sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
755017 | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (ฉบับ Update ล่าสุด) | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๐/๒๕๕๙
เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
โดยที่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงสภาพปัญหาในการจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคของประเทศว่าเกิดจากปัญหาการสั่งการและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ประกอบด้วย
(๑)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
(๓)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ
(๔)
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ
(๕)
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
(๖)
เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ
(๗)
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๒
ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๒)
วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๓)
พิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๔)
แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา
หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด ทั้งนี้
ตามประเภทหรือระดับตำแหน่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
(๕)
สั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา
หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือให้พ้นจากตำแหน่ง
(๖)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
(๗)[๑]
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ ๘
(๘)
เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง
รวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา
(๙)[๒]
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารจัดการการศึกษาในภูมิภาค เพื่อให้การดำเนินการตามคำสั่งนี้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในระหว่างที่ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตาม
(๕) บุคคลนั้นไม่อาจได้รับเงินค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ใด ๆ
ในตำแหน่งที่ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจหน้าที่ตาม
(๔) มิให้นำบทบัญญัตินั้นมาใช้บังคับแก่องค์กรซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังกล่าว
ข้อ ๓
ให้สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามข้อ ๒ (๖)
และให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น
ๆ ที่จำเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ
โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๔
ให้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และให้โอนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ ตามคำสั่งนี้
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง
หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ข้อ ๕
ให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และให้โอนอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ ตามคำสั่งนี้
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึง อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ข้อ ๖
ในแต่ละจังหวัด ให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กศจ. ประกอบด้วย
(๑)
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ
(๒)
ศึกษาธิการภาคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ
(๓)
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกรรมการ
(๔)
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
ประธานหอการค้าจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และวัฒนธรรมจังหวัด
เป็นกรรมการ
(๕)
ผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
จำนวนสองคน เป็นกรรมการ
(๖)
ผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
จำนวนสองคน เป็นกรรมการ
(๗)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ด้านบริหารงานบุคคล หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
จำนวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(๘)
ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
สำหรับกรุงเทพมหานคร
ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคทำหน้าที่เป็น
กศจ.
ข้อ ๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ที่รับโอนมาตามข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ กศจ.
มีอำนาจหน้าที่ในแต่ละเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา
และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล
ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในจังหวัด
(๒)
พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
(๓)
พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(๔)
เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อใช้อำนาจตามข้อ
๒ (๔)
(๕)
กำกับ เร่งรัด ติดตาม
และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(๖)
วางแผนการจัดการศึกษาในจังหวัดและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
(๗)[๓]
เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ
๘
(๗/๑)[๔]
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความจำเป็น
โดยคำนึงถึงวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ความคุ้มค่า และความประหยัด
เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ในส่วนที่มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ
๘ วรรคหนึ่ง
(๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย
ข้อ
๘[๕]
ให้ กศจ.
เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ. ทำหน้าที่ช่วยเหลือหรือกลั่นกรองงานเกี่ยวกับการบรรจุ การแต่งตั้ง
การโยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การกำหนดวิทยฐานะ หรือการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดให้แก่ กศจ.
ให้
อกศจ. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑)
กรรมการใน กศจ. จำนวนหนึ่งคน เป็นประธานอนุกรรมการ
(๒)
กรรมการใน กศจ. จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
(๓)
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน
เป็นอนุกรรมการ
(๔)
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
(๕)
ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
กรณีมีความจำเป็น
กศจ.
อาจเสนอแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้
ข้อ ๙
ให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของ กศจ. อกศจ.
รวมทั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามข้อ ๗ (๗)
เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ
โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๑๐
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง
หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้ถือว่าอ้างถึง กศจ. ตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ข้อ ๑๑
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๑๒[๖]
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑
มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่
๑๐/๒๕๕๙ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙[๗]
ข้อ
๘ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๕ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ข้อ ๒ (๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๒] ข้อ ๒ (๙)
เพิ่มโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๓] ข้อ ๗ (๗)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๔] ข้อ ๗ (๗/๑)
เพิ่มโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๕] ข้อ ๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๑๘/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
609936 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. 2548 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วย
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
พ.ศ.
๒๕๔๘[๑]
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนอิสลามศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตามมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ เรื่องการรับโอนภารกิจในการดูแลส่งเสริมตาดีกา
ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ.
๒๕๔๘
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓[๒]
ในระเบียบนี้
ศูนย์ หมายความว่า
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายความว่า จังหวัดปัตตานี
จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา
อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย
ผู้สอน หมายความว่า
ผู้ให้การอบรมหรือสอนในศูนย์
ผู้เรียน หมายความว่า
ผู้เข้ารับการอบรมหรือเรียนในศูนย์
สำนักงาน หมายความว่า สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วแต่กรณี
หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นายทะเบียน หมายความว่า
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เขตตรวจราชการ หมายความว่า เขตตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
เขตตรวจราชการที่ ๑๑ ประกอบด้วยจังหวัดสตูล อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี
และอำเภอสะบ้าย้อยของจังหวัดสงขลา เขตตรวจราชการที่ ๑๒ ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี
จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส
ข้อ ๔
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ระเบียบนี้
หมวด
๑
การจัดตั้งและดำเนินการ
ข้อ ๕
การจัดตั้งศูนย์ มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นมัสยิด ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม
(๒) มีคณะกรรมการบริหารศูนย์
(๓) มีอาคาร สถานที่ และบริเวณในเขตชุมชนนั้นที่เหมาะสมในการดำเนินการ
ข้อ ๖
ให้ศูนย์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดการศึกษาอบรม จริยธรรมตลอดจนจัดกิจกรรมด้านศาสนาและประเพณีที่ดีงามของผู้นับถือศาสนาอิสลามตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
(๒) จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์ อิหม่ามประจำมัสยิด
ผู้สอน ผู้เรียน
(๓) รายงานผลการจัดการเรียนการสอนประจำปีต่อสำนักงาน
ข้อ ๗
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดยื่นขอจัดตั้งศูนย์ต่อนายทะเบียนโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตการจัดตั้งศูนย์ ภายใน ๓๐
วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องพร้อมเอกสารที่ครบถ้วน ตามแบบที่กำหนด
ข้อ ๘
การเลิกศูนย์ ให้อิหม่ามประจำมัสยิดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมัสยิดยื่นคำขอต่อนายทะเบียน
และรายงานให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบ
ทรัพย์สินของศูนย์ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมัสยิด
หมวด
๒
การบริหาร
ข้อ ๙[๓]
ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับเขตตรวจราชการ
โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นที่ปรึกษา และมีกรรมการประกอบด้วย
(๑) ประธานศูนย์ประสานงานคณะกรรมการอิสลาม
ประจำเขตตรวจราชการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดละ ๑ คน
(๓) ประธานศูนย์ประสานงานชมรมตาดีกา
ประจำเขตตรวจราชการ จำนวน ๑ คน
(๔) ประธานชมรมตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดละ ๑ คน
(๕) ประธานชมรมอิหม่ามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดละ ๑ คน
(๖) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เขตตรวจราชการละ ๑ คน
(๗)
ผู้แทนสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตตรวจราชการละ ๑ คน
(๘) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๙) ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจประจำเขตตรวจราชการ
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๐[๔]
คณะกรรมการบริหารศูนย์
ระดับเขตตรวจราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดแนวทางการบริหารจัดการและติดตามประเมินผล
(๒) จัดทำหลักสูตรตาดีกาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(๓)
ให้คำแนะนำสนับสนุนส่งเสริมการสอนอิสลามศึกษาของศูนย์
ร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล
(๔) เสนอแนะการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อสำนักงาน
(๕) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๑
การประชุมของคณะกรรมการบริหารศูนย์ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อยู่ในที่ประชุม
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกประธานคนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๒[๕]
ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัด
ประกอบด้วย
(๑)
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือผู้แทนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๓) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จำนวน ๑
คน
(๕) ผู้แทนชมรมตาดีการะดับจังหวัด จำนวน ๒ คน
(๖) ผู้แทนชมรมอิหม่ามระดับจังหวัด จำนวน ๒ คน
(๗) ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
(๘) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เขต ๑ ที่รับผิดชอบการศึกษาเอกชนเป็นกรรมการและเลขานุการ เว้นแต่จังหวัดสงขลา
ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๓ ที่รับผิดชอบการศึกษาเอกชน
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้บุคคลตามข้อ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)
เป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ชมรมอิหม่ามระดับจังหวัด
ชมรมตาดีการะดับจังหวัด แล้วแต่กรณี คัดเลือกผู้แทน ตามวรรคหนึ่ง (๔) (๕) และ (๖)
ข้อ ๑๓
คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดแนวทางการพัฒนาศูนย์ให้สอดคล้องกับแนวทางที่คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับเขตตรวจราชการกำหนด
(๒) ระดมทรัพยากรและประสานงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาศูนย์
(๓) แนะนำ สนับสนุน ส่งเสริมศูนย์ร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับอำเภอและระดับตำบล
(๔) นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารระดับเขตตรวจราชการ
(๕) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๔
ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับอำเภอ
จำนวน ๙ คน ประกอบด้วย
(๑) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้แทนสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในพื้นที่
จำนวน ๑ คน
(๓) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ จำนวน
๒ คน
(๔) ผู้แทนกรรมการอิสลามจังหวัด จำนวน ๑ คน
(๕) ประธานชมรมอิหม่ามระดับอำเภอ
(๖) เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมระดับอำเภอ
(๗) เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๘) ประธานชมรมตาดีการะดับอำเภอ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้บุคคลตาม (๒), (๓),
(๔), (๕) และ (๖) เป็นกรรมการ
ให้นายอำเภอดำเนินการคัดเลือกผู้แทน (๒) และ (๓) ในพื้นที่
และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเลือกผู้แทนตาม (๔)
ข้อ ๑๕
คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ระดมทรัพยากรและประสานงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาศูนย์
(๒) นิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัด
(๓) กำหนดแนวทางการพัฒนาศูนย์ในระดับอำเภอให้สอดคล้องกับระดับจังหวัด
(๔) กำกับดูแลการใช้จ่ายเงินของศูนย์
(๔) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๖
ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับตำบล
จำนวน ๗ คน ประกอบด้วย
(๑) นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดตำบล
(๓) กำนัน
(๔) ผู้แทนอิหม่ามระดับตำบล จำนวน ๑ คน
(๕) ผู้แทนผู้สอนตาดีกา จำนวน ๑ คน
(๖) ผู้บริหารสถานศึกษา ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
(๗) ผู้แทนชมรมตาดีกา ระดับตำบล จำนวน ๑ คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ให้บุคคลตาม (๒), (๓),
(๔) และ (๕) เป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับอำเภอ คัดเลือกกรรมการตาม
(๔), (๕), (๗)
ข้อ ๑๗
คณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับตำบลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ประสานส่งเสริมการพัฒนาศูนย์ในพื้นที่รับผิดชอบ
(๒) ระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาศูนย์
(๓) นิเทศติดตามประเมินผลและรายงานต่อคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับอำเภอ
(๔) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๑๘
ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ประกอบด้วยอิหม่ามประจำมัสยิดเป็นประธานโดยตำแหน่งและกรรมการอื่น
จำนวนไม่น้อยกว่า ๖ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำมัสยิด โดยมีผู้สอนตาดีกาที่อิหม่ามแต่งตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการบริหารศูนย์ตามวรรคหนึ่ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง
๔ ปี พ้นวาระแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
ข้อ ๑๙
คณะกรรมการบริหารศูนย์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการบริหารศูนย์ให้สอดคล้องกับแนวทางของคณะกรรมการบริหารศูนย์ในทุกระดับ
(๒) จัดการศึกษาอบรมให้แก่ผู้เรียนตามหลักสูตร
(๓) ส่งเสริมและพัฒนาผู้สอนให้จัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
(๔) ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอน
(๕) รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) ดำเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๐
ให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการในข้อ
๑๒ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ โดยอนุโลม
หมวด
๓
ผู้สอน
ข้อ ๒๑
ผู้สอนมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
(๓) มีความรู้วิชาสามัญ ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ
หรือเทียบเท่าตามที่กำหนดในแผนการศึกษาแห่งชาติ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่กรณี
และมีความรู้ด้านศาสนาอิสลามไม่ต่ำกว่าชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ ๓ ของหลักสูตรอิสลามศึกษาตอนกลาง
(มุตาวัชซีเตาะฮ์) หรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์สอนศาสนาไม่น้อยกว่า ๓ ปี โดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
(๔) เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามแนวทางของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ ๒๒
ให้อิหม่ามประจำมัสยิดแต่งตั้งถอดถอนผู้สอน
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศูนย์ และรายงานการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียน
หมวด
๔
การส่งเสริมและสนับสนุน
ข้อ ๒๓
ให้กระทรวงศึกษาธิการส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับงบประมาณ
การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการของศูนย์ และกิจกรรมขององค์กรตาดีกาทุกระดับ
การส่งเสริมและสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
หรือมติของคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔
ให้สำนักงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ร่วมกับสำนักผู้ตรวจประจำเขตตรวจราชการจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์
(๒) ทำหน้าที่สำนักทะเบียนกลาง รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์
อิหม่ามประจำมัสยิด ผู้สอนผู้เรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๕
ให้หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีน ประจำมัสยิด
พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ใช้อยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ เป็นหลักสูตรตามระเบียบนี้
ข้อ ๒๖
ให้สถานสอนจริยศึกษา (ตาดีกา) ที่จดทะเบียนกับกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทยก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ เป็นศูนย์ตามระเบียบนี้
ข้อ ๒๗
ให้ผู้สอนที่ทำหน้าที่อยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
เป็นผู้สอนตามระเบียบนี้
ข้อ ๒๘
ให้คณะกรรมการบริหารสถานสอนจริยศึกษา
(ตาดีกา) ที่ดำเนินการอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ตามระเบียบนี้ทั้งนี้ไม่เกิน
๖๐ วัน นับแต่ระเบียบนี้ประกาศใช้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๖]
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๔๗ ง/หน้า ๕/๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
[๒]
ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๓]
ข้อ ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๔]
ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๕]
ข้อ ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
459858 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. 2548
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญาที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษา
และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงให้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับอนุปริญญาทุกสาขาวิชาที่มีระยะเวลาการศึกษา
๖ ภาคการศึกษาปกติ (๓ ปี) ตามระบบทวิภาค หรือหลักสูตรที่เทียบเท่าทุกสาขาวิชา สำหรับหลักสูตรที่จะเปิดใหม่และหลักสูตรเก่าเพื่อปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิกประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอนุปริญญา
พ.ศ. ๒๕๓๒ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
๔. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ
ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพของสาขาวิชานั้น
ๆ โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรให้มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสาขาวิชาที่มีความจำเป็น
สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม รวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
๕. ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น
๒ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค
หรือระบบจตุรภาค ให้ถือแนวทางดังนี้
ระบบไตรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๒ สัปดาห์
ระบบจตุรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๐ สัปดาห์
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่น
ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย
๖. การคิดหน่วยกิต
๖.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยาย
หรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า
๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๓ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม
ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๔ การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น
ๆ ไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗. จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า
๙๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๖ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลาและไม่เกิน
๙ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
ทั้งนี้
ให้นับเวลาศึกษาจากวันที่เปิดภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรนั้น
๘. โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา ดังนี้
๘.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง
วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ
ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อความหมายได้ดี
มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด
ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป
โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
๘.๒ หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน
วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
และปฏิบัติงานได้โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๔๕ หน่วยกิต หากจัดหมวดวิชาเฉพาะในลักษณะวิชาเอกและวิชาโท
วิชาเอกต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต และวิชาโทต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า
๑๕ หน่วยกิต
๘.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ
ในหลักสูตรระดับอนุปริญญาตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด และให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า
๓ หน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจยกเว้นหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ให้กับนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถที่สามารถวัดมาตรฐานได้ ทั้งนี้ นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอน
ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๙. จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ซึ่งมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่า ๓ คน และในจำนวนนั้นต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวนอย่างน้อย ๑ คน
ทั้งนี้ อาจารย์ประจำในแต่ละหลักสูตรจะเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า ๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้
๑๐. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
๑๑. การลงทะเบียนเรียน
๑๑.๑ การลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า
๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๒ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และจะสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน
๕ ภาคการศึกษาปกติ
๑๑.๒ การลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๙ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และจะสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน
๑๐ ภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อน
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๙ หน่วยกิต
หากสถาบันอุดมศึกษาใดมีเหตุผลและความจำเป็นพิเศษ
การลงทะเบียนเรียนที่มีจำนวนหน่วยกิตแตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
๑๒. เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
เกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละรายวิชา และต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
จึงถือว่าเรียนจบหลักสูตรอนุปริญญา
สถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ระบบการวัดผลและการสำเร็จการศึกษาที่แตกต่างจากนี้
จะต้องกำหนดให้มีค่าเทียบเคียงกันได้
๑๓. ชื่อปริญญา ให้ใช้ชื่อว่า อนุปริญญา อักษรย่อ
อ. แล้วตามด้วยสาขาวิชาต่อท้ายหลักสูตรปริญญาตรีที่มีการให้อนุปริญญาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี
หรือหลักสูตรที่เทียบเท่าอนุปริญญา และมีระบบการศึกษาแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ข้างต้น
ให้ใช้เกณฑ์มาตรฐานนี้โดยอนุโลม และหลักสูตรอนุปริญญาที่มีระยะเวลาการศึกษาแตกต่างไปจากเกณฑ์มาตรฐานนี้ให้ใช้เกณฑ์มาตรฐานนี้พิจารณา
โดยให้อยู่ในมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้ตามความเหมาะสม
๑๔. การประกันคุณภาพของหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรไว้ให้ชัดเจน
ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วยประเด็นหลัก ๔ ประเด็น คือ
๑๔.๑ การบริหารหลักสูตร
๑๔.๒ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
๑๔.๓ การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
๑๔.๔ ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม
และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
๑๕. การพัฒนาหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย
แสดงการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยทุก ๆ ๕ ปี และมีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก
๕ ปี
๑๖. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วชิระ/ตรวจ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๔๘
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๒/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
755041 | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค (ฉบับ Update ล่าสุด) | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๑/๒๕๕๙
เรื่อง
การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
มีเอกภาพ และสามารถประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจในเรื่องการศึกษาของประเทศ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแนวทางการบริหารงานโดยประชารัฐ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาอันจะส่งผลในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑-๑๓
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕
(๒)
คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๑๖๙๓/๒๕๕๕ เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
(๓)
คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๑๖๙๔/๒๕๕๕ เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
(๔)
บรรดาคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาคที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๒ ให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค
จำนวนสิบแปดภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ
ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่
ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด โดยการอำนวยการ ส่งเสริม
สนับสนุน
และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น
ๆ และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น
ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ ตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่
(๒)
สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ
การวิจัยและพัฒนา
(๓)
กำกับดูแล ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ
(๔)
สนับสนุนการตรวจราชการ
และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ
(๕)
ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด
โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓ ให้มีศึกษาธิการภาค
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการภาค
ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการภาคเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการภาคก็ได้[๑]
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคและรองศึกษาธิการภาคจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการตามที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
ข้อ
๔ ในแต่ละจังหวัด
ให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย
และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และการปฏิบัติงานราชการ
ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
และตามที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดมอบหมาย
(๒)
ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานด้านวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด
(๓)
สั่งการ กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๔)
จัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
และกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(๕)
ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
รวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ
และประสานงานต่าง ๆ ในระดับจังหวัด
ข้อ
๕ ให้มีศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ
พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศึกษาธิการภาค
โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการจังหวัดเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการจังหวัดก็ได้[๒]
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัดจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๖
ให้โอนอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
และอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
ข้อ
๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน
งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง
และอัตรากำลังของสำนักงานศึกษาธิการภาคที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑-๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่
๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ ไปเป็นของสำนักงานศึกษาธิการภาคตามข้อ ๒ ทั้งนี้
ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
ข้อ
๘ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต
๑ ในจังหวัดต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในจังหวัดนั้น ๆ
ไปพลางก่อน แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๑๐[๓]
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑
มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙[๔]
ข้อ
๘ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๕๙
ปัญญา/ตรวจ
๒๕ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ข้อ ๓ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๒] ข้อ ๕ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๑/๒๕๕๙
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๑๘/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
464013 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญา
ในระบบการศึกษาทางไกล
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล
พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง
และเพื่อธำรงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐานการจัดการอุดมศึกษา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา
๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ.
๒๕๔๘
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แล้วตามประกาศนี้หรือซึ่งขัด
หรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ ๔
สถาบันอุดมศึกษาที่จะขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกลจะต้องได้รับการจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย
และอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งต้องมีอาคาร สถานที่ บุคลากร และทรัพยากรอื่นที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการจัดการศึกษาทางไกล
ข้อ ๕
ให้ใช้หลักเกณฑ์นี้ สำหรับหลักสูตรทุกระดับปริญญาและทุกสาขาวิชาที่สถาบันอุดมศึกษาประสงค์จะจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกล
ซึ่งการจัดการศึกษาต้องมีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้กับระบบการศึกษาในระบบชั้นเรียน และต้องสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ข้อ ๖
ปรัชญาและวัตถุประสงค์
๖.๑ สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาทางไกลเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งกำหนดให้จัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลและสังคม
โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
๖.๒ การจัดการศึกษาทางไกล มุ่งเปิดโอกาสและขยายโอกาสให้นักศึกษาและผู้สนใจใฝ่หาความรู้
สามารถศึกษาหาความรู้ได้ในเวลาและสถานที่ที่ตนสะดวกตามความสนใจและความสามารถของแต่ละบุคคล
สอดคล้องกับพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๗
การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล
๗.๑ การขอเปิดดำเนินการ
สถาบันอุดมศึกษาที่ประสงค์จะเปิดดำเนินการหลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกล
ทั้งหลักสูตรที่เปิดดำเนินการในระบบชั้นเรียนอยู่แล้วหรือจะเปิดขึ้นใหม่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และหรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
๗.๒ ความพร้อมและศักยภาพในการเปิดดำเนินการ
๑)
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาทางไกลจะต้องมีคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์ประจำ
และคณาจารย์พิเศษตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
๒) ต้องมีความพร้อมทางด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร และทรัพยากรอื่นอย่างเพียงพอกับการจัดการศึกษาทางไกล
๗.๓ การดำเนินการหลักสูตรต้องมีการธำรงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐาน
และมีการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ข้อ ๘
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาทางไกลจะต้องพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
โดยเฉพาะให้มีเทคโนโลยีและสื่อทั้งสื่อหลัก สื่อเสริม หรือสื่อแบบผสมผสานที่จะใช้อย่างเพียงพอ
เพื่อเป็นหลักประกันว่านักศึกษาจะได้รับบริการการศึกษาที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
ข้อ ๙
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาทางไกล
จะต้องจัดให้มีระบบการวัดผลและการประเมินผลการเรียนที่มีประสิทธิผลและมีมาตรฐานเทียบเคียงได้กับการจัดการศึกษาในระบบชั้นเรียนและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
ข้อ ๑๐
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาทางไกล
จะต้องมีระบบการตรวจสอบและควบคุมให้ผู้เรียนต้องเรียน สอบ และทำผลงานวิชาการอันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาด้วยตนเอง
มีแผนดำเนินการทั้งการสอบประจำภาค และสอบย่อย โดยต้องดำเนินการสอบในสถานที่ที่มีผู้คุมสอบที่สามารถตรวจสอบการเข้าสอบด้วยตนเองของนักศึกษาได้
ข้อ ๑๑
หลักสูตรที่จัดการศึกษาทางไกลทุกหลักสูตรจะต้องกำหนดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพของหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการจัดการศึกษาทางไกล
ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยประเด็นหลัก ๔ ประเด็น คือ
๑๑.๑ การบริหารหลักสูตร
๑๑.๒ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย
๑๑.๓ การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
๑๑.๔ ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
ให้ทุกหลักสูตรมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และมีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก
ๆ ๕ ปี
ข้อ ๑๒
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาทางไกลต้องกำหนดและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการจัดการศึกษาทางไกล
และรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ข้อ ๑๓
การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกลที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
ข้อ ๑๔
กระทรวงศึกษาธิการโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาอาจดำเนินการให้มีการกำกับ
ดูแล ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกล เพื่อให้การจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลเป็นไปอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามเจตนารมณ์
และหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้
ข้อ ๑๕
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๓
พฤศจิกายน ๒๕๔๘
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๘/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
754476 | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 38/2559 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๓๘/๒๕๕๙
เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๑/๒๕๕๙
ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่
๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๙ นั้น ปรากฏว่ายังมีข้อขัดข้องในการดำเนินการจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๒
ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ ๘
ข้อ
๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๙)
ของข้อ ๒ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๙
(๙) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารจัดการการศึกษาในภูมิภาค
เพื่อให้การดำเนินการตามคำสั่งนี้มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๗
ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗)
เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ
๘
ข้อ
๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗/๑)
ของข้อ ๗ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม
พุทธศักราช ๒๕๕๙
(๗/๑) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความจำเป็น
โดยคำนึงถึงวงเงินงบประมาณที่ได้รับ ความคุ้มค่า และความประหยัด
เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ.
ในส่วนที่มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตามข้อ ๘
วรรคหนึ่ง
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘
ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช
๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ ให้ กศจ.
เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
เพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ. ทำหน้าที่ช่วยเหลือหรือกลั่นกรองงานเกี่ยวกับการบรรจุ
การแต่งตั้ง การโยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การกำหนดวิทยฐานะ หรือการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดให้แก่ กศจ.
ให้
อกศจ. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑)
กรรมการใน กศจ. จำนวนหนึ่งคน เป็นประธานอนุกรรมการ
(๒)
กรรมการใน กศจ. จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
(๓)
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัดนั้น จำนวนสองคน
เป็นอนุกรรมการ
(๔)
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
(๕)
ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
กรณีมีความจำเป็น
กศจ.
อาจเสนอแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้
ข้อ
๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๓
ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง
การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ ให้มีศึกษาธิการภาค
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการภาค
ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการภาคเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการภาคก็ได้
ข้อ
๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๕
ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑/๒๕๕๙ เรื่อง
การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ให้มีศึกษาธิการจังหวัด
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศึกษาธิการภาค โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการจังหวัดเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการจังหวัดก็ได้
ข้อ
๘[๑] คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๒
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กรกฎาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๕๕ ง/หน้า ๑๘/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
459860 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การรับรองวิทยฐานะและมาตรฐานการศึกษา
และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงให้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้ เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาที่จะเปิดใหม่และหลักสูตรเก่าที่จะปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก
๓.๑ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.
๒๕๔๒ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
๓.๒ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น พ.ศ.
๒๕๓๙ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐
๓.๓ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับวิชาชีพ พ.ศ.
๒๕๓๙ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐
๓.๔ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ระดับวิชาชีพ (ต่อเนื่อง ๒ ปี) พ.ศ. ๒๕๓๙ ลงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๐
๔. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ
ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพของสาขาวิชานั้น
ๆ โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
และสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
๕. ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น
๒ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตโดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค
หรือระบบจตุรภาค ให้ถือแนวทางดังนี้
ระบบไตรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๒ สัปดาห์
ระบบจตุรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๐ สัปดาห์
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่น
ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย
๖. การคิดหน่วยกิต
๖.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยาย
หรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า
๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๓ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม
ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๔ การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น
ๆ ไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗. จำนวนหน่วยกิตรวมและระยะเวลาการศึกษา
๗.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า
๑๒๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน
๑๒ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๗.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า
๑๕๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๑๐ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน
๑๕ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๗.๓ หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า
๖ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๘๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๑๒ ปีการศึกษา
สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่เกิน ๑๘ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๗.๔ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๗๒ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๔ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
และไม่เกิน ๖ ปีการศึกษา สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
หลักสูตรปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) จะต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญาตรี และจะต้องสะท้อนปรัชญาและเนื้อหาสาระของหลักสูตรปริญญาตรีนั้น
ๆ โดยครบถ้วนและให้ระบุคำว่า ต่อเนื่อง ในวงเล็บต่อท้ายชื่อหลักสูตร
ทั้งนี้
ให้นับเวลาศึกษาจากวันที่เปิดภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตรนั้น
๘. โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี โดยมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชา ดังนี้
๘.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง
วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติตนเอง
ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมายได้ดี
มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็นรายวิชาหรือลักษณะบูรณาการใด
ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
ภาษา และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป
โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
อนึ่ง
การจัดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) อาจได้รับการยกเว้นรายวิชาที่ได้ศึกษามาแล้วในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือระดับอนุปริญญา
ทั้งนี้ จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่ได้รับการยกเว้นดังกล่าว เมื่อนับรวมกับรายวิชาที่จะศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรปริญญาตรี
(ต่อเนื่อง) ต้องไม่น้อยกว่า ๓๐ หน่วยกิต
๘.๒ หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน
วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพ ที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
และปฏิบัติงานได้ โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมดังนี้
๘.๒.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า
๘๔ หน่วยกิต
๘.๒.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า
๑๑๔ หน่วยกิต
๘.๒.๓ หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า
๖ ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า ๑๔๔ หน่วยกิต
๘.๒.๔ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
ให้มีจำนวนหน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะรวมไม่น้อยกว่า ๔๒ หน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดหมวดวิชาเฉพาะในลักษณะวิชาเอกเดี่ยว
วิชาเอกคู่ หรือวิชาเอกและวิชาโทก็ได้ โดยวิชาเอกต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๓๐
หน่วยกิต และวิชาโทต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต ในกรณีที่จัดหลักสูตรแบบวิชาเอกคู่ต้องเพิ่มจำนวนหน่วยกิตของวิชาเอกอีกไม่น้อยกว่า
๓๐ หน่วยกิต และให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๑๕๐ หน่วยกิต
๘.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้
ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ
ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีโดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
สถาบันอุดมศึกษาอาจยกเว้นหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
หมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี ให้กับนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถที่สามารถวัดมาตรฐานได้ ทั้งนี้ นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ
และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๙. จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ซึ่งมีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอนไม่น้อยกว่า ๕ คน และในจำนวนนั้นต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ อย่างน้อย ๒ คน ทั้งนี้ อาจารย์ประจำในแต่ละหลักสูตรจะเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า
๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้
๑๐. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑๐.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี ๕ ปี
และไม่น้อยกว่า ๖ ปี) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
๑๐.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา
(๓ ปี) หรือเทียบเท่า ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของทบวงมหาวิทยาลัยหรือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา พ.ศ.
๒๕๔๘
๑๑. การลงทะเบียนเรียน ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า
๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๒ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
และให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๙ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
และจะสำเร็จการศึกษาได้ดังนี้
๑๑.๑ หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน
๖ ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน ๑๔ ภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๑๑.๒ หลักสูตรปริญญาตรี (๕ ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน
๘ ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน ๑๗ ภาคการศึกษาปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๑๑.๓ หลักสูตรปริญญาตรี (ไม่น้อยกว่า
๖ ปี) สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน ๑๐ ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
และไม่ก่อน ๒๐ ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
๑๑.๔ หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)
สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน ๔ ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน
๘ ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
สำหรับการลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อน
ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๙ หน่วยกิต
หากสถาบันอุดมศึกษาใดมีเหตุผลและความจำเป็น
การลงทะเบียนเรียนที่มีจำนวนหน่วยกิตแตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ ต้องเรียนให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร
๑๒. เกณฑ์การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา ให้สถาบันอุดมศึกษากำหนดเกณฑ์การวัดผลเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละรายวิชา
และเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
และต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า จึงถือว่าเรียนจบหลักสูตรปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ระบบการวัดผลและการสำเร็จการศึกษาที่แตกต่างจากนี้จะต้องกำหนดให้มีค่าเทียบเคียงกันได้
๑๓. ชื่อปริญญา สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้นในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา
หรือกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑๔. การประกันคุณภาพของหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรให้ชัดเจน
ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วยประเด็นหลัก ๔ ประเด็น คือ
๑๔.๑ การบริหารหลักสูตร
๑๔.๒ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
๑๔.๓ การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
๑๔.๔ ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม
และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
๑๕. การพัฒนาหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย
แสดงการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยทุก ๆ ๕ ปีและมีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก
๕ ปี
๑๖. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วชิระ/ตรวจ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๔๘
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๗/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
564186 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
พ.ศ.
