sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
677507 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 80) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๐)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนบ้านแบนชะโด
สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา เป็นโรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่วงศ์ตระกูลของผู้มอบที่ดินให้สร้างโรงเรียนและให้การสนับสนุนโรงเรียนบ้านแบนชะโดตลอดมา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖
ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยให้ยกเลิกความในหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘
ข้อย่อย ๔๔ สำนักงานเขตคลองสามวา (๑๓) โรงเรียนบ้านแบนชะโด ของประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๓) โรงเรียนบ้านแบนชะโด (เสียง วิฑูรชาติ อุปถัมภ์)
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ทยา ทีปสุวรรณ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ พฤศจิกายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๙/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ |
642706 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณชั้นใต้ดิน 4 ชั้น โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคาร
ที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณชั้นใต้ดิน ๔ ชั้น โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณชั้นใต้ดิน ๔ ชั้น โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔
และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. กำหนดให้การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณชั้นใต้ดิน ๔ ชั้น โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ เป็นประเภทการจอดชั่วคราว
๒. ให้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ไม่เกิน ๔ ล้อ
ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณชั้นใต้ดิน ๔ ชั้น โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ ตั้งแต่เวลา ๐๕.๐๐ น. ถึง
๒๑.๐๐ น. ยกเว้นกรณีนำส่งผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินโดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันดังนี้
๒.๑ รถยนต์
๒.๑.๑ ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๑๕ บาท
๒.๑.๒ ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๒๐ บาท
เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที คิด ๑๐ บาท ถ้าเกิน ๓๐
นาที คิด ๒๐ บาท
๒.๒ รถจักรยานยนต์
๒.๒.๑ ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๕ บาท
๒.๒.๒ ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๗ บาท
เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที คิด ๓ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิด ๗ บาท
๒.๓
กรณีมาใช้บริการเพื่อการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลกลางให้เสียค่าธรรมเนียมในอัตราครึ่งหนึ่งของข้อ
๒.๑ หรือ ๒.๒ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ให้ผู้รับบริการแสดงเอกสารของจุดคัดกรองหรือหลักฐานการให้บริการตรวจรักษาของแผนก
หรือส่วนงานนั้น ๆ ต่อเจ้าหน้าที่บริเวณประตูทางเข้า มิฉะนั้นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเต็มจำนวน
๒.๔ ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์เกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ ๐๕.๐๐ น. ถึง
ถึง ๒๑.๐๐ น.) นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามปกติแล้ว
จะต้องมีการเสียเงินเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด
โดยรถยนต์เสียครั้งละ ๑๐๐ บาท รถจักรยานยนต์เสียครั้งละ ๓๐ บาท
๒.๕ กรณีญาติมาเฝ้าไข้ผู้ป่วยใน ให้เสียค่าธรรมเนียมในอัตราเหมาจ่าย
๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่เวลานำยานยนต์เข้าจอดถึงเวลานำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์ในอัตรารถยนต์วันละ
๑๕๐ บาท และรถจักรยานยนต์วันละ ๕๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามข้อ ๒.๑, ๒.๒, ๒.๓, ๒.๔
และ ๒.๕ ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
๓. ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้ามาจอดในอาคารที่จอดยานยนต์
รับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่บริเวณประตูทางเข้าและต้องชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่บริเวณประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
๔. บัตรจอดยานยนต์ต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงพยาบาลกลาง
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์
โดยผู้แจ้งต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมทั้งเอกสารคู่มือการจดทะเบียน และต้องเสียค่าธรรมเนียมในกรณีนี้ จำนวน ๒๐๐
บาท ทั้งนี้
ไม่รวมค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ตามข้อ ๒
การรับแจ้ง ให้ถามชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ อายุ อาชีพ
ที่อยู่และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
รายการชื่อเจ้าของ หมายเลขเครื่องยนต์
พร้อมทั้งบันทึกสาเหตุแห่งการสูญหายของบัตรจอดยานยนต์ตามแบบ ป.ค. ๑๔
๕. ให้ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์
กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ให้แก่บุคลากรในสังกัดสำนักการแพทย์
รวมถึงข้าราชการหรือลูกจ้างกรุงเทพมหานครหรือแก่บุคคลอื่นใด
๖. อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครแห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับจอดยานยนต์เท่านั้นกรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด
ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารจอดยานยนต์แห่งนี้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
มาลินี
สุขเวชชวรกิจ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๖๗/๗ มกราคม ๒๕๕๔ |
628969 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ด้วยอายุของสมาชิกสภาเขต เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม
เขตวังทองหลาง เขตสะพานสูง เขตคันนายาว เขตมีนบุรี เขตหลักสี่ เขตบางเขน
เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา และเขตบางกะปิ รวม ๑๔
เขต ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๙ ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๒๙
เมษายน ๒๕๕๓ และโดยที่มาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
กำหนดให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕
ฉะนั้น
จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากรุงเทพมหานครจะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต เขตลาดพร้าว
เขตบึงกุ่ม เขตวังทองหลาง เขตสะพานสูง เขตคันนายาว เขตมีนบุรี เขตหลักสี่ เขตบางเขน
เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา และเขตบางกะปิ รวม ๑๔
เขต โดยกำหนดระยะเวลารับสมัครและวันเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
๑. ระยะเวลาการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขตให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ถึงวันศุกร์ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ รวม ๕ วัน
๒. วันเลือกตั้ง
วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
ผู้ใดประสงค์จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขตในเขตเลือกตั้งใดให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อหน้าผู้อำนวยการเขต
ณ สำนักงานเขตแห่งเขตเลือกตั้งที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งภายในระยะเวลาดังกล่าวในข้อ
๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
พงศ์ศักติฐ์
เสมสันต์
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๒๗/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
665604 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 73) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๓)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรจัดตั้งโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
สำนักงานเขตทวีวัฒนา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย ในปีการศึกษา ๒๕๕๓
เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อในระดับขั้นพื้นฐาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหาน คร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓
เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และ (ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยเพิ่มข้อความในหมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา ดังนี้
(๑๗)
โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๔
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑๐๓/๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
683520 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมระหว่างระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย กับอาคารบุคคลภายนอก | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
หลักเกณฑ์การอนุญาตและค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมระหว่าง
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย
กับอาคารบุคคลภายนอก[๑]
ตามที่กรุงเทพมหานครได้ใช้งบประมาณราชการจำนวนมาก
ในการก่อสร้างและจัดให้มีระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย
เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนนั้น กรุงเทพมหานครเห็นว่าหากมีการอนุญาตให้มีการต่อเชื่อมระหว่างระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายกับอาคารบุคคลภายนอกจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการระบบดังกล่าวและเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการให้ผู้โดยสารผ่าน
- เข้าออกระบบได้มากขึ้น
ทั้งนี้กรุงเทพมหานครเห็นว่าในการอนุญาตการสร้างทางเชื่อมระหว่างระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย
กับอาคารบุคคลภายนอกควรมีการคิดค่าตอบแทนเช่นเดียวกับกรณีของระบบขนส่งมวลชนอื่น
เพื่อให้กรุงเทพมหานครสามารถนำเงินที่ได้รับไปใช้สำหรับการดูแลรักษาระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยาย
รวมทั้งนำไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงได้อนุมัติหลักเกณฑ์การอนุญาตและค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมฯ
รายละเอียดแนบท้ายประกาศฉบับนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ธีระชน มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หลักเกณฑ์การอนุญาตและค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมระหว่างระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายกับอาคารบุคคลภายนอก
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๗๑/๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
649903 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔
(๒) ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์
อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๕
ข้อ ๓ การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร มี ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) ประเภทการจอดประจำ
(๒) ประเภทการจอดชั่วคราว
ข้อ ๔ ให้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ไม่เกินสี่ล้อ
ที่มีความสูงไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันตามชนิดยานยนต์ ดังต่อไปนี้
(๑) รถยนต์เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท
(๒) รถจักรยานยนต์เดือนละ ๘๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ ๕ ให้ผู้ที่ประสงค์นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดประจำติดต่อเพื่อขอมีบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยยื่นเอกสารประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์แสดงต่อเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามชนิดยานยนต์และค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวน
๓๐๐ บาท
โดยค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์จำนวนนี้จะคืนให้เมื่อยกเลิกการใช้บริการและคืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
แต่จะริบไว้เป็นค่าปรับในกรณีที่ไม่คืนบัตรจอดยานยนต์แก่เจ้าหน้าที่
หรือบัตรจอดยานยนต์สูญหาย หัก งอ หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตร
และในกรณีที่ประสงค์ใช้บริการจอดยานยนต์ต่อไปให้ดำเนินการขอมีบัตรจอดยานยนต์พร้อมชำระค่ามัดจำบัตรจอดยานยนต์ทุกครั้ง
ในกรณีใช้สิทธิจอดยานยนต์ไม่ครบเดือนจะไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืนแต่อย่างใด
การนำยานยนต์เข้าและออกจากอาคารที่จอดยานยนต์จะต้องแสดงบัตรจอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ประจำตู้ทางเข้าและออกทุกครั้ง
พร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ ๖ ให้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ไม่เกินสี่ล้อที่มีความสูงไม่เกิน
๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวได้ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐
น. ถึง ๐๒.๓๐ น. ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันตามชนิดยานยนต์
ดังต่อไปนี้
(๑) รถยนต์
(ก) ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๑๕ บาท
(ข) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๒๐ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที
คิด ๑๐ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
(๒) รถจักรยานยนต์
(ก) ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๕ บาท
(ข) ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๗ บาท เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน ๓๐ นาที
คิด ๓ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง
ให้ยานยนต์ซึ่งเข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวตั้งแต่เวลา
๒๑.๐๐ น. ถึง ๐๒.๓๐ น.
และใช้ระยะเวลาการจอดยานยนต์ไม่ถึงสองชั่วโมงเสียค่าธรรมเนียมในอัตราตามวรรคหนึ่ง (๑)
หรือ (๒) แล้วแต่กรณี แต่ในกรณีใช้ระยะเวลาการจอดยานยนต์ตั้งแต่สองชั่วโมงขึ้นไป ให้เสียค่าธรรมเนียมในลักษณะเหมาจ่ายต่อคันตามชนิดยานยนต์
ดังต่อไปนี้
(๑) รถยนต์คันละ ๔๐ บาท
(๒) รถจักรยานยนต์คันละ ๒๐ บาท
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์เกินกำหนดเวลา
นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดแล้ว
จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มทุกครั้งที่มีการจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด
แม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม โดยรถยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ ๑๐๐
บาท และรถจักรยานยนต์เสียค่าธรรมเนียมเพิ่มครั้งละ ๓๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วยแล้ว
ข้อ ๗ ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวรับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
และให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ในกรณีบัตรจอดยานยนต์ประเภทการจอดชั่วคราวสูญหาย หัก งอ
หรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อันเกิดจากการกระทำของผู้ถือบัตรแล้ว
ผู้ถือบัตรหรือผู้ครอบครองยานยนต์ต้องชำระค่าปรับในกรณีนี้จำนวน ๓๐๐ บาท
ข้อ ๘ บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้องเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่จอดยานยนต์ เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
หรือเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
โดยให้ผู้แจ้งนำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมหลักฐานการเป็นผู้ครอบครองยานยนต์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำอาคารที่จอดยานยนต์
เพื่อตรวจสอบพร้อมบันทึกสาเหตุการสูญหายตามแบบ ปค. ๑๔
ก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ข้อ ๙ อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร เป็นสถานที่สำหรับจอดยานยนต์เท่านั้น
กรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด ๆ
อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารที่จอดยานยนต์แห่งนี้ทั้งสิ้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ธีระชน
มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๕๔
ณัฐวดี ดำรง/ตรวจ
๑๓ มิถุนายน
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๕๘/๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
633483 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขต | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ด้วยอายุของสมาชิกสภาเขต เขตพระนคร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตสาทร
เขตบางคอแหลม เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง เขตพระโขนง เขตคลองเตย
เขตหนองจอก เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตบางกอกใหญ่
เขตภาษีเจริญ เขตตลิ่งชัน เขตราษฎร์บูรณะ เขตหนองแขม เขตดินแดง เขตสวนหลวง เขตบางนา
เขตวัฒนา เขตทุ่งครุ เขตทวีวัฒนา เขตบางบอน เขตบางซื่อ เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตจอมทอง
และเขตประเวศ รวม ๓๖ เขต ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ได้สิ้นสุดลง
เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และโดยที่มาตรา ๗๑ และมาตรา ๗๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
กำหนดให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายใน
๖๐ วันนับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕
ฉะนั้น
จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่ากรุงเทพมหานครจะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต เขตพระนคร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตสาทร
เขตบางคอแหลม เขตดุสิต เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง เขตพระโขนง เขตคลองเตย
เขตหนองจอก เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ
เขตตลิ่งชัน เขตราษฎร์บูรณะ เขตหนองแขม เขตดินแดง เขตสวนหลวง เขตบางนา เขตวัฒนา
เขตทุ่งครุ เขตทวีวัฒนา เขตบางบอน เขตบางซื่อ เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตจอมทอง
และเขตประเวศ รวม ๓๖ เขต โดยกำหนดระยะเวลารับสมัครและวันเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
๑ ระยะเวลารับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
ให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถึงวันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ รวม
๕ วัน
๒. วันเลือกตั้ง
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
ผู้ใดประสงค์จะสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขตในเขตเลือกตั้งใดให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อหน้าผู้อำนวยการเขต
ณ
สำนักงานเขตแห่งเขตเลือกตั้งที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งภายในระยะเวลาดังกล่าวในข้อ
๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ทวีศักดิ์
เดชเดโช
รองปลัดกรุงเทพมหานคร
รักษาราชการแทน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖
สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๖
สิงหาคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๒๘/๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
679738 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 81) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘๑)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงชื่อโรงเรียนคลองกุ่ม
สังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม เป็นโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) และโรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ
เป็น โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ขบวนการเสรีไทยและศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
ในการเชิดชูวีรกรรมและคุณูปการของขบวนการเสรีไทยให้เป็นที่รับรู้ในกลุ่มของเยาวชนและปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนไทยเกิดความรักและหวงแหนพร้อมจะเสียสละเพื่อรักษาเอกราช
และอธิปไตยของประเทศชาติให้คงอยู่วัฒนาสถาพรสืบต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนี้
๑. ยกเลิกความใน หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๒๘ สำนักงานเขตบึงกุ่ม (๑๖) โรงเรียนคลองกุ่ม แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๖) โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)
๒. ยกเลิกความใน หมวด
๑๖ ข้อ ๒๘ ข้อย่อย ๔๖ สำนักงานเขตวัฒนา (๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ทยา ทีปสุวรรณ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ มกราคม ๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๑๐ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๔๙/๙ มกราคม ๒๕๕๖ |
623330 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 72)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๒)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดปทุมวนาราม
สังกัดสำนักงานเขตปทุมวัน เป็นโรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้ชื่อโรงเรียนสอดคล้องและเป็นไปตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงรับโรงเรียนวัดปทุมวนารามอยู่ในพระราชูปถัมภ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และ (ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยยกเลิกความใน ๕
(๑๔) ของข้อ ๒๘ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๔) โรงเรียนวัดปทุมวนาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๔
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑๑๓/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ |
614805 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตคันนายาวให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว โดยมีรายละเอียด
พื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงคันนายาว
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางชัน
เขตคลองสามวา
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา
และแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงสะพานสูง
เขตสะพานสูง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงรามอินทรา
เขตคันนายาว
แนวเขตการปกครองของแขวงคันนายาว
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวคลองกะโหลกฝั่งเหนือและแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวคลองกะโหลกฝั่งเหนือ
และแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออก ไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางชันฝั่งตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ
แขวงรามอินทรา
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงท่าแร้ง
เขตบางเขน
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคันนายาว
เขตคันนายาว
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงสะพานสูง
เขตสะพานสูง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงคลองกุ่ม
และแขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม
แนวเขตการปกครองของแขวงรามอินทรา
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้กับแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวคลองตาเร่ง ฝั่งเหนือ บรรจบกับแนวคลองลำชะล่าฝั่งตะวันตก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองลำชะล่าฝั่งตะวันตก บรรจบกับแนวคลองหกขุด (คลองจระเข้บัว)
ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวคลองหกขุด (คลองจระเข้บัว) ฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองคู้บอนฝั่งตะวันออก ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวคลองคู้บอนฝั่งตะวันออกวกไปทางทิศตะวันออก
ตามแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองคู้บอนฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก ไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
กับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออก บรรจบกับแนวขอบทางถนนเสรีไทยฟากใต้
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบทางถนนเสรีไทยฟากใต้บรรจบกับแนวคลองระหัสฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองระหัสฝั่งตะวันออก บรรจบกับแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออกบรรจบกับจุดบรรจบระหว่างแนวคลองลำชะล่ากับแนวคลองหลวงวิจิตรฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองหลวงวิจิตรฝั่งเหนือบรรจบกับแนวคลองบางชวดด้วนฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองบางชวดด้วนฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้ กับแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว
และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๗๑/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ |
628963 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต[๑]
ตามที่กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศเมื่อวันที่ ๓๐
เมษายน ๒๕๕๓ กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ๑๔ เขต ได้แก่ เขตลาดพร้าว
เขตบึงกุ่ม เขตวังทองหลาง เขตสะพานสูง เขตคันนายาว เขตมีนบุรี เขตหลักสี่
เขตบางเขน เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตลาดกระบัง เขตคลองสามวา
และเขตบางกะปิ ในวันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
ตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
ให้ทราบทั่วกัน ดังนี้
ลำดับที่
เขต
จำนวนราษฎร
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงจะมีในแต่ละเขต
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
๑๑.
๑๒.
๑๓.
๑๔.
เขตลาดพร้าว
เขตบึงกุ่ม
เขตวังทองหลาง
เขตสะพานสูง
เขตคันนายาว
เขตมีนบุรี
เขตหลักสี่
เขตบางเขน
เขตจตุจักร
เขตดอนเมือง
เขตสายไหม
เขตลาดกระบัง
เขตคลองสามวา
เขตบางกะปิ
๑๒๒,๓๗๑
๑๔๗,๗๑๒
๑๑๕,๗๑๓
๘๘,๐๑๓
๘๕,๙๑๒
๑๓๓,๑๔๙
๑๑๔,๑๘๐
๑๘๕,๙๐๑
๑๖๔,๒๑๐
๑๖๕,๔๓๓
๑๗๘,๖๓๗
๑๕๒,๕๒๘
๑๕๔,๗๖๖
๑๕๐,๑๖๖
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๗
๘
๘
๘
๘
๘
๘
๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ถาวร
เสนเนียม
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๓
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๖/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
611083 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 70)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๐)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดประดู่
(พ่วงอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ เป็น โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
เพื่อให้ชื่อของโรงเรียนสอดคล้องกับชื่อวัดประดู่บางจากซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่
๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
มอบหมายให้ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาเปลี่ยนชื่อส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความใน ๒๑ (๒๒) ของข้อ ๒๘
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และ (ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒๒) โรงเรียนวัดประดู่บางจาก (พ่วงอุทิศ)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๘/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
588309 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลอง[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔
แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง พ.ศ. ๒๕๔๙
จึงให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙ และกำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลองขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
๑. ราคาค่าก่อสร้างสะพานท่อ ตารางเมตรละ
๑๐,๐๐๐ บาท
(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
๒. ราคาค่าก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
๒.๑ สะพานที่มีช่วงเสาสะพาน ๑
ช่วงเสา ตารางเมตรละ
๑๕,๕๐๐ บาท
(หนึ่งหมื่นห้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
๒.๒
สะพานที่มีช่วงเสาสะพานไม่เกิน ๓ ช่วงเสา ตารางเมตรละ ๑๓,๐๐๐
บาท
(หนึ่งหมื่นสามพันบาทถ้วน)
๒.๓
สะพานที่มีช่วงเสาสะพานมากกว่า ๓ ช่วงเสา ตารางเมตรละ ๑๑,๕๐๐
บาท
(หนึ่งหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน)
๓. ราคาค่าก่อสร้างสะพานเหล็ก ตารางเมตรละ
๒๐,๐๐๐ บาท
(สองหมื่นบาทถ้วน)
การคิดพื้นที่สะพานข้ามคลองเพื่อคิดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสภาพคลองให้คิดพื้นที่เฉพาะตัวสะพานตามความยาวช่วงเสา
โดยไม่รวมเชิงลาดสะพานทั้งสองฝั่ง
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐
พงศ์ศักติฐ์
เสมสันต์
ปลัดกรุงเทพมหานคร
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๓
ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๙ ง/หน้า ๑๔/๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ |
614800 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตดอนเมืองให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง
โดยมีรายละเอียด พื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงสีกัน
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
อำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงดอนเมือง
เขตดอนเมือง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี
แนวเขตการปกครองของแขวงสีกัน
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองประปาฝั่งตะวันตกกับแนวคลองบ้านใหม่ฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวคลองบ้านใหม่ฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันตก ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันตก
บรรจบกับแนวแบ่งเขตการปกครองตามแนวเขตระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี กับเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวแบ่งเขตการปกครองตามแนวเขตระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี กับเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร บรรจบกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖
ฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครอง
ตามแนวเขตระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีกับเขตดอนเมือง
กรุงเทพมหานคร บรรจบกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออก ไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร
๖ ฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือ
ผ่านถนนเชิดวุฒากาศกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออก
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือ
ผ่านถนนเชิดวุฒากาศกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออก ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือกับแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือกับแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองประปาฝั่งตะวันตกกับแนวคลองบ้านใหม่ฝั่งเหนือ
แขวงดอนเมือง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงสีกัน
เขตดอนเมือง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงตลาดบางเขน
และแขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี
แนวเขตการปกครองของแขวงดอนเมือง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองประปาฝั่งตะวันตกกับแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือ ผ่านถนนเชิดวุฒากาศ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖
ฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร
๖ ฟากตะวันออก ไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖
ฟากตะวันออกกับแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร
๖ ฟากตะวันออกกับแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออก ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวคลองตาอูฐ (ไผ่เขียว) ฝั่งเหนือ ไปตามแนวคลองตาอูฐ (ไผ่เขียว)
ฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองตาอูฐ (ไผ่เขียว)
ฝั่งเหนือกับแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองตาอูฐ
(ไผ่เขียว) ฝั่งเหนือกับแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองประปาฝั่งตะวันตกกับแนวขอบทางถนนสรงประภาฟากเหนือ
แขวงสนามบิน
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
อำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงสายไหม
และแขวงคลองถนน เขตสายไหม
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงอนุสาวรีย์
เขตบางเขน และแขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงสีกัน
และแขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
แนวเขตการปกครองของแขวงสนามบิน
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครอง
ตามแนวเขตระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีกับเขตดอนเมือง
กรุงเทพมหานคร บรรจบกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออกไปทางทิศตะวันออก ตามแนวแบ่งเขตการปกครอง
ตามแนวเขตระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีกับเขตดอนเมือง
กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติกับแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติกับแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกไปทางทิศใต้
ตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก บรรจบแนวคลองบางเขน (คลองถนน) ฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองบางเขน (คลองถนน) ฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางเขน (คลองถนน)
ฝั่งตะวันออกกับแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางเขน
(คลองถนน) ฝั่งตะวันออกกับแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองวัดหลักสี่
ฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖
ฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองวัดหลักสี่ฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร
๖ ฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวแบ่งเขตการปกครองตามแนวเขตระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอเมืองปทุมธานี
จังหวัดปทุมธานีกับเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร กับแนวขอบทางถนนกำแพงเพชร ๖ ฟากตะวันออก
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง พ.ศ.
๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๖๑/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ |
611089 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 71)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗๑)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑
อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง
โดยให้ยกฐานะโรงพยาบาลหนองจอกเป็นส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากอง และ
สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์กองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร ได้มีหนังสือที่ พว ๐๐๐๕.๑/๗๗๙ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒
แจ้งว่าได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทราบฝ่าละอองพระบาทแล้ว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงพยาบาลหนองจอก ว่า เวชการุณย์รัศมิ์
(เวด - ชะ - กา - รุน - รัด) มีความหมายว่า
การรักษาอันสว่างไสวในความรักความกรุณา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖) ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ (ฉบับที่ ๖๘) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการ
(๓) วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
(๔)
วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
(๕) โรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลตากสิน
(๗) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(๘) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพส่งเสริม
สนับสนุน ค้นคว้าและวิจัยทางการแพทย์
ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
(๑๑) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
(๑๒) โรงพยาบาลสิรินธร
(๑๓) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
(ศูนย์เอราวัณ)
โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์
เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติ
และกรณีสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย
และวินาศกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศ
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๙
สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖๙/๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ |
568856 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 64)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๔)
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงโครงสร้างของกองปกครองและทะเบียน
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครตามมติครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐
เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้ยกฐานะกองปกครองและทะเบียนเป็นส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากอง
กำหนดชื่อส่วนราชการเป็นสำนักงานปกครองและทะเบียน สังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
จึงให้ยกเลิกความใน (๕) ของข้อ ๕ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๕) สำนักงานปกครองและทะเบียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ปรับปรุง กำกับติดตาม ประเมินผล สนับสนุน
ตรวจสอบและดำเนินการเกี่ยวกับการทะเบียนปกครอง การทะเบียนราษฎร การทะเบียนทั่วไป
การปกครองท้องที่ การวางแผนงาน ประสานงานและอำนวยการการเลือกตั้งและการทำประชามติ
การรักษาความสงบเรียบร้อย งานความมั่นคงภายใน งานราชการส่วนภูมิภาค
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๙
มกราคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๔๙/๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ |
587577 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 67)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่
๖๗)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงโครงสร้างของกองตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่
๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ ให้ยกฐานะกองตรวจสอบภายในเป็นส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากองกำหนดชื่อส่วนราชการเป็นสำนักงานตรวจสอบภายใน
สังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จึงให้ยกเลิกความใน (๖) ของข้อ ๕
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และ (ฉบับที่ ๖๔) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๖) สำนักงานตรวจสอบภายใน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการตรวจสอบการตรวจสอบทางการเงิน
การตรวจสอบการดำเนินงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดการตรวจสอบพิเศษ
การตรวจสอบการบริหาร การตรวจสอบระบบ IT สรุปวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและรายงานการตรวจตามแผนการตรวจสอบ
พัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน ศึกษา ค้นคว้า
รวบรวมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับงานตรวจสอบภายใน
จัดทำและปรับปรุงคู่มืองานตรวจสอบภายใน คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยรับตรวจ
ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน ควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลวิชาการ ดำเนินการจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วัชศักดิ์/ผู้จ้ดทำ
๑๘
กันยายน ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๕๓ ง/หน้า ๑๑/๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ |
610768 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา ๑๒๐
วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘[๑]
กรุงเทพมหานครรายงานการรับ
- จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ทราบ ดังนี้
รายการ
งบประมาณทั้งสิ้น
รับจริง/จ่ายจริง
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
รวมรับจริง/จ่ายจริง
และ
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
สูง
กว่าประมาณการ
(ต่ำ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. รายรับ
๑.๑ รายได้ประจำ
๑.๒ รายได้พิเศษ
๔๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔,๖๒๑,๒๔๗,๘๙๐.๐๐
๔๕,๔๗๐,๖๓๓,๓๕๑.๖๐
๔,๖๒๑,๒๔๗,๘๙๐.๐๐
-
-
๔๕,๔๗๐,๖๓๓,๓๕๑.๖๐
๔,๖๒๑,๒๔๗,๘๙๐.๐๐
๔๗๐,๖๓๓,๓๕๑.๖๐
-
รวมรายรับทั้งสิ้น บาท
๔๙,๖๒๑,๒๔๗,๘๙๐.๐๐
๕๐,๐๙๑,๘๘๑,๒๔๑.๖๐
-
๕๐,๐๙๑,๘๘๑,๒๔๑.๖๐
๔๗๐,๖๓๓,๓๕๑.๖๐
๒. รายจ่ายตามงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑
๒.๑ รายจ่ายประจำ
๒.๒ รายจ่ายพิเศษ
๔๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔,๖๒๑,๒๔๗,๘๙๐.๐๐
๓๖,๓๔๔,๒๓๔,๔๗๘.๙๔
๒,๓๕๐,๐๓๒,๒๒๗.๘๔
๗,๖๒๙,๔๑๙,๗๘๕.๖๐
๑,๙๐๙,๒๑๘,๖๐๒.๑๗
๔๓,๙๗๓,๖๕๔,๒๖๔.๕๔
๔,๒๕๙,๒๕๐,๘๓๐.๐๑
(๑,๐๒๖,๓๔๕,๗๓๕.๔๖)
(๓๖๑,๙๙๗,๐๕๙.๙๙)
รวม บาท
๔๙,๖๒๑,๒๔๗,๘๙๐.๐๐
๓๘,๖๙๔,๒๖๖,๗๐๖.๗๘
๙,๕๓๘,๖๓๘,๓๘๗.๗๗
๔๘,๒๓๒,๙๐๕,๐๙๔.๕๕
(๑,๓๘๘,๓๔๒,๗๙๕.๔๕)
รายจ่ายตามงบประมาณปีก่อน
๓. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
๓.๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗
๓.๒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๓ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙
๓.๔ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐
๙๗,๒๓๔,๔๒๑.๓๖
๒,๔๗๗,๑๐๑,๙๔๙.๓๖
๔,๖๔๔,๑๓๖,๖๕๓.๑๙
๖,๙๖๔,๗๒๓,๙๕๓.๕๖
๘๓,๕๐๖,๔๒๖.๓๖
๔๓๐,๘๘๓,๕๔๐.๕๘
๑,๘๐๐,๔๗๐,๐๓๒.๘๑
๔,๙๐๑,๓๖๘,๘๒๔.๖๐
-
๑,๘๔๔,๐๒๖,๙๐๙.๙๐
๒,๕๑๔,๒๔๔,๘๒๓.๗๓
๑,๖๔๘,๙๔๑,๒๐๘.๗๗
๘๓,๕๐๖,๔๒๖.๓๖
๒,๒๗๔,๙๑๐,๔๕๐.๔๘
๔,๓๑๔,๗๑๔,๘๕๖.๕๔
๖,๕๕๐,๓๑๐,๐๓๓.๓๗
(๑๓,๗๒๗,๙๙๕.๐๐)
(๒๐๒,๑๙๑,๔๙๘.๘๘)
(๓๒๙,๔๒๑,๗๙๖.๖๕)
(๔๑๔,๔๑๓,๙๒๐.๑๙)
รวม บาท
๑๔,๑๘๓,๑๙๖,๙๗๗.๔๗
๗,๒๑๖,๒๒๘,๘๒๔.๓๕
๖,๐๐๗,๒๑๒,๙๔๒.๔๐
๑๓,๒๒๓,๔๔๑,๗๖๖.๗๕
(๙๕๙,๗๕๕,๒๑๐.๗๒)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น บาท
๖๓,๘๐๔,๔๔๔,๘๖๗.๔๗
๔๕,๙๑๐,๔๙๕,๕๓๑.๑๓
๑๕,๕๔๕,๘๕๑,๓๓๐.๑๗
๖๑,๔๕๖,๓๔๖,๘๖๑.๓๐
(๒,๓๔๘,๐๙๘,๐๐๖.๑๗)
๔. ดุลของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ บาท
-
๑๑,๓๙๗,๖๑๔,๕๓๔.๘๒
(๙,๕๓๘,๖๓๘,๓๘๗.๗๗)
๑,๘๕๘,๙๗๖,๑๔๗.๐๕
๑,๘๕๘,๙๗๖,๑๔๗.๐๕
๕. ดุลการรับ - จ่ายเงิน
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น บาท
(๑๔,๑๘๓,๑๙๖,๙๗๗.๔๗)
๔,๑๘๑,๓๘๕,๗๑๐.๔๗
(๑๕,๕๔๕,๘๕๑,๓๓๐.๑๗)
(๑๑,๓๖๔,๔๖๕,๖๑๙.๗๐)
๒,๘๑๘,๗๓๑,๓๕๗.๗๗
หมายเหตุ :- รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้น
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังมิได้ตรวจสอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระชน
มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐
สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๖๘/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
560689 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดวิธีการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดวิธีการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร[๑]
ด้วยกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้กำหนดประเภทและกิจการของการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครและให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ประสงค์จะใช้ที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารหรือประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตหรือต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความหนาแน่นของการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
จึงกำหนดวิธีการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง
ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
และการยื่นแจ้งก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารโดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
โดยการแจ้งตามมาตรา ๓๙ ทวิ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้แจ้งแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแบบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร
(แบบ ผมร.1) พร้อมกับการยื่นคำขออนุญาต (แบบ ข.1)
หรือการแจ้ง (แบบ กทม.1) ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ
สำนักงานเขตท้องที่หรือสำนักการโยธา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒
การขออนุญาตหรือการแจ้งประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้แจ้งประกอบกิจการ
แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามแบบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร
(แบบ ผมร.1) พร้อมกับการยื่นคำขออนุญาตหรือการแจ้งประกอบกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ณ สำนักงานเขตท้องที่
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
(แบบ ผมร.1)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๓
สิงหาคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๓๔/๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
610281 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 69)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๙)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความในข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗) ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒
สำนักอนามัย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน
และจัดบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การแพทย์ระดับปฐมภูมิ
การป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การนิเทศ กำกับ
ตรวจสอบ
และติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓
การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
ดังนี้
ก. ให้แบ่งส่วนราชการสำนักอนามัย ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์
วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร
(๘) กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๙) กองทันตสาธารณสุข
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๑๒) กองเภสัชกรรม
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี
ปุรุราชรังสรรค์
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง
เนตรวิเศษ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ.
