๒.๒)
ดำเนินการด้านนโยบายและการตรวจราชการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ดำเนินการประสานงานกับสภากรุงเทพมหานคร รัฐสภา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมติคณะรัฐมนตรี
บันทึกสั่งการและคำสั่งต่าง ๆ
(๒.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) ส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ดำเนินการด้านการรับและตรวจสอบเรื่องร้องทุกข์ เรื่องร้องเรียน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๓.๒)
ดำเนินการด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๓)
ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๔) ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๓.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงานที่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และนอกสังกัดกรุงเทพมหานครเสนอ ตลอดจนเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของงานตามกฎหมาย
ระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อพิจารณาเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๓) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๔.๔) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๔.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕)
กลุ่มงานเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงาน
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อกฎหมายระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อคิดเห็นเสนอต่อรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
ศึกษาและสรุปข้อเท็จจริงเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๓) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๕.๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๖) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร[๕]
ข้อ ๓[๖] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑)
ราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๒)
งานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓) วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) จัดทำยุทธศาสตร์
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๕) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการกรุงเทพมหานคร
(๖) ดำเนินการตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๗] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานด้านเลขานุการ
(๑.๒) งานด้านบริหารทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ
(๑.๓)
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)
และการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการใน ก.ก. และ อ.ก.ก. ที่เกี่ยวข้อง
(๑.๔) งานด้านการคลัง พัสดุ และครุภัณฑ์
(๑.๕) งานการเจ้าหน้าที่และการดำเนินการใน อ.ก.ก. หน่วยงาน
(๑.๖) งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๗) การจัดทำวารสารและรายงานประจำปี
(๑.๘) การดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๙) การจัดทำ ติดตาม รายงานและประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกองและของสำนักงาน
(๑.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองสรรหาบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสรรหาและเลือกสรรข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าสู่ตำแหน่ง
(๒.๓)
เป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) การสรรหาและเลือกสรรเพื่อรับทุนการศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน
ตามความต้องการของกรุงเทพมหานคร
(๒.๕) การรับโอน การบรรจุกลับ และการเปลี่ยนประเภทข้าราชการ
(๒.๖) การพัฒนาสายอาชีพนักทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบงานและการจ้างงานรูปแบบใหม่
(๓.๒) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน
(๓.๓) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓.๔) การกำหนดกรอบและทิศทางการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓.๕)
การนำนวัตกรรมและเทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่ไปใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองอัตรากาลัง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) การจัดทำแผนกำลังคน แผนสืบทอดตำแหน่ง
แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
(๔.๓)
การกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการคัดเลือกบุคคลและประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญดารงตำแหน่งประเภททั่วไป
และประเภทวิชาการ
(๔.๕) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๔.๗) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านภารกิจ โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอัตรากาลังของกรุงเทพมหานคร
(๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
(๕.๒) การจัดทำฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
(๕.๓) ให้คำปรึกษา
แนะนำทางด้านข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครแก่หน่วยงานและข้าราชการของกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) เป็นศูนย์กลางการรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๕) การตรวจสอบคำสั่ง
(๕.๖) การควบคุมและแก้ไขทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้.
(๖.๑) การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษามาตรฐานวินัยข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพิจารณา ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๓) การเสริมสร้างจริยธรรม
คุณธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๔) การเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ
ติดตามและดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรุงเทพมหานคร
(๖.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครอง เนื่องจากการดำเนินการตามมติ
ก.ก.
(๖.๖) การพิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงาน
ก.ก.
(๖.๗) การจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับหลักเกณฑ์ วิธีการ คำสั่ง
และหนังสือเวียนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การตรวจร่างสัญญา และงานนิติการอื่น ๆ
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น
(๗.๓) การพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๗.๔) การปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร
(๗.๕) การให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ติดตามและประเมิน ผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
(๗.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๘]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)[๙]
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
กำหนดทิศทางและแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์นโยบายของกรุงเทพมหานคร
และการติดตามรายงานการประเมินผล
(๑.๒)
พัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมกับบทบาทและภารกิจของกรุงเทพมหานครและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการฝึกอบรมพัฒนา
(๑.๓) ศึกษา วิเคราะห์
นวัตกรรมด้านการบริหารและนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการเผยแพร่แนวคิดและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
(๑.๔) ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษา
อบรมดูงานทั้งในและต่างประเทศและเรียนรู้ด้วยตนเอง
(๑.๕)
ศึกษา ค้นคว้า
และเผยแพร่วิทยาการบริหารสมัยใหม่และองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งผลิตและพัฒนำนวัตกรรมการเรียนรู้ให้มีความทันสมัย
(๑.๖)
ออกแบบและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารและการพัฒนาคนในภาพรวม
(๑.๗)
บริหารจัดการความรู้ด้านการพัฒนาคน พัฒนางานที่ได้จากการศึกษา
วิจัยและส่งเสริมการนำความรู้ไปพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรม
(๑.๘)
เผยแพร่ข้อมูลความรู้และนวัตกรรมด้านการบริหารมหานคร
(๑.๙)
ให้คำปรึกษาแนะนำการนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ประกอบการพัฒนา
(๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองกลาง
(๓)[๑๐]
สำนักงานการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓. งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔.
การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๑๑]
สำนักงานปกครองและทะเบียนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑)
ศึกษา ปรับปรุง กำกับ ดูแล ติดตามประเมินผล สนับสนุน
ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการปกครอง การเลือกตั้ง และการทะเบียน
(๕.๒)
ให้คำปรึกษา แนะนา เสนอความเห็น และตอบข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๕.๓)
ติดตาม สนับสนุน และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ นโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย
และกรุงเทพมหานคร
(๕.๔)
ดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การตั้ง ยุบ
หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตหรือแขวง
(๕.๕) ประสานงาน อำนวยการ สนับสนุน
และดำเนินการเลือกตั้งและการทำประชามติ
รวมทั้งสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(๕.๖)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานมูลนิธิ สมาคม
(๕.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานการข่าว และงานกิจการมวลชน
(๕.๘)
ควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและป้องกันการทุจริตทางการทะเบียน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
ร้องทุกข์
(๕.๙)
ดำเนินการเกี่ยวกับการประสานราชการส่วนภูมิภาค และสนับสนุนกิจการศาสนา
(๕.๑๐)
จัดทำฐานข้อมูลด้านการปกครอง การเลือกตั้ง การทะเบียน และความมั่นคงภายในเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
(๕.๑๑)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๑๒] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน
ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)[๑๓]
สำนักงานประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง
ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖.
บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗.
พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘.
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๑๔] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๑๕] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๖] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๗] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๘]
ข้อ ๘[๑๙]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๒๐]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๒๑] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๒๒] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี
การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๒๓] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔)
ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข และบริการทางวิชาการ
(๒.๕)
พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงิน ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)[๒๔]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๔)[๒๕]
โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑๔.๑) ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๔.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๔.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๔.๔) ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๔.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๔.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๔.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๒๖]
ขอ ๑๒[๒๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๓๐]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ
รายงานที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ
ปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๓๑]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม
กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์ ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล
และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์
สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม การผลิตยาประเภทต่าง ๆ
ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab) โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี
ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๓๒]
ข้อ ๑๔[๓๓] สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๕[๓๔] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) การดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
(๑.๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้างสำนักการศึกษา
(๑.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๑.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๖) การดูแลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
(๑.๗) การประชาสัมพันธ์
(๑.๘) การดูแลศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
(๑.๙) การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนักการศึกษา
(๑.๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมพิเศษ
(๑.๑๑) การบริหารงานก่อสร้างอาคารเรียน
(๑.๑๒)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. สำนักงานการเจ้าหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
(๒.๒) การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๓) การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(๒.๔) การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
(๒.๕) การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
(๒.๖) การปรับปรุงข้อมูลบุคคลในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การลา สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
(๒.๘)
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๒.๙)
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
มีและเลื่อนวิทยฐานะ สายงานการสอน สายงานการบริหารสถานศึกษา
และสายงานการนิเทศการศึกษา
(๒.๑๐)
การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. กองคลัง
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
รวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา
(๓.๒) การบริหารงบประมาณ
(๓.๓)
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
(๓.๔) การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนาส่งเงินและการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชีให้กับเจ้าหน้าที่กองคลัง และส่วนราชการอื่น ๆ
(๓.๕) การจัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายทางการบัญชี ติดตามรวบรวมรายงานในด้านการเงินการคลังของสำนักการศึกษา
(๓.๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้กับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๗) การดำเนินการสำรวจวัสดุ -
ครุภัณฑ์ที่ทางโรงเรียนต้องการ
(๓.๘) การให้คำปรึกษา
แนะนำเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา
(๔.๒) การกำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุน
นโยบายและแผนการศึกษา
(๔.๓)
การดำเนินการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การวิจัยทางการศึกษา
(๔.๕)
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
(๔.๗)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
(๔.๘) การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการประเมินผลการจัดการศึกษา
(๔.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. กองเทคโนโลยีการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การกำหนดกรอบนโยบายทิศทางแผนเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๒) การศึกษา ออกแบบ วิเคราะห์
พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๓) การผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๔)
การส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
(๕.๕) การศึกษา วิเคราะห์
วิจัยและติดตามประเมินผลด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๖) การประสานความร่วมมือด้านวิชาการและเทคโนโลยีการศึกษากับหน่วยงานภายนอก
ผลิตและเผยแพร่งานวิชาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖.
สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๖.๒)
การพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการฝึกอบรม
(๖.๓)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม การฝึกอบรม การวางแผน การประเมินผล
และการติดตามผลการฝึกอบรม
(๖.๔) การส่งเสริมการฝึกอบรม
ประชุม สัมมนา การดูงานภายในและต่างประเทศ
(๖.๕)
การส่งเสริมเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศ
(๖.๖) การบริหารงานลูกเสือ
ยุวกาชาดและผู้บาเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
(๖.๗)
การบริหารงานลูกเสือในฐานะสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานครและบริหารงานยุวกาชาดในฐานะสำนักงานคณะกรรมการยุวกาชาดกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การอบรม ประชุม
สัมมนาการจัดกลุ่มกองลูกเสือ การจัดตั้งปรับหมู่ยุวกาชาด
(๖.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
กองเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การจัดทำแผนและหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ ระเบียบ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับงานคุ้มครองสิทธิเด็ก
(๗.๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานสุขภาวะสุขภาพนักเรียน
(๗.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมนักเรียนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน
(๗.๕)
การดำเนินการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๖) การประสานความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
(๗.๗)
การดำเนินการรับถ่ายโอนโรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๗.๘)
การวิเคราะห์และประมาณการจำนวนนักเรียน/ห้องเรียนล่วงหน้า
(๗.๙) การจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา
ทะเบียนนักเรียนในสถานศึกษา
(๗.๑๐) การตรวจสอบวุฒิการศึกษา และการเทียบโอนผลการเรียนรู้
(๗.๑๑) การจัดทำประกาศส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
การจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
(๗.๑๒) การดำเนินการรับนักเรียนจากหน่วยงานภายนอก
เด็กเรียนร่วม เด็กพิเศษ และนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร์
หรือไม่มีสัญชาติไทย
(๗.๑๓)
การประสานและบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๑๔)
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาหรือประสบปัญหาด้านต่าง ๆ
(๗.๑๕) การดำเนินการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๑๖) การส่งเสริม สนับสนุนสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ
ของนักเรียนในระดับชาติและนานาชาติ
(๗.๑๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๘.๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการวิเคราะห์ วิจัย
รูปแบบกระบวนการนิเทศ
(๘.๒)
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
(๘.๓) การจัดการเรียนตามหลักสูตรปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร
(๘.๔)
การปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๘.๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๕] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง การก่อสร้างและบูรณะ
การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน
และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๖] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ[๓๗]
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๒) ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม
และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ
อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ
แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ
(๓) วางแผน ควบคุมและบริหารจัดการการระบายน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเค็มและภัยแล้งของกรุงเทพมหานคร
(๔) วางแผน ควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ
บ่อสูบน้ำ การปิด - เปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำ การผลิตอุปกรณ์ท่อระบายน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
(๕) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำ
รวมถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและป้องกันสิ่งก่อสร้างมิให้รุกล้ำในคูคลอง
และแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำ จัดเก็บขยะ วัชพืชและผักตบชวาในคูคลอง
บึง รับน้ำและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗) บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการติดตาม
เฝ้าระวัง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ
รวมทั้งรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมาบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานสากล
(๘)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการน้ำ และควบคุมดูแลระบบโทรมาตรของกรุงเทพมหานคร
(๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การจัดการคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) จัดหา ควบคุม ให้บริการติดตั้ง
รวมทั้งซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ ทั้งชนิดไฟฟ้าและเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล
เครื่องมือกล และยานพาหนะต่าง ๆ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและบริหารงานทั่วไป
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง การเงินและบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานพัสดุ
(๑.๗) งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๙) งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๐) งานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(๑.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) ศึกษา วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระดับชาติ
และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) วางแผน จัดทำ กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย
และคลองมหาสวัสดิ์
(๒.๕) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำของพื้นที่ปิดล้อม (Polder) และก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ
แก้มลิง หรือธนาคารน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒.๖) กำหนดขนาดและระดับก้นท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒.๗) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
รวมทั้งบริหารศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
(๒.๘) พิจารณาอนุญาต กำหนดรูปแบบและข้อกำหนดงานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ และงานปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๒.๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ การศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม
เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมความรู้ ให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำในเมือง
การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ควบคุมดูแลศูนย์บริหารจัดการน้ำกรุงเทพมหานคร
ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๓.๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารหน่วยงาน
และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
(๓.๓) จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและควบคุมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๔) วิเคราะห์และประยุกต์ใช้งาน
โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำในการวางแผน
ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับภาวะของน้ำท่วม
(๓.๕) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบและใช้งานเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดระบบโทรมาตร
(๓.๗) ตรวจสอบ ปรับปรุงค่าระดับหมุดหลักฐานและเสาวัดระดับน้ำ (Staff Gauge)
(๓.๘) เป็นศูนย์สื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๙) กำหนดแนวทางการจัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศระบายน้ำและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานระบบควบคุมน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผน ก่อสร้าง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบอาคารบังคับน้ำ ได้แก่
อุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำ
(๔.๒) บริหารจัดการระบบอาคารบังคับน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำเค็ม
(๔.๓) บริหารจัดการแก้มลิง เพื่อเป็นที่พักน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) วางแผนการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในคลอง
(๔.๕) ควบคุมระดับน้ำในคลอง เพื่อการเดินเรือและการท่องเที่ยว
(๔.๖) ติดตั้ง ควบคุม ซ่อมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ระบบแสงสว่าง
และระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอุโมงค์ทางลอดรถยนต์
(๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ
(๕.๒) วางแผน ควบคุมและดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
(๕.๓) วางแผน ควบคุม และดำเนินการผลิตฝาบ่อพักและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
พร้อมปิด - เปลี่ยนฝาบ่อพักและซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๔) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำหนุนและน้ำท่วม
(๕.๕) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระบบท่อระบายน้ำ และบ่อสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม
(๕.๖) วางแผน สำรวจ ตรวจสอบและออกแบบระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองระบบคลอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) พัฒนาประสิทธิภาพคู คลอง
และแหล่งน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
(๖.๒) ก่อสร้างเขื่อนริมคลอง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๖.๓) พัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลและบำรุงรักษาคู
คลอง และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางน้ำ
(๖.๔) จัดเก็บขยะ กำจัดวัชพืชผักตบชวาในคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๕) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำคู คลอง
บึงรับน้ำและป้องกันสิ่งก่อสร้างในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๖) พิจารณาอนุญาตสิ่งก่อสร้างผ่านคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการด้านการจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) วางแผนและควบคุมการก่อสร้าง การซ่อมและบำรุงรักษาโรงควบคุมคุณภาพน้ำ
ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗.๓) บริหารจัดการการเดินระบบรวบรวมน้ำ เสีย
และระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๗.๔) เฝ้าระวัง
ติดตามและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๗.๕) บริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
(๗.๖) ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๗.๗)
สร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองเครื่องจักรกล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๘.๑) วางแผน สำรวจ ออกแบบ ควบคุม กำกับดูแล จัดหา
เก็บรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนระบบไฟฟ้าควบคุมพร้อมอุปกรณ์
(๘.๒) วางแผนกำหนดจุดติดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็วที่สามารถปฏิบัติงานในภารกิจเร่งด่วนตามแผนงานและกรณีฉุกเฉิน
(๘.๓) บริการติดตั้ง เคลื่อนย้าย แก้ไข ดัดแปลง
และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และยานพาหนะทุกประเภท
(๘.๔) บริการตรวจ ซ่อม บำรุงรักษาติดตั้งดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินระบบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะทุกประเภทของหน่วยงาน และเครื่องสูบน้ำของสำนักงานเขต
(๘.๕) กำหนดมาตรฐาน รายละเอียดคุณสมบัติเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
ยานพาหนะ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ระบบเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท
(๘.๖) จัดหา เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ตลอดจนเชื้อเพลิง
สารหล่อลื่นของเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร
(๘.๗) จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ
ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
(๘.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๘]
ข้อ ๒๐[๓๙] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์
วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม
พัฒนา และดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๒) การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๓) การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลงานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๔) การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
(๕) การบริหารจัดการมูลฝอย ของเสียอันตราย
สิ่งปฏิกูลและไขมันของกรุงเทพมหานครทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดเก็บ รวบรวม
นำไปใช้ประโยชน์
บำบัดและกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(๖) การให้บริการสาธารณะด้านการรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร
(๗) การตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง คุณภาพอากาศและเสียงจากแหล่งกำเนิด
(๘) การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๙) การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
และดูแลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) การปฏิบัติงานในสถานการณ์พิเศษ
เหตุภัยพิบัติ เหตุการณ์เร่งด่วนอย่างบูรณาการ
(๑๑) การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๑[๔๐] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองกำจัดมูลฝอย
(๕) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๔๑]
ข้อ ๒๒[๔๒] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๔๓] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๔]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๔๕]
ข้อ ๒๔[๔๖] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๗] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๘]
ข้อ ๒๖[๔๙] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๕๐] สำนักเทศกิจ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๕๑]
ข้อ ๒๗[๕๒]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น
ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้ การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า
ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์
การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค
งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน
การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร
การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๕๓]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๔] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๕]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๖]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๗]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๘]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๙]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๖๐]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๖๑]
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๖๒]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๖๓]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๔]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๕]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๖]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๗]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๘]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๙]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๗๐]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๗๑]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๗๒]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๗๓]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๔]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘)
โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๕] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๖]
ข้อ
๒๙[๗๗] สำนักพัฒนาสังคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนในทุกมิติ
ทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
๒.
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม
กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓.
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยกำหนดเป็นแนวทาง
แผนการดำเนินการให้กับสำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔.
ส่งเสริม สนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นของรัฐ มูลนิธิต่าง ๆ NGOs และองค์กรต่างประเทศ
๕.
บริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
๖.
ส่งเสริมให้บุคคลมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
๗.
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของบุคคล
๘.
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก
สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบปัญหาทางสังคม
๙.
จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน
ศูนย์คัดกรองช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก
เพื่อจัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
๑๐. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมของกรุงเทพมหานคร
๑๑.
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓๐[๗๘] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑.
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
งานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒)
งานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนัก
(๑.๓)
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔)
งานการเงิน และการบัญชี
(๑.๕)
งานบริหารงบประมาณ
(๑.๖)
งานพัสดุ
(๑.๗)
งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘)
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของสำนัก
(๑.๙)
งานดูแลอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
(๑.๑๐)
ปฏิบัติงานร่วมกับ
หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย และแผนปฏิบัติราชการของสำนัก
(๒.๒) ประสาน เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดสำนัก
(๒.๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสังคมของสำนักและสำนักงานเขต
(๒.๔) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา ผลิตเอกสาร คู่มือ
และสื่อการเรียนรู้สำหรับโครงการฝึกอบรมของสำนัก
(๒.๕)
สร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสังคม
(๒.๖)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมของกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
กำหนดแนวทางในการจัดระบบ การสำรวจ การจัดเก็บการประมวลการใช้ประโยชน์
และการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสวัสดิการสังคม
(๒.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกับ
หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓.
สำนักงานการพัฒนาชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ส่งเสริม
สนับสนุนการดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
(๓.๒)
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีแผนแม่บทด้านการพัฒนาชุมชน
กำหนดรูปแบบแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน
(๓.๓)
ดำเนินการจัดระเบียบชุมชน สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์ ชุมชน
และพัฒนากลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน
(๓.๔)
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่สถาบันครอบครัวจนถึงระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(๓.๕)
สร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมในทุกระดับ
(๓.๖)
สร้างกลไกในการติดตามการพัฒนาชุมชนตามแนวทางศาสตร์พระราชา
(๓.๗)
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำระบบมาตรฐานชุมชน
(๓.๘)
การจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการชุมชน
(๓.๙)
พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ กฎหมาย แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ชุมชนและสังคม
(๓.๑๐)
ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือในการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนและผู้มีรายได้น้อย
(๓.๑๑)
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยกำหนดเป็นแนวทาง
แผนการดำเนินการให้กับสำนักงานเขต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๓.๑๒)
ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการเงิน ส่งเสริมวินัยการออม การบริหารรายได้ของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
(๓.๑๓)
ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนไปจนถึงสถาบันการเงินชุมชน
ส่งเสริมและพัฒนาการจัดตั้งกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชุมชน
และกองทุนตามนโยบายรัฐบาล
(๓.๑๔)
บูรณาการการทำงานสนับสนุนและประสานการปฏิบัติงานของสำนัก
สำนักงานเขตและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
(๓.๑๕)
จัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนกรุงเทพมหานคร
(๓.๑๖)
แนะนำ ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย
เกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและประสานจัดหาที่อยู่อาศัย
(๓.๑๗)
ส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นของรัฐ มูลนิธิต่าง ๆ NGOs และองค์กรต่างประเทศ
(๓.๑๘)
บริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
(๓.๑๙)
จัดทำและกำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยสำหรับรองรับสังคมผู้สูงอายุ
(๓.๒๐)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔.
สำนักงานการส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑)
ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพ
(๔.๒)
จัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
(๔.๓)
ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
(๔.๔)
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
(๔.๕)
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
(๔.๖)
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนและช่องทางการจำหน่าย
(๔.๗)
ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
(๔.๘)
ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี และให้คำปรึกษา แนะนำการนิเทศแก่โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครและศูนย์ฝึกอาชีพ
(๔.๙)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
(๔.๑๐) พัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในการฝึกอบรมวิชาชีพ
(๔.๑๑)
สนับสนุนการฝึกอบรมวิชาชีพแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔.๑๒)
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔.๑๓)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕.
สำนักงานสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑)
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก
สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม
ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ
และได้รับสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
(๕.๒)
ส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพให้แก่กลุ่มเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว
ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ
ให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตามความเหมาะสม
(๕.๓)
จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์คัดกรองช่วยเหลือด้อยโอกาส ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก เพื่อจัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์
รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
ตามความจำเป็นพื้นฐานอย่างเหมาะสม
(๕.๔)
ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดวางระบบและกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตามที่กฎหมายกำหนด
(๕.๕)
ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
และการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สตรี และเด็ก ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕.๖)
จัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์ตามระเบียบกรุงเทพมหานครและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสถาบันครอบครัว
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กฎหมายว่าด้วยความเท่าเทียมระหว่างเพศ
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขอทาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยหอพัก
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๗)
สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ภาคเอกชน
ภาคประชาชน และเครือข่ายองค์กรสวัสดิการสังคมทุกระดับ
(๕.๘)
งานการประชุม งานเลขานุการคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕.๙)
ปฏิบัติงานร่วมกับ
หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๙]
ข้อ ๓๑[๘๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๘๑] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง[๘๒]
ข้อ ๓๓[๘๓] สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดนโยบายด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งจัดทำแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง และอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๒) ควบคุม กำกับดูแล ประสาน ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ
ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน
และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๓) ดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ
การวางผังเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ วิจัย ติดตามและประเมินผลส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
และพัฒนามาตรฐาน มาตรการกลไกด้านการผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔) ควบคุม ส่งเสริม
และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๕) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม
และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๖)
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) ดำเนินการสำรวจ รังวัด จัดทำแผนที่
และกำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครเพื่อการบริหาร ควบคุม กำกับ
การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลของกรุงเทพมหานครด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม
ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๔[๘๔] สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีส่วนราชการ
ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) ปฏิบัติงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการ
(๑.๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของสำนัก ยกเว้นการจัดฝึกอบรม
(๑.๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี บริหารงบประมาณ ทะเบียนทรัพย์สิน
และการพัสดุ
(๑.๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการประชุม งานประชาสัมพันธ์และโสตทัศนูปกรณ์
(๑.๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของสำนัก
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง งานนิติกรรมและสัญญา การดำเนินคดี งานพิจารณาอุทธรณ์
ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือ หรือการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
(๑.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนัก
(๑.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
ให้สอดคล้องกับนโยบาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร
และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๒) ประสานงาน ติดตามแผนงาน โครงการ ด้านการพัฒนาเมือง
การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ติดตามและประเมินผลแผนงาน
โครงการตามตัวชี้วัด แผนพัฒนากรุงเทพมหานครและแผนพัฒนาอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔) ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
(๒.๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านต่าง ๆ
เพื่อประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ผังเมืองเฉพาะ
วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ผังพัฒนาเขต การวางผังเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง และอื่น ๆ
(๒.๖) ให้บริการและเผยแพร่งานวิชาการด้านการผังเมือง ด้านการพัฒนาเมือง
และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
(๒.๗) จัดการสัมมนา อบรม ดูงาน ทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานด้านผังเมืองแก่บุคลากรทั้งในและนอกหน่วยงาน
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) สำนักงานภูมิสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
เป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมืองด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม
ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๓.๒)
พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศด้านการผังเมืองและพัฒนาเมือง
(๓.๓) จัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บข้อมูลกายภาพ
ตลอดจนประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
(๓.๔) ดำเนินการสำรวจ
รังวัดภาคพื้นและการสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม
เพื่อจัดทำและผลิตแผนที่มาตราส่วนต่าง ๆ ในระบบภูมิสารสนเทศ
(๓.๕) ดำเนินการสำรวจ รังวัด กำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการบริหาร ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(๓.๖) ดำเนินการฝึกอบรม
เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแก่บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงาน
(๓.๗) พัฒนา ออกแบบ วางแผน ควบคุมและดูแลการเผยแพร่สารสนเทศทางระบบอินเทอร์เน็ต
(๓.๘) จัดวางระบบงานข้อมูลและระบบงานสถิติ
เพื่อการบริหารข้อมูลเมืองและสนับสนุนการให้บริการข้อมูลสำหรับหน่วยงานภายใน
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานวางผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผนการพัฒนากายภาพของเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองและกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๒) ควบคุม กำกับดูแล ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ
ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน
และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๓) ดำเนินการวางและจัดทาผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง โดยกำหนดวิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทิศทางในการพัฒนาเมือง
การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การจัดทำแผนและผังพัฒนาเขตและกลุ่มเขต วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ
ออกแบบวางผังและปฏิบัติให้เป็นไปตามผังพัฒนาพื้นที่ส่วนต่าง ๆ
ของเมืองด้วยวิธีการทางผังเมือง
(๔.๕) คิดค้นและพัฒนามาตรฐาน
และมาตรการกลไกทางผังเมืองในการพัฒนาเมืองตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) ติดตาม
ประเมินผลกระทบและสถานการณ์จากการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๗) ดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
และทุกภาคส่วนในกระบวนการด้านผังเมือง
(๔.๘)
สร้างเครือข่ายประชาคมหรือเครือข่ายการพัฒนาเมืองระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานระดับต่าง
ๆ เพื่อความร่วมมือในงานด้านผังเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๙) การพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด
ผังเมืองและการรักษาสภาพแวดล้อม
(๔.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักงานพัฒนาและฟื้นฟูเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ออกแบบ และวางผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู
และการพัฒนาเมืองรวม ทั้งกำกับ ดูแล และบริหารจัดการ
โดยส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม
(๕.๒) การดำเนินการพัฒนาย่าน และหรือบริเวณพื้นที่เฉพาะแห่งของเมืองที่มีคุณค่า
หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณคดี และสถาปัตยกรรม รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม
ทั้งเขตเพลิงไหม้หรือพื้นที่ที่ประสบอุบัติภัยอื่น ๆ เพื่อประสานและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนหรือผัง
เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๓) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการพัฒนาเมืองรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุม กำกับ
การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๔) การดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมบูรณะโบราณสถานและอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
รวมทั้งการรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพมหานครทั้งในอดีตและปัจจุบัน
(๕.๕) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ กำหนดคุณภาพ
และมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมวิศวกรรม และการผังเมือง เพื่อการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๖) ให้คำปรึกษา สนับสนุน และสำรวจออกแบบ เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๗) กำหนดมาตรฐานทางผังเมืองและอาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๘) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม
และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๙)
วางแผนและบริหารการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนหรือผังการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๐) บริหารจัดการศูนย์นิทรรศการเมือง บริหารกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร
(๕.๑๑) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองควบคุมผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา
พัฒนา กำหนดกรอบแนวทางการจัดทำมาตรการ ข้อกฎหมาย
และวิธีการทางผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมืองโดยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๖.๒) ดำเนินการพัฒนากฎหมายผังเมือง จัดทำและยกร่างข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๓) ควบคุม ส่งเสริม
และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖.๔) วางแผนกำหนดแนวทางการปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๕) การติดตาม ประเมินผล ดำเนินการใช้บังคับและประสานการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
รวมทั้งวิเคราะห์ความเหมาะสมของข้อกฎหมายผังเมือง
(๖.๖) การบูรณาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
ระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครด้วยฐานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๕]
ข้อ ๓๕[๘๖]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งบรรเทาสาธารณภัยประเภทอื่น ๆ
ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ
(๒)
กำหนดมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยในการป้องกัน ระงับอัคคีภัย และบรรเทาสาธารณภัย
(๓)
ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างประเทศในการดำเนินการป้องกันระงับอัคคีภัย
และบรรเทาสาธารณภัยทุกประเภท
(๔)
ให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
(๕)
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๖)
จัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการต่าง ๆ
ให้เป็นไปตามแผนแม่บทระดับกรุงเทพมหานครและระดับชาติ
(๗)
ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้แก่หน่วยงานภาครัฐ
เอกชนและประชาชนทั่วไป
(๘)
จัดหา ควบคุม และบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ
รวมทั้งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในงานด้านสาธารณภัย
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๖[๘๗]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑.๑)
งานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒)
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓)
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔)
งานการคลัง การเงิน และบัญชี
(๑.๕)
งานงบประมาณ
(๑.๖)
งานด้านกฎหมาย
(๑.๗)
งานประชาสัมพันธ์
(๑.๘)
งานควบคุมดูแลอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
(๑.๙)
งานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และยานพาหนะ
(๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒)
สำนักงานยุทธศาสตร์การป้องกันสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๒.๑)
จัดทำและกำหนดนโยบาย แนวทางหรือแผนแม่บทด้านสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งติดตามประเมินผลและกำกับการปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผน
(๒.๒)
ศึกษา วิเคราะห์เพื่อวางระบบมาตรการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณภัย
(๒.๓)
ศึกษา วิเคราะห์และเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณภัย การเกิดอัคคีภัย
และด้านวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย
(๒.๔)
ตรวจสอบแบบแปลน
ระบบและอุปกรณ์ในการป้องกันอัคคีภัยของอาคารสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
รวมทั้งประเมินความเสี่ยงของอาคารต่อการเกิดอัคคีภัย
(๒.๕)
ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุเพลิงไหม้และศึกษาวิเคราะห์สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้
(๒.๖)
การประสานความร่วมมือด้านสาธารณภัยกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ
(๒.๗)
ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม
และดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๒.๘) จัดทำข้อมูล ข่าวสาร
ผลงานทางวิชาการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อจัดพิมพ์และเผยแพร่ความรู้ให้แก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไป
(๒.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
สำนักงานอำนวยการสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๓.๑)
อำนวยการและประสานการรับแจ้งและระงับเหตุการณ์ เฝ้าระวัง ติดตาม
และรายงานสถานการณ์สาธารณภัยตลอด ๒๔ ชั่วโมง
(๓.๒)
พัฒนาและจัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓.๓) อำนวยการ บริหารจัดการสาธารณภัย ประสานและติดตามการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสาธารณภัยทุกระดับ
(๓.๔)
จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานครเพื่อบริหารจัดการสาธารณภัยและขับเคลื่อนการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
(๓.๕) จัดชุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนการกู้ภัยกรณีเกิดเหตุสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือร้ายแรง
และการปฏิบัติการกู้ภัยทางน้ำ
(๓.๖)
จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครและกำกับ
ควบคุมดูแลอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๓.๗) สนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์
และยานพาหนะในการกู้ภัยสารเคมี อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษให้แก่สถานีดับเพลิงและกู้ภัย
(๓.๘)
ให้ความช่วยเหลือ การสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๔.๑)
ระงับอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ
(๔.๒) กู้ภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตรวจตรา
ป้องกันอัคคีภัยและภัยพิบัติอื่น ๆ
(๔.๓)
สำรวจและจัดทำแผนที่แหล่งน้ำ แหล่งชุมชนและเส้นทางจุดอันตราย
(๔.๔) ดูแลและรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนยานพาหนะต่าง ๆ
ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทุกโอกาส
(๔.๕)
ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติหน้าที่
(๔.๖)
ให้การช่วยเหลืองานด้านบริการแก่ประชาชน ส่วนราชการและหน่วยงานอื่น ๆ ตามที่ร้องขอ
(๔.๗)
จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับกอง
(๔.๘)
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน
และประชาชนทั่วไป
(๔.๙)
รวบรวม วิเคราะห์และประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๒
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๓
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๔
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๘) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ๕
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
(๙) กองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๖ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย
๑
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๘]
ข้อ ๓๗[๘๙]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม
จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง
ๆ
ข้อ ๓๘[๙๐]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๘๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๘๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๔]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๘๖]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)[๑๘๗]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)[๑๘๘]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)[๑๘๙]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)[๑๙๐]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)[๑๙๑]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)[๑๙๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)[๑๙๓]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)[๑๙๔]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๙)[๑๙๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)[๑๙๖]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗
กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
ปวันวิทย์/เพิ่มเติม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๑
กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๒๔ มกราคม ๒๕๖๒
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๑ มกราคม ๒๕๖๓
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๗ กันยายน ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๒ ตุลาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๓] มาตรา
๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๔] มาตรา
๒ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๕] หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๓ ถึง มาตรา ๓ ทวิ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๖] มาตรา
๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๗] มาตรา
๓ ทวิแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๘] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙] ข้อ ๕
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)
[๑๐] ข้อ ๕
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๑] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)
[๑๒] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๑๓] ข้อ ๕
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๔] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๑๕] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๖] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๗] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๘] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๙] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๐] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๑] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๒] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๓] ข้อ ๑๑
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๒๔] ข้อ ๑๑
(๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๒๕] ข้อ ๑๑
(๑๔) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๙)
[๒๖] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๗] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๘] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๙] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๓๐] ข้อ ๑๓
ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๓๑] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๓๒] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๓] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๔] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๕] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๖] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๗] หมวด
๑๑ สำนักการระบายน้ำ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)
[๓๘] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๙] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๔๐] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๔๑] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๕] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๘] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๙] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๐] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๑] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๒] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๓] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๖๒] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๗๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๗๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๗๒] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๗๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๖] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
[๗๗] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
[๗๘] ข้อ ๓๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
[๗๙] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๐] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๑] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๒] หมวด
๑๙ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๘๓] มาตรา
๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๘๔] มาตรา
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๘๕] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)
[๘๖] ข้อ
๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)
[๘๗] ข้อ ๓๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑๐)
[๘๘] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๙] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๐] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า
๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗
ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม
๒๕๖๐
[๑๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐
มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔
ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑
[๑๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๓๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๓/๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๒๕/๓ กันยายน ๒๕๖๑
[๑๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง/หน้า ๑๙/๑๔ กันยายน ๒๕๖๑
[๑๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๔๑/๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๑๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๑๖ ง/หน้า ๑๒/๑๑
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๒ ง/หน้า ๒๔/๑๗
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑๙๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๓๑/๑๑ มกราคม ๒๕๖๒
[๑๙๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๘/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒ |
857603 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/11/2561) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[๒]
ข้อ ๒[๓]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) จัดประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมต่าง ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓)
เป็นศูนย์กลางการประสานราชการด้านนโยบายระหว่างกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร
รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๕)
เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลด้านการบริหารราชการของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒ ทวิ[๔]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและธุรการทั่วไป
(๑.๒) งานการเจ้าหน้าที่
(๑.๓) งานการประชุม
(๑.๔) งานการคลังและงบประมาณ
(๑.๕) งานบัญชีและพัสดุ
(๑.๖) งานการผลิตเอกสารที่ใช้ในการประชุมต่าง ๆ
(๑.๗) งานเผยแพร่ข่าวสาร และข้อมูลประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
(๑.๘)
งานต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและงานพิธีการต่าง
ๆ ของสำนักงาน
(๑.๙) ประสานงานพิธีการ รัฐพิธี
และพระราชพิธีกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๑.๑๐) จัดทำ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงาน
(๑.๑๑) งานควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) ส่วนประสานนโยบาย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ดำเนินการด้านการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ
หรือกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน
(๒.๒)
ดำเนินการด้านนโยบายและการตรวจราชการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ดำเนินการประสานงานกับสภากรุงเทพมหานคร รัฐสภา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมติคณะรัฐมนตรี
บันทึกสั่งการและคำสั่งต่าง ๆ
(๒.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) ส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ดำเนินการด้านการรับและตรวจสอบเรื่องร้องทุกข์ เรื่องร้องเรียน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๓.๒)
ดำเนินการด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๓)
ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๓.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงานที่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และนอกสังกัดกรุงเทพมหานครเสนอ ตลอดจนเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของงานตามกฎหมาย
ระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อพิจารณาเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๓) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๔.๔) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๔.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕)
กลุ่มงานเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงาน
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อกฎหมายระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อคิดเห็นเสนอต่อรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
ศึกษาและสรุปข้อเท็จจริงเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๓) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๕.๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๖) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร[๕]
ข้อ ๓[๖] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑)
ราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๒)
งานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓) วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) จัดทำยุทธศาสตร์
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๕)
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการกรุงเทพมหานคร
(๖)
ดำเนินการตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๗] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานด้านเลขานุการ
(๑.๒) งานด้านบริหารทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ
(๑.๓)
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)
และการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการใน ก.ก. และ อ.ก.ก. ที่เกี่ยวข้อง
(๑.๔) งานด้านการคลัง พัสดุ และครุภัณฑ์
(๑.๕) งานการเจ้าหน้าที่และการดำเนินการใน อ.ก.ก. หน่วยงาน
(๑.๖) งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๗) การจัดทำวารสารและรายงานประจำปี
(๑.๘) การดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๙) การจัดทำ ติดตาม รายงานและประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกองและของสำนักงาน
(๑.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองสรรหาบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสรรหาและเลือกสรรข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าสู่ตำแหน่ง
(๒.๓)
เป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) การสรรหาและเลือกสรรเพื่อรับทุนการศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน
ตามความต้องการของกรุงเทพมหานคร
(๒.๕) การรับโอน การบรรจุกลับ และการเปลี่ยนประเภทข้าราชการ
(๒.๖) การพัฒนาสายอาชีพนักทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบงานและการจ้างงานรูปแบบใหม่
(๓.๒) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน
(๓.๓) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓.๔) การกำหนดกรอบและทิศทางการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓.๕)
การนำนวัตกรรมและเทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่ไปใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองอัตรากาลัง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) การจัดทำแผนกำลังคน แผนสืบทอดตำแหน่ง
แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
(๔.๓)
การกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการคัดเลือกบุคคลและประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญดารงตำแหน่งประเภททั่วไป
และประเภทวิชาการ
(๔.๕) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๔.๗) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านภารกิจ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอัตรากาลังของกรุงเทพมหานคร
(๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
การจัดทำฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
(๕.๓) ให้คำปรึกษา
แนะนำทางด้านข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครแก่หน่วยงานและข้าราชการของกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) เป็นศูนย์กลางการรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๕) การตรวจสอบคำสั่ง
(๕.๖) การควบคุมและแก้ไขทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้.