๒๕๔๗
ด้วย
รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างสังคมสันติสุขและยกระดับพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดปัตตานี
จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส
กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นสมควรส่งเสริมสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นสถาบันสังคมเพื่อการสอนตามหลักศาสนาอิสลามให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมอิสลามและความต้องการของชุมชนในการศึกษาอย่างเหมาะสม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
สถาบันศึกษาปอเนาะ
หมายความว่า
สถาบันสังคมของชุมชนอิสลามที่เสริมสร้างการเรียนรู้ในทางศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอิสลาม
เพื่อเสริมสร้างให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้และความประพฤติที่ดีงามในการดำรงชีพอย่างสันติสุขและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
โต๊ะครู[๒]
หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
ผู้ช่วยโต๊ะครู[๓]
หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะ
นายทะเบียน
หมายความว่า นายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะประจำจังหวัด
สำนักงาน
หมายความว่า สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตามกฎหมายโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔[๔]
โต๊ะครูเจ้าของปอเนาะใดประสงค์จะจดทะเบียนเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามแบบ
ป.น. ๑ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๕
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัด
ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะและมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแล
สถาบันศึกษาปอเนาะที่ได้จดทะเบียนแล้ว
ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะ
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น.
๒
ข้อ ๖
ให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนกลางสถาบันศึกษาปอเนาะเพื่อรวบรวมข้อมูลสถาบันศึกษาปอเนาะทุกจังหวัด
และมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ และกำกับ
ดูแลนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ดำเนินการตามระเบียบนี้
ข้อ ๗
สถานที่และบริเวณที่ตั้งสถาบันศึกษาปอเนาะต้องมีความเหมาะสมแก่การดำเนินการสอน
โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัยของผู้เรียน
ข้อ ๘
โต๊ะครูที่ขอจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายในที่ดินและอาคารที่ใช้ดำเนินการสอน
ข้อ ๙ โต๊ะครูต้องมีคุณสมบัติและความรู้
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒)
มีความรู้วิชาสามัญไม่ต่ำกว่าหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับในช่วงชั้นปีที่จบหลักสูตรหรือความรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
(๓)
มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี
โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
หรือสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อ ๑๐
โต๊ะครูอาจมอบหมายผู้ช่วยโต๊ะครูทำการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะได้
โดยแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ตามแบบ ป.น. ๓ ท้ายระเบียบนี้
ผู้ช่วยโต๊ะครูต้องมีคุณสมบัติและความรู้
ตามข้อ ๙ (๑) (๒) และ (๓)
ข้อ ๑๑
โต๊ะครูหรือผู้ช่วยโต๊ะครูที่ไม่มีความรู้วิชาสามัญตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
แต่มีความรู้สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ให้ยื่นคำขอผ่อนผันต่อนายทะเบียน
โดยโต๊ะครูหรือผู้ช่วยโต๊ะครูจะต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดขึ้นภายใน
๒ ปี นับแต่วันที่ได้รับการผ่อนผัน
ข้อ ๑๒[๕]
กรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
ข้อ ๑๓
สถาบันศึกษาปอเนาะอาจจะพัฒนาให้ผู้เรียนได้ฝึกอบรมวิชาชีพร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีอาชีพและสามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุข
ข้อ ๑๔ ให้สถาบันศึกษาปอเนาะรายงานการดำเนินงาน
พร้อมจำนวนผู้เรียนและผู้ช่วยโต๊ะครูให้ถูกต้องตามความเป็นจริง พร้อมทั้งสภาพปัญหา
อุปสรรคและความต้องการที่จะขอรับการช่วยเหลือต่อนายทะเบียนทุกๆ ๖ เดือน ตามแบบ
ป.น. ๔
ข้อ ๑๕ ให้สถาบันศึกษาปอเนาะสิ้นสภาพ เมื่อ
(๑) โต๊ะครูถึงแก่กรรม
เว้นแต่ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๙ ได้ยื่นคำขอแสดงความจำนงขอดำเนินการต่อภายใน
๙๐ วัน นับแต่วันที่โต๊ะครูถึงแก่กรรม
(๒)
โต๊ะครูยื่นคำร้องขอเลิกสถาบันศึกษาปอเนาะ
(๓)
ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน เนื่องจากไม่ปฎิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๖[๖]
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๑๗
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๗]
คำร้องขอจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ (แบบ ป.น.๑)
๒. ทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะ (แบบ ป.น. ๒)
๓.
รายงานการมอบหมายให้ผู้ช่วยโต๊ะครูเข้าทำการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะ (แบบ ป.น. ๓)
๔. แบบรายงานการดำเนินงานของสถาบันศึกษาปอเนาะ
(แบบ ป.น. ๔)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๘]
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๔/๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
[๒]
ข้อ ๓ นิยามคำว่า โต๊ะครู
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๘
[๓]
ข้อ ๓ นิยามคำว่า ผู้ช่วยโต๊ะครู
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๘
[๔]
ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕]
ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๖]
ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๗]
คำร้องขอจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะ
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. ๒๕๔๗ (แบบ ป.น. ๑)
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๘
[๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓๐/๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
425211 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปรับปรุงการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การปรับปรุงคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา[๑]
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะปรับปรุงระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศ
โดยการปรับเพิ่มค่าน้ำหนักการนำผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าที่นักเรียนได้จากสถานศึกษาที่สำเร็จการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
และขยายเพิ่มค่าน้ำหนักให้มากขึ้นเต็มที่
เพื่อนำมาใช้ในการสมัครเข้าในสถาบันอุดมศึกษาพร้อมกับผลการทดสอบระดับชาติ
เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนในเวลาเรียนปกติเพิ่มขึ้น
เพื่อทำให้มีการพัฒนาคุณภาพของการเรียนการสอน
สามารถพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกันส่งผลให้เกิดการพัฒนาการศึกษาทั่วประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเร่งเพิ่มคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นในทุกระดับ
เกิดความเชื่อมโยงเชิงบูรณาการระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาขั้นอาชีวศึกษาและการศึกษาขั้นอุดมศึกษา
ก่อให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมใหม่และทำให้เกิดการยกระดับคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาให้สูงขึ้น
อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๘ มาตรา ๑๒
และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
จึงออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
ปีการศึกษา ๒๕๔๘ ให้ปรับค่าน้ำหนักองค์ประกอบการคัดเลือกดังนี้
๑.๑
ผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าที่นักเรียนได้จากสถานศึกษาที่สำเร็จการศึกษาให้ค่าน้ำหนักร้อยละ
๒๕ แยกเป็นผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (Grade
Point Average หรือ GPA)
ร้อยละ ๒๕ และค่าตำแหน่งลำดับที่ (Percentile Rank
หรือ PR) ร้อยละ ๐
๑.๒
ผลการสอบวิชาหลักและในกรณีที่มีการสอบวิชาเฉพาะด้วยให้กำหนดค่าน้ำหนักรวมกันร้อยละ
๗๕
ในกรณีที่กำหนดให้สอบวิชาหลักอย่างเดียวให้นำคะแนนวิชาหลักมาใช้ร้อยละ
๗๕
ในกรณีที่กำหนดให้มีการสอบทั้งวิชาหลักและวิชาเฉพาะ
การกำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักระหว่างคะแนนวิชาหลักและคะแนนวิชาเฉพาะให้เป็นไปตามที่แต่ละสถาบันอุดมศึกษากำหนด
๑.๓ ผลการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย
สถาบันอุดมศึกษาจะทำการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย เพื่อหาข้อมูลประกอบการพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสมเป็นขั้นสุดท้ายก่อนการรับเข้าศึกษา
โดยไม่คิดค่าน้ำหนักคะแนน
๒.
ปีการศึกษา ๒๕๔๙ ให้ปรับการคัดเลือกดังนี้
ให้นักเรียนใช้ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
(GPA) ร้อยละ ๑๐๐ และผลการทดสอบระดับชาติ (National
Test) ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
(ที่กำลังอยู่ในระหว่างการจัดตั้ง) ยื่นสมัครที่สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งโดยตรง
ประกาศ คำสั่ง
หรือเอกสารทางราชการฉบับใดที่มีระบุไว้แล้วที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ณัฐดนัย/พิมพ์
๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๖ ง /หน้า ๑๓/๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ |
747885 | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 11/2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
| คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๑/๒๕๕๙
เรื่อง
การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
มีเอกภาพ และสามารถประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจในเรื่องการศึกษาของประเทศ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้สอดรับกับแนวทางการบริหารงานโดยประชารัฐ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการศึกษาอันจะส่งผลในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑-๑๓
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕
(๒)
คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๑๖๙๓/๒๕๕๕ เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
(๓)
คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๑๖๙๔/๒๕๕๕ เรื่อง
มอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
(๔)
บรรดาคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาคที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ
๒ ให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค
จำนวนสิบแปดภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ
ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่
ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภาคและจังหวัด โดยการอำนวยการ ส่งเสริม
สนับสนุน
และพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นั้น
ๆ และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดยุทธศาสตร์และบทบาทการพัฒนาภาคต่าง ๆ
ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น
ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ ตามศักยภาพและโอกาสของบุคคลและชุมชนในแต่ละพื้นที่
(๒)
สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ
การวิจัยและพัฒนา
(๓)
กำกับดูแล ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ
(๔)
สนับสนุนการตรวจราชการ
และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ
(๕)
ประสานการบริหารงานระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด
โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
(๖)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ
๓ ให้มีศึกษาธิการภาค
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการภาค
ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการภาคจำนวนไม่เกินหนึ่งคนเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการภาค
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งศึกษาธิการภาคและรองศึกษาธิการภาคจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการตามที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเสนอ
ข้อ
๔ ในแต่ละจังหวัด
ให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ นโยบาย และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการต่าง ๆ ที่มอบหมาย
และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และการปฏิบัติงานราชการ
ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
และตามที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดมอบหมาย
(๒)
ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานด้านวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการในระดับจังหวัด
(๓)
สั่งการ กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๔)
จัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
และกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(๕)
ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
รวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ
และประสานงานต่าง ๆ ในระดับจังหวัด
ข้อ
๕ ให้มีศึกษาธิการจังหวัด
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศึกษาธิการภาค
โดยอาจให้มีรองศึกษาธิการจังหวัดจำนวนไม่เกินหนึ่งคนเพื่อช่วยเหลืองานศึกษาธิการจังหวัด
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัดจากข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๖
ให้โอนอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
และอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
ข้อ
๗ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน
งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานศึกษาธิการภาคที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง จัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการภาค ๑-๑๓ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่
๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ ไปเป็นของสำนักงานศึกษาธิการภาคตามข้อ ๒ ทั้งนี้
ตามบัญชีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
ข้อ
๘
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต
๑ ในจังหวัดต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในจังหวัดนั้น ๆ
ไปพลางก่อน แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๑๐[๑]
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑
มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๖/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ |
747877 | คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
| คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๐/๒๕๕๙
เรื่อง
การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
โดยที่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงสภาพปัญหาในการจัดการศึกษาในส่วนภูมิภาคของประเทศว่าเกิดจากปัญหาการสั่งการและการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นเอกภาพเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการศึกษาให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ประกอบด้วย
(๑)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
(๓)
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ
(๔)
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ
(๕)
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ
(๖)
เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ
(๗)
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ
๒
ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๒)
วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๓)
พิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
(๔)
แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา
หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด ทั้งนี้
ตามประเภทหรือระดับตำแหน่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
(๕)
สั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา
หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด
หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือให้พ้นจากตำแหน่ง
(๖)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
(๗)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามข้อ ๗ (๗)
(๘)
เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ
หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามข้อเท็จจริง
รวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา
ในระหว่างที่ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตาม
(๕) บุคคลนั้นไม่อาจได้รับเงินค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ใด ๆ
ในตำแหน่งที่ถูกสั่งให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
ในกรณีที่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจหน้าที่ตาม
(๔) มิให้นำบทบัญญัตินั้นมาใช้บังคับแก่องค์กรซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังกล่าว
ข้อ
๓ ให้สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงศึกษาธิการ
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามข้อ ๒ (๖) และให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น
ๆ ที่จำเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ
โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๔ ให้ยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และให้โอนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ ตามคำสั่งนี้
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง
หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ข้อ
๕ ให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
และให้โอนอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ กศจ. ของจังหวัดนั้น ๆ ตามคำสั่งนี้
บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึง อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ข้อ
๖ ในแต่ละจังหวัด
ให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กศจ. ประกอบด้วย
(๑)
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ
(๒)
ศึกษาธิการภาคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นรองประธานกรรมการ
(๓)
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และผู้แทนสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกรรมการ
(๔)
ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด
ประธานหอการค้าจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และวัฒนธรรมจังหวัด
เป็นกรรมการ
(๕)
ผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
จำนวนสองคน เป็นกรรมการ
(๖)
ผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
จำนวนสองคน เป็นกรรมการ
(๗)
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
ด้านบริหารงานบุคคล หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
จำนวนไม่เกินสามคน เป็นกรรมการ
(๘)
ศึกษาธิการจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
สำหรับกรุงเทพมหานคร
ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคทำหน้าที่เป็น
กศจ.
ข้อ
๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ที่รับโอนมาตามข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ กศจ.
มีอำนาจหน้าที่ในแต่ละเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา
และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล
ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในจังหวัด
(๒)
พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
(๓)
พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดำเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน
และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(๔)
เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อใช้อำนาจตามข้อ
๒ (๔)
(๕)
กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
(๖)
วางแผนการจัดการศึกษาในจังหวัดและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
(๗)
เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ
กศจ. ได้ตามความจำเป็น
(๘)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย
ข้อ
๘
เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ให้มีคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ. เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศจ.
ให้
อกศจ. ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑)
บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. เป็นประธานอนุกรรมการ
(๒)
บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
(๓)
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษา ซึ่ง กศจ.
แต่งตั้ง จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
(๔)
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง จำนวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
(๕)
ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ
๙ ให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของ กศจ.
อกศจ. รวมทั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามข้อ ๗ (๗)
เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ
และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็น ให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ
โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๑๐ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง
หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้ถือว่าอ้างถึง กศจ. ตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้
ข้อ
๑๑
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ
๑๒[๑]
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๑
มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๑/๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ |
586366 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา[๑]
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
มาตรา ๓๔ วรรคสอง และมาตรา ๗๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผู้ใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แนะนำ เห็นชอบและออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้
สำนักงานเขต หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๒
ให้สำนักงานเขตมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา
และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา
แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(๒)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา
และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา
และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ
ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(๓) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) กำกับ ดูแล ติดตาม
และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ
รวมทั้งทรัพยากรบุคคล
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล
องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันอื่นที่จัดรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(๙) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๐) ประสาน ส่งเสริม
การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
(๑๑)
ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา
(๑๒)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ
หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้มอบหมาย
สำนักงานเขตอาจมีอำนาจหน้าที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก็ได้
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ ๓ ให้แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขต ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๖) กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
(๗) กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน
ส่วนราชการตาม (๗)
ให้มีเฉพาะในสำนักงานเขตตามบัญชีท้ายประกาศนี้
ในกรณีที่ไม่มีส่วนราชการตาม (๗)
ให้ส่วนราชการตาม (๔) มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๗)
ข้อ ๔ ส่วนราชการของสำนักงานเขตมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) กลุ่มอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงานเขต
(ข)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและยานพาหนะ
(ง)
จัดระบบบริหารงานและพัฒนาองค์กรสำนักงานเขต
(จ) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจการและผลงานของสำนักงานเขตและส่วนราชการในสังกัด
(ฉ) เผยแพร่และให้บริการข้อมูลข่าวสาร
(ช)
ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ประสานงานที่เกี่ยวกับการสรรหากรรมการและอนุกรรมการในระดับต่าง ๆ
(ฌ) ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารการเงิน บัญชี
พัสดุและสินทรัพย์
(ญ)
ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในของสำนักงานเขตที่มิใช่งานของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
(ฎ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๒) กลุ่มบริหารงานบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) วางแผนอัตรากำลัง กำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ
(ข) สรรหา บรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน
และการออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ค) ดำเนินงานบำเหน็จความชอบ และทะเบียนประวัติ
(ง) พัฒนาบุคลากร ส่งเสริม ยกย่อง เชิดชูเกียรติ
และพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
(จ) ดำเนินงานวินัย อุทธรณ์ ร้องทุกข์
และการดำเนินคดีของรัฐ
(ฉ)
ปฏิบัติงานเลขานุการอนุกรรมการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษา
(ช) จัดทำมาตรฐาน คุณภาพงาน
กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขต
(ซ)
ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนออนุกรรมการบริหารงานบุคคลเขตพื้นที่การศึกษา
และคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ฌ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๓) กลุ่มนโยบายและแผน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
(ข) จัดทำนโยบาย
และแผนพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายมาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
(ค)
วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษาและแจ้งการจัดสรรงบประมาณ
(ง) ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณและผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผน
(จ) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม
หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(ฉ)
ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
(ช)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๔) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก)
ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรูปแบบการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(ข)
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุคคลครอบครัว องค์กรชุมชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
(ค)
ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
(ง) ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ
ด้อยโอกาสและมีความสามารถพิเศษ
(จ) ส่งเสริมงานการแนะแนว สุขภาพอนามัย กีฬาและนันทนาการ
ลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหาร ประชาธิปไตย
วินัยนักเรียน การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน และงานกิจการนักเรียนอื่น
(ฉ)
ส่งเสริมสนับสนุนการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(ช)
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพในสำนักงานเขต
สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา
(ซ)
ส่งเสริมงานกิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
และงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(ฌ) ประสานการป้องกันและแก้ไขการใช้สารเสพติด
และส่งเสริมป้องกันแก้ไขและคุ้มครองความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
(ญ) ดำเนินงานวิเทศสัมพันธ์
(ฎ)
ประสานส่งเสริมการศึกษากับการศาสนาและการวัฒนธรรม
(ฏ) ส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
(ฐ)
ประสานและส่งเสริมสถานศึกษาให้มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(ฑ) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๕) กลุ่มนิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการจัดการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
และหลักสูตรการศึกษาพิเศษ
(ข) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อการพัฒนาหลักสูตร
การสอน และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ค) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลการศึกษา
(ง) วิจัย พัฒนา ส่งเสริม
มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งประเมิน ติดตาม
และตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
(จ) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(ฉ) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา
ส่งเสริมและพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
(ช) ปฏิบัติงานเลขานุการคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(ซ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๖) กลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) ประสาน ส่งเสริม
สนับสนุนให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารงานบุคคล
และการบริหารทั่วไป
(ข)
ดำเนินงานที่เป็นภารกิจของสำนักงานเขตที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(ค)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
(๗) กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(ก) กำกับ ดูแล ประสาน ส่งเสริม
และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
(ข)
ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน
และการเปลี่ยนแปลงกิจการโรงเรียนเอกชน
(ค)
ดำเนินการเกี่ยวกับการสงเคราะห์และเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนและที่กฎหมายอื่นกำหนด
(ง)
ดำเนินการอื่นเกี่ยวกับงานการศึกษาเอกชนตามที่กฎหมายกำหนด
(จ)
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
หรือที่ได้รับมอบหมาย
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ปองพล อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ดวงเพ็ญ/พิมพ์
๑๔
สิงหาคม ๒๕๕๑
นันท์นภัสร์/จัดทำ
๒๒
สิงหาคม ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑
สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๑/๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๖ |
441644 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
การจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด[๑]
ด้วยเห็นสมควรปรับปรุงประกาศการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดให้มีความเหมาะสมและเกิดความสะดวกในการให้บริการตามภารกิจของศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัด
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
กอปรกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒
ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ นร ๐๒๐๕/๘๙๙๖ ลงวันที่ ๘ กรกฎาคม
๒๕๔๒ จึงให้ยกเลิกประกาศตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด
และประกาศแก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด
และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด (จำนวน ๒๔ ศูนย์) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด (จำนวน ๓๙ ศูนย์) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.
๒๕๔๖
(๔) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
(๕) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
(๖) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
(๗) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
(๘) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
(๙) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
(๑๐) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
แก้ไขสถานที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด ประกาศ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒ ให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด
ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกาธิการ มีสถานที่ตั้ง
ดังนี้
(๑) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนนทบุรี
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗/๒๐ หมู่ที่ ๒ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี
(๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปทุมธานี
ตั้งอยู่ที่สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองปทุมธานี (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปทุมธานี ถนนเทศปทุม
ตำบลปบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
(๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ตั้งอยู่เลขที่ ๔๙๘ ถนนสุขุมวิท ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ
(๔) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๐๐ ถนนเอกชัย ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
(๕) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนราธิวาส
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘/๑ ถนนประชาสงเคราะห์ ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส
จังหวัดนราธิวาส
(๖) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปัตตานี
ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนสะบารัง ตำบลสะบารัง อำเภอปัตตานี จังหวัดปัตตานี
(๗) ศูนย์การศึกษาพิเศา ประจำจังหวัดสตูล
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนสตูลวิทยา ถนนคลองขุด-บ้านนาแค ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล
จังหวัดสตูล
(๘) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดชุมพร
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านบางเป้ง(เก่า) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดชุมพร หมู่ที่ ๕ ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
(๙) ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖๐ ถนนลูกเสือ ตำบลคลัง
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
(๑๐) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพัทลุง
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง หมู่ที่ ๑ ถนนพัทลุง-ควนกุฏ
ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
(๑๑) ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลยที่ ๒๒๔ หมู่ที่ ๔ ถนนสุราษฎร์-นาคาร
ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(๑๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดภูเก็ต
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
(๑๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกระบี่
ตั้งอยู่ที่อาคารราชพัสดุหลังลำดับที่ กบ. ๑๒๙
ปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติคลองจิหลาด ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
(๑๔) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพังงา
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบางไทร (วิชัยนิตินาท) หมู่ที่ ๓ ถนนพังงา-ตะกั่วป่า
ตำบลบางไทร อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
(๑๕) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดระนอง
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนราชกรูดวิทยา หมู่ที่ ๓ ถนนเพชรเกษม ตำบลราชกรูด
อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
(๑๖) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดราชบุรี
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดราชคาม (เดิม) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดราชบุรี หมู่ที่ ๔ ถนนทางหลวงชนบท รบ.๔๐๑๐ ตำบลคุ้งน้ำวน
อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
(๑๗) ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถนนประจวบคีรีบันธ์ ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(๑๘) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดบางกระพ้อม (คงลาภยิ่งประชานุสรณ์) ถนนสมุทรสงคราม-บางแพ
ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
(๑๙) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ตั้งอยู่เลขที่ ๘/๔ ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
(๒๐) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย (เก่า) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดเพชรบุรี ซอยวัดยาง ๑ ถนนดำเนินเกษม ตำบลคลองกระแซง
อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
(๒๑) ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภออุทัย (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หมู่ที่ ๕
ตำบลคานหาม อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(๒๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสิงห์บุรี
ตั้งอยู่บริเวณศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรีหลังเก่า ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี
(๒๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ตั้งอยู่เลยที่ ๓๙๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
(๒๔) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดชัยนาท
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนวัดพระบรมธาตุ (เดิม) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดชัยนาท หมู่ที่ ๖ ถนนชัยนาท-สิงห์บุรี ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท
จังหวัดชัยนาท
(๒๕) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสระบุรี
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๑-๒๐๒ ถนนพหลโยธิน ตำบลพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
(๒๖) ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดจังหวัดอ่างทอง ตั้งอยู่ที่โรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม หมู่ที่ ๒
ถนนปู่ดอก-ปู่ทองแก้ว ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
(๒๗) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ตั้งอยู่เลยที่ ๑๘๔ ถนนปิ่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร
จังหวัดกำแพงเพชร
(๒๘) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดตาก
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๓ หมู่ที่ ๗ ถนนเจดีย์ยุทธหัตถี ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก
จังหวัดตาก
(๒๙) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล จังหวัดนครสวรรค์ หมู่ที่ ๘
ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
(๓๐) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพิจิตร
ตั้งอยู่ที่สำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเมืองพิจิตร (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพิจิตร ถนนศรีมาลา ตบลในเมือง
อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
(๓๑) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านโตก
อำเภอเมืองเพชรบูรณื จังหวัดเพชรบูรณ์
(๓๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุโขทัย
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านท่าพระ (เดิม) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดสุโขทัย หมู่ที่ ๕ ตำบลปากแคว อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
(๓๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ตั้งอยู่ที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลับแล (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ หมู่ที่ ๑
ถนนบรมอาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
(๓๔) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๒ หมู่ที่ ๑ ตำบลปากหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวดัแม่ฮ่องสอน
(๓๕) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำพูน
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๑ หมู่ที่ ๓ ถนนหน้าวัดรพระยืน ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูน
(๓๖) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเชียงราย
ตั้งอยู่เลขที่ ๔๒๐/๑ หมู่ที่ ๒๑ บริเวณเกาะลอย ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
จังหวัดเชียงราย
(๓๗) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๘ หมู่ที่ ๑๐ ถนนพะเยา-เชียงคำ ตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้
จังหวัดพะเยา
(๓๘) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแพร่
ตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุ ขึ้นทะเบียนเป็นแปลงหมายเลขที่ พร. ๘๘๑ และ พร. ๘๘๒ ตำบลนาจักร
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
(๓๙) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๕ หมู่ที่ ๑ ถนนปางค่า-ไชยสถาน ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน
จังหวัดน่าน
(๔๐) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำป่าง
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๘/๔ ถนนสุขสวัสดิ์ ๑ ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
(๔๑) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเลย
ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙/๑ ถนนเลย-ด่านซ้าย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
(๔๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุดรธานี
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านเดื่อ หมู่ที่ ๖ ถนนอุดร-สามพร้าว ตำบลหมากแข้ง
อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
(๔๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสกลนคร
ตั้งอยู่ที่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสกลนคร (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสกลนคร ถนนใสสว่าง
ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกุลนคร จังหวัดสกลนคร
(๔๔) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดหนองคาย
ตั้งอยู่ที่สำนักงานการประชุมศึกษา จังหวัดหนองคาย (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดหนองคาย ถนนพนังชลประทาน
ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
(๔๕) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร ถนนอุดร-เลย ตำบลลำภู อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
จังหวัดนองบัวลำภู
(๔๖) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านหนองปลิง (เดิม) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดมหาสารคาม ถนนมหาสารคาม-วาปีปทุม ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
(๔๗) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒/๑ ถนนมุกดาหาร-ดอนตาล ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหาร
(๔๘) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
ตั้งอยู่ที่สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองอำนาจเจริญ (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ ถนนชยางกูร
ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
(๔๙) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ตั้งอยู่เลยที่ ๔๐๐ ถนนถีนานนท์ ตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
(๕๐) ศูนย์การศึกษาพิเศา ประจำจังหวัดนครพนม
ตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการ ถนนอภิบาลบัญชา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม
จังหวัดนครพนม
(๕๑) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโยสร
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบรรจงพงษ์ศํกดิ์อุทิศ (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร หมู่ที่ ๘ ถนนแจ้งสนิท
ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
(๕๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด ถนนแจ้งสนิท ตำบลนิเวศน์
อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
(๕๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนพระครูพิทยาคม ถนนบุรีรัมย์-พุทไธสง ตำบลพระครู
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
(๕๔) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุรินทร์
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนหนองโตง สุรวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ หมู่ที่ ๗ ถนนสุรินทร์-ปราสาท
ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
(๕๕) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ตั้งอยู่เลขที่ ๙ หมู่ที่ ๖ ถนนชัยภูมิ-สีคิ้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ
จังหวัดชัยภูมิ
(๕๖) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ตั้งอยู่ที่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ (เดิม)
ปัจจุบันเป็ฯที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ถนนวันลูกเสือ
ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
(๕๗) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดจันทรบุรี
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๘/๒๒ หมู่ที่ ๗ ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองจันทบุรี
จังหวัดจันทบุรี
(๕๘) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดฉะเชิงเฉรา
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนพุทธโสธร ถนนเทพคุณากร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา
(๕๙) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดตราด
ตั้งอยู่บริเวณสนามของฝูงบิน ๒๐๗ ถนนตราด-คลองใหญ่ ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด
จังหวัดตราด
(๖๐) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนคนายก
ตั้งอยู่ที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองนครนายก (เดิม)
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาพิเศา ประจำจังหวัดนคนายก ถนนสุวรรณศร
ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
(๖๑) ศูนย์การศึกษาพิเศา ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านดงหัวโขด หมู่ที่ ๘ ถนนปราจีนธานี ตำบลบ้านพระ
อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
(๖๒) ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดระยอง
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จังหวัดระยอง หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแลง
อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
(๖๓) ศูนย์การศึกษาพิเศา ประจำจังหวัดสระแก้ว
ตั้งอยู่ที่โรงเรียนท่าเกษมพิทยา หมู่ที่ ๒ ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าเกษม
อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อัมภิญา/พิมพ์
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑๔/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๗ |
458797 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาโท 2 ปริญญาในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2548
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง
แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาโท ๒ ปริญญา
ในสถาบันอุดมศึกษาไทย
พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาโท
๒ ปริญญาในสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างหลากหลาย
ทันสมัย มีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสอดคล้องกับความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาในสองหลักสูตรที่ต่างกัน
แต่มีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในระยะเวลาเดียวกันได้ โดยอาจใช้เวลาศึกษาสั้นลงและประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษา
ทำให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์สองศาสตร์และสามารถเชื่อมโยงศาสตร์เหล่านั้นได้อย่างบูรณาการ
เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานการศึกษาระดับปริญญาโท และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ และมติคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๐
มีนาคม ๒๕๔๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงให้ออกประกาศกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
๑.