ธนาคารนครหลวงไทย
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร
ทังสุบุตร
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน
ฟักอุดม
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน ภักดี
ฐานปัญญา
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
ข. ให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานเลขานุการ งานสารบรรณและธุรการทั่วไป งานการคลัง และพัสดุ
การบริหารงานบุคคล งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานการประชุม งานนิติการของสำนัก
และงานอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิชาการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพแนวใหม่ตามนโยบายด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครและรัฐบาล
การวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการด้านสุขภาพ
การวางแผนเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การกำกับ ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยตามแผนงานตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์และนโยบายต่าง ๆ
ของกรุงเทพมหานครและสำนักอนามัยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดการพัฒนาด้านระบบข้อมูลสถิติทางสาธารณสุข
รวมทั้งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการและการบริหารจัดการ
การสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
มีหลักประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานคุณภาพบริการและวิชาชีพที่ครอบคลุม
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ประชาชนด้านการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองสร้างเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพบุคคลและครอบครัว
งานด้านสาธารณสุขชุมชน งานด้านสุขภาพจิตงานด้านโภชนาการ
และงานด้านการสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี การกำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ
ตรวจสอบและติดตามประเมินผล จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของกรุงเทพมหานคร
พัฒนาองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพในแต่ละช่วงวัย และพัฒนารูปแบบ (Model)
การสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตเขตเมือง
พัฒนาการมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายสุขภาพในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประสานและบูรณาการงานด้านสร้างเสริมสุขภาพกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสำนักอนามัย
พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงานสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) กองควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อทุกชนิด ยกเว้นโรคเอดส์ โรควัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา กำหนดมาตรฐาน
แนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
และติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นศูนย์ข้อมูลและควบคุมการระบาดวิทยาของกรุงเทพมหานคร
ประสานและสนับสนุนการพัฒนาระบบ
กลไกและเครือข่ายการเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕) กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค
และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี กำหนดมาตรฐาน แนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับ ตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติงาน ประสานและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการเฝ้าระวัง
ป้องกัน และควบคุมโรค และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการ
การบูรณาการแผนงาน โครงการและงบประมาณ การป้องกันการติดยาเสพติด การให้บริการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ กำกับ ตรวจสอบ
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกัน
บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เป็นศูนย์ข้อมูลด้านยาเสพติดของกรุงเทพมหานครและจัดทำ รายงานที่เกี่ยวข้อง
การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
การประสานความร่วมมือและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่รับผิดชอบงานด้านยาเสพติด การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองสุขาภิบาลอาหาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหาร
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุขและว่าด้วยอาหาร
การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารอาหารปลอดภัย
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
และจัดทำมาตรฐานการบริการด้านการสุขาภิบาลอาหาร การปรับปรุงกลไกการพัฒนาที่เอื้อต่อการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหาร
การจัดระบบการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการ
การจัดระบบการตรวจสอบคุณภาพอาหารและประเมินความเสี่ยง
รวมถึงการกำกับติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติให้คำ ปรึกษา แนะนำ
ตอบข้อหารือวิชาการและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การจัดความรู้
การเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานปฏิบัติ
การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบเครือข่ายงานด้านอาหาร
การจัดระบบสารสนเทศด้านสุขาภิบาลอาหาร
การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายหรือที่หน่วยงานอื่นประสานขอความร่วมมือและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๘) กองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่
งานด้านสุขาภิบาลโรงงานและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่าง ๆ
การสุขาภิบาลควบคุมการเลี้ยงและปล่อยสัตว์ การสุขาภิบาลทั่วไป และการอาชีวอนามัย
การป้องกันควบคุม เฝ้าระวัง
และการประเมินความเสี่ยงในการแก้ไขปัญหาจากสารเคมีหรือวัตถุอันตรายในสถานประกอบกิจการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและแหล่งอันตรายที่มีความเสี่ยง การจัดทำ
แผนงานและโครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติงานในฐานะหน่วยงานกลางในการควบคุม กำกับ ดูแล
ประเมินผลสำเร็จของงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการจัดทำและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (ยกเว้น
การสุขาภิบาลอาหาร) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริม
สนับสนุนและเผยแพร่ทางวิชาการ พัฒนาบุคลากร
การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องในกลุ่มเป้าหมายหลัก
และประชาชนทั่วไปรวมทั้งให้คำปรึกษาและตอบข้อหารือของสำนักงานเขตทั้งในเรื่องวิชาการและการบังคับใช้กฎหมายเป็นศูนย์สารสนเทศด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมการตรวจสอบสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
หรือตามที่สำนักงานเขตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความร่วมมือ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) กองทันตสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับดำเนินงานทางทันตสาธารณสุขในการให้บริการรักษา การส่งเสริมทันตสุขภาพ
การป้องกันโรคและเฝ้าระวังอนามัยในช่องปาก การจัดทำแผนแม่บท
แผนยุทธศาสตร์และโครงการสนับสนุนการดำเนินงานทางทันตสาธารณสุข
การจัดทำแผนกำลังคนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนา
ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ
กำหนดมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติงาน นิเทศ
กำกับตรวจสอบและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาแนะนำและสนับสนุนทางวิชาการทันตสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการตรวจสัตว์และเนื้อสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์และในสถานจำหน่ายเนื้อสัตว์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพเนื้อสัตว์ ตรวจสิ่งเจือปนหรือสารพิษตกค้างในเนื้อสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
การเฝ้าระวังโรคสัตว์ติดคนการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด
การจัดทำศูนย์ข้อมูลและประสานงานเกี่ยวกับโรคระบาดจากสัตว์สู่คนการเฝ้าระวัง
สอบสวน ควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การจดทะเบียนสุนัขและดูแลฐานข้อมูลสุนัข
การบริการทางสัตวแพทย์โดยการผ่าตัดทำหมัน
การบริการหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่การตรวจสอบสุนัขในพื้นที่สาธารณะ
การควบคุมสถานที่พักพิงสุนัข การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำคู่มือ
เอกสารทางวิชาการเพื่อการอบรม เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ
และให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๑) กองการพยาบาลสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ทางการพยาบาล
การกำหนดและควบคุมมาตรฐานทางการพยาบาล และการพยาบาลสาธารณสุขของสำนัก การส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลและวิชาการพยาบาล การวิจัยและพัฒนาระบบบริการพยาบาล
การพัฒนามาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน
การนิเทศงาน กำกับ ตรวจสอบและติดตามประเมินผล
การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒) กองเภสัชกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการบริหารยาเวชภัณฑ์ สารเคมีเครื่องมือเครื่องใช้ในงานเภสัชกรรม
การผลิตยาประเภทต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัยการศึกษา วิเคราะห์
วิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม การตรวจสอบติดตามยา
เครื่องสำอางเครื่องมือแพทย์ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่จำหน่ายให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย
การนิเทศติดตาม และประเมินผลการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมและบุคลากรสายงานเภสัชกรรม
การเผยแพร่ความรู้เรื่องยาแก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในฐานะห้องปฏิบัติการกลางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรุงเทพมหานคร
(City Lab) โดยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์
วิจัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางระบาดวิทยาการรักษาพยาบาล
ได้แก่ การตรวจชันสูตรและการตรวจยืนยันทางชีวเคมี ภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยา
สารเสพติด และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรุงเทพมหานคร
การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการชันสูตรสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร การกำกับ
ควบคุมการปฏิบัติงานของเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางชันสูตรสาธารณสุข
ให้การฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเทคนิควิธีการที่ทันสมัยด้านการตรวจ
วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนทั้งภายในและภายนอกศูนย์บริการสาธารณสุขครอบคลุม
๔ มิติ คือ การรักษาพยาบาลการควบคุมและป้องกันโรค
การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุข
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒ ราชปรารภ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓ บางซื่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔ ดินแดง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕ จุฬาลงกรณ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๑๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖ สโมสรวัฒนธรรมหญิง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี
ปุรุราชรังสรรค์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑
สะพานมอญ
(๒๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๘ บุญรอด รุ่งเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๙ ประชาธิปไตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๐ สุขุมวิท
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๑ ประดิพัทธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๒ จันทร์เที่ยง
เนตรวิเศษ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๓ ไมตรีวานิช
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๔ แก้ว สีบุญเรือง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๕ ลาดพร้าว
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๒๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๖ ลุมพินี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ ประชานิเวศน์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ มงคล - วอน วังตาล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๙ วงศ์สว่าง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๐ บมจ.
ธนาคารนครหลวงไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑
สะพานมอญ
(๓๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๒ วัดปากบ่อ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๓๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๕ ห้วยขวาง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๓๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๖
เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑
สะพานมอญ
(๔๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๗ จันทร์ฉิม ไพบูลย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๘ กรุงธนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๐ วัดเจ้าอาม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๑ เอิบ - จิตร
ทังสุบุตร มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๒ มาริษ ตินตมุสิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๔๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๔ โพธิ์ศรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๕ หัวหมาก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๔๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๖ บุคคโล
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๗ ประสงค์ - สุดสาคร
ตู้จินดา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๘ จี๊ด - ทองคำ บำเพ็ญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ ราษฎร์บูรณะ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๕๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๐ บางแค
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๑ คลองเตย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๒ ถนอม ทองสิมา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๔ ลำผักชี หนองจอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๕ ร่มเกล้า ลาดกระบัง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๕๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๖ กันตารัติอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๗ คลองขวาง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๘ นาควัชระอุทิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๙ วัดชัยพฤกษมาลา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๐ บึงกุ่ม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๑ วัดไผ่ตัน มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข
๑ สะพานมอญ
(๖๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๒ สามเสนนอก
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๓ ทุ่งสองห้อง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๔ ทัศน์เอี่ยม
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๕ เตชะสัมพันธ์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๖๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๖ ทับเจริญ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๗ บุญเรือง ล้ำเลิศ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๘ ล้อม - พิมเสน
ฟักอุดม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๒) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๕๙ ทุ่งครุ
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๓) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๔) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๑ สังวาลย์ ทัสนารมย์
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๕) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๒ ตวงรัชฎ์ ศศะนาวิน
ภักดี ฐานปัญญา มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑
สะพานมอญ
(๗๖) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๓
สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๗) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๔ คลองสามวา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๘) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๕ รักษาศุข บางบอน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๗๙) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๖ ตำหนักพระแม่กวนอิม
โชคชัย ๔ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๐) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๗ ทวีวัฒนา
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
(๘๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๘ สะพานสูง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบเช่นเดียวกับศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ สะพานมอญ
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๕๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕/๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
614798 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง และตั้งแขวงสะพานสองแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง และตั้งแขวงสะพานสอง
แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์
และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตวังทองหลางให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง
และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
โดยมีรายละเอียดพื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงวังทองหลาง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงสะพานสอง
เขตวังทองหลาง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงบางกะปิ
และแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
แนวเขตการปกครองของแขวงวังทองหลาง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดพร้าว
ฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
แขวงสะพานสอง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงวังทองหลาง
เขตวังทองหลาง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงสามเสนนอก
เขตห้วยขวาง
แนวเขตการปกครองของแขวงสะพานสอง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือ บรรจบกับแนวขอบทางถนนโชคชัย ๔ ฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางถนนโชคชัย ๔ ฟากตะวันออก
บรรจบกับแนวขอบทางถนนสังคมสงเคราะห์ฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนสังคมสงเคราะห์ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสังคมสงเคราะห์ฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนสังคมสงเคราะห์ฟากเหนือ
กับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือ
แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงพลับพลา
เขตวังทองหลาง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว และแขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง
แนวเขตการปกครองของแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือกับแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือกับแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออก บรรจบกับแนวคลองลำพังพวยฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองลำพังพวยฝั่งเหนือบรรจบกับแนวขอบทางซอยลาดพร้าว ๑๐๑
ฟากตะวันออก ไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางซอยลาดพร้าว ๑๐๑ ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางซอยลาดพร้าว ๑๐๑
ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางซอยลาดพร้าว๑๐๑
ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวคลองทรงกระเทียมฝั่งเหนือ
แขวงพลับพลา
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงหัวหมาก
เขตบางกะปิ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงวังทองหลาง
เขตวังทองหลาง และแขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือกับแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองจั่นฝั่งตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนลาดพร้าวฟากเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงวังทองหลาง
และตั้งแขวงสะพานสอง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ และแขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๕๕/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ |
589738 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 66)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๖)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้ยุบเลิกโรงเรียนสวนหลวงซึ่งเป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักงานเขตปทุมวัน เนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนต้องการที่ดินคืนภายใน
๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ประกอบกับอนุกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครวิสามัญเกี่ยวกับการศึกษาทำการแทนคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๑ และ ก.ก.
ได้มีมติรับทราบในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
โดยยกเลิกข้อความ ๕. (๑๖) โรงเรียนสวนหลวง ในหมวด ๑๖ ของข้อ ๒๘ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๐
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
พงศ์ศักติฐ์
เสมสันต์
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๗
ตุลาคม ๒๕๕๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง/หน้า ๔๙/๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ |
582755 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 65)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๕)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อ
โรงเรียนวัดสวัสดิวารีสีมาราม สังกัดสำนักงานเขตดุสิต
เป็นโรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม เพื่อให้ชื่อของโรงเรียนสอดคล้องกับชื่อวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน และเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนคลองห้วยทราย
(ปลื้ม - เชื่อมนุกูล) สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน เป็นโรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม
- เชื่อมนุกูล) เพื่อให้ชื่อของโรงเรียนสอดคล้องกับชื่อคลองราชมนตรี
ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘
ประกอบกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๗/๒๕๓๒
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ มอบหมายให้ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาเปลี่ยนชื่อส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความใน ๗ (๑๕) และ ๒๓ (๒๐) ของข้อ ๒๘
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และ (ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๕) โรงเรียนวัดสวัสดิ์วารีสีมาราม
(๒๐) โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม - เชื่อมนุกูล)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
มิถุนายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๗๒/๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ |
614796 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตบึงกุ่มให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์
เขตบึงกุ่ม โดยมีรายละเอียดพื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงคลองกุ่ม
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงนวลจันทร์
เขตบึงกุ่ม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงรามอินทรา
เขตคันนายาว
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงสะพานสูง
เขตสะพานสูง และแขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ แขวงนวมินทร์ และแขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม
แนวเขตการปกครองของแขวงคลองกุ่ม
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนนวมินทร์
ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก - รามอินทรา)
ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก -
รามอินทรา) ฟากเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก - รามอินทรา) ฟากเหนือกับแนวคลองหนองแขม ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก - รามอินทรา) ฟากเหนือกับแนวคลองหนองแขม ฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออกและแนวคลองระหัสฝั่งตะวันออก บรรจบแนวขอบทางถนนเสรีไทยฟากใต้
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวขอบทางถนนเสรีไทยฟากใต้
บรรจบกับแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออกเลียบไปทางทิศใต้ตามแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองกุ่มฟากตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองกุ่มฝั่งตะวันออกกับแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนศรีบูรพาฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองแสนแสบฝั่งเหนือ
กับแนวขอบทางถนนศรีบูรพาฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางถนนศรีบูรพาฟากตะวันออก
บรรจบแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างถนนนวมินทร์ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก - รามอินทรา) ฟากเหนือ
แขวงนวมินทร์
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงนวลจันทร์
เขตบึงกุ่ม
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ และแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
แนวเขตการปกครองของแขวงนวมินทร์
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือ
กับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก เลียบไปทางทิศตะวันออก ตามแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนนวมินทร์
ฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก
เลียบไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออกกับแนวคลองพังพวยฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก
กับแนวคลองพังพวยฝั่งเหนือ ไปตามแนวคลองพังพวยฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองพังพวยฝั่งเหนือกับแนวคลองตาหนังฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองพังพวยฝั่งเหนือกับแนวคลองตาหนังฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองตาหนังฝั่งตะวันออก บรรจบกับแนวคลองลำเจียกฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองลำเจียกฝั่งเหนือ บรรจบกับแนวคลองโคกครามฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองโคกครามฝั่งตะวันออก บรรจบกับลำรางสาธารณะฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวลำรางสาธารณะฝั่งเหนือ
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือ
แขวงนวลจันทร์
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงท่าแร้ง
เขตบางเขน
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงรามอินทรา
เขตคันนายาว และแขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงคลองกุ่ม
และแขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว
แนวเขตการปกครองของแขวงนวลจันทร์
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
กับแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือเลียบไปทางทิศตะวันออก ตามแนวคลองตาเร่ง ฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองตาเร่งกับแนวขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้
เลียบไปทางทิศตะวันออก ตามแนวขอบทางถนนรามอินทราฟากใต้
บรรจบแนวคลองบางชวดด้วนฝั่งตะวันออก เลียบไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองบางชวดด้วนฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวคลองหลวงวิจิตรฝั่งเหนือ เลียบไปทางทิศตะวันออก ตามแนวคลองหลวงวิจิตรฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองลำชะล่าฝั่งตะวันออก
เลียบไปทางทิศใต้ตามแนวคลองลำชะล่าฝั่งตะวันออก
บรรจบกับแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออก
เลียบไปทางทิศใต้ตามแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก - รามอินทรา) ฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองหนองแขมฝั่งตะวันออก
กับแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก - รามอินทรา) ฟากเหนือ
เลียบไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๐ (ถนนรัชดาภิเษก -
รามอินทรา) ฟากเหนือ บรรจบแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก เลียบไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนนวมินทร์ฟากตะวันออก
บรรจบแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกเลียบตามแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรม
ฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประเสริฐมนูกิจฟากเหนือ
กับแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก เลียบไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนประดิษฐ์มนูธรรมฟากตะวันออกกับแนวคลองตาเร่งฝั่งเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม
และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๕๐/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ |
598296 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 68)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจ
หน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๘)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๑
อนุมัติจัดตั้งส่วนราชการใหม่ คือ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
(ศูนย์เอราวัณ) เป็นส่วนราชการระดับกอง สังกัดสำนักการแพทย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖) ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑
สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการ
ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการ
(๓) วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
(๔)
วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
(๕) โรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลตากสิน
(๗) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(๘) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
(๙) โรงพยาบาลหนองจอก
(๑๐) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
(๑๑) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
(๑๒) โรงพยาบาลสิรินธร
(๑๓) ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
(ศูนย์เอราวัณ)
โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร
เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในสถานการณ์ปกติ
และกรณีสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา
วิจัย จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
การบริหารจัดการด้านการเงินในระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สั่ง
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
พงศ์ศักติฐ์
เสมสันต์
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๗๕/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ |
566243 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 63)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๓)
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรรับโอนโรงเรียนวัดใหม่ช่องลมเป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักงานเขตห้วยขวาง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๐
เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้เพิ่มเติมข้อความใน ๙.
สำนักงานเขตห้วยขวางของหมวด ๑๖ ข้อ ๒๘ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนี้
(๑๓) โรงเรียนวัดใหม่ช่องลม
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.
๒๕๕๐[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗
พฤศจิกายน ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง/หน้า ๒๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ |
614803 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง แขวงบางแคและแขวงบางไผ่ เขตบางแค
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง แขวงบางแค
และแขวงบางไผ่
เขตบางแค[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตบางแคให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางแคเหนือ แขวงหลักสอง แขวงบางแค และแขวงบางไผ่
เขตบางแค โดยมีรายละเอียดพื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงบางแคเหนือ
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางไผ่
เขตบางแค และแขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคลองขวาง
เขตภาษีเจริญ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางแค
และแขวงหลักสอง เขตบางแค
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงหนองค้างพลู
เขตหนองแขม
แนวเขตการปกครองของแขวงบางแคเหนือ
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางแวกฝั่งเหนือกับคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางแวกฝั่งเหนือสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางแวกฝั่งเหนือกับคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางแวกฝั่งเหนือกับคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือกับคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือกับคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออกกับคลองบางแวกฝั่งเหนือ
แขวงหลักสอง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางแคเหนือ
เขตบางแค
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงบางแค เขตบางแค
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางบอน
เขตบางบอน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงหนองแขม
เขตหนองแขม
แนวเขตการปกครองของแขวงหลักสอง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
ไปบรรจบคลองหนามแดงฝั่งเหนือตามแนวคลองหนามแดงฝั่งเหนือ ไปทางทิศตะวันตก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองหนามแดงฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนบางบอน ๓ ฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองหนามแดงฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนบางบอน
๓ ฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางถนนบางบอน ๓ ฟากตะวันออก
ไปบรรจบแนวขอบทางซอยเพชรเกษม ๖๙ ฟากตะวันออก ไปทางทิศเหนือ ตามแนวขอบทางซอยเพชรเกษม
๖๙ ฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างซอยเพชรเกษม ๖๙
ฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
แขวงบางแค
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงบางแคเหนือ
เขตบางแค
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงบางหว้า
เขตภาษีเจริญ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางบอน
เขตบางบอน
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงหลักสอง
เขตบางแค
แนวเขตการปกครองของแขวงบางแค
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือกับคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือกับคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออกกับคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองพระยาราชมนตรีฝั่งตะวันออกกับคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองบางโคลัดฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางโคลัดฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางโคลัดฝั่งเหนือกับแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวขอบทางถนนกาญจนาภิเษกฟากตะวันออกกับแนวขอบทางถนนเพชรเกษมฟากเหนือ
แขวงบางไผ่
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงทวีวัฒนา
เขตทวีวัฒนา และแขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางแคเหนือ
เขตบางแค
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงหนองค้างพลู
เขตหนองแขม และแขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
แนวเขตการปกครองของแขวงบางไผ่
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออกกับคลองบางเชือกหนังฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางเชือกหนังฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางเชือกหนังฝั่งเหนือกับคลองลัดตากลั่นฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางเชือกหนังฝั่งเหนือกับคลองลัดตากลั่นฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ ตามแนวคลองลัดตากลั่นฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองลัดตากลั่นฝั่งตะวันออกกับคลองบางแวกฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้น
จากจุดบรรจบระหว่างคลองลัดตากลั่นฝั่งตะวันออกกับคลองบางแวกฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตก ตามแนวคลองบางแวกฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางแวกฝั่งเหนือกับคลองทวีวัฒนา ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางแวกฝั่งเหนือกับคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศเหนือ ตามแนวคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองทวีวัฒนาฝั่งตะวันออกกับคลองบางเชือกหนังฝั่งเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางแคเหนือ
แขวงหลักสอง แขวงบางแค และแขวงบางไผ่ เขตบางแค พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๖๖/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ |
614794 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางซื่อ และตั้งแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางซื่อ และตั้งแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตบางซื่อให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน
ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร
และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางซื่อ และตั้งแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ
โดยมีรายละเอียดพื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงบางซื่อ
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
แขวงวงศ์สว่าง
เขตบางซื่อ และแขวงจตุจักร เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงจตุจักร
เขตจตุจักร
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงถนนนครไชยศรี
เขตดุสิต
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
แขวงบางอ้อ
เขตบางพลัด
แนวเขตการปกครองของแขวงบางซื่อ
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือ
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ ด้านเหนือ ผ่านคลองวัดเสาหิน
ผ่านถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ผ่านถนนประชาชื่น ผ่านคลองประปา ผ่านคลองเปรมประชากร
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือกับแนวเขตทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือกับแนวเขตทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวเขตทางรถไฟสายเหนือ
ด้านตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อ ฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายเหนือด้านตะวันออกกับแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
บรรจบกับแนวคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออก
ไปทางทิศใต้ตามแนวคลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออก บรรจบแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับแนวกึ่งกลางแม่น้ำ
เจ้าพระยา ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำ เจ้าพระยา
กับแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือ
แขวงวงศ์สว่าง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
อำเภอเมือง
จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ แขวงลาดยาว
และแขวงจตุจักร เขตจตุจักร
ทิศใต้
ติดต่อกับ
แขวงบางซื่อ
เขตบางซื่อ
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
อำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี
แนวเขตการปกครองของแขวงวงศ์สว่าง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวกึ่งกลางคลองบางเขน
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวกึ่งกลางคลองบางเขน สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางคลองบางเขนกับแนวเขตคลองประปาฝั่งตะวันตก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางคลองบางเขน
กับแนวคลองประปาฝั่งตะวันตก ไปทางทิศใต้ตามแนวเขตคลองประปาฝั่งตะวันตก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตคลองประปาฝั่งตะวันตกกับแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตคลองประปา
ฝั่งตะวันตกกับแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือ
ผ่านถนนประชาชื่น ผ่านถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ผ่านคลองวัดเสาหิน
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายใต้ด้านเหนือกับแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างแนวเขตทางรถไฟสายใต้
ด้านเหนือกับแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับแนวกึ่งกลางคลองบางเขน
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
สุขุมพันธุ์
บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบางซื่อ
และตั้งแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙
กันยายน ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๔๗/๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ |
534940 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 62)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๒)
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของฝ่ายการศึกษา
สำนักงานเขตให้มีความเหมาะสมตรงตามข้อเท็จจริง และสอดคล้องกับภารกิจที่รับผิดชอบตามที่กำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่
๑๔/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ เห็นชอบให้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของฝ่ายการศึกษาสำนักงานเขตจึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความใน ๗ ของข้อ ๒๗ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และ (ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่
๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๗
ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานในเชิงนโยบายให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาชาติโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ประสาน ตรวจสอบ กลั่นกรองงานด้านการบริหารงานบุคคลและสวัสดิการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในเขตพื้นที่
เพื่อนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นวิเคราะห์ข้อมูลประชากรวัยเรียนเพื่อการวางแผนการรับนักเรียนแต่ละระดับ
ตรวจสอบและจัดทำบัญชีรายชื่อเด็กอายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับส่งให้สถานศึกษาที่รับผิดชอบในพื้นที่เขตเพื่อเตรียมการรับนักเรียน
ประสานงาน ติดตาม สรุปผลการรับเด็กเข้าเรียนของสถานศึกษาในพื้นที่เขต รวบรวม ศึกษา
วิเคราะห์ กลั่นกรอง ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อนำเสนอผู้อำนวยการเขต ให้บริการข้อมูลสารสนเทศและประชาสัมพันธ์เผยแพร่เกี่ยวกับงานการศึกษาของสำนักงานเขต
วางแผนและดำเนินงานในการระดมทรัพยากรจากแหล่งสนับสนุน ประสานและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการจัดการศึกษาทั้งภาครัฐ
เอกชน และประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบส่งเสริมการจัดสวัสดิการ สวัสดิภาพในสถานศึกษา
การส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชนการคุ้มครองสิทธิของนักเรียน สำรวจและจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ และประสานการใช้ประโยชน์แหล่งการเรียนรู้อย่างเป็นระบบส่งเสริมและสนับสนุนกิจการนักเรียนของสถานศึกษา
ส่งเสริม สนับสนุน การสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมและพัฒนาความรู้
ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประสานการสำรวจข้อมูลส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กความสามารถพิเศษกับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการด้านภารกิจของศูนย์วิชาการ ดำเนินการด้านการเงิน การงบประมาณและการจัดหาพัสดุครุภัณฑ์และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๔
เมษายน ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๕๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๐ |
590353 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา 120 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
รายงานการรับ - จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐
เพื่ออนุวัตตามความในมาตรา
๑๒๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
กรุงเทพมหานครรายงานการรับ
- จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ทราบ ดังนี้[๑]
รายการ
งบประมาณทั้งสิ้น
รับจริง/จ่ายจริง
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
รวมรับจริง/จ่ายจริง
และ
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
สูง
กว่าประมาณการ
(ต่ำ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๐
๑. รายรับ
๑.๑ รายได้ประจำ
๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔๓,๖๔๔,๐๐๓,๕๒๔.๒๙
-
๔๓,๖๔๔,๐๐๓,๕๒๔.๒๙
๔,๖๔๔,๐๐๓,๕๒๔.๒๙
๑.๒ รายได้พิเศษ
-
-
-
-
-
รวมรายรับทั้งสิ้น
บาท
๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๔๓,๖๔๔,๐๐๓,๕๒๔.๒๙
-
๔๓,๖๔๔,๐๐๓,๕๒๔.๒๙
๔,๖๔๔,๐๐๓,๕๒๔.๒
๒. รายจ่ายตามงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๕๐
๒.๑ รายจ่ายประจำ
๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓๐,๙๓๔,๑๖๒,๕๐๘.๙๕
๖,๙๖๔,๗๒๓,๙๕๓.๕๖
๓๗,๘๙๘,๘๘๖,๔๖๒.๕๑
(๑,๑๐๑,๑๑๓,๕๓๗.๔๙)
๒.๒ รายจ่ายพิเศษ
-
-
-
-
-
รวม
บาท
๓๙,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐
๓๐,๙๓๔,๑๖๒,๕๐๘.๙๕
๖,๙๖๔,๗๒๓,๙๕๓.๕๖
๓๗,๘๙๘,๘๘๖,๔๖๒.๕๑
(๑,๑๐๑,๑๑๓,๕๓๗.๔๙)
รายจ่ายตามงบประมาณปีก่อน
๓. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
๓.๑ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
๓.๒ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๖
๓.๓ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๗
๓.๔ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๘
๓.๕ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๙
๑๑๐,๐๑๔,๒๖๔.๒๒
๓๕๙,๙๙๓,๘๓๐.๐๘
๑,๘๖๐,๓๑๘,๒๕๔.๖๘
๔,๔๙๐,๔๕๗,๕๙๙.๖๐
๑๑,๘๑๙,๔๑๔,๕๙๑.๗๔
๘๓,๑๗๔,๒๖๔.๒๒
๑๒๕,๖๓๙,๓๙๑.๗๐
๓๙๒,๖๔๙,๙๐๙.๕๒
๑,๓๑๙,๓๐๕,๕๙๕.๓๒
๖,๑๘๗,๑๔๕,๖๘๖.๓๓
-
-
๙๗,๒๓๔,๔๒๑.๓๖
๒,๔๗๗,๑๐๑,๙๔๙.๓๖
๔,๖๔๔,๑๖๑,๔๕๓.๑๙
๘๓,๑๗๔,๒๖๔.๒๒
๑๒๕,๖๓๙,๓๙๑.๗๐
๔๘๙,๘๘๔,๓๓๐.๘๘
๓,๗๙๖,๔๐๗,๕๔๔.๖๘
๑๐,๘๓๑,๓๐๗,๑๓๙.๕๒
(๒๖,๘๔๐,๐๐๐.๐๐)
๒๓๔,๓๕๔,๔๓๘.๓๘)
๑,๓๗๐,๔๓๓,๙๒๓.๘๐)
(๖๙๔,๐๕๐,๐๕๔.๙๒)
๙๘๘,๑๐๗,๔๕๒.๒๒)
รวม
บาท
๑๘,๖๔๐,๑๙๘,๕๔๐.๓๒
๘,๑๐๗,๙๑๔,๘๔๗.๐๙
๗,๒๑๘,๔๙๗,๘๒๓.๙๑
๑๕,๓๒๖,๔๑๒,๖๗๑.๐๐
(๓,๓๑๓,๗๘๕,๘๖๙.๓๒)
รวมรายจ่ายทั้งสิ้น
บาท
๕๗,๖๔๐,๑๙๘,๕๔๐.๓๒
๓๙,๐๔๒,๐๗๗,๓๕๖.๐๔
๑๔,๑๘๓,๒๒๑,๗๗๗.๔๗
๕๓,๒๒๕,๒๙๙,๑๓๓.๕๑
(๔,๔๑๔,๘๙๙,๔๐๖.๘๑)
๔. ดุลของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ บาท
-
๑๒,๗๐๙,๘๔๑,๐๑๕.๓๔
(๖,๙๖๔,๗๒๓,๙๕๓.๕๖)
๕,๗๔๕,๑๑๗,๐๖๑.๗๘
๕,๗๔๕,๑๑๗,๐๖๑.๗๘
๕. ดุลการรับ - จ่ายเงิน
รายรับ สูง (ต่ำ)
กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น บาท
(๑๘,๖๔๐,๑๙๘,๕๔๐.๓๒)
๔,๖๐๑,๙๒๖,๑๖๘.๒๕
(๑๔,๑๘๓,๒๒๑,๗๗๗.๔๗)
(๙,๕๘๑,๒๙๕,๖๐๙.๒๒)
๙,๐๕๘,๙๐๒,๙๓๑.๑๐
หมายเหตุ :-
รายงานนี้เป็นรายงานเบื้องต้น ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังมิได้ตรวจสอบ
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑
พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๓๗/๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ |
681959 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับ Update ณ วันที่ 16/05/2549) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เนื่องจากมีความจำเป็นต้องแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ มาตรา ๖๑ มาตรา ๖๒ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๒/๒๕๒๘ เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๘
ให้แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ดังนี้
หมวด ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ
๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
งานในหน้าที่ของ ก.ก.
วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและจัดระบบราชการกรุงเทพมหานคร
ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในราชการกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่
ก.ก. มอบหมาย
ข้อ ๓ ทวิ[๒] สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
กองบริหารทั่วไป
(๒)
กองสรรหาบุคคล
(๓)
กองระบบงาน
(๔)
กองอัตรากำลัง
(๕)
กองทะเบียนประวัติข้าราชการ
(๖)
กองวินัยและส่งเสริมสมรรถภาพ
หมวด ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
ข้อ ๕[๓] สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒)
กองกลาง
(๓)
กองการเจ้าหน้าที่
(๔)
สำนักงานกฎหมายและคดี
(๕)
กองปกครองและทะเบียน
(๖)
กองตรวจสอบภายใน
(๗)
กองประชาสัมพันธ์
(๘)
กองงานผู้ตรวจราชการ
(๙)
กองการต่างประเทศ
หมวด ๕
สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร[๔] (ยกเลิก)
ข้อ ๖[๕] (ยกเลิก)
ข้อ ๗[๖] (ยกเลิก)
หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล[๗]
ข้อ ๘[๘] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเป้าหมาย
การจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการ ด้านเศรษฐกิจ
การเงินและการคลังด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
และด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
การประสานแผนปฏิบัติการ
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ
การให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๙[๙] สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ
(๓) กองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง
(๔) กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๕) กองยุทธศาสตร์สาธารณูปโภคพื้นฐาน
(๖) กองยุทธศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(๗) กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(๘) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(๙) กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(๑๐) กองสารสนเทศภูมิศาสตร์
หมวด ๗
สำนักการแพทย์
ข้อ ๑๐
สำนักการแพทย์
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานด้านการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกรุงเทพมหานคร
การจัดการศึกษาหรือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และการพยาบาล
ข้อ ๑๑[๑๐] สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการ
(๓) วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
(๔) วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
(๕) โรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลตากสิน
(๗) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(๘) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโรอุทิศ
(๙) โรงพยาบาลหนองจอก
(๑๐) โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
(๑๑) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
(๑๒) โรงพยาบาลสิรินธร
หมวด ๘
สำนักอนามัย[๑๑]
ขอ
๑๒[๑๒] สํานักอนามัย
มีอํานาจหนาที่เกี่ยวกับการสงเสริม สนับสนุน การจัดบริการดานสงเสริมสุขภาพ
การปองกันโรค และการพัฒนาศักยภาพของประชาชนทางดานพฤติกรรมและสํานึกทางสุขภาพ
การใหบริการในระดับศูนยบริการสาธารณสุข การดําเนินการตามกฎหมายวาดวยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวของ
การวิจัย พัฒนาความรู และรูปแบบการจัดระบบบริการสาธารณสุข การสุขาภิบาลอาหาร
การอาชีวอนามัย และการสุขาภิบาลสิ่งแวดลอม
การเผยแพรความรูและถายทอดเทคโนโลยีทางดานการสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรค
การควบคุมสิ่งแวดลอมภายในอาคารสถานที่และชุมชน และพฤติกรรมการดูแลรักษาสุขภาพ
ขอ
๑๓[๑๓] สํานักอนามัย มีสวนราชการดังตอไปนี้
(๑)
สํานักงานเลขานุการ
(๒)
กองพัฒนาระบบสาธารณสุข
(๓)
กองทันตสาธารณสุข
(๔)
กองสุขาภิบาลสิ่งแวดลอม
(๕)
กองสัตวแพทยสาธารณสุข
(๖)
กองสงเสริมสุขภาพ
(๗)
กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๘)
กองควบคุมโรค
(๙)
กองปองกันและบําบัดการติดยาเสพติด
(๑๐)
กองเภสัชกรรม
(๑๑)
กองควบคุมโรคเอดส
(๑๒)
กองชันสูตรสาธารณสุข
(๑๓)
ศูนยบริการสาธารณสุข
(๑๔)
กองสุขาภิบาลอาหาร
หมวด ๙
สำนักการศึกษา[๑๔]
ข้อ ๑๔[๑๕]
สำนักการศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ
การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก งานกิจกรรมพิเศษ
และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา งานกิจกรรมพิเศษ
งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง การปรับปรุงส่วนราชการ
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย
การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ
การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน
เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรพรรดิมาลา
ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์
การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่ งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม
ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย
การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
การดำเนินการทางวินัย การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก.
ข้าราชการครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างในสถานศึกษา งานด้านการจัดสวัสดิการ
และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน
การช่วยราชการ การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ
การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา
การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด
การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ และการตรวจสอบรับรองประวัติ
การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการศึกษา
การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินบุคคล การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
การสรรหา การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ
และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก.
ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน การคลัง
การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ
การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ การรับเงิน การเบิกเงิน
การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ -
รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม
รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม
การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี
ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และฎีกาเงินนอกงบประมาณ
วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน
๖ เดือน ๑ ปี จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ
รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก
กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์ รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา
หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS
ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์ อาคาร
ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร
หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)
หน่วยศึกษานิเทศก์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำ
ส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงินและบัญชี ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ
งานการเจ้าหน้าที่ งานการประชุมงานพิธีการ งานการประชาสัมพันธ์
งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ งานการพิมพ์ และผลิตเอกสารที่ใช้ในการนิเทศงาน ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนการนิเทศ
งานวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา สรุปและรายงานการนิเทศการศึกษา
การจัดระบบข้อมูลพื้นฐานจัดระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
งานแผนงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน นิเทศการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย มัธยมศึกษา
และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ส่งเสริมให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน
เผยแพร่ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ
การใช้นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ผลิตเอกสารผลงานทางวิชาการเผยแพร่
ปฏิบัติงานตามนโยบายการศึกษาของกรุงเทพมหานครและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มรัตนโกสินทร์ (กท ๑) และกลุ่มลุมพินี (กท ๒)
มีโรงเรียนจำนวน ๕๑ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๐ เครือข่าย ๆ และ ๔ - ๘ โรงเรียน
๓)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๒ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มวิภาวดี (กท ๓) และกลุ่มเจ้าพระยา (กท ๔) มีโรงเรียน
จำนวน ๕๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๙ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๔)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มกรุงธนบุรี (กท ๕) และกลุ่มตากสิน (กท ๖) มีโรงเรียนจำนวน
๘๖ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster)
จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๕)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๔ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มพระนครเหนือ (กท ๗) และกลุ่มสุวินทวงศ์ (กท ๙) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๗ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๖)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๕ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มบูรพา (กท ๘) และกลุ่มศรีนครินทร์ (กท ๑๐) มีโรงเรียน
จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๖ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๗)
กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๖ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มมหาสวัสดิ์ (กท ๑๑) และกลุ่มสนามชัย (กท ๑๒) มีโรงเรียน
จำนวน ๗๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน ๑๒ เครือข่าย ๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
การวิจัยทางการศึกษางานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษางานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุม
ดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์
จัดทำประสานและส่งเสริมด้านนโยบายและแผนการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การกำหนดกรอบแนวทางและมาตรการในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนและกำหนดกรอบเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบรวม
ยกเลิกสถานศึกษาและการรับนักเรียนในแต่ละระดับ
การประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร
และแผนงานด้านการศึกษาโดยประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำรายงานประจำปี
การประสานงานด้านนโยบายและแผนกับหน่วยงานภายนอก
การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา จัดหา
และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจัดเก็บ
ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานประมาณการจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนระยะ
๕ ปี ทุกปี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย
และส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
รวมทั้งการเทียบโอนผลการเรียนต่างระบบ
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
การศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส
การเตรียมความพร้อมและร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนสถานศึกษาให้กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒ การกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริม
สนับสนุนและประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือในประเทศและต่างประเทศ
การกำหนดพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการประสาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้บริการและการจัดการศึกษา
การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม ดำเนินการวิจัยด้านการจัดการเรียน การสอน
และด้านการบริหารและจัดการศึกษา การส่งเสริม
สนับสนุนโรงเรียนให้วิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ การรวบรวม สังเคราะห์
เผยแพร่ผลการวิจัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานหลักสูตรและวิธีสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาคู่มือหลักเกณฑ์
แนวทางด้านสาระหลักสูตรและวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอนตาม ๘
กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การกำหนดเผยแพร่เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ
และนโยบายของกรุงเทพมหานคร การสร้าง
พัฒนาเครื่องมือวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
การสนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตร ประเมินผลการเรียนรู้และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการปรับปรุง
แก้ไขปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕)
กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาระบบมาตรฐานการศึกษา
คู่มือดำเนินงานและเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
การจัดระบบสังเคราะห์รายงานประจำปีของโรงเรียน
การวิเคราะห์วางแผนจัดทำแผนและประสานการรับการประเมินจากภายนอกของโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖)
กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในระดับกรุงเทพมหานครและประสานกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินผลผู้เรียนระดับชาติ
การจัดระบบ รวบรวมสังเคราะห์ผลการประเมิน ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครจากสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา
การจัดทำรายงานจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้าในด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
การสนับสนุนและสังเคราะห์ผลการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน
ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ
และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์
วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์
บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ฯลฯ
เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน
สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว
และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning)
เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม
สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน
ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย
แผน และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย
ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑)
งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ
งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริการโสตทัศนูปกรณ์
ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ สำนักการศึกษา
ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒)
กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์
แนวทางและรูปแบบการประเมินผล การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓)
กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา
และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม
สัมมนา ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ
การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔)
กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ
ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ
ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก
การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ
หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕[๑๖] สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่
(๓)
กองคลัง
(๔)
หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕)
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖)
กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗)
กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
หมวด ๑๐
สำนักการโยธา
ข้อ ๑๖[๑๗] สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗[๑๘] สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓)
กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔)
สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕)
สำนักงานออกแบบ
(๖)
กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗)
กองควบคุมอาคาร
(๘)
กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙)
กองจัดกรรมสิทธิ์
หมวด ๑๑
สำนักการระบายน้ำ
ข้อ ๑๘
สำนักการระบายน้ำ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนควบคุม
และดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
การป้องกันน้ำท่วมและการกำจัดน้ำเสีย
ข้อ ๑๙[๑๙] สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองพัฒนาระบบหลัก
(๓) กองสารสนเทศระบายน้ำ
(๔) กองระบบอาคารบังคับน้ำ
(๕) กองระบบท่อระบายน้ำ
(๖) กองระบบคลอง
(๗)[๒๐] สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
(๘) กองเครื่องจักรกล
หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม[๒๑]
ข้อ ๒๐[๒๒] สำนักสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อแก้ไข ฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
การดูแลและเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๑[๒๓] สำนักสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองจัดการขยะ ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล
(๔)
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
(๕)
กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๖)
สำนักงานสวนสาธารณะ
หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม กีฬา
และการท่องเที่ยว[๒๔]
ข้อ ๒๒[๒๕] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู
บำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ
และการตระหนักในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมทั้งด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์ วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานและการพัฒนาด้านกีฬา
นันทนาการ ศิลปะ และวัฒนธรรม
ข้อ ๒๓[๒๖] สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(๔)
กองนันทนาการ
(๕)
กองการกีฬา
(๖)
กองการสังคีต
(๗)
กองการท่องเที่ยว
(๘)
กองวัฒนธรรม
หมวด ๑๔
สำนักการคลัง[๒๗]
ข้อ ๒๔[๒๘] สำนักการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ การจัดเก็บรายได้
การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
การบริหารจัดการและพัฒนาทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร การตรวจสอบและควบคุมการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๒๕[๒๙] สำนักการคลัง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองรายได้
(๓)
กองการเงิน
(๔)
กองบัญชี
(๕)
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(๖)
กองโรงงานช่างกล
(๗)
กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
(๘)
กองตรวจจ่าย
(๙)
กองบำเหน็จบำนาญ
หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ[๓๐]
ข้อ
๒๖[๓๑] สำนักเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ดูแล
ตรวจตราและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การบังคับคดีในส่วนแพ่ง รวมทั้งปฏิบัติงานด้านการดูแลและให้บริการและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของผู้บริหาร
ข้อ ๒๖ ทวิ[๓๒] สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๑
(๔)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๒
(๕)
กองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ ๓
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต[๓๓]
ข้อ ๒๗[๓๔]
ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียน
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น
ๆ การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน
การส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต
การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา
การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข
การอนามัยครอบครัว การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ การรักษาความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ การคุ้มครอง
ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ การจัดเก็บรายได้
การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑.
ฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง (ได้แก่
ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า
ทะเบียนสัตว์พาหนะ ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์
การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์ การรับเรื่องร้องทุกข์
การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค
งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล งานบริหารงานทั่วไป
งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ
งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง งานสารสนเทศ
งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต
งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒.
ฝ่ายทะเบียน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว
ทะเบียนชื่อบุคคล) การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓.
ฝ่ายโยธา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม และการปรับปรุงโรงเรียน
ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า ผิวจราจร สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม
การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่าง ๆ
ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค
การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
การบำรุงดูแลรักษาคู คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่าง ๆ การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย
การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ
ติดตั้ง ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน
การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail
อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ
การควบคุมการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔.
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร
การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ การสุขาภิบาลตลาด
สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ การควบคุม
ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ
การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค
การควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม
ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น
กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โรงงาน เป็นต้น
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕.
ฝ่ายรายได้ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร
(ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ
ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้
การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท การรายงานการจัดเก็บภาษี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖.
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา
เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ไขมัน และน้ำมัน
การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก
ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้ การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ
การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน
สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗.
ฝ่ายการศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ
การเงิน การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.
๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา (ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ
เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา
การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา
การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย
ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘.
ฝ่ายการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี
และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร เงินอุดหนุนรัฐบาล
เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน
การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย
การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน
การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ
การควบคุมทรัพย์สิน การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์)
การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (MIS) จำนวน ๙
ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี
ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น)
การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน การคลัง
การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙.
ฝ่ายเทศกิจ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป
งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐.
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ
สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน
การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน
การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว การส่งเสริมอาชีพ
การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ
การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด
การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ
ศูนย์กีฬาและลานกีฬา การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ
การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต
การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
การสนับสนุนและประสาน การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม
นันทนาการและการท่องเที่ยว
การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑.
โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒.
โรงเรียนมัธยมศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘[๓๕] การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑.
สำนักงานเขตพระนคร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓)
โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔)
โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕)
โรงเรียนวัดมหรรณพ์
(๑๖)
โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗)
โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘)
โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙)
โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐)
โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑)
โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒.
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒)
โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓)
โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔)
โรงเรียนวัดสิตาราม
๓.
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒)
โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓)
โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔.
สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒)
โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓)
โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕)
โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕.
สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒)
โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓)
โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔)
โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
(๑๕)
โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖)
โรงเรียนสวนหลวง
(๑๗)
โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘)
โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙)
โรงเรียนปลูกจิต
๖.
สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒)
โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓)
โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔)
โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕)
โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖)
โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗.
สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒)
โรงเรียนเบญจมบพิตร
(๑๓)
โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔)
โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕)
โรงเรียนวัดสวัสดิวารีสีมาราม
(๑๖)
โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗)
โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘)
โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙)
โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘.
สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙.
สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒)
โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
๑๐.
สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒)
โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑.
สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒)
โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕)
โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖)
โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗)
โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘)
โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐)
โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑)
โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒.
สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒)
โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓)
โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔)
โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕)
โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓.
สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒)
โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓)
โรงเรียนคลองสาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕)
โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖)
โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗)
โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘)
โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙)
โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐)
โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑)
โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒)
โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓)
โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔.
สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒)
โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓)
โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔)
โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕)
โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖)
โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗)
โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘)
โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐)
โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑)
โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒)
โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓)
โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔)
โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕)
โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖)
โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗)
โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘)
โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙)
โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐)
โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕.
สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒)
โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓)
โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕)
โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖)
โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗)
โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘)
โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙)
โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐)
โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑)
โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒)
โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖)
โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗)
โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘)
โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙)
โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑)
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒)
โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓)
โรงเรียนคลองสอง
(๓๔)
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕)
โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖)
โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗)
โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘)
โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙)
โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐)
โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑)
โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒)
โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓)
โรงเรียนลำผักชี
(๔๔)
โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕)
โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖)
โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗)
โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖.
สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒)
โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓)
โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔)
โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖)
โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗)
โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙)
โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐)
โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑)
โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒)
โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓)
โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔)
โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕)
โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖)
โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗)
โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗.
สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓)
โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔)
โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕)
โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖)
โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗)
โรงเรียนวัดสุทธาราม
๑๘.
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒)
โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓)
โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔)
โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖)
โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙.
สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓)
โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔)
โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕)
โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖)
โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗)
โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙)
โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐)
โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑)
โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒)
โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓)
โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔)
โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕)
โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐.
สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓)
โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔)
โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕)
โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖)
โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗)
โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘)
โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙)
โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐)
โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑)
โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒)
โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓)
โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔)
โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕)
โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖)
โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑.
สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒)
โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓)
โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔)
โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕)
โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖)
โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗)
โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘)
โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙)
โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐)
โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑)
โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒)
โรงเรียนวัดประดู่ (พ่วงอุทิศ)
(๒๓)
โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒.
สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒)
โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔)
โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕)
โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖)
โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓.
สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒)
โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕)
โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖)
โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗)
โรงเรียนวัดกก
(๑๘)
โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙)
โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐)
โรงเรียนคลองห้วยทราย (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล)
(๒๑)
โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒)
โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓)
โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔)
โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕)
โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖)
โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔.
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒)
โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓)
โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔)
โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕)
โรงเรียนวัดสน
(๑๖)
โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕.
สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒)
โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔)
โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕)
โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖)
โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖.
สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
(๑๒)
โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓)
โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔)
โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕)
โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖)
โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗)
โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗.
สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒)
โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓)
โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔)
โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕)
โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖)
โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘.
สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒)
โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓)
โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔)
โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕)
โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖)
โรงเรียนคลองกุ่ม
(๑๗)
โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘)
โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙.
สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒)
โรงเรียนวัดดอน
๓๐.
สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓)
โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕)
โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖)
โรงเรียนวัดไทร
(๑๗)
โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑.
สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓)
โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔)
โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕)
โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖)
โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗)
โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒.
สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒)
โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓)
โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔)
โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓.
สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒)
โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓)
โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔)
โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔.
สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒)
โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕)
โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖)
โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗)
โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘)
โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙)
โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐)
โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑)
โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒)
โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓)
โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔)
โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖)
โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕.
สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒)
โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓)
โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔)
โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕)
โรงเรียนวัดศิริไอยสวรรค์
(๑๖)
โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗)
โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘)
โรงเรียนวัดรวก
(๑๙)
โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐)
โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑)
โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖.
สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒)
โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔)
โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕)
โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖)
โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗)
โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘)
โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙)
โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐)
โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑)
โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗.
สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒)
โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓)
โรงเรียนวิชากร
๓๘.
สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒)
โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓)
โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔)
โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕)
โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖)
โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗)
โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘)
โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙.
สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒)
โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕)
โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖)
โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐.
สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒)
โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓)
โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔)
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕)
โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖)
โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗)
โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘)
โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙)
โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑.
สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒)
โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒.
สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ
(๑๒)
โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓)
โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔)
โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕)
โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖)
โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓.
สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒)
โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔.
สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒)
โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนบ้านแบนชะโด
(๑๔)
โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕)
โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖)
โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗)
โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘)
โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙)
โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐)
โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑)
โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒)
โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓)
โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔)
โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕)
โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖)
โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗)
โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘)
โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕.
สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓)
โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔)
โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕)
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖)
โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗)
โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖.
สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒)
โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓)
โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔)
โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ
(๑๕)
โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖)
โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗)
โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘)
โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗.
สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒)
โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓)
โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔)
โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕)
โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖)
โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
๔๘.
สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓)
โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔)
โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕)
โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖)
โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗)
โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘)
โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙)
โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐)
โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑)
โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒)
โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙.
สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒)
โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓)
โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔)
โรงเรียนนาหลวง
(๑๕)
โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖)
โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗)
โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘)
โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐.
สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ฝ่ายปกครอง
(๒)
ฝ่ายทะเบียน
(๓)
ฝ่ายโยธา
(๔)
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕)
ฝ่ายรายได้
(๖)
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗)
ฝ่ายการศึกษา
(๘)
ฝ่ายการคลัง
(๙)
ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐)
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑)
โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒)
โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓)
โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔)
โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕)
โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖)
โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗)
โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘)
โรงเรียนวัดนินสุขาราม
หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม[๓๖]
ข้อ ๒๙[๓๗] สำนักพัฒนาสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
สร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในการดำรงชีวิตการส่งเสริมคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของบุคคล
พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาคม
การส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว ตลอดจนศึกษา วิเคราะห์
วิจัยปัญหาและแนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม
ข้อ ๓๐[๓๘] สำนักพัฒนาสังคม มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองการพัฒนาชุมชน
(๔)
กองส่งเสริมอาชีพ
(๕)
สำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคม
หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง[๓๙]
ข้อ ๓๑[๔๐] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง
การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่งการกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านการจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่ง และวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบจราจรอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและจัดการจราจรการพัฒนาระบบโครงข่ายถนน
ระบบขนส่งมวลชน การให้การศึกษา ฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒[๔๑] สำนักการจราจรและขนส่ง
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองนโยบายและแผนงาน
(๓) สำนักงานวิศวกรรมจราจร
(๔) กองพัฒนาระบบจราจร
(๕) กองการขนส่ง
หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง[๔๒]
ข้อ ๓๓
สำนักผังเมือง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางผังและจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ วางแผน เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวม
ผังเมืองเฉพาะ ผังการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ผังอนุรักษ์และปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เมืองเจริญเติบโตและขยายตัวไปอย่างเป็นระเบียบ
เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นศูนย์ข้อมูลด้านสารสนเทศ ที่ดินหรือสารสนเทศภูมิศาสตร์ (LIS/GIS)
เพื่อการบริหารและพัฒนากรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๔[๔๓] สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)[๔๔] กองนโยบายและแผนงาน
(๓)
กองสำรวจและแผนที่
(๔)
กองวางผังพัฒนาเมือง
(๕)
กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(๖)
กองควบคุมทางผังเมือง
หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย[๔๕]
ข้อ ๓๕[๔๖] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖[๔๗] สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองวิชาการและแผนงาน
(๓)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๑
(๕)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๒
(๖)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๓
(๗)
กองปฏิบัติการดับเพลิง ๔
หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร[๔๘]
ข้อ ๓๗[๔๙] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ข้อ ๓๘[๕๐] สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
อาษา เมฆสวรรค์
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)[๕๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)[๕๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)[๕๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)[๕๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)[๕๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)[๕๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)[๕๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙)[๕๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐)[๕๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)[๖๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)[๖๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๖๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔)[๖๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๖๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๖)[๖๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๗)[๖๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘)[๖๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๙)[๖๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๐)[๖๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๑)[๗๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๒)[๗๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๓)[๗๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔)[๗๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๕)[๗๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)[๗๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๗)[๗๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๘)[๗๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙)[๗๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)[๗๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๑)[๘๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)[๘๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๓)[๘๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๔)[๘๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕)[๘๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๖)[๘๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗) [๘๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๘)[๘๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๙)[๘๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๐)[๘๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)[๙๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)[๙๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๓)[๙๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๔)[๙๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๕)[๙๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)[๙๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)[๙๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๘)[๙๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๙) [๙๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๙๙]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑) [๑๐๐]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒) [๑๐๑]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑๐๒]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔) [๑๐๓]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕) [๑๐๔]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑๐๕]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)[๑๐๖]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)[๑๐๗]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)[๑๐๘]
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)[๑๐๙]
ณัฐพร/จัดทำ
๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๖๔/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕/๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
[๒] ข้อ ๓ ทวิ
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๗)
[๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔] หมวด ๕
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๕] ข้อ ๖ ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๖] ข้อ ๗
ยกเลิกโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๙) และมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่
๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ ให้ยุบสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
[๗] หมวด ๖
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๘] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๙] ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๐] ข้อ ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๖)
[๑๑] หมวด ๘
สำนักอนามัย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๒] ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๓] ข้อ ๑๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๑๔] หมวด ๙
สำนักการศึกษา แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๑๕] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๑๖] ข้อ ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๐)
[๑๗] ข้อ ๑๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๑๘] ข้อ ๑๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)
[๑๙] ข้อ ๑๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๗)
[๒๐] ข้อ ๑๙ (๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔)
[๒๑] หมวด ๑๒
สำนักสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๒] ข้อ ๒๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๓] ข้อ ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๔] หมวด ๑๓
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๕] ข้อ ๒๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๖] ข้อ ๒๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๗] หมวด ๑๔