(๖.๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษามาตรฐานวินัยข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพิจารณา ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๓) การเสริมสร้างจริยธรรม
คุณธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๔) การเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ
ติดตามและดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรุงเทพมหานคร
(๖.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครอง เนื่องจากการดำเนินการตามมติ
ก.ก.
(๖.๖)
การพิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงาน
ก.ก.
(๖.๗) การจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับหลักเกณฑ์ วิธีการ คำสั่ง
และหนังสือเวียนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การตรวจร่างสัญญา และงานนิติการอื่น ๆ
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น
(๗.๓) การพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๗.๔) การปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร
(๗.๕) การให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ติดตามและประเมิน
ผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
(๗.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๘]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓)[๙]
สำนักงานการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓.
งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔.
การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๑๐] สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง
กำกับติดตาม ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง
การทะเบียนราษฎร การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน
ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ การรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๑๑] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ การตรวจสอบการบริหาร
การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ ให้คำปรึกษา
แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)[๑๒]
สำนักงานประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓.
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖.
บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗.
พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘.
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๑๓] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๑๔] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๕] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๖] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๗]
ข้อ ๘[๑๘] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๙]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๒๐] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๒๑] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี
การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๒๒] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔)
ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข และบริการทางวิชาการ
(๒.๕)
พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)[๒๓]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๒๔]
ขอ ๑๒[๒๕] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๖]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๗]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๘]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
สารเสพติด และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร
การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๓๐]
ข้อ ๑๔[๓๑] สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๕[๓๒] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
(๑.๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้างสำนักการศึกษา
(๑.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๑.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๖) การดูแลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
(๑.๗) การประชาสัมพันธ์
(๑.๘) การดูแลศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
(๑.๙) การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนักการศึกษา
(๑.๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมพิเศษ
(๑.๑๑) การบริหารงานก่อสร้างอาคารเรียน
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. สำนักงานการเจ้าหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
(๒.๒)
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๓) การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(๒.๔) การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
(๒.๕) การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
(๒.๖)
การปรับปรุงข้อมูลบุคคลในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การลา สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
(๒.๘)
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๒.๙)
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีและเลื่อนวิทยฐานะ
สายงานการสอน สายงานการบริหารสถานศึกษา และสายงานการนิเทศการศึกษา
(๒.๑๐)
การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๑๑)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. กองคลัง
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
รวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา
(๓.๒) การบริหารงบประมาณ
(๓.๓)
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
(๓.๔) การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนาส่งเงินและการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชีให้กับเจ้าหน้าที่กองคลัง และส่วนราชการอื่น ๆ
(๓.๕) การจัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายทางการบัญชี ติดตามรวบรวมรายงานในด้านการเงินการคลังของสำนักการศึกษา
(๓.๖) การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้กับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๗) การดำเนินการสำรวจวัสดุ -
ครุภัณฑ์ที่ทางโรงเรียนต้องการ
(๓.๘) การให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา
(๔.๒) การกำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุน
นโยบายและแผนการศึกษา
(๔.๓)
การดำเนินการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การวิจัยทางการศึกษา
(๔.๕)
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
(๔.๗)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
(๔.๘)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการประเมินผลการจัดการศึกษา
(๔.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. กองเทคโนโลยีการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การกำหนดกรอบนโยบายทิศทางแผนเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๒) การศึกษา ออกแบบ วิเคราะห์
พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๓) การผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๔) การส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
(๕.๕) การศึกษา วิเคราะห์
วิจัยและติดตามประเมินผลด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๖)
การประสานความร่วมมือด้านวิชาการและเทคโนโลยีการศึกษากับหน่วยงานภายนอก
ผลิตและเผยแพร่งานวิชาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖.
สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา วิเคราะห์
การกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการฝึกอบรม
(๖.๓)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม การฝึกอบรม การวางแผน การประเมินผล
และการติดตามผลการฝึกอบรม
(๖.๔) การส่งเสริมการฝึกอบรม
ประชุม สัมมนา การดูงานภายในและต่างประเทศ
(๖.๕)
การส่งเสริมเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศ
(๖.๖) การบริหารงานลูกเสือ
ยุวกาชาดและผู้บาเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
(๖.๗) การบริหารงานลูกเสือในฐานะสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานครและบริหารงานยุวกาชาดในฐานะสำนักงานคณะกรรมการยุวกาชาดกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การอบรม ประชุม
สัมมนาการจัดกลุ่มกองลูกเสือ การจัดตั้งปรับหมู่ยุวกาชาด
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
กองเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การจัดทำแผนและหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ ระเบียบ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับงานคุ้มครองสิทธิเด็ก
(๗.๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานสุขภาวะสุขภาพนักเรียน
(๗.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมนักเรียนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน
(๗.๕)
การดำเนินการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๖)
การประสานความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
(๗.๗) การดำเนินการรับถ่ายโอนโรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๗.๘)
การวิเคราะห์และประมาณการจำนวนนักเรียน/ห้องเรียนล่วงหน้า
(๗.๙) การจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา
ทะเบียนนักเรียนในสถานศึกษา
(๗.๑๐) การตรวจสอบวุฒิการศึกษา
และการเทียบโอนผลการเรียนรู้
(๗.๑๑)
การจัดทำประกาศส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
การจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
(๗.๑๒) การดำเนินการรับนักเรียนจากหน่วยงานภายนอก
เด็กเรียนร่วม เด็กพิเศษ และนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร์
หรือไม่มีสัญชาติไทย
(๗.๑๓) การประสานและบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๑๔)
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาหรือประสบปัญหาด้านต่าง ๆ
(๗.๑๕) การดำเนินการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๑๖) การส่งเสริม สนับสนุนสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ
ของนักเรียนในระดับชาติและนานาชาติ
(๗.๑๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๘.๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการวิเคราะห์ วิจัย
รูปแบบกระบวนการนิเทศ
(๘.๒)
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
(๘.๓) การจัดการเรียนตามหลักสูตรปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร
(๘.๔)
การปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๘.๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๓] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๔] สำนักการโยธา
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ[๓๕]
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๒) ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม
และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ
อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำ
รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ
(๓) วางแผน ควบคุมและบริหารจัดการการระบายน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเค็มและภัยแล้งของกรุงเทพมหานคร
(๔) วางแผน ควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ
บ่อสูบน้ำ การปิด - เปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำ การผลิตอุปกรณ์ท่อระบายน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
(๕) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำ
รวมถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและป้องกันสิ่งก่อสร้างมิให้รุกล้ำในคูคลอง
และแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำ จัดเก็บขยะ วัชพืชและผักตบชวาในคูคลอง
บึง รับน้ำและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗) บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการติดตาม
เฝ้าระวัง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ
รวมทั้งรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมาบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานสากล
(๘) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการน้ำ
และควบคุมดูแลระบบโทรมาตรของกรุงเทพมหานคร
(๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
การจัดการคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) จัดหา ควบคุม ให้บริการติดตั้ง
รวมทั้งซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ ทั้งชนิดไฟฟ้าและเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล
เครื่องมือกล และยานพาหนะต่าง ๆ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและบริหารงานทั่วไป
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง การเงินและบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานพัสดุ
(๑.๗) งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๙) งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๐) งานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(๑.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) ศึกษา วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระดับชาติ
และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) วางแผน จัดทำ กำกับ ติดตาม
วิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย
และคลองมหาสวัสดิ์
(๒.๕) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำของพื้นที่ปิดล้อม (Polder) และก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ
แก้มลิง หรือธนาคารน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒.๖) กำหนดขนาดและระดับก้นท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒.๗) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
รวมทั้งบริหารศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
(๒.๘) พิจารณาอนุญาต กำหนดรูปแบบและข้อกำหนดงานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์
และงานปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๒.๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ การศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม
เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมความรู้ ให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำในเมือง
การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ควบคุมดูแลศูนย์บริหารจัดการน้ำกรุงเทพมหานคร
ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๓.๒)
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารหน่วยงาน
และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
(๓.๓) จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและควบคุมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๔) วิเคราะห์และประยุกต์ใช้งาน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำในการวางแผน
ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับภาวะของน้ำท่วม
(๓.๕) วางแผน ควบคุม
ตรวจสอบและใช้งานเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดระบบโทรมาตร
(๓.๗) ตรวจสอบ ปรับปรุงค่าระดับหมุดหลักฐานและเสาวัดระดับน้ำ (Staff Gauge)
(๓.๘) เป็นศูนย์สื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๙)
กำหนดแนวทางการจัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศระบายน้ำและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานระบบควบคุมน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผน ก่อสร้าง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบอาคารบังคับน้ำ ได้แก่
อุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำ
(๔.๒) บริหารจัดการระบบอาคารบังคับน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำเค็ม
(๔.๓) บริหารจัดการแก้มลิง เพื่อเป็นที่พักน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) วางแผนการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในคลอง
(๔.๕) ควบคุมระดับน้ำในคลอง เพื่อการเดินเรือและการท่องเที่ยว
(๔.๖) ติดตั้ง ควบคุม ซ่อมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ระบบแสงสว่าง
และระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอุโมงค์ทางลอดรถยนต์
(๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ
(๕.๒) วางแผน ควบคุมและดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
(๕.๓) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการผลิตฝาบ่อพักและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ พร้อมปิด -
เปลี่ยนฝาบ่อพักและซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๔) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำหนุนและน้ำท่วม
(๕.๕) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระบบท่อระบายน้ำ
และบ่อสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม
(๕.๖) วางแผน สำรวจ ตรวจสอบและออกแบบระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองระบบคลอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) พัฒนาประสิทธิภาพคู คลอง
และแหล่งน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
(๖.๒) ก่อสร้างเขื่อนริมคลอง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๖.๓)
พัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลและบำรุงรักษาคู
คลอง และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางน้ำ
(๖.๔) จัดเก็บขยะ กำจัดวัชพืชผักตบชวาในคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๕) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำคู คลอง
บึงรับน้ำและป้องกันสิ่งก่อสร้างในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๖) พิจารณาอนุญาตสิ่งก่อสร้างผ่านคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการด้านการจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) วางแผนและควบคุมการก่อสร้าง
การซ่อมและบำรุงรักษาโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗.๓) บริหารจัดการการเดินระบบรวบรวมน้ำ เสีย
และระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๗.๔) เฝ้าระวัง
ติดตามและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๗.๕) บริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
(๗.๖) ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๗.๗)
สร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองเครื่องจักรกล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๘.๑) วางแผน สำรวจ ออกแบบ ควบคุม กำกับดูแล จัดหา
เก็บรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนระบบไฟฟ้าควบคุมพร้อมอุปกรณ์
(๘.๒)
วางแผนกำหนดจุดติดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็วที่สามารถปฏิบัติงานในภารกิจเร่งด่วนตามแผนงานและกรณีฉุกเฉิน
(๘.๓) บริการติดตั้ง เคลื่อนย้าย แก้ไข ดัดแปลง
และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และยานพาหนะทุกประเภท
(๘.๔) บริการตรวจ ซ่อม บำรุงรักษาติดตั้งดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินระบบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะทุกประเภทของหน่วยงาน และเครื่องสูบน้ำของสำนักงานเขต
(๘.๕) กำหนดมาตรฐาน รายละเอียดคุณสมบัติเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
ยานพาหนะ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ระบบเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท
(๘.๖) จัดหา เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ตลอดจนเชื้อเพลิง
สารหล่อลื่นของเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร
(๘.๗) จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ
ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
(๘.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๖]
ข้อ ๒๐[๓๗] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์
วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม
พัฒนา และดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๒) การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๓) การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลงานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๔) การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
(๕) การบริหารจัดการมูลฝอย ของเสียอันตราย
สิ่งปฏิกูลและไขมันของกรุงเทพมหานครทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดเก็บ รวบรวม
นำไปใช้ประโยชน์
บำบัดและกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(๖) การให้บริการสาธารณะด้านการรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร
(๗) การตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง คุณภาพอากาศและเสียงจากแหล่งกำเนิด
(๘) การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๙) การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
และดูแลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) การปฏิบัติงานในสถานการณ์พิเศษ
เหตุภัยพิบัติ เหตุการณ์เร่งด่วนอย่างบูรณาการ
(๑๑) การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๑[๓๘] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองกำจัดมูลฝอย
(๕) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๙]
ข้อ ๒๒[๔๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๔๑] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๒]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๔๓]
ข้อ ๒๔[๔๔] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๕] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๖]
ข้อ ๒๖[๔๗] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๘] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๔๙]
ข้อ ๒๗[๕๐]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม
การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้
การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง
ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๕๑]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๒] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๓]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๔]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๕]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๖]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๗]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๘]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๕๙]
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๖๐]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๖๑]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๒]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๓]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๔]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๕]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๖]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๗]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๘]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๙]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๗๐]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๗๑]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๒]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘)
โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๓] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๔]
ข้อ ๒๙[๗๕] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๖] สำนักพัฒนาสังคม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๗]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน
การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๘]
ข้อ ๓๑[๗๙] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๘๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง[๘๑]
ข้อ ๓๓[๘๒] สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดนโยบายด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งจัดทำแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๒) ควบคุม กำกับดูแล ประสาน ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ
ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๓) ดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การวางผังเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย ติดตามและประเมินผลส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
และพัฒนามาตรฐาน มาตรการกลไกด้านการผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔) ควบคุม ส่งเสริม และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๕) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๖) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) ดำเนินการสำรวจ รังวัด จัดทำแผนที่ และกำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครเพื่อการบริหาร
ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘) เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลของกรุงเทพมหานครด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๔[๘๓] สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) ปฏิบัติงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการ
(๑.๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของสำนัก ยกเว้นการจัดฝึกอบรม
(๑.๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี บริหารงบประมาณ ทะเบียนทรัพย์สิน และการพัสดุ
(๑.๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการประชุม งานประชาสัมพันธ์และโสตทัศนูปกรณ์
(๑.๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของสำนัก และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
งานนิติกรรมและสัญญา การดำเนินคดี งานพิจารณาอุทธรณ์ ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือ
หรือการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
(๑.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนัก
(๑.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับนโยบาย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๒) ประสานงาน ติดตามแผนงาน โครงการ ด้านการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ติดตามและประเมินผลแผนงาน โครงการตามตัวชี้วัด แผนพัฒนากรุงเทพมหานครและแผนพัฒนาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔) ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
(๒.๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ผังเมืองเฉพาะ วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ผังพัฒนาเขต การวางผังเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
และอื่น ๆ
(๒.๖) ให้บริการและเผยแพร่งานวิชาการด้านการผังเมือง ด้านการพัฒนาเมือง และองค์ความรู้ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
(๒.๗) จัดการสัมมนา อบรม ดูงาน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานด้านผังเมืองแก่บุคลากรทั้งในและนอกหน่วยงาน
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) สำนักงานภูมิสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) เป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมืองด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๓.๒) พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศด้านการผังเมืองและพัฒนาเมือง
(๓.๓) จัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บข้อมูลกายภาพ
ตลอดจนประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
(๓.๔) ดำเนินการสำรวจ รังวัดภาคพื้นและการสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม
เพื่อจัดทำและผลิตแผนที่มาตราส่วนต่าง ๆ ในระบบภูมิสารสนเทศ
(๓.๕) ดำเนินการสำรวจ รังวัด กำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร เพื่อการบริหาร
ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(๓.๖) ดำเนินการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแก่บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงาน
(๓.๗) พัฒนา ออกแบบ วางแผน ควบคุมและดูแลการเผยแพร่สารสนเทศทางระบบอินเทอร์เน็ต
(๓.๘) จัดวางระบบงานข้อมูลและระบบงานสถิติ เพื่อการบริหารข้อมูลเมืองและสนับสนุนการให้บริการข้อมูลสำหรับหน่วยงานภายใน
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานวางผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผนการพัฒนากายภาพของเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองและกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๒) ควบคุม กำกับดูแล ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง
เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๓) ดำเนินการวางและจัดทาผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง โดยกำหนดวิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทิศทางในการพัฒนาเมือง การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การจัดทำแผนและผังพัฒนาเขตและกลุ่มเขต วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ออกแบบวางผังและปฏิบัติให้เป็นไปตามผังพัฒนาพื้นที่ส่วนต่าง
ๆ ของเมืองด้วยวิธีการทางผังเมือง
(๔.๕) คิดค้นและพัฒนามาตรฐาน และมาตรการกลไกทางผังเมืองในการพัฒนาเมืองตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) ติดตาม ประเมินผลกระทบและสถานการณ์จากการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๗) ดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในกระบวนการด้านผังเมือง
(๔.๘) สร้างเครือข่ายประชาคมหรือเครือข่ายการพัฒนาเมืองระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานระดับต่าง
ๆ เพื่อความร่วมมือในงานด้านผังเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๙) การพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด
ผังเมืองและการรักษาสภาพแวดล้อม
(๔.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักงานพัฒนาและฟื้นฟูเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ออกแบบ และวางผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมืองรวม
ทั้งกำกับ ดูแล และบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน
ประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม
(๕.๒) การดำเนินการพัฒนาย่าน และหรือบริเวณพื้นที่เฉพาะแห่งของเมืองที่มีคุณค่า
หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณคดี และสถาปัตยกรรม รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งเขตเพลิงไหม้หรือพื้นที่ที่ประสบอุบัติภัยอื่น
ๆ เพื่อประสานและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนหรือผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๓) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการพัฒนาเมืองรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๔) การดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมบูรณะโบราณสถานและอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
รวมทั้งการรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพมหานครทั้งในอดีตและปัจจุบัน
(๕.๕) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ กำหนดคุณภาพ และมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมวิศวกรรม
และการผังเมือง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๖) ให้คำปรึกษา สนับสนุน และสำรวจออกแบบ เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๗) กำหนดมาตรฐานทางผังเมืองและอาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๘) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๙) วางแผนและบริหารการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนหรือผังการพัฒนา
เพื่อการอนุรักษ์ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๐) บริหารจัดการศูนย์นิทรรศการเมือง บริหารกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร
(๕.๑๑) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองควบคุมผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา พัฒนา
กำหนดกรอบแนวทางการจัดทำมาตรการ ข้อกฎหมาย และวิธีการทางผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมืองโดยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๖.๒) ดำเนินการพัฒนากฎหมายผังเมือง จัดทำและยกร่างข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ กฎกระทรวง
พระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๓) ควบคุม ส่งเสริม และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖.๔) วางแผนกำหนดแนวทางการปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๕) การติดตาม ประเมินผล ดำเนินการใช้บังคับและประสานการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
รวมทั้งวิเคราะห์ความเหมาะสมของข้อกฎหมายผังเมือง
(๖.๖) การบูรณาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครด้วยฐานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๔]
ข้อ ๓๕[๘๕]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๖] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๗]
ข้อ ๓๗[๘๘] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๙]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๘๐]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๘๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๓]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๘๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)[๑๘๖]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)[๑๘๗]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)[๑๘๘]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)[๑๘๙]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)[๑๙๐]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๑๙๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗
กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
ปวันวิทย์/เพิ่มเติม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๑
กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๒๔ มกราคม ๒๕๖๒
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๓] มาตรา
๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๔] มาตรา
๒ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๕] หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๓ ถึง มาตรา ๓ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๖] มาตรา
๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๗] มาตรา
๓ ทวิแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๘] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙] ข้อ ๕
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๐] ข้อ ๕ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๑๑] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๑๒] ข้อ ๕
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๓] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๑๔] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๕] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๖] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๗] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๘] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๙] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๐] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๑] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๒] ข้อ ๑๑
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๒๓] ข้อ ๑๑
(๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๒๔] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๕] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๖] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๗] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๘] ข้อ ๑๓
ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๙] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๓๐] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๑] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๒] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๓] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๔] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๕] หมวด
๑๑ สำนักการระบายน้ำ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)
[๓๖] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๗] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๘] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๙] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๓] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๘] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๙] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๐] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๑] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๖๐] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๗๐] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๗๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๔] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๖] ข้อ ๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๗] ข้อ ๓๐
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๘] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๐] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๑] หมวด
๑๙ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๘๒] มาตรา
๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๘๓]
มาตรา
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๖)
[๘๔] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๕] ข้อ ๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๖] ข้อ ๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๗] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๘] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๙] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า
๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗
ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐ มิถุนายน
๒๕๖๐
[๑๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔
ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๘๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑
[๑๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๓๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๓/๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๒๕/๓ กันยายน ๒๕๖๑
[๑๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง/หน้า ๑๙/๑๔ กันยายน ๒๕๖๑
[๑๙๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๔๑/๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
823631 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 108) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๘)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๑ เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการการกำหนดอำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักงานปกครองและทะเบียน
สังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ยกเลิกความในหมวด ๔ ข้อ ๕ (๑) และ (๕) แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๘ และ (ฉบับที่ ๖๔) ลงวันที่ ๗
พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑)
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) กำหนดทิศทางและแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์นโยบายของกรุงเทพมหานคร
และการติดตามรายงานการประเมินผล
(๑.๒)
พัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมกับบทบาทและภารกิจของกรุงเทพมหานครและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการฝึกอบรมพัฒนา
(๑.๓) ศึกษา
วิเคราะห์ นวัตกรรมด้านการบริหารและนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการเผยแพร่แนวคิดและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
(๑.๔)
ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษา อบรมดูงานทั้งในและต่างประเทศและเรียนรู้ด้วยตนเอง
(๑.๕) ศึกษา ค้นคว้า
และเผยแพร่วิทยาการบริหารสมัยใหม่และองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งผลิตและพัฒนำนวัตกรรมการเรียนรู้ให้มีความทันสมัย
(๑.๖) ออกแบบและเผยแพร่สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารและการพัฒนาคนในภาพรวม
(๑.๗)
บริหารจัดการความรู้ด้านการพัฒนาคน พัฒนางานที่ได้จากการศึกษา
วิจัยและส่งเสริมการนำความรู้ไปพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรม
(๑.๘)
เผยแพร่ข้อมูลความรู้และนวัตกรรมด้านการบริหารมหานคร
(๑.๙) ให้คำปรึกษาแนะนำการนำนวัตกรรมต่าง
ๆ มาใช้ประกอบการพัฒนา
(๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕)
สำนักงานปกครองและทะเบียนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) ศึกษา ปรับปรุง กำกับ ดูแล
ติดตามประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการปกครอง
การเลือกตั้ง และการทะเบียน
(๕.๒) ให้คำปรึกษา แนะนา
เสนอความเห็น และตอบข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๕.๓) ติดตาม สนับสนุน และดำเนินการตามยุทธศาสตร์
นโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตหรือแขวง
(๕.๕)
ประสานงาน อำนวยการ สนับสนุน และดำเนินการเลือกตั้งและการทำประชามติ
รวมทั้งสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(๕.๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานมูลนิธิ
สมาคม
(๕.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานการข่าว และงานกิจการมวลชน
(๕.๘) ควบคุม ติดตาม
ตรวจสอบและป้องกันการทุจริตทางการทะเบียน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน
ร้องทุกข์
(๕.๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการประสานราชการส่วนภูมิภาค
และสนับสนุนกิจการศาสนา
(๕.๑๐) จัดทำฐานข้อมูลด้านการปกครอง
การเลือกตั้ง การทะเบียน และความมั่นคงภายในเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
(๕.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๕ กันยายน ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๒ ง/หน้า ๒๔/๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
798012 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 100)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการการกำหนดอำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของกองการเจ้าหน้าที่ และกองประชาสัมพันธ์สังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ยกเลิกความในข้อ ๕ (๓) และ (๗) แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๓) สำนักงานการเจ้าหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓. งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔.
การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานประชาสัมพันธ์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง
ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖. บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗. พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร
และหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/จัดทำ
๔
พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796655 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 99)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ อนุมัติโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในการกำหนดอำนาจหน้าที่
และการกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้ยกเลิกความในหมวด ๑๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม
ข้อ
๒๐ สำนักสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑)
การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม พัฒนา และดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๒)
การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๓)
การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลงานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๔)
การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
(๕)
การบริหารจัดการมูลฝอย ของเสียอันตราย สิ่งปฏิกูลและไขมันของกรุงเทพมหานครทั้งระบบ
ตั้งแต่การจัดเก็บ รวบรวม นำไปใช้ประโยชน์ บำบัดและกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(๖)
การให้บริการสาธารณะด้านการรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร
(๗)
การตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง คุณภาพอากาศและเสียงจากแหล่งกำเนิด
(๘)
การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๙) การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และดูแลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๑๐)
การปฏิบัติงานในสถานการณ์พิเศษ เหตุภัยพิบัติ เหตุการณ์เร่งด่วนอย่างบูรณาการ
(๑๑)
การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ
๒๑ สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔)
กองกำจัดมูลฝอย
(๕)
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๖)
สำนักงานสวนสาธารณะ
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ
วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ภูมิกิติ/จัดทำ
๑๒
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๖
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๓๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
810841 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกาหนดอานาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 103)
| ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง
บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ
พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๕ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน
(๑) ของข้อ ๒ แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
(๑) ผู้มีรายได้น้อย ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล พ.ศ. ๒๕๓๗ ทั้งนี้
ให้หมายความรวมถึงผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐด้วย
ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ปิยะสกล สกลสัตยาทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ
๑๙๙ ง/หน้า ๒๓/๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ |
805866 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 101) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายใน
การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักการระบายน้ำ
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกความในหมวด
๑๑ ข้อ ๑๘ ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ และข้อ ๑๙ ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔) ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๒) ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม
และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ
อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำ
รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ
(๓) วางแผน ควบคุมและบริหารจัดการการระบายน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเค็มและภัยแล้งของกรุงเทพมหานคร
(๔) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการเกี่ยวกับการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ การปิด -
เปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำ การผลิตอุปกรณ์ท่อระบายน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
(๕) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำ
รวมถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและป้องกันสิ่งก่อสร้างมิให้รุกล้ำในคูคลอง
และแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำ จัดเก็บขยะ
วัชพืชและผักตบชวาในคูคลอง บึงรับน้ำและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗) บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
โดยการติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ
รวมทั้งรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมาบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานสากล
(๘) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการน้ำ
และควบคุมดูแลระบบโทรมาตรของกรุงเทพมหานคร
(๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือให้คำปรึกษา แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
การจัดการคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) จัดหา ควบคุม ให้บริการติดตั้ง
รวมทั้งซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ ทั้งชนิดไฟฟ้าและเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล
เครื่องมือกล และยานพาหนะต่าง ๆ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙
สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและบริหารงานทั่วไป
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง
การเงินและบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานพัสดุ
(๑.๗) งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๙) งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๐) งานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(๑.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ศึกษา
วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) ศึกษา
วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระดับชาติ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) วางแผน จัดทำ กำกับ
ติดตาม
วิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา
คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์
(๒.๕) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบระบายน้ำของพื้นที่ปิดล้อม (Polder) และก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่
รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ แก้มลิง
หรือธนาคารน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒.๖) กำหนดขนาดและระดับก้นท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒.๗) ติดตาม เฝ้าระวัง
ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
รวมทั้งบริหารศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
(๒.๘) พิจารณาอนุญาต
กำหนดรูปแบบและข้อกำหนดงานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำ ลำน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา
คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์
และงานปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๒.๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ
การศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมความรู้ ให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำในเมือง การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ควบคุมดูแลศูนย์บริหารจัดการน้ำกรุงเทพมหานคร
ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๓.๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารหน่วยงาน
และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
(๓.๓) จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและควบคุมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๔) วิเคราะห์และประยุกต์ใช้งาน
โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำในการวางแผน
ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับภาวะของน้ำท่วม
(๓.๕) วางแผน ควบคุม
ตรวจสอบและใช้งานเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดระบบโทรมาตร
(๓.๗) ตรวจสอบ
ปรับปรุงค่าระดับหมุดหลักฐานและเสาวัดระดับน้ำ (Staff Gauge)
(๓.๘) เป็นศูนย์สื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๙) กำหนดแนวทางการจัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศระบายน้ำและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานระบบควบคุมน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผน ก่อสร้าง
ซ่อมและบำรุงรักษาระบบอาคารบังคับน้ำ ได้แก่ อุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ
และประตูระบายน้ำ
(๔.๒) บริหารจัดการระบบอาคารบังคับน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำเค็ม
(๔.๓) บริหารจัดการแก้มลิง
เพื่อเป็นที่พักน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) วางแผนการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ
เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในคลอง
(๔.๕) ควบคุมระดับน้ำในคลอง
เพื่อการเดินเรือและการท่องเที่ยว
(๔.๖) ติดตั้ง ควบคุม
ซ่อมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ระบบแสงสว่าง
และระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอุโมงค์ทางลอดรถยนต์
(๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน
ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ
(๕.๒) วางแผน
ควบคุมและดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
(๕.๓) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการผลิตฝาบ่อพักและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ พร้อมปิด -
เปลี่ยนฝาบ่อพักและซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๔) วางแผน
ควบคุม และดำเนินการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำหนุนและน้ำท่วม
(๕.๕) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระบบท่อระบายน้ำ
และบ่อสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม
(๕.๖) วางแผน สำรวจ
ตรวจสอบและออกแบบระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองระบบคลอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) พัฒนาประสิทธิภาพคู คลอง
และแหล่งน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
(๖.๒) ก่อสร้างเขื่อนริมคลอง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๖.๓) พัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลและบำรุงรักษาคู
คลอง และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางน้ำ
(๖.๔) จัดเก็บขยะ
กำจัดวัชพืชผักตบชวาในคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๕) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำคู
คลอง บึงรับน้ำและป้องกันสิ่งก่อสร้างในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๖) พิจารณาอนุญาตสิ่งก่อสร้างผ่านคู
คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) ศึกษา
วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการด้านการจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) วางแผนและควบคุมการก่อสร้าง
การซ่อมและบำรุงรักษาโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗.๓) บริหารจัดการการเดินระบบรวบรวมน้ำเสีย
และระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๗.๔) เฝ้าระวัง ติดตามและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๗.๕) บริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
(๗.๖) ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๗.๗) สร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองเครื่องจักรกล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๘.๑) วางแผน
สำรวจ ออกแบบ ควบคุม กำกับดูแล จัดหา เก็บรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
อุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนระบบไฟฟ้าควบคุมพร้อมอุปกรณ์
(๘.๒) วางแผนกำหนดจุดติดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็วที่สามารถปฏิบัติงานในภารกิจเร่งด่วนตามแผนงานและกรณีฉุกเฉิน
(๘.๓) บริการติดตั้ง
เคลื่อนย้าย แก้ไข ดัดแปลง และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง
และยานพาหนะทุกประเภท
(๘.๔) บริการตรวจ ซ่อม
บำรุงรักษาติดตั้งดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินระบบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะทุกประเภทของหน่วยงาน และเครื่องสูบน้ำของสำนักงานเขต
(๘.๕) กำหนดมาตรฐาน
รายละเอียดคุณสมบัติเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล ยานพาหนะ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
ตู้ควบคุมไฟฟ้า ระบบเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท
(๘.๖) จัดหา
เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ตลอดจนเชื้อเพลิง สารหล่อลื่นของเครื่องสูบน้ำ
เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร
(๘.๗) จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล
เครื่องสูบน้ำ ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
(๘.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๐
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๓/๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
814279 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงกำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ไว้ดังนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์
ลงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๗
(๒) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๗
(๓) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์
(ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๘
(๔) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์
(ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๔๗
(๕) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์
เขตทางถนนราชดำริ (ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๗
ข้อ ๓ กำหนดที่จอดยานยนตร์ในช่วงนอกเวลาห้ามจอดรถในถนนสายต่าง
ๆ ดังนี้
(๑) ถนนทรงสวัสดิ์
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนเยาวราช
(๒) ถนนพาดสาย
ตั้งแต่แยกถนนเยาวพานิช ถึงแยกถนนทรงสวัสดิ์
(๓) ถนนเยาวพานิช
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนพาดสาย
(๔) ถนนทรงวาด
ตั้งแต่แยกถนนราชวงศ์ ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๕) ถนนมหาจักร
ตั้งแต่แยกถนนหลวง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๖) ถนนสันติภาพ
ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๗) ถนนไมตรีจิตต์
ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย ถึงแยกสะพานเจริญสวัสดิ์
(๘) ถนนมิตตพันธ์
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๙) ถนนรอบวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม
ฝั่งรอบนอกวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม
(๑๐) ถนนลาภุญไชย
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนเยาวราช
(๑๑) ซอยธนาคารกรุงเทพอุทิศ
ตั้งแต่แยกถนนเสือป่า ถึงแยกถนนพลับพลาไชย
(๑๒) ถนนยมราชสุขุม
ตั้งแต่แยกถนนวรจักร ถึงแยกถนนพลับพลาไชย
(๑๓) ถนนหลวง
ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๑๔) ถนนสาลีรัฐวิภาค
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนสุทธิสารวินิจฉัย
(๑๕) ถนนประดิพัทธ์
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนพระรามที่ ๖
(๑๖) ถนนรองเมือง
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนพระรามที่ ๑
(๑๗) ซอยรองเมือง ๑
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๑๘) ซอยรองเมือง ๒
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๑๙) ซอยรองเมือง ๓
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๒๐) ซอยรองเมือง ๔
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๒๑) ซอยรองเมือง ๕
ตั้งแต่แยกถนนจรัสเมือง ถึงแยกถนนพระรามที่ ๑
(๒๒) ถนนจรัสเมือง
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกถนนบรรทัดทอง
(๒๓) ถนนเจริญเมือง
แต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกถนนบรรทัดทอง
(๒๔) ถนนมหานคร
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนสี่พระยา
(๒๕) ถนนมหรรณพ
ตั้งแต่แยกถนนดินสอ ถึงแยกถนนตะนาว
(๒๖) ถนนบริพัตร
ตั้งแต่แยกถนนเยาวราช ถึงแยกถนนดารงรักษ์
(๒๗) ถนนพาหุรัด
ตั้งแต่แยกถนนบ้านหม้อ ถึงแยกถนนจักรเพชร
(๒๘) ถนนบูรพา
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนพาหุรัด
(๒๙) ถนนพระสุเมรุ
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงหน้าป้อมพระสุเมรุ
(๓๐) ถนนนครสวรรค์
ตั้งแต่แยกถนนจักรพรรดิพงษ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๓๑) ถนนบ้านหม้อ
ตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๓๒) ถนนวิสุทธิกษัตริย์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินนอก ถึงแยกถนนสามเสน
(๓๓) ถนนนครไชยศรี
ตั้งแต่แยกถนนสวรรคโลก ถึงแยกถนนสามเสน
(๓๔) ถนนประชาราษฎร์สาย ๒
ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์ ถึงแยกถนนประชาราษฎร์สาย ๑
(๓๕) ถนนท่าดินแดง
ตั้งแต่แยกถนนลาดหญ้า ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๓๖) ถนนรอบตลาดใต้สะพานรัชดาภิเษก (ตลาดพลู)
ตั้งแต่แยกถนนเทอดไท ถึงท่าน้ำคลองบางหลวง
(๓๗) ถนนรามบุตรี
ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์ ถึงแยกถนนตะนาว
(๓๘) ถนนพระอาทิตย์
ตั้งแต่ทางเข้าวัดสังเวช ถึงแยกถนนเจ้าฟ้า
(๓๙) ถนนอัษฎางค์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๔๐) ถนนมหาราช
ตั้งแต่หน้าโรงเรียนราชินี ถึงแยกถนนหน้าพระลาน
(๔๑) ถนนเจริญรัถ
ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงแยกถนนเจริญนคร
(๔๒) ถนนบางกอกน้อย - ตลิ่งชัน
ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงสะพานข้ามคลองชักพระ
(๔๓) ถนนเจ้าสาย (กะทะ)
ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๔) ถนนมังกร
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๕) ซอยพันธ์จิตต์
ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๖) ซอยนานา
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนไมตรีจิตต์
(๔๗) ถนนกรุงเกษม
ตั้งแต่แยกสะพานเจริญสวัสดิ์ ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๔๘) ถนนพลับพลาไชย
ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๔๙) ถนนพรานนก
ตั้งแต่แยกถนนอิสรภาพ ถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์
(๕๐) ถนนข้าวสาร
ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์ ถึงแยกถนนตะนาว
(๕๑) ถนนจักรพรรดิพงษ์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินนอก ถึงแยกถนนหลานหลวง
(๕๒) ถนนลูกหลวง
ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนหลานหลวง
(๕๓) ถนนอำนวยสงคราม
ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนพิชัย
(๕๔) ถนนประชาราษฎร์สาย ๑
ตั้งแต่เชิงสะพานพิบูลย์สงคราม ถึงเชิงสะพานพระรามที่ ๖
(๕๕) ถนนกรุงเทพ นนท์
ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์สาย ๒ ถึงทางรถไฟ
(๕๖) ถนนเฟื่องนคร
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนบำรุงเมือง
(๕๗) ถนนบุญศิริ
ตั้งแต่แยกถนนตะนาว ถึงแยกถนนอัษฎางค์
(๕๘) ถนนเจริญกรุง
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี
(๕๙) ถนนพระพิพิธ
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี
(๖๐) ถนนสนามไชย
ตั้งแต่แยกถนนมหาราช ถึงแยกถนนราชดำเนินใน
(๖๑) ซอยเศรษฐการ
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนมหาราช
(๖๒) ถนนดำรงรักษ์
ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๖๓) ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์)
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกซอยอารีย์ ๕
(๖๔) ถนนอรุณอัมรินทร์
ตั้งแต่แยกถนนพรานนก ถึงเชิงสะพานคลองมอญ
(๖๕) ถนนสารสิน
ตั้งแต่แยกถนนวิทยุ ถึงแยกถนนราชดำริ
(๖๖) เขตทางถนนราชดำริ
ตั้งแต่แยกถนนสารสิน ถึงบริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๖
ข้อ ๔ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในถนนสายต่าง
ๆ ตามข้อ ๓ ดังนี้
ประเภท
ชั่วโมงแรก/บาท
ชั่วโมงต่อไป/บาท
หมายเหตุ
1.
รถจักรยานยนตร์
2.
รถยนตร์ขนาดไม่เกิน ๔ ล้อ
3.
รถยนตร์ขนาด ๖ ล้อ
4.
รถยนตร์ขนาด ๘ ล้อ
5.
รถยนตร์ขนาด ๑๐ ล้อ
6.
รถยนตร์ขนาดเกิน ๑๐ ล้อ
๕
๑๐
๒๐
๓๐
๔๐
๕๐
๑๐
๒๐
๓๐
๔๐
๖๐
๘๐
เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
ข้อ ๕ ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์บริเวณเขตทางถนนราชดำริสำหรับยานยนตร์ทุกประเภทเฉพาะช่วงเวลา
๐๔.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. ของทุกวัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ
๒๓๘ ง/หน้า ๗/๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ |
812879 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ
ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
(๒)
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๑
สิงหาคม ๒๕๔๗
(๓)
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๓
กันยายน ๒๕๕๖
ข้อ
๓ การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้มี ๔ ประเภท ดังนี้
(๑)
ประเภทการจอดประจำ ๒๔ ชั่วโมง
(๒)
ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น.) โดยไม่รวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
(๓)
ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น.) โดยรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
๒๔ ชั่วโมง
(๔)
ประเภทการจอดชั่วคราว (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น.)
ข้อ
๔ ให้รถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดประจำ
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันดังนี้
(๑)
ประเภทการจอดประจำ ๒๔ ชั่วโมง เดือนละ ๔,๐๐๐ บาท
(๒)
ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น.) โดยไม่รวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
เดือนละ ๑,๕๐๐ บาท
(๓)
ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น.) โดยรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
๒๔ ชั่วโมง เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง เป็นอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ข้อ
๕ ให้ผู้ที่ประสงค์นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำติดต่อเพื่อขอมีบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยยื่นเอกสารประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์แสดงต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมและค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์
จำนวน ๓๐๐ บาท โดยค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวนนี้จะคืนให้
เมื่อยกเลิกการใช้บริการและคืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่ แต่จะริบไว้เป็นค่าปรับในกรณีที่ไม่คืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
หรือบัตรจอดยานยนต์สูญหาย หัก งอ หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตร
และในกรณีที่ประสงค์ใช้บริการจอดยานยนต์ต่อไป ให้ดำเนินการขอมีบัตรจอดยานยนต์พร้อมชำระค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์ทุกครั้ง
ในกรณีที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมรายเดือนแล้ว
ถ้าใช้สิทธิจอดยานยนต์ไม่ครบเดือนจะไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืนแต่อย่างใด
การนำยานยนต์เข้าและออกจากอาคารที่จอดยานยนต์จะต้องแสดงบัตรจอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ประจำตู้ทางเข้าและออกทุกครั้ง
พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ
๖ ให้รถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวได้ตั้งแต่เวลา
๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น. ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันดังนี้
(๑)
รถยนต์
(ก)
ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๒๐ บาท
(ข) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๓๐ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน
๓๐ นาที คิด ๑๕ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
(๒)
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์เกินกำหนดเวลา นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดแล้ว จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนดแม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม
โดยรถยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ ๑๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ
๗ ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวรับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้า
และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัดและให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ในกรณีบัตรจอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวสูญหาย
หัก งอ หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตรแล้ว
ผู้ถือบัตรหรือผู้ครอบครองยานยนต์ต้องชำระค่าปรับในกรณีนี้จำนวน ๓๐๐ บาท
ข้อ
๘ บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่จอดยานยนต์ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ประจำอาคารที่จอดยานยนต์ โดยให้ผู้แจ้งนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์เพื่อตรวจสอบพร้อมบันทึกสาเหตุการสูญหายตามแบบ
ปค. ๑๔ ก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ข้อ
๙ กรณีสิทธิการจอดประเภทจอดประจำในแต่ละเดือนสิ้นสุดลง
ให้ผู้ใช้บริการดำเนินการขอต่อสิทธิการจอดทันที
และหากวันที่สิ้นสุดสิทธิการจอดตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ดำเนินการต่อสิทธิการจอดล่วงหน้าก่อนวันหยุดนั้น
ๆ หากจอดรถไว้ภายในอาคารที่จอดยานยนต์ขณะที่สิทธิการจอดสิ้นสุดลง ต้องชำระค่าธรรมเนียม
รวมทั้งค่าธรรมเนียมเพิ่ม ตามอัตราและเงื่อนไขเช่นเดียวกับการจอดชั่วคราว
ข้อ
๑๐ อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นสถานที่สำหรับจอดยานยนต์เท่านั้น
กรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารที่จอดยานยนต์แห่งนี้ทั้งสิ้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๔
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๔๑/๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ |
812071 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 104) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๕/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการการกำหนดอำนาจหน้าที่
และการกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ดังนี้
๑.
ให้ยกเลิกความในหมวด ๒ ข้อ ๒ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด
๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ
๒ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) จัดประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร
และการประชุมต่าง ๆ ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) เป็นศูนย์กลางการประสานราชการด้านนโยบายระหว่างกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร
รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน
ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๕) เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลด้านการบริหารราชการของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ
๒ ทวิ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและธุรการทั่วไป
(๑.๒) งานการเจ้าหน้าที่
(๑.๓) งานการประชุม
(๑.๔) งานการคลังและงบประมาณ
(๑.๕) งานบัญชีและพัสดุ
(๑.๖) งานการผลิตเอกสารที่ใช้ในการประชุมต่าง
ๆ
(๑.๗) งานเผยแพร่ข่าวสาร
และข้อมูลประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
(๑.๘) งานต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและงานพิธีการต่าง
ๆ ของสำนักงาน
(๑.๙) ประสานงานพิธีการ รัฐพิธี
และพระราชพิธีกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๑.๑๐) จัดทำ ติดตาม
และรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงาน
(๑.๑๑) งานควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) ส่วนประสานนโยบาย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ดำเนินการด้านการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ
หรือกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน
(๒.๒) ดำเนินการด้านนโยบายและการตรวจราชการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ดำเนินการประสานงานกับสภากรุงเทพมหานคร รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔) ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมติคณะรัฐมนตรี
บันทึกสั่งการและคำสั่งต่าง ๆ
(๒.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) ส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ดำเนินการด้านการรับและตรวจสอบเรื่องร้องทุกข์
เรื่องร้องเรียน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๓.๒) ดำเนินการด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๓) ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๔) ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๓.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงานที่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และนอกสังกัดกรุงเทพมหานครเสนอ ตลอดจนเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของงานตามกฎหมาย
ระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อพิจารณาเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) ดำเนินการนัดหมาย
จัดวาระงาน ติดตามและอานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๓) ติดตามสถานการณ์
ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๔.๔) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๔.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กลุ่มงานเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑)
วิเคราะห์และกลั่นกรองงาน
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อกฎหมายระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อคิดเห็นเสนอต่อรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
ศึกษาและสรุปข้อเท็จจริงเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๓)
ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน ติดตามและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๔)
ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสรุปรายงานตามที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๕.๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๖) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
ให้ยกเลิกความในหมวด ๓ ข้อ ๓ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖) ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด
๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ
๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) ราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๒) งานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓) วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๕) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการกรุงเทพมหานคร
(๖) ดำเนินการตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓ ทวิ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
กองบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
งานด้านเลขานุการ
(๑.๒)
งานด้านบริหารทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ
(๑.๓)
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)
และการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการใน ก.ก. และ อ.ก.ก. ที่เกี่ยวข้อง
(๑.๔)
งานด้านการคลัง พัสดุ และครุภัณฑ์
(๑.๕)
งานการเจ้าหน้าที่และการดำเนินการใน อ.ก.ก. หน่วยงาน
(๑.๖)
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๗)
การจัดทำวารสารและรายงานประจำปี
(๑.๘) การดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายของสำนักงาน
ก.ก.
(๑.๙) การจัดทำ ติดตาม
รายงานและประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกองและของสำนักงาน
(๑.๑๐)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองสรรหาบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสรรหาและเลือกสรรข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าสู่ตำแหน่ง
(๒.๓) เป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) การสรรหาและเลือกสรรเพื่อรับทุนการศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน ตามความต้องการของกรุงเทพมหานคร
(๒.๕) การรับโอน การบรรจุกลับ
และการเปลี่ยนประเภทข้าราชการ
(๒.๖) การพัฒนาสายอาชีพนักทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบงานและการจ้างงานรูปแบบใหม่
(๓.๒) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน
(๓.๓) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓.๔) การกำหนดกรอบและทิศทางการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓.๕) การนำนวัตกรรมและเทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่ไปใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองอัตรากาลัง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) การจัดทำแผนกำลังคน
แผนสืบทอดตำแหน่ง แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
(๔.๓) การกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขและดำเนินการคัดเลือกบุคคลและประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญดารงตำแหน่งประเภททั่วไป
และประเภทวิชาการ
(๔.๕) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขและดำเนินการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๔.๗) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านภารกิจ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอัตรากาลังของกรุงเทพมหานคร
(๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕)
กองทะเบียนประวัติข้าราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
(๕.๒) การจัดทำฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
(๕.๓) ให้คำปรึกษา แนะนำทางด้านข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครแก่หน่วยงานและข้าราชการของกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) เป็นศูนย์กลางการรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๕) การตรวจสอบคำสั่ง
(๕.๖) การควบคุมและแก้ไขทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้.
(๖.๑) การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษามาตรฐานวินัยข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพิจารณา ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๓) การเสริมสร้างจริยธรรม
คุณธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๔) การเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ
ติดตามและดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรุงเทพมหานคร
(๖.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครอง
เนื่องจากการดำเนินการตามมติ ก.ก.
(๖.๖) การพิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงาน
ก.ก.
(๖.๗) การจัดทำ แก้ไข
ปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์ วิธีการ คำสั่ง
และหนังสือเวียนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การตรวจร่างสัญญา
และงานนิติการอื่น ๆ
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร
หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น
(๗.๓) การพัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๗.๔) การปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
(๗.๕) การให้คำปรึกษา แนะนำ
สนับสนุน ติดตามและประเมิน ผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
(๗.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วิวรรธน์/จัดทำ
๑๘ กันยายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๒๕/๓ กันยายน ๒๕๖๑ |
812873 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด บางลาภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู
ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒)
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๔ ให้รถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร และรถจักรยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันตามชนิดยานยนต์ ดังต่อไปนี้
(๑)
รถยนต์เดือนละ ๔,๐๐๐ บาท
(๒)
รถจักรยานยนต์เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๖ ให้รถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร และรถจักรยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวได้ตั้งแต่เวลา
๐๖.๐๐ น. ถึง ๐๒.๓๐ น. ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันตามชนิดยานยนต์
ดังต่อไปนี้
(๑)
รถยนต์
(ก)
ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๒๐ บาท
(ข) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๓๐ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐
นาที คิด ๑๕ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
(๒)
รถจักรยานยนต์
(ก)
ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๑๐ บาท
(ข) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๑๕ บาท เศษของชั่วโมง ถ้าไม่เกิน
๓๐ นาที คิด ๕ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
ให้ยานยนต์ซึ่งเข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวตั้งแต่เวลา
๒๑.๐๐ น. ถึง ๐๒.๓๐ น.
โดยในกรณีใช้ระยะเวลาการจอดยานยนต์ตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไปให้เสียค่าธรรมเนียมในลักษณะเหมาจ่ายต่อคันตามชนิดยานยนต์
ดังต่อไปนี้
(๑)
รถยนต์คันละ ๑๐๐ บาท
(๒)
รถจักรยานยนต์คันละ ๕๐ บาท
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์เกินกำหนดเวลา
นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดแล้ว
จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด แม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม
โดยรถยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ ๑๐๐ บาท และรถจักรยานยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ
๓๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๐
และข้อ ๑๑ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์
ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร
ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๔
ข้อ
๑๐ ให้ผู้ใช้บริการจอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำ
นำรถยนต์เข้าจอดได้เฉพาะบริเวณชั้น ๔ ชั้น ๕ ชั้น ๖ ชั้นดาดฟ้าและชั้นใต้ดิน
เว้นแต่กรณีจำเป็นให้จอดในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่แนะนำสำหรับรถจักรยานยนต์ให้จอดชั้นใต้ดิน
ข้อ
๑๑ กรณีสิทธิการจอดประเภทการจอดประจำในแต่ละเดือนสิ้นสุดลง
ให้ผู้ใช้บริการดำเนินการขอต่อสิทธิการจอดทันที
และหากวันที่สิ้นสุดสิทธิการจอดตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ดำเนินการต่อสิทธิการจอดล่วงหน้าก่อนวันหยุดนั้น
ๆ หากจอดรถไว้ภายในอาคารที่จอดยานยนต์ขณะที่สิทธิการจอดสิ้นสุดลง ต้องชำระค่าธรรมเนียม
รวมทั้งค่าธรรมเนียมเพิ่ม ตามอัตราและเงื่อนไขเช่นเดียวกับการจอดชั่วคราว
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๔
ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๓๙/๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ |
822902 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 107) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๗)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๘/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายใน
การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักพัฒนาสังคม เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้ยกเลิกความในหมวด
๑๗ ข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๘ และ (ฉบับที่ ๘๗) ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม
ข้อ
๒๙ สำนักพัฒนาสังคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
๒.
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓.
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยกำหนดเป็นแนวทาง
แผนการดำเนินการให้กับสำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔.
ส่งเสริม สนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นของรัฐ มูลนิธิต่าง ๆ NGOs และองค์กรต่างประเทศ
๕.
บริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
๖.
ส่งเสริมให้บุคคลมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
๗.
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของบุคคล
๘.
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก
สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบปัญหาทางสังคม
๙.
จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์คัดกรองช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก เพื่อจัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
๑๐.
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมของกรุงเทพมหานคร
๑๑.
ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓๐ สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑.
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
งานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒)
งานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการของสำนัก
(๑.๓)
งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔)
งานการเงิน และการบัญชี
(๑.๕)
งานบริหารงบประมาณ
(๑.๖)
งานพัสดุ
(๑.๗)
งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘)
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรมของสำนัก
(๑.๙)
งานดูแลอาคาร สถานที่ และยานพาหนะ
(๑.๑๐)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย และแผนปฏิบัติราชการของสำนัก
(๒.๒) ประสาน เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดสำนัก
(๒.๓)
ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสังคมของสำนักและสำนักงานเขต
(๒.๔) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา ผลิตเอกสาร คู่มือ
และสื่อการเรียนรู้สำหรับโครงการฝึกอบรมของสำนัก
(๒.๕)
สร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาสังคม
(๒.๖)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมของกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
กำหนดแนวทางในการจัดระบบ การสำรวจ การจัดเก็บการประมวลการใช้ประโยชน์
และการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสวัสดิการสังคม
(๒.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓.
สำนักงานการพัฒนาชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชนในทุกมิติ
ทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ
(๓.๒)
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีแผนแม่บทด้านการพัฒนาชุมชน กำหนดรูปแบบแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน
(๓.๓)
ดำเนินการจัดระเบียบชุมชน สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์ ชุมชน
และพัฒนากลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน
(๓.๔)
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่สถาบันครอบครัวจนถึงระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(๓.๕)
สร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมในทุกระดับ
(๓.๖)
สร้างกลไกในการติดตามการพัฒนาชุมชนตามแนวทางศาสตร์พระราชา
(๓.๗)
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำระบบมาตรฐานชุมชน
(๓.๘)
การจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการชุมชน
(๓.๙)
พัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ กฎหมาย แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนามนุษย์ชุมชนและสังคม
(๓.๑๐)
ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือในการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนและผู้มีรายได้น้อย
(๓.๑๑)
ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และนโยบายที่กำหนดโดยกำหนดเป็นแนวทาง
แผนการดำเนินการให้กับสำนักงานเขต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๓.๑๒)
ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจการเงิน ส่งเสริมวินัยการออม การบริหารรายได้ของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
(๓.๑๓)
ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนไปจนถึงสถาบันการเงินชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาการจัดตั้งกองทุนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชุมชน
และกองทุนตามนโยบายรัฐบาล
(๓.๑๔)
บูรณาการการทำงานสนับสนุนและประสานการปฏิบัติงานของสำนัก สำนักงานเขตและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
(๓.๑๕)
จัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนกรุงเทพมหานคร
(๓.๑๖)
แนะนำ ช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกี่ยวกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและประสานจัดหาที่อยู่อาศัย
(๓.๑๗)
ส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาและพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอื่นของรัฐ มูลนิธิต่าง ๆ NGOs และองค์กรต่างประเทศ
(๓.๑๘)
บริหารจัดการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
(๓.๑๙)
จัดทำและกำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยสำหรับรองรับสังคมผู้สูงอายุ
(๓.๒๐)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔.
สำนักงานการส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑)
ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพ
(๔.๒)
จัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน
(๔.๓)
ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
(๔.๔)
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
(๔.๕)
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
(๔.๖)
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนและช่องทางการจำหน่าย
(๔.๗)
ส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
(๔.๘)
ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี และให้คำปรึกษา แนะนำการนิเทศแก่โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครและศูนย์ฝึกอาชีพ
(๔.๙)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
(๔.๑๐) พัฒนาสมรรถนะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในการฝึกอบรมวิชาชีพ
(๔.๑๑)
สนับสนุนการฝึกอบรมวิชาชีพแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๔.๑๒)
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและการพัฒนาฝีมือแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔.๑๓)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕.
สำนักงานสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑)
ส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครโดยมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการและการสังคมสงเคราะห์แก่เด็ก
สตรี ครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบปัญหาทางสังคม
ให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ และได้รับสวัสดิการสังคมขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
(๕.๒)
ส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพให้แก่กลุ่มเด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว
ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ ให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีตามความเหมาะสม
(๕.๓)
จัดสวัสดิการในรูปของสถานสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน ศูนย์คัดกรองช่วยเหลือด้อยโอกาส ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก เพื่อจัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์
รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ตามความจำเป็นพื้นฐานอย่างเหมาะสม
(๕.๔)
ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดวางระบบและกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตามที่กฎหมายกำหนด
(๕.๕)
ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
และการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สตรี และเด็ก ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕.๖)
จัดสวัสดิการและให้การสงเคราะห์ตามระเบียบกรุงเทพมหานครและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสถาบันครอบครัว กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง
กฎหมายว่าด้วยความเท่าเทียมระหว่างเพศ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขอทาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
กฎหมายว่าด้วยหอพัก กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๗)
สนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก ภาคเอกชน
ภาคประชาชน และเครือข่ายองค์กรสวัสดิการสังคมทุกระดับ
(๕.๘)
งานการประชุม งานเลขานุการคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕.๙)
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๑
มกราคม ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๑๖ ง/หน้า ๑๒/๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
819101 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 106) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๑๐๖)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เห็นชอบปรับปรุงชื่อหน่วยงานจากสำนักผังเมืองเป็นสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
ปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในการกำหนดอำนาจหน้าที่และการกำหนดกรอบอัตรากำลังของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกความในหมวด ๑๙ ข้อ ๓๓ และข้อ ๓๔ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๒) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๐ และ (ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๑๙
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
ข้อ ๓๓ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กำหนดนโยบายด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งจัดทำแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๒) ควบคุม กำกับดูแล ประสาน ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ
ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๓) ดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การวางผังเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย ติดตามและประเมินผลส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
และพัฒนามาตรฐาน มาตรการกลไกด้านการผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔) ควบคุม ส่งเสริม และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๕) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๖) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) ดำเนินการสำรวจ รังวัด จัดทำแผนที่ และกำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครเพื่อการบริหาร
ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘) เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลของกรุงเทพมหานครด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓๔ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) ปฏิบัติงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๑.๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานเลขานุการ
(๑.๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคลของสำนัก ยกเว้นการจัดฝึกอบรม
(๑.๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี บริหารงบประมาณ ทะเบียนทรัพย์สิน และการพัสดุ
(๑.๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานการประชุม งานประชาสัมพันธ์และโสตทัศนูปกรณ์
(๑.๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายในความรับผิดชอบของสำนัก และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
งานนิติกรรมและสัญญา การดำเนินคดี งานพิจารณาอุทธรณ์ ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือ
หรือการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
(๑.๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานอาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนัก
(๑.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองนโยบายและแผนงาน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ให้สอดคล้องกับนโยบาย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร และแผนพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๒) ประสานงาน ติดตามแผนงาน โครงการ ด้านการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ติดตามและประเมินผลแผนงาน โครงการตามตัวชี้วัด แผนพัฒนากรุงเทพมหานครและแผนพัฒนาอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔) ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
(๒.๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ผังเมืองเฉพาะ วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ผังพัฒนาเขต การวางผังเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
และอื่น ๆ
(๒.๖) ให้บริการและเผยแพร่งานวิชาการด้านการผังเมือง ด้านการพัฒนาเมือง และองค์ความรู้ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
(๒.๗) จัดการสัมมนา อบรม ดูงาน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานด้านผังเมืองแก่บุคลากรทั้งในและนอกหน่วยงาน
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) สำนักงานภูมิสารสนเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) เป็นศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมืองด้านกายภาพ
ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านประชากร ด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง
และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารและบูรณาการข้อมูลเมืองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
(๓.๒) พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศด้านการผังเมืองและพัฒนาเมือง
(๓.๓) จัดระบบการสำรวจ การจัดเก็บข้อมูลกายภาพ
ตลอดจนประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ
(๓.๔) ดำเนินการสำรวจ รังวัดภาคพื้นและการสำรวจรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียม
เพื่อจัดทำและผลิตแผนที่มาตราส่วนต่าง ๆ ในระบบภูมิสารสนเทศ
(๓.๕) ดำเนินการสำรวจ รังวัด กำหนดแนวเขตโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร เพื่อการบริหาร
ควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(๓.๖) ดำเนินการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานวิชาการด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแก่บุคลากรภายในและภายนอกหน่วยงาน
(๓.๗) พัฒนา ออกแบบ วางแผน ควบคุมและดูแลการเผยแพร่สารสนเทศทางระบบอินเทอร์เน็ต
(๓.๘) จัดวางระบบงานข้อมูลและระบบงานสถิติ เพื่อการบริหารข้อมูลเมืองและสนับสนุนการให้บริการข้อมูลสำหรับหน่วยงานภายใน
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
(๓.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานวางผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผนการพัฒนากายภาพของเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองและกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๒) ควบคุม กำกับดูแล ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามแผนงานโครงการ ด้านการพัฒนากายภาพของเมือง
เพื่อการพัฒนาเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๔.๓) ดำเนินการวางและจัดทาผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง โดยกำหนดวิสัยทัศน์
ยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ทิศทางในการพัฒนาเมือง การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การจัดทำแผนและผังพัฒนาเขตและกลุ่มเขต วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ ออกแบบวางผังและปฏิบัติให้เป็นไปตามผังพัฒนาพื้นที่ส่วนต่าง
ๆ ของเมืองด้วยวิธีการทางผังเมือง
(๔.๕) คิดค้นและพัฒนามาตรฐาน และมาตรการกลไกทางผังเมืองในการพัฒนาเมืองตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) ติดตาม ประเมินผลกระทบและสถานการณ์จากการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(๔.๗) ดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคส่วนในกระบวนการด้านผังเมือง
(๔.๘) สร้างเครือข่ายประชาคมหรือเครือข่ายการพัฒนาเมืองระหว่างกรุงเทพมหานครกับหน่วยงานระดับต่าง
ๆ เพื่อความร่วมมือในงานด้านผังเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๙) การพิจารณาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด
ผังเมืองและการรักษาสภาพแวดล้อม
(๔.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) สำนักงานพัฒนาและฟื้นฟูเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ออกแบบ และวางผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมืองรวม
ทั้งกำกับ ดูแล และบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน
ประชาชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในทิศทางที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรม
(๕.๒) การดำเนินการพัฒนาย่าน และหรือบริเวณพื้นที่เฉพาะแห่งของเมืองที่มีคุณค่า
หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณคดี และสถาปัตยกรรม รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งเขตเพลิงไหม้หรือพื้นที่ที่ประสบอุบัติภัยอื่น
ๆ เพื่อประสานและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนหรือผัง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๓) ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการพัฒนาเมืองรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุม กำกับ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕.๔) การดูแล บำรุงรักษา และซ่อมแซมบูรณะโบราณสถานและอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
รวมทั้งการรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพมหานครทั้งในอดีตและปัจจุบัน
(๕.๕) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ กำหนดคุณภาพ และมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมวิศวกรรม
และการผังเมือง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๖) ให้คำปรึกษา สนับสนุน และสำรวจออกแบบ เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๗) กำหนดมาตรฐานทางผังเมืองและอาคารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอนุรักษ์ ปรับปรุง
ฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง
(๕.๘) กำหนดคุณภาพและมาตรฐานการก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการผังเมืองเพื่อการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๙) วางแผนและบริหารการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนหรือผังการพัฒนา
เพื่อการอนุรักษ์ปรับปรุง
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๐) บริหารจัดการศูนย์นิทรรศการเมือง บริหารกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร
(๕.๑๑) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์
ปรับปรุง ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง
(๕.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองควบคุมผังเมือง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา พัฒนา
กำหนดกรอบแนวทางการจัดทำมาตรการ ข้อกฎหมาย และวิธีการทางผังเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานผังเมืองโดยหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๖.๒) ดำเนินการพัฒนากฎหมายผังเมือง จัดทำและยกร่างข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ กฎกระทรวง
พระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๓) ควบคุม ส่งเสริม และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖.๔) วางแผนกำหนดแนวทางการปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
(๖.๕) การติดตาม ประเมินผล ดำเนินการใช้บังคับและประสานการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
รวมทั้งวิเคราะห์ความเหมาะสมของข้อกฎหมายผังเมือง
(๖.๖) การบูรณาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครด้วยฐานข้อมูลสารสนเทศของศูนย์เทคโนโลยีข้อมูลเมือง
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๔๑/๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
794408 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 98)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติ
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ เห็นชอบการจัดตั้งโรงพยาบาลคลองสามวาเป็นส่วนราชการใหม่
สังกัดสำนักการแพทย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔) ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และ (ฉบับที่ ๙๗) ลงวันที่ ๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๓) ของข้อ ๑๑
(๑๓) โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ภวรรณตรี/จัดทำ
๑๑ มกราคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑ |
806836 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 3/01/2561) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒]
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔] กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖] สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง
กำกับติดตาม ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง
การทะเบียนราษฎร การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน
ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ การรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๘] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๑] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๒]
ข้อ ๘[๑๓]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๔]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๕] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๑๖] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๑๗] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒) พัฒนาระบบบริการสุขภาพ
คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔) ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข
และบริการทางวิชาการ
(๒.๕) พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗) บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)[๑๘]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๙]
ขอ ๑๒[๒๐] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๑]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๒] สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๓] ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๔] สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน
นิเทศ กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง สอบสวน
ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ
ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๕]
ข้อ ๑๔[๒๖] สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๗]
(๑)
สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ห้องสมุดสำนักการศึกษา
สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ งานกฎหมาย
นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕) ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การสรรหา ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ
ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๘] หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๙] สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย
พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย ความจำเป็น
และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม
ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๓๐] สำนักการศึกษา
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๑] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๒] สำนักการโยธา
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๓] สำนักการระบายน้ำ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๔] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๕]
ข้อ ๒๐[๓๖] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๗] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๘]
ข้อ ๒๒[๓๙] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๔๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๑]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
และให้บริการที่พัก (ค้างแรม) ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๔๒]
ข้อ ๒๔[๔๓] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๔] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๕]
ข้อ ๒๖[๔๖] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๗] สำนักเทศกิจ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๔๘]
ข้อ ๒๗[๔๙]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย
ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง
ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต
การจัดทำ ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย
ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง
การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail
อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย)
การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี
การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา
(ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด
แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด)
ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๕๐]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๑] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๒] โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๓] (ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๔] (ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๕] โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๖] โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๗] โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๕๘] โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๙] โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๖๐] โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๑] โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๒] โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๓] โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๔] โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๕] โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๖] โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๗] โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๘] โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๖๙]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๗๐] โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๑] โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๒] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๓]
ข้อ ๒๙[๗๔] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๕] สำนักพัฒนาสังคม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๖] กองส่งเสริมอาชีพ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๗]
ข้อ ๓๑[๗๘] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๙] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๘๐]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๘๑] สำนักผังเมือง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๘๒] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๓]
ข้อ ๓๕[๘๔]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๕] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๖]
ข้อ ๓๗[๘๗]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม
จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๘]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๓]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๗๙]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๘๐]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๓]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๘๔]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗ กรกฎาคม
๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓ ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓ ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๙] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๖] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๗] ข้อ ๑๑
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๑๘] ข้อ ๑๑
(๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๑๙] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๐] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๑] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๒] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๓] ข้อ ๑๓
ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๔] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๕] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๖] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๗] ข้อ ๑๔
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๘] ข้อ ๑๔
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๙] ข้อ ๑๔
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๐] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๓๑] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๒] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๓] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๔] ข้อ ๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๕] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๒] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๘] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๙] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๐] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๕๙] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๖๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๙] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๗๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๓] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๕] ข้อ ๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๖] ข้อ ๓๐
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๗] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๘] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๐] หมวด ๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๘๑] ข้อ ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๘๒] ข้อ ๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๓] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๔] ข้อ ๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๕] ข้อ ๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๖] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๗] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๘] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า
๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗
ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐
มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔
ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๘๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑ |
808260 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/02/2561) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒]
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔] กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓)[๖] สำนักงานการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓.
งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔. การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่
ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๗] สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง
กำกับติดตาม ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง
การทะเบียนราษฎร การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน
ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ การรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๘] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน
ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)[๙] สำนักงานประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง
ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖.
บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗.
พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘.
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๑๐] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๑๑] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๒] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๓] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๔]
ข้อ ๘[๑๕]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ
ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๖]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๗] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๑๘] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ
การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๑๙] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔)
ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข และบริการทางวิชาการ
(๒.๕)
พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)[๒๐]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๒๑]
ขอ ๑๒[๒๒] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๓]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๔] สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๕] ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๖] สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๗]
ข้อ ๑๔[๒๘] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๙]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๓๐] หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๓๑] สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง
ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๓๒] สำนักการศึกษา
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๓] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๔] สำนักการโยธา
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๕] สำนักการระบายน้ำ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๖] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๗]
ข้อ ๒๐[๓๘] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๙] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๔๐]
ข้อ ๒๒[๔๑] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๔๒] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๓]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๔๔]
ข้อ ๒๔[๔๕] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๖] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๗]
ข้อ ๒๖[๔๘] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๙] สำนักเทศกิจ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๕๐]
ข้อ ๒๗[๕๑]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น
ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ
กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๕๒]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๓] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๔] โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๕] (ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๖] (ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๗] โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๘] โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๙] โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๖๐] โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๖๑] โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๖๒] โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๓] โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๔] โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๕] โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๖] โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๗] โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๘] โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๙] โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๗๐] โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๗๑]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๗๒] โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๓] โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘)
โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๔] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๕]
ข้อ ๒๙[๗๖] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๗] สำนักพัฒนาสังคม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๘] กองส่งเสริมอาชีพ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๙]
ข้อ ๓๑[๘๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๘๑] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๘๒]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้
ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๘๓] สำนักผังเมือง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๘๔] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๕]
ข้อ ๓๕[๘๖]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๗]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๘]
ข้อ ๓๗[๘๙]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม
จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๙๐]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๘๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๘๒]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๔]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๘๖]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐) [๑๘๗]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน
๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗
กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓ ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓ ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๗] ข้อ ๕ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๘] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๙] ข้อ ๕ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๐] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๑๑] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๓] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๔] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๖] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๘] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๙] ข้อ
๑๑ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๒๐] ข้อ
๑๑ (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๒๑] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๒] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๓] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๔] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๕] ข้อ
๑๓ ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๖] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๗] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๘] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๙] ข้อ
๑๔ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๐] ข้อ
๑๔ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๑] ข้อ
๑๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๒] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๓๓] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๔] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๕] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๖] ข้อ ๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๗] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๔] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๘] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๙] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๐] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๑] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๒] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๖๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๖๑] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๖๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๗๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๗๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๗๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๕] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๖] ข้อ
๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๗] ข้อ ๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๘] ข้อ
๓๐ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๙] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๐] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๑] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๒] หมวด ๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๘๓] ข้อ ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๘๔] ข้อ ๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๕] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๖] ข้อ ๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๗] ข้อ ๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๘] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๙] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๐] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า
๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ
๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ
๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐
มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔
ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๘๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑
[๑๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
828143 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 8/06/2561) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒]
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔] กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓)[๖] สำนักงานการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓.
งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔. การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่
ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๗] สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง
กำกับติดตาม ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง
การทะเบียนราษฎร การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน
ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ การรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๘] สำนักงานตรวจสอบภายใน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน
ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)[๙] สำนักงานประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง
ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖. บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗.
พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘.
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๑๐] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๑๑] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๒] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๓] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๔]
ข้อ ๘[๑๕]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ
ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๖]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๗] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๑๘] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ
การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๑๙] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔)
ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข และบริการทางวิชาการ
(๒.๕)
พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)[๒๐]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๒๑]
ขอ ๑๒[๒๒] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๓] การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๔] สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๕] ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๖] สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม การผลิตยาประเภทต่าง
ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๗]
ข้อ ๑๔[๒๘] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๙]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ
MIS ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๓๐] หน่วยศึกษานิเทศก์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๓๑] สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง
ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง
ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้
การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน
การขออนุมัติเดินทางไปราชการ การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ
และบุคลากรทางการศึกษา การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๓๒] สำนักการศึกษา
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๓] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๔] สำนักการโยธา
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ[๓๕]
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๒) ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม
และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ
อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำ
รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ
(๓) วางแผน ควบคุมและบริหารจัดการการระบายน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเค็มและภัยแล้งของกรุงเทพมหานคร
(๔) วางแผน ควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ
บ่อสูบน้ำ การปิด - เปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำ การผลิตอุปกรณ์ท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
(๕) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำ
รวมถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและป้องกันสิ่งก่อสร้างมิให้รุกล้ำในคูคลอง
และแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำ จัดเก็บขยะ วัชพืชและผักตบชวาในคูคลอง
บึง รับน้ำและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗) บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการติดตาม
เฝ้าระวัง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ
รวมทั้งรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมาบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานสากล
(๘) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการน้ำ
และควบคุมดูแลระบบโทรมาตรของกรุงเทพมหานคร
(๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การจัดการคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) จัดหา ควบคุม ให้บริการติดตั้ง
รวมทั้งซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ ทั้งชนิดไฟฟ้าและเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล
เครื่องมือกล และยานพาหนะต่าง ๆ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและบริหารงานทั่วไป
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง การเงินและบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานพัสดุ
(๑.๗) งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๙) งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๐) งานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(๑.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) ศึกษา วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระดับชาติ
และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) วางแผน จัดทำ กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย
และคลองมหาสวัสดิ์
(๒.๕) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำของพื้นที่ปิดล้อม (Polder) และก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ
แก้มลิง หรือธนาคารน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒.๖) กำหนดขนาดและระดับก้นท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒.๗) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
รวมทั้งบริหารศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
(๒.๘) พิจารณาอนุญาต กำหนดรูปแบบและข้อกำหนดงานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์
และงานปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๒.๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ การศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม
เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมความรู้ ให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำในเมือง
การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ควบคุมดูแลศูนย์บริหารจัดการน้ำกรุงเทพมหานคร
ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๓.๒) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารหน่วยงาน
และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
(๓.๓) จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและควบคุมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๔) วิเคราะห์และประยุกต์ใช้งาน
โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำในการวางแผน
ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับภาวะของน้ำท่วม
(๓.๕) วางแผน ควบคุม
ตรวจสอบและใช้งานเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดระบบโทรมาตร
(๓.๗) ตรวจสอบ ปรับปรุงค่าระดับหมุดหลักฐานและเสาวัดระดับน้ำ (Staff Gauge)
(๓.๘) เป็นศูนย์สื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๙)
กำหนดแนวทางการจัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศระบายน้ำและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานระบบควบคุมน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผน ก่อสร้าง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบอาคารบังคับน้ำ ได้แก่
อุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำ
(๔.๒) บริหารจัดการระบบอาคารบังคับน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำเค็ม
(๔.๓) บริหารจัดการแก้มลิง เพื่อเป็นที่พักน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) วางแผนการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในคลอง
(๔.๕) ควบคุมระดับน้ำในคลอง เพื่อการเดินเรือและการท่องเที่ยว
(๔.๖) ติดตั้ง ควบคุม ซ่อมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ระบบแสงสว่าง
และระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอุโมงค์ทางลอดรถยนต์
(๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ
(๕.๒) วางแผน ควบคุมและดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
(๕.๓) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการผลิตฝาบ่อพักและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ พร้อมปิด -
เปลี่ยนฝาบ่อพักและซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๔) วางแผน ควบคุม และดำเนินการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำหนุนและน้ำท่วม
(๕.๕) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระบบท่อระบายน้ำ
และบ่อสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม
(๕.๖) วางแผน สำรวจ ตรวจสอบและออกแบบระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองระบบคลอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) พัฒนาประสิทธิภาพคู คลอง
และแหล่งน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
(๖.๒) ก่อสร้างเขื่อนริมคลอง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๖.๓)
พัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลและบำรุงรักษาคู
คลอง และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางน้ำ
(๖.๔) จัดเก็บขยะ กำจัดวัชพืชผักตบชวาในคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๕) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำคู คลอง
บึงรับน้ำและป้องกันสิ่งก่อสร้างในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๖) พิจารณาอนุญาตสิ่งก่อสร้างผ่านคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการด้านการจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) วางแผนและควบคุมการก่อสร้าง
การซ่อมและบำรุงรักษาโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗.๓) บริหารจัดการการเดินระบบรวบรวมน้ำ เสีย
และระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๗.๔) เฝ้าระวัง
ติดตามและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๗.๕) บริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
(๗.๖) ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๗.๗)
สร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองเครื่องจักรกล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๘.๑) วางแผน สำรวจ ออกแบบ ควบคุม กำกับดูแล จัดหา
เก็บรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนระบบไฟฟ้าควบคุมพร้อมอุปกรณ์
(๘.๒)
วางแผนกำหนดจุดติดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็วที่สามารถปฏิบัติงานในภารกิจเร่งด่วนตามแผนงานและกรณีฉุกเฉิน
(๘.๓) บริการติดตั้ง เคลื่อนย้าย แก้ไข ดัดแปลง
และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และยานพาหนะทุกประเภท
(๘.๔) บริการตรวจ ซ่อม บำรุงรักษาติดตั้งดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินระบบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะทุกประเภทของหน่วยงาน และเครื่องสูบน้ำของสำนักงานเขต
(๘.๕) กำหนดมาตรฐาน รายละเอียดคุณสมบัติเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
ยานพาหนะ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ระบบเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท
(๘.๖) จัดหา เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ตลอดจนเชื้อเพลิง
สารหล่อลื่นของเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร
(๘.๗) จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ
ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
(๘.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๖]
ข้อ ๒๐[๓๗] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๘] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๙]
ข้อ ๒๒[๔๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๔๑] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๒]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
และให้บริการที่พัก (ค้างแรม) ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๔๓]
ข้อ ๒๔[๔๔] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๕] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๖]
ข้อ ๒๖[๔๗] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๘] สำนักเทศกิจ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๔๙]
ข้อ ๒๗[๕๐]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย
ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง
ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต
การจัดทำ ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย
ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง
การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail
อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย)
การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี
การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา
(ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด
แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด)
ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๕๑]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๒] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๓] โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๔] (ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๕] (ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๖] โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๗] โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๘] โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๕๙] โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๖๐] โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๖๑] โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๒] โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๓] โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๔] โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๕] โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๖] โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๗] โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๘] โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๙] โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๗๐]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๗๑] โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๒] โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๓] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๔]
ข้อ ๒๙[๗๕] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๖] สำนักพัฒนาสังคม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๗] กองส่งเสริมอาชีพ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๘]
ข้อ ๓๑[๗๙] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๘๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๘๑]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๘๒] สำนักผังเมือง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๘๓] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๔]
ข้อ ๓๕[๘๕]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๖] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๗]
ข้อ ๓๗[๘๘]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม
จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๙]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๘๐]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๘๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๓]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๘๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)[๑๘๖]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)[๑๘๗]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗
กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
ปวันวิทย์/เพิ่มเติม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๑
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓ ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓ ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๗] ข้อ ๕ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๘] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๙] ข้อ ๕
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๐] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๑๑] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๓] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๔] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๖] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๘] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๙] ข้อ ๑๑
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๒๐] ข้อ ๑๑
(๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๒๑] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๒] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๓] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๔] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๕] ข้อ ๑๓
ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๖] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๗] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๘] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๙] ข้อ ๑๔
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๐] ข้อ ๑๔
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๑] ข้อ ๑๔
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๓๒] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๓๓] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๔] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๕] หมวด
๑๑ สำนักการระบายน้ำ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)
[๓๖] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๓] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๘] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๙] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๐] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๑] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๖๐] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๗๐] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๗๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๔] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๖] ข้อ ๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๗] ข้อ ๓๐
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๘] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๐] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๑] หมวด ๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๘๒] ข้อ ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๘๓] ข้อ ๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๔] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๕] ข้อ ๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๖] ข้อ ๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๗] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๘] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๙] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙
ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗
ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐
มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑
[๑๘๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๓/๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
799208 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/10/2560) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๘] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๙]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๑] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๒]
ข้อ ๘[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๔] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๕] สำนักการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๑๖] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๑๗] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒) พัฒนาระบบบริการสุขภาพ
คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔) ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข
และบริการทางวิชาการ
(๒.๕) พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗) บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๘]
ขอ ๑๒[๑๙] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๐] การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๑]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๒]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย
๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๓]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย การนิเทศติดตาม
และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๔]
ข้อ ๑๔[๒๕] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๖]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประกาศเกียรติคุณประเภท
๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๗]
หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๘]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง
ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๙] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๐] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๑] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๒] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๓] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๔]
ข้อ ๒๐[๓๕] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๖] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๗]
ข้อ ๒๒[๓๘] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๙] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๐]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๔๑]
ข้อ ๒๔[๔๒] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๓] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๔]
ข้อ ๒๖[๔๕] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๖] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๗]
ข้อ ๒๗[๔๘]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น
ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน
การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ
การเงิน การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.
๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๙] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๐] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๑]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๒]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๓]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๔]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๕]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๖]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๕๗]
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๘]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๙]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๐]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๑]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๒]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๓]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๔]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๕]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๖]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๗]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๖๘]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๙]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๐]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๑]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๒]
ข้อ ๒๙[๗๓] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๔] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๕]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๖]
ข้อ ๓๑[๗๗] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๘] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๙]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้
ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๘๐] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๘๑] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๒]
ข้อ ๓๕[๘๓] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๔] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๕]
ข้อ ๓๗[๘๖] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๗] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๒]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๗๘]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๗๙]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๒]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗ ธันวาคม
๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑ มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] ข้อ ๕
(๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๙] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๖] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๗] ข้อ ๑๑ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๑๘] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๙] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๐] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๑] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๒] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๓] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๔] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๕] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๖] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๘] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๙] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๓๐] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๑] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๒] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๓] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๔] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๑] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๘] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๙] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑ สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๕๘] หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๖๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๒] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๓] ข้อ ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๔] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๖] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๗] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๘] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๘๐] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๘๑] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๒] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๓] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๔] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๕] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๖] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๗] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
842212 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/09/2561) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[๒]
ข้อ ๒[๓]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) จัดประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมต่าง ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓)
เป็นศูนย์กลางการประสานราชการด้านนโยบายระหว่างกรุงเทพมหานครกับสภากรุงเทพมหานคร
รัฐสภา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียน ข้อคิดเห็น
และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๕)
เป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลด้านการบริหารราชการของคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒ ทวิ[๔]
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและธุรการทั่วไป
(๑.๒) งานการเจ้าหน้าที่
(๑.๓) งานการประชุม
(๑.๔) งานการคลังและงบประมาณ
(๑.๕) งานบัญชีและพัสดุ
(๑.๖) งานการผลิตเอกสารที่ใช้ในการประชุมต่าง ๆ
(๑.๗) งานเผยแพร่ข่าวสาร และข้อมูลประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
(๑.๘)
งานต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและงานพิธีการต่าง
ๆ ของสำนักงาน
(๑.๙) ประสานงานพิธีการ รัฐพิธี
และพระราชพิธีกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๑.๑๐) จัดทำ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงาน
(๑.๑๑) งานควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) ส่วนประสานนโยบาย มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ดำเนินการด้านการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และการประชุมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ
หรือกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน
(๒.๒)
ดำเนินการด้านนโยบายและการตรวจราชการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) ดำเนินการประสานงานกับสภากรุงเทพมหานคร รัฐสภา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมติคณะรัฐมนตรี
บันทึกสั่งการและคำสั่งต่าง ๆ
(๒.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) ส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ดำเนินการด้านการรับและตรวจสอบเรื่องร้องทุกข์ เรื่องร้องเรียน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับราชการกรุงเทพมหานคร
(๓.๒)
ดำเนินการด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๓)
ดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
(๓.๔)
ดำเนินการในฐานะศูนย์ข้อมูลด้านเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายการเมือง
(๓.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงานที่หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
และนอกสังกัดกรุงเทพมหานครเสนอ ตลอดจนเรื่องที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของงานตามกฎหมาย
ระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อพิจารณาเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอานวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔.๓) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๔.๔) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๔.๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕)
กลุ่มงานเลขานุการรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วิเคราะห์และกลั่นกรองงาน
โดยวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องของข้อกฎหมายระเบียบหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
พร้อมข้อคิดเห็นเสนอต่อรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
ศึกษาและสรุปข้อเท็จจริงเรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายให้ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๓) ดำเนินการนัดหมาย จัดวาระงาน
ติดตามและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) ติดตามสถานการณ์ ประสานงาน ค้นหาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อสรุปรายงานตามที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายสำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
(๕.๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๖) ติดตามนโยบายหรือเรื่องที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร[๕]
ข้อ ๓[๖] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑)
ราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๒)
งานในหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓) วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) จัดทำยุทธศาสตร์
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๕)
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการกรุงเทพมหานคร
(๖)
ดำเนินการตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๗] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานด้านเลขานุการ
(๑.๒) งานด้านบริหารทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ
(๑.๓)
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.)
และการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการใน ก.ก. และ อ.ก.ก. ที่เกี่ยวข้อง
(๑.๔) งานด้านการคลัง พัสดุ และครุภัณฑ์
(๑.๕) งานการเจ้าหน้าที่และการดำเนินการใน อ.ก.ก. หน่วยงาน
(๑.๖) งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๗) การจัดทำวารสารและรายงานประจำปี
(๑.๘) การดำเนินการศูนย์ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายของสำนักงาน ก.ก.
(๑.๙) การจัดทำ ติดตาม รายงานและประเมินผลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกองและของสำนักงาน
(๑.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) กองสรรหาบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑)
การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อการสรรหาและเลือกสรรข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าสู่ตำแหน่ง
(๒.๓)
เป็นศูนย์กลางในการประสานการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) การสรรหาและเลือกสรรเพื่อรับทุนการศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงาน
ตามความต้องการของกรุงเทพมหานคร
(๒.๕) การรับโอน การบรรจุกลับ และการเปลี่ยนประเภทข้าราชการ
(๒.๖) การพัฒนาสายอาชีพนักทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองพัฒนาระบบราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบงานและการจ้างงานรูปแบบใหม่
(๓.๒) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบบริหารผลงานและการบริหารค่าตอบแทน
(๓.๓) การวิเคราะห์ วิจัย ดำเนินการ
ติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๓.๔) การกำหนดกรอบและทิศทางการขับเคลื่อนการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓.๕)
การนำนวัตกรรมและเทคนิคทางการบริหารสมัยใหม่ไปใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองอัตรากาลัง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๔.๒) การจัดทำแผนกำลังคน แผนสืบทอดตำแหน่ง
แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
(๔.๓)
การกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งและมาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการคัดเลือกบุคคลและประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญดารงตำแหน่งประเภททั่วไป
และประเภทวิชาการ
(๔.๕) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๔.๖) การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไขและดำเนินการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๔.๗) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านภารกิจ
โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอัตรากาลังของกรุงเทพมหานคร
(๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การเป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
(๕.๒)
การจัดทำฐานข้อมูลและประมวลผลข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
(๕.๓) ให้คำปรึกษา
แนะนำทางด้านข้อมูลทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครแก่หน่วยงานและข้าราชการของกรุงเทพมหานคร
(๕.๔) เป็นศูนย์กลางการรักษาทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๕) การตรวจสอบคำสั่ง
(๕.๖) การควบคุมและแก้ไขทะเบียนประวัติข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้.
(๖.๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษามาตรฐานวินัยข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพิจารณา ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๓) การเสริมสร้างจริยธรรม
คุณธรรมและจรรยาบรรณข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๔) การเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ
ติดตามและดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรุงเทพมหานคร
(๖.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครอง เนื่องจากการดำเนินการตามมติ
ก.ก.
(๖.๖)
การพิจารณาและทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียนของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงาน
ก.ก.
(๖.๗) การจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับหลักเกณฑ์ วิธีการ คำสั่ง
และหนังสือเวียนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การตรวจร่างสัญญา และงานนิติการอื่น ๆ
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร
กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น
(๗.๓) การพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
(๗.๔) การปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร
(๗.๕) การให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ติดตามและประเมิน
ผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
(๗.๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๘]
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓)[๙]
สำนักงานการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๒. งานทางด้านวินัยและคดีบุคคล
๓.
งานสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลอื่นของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
๔.
การบริหารทรัพยากรบุคคลของลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ ก.ก. กำหนด
๕. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๑๐] สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง
กำกับติดตาม ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง
การทะเบียนราษฎร การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน
ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ การรักษาความสงบเรียบร้อย
งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๑๑] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ การตรวจสอบการบริหาร
การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ ให้คำปรึกษา
แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)[๑๒]
สำนักงานประชาสัมพันธ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
๑. จัดทำแผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
และติดตามประเมินผล
๒. วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร
๓.
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ
๔. ออกแบบ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พัฒนาเนื้อหา รูปแบบ
ช่องทางและวิธีการนำเสนอสื่อและกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร
๕. ติดตาม ตรวจสอบสถานการณ์ วิเคราะห์
และบริหารจัดการประเด็นที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๖.
บริหารจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
๗.
พัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครและผู้เกี่ยวข้อง
๘.
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะด้านการประชาสัมพันธ์แก่ผู้บริหาร และหน่วยงานต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานคร
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๑๓] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๑๔] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๕] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๖] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๗]
ข้อ ๘[๑๘] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๙]
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๒๐] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๒๑] สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี
การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)[๒๒] สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒)
พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓)
เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔)
ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข และบริการทางวิชาการ
(๒.๕)
พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗)
บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)[๒๓]
โรงพยาบาลคลองสามวา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๑๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๑๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๑๓.๔)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๑๓.๕)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๑๓.๖)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๑๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๒๔]
ขอ ๑๒[๒๕] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๒๖]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัยดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๗]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๘]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ
การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
สารเสพติด และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร
การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๓๐]
ข้อ ๑๔[๓๑] สำนักการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๕[๓๒] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณกลางและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
(๑.๒)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้างสำนักการศึกษา
(๑.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
(๑.๕) การดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๖) การดูแลศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
(๑.๗) การประชาสัมพันธ์
(๑.๘) การดูแลศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
(๑.๙) การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนักการศึกษา
(๑.๑๐) การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมพิเศษ
(๑.๑๑) การบริหารงานก่อสร้างอาคารเรียน
(๑.๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. สำนักงานการเจ้าหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
(๒.๒)
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๓) การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
(๒.๔) การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
(๒.๕) การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
(๒.๖)
การปรับปรุงข้อมูลบุคคลในระบบทะเบียนประวัติอิเล็กทรอนิกส์และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๒.๗) การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การลา สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
(๒.๘)
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
(๒.๙)
การดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร มีและเลื่อนวิทยฐานะ
สายงานการสอน สายงานการบริหารสถานศึกษา และสายงานการนิเทศการศึกษา
(๒.๑๐)
การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๒.๑๑)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. กองคลัง
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) การดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
รวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา
(๓.๒) การบริหารงบประมาณ
(๓.๓)
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
(๓.๔) การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนาส่งเงินและการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชีให้กับเจ้าหน้าที่กองคลัง และส่วนราชการอื่น ๆ
(๓.๕) การจัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายทางการบัญชี ติดตามรวบรวมรายงานในด้านการเงินการคลังของสำนักการศึกษา
(๓.๖) การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้กับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๓.๗) การดำเนินการสำรวจวัสดุ -
ครุภัณฑ์ที่ทางโรงเรียนต้องการ
(๓.๘) การให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) การดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษา
(๔.๒) การกำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุน
นโยบายและแผนการศึกษา
(๔.๓)
การดำเนินการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) การวิจัยทางการศึกษา
(๔.๕)
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
(๔.๖)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
(๔.๗)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
(๔.๘)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการประเมินผลการจัดการศึกษา
(๔.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. กองเทคโนโลยีการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) การกำหนดกรอบนโยบายทิศทางแผนเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๒) การศึกษา ออกแบบ วิเคราะห์
พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๓) การผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๔) การส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
(๕.๕) การศึกษา วิเคราะห์
วิจัยและติดตามประเมินผลด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๖)
การประสานความร่วมมือด้านวิชาการและเทคโนโลยีการศึกษากับหน่วยงานภายนอก
ผลิตและเผยแพร่งานวิชาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖.
สถาบันพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) การศึกษา วิเคราะห์
การกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
(๖.๒) การพัฒนาสมรรถนะและเส้นทางการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการฝึกอบรม
(๖.๓)
การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม การฝึกอบรม การวางแผน การประเมินผล
และการติดตามผลการฝึกอบรม
(๖.๔) การส่งเสริมการฝึกอบรม
ประชุม สัมมนา การดูงานภายในและต่างประเทศ
(๖.๕)
การส่งเสริมเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศ
(๖.๖) การบริหารงานลูกเสือ
ยุวกาชาดและผู้บาเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
(๖.๗) การบริหารงานลูกเสือในฐานะสำนักงานลูกเสือกรุงเทพมหานครและบริหารงานยุวกาชาดในฐานะสำนักงานคณะกรรมการยุวกาชาดกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร
(๖.๘) การอบรม ประชุม
สัมมนาการจัดกลุ่มกองลูกเสือ การจัดตั้งปรับหมู่ยุวกาชาด
(๖.๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
กองเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) การจัดทำแผนและหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ ระเบียบ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๒) การดำเนินการเกี่ยวกับงานคุ้มครองสิทธิเด็ก
(๗.๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานสุขภาวะสุขภาพนักเรียน
(๗.๔)
การดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจกรรมนักเรียนร่วมกับสภาเด็กและเยาวชน
(๗.๕)
การดำเนินการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๖)
การประสานความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
(๗.๗) การดำเนินการรับถ่ายโอนโรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร
(๗.๘)
การวิเคราะห์และประมาณการจำนวนนักเรียน/ห้องเรียนล่วงหน้า
(๗.๙) การจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา
ทะเบียนนักเรียนในสถานศึกษา
(๗.๑๐) การตรวจสอบวุฒิการศึกษา
และการเทียบโอนผลการเรียนรู้
(๗.๑๑)
การจัดทำประกาศส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
การจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
(๗.๑๒) การดำเนินการรับนักเรียนจากหน่วยงานภายนอก
เด็กเรียนร่วม เด็กพิเศษ และนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎร์
หรือไม่มีสัญชาติไทย
(๗.๑๓) การประสานและบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๗.๑๔)
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาหรือประสบปัญหาด้านต่าง ๆ
(๗.๑๕) การดำเนินการจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน
(๗.๑๖) การส่งเสริม สนับสนุนสมรรถนะและทักษะด้านต่าง ๆ
ของนักเรียนในระดับชาติและนานาชาติ
(๗.๑๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๘.๑) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการวิเคราะห์ วิจัย
รูปแบบกระบวนการนิเทศ
(๘.๒)
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพมหานคร
(๘.๓) การจัดการเรียนตามหลักสูตรปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพสอดคล้องกับบริบทของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร
(๘.๔)
การปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
(๘.๕)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๓๓] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๔] สำนักการโยธา
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ[๓๕]
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บท แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วม
ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๒) ก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบป้องกันน้ำท่วม
และระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ
อุโมงค์ระบายน้ำ เขื่อนริมคลอง แนวคันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำ
รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ แก้มลิง หรือธนาคารน้ำ
(๓) วางแผน ควบคุมและบริหารจัดการการระบายน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำเค็มและภัยแล้งของกรุงเทพมหานคร
(๔) วางแผน ควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการบำรุงรักษาท่อระบายน้ำ
บ่อสูบน้ำ การปิด - เปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำ การผลิตอุปกรณ์ท่อระบายน้ำ
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่
(๕) ขุดลอกคลองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคูคลองและแหล่งน้ำ
รวมถึงการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและป้องกันสิ่งก่อสร้างมิให้รุกล้ำในคูคลอง
และแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำ จัดเก็บขยะ วัชพืชและผักตบชวาในคูคลอง
บึง รับน้ำและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗) บริหารจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการติดตาม
เฝ้าระวัง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ
รวมทั้งรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดมาบำบัด โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำตามมาตรฐานสากล
(๘) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการน้ำ
และควบคุมดูแลระบบโทรมาตรของกรุงเทพมหานคร
(๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำ
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
การจัดการคุณภาพน้ำและการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) จัดหา ควบคุม ให้บริการติดตั้ง
รวมทั้งซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ ทั้งชนิดไฟฟ้าและเครื่องยนต์ เครื่องจักรกล
เครื่องมือกล และยานพาหนะต่าง ๆ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๙ สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑.๑) งานสารบรรณและบริหารงานทั่วไป
(๑.๒) งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
(๑.๓) งานบริหารทรัพยากรบุคคล
(๑.๔) งานการคลัง การเงินและบัญชี
(๑.๕) งานงบประมาณ
(๑.๖) งานพัสดุ
(๑.๗) งานนิติกรรมและสัญญา
(๑.๘) งานประชาสัมพันธ์
(๑.๙) งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
(๑.๑๐) งานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(๑.๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๒) ศึกษา วิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำระดับชาติ
และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๓) วางแผน จัดทำ กำกับ ติดตาม
วิเคราะห์และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๒.๔) ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย
และคลองมหาสวัสดิ์
(๒.๕) ก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำของพื้นที่ปิดล้อม (Polder) และก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ รวมทั้งจัดหาและพัฒนาระบบพักน้ำ
แก้มลิง หรือธนาคารน้ำในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒.๖) กำหนดขนาดและระดับก้นท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๒.๗) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
รวมทั้งบริหารศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน
(๒.๘) พิจารณาอนุญาต กำหนดรูปแบบและข้อกำหนดงานก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำ
ลำน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์
และงานปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๒.๙) เป็นศูนย์กลางความร่วมมือ การศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม
เทคโนโลยี รวมทั้งส่งเสริมความรู้ ให้คำปรึกษา
แนะนำและสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำในเมือง
การรับมือกับปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะชายฝั่งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
(๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑) ควบคุมดูแลศูนย์บริหารจัดการน้ำกรุงเทพมหานคร
ตามแนวทางพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
(๓.๒)
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารหน่วยงาน
และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ
(๓.๓) จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและควบคุมการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๔) วิเคราะห์และประยุกต์ใช้งาน โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของน้ำในการวางแผน
ปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วม ตลอดจนการแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับภาวะของน้ำท่วม
(๓.๕) วางแผน ควบคุม
ตรวจสอบและใช้งานเรดาร์ตรวจอากาศของกรุงเทพมหานคร
(๓.๖) วางแผน ควบคุม ตรวจสอบ
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ตรวจวัดระบบโทรมาตร
(๓.๗) ตรวจสอบ ปรับปรุงค่าระดับหมุดหลักฐานและเสาวัดระดับน้ำ (Staff Gauge)
(๓.๘) เป็นศูนย์สื่อสารและรับเรื่องร้องเรียนของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๙)
กำหนดแนวทางการจัดทำเทคโนโลยีสารสนเทศระบายน้ำและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักการระบายน้ำ
(๓.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) สำนักงานระบบควบคุมน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๔.๑) วางแผน ก่อสร้าง ซ่อมและบำรุงรักษาระบบอาคารบังคับน้ำ ได้แก่
อุโมงค์ระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ และประตูระบายน้ำ
(๔.๒) บริหารจัดการระบบอาคารบังคับน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำเค็ม
(๔.๓) บริหารจัดการแก้มลิง เพื่อเป็นที่พักน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๔.๔) วางแผนการหมุนเวียนถ่ายเทน้ำ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำในคลอง
(๔.๕) ควบคุมระดับน้ำในคลอง เพื่อการเดินเรือและการท่องเที่ยว
(๔.๖) ติดตั้ง ควบคุม ซ่อมและบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ระบบแสงสว่าง
และระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอุโมงค์ทางลอดรถยนต์
(๔.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๕.๑) วางแผน ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างระบบท่อระบายน้ำและบ่อสูบน้ำ
(๕.๒) วางแผน ควบคุมและดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
(๕.๓) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการผลิตฝาบ่อพักและอุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ พร้อมปิด -
เปลี่ยนฝาบ่อพักและซ่อมบำรุงระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๔) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการจัดทำแนวคันป้องกันน้ำหนุนและน้ำท่วม
(๕.๕) วางแผน ควบคุม
และดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระบบท่อระบายน้ำ
และบ่อสูบน้ำในพื้นที่ปิดล้อม
(๕.๖) วางแผน สำรวจ ตรวจสอบและออกแบบระบบท่อระบายน้ำ
(๕.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖) กองระบบคลอง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๖.๑) พัฒนาประสิทธิภาพคู คลอง
และแหล่งน้ำในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
(๖.๒) ก่อสร้างเขื่อนริมคลอง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(๖.๓)
พัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลและบำรุงรักษาคู
คลอง และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีทางน้ำ
(๖.๔) จัดเก็บขยะ กำจัดวัชพืชผักตบชวาในคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๕) บำรุงรักษาสภาพทางระบายน้ำคู คลอง
บึงรับน้ำและป้องกันสิ่งก่อสร้างในคูคลองและแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๖) พิจารณาอนุญาตสิ่งก่อสร้างผ่านคู คลอง และแหล่งน้ำ
(๖.๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๗.๑) ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแผนแม่บท
แผนงานและโครงการด้านการจัดการคุณภาพน้ำของกรุงเทพมหานคร
(๗.๒) วางแผนและควบคุมการก่อสร้าง
การซ่อมและบำรุงรักษาโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗.๓) บริหารจัดการการเดินระบบรวบรวมน้ำ เสีย
และระบบบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
(๗.๔) เฝ้าระวัง
ติดตามและแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๗.๕) บริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
(๗.๖) ให้บริการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและตะกอนแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
(๗.๗)
สร้างความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนด้านการจัดการคุณภาพน้ำ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ
(๗.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย
(๘) กองเครื่องจักรกล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๘.๑) วางแผน สำรวจ ออกแบบ ควบคุม กำกับดูแล จัดหา
เก็บรักษาเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ต่าง ๆ
ตลอดจนระบบไฟฟ้าควบคุมพร้อมอุปกรณ์
(๘.๒)
วางแผนกำหนดจุดติดตั้งหน่วยบริการเคลื่อนที่เร็วที่สามารถปฏิบัติงานในภารกิจเร่งด่วนตามแผนงานและกรณีฉุกเฉิน
(๘.๓) บริการติดตั้ง เคลื่อนย้าย แก้ไข ดัดแปลง
และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล เครื่องทุ่นแรง และยานพาหนะทุกประเภท
(๘.๔) บริการตรวจ ซ่อม บำรุงรักษาติดตั้งดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินระบบเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะทุกประเภทของหน่วยงาน และเครื่องสูบน้ำของสำนักงานเขต
(๘.๕) กำหนดมาตรฐาน รายละเอียดคุณสมบัติเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล
ยานพาหนะ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ตู้ควบคุมไฟฟ้า
ระบบเดินสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกประเภท
(๘.๖) จัดหา เก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ ตลอดจนเชื้อเพลิง
สารหล่อลื่นของเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
ที่ใช้งานเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร
(๘.๗) จัดทำประวัติการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ
ยานพาหนะและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
(๘.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๖]
ข้อ ๒๐[๓๗] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
(๑) การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์
วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม
พัฒนา และดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๒) การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเพื่อพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๓) การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลงานด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
(๔) การอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
(๕) การบริหารจัดการมูลฝอย ของเสียอันตราย
สิ่งปฏิกูลและไขมันของกรุงเทพมหานครทั้งระบบ ตั้งแต่การจัดเก็บ รวบรวม
นำไปใช้ประโยชน์
บำบัดและกำจัดอย่างถูกหลักวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(๖) การให้บริการสาธารณะด้านการรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร
(๗) การตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง คุณภาพอากาศและเสียงจากแหล่งกำเนิด
(๘) การศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(๙) การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
และดูแลสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
(๑๐) การปฏิบัติงานในสถานการณ์พิเศษ
เหตุภัยพิบัติ เหตุการณ์เร่งด่วนอย่างบูรณาการ
(๑๑) การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๑[๓๘] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองกำจัดมูลฝอย
(๕) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๙]
ข้อ ๒๒[๔๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๔๑] สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๔๒]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๔๓]
ข้อ ๒๔[๔๔] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๕] สำนักการคลัง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๖]
ข้อ ๒๖[๔๗] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๘] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๔๙]
ข้อ ๒๗[๕๐]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม
การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้
การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง
ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๕๑]
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๕๒] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๓]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๔]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๕]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๖]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๗]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๘]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๕๙]
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๖๐]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๖๑]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๖๒]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๓]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๔]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๕]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๖]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๗]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๘]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๙]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๗๐]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๗๑]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๗๒]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘)
โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๓] โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๔]
ข้อ ๒๙[๗๕] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๖] สำนักพัฒนาสังคม
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๗]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน
การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๘]
ข้อ ๓๑[๗๙] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๘๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๘๑]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง
พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๘๒] สำนักผังเมือง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๘๓] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๔]
ข้อ ๓๕[๘๕]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๖]
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๗]
ข้อ ๓๗[๘๘] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๙]
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๘๐]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๘๑]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๓]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑๘๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)[๑๘๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)[๑๘๖]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)[๑๘๗]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)[๑๘๘]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)[๑๘๙]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)[๑๙๐]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓
มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐
กันยายน ๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐
มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗
ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑
มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗
กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๑๔ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
พัชรภรณ์/เพิ่มเติม
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
ปวันวิทย์/เพิ่มเติม
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิชพงษ์/ตรวจ
๑๑
กรกฎาคม ๒๕๖๑
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑
พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม
๒๔ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน
๒๕๒๘
[๒] หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๓] มาตรา
๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๔] มาตรา
๒ ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๕] หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร มาตรา ๓ ถึง มาตรา ๓ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๖] มาตรา
๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๗] มาตรา
๓ ทวิแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๔)
[๘] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙] ข้อ ๕
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๐] ข้อ ๕ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๑๑] ข้อ ๕ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๑๒] ข้อ ๕
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๐)
[๑๓] ข้อ ๕ (๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๑๔] หมวด ๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๕] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๖] ข้อ ๗ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๗] หมวด ๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๘] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๙] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๐] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๑] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๒๒] ข้อ ๑๑
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)
[๒๓] ข้อ ๑๑
(๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๘)
[๒๔] หมวด ๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๕] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๖] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๗] ข้อ ๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๘] ข้อ ๑๓
ก. (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๙] ข้อ ๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๓๐] หมวด ๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๑] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๒] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๕)
[๓๓] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๔] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๕] หมวด
๑๑ สำนักการระบายน้ำ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐๑)
[๓๖] หมวด ๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๗] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๘] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๙)
[๓๙] หมวด ๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๓] หมวด ๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] หมวด ๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๗] ข้อ ๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๘] ข้อ ๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๙] หมวด ๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๐] ข้อ ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๑] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๕๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑
สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๖๐] หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๖๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๗๐] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๗๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๗๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๔] หมวด ๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๖] ข้อ ๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๗] ข้อ ๓๐
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๘] หมวด ๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] ข้อ ๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๐] ข้อ ๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๑] หมวด ๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๘๒] ข้อ ๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๘๓] ข้อ ๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๔] หมวด ๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๕] ข้อ ๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๖] ข้อ ๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๗] หมวด ๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๘] ข้อ ๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๙] ข้อ ๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน
๒๕๓๐
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม
๒๕๓๐
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม
๒๕๓๑
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า
๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ
หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘
มกราคม ๒๕๓๓
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า
๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า
๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า
๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า
๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐
ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗
ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๖๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒
ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐
มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓
พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐
มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘
สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔
ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๕/๓ มกราคม ๒๕๖๑
[๑๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๓๔/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๒๗/๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓๒ ง/หน้า ๓๓/๘ มิถุนายน ๒๕๖๑
[๑๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๑๓ ง/หน้า ๒๕/๓ กันยายน ๒๕๖๑
[๑๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๒๕ ง/หน้า ๑๙/๑๔ กันยายน ๒๕๖๑ |
787620 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 97)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๗)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติ
ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ และกรอบอัตรากำลังของสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ สำนักการแพทย์
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔) ลงวันที่ ๑๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ (๒)
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๒.๑) วางแผน กำกับ ติดตาม วิเคราะห์และประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๒) พัฒนาระบบบริการสุขภาพ
คุณภาพบริการ และสร้างเครือข่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข
(๒.๓) เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์
(๒.๔) ส่งเสริมความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข
และบริการทางวิชาการ
(๒.๕) พัฒนาบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนด้านบริหารทางการแพทย์
(๒.๖) ส่งเสริม ดำเนินการวิจัย และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
(๒.๗) บริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษา
(๒.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง/หน้า ๒๒/๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
788156 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 28/08/2560) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๘] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๙]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๑] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๒]
ข้อ ๘[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๔] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๕] สำนักการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๑๖] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข ทำการศึกษา วิจัย เพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๗]
ขอ ๑๒[๑๘] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๙] การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๐]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๑]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๒]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๓]
ข้อ ๑๔[๒๔] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๕]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารสถานที่
งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ
MIS ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๖]
หน่วยศึกษานิเทศก์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๗]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย
พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๘] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๙] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๐] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๑] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๒] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๓]
ข้อ ๒๐[๓๔] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๕] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๖]
ข้อ ๒๒[๓๗] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๘] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓)[๓๙]
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๔๐]
ข้อ ๒๔[๔๑] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๒] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๓]
ข้อ ๒๖[๔๔] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๕] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๖]
ข้อ ๒๗[๔๗] ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง
การทะเบียน การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ
และทางระบายน้ำ การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก
และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา
การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์
การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม
การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ
ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ
การควบคุม ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. ๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น) การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน
การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว
การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
การควบคุมดูแล การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน
ห้องสมุด บ้านหนังสือ ศูนย์กีฬาและลานกีฬา
การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ
และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๘] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๙] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๕๐]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๑]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๒]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๓]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๔]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๕]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)[๕๖]
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (พิทักษ์วิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๗]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๘]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๙]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๖๐]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๖๑]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๒]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๓]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๔]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๕]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๖]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๖๗]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๘]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๙]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๗๐]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๗๑]
ข้อ ๒๙[๗๒] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๓] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๔]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๕]
ข้อ ๓๑[๗๖] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๗] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๘]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๙] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๘๐] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๘๑]
ข้อ ๓๕[๘๒] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๓] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๔]
ข้อ ๓๗[๘๕] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๖] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๗๑]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๗๗]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๗๘]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)[๑๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑๘๐]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗ ธันวาคม
๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑ มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] ข้อ ๕
(๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๙] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๖] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๗] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๘] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๐] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๑] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๒] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๓] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๕] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๘] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๙] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๐] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๑] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๒] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๓] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ ๒๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)
[๔๐] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๖] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๗] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๘] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๑ สำนักงานเขตบางกะปิ (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๕)
[๕๗] หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๖๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๗๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๗๑] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๒] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๓] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๕] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๖] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๗] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๘] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๙] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๘๐] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘๑] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๒] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๓] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๔] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๕] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๖] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๓๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๓๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๗๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
[๑๘๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
788154 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 23/05/2560) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๘] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๙]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๑] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๒]
ข้อ ๘[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๔] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๕] สำนักการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑[๑๖] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข ทำการศึกษา วิจัย เพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๗]
ขอ ๑๒[๑๘] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๙] การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๐]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๑]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๒]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๓]
ข้อ ๑๔[๒๔] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๕]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารสถานที่
งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ
MIS ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๖]
หน่วยศึกษานิเทศก์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๗]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย
พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๘] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๙] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๐] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๑] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๒] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๓]
ข้อ ๒๐[๓๔] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๕] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๖]
ข้อ ๒๒[๓๗] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๘] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๙]
ข้อ ๒๔[๔๐] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๑] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๒]
ข้อ ๒๖[๔๓] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๔] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๕]
ข้อ ๒๗[๔๖]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด)
ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๗] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๘] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๙]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๐]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๑]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๒]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๓]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๔]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๕]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๖]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๗]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๘]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๙]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๐]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๑]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๒]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๓]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๔]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๖๕]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๖]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๗]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๘]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๙]
ข้อ ๒๙[๗๐] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๑] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๒]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๓]
ข้อ ๓๑[๗๔] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๕] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๖]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้
ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๗] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๘] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๙]
ข้อ ๓๕[๘๐] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๑] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๒]
ข้อ ๓๗[๘๓] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๔] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๙]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๗๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑๗๖]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗ ธันวาคม
๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑ มกราคม ๒๕๖๐
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] ข้อ ๕
(๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๙] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๖] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)
[๑๗] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๘] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๐] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๑] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๒] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๓] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๕] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๘] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๙] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๐] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๑] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๒] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๓] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๗] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๕] หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๖๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๙] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๑] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๒] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๓] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๖] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๗] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๘] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๐] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๑] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๒] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๓] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๔] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๓๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
786552 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงดินแดง และตั้งแขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงดินแดง และตั้งแขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตดินแดง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงดินแดง และตั้งแขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง โดยให้มีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงดินแดง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงห้วยขวาง
เขตห้วยขวาง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
แนวเขตการปกครองของแขวงดินแดง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือ
บรรจบแนวขอบทางถนนประชาสงเคราะห์ฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนประชาสงเคราะห์ฟากเหนือ
บรรจบแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
ฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกบรรจบถนนอโศกมนตรีฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนอโศกมนตรีฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนอโศกมนตรี
ฟากตะวันออกกับแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนอโศกมนตรีฟากตะวันออกกับแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนดินแดงฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนดินแดง
ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนดินแดงฟากตะวันออกบรรจบแนวถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือ
แขวงรัชดาภิเษก
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงจอมพล เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงสามเสนนอก
และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงดินแดง เขตดินแดง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
แนวเขตการปกครองของแขวงรัชดาภิเษก
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ บรรจบแนวคลองพญาเวิกฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองพญาเวิกฝั่งตะวันออกบรรจบแนวคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษก
ฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษก ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญฟากเหนือ
บรรจบแนวขอบทางถนนประชาสงเคราะห์ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนประชาสงเคราะห์ฟากเหนือ
บรรจบแนวของทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนมิตรไมตรีฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงดินแดง
และตั้งแขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๓๘/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
765732 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 91) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑]
ด้วยเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนวัดคู้บอน
สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา เป็นโรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
เพื่อเป็นเกียรติแก่นางสาวสอดแสง วัฒนานันท์
ผู้บริจาคที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงให้ปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยให้ยกเลิกความใน หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๑๒ มกราคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๑๓ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ |
784615 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง และตั้งแขวงราษฎร์พัฒนา แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง และตั้งแขวงราษฎร์พัฒนา แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตสะพานสูง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง และตั้งแขวงราษฎร์พัฒนา แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง
โดยให้มีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงสะพานสูง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม และแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
แนวเขตการปกครองของแขวงสะพานสูง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบ้านม้า
(บ้านม้า ๒) ฝั่งตะวันออกกับคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก
(วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก
(วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก กับแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ บรรจบกับแนวคลองวังใหญ่ฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองวังใหญ่ ฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบ้านม้า (บ้านม้า ๒) ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองวังใหญ่ฝั่งเหนือกับแนวคลองบ้านม้า (บ้านม้า ๒) ฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบ้านม้า (บ้านม้า ๒) ฝั่งตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
แขวงราษฎร์พัฒนา
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงคันนายาว เขตคันนายาว และแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงมีนบุรี
เขตมีนบุรี และแขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง
แนวเขตการปกครองของแขวงราษฎร์พัฒนา
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนภิเษก
(วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก กับคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออกไป
ทางทิศใต้ตามแนวคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออกกับคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก
(วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก
(วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก
(วงแหวนตะวันออก) ฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
แขวงทับช้าง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงสะพานสูง และแขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง
ทิศใต้ ติดต่อกับ
แขวงประเวศ เขตประเวศ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ และแขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
แนวเขตการปกครองของแขวงทับช้าง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบ้านม้า
(บ้านม้า ๒) ฝั่งตะวันออกกับแนวคลองวังใหญ่ฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองวังใหญ่ฝั่งเหนือ บรรจบกับแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออกกับแนวคลองทับช้างล่างฝั่งเหนือ
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองลาดบัวขาวฝั่งตะวันออก บรรจบกับคลองแม่จันฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองแม่จันฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกรุงเทพ - ชลบุรี ฟากเหนือ
ทิศใต้
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองแม่จันฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนกรุงเทพ ชลบุรี ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนกรุงเทพ -
ชลบุรี ฟากเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบึงบ้านม้า (คลองวังใหญ่)
ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบึงบ้านม้า
(คลองวังใหญ่) ฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนกรุงเทพ - ชลบุรี ฟากเหนือ
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบึงบ้านม้า (คลองวังใหญ่)
ฝั่งตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบ้านม้า (บ้านม้า ๒) ฝั่งตะวันออก
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสะพานสูง
และตั้งแขวงราษฎร์พัฒนา แขวงทับช้าง เขตสะพานสูง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๔๗/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
777510 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 94)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๔)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติ
ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ และกรอบอัตรากำลังของสำนักการแพทย์
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙) ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑)
จัดให้มีบริการโรงพยาบาลในการตรวจรักษาพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๒)
บริหารและจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินและส่งต่อผู้ป่วย
เพื่อลดการบาดเจ็บและการตายจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
(๓)
จัดการศึกษา ฝึกอบรม พัฒนาทางวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
(๔)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ
๑๑ สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ การคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข ทำการศึกษา วิจัย เพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
โรงพยาบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
(๓.๒)
ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
(๓.๓)
ฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
(๓.๔)
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
(๓.๕)
จัดการด้านแพทยศาสตร์ศึกษา
(๓.๖)
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
(๓.๗)
พัฒนางานวิชาการและด้านบริการรักษา
(๓.๘)
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๓.๙)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๔)
โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕)
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๘)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙)
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร
อุทิศ
(๑๐)
โรงพยาบาลสิรินธร มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๑๑)
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีเกิดสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การบริหารจัดการด้านการเงิน
ในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒)
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๕ พฤษภาคม
๒๕๖๐
ชวัลพร/ตรวจ
๒๕ พฤษภาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
776233 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 93)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๙/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการการกำหนดอำนาจหน้าที่
และกรอบอัตรากำลังของกองการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นสำนักงานการต่างประเทศ
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๕ (๙)
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๙) สำนักงานการต่างประเทศ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
784617 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง ยุบพื้นที่แขวงบางนา
และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศยุบพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตบางนา ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา โดยมีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงบางนาเหนือ
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงพระโขนงใต้ และแขวงบางจาก เขตพระโขนง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงหนองบอน
เขตประเวศ และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางนาใต้ เขตบางนา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
แนวเขตการปกครองของแขวงบางนาเหนือ
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันออกไปตามแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือ
ผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร ผ่านถนนสุขุมวิท ไปตามแนวขอบทางซอยสุขุมวิท ๑๐๑/๑
(ซอยวชิรธรรมสาธิต) ฟากใต้ บรรจบกับแนวขอบทางซอยวชิรธรรมสาธิต ๓๒ ฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางซอยวชิรธรรม สาธิต ๓๒ ฟากตะวันออก บรรจบกับแนวขอบทาง ซอยอุดมสุข
๒๙ ฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางซอยอุดมสุข ๒๙ ฟากตะวันออกบรรจบกับแนวขอบทางถนนอุดมสุขฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนอุดมสุขฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนอุดมสุขฟากเหนือกับแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนอุดมสุขฟากเหนือกับแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก ไปตามทางทิศใต้ตามแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก
ผ่านถนนศรีนครินทร์ไปบรรจบกับแนวกึ่งกลางคลองบางนา
ไปทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางคลองบางนา สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางคลองบางนากับแนวขอบทางถนนบางนา
ตราด ฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางคลองบางนากับแนวขอบทางถนนบางนา
ตราด ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนบางนา -
ตราดฟากเหนือผ่านถนนสุขุมวิทบรรจบแนวขอบทางถนนสรรพาวุธฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนสรรพาวุธฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาตามแนวเส้นตรงจากขอบทางถนนสรรพาวุธฟากเหนือ
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแนวเส้นตรงจากแนวถนนสรรพาวุธฟากเหนือไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือ
แขวงบางนาใต้
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ อำเภอบางพลี
และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้ ติดต่อกับ
อำเภอเมือง และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
แนวเขตการปกครองของแขวงบางนาใต้
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางนา
กรุงเทพมหานครกับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการบริเวณแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวเส้นตรงจากแนวขอบทางถนนสรรพาวุธฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเส้นตรงจนบรรจบกับแนวขอบทางถนนสรรพาวุธฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกเลียบไปตามถนนสรรพาวุธฟากเหนือผ่านถนนสุขุมวิท
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนบางนา - ตราดฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนบางนา ตราด ฟากเหนือกับแนวกึ่งกลางคลองบางนา
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนบางนา
ตราดฟากเหนือกับแนวกึ่งกลางคลองบางนา ไปทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางคลองบางนา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางนา
กรุงเทพมหานครกับอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางนา
กรุงเทพมหานครกับอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางนา กรุงเทพมหานคร กับอำเภอเมือง
และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางนา
กรุงเทพมหานคร กับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
บริเวณแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวเส้นตรงจากขอบทางถนนสรรพาวุธ
ฟากเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
ยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๕๐/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
784253 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 96) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๖)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ให้มีความเหมาะสมตามข้อเท็จจริง
และสอดคล้องภารกิจหน้าที่รับผิดชอบของศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ก. วิสามัญเกี่ยวกับระบบราชการ การจัดส่วนราชการ และค่าตอบแทน
ในฐานะทำการแทน ก.ก. ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
๒๕๖๐ จึงให้ปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๘ โดยให้เพิ่มเติมความในหมวด ๑๓ ข้อ ๒๓ (๓)
ดังนี้
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓.๑)
ให้บริการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐาน ขั้นพัฒนาทักษะ และขั้นสูง
(๓.๒)
พัฒนาผู้นำเยาวชน
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรุงเทพมหานคร
โดยพัฒนาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเยาวชนเขต
(๓.๓)
จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมพิเศษอื่น ๆ
(๓.๔)
ให้บริการด้านอาคารสถานที่ในการจัดประกวดแข่งขัน
จัดประชุมและสัมมนาแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และให้บริการที่พัก (ค้างแรม)
ในกรณีพิเศษต่าง ๆ
(๓.๕)
ส่งเสริมงานด้านวิชาการและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและนันทนาการ
(๓.๖)
เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศด้านการพัฒนาเยาวชนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๓.๗)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๒ ง/หน้า ๑๙/๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
784611 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางจาก และตั้งแขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางจาก และตั้งแขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตพระโขนง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางจาก และตั้งแขวงพระโขนงใต้
เขตพระโขนง โดยให้มีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงบางจาก
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา และแขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงอ่อนนุช
เขตสวนหลวง และแขวงหนองบอน เขตประเวศ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง
แนวเขตการปกครองของแขวงบางจาก
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออกกับแนวขอบทางซอยสุขุมวิท
๘๑ (ซอยศิริพจน์) ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางซอยสุขุมวิท ๘๑ (ซอยศิริพจน์)
บรรจบกับแนวคลองบางนางจีนฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบางนางจีนฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวคลองขวางบนฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองขวางบนฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองสวนอ้อยฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองสวนอ้อยฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ (แยกจากคลองบ้านหลาย)
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ (แยกจากคลองบ้านหลาย)
บรรจบแนวคลองบ้านหลายฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบ้านหลายฝั่งตะวันออก
บรรจบแนวขอบทางซอยหมู่บ้านพัฒนพลฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางซอยหมู่บ้านพัฒนพลฟากเหนือบรรจบกับแนวขอบทางซอยอ่อนนุช
๔๔ (ซอยสามพี่น้อง) ฟากตะวันออก บรรจบแนวขอบทางซอยยาจิตร์ฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางซอยยาจิตร์ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางซอยยาจิตร์ฟากเหนือกับแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนอุดมสุข
ฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนอุดมสุข
ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนอุดมสุขฟากเหนือ
บรรจบกับแนวขอบทางซอยอุดมสุข ๒๙ ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางซอยอุดมสุข
๒๙ ฟากตะวันออกบรรจบแนวขอบทางซอยวชิรธรรม ๓๒ ฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางซอยวชิรธรรม ๓๒ ฟากตะวันออกบรรจบกับแนวขอบทางซอยสุขุมวิท
๑๐๑/๑ (ซอยวชิรธรรมสาธิต) ฟากใต้ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางซอยสุขุมวิท ๑๐๑/๑
(ซอยวชิรธรรมสาธิต) ฟากใต้ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางซอยสุขุมวิท ๑๐๑/๑
(ซอยวชิรธรรมสาธิต) ฟากใต้กับแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางซอยสุขุมวิท
๑๐๑/๑ (ซอยวชิรธรรมสาธิต) ฟากใต้กับแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฝากตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสุขุมวิท ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางซอยสุขุมวิท
๘๑ (ซอยศิริพจน์)
แขวงพระโขนงใต้
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงบางจาก
เขตพระโขนง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
แนวเขตการปกครองของแขวงพระโขนงใต้
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเส้นตรงผ่านสถานีรถไฟสวนอ้อยผ่านถนนทางรถไฟสายเก่าสายปากน้ำผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานครไปบรรจบกับแนวขอบทางซอยสุขุมวิท
๕๒ (ซอยศิริพร) ฟากใต้ ไปตามทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางซอยสุขุมวิท ๕๒ (ซอยศิริพร)
ฟากใต้ ผ่านแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบกับแนวขอบทางซอยสุขุมวิท ๘๑ (ซอยศิริพจน์)
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออกกับแนวขอบทางซอยสุขุมวิท