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาโท
๒ ปริญญา ในสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. หลักสูตรควบระดับปริญญาโท ๒ ปริญญา (Dual
Masters Degree Program)
หมายถึง หลักสูตรสองหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนศึกษาพร้อมกัน โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้งสองหลักสูตร
๔. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ระบบการจัดการศึกษา
การคิดหน่วยกิตโครงสร้างหลักสูตร การรับและเทียบโอนหน่วยกิต จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา การลงทะเบียนเรียนและระยะเวลาการศึกษา เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ชื่อปริญญา การประกันคุณภาพของหลักสูตร และการพัฒนาหลักสูตร ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๔๘ และหลักเกณฑ์แนวทางอื่นที่เกี่ยวข้อง
๕. หลักสูตรที่จะนำมาจัดการศึกษาแบบควบ ๒ ปริญญา
ต้องเป็นหลักสูตรที่สถาบันเปิดสอนแยกเป็นสองหลักสูตร
๖. สถาบันที่จัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาโท
๒ ปริญญา ต้องกำหนดวิชาเฉพาะและวิชาแกนที่จะใช้ร่วมกันระหว่างสองหลักสูตรให้ชัดเจน
ทั้งจำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิต
๗. ผู้ศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษาที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
ซึ่งอาจเป็นแผนการศึกษาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
๘. ผู้ศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรทั้งสองกรณีที่มีรายวิชาใช้ร่วมกัน
ให้ลงทะเบียนเรียนวิชาเหล่านั้นจากหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง
๙. ในกรณีที่ผู้ศึกษาลงทะเบียนเรียนในแผนการศึกษาพร้อมกันทั้งสองหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า
วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระจะเป็นฉบับเดียวกันหรือเป็นสองฉบับ หากกำหนดให้วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระเป็นฉบับเดียวกัน
วิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระนั้นจะต้องครอบคลุมหรือบูรณาการเนื้อหาวิชาทั้งสองหลักสูตร
และจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักจากทั้งสองหลักสูตร
๑๐. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย
โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๑๑/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ |
459865 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดและเจตนารมณ์ของเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอนุปริญญา
ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับเป็นแนวทางการบริหารจัดการ และพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงให้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้ เป็นแนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาทุกสาขาวิชา
สำหรับหลักสูตรที่จะเปิดใหม่และหลักสูตรเก่าเพื่อปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษาให้มีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น
สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และควรกำหนดตัวบ่งชี้ด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ อาทิ จำนวนและคุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร
สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ผู้สอน
๔. ระบบการจัดการศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกระดับกำหนดให้ใช้ระบบทวิภาคเป็นระบบมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
แต่มิได้จำกัดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องใช้ระบบทวิภาคในการจัดการศึกษาเพียงระบบเดียว สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาระบบอื่นได้เช่นกัน
อาทิ ระบบไตรภาค หรือระบบจตุรภาค กรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาระบบอื่น จะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้นไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจน
ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งภาคการศึกษา ระยะเวลาการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษา
การคิดหน่วยกิต รายวิชาภาคทฤษฎีและรายวิชาภาคปฏิบัติ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม การทำโครงการหรือกิจกรรมอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตระบบดังกล่าวกับหน่วยกิตระบบทวิภาค
อนึ่ง
ระบบการจัดการศึกษาอื่นใดที่สถาบันอุดมศึกษานำมาใช้ในการจัดการศึกษาควรเป็นระบบมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
๕. การจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
วิชาศึกษาทั่วไปมีเจตนารมณ์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
โดยให้ศึกษารายวิชาต่าง ๆ จนเกิดความซาบซึ้งและสามารถติดตามความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้นได้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีเนื้อหาวิชาที่เบ็ดเสร็จในรายวิชาเดียว ไม่ควรมีรายวิชาต่อเนื่องหรือรายวิชาขั้นสูงอีก
และไม่ควรนำรายวิชาเบื้องต้นหรือรายวิชาพื้นฐานของวิชาเฉพาะมาจัดเป็นวิชาศึกษาทั่วไป
๖. การเปิดสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญา
สถาบันอุดมศึกษามีภารกิจหลักในการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญา
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในสาขาวิชาการและวิชาชีพต่าง
ๆ ออกมารับใช้สังคม รวมทั้งมุ่งเน้นการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพระดับสูง
ให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ สำหรับการผลิตบุคลากรในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี (ระดับประกาศนียบัตรและระดับอนุปริญญา)
ควรเป็นภารกิจของสถานศึกษาประเภทอื่น เช่น วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัย อาชีวศึกษา เป็นต้น
ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่จะเปิดสอนหลักสูตรระดับอนุปริญญา ควรมีเหตุผลความจำเป็นในการเปิดสอนและต้องคำนึงถึงความต้องการบุคลากรในสาขาวิชานั้นเป็นสำคัญ
รวมทั้งคำนึงถึงความซ้ำซ้อนในการเปิดสอนสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนอยู่แล้วในสถาบันอื่น
๗. จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์
๗.๑ คุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี
ซึ่งมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรีต้องมีประสบการณ์ในการสอนและได้รับการพัฒนาให้มีคุณวุฒิสูงขึ้น
รวมทั้งได้รับตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
๗.๒ อาจารย์ประจำ หมายถึง บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัย
และปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาตามภาระงานที่รับผิดชอบในหลักสูตรที่เปิดสอน (มิใช่เต็มเวลาตามเวลาทำการ) ทั้งนี้ อาจารย์ประจำในแต่ละหลักสูตรจะเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า
๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้ และต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใดในขณะหนึ่ง
ๆ เท่านั้น
ในกรณีที่เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างสถาบันหรือหลักสูตรความร่วมมือของหลายสถาบันอาจารย์ประจำของสถาบันในความร่วมมือนั้น
ให้ถือเป็นอาจารย์ประจำในความหมายของเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
๗.๓ อาจารย์ประจำหลักสูตร สถาบันอุดมศึกษาต้องเปิดเผยข้อมูลรายชื่อและคุณวุฒิของอาจารย์ในแต่ละหลักสูตร
ทั้งคณาจารย์ประจำและคณาจารย์พิเศษในแต่ละภาคการศึกษา สำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณาจารย์ทั้ง
๒ ประเภทดังกล่าวในระดับบัณฑิตศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนในการทำหน้าที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้สอนตามที่เกณฑ์กำหนด
โดยเผยแพร่ในเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา และให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ในการผดุงรักษามาตรฐานและคุณภาพการศึกษาสืบไป
๗.๔ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ให้มีภาระหน้าที่ในการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การติดตามประเมินผลหลักสูตร
และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
๗.๕ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักต้องเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรนั้น
ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมอาจเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันก็ได้
ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นสาขาวิชาที่ขาดแคลนผู้ทรงคุณวุฒิ อาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมให้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักได้โดยอนุโลม
อนึ่ง
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมอาจเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ได้
แต่ต้องไม่เป็นประธานกรรมการ และต้องเข้าสอบวิทยานิพนธ์ด้วยทุกครั้ง
๗.๖ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หมายถึง บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เปิดสอนเป็นอย่างดี
ซึ่งอาจเป็นบุคลากรที่ไม่อยู่ในสายวิชาการ หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน โดยไม่ต้องพิจารณาด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
ต้องเป็นบุคลากรประจำในสถาบันเท่านั้น ส่วนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
อาจเป็นบุคลากรประจำในสถาบันหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในสาขาวิชานั้น
ๆ เป็นที่ยอมรับในระดับหน่วยงานหรือระดับกระทรวงหรือวงการวิชาชีพด้านนั้น ๆ เทียบได้ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งระดับ
๙ ขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
ในกรณีหลักสูตรปริญญาเอกไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ หรืออาจารย์ผู้สอน ที่ได้รับคุณวุฒิปริญญาเอก หรือไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่รองศาสตราจารย์ขึ้นไปในสาขาวิชาที่เปิดสอน
สถาบันอุดมศึกษาอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแทนเป็นกรณี ๆ ไป โดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา
และต้องแจ้งคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้รับทราบการแต่งตั้งนั้นด้วย
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์และศาสตราจารย์พิเศษ
ให้ประเมินผลงานทางวิชาการ ให้เทียบเคียงได้กับผลงานของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่เทียบเคียงและยอมรับให้เทียบเท่ากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา
๘. ภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ให้นับรวมจำนวนนักศึกษาเก่าที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาด้วย
๙. การสอบผ่านภาษาต่างประเทศ
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
กำหนดให้ต้องสอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย ๑ ภาษา เกณฑ์ดังกล่าวให้ใช้กับผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ผู้เรียนในหลักสูตรเดียวกันไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาต่างประเทศภาษาเดียวกันก็ได้ ภาษาต่างประเทศในที่นี้
หมายถึง ภาษาที่เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าความรู้เพื่อทำวิทยานิพนธ์ สำหรับหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษหากผู้เรียนชาวต่างประเทศรายใดมีการทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
ยอมให้กำหนดเป็นภาษาไทยได้ ยกเว้นกรณีที่ผู้เรียนเป็นคนไทย ต้องกำหนดเป็นภาษาต่างประเทศ
ส่วนหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาไทย ต้องกำหนดเป็นภาษาต่างประเทศเท่านั้น
๑๐. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ควรให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ
เนื่องจากตำราต่าง ๆ ที่จะใช้ศึกษาต่อยอดองค์ความรู้ในระดับสากลด้วยตนเอง ส่วนใหญ่จะเป็นตำราภาษาอังกฤษ
และควรให้ความสำคัญกับภาษาไทยเพื่อเป็นเอกลักษณ์และภาคภูมิใจในความเป็นไทย
๑๑. การสอบวิทยานิพนธ์ ควรเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ซึ่งมีการเสนอผลงานวิจัยที่สามารถตรวจสอบได้
๑๒. การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก (แบบ ๑)
การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก
(แบบ ๑) ซึ่งเป็นแผนการศึกษาแบบทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว ให้สถาบันอุดมศึกษาคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้
๑๒.๑ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
และเป็นผลงานที่ชี้ชัดได้ว่าสามารถที่จะสนับสนุนการวิจัยในสาขาวิชาที่เปิดสอนได้
๑๒.๒ สถาบันที่จะเปิดสอนต้องมีหลักสูตรที่ดี
มีมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเชื่อถือได้และมีทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ
๑๒.๓ สถาบันที่จะเปิดสอนต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมที่จะรองรับ
และสนับสนุนงานวิจัยของผู้เรียน
๑๒.๔ สถาบันที่จะเปิดสอนควรมีเครือข่ายความร่วมมือสนับสนุน
๑๒.๕ สถาบันที่จะเปิดสอนควรพร้อมที่จะร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นได้
๑๓. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
๑๓.๑ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
มิใช่ส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับปริญญาโท ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
หากต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ให้เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
โดยเทียบโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินร้อยละ ๔๐ ของหลักสูตรที่จะเข้าศึกษา
๑๓.๒ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
มิใช่ส่วนหนึ่งของหลักสูตรระดับปริญญาเอก ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
หากต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ให้ใช้คุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่าเข้าศึกษา
๑๓.๓ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีระยะเวลาการศึกษา
๖ ปี หรือเทียบเท่าปริญญาโท สามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงได้โดยไม่ต้องเข้าศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาโทมาก่อน
๑๔. ปริญญาบัตรและใบแสดงผลการศึกษา
การออกใบปริญญาบัตรและใบแสดงผลการศึกษา
(Transcript) ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อปริญญาและชื่อสาขาวิชา
ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในเอกสารหลักสูตรฉบับที่เสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบหรือรับรอง ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดปัญหาเมื่อนำไปสมัครงานหรือศึกษาต่อ
๑๕. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณาและให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วชิระ/ตรวจ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๔๘
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๒๔/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
459863 | ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548
| ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่ใช้ในปัจจุบันให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและการรับรองวิทยฐานะ และเพื่อให้การบริหารงานด้านวิชาการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงให้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ดังต่อไปนี้
๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๘
๒.[๑] ให้ใช้ประกาศกระทรวงนี้สำหรับหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
(การศึกษาหลังปริญญาตรี) ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง (การศึกษาหลังปริญญาโท) ระดับปริญญาโท
และระดับปริญญาเอกทุกสาขาวิชา สำหรับหลักสูตรที่จะเปิดใหม่และหลักสูตรเก่าที่จะปรับปรุงใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
๓. ให้ยกเลิก
๓.๑ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต พ.ศ.
๒๕๓๓ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓
๓.๒ ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.
๒๕๔๒ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
๔. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
๔.๑ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงมุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ
ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ
เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญสามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น และควรเป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จในตัวเอง
อนึ่ง
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต หากเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเดียวกันหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
ให้เทียบโอนหน่วยกิตได้ไม่เกินร้อยละ ๔๐ ของหลักสูตรที่จะเข้าศึกษา
๔.๒ หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก
มุ่งให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา
ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาต่าง
ๆ โดยกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
๕. ระบบการจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น
๒ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต โดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบไตรภาค
หรือระบบจตุรภาค ให้ถือแนวทางดังนี้
ระบบไตรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๒ สัปดาห์
ระบบจตุรภาค
๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๔ ภาคการศึกษาปกติ ๑ ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
๑๐ สัปดาห์
สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระบบอื่น
ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการศึกษานั้น รวมทั้งรายละเอียดการเทียบเคียงหน่วยกิตกับระบบทวิภาคไว้ในหลักสูตรให้ชัดเจนด้วย
๖. การคิดหน่วยกิต
๖.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า
๑๕ ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า
๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๓ การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม
ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๔ การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
ที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ
๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๕ การค้นคว้าอิสระ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า
๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๖.๖ วิทยานิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้าไม่น้อยกว่า
๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิตระบบทวิภาค
๗. โครงสร้างหลักสูตร
๗.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ให้มีจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
๗.๒ ปริญญาโท ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต โดยแบ่งการศึกษาเป็น ๒ แผน คือ
แผน
ก เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้
แบบ
ก ๑ ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้โดยไม่นับหน่วยกิต
แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด
แบบ
ก ๒ ทำวิทยานิพนธ์ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า
๑๒ หน่วยกิต
แผน
ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษางานรายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า
๓ หน่วยกิต และไม่เกิน ๖ หน่วยกิต
๗.๓ ปริญญาเอก แบ่งการศึกษาเป็น
๒ แบบ โดยเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาการ และนักวิชาชีพชั้นสูง คือ
แบบ
๑ เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ สถาบันอุดมศึกษาอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มขึ้นก็ได้โดยไม่นับหน่วยกิต
แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด ดังนี้
แบบ
๑.๑ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต
แบบ
๑.๒ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๗๒ หน่วยกิต
ทั้งนี้
วิทยานิพนธ์ตาม แบบ ๑.๑
และแบบ ๑.๒ จะต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน
แบบ
๒ เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้
แบบ
๒.๑ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
แบบ
๒.๒ ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๔๘ หน่วยกิต และศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
ทั้งนี้
วิทยานิพนธ์ตามแบบ ๒.๑
และ แบบ ๒.๒ จะต้องมีมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน
๘. การรับและเทียบโอนหน่วยกิต สถาบันอุดมศึกษาอาจยกเว้นหรือเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา
หรือวิทยานิพนธ์จากหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาให้กับนักศึกษาที่มีความรู้
ความสามารถ ที่สามารถวัดมาตรฐานได้ ทั้งนี้
นักศึกษาต้องศึกษาให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ
และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเทียบโอนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๙. จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
จำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน โดยเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรเกินกว่า ๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้
นอกจากนี้อาจารย์ประจำหลักสูตรแต่ละหลักสูตรจะต้องทำหน้าที่เป็นอาจารย์ประจำตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใดเท่านั้น
และต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๙.๑ ปริญญาโท
๙.๑.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น
หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จำนวนอย่างน้อย ๓ คน
๙.๑.๒ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑)
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจำมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๒)
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน
มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่าหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๙.๑.๓ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน
อาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกดังกล่าวต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๙.๑.๔ อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโทหรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๙.๒ ปริญญาเอก
๙.๒.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น
หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน จำนวนอย่างน้อย ๓ คน
๙.๒.๒ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑)
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ต้องเป็นอาจารย์ประจำมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๒)
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน
มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๙.๒.๓ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ต้องประกอบด้วยอาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน
อาจารย์ประจำและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกดังกล่าวต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๙.๒.๔ อาจารย์ผู้สอน ต้องเป็นอาจารย์ประจำหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและการทำวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
๙.๓ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
จำนวนและคุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ให้เป็นไปตามข้อ
๙.๑.๑ และ ๙.๑.๔ โดยอนุโลม
๑๐. ภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
๑๐.๑ อาจารย์ประจำ ๑ คนให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกได้ไม่เกิน
๕ คน หากหลักสูตรใดมีอาจารย์ประจำที่มีศักยภาพพร้อมที่จะดูแลนักศึกษาได้มากกว่า ๕ คน
ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถาบันอุดมศึกษานั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๑๐ คน
๑๐.๒ อาจารย์ประจำ ๑ คนให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโทได้ไม่เกิน
๑๕ คน
หากเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
ให้คิดสัดส่วนจำนวนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ ๑ คน เทียบได้กับจำนวนนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ
๓ คน ทั้งนี้ ให้นับรวมนักศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
๑๐.๓ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และ/หรืออาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์
และ/หรืออาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรนั้นด้วย
๑๑. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑๑.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิต จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
๑๑.๒ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
๑๑.๓ ปริญญาโท จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
๑๑.๔ ปริญญาเอก จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ที่มีผลการเรียนดีมาก หรือปริญญาโทหรือเทียบเท่า
๑๒. การลงทะเบียนเรียนและระยะเวลาการศึกษา ให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน
๑๕ หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ และให้ใช้เวลาศึกษาในแต่ละหลักสูตร ดังนี้
๑๒.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน ๓ ปีการศึกษา
๑๒.๒ ปริญญาโท ให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน
๕ ปีการศึกษา
๑๒.๓ ปริญญาเอก ผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีแล้วเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน
๘ ปีการศึกษา ส่วนผู้ที่สำเร็จปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกให้ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน
๖ ปีการศึกษา
การลงทะเบียนเรียนสำหรับผู้เข้าศึกษาแบบไม่เต็มเวลา
ให้สถาบันอุดมศึกษากำหนดจำนวนหน่วยกิตที่ให้ลงทะเบียนเรียนได้ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ
โดยเทียบเคียงกับจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดข้างต้นในสัดส่วนที่เหมาะสม
หากสถาบันอุดมศึกษาใดมีเหตุผลและความจำเป็นพิเศษ
การลงทะเบียนเรียนที่มีจำนวนหน่วยกิตแตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
๑๓. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะต้องปฏิบัติดังนี้
๑๓.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
๓.๐๐ จากระบบ
๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
๑๓.๒ ปริญญาโท
๑๓.๒.๑ แผน ก แบบ ก ๑ เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ
หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding)
๑๓.๒.๒ แผน ก แบบ ก ๒ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร
โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง
และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ
หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceeding)
๑๓.๒.๓ แผน ข ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรโดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
๓.๐๐ จากระบบ
๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น
๑๓.๓ ปริญญาเอก
๑๓.๓.๑ แบบ ๑
สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย ๑ ภาษาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด
สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying
Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์
เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบันและผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์
หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง
(Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น
๑๓.๓.๒ แบบ ๒ ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร
โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ จากระบบ ๔ ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย
๑ ภาษา ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
(Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์
เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน
และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง
(Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น
๑๔. ชื่อประกาศนียบัตรและชื่อปริญญา
๑๔.๑ ประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้ใช้ชื่อว่า
ประกาศนียบัตรบัณฑิต (Graduate
Diploma) อักษรย่อ
ป.บัณฑิต
(Grad. Dip.) แล้วตามด้วยชื่อสาขาวิชาต่อท้าย
๑๔.๒ ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง
ให้ใช้ชื่อว่า ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง (Higher Graduate
Diploma) อักษรย่อ
ป.บัณฑิตชั้นสูง
(Higher Grad. Dip.) แล้วตามด้วยชื่อสาขาวิชาต่อท้าย
๑๔.๓ ปริญญาโทและปริญญาเอก สถาบันอุดมศึกษาที่มีการตราพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาไว้แล้ว ให้ใช้ชื่อปริญญาตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานั้น
ในกรณีที่ปริญญาใดยังมิได้กำหนดชื่อไว้ในพระราชกฤษฎีกา หรือกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาใดไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ให้ใช้ชื่อปริญญาตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา ตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
๑๕. การประกันคุณภาพของหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรให้ชัดเจน
ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วยประเด็นหลัก ๔ ประเด็น คือ
๑๕.๑ การบริหารหลักสูตร
๑๕.๒ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย
๑๕.๓ การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
๑๕.๔ ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม
และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
๑๖. การพัฒนาหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย
แสดงการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยทุก ๆ ๕ ปี และมีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก
๕ ปี
๑๗. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา
และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วชิระ/ตรวจ
๑๔
กรกฎาคม ๒๕๔๘
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๑๔/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ |
685241 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนโรงเรียนเอกชน
เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนเป็นรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑
และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จึงได้ลงมติเห็นชอบกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓[๒] การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
โรงเรียน หมายความว่า โรงเรียนเอกชนในระบบ
โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาและโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ
และให้รวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน หมายความว่า
ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล หมายความว่า
เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๕
การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก ตามอัตราแนบท้ายระเบียบ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียนตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาต
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับ
ง.
ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓)
นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง
ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสาร แล้วแต่กรณี
ข.
เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า ๑๕
วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค.
เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓
ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษาในภาคเรียนแรก
ง.
กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ
หรือเอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๖
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๕ (๓) พร้อมสำเนาเอกสารจำนวน ๒ ชุด หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงานส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับการอุดหนุน ดังต่อไปนี้
ก.
แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๑) แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู (อน. ๒)
พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียน (อน. ๓) เพื่อขอรับการอุดหนุน โดยให้สำรวจ ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของทุกปี
ข.
แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน กรณีที่โรงเรียนขอรับ เงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค.
สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม
การศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง.
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๗
วิธีการขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลโดยแยกประเภทเงินอุดหนุน
พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
โดยให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
ข้อ ๘
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น เพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๙
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๔) ประจำเดือนจำนวน ๒ ชุด
ให้โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
กรณีโรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา (อน. ๕)
ข.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน ของเดือนที่ผ่านมา (อน.
๖)
ค.
บัญชีการจ่ายเงินเดือนครูและการหักเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ที่เรียงตามระดับการศึกษา
สำหรับกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ ชุด ส่วนจังหวัดอื่น จำนวน ๔ ชุด
นำไปประทับตราที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมแบบ วส.๐๐๐๑
หรือตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒)
โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓ ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน
สำหรับกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐
ของเดือน เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีจากสำนักงาน
ข้อ ๑๑
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี
(๓)
ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคล ภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลจากกรมบัญชีกลางและวันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๒
เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
การรับนักเรียนเข้าเรียน
โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้
กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์
โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
ในกรณีที่โรงเรียนไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔)
ในกรณีที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา
ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๕)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ
และต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับ
ไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
และนำเงินที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและครุภัณฑ์
พัฒนาอาคารสถานที่และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๖)
โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
(๗)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือน
และเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (E- Document)
(๘)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๙)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน
โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๐)
เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน
โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือน
(๑๑)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคม
และในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๒)
กรณีที่มีนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน
ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
ข้อ ๑๓
การกำกับดูแลให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีที่ตรวจพบว่า
โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปีของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์
นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
(๓)
เมื่อปรากฏว่า
โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้โดยทุจริต
ให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม (๒)
และอาจดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
หากโรงเรียนไม่ชดใช้เงินอุดหนุนที่เบิกโดยผิดพลาด โดยไม่มีสิทธิ
หรือโดยทุจริต ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระเงินคืน
ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้ก่อนจนกว่าโรงเรียนจะมาชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑) ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ให้ชำระเงินคืนทันทีในงวดเดียว
(๒) ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป
ให้ชำระเงินคืนภายใน ๑ ปี โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร[๓]
ข้อ ๑๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔]
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๕]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔[๖]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕[๗]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖[๘]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗[๙]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗[๑๐]
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๓ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๓] ข้อ ๑๓ วรรคสอง เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๕๓
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๓/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๖ ง/หน้า ๑/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๖ ง/หน้า ๑/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ |
762896 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด) | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๑ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๔๕ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒
วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
ซึ่งมีมติเกี่ยวกับเรื่องเงินอุดหนุนรายบุคคลประกอบกับการเสนอความเห็นของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามมาตรา
๑๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘
วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
(๒) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
(๓) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
(๔) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
(๕) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖
(๖) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗
(๗) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
โรงเรียน หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนในระบบ โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ที่จัดการเรียนการสอนในลักษณะการกุศล การศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่
โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โรงเรียนการศึกษาพิเศษ
โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษและให้หมายความรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน
หมายความว่า ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล
หมายความว่า เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
หมายความว่า สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ
หมายความว่า สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอในทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี
และอำเภอสะบ้าย้อย
ข้อ ๕ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้เป็นไปตามตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๖ การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน
ซึ่งต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียน
ตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาตดังนี้
ก. จำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก
ข. จำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐
พฤศจิกายนของปีการศึกษาที่ขอเบิกของโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษา
เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนใหม่เข้าเรียนในภาคเรียนที่ ๒ เท่านั้น
(๒)
โรงเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังนี้
ก. เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับในกรณีเป็นโรงเรียนการกุศลต้องไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค. ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓) นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ก. เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง
ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสารจัดตั้งแล้วแต่กรณี
ข. เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า ๑๕
วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค. เป็นนักเรียนที่มีเลขประจำตัวประชาชนที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย
ง. เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓ ปีบริบูรณ์
ในวันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา
จ.
เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล และมีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี
ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษา
ฉ. เป็นนักเรียนใหม่ที่เข้าเรียนในภาคเรียนที่ ๒
ของโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาและต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศ หลักเกณฑ์
วิธีการที่เกี่ยวข้อง
ช. กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ
เอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๗ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนดจำนวน ๒ ชุด
โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด
(๒) ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๗ (๓)
หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงาน ส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอภายในวันที่ ๒๐
มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนดังนี้
ก. แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู
พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุน โดยให้สำรวจจำนวนนักเรียน ณ วันที่
๑๐ มิถุนายนของทุกปี
ข. แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน
กรณีที่โรงเรียนขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๘ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนใหม่เข้าเรียนในภาคเรียนที่
๒ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนดจำนวน ๒ ชุด
โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด
(๒) ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๘ (๓)
หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงาน
ส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอภายในวันที่ ๒๐
พฤศจิกายน
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนดังนี้
ก. แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครูพร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุน
โดยให้สำรวจจำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน
ข. แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน
กรณีที่โรงเรียนขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค. แบบรายงานการรับนักเรียนเข้าเรียนภาคเรียนที่ ๒
ง. ใบอนุญาตให้รับนักเรียนใหม่เข้าเรียนภาคเรียนที่ ๒
จ. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนใหม่เข้าเรียนภาคเรียนที่
๒
ข้อ ๙ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๗
และข้อ ๘ พร้อมข้อมูลของโรงเรียนตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
กรณีโรงเรียนยื่นคำร้องผ่านสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอให้สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอตรวจสอบเบื้องต้นก่อนนำส่งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
(๒) ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุน พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
โดยข้อมูลจำนวนนักเรียนตามข้อ ๗ ให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
และข้อมูลจำนวนนักเรียนตามข้อ ๘ ให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๓๐
พฤศจิกายนของทุกปี
ข้อ ๑๐ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๗
และข้อ ๘
(๒) ตรวจสอบแบบสรุปจำนวนนักเรียนตามข้อ ๙ (๒)
(๓) ตรวจสอบและรวบรวมจำนวนนักเรียนตาม (๑) และ (๒) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นเพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๑๑ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน จำนวน ๒ ชุด
โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบดังนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนรับเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา
ข. บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน
ของเดือนที่ผ่านมา
ค. หลักฐานการจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารของเดือนที่ผ่านมา
(๒) โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓
ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดแล้วแต่กรณี
(๓) แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามข้อ ๗ ข้อ ๘
และแบบขอเบิกจ่ายเงินตามข้อ ๑๑ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๑๒ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการทั้งประจำและไปกลับ
และจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ถูกต้อง
(๒) จัดทำแบบสรุปจำนวนโรงเรียน
จำนวนนักเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่ายและขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน
แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือน
เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
(๓) เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๑๑ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับโอนเงินจากสำนักงาน
ข้อ ๑๓ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการทั้งประจำและไปกลับ
และจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ถูกต้อง
(๒) สรุปจำนวนโรงเรียน
จำนวนนักเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่ายประจำเดือนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น
(๓) ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือนตาม (๒)
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดแล้วแต่กรณี
(๔) เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๑๑ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินจากกรมบัญชีกลางเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๔ เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒) การรับนักเรียนเข้าเรียน
โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
โรงเรียนที่ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ ๗
(๒) และข้อ ๘ (๒)
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔)
โรงเรียนที่ขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือนไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ
๑๑ (๒) ให้โรงเรียนดำเนินการขอเบิกจ่ายให้ทันภายในปีงบประมาณที่ยื่นคำร้อง
โดยห้ามงดจ่ายเงินเดือนครูด้วยเหตุดังกล่าวและจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
(๕)
โรงเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารจัดตั้งเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๖)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ
คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการและต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและนำเงินที่เหลือไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ครุภัณฑ์ พัฒนาอาคารสถานที่ และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๗) โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(๘)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือนและเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
(๙)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๑๐)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน
โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๑) เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน
โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือนที่นักเรียนพ้นสภาพ
(๑๒)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคมและในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๓) นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน
ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
(๑๔)
โรงเรียนจัดตั้งใหม่หรือโรงเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนในครั้งแรกให้ได้รับเงินอุดหนุนตั้งแต่เดือนแรกที่เปิดภาคเรียนที่
๑ ของปีการศึกษาที่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๑๕) โรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง
หรือใบอนุญาตที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนนักเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน
ภายหลังวันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา ให้คำนวณจำนวนนักเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ในปีการศึกษาถัดไป
ข้อ
๑๕[๒]
การกำกับดูแลให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลโรงเรียนเอกชน ดำเนินการติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีโรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
ให้ผู้อนุญาตเรียกหรือหักเงินเพื่อส่งใช้คืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปี ของจำนวนเงินที่เบิกผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้นภายใต้เงื่อนไขดังนี้
ก.
ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้ชำระเงินคืนทันทีในงวดเดียว
ข.
ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนเกินหนึ่งล้านบาทให้ชำระเงินคืนทันทีหนึ่งล้านบาท
ส่วนจำนวนเงินที่เหลือให้ชำระภายใน ๑ ปี
โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
หากโรงเรียนไม่ชดใช้เงินอุดหนุนที่เบิกผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
ภายใน ๓๐ วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระเงินคืน
ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้ก่อนจนกว่าโรงเรียนจะมาดำเนินการตามข้อ
ก. หรือข้อ ข. แล้วแต่กรณี
(๓)
เมื่อปรากฏว่าโรงเรียนมีการทุจริตเกี่ยวกับการขอรับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ให้ผู้อนุญาตเรียกหรือหักเงินเพื่อส่งใช้คืนพร้อมดอกเบี้ยตามข้อ
๑๕ (๒) และให้เรียกเบี้ยปรับจำนวนหนึ่งเท่าของจำนวนเงินอุดหนุนที่เบิกโดยทุจริต
และพิจารณาดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
(๔)
ในกรณีตรวจสอบพบว่าโรงเรียนไม่ได้นำเงินไปใช้จ่ายตามเงื่อนไขข้อ
๑๔ (๖) ให้ผู้อนุญาตสั่งแก้ไข
หากไม่ดำเนินการให้ผู้อนุญาตสั่งลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ข้อ ๑๖ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ยังไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อ
๑๖/๑[๓] วิธีการในการขอรับเงินอุดหนุน
และการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ ถึงข้อ ๑๓ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ข้อ ๑๗ ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.[๔]
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ (แก้ไขเพิ่มเติม)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๕]
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๖ การใดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
ชวัลพร/เพิ่มเติม
๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๖ ธันวาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๑/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
[๒] ข้อ ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๓] ข้อ ๑๖/๑ เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๔] ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๗๘ ง/หน้า ๑/๒๒ กันยายน ๒๕๕๙ |
757747 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖
ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๖ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา
ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น
เพื่อให้การจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
จึงสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียน
ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๕๖
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ให้ใช้ระเบียบนี้บังคับแก่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖
ข้อ
๕ ในระเบียบนี้
หลักสูตร หมายความว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หมายความว่า การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่า
ใช้อักษรย่อว่า ปวช.