สำนักการคลัง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๘] ข้อ ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๒๙] ข้อ ๒๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๐] หมวด ๑๕
สำนักเทศกิจ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๑] ข้อ ๒๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๒] ข้อ ๒๖ ทวิ
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๓] หมวด ๑๖
สำนักงานเขต แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๓๔] ข้อ ๒๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๓๕] ข้อ ๒๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๙)
[๓๖] หมวด ๑๗
สำนักพัฒนาสังคม เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๗] ข้อ ๒๙
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๘] ข้อ ๓๐
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓) และต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๓๙] หมวด ๑๘
สำนักการจราจรและขนส่ง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๐] ข้อ ๓๑
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๑] ข้อ ๓๒
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) และแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๒] หมวด ๑๙
สำนักผังเมือง เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๖)
[๔๓] ข้อ ๓๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๒)
[๔๔] ข้อ ๓๔ (๒)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๗)
[๔๕] หมวด ๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๔๖] ข้อ ๓๕
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๔๗] ข้อ ๓๖
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)
[๔๘] หมวด ๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๔๙] ข้อ ๓๗
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๕๐] ข้อ ๓๘
เพิ่มโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)
[๕๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๐ เมษายน ๒๕๓๐
[๕๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๕๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
[๕๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๑๘๖/หน้า ๔๑๐/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๑
[๕๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๒๔๐/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑
[๕๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๖/หน้า ๓๔/๓๑ มกราคม ๒๕๓๑
[๕๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๒๘/๑๑ เมษายน ๒๕๓๒
[๕๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๗๘/หน้า ๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒
[๕๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๕/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๕๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๓๒๗/๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๒
[๖๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๒๒๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒
[๖๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๒/หน้า ๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓
[๖๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
[๖๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๔๒/๒๙ เมษายน ๒๕๓๕
[๖๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
[๖๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๐/หน้า ๑๖/๒๘ มกราคม ๒๕๓๖
[๖๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๓๑/หน้า ๑/๙ กันยายน ๒๕๓๖
[๖๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๗/๑๐ มกราคม ๒๕๓๗
[๖๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๑๘ ง/หน้า ๑๑๐/๓ มีนาคม ๒๕๓๗
[๖๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๒๐/๑๑ มีนาคม ๒๕๓๗
[๗๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๔/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๗๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๕/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๗๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๗
[๗๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๑/ตอนที่ ๕๓ ง/หน้า ๑๑/๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
[๗๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๐/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๗๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๑๕ ง/หน้า ๔๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
[๗๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๔๘/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘
[๗๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๒๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๘
[๗๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๘/๒๙ กันยายน ๒๕๓๘
[๗๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๘๔ ง/หน้า ๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
[๘๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๒๔ ง/หน้า ๗๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๙
[๘๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๔๕ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๐
[๘๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๓๖/๕ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๘๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๐
[๘๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๙/ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
[๘๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๘/๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
[๘๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๙ ง/หน้า ๒๐/๖ มีนาคม ๒๕๔๑
[๘๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๗๙ ง/หน้า ๔๑/๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
[๘๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๘๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๒๖/๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒
[๙๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
[๙๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓
[๙๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓
[๙๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓
[๙๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
[๙๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๔/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕
[๙๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓๔/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
[๙๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๐ ง/หน้า ๘/๑๒
มีนาคม ๒๕๔๖
[๙๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑๘/๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖
[๙๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง/หน้า ๓๙/๗
ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๐๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๐๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๙
ง/หน้า ๒๙/๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗
[๑๐๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๘๔ ง/หน้า ๒๓/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗
[๑๐๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๕/๓
กันยายน ๒๕๔๗
[๑๐๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๐๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗
[๑๐๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๘ ง/หน้า ๓๑/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘
[๑๐๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑๐๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙
[๑๐๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
483837 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลอง[๑]
ด้วย ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๑๕ ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องมอบเงินให้แก่กรุงเทพมหานคร
เป็นจำนวนร้อยละ ๕๐ ของเงินค่าก่อสร้างสะพานที่คิดคำนวณจากราคามาตรฐานของกรุงเทพมหานคร
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสภาพคลองบริเวณที่ขออนุญาต
ปลัดกรุงเทพมหานครในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้รักษาการตามข้อ
๔ ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
พ.ศ. ๒๕๔๙ จึงกำหนดราคามาตรฐานค่าก่อสร้างสะพานข้ามคลอง พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อให้สามารถพิจารณาและปฏิบัติการตามระเบียบดังกล่าว
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังต่อไปนี้
๑. ราคาค่าก่อสร้างสะพานท่อ
ตารางเมตรละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาท)
๒. ราคาค่าก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
ตารางเมตรละ ๑๘,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันบาท)
๓. ราคาค่าก่อสร้างสะพานเหล็ก
ตารางเมตรละ ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาท)
การคิดพื้นที่สะพานข้ามคลอง ให้ใช้พื้นที่ตามใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายควบคุมอาคาร
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๕/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
504723 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 61)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖๑)[๑]
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนวัดศิริไอยสวรรค์
สังกัดสำนักงานเขตบางพลัด เป็นโรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์ เพื่อให้ชื่อของโรงเรียนสอดคล้องกับชื่อวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่
๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒ มอบหมายให้ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาเปลี่ยนชื่อส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความใน ๓๕ (๑๕) ของข้อ ๒๘ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๔๙ และ (ฉบับที่ ๕๙) ลงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑๕) โรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๙ |
497486 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
จตุจักร
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
นายอธิศักดิ์ ช่วงชู
นายสิทธิชัย ชื่นใจเล็ก
นางสาวสาวิตรี สีสด
นางสาววาสนา ทักษิโนทก
ว่าที่ร้อยตรี แสงอาทิตย์ เจริญลาภ
นายธีรพร เนตรรังสี
นายไสว น้อยจาด
นายโสภณ แทนศิริ
นางจิราภรณ์ ธีรเนตร
นายประยูร สงแก้ว
นายมนตรี นพขำ
นายวิรัตน์ ละอิ่ม
นายดำรงฤทธิ์ ยิ้มแย้ม
นายธีระพล โพธิ์แจ่ม
นายสมคิด ด้วงเงิน
นายสุรวีร์ บุญราช
๑
๓
๖
๒
๔
๗
๕
๘
๑๑
๙
๑๒
๑๐
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๙,๖๐๓
๑๙,๔๐๐
๑๙,๒๙๗
๑๙,๒๖๙
๑๙,๑๘๘
๑๙,๐๔๐
๑๙,๐๑๖
๑๘,๙๘๑
๑๖,๗๘๒
๑๖,๗๗๙
๑๖,๑๘๙
๑๖,๑๓๔
๑๖,๐๓๖
๑๕,๗๖๒
๑๕,๖๘๗
๑๕,๐๘๔
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
จตุจักร
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
นายอธิศักดิ์ ช่วงชู
นายสิทธิชัย ชื่นใจเล็ก
นางสาวสาวิตรี สีสด
นางสาววาสนา ทักษิโนทก
ว่าที่ร้อยตรี แสงอาทิตย์ เจริญลาภ
นายธีรพร เนตรรังสี
นายไสว น้อยจาด
นายโสภณ แทนศิริ
๑
๓
๖
๒
๔
๗
๕
๘
๑๙,๖๐๓
๑๙,๔๐๐
๑๙,๒๙๗
๑๙,๒๖๙
๑๙,๑๘๘
๑๙,๐๔๐
๑๙,๐๑๖
๑๘,๙๘๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๒/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497511 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
มีนบุรี
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
นางสาวดวงพร ยิ้มเจริญ
นายบุญมี นิและ
นายธนชัย โชคสถาพรกุล
นายอำนวย บัวทิพย์
นางกรรณิการ์ ศราทธทัต
นายศุภากร แก้วสุขโข
นายอภินันท์ รำเพย
นายสุเทพ ลาวัง
นายกนกพล คงสอน
นางเสาวณิต ชยาสนา
นายวิเชียร มหานุกูล
นายพรเทพ แสงขำ
นายโพสินทร์ มีนธนานันท์
นายเสนีย์ ชูสงวน
นายสมบัติ ณรงค์ชัยปัญญา
นายปราโมทย์ ประดิษฐสุวรรณ
๑
๔
๒
๓
๕
๖
๗
๘
๙
๑๒
๑๐
๑๑
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๔,๙๘๑
๑๔,๐๗๔
๑๓,๙๕๙
๑๓,๙๓๒
๑๓,๘๕๒
๑๓,๕๔๗
๑๓,๔๘๓
๑๓,๓๕๕
๑๓,๓๑๖
๑๓,๑๘๕
๑๓,๑๑๘
๑๒,๘๘๔
๑๒,๔๖๙
๑๑,๘๐๐
๑,๗๗๖
๑,๔๑๖
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
มีนบุรี
๑
๒
๓
นางสาวดวงพร ยิ้มเจริญ
นายบุญมี นิและ
นายธนชัย โชคสถาพรกุล
๑
๔
๒
๑๔,๙๘๑
๑๔,๐๗๔
๑๓,๙๕๙
๔
๕
๖
๗
นายอำนวย บัวทิพย์
นางกรรณิการ์ ศราทธทัต
นายศุภากร แก้วสุขโข
นายอภินันท์ รำเพย
๓
๕
๖
๗
๑๓,๙๓๒
๑๓,๘๕๒
๑๓,๕๔๗
๑๓,๔๘๓
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๒/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497501 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฎว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
ลาดพร้าว
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
นายสมบุญ กกฟ้า
นางสุวลี ศรีทองใบ
นายประสิทธิ์ ไตรรัตน์
นายดำรงศักดิ์ เหล่ารักผล
นายบรรจง ดวงรัศมี
ว่าที่ร้อยตรี มานพ แก้วงาม
นายณรงค์ ชุติวงศ์ธนะพัฒน์
นายปรีดี นักงาน
นายชะฎา ทุยไธสง
นายอภิชา ฉัตรประกายรุ้ง
นายมนต์ชัย จงไกรรัตนกุล
นางธัญภา เทียนประทีป
นายเฉลิมพล จินตนพันธุ์
นายเอกรัตน์ สังขะวัฒนะ
๗
๔
๑
๒
๓
๕
๖
๙
๘
๑๑
๑๐
๑๒
๑๓
๑๔
๑๖,๐๓๖
๑๖,๐๐๘
๑๖,๐๐๒
๑๕,๙๗๖
๑๕,๘๓๙
๑๕,๗๘๑
๑๕,๖๐๙
๑๓,๒๘๖
๑๓,๑๓๑
๑๓,๑๓๑
๑๓,๐๑๗
๑๒,๘๔๘
๑๒,๖๒๑
๑๒,๓๙๕
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
ลาดพร้าว
๑
๒
๓
๔
๕
นายสมบุญ กกฟ้า
นางสุวลี ศรีทองใบ
นายประสิทธิ์ ไตรรัตน์
นายดำรงศักดิ์ เหล่ารักผล
นายบรรจง ดวงรัศมี
๗
๔
๑
๒
๓
๑๖,๐๓๖
๑๖,๐๐๘
๑๖,๐๐๒
๑๕,๙๗๖
๑๕,๘๓๙
๖
๗
ว่าที่ร้อยตรี มานพ แก้วงาม
นายณรงค์ ชุติวงศ์ธนะพัฒน์
๕
๖
๑๕,๗๘๑
๑๕,๖๐๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๒/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497509 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
คันนายาว
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
นายวรพรต ชะเอม
นายสมศักดิ์ ดูเบ
นายอภิคม อชินีทองคำ
นางสาวอำนวย ปรมาธิกุล
นางยุพดี ศรีประสาน
นางเทียมจันทร์ อุทัยไพศาลวงศ์
นางสาวอภิรมย์ แก้วโชติ
นายโยธิน ปัชฌาบุก
นายเอกกร ชินภัทรเจริญ
นายทรงศักดิ์ ลังประเสริฐ
นายทองสุข พรชีวากูร
นายดนัย ตันอังสนากุล
นายพัฒนพงศ์ โรจนวิภาต
นายวสุรัฐ พรชีวางกูร
๓
๗
๕
๑
๒
๔
๖
๙
๘
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๔,๕๒๒
๑๔,๔๖๒
๑๔,๔๐๖
๑๔,๓๖๗
๑๔,๒๘๙
๑๔,๒๐๔
๑๔,๑๔๙
๘,๓๔๑
๘,๓๐๐
๘,๑๖๐
๘,๐๖๗
๗,๙๔๗
๗,๘๕๗
๗,๖๓๒
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
คันนายาว
๑
๒
๓
๔
๕
นายวรพรต ชะเอม
นายสมศักดิ์ ดูเบ
นายอภิคม อชินีทองคำ
นางสาวอำนวย ปรมาธิกุล
นางยุพดี ศรีประสาน
๓
๗
๕
๑
๒
๑๔,๕๒๒
๑๔,๔๖๒
๔,๔๐๖
๑๔,๓๖๗
๑๔,๒๘๙
๖
๗
นางเทียมจันทร์ อุทัยไพศาลวงศ์
นางสาวอภิรมย์ แก้วโชติ
๔
๖
๑๔,๒๐๔
๑๔,๑๔๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๐/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497513 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
คลองสามวา
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
นายมานิต พ่วงรอด
นายก้องศักดิ์ กาจคะนอง
นายปัญญา หวังพิทักษ์
นางวรรณา สังข์ทอง
นายสุวิทย์ บุญมา
นายปกรณ์ เบญจรัตน์
นายลี่จั๊ว แซ่เฮ้ง
นายชูชาติ ประเสริฐกรรณ
นายสลัยมาน เจริญช่าง
นางสว่าง หมัดสะและ
นายไสว พลอยงาม
นายวิชัย โพธิ์จาด
นายประวิทย์ ศักดิ์ส่ง
นางสาวประภัสสร ลิ่มทอง
๑
๗
๔
๓
๒
๕
๖
๙
๘
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๗,๔๙๐
๑๗,๐๕๒
๑๖,๘๕๑
๑๖,๖๘๖
๑๖,๖๕๕
๑๖,๓๘๗
๑๖,๑๖๘
๑๔,๙๑๒
๑๔,๗๕๕
๑๔,๖๘๒
๑๔,๖๗๙
๑๔,๐๖๑
๑๓,๗๗๓
๑๒,๙๕๒
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
คลองสามวา
๑
๒
๓
๔
๕
นายมานิต พ่วงรอด
นายก้องศักดิ์ กาจคะนอง
นายปัญญา หวังพิทักษ์
นางวรรณา สังข์ทอง
นายสุวิทย์ บุญมา
๑
๗
๔
๓
๒
๑๗,๔๙๐
๑๗,๐๕๒
๑๖,๘๕๑
๑๖,๖๘๖
๑๖,๖๕๕
๖
๗
นายปกรณ์ เบญจรัตน์
นายลี่จั๊ว แซ่เฮ้ง
๕
๖
๑๖,๓๘๗
๑๖,๑๖๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497499 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
บางกะปิ
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
นายวรากรณ์ บุญมาเลิศ
นายเฉลิมชัย ฉิมหิรัญ
นายสมพงษ์ หมัดนุรักษ์
นายพงษ์ศักดิ์ วุฒิวัย
นางจินตนา อารีย์
นายอนุสรณ์ สถาพร
นายโชคชัย อักษรศิริ
นายเจษฎา แดงโกเมน
นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ
นางสาววัฒนาพร แสงทอง
นายวรชัย บุญมั่น
นายณรงค์ศักดิ์ เลี้ยวเจริญ
นายสมเกียรติ แก้วจัง
นายชยรัช จริยวิโรจน์สกุล
๑
๘
๗
๒
๔
๕
๓
๖
๙
๑๐
๑๓
๑๑
๑๒
๑๔
๑๕,๑๔๖
๑๔,๗๕๕
๑๔,๖๔๖
๑๔,๕๗๙
๑๔,๕๗๙
๑๔,๕๒๕
๑๔,๕๐๗
๑๔,๔๗๓
๑๔,๔๑๓
๑๔,๑๖๙
๑๔,๐๗๓
๑๔,๐๗๐
๑๓,๙๙๘
๑๓,๕๒๙
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
บางกะปิ
๑
๒
๓
๔
๕
นายวรากรณ์ บุญมาเลิศ
นายเฉลิมชัย ฉิมหิรัญ
นายสมพงษ์ หมัดนุรักษ์
นายพงษ์ศักดิ์ วุฒิวัย
นางจินตนา อารีย์
๑
๘
๗
๒
๔
๑๕,๑๔๖
๑๔,๗๕๕
๑๔,๖๔๖
๑๔,๕๗๙
๑๔,๕๗๙
๖
๗
นายอนุสรณ์ สถาพร
นายโชคชัย อักษรศิริ
๕
๓
๑๔,๕๒๕
๑๔,๕๐๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๐/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497494 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
สายไหม
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
นายเอกภาพ หงสกุล
นายทวีศักดิ์ อุ่มบางตลาด
นายอำนวย ชัยพรประเสริฐ
นายกิตติธัช นาสวน
นายวิเชียร สิตตะวิบุล
นางนวลศรี เสือโรจน์
นายไพโรจน์ พร้าโน๊ต
นายสำเริง นกทอง
นายประสมเดช อุ่นตา
นายจิรวัฒน์ อวยพรส่ง
เรืออากาศตรี ประสิทธิ์ บุญคุ้ม
นายประสิทธิ์ ดินม่วง
นายธนบดี อินทร์สนอง
นายวัชรินทร์ อนันต์หน่อ
นายภควสิษฐ์ สำราญจิต
นายเจริญ เครืองาม
นายสมคิด ชีวะพงษ์
พลอากาศโท วัจน์ ธีราธร
เรืออากาศเอก สำรวง รักแหยม
นายสำราญ แม้นเหมือน
นายอนุชา เพ็ญสุต
พันจ่าอากาศเอก ประเทือง เกตุสะ
นายวัฒนา ภานุมาตย์
ร้อยเอก ชัยวัช สืบนุสรณ์
๙
๑๑
๑๐
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑
๘
๓
๗
๒
๕
๔
๖
๒๓
๑๗
๒๑
๑๘
๑๙
๒๐
๒๒
๒๔
๒๑,๔๙๑
๒๐,๘๔๐
๒๐,๗๖๓
๒๐,๖๒๑
๒๐,๑๘๒
๑๙,๘๕๑
๑๙,๘๐๙
๑๘,๕๑๔
๑๒,๕๒๓
๑๒,๓๑๓
๑๒,๑๙๗
๑๒,๐๘๐
๑๒,๐๕๒
๑๑,๙๙๙
๑๑,๙๗๐
๑๑,๘๗๒
๒,๒๓๐
๑,๗๙๙
๑,๖๕๘
๑,๖๑๐
๑,๕๔๓
๑,๔๘๐
๑,๔๕๔
๑,๓๔๑
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
สายไหม
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
นายเอกภาพ หงสกุล
นายทวีศักดิ์ อุ่มบางตลาด
นายอำนวย ชัยพรประเสริฐ
นายกิตติธัช นาสวน
นายวิเชียร สิตตะวิบุล
นางนวลศรี เสือโรจน์
นายไพโรจน์ พร้าโน๊ต
นายสำเริง นกทอง
๙
๑๑
๑๐
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๒๑,๔๙๑
๒๐,๘๔๐
๒๐,๗๖๓
๒๐,๖๒๑
๒๐,๑๘๒
๑๙,๘๕๑
๑๙,๘๐๙
๑๘,๕๑๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๖/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497497 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
หลักสี่
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
นายปัญญา น้อยไม้
นายลพชัย ธาราทิศ
นางสาววัชราภรณ์ กลับวงศา
นายจักรพันธ์ มั่งคั่ง
นายประพันธุ์ อินทอง
นางสาวสุธิดา นุ่นเอียด
นางมะลิวรรณ พุทธิชาติ
นายวุฒิชัย เนียมอบปั้น
นายสมานจิตต์ สิงหะไชย
นางสมศรี คงสุนทร
นายชนานันท สันทัด
นายภาณุพงศ์ สมิตะมาน
นางนฤชล พันธ์หิรัญ
นายชาญ จันทร์กระจ่าง
นายสุรชัย อารีพิทักษ์
๙
๘
๑๑
๑๐
๑๒
๑๓
๑๔
๑
๗
๓
๒
๔
๕
๖
๑๕
๑๔,๕๖๖
๑๔,๓๔๘
๑๔,๒๖๒
๑๔,๑๒๕
๑๔,๐๔๒
๑๓,๙๑๓
๑๓,๕๒๔
๑๒,๓๐๓
๑๑,๙๓๔
๑๑,๘๕๘
๑๑,๘๑๔
๑๑,๗๘๔
๑๑,๖๗๐
๑๑,๖๑๓
๖๐๔
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
หลักสี่
๑
๒
๓
๔
นายปัญญา น้อยไม้
นายลพชัย ธาราทิศ
นางสาววัชราภรณ์ กลับวงศา
นายจักรพันธ์ มั่งคั่ง
๙
๘
๑๑
๑๐
๑๔,๕๖๖
๑๔,๓๔๘
๑๔,๒๖๒
๑๔,๑๒๕
๕
๖
๗
นายประพันธุ์ อินทอง
นางสาวสุธิดา นุ่นเอียด
นางมะลิวรรณ พุทธิชาติ
๑๒
๑๓
๑๔
๑๔,๐๔๒
๑๓,๙๑๓
๑๓,๕๒๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๘/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497952 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต[๑]
ตามที่กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๔๙ กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต จำนวน ๓๖ เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตปทุมวัน เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตยานนาวา เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตดุสิต เขตพญาไท
เขตราชเทวี เขตห้วยขวาง เขตพระโขนง เขตประเวศ เขตคลองเตย เขตหนองจอก เขตธนบุรี
เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน
เขตตลิ่งชัน เขตราษฎร์บูรณะ เขตหนองแขม เขตดินแดง เขตสวนหลวง เขตบางนา เขตวัฒนา
เขตทุ่งครุ เขตทวีวัฒนา เขตบางบอน เขตบางซื่อ เขตจอมทอง และเขตบางแค ในวันที่ ๒๓
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
ตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๔๘ ให้ทราบทั่วกัน ดังนี้
ลำดับ
ที่
เขต
จำนวนราษฎร
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงจะมีใน
แต่ละเขต
๑
เขตพระนคร
๖๗,๓๕๗
๗
๒
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
๖๐,๐๐๑
๗
๓
เขตปทุมวัน
๖๓,๑๙๒
๗
๔
เขตสัมพันธวงศ์
๓๑,๖๗๔
๗
๕
เขตบางรัก
๕๐,๐๒๓
๗
๖
เขตยานนาวา
๘๘,๕๕๖
๗
๗
เขตสาทร
๙๕,๐๘๙
๗
๘
เขตบางคอแหลม
๑๐๕,๖๘๕
๗
๙
เขตดุสิต
๑๒๑,๓๓๖
๗
๑๐
เขตพญาไท
๗๗,๒๓๒
๗
๑๑
เขตราชเทวี
๙๙,๘๒๗
๗
๑๒
เขตห้วยขวาง
๗๖,๒๑๓
๗
๑๓
เขตพระโขนง
๙๘,๕๖๔
๗
๑๔
เขตประเวศ
๑๔๒,๖๓๓
๗
๑๕
เขตคลองเตย
๑๒๒,๙๑๙
๗
๑๖
เขตหนองจอก
๑๒๖,๑๒๖
๗
๑๗
เขตธนบุรี
๑๓๖,๙๗๑
๗
๑๘
เขตคลองสาน
๘๗,๘๕๓
๗
๑๙
เขตบางกอกน้อย
๑๓๓,๖๖๙
๗
๒๐
เขตบางพลัด
๑๐๘,๕๙๗
๗
๒๑
เขตบางกอกใหญ่
๘๑,๗๒๗
๗
๒๒
เขตภาษีเจริญ
๑๓๖,๒๔๐
๗
๒๓
เขตบางขุนเทียน
๑๓๒,๓๑๓
๗
๒๔
เขตตลิ่งชัน
๑๐๕,๗๓๐
๗
๒๕
เขตราษฎร์บูรณะ
๙๔,๐๙๗
๗
๒๖
เขตหนองแขม
๑๒๘,๔๙๓
๗
๒๗
เขตดินแดง
๑๔๖,๐๓๑
๗
๒๘
เขตสวนหลวง
๑๑๕,๑๒๐
๗
๒๙
เขตบางนา
๑๐๑,๖๖๗
๗
๓๐
เขตวัฒนา
๘๐,๑๒๑
๗
๓๑
เขตทุ่งครุ
๑๐๗,๖๐๙
๗
๓๒
เขตทวีวัฒนา
๖๖,๓๕๔
๗
๓๓
เขตบางบอน
๙๖,๗๒๓
๗
๓๔
เขตบางซื่อ
๑๕๑,๗๘๘
๘
๓๕
เขตจอมทอง
๑๖๗,๑๗๕
๘
๓๖
เขตบางแค
๑๘๙,๒๕๗
๘
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
เสริมศักดิ์
พงษ์พานิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๘/๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ |
497484 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
บางเขน
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
นายสุชาติ อวนศรี
นางสาวสมนึก วงษ์สุด
นางสุจิตรา นาสหชาติ
สิบเอก อำพันธ์ เฉลิมบุญ
นายสุริยา จันทร์เหมือนเผือก
นายเกรียงศักดิ์ ทองมา
นายสมศักดิ์ คล้ายประยงค์
นายเฉลิม เจ๊กแสง
นายชอบ เนตรขำ
นายสมปอง บุญเจือ
นายสมเกียรติ เลาหเรืองชัยยศ
นายดำรงวุฒิ สมบัติศิลป์
นายนฤนาถ มีผล
นายสหสุพจน์ ชื่นคุ้ม
นายขวัญชัย โม้จ่าง
ร้อยตำรวจเอก ผดุงศักดิ์ ศรีแก้วใส
๑
๒
๔
๓
๕
๗
๖
๘
๙
๑๑
๑๐
๑๒
๑๓
๑๕
๑๔
๑๖
๒๕,๙๐๕
๒๕,๗๗๕
๒๕,๕๒๖
๒๕,๕๐๘
๒๕,๔๐๖
๒๕,๒๑๖
๒๕,๐๙๓
๒๔,๖๕๑
๑๗,๖๐๑
๑๗,๒๕๘
๑๗.๐๘๙
๑๗,๐๔๖
๑๖,๖๕๔
๑๖,๔๘๒
๑๖,๓๙๓
๑๕,๗๐๔
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
บางเขน
๑
๒
๓
นายสุชาติ อวนศรี
นางสาวสมนึก วงษ์สุด
นางสุจิตรา นาสหชาติ
๑
๒
๔
๒๕,๙๐๕
๒๕,๗๗๕
๒๕,๕๒๖
๔
๕
๖
๗
๘
สิบเอก อำพันธ์ เฉลิมบุญ
นายสุริยา จันทร์เหมือนเผือก
นายเกรียงศักดิ์ ทองมา
นายสมศักดิ์ คล้ายประยงค์
นายเฉลิม เจ๊กแสง
๓
๕
๗
๖
๘
๒๕,๕๐๘
๒๕,๔๐๖
๒๕,๒๑๖
๒๕,๐๙๓
๒๔,๖๕๑
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๐/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497507 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
สะพานสูง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
นายประเสริฐ เหมวัน
นายสามารถ หวังพิทักษ์
นายเจริญ มณีดำ
นายหฤษฏ์ วรโชติรุ่งเรือง
นายสมพงษ์ อภิวงศ์
นายปราโมทย์ บุญชู
นายสหธรณ์ สังข์การ
นายเราะมาน มานชู
นายอุดร หิรัญฤทธิ์
นายอดุลย์ เซะวิเศษ
นายชนะ เหมวัน
นางณิชาภา อิงบุญมีสกุล
นายราวี สิงสาหัส
นางสาวสายพิน คำศรี
๑
๓
๗
๒
๔
๕
๖
๘
๙
๑๔
๑๒
๑๐
๑๑
๑๓
๑๑,๗๒๖
๑๑,๔๑๗
๑๑,๒๓๑
๑๑,๑๓๑
๑๑,๑๑๙
๑๑,๐๙๘
๑๐,๗๗๒
๙,๓๑๓
๙,๑๐๒
๘,๙๕๔
๘,๘๔๓
๘,๘๓๖
๘,๘๑๙
๘,๖๕๒
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
สะพานสูง
๑
๒
๓
๔
๕
นายประเสริฐ เหมวัน
นายสามารถ หวังพิทักษ์
นายเจริญ มณีดำ
นายหฤษฏ์ วรโชติรุ่งเรือง
นายสมพงษ์ อภิวงศ์
๑
๓
๗
๒
๔
๑๑,๗๒๖
๑๑,๔๑๗
๑๑,๒๓๑
๑๑,๑๓๑
๑๑,๑๑๙
๖
๗
นายปราโมทย์ บุญชู
นายสหธรณ์ สังข์การ
๕
๖
๑๑,๐๙๘
๑๐,๗๗๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๘/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497503 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
บึงกุ่ม
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑
นางอำไพ เกตุสวรรณ
นายอัมรินทร์ แก้วโชติ
นายอดิศักดิ์ แก้วโชติ
นางภัทร์ศรี สุวิมล
นายสมศักดิ์ หวังทอง
นายวัชพงศ์กฤต อ้นสุวรรณ
นายกฤตพล เครือคล้าย
นายอัครพล แสงจันทร์
นายสมศักดิ์ ชีนิมิต
นายสมพล สุวรรณน้อย
นางนพวรรณ บัวโต
นายสมบัติ จิตรนุ่ม
นางสาวพิชญา มัฏฐาพันธ์
นายบุญเสริม วงษ์วรรณวัฒน์
นายศิริโชค สิริวรรณภา
นางสาวกมลทิพย์ มินศรี
นายธวัช โตนิติ
นายสุพรรณ กาวิชัย
นายวีรชัย ตรีกาญจนานันท์
นางสาวศิริพร สิริวรรณภา
นายสมบูรณ์ ประสิทธิกรณ์
๑
๒
๓
๔
๕
๗
๖
๑๕
๑๖
๑๘
๑๗
๑๙
๒๐
๒๑
๘
๙
๑๑
๑๐
๑๒
๑๓
๑๔
๑๔,๖๔๗
๑๔,๕๕๐
๑๔,๔๐๑
๑๔,๒๑๘
๑๔,๒๐๕
๑๔,๐๓๕
๑๓,๘๘๒
๑๑,๗๓๘
๑๑,๔๘๗
๑๑,๔๓๙
๑๑,๓๔๔
๑๑,๒๔๑
๑๐,๙๗๐
๑๐,๗๙๓
๑๐,๑๖๐
๘,๕๘๓
๘,๓๙๘
๘,๓๙๔
๘,๑๕๖
๘,๐๔๓
๗,๙๒๖
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
บึงกุ่ม
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
นางอำไพ เกตุสวรรณ
นายอัมรินทร์ แก้วโชติ
นายอดิศักดิ์ แก้วโชติ
นางภัทร์ศรี สุวิมล
นายสมศักดิ์ หวังทอง
นายวัชพงศ์กฤต อ้นสุวรรณ
นายกฤตพล เครือคล้าย
๑
๒
๓
๔
๕
๗
๖
๑๔,๖๔๗
๑๔,๕๕๐
๑๔,๔๐๑
๑๔,๒๑๘
๑๔,๒๐๕
๑๔,๐๓๕
๑๓,๘๘๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497505 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฎว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
วังทองหลาง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑
๒๒
นายสมชาย นิยมราช
นายดำรงค์ สาหร่ายวัง
นางยุพาพร อิทธะรงค์
นายประสิทธิ์ พูลชื่น
นายบุญเพ็ง บุญแถว
นางพจนา ลำเรียง
นายเจริญลาภ ปั้นพินิจ
นายทินกร นันทรัตน์
นายจรัญ บุญแถว
นางสาวกฤติมา เพ็งสุข
นางสาววจีวรรณ วงษ์สันต์
นายณัชภัค ณ ถลาง
นางราตรี หวังงาม
นางสาวอุบล เพ็งกลา
นายสมนึก ดิลกศรี
นายมงคลวิทย์ เอี่ยมสำอางค์
นางสาวรัชนิดา กันซัน
นางสาวเพลินตา วงษ์ยิ้ม
นายสิงห์ชัย ศิริวิทยกูล
นายกิตติ วงษ์สันต์
นายบุญธรรม รัตน์รอดกิจ
นายอชิตพล วามนตรี
๗
๑
๓
๒
๕
๔
๖
๑๕
๑๘
๑๖
๑๗
๒๐
๑๙
๒๑
๑๐
๘
๙
๑๑
๑๒
๑๔
๑๓
๒๒
๑๑,๖๖๓
๑๑,๕๖๘
๑๑,๕๑๑
๑๑,๔๒๖
๑๑,๓๘๘
๑๑,๓๖๐
๑๑,๒๓๗
๙,๖๔๔
๙,๔๑๑
๙,๓๘๗
๙,๒๙๕
๙,๒๓๑
๙,๒๐๔
๘,๗๖๘
๕,๘๓๓
๕,๖๖๕
๕,๖๔๘
๕,๕๓๗
๕,๓๓๐
๕,๒๙๕
๕,๒๘๓
๓๖๙
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
วังทองหลาง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
นายสมชาย นิยมราช
นายดำรงค์ สาหร่ายวัง
นางยุพาพร อิทธะรงค์
นายประสิทธิ์ พูลชื่น
นายบุญเพ็ง บุญแถว
นางพจนา ลำเรียง
นายเจริญลาภ ปั้นพินิจ
๗
๑
๓
๒
๕
๔
๖
๑๑,๖๖๓
๑๑,๕๖๘
๑๑,๕๑๑
๑๑,๔๒๖
๑๑,๓๘๘
๑๑,๓๖๐
๑๑,๒๓๗
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๔๖/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497490 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
ดอนเมือง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
นายจักรทอง เกิดนาค
นายพนา วุฒิเดช
นางอัมพร โสภณดิเรกรัตน์
นายอรรณพ ขาวนุ่น
นายจำนงค์ บัวสุวรรณ์
นายเชื้อ พัวไพบูลย์วงศ์
นายเวสาโรจน์ เกี้ยวทอง
นายศิววงศ์ วงศ์พิชญา
นางสาววณิชชากรณ์ ผ่องโสภา
นายสมทรง ศิริ
นายธรรศ มีคุณ
นายธงชัย กลางชนีย์
นายเวียงศักดิ์ มาทอง
นายมุกดิ์หาญ สโมสร
นายสุริยา โหสกุล
นายประเวศร์ วัลลภบรรหาร
นายนิธิ บำรุงศรี
๑
๔
๒
๓
๕
๙
๗
๘
๖
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
๒๑,๓๗๕
๒๑,๓๗๓
๒๑,๑๖๒
๒๐,๙๑๙
๒๐,๘๔๐
๒๐,๔๙๑
๒๐,๓๖๘
๒๐,๓๑๖
๒๐,๒๕๖
๒๐,๐๒๖
๑๙,๙๒๗
๑๙,๖๘๕
๑๘,๙๔๒
๑๘,๖๔๘
๑๘,๔๗๖
๑๗,๓๘๔
๓,๕๙๓
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
ดอนเมือง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
นายจักรทอง เกิดนาค
นายพนา วุฒิเดช
นางอัมพร โสภณดิเรกรัตน์
นายอรรณพ ขาวนุ่น
นายจำนงค์ บัวสุวรรณ์
นายเชื้อ พัวไพบูลย์วงศ์
นายเวสาโรจน์ เกี้ยวทอง
นายศิววงศ์ วงศ์พิชญา
๑
๔
๒
๓
๕
๙
๗
๘
๒๑,๓๗๕
๒๑,๓๗๓
๒๑,๑๖๒
๒๐,๙๑๙
๒๐,๘๔๐
๒๐,๔๙๑
๒๐,๓๖๘
๒๐,๓๑๖
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๔/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
497515 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต[๑]
ปลัดกรุงเทพมหานครขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าได้รวมคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้ทำการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เสร็จสิ้นลงแล้ว ปรากฏว่า
ผู้สมัครได้คะแนนเรียงตามลำดับดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
ลาดกระบัง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
๒๕
นายสง่า ยงเกียรติพานิช
นายประเมิน สวนสมุทร
นายสมโภชน์ ชยุติแสงไพศาล
นายณัฐ สำเร็จวาณิชย์
นายมนัส บัวทอง
นางสาวดารณี โต๊ะสวัสดิสุข
นายสกล สุดเกตุ
นายสุรศักดิ์ ปิตรธำรง
นายบรรลือนิตย์ พรมเพิ่ม
นายวันชัย ลิขิตสุภิณ
นายทองพูล จำเริญ
นายบุญรอด คำหวาน
นายสุชิน คุมมณี
นายไพบูลย์ ขำหรุ่น
ว่าที่ ร.ต. รามัญ สาระพันธุ์
นายวิสูตร ชะ บางบอน
นายสุเทพ บรรจง
นายชนะศักดิ์ ศิริรัตนสุวรรณ
นางสาวปนัดดา จำศักดิ์
นายวิลาส แซ่เจา
นางสาวเบญญาภา เกษประดิษฐ
นายวิทย์ เจียกขจร
นายต่วน อิสมัญ
นายสมปอง ปรางทอง
๒๒
๒๓
๒๔
๒๗
๒๘
๒๖
๒๕
๕
๑
๓
๒
๔
๗
๖
๑๕
๑๖
๒๑
๑๗
๑๘
๑๙
๓๐
๘
๒๙
๓๔
๑๒,๒๖๘
๑๒,๒๕๒
๑๑,๙๕๗
๑๑,๙๔๔
๑๑,๗๘๔
๑๑,๕๔๓
๑๑,๔๔๙
๙,๘๘๙
๙,๕๔๒
๙,๐๘๗
๘,๗๑๕
๘,๖๗๐
๘,๕๓๙
๘,๑๑๓
๗,๓๕๑
๕,๙๙๗
๕,๘๒๓
๕,๗๑๕
๕,๖๗๔
๕,๔๙๙
๕,๒๖๑
๓,๐๙๔
๓,๐๙๒
๒,๙๐๔
๒๖
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐
๓๑
๓๒
๓๓
๓๔
๓๕
นายวิชิต พ่วงรอด
นางสาวศรีนวล หุ่นอยู่
นางอุไรพรรณ โชติช่วง
นายศตวรรษ เหลืองอรุณวิไล
นายเรืองกล้า เชาวรัตน์
นายจ่าธนดล เชาวรัตน์
นายทองคำ ลิมรัตน์
นายสุชาติ ล้อมวงศ์
นายประยูร ชำนาญหมอ
นายอภิเชษฐ์ งามสง่า
๓๒
๓๓
๓๑
๙
๑๒
๑๐
๑๔
๑๓
๓๕
๑๑
๒,๘๗๙
๒,๘๔๐
๒,๘๒๗
๒,๖๑๑
๒,๒๔๙
๒,๒๓๙
๒,๒๒๒
๒,๑๙๐
๒,๑๑๘
๒,๐๙๙
จึงเป็นอันว่า บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
สำนักงานเขต
ลำดับ
ที่
ชื่อผู้สมัคร
เลขหมาย
ประจำตัว
ได้คะแนน
หมายเหตุ
ลาดกระบัง
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
นายสง่า ยงเกียรติพานิช
นายประเมิน สวนสมุทร
นายสมโภชน์ ชยุติแสงไพศาล
นายณัฐ สำเร็จวาณิชย์
นายมนัส บัวทอง
นางสาวดารณี ต๊ะสวัสดิสุข
นายสกล สุดเกตุ
๒๒
๒๓
๒๔
๒๗
๒๘
๒๖
๒๕
๑๒,๒๖๘
๑๒,๒๕๒
๑๑,๙๕๗
๑๑,๙๔๔
๑๑,๗๘๔
๑๑,๕๔๓
๑๑,๔๔๙
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ณฐนนท
ทวีสิน
ปลัดกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๕๖/๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
491006 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 60)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่
๖๐)
ด้วยเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ให้มีความเหมาะสมตรงตามข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักการศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ และมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๘ ประกอบกับประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ในหมวด
๙ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ โดยให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๔) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
หมวด
๙
สำนักการศึกษา
ข้อ ๑๔ สำนักการศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
โดยแบ่งส่วนราชการภายในและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนักการศึกษา
งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ การบริหารงานบุคคลและงานด้านสวัสดิการของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและลูกจ้าง
งานนิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหาร ศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารสินทรัพย์ส่วนกลางของสำนัก
งานกิจกรรมพิเศษ และงานที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) กลุ่มงานช่วยนักบริหารมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นเลขานุการของผู้อำนวยการสำนักและรองผู้อำนวยการสำนัก
ติดต่อนัดหมายการประชุม การประสานงานและอำนวยความสะดวกและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านเลขานุการ
สารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน บัญชีและพัสดุ การดูแลสถานที่และยานพาหนะ
การประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ห้องสมุดสำนักการศึกษา สวัสดิการข้าราชการและลูกจ้างสำนักการศึกษา
งานกิจกรรมพิเศษ งานกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา งานสิทธินักเรียน งานบริหารควบคุมดูแล
ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์สิทธิเด็กนักเรียน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) ฝ่ายการเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนอัตรากำลัง
การปรับปรุงส่วนราชการ การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การสรรหา บรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย
การช่วยราชการการขอประเมินบุคคล การประชุม อ.ก.ก. สำนัก การทะเบียนประวัติ การขอบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุ
การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประกาศเกียรติคุณประเภท ๒ และเหรียญกาชาดสมนาคุณ การดำเนินการทางวินัย
การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานบริการสถานศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานกำหนดมาตรฐานแบบแปลนการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคารสถานที่ งานจัดลำดับการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารสถานที่
งานให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานการก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารสถานที่และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) กองการเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
ได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ
การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน การกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การดำเนินการทางวินัย
การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ การจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง
การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
การตรวจสอบและการเสนอผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู การประชุม อ.ก.ก. ข้าราชการครู
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ งานด้านการลาของข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างในสถานศึกษา
งานด้านการจัดสวัสดิการ และสวัสดิภาพสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา
การดูแลสถานที่และยานพาหนะ การจัดทำบัตรประจำตัวข้าราชการครูและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) ฝ่ายบรรจุและแต่งตั้งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการเรื่องการบรรจุแต่งตั้ง
การโอน ย้าย การขอกลับเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่งและระดับเงินเดือน การช่วยราชการ
การรักษาการในตำแหน่ง การขอยกเว้นการเกณฑ์ทหาร การเข้าระดมพล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานอัตรากำลังและการจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขอกำหนดกรอบอัตรากำลังข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
การควบคุมทะเบียนอัตรากำลัง การขออนุมัติจัดสรรเพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณ การสำรวจและจัดทำสถิติข้อมูล
การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างในสถานศึกษา การขออนุมัติกำหนดตำแหน่ง
และปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูให้ได้รับตามวุฒิที่ได้รับเพิ่มขึ้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานวินัยมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและลูกจ้างในสถานศึกษา
การตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์และเรื่องร้องเรียน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕) ฝ่ายทะเบียนประวัติและประเมินสมรรถภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำและรักษาทะเบียนประวัติ
การขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล และขอแก้ไขวัน เดือน ปีเกิด การขอเพิ่มวุฒิในทะเบียนประวัติ
และการตรวจสอบรับรองประวัติ การดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
และเหรียญจักรพรรดิมาลา การขอพระราชทานเพลิงศพ การลาออกจากราชการ การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพ
การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราเงินเดือนและค่าจ้าง การจัดทำงบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง
การจัดทำงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน การศึกษา การดูแลฐานข้อมูล MIS และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินบุคคล การสรรหาและมาตรฐานวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
การสรรหา การส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ และกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางการประเมินผลงานวิชาการ
การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.ก. ข้าราชการครู การส่งเสริม สนับสนุน
การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ การสรรหา
ยกย่อง เชิดชูเกียรติข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษา การดำเนินการสอบแข่งขันการคัดเลือก
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) กองคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเงิน
การคลัง การรวบรวมและจัดทำคำของบประมาณประจำปีของสำนักการศึกษา การบริหารงบประมาณ การตรวจสอบฎีกาทุกหมวดรายจ่าย
ทั้งงบประมาณกรุงเทพมหานคร งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินนอกงบประมาณ
การรับเงิน การเบิกเงิน การจ่ายเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน พร้อมรายงานประจำวันทางการเงิน
การบันทึกบัญชี จัดทำทะเบียนคุมรายงานรายรับ - รายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
การพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง ติดตาม รวบรวมรายงานในด้านการคลังของสำนักการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุมดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานบัญชีและตรวจสอบใบสำคัญมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารใบสำคัญเพื่อการลงบัญชี
งบประมาณกรุงเทพมหานครและงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจัดทำสมุดบัญชี ทะเบียนคุมรายงานงบรายรับรายจ่ายเงินทางการบัญชีตามคู่มือบัญชี
ตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาทุกหมวดรายจ่ายของงบประมาณกรุงเทพมหานคร และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
และฎีกาเงินนอกงบประมาณ วางฎีกาเบิกเงินจากกรมบัญชีกลาง จัดทำสรุปรายงานการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคประจำเดือน
๖ เดือน ๑ ปี จัดทำงบเดือนส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กองตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานการเงินและงบประมาณมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำเงินส่งคืนทุกประเภท งบประมาณกรุงเทพมหานคร และงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ รวบรวมจัดทำคำของบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี และจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเก็บรักษาใบสำคัญและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้รอรับการตรวจ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
และงบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับกองและระดับสำนัก กำหนดเกณฑ์มาตรฐานครุภัณฑ์ขั้นต่ำของสถานศึกษา
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุและครุภัณฑ์ รายการตั้งงบประมาณไว้ที่สำนักการศึกษา
หรือรายการที่ดำเนินการจัดให้แก่สถานศึกษา ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินการใช้ทรัพย์สิน
ตรวจสอบการลงทะเบียนทรัพย์สินทางคอมพิวเตอร์ระบบ MIS ดำเนินการควบคุมและรายงานครุภัณฑ์
อาคาร ที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ ตามระบบบัญชีของกรุงเทพมหานคร
หลักเกณฑ์คงค้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาการจัดระบบการนิเทศตรวจสอบ
สร้างกลไกเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งนิเทศเพื่อแนะนำ ส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะให้มีคุณภาพ
ตลอดจนปฏิบัติงานตามนโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ
ดังนี้
๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงินและบัญชี ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่
งานการประชุมงานพิธีการ งานการประชาสัมพันธ์ งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ งานการพิมพ์ และผลิตเอกสารที่ใช้ในการนิเทศงาน
ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนการนิเทศ
งานวิจัยและพัฒนาการนิเทศการศึกษา สรุปและรายงานการนิเทศการศึกษา การจัดระบบข้อมูลพื้นฐานจัดระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
งานแผนงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน นิเทศการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับปฐมวัย มัธยมศึกษา และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
ส่งเสริมให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน เผยแพร่ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในกลุ่มสาระ
การใช้นวัตกรรมส่งเสริมการผลิตและการใช้สื่อเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ผลิตเอกสารผลงานทางวิชาการเผยแพร่ ปฏิบัติงานตามนโยบายการศึกษาของกรุงเทพมหานครและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มรัตนโกสินทร์ (กท ๑) และกลุ่มลุมพินี (กท ๒) มีโรงเรียนจำนวน
๕๑ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน
๑๐ เครือข่ายๆ และ ๔ - ๘ โรงเรียน
๓) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๒ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา
๑ โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มวิภาวดี (กท ๓) และกลุ่มเจ้าพระยา (กท ๔) มีโรงเรียน จำนวน
๕๒ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน
(School Cluster) จำนวน ๙ เครือข่ายๆ ละ ๔-๘ โรงเรียน
๔) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๓ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๑ โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มกรุงธนบุรี (กท ๕) และกลุ่มตากสิน
(กท ๖) มีโรงเรียนจำนวน ๘๖ โรงเรียน
จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน
๑๖ เครือข่ายๆ ละ ๔-๘ โรงเรียน
๕) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๔ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา
๑ โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มพระนครเหนือ (กท ๗) และกลุ่มสุวินทวงศ์
(กท ๙) มีโรงเรียน จำนวน ๘๗ โรงเรียน
จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน
๑๗ เครือข่ายๆ ละ ๔-๘ โรงเรียน
๖) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๕ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา
๑ โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มบูรพา (กท ๘) และกลุ่มศรีนครินทร์
(กท ๑๐) มีโรงเรียน จำนวน ๘๗ โรงเรียน จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School
Cluster) จำนวน ๑๖ เครือข่ายๆ ละ ๔ - ๘ โรงเรียน
๗) กลุ่มงานนิเทศการศึกษา ๖ มีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับกลุ่มงานนิเทศการศึกษา
๑ โดยรับผิดชอบพื้นที่กลุ่มมหาสวัสดิ์ (กท ๑๑) และกลุ่มสนามชัย
(กท ๑๒) มีโรงเรียน จำนวน ๗๒ โรงเรียน
จัดเป็นกลุ่มเครือข่ายโรงเรียน (School Cluster) จำนวน
๑๒ เครือข่ายๆ ละ ๔-๘ โรงเรียน
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา
กำหนดกรอบแนวทางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านนโยบายและแผนการศึกษา
การส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ การวิจัยทางการศึกษางานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
งานด้านการพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษางานด้านประเมินผลการจัดการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ การบัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล งานการประชุม การควบคุม ดูแลสถานที่และยานพาหนะ
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานนโยบายและแผนการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์
จัดทำประสานและส่งเสริมด้านนโยบายและแผนการศึกษาของกรุงเทพมหานคร การกำหนดกรอบแนวทางและมาตรการในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนและกำหนดกรอบเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบรวม ยกเลิกสถานศึกษาและการรับนักเรียนในแต่ละระดับ การประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร และแผนงานด้านการศึกษาโดยประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
จัดทำรายงานประจำปี การประสานงานด้านนโยบายและแผนกับหน่วยงานภายนอก การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา
จัดหา และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลจัดเก็บ ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของกรุงเทพมหานครและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานประมาณการจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนระยะ
๕ ปี ทุกปี และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการศึกษาและความร่วมมือในประเทศและต่างประเทศ
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดนโยบาย และส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการเทียบโอนผลการเรียนต่างระบบ การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ
การศึกษาสำหรับเด็กพิการและด้อยโอกาส การเตรียมความพร้อมและร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับโอนสถานศึกษาให้กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒ การกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริม สนับสนุนและประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือในประเทศและต่างประเทศ
การกำหนดพัฒนาหลักเกณฑ์แนวทางการประสาน
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้บริการและการจัดการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม
ดำเนินการวิจัยด้านการจัดการเรียน การสอน และด้านการบริหารและจัดการศึกษา การส่งเสริม
สนับสนุนโรงเรียนให้วิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ การรวบรวม สังเคราะห์ เผยแพร่ผลการวิจัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานหลักสูตรและวิธีสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาคู่มือหลักเกณฑ์
แนวทางด้านสาระหลักสูตรและวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอนตาม ๘ กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำหนดเผยแพร่เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรฯ
และนโยบายของกรุงเทพมหานคร การสร้าง พัฒนาเครื่องมือวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
การสนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตร
ประเมินผลการเรียนรู้และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การวิเคราะห์ กำหนดแนวทางการปรับปรุง แก้ไขปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๕) กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำพัฒนาระบบมาตรฐานการศึกษา
คู่มือดำเนินงานและเครื่องมือสำหรับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน การจัดระบบสังเคราะห์รายงานประจำปีของโรงเรียน
การวิเคราะห์วางแผนจัดทำแผนและประสานการรับการประเมินจากภายนอกของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๖) กลุ่มงานประเมินผลการจัดการศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนในระดับกรุงเทพมหานครและประสานกระทรวงศึกษาธิการในการประเมินผลผู้เรียนระดับชาติ
การจัดระบบ รวบรวมสังเคราะห์ผลการประเมิน ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครจากสำนักงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา
การจัดทำรายงานจัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้าในด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานคร การสนับสนุนและสังเคราะห์ผลการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา
และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน จัดระบบและควบคุมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียน
การสอน ผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดตั้งศูนย์วิทยบริการ และบริการด้านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ
จัดระบบสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
ผลิตและเผยแพร่เอกสารวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การประเมินติดตามผล ศึกษา วิเคราะห์
วิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสารบรรณและธุรการทั่วไป
การเงินและงบประมาณ บัญชีและพัสดุ การบริหารงานบุคคล การดูแลสถานที่และยานพาหนะ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
สำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ บำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ฯลฯ เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดห้องประชุมทางไกลบนระบบเครือข่าย
ติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานวิจัย พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์
วิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้มีการวิจัยและพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงาน
สร้างเครือข่ายความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้
ความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
กำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางพัฒนาศูนย์สื่อการเรียนรู้ของโรงเรียน สนับสนุนทุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จัดระบบการติดตามและประเมินผลการวิจัย โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
เผยแพร่ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานผลิตสื่อและเผยแพร่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และคู่มือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ
เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนพัฒนาบทเรียนบนระบบเครือข่าย (e-learning) เป็นศูนย์วิทยบริการและบริการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้
ผลิตและเผยแพร่เอกสารทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมต่างๆ
เพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตและใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอน เผยแพร่และประชาสัมพันธ์สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน การสอน ติดตามประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
และบุคลากรทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดและพิจารณาหลักสูตร นโยบาย แผน
และมาตรฐานในการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา การจัดการพัฒนา ฝึกอบรม
ตามที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตำแหน่งและวิทยฐานะ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗ ตามนโยบาย ความจำเป็น และการพัฒนาฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านการบริหารงานลูกเสือและยุวกาชาด
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ดูงาน การเดินทางไปราชการ
การบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานครและบุคลากรทางการศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวข้อง
โดยแบ่งงานภายในส่วนราชการ ดังนี้
๑) งานธุรการมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสารบรรณ
งานงบประมาณการเงิน บัญชีและพัสดุ งานดูแลสถานที่และยานพาหนะ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริการโสตทัศนูปกรณ์
ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องใช้ของศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ สำนักการศึกษา ให้ใช้งานได้อยู่เสมอ
งานการพิมพ์และผลิตเอกสารที่ใช้ในการฝึกอบรม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๒) กลุ่มงานแผนงานและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความต้องการตามนโยบายและความจำเป็นของหน่วยงาน
วางแผนในการพัฒนาและฝึกอบรม การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางและรูปแบบการประเมินผล
การพัฒนา ฝึกอบรม การติดตามและประเมินผล และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนการคัดเลือกและฝึกอบรม
การปฐมนิเทศข้าราชการครูฯ บรรจุใหม่ การพัฒนา และฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะด้านการจัดทำคู่มือในการทำผลงานทางวิชาการ
การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ การขออนุมัติเกี่ยวกับการลาศึกษา ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา
ดูงาน การขออนุมัติเดินทางไปราชการ การประสานและบริหารกองทุนพัฒนาข้าราชการครูฯ และบุคลากรทางการศึกษา
การหาสถาบันที่สนับสนุนทุนการศึกษาและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๔) กลุ่มงานพัฒนาผู้นำลูกเสือและยุวกาชาดมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานลูกเสือและเนตรนารี
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลูกเสือ ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติและระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครการบริหารงานยุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภากาชาดไทย
ระเบียบคณะกรรมการบริหารยุวกาชาด ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับยุวกาชาดและระเบียบ ข้อบังคับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ในส่วนที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมลูกเสือหลักสูตรผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง การวางแผนและดำเนินการฝึกอบรมยุวกาชาดหลักสูตรผู้บริหารงานยุวกาชาด
การร่วมงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติและลูกเสือโลก การจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือและยุวกาชาด
การกำหนดและพัฒนาคู่มือ หรือแนวทางในการพัฒนานักเรียนโดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด
การบริหารจัดการค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕ สำนักการศึกษา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองการเจ้าหน้าที่
(๓) กองคลัง
(๔) หน่วยศึกษานิเทศก์
(๕) สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
(๖) กองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
(๗) กองพัฒนาข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๙ ง/หน้า ๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ |
488924 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 59)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่
๕๙)
ด้วยเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ให้มีความเหมาะสมตรงตามข้อเท็จจริงและสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานเขต
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙ ประกอบกับประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหมวด ๑๖ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.