๘๑ (ซอยศิริพจน์) ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออกกับแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสุขุมวิทฟากตะวันออกกับแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือกับแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางอ้อฝั่งเหนือกับแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวเส้นตรงที่ผ่านสถานีรถไฟสวนอ้อย
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางจาก
และตั้งแขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๔๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
784607 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสามเสนใน และตั้งแขวงพญาไท เขตพญาไท | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสามเสนใน และตั้งแขวงพญาไท เขตพญาไท[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตพญาไท ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสามเสนใน และตั้งแขวงพญาไท เขตพญาไท โดยให้มีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงสามเสนใน
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงจอมพล เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงดินแดง
และแขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงพญาไท เขตพญาไท
แนวเขตการปกครองของแขวงสามเสนใน
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนดินแดงฟากตะวันออก
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนดินแดงฟากตะวันออก
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางถนนดินแดงฟากตะวันออก
บรรจบแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
แขวงพญาไท
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต
แนวเขตการปกครองของแขวงพญาไท
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนพหลโยธิน
ฟากตะวันออก ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือกับแนวเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองสามเสนฝั่งเหนือกับแนวเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสามเสนใน และตั้งแขวงพญาไท
เขตพญาไท พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๓๖/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
776231 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 92) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของอนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับการศึกษาทำการแทนคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๙
และคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติรับทราบในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๐ เห็นสมควรยุบเลิกโรงเรียนปทุมวัน
ซึ่งเป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตปทุมวัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยให้ยกเลิกความในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๕. สำนักงานเขตปทุมวัน (๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
784619 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยุบพื้นที่แขวงบางบอน และตั้งแขวงบางบอนเหนือ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางพราน และแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ยุบพื้นที่แขวงบางบอน และตั้งแขวงบางบอนเหนือ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางพราน
และแขวงคลองบางบอน
เขตบางบอน[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศยุบพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตบางบอน ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศยุบพื้นที่แขวงบางบอน และตั้งแขวงบางบอนเหนือ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางพราน
และแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน โดยให้มีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงบางบอนเหนือ
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ
แขวงหนองแขม เขตหนองแขม และแขวงหลักสอง เขตบางแค
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แขวงคลองบางพราน
เขตบางบอน
ทิศใต้ ติดต่อกับ
แขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
แนวเขตการปกครองของแขวงบางบอนเหนือ
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาคร กับแนวคลองหนามแดงฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองหนามแดงฝั่งเหนือ บรรจบแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก
ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือกับแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือกับแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร ไปทางทิศเหนือตามแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเมือง
และอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาครกับแนวคลองหนามแดงฝั่งเหนือ
แขวงบางบอนใต้
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
แนวเขตการปกครองของแขวงบางบอนใต้
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร
กับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัย
ฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
กับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวเขตทางรถไฟ
สายวงเวียนใหญ่ - มหาชัยฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่
- มหาชัยฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัยฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัยฟากเหนือ
กับแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่
- มหาชัยฟากเหนือกับแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาคร ไปทางทิศเหนือ
ตามแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองกรุงเทพมหานครกับอำเภอเมือง
จังหวัดสมุทรสาครกับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
แขวงคลองบางพราน
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงคลองบางบอน เขตบางบอน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงบางบอนเหนือ เขตบางบอน
แนวเขตการปกครองของแขวงคลองบางพราน
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
กับแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือกับแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือกับแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเอกชัย
ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก ฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวคลองบางโคลัด
ฝั่งเหนือ
แขวงคลองบางบอน
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงคลองบางพราน เขตบางบอน
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน
แนวเขตการปกครองของแขวงคลองบางบอน
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนเอกชัย ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือกับแนวคลอง วัดสิงห์ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือกับคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออกกับแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่
- มหาชัยฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองวัดสิงห์ฝั่งตะวันออกกับแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัยฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัยฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย
ฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่
มหาชัยฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษก ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
กับแนวขอบทางถนนเอกชัยฟากเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยุบพื้นที่แขวงบางบอน
และตั้งแขวงบางบอนเหนือ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางพรานและแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๕๓/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
784613 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสวนหลวง และตั้งแขวงอ่อนนุช แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสวนหลวง และตั้งแขวงอ่อนนุช แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวง
เขตสวนหลวง ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสวนหลวง และตั้งแขวงอ่อนนุช แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง
โดยให้มีรายละเอียดเขตพื้นที่ดังนี้
แขวงสวนหลวง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงพัฒนาการ
เขตสวนหลวง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง และแขวงคลองตันเหนือ แขวงพระโขนงเหนือ
เขตวัฒนา
แนวเขตการปกครองของแขวงสวนหลวง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งตะวันออกกับแนวคลองกะจะฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองกะจะฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองกะจะฝั่งเหนือกับแนวคลองลาวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองกะจะฝั่งเหนือกับแนวคลองลาวฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้
ตามแนวคลองลาวฝั่งตะวันออกบรรจบกับแนวคลองหัวหมากฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองหัวหมากฝั่งเหนือบรรจบกับแนวคลองจวนฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองจวนฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองจวนฝั่งตะวันออกกับแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองจวนฝั่งตะวันออกกับแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือกับแนวคลองตันฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือกับแนวคลองตันฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองตันฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองตันฝั่งเหนือ ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองตันฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองตันฝั่งเหนือ บรรจบแนวคลองแสนแสบฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองแสนแสบฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งตะวันออกกับแนวคลองกะจะฝั่งเหนือ
แขวงอ่อนนุช
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงสวนหลวง แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง และแขวงประเวศ เขตประเวศ
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงประเวศ
เขตประเวศ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางจาก เขตพระโขนง และแขวงหนองบอน เขตประเวศ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง และแขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา
แนวเขตการปกครองของแขวงอ่อนนุช
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองตันฝั่งตะวันออก
กับแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือกับแนวคลองหนองบอนฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองประเวศบุรีรมย์ฝั่งเหนือกับแนวคลองหนองบอนฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองหนองบอนฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองหนองบอนฝั่งตะวันออกกับแนวคลองตาสาดฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองหนองบอนฝั่งตะวันออกกับแนวคลองตาสาดฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองตาสาดฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองเคล็ดฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวขอบทางส่วนบุคคล
ฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางทางส่วนบุคคลฟากเหนือบรรจบกับแนวขอบทางซอยอ่อนนุช
๔๔ (ซอยสามพี่น้อง) ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางซอยอ่อนนุช ๔๔
(ซอยสามพี่น้อง) ฟากตะวันออกบรรจบแนวขอบทางซอยยาจิตร์ฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางซอยยาจิตร์ฟากเหนือ
บรรจบกับแนวขอบทางซอยหมู่บ้านพัฒนพลฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางซอยหมู่บ้านพัฒนพลฟากเหนือ
บรรจบกับแนวคลองบ้านหลายฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบ้านหลายฝั่งตะวันออกบรรจบกับแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ
(แยกจากคลองบ้านหลาย) ไปทางทิศตะวันตกตามแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งเหนือ
(แยกจากคลองบ้านหลาย)บรรจบคลองสวนอ้อยฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองสวนอ้อยฝั่งตะวันออกบรรจบแนวคลองขวางบนฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองขวางบนฝั่งเหนือสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองขวางบนฝั่งเหนือกับแนวคลองบางนางจีนฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองขวางบนฝั่งเหนือกับคลองบางนางจีนฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบางนางจีนฝั่งตะวันออก
บรรจบคลองตันฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองตันฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองตันฝั่งตะวันออกกับแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
แขวงพัฒนาการ
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงประเวศ
เขตประเวศ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
แนวเขตการปกครองของแขวงพัฒนาการ
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาวฝั่งตะวันออกกับแนวคลองกะจะฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองกะจะฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองกะจะฝั่งเหนือกับแนวคลองบ้านม้าฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองกะจะฝั่งเหนือกับแนวคลองบ้านม้าฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบ้านม้าฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งตะวันออก ไปทางทิศใต้ตามแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งตะวันออกกับแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวลำรางสาธารณประโยชน์ฝั่งตะวันออกกับแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือกับแนวคลองจวนฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองพระโขนงฝั่งเหนือกับแนวคลองจวนฝั่งตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองจวนฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวคลองหัวหมากฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองหัวหมากฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองลาวฝั่งตะวันออก ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองลาวฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาว ฝั่งตะวันออกกับแนวคลองกะจะฝั่งเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสวนหลวง
และตั้งแขวงอ่อนนุช แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปุณิกา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๖ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๕ ง/หน้า ๔๔/๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ |
782048 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 10/01/2560) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙) กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา
ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ ๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๑๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๐]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๑]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๒]
ข้อ ๑๔[๒๓] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๔]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๕]
หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๖]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง
ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๗] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๘] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๙] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๐] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๑] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๒]
ข้อ ๒๐[๓๓] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๔] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๕]
ข้อ ๒๒[๓๖] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๗] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๘]
ข้อ ๒๔[๓๙] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๐] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๑]
ข้อ ๒๖[๔๒] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๓] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๔]
ข้อ ๒๗[๔๕]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ ติดตั้ง
ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน
กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว
การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้ประสบภัย การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
การควบคุมดูแล การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด
บ้านหนังสือ ศูนย์กีฬาและลานกีฬา
การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ
และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๖] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๗] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๘]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๙]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๐]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๑]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๒]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๓]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๔]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๕]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๖]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๗]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๘]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๙]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๐]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๑]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๒]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๖๓]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๔]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๕]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๖]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๗]
ข้อ ๒๙[๖๘] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๖๙] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๐]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๑]
ข้อ ๓๑[๗๒] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๓] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๔]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ
ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS)
เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๕] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๖] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๗]
ข้อ ๓๕[๗๘] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๙] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๐]
ข้อ ๓๗[๘๑] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๒] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๗]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๑]
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗ ธันวาคม
๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
วริญา/เพิ่มเติม
๓๑ มกราคม ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๐] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๑] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๒] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๓] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๕] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๘] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๙] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๐] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๑] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๒] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๕] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๓] หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๖๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๗] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๘] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๙] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๑] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๒] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๓] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๕] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๖] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๗] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๘] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๙] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๐] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๑] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๒] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐ |
771898 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 02/12/2559) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔
และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙) กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา
ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ ๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๑๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๐]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๑]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๒]
ข้อ ๑๔[๒๓] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๔]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๕]
หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๖]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง
ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๗] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๘] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๙] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๐] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๑] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๒]
ข้อ ๒๐[๓๓] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๔] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๕]
ข้อ ๒๒[๓๖] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๗] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๘]
ข้อ ๒๔[๓๙] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๐] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๑]
ข้อ ๒๖[๔๒] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๓] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๔]
ข้อ ๒๗[๔๕]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ ติดตั้ง
ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน
กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว
การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้ประสบภัย การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
การควบคุมดูแล การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด
บ้านหนังสือ ศูนย์กีฬาและลานกีฬา
การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ
และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๖] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๗] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๘]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๙]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๐]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๑]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๒]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๓]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๔]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๕]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๖]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๗]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๘]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๙]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๐]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๑]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๒]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๓]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๔]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๕]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๖]
ข้อ ๒๙[๖๗] สำนักพัฒนาสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม
การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๖๘] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๖๙]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๐]
ข้อ ๓๑[๗๑] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๒] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๓]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๔] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๕] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๖]
ข้อ ๓๕[๗๗] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๘] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๙]
ข้อ ๓๗[๘๐] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๑] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๖]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๖๙]
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๗ ธันวาคม
๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๐] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๑] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๒] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๓] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๕] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๘] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๙] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๐] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๑] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๒] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๕] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๓] หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๖] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๗] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๘] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๙] ข้อ ๓๐ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๐] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๑] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๒] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๓] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๔] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๕] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๖] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๗] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๘] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๙] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๐] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๑] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๒๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๖๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ |
782210 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 04/05/2560) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามมติที่ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)[๘] สำนักงานการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑.
จัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการต่างประเทศในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
๒.
ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคีตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
๓.
ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับเมือง สถานเอกอัครราชทูต
ชุมชนชาวต่างประเทศในกรุงเทพมหานคร และองค์กรระหว่างประเทศ
๔.
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับแบบแผนพิธีการ
๕.
ให้การรับรองการเยือนของบุคคลสำคัญ
๖.
จัดการประชุมระหว่างประเทศ
๗.
รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์งานด้านต่างประเทศ
๘.
เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเมืองและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
๙.
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนงานของหน่วยงานกรุงเทพมหานครในด้านการต่างประเทศ
๑๐.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๙]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๑๐] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๑] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๒]
ข้อ ๘[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร
แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๔] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๕] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา
ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๖] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์ กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๗]
ขอ ๑๒[๑๘] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๙]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๒๐]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๑]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ
รายงานที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๒]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน
และเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล
และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๓]
ข้อ ๑๔[๒๔] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๕]
(๑)
สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕) ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๖]
หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๗]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย
พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๘] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๙] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๓๐] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๑] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๒] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๓]
ข้อ ๒๐[๓๔] สำนักสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๕] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๖]
ข้อ ๒๒[๓๗] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๘] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๙]
ข้อ ๒๔[๔๐] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๑] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๒]
ข้อ ๒๖[๔๓] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๔] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๕]
ข้อ ๒๗[๔๖]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน การจัดทำแผนพัฒนาเขต
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ การจัดให้มีและควบคุมตลาด
ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์
การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค
งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน
การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๗] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๘] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๙]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๕๐]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)[๕๑]
(ยกเลิก)
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๒]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๓]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๔]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)[๕๕]
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๖]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๗]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๘]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๙]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๐]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๖๑]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๖๒]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๓]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๔]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)[๖๕]
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ)
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๖]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๗]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๘]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๙]
ข้อ ๒๙[๗๐] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๗๑] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๗๒]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๗๓]
ข้อ ๓๑[๗๔] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๕] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๖]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์
วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ
ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๗] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๘] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๙]
ข้อ ๓๕[๘๐] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๘๑] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๘๒]
ข้อ ๓๗[๘๓] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๔] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๙]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)[๑๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)[๑๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)[๑๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)[๑๗๕]
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ปุณิกา/เพิ่มเติม
๖ มิถุนายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] ข้อ ๕
(๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๓)
[๙] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๒] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๕] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๗] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๘] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๒๐] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๑] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๒] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๓] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๕] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๘] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๙] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๐] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๑] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๒] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๓] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๗] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๕๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๘)
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๒)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๕] หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๔ (๑๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๐)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๙] ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๖๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙๑)
[๖๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๙] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๑] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๒] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๗๓] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๖] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๗] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๘] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๙] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๐] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๑] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๘๒] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๓] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๔] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๒๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๓๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๓๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๗๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๗๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
[๑๗๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๒๒/๒ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑๗๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗ ง/หน้า ๒๕/๑๐ มกราคม ๒๕๖๐
[๑๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๕/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐
[๑๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๖/๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
716811 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา
๑๒๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
กรุงเทพมหานครรายงานการรับ
- จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้ทราบ ดังนี้[๑]
รายการ
งบประมาณทั้งสิ้น
รับจริง/จ่ายจริง
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
รวมรับจริง/จ่ายจริง
และ
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
สูง
กว่าประมาณการ
(ต่ำ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๖
๑. รายรับ
๑.๑ รายได้ประจำ
๑.๒ รายได้พิเศษ
๖๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๙,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๖๓,๐๖๑,๒๐๐,๘๕๖.๒๖
๙,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
-
-
๖๓,๐๖๑,๒๐๐,๘๕๖.๒๖
๙,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓,๐๖๑,๒๐๐,๘๕๖.๒๖
-
รวมรายรับทั้งสิ้น
บาท
๖๙,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๗๒,๙๖๑,๒๐๐,๘๕๖.๒๖
-
๗๒,๙๖๑,๒๐๐,๘๕๖.๒๖
๓,๐๖๑,๒๐๐,๘๕๖.๒๖
๒. รายจ่ายตามงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕
๒.๑ รายจ่ายประจำ
๒.๒ รายจ่ายพิเศษ
๖๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๙,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔๖,๓๔๙,๙๗๒,๐๖๗.๘๓
๖,๘๙๙,๓๖๒,๔๓๓.๗๕
๑๒,๙๑๗,๙๘๑,๖๗๔.๗๘
๒,๓๔๐,๒๙๐,๒๑๗.๐๒
๕๙,๒๖๗,๙๕๓,๗๔๒.๖๑
๙,๒๓๙,๖๕๒,๖๕๐.๗๗
(๗๓๒,๐๔๖,๒๕๗.๓๙)
(๖๖๐,๓๔๗,๓๔๙.๒๓)
รวมรายรับทั้งสิ้น
บาท
๖๙,๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๕๓,๒๔๙,๓๓๔,๕๐๑.๕๘
๑๕,๒๕๘,๒๗๑,๘๙๑.๘๐
๖๘,๕๐๗,๖๐๖,๓๙๓.๓๘
(๑,๓๙๒,๓๙๓,๖๐๖.๖๒)
รายจ่ายตามงบประมาณปีก่อน
๓. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
๓.๑
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๓,๗๘๑,๐๘๔,๓๗๙.๔๒
๑๑,๕๕๗,๗๑๕,๗๗๗.๗๒
-
๑๑,๕๕๗,๗๑๕,๗๗๗.๗๒
(๒,๒๒๓,๓๖๘,๖๐๑.๗๐)
รวม
บาท
๑๓,๗๘๑,๐๘๔,๓๗๙.๔๒
๑๑,๕๕๗,๗๑๕,๗๗๗.๗๒
-
๑๑,๕๕๗,๗๑๕,๗๗๗.๗๒
(๒,๒๒๓,๓๖๘,๖๐๑.๗๐)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น บาท
๘๓,๖๘๑,๐๘๔,๓๗๙.๔๒
๖๔,๘๐๗,๐๕๐,๒๗๙.๓๐
๑๕,๒๕๘,๒๗๑,๘๙๑.๘๐
๘๐,๐๖๕,๓๒๒,๑๗๑.๑๐
(๓,๖๑๕,๗๖๒,๒๐๘.๓๒)
๔. ดุลของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ บาท
-
๑๙,๗๑๑,๘๖๖,๓๕๔.๖๘
(๑๕,๒๕๘,๒๗๑,๘๙๑.๘๐)
๔,๔๕๓,๕๙๔,๔๖๒.๘๘
๔,๔๕๓,๕๙๔,๔๖๒.๘๘
๕. ดุลการรับ - จ่ายเงิน
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น
บาท
(๑๓,๗๘๑,๐๘๔,๓๗๙.๔๒)
๘,๑๕๔,๑๕๐,๕๗๖.๙๖
(๑๕,๒๕๘,๒๗๑,๘๙๑.๘๐)
(๗,๑๐๔,๑๒๑,๓๑๔.๘๔)
๖,๖๗๖,๙๖๓,๐๖๔.๕๘
หมายเหตุ รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้น
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังมิได้ตรวจสอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
จุมพล สำเภาพล
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
ภีราพร/ผู้ตรวจ
๑๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๑๘ ง/หน้า ๑๔๕/๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ |
698069 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ 2) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ
ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๒)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔
และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงให้ยกเลิกความในข้อ ๑ และข้อ ๒
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑
การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดสวนมะลิ
ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้มี ๔ ประเภท ดังนี้
๑.๑ ประเภทการจอดประจำ ๒๔ ชั่วโมง
๑.๒ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐
น.) โดยไม่รวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
๑.๓ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐
น.) โดยรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ๒๔ ชั่วโมง
๑.๔ ประเภทการจอดชั่วคราว (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น.)
ข้อ ๒ ให้รถยนต์ไม่เกิน
๔ ล้อ ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดประจำ
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคัน ดังนี้
๒.๑ ประเภทการจอดประจำ ๒๔ ชั่วโมง เดือนละ ๓,๐๐๐.- บาท หรือปีละ ๓๐,๐๐๐.- บาท
๒.๒ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐
น.) โดยไม่รวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เดือนละ ๑,๑๐๐.- บาท หรือปีละ ๑๑,๐๐๐.- บาท
๒.๓ ประเภทการจอดประจำ ๑๒ ชั่วโมง (ระหว่างเวลา ๑๘.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐
น.) โดยรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ๒๔ ชั่วโมง เดือนละ ๑,๕๐๐.- บาท หรือปีละ ๑๕,๐๐๐.- บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
เป็นอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๓๐/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
716333 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 86) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ เห็นชอบปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
สำนักอนามัย โดยยกฐานะกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเป็นสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกองระดับสูง ในสังกัดสำนักอนามัย
เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภารกิจที่รับผิดชอบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนี้
๑. ยกเลิกความใน (๘)
ของข้อ ๑๓ ก. แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๘) สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
๒. ยกเลิกความใน (๘)
ของข้อ ๑๓ ข. แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๘) สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
725842 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 88)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนวัดมหรรณพาราม สังกัดสำนักงานเขตพระนคร เป็นโรงเรียนวัดมหรรณพาราม
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีที่ทรงรับโรงเรียนวัดมหรรณพารามอยู่ในพระราชูปถัมภ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยให้ยกเลิกความในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑
สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔) ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๕) โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๗ เมษายน ๒๕๕๘
วิศนี/ผู้ตรวจ
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘ |
698067 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ
ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย[๑]
โดยที่เป็นการสมควรออกประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔
และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้มี ๒ ประเภท ดังนี้
๑.๑
ประเภทการจอดประจำ
๑.๒
ประเภทการจอดชั่วคราว
ข้อ
๒ ให้รถยนต์ไม่เกิน ๔ ล้อ
ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดประจำได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคัน
ดังนี้
๒.๑
รถยนต์เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท
๒.๒
รถยนต์จอดเป็นรายปี ๆ ละ ๓๐,๐๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
เป็นอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ข้อ
๓ ให้เจ้าของยานยนต์ที่ประสงค์จะนำยานยนต์เข้าจอดในประเภทการจอดประจำติดต่อขอรับบัตรจอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
โดยชำระค่าธรรมเนียมก่อนนำรถเข้าจอด
การชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวชำระเป็นรายเดือนหรือรายปีแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือนหรือรายปีแล้ว
ถ้าใช้สิทธิจอดยานยนต์ไม่ครบเดือนหรือครบปีไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืน
การนำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
และการนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครจะต้องแสดงบัตรจอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและทางออกและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ
๔ ให้รถยนต์ไม่เกิน ๔ ล้อ
ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดชั่วคราวได้ระหว่างเวลา
๐๖.๐๐ น. ถึง ๒๑.๐๐ น. ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคัน ดังนี้
๔.๑
รถยนต์
ก.
ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๒๐ บาท
ข.
ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๒๐ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที คิด ๑๐ บาท ถ้าเกิน
๓๐ นาที คิด ๒๐ บาท
๔.๒
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์ไว้ในอาคารที่จอดยานยนต์เกินกำหนดเวลาที่อนุญาตไว้ นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามปกติแล้วจะต้องเสียเงินเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด
แม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม โดยรถยนต์เสียครั้งละ ๑๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ข้อ
๕ ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้ามาจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราว
รับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
และให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารจอดยานยนต์
ข้อ
๖ บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายไปแจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่จอดยานยนต์
หรือเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์โดยผู้แจ้งต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
และต้องเสียค่าธรรมเนียมในกรณีนี้จำนวน ๑๐๐ บาท
การรับแจ้งความให้ถามชื่อตัว
ชื่อสกุล สัญชาติ อายุ อาชีพ ที่อยู่ และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
พร้อมบันทึกสาเหตุแห่งการสูญหายของบัตรจอดยานยนต์ตามแบบ ปค. ๑๔
ข้อ
๗ อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครแห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับจอดยานยนต์เท่านั้น
กรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด ๆ
อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารแห่งนี้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
มุดตาฝ้า หมันงะ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๒๘/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
708939 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 85)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อโรงเรียนคลองบางแวก (มนต์
จรัสสิงห์) สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม เป็นโรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
เพื่อให้ถูกต้องตามสถานที่ตั้ง สอดคล้องตามข้อเท็จจริง
ไม่ให้เกิดความสับสนในการติดต่อราชการ และเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่นางมนต์
จรัสสิงห์
ผู้มีคุณูปการต่อกรุงเทพมหานครในการบริจาคที่ดินให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยให้ยกเลิกความใน (๑๒) ของข้อ ๒๒
สำนักงานเขตหนองแขม ในข้อ ๒๘ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๒) โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ผุสดี ตามไท
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มิถุนายน
๒๕๕๗
วันทิตา/ผู้ตรวจ
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ |
735974 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 89)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อศูนย์บริการสาธารณสุข ๒
ราชปรารภ เป็น ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานที่ตั้งของศูนย์บริการสาธารณสุขในปัจจุบันที่ใช้อาคาร
สถานที่ของวัดดิสหงษาราม (วัดมักกะสัน) เดิม ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่
๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙) ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยให้ยกเลิกความใน (๑๕) ของข้อ ๑๓ ก.
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖๙) ลงวันที่ ๒๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/จัดทำ
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
วริญา/ตรวจ
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ |
723358 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 87) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ และครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม
๒๕๕๗ เห็นชอบปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักพัฒนาสังคม
โดยเพิ่มอำนาจหน้าที่ด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทอาชีวศึกษา
และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกองส่งเสริมอาชีพ
เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของสำนักพัฒนาสังคมและปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักการศึกษาโดยกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของหน่วยศึกษานิเทศก์และสำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของสำนักการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และ (ฉบับที่ ๖๐) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนี้
๑. ยกเลิกความของข้อ ๒๙
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๙ สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒. ยกเลิกความใน (๔)
ของข้อ ๓๐ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔) กองส่งเสริมอาชีพ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓. ยกเลิกความของข้อ ๑๔
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔ สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๔. ยกเลิกความใน (๔)
ของข้อ ๑๔ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕. ยกเลิกความใน (๕)
ของข้อ ๑๔ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสามัญศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ |
702730 | ประกาศสำนักงานศาลปกครอง เรื่อง ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ | ประกาศสำนักงานศาลปกครอง
ประกาศสำนักงานศาลปกครอง
เรื่อง
ศาลปกครองพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ[๑]
ด้วยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ.๗๖๔/๒๕๕๖
ระหว่างนายถวิล จงสมจิต ที่ ๑ นางเอื้อง เมืองที่รัก ที่ ๒ นางลิ้นจี่ บทเจริญ ที่
๓ นางวิลาวรรณ ศศิมณฑล ที่ ๔ นางสาวเยาวลักษณ์ หาญธัญพงศ์ ที่ ๕ ผู้ฟ้องคดี กับ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ ๑ กรุงเทพมหานคร ที่ ๒ ผู้ถูกฟ้องคดี
โดยพิพากษาให้เพิกถอนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข
พ.ศ. ๒๕๔๘ ในข้อ ๕ บทนิยามของคำว่า เจ้าของสุนัข ที่ให้หมายความรวมถึงผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย
ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
ดิเรกฤทธิ์
เจนครองธรรม
เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ
๓ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๕/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ |
698071 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ 3) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ
ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ฉบับที่ ๓)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔
และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ข้อ ๕ และข้อ ๖
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดสวนมะลิ ถนนเฉลิมเขตร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓
ให้ผู้ที่ประสงค์นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำติดต่อเพื่อขอมีบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์โดยยื่นเอกสารประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือสำเนาบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์แสดงต่อเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียมและค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวน
๓๐๐ บาท
โดยค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวนนี้จะคืนให้เมื่อยกเลิกการใช้บริการและคืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
แต่จะริบไว้เป็นค่าปรับในกรณีที่ไม่คืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
หรือบัตรจอดยานยนต์สูญหาย หัก งอ
หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตร
และในกรณีที่ประสงค์ใช้บริการจอดยานยนต์ต่อไป ให้ดำเนินการขอมีบัตรจอดยานยนต์พร้อมชำระค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์ทุกครั้ง
ในกรณีที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือนหรือรายปีแล้ว
ถ้าใช้สิทธิจอดยานยนต์ไม่ครบเดือนหรือครบปีจะไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืนแต่อย่างใด
การนำยานยนต์เข้าและออกจากอาคารที่จอดยานยนต์จะต้องแสดงบัตรจอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ประจำตู้ทางเข้าและออกทุกครั้งพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ ๕
ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวรับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัดและให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ในกรณีบัตรจอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวสูญหาย หัก งอ
หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตรแล้ว
ผู้ถือบัตรหรือผู้ครอบครองยานยนต์ต้องชำระค่าปรับในกรณีนี้จำนวน ๓๐๐ บาท
ข้อ ๖
บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่จอดยานยนต์
เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยให้ผู้แจ้งนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์เพื่อตรวจสอบพร้อมบันทึกสาเหตุการสูญหายตามแบบ
ปค. ๑๔ ก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
จุมพล สำเภาพล
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๓๒/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
729601 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 20/02/2558)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔
และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙) กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ ๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๑๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๐]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า
วิเคราะห์ทางการพยาบาล การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล
และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๑]
ข้อ ๑๔[๒๒] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๓]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๔]
หน่วยศึกษานิเทศก์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๕]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง
ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน
การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๖] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๗] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๘] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๒๙] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๐] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๑]
ข้อ ๒๐[๓๒] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๓] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๔]
ข้อ ๒๒[๓๕] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๖] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๗]
ข้อ ๒๔[๓๘] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๓๙] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๐]
ข้อ ๒๖[๔๑] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๒] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๓]
ข้อ ๒๗[๔๔]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย)
การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี
การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน
กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน
กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๕] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๖] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๗]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๘]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๔๙]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๐]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๑]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๒]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๓]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๔]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๕]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๖]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๗]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๕๘]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๙]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๐]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๑]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๒]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๓]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๔]
ข้อ ๒๙[๖๕] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๖๖] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๖๗]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี
ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๖๘]
ข้อ ๓๑[๖๙] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๑]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๒] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๓] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๔]
ข้อ ๓๕[๗๕] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๖] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๗]
ข้อ ๓๗[๗๘] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๗๙] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๐] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๑] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๒] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๓] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๔] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๕] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๗] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๘] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๙] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๐] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๑] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๒] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๔] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๕] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)
[๔๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๔] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๕] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๖] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๗] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๘] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๙] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๑] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๒] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๓] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๕] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๖] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๗] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๘] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๙] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ |
709985 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 31/07/2556) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ
๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
กองบริหารทั่วไป
(๒)
กองสรรหาบุคคล
(๓)
กองระบบงาน
(๔)
กองอัตรากำลัง
(๕)
กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓]
กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย การตรวจ
และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และรักษามาตรฐานทางวินัย ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก.
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง
ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒)
กองกลาง
(๓)
กองการเจ้าหน้าที่
(๔)
สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)
กองประชาสัมพันธ์
(๘)
กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)
กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ
๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ
๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก.
ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘) กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข.
ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานเลขานุการ
งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การควบคุมคุณภาพอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘) กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ
การสุขาภิบาลควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาลทั่วไป และการอาชีวอนามัย
การป้องกันควบคุม เฝ้าระวัง
และการประเมินความเสี่ยงในการแก้ไขปัญหาจากสารเคมีหรือวัตถุอันตรายในสถานประกอบกิจการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและแหล่งอันตรายที่มีความเสี่ยง การจัดทำ
แผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม
สนับสนุนและเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลัก
และประชาชนทั่วไปรวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมายเป็นศูนย์สารสนเทศด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์
สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม การผลิตยาประเภทต่าง ๆ
ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
สารเสพติด และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร
การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี ฐานปัญญา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย ๔
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๑๙]
ข้อ ๑๔[๒๐]
สำนักการศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง การปรับปรุงส่วนราชการ
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย
การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ
การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินบุคคล การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
การสรรหา การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ
และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก.
ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน
๖ เดือน ๑ ปี จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร
หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)
หน่วยศึกษานิเทศก์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำ
ส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงินและบัญชี ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
งานการเจ้าหน้าที่ งานการประชุมงานพิธีการ งานการประชาสัมพันธ์
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ งานการพิมพ์ และผลิตเอกสารที่ใช้ในการนิเทศงาน ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนการนิเทศ
งานวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา สรุปและรายงานการนิเทศการศึกษา
การจัดระบบข้อมูลพื้นฐานจัดระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
งานแผนงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน นิเทศการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย มัธยมศึกษา
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ส่งเสริมให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
เผยแพร่ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ
การใช้นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ผลิตเอกสารผลงานทางวิชาการเผยแพร่
ปฏิบัติงานตามนโยบายการศึกษาของกรุงเทพมหานครและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มรัตนโกสินทร์ (กท ๑) และกลุ่มลุมพินี (กท ๒)
มีโรงเรียนจำนวน ๕๑ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๐ เครือข่าย ๆ และ ๔ - ๘ โรงเรียน
๓)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๒ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มวิภาวดี (กท ๓) และกลุ่มเจ้าพระยา (กท ๔) มีโรงเรียน
จำนวน ๕๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๙ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๔)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มกรุงธนบุรี (กท ๕) และกลุ่มตากสิน (กท ๖) มีโรงเรียนจำนวน
๘๖ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster)
จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๕)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๔ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มพระนครเหนือ (กท ๗) และกลุ่มสุวินทวงศ์ (กท ๙) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๗ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๖)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๕ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มบูรพา (กท ๘) และกลุ่มศรีนครินทร์ (กท ๑๐) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๗)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๖ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มมหาสวัสดิ์ (กท ๑๑) และกลุ่มสนามชัย (กท ๑๒) มีโรงเรียน
จำนวน ๗๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๒ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษางานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษางานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุม ดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์
จัดทำประสานและส่งเสริมด้านนโยบายและแผนการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การกำหนดกรอบแนวทางและมาตรการในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนและกำหนดกรอบเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบรวม
ยกเลิกสถานศึกษาและการรับนักเรียนในแต่ละระดับ
การประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร
และแผนงานด้านการศึกษาโดยประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานประจำปี
การประสานงานด้านนโยบายและแผนกับหน่วยงานภายนอก
การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จัดหา
และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจัดเก็บ
ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานประมาณการจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนระยะ
๕ ปี ทุกปี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย
และส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
รวมทั้งการเทียบโอนผลการเรียนต่างระบบ
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
การศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
การเตรียมความพร้อมและร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนสถานศึกษาให้กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒ การกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริม
สนับสนุนและประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือในประเทศและต่างประเทศ
การกำหนดพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการประสาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้บริการและการจัดการศึกษา
การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม ดำเนินการวิจัยด้านการจัดการเรียน การสอน
และด้านการบริหารและจัดการศึกษา การส่งเสริม
สนับสนุนโรงเรียนให้วิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ การรวบรวม สังเคราะห์
เผยแพร่ผลการวิจัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานหลักสูตรและวิธีสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาคู่มือหลักเกณฑ์
แนวทางด้านสาระหลักสูตรและวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอนตาม ๘
กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การกำหนดเผยแพร่เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ
และนโยบายของกรุงเทพมหานคร การสร้าง
พัฒนาเครื่องมือวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
การสนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตร ประเมินผลการเรียนรู้และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการปรับปรุง
แก้ไขปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาระบบมาตรฐานการศึกษา
คู่มือดำเนินงานและเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
การจัดระบบสังเคราะห์รายงานประจำปีของโรงเรียน
การวิเคราะห์วางแผนจัดทำแผนและประสานการรับการประเมินจากภายนอกของโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในระดับกรุงเทพมหานครและประสานกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินผลผู้เรียนระดับชาติ
การจัดระบบ รวบรวมสังเคราะห์ผลการประเมิน ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครจากสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา
การจัดทำรายงานจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้าในด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การสนับสนุนและสังเคราะห์ผลการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning)
เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน
การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ
งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริการโสตทัศนูปกรณ์
ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ สำนักการศึกษา
ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๑] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่
(๓)
กองคลัง
(๔)
หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๒] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๓] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓)
กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔)
สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕)
สำนักงานออกแบบ
(๖)
กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗)
กองควบคุมอาคาร
(๘)
กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙)
กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม
และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๒๔] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๒๕] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๒๖]
ข้อ ๒๐[๒๗] สำนักสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๒๘] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔)
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕)
กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖)
สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว[๒๙]
ข้อ ๒๒[๓๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๑] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔)
กองนันทนาการ
(๕)
กองการกีฬา
(๖)
กองการสังคีต
(๗)
กองการท่องเที่ยว
(๘)
กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๓๒]
ข้อ ๒๔[๓๓] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๓๔] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองรายได้
(๓)
กองการเงิน
(๔)
กองบัญชี
(๕)
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖)
กองโรงงานช่างกล
(๗)
กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘)
กองตรวจจ่าย
(๙)
กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๓๕]
ข้อ
๒๖[๓๖] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๓๗] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๓๘]
ข้อ ๒๗[๓๙]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น
ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑.
ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง (ได้แก่
ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า
ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์
การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค
งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว
ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓.
ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม และการปรับปรุงโรงเรียน
ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม
การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ
ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔.
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ
กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕.
ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖.
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา เรือท่องเที่ยว
และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้
การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ
การเงิน การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.
๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘.
ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙
ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙.
ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐.
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑.
โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒.
โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๐] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑.
สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓)
โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔)
โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๑]
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
(๑๖)
โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗)
โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘)
โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙)
โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐)
โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑)
โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒.
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒)
โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓)
โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔)
โรงเรียนวัดสิตาราม
๓.
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒)
โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓)
โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔.
สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒)
โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓)
โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕)
โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕.
สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒)
โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓)
โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๒]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕)
โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๓]
(ยกเลิก)
(๑๗)
โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)
โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙)
โรงเรียนปลูกจิต
๖.
สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒)
โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓)
โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔)
โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕)
โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖)
โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗.
สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๔๔]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓)
โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔)
โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๔๕]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖)
โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗)
โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘)
โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙)
โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘.
สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙.
สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒)
โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๔๖]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐.
สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒)
โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑.
สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒)
โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕)
โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗)
โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘)
โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐)
โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑)
โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒.
สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒)
โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓)
โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔)
โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕)
โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓.
สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒)
โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓)
โรงเรียนคลองสาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕)
โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖)
โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗)
โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘)
โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙)
โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐)
โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑)
โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒)
โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓)
โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔.
สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒)
โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓)
โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔)
โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕)
โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖)
โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗)
โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘)
โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐)
โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑)
โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒)
โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓)
โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔)
โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕)
โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖)
โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗)
โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘)
โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙)
โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐)
โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕.
สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒)
โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓)
โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕)
โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖)
โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗)
โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘)
โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙)
โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐)
โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑)
โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒)
โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖)
โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗)
โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘)
โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙)
โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑)
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒)
โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓)
โรงเรียนคลองสอง
(๓๔)
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕)
โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖)
โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗)
โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘)
โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙)
โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐)
โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑)
โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒)
โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓)
โรงเรียนลำผักชี
(๔๔)
โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕)
โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖)
โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗)
โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖.
สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒)
โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓)
โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔)
โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖)
โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗)
โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙)
โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐)
โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑)
โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒)
โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓)
โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔)
โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕)
โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖)
โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗)
โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗.
สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓)
โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔)
โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕)
โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖)
โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗)
โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๔๗]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘.
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒)
โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓)
โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔)
โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖)
โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙.
สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓)
โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔)
โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕)
โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖)
โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗)
โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙)
โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐)
โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑)
โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒)
โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓)
โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔)
โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕)
โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐.
สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓)
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔)
โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕)
โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖)
โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗)
โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘)
โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙)
โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐)
โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑)
โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒)
โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓)
โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔)
โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕)
โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖)
โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑.
สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒)
โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓)
โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔)
โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕)
โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖)
โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗)
โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘)
โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙)
โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐)
โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑)
โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๔๘]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓)
โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒.
สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)
โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔)
โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕)
โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖)
โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓.
สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒)
โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕)
โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖)
โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗)
โรงเรียนวัดกก
(๑๘)
โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙)
โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๔๙]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑)
โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒)
โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓)
โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔)
โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕)
โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖)
โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔.
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒)
โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓)
โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔)
โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕)
โรงเรียนวัดสน
(๑๖)
โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕.
สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒)
โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕)
โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖)
โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖.
สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๐]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒)
โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓)
โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔)
โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕)
โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖)
โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗)
โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗.
สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒)
โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓)
โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔)
โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕)
โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖)
โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘.
สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒)
โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓)
โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔)
โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕)
โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๑]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗)
โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘)
โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙.
สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒)
โรงเรียนวัดดอน
๓๐.
สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓)
โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖)
โรงเรียนวัดไทร
(๑๗)
โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑.
สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓)
โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕)
โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖)
โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗)
โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒.
สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒)
โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓)
โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓.
สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒)
โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓)
โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔)
โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔.
สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒)
โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕)
โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖)
โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗)
โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘)
โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐)
โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑)
โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒)
โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓)
โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔)
โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖)
โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕.
สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓)
โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔)
โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๕๒]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖)
โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗)
โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดรวก
(๑๙)
โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐)
โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑)
โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖.
สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒)
โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔)
โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕)
โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖)
โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗)
โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘)
โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙)
โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐)
โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑)
โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗.
สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒)
โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓)
โรงเรียนวิชากร
๓๘.
สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓)
โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔)
โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕)
โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖)
โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗)
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘)
โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙.
สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒)
โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖)
โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐.
สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒)
โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔)
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕)
โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖)
โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗)
โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘)
โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙)
โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑.
สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒)
โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒.
สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๓]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒)
โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓)
โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔)
โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕)
โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖)
โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓.
สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒)
โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔.
สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒)
โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๕๔]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕)
โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)
โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗)
โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘)
โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙)
โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐)
โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑)
โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒)
โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓)
โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔)
โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖)
โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗)
โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘)
โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕.
สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓)
โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔)
โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕)
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖)
โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗)
โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖.
สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๕๕]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕)
โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖)
โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗)
โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘)
โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗.
สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒)
โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓)
โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔)
โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕)
โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖)
โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๕๖]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘.
สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔)
โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕)
โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖)
โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗)
โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘)
โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙)
โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐)
โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑)
โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒)
โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙.
สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓)
โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔)
โรงเรียนนาหลวง
(๑๕)
โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖)
โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗)
โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘)
โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐.
สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔)
โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕)
โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖)
โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗)
โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๕๗]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๕๘]
ข้อ ๒๙[๕๙] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิตการส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล
พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม
การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
ข้อ ๓๐[๖๐] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองการพัฒนาชุมชน
(๔)
กองส่งเสริมอาชีพ
(๕)
สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๖๑]
ข้อ ๓๑[๖๒] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๖๓] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๖๔]
ข้อ ๓๓
สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS)
เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๖๕] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๖๖] กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองสำรวจและแผนที่
(๔)
กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕)
กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖)
กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๖๗]
ข้อ ๓๕[๖๘] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๖๙] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองวิชาการและแผนงาน
(๓)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๐]
ข้อ ๓๗[๗๑] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๗๒] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑) [๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒) [๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔) [๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕) [๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘๔)[๑๕๔]
ณัฐพร/จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓ ทวิ
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓ ทวิ (๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓ ทวิ (๗)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕ (๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด ๕
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๑๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด ๘
สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ ๑๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] หมวด ๙ สำนักการศึกษา
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๐] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๑] ข้อ ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๒] ข้อ ๑๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๓] ข้อ ๑๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๔] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๒๕] ข้อ ๑๙ (๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๒๖] หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๗] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๘] ข้อ ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๙] หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๐] ข้อ ๒๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๑] ข้อ ๒๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๒] หมวด ๑๔
สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ ๒๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ ๒๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ ๒๖ ทวิ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] หมวด ๑๖
สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๓๙] ข้อ ๒๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๐] ข้อ ๒๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)
[๔๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕
สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕
สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๔๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗
สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๔๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗
สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๔๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙
สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๔๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗
สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๔๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑
สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๔๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓
สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖
สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘
สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕
สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒
สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖
สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗
สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐
สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๕๘] หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๕๙] ข้อ ๒๙
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๐] ข้อ ๓๐
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๑] หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๒] ข้อ ๓๑
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๓] ข้อ ๓๒
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๔] หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๖๕] ข้อ ๓๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๖๖] ข้อ ๓๔ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๗] หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๖๘] ข้อ ๓๕
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๖๙] ข้อ ๓๖
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๐] หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๑] ข้อ ๓๗
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๒] ข้อ ๓๘
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๗๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๗๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๗๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๗๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๘๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๘๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๘๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๘๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๘๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๘๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๘๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒
มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗
ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓
กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
765314 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/09/2558) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔
และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙) กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา
ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ ๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๑๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕)[๒๐]
ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ วัดมักกะสัน
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๑]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๒]
ข้อ ๑๔[๒๓] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๔]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง
การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๕]
หน่วยศึกษานิเทศก์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๖]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง
ๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่าง
ๆ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๗] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๘] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๙] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๓๐] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๑] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๒]
ข้อ ๒๐[๓๓] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๔] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๕]
ข้อ ๒๒[๓๖] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๗] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๘]
ข้อ ๒๔[๓๙] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๔๐] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๑]
ข้อ ๒๖[๔๒] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๓] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๔]
ข้อ ๒๗[๔๕]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ ติดตั้ง
ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่น ๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน
กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว
การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้ประสบภัย การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
การควบคุมดูแล การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด
บ้านหนังสือ ศูนย์กีฬาและลานกีฬา
การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ
และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๖] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๗] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๘]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๙]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๕๐]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๑]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๒]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๓]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๔]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๕]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๖]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๗]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๘]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๕๙]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๖๐]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๑]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๒]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๓]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๔]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๕]
ข้อ ๒๙[๖๖]
สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๖๗] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๖๘]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน
การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา
รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๖๙]
ข้อ ๓๑[๗๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง การวิเคราะห์
วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๑] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๒]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน
เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้
ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ
ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS)
เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๓] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๔] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๕]
ข้อ ๓๕[๗๖] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๗] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๘]
ข้อ ๓๗[๗๙] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๘๐] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๕]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)[๑๖๗]
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วริญา/เพิ่มเติม
๓๐ กันยายน
๒๕๕๘
นุสรา/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๐] ข้อ ๑๓ ก. (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๙)
[๒๑] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๒] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๓] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๕] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ ๑๔ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๗] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๘] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๙] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๓๐] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๑] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๒] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๔] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๕] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๕] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๖] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๗] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๘] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๙] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๑] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๒] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๓] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๔] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๕] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๖] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๗] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๘] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๙] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๐] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๘๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๖๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘
[๑๖๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๓๐ ง/หน้า ๑๖/๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ |
718298 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 26/06/2557) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ
๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
กองบริหารทั่วไป
(๒)
กองสรรหาบุคคล
(๓)
กองระบบงาน
(๔)
กองอัตรากำลัง
(๕)
กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓]
กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย การตรวจ
และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และรักษามาตรฐานทางวินัย ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก.
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง
ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒)
กองกลาง
(๓)
กองการเจ้าหน้าที่
(๔)
สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗)
กองประชาสัมพันธ์
(๘)
กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)
กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ
๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ
๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก.
ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘) กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข.
ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับงานเลขานุการ
งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การควบคุมคุณภาพอาหาร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘) กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ
การสุขาภิบาลควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาลทั่วไป และการอาชีวอนามัย
การป้องกันควบคุม เฝ้าระวัง
และการประเมินความเสี่ยงในการแก้ไขปัญหาจากสารเคมีหรือวัตถุอันตรายในสถานประกอบกิจการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและแหล่งอันตรายที่มีความเสี่ยง การจัดทำ
แผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม
สนับสนุนและเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลัก
และประชาชนทั่วไปรวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมายเป็นศูนย์สารสนเทศด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล
การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์
สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม การผลิตยาประเภทต่าง ๆ
ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
สารเสพติด และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร
การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี ฐานปัญญา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม โชคชัย ๔
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๑๙]
ข้อ ๑๔[๒๐]
สำนักการศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง การปรับปรุงส่วนราชการ
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย
การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ
การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินบุคคล การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
การสรรหา การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ
และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก.
ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน
๖ เดือน ๑ ปี จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร
หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)
หน่วยศึกษานิเทศก์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำ
ส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงินและบัญชี ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
งานการเจ้าหน้าที่ งานการประชุมงานพิธีการ งานการประชาสัมพันธ์
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ งานการพิมพ์ และผลิตเอกสารที่ใช้ในการนิเทศงาน ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนการนิเทศ
งานวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา สรุปและรายงานการนิเทศการศึกษา
การจัดระบบข้อมูลพื้นฐานจัดระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
งานแผนงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน นิเทศการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย มัธยมศึกษา
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ส่งเสริมให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
เผยแพร่ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ
การใช้นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ผลิตเอกสารผลงานทางวิชาการเผยแพร่
ปฏิบัติงานตามนโยบายการศึกษาของกรุงเทพมหานครและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มรัตนโกสินทร์ (กท ๑) และกลุ่มลุมพินี (กท ๒)
มีโรงเรียนจำนวน ๕๑ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๐ เครือข่าย ๆ และ ๔ - ๘ โรงเรียน
๓)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๒ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มวิภาวดี (กท ๓) และกลุ่มเจ้าพระยา (กท ๔) มีโรงเรียน
จำนวน ๕๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๙ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๔)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มกรุงธนบุรี (กท ๕) และกลุ่มตากสิน (กท ๖) มีโรงเรียนจำนวน
๘๖ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster)
จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๕)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๔ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มพระนครเหนือ (กท ๗) และกลุ่มสุวินทวงศ์ (กท ๙) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๗ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๖)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๕ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มบูรพา (กท ๘) และกลุ่มศรีนครินทร์ (กท ๑๐) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๗)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๖ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มมหาสวัสดิ์ (กท ๑๑) และกลุ่มสนามชัย (กท ๑๒) มีโรงเรียน
จำนวน ๗๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๒ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษางานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษางานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุม ดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์
จัดทำประสานและส่งเสริมด้านนโยบายและแผนการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การกำหนดกรอบแนวทางและมาตรการในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนและกำหนดกรอบเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบรวม
ยกเลิกสถานศึกษาและการรับนักเรียนในแต่ละระดับ
การประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร
และแผนงานด้านการศึกษาโดยประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานประจำปี
การประสานงานด้านนโยบายและแผนกับหน่วยงานภายนอก
การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จัดหา
และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจัดเก็บ
ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานประมาณการจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนระยะ
๕ ปี ทุกปี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย
และส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
รวมทั้งการเทียบโอนผลการเรียนต่างระบบ
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
การศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
การเตรียมความพร้อมและร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนสถานศึกษาให้กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒ การกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริม
สนับสนุนและประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือในประเทศและต่างประเทศ
การกำหนดพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการประสาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้บริการและการจัดการศึกษา
การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม ดำเนินการวิจัยด้านการจัดการเรียน การสอน
และด้านการบริหารและจัดการศึกษา การส่งเสริม
สนับสนุนโรงเรียนให้วิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ การรวบรวม สังเคราะห์
เผยแพร่ผลการวิจัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานหลักสูตรและวิธีสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาคู่มือหลักเกณฑ์
แนวทางด้านสาระหลักสูตรและวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอนตาม ๘
กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การกำหนดเผยแพร่เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ
และนโยบายของกรุงเทพมหานคร การสร้าง
พัฒนาเครื่องมือวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
การสนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตร ประเมินผลการเรียนรู้และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการปรับปรุง
แก้ไขปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาระบบมาตรฐานการศึกษา
คู่มือดำเนินงานและเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
การจัดระบบสังเคราะห์รายงานประจำปีของโรงเรียน
การวิเคราะห์วางแผนจัดทำแผนและประสานการรับการประเมินจากภายนอกของโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในระดับกรุงเทพมหานครและประสานกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินผลผู้เรียนระดับชาติ
การจัดระบบ รวบรวมสังเคราะห์ผลการประเมิน ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครจากสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา
การจัดทำรายงานจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้าในด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การสนับสนุนและสังเคราะห์ผลการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning)
เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน
การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ
งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริการโสตทัศนูปกรณ์
ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ สำนักการศึกษา
ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๑] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่
(๓)
กองคลัง
(๔)
หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๒] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๓] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓)
กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔)
สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕)
สำนักงานออกแบบ
(๖)
กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗)
กองควบคุมอาคาร
(๘)
กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙)
กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม
และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๒๔] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๒๕] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๒๖]
ข้อ ๒๐[๒๗] สำนักสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๒๘] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔)
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕)
กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖)
สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว[๒๙]
ข้อ ๒๒[๓๐] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๑] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔)
กองนันทนาการ
(๕)
กองการกีฬา
(๖)
กองการสังคีต
(๗)
กองการท่องเที่ยว
(๘)
กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๓๒]
ข้อ ๒๔[๓๓] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๓๔] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองรายได้
(๓)
กองการเงิน
(๔)
กองบัญชี
(๕)
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖)
กองโรงงานช่างกล
(๗)
กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘)
กองตรวจจ่าย
(๙)
กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๓๕]
ข้อ
๒๖[๓๖] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๓๗] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๓๘]
ข้อ ๒๗[๓๙]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น
ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑.
ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง (ได้แก่
ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า
ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์
การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค
งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว
ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓.
ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม และการปรับปรุงโรงเรียน
ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม
การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ
ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔.
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ
กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕.
ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖.
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา เรือท่องเที่ยว
และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้
การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ
การเงิน การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.
๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘.
ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙
ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙.
ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐.
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑.
โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒.
โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๐] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑.
สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓)
โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔)
โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๑]
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
(๑๖)
โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗)
โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘)
โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙)
โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐)
โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑)
โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒.
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒)
โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓)
โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔)
โรงเรียนวัดสิตาราม
๓.
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒)
โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓)
โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔.
สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒)
โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓)
โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕)
โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕.
สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒)
โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓)
โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๒]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕)
โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๓]
(ยกเลิก)
(๑๗)
โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)
โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙)
โรงเรียนปลูกจิต
๖.
สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒)
โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓)
โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔)
โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕)
โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖)
โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗.
สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๔๔]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓)
โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔)
โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๔๕]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖)
โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗)
โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘)
โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙)
โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘.
สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙.
สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒)
โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๔๖]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐.
สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒)
โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑.
สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒)
โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕)
โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗)
โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘)
โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐)
โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑)
โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒.
สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒)
โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓)
โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔)
โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕)
โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓.
สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒)
โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓)
โรงเรียนคลองสาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕)
โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖)
โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗)
โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘)
โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙)
โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐)
โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑)
โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒)
โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓)
โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔.
สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒)
โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓)
โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔)
โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕)
โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖)
โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗)
โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘)
โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐)
โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑)
โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒)
โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓)
โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔)
โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕)
โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖)
โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗)
โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘)
โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙)
โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐)
โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕.
สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒)
โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓)
โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕)
โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖)
โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗)
โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘)
โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙)
โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐)
โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑)
โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒)
โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖)
โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗)
โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘)
โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙)
โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑)
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒)
โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓)
โรงเรียนคลองสอง
(๓๔)
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕)
โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖)
โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗)
โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘)
โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙)
โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐)
โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑)
โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒)
โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓)
โรงเรียนลำผักชี
(๔๔)
โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕)
โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖)
โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗)
โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖.
สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒)
โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓)
โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔)
โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖)
โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗)
โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙)
โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐)
โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑)
โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒)
โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓)
โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔)
โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕)
โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖)
โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗)
โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗.
สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓)
โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔)
โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕)
โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖)
โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗)
โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๔๗]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘.
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒)
โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓)
โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔)
โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖)
โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙.
สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓)
โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔)
โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕)
โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖)
โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗)
โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙)
โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐)
โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑)
โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒)
โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓)
โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔)
โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕)
โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐.
สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓)
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔)
โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕)
โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖)
โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗)
โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘)
โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙)
โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐)
โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑)
โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒)
โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓)
โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔)
โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕)
โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖)
โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑.
สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒)
โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓)
โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔)
โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕)
โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖)
โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗)
โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘)
โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙)
โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐)
โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑)
โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๔๘]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓)
โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒.
สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๔๙]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔)
โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕)
โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖)
โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓.
สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒)
โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕)
โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖)
โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗)
โรงเรียนวัดกก
(๑๘)
โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙)
โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๐]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑)
โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒)
โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓)
โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔)
โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕)
โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖)
โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔.
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒)
โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓)
โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔)
โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕)
โรงเรียนวัดสน
(๑๖)
โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕.
สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒)
โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕)
โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖)
โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖.
สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๑]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒)
โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓)
โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔)
โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕)
โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖)
โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗)
โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗.
สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒)
โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓)
โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔)
โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕)
โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖)
โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘.
สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒)
โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓)
โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔)
โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕)
โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๒]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗)
โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘)
โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙.
สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒)
โรงเรียนวัดดอน
๓๐.
สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓)
โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖)
โรงเรียนวัดไทร
(๑๗)
โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑.
สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓)
โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕)
โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖)
โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗)
โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒.
สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒)
โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓)
โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓.
สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒)
โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓)
โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔)
โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔.
สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒)
โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕)
โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖)
โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗)
โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘)
โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐)
โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑)
โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒)
โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓)
โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔)
โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖)
โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕.
สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓)
โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔)
โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๕๓]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖)
โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗)
โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดรวก
(๑๙)
โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐)
โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑)
โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖.
สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒)
โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔)
โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕)
โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖)
โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗)
โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘)
โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙)
โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐)
โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑)
โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗.
สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒)
โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓)
โรงเรียนวิชากร
๓๘.
สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓)
โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔)
โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕)
โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖)
โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗)
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘)
โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙.
สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒)
โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖)
โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐.
สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒)
โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔)
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕)
โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖)
โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗)
โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘)
โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙)
โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑.
สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒)
โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒.
สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๔]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒)
โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓)
โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔)
โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕)
โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖)
โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓.
สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒)
โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔.
สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒)
โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๕๕]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕)
โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)
โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗)
โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘)
โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙)
โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐)
โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑)
โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒)
โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓)
โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔)
โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖)
โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗)
โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘)
โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕.
สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓)
โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔)
โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕)
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖)
โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗)
โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖.
สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๕๖]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕)
โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖)
โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗)
โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘)
โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗.
สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒)
โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓)
โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔)
โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕)
โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖)
โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๕๗]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘.
สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔)
โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕)
โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖)
โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗)
โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘)
โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙)
โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐)
โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑)
โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒)
โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙.
สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓)
โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔)
โรงเรียนนาหลวง
(๑๕)
โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖)
โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗)
โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘)
โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐.
สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔)
โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕)
โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖)
โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗)
โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๕๘]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๕๙]
ข้อ ๒๙[๖๐] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิตการส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล
พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม
การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
ข้อ ๓๐[๖๑] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองการพัฒนาชุมชน
(๔)
กองส่งเสริมอาชีพ
(๕)
สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๖๒]
ข้อ ๓๑[๖๓] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๖๔] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๖๕]
ข้อ ๓๓
สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS)
เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๖๖] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๖๗] กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองสำรวจและแผนที่
(๔)
กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕)
กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖)
กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๖๘]
ข้อ ๓๕[๖๙] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๐] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองวิชาการและแผนงาน
(๓)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๑]
ข้อ ๓๗[๗๒] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๗๓] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๕๖]
ณัฐพร/จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓ ทวิ
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓ ทวิ (๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓ ทวิ (๗)
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕ (๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕ (๖)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด ๕
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ ๑๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด ๘
สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ ๑๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] หมวด ๙
สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๐] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๑] ข้อ ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๒] ข้อ ๑๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๓] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๔] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๒๕] ข้อ ๑๙ (๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๒๖] หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๗] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๘] ข้อ ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๙] หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๐] ข้อ ๒๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๑] ข้อ ๒๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๒] หมวด ๑๔
สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] ข้อ ๒๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ ๒๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ ๒๖ ทวิ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] หมวด ๑๖
สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๓๙] ข้อ ๒๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๐] ข้อ ๒๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)
[๔๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕
สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕
สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๔๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗
สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๔๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๗
สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๔๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๙
สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๔๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๑๗
สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๔๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๑
สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๔๙] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๒
สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๐] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๓
สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๑] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๖
สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๒] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘
สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๓] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๓๕
สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๕๔] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๒
สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๕๕] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๔
สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๕๖] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖
สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๗] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗
สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๕๘] ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๕๐
สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๕๙] หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๐] ข้อ ๒๙
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๑] ข้อ ๓๐
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๒] หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๓] ข้อ ๓๑
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๔] ข้อ ๓๒
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๕] หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๖๖] ข้อ ๓๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๖๗] ข้อ ๓๔ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๘] หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๖๙] ข้อ ๓๕
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๐] ข้อ ๓๖
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๑] หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๒] ข้อ ๓๗
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๓] ข้อ ๓๘
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๗๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๗๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๗๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๗๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๘๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๘๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๘๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๘๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๘๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๘๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๑๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๑๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒
มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗
ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๒๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๒๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓
กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๓๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๓๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๓๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๓๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๓๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๓๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๔๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๔๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๔๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๔๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๔๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๔๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๕๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๕๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๕๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๕๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ |
744288 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 03/04/2558) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔
และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙) กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ ๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๑๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๐]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า
วิเคราะห์ทางการพยาบาล การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล
และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๑]
ข้อ ๑๔[๒๒] สำนักการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดอำนาจหน้าที่ ดังนี้[๒๓]
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน
พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)[๒๔]
หน่วยศึกษานิเทศก์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน
รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)[๒๕]
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประเภทสามัญศึกษา กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์
ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษา งานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา งานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป การเงินและงบประมาณ
บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง
ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน
การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๖] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๗] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๘] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๒๙] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๓๐] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๓๑]
ข้อ ๒๐[๓๒] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๓] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๔]
ข้อ ๒๒[๓๕] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๖] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๗]
ข้อ ๒๔[๓๘] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๓๙] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๔๐]
ข้อ ๒๖[๔๑] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๔๒] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๓]
ข้อ ๒๗[๔๔]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง
การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว
การติดตั้ง guard-rail อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน
และรวมถึงการสำรวจ ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ
การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย)
การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี
การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน
กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน
กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๕] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๖] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๗]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๘]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๔๙]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๕๐]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๕๑]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๕๒]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๓]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๔]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๕]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๖]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๗]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๕๘]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๙]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๖๐]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๖๑]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๖๒]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๓]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๔]
ข้อ ๒๙[๖๕] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
การจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิต
การส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคลพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๐[๖๖] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔)[๖๗]
กองส่งเสริมอาชีพ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
การจัดหาตลาดแรงงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนอย่างครบวงจร
การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร
ส่งเสริมและพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
ประสานการจัดหาแหล่งเงินทุนดำเนินการและช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด
ส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำ
การนิเทศการเรียนการสอน การประเมินมาตรฐาน การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและพัฒนาหลักสูตรด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น
ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา รวมทั้งการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานอาชีวศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาค ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์และการวิจัยด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
การให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพกับชุมชน การฝึกอบรมวิชาชีพให้กับชุมชน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๖๘]
ข้อ ๓๑[๖๙] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๗๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๗๑]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ
ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS)
เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๗๒] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๗๓] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๔]
ข้อ ๓๕[๗๕] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๖] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๗]
ข้อ ๓๗[๗๘] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๗๙] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)[๑๖๔]
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)[๑๖๕]
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ปรับปรุง
๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/เพิ่มเติม
๓ มีนาคม ๒๕๕๘
วิศนี/เพิ่มเติม
๒๙ เมษายน ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๐] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๑] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๒] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๓] ข้อ ๑๔ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๔] ข้อ ๑๔ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๕] ข้อ ๑๔ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๒๖] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๗] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๘] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๙] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๓๐] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๓๑] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๒] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] ข้อ ๒๖
ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๓] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๔] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๕] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๘)
[๔๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๖๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๖๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๔] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๕] ข้อ ๒๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๖] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๗] ข้อ ๓๐ (๔)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๗)
[๖๘] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๙] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๑] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๗๒] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๗๓] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๔] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๕] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๖] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๗] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๘] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๙] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๘๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๘๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๒๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๒๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๓๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๖๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๖๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๖๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗
[๑๖๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๔๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
[๑๖๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๗๗ ง/หน้า ๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๘ |
724732 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 29/10/2557) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔
และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองบริหารทั่วไป
(๒) กองสรรหาบุคคล
(๓) กองระบบงาน
(๔) กองอัตรากำลัง
(๕) กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)[๓] กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย
การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ
ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗)[๔]
กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
กรุงเทพมหานคร หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์
วิธีการ กฎ ระเบียบ แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรม พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน
ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๕] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) กองกลาง
(๓) กองการเจ้าหน้าที่
(๔) สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)[๖]
สำนักงานปกครองและทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม
ประเมินผล สนับสนุน ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร
การทะเบียนทั่วไป การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๖)[๗] สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT
สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ
ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
(๗) กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙) กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๘]
(ยกเลิก)
ข้อ ๖[๙] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๑๐] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๑๑]
ข้อ ๘[๑๒] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๑๓] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐[๑๔] สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๕] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารงานบุคคล งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๖]
ขอ ๑๒[๑๗] สำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ
การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ขอ ๑๓[๑๘]
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘)[๑๙]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ การบริหารงานบุคคล
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model) การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด
การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด การศึกษา วิเคราะห์
วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด
การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร
การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘)[๒๐]
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย
การควบคุมเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ การควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์
การสุขาภิบาล อาคารสาธารณะ และการอาชีวอนามัย
การจัดทำแผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ
ระเบียบประกาศตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น การสุขาภิบาลอาหาร)
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม สนับสนุน และเผยแพร่ทางวิชาการ
พัฒนาบุคลากร การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
สร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลักและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นศูนย์สารสนเทศและเครื่องมือวิทยาศาสตร์ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์
ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า
วิเคราะห์ทางการพยาบาล การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล
และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab)
โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง
ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล ได้แก่
การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา สารเสพติด
และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร การศึกษา
ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง เนตรวิเศษ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร ทังสุบุตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน ฟักอุดม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๒๑]
ข้อ ๑๔[๒๒]
สำนักการศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม
การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน
การย้าย การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก. ข้าราชการครู
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล
การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน การสรรหา
การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง
จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน ๖ เดือน ๑ ปี
จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์
รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ
MIS ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์
ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำ
ส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงินและบัญชี ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
งานการเจ้าหน้าที่ งานการประชุมงานพิธีการ งานการประชาสัมพันธ์
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ งานการพิมพ์ และผลิตเอกสารที่ใช้ในการนิเทศงาน
ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนการนิเทศ
งานวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา สรุปและรายงานการนิเทศการศึกษา
การจัดระบบข้อมูลพื้นฐานจัดระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
งานแผนงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน นิเทศการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย มัธยมศึกษา
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ส่งเสริมให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
เผยแพร่ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ
การใช้นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ผลิตเอกสารผลงานทางวิชาการเผยแพร่
ปฏิบัติงานตามนโยบายการศึกษาของกรุงเทพมหานครและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มรัตนโกสินทร์ (กท ๑) และกลุ่มลุมพินี (กท ๒)
มีโรงเรียนจำนวน ๕๑ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๐ เครือข่าย ๆ และ ๔ - ๘ โรงเรียน
๓) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๒
มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มวิภาวดี (กท ๓) และกลุ่มเจ้าพระยา (กท ๔) มีโรงเรียน
จำนวน ๕๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๙ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๔) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๓
มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มกรุงธนบุรี (กท ๕) และกลุ่มตากสิน (กท ๖) มีโรงเรียนจำนวน
๘๖ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๕) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๔
มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มพระนครเหนือ (กท ๗) และกลุ่มสุวินทวงศ์ (กท ๙) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๗ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๖) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๕
มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มบูรพา (กท ๘) และกลุ่มศรีนครินทร์ (กท ๑๐) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๗) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๖
มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มมหาสวัสดิ์ (กท ๑๑) และกลุ่มสนามชัย (กท ๑๒) มีโรงเรียน
จำนวน ๗๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๒ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษางานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษางานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุม
ดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์
จัดทำประสานและส่งเสริมด้านนโยบายและแผนการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การกำหนดกรอบแนวทางและมาตรการในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนและกำหนดกรอบเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบรวม
ยกเลิกสถานศึกษาและการรับนักเรียนในแต่ละระดับ
การประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร
และแผนงานด้านการศึกษาโดยประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานประจำปี
การประสานงานด้านนโยบายและแผนกับหน่วยงานภายนอก
การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จัดหา
และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจัดเก็บ
ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานประมาณการจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนระยะ
๕ ปี ทุกปี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย
และส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
รวมทั้งการเทียบโอนผลการเรียนต่างระบบ
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
การศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
การเตรียมความพร้อมและร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนสถานศึกษาให้กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒ การกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริม
สนับสนุนและประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือในประเทศและต่างประเทศ
การกำหนดพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการประสาน
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้บริการและการจัดการศึกษา
การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม ดำเนินการวิจัยด้านการจัดการเรียน การสอน
และด้านการบริหารและจัดการศึกษา การส่งเสริม
สนับสนุนโรงเรียนให้วิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ การรวบรวม สังเคราะห์
เผยแพร่ผลการวิจัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานหลักสูตรและวิธีสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาคู่มือหลักเกณฑ์
แนวทางด้านสาระหลักสูตรและวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอนตาม ๘
กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การกำหนดเผยแพร่เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ และนโยบายของกรุงเทพมหานคร
การสร้าง พัฒนาเครื่องมือวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
การสนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตร
ประเมินผลการเรียนรู้และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการปรับปรุง แก้ไขปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาระบบมาตรฐานการศึกษา
คู่มือดำเนินงานและเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
การจัดระบบสังเคราะห์รายงานประจำปีของโรงเรียน
การวิเคราะห์วางแผนจัดทำแผนและประสานการรับการประเมินจากภายนอกของโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในระดับกรุงเทพมหานครและประสานกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินผลผู้เรียนระดับชาติ
การจัดระบบ รวบรวมสังเคราะห์ผลการประเมิน
ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครจากสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา
การจัดทำรายงานจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้าในด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การสนับสนุนและสังเคราะห์ผลการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย
พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน
การสอน ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน
การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์
สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๒๓] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด
๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๒๔] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๒๕] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓) กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔) สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖) กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘) กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด
๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘ สำนักการระบายน้ำ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ
การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๒๖] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๒๗] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด
๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๒๘]
ข้อ ๒๐[๒๙] สำนักสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ติดตาม
ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๓๐] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔) กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕) กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖) สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด
๑๓
สำนักวัฒนธรรม
กีฬา และการท่องเที่ยว[๓๑]
ข้อ ๒๒[๓๒] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย
ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด
พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๓๓] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔) กองนันทนาการ
(๕) กองการกีฬา
(๖) กองการสังคีต
(๗) กองการท่องเที่ยว
(๘) กองวัฒนธรรม
หมวด
๑๔
สำนักการคลัง[๓๔]
ข้อ ๒๔[๓๕] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๓๖] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองรายได้
(๓) กองการเงิน
(๔) กองบัญชี
(๕) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖) กองโรงงานช่างกล
(๗) กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘) กองตรวจจ่าย
(๙) กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด
๑๕
สำนักเทศกิจ[๓๗]
ข้อ ๒๖[๓๘] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง
รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๓๙] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕) กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต[๔๐]
ข้อ ๒๗[๔๑]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค
และการก่อสร้างอื่น ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ
การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย
ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง
(ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม
ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์
การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง
การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ
การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม
งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่
งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่
ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม
และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร
สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง
ๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ
การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต
การจัดทำ ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย
ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง
การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail
อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง
หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย)
การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี
การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การงบประมาณ การเงิน การบัญชีและการพัสดุ
การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา
(ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด
แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด)
ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร
การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร การบริหารงบประมาณ
การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๔๒] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)[๔๓] โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)[๔๔]
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)[๔๕]
(ยกเลิก)
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)[๔๖]
โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)[๔๗]
โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
(๑๓)[๔๘]
โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
(๑๘)[๔๙]
โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)[๕๐]
โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)[๕๑]
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)[๕๒]
โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๓]
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)[๕๔]
โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)[๕๕]
โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)[๕๖]
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)[๕๗]
โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)[๕๘]
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
(๑๗)[๕๙]
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
(๑๙)[๖๐]
โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๖๑]
ข้อ ๒๙[๖๒] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิตการส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล
พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม
การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
ข้อ ๓๐[๖๓] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองการพัฒนาชุมชน
(๔) กองส่งเสริมอาชีพ
(๕) สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด
๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๖๔]
ข้อ ๓๑[๖๕] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๖๖] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด
๑๙
สำนักผังเมือง[๖๗]
ข้อ ๓๓ สำนักผังเมือง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS) เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๖๘] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๖๙] กองนโยบายและแผนงาน
(๓) กองสำรวจและแผนที่
(๔) กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕) กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖) กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๗๐]
ข้อ ๓๕[๗๑] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๗๒] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๗๓]
ข้อ ๓๗[๗๔] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ
ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ
ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๗๕] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๑๐๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๑๑๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๑๑๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๑๑๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๑๑๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๑๑๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๑๑๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๑๑๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๑๑๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๑๑๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๑๑๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๑๒๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๑๒๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๑๒๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๑๒๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑๒๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑)[๑๒๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑๒๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๒๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)[๑๒๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑๒๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๓๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๓๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๓๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๓๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๓๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑๓๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)[๑๓๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)[๑๓๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)[๑๓๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑๓๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑๔๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)[๑๔๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)[๑๔๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑๔๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑๔๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)[๑๔๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑๔๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑๔๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑๔๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑๔๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑๕๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)[๑๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)[๑๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)[๑๕๙]
ณัฐพร/จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/เพิ่มเติม
๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓
ทวิ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๓
ทวิ (๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๔] ข้อ ๓
ทวิ (๗) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)
[๕] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖] ข้อ ๕
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
[๗] ข้อ ๕
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๗)
[๘] หมวด
๕ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๙] ข้อ ๖
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๐] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๑๑] หมวด
๖ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] ข้อ
๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๕] ข้อ
๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
[๑๖] หมวด
๘ สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๗] ข้อ
๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๘] ข้อ
๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)
[๑๙] ข้อ
๑๓ ก. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๐] ข้อ
๑๓ ข. (๘) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๖)
[๒๑] หมวด
๙ สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๒] ข้อ
๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๓] ข้อ
๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๒๔] ข้อ
๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๕] ข้อ
๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๒๖] ข้อ
๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๒๗] ข้อ
๑๙ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๒๘] หมวด
๑๒ สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๙] ข้อ
๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๐] ข้อ
๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๑] หมวด
๑๓ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๒] ข้อ
๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] ข้อ
๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๔] หมวด
๑๔ สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๕] ข้อ
๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๖] ข้อ
๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] หมวด
๑๕ สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ
๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] ข้อ
๒๖ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] หมวด
๑๖ สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๑] ข้อ
๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๒] ข้อ
๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๔๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑ สำนักงานเขตพระนคร (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)
[๔๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)
[๔๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕ สำนักงานปทุมวัน (๑๖) ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)
[๔๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)
[๔๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๔๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๙ สำนักงานเขตห้วยขวาง (๑๓) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
[๔๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน (๑๘) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)
[๕๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๑ สำนักงานเขตภาษีเจริญ (๒๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)
[๕๑] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๒ สำนักงานเขตหนองแขม (๑๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๕)
[๕๒] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๓ สำนักงานเขตบางขุนเทียน (๒๐) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)
[๕๓] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)
[๕๔] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๕] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๓๕ สำนักงานเขตบางพลัด (๑๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)
[๕๖] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)
[๕๗] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)
[๕๘] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)
[๕๙] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๔๗ สำนักงานเขตทวีวัฒนา (๑๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)
[๖๐] ข้อ
๒๘ ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน (๑๙) เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)
[๖๑] หมวด
๑๗ สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๒] ข้อ
๒๙ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๓] ข้อ
๓๐ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๔] หมวด
๑๘ สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๕] ข้อ
๓๑ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๖] ข้อ
๓๒ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๖๗] หมวด
๑๙ สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๖๘] ข้อ
๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๖๙] ข้อ
๓๔ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๗๐] หมวด
๒๐ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๑] ข้อ
๓๕ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๒] ข้อ
๓๖ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๗๓] หมวด
๒๑ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๔] ข้อ
๓๗ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๕] ข้อ
๓๘ เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๗๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๗๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๗๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๗๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๘๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๘๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๘๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม
๒๕๓๒
[๘๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๘๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕
ธันวาคม ๒๕๓๒
[๘๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๘๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๘๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๘๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๙๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๙๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๙๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๙๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๙๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๙๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๙๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๑๐๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๑๐๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๑๐๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม
๒๕๓๘
[๑๐๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๑๐๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๑๐๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๐๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๑๐๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๑๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๑๑๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๑๑๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๑๑๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๑๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม
๒๕๔๒
[๑๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๑๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๑๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๑๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๑๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม
๒๕๔๕
[๑๒๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๑๒๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๖
[๑๒๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๑๒๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๒๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๒๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๒๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๓๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๓๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐
[๑๓๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑๓๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐
[๑๓๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑๔๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑๔๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
[๑๔๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑๔๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑๔๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑๔๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓
[๑๔๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑๔๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔
[๑๔๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
[๑๕๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑๕๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑๕๒]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑๕๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖
[๑๕๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๕๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖
[๑๕๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖
[๑๕๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๑๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
[๑๕๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๖ ง/หน้า ๕๗/๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
684270 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 83) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๓)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรจัดตั้งโรงเรียนคงโครัดอุทิศ
สำนักงานเขตบางบอน เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพหานคร ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยเพิ่มข้อความ ในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๕๐ สำนักงานเขตบางบอน ดังนี้
(๑๙) โรงเรียนคงโครัดอุทิศ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
นินนาท ชลิตานนท์
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ เมษายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๔ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๘/๑ เมษายน ๒๕๕๖ |
690056 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 84) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๔)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดมหรรณพ์
สังกัดสำนักงานเขตพระนคร เป็นโรงเรียนวัดมหรรณพาราม เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในด้านการศึกษาที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทยและเพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ทางการศึกษาของประเทศไทย
และสถานที่ตั้งของโรงเรียน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม
๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยให้ยกเลิกความใน (๑๕) ของข้อ ๑ สำนักงานเขตพระนคร
ในข้อ ๒๘ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๕) โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๔๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ |
670964 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 78) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๘)[๑]
ด้วย กรุงเทพมหานครเห็นสมควรจัดตั้งโรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
สำนักงานเขตคลองสาน เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อระดับขั้นพื้นฐาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
ในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยเพิ่มข้อความในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๑๗ สำนักงานเขตคลองสาน ดังนี้
(๑๘) โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ กรกฎาคม
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๓๐ กรกฎาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๗๗ ง/หน้า ๒๕๐/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕ |
655392 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 76)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๖)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของสำนักงาน ก.ก.
ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครตามมติครั้งที่ ๕/๒๕๕๔
เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ให้จัดตั้งกองพิทักษ์ระบบคุณธรรมเป็นส่วนราชการใหม่
และเปลี่ยนชื่อกองวินัยและส่งเสริมสมรรถภาพ เป็นกองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม สังกัดสำนักงาน
ก.ก. จึงให้ยกเลิกความใน (๖) ของข้อ ๓ ทวิ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๓๓) ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๔๐ และ (ฉบับที่ ๔๗) ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และเพิ่มเติม (๖) และ (๗)
ของข้อ ๓ ทวิ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
โดยให้ใช้ความต่อไปนี้
(๖) กองวินัยและเสริมสร้างจริยธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับดำเนินการทางวินัย การตรวจ และพิจารณาการดำเนินการทางวินัย
การสั่งให้ออกจากราชการของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรักษามาตรฐานทางวินัย
ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่ ก.ก. อ.ก.ก.
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการตามมติ ก.ก. และถูกฟ้องคดีปกครอง
ศึกษาและพัฒนามาตรฐานทางวินัย พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาใช้กับกรุงเทพมหานคร
เสริมสร้างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร
พิจารณาเสนอการตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา
แนะนำเกี่ยวกับงานในหน้าที่แก่หน่วยงานและส่วนราชการ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
(๗) กองพิทักษ์ระบบคุณธรรม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการคุ้มครองระบบคุณธรรมของข้าราชการกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองกรณีที่
ก.พ.ค. กรุงเทพมหานคร กรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรุงเทพมหานคร
หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร ถูกฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครองชั้นต้น
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ กฎ ระเบียบ
แนวทางการดำเนินการด้านการอุทธรณ์การร้องทุกข์ และการคุ้มครองระบบคุณธรรม
พิจารณาดำเนินการปรับปรุง แก้ไข หรือจัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หนังสือสั่งการและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.พ.ค.
กรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการอุทธรณ์การร้องทุกข์
และการรักษาระบบคุณธรรมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ |
684268 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 82) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๒)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนสุเหร่าซีรอ
สังกัดสำนักงานเขตสะพานสูง เป็นโรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) เพื่อเป็นอนุสรณ์ตามเจตนารมณ์ของผู้ที่ช่วยกันดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสมัยนั้น
และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในชื่อโรงเรียน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖
ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยยกเลิกความใน หมวด ๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย
๔๒ สำนักงานเขตสะพานสูง (๑๑) โรงเรียนสุเหร่าซีรอแห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
นินนาท ชลิตานนท์
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓ เมษายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๔ เมษายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔๑ ง/หน้า ๔๗/๑ เมษายน ๒๕๕๖ |
677505 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 79) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๙)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๙/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓
กันยายน ๒๕๕๕ เห็นชอบการจัดตั้งโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนเป็นส่วนราชการใหม่
ระดับกอง สังกัดสำนักการแพทย์ มติ ก.ก. ครั้งที่ ๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม
๒๕๕๒ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักการแพทย์ และสมควรยกเลิกชื่อส่วนราชการของสำนักการแพทย์ในส่วนของวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
และวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ เนื่องจากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ บัญญัติให้มีฐานะเป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยโดยเรียกชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑
ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และ (ฉบับที่ ๗๑) ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้บริการตรวจรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑ สำนักการแพทย์
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การประชาสัมพันธ์ งานคลัง การเงินและบัญชี การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล
งานนิติการของสำนัก และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองใดโดยเฉพาะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองวิชาการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
จัดทำแผนและโครงการพัฒนาสาธารณสุขของสำนักการแพทย์
กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข
ทำการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร
สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข
กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
พัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการทางวิชาการ ตรวจสอบวิเคราะห์
พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้าเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
และผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์
เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) โรงพยาบาลกลาง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค ส่งเสริม สนับสนุน
ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) โรงพยาบาลตากสิน มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๕) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๘) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๐) โรงพยาบาลสิรินธร
มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๑๑) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย
อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย งานเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และสมรรถภาพ ส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ พฤศจิกายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๖/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ |
651469 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 75)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๕)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
สังกัดสำนักงานเขตจตุจักร เป็นโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่กรมราชทัณฑ์ที่ได้มอบที่ดินซึ่งเป็นที่ราชพัสดุให้กรุงเทพมหานครสร้างโรงเรียนและให้การอุปการะและสนับสนุนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชตลอดมา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยยกเลิกความในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย
๒๖ สำนักงานเขตจตุจักร (๑๑) โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๑) โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช (ราชทัณฑ์อุปถัมภ์)
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ทยา ทีปสุวรรณ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒ สิงหาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒ สิงหาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๓๒/๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ |
636504 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา ๑๒๐
วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
กรุงเทพมหานครรายงานการรับ
- จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ทราบ ดังนี้[๑]
รายการ
งบประมาณทั้งสิ้น
รับจริง/จ่ายจริง
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
รวมรับจริง/จ่ายจริง
และ
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
สูง
กว่าประมาณการ
(ต่ำ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๒
๑. รายรับ
๑.๑ รายได้ประจำ
๑.๒ รายได้พิเศษ
๔๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓๕๐๐๐๐๐๐๐๐.๐๐
๓๘,๕๐๒,๒๖๔,๑๒๒.๕๐
๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
-
-
๓๘,๕๐๒,๒๖๔,๑๒๒.๕๐
๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
(๗,๔๙๗,๗๓๕,๘๗๗.๕๐)
-
รวมรายรับทั้งสิ้น บาท
๔๙,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔๒,๐๐๒,๒๖๔,๑๒๒.๕๐
-
๔๒,๐๐๒,๒๖๔,๑๒๒.๕๐
(๗,๔๙๗,๗๓๕,๘๗๗.๕๐)
๒. รายจ่ายตามงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒
๒.๑ รายจ่ายประจำ
๒.๒ รายจ่ายพิเศษ
๔๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓๓,๔๕๑,๓๗๓,๓๕๘.๐๘
๑,๔๘๕,๒๑๐,๓๖๙.๖๙
๔,๑๗๕,๘๗๒,๘๙๕.๔๗
๑,๗๘๕,๓๐๙,๘๘๑.๗๓
๓๗,๖๒๗,๒๔๖,๒๕๓.๕๕
๓,๒๗๐,๕๒๐,๒๕๑.๔๒
(๘,๓๗๒,๗๕๓,๗๔๖.๔๕)
(๒๒๙,๔๗๙,๗๔๘.๕๘)
รวม บาท
๔๙,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓๔,๙๓๖,๕๘๓,๗๒๗.๗๗
๕,๙๖๑,๑๘๒,๗๗๗.๒๐
๔๐,๘๙๗,๗๖๖,๕๐๔.๙๗
(๘,๖๐๒,๒๓๓,๔๙๕.๐๓)
รายจ่ายตามงบประมาณปีก่อน
๓. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
๓.๑ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๒ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๙
๓.๓ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๐
๓.๔ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑
๑,๘๔๔,๐๒๖,๙๐๙.๙๐
๒,๕๑๔,๒๔๔,๘๒๓.๗๓
๑,๖๔๘,๙๔๑,๒๐๘.๗๗
๙,๕๓๘,๖๓๘,๓๘๗.๗๗
๖๑๒,๖๑๒,๘๙๒.๓๒
๑,๗๖๓,๒๖๘,๔๕๙.๓๓
๙๗๓,๒๖๖,๕๗๑.๒๘
๗,๕๒๐,๐๘๔,๐๔๑.๑๘
๑,๒๑๒,๓๙๑,๖๘๖.๔๔
๗๓๗,๗๕๒,๕๕๑.๑๓
๕๗๕,๔๗๒,๐๖๓.๐๖
๑,๓๕๒,๗๑๕,๖๓๑.๗๓
๑,๘๒๕,๐๐๔,๕๗๘.๗๖
๒,๕๐๑,๐๒๑,๐๑๐.๔๖
๑,๕๔๘,๗๓๘,๖๓๔.๓๔
๘,๘๗๒,๗๙๙,๖๗๒.๙๑
(๑๙,๐๒๒,๓๓๑.๑๔)
(๑๓,๒๒๓,๘๑๓.๒๗)
(๑๐๐,๒๐๒,๕๗๔.๔๓)
(๖๖๕,๘๓๘,๗๑๔.๘๖)
รวม บาท
๑๕,๕๔๕,๘๕๑,๓๓๐.๑๗
๑๐,๘๖๙,๒๓๑,๙๖๔.๑๑
๓,๘๗๘,๓๓๑,๙๓๒.๓๖
๑๔,๗๔๗,๕๖๓,๘๙๖.๔๗
(๗๙๘,๒๘๗,๔๓๓.๗๐)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น บาท
๖๕,๐๔๕,๘๕๑,๓๓๐.๑๗
๔๕,๘๐๕,๘๑๕,๖๙๑.๘๘
๙,๘๓๙,๕๑๔,๗๐๙.๕๖
๕๕,๖๔๕,๓๓๐,๔๐๑.๔๔
(๙,๔๐๐,๕๒๐,๙๒๘.๗๓)
๔. ดุลของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับ
สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ
บาท
-
๗,๐๖๕,๖๘๐,๓๙๔.๗๓
(๕,๙๖๑,๑๘๒,๗๗๗.๒๐)
๑,๑๐๔,๔๙๗,๖๑๗.๕๓
๑,๑๐๔,๔๙๗,๖๑๗.๕๓
๕. ดุลการรับ - จ่ายเงิน
รายรับ
สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น บาท
(๑๕,๕๔๕,๘๕๑,๓๓๐.๑๗)
(๓,๘๐๓,๕๕๑,๕๖๙.๓๘)
(๙,๘๓๙,๕๑๔,๗๐๙.๕๖)
(๑๓,๖๔๓,๐๖๖,๒๗๘.๙๔)
๑,๙๐๒,๗๘๕,๐๕๑.๒๓
หมายเหตุ :-
รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้น ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังมิได้ตรวจสอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓๐
กันยายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๕/๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ |
664814 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 77) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๗)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนเบญจมบพิตร
สังกัดสำนักงานเขตดุสิต เป็นโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร เพื่อให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคมที่กำหนดให้ใช้คำว่า
วัด นำหน้าชื่อโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์
และเป็นการให้เกียรติแก่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามที่ได้ให้ความสนับสนุนด้านการศึกษาด้วยดีตลอดมา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยยกเลิกความในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย
๗ สำนักงานเขตดุสิต (๑๒) โรงเรียนเบญจมบพิตร แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๒) โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ทยา ทีปสุวรรณ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๓/๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕ |
678346 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2554 เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา 120 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๔
เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา
๑๒๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘[๑]
กรุงเทพมหานครรายงานการรับ
- จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ทราบ ดังนี้
รายการ
งบประมาณทั้งสิ้น
รับจริง/จ่ายจริง
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
รวมรับจริง/จ่ายจริง
และ
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
สูง
กว่าประมาณการ
(ต่ำ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๔
๑. รายรับ
๑.๑ รายได้ประจำ
๑.๒ รายได้พิเศษ
๔๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๕๗,๔๘๓,๘๐๖,๕๙๒.๔๒
๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
-
-
๕๗,๔๘๓,๘๐๖,๕๙๒.๔๒
๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๑๑,๔๘๓,๘๐๖,๕๙๒.๔๒
-
รวมรายรับทั้งสิ้น บาท
๕๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๖๗,๔๘๓,๘๐๖,๕๙๒.๔๒
-
๖๗,๔๘๓,๘๐๖,๕๙๒.๔๒
๑๑,๔๘๓,๘๐๖,๕๙๒.๔๒
๒. รายจ่ายตามงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔
๒.๑ รายจ่ายประจำ
๒.๒ รายจ่ายพิเศษ
๔๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓๖,๗๕๑,๑๓๒,๙๔๒.๔๕
๘,๕๓๔,๕๓๗,๗๓๓.๘๑
๘,๘๐๗,๐๗๘,๐๘๔.๗๒
๑,๐๖๗,๕๓๖,๓๙๕.๖๐
๔๕,๕๕๘,๒๑๑,๐๒๗.๑๗
๙,๖๐๒,๐๗๔,๑๒๙.๔๑
(๔๔๑,๗๘๘,๙๗๒.๘๓)
(๓๙๗,๙๒๕,๘๗๐.๕๙)
รวม บาท
๕๖,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔๕,๒๘๕,๖๗๐,๖๗๖.๒๖
๙,๘๗๔,๖๑๔,๔๘๐.๓๒
๕๕,๑๖๐,๒๘๕,๑๕๖.๕๘
(๘๓๙,๗๑๔,๘๔๓.๔๒)
รายจ่ายตามงบประมาณปีก่อน
๓. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
๓.๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
๖,๔๘๓,๓๔๒,๘๙๒.๘๗
๕,๙๓๗,๙๓๔,๙๕๙.๗๒
-
๕,๙๓๗,๙๓๔,๙๕๙.๗๒
(๕๔๕,๔๐๗,๙๓๓.๑๕)
รวม บาท
๖,๔๘๓,๓๔๒,๘๙๒.๘๗
๕,๙๓๗,๙๓๔,๙๕๙.๗๒
-
๕,๙๓๗,๙๓๔,๙๕๙.๗๒
(๕๔๕,๔๐๗,๙๓๓.๑๕)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น
บาท
๖๒,๔๘๓,๓๔๒,๘๙๒.๘๗
๕๑,๒๒๓,๖๐๕,๖๓๕.๙๘
๙,๘๗๔,๖๑๔,๔๘๐.๓๒
๖๑,๐๙๘,๒๒๐,๑๑๖.๓๐
(๑,๓๘๕,๑๒๒,๗๗๖.๕๗)
๔. ดุลของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ บาท
-
๒๒,๑๙๘,๑๓๕,๙๑๖.๑๖
(๙,๘๗๔,๖๑๔,๔๘๐.๓๒)
๑๒,๓๒๓,๕๒๑,๔๓๕.๘๔
๑๒,๓๒๓,๕๒๑,๔๓๕.๘๔
๕. ดุลการรับ - จ่ายเงิน
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น บาท
(๖,๔๘๓,๓๔๒,๘๙๒.๘๗)
๑๖,๒๖๐,๒๐๐,๙๕๖.๔๔
(๙,๘๗๔,๖๑๔,๔๘๐.๓๒)
๖,๓๘๕,๕๘๖,๔๗๖.๑๒
๑๒,๘๖๘,๙๒๙,๓๖๘.๙๙
หมายเหตุ :- รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้น
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังมิได้ตรวจสอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ธีระชน
มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒ ธันวาคม
๒๕๕๕
ชาญ/ผู้ตรวจ
๑๒ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๗๑/๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
633443 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต[๑]
ตามที่กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ๓๖ เขต ได้แก่ เขตพระนคร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตสาทร
เขตบางคอแหลม เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง เขตพระโขนง เขตคลองเตย
เขตหนองจอก เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตบางกอกใหญ่
เขตภาษีเจริญ เขตตลิ่งชัน เขตราษฎร์บูรณะ เขตหนองแขม เขตดินแดง เขตสวนหลวง
เขตบางนา เขตวัฒนา เขตทุ่งครุ เขตทวีวัฒนา เขตบางบอน เขตบางซื่อ เขตบางขุนเทียน เขตบางแค
เขตจอมทอง และเขตประเวศ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
ตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๕๒ ให้ทราบทั่วกัน ดังนี้
ลำดับที่
เขต
จำนวนราษฎร
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงจะมีในแต่ละเขต
๑.
๒.
๓.
๔.
๕
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
๑๑.
๑๒
๑๓.
๑๔.
๑๕.
๑๖.
๑๗.
๑๘.
๑๙.
๒๐.
๒๑.
๒๒.
๒๓.
๒๔.
๒๕.
๒๖.
๒๗.
๒๘.
๒๙.
๓๐.
๓๑.
๓๒.
๓๓.
๓๔.
๓๕.
๓๖.
เขตพระนคร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตปทุมวัน
เขตสัมพันธวงศ์
เขตบางรัก
เขตยานนาวา
เขตสาทร
เขตบางคอแหลม
เขตดุสิต
เขตพญาไท
เขตราชเทวี
เขตห้วยขวาง
เขตพระโขนง
เขตคลองเตย
เขตหนองจอก
เขตธนบุรี
เขตคลองสาน
เขตบางกอกน้อย
เขตบางพลัด
เขตบางกอกใหญ่
เขตภาษีเจริญ
เขตตลิ่งชัน
เขตราษฎร์บูรณะ
เขตหนองแขม
เขตดินแดง
เขตสวนหลวง
เขตบางนา
เขตวัฒนา
เขตทุ่งครุ
เขตทวีวัฒนา
เขตบางบอน
เขตบางซื่อ
เขตบางขุนเทียน
เขตบางแค
เขตจอมทอง
เขตประเวศ
๖๑,๓๗๔
๕๔,๖๐๑
๕๘,๘๕๘
๒๙,๒๘๓
๔๗,๕๐๓
๘๕,๗๘๙
๘๙,๒๙๔
๙๙,๙๙๔
๑๑๔,๔๘๘
๗๕,๔๙๓
๗๗,๐๗๘
๗๖,๙๘๗
๙๖,๘๘๐
๑๑๔,๖๙๔
๑๔๗,๖๖๘
๑๒๖,๘๘๓
๘๐,๘๙๔
๑๒๖,๘๒๓
๑๐๒,๓๒๐
๗๖,๖๐๘
๑๓๒,๖๗๐
๑๐๖,๙๖๓
๙๐,๕๕๙
๑๔๒,๗๗๒
๑๓๖,๖๙๖
๑๑๕,๘๘๓
๙๙,๕๖๑
๘๐,๖๗๔
๑๑๔,๑๘๐
๗๓,๔๒๘
๑๐๓,๔๗๐
๑๔๒,๓๓๘
๑๕๐,๔๙๒
๑๙๓,๔๗๘
๑๖๒,๑๕๑
๑๕๕,๐๗๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๘
๘
๘
๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ถาวร
เสนเนียม
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖
สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๖ สิงหาคม
๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑๑/๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.