สถานศึกษา หมายความว่า
วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้
หัวหน้าสถานศึกษา หมายความว่า
ผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐและเอกชน
ที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้
หน่วยงานต้นสังกัด หมายความว่า
หน่วยงานที่มีสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้อยู่ในสังกัด
หรือในความควบคุมดูแล
ผู้เข้าเรียน หมายความว่า ผู้มาสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา
หรือสมัครฝึกอาชีพกับสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน
นักเรียน หมายความว่า
ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนตามหลักสูตรนี้
ภาคเรียน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอน โดยกำหนดให้ ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
ภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
ภาคเรียนฤดูร้อน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนในช่วงปิดภาคเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและในช่วงปิดภาคเรียนกลางปีโดยอนุโลม
สถานประกอบการ หมายความว่า บริษัท ห้างหุ้นส่วน
ร้าน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและเอกชน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อจัดการอาชีวศึกษา
ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดา มารดา
และบุคคลอื่นที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลและให้ความอุปการะแก่นักเรียนและให้คำรับรองแก่สถานศึกษาหรือสถานประกอบการว่าจะปกครองดูแลความประพฤติของนักเรียนในระหว่างที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา
และฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการหรือฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี
การศึกษาในระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาเป็นหลัก โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา
ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาระบบทวิภาคี หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน
การวัดและการประเมินผลโดยนักเรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษา
และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ
ผู้ควบคุมการฝึก หมายความว่า
ผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงานกับสถานศึกษาในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
และรับผิดชอบดูแลการฝึกอาชีพของนักเรียนในสถานประกอบการ
ครูฝึก หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่สอน ฝึก
อบรมนักเรียนในสถานประกอบการ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ครูนิเทศก์ หมายความว่า
ครูที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศ
ให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนที่ฝึกอาชีพและฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
ครูที่ปรึกษา หมายความว่า
ครูที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาติดตามผลการเรียน
และตักเตือนดูแลความประพฤติของนักเรียน
มาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
ข้อกำหนดด้านสมรรถนะวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำกับดูแลตรวจสอบและประกันคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
การทดสอบความรู้ ความสามารถ ตลอดจนลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งกำหนดเกณฑ์การตัดสินไว้ชัดเจน
พร้อมทั้งจัดดำเนินการประเมินภายใต้เงื่อนไขที่เป็นมาตรฐาน
คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
คณะกรรมการผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ
ติดตามและกำกับดูแลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพของนักเรียนในสถานศึกษา
ข้อ
๖ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
สภาพนักเรียน
ส่วนที่ ๑
พื้นความรู้และคุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
ข้อ
๗ ผู้เข้าเรียน ต้องมีพื้นความรู้
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ความในข้อนี้
ไม่ใช้บังคับสำหรับผู้ที่เรียนเป็นบางเวลา บางรายวิชา
หรือบางส่วนของรายวิชาโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อตัดสินการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและรับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ข้อ
๘ ผู้เข้าเรียนต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีความประพฤติเรียบร้อย
(๒)
มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
(๓)
มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งโดยมีทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
หรือมีหลักฐานของทางราชการในลักษณะเดียวกันมาแสดง
(๔)
มีความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๕)
มีเจตคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๖)
สำหรับผู้เข้าเรียนการศึกษาระบบทวิภาคี
ในวันทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์
และมีความตั้งใจที่จะรับการฝึกอาชีพในสาขาวิชาที่สมัคร
ผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง
ๆ ของสถานศึกษา ให้สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ส่วนที่ ๒
การรับผู้เข้าเรียน
ข้อ
๙ การรับผู้เข้าเรียน
ให้ทำการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกตามที่สถานศึกษากำหนด
ในกรณีที่มีการสอบคัดเลือก
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
ทำการสอบข้อเขียนในหมวดวิชาใด ๆ ตามความต้องการของสถานศึกษา หรือสถานประกอบการหากสถานศึกษาหรือสถานประกอบการจะทำการสอบความถนัดทางการเรียนวิชาชีพ
และสอบสัมภาษณ์ ด้วยก็ได้
(๒)
สถานศึกษาประกาศรับสมัคร ดำเนินการสอบและประกาศผลสอบ
ตามวันและเวลาที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
(๓)
ถ้าเหตุการณ์เกี่ยวกับการสอบเป็นไปโดยปกติ ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
๑ ปี นับแต่วันประกาศผลการสอบ
การรับผู้เข้าเรียนการศึกษาระบบทวิภาคี
สถานประกอบการจะเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือคัดเลือกผู้เข้าเรียนเองตามคุณสมบัติที่กำหนดและตามจำนวนที่ได้ตกลงร่วมกับสถานศึกษา
หรือจะมอบให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ หรือดำเนินการร่วมกันก็ได้
การรับผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง
ๆ ของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษาคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ข้อ
๑๐ ให้มีการตรวจร่างกายโดยแพทย์ปริญญา
เฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก หรือได้รับการคัดเลือก
ส่วนที่ ๓
การเป็นนักเรียน
ข้อ
๑๑ ผู้เข้าเรียนจะมีสภาพเป็นนักเรียน
เมื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนของสถานศึกษา
สำหรับการศึกษาระบบทวิภาคี
ผู้เข้าเรียนต้องทำสัญญาการฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ
การขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนและการทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องกระทำด้วยตนเองพร้อมทั้งแสดงหลักฐาน
การสำเร็จการศึกษาตามวัน
เวลา ที่สถานศึกษาและสถานประกอบการกำหนด โดยชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด
ทั้งนี้
ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคเรียน
โดยมีผู้ปกครองซึ่งสถานศึกษาเชื่อถือมาให้คำรับรองและทำหนังสือมอบตัว
ในกรณีผู้เข้าเรียนที่บรรลุนิติภาวะ
สถานศึกษาอาจให้ผู้ปกครองมาทำหนังสือมอบตัวหรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบนี้หรือไม่ก็ได้
ให้สถานศึกษาจัดการประชุมชี้แจงผู้ปกครอง
และปฐมนิเทศนักเรียน เพื่อให้ทราบแนวทางการเรียน และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๒ ให้สถานศึกษาออกบัตรประจำตัวให้แก่นักเรียน
บัตรประจำตัว
ต้องระบุเลขที่ ชื่อสถานศึกษา รหัสสถานศึกษา ชื่อ ชื่อสกุลนักเรียน รหัสประจำตัวนักเรียน
เลขประจำตัวประชาชน วันออกบัตร วันหมดอายุ
ลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทน
และให้มีรูปถ่ายครึ่งตัวของนักเรียน หน้าตรง ไม่สวมหมวกไม่สวมแว่นตาสีดำ
แต่งเครื่องแบบนักเรียน ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ติดลงในบัตร
กับให้มีลายมือชื่อของนักเรียน
ให้มีตราของสถานศึกษาที่มุมใดมุมหนึ่งของรูปถ่ายนักเรียน
โดยให้ติดที่รูปถ่ายบางส่วน
บัตรประจำตัวนี้ให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่มีสภาพนักเรียนในสถานศึกษาแห่งนั้น
แต่ต้องไม่เกิน ๓ ปี นับแต่วันออกบัตร ถ้าบัตรประจำตัวหมดอายุ
ในระหว่างที่ยังมีสภาพนักเรียนก็ให้สถานศึกษาต่ออายุบัตรเป็นปี ๆ ไป
และให้ส่งคืนบัตรประจำตัวต่อสถานศึกษาเมื่อพ้นสภาพการเป็นนักเรียน
สถานประกอบการจะใช้บัตรประจำตัวที่สถานศึกษาออกให้
หรือจะออกให้ใหม่ตามความต้องการของสถานประกอบการก็ได้
ข้อ
๑๓ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนให้คำปรึกษา ติดตามผลการเรียน
และตักเตือนดูแลความประพฤติของนักเรียน และให้สถานประกอบการจัดให้มีผู้ควบคุมการฝึกของนักเรียนในสถานประกอบการ
ส่วนที่ ๔
การพ้นสภาพและคืนสภาพนักเรียน
ข้อ
๑๔ การพ้นสภาพนักเรียน
เป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
(๑)
สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒)
ลาออก
(๓)
ถึงแก่กรรม
(๔)
สถานศึกษาสั่งให้พ้นสภาพนักเรียนในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
ก.
ขาดเรียน ขาดการฝึกอาชีพ ขาดการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
หรือขาดการติดต่อกับสถานศึกษาหรือสถานประกอบการเกินกว่า ๑๕ วันติดต่อกัน
ซึ่งสถานศึกษาหรือสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือมีพฤติกรรมอย่างอื่นที่แสดงว่าไม่มีความตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียนหรือรับการฝึกอาชีพ
หรือรับการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
ข.
ไม่ยื่นคำร้องขอกลับเข้าเรียนภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพตามข้อ ๒๐
ค.
ไม่มาติดต่อเพื่อรักษาสภาพนักเรียนตามข้อ ๒๗
ง.
ได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
จ.
ขาดพื้นความรู้ตามข้อ ๗
ฉ.
ขาดคุณสมบัติของผู้เข้าเรียนตามข้อ ๘
ช.
พ้นสภาพนักเรียนตามข้อ ๕๘
ซ.
พ้นสภาพนักเรียนตามข้อ ๕๙
ข้อ
๑๕ ผู้ที่พ้นสภาพนักเรียนตามข้อ ๑๔
(๒) (๔) ก. ข. และ ค. ถ้าประสงค์จะขอคืนสภาพการเป็นนักเรียน
จะต้องยื่นคำร้องขอต่อสถานศึกษาภายใน ๑ ปี
นับแต่วันถัดจากวันพ้นสภาพนักเรียนเมื่อสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควรก็ให้รับเข้าเรียนได้
ข้อ
๑๖ การขอคืนสภาพการเป็นนักเรียนตามข้อ
๑๕ ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
ต้องเข้าเรียนภายในสัปดาห์แรกของภาคเรียน เว้นแต่กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
(๒)
ให้นำรายวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่ได้ลงทะเบียนรายวิชาไว้
มานับรวมเพื่อพิจารณาตัดสินการสำเร็จการศึกษาด้วย
ส่วนที่ ๕
การพักการเรียน
ข้อ
๑๗ สถานศึกษาและสถานประกอบการอาจพิจารณาอนุญาตให้นักเรียน
ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพได้ตามที่เห็นสมควร เมื่อมีเหตุจำเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง
ต่อไปนี้
(๑)
ได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษา หรือดูงาน หรือเป็นตัวแทนของสถานศึกษา
หรือสถานประกอบการ ในการเข้าร่วมประชุม หรือกรณีอื่น ๆ อันควรแก่การส่งเสริม
(๒)
เจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน โดยมีคำรับรองของแพทย์ปริญญา
(๓)
กรณีลาพักเพื่อรับราชการทหารกองประจำการให้ลาพักได้จนกว่าจะได้รับการนำปลด
(๔)
เหตุจำเป็นอย่างอื่นตามที่สถานศึกษาและสถานประกอบการจะพิจารณาเห็นสมควร
ในกรณีที่มีนักเรียนลาพักการเรียน
หรือการฝึกอาชีพตั้งแต่ต้นปีเป็นระยะเวลานานเกินกว่า ๑ ปี สถานศึกษาและสถานประกอบการอาจพิจารณารับนักเรียนอื่นเข้าเรียนหรือฝึกอาชีพแทนที่ได้
ตามที่เห็นสมควร
นักเรียนที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพต้องชำระเงินค่ารักษาสภาพนักเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด แต่ถ้านักเรียนได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ครบถ้วนสำหรับภาคเรียนนั้นแล้วไม่ต้องชำระเงินค่ารักษาสภาพนักเรียนสำหรับภาคเรียนนั้นอีก
ข้อ
๑๘ นักเรียนที่ขออนุญาตลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
ต้องยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสถานศึกษา โดยมีผู้ปกครองเป็นผู้รับรอง
สำหรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะจะมีผู้รับรองหรือไม่ก็ได้เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพได้
มิฉะนั้นจะถือว่าขาดเรียน เว้นแต่มีเหตุผลสมควร
ข้อ
๑๙ การอนุญาตให้นักเรียนลาพักการเรียน
หรือการฝึกอาชีพ ให้สถานศึกษาทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
เว้นแต่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะที่ไม่มีผู้ปกครองมอบตัวให้แจ้งนักเรียนโดยตรง
ข้อ
๒๐ นักเรียนที่ลาพักการเรียน
หรือการฝึกอาชีพ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพแล้ว
ให้ยื่นคำร้องขอกลับเข้าเรียนพร้อมด้วยหลักฐานการอนุญาตให้ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพต่อสถานศึกษาภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด
หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าพ้นสภาพนักเรียนเว้นแต่มีเหตุผลสมควร
ส่วนที่ ๖
การลาออก
ข้อ
๒๑ นักเรียนที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักเรียน
ต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับรองการลาออก เว้นแต่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
ข้อ
๒๒ นักเรียนที่ลาออกแล้วได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
ให้ถือว่านักเรียนผู้นั้นมีสภาพนักเรียนมาตั้งแต่ต้นภาคเรียนนั้นทุกประการ
หมวด ๒
การจัดการเรียน
ส่วนที่ ๑
การเปิดเรียน
ข้อ
๒๓ ให้สถานศึกษากำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา
หากสถานศึกษาใดจะกำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากระเบียบดังกล่าว
ให้ขออนุญาตต่อหน่วยงานต้นสังกัด
ข้อ
๒๔ สถานศึกษาที่เปิดภาคเรียนฤดูร้อน
ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนที่ ๒
การลงทะเบียนรายวิชา
ข้อ
๒๕ สถานศึกษาต้องกำหนดวันและเวลาให้นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาต่าง
ๆ ให้เสร็จก่อนวันเปิดภาคเรียน
ข้อ
๒๖ สถานศึกษาอาจให้นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ
๒๕ ก็ได้โดยให้สถานศึกษากำหนดวันสิ้นสุดการลงทะเบียนตามที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือไม่เกิน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การลงทะเบียนรายวิชาตามวรรคหนึ่ง
นักเรียนต้องชำระค่าปรับตามที่สถานศึกษากำหนด
ข้อ
๒๗ นักเรียนที่มิได้ลงทะเบียนรายวิชาภายในวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนดตามข้อ
๒๖ ถ้าประสงค์จะรักษาสภาพนักเรียน ต้องติดต่อรักษาสภาพนักเรียนภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจากวันสิ้นสุดการลงทะเบียน หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าพ้นสภาพนักเรียน
เว้นแต่มีเหตุผลสมควร
ข้อ
๒๘ การลงทะเบียนรายวิชาต้องได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา
ข้อ
๒๙ นักเรียนต้องลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเอง
ตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถมาลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเองได้
จะมอบหมายให้ผู้อื่นมาลงทะเบียนแทนให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
ข้อ
๓๐ นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาได้ไม่เกินภาคเรียนละ
๒๒ หน่วยกิต สำหรับการเรียนแบบเต็มเวลา และได้ไม่เกินภาคเรียนละ ๑๒ หน่วยกิต
สำหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ส่วนการลงทะเบียนรายวิชาในภาคเรียนฤดูร้อน
ให้ลงทะเบียนได้ไม่เกิน ๑๒ หน่วยกิต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถานศึกษา
หากสถานศึกษามีเหตุผลและความจำเป็นในการให้นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้น
อาจทำได้แต่ต้องไม่กระทบต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
ข้อ
๓๑ นักเรียนที่ขอโอนผลการเรียนรายวิชาตามข้อ
๖๐ และข้อ ๖๑ ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษา
ไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน
นักเรียนที่ขอเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามข้อ
๖๗ ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓
ของจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชาและตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
ส่วนที่ ๓
การเปลี่ยน การเพิ่ม
และการถอนรายวิชา
ข้อ
๓๒ นักเรียนจะขอเปลี่ยนรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
หรือขอเพิ่มรายวิชาต้องกระทำภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน หรือภายใน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อนส่วนการขอถอนรายวิชาต้องกระทำภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียน หรือภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามวรรคหนึ่งอาจกระทำได้
ถ้าหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควร
การขอเปลี่ยน
ขอเพิ่ม หรือขอถอนรายวิชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษาและครูผู้สอนประจำรายวิชา
ข้อ
๓๓ การถอนรายวิชาภายในกำหนด ตามข้อ
๓๒ ให้ลงอักษร ถ.น. ในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ
๓๒ และหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรให้ลงอักษร ถ.น. ในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน แต่ถ้าหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ลงอักษร ถ.ล. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน
ส่วนที่ ๔
การเรียนโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ
๓๔ สถานศึกษาอาจอนุญาตให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดวิชาหนึ่งเพื่อเป็นการเสริมความรู้
โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้
ข้อ
๓๕ เมื่อได้ทำการวัดและประเมินผลการเรียนแล้วได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่
๑.๐ ขึ้นไปถือว่าประเมินผ่านให้บันทึก ม.ก. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง
ผลการเรียน ถ้าผลการประเมินไม่ผ่านไม่ต้องบันทึกรายวิชานั้น
และให้ถือเป็นการสิ้นสุดสำหรับการเรียนรายวิชานั้นโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ส่วนที่ ๕
การนับเวลาเรียนเพื่อสิทธิในการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ข้อ
๓๖ นักเรียนต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๘๐ ของเวลาเปิดเรียนเต็มสำหรับรายวิชานั้น
จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริงหัวหน้าสถานศึกษาอาจพิจารณาผ่อนผันให้เป็นราย
ๆ ไป
นักเรียนที่ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนตามวรรคหนึ่ง
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามข้อ ๖๗ ในภาคเรียนนั้นมิได้
ข้อ
๓๗ การนับเวลาเรียนให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
เวลาเปิดเรียนเต็มภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
(๒)
นักเรียนที่ย้ายสถานศึกษาระหว่างภาคเรียน ให้นำเวลาเรียนจากสถานศึกษาทั้งสองแห่งมารวมกัน
(๓)
นักเรียนที่ลาออกแล้ว
ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกันให้นับเวลาเรียนที่เรียนแล้วมารวมกัน
(๔)
นักเรียนที่ลาพักการเรียน หรือการฝึกอาชีพในภาคเรียนใด
ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนหรือฝึกอาชีพในภาคเรียนเดียวกัน ให้นับเวลาเรียนหรือฝึกอาชีพก่อนและหลังการลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพในภาคเรียนนั้นมารวมกัน
(๕)
รายวิชาที่มีครูผู้สอน หรือครูฝึกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป และแยกกันสอน
ให้นำเวลาเรียนที่เรียนกับครูผู้สอน หรือครูฝึกทุกคนมารวมกัน
(๖)
ถ้ามีการเปลี่ยนรายวิชา หรือเพิ่มรายวิชา ให้นับเวลาเรียนตั้งแต่เริ่มเรียนรายวิชาใหม่
ส่วนที่ ๖
การขออนุญาตเลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ข้อ
๓๘ นักเรียนที่ไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนด
หัวหน้าสถานศึกษาอาจอนุญาตให้เลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑)
ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยก่อน หรือระหว่างการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
(๒)
ถูกควบคุมตัวโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
(๓)
เป็นตัวแทนของสถานศึกษา หรือสถานประกอบการ ในการเข้าร่วมประชุม
หรือกิจกรรมพิเศษอย่างอื่น โดยได้รับความยินยอมจากสถานศึกษา
(๔)
มีความจำเป็นอย่างอื่น โดยสถานศึกษา
หรือสถานศึกษาและสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความจำเป็นอย่างแท้จริง
ข้อ
๓๙ นักเรียนที่ขออนุญาตเลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ต้องยื่นคำร้องพร้อมทั้งหลักฐานประกอบต่อสถานศึกษาก่อนการวัดผลปลายภาคเรียนไม่น้อยกว่า
๓ วัน หากไม่สามารถกระทำได้ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
กรณีที่หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้เลื่อนได้
ให้บันทึก ม.ส. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนในช่อง ผลการเรียน และให้นักเรียนเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายใน
๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียน
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาจัดการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายในกำหนดการวัดผลปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
การอนุญาตให้เลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ให้สถานศึกษาทำเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้นักเรียน
หมวด ๓
การประเมินผลการเรียน
ส่วนที่ ๑
หลักการในการประเมินผลการเรียน
ข้อ
๔๐ ให้สถานศึกษาและสถานประกอบการ
มีหน้าที่และรับผิดชอบในการประเมินผลการเรียน
ข้อ
๔๑ ให้ประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชาตามระบบหน่วยกิต จำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาให้ถือตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ข้อ
๔๒ ให้สถานศึกษา
และสถานประกอบการพิจารณาทำการประเมินผลการเรียนรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียน
หรือเมื่อสิ้นสุดการเรียน หรือการปฏิบัติงานในทุกรายวิชา
สำหรับรายวิชาที่เรียน
หรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการให้ครูฝึกและครูนิเทศก์ร่วมกันประเมินผลการเรียน
ข้อ
๔๓ ให้หน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับสถานศึกษา
ดำเนินการส่งเสริมคุณภาพและควบคุมมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน
การวัดผลและการประเมินผลการเรียน
ส่วนที่ ๒
วิธีการประเมินผลการเรียน
ข้อ
๔๔ ให้ประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชาตามสภาพจริงต่อเนื่องตลอดภาคเรียนทั้งด้านความรู้
ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากกิจกรรมการเรียนการสอน
การฝึกปฏิบัติและงานที่มอบหมายรวมทั้งการวัดผลปลายภาคเรียน ซึ่งครอบคลุมจุดประสงค์
สมรรถนะรายวิชาและเนื้อหาวิชา โดยใช้เครื่องมือและวิธีการหลากหลายตามความเหมาะสม
ข้อ
๔๕ ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชา
ดังต่อไปนี้
๔.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
๓.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
๓.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
๒.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้
๒.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์พอใช้
๑.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อน
๑.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อนมาก
๐ หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ (ตก)
ข้อ
๔๖ รายวิชาใดที่แสดงระดับผลการเรียนตามข้อ ๔๕
ไม่ได้ ให้ใช้ตัวอักษรต่อไปนี้
ข.ร. หมายถึง
ขาดเรียน ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน เนื่องจากมีเวลาเรียนต่ำกว่าร้อยละ
๘๐ โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ข.ป. หมายถึง
ขาดการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่ครบ
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ข.ส. หมายถึง
ขาดการวัดผลปลายภาคเรียน โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.ล. หมายถึง
ถอนรายวิชาภายหลังกำหนด โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.น. หมายถึง
ถอนรายวิชาภายในกำหนด
ท. หมายถึง
ทุจริตในการสอบ หรืองานที่มอบหมายให้ทำ
ม.ส. หมายถึง
ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนโดยได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถานศึกษา
หรือไม่ส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการเรียนรายวิชาตามกำหนด
ม.ท. หมายถึง
ไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ผ. หมายถึง
ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนด หรือผลการประเมินผ่าน
ม.ผ. หมายถึง
ไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือผลการประเมินไม่ผ่าน
ม.ก. หมายถึง
การเรียนโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
และผลการประเมินผ่าน
ข้อ
๔๗ ในกรณีต่อไปนี้ให้ระดับผลการเรียนเป็น
๐ (ศูนย์) เฉพาะรายวิชา
(๑)
ได้ ข.ร.
(๒)
ได้ ข.ป.
(๓)
ได้ ข.ส.
(๔)
ได้ ถ.ล.
(๕)
ได้ ท.
(๖)
ได้ ม.ท.
ข้อ
๔๘ นักเรียนที่ทำการทุจริต
หรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบ หรืองานที่มอบหมายให้ทำในรายวิชาใด
ให้สถานศึกษาพิจารณาดำเนินการดังนี้
(๑)
ให้ได้คะแนน ๐ (ศูนย์) เฉพาะครั้งนั้น หรือ
(๒)
ให้ระดับผลการเรียนเป็น ๐ (ศูนย์) โดยบันทึก ท. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง
ผลการเรียน ในรายวิชานั้น หรือ
(๓)
ดำเนินการตาม (๒)
และตัดคะแนนความประพฤติตามระเบียบว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติที่สถานศึกษากำหนดตามความร้ายแรง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๙ การคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
ให้นำผลบวกของผลคูณระหว่างจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชากับระดับผลการเรียนหารด้วยผลบวกของจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชา
คิดทศนิยมสองตำแหน่งไม่ปัดเศษ
(๒)
ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย จากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตามข้อ ๔๕ และข้อ ๔๗
สำหรับรายวิชาที่นักเรียนเรียนซ้ำ เรียนแทน ให้ใช้ระดับผลการเรียนและนับจำนวนหน่วยกิตตามข้อ
๕๐
(๓)
ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยดังนี้
ก.
ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาคเรียน
คำนวณจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนเฉพาะในภาคเรียนหนึ่ง ๆ
ข.
ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
คำนวณจากรายวิชาที่เรียนมาทั้งหมดและได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่สองภาคเรียนขึ้นไป
ข้อ
๕๐ นักเรียนผู้ใดประสงค์จะเรียนซ้ำรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า
๒.๐ หรือเลือกเรียนรายวิชาอื่นแทนถ้าเป็นรายวิชาเลือก
เพื่อประเมินปรับค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้นให้สถานศึกษา
หรือสถานประกอบการดำเนินการให้เรียนซ้ำ หรือเรียนแทนภายในเวลาก่อนสำเร็จการศึกษา
การเรียนซ้ำรายวิชา
ให้นับจำนวนหน่วยกิตสะสมเพียงครั้งเดียว
ส่วนการเรียนแทนให้นับเฉพาะจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่เรียนแทนเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
การนับจำนวนหน่วยกิตสะสมในกรณีนี้
จะกระทำเมื่อนักเรียนได้ระดับผลการเรียน ตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
รายวิชาที่เรียนซ้ำ
หรือเรียนแทนแล้วได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์) ให้ถือระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐
ตามเดิม ยกเว้นการได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์) ตามข้อ ๔๘ (๒) หรือ (๓)
ข้อ
๕๑ กรณีตามข้อ ๕๐
การคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ถ้าเป็นรายวิชาที่เรียนซ้ำให้นับจำนวนหน่วยกิตเป็นตัวหารเพียงครั้งเดียว
ส่วนการเรียนรายวิชาอื่นแทนให้นับเฉพาะจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่เรียนแทนมาเป็นตัวหาร
ข้อ
๕๒ ผู้ที่ได้ ม.ส. ตามข้อ ๓๙
และไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ให้สถานศึกษาบันทึก ม.ท. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน เว้นแต่ได้ ม.ส. ตามข้อ ๓๘ (๓)
ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
กรณีผู้ที่ได้
ม.ส.
เนื่องจากไม่สามารถส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการเรียนรายวิชาได้ตามกำหนดให้นักเรียนส่งงานนั้นภายใน
๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียนรายวิชา หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้สถานศึกษาประเมินผลการเรียนจากคะแนนที่มีอยู่
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดการวัดผลปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
ข้อ
๕๓ นักเรียนต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
เมื่อนักเรียนได้ลงทะเบียนรายวิชาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
หรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพกำหนด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
นักเรียนจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้
จะต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพและผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อ
๕๔ นักเรียนต้องเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดไม่น้อยกว่า
๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ครบทุกภาคเรียน
ตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนดโดยมีเวลาเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของเวลาที่จัดกิจกรรมในแต่ละภาคเรียน
เมื่อนักเรียนได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมครบถ้วนตามเกณฑ์ในภาคเรียนใดถือว่าประเมินผ่านในภาคเรียนนั้น
ให้บันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ผ. ในระเบียนแสดงผลการเรียน
ช่อง ผลการเรียน ซึ่งหมายถึง ผ่าน
หากนักเรียนเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ในภาคเรียนใด
ให้สถานศึกษาพิจารณามอบงานหรือกิจกรรมในส่วนที่นักเรียนผู้นั้นไม่ได้เข้าร่วมปฏิบัติ
ให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนดเมื่อนักเรียนดำเนินการครบถ้วนแล้วถือว่าประเมินผ่าน
แล้วจึงบันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ผ. ในระเบียนแสดงผลการเรียนของภาคเรียนนั้นซึ่งหมายถึง
ผ่าน
ถ้านักเรียนดำเนินการไม่ครบถ้วน
ถือว่าประเมินไม่ผ่าน ให้บันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ม.ผ. ซึ่งหมายถึง ไม่ผ่าน
ให้นักเรียนที่เข้าฝึกอาชีพ
หรือฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ
เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมที่สถานประกอบการจัด
ตามเกณฑ์และข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
ส่วนที่ ๓
การตัดสินผลการเรียน
ข้อ
๕๕ การตัดสินผลการเรียนให้ดำเนินการดังนี้
(๑)
ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา
(๒)
รายวิชาที่มีระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๑.๐ ขึ้นไป
ถือว่าประเมินผ่านและให้นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
(๓)
เมื่อได้ประเมินผลการเรียนแล้ว นักเรียนที่มีระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์) ตามข้อ ๔๕ ให้นักเรียนรับการประเมินใหม่ได้อีก
๑ ครั้ง ภายในเวลาที่สถานศึกษา หรือสถานประกอบการกำหนดไม่เกิน ๑๐ วัน
นับแต่วันประกาศผลการเรียนรายวิชา
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควร
หากผลการประเมินใหม่ไม่ผ่าน ถ้าเป็นรายวิชาบังคับให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น
ถ้าเป็นรายวิชาเลือกจะเรียนซ้ำ หรือเรียนรายวิชาอื่นแทนก็ได้ จำนวนหน่วยกิตต้องไม่น้อยกว่ารายวิชาที่เรียนแทนและให้ลงหมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียนว่าให้เรียนแทนรายวิชาใด
(๔)
การประเมินใหม่ตาม (๓) ให้ระดับผลการเรียนได้ไม่เกิน ๑.๐
ข้อ
๕๖ การตัดสินผลการเรียนเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้
(๑)
ได้รายวิชาและจำนวนหน่วยกิตสะสมในหมวดวิชาทักษะชีวิต
หมวดวิชาทักษะวิชาชีพและหมวดวิชาเลือกเสรี
ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
(๒)
ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
(๓)
ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
(๔)
ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรและ ผ่าน ทุกภาคเรียน
ตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
ข้อ
๕๗ ให้หัวหน้าสถานศึกษา
เป็นผู้อนุมัติผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ
๕๘ เมื่อนักเรียนได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ
๒ ภาคเรียน และได้รับการประเมินใหม่แล้วหากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๑.๕๐
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักเรียน
เมื่อได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ
๔ ภาคเรียน และได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า
๑.๗๕ ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไป หรือให้พ้นสภาพนักเรียน
เมื่อได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ
๖ ภาคเรียน และได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า
๑.๙๐ ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไป หรือให้พ้นสภาพนักเรียน
ข้อ
๕๙ นักเรียนที่เรียนแบบเต็มเวลาและได้ลงทะเบียนรายวิชารวม
๖ ภาคเรียนแล้วแต่ยังไม่เข้าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรข้อ ๕๖
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักเรียน ทั้งนี้ ให้เรียนได้ไม่เกิน ๑๒ ภาคเรียน
นับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนโดยไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการเรียน
นักเรียนที่เรียนแบบไม่เต็มเวลาและได้ลงทะเบียนรายวิชาครบทุกภาคเรียนตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนดแล้ว
แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรข้อ ๕๖
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไป หรือให้พ้นสภาพนักเรียน ทั้งนี้
ให้เรียนได้ไม่เกิน ๑๖ ภาคเรียนนับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนโดยไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการเรียน
ส่วนที่ ๔
การเทียบโอนผลการเรียนรู้
ข้อ
๖๐ การโอนผลการเรียนสำหรับนักเรียนจากสถานศึกษาซึ่งใช้หลักสูตรนี้
ให้สถานศึกษาที่รับนักเรียนเข้าเรียนรับโอนผลการเรียนทุกรายวิชา
นอกจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐ สถานศึกษาจะรับโอนหรือจะทำการประเมินใหม่จนเห็นว่าได้ผลการเรียนถึงเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษาแล้วจึงรับโอนผลการเรียนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ
๖๑ สถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนรายวิชาจากหลักสูตรอื่นซึ่งไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
(๑)
เป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่มีจุดประสงค์และเนื้อหาใกล้เคียงกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๖๐ และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร
(๒)
รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
โดยสถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนหรือจะทำการประเมินใหม่แล้วจึงรับโอนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ
๖๒ เมื่อนักเรียนขอโอนผลการเรียนรายวิชา
ให้สถานศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการวัดผลปลายภาคเรียน
ภาคเรียนแรกที่นักเรียนเข้าเรียน
ข้อ
๖๓ การบันทึกผลการเรียนตามข้อ ๖๐
และข้อ ๖๑ ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนให้ใช้รหัสวิชาและชื่อรายวิชาตามหลักสูตรนี้
โดยแสดงหมายเหตุว่าเป็นรายวิชาที่รับโอนผลการเรียน
ข้อ
๖๔ สถานศึกษาจะอนุญาตให้นักเรียนไปเรียนรายวิชาบางรายวิชาจากสถานศึกษาแห่งอื่นในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถเปิดทำการสอนในรายวิชานั้นได้
โดยสถานศึกษาพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรตามที่เห็นสมควร
และให้สถานศึกษาทั้งสองแห่งทำความตกลงร่วมกันในการจัดสอนและรับโอนผลการเรียน
ข้อ
๖๕ ในกรณีสถานศึกษาอนุญาตให้นักเรียนไปเรียนจากสถานศึกษาแห่งอื่นตามข้อ
๖๔ ให้สถานศึกษาพิจารณารับโอนผลการเรียนดังนี้
(๑)
รับโอนรายวิชาที่มีผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป หรือ
(๒)
รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐ สถานศึกษาอาจรับโอนผลการเรียน หรือไม่ก็ได้ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา
ทั้งนี้
ให้สถานศึกษาแจ้งให้นักเรียนทราบก่อนที่จะอนุญาตให้ไปเรียน
การบันทึกผลการเรียนลงในระเบียนแสดงผลการเรียน
ให้ใช้รหัสวิชา และชื่อรายวิชาของหลักสูตรนี้โดยระบุว่ารับโอนผลการเรียน
ข้อ
๖๖ กรณีที่มีการประเมินใหม่ตามข้อ ๖๐
และข้อ ๖๑ ระดับผลการเรียนให้เป็นไปตามที่ได้จากการประเมินใหม่
แต่ต้องไม่สูงไปกว่าเดิม
ข้อ
๖๗ นักเรียนที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานอาชีพ
หรือฝึกงานในสถานประกอบการหรือทำงานในอาชีพนั้นอยู่แล้ว
หรือมีความรู้ในรายวิชาตรงตามหลักสูตรมาก่อนเข้าเรียน
หรือเข้าเรียนแล้วแต่ได้เรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อนับจำนวนหน่วยกิตสะสมสำหรับรายวิชานั้นก็ได้
โดยเทียบโอนได้ไม่เกิน ๒ ใน ๓
ของจำนวนหน่วยกิตตามหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชาและตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ถ้าผลการประเมินไม่ผ่าน
นักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนปกติในภาคเรียนนั้น หรือขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในภาคเรียนต่อไปก็ได้
ข้อ
๖๘ นักเรียนที่สถานศึกษาให้พ้นสภาพนักเรียนตามข้อ
๕๘ หรือข้อ ๕๙ แล้วสอบเข้าเรียนใหม่ในสถานศึกษาเดิม หรือสถานศึกษาแห่งใหม่ได้
ให้สถานศึกษารับโอนผลการเรียนเฉพาะรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรนี้
และได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
หมวด ๔
เอกสารการศึกษา
ข้อ
๖๙ สถานศึกษาต้องจัดให้มีเอกสารการศึกษา
ดังต่อไปนี้
(๑)
ระเบียนแสดงผลการเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ใช้ชื่อย่อว่า รบ. ๑ ปวช.