๒๕๓๘ และ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด ๑๖
สำนักงานเขต
ข้อ ๒๗ ให้สำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง
การทะเบียน การจัดทำแผนพัฒนาเขต การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
การสาธารณูปการ การส่งเสริมการฝึก และประกอบอาชีพ การส่งเสริมการลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว
การจัดการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การส่งเสริมประชาธิปไตย
ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
การคุ้มครอง ดูแล บำรุง รักษาและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การผังเมือง การวิศวกรรมจราจร การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุมอาคาร การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ
การจัดเก็บรายได้ การบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
และหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
๑. ฝ่ายปกครอง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง การทะเบียนปกครอง (ได้แก่ ทะเบียนพินัยกรรม ทะเบียนมูลนิธิ
ทะเบียนสมาคม ทะเบียนมัสยิดอิสลาม ทะเบียนศาลเจ้า ทะเบียนสัตว์พาหนะ
ทะเบียนนิติกรรม) การฌาปนกิจสงเคราะห์ การสอบสวนรับรองบุคคล การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การเลือกตั้ง การทำประชามติและประชาพิจารณ์ การจัดทำแผนพัฒนาเขต การคุ้มครองผู้บริโภค
การบริหารและบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ การบริหารงานบุคคลและสวัสดิการ การประชาสัมพันธ์
การรับเรื่องร้องทุกข์ การสื่อสารและรับส่งวิทยุ การประชุม งานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
งานลูกเสือชาวบ้าน งานมวลชน งานเขตเคลื่อนที่ งานสภาเขต งานราชการส่วนภูมิภาค งานยุทธศาสตร์นโยบายและแผนและการติดตามประเมินผล
งานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณและธุรการ งานช่วยอำนวยการและเลขานุการ งานพิธีการ งานดูแลและรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่และยานพาหนะกลาง
งานสารสนเทศ งานราชการประจำทั่วไปของสำนักงานเขต งานที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๒. ฝ่ายทะเบียน
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
ทะเบียนแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ทะเบียนทั่วไป (ได้แก่ ทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล)
การควบคุมดูแลศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการพิจารณากำหนดหน่วยเลือกตั้ง
การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๓. ฝ่ายโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง การซ่อมแซม และการปรับปรุงโรงเรียน ถนน ตรอก ซอย
ทางเท้า ผิวจราจร สิ่งสาธารณประโยชน์และสะพานคนเดินข้าม การอนุญาตตัดคันหินทางเท้า
การพิจารณาอนุญาตกระทำการต่างๆ ในที่สาธารณะของหน่วยงานสาธารณูปโภค การเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่ในโครงการพื้นที่ปิดล้อมของสำนักงานเขตเพื่อการก่อสร้างหรือเชื่อมถนน
ตรอก ซอย
การดูแลรักษาที่สาธารณะและที่ของเอกชนที่ยินยอมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน การบำรุงดูแลรักษาคู
คลอง ทางหรือท่อระบายน้ำ สะพานข้ามคลอง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ร่วมมือกับสำนักผังเมืองในการวางและจัดทำผังเมืองประเภทต่างๆ
การควบคุมอาคารตามที่ได้รับมอบหมาย การประกาศเขตเพลิงไหม้และผังเฉพาะกิจ การตรวจสอบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การกำหนดพื้นที่ที่จะจัดรูปที่ดินกรณีที่เป็นพื้นที่เฉพาะภายในเขต การจัดทำ ติดตั้ง
ซ่อมแซมและดูแลรักษาความสะอาดป้ายชื่อซอย ป้ายจราจรและกระจกมองโค้ง การทาสีขอบคันหิน
การทาสีตีเส้น รวมถึงเส้นทแยงเหลือง การจัดทำคันชะลอความเร็ว การติดตั้ง guard-rail
อุปกรณ์ประกอบถนนและทางจักรยาน และรวมถึงการสำรวจ
ออกแบบหรือประมาณราคาเพื่อของบประมาณ การบริหารงบประมาณ การจัดหาพัสดุ การควบคุมการก่อสร้าง
ซ่อมแซม ปรับปรุง หรือบำรุงรักษาตามสัญญาหรืออำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบด้วย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๔. ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร การสุขาภิบาลสถานที่และการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายแก่สุขภาพ
การสุขาภิบาลตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การสุขาภิบาลทั่วไปให้ได้มาตรฐานทางสุขาภิบาลและถูกสุขลักษณะ
การควบคุม ดูแลการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ การควบคุมมลพิษ การพัฒนาควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคและสร้างหรือขยายเครือข่าย
การมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข การกำจัดแมลงและสัตว์นำโรค การควบคุม
การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ การควบคุมจัดการ กำจัด ห้าม ป้องกันและระงับเหตุรำคาญที่อาจเกิดหรือเกิดขึ้นในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
การอนุญาตให้ใช้เครื่องขยายเสียง การออกใบอนุญาตสุสานและฌาปนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยอาหาร การใช้สารระเหย คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่
โรงงาน เป็นต้น และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๕. ฝ่ายรายได้
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บรายได้ของกรุงเทพมหานคร (ได้แก่
ภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าเช่า ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย) การสืบทรัพย์ผู้ค้างชำระภาษีที่อยู่ในพื้นที่เขต
การดำเนินคดีแก่ผู้ค้างชำระภาษี การจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดเก็บรายได้ การจัดทำสถิติการจัดเก็บรายได้แต่ละประเภท
การรายงานการจัดเก็บภาษี และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๖. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย การรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อม
การเก็บขนมูลฝอย (ยกเว้นมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา เรือท่องเที่ยว และเรือสินค้า) การสูบขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
ไขมัน และน้ำมัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การปลูก ดูแลและบำรุงรักษาต้นไม้
การพิจารณาอนุญาตตัดและขุดย้ายต้นไม้ในที่สาธารณะ การจัดทำแผนการปลูกต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโบราณสถาน สถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม
การสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๗. ฝ่ายการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป การงบประมาณ การเงิน
การบัญชีและการพัสดุ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕ งานกิจกรรมนักเรียนในสถานศึกษา
(ได้แก่ จัดตั้งกลุ่มกองลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด แต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือและยุวกาชาด
การทะเบียนลูกเสือและยุวกาชาด) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน จัดพิธีการ และกิจกรรมต่างๆ
ของโรงเรียน ดำเนินการเกี่ยวกับการเจ้าหน้าที่ สวัสดิการ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครูและลูกจ้างของโรงเรียนและข้าราชการครูในฝ่ายการศึกษา
การเลือกตั้ง อ.ก.ก. ข้าราชการครู การเลือกตั้งกรรมการคุรุสภา การนิเทศการศึกษา การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งข้าราชการครูเข้ารับการฝึกอบรม
การประชุม สัมมนา การนิเทศและตรวจเยี่ยม การสนับสนุนงานวิชาการ วิจัย ประเมินผลโครงการและเผยแพร่งานข้อมูลทางการศึกษา
จัดทำรายงานและเผยแพร่การประสานงานวิชาการระหว่างโรงเรียน กลุ่มโรงเรียน ดำเนินงานศูนย์วิชาการเขต
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๘. ฝ่ายการคลัง
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี และการพัสดุที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณกรุงเทพมหานคร
เงินอุดหนุนรัฐบาล เงินนอกงบประมาณและเงินอื่นใด (ได้แก่ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การนำส่งเงินต่อคลังกรุงเทพมหานคร การเก็บรักษาเงิน การจัดทำสรรพบัญชีและทะเบียนต่างๆ
การตรวจสอบหลักฐานการจ่าย การจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินของหน่วยงาน การจัดทำรายงานทางการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
การวิเคราะห์รายงานทางการเงินเพื่อการบริหาร การตรวจสอบรายงานทางการเงินของหน่วยงาน
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การควบคุมการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริหาร
การบริหารงบประมาณ การติดตามผลการดำเนินงานด้านงบประมาณ การจัดหาและควบคุมพัสดุ การควบคุมทรัพย์สิน
การบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์) การปฏิบัติงานตามโครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร
(MIS) จำนวน ๙ ระบบงาน (ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานการเงิน
ระบบงานบัญชี ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานเงินเดือน
ระบบงานบริหารคลัง พัสดุกลาง ระบบงานบริหารน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น) การบริหารข้อมูลและรายงานภาพรวมของงบประมาณการเงิน
การคลัง การพัสดุและทรัพย์สินของหน่วยงาน และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๙. ฝ่ายเทศกิจ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
การควบคุม ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง การส่งเสริมดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
การส่งเสริมสนับสนุนงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานนิติการทั่วไป งานเกี่ยวกับคดีและการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดี
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๐. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งทางด้านกายภาพ
เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้นำชุมชน
องค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชน การพัฒนาสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย การจัดให้มีองค์กรประชาชนในรูปแบบคณะกรรมการชุมชน
การส่งเสริมสนับสนุนและจัดตั้งสหกรณ์ชุมชน กองทุนพัฒนาชุมชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
การปรับปรุงชุมชน การรื้อย้ายชุมชน การประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดหาที่อยู่ชั่วคราว
การส่งเสริมอาชีพ การจัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิต การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ฝึกอาชีพ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการบริหารเงินออมครอบครัว
การดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติด การสงเคราะห์สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบภัย
การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก การควบคุมดูแล
การดำเนินงานสถานรับเลี้ยงเด็กและสถานสงเคราะห์ ศูนย์เยาวชน ห้องสมุด บ้านหนังสือ ศูนย์กีฬาและลานกีฬา
การดำเนินการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและคนพิการ การให้บริการ และจัดกิจกรรมนันทนาการด้านดนตรี
กีฬา ห้องสมุด ฯลฯ งานสภาเยาวชนเขต การอนุรักษ์ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษาศิลปะ
จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น งานสภาวัฒนธรรมเขต
งานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การสนับสนุนและประสาน
การดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านวัฒนธรรม นันทนาการและการท่องเที่ยว การให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเกษตรและสภาพแวดล้อมเพื่อการเกษตร
การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๑. โรงเรียนประถมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
๑๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาโดยบริหารงานโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการและของโรงเรียนและหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘ การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขต
๑. สำนักงานเขตพระนคร
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
(๑๓) โรงเรียนวัดพระเชตุพน
(๑๔) โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
(๑๕) โรงเรียนวัดมหรรณพ์
(๑๖) โรงเรียนราชบพิธ
(๑๗) โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
(๑๘) โรงเรียนวัดสุทัศน์
(๑๙) โรงเรียนวัดราชนัดดา
(๒๐) โรงเรียนวัดราชบูรณะ
(๒๑) โรงเรียนวัดมหาธาตุ
๒. สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดิสานุการาม
(๑๒) โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
(๑๓) โรงเรียนวัดคณิกาผล
(๑๔) โรงเรียนวัดสิตาราม
๓. สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสัมพันธวงศ์
(๑๒) โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
(๑๓) โรงเรียนวัดปทุมคงคา
๔. สำนักงานเขตบางรัก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหัวลำโพง
(๑๒) โรงเรียนวัดสวนพลู
(๑๓) โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดม่วงแค
(๑๕) โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
๕. สำนักงานเขตปทุมวัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบรมนิวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดสระบัว
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยมงคล
(๑๔) โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดดวงแข
(๑๖) โรงเรียนสวนหลวง
(๑๗) โรงเรียนสวนลุมพินี
(๑๘) โรงเรียนปทุมวัน
(๑๙) โรงเรียนปลูกจิต
๖. สำนักงานเขตยานนาวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอกไม้
(๑๒) โรงเรียนวัดช่องลม
(๑๓) โรงเรียนวัดช่องนนทรี
(๑๔) โรงเรียนวัดปริวาศ
(๑๕) โรงเรียนวัดคลองภูมิ
(๑๖) โรงเรียนวัดคลองใหม่
๗. สำนักงานเขตดุสิต มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุโขทัย
(๑๒) โรงเรียนเบญจมบพิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดสมณานัมบริหาร
(๑๔) โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
(๑๕) โรงเรียนวัดสวัสดิวารีสีมาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดราชผาติการาม
(๑๗) โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม
(๑๘) โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม
(๑๙) โรงเรียนวัดจันทรสโมสร
๘. สำนักงานเขตพญาไท มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไผ่ตัน
๙. สำนักงานเขตห้วยขวาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
(๑๒) โรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
๑๐. สำนักงานเขตพระโขนง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม
(๑๒) โรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนพูนสิน (เพชรสุขอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
๑๑. สำนักงานเขตบางกะปิ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดศรีบุญเรือง
(๑๒) โรงเรียนบ้านบางกะปิ
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าหัวหมากน้อย
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองจั่น
(๑๕) โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)
(๑๖) โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
(๑๗) โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง)
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าวังใหญ่
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพลีลา
(๒๑) โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
๑๒. สำนักงานเขตบางเขน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม (ชื่นชูใจราษฎร์อุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ)
(๑๓) โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
(๑๔) โรงเรียนประชาภิบาล
(๑๕) โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์)
๑๓. สำนักงานเขตมีนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดแสนสุข
(๑๒) โรงเรียนศาลาคู้
(๑๓) โรงเรียนคลองสาม
(๑๔) โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบางชัน
(๑๖) โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์
(๑๗) โรงเรียนคลองสองต้นนุ่น
(๑๘) โรงเรียนวังเล็กวิทยานุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนบ้านเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก
(๒๑) โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
(๒๒) โรงเรียนมีนบุรี
(๒๓) โรงเรียนบึงขวาง (มหาดไทยอุปถัมภ์)
๑๔. สำนักงานเขตลาดกระบัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดกระบัง (ศีลาภิรัตอุปถัมภ์)
(๑๒) โรงเรียนวัดสังฆราชา
(๑๓) โรงเรียนวัดพลมานีย์
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบึง
(๑๕) โรงเรียนประสานสามัคคี (บ้านทับยาว)
(๑๖) โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์
(๑๘) โรงเรียนวัดลานบุญ
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าลำนายโส (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๐) โรงเรียนวัดราชโกษา
(๒๑) โรงเรียนวัดบึงบัว
(๒๒) โรงเรียนวัดทิพพาวาส
(๒๓) โรงเรียนตำบลขุมทอง (ประชาอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนขุมทอง (เพชรทองคำอุปถัมภ์)
(๒๕) โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
(๒๖) โรงเรียนวัดบำรุงรื่น
(๒๗) โรงเรียนวัดขุมทอง
(๒๘) โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา
(๒๙) โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
(๓๐) โรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง)
๑๕. สำนักงานเขตหนองจอก มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
(๑๒) โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร
(๑๓) โรงเรียนบ้านเจียรดับ
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
(๑๕) โรงเรียนสามแยกท่าไข่
(๑๖) โรงเรียนนีลราษฎร์อุปถัมภ์
(๑๗) โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
(๑๘) โรงเรียนหลวงแพ่ง (บำรุงรัฐกิจ)
(๑๙) โรงเรียนวัดสามง่าม
(๒๐) โรงเรียนวัดสีชมพู
(๒๑) โรงเรียนลำเจดีย์
(๒๒) โรงเรียนสุเหร่าคลองเก้า
(๒๓) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบ
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าคลองสิบเอ็ด
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าสนามกลางลำ
(๒๖) โรงเรียนวัดพระยาปลา
(๒๗) โรงเรียนวัดแสนเกษม
(๒๘) โรงเรียนวัดใหม่เจริญราษฎร์
(๒๙) โรงเรียนลำบุหรี่พวง
(๓๐) โรงเรียนสุเหร่าบ้านเกาะ
(๓๑) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๓๒) โรงเรียนสุเหร่าศาลาแดง
(๓๓) โรงเรียนคลองสอง
(๓๔) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
(๓๕) โรงเรียนสุเหร่าลำแขก
(๓๖) โรงเรียนคารีอุปถัมภ์
(๓๗) โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
(๓๘) โรงเรียนวัดใหม่กระทุ่มล้ม
(๓๙) โรงเรียนผลลีรุ่งเรือง
(๔๐) โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร
(๔๑) โรงเรียนสังฆประชานุสสรณ์
(๔๒) โรงเรียนวัดอู่ตะเภา
(๔๓) โรงเรียนลำผักชี
(๔๔) โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
(๔๕) โรงเรียนสุเหร่านาตับ
(๔๖) โรงเรียนสุเหร่าอีรั้ว
(๔๗) โรงเรียนอิสลามลำไทร
๑๖. สำนักงานเขตธนบุรี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
(๑๒) โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
(๑๓) โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
(๑๔) โรงเรียนวัดบุคคโล
(๑๕) โรงเรียนวัดราชวรินทร์
(๑๖) โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
(๑๗) โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดดาวคนอง
(๑๙) โรงเรียนวัดราชคฤห์
(๒๐) โรงเรียนวัดบางสะแกใน
(๒๑) โรงเรียนวัดบางน้ำชน
(๒๒) โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
(๒๓) โรงเรียนวัดขุนจันทร์
(๒๔) โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
(๒๕) โรงเรียนกันตทาราราม
(๒๖) โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
(๒๗) โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
๑๗. สำนักงานเขตคลองสาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดทองเพลง
(๑๒) โรงเรียนวัดทองธรรมชาติ
(๑๓) โรงเรียนวัดสุวรรณ
(๑๔) โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
(๑๕) โรงเรียนวัดพิชัยญาติ
(๑๖) โรงเรียนวัดทองนพคุณ
(๑๗) โรงเรียนวัดสุทธาราม
๑๘. สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์
(๑๒) โรงเรียนวัดดีดวด
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคกลาง
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม
(๑๖) โรงเรียนวัดท่าพระ
๑๙. สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสุวรรณาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
(๑๓) โรงเรียนวัดวิเศษการ
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
(๑๕) โรงเรียนวัดบางขุนนนท์
(๑๖) โรงเรียนวัดเจ้าอาม
(๑๗) โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดมะลิ
(๑๙) โรงเรียนวัดดงมูลเหล็ก
(๒๐) โรงเรียนวัดอัมพวา
(๒๑) โรงเรียนวัดบางเสาธง
(๒๒) โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
(๒๓) โรงเรียนวัดพระยาทำ
(๒๔) โรงเรียนวัดปฐมบุตรอิศราราม
(๒๕) โรงเรียนวัดดุสิตาราม
๒๐. สำนักงานเขตตลิ่งชัน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดมะกอก (วิสุทธิวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
(๑๓) โรงเรียนวัดปากน้ำฝั่งเหนือ
(๑๔) โรงเรียนฉิมพลี
(๑๕) โรงเรียนวัดตลิ่งชัน (ปิ่นทองสัณฐาคาร)
(๑๖) โรงเรียนวัดทอง (อุดมศิลปวิทยาคาร)
(๑๗) โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)
(๑๘) โรงเรียนวัดอินทราวาส
(๑๙) โรงเรียนวัดเกาะ
(๒๐) โรงเรียนวัดกระโจมทอง
(๒๑) โรงเรียนวัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล)
(๒๒) โรงเรียนวัดพิกุล
(๒๓) โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา (นนทสิริราษฎร์บำเพ็ญ)
(๒๔) โรงเรียนวัดประสาท
(๒๕) โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
(๒๖) โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
๒๑. สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนิมมานรดี
(๑๒) โรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดชัยฉิมพลี
(๑๔) โรงเรียนวัดทองศาลางาม
(๑๕) โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
(๑๖) โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
(๑๗) โรงเรียนวัดโคนอน
(๑๘) โรงเรียนวัดโตนด
(๑๙) โรงเรียนวัดกำแพง
(๒๐) โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนวัดวิจิตรการนิมิตร
(๒๒) โรงเรียนวัดประดู่ (พ่วงอุทิศ)
(๒๓) โรงเรียนวัดตะล่อม
๒๒. สำนักงานเขตหนองแขม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอุดมรังสี
(๑๒) โรงเรียนคลองบางแวก (มนต์ จรัสสิงห์)
(๑๓) โรงเรียนวัดหนองแขม (สหราษฎร์บูรณะ)
(๑๔) โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล
(๑๕) โรงเรียนประชาบำรุง
(๑๖) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ
๒๓. สำนักงานเขตบางขุนเทียน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแก้วขำทับอุปถัมภ์
(๑๒) โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
(๑๓) โรงเรียนวัดสะแกงาม
(๑๔) โรงเรียนวัดท่าข้าม
(๑๕) โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
(๑๖) โรงเรียนวัดบางกระดี่
(๑๗) โรงเรียนวัดกก
(๑๘) โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
(๑๙) โรงเรียนวัดแสมดำ
(๒๐) โรงเรียนคลองห้วยทราย (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล)
(๒๑) โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ)
(๒๒) โรงเรียนวัดหัวกระบือ
(๒๓) โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์
(๒๔) โรงเรียนวัดประชาบำรุง
(๒๕) โรงเรียนวัดบัวผัน
(๒๖) โรงเรียนวัดกำแพง
๒๔. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสารอด
(๑๒) โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
(๑๓) โรงเรียนวัดบางปะกอก
(๑๔) โรงเรียนวัดประเสริฐสุทธาวาส
(๑๕) โรงเรียนวัดสน
(๑๖) โรงเรียนวัดแจงร้อน
๒๕. สำนักงานเขตดอนเมือง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
(๑๒) โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
(๑๔) โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
(๑๕) โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด-เกษมสงเคราะห์)
(๑๖) โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์อนุสรณ์)
๒๖. สำนักงานเขตจตุจักร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช
(๑๒) โรงเรียนเสนานิคม
(๑๓) โรงเรียนบ้านลาดพร้าว (สาคร-สุ่น พานิชเฮง)
(๑๔) โรงเรียนประชานิเวศน์
(๑๕) โรงเรียนวัดเสมียนนารี
(๑๖) โรงเรียนวัดเทวสุนทร
(๑๗) โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์
๒๗. สำนักงานเขตลาดพร้าว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนเพชรถนอม
(๑๓) โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์
(๑๔) โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า
(๑๖) โรงเรียนเทพวิทยา
๒๘. สำนักงานเขตบึงกุ่ม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดนวลจันทร์
(๑๒) โรงเรียนพิชัยพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนวัดพิชัย
(๑๔) โรงเรียนวัดบางเตย
(๑๕) โรงเรียนคลองลำเจียก
(๑๖) โรงเรียนคลองกุ่ม
(๑๗) โรงเรียนประภาสวิทยา
(๑๘) โรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์
๒๙. สำนักงานเขตสาทร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดยานนาวา
(๑๒) โรงเรียนวัดดอน
๓๐. สำนักงานเขตบางคอแหลม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๒) โรงเรียนวัดบางโคล่นอก
(๑๓) โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดจันทร์ใน
(๑๕) โรงเรียนวัดราชสิงขร
(๑๖) โรงเรียนวัดไทร
(๑๗) โรงเรียนวัดจันทร์นอก
๓๑. สำนักงานเขตบางซื่อ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
(๑๒) โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
(๑๓) โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
(๑๔) โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดประชาศรัทธาธรรม (วัดเสาหิน)
(๑๖) โรงเรียนวัดเลียบราษฎร์บำรุง
(๑๗) โรงเรียนวัดสร้อยทอง
๓๒. สำนักงานเขตราชเทวี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกิ่งเพชร
(๑๒) โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
(๑๓) โรงเรียนวัดดิสหงสาราม
(๑๔) โรงเรียนวัดพระยายัง
๓๓. สำนักงานเขตคลองเตย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดสะพาน
(๑๒) โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา
(๑๓) โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
(๑๔) โรงเรียนวัดคลองเตย
๓๔. สำนักงานเขตประเวศ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองปักหลัก
(๑๒) โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าทับช้าง
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบ้านม้า
(๑๕) โรงเรียนสุเหร่าบึงหนองบอน
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทางควาย
(๑๗) โรงเรียนวัดตะกล่ำ
(๑๘) โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
(๑๙) โรงเรียนสุเหร่าศาลาลอย
(๒๐) โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
(๒๑) โรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
(๒๒) โรงเรียนคลองมะขามเทศ
(๒๓) โรงเรียนงามมานะ (แผน-ทับอุทิศ)
(๒๔) โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ (กุลางกูรอุปถัมภ์)
(๒๖) โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
๓๕. สำนักงานเขตบางพลัด มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
(๑๓) โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
(๑๔) โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
(๑๕) โรงเรียนวัดศิริไอยสวรรค์
(๑๖) โรงเรียนวัดคฤหบดี (จันทรสถิตย์)
(๑๗) โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
(๑๘) โรงเรียนวัดรวก
(๑๙) โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณโณ)
(๒๐) โรงเรียนวัดเทพากร (เลี่ยมมาตุทิศ)
(๒๑) โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
๓๖. สำนักงานเขตจอมทอง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวัดมงคลวราราม (สมพรพสกสรรค์)
(๑๓) โรงเรียนวัดนาคนิมิตร (สว่างนพราษฎร์วิทยา)
(๑๔) โรงเรียนวัดสีสุก
(๑๕) โรงเรียนวัดนางนอง (พิพัฒน์)
(๑๖) โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
(๑๗) โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก (ศิลปเดชคาร)
(๑๙) โรงเรียนวัดบางประทุนนอก
(๒๐) โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์)
(๒๑) โรงเรียนวัดศาลาครืน
๓๗. สำนักงานเขตดินแดง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
(๑๒) โรงเรียนวิชูทิศ
(๑๓) โรงเรียนวิชากร
๓๘. สำนักงานเขตสวนหลวง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต)
(๑๒) โรงเรียนวัดทองใน
(๑๓) โรงเรียนคลองกลันตัน
(๑๔) โรงเรียนวัดปากบ่อ
(๑๕) โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
(๑๖) โรงเรียนหัวหมาก
(๑๗) โรงเรียนสุเหร่าใหม่
(๑๘) โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์
๓๙. สำนักงานเขตหลักสี่ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
(๑๒) โรงเรียนบางเขน (ไว้สาลีอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนทุ่งสองห้อง (คุปตัษเฐียรอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๑
(๑๕) โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒
(๑๖) โรงเรียนการเคหะท่าทราย
๔๐. สำนักงานเขตสายไหม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนออเงิน (อ่อน-เหม อนุสรณ์)
(๑๒) โรงเรียนพรพระร่วงประสิทธ์
(๑๓) โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม)
(๑๔) โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(๑๕) โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
(๑๖) โรงเรียนประชานุกูล (ขำสนิทอนุเคราะห์)
(๑๗) โรงเรียนวัดหนองใหญ่
(๑๘) โรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนซอยแอนเนกซ์
๔๑. สำนักงานเขตคันนายาว มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคันนายาว (ธารินเจริญสงเคราะห์)
(๑๒) โรงเรียนจินดาบำรุง
๔๒. สำนักงานเขตสะพานสูง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าซีรอ
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าลาดบัวขาว
(๑๓) โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล
(๑๔) โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (๒๐๐ ปี)
(๑๕) โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
(๑๖) โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
๔๓. สำนักงานเขตวังทองหลาง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว
(๑๒) โรงเรียนวัดสามัคคีธรรม (หนู-บุตรอุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าดอนสะแก
๔๔. สำนักงานเขตคลองสามวา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนกลางคลองสอง (พร ดีเจริญ)
(๑๒) โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านแบนชะโด
(๑๔) โรงเรียนบ้านหนองระแหง (ชมแสงประชานุกูล)
(๑๕) โรงเรียนประชาราษฎร์อุปถัมภ์วิทยา
(๑๖) โรงเรียนวัดคู้บอน
(๑๗) โรงเรียนวัดบัวแก้ว
(๑๘) โรงเรียนวัดแป้นทอง
(๑๙) โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์ (บุญมีอนุกูล)
(๒๐) โรงเรียนวัดลำกะดาน
(๒๑) โรงเรียนวัดศรีสุก
(๒๒) โรงเรียนวัดสุขใจ
(๒๓) โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
(๒๔) โรงเรียนสุเหร่าเกาะขุนเณร
(๒๕) โรงเรียนสุเหร่าคลองสี่
(๒๖) โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
(๒๗) โรงเรียนสุเหร่าสามวา (ซุน เวทย์สฤษฏ์อุทิศ)
(๒๘) โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
๔๕. สำนักงานเขตบางนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดบางนาใน (รื่น ศยามานนท์)
(๑๒) โรงเรียนวัดบางนานอก
(๑๓) โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
(๑๔) โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
(๑๕) โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
(๑๖) โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
(๑๗) โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
๔๖. สำนักงานเขตวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนแจ่มจันทร์
(๑๒) โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
(๑๓) โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
(๑๔) โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ
(๑๕) โรงเรียนวัดภาษี
(๑๖) โรงเรียนวิจิตรวิทยา
(๑๗) โรงเรียนวัดธาตุทอง (เรือนเขียวสะอาด)
(๑๘) โรงเรียนสวัสดีวิทยา
๔๗. สำนักงานเขตทวีวัฒนา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์
(๑๒) โรงเรียนวัดปุรณาวาส
(๑๓) โรงเรียนคลองต้นไทร (สุขล้อมอุทิศ)
(๑๔) โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม
(๑๕) โรงเรียนคลองบางพรหม
(๑๖) โรงเรียนคลองทวีวัฒนา (ทองน่วมอนุสรณ์)
๔๘. สำนักงานเขตบางแค มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง (งามศิริวิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์)
(๑๓) โรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี
(๑๔) โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ (พุ่มประดับราษฎร์สามัคคี)
(๑๕) โรงเรียนวัดม่วง
(๑๖) โรงเรียนวัดบุณยประดิษฐ์
(๑๗) โรงเรียนบางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์)
(๑๘) โรงเรียนเพชรเกษม (จตุรงค์สงครามอนุสรณ์)
(๑๙) โรงเรียนวัดศาลาแดง
(๒๐) โรงเรียนบางแคเหนือ (ชั้น จำนงค์ ฉ่องสวนอ้อยอนุสรณ์)
(๒๑) โรงเรียนบางเชือกหนัง (พูนบำเพ็ญอนุสรณ์)
(๒๒) โรงเรียนบางไผ่ (บ้านนายพันแก้วขาว)
๔๙. สำนักงานเขตทุ่งครุ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
(๑๒) โรงเรียนสามัคคีบำรุง
(๑๓) โรงเรียนวัดทุ่งครุ (พึ่งสายอนุสรณ์)
(๑๔) โรงเรียนนาหลวง
(๑๕) โรงเรียนคลองรางจาก
(๑๖) โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ
(๑๗) โรงเรียนราษฎร์บูรณะ (มูฮำหมัดอุทิศ)
(๑๘) โรงเรียนชูสินทองประดิษฐ์อนุสรณ์
๕๐. สำนักงานเขตบางบอน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
(๑๒) โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
(๑๓) โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
(๑๔) โรงเรียนพรหมราษฎร์รังสรรค์
(๑๕) โรงเรียนสถานีพรมแดน (รักษาศุขราษฎร์บำรุง)
(๑๖) โรงเรียนบ้านนายผล (แม้นสุวรรณอุปถัมภ์)
(๑๗) โรงเรียนบ้านนายสี
(๑๘) โรงเรียนวัดนินสุขาราม
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๙[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๔
พฤษภาคม ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๔๔ ง/หน้า ๖๑/๒๗ เมษายน ๒๕๔๙ |
479781 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 58)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๘)
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้โอนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักการศึกษา
จำนวน ๔ โรงเรียนไปสังกัดสำนักงานเขตในพื้นที่
ดังต่อไปนี้
๑. โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ สังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ
๒. โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ สังกัดสำนักงานเขตจตุจักร
๓. โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง
๔. โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตประเวศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๑) ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในหมวด ๑๖ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๓๗ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๘ และ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หมวด
๑๖
สำนักงานเขต
ข้อ ๒๗ สำนักงานเขต มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานการปกครองท้องที่
การพัฒนาชุมชนการส่งเสริมอาชีพ การทะเบียน การโยธา การรักษาที่สาธารณะ การพัฒนาผังเมืองเขต
การระบายน้ำการสาธารณสุข การจัดเก็บรายได้ การรักษาความสะอาด การดูแลบำรุงรักษาต้นไม้
การดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา การควบคุมดูแลโรงเรียน การดูแลและรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
หรือที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๘ สำนักงานเขต มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) ฝ่ายปกครอง
(๒) ฝ่ายทะเบียน
(๓) ฝ่ายโยธา
(๔) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
(๕) ฝ่ายรายได้
(๖) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
(๗) ฝ่ายการศึกษา
(๘) ฝ่ายการคลัง
(๙) ฝ่ายเทศกิจ
(๑๐) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
(๑๑) โรงเรียน
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๘[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อภิรักษ์
โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๒
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๐/๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
446351 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 55)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๕)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็น
สำนักงานกฎหมายและคดีสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ยกเลิกความใน (๕) ข้อ ๕ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๒๙) ลงวันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่
๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๑) ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ฉบับที่
๓๒) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๓๔) ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(ฉบับที่ ๔๑) ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๔๙) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๔๖ (ฉบับที่ ๕๐) ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ และ (ฉบับที่ ๕๒) ลงวันที่
๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๕)
สำนักงานกฎหมายและคดี
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ศุภชัย/พิมพ์
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๗
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๑๗
ธันวาคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๙๖ง/๑๖/๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
429750 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลูและตั้งแขวงสำเหร่ แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู
และตั้งแขวงสำเหร่
แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
ด้วยกรุงเทพมหานคร
มีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตธนบุรี
ให้มีความเหมาะสมและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อันจะทำให้ไม่เกิดความสับสนแก่ประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น
เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู
ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี
แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล เขตธนบุรี ประกาศ ณ
วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ โดยกำหนดพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู
และตั้งแขวงสำเหร่ แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี โดยมีรายละเอียดพื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงบุคคโล
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงตลาดพลู และแขวงบางยี่เรือ
เขตธนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสำเหร่ เขตธนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
แนวเขตการปกครองของแขวงบุคคโล
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างของทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับขอบทางถนนตากสิน-เพชรเกษมฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบบางถนนตากสิน-เพชรเกษมฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือ
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับขอบทางถนนตากสิน-เพชรเกษมฟากเหนือ
แขวงบางยี่เรือ
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับแขวงคลองสาน และแขวงคลองต้นไทร
เขตคลองสาน
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงสำเหร่ และแขวงบุคคโล
เขตธนบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี
และแขวงวัดท่าพระเขตบางกอกใหญ่
แนวเขตการปกครองของแขวงบางยี่เรือ
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางกอกใหญ่ฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนอินทรพิทักษ์ฟากเหนือไปทางทิศตะวันออก
ตามแนวขอบทางถนนอินทรพิทักษ์ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนอินทรพิทักษ์ฟากเหนือกับขอบทางถนนลาดหญ้าฟากเหนือ
(บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
ทิศตะวันออก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนอินทรพิทักษ์ฟากเหนือกับขอบทางถนนลาดหญ้าฟากเหนือ
(บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
ไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกบรรจบคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือบรรจบขอบทางถนนตากสิน-เพชรเกษมฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนตากสิน-เพชรเกษมฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนตากสิน-เพชรเกษมฟากเหนือกับคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนตากสิน
เพชรเกษม
ฟากเหนือกับคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออกบรรจบกับคลองบางกอกใหญ่ฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบางกอกใหญ่ฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางกอกใหญ่ผั่งตะวันออกกับขอบทางถนนอินทรพิทักษ์ฟากเหนือ
แขวงตลาดพูล
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ
ติดต่อกับแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับแขวงบางยี่เรือ แขวงบุคคโล
แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางค้อ เขตจอมทอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางค้อ เขตจอมทอง
และแขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ
แนวเขตการปกครองของแขวงตลาดพลู
ทิศเหนือ
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางหลวงน้อยฝั่งตะวันออกกับคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้กับคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้กับคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบางน้ำชนฝั่งตะวันออกบรรจบกับขอบทางถนนตากสิน
เพชรเกษมฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนตากสิน
เพชรเกษมฟากเหนือบรรจบกับคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบางสะแกฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกกับคลองวัดใหม่ยายนุ้ยฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกกับคลองวัดใหม่ยายนุ้ยฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองวัดใหม่ยายนุ้ยฝั่งเหนือสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองวัดใหม่ยายนุ้ยฝั่งเหนือกับคลองบางหลวงน้อยฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองวัดใหม่ยายนุ้ยฝั่งเหนือกับคลองบางหลวงน้อยฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบางหลวงน้อยฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางหลวงน้อยฝั่งตะวันออกกับคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้
แขวงสำเหร่
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน
และแขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับแขวงบุคคโล เขตธนบุรี
แนวเขตการปกครองของแขวงสำเหร่
ทิศเหนือ
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือกับคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือกับคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองบางไส้ไก่ฝั่งตะวันออกบรรจบกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
กับขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือ
กับขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือกับขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนกรุงธนบุรีฟากเหนือ
แขวงดาวคะนอง
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบุคคโล แขวงสำเหร่
เขตธนบุรีและแขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางประกอก เขตราษฎร์บูรณะ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางค้อ เขตจอมทอง และแขวงตลาดพลู
เขตธนบุรี
แนวเขตการปกครองของแขวงดาวคะนอง
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนตากสิน
เพชรเกษมฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนตากสิน
เพชรเกษมฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนตากสิน เพชรเกษมฟากเหนือกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนตากสิน
- เพชรเกษมฟากเหนือกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกบรรจบขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนมไหสวรรย์ฟากเหนือบรรจบกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองดาวคะนองฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองดาวคะนองฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองดาวคะนองฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองดาวคะนองฝั่งเหนือกับคลองบางสะแกฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองดาวคะนองฝั่งเหนือกับคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกสิ้นสุดที่จุดบรรจบคลองบางสะแกฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนตากสิน
เพชรเกษมฟากเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ แขวงตลาดพลู
และตั้งแขวงสำเหร่
แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี
พ.ศ.
๒๕๔๖
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
มยุรี/พิมพ์
๑๕
มีนาคม ๒๕๔๗
สุมลรัตน์/ศุภสรณ์/ตรวจ
๑๒
เมษายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๖/พ๑๓๘ง/๓๕/๓ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
438740 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๖
เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๖
อนุมัติจัดตั้งสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานใหม่ และครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานงบประมาณ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เป็นสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๑ โดยให้เพิ่มความต่อไปนี้ในท้ายข้อ ๖๗
๖๘
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๖๙ สำนักงานงบประมาณกรุงเทพมหานคร
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มัตติกา/พิมพ์
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๔๗
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๓๘ง/๓๘/๒ เมษายน ๒๕๔๗ |
446349 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 54)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๔) [๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างของสำนักการระบายน้ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ยกเลิกความใน (๗) ข้อ ๑๙ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๒๓) ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๓๗ และ (ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗)
สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ศุภชัย/พิมพ์
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๗
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๑๗
ธันวาคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๙๖ง/๑๕/๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
383661 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔๘)
| กหดหกดหกดหกด
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔๘)
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕ อนุมัติปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังของสำนักรักษาความสะอาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกความในข้อ ๒๑ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗) ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และ (ฉบับที่ ๒๒) ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๒๑ สำนักรักษาความสะอาด
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองบริการรักษาความสะอาด
(๔) กองควบคุมและจัดการสิ่งปฏิกูล
(๕)
กองโรงงานกำจัดมูลฝอย
ประกาศ ณ วันที่
๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๔๖/พ๓๐ง/๘/๑๒ มีนาคม
๒๕๔๖]
มณฑาทิพย์/พิมพ์
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖
สุมลรัตน์/อรรถชัย
แก้ไข
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖ |
443643 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 53)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๓)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗
อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างของสำนักการโยธา และสำนักการจราจรและขนส่ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๒๑) ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๓๗ และ (ฉบับที่ ๔๐) ลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๖ สำนักการโยธา
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนการโยธา การตรวจวิเคราะห์วัสดุก่อสร้าง
การก่อสร้างและบูรณะ การออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมอาคาร
การดูแลรักษาที่สาธารณะ การสำรวจและจัดทำแผนที่ที่ดิน และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ข้อ ๑๗ สำนักการโยธา มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค
(๓)
กองวิเคราะห์และวิจัย
(๔)
สำนักงานก่อสร้างและบูรณะ
(๕) สำนักงานออกแบบ
(๖)
กองควบคุมการก่อสร้าง
(๗) กองควบคุมอาคาร
(๘)
กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน
(๙) กองจัดกรรมสิทธิ์
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๓๗) ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๑ และ (ฉบับที่ ๓๙) ลงวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓๑
สำนักการจราจรและขนส่ง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ
รวบรวมข้อมูลด้านการจราจรและขนส่ง การวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ
ระบบการจราจรและขนส่ง
การกำหนดมาตรการและดำเนินการด้านจราจรและขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร
การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมขนส่งและวิศวกรรมความปลอดภัย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการควบคุมและจัดการจราจร
การพัฒนาระบบโครงข่ายถนน ระบบขนส่งมวลชน
และการให้การศึกษาฝึกอบรมและรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจร
ข้อ ๓๒
สำนักการจราจรและขนส่ง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองแผนการจราจรและขนส่ง
(๓) กองวิศวกรรมจราจร
(๔) กองสัญญาณไฟและเครื่องหมาย
(๕) กองการขนส่ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พรพิมล/พิมพ์
๑๔
ตุลาคม ๒๕๔๗
พัชรินทร์/อมราลักษณ์/ตรวจ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๘๔ง/๒๓/๒๘
กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
451579 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานคร
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล
และสารวัตรกำนัน
ในเขตกรุงเทพมหานคร
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นว่า
ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
และสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครหมดความจำเป็นลงและได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การกำหนดระยะเวลาการคงอยู่ของตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ ๑๗ มกราคม
๒๕๔๓ โดยมีเจตนายกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครทั้งหมด ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๔๗ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
สมควรออกประกาศยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
และสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๙ และมาตรา ๑๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดระยะเวลาการคงอยู่ของตำแหน่งกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
ฉบับลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗
๒.
ให้ยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครในส่วนที่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้พ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระไปแล้วตามประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การกำหนดระยะเวลาการคงอยู่ของตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ ๑๗ มกราคม
๒๕๔๓ ส่วนตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
และสารวัตรกำนันที่ยังมีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ประกาศกรุงเทพมหานครนี้ใช้บังคับ
ให้ยกเลิกตำแหน่งดังกล่าวทันทีที่ผู้ดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
และให้ยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนัน ที่เหลือทั้งหมดในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘
๓.
ให้ยกเลิกตำแหน่งสารวัตรกำนัน
เมื่อกำนันที่ตนเองสังกัดพ้นจากตำแหน่งหรือตำแหน่งกำนันถูกยกเลิก
๔.
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดระยะเวลาการคงอยู่ของตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
ฉบับลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๓ ในส่วนที่ขัดหรือแย้งกับประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ให้ใช้ประกาศกรุงเทพมหานครนี้แทน
๕[๑].
ประกาศกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ญาณี/พิมพ์
๖
มกราคม ๒๕๔๘
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๒๖
มกราคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๑๐๘ง/๒๖/๒๙
กันยายน ๒๕๔๗ |
325017 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดขนาดและชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์
ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด
บางลำภู
ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร
----------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาด
และชนิดยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
บริเวณตลาดยอด บางลำภู
ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๖
แห่งข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์
ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดขนาดและชนิด
ยานยนต์ อัตราค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอด
ยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณตลาดยอด
บางลำภู ถนนไกรสีห์
เขตพระนคร ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๓
ข้อ
๒
การจอดยานยนต์ในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร บริเวณ
ตลาดยอด บางลำภู ถนนไกรสีห์ เขตพระนคร ให้มี ๒ ประเภท
ดังนี้
๒.๑ ประเภทการจอดประจำ
๒.๒ ประเภทการจอดชั่วคราว
ข้อ
๓ ให้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ไม่เกิน
๔ ล้อ ที่มีขนาดความสูงไม่เกิน
๒.๐๐ เมตร เข้าจอดในประเภทการจอดประจำได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคันดังนี้
๓.๑ รถยนต์เดือนละ ๒,๐๐๐ บาท
๓.๒ รถจักรยานยนต์เดือนละ ๘๐๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
เป็นอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งได้รวมภาษี
มูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
ข้อ
๔
ให้เจ้าของยานยนต์ที่ประสงค์จะนำยานยนต์เข้าจอดในประเภทการ
จอดประจำติดต่อขอรับบัตรจอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
โดยชำระค่าธรรมเนียมก่อนนำรถ
เข้าจอด การชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ชำระเป็นรายเดือน
ในกรณีที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือนแล้ว
ถ้าใช้สิทธิจอดยานยนต์
ไม่ครบเดือน ไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมคืน
การนำยานยนต์เข้าจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานคร
และการนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครจะต้องแสดงบัตร
จอดยานยนต์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและทางออกและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตร
จอดยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด
ข้อ
๕ ให้รถจักรยานยนต์และรถยนต์ไม่เกิน
๔ ล้อ ที่มีขนาดความสูง
ไม่เกิน ๒.๐๐ เมตร
เข้าจอดในประเภทการจอดชั่วคราวได้ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง
๒๑.๐๐ น ของทุกวัน โดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราต่อคัน ดังนี้
๕.๑ รถยนต์
ก. ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๑๕ บาท
ข. ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๒๐ บาท
เศษของชั่วโมงถ้าไม่เกิน
๓๐ นาที คิด ๑๐ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิด ๒๐ บาท
๕.๒ รถจักรยานยนต์
ก. ภายในหนึ่งชั่วโมงแรก ๕
บาท
ข. ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ ๗ บาท
เศษของชั่วโมง ถ้าไม่เกิน
๓๐ นาที คิด ๓ บาท ถ้าเกิน ๓๐ นาที คิด ๗ บาท
๕.๓
ในกรณีที่มีการจอดยานยนต์ไว้ในอาคารที่จอดยานยนต์เกินกำหนดเวลา
ที่อนุญาตไว้ นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามปกติแล้ว
จะต้องมีการเสียเพิ่มทุกครั้งที่มี
การจอดยานยนต์ในช่วงเวลาที่เกินกำหนด
แม้จะเป็นการจอดยานยนต์ต่อเนื่องก็ตาม โดยรถยนต์
เสียครั้งละ ๑๐๐ บาท รถจักรยานยนต์เสียครั้งละ ๓๐ บาท
อัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มตามข้อนี้ได้รวมภาษีมูลคาเพิ่ม
ไว้แล้ว
ข้อ
๖
ให้ผู้ที่นำยานยนต์เข้ามาจอดในอาคารที่จอดยานยนต์ประเภทการจอด
ชั่วคราวรับบัตรจอดยานยนต์จากเจ้าหน้าที่ที่ประตูทางเข้าและต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรจอด
ยานยนต์และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัดและให้ชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่ที่ประตู
ทางออกก่อนนำยานยนต์ออกจากอาคารที่จอดยานยนต์
ข้อ
๗
บัตรจอดยานยนต์ทั้งประเภทการจอดประจำและการจอดชั่วคราวต้อง
เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
กรณีบัตรจอดยานยนต์สูญหายให้แจ้งความต่อหัวหน้างานบริการที่
จอดยานยนต์
หรือเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ในอาคาร
ที่จอดยานยนต์ โดยผู้แจ้งต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน
หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
และต้องเสียค่าธรรมเนียม
ในกรณีนี้จำนวน ๑๐๐ บาท
การรับแจ้งความให้ถามชื่อตัว
ชื่อสกุล สัญชาติ อายุ อาชีพ ที่อยู่ และหมายเลข
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือบัตรอื่นใดที่กฎหมายรับรองให้ใช้
แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้
พร้อมทั้งบันทึกสาเหตุแห่งการสูญหายของบัตรจอดยานยนต์ตาม
แบบ ป.ค. ๑๔
ข้อ
๘
อาคารที่จอดยานยนต์ของกรุงเทพมหานครแห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับจอด
ยานยนต์เท่านั้น
กรุงเทพมหานครจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายใด ๆ อันเกิดแก่
ทรัพย์สินที่นำเข้ามาในอาคารแห่งนี้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก. ๒๕๔๔/พ๑๐๖ง/๒๔/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๔]
สุรินทร์ / พิมพ์/ แก้ไข
๑/๐๕/๒๕๔๕
A+B |
419468 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕๐)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๐)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม
๒๕๔๖ อนุมัติให้จัดตั้งสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเป็นหน่วยงานใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่
๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่
๒๖) ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๒๙) ลงวันที่
๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่
๓๐) ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๑) ลงวันที่
๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ฉบับที่
๓๒) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๓๔) ลงวันที่
๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่
๔๑) ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๔๙) ลงวันที่
๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานงบประมาณ
(๓) กองกลาง
(๔) กองการเจ้าหน้าที่
(๕) กองกฎหมายและคดี
(๖) กองปกครองและทะเบียน
(๗) กองตรวจสอบภายใน
(๘) กองประชาสัมพันธ์
(๙) กองงานผู้ตรวจราชการ
(๑๐) กองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(๑๑) กองการท่องเที่ยว
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒๐
ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๒๘
หมวด
๒๐
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ข้อ ๓๕ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑลหรือตามที่ร้องขอ การให้การสงเคราะห์และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย
การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖
สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการและแผนงาน
(๓) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔) กองปฏิบัติการดับเพลิง
๑
(๕) กองปฏิบัติการดับเพลิง
๒
(๖) กองปฏิบัติการดับเพลิง
๓
(๗) กองปฏิบัติการดับเพลิง
๔
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ญาณี/พิมพ์
๑๒
มกราคม ๒๕๔๖
ศุภสรณ์/ทรงยศ/ตรวจ
๑๙
มกราคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๖/พ๑๑๗ง/๓๙/๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ |
446353 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 56)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๖)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
อนุมัติให้จัดตั้งกองสวัสดิภาพเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
สังกัดสำนักสวัสดิการสังคม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้เพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยเพิ่มข้อความในข้อ ๒๓ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๕) ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๐ และ (ฉบับที่ ๔๕) ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ดังนี้
(๖) กองสวัสดิภาพเด็ก
สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ศุภชัย/พิมพ์
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๔๗
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๑๗
ธันวาคม ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๙๖ง/๑๘/๓ กันยายน ๒๕๔๗ |
438401 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 52)
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕๒)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานงบประมาณ
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเป็นสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๒) ข้อ ๕
ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๒๙) ลงวันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๑)
ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ฉบับที่ ๓๒) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่
๓๔) ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ฉบับที่ ๔๑) ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒
(ฉบับที่ ๔๙) ลงวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ (ฉบับที่ ๕๐) ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.
๒๕๔๖
ข้อ ๒ ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นหมวด ๒๑
ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
หมวด
๒๑
สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๓๗ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีของกรุงเทพมหานคร
การขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลการบริหารงบประมาณ ศึกษา
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนงาน
ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของกรุงเทพมหานครเพื่อวางแผนการใช้จ่ายเงินและการกำหนดทิศทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
การจัดทำแผนงบประมาณและแผน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า
การวิเคราะห์ติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินการและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของกรุงเทพมหานครและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
การปรับปรุงระบบงบประมาณและวิธีการจัดการงบประมาณ
การรวบรวมและแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการงบประมาณ ตลอดจนจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านงบประมาณ
ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการงบประมาณแก่หน่วยงานต่างๆ
ข้อ ๓๘ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองวิชาการและแผนงาน
(๓)
กองวิเคราะห์งบประมาณ ๑
(๔)
กองวิเคราะห์งบประมาณ ๒
(๕) กองวิเคราะห์งบประมาณ
๓
(๖) กองวิเคราะห์งบประมาณ ๔
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ศุภชัย/พิมพ์
๒๓ มิถุนายน
๒๕๔๗
สุนันทา/จีระ/ตรวจ
๓๐
มิถุนายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๗/พ๒๙ง/๒๙/๑๒ มีนาคม
๒๕๔๗ |
429748 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงลาดยาว และตั้งแขวงเสนานิคมแขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
| ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงลาดยาว และตั้งแขวงเสนานิคม
แขวงจันทรเกษม
แขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
ด้วยกรุงเทพมหานคร
มีความจำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่แขวงของเขตจตุจักร
ให้มีความเหมาะสมประกอบกับยังไม่มีประกาศกรุงเทพมหานครกำหนดแนวเขตพื้นที่แขวงให้เกิดความชัดเจนแน่นอนทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้น
เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงลาดยาวและตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม
แขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร โดยให้มีรายละเอียดพื้นที่แขวง ดังนี้
แขวงลาดยาว
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงทุ่งสองห้อง
และแขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงเสนานิคม และแขวงจันทรเกษม
เขตจตุจักร
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงจตุจักร เขตจตุจักร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
แนวเขตการปกครองของแขวงลาดยาว
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองประปาฝั่งตะวันออกกับคลองบางเขนฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวคลองบางเขนฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางเขนฝั่งเหนือ กับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางเขนฝั่งเหนือกับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ถึงจุดบรรจบระหว่างคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับคลองประปาฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับคลองประปาฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองประปาฝั่งตะวันออกสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองประปาฝั่งตะวันออกกับคลองบางเขนฝั่งเหนือ
แขวงเสนานิคม
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน
แขวงจรเข้บัว และแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงลาดยาว เขตจตุจักร
แนวเขตการปกครองของแขวงเสนานิคม
ทิศเหนือ จรดกับจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับคลองลาดพร้าวฝั่งเหนือ
ทิศตะวันออก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับขอบทางซอยพหลโยธิน
๓๒ ฟากเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับขอบทางซอยพหลโยธิน
๓๒ ฟากเหนือ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวขอบทางซอยพหลโยธิน ๓๒ ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางซอยพหลโยธิน ๓๒
ฟากเหนือกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางซอยพหลโยธิน
๓๒ ฟากเหนือกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือ
ตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
แขวงจันทรเกษม
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงเสนานิคม เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับแขวงจอมพล และแขวงลาดยาว
เขตจตุจักร
แนวเขตการปกครองของแขวงจันทรเกษม
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับขอบทางซอยพหลโยธิน
๓๒ ฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางซอยพหลโยธิน ๓๒ ฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางซอยพหลโยธิน ๓๒ ฟากเหนือกับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
ทิศตะวันออก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางซอยพหลโยธิน
๓๒ ฟากเหนือกับคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองลาดพร้าวฝั่งตะวันออกกับคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
ไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกถึงจุดบรรจบระหว่างของทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับขอบทางซอยพหลโยธิน ๓๒
ฟากเหนือ
แขวงจอมพล
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงดินแดง เขตดินแดง
และแขวงสามเสนใน เขตพญาไท
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงจตุจักร เขตจตุจักร
แนวเขตการปกครองของแขวงจอมพล
ทิศเหนือ
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับขอบทางซอยรัชดาภิเษก ๔๒
ฟากเหนือ
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางซอยรัชดาภิเษก
๔๒
ฟากเหนือกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างถนนรัชดาภิเษกฟากตะวันออกกับคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตก
ตามแนวคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือจนถึงจุดบรรจบระหว่างคลองน้ำแก้วฝั่งเหนือ
กับคลองพระยาเวิกฝั่งตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวคลองพระยาเวิกฝั่งตะวันออกถึงจุดบรรจบระหว่างคลองพระยาเวิกฝั่งตะวันออกกับคลองบางซื่อฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก
เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
แขวงจตุจักร
แนวเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงลาดยาว เขตจตุจักร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงจอมพล เขตจตุจักร
ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงสามเสนใน เขตพญาไท
ทิศตะวันตก ติดต่อกับแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ
แนวเขตการปกครองของแขวงจตุจักร
ทิศเหนือ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองประปาฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
ทิศตะวันออก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือกับขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกไปทางทิศใต้ตามแนวขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออก
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ทิศใต้ เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างขอบทางถนนพหลโยธินฟากตะวันออกกับคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
ไปทางทิศตะวันตกตามแนวคลองบางซื่อฝั่งเหนือ
สิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออก
ทิศตะวันตก เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างคลองบางซื่อฝั่งเหนือกับเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออกถึงจุดบรรจบระหว่างเขตทางรถไฟสายเหนือฟากตะวันออกกับเขตทางรถไฟสายใต้ฟากเหนือไปทางทิศตะวันตกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ฟากเหนือถึงจุดบรรจบระหว่างเขตทางรถไฟสายใต้ฟากเหนือกับคลองประปาฝั่งตะวันออกไปทางทิศเหนือตามแนวคลองประปาฝั่งตะวันออกสิ้นสุดที่จุดบรรจบระหว่างคลองประปาฝั่งตะวันออกกับขอบทางถนนรัชดาภิเษกฟากเหนือ
ตามแผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานครนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
แผนที่ท้ายประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงลาดยาว และตั้งแขวงเสนานิคม
แขวงจันทรเกษม
แขวงจอมพล แขวงจตุจักร เขตจตุจักร
พ.ศ.
๒๕๔๖
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
มยุรี/พิมพ์
๑๕
มีนาคม ๒๕๔๗
จีระ/พัชรินทร์/ตรวจ
๑๒
เมษายน ๒๕๔๗
A+B
[๑] รก.๒๕๔๖/พ๑๓๘ง/๒๘/๓ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
315548 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 44) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่
๔๔)
----------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๙/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๓
อนุมัติให้ยกฐานะฝ่ายชันสูตรสาธารณสุข กองควบคุม
โรค สำนักอนามัยขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกอง
อาศัยอำนาจตามตามในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช
การกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๓
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๑๗)
ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม
พ.ศ.๒๕๓๖ และ (ฉบับที่ ๒๘) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๑๓ สำนักอนามัย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองส่งเสริมสาธารณสุข
(๓) กองทันตสาธารณสุข
(๔) กองอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๕) กองสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๖) กองส่งเสริมสุขภาพ
(๗) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๘) กองควบคุมโรค
(๙) กองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๑๐)
กองเภสัชกรรม
(๑๑)
กองควบคุมโรคเอดส์
(๑๒)
กองชันสูตรสาธารณสุข
(๑๓)
ศูนย์บริการสาธารณสุข"
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๓
สมัคร สุนทรเวช
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๔๓/พ๑๑๗ง/๑๙/๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓]
อัมพิกา/แก้ไข
๒๓/๔/๒๕๔๕
B |
304778 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 35) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 35)
---------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ 9/2540 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540
อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างส่วน
ราชการตามแผนอัตรากำลัง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2540-2544)
ของสำนัก
สวัสดิการสังคม และสำนักพัฒนาชุมชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วน
ราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2528
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ในท้ายข้อ 23
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วน
ราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2528
(5) กองการกีฬา
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 30
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วน
ราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2528
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 13 )
ลงวันที่ 5
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่21
กุมภาพันธ์2537 และ(ฉบับที่ 25)
ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2538 ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 30
สำนักพัฒนาชุมชน มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานเลขานุการ,
(2) กองวิชาการและแผนงาน
(3) กองการพัฒนาชุมชน
(4)
กองส่งเสริมอาชีพ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540
พิจิตต รัตตกุล
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
316160 | *ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาเขตที่พึงมีในแต่ละเขต | เนเธกเนเธเธเนเธญเธเธชเธฒเธฃเธเธตเนเธเธธเธเธเนเธญเธเธเธฒเธฃ
The document that you would like to see is not found. |
304777 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 32) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 32)
_________
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการ
ประชุมครั้งที่ 3/2540 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2540
อนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้าง
ส่วนราชการตามแผนอัตรากำลัง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.
2540-2544)
ของสำนักเทศกิจ กองงบประมาณ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
และสำนักนโยบาย
และแผนกรุงเทพมหานคร โดยตัดโอนกองสารสนเทศที่ดิน
จากสำนักผังเมือง
ไปสังกัดสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร และตัดโอนกองประชาสัมพันธ์
ไปสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ
กรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม
2528
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ
ส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2528
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
9) ลงวันที่
22 มิถุนายน พ.ศ. 2532 (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 29 ธันวาคม
พ.ศ. 2536
(ฉบับที่ 26) ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 (ฉบับที่ 29)
ลงวันที่ 12
กันยายน พ.ศ. 2538 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.
2538 และ
(ฉบับที่ 31) ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2539
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 5 สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1)
สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(2) สำนักงานงบประมาณ
(3) กองกลาง
(4)
กองการเจ้าหน้าที่
(5)
กองกฎหมายและคดี
(6)
กองปกครองและทะเบียน
(7)
กองตรวจสอบภายใน
(8)
กองประชาสัมพันธ์
(9)
กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร'
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ
ส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2528
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
10) ลงวันที่
27 มิถุนายน พ.ศ. 2532 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 27 กันยายน
พ.ศ. 2538
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 9 สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
มีส่วนราชการ
ดังต่อไปนี้
(1)
สำนักงานเลขานุการ
(2)
กองนโยบายและแผนรวม
(3)
กองแผนสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม
(4)
กองแผนทรัพยากรมนุษย์และสังคม
(5)
กองแผนบริหารและการคลัง
(6)
กองการต่างประเทศ
(7)
กองพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
(8) กองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์
(9)
กองบริการระบบคอมพิวเตอร์
(10)
กองสารสนเทศที่ดิน'
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 26 ทวิ
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ
ส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2528
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
10) ลงวันที่
27 มิถุนายน พ.ศ. 2532 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 24 กันยายน
พ.ศ. 2535
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 26
ทวิ สำนักเทศกิจ
มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1)
สำนักงานเลขานุการ
(2)
กองวิชาการและแผนงาน
(3)
กองตรวจการเทศกิจ
(4)
กองบังคับการเทศกิจ
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 34
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ
ส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2528
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและ
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 26)
ลงวันที่
24 มกราคม พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 34 สำนักผังเมือง มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1)
สำนักงานเลขานุการ
(2)
กองวิชาการและแผนงาน
(3)
กองสำรวจและแผนที่
(4)
กองวางผังพัฒนาเมือง
(5)
กองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง
(6)
กองควบคุมทางผังเมือง
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
พิจิตต รัตตกุล
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
324825 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 42) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๒)
-------------
โดยที่คณะรัฐมนตรี
ได้มีมติเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๔๒ และคณะกรรมการ
ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่
๕/๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๒
และครั้งที่ ๑/๒๕๔๓ เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๓
อนุมัติให้จัดตั้งโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ขึ้นเป็น
ส่วนราชการใหม่สังกัดสำนักการแพทย์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วน
ราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการลงวันที่
๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
โดยยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วย
งานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗)
ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๑๑) ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒
(ฉบับที่ ๑๖) ลงวันที่ ๒๗
มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๒๘) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๓๘) ลงวันที่ ๓
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๑ สำนักการแพทย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองวิชาการ
(๓) วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
(๔)
วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
(๕) โรงพยาบาลกลาง
(๖) โรงพยาบาลตากสิน
(๗) โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(๘) โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโรอุทิศ
(๙) โรงพยาบาลหนองจอก
(๑๐)
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร
(๑๑) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
พิจิตต รัตตกุล
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๔๓/พ๒๑ง/๓๘/๗ มีนาคม ๒๕๔๓]
อาภรณ์/พิมพ์
๔/๑๒/๔๔ |
304776 | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง ห้ามโรงงานผลิตตู้เย็นที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Refrigerator) ใช้สาร ซี เอฟ ซี (CFCs) ใน กระบวนการผลิต | ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่
2 (พ.ศ. 2540)
ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535
เรื่อง
ห้ามโรงงานผลิตตู้เย็นที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Refrigerator)
ใช้สาร
ซี เอฟ ซี(CFCs) ในกระบวนการผลิต
---------
เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสาธารณชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32(2) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ห้ามโรงงานผลิตตู้เย็นที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Refrigerator)
ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 71 แห่งบัญชีท้ายกฎกระทรวง
(พ.ศ. 2535)
ใช้สาร ซี เอฟ ซี (CFCs) ในกระบวนการผลิต
ทั้งนี้
ตั้งแต่ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2540
กร ทัพพะรังสี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม |
315883 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 41) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔๑)
------------------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
มอบหมายให้ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณา
เปลี่ยนชื่อส่วนราชการกรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานครได้เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อกองนโยบาย
และส่งเสริมแวดล้อมสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
เป็นกองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ
ภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยยกเลิกความในข้อ ๕ (๑๑)
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการ
ภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วย
งานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๙) ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๓๒ (ฉบับที่ ๑๘) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
(ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๒๔ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๓๘ (ฉบับที่ ๒๙) ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘
(ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ ๒๗ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๘
(ฉบับที่ ๓๑) ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ (ฉบับที่ ๓๒) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๔๐ และ (ฉบับที่ ๓๔) ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๑๑)
กองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม"
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒
พิจิตต รัตตกุล
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๔๒/พ๙๙ง/๑๑/๓ ธันวาคม ๒๕๔๒]
อาภรณ์/พิมพ์
๒๖/๑๒/๔๔ |
315385 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศชื่อประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร | ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
ประกาศชื่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
------------
ด้วยในคราวประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมัยประชุมสามัญ สมัยที่ ๒
(ครั้งที่ ๖) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔
พฤษภาคม ๒๕๔๓ ที่ประชุมสภา
กรุงเทพมหานคร
ได้ลงมติเลือกตั้งประธานสภากรุงเทมหานครและรองประธานสภา
กรุงเทพมหานครขึ้นใหม่
แทนประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ครบกำหนดตามวาระสองปี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช
การกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๘
แห่งข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๔๑ ประกอบกับมติที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครในวันดังกล่าว
ได้เลือกสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ดังนี้
๑. นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ เป็น ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๒. นายบำรุง รัตนะ เป็น
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
คนที่หนึ่ง
๓. นายอภิชาติ หาลำเจียก เป็น
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
คนที่สอง
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ชำนิ ศักดิเศรษฐ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ
รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
[รก.๒๕๔๓/พ๗๒ง/๑/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓]
อัมพิกา/แก้ไข
๓/๕/๒๕๔๕
B |
315508 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดระยะเวลาการคงอยู่ของตำแหน่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในเขตกรุงเทพมหานคร | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การกำหนดระยะเวลาการคงอยู่ของตำแหน่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล
สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ในเขตกรุงเทพมหานคร
---------
ด้วยกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งให้กรุงเทพมหานครทราบว่า
การที่กรุงเทพมหานครยังคงตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนันและผู้
ช่วยผู้ใหญ่บ้านไว้ในเขตกรุงเทพมหานครนั้นไม่สอดคล้องกับนโนบายของรัฐบาลในปัจจุบัน
เนื่อง
จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
และนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นให้มีการ
กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระสามารถแก้ไขปัญหาและ
คุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในส่วนของกรมการปกครอง
ได้มีการเสนอพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลที่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลทั่ว
ประเทศรวม ๙๘๑ แห่ง
จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้เท่าวาระที่เหลืออยู่แต่ ไม่เกิน ๕ ปี
ดังนั้น
เพื่อให้บริหารราชการของกรุงเทพมหานครสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว
ประกอบกับ
กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศและพื้นที่มีความเจริญจนสามารถยกฐานะขึ้นเป็น
ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วทั้งเขตกรุงเทพมหานคร
จึงสมควรที่จะได้กำหนดระยะเวลาการคงอยู่
ของตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล
สารวัตรกำนันและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของ
กรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับสภาพความเจริญของพื้นที่ซึ่งได้พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดย
ลำดับและต่อเนื่องมาโดยตลอด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช
การกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้กำหนดระยะเวลาการคงอยู่ในตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่
บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนี้
๑. ให้บรรดาบุคคลที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน
และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ในเขตกรุงเทพมหานครยังคงมีอำนาจหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าจะพ้นจาก
ตำแหน่งหรือครบวาระแต่ไม่เกินวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗
และมิให้นำกฎหมายว่าด้วยลักษณะ
ปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำ
ตำบล
และสารวัตรกำนันมาใช้บังคับในเขตกรุงเทพมหานครนับแต่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
๒.
ให้บรรดาบุคคลที่เป็นสารวัตรกำนันพ้นจากตำแหน่งและหน้าที่เมื่อกำนันที่
ตนสังกัดพ้นจากตำแหน่ง
๓. ให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุ
เบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
พิจิตต รัตตกุล
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๔๓/พ๙ง/๔/๓๑ มกราคม ๒๕๔๓]
อัมพิกา/แก้ไข
๓/๕/๒๕๔๕
B |
316755 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 30) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓๐)
---------------------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่
๘/๒๕๓๘ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๘
อนุมัติให้ตัดโอนกองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัด
กรุงเทพมหานคร ไปสังกัดสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร
และตัดโอนกลุ่มงานวิเทศ
สัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
จัดตั้งเป็นกองการต่างประเทศ สำนักนโยบายและแผน
กรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่ง
ส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลง
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วน
ราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่
๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ
ภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๘) ลง
วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ (ฉบับที่ ๒๖) ลงวันที่ ๒๔
มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และ (ฉบับที่ ๒๙)
ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๕ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) กองกลาง
(๒)
กองการเจ้าหน้าที่
(๓)
กองฝึกอบรม
(๔)
กองงบประมาณ
(๕)
กองกฎหมายและคดี
(๖)
กองปกครองและทะเบียน
(๗)
กองตรวจสอบภายใน
(๘)
กองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร"
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้ เป็น (๗) และ (๘) ของข้อ ๙ แห่งประกาศ
กรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจ
หน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๑๐) ลงวันที่
๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๒
"(๗)
กองประชาสัมพันธ์
(๘) กองการต่างประเทศ"
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘
ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๘/๘๔ง/๒๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๘]
จารุวรรณ/แก้ไข
๒๑
สิงหาคม ๒๕๔๕
B+A
(C) |
325533 | ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงเทศบาล (กรุงเทพมหานคร) เรื่อง ห้ามยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนดเดินบนทางหลวงเทศบาลในเขตกรุงเทพมหานคร | ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงเทศบาล
ประกาศผู้อำนวยการทางหลวงเทศบาล
(กรุงเทพมหานคร)
เรื่อง
ห้ามยานพาหนะบรรทุกน้ำหนักลงเพลาเกินกว่าที่ได้กำหนด
เดินบนทางหลวงเทศบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
-------------------------
ด้วยปรากฏว่าถนนบางสายในเขตกรุงเทพมหานครมีผู้ใช้รถยนต์บรรทุกขนาด
ใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักเกินกว่าที่ถนนในเขตกรุงเทพมหานครจะรับน้ำหนักได้
ทำให้ถนนสายต่างๆ
ชำรุดเสียหาย
กรุงเทพมหานครต้องสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมากในการบูรณะซ่อมแซม
อันมีผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติเป็นส่วนรวม
แล้วยังอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อ
ผู้ขับขี่ยานพาหนะอื่นด้วย
ดังนั้น
เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานคร ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด
และผู้อำนวยการทางหลวงเทศบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕๖ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่
๒๙๕ ลงวันที่ ๒๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ประกอบมาตรา ๕๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงประกาศห้ามยานพาหนะที่มีน้ำหนักลงเพลาเกินกว่า ๑๒ ตัน
ผ่านเข้าถนนในเขตมีนบุรี ดังต่อไปนี้
๑.