๕๖ และต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
การจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน
ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทำ ลงลายมือชื่อพร้อมทั้งวัน เดือน ปี
และให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามรับรองผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒)
ระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ
ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้และต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
การจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ
ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทำลงลายมือชื่อพร้อมทั้ง วัน เดือน ปี
และให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามรับรองผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๓)
แบบรายงานผลการเรียนของผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ ใช้ชื่อย่อว่า
รบ.๒ ปวช.๕๖ และต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
(๔)
ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตร ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕)
สมุดประเมินผลการเรียนรายวิชา
และหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนในแบบอื่นสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
หรือสมุดบันทึกการปฏิบัติงานหรือสมุดรายงานของนักเรียน
(๖)
ใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียนและใบรับรองผลการเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๗๐ ให้สถานศึกษาเก็บรักษากระดาษคำตอบ
และหลักฐานการประเมินผลการเรียนไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปีการศึกษา
ข้อ
๗๑ ให้สถานศึกษาแจ้งผลการเรียนของนักเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ
ทุกภาคเรียน
ข้อ
๗๒ ให้ใช้สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน
และสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ เป็นเอกสารรับรองผลการเรียน
ข้อ
๗๓ ให้สถานศึกษาออกสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน
สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตร
แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ข้อ
๗๔ การทำสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน
จะใช้วิธีพิมพ์ใหม่ หรือสำเนาเอกสารตามต้นฉบับก็ได้ แล้วให้เขียนหรือประทับตรา สำเนาถูกต้อง ส่วนการทำสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษจะใช้วิธีพิมพ์ใหม่หรือสำเนาเอกสารตามต้นฉบับก็ได้
แล้วให้เขียนหรือประทับตรา CERTIFIED TRUE COPY
ให้หัวหน้างานทะเบียน
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนลงลายมือชื่อรับรองสำเนาพร้อมทั้ง วัน เดือน ปี
ที่ออกสำเนา และหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อกำกับที่รูปถ่าย
ข้อ
๗๕ นักเรียนที่ต้องการใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียน
หรือใบรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษาให้สถานศึกษาออกใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียน
หรือใบรับรองผลการเรียน แล้วแต่กรณี ใบรับรองนี้มีอายุ ๖๐ วัน
โดยให้สถานศึกษากำหนดวันหมดอายุไว้ด้วย
หมวด ๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๗๖ สถานศึกษาใดที่มีนักเรียนกำ
ลังศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๔๕ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖)
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๕๔
และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่านักเรียนจะสำเร็จการศึกษา
ข้อ
๗๗ สถานศึกษาใดที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ และได้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ ไปแล้ว
ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับถือว่าการดำเนินการที่ผ่านมานั้นมีผลโดยสมบูรณ์
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๐ ง/หน้า ๑/๘ กันยายน ๒๕๕๙ |
785390 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. 2560 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจราชการ
การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่มาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้มีการตรวจราชการ
ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการประกอบกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่
๑๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่อง
การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดให้มีการกำกับ เร่งรัด
ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ
และสอดคล้องกับการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
จึงเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ ประกอบกับมาตรา ๒๐ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจ ติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัด
หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้บังคับใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ
หน่วยงานในสังกัดและในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนราชการ หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าและมีหน้าที่ในการจัดการศึกษา
หน่วยงานการศึกษา หมายความว่า
หน่วยงานการศึกษาตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผู้รับการตรวจ หมายความว่า
หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐในสังกัด
หรือในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้ง
โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
เขตตรวจราชการ หมายความว่า
พื้นที่การตรวจราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ
ผู้ตรวจราชการ หมายความว่า
ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ หมายความว่า
ข้าราชการที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ตรวจราชการ
ข้อ ๖ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
การตรวจราชการ
ข้อ ๗ การตรวจราชการ
มีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑) เพื่อชี้แจงนโยบาย
ประสานงานและเร่งรัดให้ผู้รับการตรวจ นำแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ไปจัดทำแผนปฏิบัติราชการให้ครบถ้วน
(๒) เพื่อติดตาม ประเมินผล
และเสนอแนะการบริหารงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักการศึกษา
แนวทางการจัดการศึกษา และคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
(๓) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
ติดตามและประเมินผลระดับนโยบาย เพื่อนิเทศให้คำปรึกษา เพื่อการปรับปรุงพัฒนาแก่ส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษา
(๔) เพื่อเร่งรัดติดตามความก้าวหน้า ความสำเร็จ
ปัญหาอุปสรรค และเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ
(๕) เพื่อตรวจเยี่ยม รับฟังหรือสดับตรับฟังทุกข์สุข
ความคิดเห็น นิเทศ ช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แจงให้เจ้าหน้าที่มีสมรรถนะและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ข้อ ๘ การตรวจราชการ
การติดตาม ประเมินผลและนิเทศการศึกษาระดับกระทรวงเป็นการตรวจราชการ ศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย ติดตามและประเมินผลระดับนโยบาย เพื่อนิเทศให้คำปรึกษา
และแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนาเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้สอดส่องดูแลแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
การตรวจราชการจะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อสาระการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลที่สามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระ
พัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการ
และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น
ข้อ ๙ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งผู้ตรวจราชการคนหนึ่ง
เป็นหัวหน้าผู้ตรวจราชการมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ตรวจราชการ
เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้ตรวจราชการเป็นไปตามระเบียบนี้ และจะให้มีรองหัวหน้าผู้ตรวจราชการด้วยก็ได้
ข้อ ๑๐ ให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการตรวจราชการมาใช้บังคับกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการโดยอนุโลม และให้ผู้ตรวจราชการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๑) สั่งเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้ผู้รับการตรวจปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้ถูกต้องตามกฎหมายระเบียบ
ข้อบังคับ ประกาศ มติของคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
(๒) สั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้รับการตรวจ
ปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติงานใด ๆ ในระหว่างการตรวจราชการไว้ก่อน
หากเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือประชาชน อย่างร้ายแรง และเมื่อผู้ตรวจราชการได้สั่งการดังกล่าวแล้วให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบหรือพิจารณาโดยด่วน
(๓) สั่งให้ผู้รับการตรวจชี้แจง ให้ถ้อยคำ
หรือส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อประกอบการพิจารณา
(๔) สอบข้อเท็จจริง สืบสวนข้อเท็จจริง
หรือสดับตรับฟังเหตุการณ์ เมื่อได้รับการร้องเรียน หรือเมื่อมีเหตุอันควร
โดยประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานตรวจสอบอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอุปสรรคของผู้รับการตรวจ
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
ติดตามและประเมินผลระดับนโยบายเพื่อนิเทศให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อปรับปรุงพัฒนา
(๖)
แต่งตั้งบุคคลหรือคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
(๗) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการโดยให้มีหน้าที่ดังนี้
(๑) รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์
และจัดทำรายละเอียดข้อมูลนโยบาย แผนงาน งานโครงการ
จุดเน้นและประเด็นการตรวจราชการ ในระดับเขตตรวจราชการ
(๒)
จัดทำและประสานแผนปฏิบัติการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการประจำปี
ร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการภาคและหน่วยงานสนับสนุนการตรวจราชการ
ในระดับเขตตรวจราชการ
(๓)
จัดทำแนวทางการตรวจราชการประจำปีในระดับเขตตรวจราชการ
(๔) ประสานและสนับสนุนข้อมูลด้านการศึกษา ระเบียบ
กฎหมาย และข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
ประกอบการปฏิบัติราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(๕)
ร่วมปฏิบัติการตรวจราชการกับผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และประสานการตรวจราชการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) จัดทำรายงานผลการตรวจราชการ
หลังการตรวจราชการเสนอผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อรายงานผู้บริหารระดับสูง
(๗)
จัดทำรายงานผลการตรวจราชการภาพรวมและรายรอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๘) ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะ ข้อสั่งการ
ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงในระดับเขตตรวจราชการ
(๙) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ทั้งนี้ จำนวน
หลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งผู้ช่วยผู้ตรวจราชการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ข้อ ๑๒ ให้กระทรวงศึกษาธิการ
จัดให้มีสำนักงานผู้ตรวจราชการเป็นที่ปฏิบัติงานประจำของผู้ตรวจราชการ
โดยให้มีบุคลากรสนับสนุนในการปฏิบัติงานตามสมควร
ข้อ ๑๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือหัวหน้าส่วนราชการอาจมอบอำนาจการบริหารงานทั่วไป
บริหารงานบุคคล บริหารงานวิชาการ บริหารงบประมาณ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ตรวจราชการปฏิบัติราชการแทนในพื้นที่เขตตรวจราชการที่รับผิดชอบตามความจำเป็น
และความเหมาะสมได้
ข้อ ๑๔ ให้สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๑๕ ให้ผู้รับการตรวจ มีหน้าที่ดังนี้
(๑) อำนวยความสะดวก
และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานแก่ผู้ตรวจราชการ
หรือผู้ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
(๒) จัดเตรียมบุคคล เอกสาร หลักฐาน
ในการปฏิบัติงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ พร้อมที่จะรับการตรวจ
(๓) ชี้แจงหรือตอบคำถาม พร้อมทั้งให้ข้อมูลใด ๆ
อันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจราชการ
(๔)
จัดให้มีสมุดตรวจราชการตามแบบที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนด
(๕) ปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติงานใด ๆ
ที่ผู้ตรวจราชการได้ตรวจและแนะนำในระหว่างการตรวจราชการ หากไม่สามารถปฏิบัติได้
ให้รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อทราบหรือพิจารณาและรายงานให้ผู้ตรวจราชการทราบภายในสิบห้าวัน
(๖) รายงานความก้าวหน้า
ความสำเร็จของผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการหรือข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการต่อผู้บังคับบัญชา
และผู้ตรวจราชการ
(๗) ดำเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ในการตรวจราชการ
ข้อ ๑๖ ในระหว่างการตรวจราชการแต่ละครั้ง
ถ้าผู้ตรวจราชการพบเห็นปัญหา อุปสรรค หรือแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบต่อการบริหารจัดการศึกษาหรือประเทศโดยส่วนรวม
หรือต่อผลสัมฤทธิ์ของนโยบาย โครงการหรือแผนงาน
ให้รีบทำรายงานโดยสรุปพร้อมข้อเสนอแนะต่อหัวหน้าหน่วยงาน ผู้รับการตรวจเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ลุล่วงโดยเร็วแล้วแจ้งให้ผู้ตรวจราชการทราบภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับรายงานจากผู้ตรวจราชการ
ข้อ ๑๗ ในการตรวจราชการตามข้อ ๑๖
เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจราชการแต่ละคราว
ให้ผู้ตรวจราชการรายงานผลการตรวจราชการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผ่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๑๘ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ได้สั่งการหรือมีความเห็นในรายงานผลการตรวจราชการเป็นประการใดแล้ว
ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ และรายงานให้ทราบโดยเร็ว
หมวด ๒
การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
ข้อ ๑๙ การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา มีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑)
เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามภารกิจและนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ
และข้อเสนอแนวทางเพื่อการปรับปรุงพัฒนาเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
(๓)
เพื่อการบริหารงบประมาณในการบริหารจัดการศึกษาของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้มีประสิทธิภาพ
(๔)
เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๒๐ ให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนสิบเก้าคน ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนหกคน ได้แก่
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(๓)
กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนสองคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนเก้าคน
ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ
และประสบการณ์สูงในด้านการศึกษาปฐมวัย ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการอุดมศึกษา
ด้านการอาชีวศึกษา ด้านการศึกษาเอกชน
ด้านการวิจัยและประเมินผลด้านการบริหารการศึกษา ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
และด้านเศรษฐกิจ การเงิน และงบประมาณ ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน
(๕) ผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ จำนวน หลักเกณฑ์
และวิธีการได้มาของคณะกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๒๐ มีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบาย เกณฑ์มาตรฐาน
ระบบการติดตามตรวจสอบประเมินผล และแผนการตรวจราชการประจำปี แผนการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
(๓) กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๔) กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล
และเสนอแนะการบริหารงบประมาณของส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบ
และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายงานผลการตรวจราชการ การรายงานการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษา
(๖) ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบ และการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
เพื่อดำเนินการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๘) ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ
การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนที่ ๑
การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ระดับส่วนราชการ
ข้อ ๒๒ การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับส่วนราชการเป็นการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆ ตามภารกิจและตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้ส่วนราชการดำเนินการดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานการศึกษาในสังกัด
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในสังกัด
(๓) รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในสังกัดไปยังคณะกรรมการ
ส่วนที่ ๒
การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ระดับสำนักงานศึกษาธิการภาค
ข้อ ๒๓ การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับภาคเป็นการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการภาคนั้น ๆ ตามภารกิจและตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้สำนักงานศึกษาธิการภาคดำเนินการดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา การใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษา
(๓)
ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงระบบการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา และข้อเสนอเพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาระดับจังหวัด
(๔) รายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับภาคไปยังคณะกรรมการ
(๕) ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่มีผลกระทบและรายงานผลกระทบ ผลการดำเนินการต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๖) จัดทำข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาในระดับภาค
(๗) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนที่ ๓
การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ระดับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
ข้อ ๒๔ การติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับจังหวัดเป็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาและการนิเทศการศึกษาที่อยู่ในจังหวัดนั้น
ๆ ตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดดำเนินการดังนี้
(๑) กำหนดแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัด
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม
และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัด
(๓) จัดทำข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาในระดับจังหวัด
(๔) รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษาในสังกัดและจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
และสำนักงานศึกษาธิการภาค
(๕) ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่มีผลกระทบและรายงานต่อผู้ตรวจราชการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๖) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนที่ ๔
การติดตาม
ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ ๒๕ การติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการดำเนินการ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก
ข้อ ๒๖ ให้คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนด จำนวน
หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล
และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มากำหนดเป็นแนวทางในการติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
(๒) กำหนดแนวทางการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
การบริหารและการดำเนินการของหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
(๓) พิจารณาแผนการติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลและนิเทศการศึกษา โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) ติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผนที่กำหนด
(๕) รับทราบผลการติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการบริหารและการดำเนินการตามแผน และให้ข้อเสนอแนะ
เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๖) ส่งเสริมให้มีการประสานงานการติดตาม ประเมินผล
และนิเทศการศึกษากับคณะกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลการจัดการศึกษาตามความจำเป็น
(๘) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๒๗ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ดำเนินการดังนี้
(๑) มอบหมายศึกษานิเทศก์ หรือข้าราชการอื่นในสังกัด
ทำหน้าที่ติดตาม ประเมินผล และนิเทศการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๒) จัดทำแผนการติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาประจำปี
ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการติดตาม
ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแจ้งให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ
(๓) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
ดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษา การบริหารการศึกษา
โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อการเตรียมการรับการนิเทศ ติดตามและประเมินผลจากหน่วยงานภายในและภายนอก
(๔) รายงานผลการติดตาม
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาเสนอผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ
ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) ประสานให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจง
ให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
(๖) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๓
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่บุคคลใดหรือหน่วยงานในสังกัด
หรือหน่วยงานในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการใด
ไม่ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการหรือไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้ผู้บังคับบัญชารายงานไปยังคณะกรรมการ
ข้อ ๒๙ เพื่อประโยชน์ในการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ส่วนราชการ
หน่วยงานการศึกษา หรือผู้รับตรวจราชการ ขอความร่วมมือ หรือประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม
ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ
เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๑๑ กันยายน
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง/หน้า ๓๓/๘ กันยายน ๒๕๖๐ |
758610 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐
อนุมัติหลักการให้ปรับเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินอุดหนุนสมทบเงินเดือนครูในอัตราเดียวกันทุกครั้งที่มีการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามมาตรา
๑๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๘
และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่
๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ
๑๕ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๕ การกำกับดูแลให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลโรงเรียนเอกชน ดำเนินการติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีโรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
ให้ผู้อนุญาตเรียกหรือหักเงินเพื่อส่งใช้คืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปี ของจำนวนเงินที่เบิกผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้นภายใต้เงื่อนไขดังนี้
ก.
ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้ชำระเงินคืนทันทีในงวดเดียว
ข.
ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนเกินหนึ่งล้านบาทให้ชำระเงินคืนทันทีหนึ่งล้านบาท
ส่วนจำนวนเงินที่เหลือให้ชำระภายใน ๑ ปี
โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
หากโรงเรียนไม่ชดใช้เงินอุดหนุนที่เบิกผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
ภายใน ๓๐ วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระเงินคืน
ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้ก่อนจนกว่าโรงเรียนจะมาดำเนินการตามข้อ
ก. หรือข้อ ข. แล้วแต่กรณี
(๓)
เมื่อปรากฏว่าโรงเรียนมีการทุจริตเกี่ยวกับการขอรับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ให้ผู้อนุญาตเรียกหรือหักเงินเพื่อส่งใช้คืนพร้อมดอกเบี้ยตามข้อ
๑๕ (๒) และให้เรียกเบี้ยปรับจำนวนหนึ่งเท่าของจำนวนเงินอุดหนุนที่เบิกโดยทุจริต
และพิจารณาดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
(๔)
ในกรณีตรวจสอบพบว่าโรงเรียนไม่ได้นำเงินไปใช้จ่ายตามเงื่อนไขข้อ
๑๔ (๖) ให้ผู้อนุญาตสั่งแก้ไข
หากไม่ดำเนินการให้ผู้อนุญาตสั่งลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ข้อ
๕ ให้เพิ่มข้อความดังต่อไปนี้เป็นข้อ
๑๖/๑ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๑๖/๑ วิธีการในการขอรับเงินอุดหนุน
และการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษาตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ ถึงข้อ ๑๓ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ข้อ
๖ การใดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ
๒๖ กันยายน
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
\
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๗๘ ง/หน้า ๑/๒๒ กันยายน ๒๕๕๙ |
790896 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
ให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ที่เห็นชอบในหลักการการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน
ประเภทสามัญศึกษา อุดหนุนเพิ่มในส่วนเงินสมทบเป็นเงินเดือนครู
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน
(๔) ของข้อ ๑๕ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔) ในกรณีตรวจสอบพบว่าโรงเรียนใดไม่ได้นำเงินไปใช้จ่ายตามเงื่อนไขข้อ
๑๔ (๖) ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล
จนกว่าโรงเรียนนั้นจะดำเนินการให้ถูกต้องและให้ผู้อนุญาตพิจารณาลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ข้อ ๕ บรรดาความใดในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ใช้คำว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ให้หมายถึง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
ประกาศ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๒๐
พฤศจิกายน ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๑
สิงหาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๗๙ ง/หน้า ๑/๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
733580 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2558 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบันยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๑ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๘
ตุลาคม ๒๕๔๕ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒
วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ และวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
ซึ่งมีมติเกี่ยวกับเรื่องเงินอุดหนุนรายบุคคลประกอบกับการเสนอความเห็นของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามมาตรา
๑๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๘
วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
(๒) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
(๓) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
(๔) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
(๕) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖
(๖) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗
(๗) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
โรงเรียน หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนในระบบ โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ที่จัดการเรียนการสอนในลักษณะการกุศล การศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์ ได้แก่
โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โรงเรียนการศึกษาพิเศษ
โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษและให้หมายความรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน หมายความว่า
ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล
หมายความว่า เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่
ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
หมายความว่า สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา
สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ
หมายความว่า สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอในทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี
และอำเภอสะบ้าย้อย
ข้อ ๕ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้เป็นไปตามตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๖ การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน
ซึ่งต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียน
ตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาตดังนี้
ก. จำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก
ข. จำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐
พฤศจิกายนของปีการศึกษาที่ขอเบิกของโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษา
เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนใหม่เข้าเรียนในภาคเรียนที่ ๒ เท่านั้น
(๒)
โรงเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังนี้
ก. เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับในกรณีเป็นโรงเรียนการกุศลต้องไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค. ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓) นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ก. เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง
ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสารจัดตั้งแล้วแต่กรณี
ข. เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า
๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค. เป็นนักเรียนที่มีเลขประจำตัวประชาชนที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย
ง. เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓ ปีบริบูรณ์
ในวันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา
จ. เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล
และมีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษา
ฉ. เป็นนักเรียนใหม่ที่เข้าเรียนในภาคเรียนที่ ๒
ของโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาและต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศ หลักเกณฑ์
วิธีการที่เกี่ยวข้อง
ช. กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ
เอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๗ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนดจำนวน ๒ ชุด
โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด
(๒) ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๗ (๓)
หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงาน ส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอภายในวันที่ ๒๐
มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนดังนี้
ก. แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู
พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุน โดยให้สำรวจจำนวนนักเรียน ณ วันที่
๑๐ มิถุนายนของทุกปี
ข. แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน
กรณีที่โรงเรียนขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๘ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาเฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้รับนักเรียนใหม่เข้าเรียนในภาคเรียนที่
๒ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนดจำนวน ๒ ชุด
โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด
(๒) ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๘ (๓)
หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงาน
ส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอภายในวันที่ ๒๐
พฤศจิกายน
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนดังนี้
ก. แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครูพร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุน
โดยให้สำรวจจำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน
ข. แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน
กรณีที่โรงเรียนขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค. แบบรายงานการรับนักเรียนเข้าเรียนภาคเรียนที่ ๒
ง. ใบอนุญาตให้รับนักเรียนใหม่เข้าเรียนภาคเรียนที่ ๒
จ. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนใหม่เข้าเรียนภาคเรียนที่
๒
ข้อ ๙ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๗
และข้อ ๘ พร้อมข้อมูลของโรงเรียนตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
กรณีโรงเรียนยื่นคำร้องผ่านสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอให้สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอตรวจสอบเบื้องต้นก่อนนำส่งสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
(๒) ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุน พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
โดยข้อมูลจำนวนนักเรียนตามข้อ ๗ ให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
และข้อมูลจำนวนนักเรียนตามข้อ ๘ ให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๓๐
พฤศจิกายนของทุกปี
ข้อ ๑๐ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๗
และข้อ ๘
(๒) ตรวจสอบแบบสรุปจำนวนนักเรียนตามข้อ ๙ (๒)
(๓) ตรวจสอบและรวบรวมจำนวนนักเรียนตาม (๑) และ (๒) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นเพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๑๑ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน จำนวน ๒ ชุด
โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบดังนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนรับเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา
ข. บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน
ของเดือนที่ผ่านมา
ค. หลักฐานการจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารของเดือนที่ผ่านมา
(๒) โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓
ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดแล้วแต่กรณี
(๓) แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามข้อ ๗ ข้อ ๘ และแบบขอเบิกจ่ายเงินตามข้อ
๑๑ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๑๒ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการทั้งประจำและไปกลับ
และจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ถูกต้อง
(๒) จัดทำแบบสรุปจำนวนโรงเรียน
จำนวนนักเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่ายและขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน
แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือน
เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
(๓) เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๑๑ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับโอนเงินจากสำนักงาน
ข้อ ๑๓ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการทั้งประจำและไปกลับ
และจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ถูกต้อง
(๒) สรุปจำนวนโรงเรียน
จำนวนนักเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่ายประจำเดือนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น
(๓) ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือนตาม (๒)
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดแล้วแต่กรณี
(๔) เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๑๑ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินจากกรมบัญชีกลางเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๔ เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒) การรับนักเรียนเข้าเรียน
โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
โรงเรียนที่ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ ๗
(๒) และข้อ ๘ (๒)
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔) โรงเรียนที่ขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือนไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ
๑๑ (๒) ให้โรงเรียนดำเนินการขอเบิกจ่ายให้ทันภายในปีงบประมาณที่ยื่นคำร้อง
โดยห้ามงดจ่ายเงินเดือนครูด้วยเหตุดังกล่าวและจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
(๕)
โรงเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารจัดตั้งเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา
ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๖)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ
คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการและต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและนำเงินที่เหลือไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ครุภัณฑ์ พัฒนาอาคารสถานที่ และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๗) โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน
(๘)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือนและเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
(๙)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๑๐)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน
โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๑) เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน
โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือนที่นักเรียนพ้นสภาพ
(๑๒)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคมและในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๓) นักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน
ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
(๑๔)
โรงเรียนจัดตั้งใหม่หรือโรงเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนในครั้งแรกให้ได้รับเงินอุดหนุนตั้งแต่เดือนแรกที่เปิดภาคเรียนที่
๑ ของปีการศึกษาที่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๑๕) โรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง
หรือใบอนุญาตที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนนักเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน
ภายหลังวันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา ให้คำนวณจำนวนนักเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ในปีการศึกษาถัดไป
ข้อ ๑๕ การกำกับดูแลให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒) ในกรณีที่ตรวจพบว่า
โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี
ของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ
นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
หากโรงเรียนไม่ชดใช้เงินอุดหนุนที่เบิกโดยผิดพลาด โดยไม่มีสิทธิ
หรือโดยทุจริตภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระเงินคืน
ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้ก่อนจนกว่าโรงเรียนจะมาชำระหนี้ให้แล้วเสร็จ
ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
ก. ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้ชำระเงินคืนทันทีในงวดเดียว
ข. ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป
ให้ชำระเงินคืนภายใน ๑ ปี
โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
(๓) เมื่อปรากฏว่า โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้โดยทุจริต
ให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม (๒)
และพิจารณาดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
(๔) ในกรณีตรวจสอบพบว่าโรงเรียนไม่ได้นำเงินไปใช้จ่ายตามเงื่อนไขข้อ
๑๔ (๖) ให้ผู้อนุญาตสั่งแก้ไข หากไม่ดำเนินการให้ผู้อนุญาตสั่งลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ข้อ ๑๖ การใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ยังไม่แล้วเสร็จให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๑๗ ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๘
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ สิงหาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๖ สิงหาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง/หน้า ๑/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
797134 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2560 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและ
ต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบันเพื่อเป็นการกระจายอำนาจ
ลดการควบคุม และคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา
๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ กระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๔๙ รวมถึงบรรดาระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้และให้ใช้ความในระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
การเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งกำหนดหลักเกณฑ์
เงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาตามความเหมาะสม
ข้อ ๕
สำหรับการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อสิทธิประโยชน์ในการอื่นนอกเหนือจากข้อ
๔ สามารถยื่นคำร้องเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการ
กรณีหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นผู้พิจารณา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๖
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๔/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
797132 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2549 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.