ถนนเข้าโรงเรียนสุเหร่าคลองสี่และวัดศรีสุข (ถนนไมตรีจิต)
๒. ถนนราษฎร์อุทิศ
๓. ถนนเลียบคลองสอง
๔. ถนนพระยาสุเรนทร์
๕. ถนนวัดทองสัมฤทธิ์
๖. ถนนเข้าวัดสุขใจ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์
๒๕๓๕
ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในฐานะผู้อำนวยการทางหลวงเทศบาล
[รก.๒๕๓๕/๓๕/๓๑๒๗/๑๒ มีนาคม ๒๕๓๕]
พุทธชาด/แก้ไข
๑๖/๐๙/๔๕
A+B
( C) |
309060 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 15) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๕)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๓๕ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๕
เห็นชอบให้ปรับปรุงส่วนราชการของสำนักเทศกิจใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๐) เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๒ โดยให้ยกเลิกความใน ข้อ ๓
และให้เพิ่มความต่อไปนี้ในท้าย ข้อ ๒๖ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘
ข้อ ๒๖ ทวิ สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองวิชาการ
(๓)
กองตรวจการเทศกิจ
(๔)
กองบังคับการเทศกิจ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕
ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อัมภิญา/พิมพ์
๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๑๐๔/หน้า ๙๗/๓๐ กันยายน ๒๕๓๕ |
321703 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 13) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๓)[๑]
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๓๕ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๕
เห็นชอบให้ตั้งสำนักพัฒนาชุมชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน ข้อ ๒๒
ของประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๒ สำนักสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์
การจัดให้มีและบำรุงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การส่งเสริมกีฬา การนันทนาการ
และการพัฒนาเยาวชน
ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๑๗
แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘
หมวด
๑๗
สำนักพัฒนาชุมชน
ข้อ
๒๙
สำนักพัฒนาชุมชน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และการส่งเสริมอาชีพ
ข้อ
๓๐
สำนักพัฒนาชุมชน มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการ
(๒)
กองพัฒนาชุมชน
(๓)
กองส่งเสริมอาชีพ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา
ปลัดกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อัมภิญา/พิมพ์
๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘/หน้า ๑๖/๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ |
304773 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 17) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 17)
----------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุม
ครั้งที่ 8/2536 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2536
เห็นชอบให้จัดตั้งกองควบคุมโรคเอดส์
สังกัดสำนักอนามัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 8) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 12)
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536
โดยให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้ในท้ายข้อ 13
`(14)
กองควบคุมโรคเอดส์'
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536
ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
316668 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ 3) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๓)
-----------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดที่จอด
ยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๒)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๑๑
แห่งข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ พ.ศ.
๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพ
มหานครจึงให้ยกเลิกความในข้อ ๑ แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์
และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙
ตุลาคม ๒๕๓๗ และให้ใช้ความ
ต่อไปนี้แทน
"ข้อ
๑ กำหนดที่จอดยานยนตร์ ในช่วงนอกเวลาห้ามจอดรถ ในถนนสายต่างๆ
ดังนี้
(๑) ถนนทรงสวัสดิ์
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนเยาวราช
(๒) ถนนพาดสาย
ตั้งแต่แยกถนนเยาวพานิช ถึงแยกถนนทรงสวัสดิ์
(๓) ถนนเยาวพานิช
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนพาดสาย
(๔) ถนนทรงวาด
ตั้งแต่แยกถนนราชวงศ์ ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๕) ถนนมหาจักร
ตั้งแต่แยกถนนหลวง ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๖) ถนนสันติภาพ
ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๗) ถนนไมตรีจิตต์
ตั้งแต่ห้าแยกพลับพลาไชย ถึงแยกสะพานเจริญสวัสดิ์
(๘) ถนนมิตตพันธ์
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๙) ถนนรอบวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม
ฝั่งรอบนอกวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม
(๑๐) ถนนลำภุญไชย
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนเยาวราช
(๑๑) ซอยธนาคารกรุงเทพอุทิศ
ตั้งแต่แยกถนนเสือป่า ถึงแยกถนนพลับพลาไชย
(๑๒) ถนนยมราชสุขุม
ตั้งแต่แยกถนนวรจักร ถึงแยกถนนพลับพลาไชย
(๑๓) ถนนหลวง
ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๑๔) ถนนสาลีรัฐวิภาค
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนสุทธิสารวินิจฉัย
(๑๕) ถนนประดิพัทธ์
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนพระรามที่ ๖
(๑๖) ถนนรองเมือง
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนพระรามที่ ๑
(๑๗) ซอยรองเมือง ๑
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๑๘) ซอยรองเมือง ๒
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๑๙) ซอยรองเมือง ๓
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๒๐) ซอยรองเมือง ๔
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง ๕
(๒๑) ซอยรองเมือง ๕
ตั้งแต่แยกถนนจรัสเมือง ถึงแยกถนนพระรามที่ ๑
(๒๒) ถนนจรัสเมือง
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกถนนบรรทัดทอง
(๒๓) ถนนเจริญเมือง
ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกถนนบรรทัดทอง
(๒๔) ถนนมหานคร
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนสี่พระยา
(๒๕) ถนนมหรรณพ
ตั้งแต่แยกถนนดินสอ
ถึงแยกถนนตะนาว
(๒๖) ถนนบริพัตร
ตั้งแต่แยกถนนเยาวราช ถึงแยกถนนดำรงรักษ์
(๒๗) ถนนพาหุรัด
ตั้งแต่แยกถนนบ้านหม้อ ถึงแยกถนนจักรเพชร
(๒๘) ถนนบูรพา
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนพาหุรัด
(๒๙) ถนนพระสุเมรุ
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงหน้าป้อมพระสุเมรุ
(๓๐) ถนนนครสวรรค์
ตั้งแต่แยกถนนจักรพรรดิพงษ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๓๑) ถนนบ้านหม้อ
ตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๓๒) ถนนวิสุทธิกษัตริย์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินนอก ถึงแยกถนนสามเสน
(๓๓) ถนนนครไชยศรี
ตั้งแต่แยกถนนสวรรคโลก ถึงแยกถนนสามเสน
(๓๔) ถนนประชาราษฎร์สาย ๒
ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์ ถึงแยกถนนประชาราษฎร์สาย ๑
(๓๕) ถนนท่าดินแดง
ตั้งแต่แยกถนนลาดหญ้า
ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๓๖) ถนนรอบตลาดใต้สะพานรัชดาภิเษก (ตลาดพลู)
ตั้งแต่แยกถนนเทอดไท ถึงท่าน้ำคลองบางหลวง
(๓๗) ถนนรามบุตรี
ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์ ถึงแยกถนนตะนาว
(๓๘) ถนนพระอาทิตย์
ตั้งแต่ทางเข้าวัดสังเวช ถึงแยกถนนเจ้าฟ้า
(๓๙) ถนนอัษฎางค์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินกลาง ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๔๐) ถนนมหาราช
ตั้งแต่หน้าโรงเรียนราชินี ถึงแยกถนนหน้าพระลาน
(๔๑) ถนนเจริญรัถ
ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงแยกถนนเจริญนคร
(๔๒) ถนนบางกอกน้อย - ตลิ่งชัน
ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงสะพานข้ามคลองชักพระ
(๔๓) ถนนเจ้าสาย (กะทะ)
ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๔) ถนนมังกร
ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๕) ซอยพันธ์จิตต์
ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๔๖) ซอยนานา
ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ ๔ ถึงแยกถนนไมตรีจิตต์
(๔๗) ถนนกรุงเกษม
ตั้งแต่แยกสะพานเจริญสวัสดิ์ ถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยา
(๔๘) ถนนพลับพลาไชย
ตั้งแต่แยกถนนบำรุงเมือง
ถึงแยกถนนเจริญกรุง
(๔๙) ถนนพรานนก
ตั้งแต่แยกถนนอิสรภาพ ถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์
(๕๐) ถนนข้าวสาร
ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์ ถึงแยกถนนตะนาว
(๕๑) ถนนจักรพรรดิพงษ์
ตั้งแต่แยกถนนราชดำเนินนอก ถึงแยกถนนหลานหลวง
(๕๒) ถนนลูกหลวง
ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนหลานหลวง
(๕๓) ถนนอำนวยสงคราม
ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนพิชัย
(๕๔) ถนนประชาราษฎร์สาย ๑
ตั้งแต่เชิงสะพานพิบูลย์สงคราม ถึงเชิงสะพานพระรามที่ ๖
(๕๕) ถนนกรุงเทพ - นนท์
ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์สาย ๒ ถึงทางรถไฟ
(๕๖) ถนนเฟื่องนคร
ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนบำรุงเมือง
(๕๗) ถนนบุญศิริ
ตั้งแต่แยกถนนตะนาว ถึงแยกถนนอัษฎางค์
(๕๘) ถนนเจริญกรุง
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี
(๕๙) ถนนพระพิพิธ
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี
(๖๐) ถนนสนามไชย
ตั้งแต่แยกถนนมหาราช ถึงแยกถนนราชดำเนินใน
(๖๑) ซอยเศรษฐการ
ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนมหาราช
(๖๒) ถนนดำรงรักษ์
ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร ถึงแยกถนนกรุงเกษม
(๖๓) ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์)
ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกซอยอารีย์ ๕
(๖๔) ถนนอรุณอัมรินทร์
ตั้งแต่แยกถนนพรานนก ถึงเชิงสะพานคลองมอญ
(๖๕) ถนนสารสิน
ตั้งแต่แยกถนนวิทยุ ถึงแยกราชดำริ"
ประกาศ ณ วันที่ ๑ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๓๘
ปัจจัย บุนนาค
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๘/๒๕ง/๒๑/๒๘ มีนาคม ๒๕๓๘]
จารุวรรณ/แก้ไข
๑๙
สิงหาคม ๒๕๔๕
A+B
(C) |
304767 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 6)
----------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
9/2531 เมื่อวันที่
22 ธันวาคม 2531
เห็นชอบให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนักการระบายน้ำใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2528 โดยให้ยกเลิกความในข้อ 19
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 19 สำนักการระบายน้ำ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานเลขานุการ
(2) กองควบคุมระบบระบายน้ำ
(3) กองบำรุงรักษาคลอง
(4) กองควบคุมน้ำเสีย
(5) กองวิชาการ
(6) กองเครื่องจักรกล'
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2532
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
304769 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 9) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 9)
----------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2532
เมื่อวันที่ 20
เมษายน 2532
เห็นชอบให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานครใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2528 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2528 โดยให้ยกเลิก
ความในข้อ 5 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 5 สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1)
กองกลาง
(2)
กองการเจ้าหน้าที่
(3)
กองฝึกอบรม
(4)
กองผังเมือง
(5)
กองงบประมาณ
(6)
กองกฎหมายและคดี
(7)
กองปกครองและทะเบียน
(8)
กองประชาสัมพันธ์
(9)
กองวิศวกรรมจราจร
(10)
กองตรวจสอบภายใน'
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2532
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
319790 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 10) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 10)
----------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
4/2532 เมื่อวันที่
5 มิถุนายน 2532
เห็นชอบให้ปรับปรุงส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหา
นคร สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร และสำนักเทศกิจใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2528 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2528 ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ในท้ายข้อ 3 แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการ
ภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2528
`ข้อ 3 ทวิ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1)
กองบริหารทั่วไปและการสอบ
(2)
กองตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
(3)
กองวินัย
(4)
กองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ'
ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายใน
หน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2528และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
`ข้อ 9 สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1)
สำนักงานเลขานุการ
(2)
กองนโยบายและแผนรวม
(3)
กองแผนสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม
(4)
กองแผนเศรษฐกิจและสังคม
(5)
กองแผนบริหารและการคลัง
(6)
กองคอมพิวเตอร์'
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ในท้ายข้อ 26 แห่งประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วน
ราชการภายในหน่วยงานและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม
`ข้อ 26 ทวิ สำนักเทศกิจ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(1) สำนักงานเลขานุการ
(2) กองวิชาการ
(3) กองสอบสวนและคดี
(4)
กองบังคับคดี'
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
304768 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟ
และทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร
----------
ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นเป็นการสมควรกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศ
ของอาคารตามสภาพที่เหมาะสม ทั้งนี้
เพื่อให้ผู้อยู่ภายในอาคารที่ถูกเพลิงไหม้สามารถใช้บันไดหนีไฟลงสู่
พื้นดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตามลักษณะแบบของอาคารที่ได้รับอนุญาต และเพื่อให้ผู้ประสบภัย
สามารถออกจากอาคารทางอากาศได้อย่างรวดเร็วและฉับไวทันต่อเหตุการณ์
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 24 และข้อ 46 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
ควบคุมการก่อ
สร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จึงกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทาง
หนีไฟทางอากาศไว้ ดังต่อไปนี้
1. ตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูง 4 ชั้น
แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟเพิ่มเติมจาก
บันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.1
อนุญาตให้ใช้บันไดหนีไฟเป็นบันไดแนวดิ่งหรือบันไดลิงสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ
และให้ติด
ตั้งในส่วนที่ว่างทางเดินหลังอาคารได้
1.2
มีความกว้างไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ระยะห่างของบันไดแต่ละขั้นไม่น้อยกว่า 50
เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 60 เซนติเมตร
บันไดขั้นล่างสุดท้ายอยู่ห่างจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3.50 เมตร
1.3
ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องอยู่ในทางทิศตรงกันข้ามกับบันไดหลักและอยู่ใกล้กับช่องเปิดของประตู
หรือหน้าต่าง
ตึกแถวเพื่อการพาณิชย์หรือพักอาศัยที่มีความสูงเกินกว่า 4 ชั้นดาดฟ้า
แต่ละหน่วยต้องมีบันไดหนีไฟ
ตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งและต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
2. อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้น แต่ไม่เกิน 7
ชั้น ดาดฟ้า ต้องมีบันไดหนี
ไฟภายในหรือภายนอกอาคารเพิ่มเติมจากบันไดหลักในอาคารตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.1
ต้องสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ
2.2
บันไดแต่ละช่วงสูงไม่เกินความสูงระหว่างชั้นของอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90
เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
2.3
ตำแหน่งที่ตั้งต้องมีระยะระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่ตัวบันไดกับกึ่งกลางประตูห้องสุด
ท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตัน ไม่เกิน 10 เมตร
ในกรณีที่จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง อนุญาต
ให้ใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟได้ด้วยโดยมีระยะห่างตามทางเดินระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกบันไดไม่
เกิน 60 เมตร
2.4
ทางเข้าออกหรือช่องประตูสู่บันไดหนีไฟ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร
และสูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร
2.5
ต้องมีป้ายเรืองแสง หรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉินบอกทางออกสู่
บันไดหนีไฟ
ติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินและบริเวณหน้าทางออกสู่บันไดหนีไฟ
ทางออกจากบันไดหนีไฟสู่
ภายนอกอาคาร หรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัยต่อเนื่อง
ให้ติดตั้งป้ายที่มีแสงสว่างข้อความ ` ทางออก '
หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างแสดงว่าเป็นทางออกให้ชัดเจน
3. โรงมหรสพ หอประชุมที่สร้างสูงเกินหนึ่งชั้น หรืออาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม
1 ที่มีความสูงเกิน
7 ชั้น ดาดฟ้า แต่ไม่เกิน 12 ชั้น ดาดฟ้า
ต้องมีบันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคารเพิ่มเติมจากบันได
หลักในอาคาร ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1
ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องมีผนังทนไฟโดยรอบ ส่วนบันได
หนีไฟนอกอาคารต้องมีผนังทนไฟระหว่างบันไดกับตัวอาคาร
และผนังทนไฟต้องมีลักษณะดังนี้
3.1.1 ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กความหนาไม่น้อยกว่า 12 เซนติเมตร
3.1.2 ผนังอิฐ
ความหนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
3.1.3 ผนังคอนกรีตบล๊อค ความหนาไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร
3.1.4 ผนังวัสดุอย่างอื่น ต้องมีอัตราการทนไฟ ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
3.2
บันไดแต่ละช่วงสูงได้ไม่เกินความสูงระหว่างชั้นของอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90
เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
และลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร
3.3
ตำแหน่งที่ตั้งต้องมีระยะระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่ตัวบันไดกับกึ่งกลางประตูห้องสุด
ท้ายด้านทางเดินที่เป็นทางตัน ไม่เกิน 10 เมตร ในกรณีที่จำเป็นต้องมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง
อนุญาตให้ใช้บันไดหลักเป็นบันไดหนีไฟด้วย
โดยมีระยะห่างตามทางเดินระหว่างกึ่งกลางทางเข้าออกสู่บันได
ไม่เกิน 60 เมตร
3.4
ทางเข้าออกหรือช่องประตูสู่บันไดหนีไฟต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร
และสูงไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร และต้องมีลักษณะดังนี้
3.4.1 ช่องทางเข้าออกต้องมีบานประตูและวงกบทำด้วยวัสดุที่สามารถทนไฟได้ไม่
น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
3.4.2
มีอุปกรณ์ทำให้บานประตูปิดสนิทเพื่อป้องกันควันและเปลวไฟมิให้เข้าสู่บันได
พร้อมมีอุปกรณ์ควบคุมให้บานประตูปิดอยู่ตลอดเวลาและสามารถผลักเปิดได้ตลอดเวลา
แม้ในขณะที่ประตู
ได้รับความร้อน
3.4.3 บานประตูต้องเป็นบานเปิดเท่านั้น ห้ามใช้บานเลื่อนและห้ามมีธรณีประตู
3.4.4 ต้องมีชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 1.2 เท่า
ของความกว้างของบันไดนั้น ๆ
3.4.5 ทิศทางการเปิดของประตูต้องเปิดเข้าสู่บันไดเท่านั้นนอกจากชั้นดาดฟ้า
ชั้น
ล่างและชั้นที่เข้าออกเพื่อหนีไฟสู่ภายนอกอาคารให้เปิดออกจากห้องบันไดหนีไฟ
3.4.6 ห้ามติดตั้งสายยู ห่วง โซ่ กลอน หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่อาจยึด
หรือคล้องกุญแจขัดขวางไม่ให้เปิดประตูจากภายในอาคาร
3.4.7
กรณีที่ติดตั้งกุญแจกับบานประตูเพื่อป้องกันบุคคลเข้าอาคารจากภายนอกให้ติด
ตั้งแบบชนิดที่ภายในเปิดออกได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้กุญแจ
ส่วนภายนอกเปิดได้โดยใช้กุญแจเท้านั้น
3.5
ต้องมีป้ายเรืองแสงหรือเครื่องหมายไฟแสงสว่างด้วยไฟสำรองฉุกเฉิน บอกทางออก
สู่บันไดหนีไฟติดตั้งเป็นระยะตามทางเดินและบริเวณหน้าประตู
หรือทางออกสู่บันไดหนีไฟ ส่วนประตูทาง
ออกจากบันไดหนีไฟสู่ภายนอกอาคารหรือชั้นที่มีทางหนีไฟได้ปลอดภัยต่อเนื่องให้ติดตั้งป้ายที่มีแสงสว่างข้อ
ความ `ทางออก' หรือเครื่องหมายที่มีแสงสว่างแสดงว่าเป็นทางออกให้ชัดเจน
3.6
บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำเป็นห้องบันไดหนีไฟที่มีระบบอัดลมภายในความดันขณะ
ใช้งาน 0.25-0.38 มิลลิเมตรของน้ำ ทำงานเป็นแบบอัตโนมัติโดยแหล่งไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิด
เพลิงไหม้
3.7
บันไดหนีไฟภายในหรือภายนอกอาคาร ที่มีผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ ต้องมีช่อง
เปิดทุกชั้นเพื่อช่วยระบายอากาศ
3.8
ภายในบันไดหนีไฟจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางหนีไฟสามารถหนีไฟทางบันไดต่อเนื่องกัน
ถึงระดับดินหรือออกสู่ภายนอกอาคารที่ระดับไม่ต่ำกว่าชั้นสองได้โดยสะดวกและปลอดภัย
ต้องมีเฉพาะ
ประตูทางเข้าและทางออกฉุกเฉินเท่านั้น
ห้ามทำประตูเชื่อมต่อกับห้องอื่น เช่น ห้องสุขา ห้องเก็บของ เป็นต้น
และต้องมีหมายเลขบอกชั้นของอาคารภายในบันไดหนีไฟ
3.9
ต้องมีระบบการให้แสงสว่างฉุกเฉินภายในบันไดหนีไฟและหน้าบันไดหนีไฟ โดยใช้พลัง
งานไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินอย่างเพียงพอที่สามารถให้แสงสว่างได้ไม่น้อยกว่า
2 ชั่วโมง แสงสว่างจะต้อง
เปิดโดยอัตโนมัติทันทีที่กระแสไฟฟ้าในอาคารขัดข้อง
4. อาคารที่ไม่ใช่ตึกแถวตาม 1 ที่มีความสูงเกิน 12 ชั้น
ขึ้นไปกำหนดให้มีบันไดหนีไฟเหมือน
อาคารตาม 3
แต่ทางหนีไฟที่ต่อเชื่อมระหว่างบันไดหนีไฟที่แยกอยู่คนละที่ไม่ต่อเนื่องกัน
ต้องจัดให้มีระบบ
อัดลมภายในตาม 3.6 ด้วย
ส่วนบันไดหลักหรือบันไดอื่นที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างชั้น ตั้งแต่ชั้น 3 ขึ้นไป
ให้
ออกแบบให้ใช้เป็นบันไดหนีไฟเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งบันไดด้วย
5. อาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยอยู่ต่ำกว่าระดับดินมากกว่า 2 ชั้น
ต้องมีบันไดหนีไฟสู่ระดับพื้นดินเป็นระบบ
บันไดหนีไฟภายในอาคารดังรายละเอียดที่กำหนดไว้ตาม 4
6. อาคารที่สูงเกิน 7 ชั้น ให้มีพื้นที่ดาดฟ้าส่วนหนึ่งเป็นที่ว่างเพื่อใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศได้
และต้องจัดให้มีทางหนีไฟบนชั้นดาดฟ้านำไปสู่บันไดหนีไฟได้อีกทางหนึ่ง
หรือมีอุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟ
จากอาคารลงสู่พื้นดินได้โดยปลอดภัย
7. ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับอาคารที่ได้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้
บังคับ
8. ประกาศกรุงเทพมหานครฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน
นับแต่วันประกาศ
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
319788 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
( ฉบับที่ 3 )
------------
โดยที่ ก.ก.
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 7/2530 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2530 เห็นชอบให้ปรับ
ปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนักอนามัยใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2528
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2528 โดยให้เพิ่ม
ความต่อไปนี้ในท้ายข้อ 13
`(11)
โรงพยาบาลชุมชนลาดกระบัง'
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร |
317105 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 12) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนดอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๒)
------------------------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
"ให้ฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณา
เปลี่ยนชื่อส่วนราชการกรุงเทพมหานครโดยไม่ต้องนำเสนอ ก.ก.
พิจารณา"
เนื่องจากโรงพยาบาลลาดกระบัง
ซึ่งเป็นส่วนราชการหนึ่งของสำนักอนามัย
กรุงเทพมหานคร มีชื่อซ้ำซ้อนกับโรงพยาบาลของเอกชน
อาจทำให้เกิดความสับสนในการประสาน
งานและเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพหมานครได้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) เมื่อ
วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๒ โดยให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๓ (๑๓)
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
"ข้อ ๑๓ สำนักอนามัย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
ฯลฯ
(๑๓) โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒
ธำรง พัฒนรัฐ
ที่ปรึกษากรุงเทพมหานคร ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๓/๑๒/๑๖/๑๘ มกราคม ๒๕๓๓]
เพ็ญพร/พิมพ์
๕/๐๙/๔๕
B+A
(C) |
327234 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดแบบแปลน แผนผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของห้องแถว ตึกแถว ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดแบบแปลน แผนผัง
และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
ของห้องแถว
ตึกแถว ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก
-----------------------------
เพื่อส่งเสริมดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่หรือวัตถุที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่า
ในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี
ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์
ชั้นนอกให้คงอยู่เป็นมรดกของชาติสืบไป
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ (๑๐) แห่งข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร
เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด
หรือบางประเภท
ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกในท้องที่แขวงชนะสงคราม แขวงตลาด
ยอด แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงบวรนิเวศ แขวงเสาชิงช้า
แขวงราชบพิธ แขวงสำราญราษฎร์ และ
แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๐ กรุงเทพมหานครจึงประกาศ
กำหนดแบบแปลน แผนผัง และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
สำหรับการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
ห้องแถว ตึกแถว ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกไว้
ดังต่อไปนี้
๑. ความกว้าง ความลึกของห้อง ที่ว่าง แนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของอาคาร
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอาคาร
๒.
ที่จอดรถยนต์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยที่จอดรถยนต์
๓. ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
(๑) หลังคา ให้เป็นหลังคาทรงจั่ว หรือปั้นหยา มีความลาดเอียงเข้าหา
ถนนด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า ๓๐ องศา
และระยะแนวราบจากกึ่งกลางเสาด้านหน้าถึงแนวสัน
หลังคาไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของความลึกของห้อง
และต้องไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร
มุงด้วย
กระเบื้องสีแดง (สีอิฐ) หรือสีเทา
โดยให้เลือกใช้สีใดสีหนึ่งของอาคารแต่ละแถว
(๒) ให้ความสูงใต้กันสาดชั้นล่างเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอาคารและให้
มีความลาดเอียงของกันสาดไม่ต่ำกว่า ๘ องศา มุงด้วยกระเบื้องชนิดและสีเหมือนหลังคา
(๓) กันสาดเหนือขอบหน้าต่าง
มีความลาดเอียงไม่ต่ำกว่า ๘ องศา มุงด้วย
กระเบื้องชนิดและสีเหมือนหลังคา
(๔) ประตู หน้าต่างด้านหน้า ขนาด ระยะ และสัดส่วน ให้เหมือนอาคาร
เดิมหรืออาคารข้างเคียง
(๕) สีภายนอกของอาคารแต่ละแถวให้ใช้สีครีม
หรือสีเนื้อ หรือสีเทาอ่อน
หรือสีขาว
(๖) ผนังภายนอกอาคาร ให้ก่ออิฐฉาบปูน ทาสี
และห้ามใช้วัสดุสะท้องแสง
(๗) ห้ามติดตั้งวางอุปกรณ์ประเภทกันสาด
เครื่องปรับอากาศ เสาอากาศ
โทรทัศน์หรือวิทยุ หรือส่วนยื่นอื่น ๆ ด้านหน้าอาคาร
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๑
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๑/๒๗/๕๓/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑]
ธิดาวรรณ
/ แก้ไข
๒๗ ก.ย. ๒๕๔๕
B+A(C) |
304770 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๓)
-----------------------
เพื่อให้การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
เนื่องจากได้มีประกาศกระทรวงมหาไทย ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน
๒๕๓๒ เรื่อง เปลี่ยนแปลง
พื้นที่ เขตยานนาวา และตั้งเขตสาธร และเขตบางคอแหลม, เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดุสิต
และ
ตั้งเขตบางซื่อ, เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพญาไท
และตั้งเขตราชเทวี, เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง
และตั้งเขตคลองเตย และเขตประเวศ, เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย
และตั้งเขตบางพลัด,
เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางขุนเทียนและตั้งเขตจอมทอง รวม ๖
ฉบับ จึงเห็นสมควรแก้ไขปรับปรุง
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานครใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการ
กรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุม ก.ก. ครั้งที่ ๘/๒๕๓๒
เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
อนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานเขตเพิ่มใหม่ จำนวน ๘ สำนักงานเขต
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ
กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ เรื่อง
จัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
และประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๓๒ เรื่อง
จัดระเบียบราชการของ
กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) โดยให้เพิ่มความต่อไปนี้ในท้ายข้อ
๔๓
"๔๔ สำนักงานเขตสาธร
๔๕
สำนักงานเขตบางคอแหลม
๔๖
สำนักงานเขตบางซื่อ
๔๗
สำนักงานเขตราชเทวี
๔๘
สำนักงานเขตคลองเตย
๔๙
สำนักงานเขตประเวศ
๕๐
สำนักงานเขตบางพลัด
๕๑ สำนักงานเขตจอมทอง"
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒
ธำรง พัฒนรัฐ
นักบริหาร ๑๑ ที่ปรึกษากรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๒/๒๑๒/๕๕๑/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๒]
พุทธชาด/แก้ไข
๑๑/๐๙/๔๕
A+B
( C ) |
304771 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 11) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน
และการกำหนด
อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๑๑)
---------------------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๗/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๒
เห็นชอบให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนัก
แพทย์ใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ
กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๒
โดยให้เพิ่มความต่อไปนี้
ในท้ายข้อ ๑๑
"(๘)
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธโร อุทิศ"
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่
๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒
ธำรง พัฒนรัฐ
ที่ปรึกษากรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง
ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๒/๒๒๗/๒๖พ/๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒]
พุทธชาด/แก้ไข
๑๑/๐๙/๔๕
B+A
( C) |
319789 | ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 8) | ประกาศกรุงเทพมหานคร
ประกาศกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการ
กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)
-----------------------
โดยที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้มีมติในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๓๒ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๒
เห็นชอบให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนัก
อนามัย และสำนักการโยธาใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การ
แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓
และข้อ ๑๗ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้
"ข้อ ๑๓ สำนักอนามัย มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองส่งเสริมสาธารณสุข
(๓) กองทันตสาธารณสุข
(๔) กองอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๕) กองสัตวแพทย์สาธารณสุข
(๖) กองส่งเสริมสุขภาพ
(๗) กองการพยาบาลสาธารณสุข
(๘) กองควบคุมโรค
(๙) กองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(๑๐) กองเภสัชกรรม
(๑๑) ศูนย์บริการสาธารณสุข
(๑๒) โรงพยาบาลหนองจอก
(๑๓) โรงพยาบาลลาดกระบัง
ข้อ ๑๗ สำนักการโยธา มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการ
(๒) กองออกแบบ
(๓) กองก่อสร้างและบูรณะ
(๔) กองคุมการก่อสร้าง
(๕) กองควบคุมอาคาร
(๖) กองรังวัดและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
(๗) กองวิชาการ
(๘) กองวิเคราะห์และวิจัย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
พลตรี
จำลอง ศรีเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[รก.๒๕๓๒/๗๘/๒๔๗/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒]
พุทธชาด/แก้ไข
๑๑/๐๙/๔๕
B+A
( C) |
589396 | ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร
| ประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง
จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร
----------
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 21
แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม
2515 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จึงให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ใช้ประกาศฉบับนี้เพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดระเบียบราชการกรุง
เทพมหานคร ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พุทธศักราช 2516
ข้อ 2
ให้มีกองบังคับการตำรวจกรุงเทพมหานคร
มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ วางแผน
ติดตามผล และ เสนอแนะเกี่ยวกับการรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติต่าง
ๆ ของกรุงเทพมหานคร หรือ
กฎหมายอื่นที่ต้องนำมาบังคับใช้สำหรับงานในหน้าที่รับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งงานที่เกี่ยวด้วย
เรื่องการดับเพลิงและการบรรเทาสาธารณภัย
การจราจรงานเด็กและเยาวชน
กองบังคับการตำรวจกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย
(1) กองกำกับการ 1 ฝ่ายเทศกิจ
มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ วางแผน ติดตาม
ผล และเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนข้อบัญญัติต่าง
ๆ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้า
ที่รับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร
(2) กองกำกับการ 2 ฝ่ายการจราจร
มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ วางแผน ติด
ตามผล
และเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติการควบคุมการจราจรบนท้องถนน
และการจับกุมดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน
กฎจราจรด้วย
(3) กองกำกับการ 3 ฝ่ายเด็กและเยาวชน มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ
วางแผน
ติดตามผล และเสนอแนะเกี่ยวกับสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชน
การป้องกันและปรามการมั่วสุมของเด็ด
และเยาวชนที่จะกระทำผิดกฎหมายเช่น การเสพยาเสพติดให้โทษ
หรือการประพฤติผิดศีลธรรมอันดีงาม
ของบ้านเมือง
(4) กองกำกับการ 4
ฝ่ายดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
การอำนวยการ วางแผนติดตามผล
และเสนอแนะเกี่ยวกับการดับเพลิงในเขตกรุงเทพมหานคร การช่วย
เหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมจากเพลิงไหม้หรือจากสาธารณภัยอื่น
ๆ
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2516
จอมพล
ป. จารุเสถียร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
864894 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 503/2561 เรื่อง มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนกรุงเทพมหานครในคณะกรรมการเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๕๐๓/๒๕๖๑
เรื่อง มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนกรุงเทพมหานคร
ในคณะกรรมการเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
โดยที่มาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
ประกอบด้วย ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ จึงสมควรมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนกรุงเทพมหานครในคณะกรรมการเปรียบเทียบ
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่
๖๔/๒๕๓๖ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๖ เรื่อง การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้แทนกรุงเทพมหานครในคณะกรรมการเปรียบเทียบให้ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายปฏิบัติราชการแทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สั่ง ณ วันที่
๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อัมพิกา/จัดทำ
๑ กันยายน
๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๑๐
กันยายน ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๒๗/๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ |
826809 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 4649/2561 เรื่อง มอบอำนาจการพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาทำการปกติและสั่งจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลา | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๔๖๔๙/๒๕๖๑
เรื่อง มอบอำนาจการพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาทำการปกติ
และสั่งจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลา[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลา พ.ศ. ๒๕๒๙ เพื่อให้การพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาทำการปกติ
และสั่งจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจการพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างอยู่ปฏิบัติงานนอกเวลาทำการปกติและสั่งจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาที่มีระยะเวลาจัดทำตั้งแต่
๔ เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกินปีงบประมาณให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนดังนี้
๑.
ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายให้สั่งราชการ
สำหรับสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครและส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
๒.
หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการเขตสำหรับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนัก และสำนักงานเขต
๓.
ผู้อำนวยการสำนักการคลังสำหรับหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
คำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ
๒๙
เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๒๐/๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ |
822012 | คำสั่งสำนักอนามัย ที่ 566/2561 เรื่อง มอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย | คำสั่งสำนักอนามัย
ที่ ๕๕๖/๒๕๖๑
เรื่อง มอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
ปฏิบัติหน้าที่ราชการแทนผู้อำนวยการสำนักอนามัย
เพื่อให้การปฏิบัติราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักอนามัยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบของผู้อำนวยการสำนักอนามัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยจึงขอยกเลิกคำสั่งสำนักอนามัย
ที่ ๔๑๗/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักอนามัยจะพึงปฏิบัติ ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยปฏิบัติราชการแทนดังนี้
๑.
มอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
ในการอนุมัติให้ข้าราชการ/ลูกจ้างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
เรื่อง การจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ พ.ศ. ๒๕๒๙ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๐ และระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๐
๒. มอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย
ในการอนุมัติให้บุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติราชการ และอนุมัติเบิกจ่ายค่าตอบแทน
ตามข้อ ๑ ของหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการในส่วนราชการสังกัดสำนักอนามัย
แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการในส่วนราชการสังกัดสำนักการแพทย์และสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร
ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการในส่วนราชการสังกัดสำนักการแพทย์และสำนักอนามัย
กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สั่ง ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
ชวินทร์ ศิรินาค
ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๓๘/๓ ธันวาคม ๒๕๖๑ |
771889 | คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 522/2560 เรื่อง มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๕๒๒/๒๕๖๐
เรื่อง
มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้การปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานครที่
๓๖๙/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง
มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และมีคำสั่งดังต่อไปนี้
๑.
มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขต
ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ กับอาคารทุกประเภท
ยกเว้นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง
อาคารที่ใช้เพื่อกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และอาคารสาธารณะ
ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
๑.๑
การอนุญาตเกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๑ และมาตรา ๒๒
และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตและการสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๓๕ ทั้งนี้
การอนุญาตสะพานข้ามคลองให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
๑.๒
การอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารรวมทั้งการอนุญาตให้ใช้อาคารที่ไม่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้เพื่อกิจการที่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓
๑.๓
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ
ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถนั้นเพื่อการอื่น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔
๑.๔
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๖
๑.๕
การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙
๑.๖
การอนุญาตให้ถอนเรื่องต่าง ๆ ที่ยื่นขออนุญาตหรือยื่นแจ้งไว้
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๑.๗
การรับทราบการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงาน กับวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการดำเนินการ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๙
๑.๘
การรับทราบการบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานหรือบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๓๐
๑.๙
การรับทราบการแจ้งกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๗
๑.๑๐
การรับแจ้งการขอทำการเจาะกด
หรือตอกเสาเข็มเพื่อทำการทดสอบที่จะใช้ในการก่อสร้างอาคารตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๑.๑๑
การรับแจ้งกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณ ตามมาตรา ๒๘
เห็นว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายโครงสร้างเพื่อความมั่นคงแข็งแรง
ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๑.๑๒
การออกใบรับแจ้ง การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙ ทวิ
๑.๑๓
การสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนหรือรายการคำนวณ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ และมาตรา ๓๙ ตรี
๑.๑๔
การแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต การแจ้งขยายเวลาการอนุญาต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕
และการปฏิเสธไม่รับพิจารณาคำขออนุญาต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖
๑.๑๕
การออกใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารประเภทควบคุมการใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๓๒
๑.๑๖
การตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ
แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน และลงนามในหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินการทราบ
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน หรือการกำหนดเงื่อนไข
ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๑.๑๗
การรับแบบรายการและวิธีการแก้ไขอาคารที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ได้ยื่นตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามความในกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
การพิจารณาและการทำหนังสือแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารว่าแบบรายการและวิธีการแก้ไขดังกล่าวถูกต้องสามารถดำเนินการได้หรือการสั่งให้แก้ไขแบบรายการและวิธีการแก้ไขดังกล่าว
๑.๑๘
การตรวจสอบว่าอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ได้ดำเนินการแก้ไขตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่
และการสั่งให้เปิดใช้อาคารได้
๑.๑๙
การตรวจพิจารณารายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และการออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร รวมทั้งการแจ้งผลการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคาร
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒ ทวิ
๒.
มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขต
ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ กับอาคารทุกประเภท
ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบดังนี้
๒.๑
การสั่งระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
การสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใด ๆ ของอาคาร หรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว
การสั่งให้ยื่นคำขออนุญาตหรือดำเนินการแจ้งตามมาตรา ๓๙ ทวิ
หรือดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง การสั่งให้รื้อถอนอาคารตามที่บัญญัติไว้
ในมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๖
๒.๒
การสั่งระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบรับรอง ใบอนุญาต
หรือที่ไม่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา ๓๙ ทวิ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๔
๒.๓
การสั่งระงับการดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ
และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่นและการสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕
๒.๔
การแจ้งให้ผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณอาคาร หรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร
หรือผู้ควบคุมงานทราบ และมีหนังสือแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าการก่อสร้าง ดัดแปลง
รื้อถอน
หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น
รวมทั้งแจ้งชื่อผู้รับผิดชอบดังกล่าวให้คณะกรรมการควบคุมอาคาร สภาวิศวกร และสภาสถาปนิกทราบ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๙ ทวิ
๒.๕
การมีคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์ประกอบเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของอาคารตามมาตรา ๓๒ ทวิ และการมีคำสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอุปกรณ์ประกอบต่าง
ๆ ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยหรือสามารถใช้งานได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ทวิ
๒.๖
การมีคำสั่งห้ามใช้อาคารทั้งหมด หรือบางส่วน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ทวิ
วรรคสอง
๒.๗
การอนุมัติให้รื้อถอนอาคารตลอดจนการดำเนินการหรือจัดให้มีการรื้อถอนอาคารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๔๓ (๒) จนเสร็จการ
๒.๘
การประกาศแสดงเขตเพลิงไหม้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๖
๒.๙
การใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๗ วรรคสอง ดำเนินการแก่ผู้ที่ก่อสร้าง ดัดแปลง
รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตเพลิงไหม้
๓.
มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักการโยธาปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
สำหรับอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง
อาคารที่ใช้เพื่อกิจการตามกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
และอาคารสาธารณะ ดังนี้
๓.๑
การอนุญาตเกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๑ และมาตรา ๒๒ และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตและการสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕ ทั้งนี้
การอนุญาตสะพานข้ามคลองให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง
๓.๒
การอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารรวมทั้งการอนุญาตให้ใช้อาคารที่ไม่เป็นอาคารควบคุมการใช้
เพื่อกิจการที่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓
๓.๓
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ
ที่กลับรถและทางเข้าออกของรถนั้นเพื่อการอื่น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔
๓.๔
การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๖
๓.๕
การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๙
๓.๖
การอนุญาตให้ถอนเรื่องต่าง ๆ
ที่ได้ยื่นขออนุญาตหรือยื่นแจ้งไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๓.๗
การรับทราบการแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานกับวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการดำเนินการ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๙
๓.๘
การรับทราบการบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานหรือบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๓๐
๓.๙
การรับทราบการแจ้ง กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๗
๓.๑๐
การรับแจ้งการขอทำการเจาะกด
หรือตอกเสาเข็มเพื่อทำการทดสอบที่จะใช้ในการก่อสร้างอาคาร
ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๓.๑๑
การรับแจ้งกรณีผู้คำนวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณตามมาตรา ๒๘
เห็นว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด
หรือขยายโครงสร้างเพื่อความมั่นคงแข็งแรง
ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๓.๑๒
การออกใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๓๙ ทวิ
๓.๑๓
การสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนหรือรายการคำนวณ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๙ ตรี
๓.๑๔
การแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต การแจ้งขยายเวลาการอนุญาต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕
และการปฏิเสธไม่รับพิจารณาคำขออนุญาต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖
๓.๑๕
การออกใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารประเภทควบคุมการใช้
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒
๓.๑๖
การตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ
แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน และลงนามในหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินการทราบ
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๓.๑๗
การรับแบบรายการและวิธีการแก้ไขอาคารที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ได้ยื่นตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ออกตามความในกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
การพิจารณาและการทำหนังสือแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารว่าแบบรายการและวิธีการแก้ไขดังกล่าวถูกต้องสามารถดำเนินการได้หรือการสั่งให้แก้ไขแบบรายการและวิธีการแก้ไขดังกล่าว
๓.๑๘
การตรวจสอบว่าอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ได้ดำเนินการแก้ไขตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่
และการสั่งให้เปิดใช้อาคารได้
๓.๑๙
การตรวจพิจารณารายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และการออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร รวมทั้งการแจ้งผลการพิจารณารายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคาร
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒ ทวิ
๓.๒๐
การลงนามในบัตรประจำตัวนายตรวจและนายช่าง ตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
๓.๒๑
การหารือคณะกรรมการควบคุมอาคาร
หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในปัญหาการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
รวมทั้งการตอบข้อหารือเป็นหนังสือตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ ตรี
๔.
มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองปฏิบัติราชการแทน
ในการพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการควบคุมอาคารว่าสมควรจะมีการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้หรือไม่
รวมทั้งการประกาศให้ประชาชนในเขตเพลิงไหม้ทราบว่าจะมีการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้หรือไม่
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๘
๕.
มอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักการโยธาปฏิบัติราชการแทน
กรณีนอกเหนือจากที่ได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนักการโยธา
และผู้อำนวยการสำนักผังเมืองปฏิบัติราชการแทน
๖.
การปฏิบัติราชการที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการเขตได้รับมอบอำนาจตามคำสั่งนี้
หากผู้ได้รับมอบอำนาจเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญและอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม
เมื่อได้ปฏิบัติราชการตามที่ได้รับมอบอำนาจไปแล้วให้รายงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยเร็ว
คำสั่งใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
สั่ง
ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปริยานุช/จัดทำ
๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐
ชวัลพร/ตรวจ
๑๐ เมษายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๙ ง/หน้า ๔๖/๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ |
777650 | คำสั่งสำนักการระบายน้ำ ที่ 110/2560 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักการระบายน้ำปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ | คำสั่งสำนักการระบายน้ำ
คำสั่งสำนักการระบายน้ำ
ที่ ๑๑๐/๒๕๖๐
เรื่อง
มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักการระบายน้ำ
ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ[๑]
เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักการระบายน้ำ
ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
เป็นการถือปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ
และระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง
การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักการระบายน้ำที่
๒๖๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักการระบายน้ำปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ
และมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงาน
ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักการระบายน้ำปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำดังนี้
๑.
เลขานุการสำนักการระบายน้ำ
๑.๑
ส่งสำเนาหนังสือราชการต่าง ๆ ให้หน่วยงานภายนอกทราบ
๑.๒
การแจ้งผลการจ้าง การซื้อขาย การเช่า
นัดลงนามและเร่งรัดการลงนามในสัญญา
๑.๓
การส่งเรื่องตรวจร่างสัญญา หรือข้อตกลง
๑.๔
การหารือข้อกฎหมายไปยังสำนักงานกฎหมายและคดี
๑.๕
การส่งเอกสารหลักฐาน หรือการประสานงานกับสำนักงานกฎหมายและคดี พนักงานอัยการและศาล
๑.๖
การส่งสำเนาสัญญาซื้อ - จ้าง ให้กับหน่วยงานอื่น
๑.๗
ขอให้ตรวจสอบหนังสือค้ำประกันการซื้อ -
การจ้างและการคืนหนังสือค้ำประกันหรือหลักประกัน
๑.๘
ส่งสำเนาคำสั่งที่ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำลงนามแล้ว
และสำเนาคำสั่งลงโทษข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดสำนักการระบายน้ำ
แจ้งหน่วยงานภายนอก
๑.๙
ส่งบัญชีถือจ่ายเงินเดือนข้าราชการ
และบัญชีถือจ่ายอัตราค่าจ้างลูกจ้างประจำแจ้งหน่วยงาน
๑.๑๐
การส่งงบเดือนใบสำคัญคู่จ่าย
๑.๑๑
การขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องประชุมหรือสถานที่ของหน่วยงานอื่น
๑.๑๒
การรายงานการจำหน่ายและรายได้จากการจำหน่ายเอกสารการประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
หรือแบบประกวดราคา
๑.๑๓
การลงนามในประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการจัดซื้อจัดจ้าง ประกาศประกวดราคา
หนังสือแสดงเงื่อนไขการประมูลซื้อ/จ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงาน
ประกาศเชิญชวนการว่าจ้างออกแบบและควบคุมงาน รวมถึงการลงชื่อและการส่งหนังสือแจ้งความหรือออกข่าวการสอบราคา
การประกวดราคา ถึงผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้าง กองประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร
หน่วยงานราชการอื่น และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
๑.๑๔
การแจ้งกำหนดการดำเนินการประมูลด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์และแจ้งผลการประมูลให้หน่วยงานสาธารณูปโภคที่ร่วมดำเนินการ
๑.๑๕
การลงนามหนังสือ ติดต่อ ประสานงาน
หรือขอความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร ที่มิใช่งานนโยบายสำคัญ
๑.๑๖
รายงานสรุปผลการใช้พลังงานของกรุงเทพมหานคร
๑.๑๗
การขอตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัยภาระผูกพันเกี่ยวกับหนี้สินและภาระผูกพันการลาศึกษาข้าราชการและลูกจ้าง
๑.๑๘
การส่งทะเบียนประวัติ (ก.ก.๑) ของข้าราชการไปยังหน่วยงานที่รับโอนข้าราชการ
๑.๑๙
ส่งคำขอมีบัตรประจำตัวข้าราชการหรือขอมีบัตรประจำตัวใหม่ไปยังกองกลาง กรุงเทพมหานคร
๑.๒๐
การส่งเรื่องขอตรวจสอบประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือของลูกจ้างชั่วคราวไปยังสถานีตำรวจ
๑.๒๑
การเชิญประชุมและส่งรายงานการประชุมให้คณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการที่มิใช่ข้าราชการสำนักการระบายน้ำ
และผู้แทนสำนักงาน ก.ก.
๑.๒๒
การลงนามในหนังสือและใบส่งซ่อมยานพาหนะ วัสดุ ครุภัณฑ์ที่ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการซ่อม
๑.๒๓
การตอบรับนักศึกษาฝึกงาน
๑.๒๔
การลงนามหนังสือแจ้งสำนักงานกฎหมายและคดี
แจ้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่ออกหนังสือรับรองผลงาน
และแจ้งธนาคารขอให้ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนผู้รับจ้าง
๑.๒๕
การลงนามหนังสือ ติดต่อ ประสานงาน
หรือขอความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานครที่มิใช่งานนโยบายสำคัญ
๑.๒๖
การส่งสำเนาแจ้งโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินโครงการต่าง ๆ
ถึงกรมสรรพากรและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
๑.๒๗
การแจ้งเวียนสำเนาเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งและแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานภายในสังกัดกรุงเทพมหานครทราบและถือปฏิบัติ
๒.
ผู้อำนวยการสำนักงานและผู้อำนวยการกอง
๒.๑
การรายงานผลการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของงาน โครงการ (ประชาพิจารณ์) เสนอต่อสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล
๒.๒
การลงนามหนังสือ ติดต่อ ประสานงาน หรือความร่วมมือกับบริษัท ห้างฯ ร้าน
๒.๓
การลงนามในหนังสือและใบสั่งซ่อมยานพาหนะ วัสดุ
ครุภัณฑ์ที่ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการซ่อม
๒.๔
การลงนามในประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการจัดซื้อ จัดจ้าง
ประกาศประกวดราคา หนังสือแสดงเงื่อนไขการประมูลซื้อ/จ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงานประกาศเชิญชวนการว่าจ้างออกแบบและควบคุมงาน
รวมถึงการลงชื่อและการส่งหนังสือแจ้งความหรือออกข่าวการสอบราคา การประกวดราคา ถึงผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้าง
กองประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร หน่วยงานราชการอื่น และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
๒.๕
งานราชการที่เกี่ยวข้องกับกองควบคุมการก่อสร้างสำนักการโยธา
๒.๖
แจ้งผลการประกวดราคาก่อสร้าง การจัดซื้อ จัดจ้าง ของบริษัท ห้างฯ ร้าน
๒.๗
การลงนามแจ้งการขยายยืนราคา
๒.๘
การลงนามหนังสือ ติดต่อ ประสานงาน หรือขอความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร
ที่มิใช่งานนโยบายสำคัญ
๒.๙
ขอให้ตรวจสอบหนังสือค้ำประกันการซื้อ -
การจ้างและการคืนหนังสือค้ำประกันหรือหลักประกัน
๒.๑๐
การส่งประกาศสอบราคา
๒.๑๑
การส่งรายงานเกี่ยวกับครุภัณฑ์ให้กองทะเบียนทรัพย์สิน
๒.๑๒
การขอเอกสารเพิ่มเติมและเร่งรัดเรื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ
๒.๑๓
สอบถามยืนยันหนังสือค้ำประกันจากธนาคารเพื่อดำเนินการจัดซื้อหรือจ้างเหมา
๒.๑๔
การลงนามในหนังสือขอความร่วมมือ ประสานงาน
แจ้งเพื่อทราบหรือขอความอนุเคราะห์แจ้งกองในสำนักต่าง ๆ สำนักงานเขต
และหน่วยงานภายนอกที่ต่ำกว่าระดับกรม
๒.๑๕
การขอพิมพ์แบบมาตรฐาน
๒.๑๖
การตรวจสอบหนังสือค้ำประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า
๒.๑๗
การขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
๒.๑๘
การให้ความเห็นชอบร่างการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ วารสาร หนังสือ
๒.๑๙
การขอยืมเงินทดรองราชการโครงการฝึกอบรมและประชุมสัมมนา
๒.๒๐
การขอตรวจสอบพฤติการณ์ทางวินัย
ภาระผูกพันเกี่ยวกับหนี้สินและภาระผูกพันการลาศึกษาต่อของข้าราชการและลูกจ้าง
๒.๒๑
การส่งเรื่องขอตรวจสอบประวัติและพิมพ์ลายนิ้วมือของลูกจ้างชั่วคราวไปยังสถานีตำรวจ
๒.๒๒
ตอบรับหรือปฏิเสธการขอความอนุเคราะห์เข้าเยี่ยมชมดูงาน
๒.๒๓
หนังสือขอเชิญประชุมและส่งรายงานการประชุมระหว่างกอง สำนักงาน สำนักงานเขต และสำนักต่าง
ๆ
๒.๒๔
การประสานงานและส่งสำเนาหนังสืออนุญาตให้หน่วยงานสาธารณูปโภคดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๒.๒๕
การลงนามในหนังสือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการก่อสร้างของหน่วยงานสาธารณูปโภค
ยกเว้นการลงนามในหนังสือค้ำประกันผลงาน
๒.๒๖
ขอทราบผลการดำเนินคดีและข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการดำเนินการทางวินัย
๒.๒๗
การขอตรวจสอบภูมิลำเนาของบุคคลต่าง ๆ เพื่อประกอบการดำเนินการละเมิดวินัยของข้าราชการและลูกจ้าง
รวมทั้งบุคคลภายนอก
๒.๒๘
แจ้งหนังสือเร่งรัดการดำเนินงานของบริษัทหรือหน่วยงานอื่น ๆ
๒.๒๙
ตอบชี้แจงหนังสือพิมพ์และผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานในเรื่องที่ร้องเรียน
๒.๓๐
หนังสือติดต่อกับการประปาเกี่ยวกับการขอติดตั้งมิเตอร์น้ำ
รวมถึงการประสานแจ้งอุปสรรคในการก่อสร้าง
๒.๓๑
แจ้งผลการดำเนินงานตามที่สำนักและสำนักงานเขตแจ้งขอความอนุเคราะห์มา
๒.๓๒
ขอทราบความคืบหน้าในการดำเนินการจากหน่วยงานต่าง ๆ
๒.๓๓
การขอความร่วมมือในการออกแบบต่าง ๆ
๒.๓๔
การส่งรูปแบบรายการตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ขอมา
๒.๓๕
การขอรายชื่อคณะกรรมการต่าง ๆ
๒.๓๖
การขอความร่วมมือการประมาณราคาการแบ่งงวดงานและการจ่ายเงิน
๒.๓๗
การหารือข้อราชการในระดับกองหรือสำนักงานเขต
๒.๓๘
ประสานข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก
และหน่วยงานภายในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับการขออนุญาตเชื่อมท่อสาธารณะ ฯลฯ
๒.๓๙
การชี้แจงหรือประสานงานและการส่งเอกสารข้อมูลต่าง ๆ
กับพนักงานอัยการหรือศาลรวมทั้งพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับงานในภาระหน้าที่
๒.๔๐
การประสานงานกับกรมที่ดิน
สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขาสำนักงานเขตเพื่อขอตรวจสอบแนวเขตที่ดินสาธารณะ
๒.๔๑
ลงนามในหนังสือแจ้งสำนักงานเขตในเรื่องการตรวจสอบและการบุกรุกคลองสาธารณะ งานก่อสร้างต่าง ๆ
ของภาครัฐและเอกชนในเขตคลองสาธารณะ ปัญหาขยะวัชพืชในเขตคลองที่รับผิดชอบ
๒.๔๒
การขอสืบราคาวัสดุอุปกรณ์ในท้องตลาด
๒.๔๓
การขอทดสอบวัสดุและอุปกรณ์กับหน่วยงานภายนอก
๒.๔๔
การขอตรวจสอบพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร
๒.๔๕
การขอความอนุเคราะห์ใช้ห้องประชุมหรือสถานที่ของหน่วยงานอื่น
คำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๙
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สมพงษ์ เวียงแก้ว
ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ
ภวรรณตรี/จัดทำ
๓๑ พฤษภาคม
๒๕๖๐
ชวัลพร/ตรวจ
๓๑ พฤษภาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๑ ง/หน้า ๕๓/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ |
791710 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2946/2560 เรื่อง มอบอำนาจในการจัดทำประกันภัยอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๒๙๔๖/๒๕๖๐
เรื่อง
มอบอำนาจในการจัดทำประกันภัยอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
เพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่ทรัพย์สินภายในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร
และเพื่อให้การปฏิบัติราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบอำนาจให้ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายให้กำกับดูแลหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเห็นชอบให้จัดทำประกันภัยอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๗
กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ภวรรณตรี/จัดทำ
๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
ปวันวิทย์/ตรวจ
๒๘ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๘ ง/หน้า ๕๗/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
821598 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 4143/2561 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงการพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๔๑๔๓/๒๕๖๑
เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาทาการตามสัญญาหรือข้อตกลง
การพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง
การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การพิจารณางดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงตามนัยมาตรา
๑๐๒ การพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามนัยมาตรา ๑๐๓ การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์รวมถึงการรายงานความเห็นตามนัยมาตรา
๑๑๘ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย คล่องตัว เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๑๔๕๘/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เรื่อง
มอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ และมอบอำนาจการพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
๑.
การพิจารณางดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ตามมาตรา ๑๐๒ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ปฏิบัติราชการแทน
๑.๑ ผู้อำนวยการเขต สำหรับวงเงินสัญญาหรือข้อตกลงไม่เกิน
๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑.๒
ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร สำหรับส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการสำนักการคลังสำหรับหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร สำหรับวงเงินสัญญาหรือข้อตกลงไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑.๓
ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร สำหรับวงเงินสัญญาหรือข้อตกลงนอกจากวงเงินใน
๑.๑ และ ๑.๒ แต่ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑.๔
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับวงเงินสัญญาหรือข้อตกลงเกินกว่า๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒.
การพิจารณาอนุมัติบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงตามมาตรา ๑๐๓
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทน
๓.
การพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์รวมถึงการรายงานความเห็นตามมาตรา ๑๑๘ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ปฏิบัติราชการแทน
๓.๑
ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร สำหรับส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
๓.๒
หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการเขต
๓.๓
ผู้อำนวยการสำนักการคลังสำหรับหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
การดำเนินการตามคำสั่งนี้ให้ผู้รับมอบอำนาจคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของกรุงเทพมหานครและต้องสอดคล้องกับหลักการ
คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้ตามมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและกำรบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
จักกพันธุ์
ผิวงาม
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วิวรรธน์/จัดทำ
๓๐ มกราคม ๒๕๖๒
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๒๒/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ |
786462 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2155/2560 เรื่อง มอบอำนาจในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
| คำสั่งกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๒๑๕๕/๒๕๖๐
เรื่อง
มอบอำนาจในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. ๒๕๕๙
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมอบอำนาจในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อให้การดำเนินงานของกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักอนามัย มีอำนาจในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยให้มีอำนาจยื่นแบบคำขออนุญาตรับใบอนุญาต ลงลายมือชื่อในเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอรับใบอนุญาต
ตลอดจนดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวข้องในการรับใบอนุญาตสำหรับเครื่องกำเนิดรังสี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ
วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พลตำรวจเอก
อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๒๑ กันยายน
๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๓ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๙ ง/หน้า ๔๘/๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
805720 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 1458/2561 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๑๔๕๘/๒๕๖๑
เรื่อง
มอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์รวมถึงการรายงานความเห็นตามนัยมาตรา ๑๑๘
แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์รวมถึงการรายงานความเห็นตามมาตรา
๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ปฏิบัติราชการแทน
๑. รองปลัดกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครสำหรับส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
๒. หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
๓. ผู้อำนวยการสำนักการคลังสำหรับหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๖๑
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒
กรกฎาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๕๔/๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ |
798861 | คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 515/2561 เรื่อง มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ | คำสั่งกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร
ที่ ๕๑๕/๒๕๖๑
เรื่อง
มอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่[๑]
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๑๙๒๐/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓ และคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ ๒๓๔๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
และมอบอำนาจให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดังต่อไปนี้
๑. มอบอำนาจให้ปลัดกรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
๑.๑ การรับทราบรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นตามข้อ ๗
และการวินิจฉัยสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๘
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครจากผลการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
๑.๒ การรับทราบรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นตามข้อ ๓๑
และการวินิจฉัยสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ
๓๑ ประกอบข้อ ๘ ข้อ ๓๒ ข้อ ๓๓ และหรือข้อ ๓๕
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙
กรณีเกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกจากผลการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
๑.๓ การรับทราบรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นตามข้อ ๗ และข้อ ๓๑
และการวินิจฉัยสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๘
และข้อ ๓๑ ประกอบข้อ ๘ ข้อ ๓๒ ข้อ ๓๓ และหรือข้อ ๓๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
กรณีเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครและบุคคลภายนอกจากผลการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดสังกัดหรือหน่วยงานที่ดูแล
บำรุงรักษาทรัพย์สินตกลงกันว่าหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
โดยในกรณีที่ไม่สามารถตกลงได้ว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่อง
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานพร้อมชี้แจงเหตุผลให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ชี้ขาดและวินิจฉัยสั่งการกรณีตามข้อ
๑.๑ ข้อ ๑.๒ และข้อ ๑.๓ ของคำสั่งนี้
๒. มอบอำนาจให้ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายให้สั่งราชการหน่วยงาน
ส่วนราชการ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
และสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร ที่เป็นเจ้าของเรื่องดังนี้
๒.๑
การรับทราบรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นตามข้อ ๗ ข้อ ๙ และข้อ ๓๑
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๒
การวินิจฉัยสั่งการว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครหรือไม่
และการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๘
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ในกรณีดังต่อไปนี้
๒.๒.๑
เฉพาะกรณีเมื่อเกิดความเสียหายแก่หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๔) ส่วนราชการในสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และ
(๕) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖) กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
(๗) สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร
๒.๒.๒
เมื่อกรุงเทพมหานครได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมาย
๒.๓
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๘ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ร่วมกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐอื่น
๒.๔
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๓๒ ข้อ ๓๓ และหรือข้อ
๓๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
เฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครผู้ทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
อยู่ในสังกัดของหน่วยงาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๔) ส่วนราชการในสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และ
(๕) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖) กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร
(๗) สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร
๒.๕
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๘ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๓๑
ประกอบข้อ ๘ ข้อ ๓๒ ข้อ ๓๓ และหรือข้อ ๓๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ กรณีเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอื่นและบุคคลภายนอก
ซึ่งบุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายยื่นคำขอให้กรุงเทพมหานครชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและหรือฟ้องคดีต่อศาล
๒.๖
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
กรณีหัวหน้าหน่วยงานส่วนราชการ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร และสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร
ต้องถูกสอบสวนในฐานะผู้บังคับบัญชา ผู้ผ่านงาน
ผู้อนุมัติหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องกับการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในเรื่องที่สอบสวนนั้นตามหมวด
๑ และหรือหมวด ๒ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๗
การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนในกรณี ดังต่อไปนี้
๒.๗.๑ การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนตามข้อ ๑.๑ ข้อ ๒.๒ และข้อ ๒.๓ ของคำสั่งนี้
กรณีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้แต่งตั้งกำหนด
ให้อนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลาและระมัดระวังเรื่องอายุความ
๒.๗.๒ การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนตามข้อ ๑.๒ และข้อ ๒.๔ ของคำสั่งนี้
กรณีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้แต่งตั้งกำหนด
ให้อนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน แต่จะต้องไม่เกิน ๑๘๐
วันนับแต่วันที่หน่วยงานได้รับคำขอ หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้น
ให้ดำเนินการขออนุมัติขยายระยะเวลาตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ และระมัดระวังเรื่องอายุความ
๒.๗.๓
การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนตามข้อ ๑.๓ ข้อ ๒.๕ และข้อ ๒.๖ ของคำสั่งนี้
กรณีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้แต่งตั้งกำหนด
การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนให้เป็นไปตามข้อ ๒.๗.๑ และข้อ
๒.๗.๒ ของคำสั่งนี้ แล้วแต่กรณี
และระมัดระวังเรื่องอายุความ
๒.๘
การวินิจฉัยสั่งการ การลงนามในหนังสือถึงกระทรวงการคลังและการส่งสำนวน ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบตามข้อ
๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ การสั่งการให้ตระเตรียมเรื่องให้พร้อมสำหรับการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครชำระค่าสินไหมทดแทนหรือดำเนินการฟ้องคดีเพื่อมิให้ขาดอายุความ
ในระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลังตามข้อ ๑๗ วรรคสี่ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
การมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร
ในกรณีที่กระทรวงการคลังไม่แจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบภายในกำหนดเวลา
และการสั่งการให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งผลการตรวจสอบและคำสั่งดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
ตามข้อ ๑๗ วรรคห้า ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๙
การวินิจฉัยสั่งการเรื่องที่กระทรวงการคลังประกาศกำหนดว่าไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบตามข้อ ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙
การลงนามในหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อส่งรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
ให้กระทรวงการคลังทราบทุกระยะ ๓ เดือน ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรายงานให้กระทรวงการคลังตรวจสอบ
๒.๑๐
การรับทราบผลการตรวจสอบของกระทรวงการคลังตามข้อ ๒.๘ วรรคหนึ่งของคำสั่งนี้
การสั่งการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง การวินิจฉัยสั่งการให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งผลการตรวจสอบและคำสั่งดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องทราบตามข้อ
๑๘ วรรคหนึ่ง ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
การสั่งการให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดทำการสอบข้อเท็จจริง
ความรับผิดตามความเห็นของกระทรวงการคลัง และการสั่งการผลการสอบสวนดังกล่าว
การลงนามในหนังสือรายงานผลคำวินิจฉัยไปยังกระทรวงการคลังตามข้อ ๑๘ วรรคสาม
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.๑๑
การรับทราบผลการตรวจสอบตามข้อ ๒.๙ ของคำสั่งนี้
ในกรณีที่กระทรวงการคลังได้แจ้งให้กรุงเทพมหานครส่งสำนวนไปให้ตรวจสอบและมีความเห็นว่ามีผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นหรือต่างไปจากสำนวนที่กรุงเทพมหานครได้ส่งให้ตรวจสอบ
ให้วินิจฉัยสั่งการตามข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
และข้อ ๒.๑๐ ของคำสั่งนี้
๒.๑๒
การวินิจฉัยสั่งการ
การลงนามในหนังสือถึงกระทรวงการคลังและการเสนอความเห็นไปยังกระทรวงการคลังตามข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
การรับทราบผลการตรวจสอบจากกระทรวงการคลังตามวรรคหนึ่ง
การวินิจฉัยสั่งการตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
การสั่งการให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งผลการตรวจสอบและคำสั่งดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องทราบตามข้อ
๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.๑๓
การรับทราบผลการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๒/๑
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.๑๔ การวินิจฉัยสั่งการให้เรียกเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครผู้กระทำละเมิดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามข้อ
๓๖ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๑๕
การวินิจฉัยสั่งการไม่ให้เรียกเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครผู้กระทำละเมิดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามข้อ
๓๗ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๑๖
การรับทราบผลการตรวจสอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามข้อ ๓๕ และหรือข้อ ๓๘
การวินิจฉัยสั่งการตามความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การสั่งการให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งผลการตรวจสอบและคำสั่งดังกล่าวให้ผู้เกี่ยวข้องทราบตามข้อ
๓๑ ประกอบข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.๑๗
การอนุมัติยุติเรื่องกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐที่ตนสังกัดที่ความเสียหายเกิดแก่เงินที่มีค่าเสียหายจำนวนแน่นอนและเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดได้ชดใช้เงินครบถ้วนเต็มจำนวนแล้ว
๒.๑๘
การอนุมัติยุติเรื่องกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐอื่นและหรือบุคคลภายนอกซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐอื่นและหรือบุคคลภายนอกแล้ว
และเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิเรียกให้กรุงเทพมหานครชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวคืน
และหน่วยงานของรัฐอื่นและหรือบุคคลภายนอกไม่ประสงค์จะเรียกร้องหรือดำเนินคดีกับกรุงเทพมหานครอีกต่อไป
๓. มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนัก
และผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ดังนี้
๓.๑
การวินิจฉัยสั่งการว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่า
ความเสียหายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครหรือไม่
และการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๘
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙
๓.๒
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามข้อ ๓๒ ข้อ ๓๓ และหรือข้อ ๓๕
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๓.๓ การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนในกรณี
ดังต่อไปนี้
๓.๓.๑ การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนตามข้อ ๓.๑
ของคำสั่งนี้ กรณีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้แต่งตั้งกำหนด
ให้ขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายระยะเวลาและระมัดระวังเรื่องอายุความ
๓.๓.๒ การอนุญาตขยายระยะเวลาการสอบสวนตามข้อ ๓.๒
ของคำสั่งนี้ กรณีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้แต่งตั้งกำหนด
ให้ขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน แต่จะต้องไม่เกิน ๑๘๐
วันนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐได้รับคำขอ
หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้น
ให้ดำเนินการขออนุมัติขยายระยะเวลาตามมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
และระมัดระวังเรื่องอายุความ
๔. การดำเนินการในกรณีเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครผู้รับผิดตาย
ตามข้อ ๒๔ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้เป็นอำนาจของผู้ได้รับมอบอำนาจ ตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ของคำสั่งนี้ แล้วแต่กรณี
๕. การสั่งการให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดทบทวนหรือสอบสวนเพิ่มเติมตามข้อ
๑๖ และหรือข้อ ๓๑ ประกอบข้อ ๑๖ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้เป็นอำนาจของผู้ได้รับมอบอำนาจตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ของคำสั่งนี้
แล้วแต่กรณี
กรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้สั่งราชการหน่วยงาน ส่วนราชการ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานครและสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร
ที่เป็นเจ้าของเรื่อง
ไม่ได้เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
ให้มีอำนาจสั่งการตามข้อ ๑๖ และหรือข้อ ๓๑ ประกอบข้อ ๑๖
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙
๖. การแจ้งคำสั่งตามข้อ ๒.๘ ถึงข้อ ๒.๑๖
ของคำสั่งนี้ และการออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครผู้ต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่กรุงเทพมหานครหรือฟ้องคดีต่อศาลตามข้อ
๑๗ ข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ และหรือข้อ ๓๑ ประกอบข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้เป็นอำนาจของผู้ได้รับมอบอำนาจตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ของคำสั่งนี้
แล้วแต่กรณี
๗. การนำข้อ ๘ ถึงข้อ ๒๐
มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๓๑ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ให้เป็นอำนาจของผู้ได้รับมอบอำนาจตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ของคำสั่งนี้
แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๖๒/๑๒ มีนาคม ๒๕๖๑ |
797018 | คำสั่งสำนักการโยธา ที่ 231/2560 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการโยธา | คำสั่งสำนักการโยธา
คำสั่งสำนักการโยธา
ที่
๒๓๑/๒๕๖๐
เรื่อง
มอบหมายและมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการโยธา
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการมอบอำนาจของผู้อำนวยการสำนักการโยธามอบอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน
การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน
และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐ และระเบียบกรุงเทพมหานคร
ว่าด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการและลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ข้าราชการสำนักการโยธาปฏิบัติราชการแทน
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน
พ.ศ. ๒๕๕๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร
ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐ และข้อ ๑๑
แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการและลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๕๒ ผู้อำนวยการสำนักการโยธาจึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักการโยธา ที่ ๒๕๑/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และมอบอำนาจในการสั่งการอนุญาต
การอนุมัติหรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักการโยธาจะพึงปฏิบัติตามข้อบัญญัติและระเบียบดังกล่าว
ให้ข้าราชการสำนักการโยธาปฏิบัติราชการแทน ดังต่อไปนี้
๑. มอบอำนาจ ให้ผู้อำนวยการสำนักงาน
ผู้อำนวยการกอง และเลขานุการสำนักรวมถึงผู้รักษาการในตำแหน่ง
ในการเห็นชอบให้คืนหลักประกันซอง หลักประกันสัญญา
หลักประกันการรับเงินค่าจ้างล่วงหน้า และหลักประกันผลงาน
๒.
มอบอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.
๒๕๕๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
๒.๑
เลขานุการสำนักรวมถึงผู้รักษาการในตำแหน่ง ในการอนุมัติฎีกาหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ
หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
เฉพาะเงินตอบแทนพิเศษ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ค่าอาหารทำการนอกเวลา
และเงินค่ารถประจำตำแหน่ง หมวดรายจ่ายเงินอุดหนุน เฉพาะเงินสนับสนุนการศึกษาบุตร
หมวดรายจ่ายอื่นเฉพาะค่าเล่าเรียนบุตรและค่ารักษาพยาบาล
รวมทั้งเงินยืมสะสมที่เบิกจ่าย ตามหมวดรายจ่ายข้างต้น
การอนุมัติฎีกาเงินนอกงบประมาณลงนามในใบนำส่งเงินและรับทราบรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
และรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่าง ๆ
รายงานงบเดือนใบสำคัญจ่าย รายงานการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รายงานการใช้พลังงาน
(ไฟฟ้า - น้ำมัน)
๒.๒ ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง และเลขานุการสำนัก
รวมถึงผู้รักษาการในตำแหน่ง
ในการอนุมัติหนังสือมอบอำนาจการรับเงิน
๓.
มอบอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐
ให้เลขานุการสำนัก รวมทั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง
ในการอนุมัติให้จ่ายเงินทดรองราชการภายในวงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
๔.
มอบอำนาจตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการ
และลูกจ้างประจำกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานผู้อำนวยการกอง
และเลขานุการสำนัก รวมทั้งผู้รักษาการในตำแหน่ง
ในการอนุมัติเบิกจ่ายเงินทุนสนับสนุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัด
บรรดาคำสั่งของสำนักการโยธาอื่นใด
ซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ยกเลิกและให้ใช้คำสั่งนี้แทน
ทั้งนี้ นับถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา[๑]
สั่ง
ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ณัฏฐ์ ศรีสุคนธนันท์
ผู้อำนวยการสำนักการโยธา
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๑๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒ ง/หน้า ๕๑/๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.