๒๕๔๙
กระทรวงศึกษาธิการเห็นเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบความรู้วุฒิต่างประเทศและวุฒิในประเทศ
พ.ศ. ๒๕๔๑ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบความรู้โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย พ.ศ ๒๕๔๔
และกำหนดเกณฑ์การเทียบความรู้ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๑ ที่มีอยู่เดิม
เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการตามโครงสร้างใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการและหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๔๔ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
กระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๔๙
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกบรรดาระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้และให้ใช้ความในระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
การเทียบวุฒิการศึกษา หมายความว่า
การนำผลการเรียนที่ได้จากการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
จากสถานศึกษาหรือศูนย์สอบ
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอนมาเทียบเท่ากับวุฒิตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วุฒิการศึกษาในประเทศ หมายถึง
วุฒิที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย
หรือตามระบบการศึกษาของประเทศไทย
วุฒิการศึกษาต่างประเทศ หมายถึง วุฒิที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของต่างประเทศ
หรือตามระบบการศึกษาของต่างประเทศ
ซึ่งสถานศึกษาอาจตั้งอยู่ภายในประเทศหรืออยู่ในต่างประเทศ
ข้อ ๕
กระทรวงศึกษาธิการจะเทียบวุฒิการศึกษาให้เฉพาะวุฒิที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง
ตามระเบียบการวัดผลและเงื่อนไขต่าง ๆ ของหลักสูตรนั้น
ซึ่งผู้ขอเทียบวุฒิได้รับจากสถานศึกษาในประเทศหรือสถานศึกษาต่างประเทศ
โดยจะต้องเป็นวุฒิที่ผ่านการเรียนหรือการสอบเต็มตามหลักสูตรและต้องไม่ใช่วุฒิที่ศึกษาผ่านสำนักศึกษาทางไปรษณีย์
การฝึกอบรม การดูงาน การเรียนภาคฤดูร้อน การเรียนตามหลักสูตรระยะสั้น
วุฒิการศึกษาที่จะเทียบให้ ได้แก่
๕.๑ วุฒิการศึกษา การศึกษาภาคบังคับ
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕.๒ วุฒิการศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ ๖
การพิจารณาเทียบวุฒิการศึกษา จะพิจารณาวุฒิการศึกษาในประเทศและวุฒิการศึกษาต่างประเทศดังนี้
๖.๑ วุฒิการศึกษาในประเทศ
ต้องเป็นวุฒิที่ได้จากการศึกษาตามหลักสูตรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
หรือหลักสูตรของเอกชนที่เปิดสอนในสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโดยถูกต้องตามกฎและระเบียบที่กำหนดและได้รับการรับรองวิทยฐานะหรือรับรองมาตรฐาน
๖.๒ วุฒิการศึกษาต่างประเทศ
ต้องเป็นวุฒิที่ได้จากการศึกษาตามหลักสูตรของรัฐหรือเอกชน ในลักษณะ ดังต่อไปนี้
๖.๒.๑ หลักสูตรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ
ที่เปิดสอนในสถานศึกษาของรัฐหรือสถานศึกษาของเอกชน
หรือรัฐเป็นผู้ดำเนินการสอบ/วัดและประเมินผลหรือให้การรับรองหรือออกประกาศนียบัตร
๖.๒.๒ หลักสูตรของเอกชน
ที่เปิดสอนในสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะหรือรับรองมาตรฐาน (Accredited)
จากรัฐบาลของประเทศนั้น
หรือจากองค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยกระทรวงศึกษาธิการหรือองค์กรที่ได้รับการยอมรับโดยสากล
การรับรองวิทยฐานะหรือรับรองมาตรฐาน (Accredited)
ในส่วนนี้ ครอบคลุมถึงโรงเรียนของสถานฑูต
หรือโรงเรียนตามหลักสูตรของรัฐบาลประเทศหนึ่งแต่ไปเปิดสอนในอีกประเทศหนึ่ง
หรือเป็นโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
ข้อ ๗
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง
เพื่อพิจารณาเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ
โดยมีหน้าที่พิจารณาเทียบวุฒิตามเกณฑ์ที่กำหนดและจัดทำบัญชีประกาศการเทียบวุฒิการศึกษา
โดยมีหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก คณะกรรมการประกอบด้วย
ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการเรียนการสอน
การวัดและประเมินผลการเรียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า ๗ คน
โดยให้สำนักทดสอบทางการศึกษาเป็นเลขานุการ
เกณฑ์การพิจารณาเทียบวุฒิการศึกษาให้พิจารณาเทียบเคียงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยยึดองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
๗.๑ จุดหมายของหลักสูตร
๗.๒ โครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วย
๗.๒.๑ มาตรฐานการเรียนรู้
๗.๒.๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้
๗.๒.๓ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๗.๒.๔ เวลาเรียนตลอดหลักสูตร
ทั้งนี้
ให้พิจารณาความสอดคล้องกันกับเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐
๗.๓
พื้นความรู้เดิมก่อนเข้าศึกษาตามหลักสูตรที่มาขอเทียบวุฒิการศึกษา
๗.๔ ผลการเรียนที่ได้
หรือที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อ ๘
การยื่นคำร้องขอใบเทียบวุฒิการศึกษาและการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการขอใบเทียบวุฒิการศึกษาให้ใช้แบบคำร้องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดตามท้ายระเบียบนี้
กรณีการยื่นคำร้องขอใบเทียบวุฒิการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยให้ผ่านการรับรองจากโรงเรียน
และได้รับการตรวจสอบจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และจะต้องเป็นโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติหลักสูตรและอนุญาตให้จัดตั้งในประเทศไทย
ข้อ ๙
ให้จัดทำทะเบียนใบเทียบวุฒิการศึกษาไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ
และในกรณีที่ใบเทียบวุฒิการศึกษาชำรุดหรือสูญหาย
ให้ผู้ได้รับใบเทียบวุฒิการศึกษายื่นคำร้องขอใบแทนใบเทียบวุฒิการศึกษาตามแบบคำร้องที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ข้อ ๑๐
คำร้องขอที่ได้ยื่นหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาดำเนินการก่อนการใช้ระเบียบนี้และยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อ ๑๑
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเทียบวุฒิการศึกษาและลงนามในใบเทียบวุฒิการศึกษา
ข้อ ๑๒
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์มาดา/จัดทำ
๒๖
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
735041 | ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคแล้วยังมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งที่ดินอยู่ห่างไกล หรือไม่ติดกับที่ตั้งสถานศึกษา หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินมิได้ พ.ศ. 2558 | ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ว่าด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคแล้วยังมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ซึ่งที่ดินอยู่ห่างไกล
หรือไม่ติดกับที่ตั้งสถานศึกษา หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินมิได้
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยเห็นเป็นการสมควรกำหนดระเบียบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคแล้วยังมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ซึ่งที่ดินอยู่ห่างไกล หรือไม่ติดกับที่ตั้งสถานศึกษา
หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินมิได้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล
ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
และคู่มือดำเนินการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุและที่ดินประเภทอื่น
ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ ศธ ๐๔๐๐๒/ว๖๗๘ ลงวันที่ ๑๕
มีนาคม ๒๕๕๖ จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ว่าด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคแล้วยังมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ซึ่งที่ดินอยู่ห่างไกล หรือไม่ติดกับที่ตั้งสถานศึกษา
หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินมิได้ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงนามประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
สถานศึกษา หมายความว่า
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
และหมายความรวมถึงสถานศึกษาเฉพาะความพิการของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายการศึกษาสำหรับคนพิการ
ที่ดิน หมายความว่า
ที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคแล้วยังมิได้เข้าไปใช้ประโยชน์ ซึ่งที่ดินอยู่ห่างไกล
หรือไม่ติดกับที่ตั้งสถานศึกษา หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินมิได้
ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคแล้วยังมิได้เข้าไปใช้ประโยชน์
ซึ่งที่ดินอยู่ห่างไกล หรือไม่ติดกับที่ตั้งสถานศึกษา
หรือเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินมิได้
ข้อ ๕ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกระทำได้
แต่โดยการขาย การแลกเปลี่ยน และการโอนคืนให้แก่ผู้บริจาคหรือทายาท
โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานของสถานศึกษา
กรณีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกระทำโดยการขายและการแลกเปลี่ยน
ให้ทำความตกลงกับผู้บริจาคหรือทายาท
เพื่อเปลี่ยนวัตถุประสงค์จากการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นการขาย
โดยนำรายได้มาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
และการแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
ข้อ ๖ ในการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
ให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย คณะกรรมการภาคี
๔ ฝ่าย คือ ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน ผู้แทนนักเรียน
เพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการภาคี ๔ ฝ่าย
พิจารณานโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการพัฒนาที่ดิน
เพื่อจัดหารายได้ของสถานศึกษาส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนานักเรียน
การพัฒนาจัดการศึกษามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรในการส่งเสริมการพัฒนาดังกล่าว
และรายได้ของสถานศึกษา เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการจัดหาทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา
การจัดหาประโยชน์จากที่ดินเป็นรายได้สถานศึกษาถือเป็นหนทางที่จะได้มาซึ่งรายได้ของสถานศึกษา
จึงมีความจำเป็น จะต้องดำเนินการจัดหาประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องและเหมาะสม
แต่อย่างไรก็ตามหากคณะกรรมการภาคี ๔ ฝ่าย พิจารณาแล้วจะต้องขาย
แลกเปลี่ยนและการโอนคืนให้แก่ผู้บริจาคหรือทายาท
ต้องรายงานเหตุผลและความจำเป็นให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ ๗ การขายและการแลกเปลี่ยนที่ดิน
ให้คณะกรรมการตามข้อ ๖
กำหนดมูลค่าของที่ดินโดยประเมินจากราคาที่คาดว่าจะเป็นราคาซื้อขายจริงในท้องตลาดในปัจจุบัน
และให้คำนึงถึงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพและที่ตั้งของที่ดิน
มูลค่าเพิ่มของที่ดินในกรณีที่จะนำไปผนวกเข้ากับที่ดินของ
บุคคลอื่นที่ตั้งอยู่ติดกัน รวมทั้งความเหมาะสมและปัจจัยที่สำคัญอื่น ๆ
ที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ทางราชการ
ในกรณีที่เห็นเป็นการสมควรเพื่อประโยชน์ในการกำหนดมูลค่าของที่ดิน
ตามวรรคหนึ่งจะให้สถาบันวิชาชีพหรือบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการประเมินอสังหาริมทรัพย์ทำการศึกษาและประเมินราคาที่ดินเพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับมูลค่าที่กำหนดไว้
ก็ได้
ข้อ ๘ การขายและการแลกเปลี่ยนที่ดิน ให้กระทำโดยวิธีตกลงราคา
แต่ราคาขายต้องไม่ต่ำกว่ามูลค่าของราคาประเมินที่กำหนดตามข้อ ๗
และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสถานศึกษา
โดยรายได้ที่ได้รับส่งเป็นรายได้สถานศึกษา
และให้ใช้จ่ายเงินได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคเท่านั้น
ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล
ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๙ ที่ดินที่จะนำมาแลกเปลี่ยน
อย่างน้อยต้องมีคุณลักษณะเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
(๑) ตั้งอยู่ติดกับทางหลวงหรือทางสาธารณะที่สะดวกแก่การคมนาคม
หรือตั้งอยู่ติดกับที่ดินที่ตั้งสถานศึกษาปัจจุบัน
ที่มีทางเข้าออกสู่ทางหลวงหรือทางสาธารณะอยู่แล้ว
(๒) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ตามความมุ่งหมาย
โดยไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายอื่น
(๓) มีขนาดเหมาะสม หรือเมื่อนำไปผนวกเข้ากับที่ดินที่ตั้งสถานศึกษาปัจจุบันที่ติดกันแล้วจะมีขนาดเหมาะสมจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้
การพิจารณากำหนดมูลค่าของที่ดินที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกับที่ดินที่สถานศึกษา
รับบริจาคให้ใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ ๗ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๐ การให้ที่ดิน
จะกระทำได้เฉพาะการโอนคืนให้แก่ผู้บริจาคหรือทายาท
และจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสถานศึกษาด้วย
ข้อ ๑๑ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
คืนให้แก่ผู้บริจาคหรือทายาท
จะกระทำได้เมื่อสถานศึกษาไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคภายในระยะเวลาที่ผู้ยกให้กำหนดไว้
หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่มีการบริจาคที่ดินนั้นให้แก่สถานศึกษา
ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ปรากฏแก่ผู้บริจาคหรือทายาทว่า
สถานศึกษามิได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาค
ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคภายในระยะเวลาที่ผู้บริจาคกำหนดไว้
หรือภายในห้าปีนับแต่วันที่มีการบริจาคที่ดินนั้นให้แก่สถานศึกษา
ผู้บริจาคหรือทายาทอาจขอที่ดินที่สถานศึกษารับบริจาคนั้นคืนได้
โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อสถานศึกษาที่เป็นผู้ดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ที่สถานศึกษารับบริจาค
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่สถานศึกษาประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันกำหนดเวลา หรือประสงค์จะเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ต่างไปจากวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค
ให้สถานศึกษาที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
ทำความตกลงกับผู้บริจาคหรือทายาทเพื่อขอขยายระยะเวลาหรือเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์
แล้วแต่กรณี ก่อนครบกำหนดเวลาตามที่ผู้บริจาคกำหนดไว้ หากผู้บริจาคหรือทายาทมิให้ความยินยอมจนล่วงพ้นกำหนดเวลาตามที่ผู้บริจาคกำหนดไว้ก็ให้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้แก่ผู้บริจาคหรือทายาทต่อไป
ข้อ ๑๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามข้อ
๗ และข้อ ๑๐ ให้ดำเนินการ ณ สำนักงาน ที่ดินจังหวัด
ข้อ ๑๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
กมล รอดคล้าย
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ กันยายน
๒๕๕๘
ปุณิกา/ผู้ตรวจ
๘ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๑/๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ |
733592 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช
๒๕๕๗[๑]
โดยที่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง
ให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ เรื่อง
มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ. ๒๕๕๖
สมควรออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช ๒๕๕๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษา
และการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา
๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้บังคับแก่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
หลักสูตร หมายความว่า
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช ๒๕๕๗
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หมายความว่า
การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราช ๒๕๕๗
หลังจากจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า ใช้อักษรย่อว่า ปวส.
สถานศึกษา หมายความว่า
วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐและเอกชน
ที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้
หัวหน้าสถานศึกษา หมายความว่า
ผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐและเอกชน
ที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้
หน่วยงานต้นสังกัด หมายความว่า
หน่วยงานที่มีสถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนี้อยู่ในสังกัด
หรือในความควบคุมดูแล
ผู้เข้าเรียน หมายความว่า
ผู้มาสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา หรือสมัครฝึกอาชีพกับสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
นักศึกษา หมายความว่า
ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามหลักสูตรนี้
ภาคเรียน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอน โดยกำหนดให้ ๑ ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
ภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
ภาคเรียนฤดูร้อน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนในช่วงปิดภาคเรียน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
และในช่วงปิดภาคเรียนกลางปีโดยอนุโลม
สถานประกอบการ หมายความว่า
บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้าน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและเอกชน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อจัดการอาชีวศึกษา
ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดา
มารดา
และบุคคลอื่นที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลและให้ความอุปการะแก่นักศึกษาและให้คำรับรองแก่สถานศึกษาหรือสถานประกอบการว่าจะปกครองดูแลความประพฤติของนักศึกษาในระหว่างที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา
และฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ หรือฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี
การศึกษาในระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาเป็นหลัก
โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของ การสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา
ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคล
แต่ละกลุ่ม
การศึกษาระบบทวิภาคี หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล
โดยนักศึกษาใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษา และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ
ผู้ควบคุมการฝึก หมายความว่า
ผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงานกับสถานศึกษาในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
และรับผิดชอบดูแลการฝึกอาชีพของนักศึกษาในสถานประกอบการ
ครูฝึก หมายความว่า
ผู้ทำหน้าที่สอน ฝึก อบรมนักศึกษาในสถานประกอบการ
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ครูนิเทศก์ หมายความว่า
ครูที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศ ให้คำปรึกษา
แนะนำแก่นักศึกษาที่ฝึกอาชีพและฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
ครูที่ปรึกษา หมายความว่า
ครูที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ติดตามผลการเรียน
และตักเตือนดูแลความประพฤติของนักศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
ข้อกำหนดด้านสมรรถนะวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ ในการกำกับดูแล
ตรวจสอบและประกันคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
การทดสอบความรู้ ความสามารถ ตลอดจนลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งกำหนดเกณฑ์การตัดสินไว้ชัดเจน
พร้อมทั้งจัดดำเนินการประเมินภายใต้เงื่อนไขที่เป็นมาตรฐาน
คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า คณะกรรมการผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ
ติดตามและกำกับดูแลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพของนักศึกษาในสถานศึกษา
ข้อ ๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
สภาพนักศึกษา
ส่วนที่ ๑
พื้นความรู้และคุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
ข้อ ๖ ผู้เข้าเรียนต้องมีพื้นความรู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
หรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ผู้เข้าเรียนที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพในประเภทวิชา
และสาขาวิชาที่กำหนด หรือสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ต้องเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพและประเมินผ่านให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
ความข้อนี้ไม่ใช้บังคับสำหรับผู้ที่เรียนเป็นบางเวลา บางรายวิชา
หรือบางส่วนของรายวิชา
โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อตัดสินการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและรับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ข้อ ๗ ผู้เข้าเรียนต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีความประพฤติเรียบร้อย
(๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
(๓) มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งโดยมีทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
หรือมีหลักฐานของทางราชการในลักษณะเดียวกันมาแสดง
(๔) มีความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๕)
มีเจตคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๖) สำหรับผู้เข้าเรียนการศึกษาระบบทวิภาคี
ในวันทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๗ ปีบริบูรณ์
และมีความตั้งใจที่จะรับการฝึกอาชีพในสาขาวิชาที่สมัคร
ผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง ๆ ของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ส่วนที่ ๒
การรับผู้เข้าเรียน
ข้อ ๘ การรับผู้เข้าเรียน
ให้ทำการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกตามที่สถานศึกษากำหนด
ในกรณีที่มีการสอบคัดเลือก ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ทำการสอบข้อเขียนในหมวดวิชาใด ๆ ตามความต้องการของสถานศึกษา
หรือสถานประกอบการ
หากสถานศึกษาหรือสถานประกอบการจะทำการสอบความถนัดทางการเรียนวิชาชีพ
และสอบสัมภาษณ์ด้วยก็ได้
(๒) สถานศึกษาประกาศรับสมัคร ดำเนินการสอบและประกาศผลสอบ
ตามวันและเวลาที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
(๓) ถ้าเหตุการณ์เกี่ยวกับการสอบเป็นไปโดยปกติ
ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี
นับแต่วันประกาศผลการสอบ
การรับผู้เข้าเรียนการศึกษาระบบทวิภาคี
สถานประกอบการจะเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือคัดเลือกผู้เข้าเรียนเองตามคุณสมบัติที่กำหนดและตามจำนวนที่ได้ตกลงร่วมกับสถานศึกษา
หรือจะมอบให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ หรือดำเนินการร่วมกันก็ได้
การรับผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง ๆ ของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษาคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ข้อ ๙ ให้มีการตรวจร่างกายโดยแพทย์ปริญญา
เฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก หรือได้รับการคัดเลือก
ส่วนที่ ๓
การเป็นนักศึกษา
ข้อ ๑๐ ผู้เข้าเรียนจะมีสภาพเป็นนักศึกษา
เมื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของสถานศึกษา
สำหรับการศึกษาระบบทวิภาคี
ผู้เข้าเรียนต้องทำสัญญาการฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ
การขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาและการทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องกระทำด้วยตนเองพร้อมทั้งแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาตามวัน
เวลา ที่สถานศึกษาและสถานประกอบการกำหนดโดยชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ตามที่สถานศึกษากำหนด ทั้งนี้
ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคเรียนโดยมีผู้ปกครองซึ่งสถานศึกษาเชื่อถือมาให้คำรับรองและทำหนังสือมอบตัว
ในกรณีผู้เข้าเรียนที่บรรลุนิติภาวะ
สถานศึกษาอาจให้ผู้ปกครองมาทำหนังสือมอบตัว
หรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบนี้หรือไม่ก็ได้
ให้สถานศึกษาจัดการประชุมชี้แจงผู้ปกครอง และปฐมนิเทศนักศึกษา
เพื่อให้ทราบแนวทางการเรียน และกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ ให้สถานศึกษาออกบัตรประจำตัวให้แก่นักศึกษา
บัตรประจำตัว ต้องระบุเลขที่ ชื่อสถานศึกษา รหัสสถานศึกษา ชื่อ
ชื่อสกุลนักศึกษา รหัสประจำตัวนักศึกษา เลขประจำตัวประชาชน วันออกบัตร วันหมดอายุ
ลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษา หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทน
และให้มีรูปถ่ายครึ่งตัวของนักศึกษา หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาสีดำ
แต่งเครื่องแบบนักศึกษา ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ติดลงในบัตร
กับให้มีลายมือชื่อของนักศึกษา
ให้มีตราของสถานศึกษาที่มุมใดมุมหนึ่งของรูปถ่ายนักศึกษา
โดยให้ติดที่รูปถ่ายบางส่วน
บัตรประจำตัวนี้ให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่มีสภาพนักศึกษาในสถานศึกษาแห่งนั้น
แต่ต้องไม่เกิน ๒ ปี นับแต่วันออกบัตร ถ้าบัตรประจำตัวหมดอายุ
ในระหว่างที่ยังมีสภาพนักศึกษาก็ให้สถานศึกษาต่ออายุบัตรเป็นปี ๆ ไป
และให้ส่งคืนบัตรประจำตัวต่อสถานศึกษาเมื่อพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
สถานประกอบการจะใช้บัตรประจำตัวที่สถานศึกษาออกให้
หรือจะออกให้ใหม่ตามความต้องการของสถานประกอบการก็ได้
ข้อ ๑๒ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียน ให้คำปรึกษา ติดตามผลการเรียน
และตักเตือนดูแลความประพฤติของนักศึกษา
และให้สถานประกอบการจัดให้มีผู้ควบคุมการฝึกของนักศึกษาในสถานประกอบการ
ส่วนที่ ๔
การพ้นสภาพและคืนสภาพนักศึกษา
ข้อ ๑๓ การพ้นสภาพนักศึกษา
เป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒) ลาออก
(๓) ถึงแก่กรรม
(๔) สถานศึกษาสั่งให้พ้นสภาพนักศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
ก. ขาดเรียน ขาดการฝึกอาชีพ ขาดการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
หรือขาดการติดต่อกับสถานศึกษาหรือสถานประกอบการเกินกว่า ๑๕ วันติดต่อกัน
ซึ่งสถานศึกษาหรือสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือมีพฤติกรรมอย่างอื่นที่แสดงว่าไม่มีความตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียน
หรือรับการฝึกอาชีพ หรือรับการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
ข. ไม่ยื่นคำร้องขอกลับเข้าเรียนภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพตามข้อ ๑๙
ค. ไม่มาติดต่อเพื่อรักษาสภาพนักศึกษา ตามข้อ ๒๖
ง. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
จ. ขาดพื้นความรู้ ตามข้อ ๖
ฉ. ขาดคุณสมบัติของผู้เข้าเรียน ตามข้อ ๗
ช. พ้นสภาพนักศึกษา ตามข้อ ๕๗
ซ. พ้นสภาพนักศึกษา ตามข้อ ๕๘
ข้อ ๑๔ ผู้ที่พ้นสภาพนักศึกษา ตามข้อ ๑๓ (๒) (๔)
ก. ข. และ ค. ถ้าประสงค์จะขอคืนสภาพการเป็นนักศึกษา
จะต้องยื่นคำร้องขอต่อสถานศึกษาภายใน ๑ ปี นับแต่วันถัดจากวันพ้นสภาพนักศึกษา
เมื่อสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควรก็ให้รับเข้าเรียนได้
ข้อ ๑๕ การขอคืนสภาพการเป็นนักศึกษา
ตามข้อ ๑๔ ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ต้องเข้าเรียนภายในสัปดาห์แรกของภาคเรียน
เว้นแต่กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
(๒) ให้นำรายวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่ได้ลงทะเบียนรายวิชาไว้
มานับรวมเพื่อพิจารณาตัดสินการสำเร็จการศึกษาด้วย
ส่วนที่ ๕
การพักการเรียน
ข้อ ๑๖ สถานศึกษาและสถานประกอบการอาจพิจารณาอนุญาตให้นักศึกษา
ลาพักการเรียน หรือการฝึกอาชีพได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อมีเหตุจำเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
(๑) ได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษา หรือดูงาน
หรือเป็นตัวแทนของสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ ในการเข้าร่วมประชุม หรือกรณีอื่น ๆ
อันควรแก่การส่งเสริม
(๒) เจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานาน โดยมีคำรับรองของแพทย์ปริญญา
(๓)
กรณีลาพักเพื่อรับราชการทหารกองประจำการให้ลาพักได้จนกว่าจะได้รับการนำปลด
(๔) เหตุจำเป็นอย่างอื่นตามที่สถานศึกษาและสถานประกอบการจะพิจารณาเห็นสมควร
ในกรณีที่มีนักศึกษาลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพตั้งแต่ต้นปีเป็นระยะเวลานานเกินกว่า
๑ ปี
สถานศึกษาและสถานประกอบการอาจพิจารณารับนักศึกษาอื่นเข้าเรียนหรือฝึกอาชีพแทนที่ได้ตามที่เห็นสมควร
นักศึกษาที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพต้องชำระเงินค่ารักษาสภาพนักศึกษาและค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด แต่ถ้านักศึกษาได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ครบถ้วนสำหรับภาคเรียนนั้นแล้วไม่ต้องชำระเงินค่ารักษาสภาพนักศึกษาสำหรับภาคเรียนนั้นอีก
ข้อ ๑๗ นักศึกษาที่ขออนุญาตลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
ต้องยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสถานศึกษา โดยมีผู้ปกครองเป็นผู้รับรอง
สำหรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะจะมีผู้รับรองหรือไม่ก็ได้
เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพได้ มิฉะนั้นจะถือว่าขาดเรียน
เว้นแต่มีเหตุผลสมควร
ข้อ ๑๘ การอนุญาตให้นักศึกษาลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
ให้สถานศึกษาทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
เว้นแต่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะที่ไม่มีผู้ปกครองมอบตัวให้แจ้งนักศึกษาโดยตรง
ข้อ ๑๙ นักศึกษาที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
เมื่อครบกำหนดเวลาที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพแล้ว ให้ยื่นคำร้องขอกลับเข้าเรียนพร้อมด้วยหลักฐานการอนุญาตให้ลาพักการเรียน
หรือการฝึกอาชีพต่อสถานศึกษาภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด
หากพ้นกำหนดนี้ ให้ถือว่าพ้นสภาพนักศึกษาเว้นแต่มีเหตุผลสมควร
ส่วนที่ ๖
การลาออก
ข้อ ๒๐ นักศึกษาที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักศึกษา
ต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับรองการลาออก เว้นแต่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
ข้อ ๒๑ นักศึกษาที่ลาออกแล้วได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
ให้ถือว่านักศึกษาผู้นั้นมีสภาพนักศึกษามาตั้งแต่ต้นภาคเรียนนั้นทุกประการ
หมวด ๒
การจัดการเรียน
ส่วนที่ ๑
การเปิดเรียน
ข้อ ๒๒ ให้สถานศึกษากำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา
หากสถานศึกษาใดจะกำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากระเบียบดังกล่าว
ให้ขออนุญาตต่อหน่วยงานต้นสังกัด
ข้อ ๒๓ สถานศึกษาที่เปิดภาคเรียนฤดูร้อน
ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนที่ ๒
การลงทะเบียนรายวิชา
ข้อ ๒๔ สถานศึกษาต้องกำหนดวันและเวลาให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาต่าง
ๆ ให้เสร็จก่อนวันเปิดภาคเรียน
ข้อ ๒๕ สถานศึกษาอาจให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ
๒๔ ก็ได้ โดยให้สถานศึกษากำหนดวันสิ้นสุดการลงทะเบียนตามที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน หรือไม่เกิน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การลงทะเบียนรายวิชาตามวรรคหนึ่ง นักศึกษาต้องชำระค่าปรับตามที่สถานศึกษากำหนด
ข้อ ๒๖ นักศึกษาที่มิได้ลงทะเบียนรายวิชาภายในวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนดตามข้อ
๒๕ ถ้าประสงค์จะรักษาสภาพนักศึกษา ต้องติดต่อรักษาสภาพนักศึกษาภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจาก วันสิ้นสุดการลงทะเบียน
ข้อ ๒๗ การลงทะเบียนรายวิชาต้องได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา
ข้อ ๒๘ นักศึกษาต้องลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเอง
ตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนดพร้อมทั้งชำระเงินค่าลงทะเบียนรายวิชาและค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด
ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเองได้ จะมอบหมายให้ผู้อื่นมาลงทะเบียนแทน
ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
นักศึกษาที่ประสงค์ขอผ่อนผันการชำระเงินค่าลงทะเบียนรายวิชา
ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป ทั้งนี้
ต้องชำระให้เสร็จสิ้นก่อนวันเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ข้อ ๒๙ นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาได้ไม่เกินภาคเรียนละ
๒๒ หน่วยกิต สำหรับการเรียนแบบเต็มเวลา และได้ไม่เกินภาคเรียนละ ๑๒ หน่วยกิต
สำหรับการเรียนแบบไม่เต็มเวลา ส่วนการลงทะเบียนรายวิชาในภาคเรียนฤดูร้อน
ให้ลงทะเบียนได้ไม่เกิน ๑๒ หน่วยกิต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถานศึกษา
หากสถานศึกษามีเหตุผลและความจำเป็นในการให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้น
อาจทำได้แต่ต้องไม่กระทบต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
ข้อ ๓๐ นักศึกษาที่ขอโอนผลการเรียนรายวิชาตามข้อ
๕๙ และข้อ ๖๐ ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษา
ไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน
นักศึกษาที่ขอเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามข้อ ๖๖
ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาที่ขอสำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓
ของจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชาและตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
ส่วนที่ ๓
การเปลี่ยน
การเพิ่ม และการถอนรายวิชา
ข้อ ๓๑ นักศึกษาจะขอเปลี่ยนรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
หรือขอเพิ่มรายวิชาต้องกระทำภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน หรือภายใน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน ส่วนการขอถอนรายวิชาต้องกระทำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือภายใน
๑๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามวรรคหนึ่งอาจกระทำได้
ถ้าหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควร
การขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม หรือขอถอนรายวิชา
ต้องได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา และครูผู้สอนประจำรายวิชา
ข้อ ๓๒ การถอนรายวิชาภายในกำหนด ตามข้อ ๓๑
ให้ลงอักษร ถ.น. ในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง
ผลการเรียน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ ๓๑
และหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควร ให้ลงอักษร ถ.น. ในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน แต่ถ้าหัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
ให้ลงอักษร ถ.ล. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง
ผลการเรียน
ส่วนที่ ๔
การเรียนโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ ๓๓ สถานศึกษาอาจอนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดวิชาหนึ่งเพื่อเป็นการเสริมความรู้
โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้
ข้อ ๓๔ เมื่อได้ทำการวัดและประเมินผลการเรียนแล้วได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่
๑.๐ ขึ้นไป ถือว่าประเมินผ่านให้บันทึก ม.ก. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน ถ้าผลการประเมินไม่ผ่านไม่ต้องบันทึกรายวิชานั้น
และให้ถือเป็นการสิ้นสุดสำหรับการเรียนรายวิชานั้นโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ส่วนที่ ๕
การนับเวลาเรียนเพื่อสิทธิในการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ข้อ ๓๕ นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๘๐ ของเวลาเปิดเรียนเต็มสำหรับรายวิชานั้น
จึงจะมีสิทธิเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริงหัวหน้าสถานศึกษาอาจพิจารณาผ่อนผันให้เป็นราย
ๆ ไป
นักศึกษาที่ไม่มีสิทธิเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนตามวรรคหนึ่ง
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ตามข้อ ๖๖ ในภาคเรียนนั้นมิได้
ข้อ ๓๖ การนับเวลาเรียนให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) เวลาเปิดเรียนเต็มภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
(๒) นักศึกษาที่ย้ายสถานศึกษาระหว่างภาคเรียน
ให้นำเวลาเรียนจากสถานศึกษาทั้งสองแห่งรวมกัน
(๓) นักศึกษาที่ลาออกแล้ว
ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกันให้นับเวลาเรียน
ที่เรียนแล้วมารวมกัน
(๔) นักศึกษาที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพในภาคเรียนใด
ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนหรือฝึกอาชีพในภาคเรียนเดียวกัน
ให้นับเวลาเรียนหรือฝึกอาชีพก่อนและหลังการลาพักการเรียน
หรือการฝึกอาชีพในภาคเรียนนั้นมารวมกัน
(๕) รายวิชาที่มีครูผู้สอนหรือครูฝึกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป และแยกกันสอน
ให้นำเวลาเรียนที่เรียน กับครูผู้สอนหรือครูฝึกทุกคนมารวมกัน
(๖) ถ้ามีการเปลี่ยนรายวิชาหรือเพิ่มรายวิชา
ให้นับเวลาเรียนตั้งแต่เริ่มเรียนรายวิชาใหม่
ส่วนที่ ๖
การขออนุญาตเลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ข้อ ๓๗ นักศึกษาที่ไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนด
หัวหน้าสถานศึกษาอาจอนุญาตให้เลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑) ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยก่อน
หรือระหว่างการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
(๒) ถูกควบคุมตัวโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
(๓) เป็นตัวแทนของสถานศึกษาหรือสถานประกอบการในการเข้าร่วมประชุม
หรือกิจกรรมพิเศษอย่างอื่น โดยได้รับความยินยอมจากสถานศึกษา
(๔) มีความจำเป็นอย่างอื่น โดยสถานศึกษา
หรือสถานศึกษาและสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความจำเป็นอย่างแท้จริง
ข้อ ๓๘ นักศึกษาที่ขออนุญาตเลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ต้องยื่นคำร้อง
พร้อมทั้งหลักฐานประกอบต่อสถานศึกษาก่อนการวัดผลปลายภาคเรียนไม่น้อยกว่า ๓ วัน หากไม่สามารถกระทำได้ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเป็นราย
ๆ ไป
กรณีที่หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้เลื่อนได้ ให้บันทึก ม.ส. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียน ในช่อง ผลการเรียน และให้นักศึกษาเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายใน
๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียน หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาจัดการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายในกำหนดการวัดผลปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
การอนุญาตให้เลื่อนการเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
ให้สถานศึกษาทำเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้นักศึกษา
หมวด ๓
การประเมินผลการเรียน
ส่วนที่ ๑
หลักการในการประเมินผลการเรียน
ข้อ ๓๙ ให้สถานศึกษาและสถานประกอบการ
มีหน้าที่และรับผิดชอบในการประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๐ ให้ประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชาตามระบบหน่วยกิต จำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาให้ถือตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ข้อ ๔๑ ให้สถานศึกษาและสถานประกอบการพิจารณาทำการประเมินผลการเรียนรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียน
หรือเมื่อสิ้นสุดการเรียนหรือการปฏิบัติงานในทุกรายวิชา
สำหรับรายวิชาที่เรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการให้ครูฝึกและครูนิเทศก์ร่วมกันประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๒ ให้หน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับสถานศึกษา
ดำเนินการส่งเสริมคุณภาพและควบคุมมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน
การวัดผลและการประเมินผลการเรียน
ส่วนที่ ๒
วิธีการประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๓ ให้ประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชาตามสภาพจริงต่อเนื่องตลอดภาคเรียนทั้งด้านความรู้
ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์จากกิจกรรมการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติ
และงานที่มอบหมายรวมทั้งการวัดผลปลายภาคเรียน ซึ่งครอบคลุมจุดประสงค์
สมรรถนะรายวิชาและเนื้อหาวิชา โดยใช้เครื่องมือและวิธีการหลากหลายตามความเหมาะสม
ข้อ ๔๔ ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชา
ดังต่อไปนี้
๔.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
๓.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
๓.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
๒.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้
๒.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์พอใช้
๑.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อน
๑.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อนมาก
๐ หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ (ตก)
ข้อ ๔๕ รายวิชาใดที่แสดงระดับผลการเรียนตามข้อ
๔๔ ไม่ได้ ให้ใช้ตัวอักษรต่อไปนี้
ข.ร. หมายถึง ขาดเรียน ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
เนื่องจากมีเวลาเรียนต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ข.ป. หมายถึง ขาดการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่ครบ
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ข.ส. หมายถึง ขาดการวัดผลปลายภาคเรียน
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.ล. หมายถึง ถอนรายวิชาภายหลังกำหนด โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.น. หมายถึง ถอนรายวิชาภายในกำหนด
ท. หมายถึง ทุจริตในการสอบหรืองานที่มอบหมายให้ทำ
ม.ส. หมายถึง ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน
โดยได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถานศึกษา หรือไม่ส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการเรียนรายวิชาตามกำหนด
ม.ท. หมายถึง ไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ผ. หมายถึง ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดหรือผลการประเมินผ่าน
ม.ผ. หมายถึง ไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือผลการประเมินไม่ผ่าน
ม.ก. หมายถึง การเรียนโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษา
ตามหลักสูตร และผลการประเมินผ่าน
ข้อ ๔๖ ในกรณีต่อไปนี้ให้ระดับผลการเรียนเป็น ๐
(ศูนย์) เฉพาะรายวิชา
(๑) ได้ ข.ร.
(๒) ได้ ข.ป.
(๓) ได้ ข.ส.
(๔) ได้ ถ.ล.
(๕) ได้ ท.
(๖) ได้ ม.ท.
ข้อ ๔๗ นักศึกษาที่ทำการทุจริต
หรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบหรืองานที่มอบหมายให้ทำในรายวิชาใด
ให้สถานศึกษาพิจารณาดำเนินการดังนี้
(๑) ให้ได้คะแนน ๐ (ศูนย์) เฉพาะครั้งนั้น หรือ
(๒) ให้ระดับผลการเรียนเป็น ๐ (ศูนย์) โดยบันทึก ท. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียน ช่อง ผลการเรียน ในรายวิชานั้นหรือ
(๓) ดำเนินการตาม (๒)
และตัดคะแนนความประพฤติตามระเบียบว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติที่สถานศึกษากำหนดตามความร้ายแรงแล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๘ การคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
ให้นำผลบวกของผลคูณระหว่างจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชากับระดับผลการเรียนหารด้วยผลบวกของจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชา
คิดทศนิยมสองตำแหน่งไม่ปัดเศษ
(๒) ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย จากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตาม
ข้อ ๔๔ และข้อ ๔๖ สำหรับรายวิชาที่นักศึกษาเรียนซ้ำ เรียนแทน
ให้ใช้ระดับผลการเรียนและนับจำนวนหน่วยกิตตามข้อ ๔๙
(๓) ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยดังนี้
ก. ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาคเรียน
คำนวณจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียน เฉพาะในภาคเรียนหนึ่ง ๆ
ข. ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
คำนวณจากรายวิชาที่เรียนมาทั้งหมดและได้ระดับผลการเรียน ตั้งแต่สองภาคเรียนขึ้นไป
ข้อ ๔๙ นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะเรียนซ้ำรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า
๒.๐ หรือเลือกเรียนรายวิชาอื่นแทนถ้าเป็นรายวิชาเลือก
เพื่อประเมินปรับค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้นให้สถานศึกษาหรือสถานประกอบการดำเนินการให้เรียนซ้ำหรือเรียนแทนภายในเวลาก่อนสำเร็จการศึกษา
การเรียนซ้ำรายวิชา ให้นับจำนวนหน่วยกิตสะสมเพียงครั้งเดียว
ส่วนการเรียนแทนให้นับเฉพาะจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่เรียนแทนเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
การนับจำนวนหน่วยกิตสะสมในกรณีนี้
จะกระทำเมื่อนักศึกษาได้ระดับผลการเรียน ตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไปเท่านั้น
รายวิชาที่เรียนซ้ำหรือเรียนแทนแล้วได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์)
ให้ถือระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐ ตามเดิม ยกเว้นการได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์)
ตามข้อ ๔๗ (๒) หรือ (๓)
ข้อ ๕๐ กรณีตามข้อ ๔๙
การคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ถ้าเป็นรายวิชาที่เรียนซ้ำ
ให้นับจำนวนหน่วยกิตเป็นตัวหารเพียงครั้งเดียว
ส่วนการเรียนรายวิชาอื่นแทนให้นับเฉพาะจำนวน
หน่วยกิตของรายวิชาที่เรียนแทนมาเป็นตัวหาร
ข้อ ๕๑ ผู้ที่ได้ ม.ส.
ตามข้อ ๓๘
และไม่สามารถเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนทดแทนภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ให้สถานศึกษาบันทึก ม.ท. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียน
ช่อง ผลการเรียน เว้นแต่ได้ ม.ส.
ตามข้อ ๓๗ (๓) ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
กรณีผู้ที่ได้ ม.ส.
เนื่องจากไม่สามารถส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการเรียนรายวิชาได้ตามกำหนด
ให้นักศึกษาส่งงานนั้นภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียนรายวิชา
หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้สถานศึกษาประเมินผลการเรียนจากคะแนนที่มีอยู่เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควร
ทั้งนี้
ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดการวัดผลปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
ข้อ ๕๒ นักศึกษาต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
เมื่อนักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชา
ครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
หรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพกำหนด ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษากำหนด
นักศึกษาจะมีสิทธิ์สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้ จะต้องเข้ารับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพและผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ข้อ ๕๓ นักศึกษาต้องเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่สถานศึกษาจัดไม่น้อยกว่า
๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ครบทุกภาคเรียน
ตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนดโดยมีเวลาเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ
๖๐ ของเวลาที่จัดกิจกรรมในแต่ละภาคเรียน
เมื่อนักศึกษาได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมครบถ้วนตามเกณฑ์ในภาคเรียนใดถือว่าประเมินผ่าน
ในภาคเรียนนั้น ให้บันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ผ. ในระเบียนแสดงผลการเรียน ช่อง ผลการเรียน ซึ่งหมายถึง ผ่าน
หากนักศึกษาเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมไม่ครบตามเกณฑ์ในภาคเรียนใด
ให้สถานศึกษาพิจารณามอบงานหรือกิจกรรมในส่วนที่นักศึกษาผู้นั้นไม่ได้เข้าร่วมปฏิบัติ
ให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนด
เมื่อนักศึกษาดำเนินการครบถ้วนแล้วถือว่าประเมินผ่าน
แล้วจึงบันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ผ. ในระเบียนแสดงผลการเรียนของภาคเรียนนั้นซึ่งหมายถึง ผ่าน
ถ้านักศึกษาดำเนินการไม่ครบถ้วน ถือว่าประเมินไม่ผ่าน
ให้บันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ม.ผ. ซึ่งหมายถึง ไม่ผ่าน
ให้นักศึกษาที่เข้าฝึกอาชีพ
หรือฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมที่สถานประกอบการจัด
ตามเกณฑ์และข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
ส่วนที่ ๓
การตัดสินผลการเรียน
ข้อ ๕๔ การตัดสินผลการเรียนให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา
(๒) รายวิชาที่มีระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๑.๐ ขึ้นไป ถือว่าประเมินผ่านและให้นับจำนวนหน่วยกิต
ของรายวิชานั้นเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
(๓) เมื่อได้ประเมินผลการเรียนแล้ว นักศึกษาที่มีระดับผลการเรียน ๐
(ศูนย์) ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น ถ้าเป็นรายวิชาเลือกจะเรียนซ้ำ หรือเรียนรายวิชาอื่นแทนก็ได้ จำนวนหน่วยกิต ต้องไม่น้อยกว่ารายวิชาที่เรียนแทน
และให้ลงหมายเหตุในระเบียนแสดงผลการเรียน ว่าให้เรียนแทนรายวิชาใด
ข้อ ๕๕ การตัดสินผลการเรียนเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้
(๑) ได้รายวิชาและจำนวนหน่วยกิตสะสมในหมวดวิชาทักษะชีวิต
หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ และหมวดวิชาเลือกเสรี
ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
และตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
(๒) ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
(๓) ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
(๔) ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเสริมหลักสูตรและ ผ่าน ทุกภาคเรียน ตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
ข้อ ๕๖ ให้หัวหน้าสถานศึกษา
เป็นผู้อนุมัติผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ ๕๗ เมื่อนักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๒
ภาคเรียน หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๑.๗๕
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักศึกษา
เมื่อได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๔ ภาคเรียน
หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๑.๙๐
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักศึกษา
ข้อ ๕๘ นักศึกษาที่เรียนแบบเต็มเวลาและได้ลงทะเบียนรายวิชารวม
๔ ภาคเรียนแล้ว แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรข้อ ๕๕
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักศึกษา ทั้งนี้ ให้เรียนได้ไม่เกิน ๘
ภาคเรียนนับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา โดยไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการเรียน
นักศึกษาที่เรียนแบบไม่เต็มเวลาและได้ลงทะเบียนรายวิชาครบทุกภาคเรียนตามแผนการเรียน
ที่สถานศึกษากำหนดแล้ว แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรข้อ ๕๕
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไป หรือให้พ้นสภาพนักศึกษา ทั้งนี้ ให้เรียนได้ไม่เกิน ๑๒
ภาคเรียนนับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาโดยไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการเรียน
ส่วนที่ ๔
การเทียบโอนผลการเรียนรู้
ข้อ ๕๙ การโอนผลการเรียนสำหรับนักศึกษาจากสถานศึกษาซึ่งใช้หลักสูตรนี้
ให้สถานศึกษาที่รับนักศึกษาเข้าเรียนรับโอนผลการเรียนทุกรายวิชา
นอกจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐ สถานศึกษาจะรับโอนหรือจะทำการประเมินใหม่จนเห็นว่าได้ผลการเรียนถึงเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษาแล้วจึงรับโอนผลการเรียนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ ๖๐ สถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนรายวิชาจากหลักสูตรอื่นซึ่งไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
ได้ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
(๑) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่มีจุดประสงค์และเนื้อหาใกล้เคียงกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๗๕ และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร
(๒) รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
โดยสถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนหรือจะทำการประเมินใหม่แล้วจึงรับโอนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ ๖๑ เมื่อนักศึกษาขอโอนผลการเรียนรายวิชา
ให้สถานศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการวัดผลปลายภาคเรียนภาคเรียนแรกที่นักศึกษาเข้าเรียน
ข้อ ๖๒ การบันทึกผลการเรียนตามข้อ
๕๙ และข้อ ๖๐
ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนให้ใช้รหัสวิชาและชื่อรายวิชาตามหลักสูตรนี้ โดยแสดงหมายเหตุว่าเป็นรายวิชาที่รับโอนผลการเรียน
ข้อ ๖๓ สถานศึกษาจะอนุญาตให้นักศึกษาไปเรียนรายวิชาบางรายวิชาจากสถานศึกษาแห่งอื่นในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถเปิดทำการสอนในรายวิชานั้นได้
โดยสถานศึกษาพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรตามที่เห็นสมควร
และให้สถานศึกษาทั้งสองแห่งทำความตกลงร่วมกัน ในการจัดสอนและรับโอนผลการเรียน
ข้อ ๖๔ ในกรณีสถานศึกษาอนุญาตให้นักศึกษาไปเรียนจากสถานศึกษาแห่งอื่นตามข้อ
๖๓ ให้สถานศึกษาพิจารณารับโอนผลการเรียนดังนี้
(๑) รับโอนรายวิชาที่มีผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป หรือ
(๒) รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐
สถานศึกษาอาจรับโอนผลการเรียนหรือไม่ก็ได้ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อนที่จะอนุญาตให้ไปเรียน
การบันทึกผลการเรียนลงในระเบียนแสดงผลการเรียน ให้ใช้รหัสวิชา
และชื่อรายวิชาของหลักสูตรนี้ โดยระบุว่ารับโอนผลการเรียน
ข้อ ๖๕ กรณีที่มีการประเมินใหม่ตาม ข้อ ๕๙ และข้อ
๖๐ ระดับผลการเรียนให้เป็นไปตามที่ได้จากการประเมินใหม่ แต่ต้องไม่สูงไปกว่าเดิม
ข้อ ๖๖ นักศึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานอาชีพ
หรือฝึกงานในสถานประกอบการ หรือทำงานในอาชีพนั้นอยู่แล้ว
หรือมีความรู้ในรายวิชาตรงตามหลักสูตรมาก่อนเข้าเรียน หรือเข้าเรียนแล้ว
แต่ได้เรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
เพื่อนับจำนวนหน่วยกิตสะสมสำหรับรายวิชานั้นก็ได้ โดยเทียบโอนได้ไม่เกิน ๒ ใน ๓
ของจำนวนหน่วยกิต
ตามหลักสูตรแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชาและตามแผนการเรียนที่สถานศึกษากำหนด
การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ถ้าผลการประเมินไม่ผ่าน
นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนปกติในภาคเรียนนั้นหรือขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในภาคเรียนต่อไปก็ได้
ข้อ ๖๗ นักศึกษาที่สถานศึกษาให้พ้นสภาพนักศึกษาตามข้อ
๕๗ หรือข้อ ๕๘ แล้วสอบเข้าเรียนใหม่ในสถานศึกษาเดิมหรือสถานศึกษาแห่งใหม่ได้
ให้สถานศึกษารับโอนผลการเรียนเฉพาะรายวิชา ที่ยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรนี้
และได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
หมวด ๔
การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ
ข้อ ๖๘ สถานศึกษาที่รับนักศึกษา ตามข้อ ๖ วรรคสอง
ต้องจัดให้นักศึกษาเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแต่ละประเภทวิชา
สาขาวิชา พร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามที่สถานศึกษากำหนด
หรืออนุญาตให้ไปเรียนจากสถานศึกษาอื่นที่เปิดสอนรายวิชานั้น ๆ
หรือรายวิชาที่เนื้อหาใกล้เคียงกัน หรือลงทะเบียนเพื่อขอประเมินเทียบโอนความรู้
และประสบการณ์ตามข้อ ๖๖ ก็ได้
ข้อ ๖๙ การประเมินผลการเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพ
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประเมินผลการเรียนรายวิชาตามหลักสูตร ทั้งนี้ ผู้ที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่
๑.๐ ขึ้นไป ถือว่าผ่าน โดยให้บันทึก ผ. ในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ผลการเรียน
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปรับพื้นฐานวิชาชีพต้องเรียนให้ได้ระดับผลการประเมิน
ผ่าน ทุกรายวิชา
หมวด ๕
เอกสารการศึกษา
ข้อ ๗๐ สถานศึกษาต้องจัดให้มีเอกสารการศึกษา
ดังต่อไปนี้
(๑)
ระเบียนแสดงผลการเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า รบ. ๑ ปวส. ๕๗ และต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
การจัดทำ รบ. ๑ ปวส. ๕๗ ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทำ
ลงลายมือชื่อพร้อมทั้ง วัน เดือน ปี
และให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามรับรองผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒) ระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้และต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
การจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทำ ลงลายมือชื่อพร้อมทั้ง วัน เดือน ปี
และให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามรับรองผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๓) แบบรายงานผลการเรียนของผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงพุทธศักราช
๒๕๕๗ (รบ. ๒ ปวส. ๕๗) ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้และเก็บรักษาไว้ตลอดไป
(๔) ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตร ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๕) สมุดประเมินผลรายวิชา
และหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนในแบบอื่นนอกเหนือจาก รบ. ๑ ปวส. ๕๗ และ
รบ. ๒ ปวส. ๕๗ สมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
หรือสมุดบันทึกการปฏิบัติงานหรือสมุดรายงานของนักศึกษา
(๖)
ใบรับรองสภาพการเป็นนักศึกษาและใบรับรองผลการเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗๑ ให้สถานศึกษาเก็บรักษากระดาษคำตอบ
และหลักฐานการประเมินผลการเรียนไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปีการศึกษา
ข้อ ๗๒ ให้สถานศึกษาแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาให้นักศึกษาและผู้ปกครองทราบทุกภาคเรียน
ข้อ ๗๓ ให้ใช้สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ. ๑
ปวส. ๕๗) และสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) เป็นเอกสารรับรองผลการเรียน
ข้อ ๗๔ ให้สถานศึกษาออกสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน
(รบ. ๑ ปวส. ๕๗) สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ข้อ ๗๕ การทำสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ. ๑
ปวส. ๕๗) และสำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) จะใช้วิธีพิมพ์ใหม่ หรือสำเนาเอกสารตามต้นฉบับก็ได้
แล้วให้เขียนหรือประทับตรา สำเนาถูกต้อง หรือ CERTIFIED TRUE COPY
ให้หัวหน้างานทะเบียน
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนลงลายมือชื่อรับรองสำเนา พร้อมทั้ง วัน เดือน
ปี ที่ออกสำเนา
และหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อกำกับที่รูปถ่าย
ข้อ ๗๖ นักศึกษาที่ต้องการใบรับรองสภาพการเป็นนักศึกษา
หรือใบรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษา ให้สถานศึกษาออกใบรับรองสภาพการเป็นนักศึกษา
หรือใบรับรองผลการเรียน แล้วแต่กรณีใบรับรองนี้มีอายุ ๖๐ วัน
โดยให้สถานศึกษากำหนดวันหมดอายุไว้ด้วย
หมวด ๖
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๗๗ สถานศึกษาใดที่มีนักศึกษากำลังศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช ๒๕๔๖ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พุทธศักราช ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๕๔ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช
๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่านักศึกษาจะสำเร็จการศึกษา
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ สิงหาคม
๒๕๕๘
วริญา/ผู้ตรวจ
๒๖ สิงหาคม
๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๑/๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ |
711035 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2557
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลให้สอดคล้องกับการกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษา
และค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๓ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗ และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๗
ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๘๖ ง/หน้า ๑/๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ |
669529 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชน
ที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตร
การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๘
แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ ให้เอกชนปฏิบัติตามประกาศของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามข้อ ๔
และจะต้องชำระค่าตรวจให้แก่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามอัตราที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ประกาศ
ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ
ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ มิถุนายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๑/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ |
696520 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2556 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา
ให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๖
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อเร่งรัดนำสันติสุข
และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ประกอบกับคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ศปก.จชต.) ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖
เห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาที่รัฐต้องแสดงความจริงใจในการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาเพื่อให้เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าสู่ระบบการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน
เพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
และทันต่อสถานการณ์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
การอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา
หมายความว่า
การอุดหนุนที่รัฐให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นเงินอุดหนุนเพื่อจัดสร้างสนามฟุตซอลให้แก่เยาวชน
เงินอุดหนุนในรูปแบบสื่ออุปกรณ์วงดุริยางค์โยธวาทิตเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาด้านกายภาพศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามแผนการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี
จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายความว่า
จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้
โรงเรียน หมายความว่า
โรงเรียนในระบบและโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ผู้บริหาร หมายความว่า
ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนในระบบ
หรือผู้บริหารโรงเรียนเอกชนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ข้อ
๔ ให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครู
บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้เรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ได้รับการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาตามระเบียบนี้
ซึ่งต้องสอดคล้องตามแผนการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์
การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อ
๕ การอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาตามระเบียบนี้
ให้สำนักงานดำเนินการ ดังนี้
(๑)
แต่งตั้งคณะทำงานบริหารโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาเพื่อพิจารณาคัดเลือกและจัดสรรการอุดหนุนให้แก่โรงเรียนภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามแผนการดำเนินการนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
(๒)
แจ้งโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกและจัดสรรการอุดหนุนตาม (๑)
ข้อ
๖ ให้โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกการจัดสรรตามข้อ
๕ ยื่นเอกสารหลักฐานต่อสำนักงานตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ข้อ
๗ การเบิกจ่ายเงินการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา
ให้สำนักงานดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ขอเบิกเงินที่ได้รับจัดสรรทั้งหมดกับกรมบัญชีกลาง
เพื่อเข้าบัญชีออมทรัพย์ของสำนักงานโดยจัดทำทะเบียนคุมรายละเอียดการรับ - จ่าย
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและตรวจสอบ
(๒)
ทำข้อตกลงกับโรงเรียนที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาเพื่อดำเนินการจัดซื้อ
จัดจ้าง หรือจัดหาตามที่สำนักงานกำหนด
(๓)
แต่งตั้งคณะทำงานตรวจรับการดำเนินการตามโครงการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของแต่ละโรงเรียน
จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน เพื่อพิจารณา ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้
ก.
ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่สำนักงาน สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด
หรือสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ที่โรงเรียนที่ได้รับการอุดหนุนตั้งอยู่
ข.
ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้แทนโรงเรียนที่ได้รับการอุดหนุน
ค.
ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
(๔)
เบิกจ่ายเงินให้กับโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา
ข้อ
๘ ให้โรงเรียนที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน แต่ไม่เกิน ๕ คน เพื่อดำเนินการจัดซื้อ
จัดจ้าง หรือจัดหา ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามแผนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ตามที่สำนักงานกำหนด
(๒)
จัดส่งใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับในนามของโรงเรียนหลังจากที่ได้รับการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา
พร้อมส่งสำเนาหลักฐานการจ่ายเงินหรือหลักฐานการรับเพื่อประกอบเป็นหลักฐานการเบิกจ่ายเงินจากทางราชการ
(๓)
จัดทำบัญชีทรัพย์สินเพื่อรอการตรวจสอบ
ข้อ
๙ ให้สำนักงาน
สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการอุดหนุนตามระเบียบนี้
และจัดทำรายงานผลการดำเนินการภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ในกรณีตรวจพบว่าโรงเรียนไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงตามข้อ
๗ ภายในระยะเวลาที่สมควร สำนักงานอาจเรียกเงินคืนจากโรงเรียนก็ได้
ข้อ
๑๐ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๑/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ |
702322 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2557
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๕๗[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
และนโยบายรัฐบาลในการปรับเพิ่มเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนวุฒิปริญญาตรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ และมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ซึ่งได้กำหนดเป็นหลักการว่าให้ปรับเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเงินเดือนครูในอัตราเดียวกันทุกครั้งที่มีการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๑๓ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๖ เมื่อวันที่
๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๗
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓
แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ มีนาคม ๒๕๕๗
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๑๑ มีนาคม ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ |
664665 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ พ.ศ. 2554 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเทียบความรู้คุณวุฒิการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
และกรอบมาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
๒๕๕๑ และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาและหลักสูตรการอาชีวศึกษา
ตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑] ระเบียบฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเทียบความรู้คุณวุฒิการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ หมายความว่า
การรับรองระดับความรู้ ความสามารถและเจตคติที่เกิดจากการเรียนรู้ ฝึกหัด
อบรมจากการศึกษาอาชีวศึกษา
ซึ่งผู้ที่จะได้รับคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพจะต้องสำเร็จการศึกษาวิชาชีพตามหลักเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด
คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพในประเทศ หมายความว่า คุณวุฒิที่ดำเนินการจัดการศึกษาวิชาชีพตามหลักสูตรการอาชีวศึกษาของประเทศไทย
หรือตามระบบการศึกษาของประเทศไทย
คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพต่างประเทศ หมายความว่า
คุณวุฒิที่ดำเนินการจัดการศึกษาวิชาชีพตามหลักสูตรของต่างประเทศ
หรือตามระบบการศึกษาของต่างประเทศ ซึ่งสถานศึกษาอาจตั้งอยู่ภายในประเทศ หรืออยู่ต่างประเทศ
การเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ หมายความว่า การนำคุณวุฒิและผลการศึกษาวิชาชีพจากในประเทศ
หรือต่างประเทศที่ได้จากการศึกษาในระบบมาขอเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามหลักสูตรการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๕ กระทรวงศึกษาธิการจะพิจารณาเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพให้เฉพาะคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษา
ภายใต้เงื่อนไขตามข้อ ๖
ซึ่งผู้ขอเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพได้รับจากสถานศึกษาในประเทศ
หรือสถานศึกษาต่างประเทศ
คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพที่จะเทียบให้ ได้แก่
(๑) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
(๒) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ข้อ ๖ การเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพในประเทศ
ต้องเป็นคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพที่ได้จากการศึกษาตามหลักสูตรของรัฐ
หรือหลักสูตรของเอกชนที่เปิดสอนในสถานศึกษาเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งจะต้องเป็นหลักสูตรการศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงศึกษาธิการหรือจากหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
(๒) คุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพต่างประเทศ
ต้องเป็นคุณวุฒิที่ได้จากการศึกษาวิชาชีพตามหลักสูตรของรัฐ
หรือหลักสูตรของเอกชนในลักษณะดังต่อไปนี้
(ก)
ประเทศซึ่งรัฐบาลมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาในทุกระดับการศึกษา
สถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษานั้นต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาจากรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐดังกล่าว
(ข)
ประเทศซึ่งรัฐบาลไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษา
สถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษานั้นต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร
ที่ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษา หรือองค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะมาตรฐานวิชาชีพ
ข้อ ๗ การพิจารณาเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
ให้พิจารณาเทียบกับหลักสูตรการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ
ดังนี้
(๑) สถาบันการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาได้รับการรับรองถูกต้องตามข้อ
๖
(๒)
พื้นความรู้เดิมก่อนเข้าศึกษาตามหลักสูตรที่มาขอเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
(๓) คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาตามหลักสูตร
(๔) ระบบการศึกษา
(๕) หลักสูตร
(๖) รายวิชาที่ศึกษาตามหลักสูตร
(๗) จำนวนหน่วยกิตตามหลักสูตร
(๘) ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร
(๙) ผลการศึกษาตามระเบียบและเงื่อนไขอื่น ๆ ของหลักสูตรนั้น
โดยให้พิจารณาความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ
ข้อ ๘ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
คณะหนึ่ง ทำหน้าที่พิจารณาเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
โดยใช้หลักสูตรการอาชีวศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก
คณะกรรมการ ตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ
หรือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน
การวัดและประเมินผลการเรียน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
โดยให้ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
หรือคณะทำงานเพื่อพิจารณากลั่นกรอง
หรือปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการเสนอก็ได้
ข้อ ๙ การยื่นคำร้องขอเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
ให้ผู้ขอจัดส่งหลักฐานประกอบการพิจารณาให้ครบถ้วน
ตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณาเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพให้แล้วเสร็จภายใน
๙๐ วัน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น อาจขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกิน ๖๐ วัน
อัตราค่าธรรมเนียมการขอเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ข้อ ๑๐ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพและลงนามในหนังสือรับรองคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพ
ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำทะเบียนการเทียบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ
ในกรณีที่หนังสือรับรองคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพชำรุดหรือสูญหาย
ให้ผู้ได้รับการรับรองคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพยื่นคำร้องขอใบแทนหนังสือรับรองคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ข้อ ๑๒ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษารักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
วรวัจน์
เอื้ออภิญญกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๐ ง/หน้า ๑/๑๔ มีนาคม ๒๕๕๕ |
697686 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 พ.ศ. 2556
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช
๒๕๕๖
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
ให้ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖
เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียน
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา
๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้บังคับแก่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
สถานศึกษา หมายความว่า
วิทยาลัย และส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถานศึกษาอื่นของรัฐและเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖
หัวหน้าสถานศึกษา หมายความว่า
ผู้อำนวยการวิทยาลัย หรือผู้อำนวยการส่วนราชการของสถาบันการอาชีวศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หัวหน้าสถานศึกษาอื่นของรัฐและเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖
หน่วยงานต้นสังกัด หมายความว่า
หน่วยงานที่มีสถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอยู่ในสังกัด
หรือในความควบคุมดูแล
หลักสูตร หมายความว่า
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๕๖
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หมายความว่า
การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังจากจบหลักสูตรมัธยมศึกษาปีที่ ๓
หรือเทียบเท่า ใช้อักษรย่อว่า ปวช.
ผู้เข้าเรียน หมายความว่า
ผู้มาสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา หรือสมัครฝึกอาชีพกับสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน
นักเรียน หมายความว่า
ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช ๒๕๕๖
ภาคเรียน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอน การจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบทวิภาค โดยกำหนดให้ ๑
ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
ภาคเรียนฤดูร้อน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่จัดให้เรียนหรือฝึกปฏิบัติในระหว่างภาคฤดูร้อนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและในช่วงปิดภาคเรียนกลางปีโดยอนุโลม
ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดา
มารดา และบุคคลอื่นที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลและให้ความอุปการะแก่นักเรียน
และให้คำรับรองแก่สถานศึกษาหรือสถานประกอบการว่าจะปกครองดูแลความประพฤติของนักเรียนในระหว่างที่เรียนอยู่ในสถานศึกษา
และฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ หรือฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี
การศึกษาในระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาเป็นหลัก โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดหมาย รูปแบบ วิธีการศึกษา
ระยะเวลา การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา
โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาระบบทวิภาคี หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน
การวัดผลและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษา
และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ
สถานประกอบการ หมายความว่า
สถานประกอบการที่ร่วมมือกับสถานศึกษาเพื่อจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ผู้ควบคุมการฝึก หมายความว่า
ผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงานกับสถานศึกษาในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
และรับผิดชอบดูแลการฝึกอาชีพของนักเรียนในสถานประกอบการ
ครูฝึก หมายความว่า
ผู้ทำหน้าที่สอน ฝึก อบรมในสถานประกอบการ
ครูนิเทศก์ หมายความว่า
ครูที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนที่ฝึกอาชีพและฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
ครูที่ปรึกษา หมายความว่า
ครูที่สถานศึกษามอบหมายให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ติดตามผลการเรียน
และตักเตือนดูแลความประพฤติของนักเรียน
มาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
ข้อกำหนดสมรรถนะด้านวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำกับดูแล ตรวจสอบและประกันคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
การทดสอบความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ ตลอดจนลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งกำหนดเกณฑ์การตัดสินไว้ชัดเจน
พร้อมทั้งจัดดำเนินการประเมินภายใต้เงื่อนไขที่เป็นมาตรฐาน
คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า คณะกรรมการผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ
ติดตามและกำกับดูแลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพของนักเรียนในสถานศึกษา
ข้อ ๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษารักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
สภาพนักเรียน
ส่วนที่ ๑
พื้นความรู้และคุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
ข้อ ๖ ผู้เข้าเรียน
ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือเทียบเท่า
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับสำหรับผู้ที่เรียนเป็นบางเวลา
หรือบางรายวิชา โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวม
เพื่อตัดสินการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและรับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ข้อ ๗ ผู้เข้าเรียนต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีความประพฤติเรียบร้อย
(๒) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
(๓)
มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งหรือมีหลักฐานของทางราชการในลักษณะเดียวกันมาแสดง
(๔) มีความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๕)
มีเจตคติที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
(๖) สำหรับผู้เข้าเรียนการศึกษาระบบทวิภาคี
ในวันทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์
และมีความตั้งใจที่จะรับการฝึกอาชีพในสาขาวิชาที่สมัคร
ผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง ๆ ของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ส่วนที่ ๒
การรับผู้เข้าเรียน
ข้อ ๘ การรับผู้เข้าเรียน
ให้ทำการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกตามที่สถานศึกษากำหนด ในกรณีที่มีการสอบคัดเลือก
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ทำการทดสอบข้อเขียนในหมวดวิชาใด ๆ ตามความต้องการของสถานศึกษา
หรือสถานประกอบการ หากสถานศึกษาหรือสถานประกอบการจะทำการทดสอบความถนัดทางการเรียนวิชาชีพและสอบสัมภาษณ์ด้วยก็ได้
(๒) สถานศึกษาประกาศรับสมัคร ดำเนินการสอบและประกาศผลสอบ
ตามวันและเวลาที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด
(๓) ถ้าเหตุการณ์เกี่ยวกับการสอบเป็นไปโดยปกติ
ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี
นับแต่วันประกาศผลการสอบ
การรับผู้เข้าเรียนการศึกษาระบบทวิภาคี
สถานประกอบการจะเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือคัดเลือกผู้เข้าเรียนเองตามคุณสมบัติที่กำหนดและตามจำนวนที่ได้ตกลงร่วมกับสถานศึกษา
หรือจะมอบให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ หรือดำเนินการร่วมกันก็ได้
การรับผู้เข้าเรียนตามโครงการต่าง ๆ ของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษาคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ข้อ ๙ ให้มีการตรวจร่างกายเฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก
หรือได้รับการคัดเลือกโดยแพทย์ปริญญา
ส่วนที่ ๓
การเป็นนักเรียน
ข้อ ๑๐ ผู้เข้าเรียนการศึกษาในระบบ
การศึกษาระบบทวิภาคีและการศึกษานอกระบบ จะมีสภาพนักเรียน
เมื่อได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียนของสถานศึกษา
สำหรับการศึกษาระบบทวิภาคี
ผู้เข้าเรียนต้องทำสัญญาการฝึกอาชีพกับสถานประกอบการโดยผู้ปกครองมาให้คำรับรองด้วย
การขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน
และการทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องกระทำด้วยตนเอง
พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาตามวัน เวลา
ที่สถานศึกษาและสถานประกอบการกำหนดโดยชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ตามที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือสถานศึกษากำหนด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคเรียน
โดยมีผู้ปกครองซึ่งสถานศึกษาเชื่อถือมาให้คำรับรองและทำหนังสือมอบตัว
ในกรณีผู้เข้าเรียนที่บรรลุนิติภาวะ
สถานศึกษาอาจให้ผู้ปกครองมาทำหนังสือมอบตัวหรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบนี้หรือไม่ก็ได้
ให้สถานศึกษาจัดการปฐมนิเทศให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง
เพื่อให้ทราบแนวทางและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการเรียน
ข้อ ๑๑ ให้สถานศึกษาออกบัตรประจำตัวให้แก่นักเรียน
บัตรประจำตัว ต้องระบุเลขที่ ชื่อสถานศึกษา รหัสสถานศึกษา ชื่อ
ชื่อสกุลนักเรียน รหัสประจำตัวนักเรียน เลขประจำตัวประชาชน วันออกบัตร วันหมดอายุ
ลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทน
และให้มีรูปถ่ายครึ่งตัวของนักเรียน หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาสีดำ
แต่งเครื่องแบบนักเรียน ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน ติดลงในบัตร
กับให้มีลายมือชื่อของนักเรียน
ให้ประทับตราของสถานศึกษาที่มุมใดมุมหนึ่งของรูปถ่ายนักเรียน
โดยให้ติดที่รูปถ่ายบางส่วน
บัตรประจำตัวนี้ให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่มีสภาพนักเรียนในสถานศึกษาแห่งนั้น
แต่ต้องไม่เกิน ๓ ปี นับแต่วันออกบัตร ถ้าบัตรประจำตัวหมดอายุ
ในระหว่างที่ยังมีสภาพนักเรียน ก็ให้สถานศึกษาต่ออายุบัตรเป็นปี ๆ ไป
สถานประกอบการจะใช้บัตรประจำตัวที่สถานศึกษาออกให้
หรือจะออกให้ใหม่ตามความต้องการของสถานประกอบการก็ได้
ข้อ ๑๒ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียน ให้คำปรึกษา ติดตามผลการเรียน
และตักเตือนดูแลความประพฤติของนักเรียน และให้สถานประกอบการจัดให้มีผู้ควบคุมการฝึกของนักเรียนในสถานประกอบการ
ส่วนที่ ๔
การพ้นสภาพและคืนสภาพนักเรียน
ข้อ ๑๓ การพ้นสภาพนักเรียน
เป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒) พ้นสภาพนักเรียน ตามข้อ ๕๙ หรือข้อ ๖๐
(๓) ลาออก
(๔) ถึงแก่กรรม
(๕) สถานศึกษาสั่งให้พ้นสภาพนักเรียนในกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
ก. ขาดเรียน ขาดการฝึกอาชีพ
หรือขาดการติดต่อกับสถานศึกษาและหรือสถานประกอบการเกินกว่า ๑๕ วัน
ซึ่งสถานศึกษาหรือสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
หรือมีพฤติกรรมอย่างอื่นที่แสดงว่าไม่มีความตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียนหรือรับการฝึกอาชีพ
ข. ไม่ยื่นคำขอกลับเข้าเรียนภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดลาพักการเรียนหรือฝึกอาชีพตามข้อ ๑๙
ค. ไม่มาติดต่อเพื่อรักษาสภาพนักเรียน ตามข้อ ๒๘
ง. ต้องโทษคดีอาญา โดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
จ. ขาดพื้นความรู้หรือคุณสมบัติของผู้เข้าเรียน
ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ หรือข้อ ๗
ข้อ ๑๔ ผู้ที่พ้นสภาพนักเรียน ตามข้อ ๑๓ (๓), ๑๓ (๕) ก, ๑๓ (๕) ข, และ ๑๓ (๕) ค ถ้าประสงค์จะขอคืนสภาพเพื่อกลับเข้าเรียนในสถานศึกษา
หรือฝึกอาชีพในสถานประกอบการ จะต้องยื่นคำร้องขอต่อสถานศึกษาแห่งนั้นภายใน ๑ ปี
นับแต่วันถัดจากวันพ้นสภาพนักเรียน เมื่อสถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควร
ก็ให้รับเข้าเรียนได้
ข้อ ๑๕ การขอคืนสภาพเพื่อกลับเข้าเรียนตามข้อ
๑๔ ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ต้องเข้าเรียนภายในสัปดาห์แรกของภาคเรียน
เว้นแต่กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
(๒) ต้องเรียนตามหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
(๓) ให้นำจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่ประเมินได้ไว้
และเป็นรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรนี้มานับรวม
เพื่อพิจารณาตัดสินการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ส่วนที่ ๕
การพักการเรียน
ข้อ ๑๖ สถานศึกษาและสถานประกอบการอาจพิจารณาอนุญาตให้นักเรียนลาพักการเรียนหรือฝึกอาชีพได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อมีเหตุจำเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
(๑) ได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษา หรือดูงาน
หรือเป็นตัวแทนของสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ ในการเข้าร่วมประชุม หรือกรณีอื่น ๆ
อันควรแก่การส่งเสริม
(๒) เจ็บป่วยต้องพักรักษาตัว
(๓)
กรณีลาพักเพื่อรับราชการทหารกองประจำการให้ลาพักได้จนกว่าจะได้รับการนำปลด
(๔)
เหตุจำเป็นอย่างอื่นตามที่สถานศึกษาหรือสถานศึกษาและสถานประกอบการจะพิจารณาเห็นสมควร
ในกรณีที่มีนักเรียนลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพตั้งแต่ต้นปีเป็นระยะเวลานานเกินกว่า
๑ ปี สถานศึกษาหรือสถานประกอบการอาจพิจารณารับนักเรียนอื่นเข้าเรียนหรือฝึกอาชีพแทนที่ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๗ นักเรียนที่ขออนุญาตลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
ต้องยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ
โดยมีผู้ปกครองเป็นผู้รับรอง สำหรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะจะมีผู้รับรองหรือไม่ก็ได้
เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพได้ มิฉะนั้น จะถือว่าขาดเรียน
เว้นแต่เหตุสุดวิสัย
ข้อ ๑๘ การอนุญาตให้นักเรียนลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
ให้สถานศึกษาทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
เว้นแต่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะที่ไม่มีผู้ปกครองมอบตัวให้แจ้งนักเรียนโดยตรง
ข้อ ๑๙ นักเรียนที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพ
เมื่อครบกำหนดเวลาที่ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพแล้ว ให้ยื่นคำขอกลับเข้าเรียนพร้อมด้วยหลักฐานการอนุญาตให้ลาพักการเรียนหรือการฝึกอาชีพต่อหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด หากพ้นกำหนดนี้ ให้ถือว่าพ้นสภาพนักเรียน
เว้นแต่เหตุสุดวิสัย
ส่วนที่ ๖
การลาออก
ข้อ ๒๐ นักเรียนที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักเรียน
ต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับรองการลาออก เว้นแต่ผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
ข้อ ๒๑ นักเรียนที่ลาออกแล้วได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
ให้ถือว่านักเรียนผู้นั้นมีสภาพนักเรียนมาตั้งแต่ต้นภาคเรียนนั้นทุกประการ
หมวด ๒
การจัดการเรียน
ส่วนที่ ๑
การเปิดเรียน
ข้อ ๒๒ ให้สถานศึกษากำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา
การเปิดและปิดสถานศึกษา
หากสถานศึกษาใดจะกำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากระเบียบดังกล่าว
ให้ขออนุญาตต่อหน่วยงานต้นสังกัด
ข้อ ๒๓ สถานศึกษาที่เปิดภาคเรียนฤดูร้อน
ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษา
ส่วนที่ ๒
การลงทะเบียนรายวิชา
ข้อ ๒๔ สถานศึกษาต้องจัดให้นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาต่าง
ๆ ให้เสร็จก่อนวันเปิดภาคเรียน
ข้อ ๒๕ การลงทะเบียนรายวิชาต้องได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา
ข้อ ๒๖ นักเรียนต้องลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเอง
ตามวันและเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ในกรณีที่นักเรียนไม่สามารถมาลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเอง
จะมอบหมายให้ผู้อื่นมาลงทะเบียนแทน ให้สถานศึกษาพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป
ข้อ ๒๗ สถานศึกษาอาจให้นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ
๒๔ ก็ได้ โดยให้สถานศึกษากำหนดวันสิ้นสุดการลงทะเบียนตามที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน หรือไม่เกิน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การลงทะเบียนรายวิชาภายหลังวันสิ้นสุดการลงทะเบียน
นักเรียนต้องเสียค่าปรับตามที่หน่วยงานต้นสังกัดหรือสถานศึกษากำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๘ นักเรียนที่มิได้ลงทะเบียนรายวิชาภายในเวลาที่สถานศึกษากำหนด
ถ้าประสงค์จะรักษาสภาพนักเรียน ต้องติดต่อรักษาสภาพภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจากวันปิดการลงทะเบียน
ข้อ ๒๙ นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาในแต่ละภาคเรียนได้ไม่เกิน
๒๒ หน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนปกติ สำหรับการลงทะเบียนเต็มเวลา
และให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๑๒ หน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนปกติ
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา สำหรับการลงทะเบียนในภาคฤดูร้อนให้ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน
๑๒ หน่วยกิต
การลงทะเบียนรายวิชาในแต่ละภาคเรียนได้ไม่เกินสัปดาห์ละ ๓๕ ชั่วโมง ทั้งนี้ นับรวมกิจกรรม ๒
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ทุกภาคเรียนด้วย หรือไม่เกินจากที่กำหนดไว้ในแผนการเรียน
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถานศึกษา
หากสถานศึกษาใดมีเหตุผลและความจำเป็น
การลงทะเบียนเรียนที่แตกต่างไปจากเกณฑ์ข้างต้นก็อาจทำได้
แต่ต้องไม่กระทบต่อมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
ข้อ ๓๐ นักเรียนที่โอนผลการเรียนรู้ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า
๑ ใน ๓ ของจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตร แต่ละประเภทและสาขาวิชา
ส่วนที่ ๓
การเปลี่ยน
การเพิ่ม และการถอนรายวิชา
ข้อ ๓๑ นักเรียนจะขอเปลี่ยนรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
หรือขอเพิ่มรายวิชาต้องกระทำภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือภายใน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน ส่วนการขอถอนรายวิชาต้องกระทำภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามวรรคหนึ่ง อาจกระทำได้
ถ้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควร
การขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม หรือขอถอนรายวิชา
ต้องได้รับความเห็นชอบจากครูที่ปรึกษา และครูผู้สอนประจำรายวิชา
ข้อ ๓๒ การถอนรายวิชาภายในกำหนด ตามข้อ ๓๑
ให้ลงอักษร ถ.น. ในระเบียนแสดงผลการเรียน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ ๓๑
และสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรให้ลงอักษร ถ.น. ในระเบียนแสดงผลการเรียนเช่นเดียวกัน
แต่ถ้าสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็ให้ลงอักษร ถ.ล.
ส่วนที่ ๔
การเรียนโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ ๓๓ สถานศึกษาอาจอนุญาตให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดวิชาหนึ่งเพื่อเป็นการเสริมความรู้
โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรก็ได้
ข้อ ๓๔ เมื่อได้ทำการวัดผลและการประเมินผลการเรียนแล้วได้ระดับผลการเรียนผ่านให้บันทึก
ม.ก. ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนช่อง ระดับผลการเรียน ถ้าผลการประเมินไม่ผ่านไม่ต้องบันทึกรายวิชานั้น
และให้ถือเป็นการสิ้นสุดสำหรับการเรียนรายวิชานั้นโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ส่วนที่ ๕
การนับเวลาเรียนเพื่อสิทธิในการประเมินสรุปผลการเรียน
ข้อ ๓๕ ในภาคเรียนหนึ่ง
ๆ การศึกษาในระบบ
และการศึกษาระบบทวิภาคีต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเปิดเรียนเต็มสำหรับรายวิชานั้น
จึงจะมีสิทธิรับการประเมินสรุปผลการเรียน ยกเว้นการศึกษานอกระบบ
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สถานศึกษาอาจพิจารณาผ่อนผันเป็นราย ๆ ไปได้
นักเรียนที่ไม่มีสิทธิรับการประเมินสรุปผลการเรียนตามวรรคหนึ่ง
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ตามข้อ ๗๐ ในภาคเรียนนั้นมิได้
ข้อ ๓๖ การนับเวลาเรียน
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) เวลาเปิดเรียนเต็มตามปกติ ไม่น้อยกว่าภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
(๒) นักเรียนที่ย้ายสถานศึกษาระหว่างภาคเรียน
ให้นำเวลาเรียนจากสถานศึกษาทั้งสองแห่งรวมกัน
(๓) นักเรียนที่ลาออกแล้ว ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าเรียนในภาคเรียนเดียวกัน
ให้นับเวลาเรียนที่เรียนแล้วมารวมกัน
(๔) นักเรียนที่ลาพักการเรียนหรือฝึกอาชีพในภาคเรียนใด
ให้นับเวลาเรียนก่อนและหลังการลาพักการเรียนหรือฝึกอาชีพในภาคเรียนนั้นมารวมกัน
(๕) รายวิชาที่มีครูผู้สอนหรือครูฝึกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป และแยกกันสอน
ให้นำเวลาเรียนที่เรียนกับครูผู้สอนหรือครูฝึกทุกคนมารวมกัน
(๖) ถ้ามีการเปลี่ยนรายวิชา หรือเพิ่มรายวิชา
ให้นับเวลาเรียนตั้งแต่เริ่มเรียนรายวิชาใหม่
ส่วนที่ ๖
การขออนุญาตเลื่อนการประเมิน
ข้อ ๓๗ นักเรียนที่ไม่สามารถเข้ารับการประเมินสรุปผลการเรียนตามวัน
และเวลาที่สถานศึกษากำหนด สถานศึกษาอาจอนุญาตเลื่อนการประเมินได้ในกรณี ต่อไปนี้
(๑) ประสบอุบัติเหตุ
หรือเจ็บป่วยก่อนหรือระหว่างการประเมินสรุปผลการเรียน
(๒) ถูกควบคุมตัวโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
(๓) เป็นตัวแทนของสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ ในการเข้าร่วมประชุม
หรือกิจกรรมพิเศษอย่างอื่น โดยได้รับความยินยอมจากสถานศึกษาหรือสถานประกอบการ
(๔) มีความจำเป็นอย่างอื่น
โดยสถานศึกษาหรือสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความจำเป็นอย่างแท้จริง
ข้อ ๓๘ นักเรียนที่ประสงค์จะขออนุญาตเลื่อนการประเมินสรุปผลการเรียน
ต้องยื่นคำร้องพร้อมทั้งหลักฐานประกอบต่อสถานศึกษาก่อนการประเมินไม่น้อยกว่า ๓ วัน
หากไม่สามารถกระทำได้ให้สถานศึกษาพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การอนุญาตให้เลื่อนการประเมินสรุปผลการเรียนให้สถานศึกษาทำเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้นักเรียน
ข้อ ๓๙ นักเรียนจะขออนุญาตเลื่อนการประเมินออกไปได้ไม่เกินวันกำหนดการประเมินสรุปผลการเรียนปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
ข้อ ๔๐ ถ้าเป็นกรณีที่สามารถกำหนดวันประเมินได้
ก็ให้สถานศึกษากำหนดวันประเมินไว้ในหนังสืออนุญาตให้เลื่อนการประเมิน
แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ ก็ให้เป็นหน้าที่ของนักเรียนซึ่งพร้อมที่จะรับการประเมินยื่นคำร้องต่อสถานศึกษาเพื่อขอเข้ารับการประเมิน
พร้อมทั้งหลักฐานการอนุญาตให้เลื่อนการประเมิน ทั้งนี้
ต้องไม่เกินวันกำหนดการประเมินสรุปผลการเรียนปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าขาดการประเมินสรุปผลการเรียนและให้สถานศึกษาทำการประเมินตัดสินผลการเรียน
หมวด ๓
การประเมินผลการเรียน
ส่วนที่ ๑
หลักการในการประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๑ ให้สถานศึกษา
และสถานประกอบการ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๒ ให้ประเมินผลการเรียนเป็นรายวิชาตามระบบหน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาให้ถือตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ข้อ ๔๓ ให้สถานศึกษาหรือสถานศึกษาและสถานประกอบการพิจารณาทำการประเมินผลการเรียนรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียน
หรือเมื่อสิ้นสุดการเรียนหรือการปฏิบัติงานในทุกรายวิชา
สำหรับรายวิชาที่เรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
ให้ครูฝึกและครูนิเทศก์ร่วมกันประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๔ ให้หน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับสถานศึกษา
ดำเนินการส่งเสริมคุณภาพ และควบคุมมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ส่วนที่ ๒
วิธีการประเมินผลการเรียน
ข้อ ๔๕ การประเมินผลการเรียนในทุกรูปแบบการศึกษา
ให้ประเมินเป็นรายวิชาโดยดำเนินการประเมินตามสภาพจริงต่อเนื่องตลอดภาคเรียนด้านความรู้
ความสามารถและเจตคติจากกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานที่มอบหมาย
ซึ่งครอบคลุมจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาตามสมรรถนะรายวิชาโดยใช้เครื่องมือและวิธีการหลากหลายตามความเหมาะสม
จัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินสรุปผลการเรียนปลายภาคเรียน
โดยพิจารณาจากการประเมินในแต่ละกิจกรรมและงานที่มอบหมาย
ในอัตราส่วนตามความสำคัญของแต่ละกิจกรรมหรืองานที่มอบหมาย
และจัดให้มีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
ให้ดำเนินการประเมินผลการเรียนนักเรียนที่เรียนในรูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคี
จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ตามวิธีการที่ครูฝึกและครูนิเทศก์กำหนด
ข้อ ๔๖ ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนในแต่ละรายวิชา
ดังต่อไปนี้
๔.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
๓.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
๓.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี
๒.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้
๒.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์พอใช้
๑.๕ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อน
๑.๐ หมายถึง ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อนมาก
๐ หมายถึง ผลการเรียนตก
ข้อ ๔๗ รายวิชาใดที่แสดงระดับผลการเรียนตามข้อ ๔๖
ไม่ได้ ให้ใช้ตัวอักษร ต่อไปนี้
ข.ร. หมายถึง ขาดเรียน ไม่มีสิทธิเข้ารับการประเมินสรุปผลการเรียน
เนื่องจากมีเวลาเรียนต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ข.ป. หมายถึง ขาดการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่ครบ
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ข.ส. หมายถึง ขาดการประเมินสรุปผลการเรียน
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.ล. หมายถึง ถอนรายวิชาภายหลังกำหนด
โดยสถานศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.น. หมายถึง ถอนรายวิชาภายในกำหนด
ท. หมายถึง ทุจริตในการสอบหรืองานที่มอบหมายให้ทำ
ม.ส. หมายถึง ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการประเมินครบทุกครั้งหรือไม่ส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการเรียนรายวิชาตามกำหนดด้วยเหตุสุดวิสัย
ม.ท. หมายถึง ไม่สามารถเข้ารับการประเมินทดแทนการประเมินส่วนที่ขาดของรายวิชาที่ไม่สมบูรณ์ภายในภาคเรียนถัดไป
ผ. หมายถึง ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดหรือผลการประเมินผ่าน
ม.ผ. หมายถึง ไม่เข้าร่วมกิจกรรม หรือผลการประเมินไม่ผ่าน
ม.ก. หมายถึง การเรียนโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
และผลการประเมินผ่าน
ข้อ ๔๘ ในกรณีต่อไปนี้
ให้ตัดสินผลการเรียนเป็นระดับ ๐ (ศูนย์) เฉพาะรายวิชา
(๑) ได้ ข.ร.
(๒) ได้ ข.ป.
(๓) ได้ ข.ส.
(๔) ได้ ถ.ล.
(๕) ได้ ท.
(๖) ได้ ม.ท.
ข้อ ๔๙ นักเรียนที่ทำการทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบ
หรืองานที่มอบหมายให้ทำในรายวิชาใด ให้สถานศึกษาพิจารณาผลการเรียนให้ได้คะแนน ๐
(ศูนย์) เฉพาะครั้งนั้น
หรือในรายวิชานั้นหรืออาจตัดคะแนนความประพฤติตามระเบียบว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติที่สถานศึกษากำหนดตามความร้ายแรง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๐ การคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
ให้นำผลบวกของผลคูณระหว่างจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชากับระดับผลการเรียนหารด้วยผลบวกของจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชา
คิดทศนิยมสองตำแหน่งไม่ปัดเศษ
(๒) ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย จากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตาม
ข้อ ๔๖ และข้อ ๔๘ รายวิชาที่นักเรียนเรียนซ้ำ เรียนแทน
ให้ใช้ระดับผลการเรียนสุดท้ายและนับจำนวนหน่วยกิตมาเป็นตัวหารเพียงครั้งเดียว
(๓) ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยดังนี้
(ก) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาคเรียน
คำนวณจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตาม (๒) เฉพาะในภาคเรียนหนึ่ง ๆ
(ข) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
คำนวณจากรายวิชาที่เรียนมาทั้งหมดและได้ระดับผลการเรียนตาม (๒)
ตั้งแต่สองภาคเรียนขึ้นไป
ข้อ ๕๑ ผู้ที่ได้ ม.ส.
เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการประเมินครบทุกครั้ง
ต้องรับการประเมินทดแทนส่วนที่ขาดภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียนรายวิชา
หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าไม่สามารถเข้ารับการประเมินทดแทน (ม.ท.)
ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้สถานศึกษาหรือสถานประกอบการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ทั้งนี้
ให้ประเมินทดแทนในรายวิชาที่ไม่สมบูรณ์ให้แล้วเสร็จภายในภาคเรียนถัดไป
ผู้ที่ได้ ม.ส. เนื่องจากไม่สามารถส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการเรียนรายวิชาตามกำหนดให้ส่งงานนั้นให้สมบูรณ์ภายใน
๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียนรายวิชา
หากพ้นกำหนดให้สถานศึกษาหรือสถานประกอบการทำการตัดสินผลการเรียน
ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้สถานศึกษาหรือสถานประกอบการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
กรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ครูผู้สอนหรือครูฝึกรายงานให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ควบคุมการฝึกทราบทุกราย
ข้อ ๕๒ นักเรียนต้องรับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
เมื่อนักเรียนได้ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรแต่ละประเภทวิชา
และสาขาวิชา หรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพเห็นสมควร
ข้อ ๕๓ การประเมินมาตรฐานวิชาชีพให้ระดับผลการประเมินดังนี้
ผ่าน หมายถึง ผลการประเมินผ่านเกณฑ์
ไม่ผ่าน หมายถึง ผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์
ส่วนที่ ๓
การตัดสินผลการเรียน
ข้อ ๕๔ การตัดสินผลการเรียนให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา
(๒) รายวิชาที่มีผลการเรียนตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
ถือว่าประเมินผ่านและให้นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
(๓) เมื่อได้ประเมินผลการเรียนแล้ว นักเรียนที่มีผลการเรียนตก ๐
(ศูนย์) ตามข้อ ๔๖ ให้รับการประเมินใหม่ได้ ๑ ครั้ง ภายในระยะเวลาที่สถานศึกษาหรือสถานประกอบการกำหนด
ทั้งนี้ ไม่เกิน ๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเรียนรายวิชา
เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย หากประเมินใหม่ไม่ผ่าน
ถ้าเป็นรายวิชาบังคับที่กำหนดให้เรียนในแต่ละประเภทวิชา สาขาวิชา
ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น ถ้าเป็นรายวิชาเลือกจะเรียนซ้ำ หรือเรียนรายวิชาอื่นแทนก็ได้
จำนวนหน่วยกิตต้องไม่น้อยกว่ารายวิชาที่ศึกษาแทน
(๔) การประเมินใหม่ ตาม (๓) ให้ระดับผลการเรียนได้ไม่เกิน ๑
(๕) เมื่อได้ประเมินผลการเรียนแล้ว นักเรียนที่มีผลการเรียนระดับ ๐
(ศูนย์) ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๘ (๑) ถึงข้อ ๔๘ (๖) และข้อ ๔๙ ถ้าเป็นรายวิชาบังคับที่กำหนดให้เรียนในแต่ละประเภทวิชา
สาขาวิชา ให้เรียนซ้ำรายวิชานั้น ถ้าเป็นรายวิชาเลือก
จะเรียนซ้ำหรือเรียนรายวิชาอื่นแทนก็ได้
ในกรณีที่ให้เรียนรายวิชาอื่นแทนให้ลงหมายเหตุใน ปพ. ๑ ปวช.
ว่าให้เรียนแทนรายวิชาใด
ข้อ ๕๕ การตัดสินผลการเรียนเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้
(๑) ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาต่าง ๆ
ครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละประเภทวิชา และสาขาวิชา
(๒)
ได้จำนวนหน่วยกิตสะสมครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
(๓) ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามเกณฑ์ที่กำหนด
(๔) ได้เข้าร่วมกิจกรรมในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ครบทุกภาคเรียน โดยมีเวลาเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
ของเวลาที่จัดกิจกรรมในแต่ละภาคเรียน
หากนักเรียนมีเวลาเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
ของเวลาที่จัดกิจกรรมในภาคเรียนใดโดยเหตุสุดวิสัย
ให้สถานศึกษาพิจารณาจัดกิจกรรมทดแทนจนครบ
เมื่อนักเรียนได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมครบถ้วนในภาคเรียนใด
ให้บันทึกชื่อกิจกรรมและตัวอักษร ผ. ในระเบียนแสดงผลการเรียนของภาคเรียนนั้น ซึ่งหมายถึง ผ่าน หากนักเรียนเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมไม่ครบถ้วน
หรือไม่ได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมเลย
ให้สถานศึกษาพิจารณามอบงานหรือกิจกรรมในส่วนที่นักเรียนผู้นั้นไม่ได้เข้าร่วมปฏิบัติ
ให้ปฏิบัติให้ครบถ้วนภายในเวลาที่สถานศึกษาพิจารณาเห็นสมควร
สำหรับนักเรียนที่เรียนในรูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคี
การเข้าร่วมกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดขึ้นถือว่ามีผลตามความใน (๔)
ข้อ ๕๖ ให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือสภาสถาบันการอาชีวศึกษา
แล้วแต่กรณี เป็นผู้อนุมัติผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ ๕๗ นักเรียนผู้ใดประสงค์จะเรียนซ้ำรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า
๒.๐ หรือเลือกเรียนรายวิชาอื่นแทนถ้าเป็นรายวิชาเลือก
เพื่อประเมินปรับค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้น ให้สถานศึกษาหรือสถานประกอบการดำเนินการให้เรียนซ้ำหรือเรียนแทนภายในเวลาก่อนสำเร็จการศึกษา
การเรียนซ้ำรายวิชา ให้นับจำนวนหน่วยกิตสะสมเพียงครั้งเดียว
ส่วนการเรียนแทนให้นับเฉพาะจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่เรียนแทนเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
การนับจำนวนหน่วยกิตสะสมในกรณีนี้
จะกระทำเมื่อนักเรียนได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒ ขึ้นไปเท่านั้น
รายวิชาที่เรียนซ้ำหรือเรียนแทนแล้วได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์)
ให้ถือระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒ ตามเดิม ยกเว้นการได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์)
ตามข้อ ๔๙
ข้อ ๕๘ กรณีตามข้อ ๕๗
การคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
ถ้าเป็นรายวิชาที่เรียนซ้ำให้นับจำนวนหน่วยกิตเป็นตัวหารเพียงครั้งเดียว
ส่วนการเรียนรายวิชาอื่นแทนให้นับเฉพาะจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่เรียนแทนมาเป็นตัวหาร
ข้อ ๕๙ เมื่อนักเรียนได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๒
ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า ๔๐
หน่วยกิตและได้รับการประเมินใหม่แล้วหากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๑.๕๐
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักเรียน
เมื่อได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๔ ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า ๗๕ หน่วยกิต
และได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๑.๗๕
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักเรียน
เมื่อได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๖ ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า ๑๐๐
หน่วยกิตและได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า ๑.๙๐
ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักเรียน
ข้อ ๖๐ นักเรียนที่ได้เรียนหรือฝึกอาชีพตามปกติ
ประเมินใหม่หรือเรียนซ้ำ หรือเรียนแทนรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียน ๐ (ศูนย์)
หรือระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐ หรือเทียบโอนผลการเรียนรู้มาเป็นเวลารวม ๘
ภาคเรียนแล้ว แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ในข้อ ๕๕ ให้สถานศึกษาพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักเรียน
ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๑๒
ภาคเรียนนับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักเรียน
โดยไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการเรียนรวมเข้าด้วย
ส่วนที่ ๔
การเทียบโอนผลการเรียนรู้
ข้อ ๖๑ การโอนผลการเรียนสำหรับนักเรียนจากสถานศึกษาซึ่งใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ หรือรายวิชาตามข้อ ๖ วรรคสอง
ให้สถานศึกษาที่รับนักเรียนเข้าเรียนรับโอนผลการเรียนทุกรายวิชา
นอกจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐
สถานศึกษาจะรับโอนหรือจะทำการประเมินใหม่จนเห็นว่าได้ผลการเรียนถึงเกณฑ์มาตรฐานแล้ว
จึงรับโอนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ ๖๒ ในกรณีที่นักเรียนย้ายสถานศึกษา
ถ้านักเรียนมีผลการเรียนระดับ ๐ (ศูนย์) ในรายวิชาใด
และมีสิทธิได้รับการประเมินใหม่ ข้อ ๕๔ (๓)
ให้สถานศึกษาที่นักเรียนเรียนอยู่ก่อนดำเนินการประเมินใหม่ให้แก่นักเรียนผู้นั้น
เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยให้สถานศึกษาที่รับเข้าเรียนดำเนินการประเมินใหม่ได้ ทั้งนี้
ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาที่รับเข้าเรียนเป็นราย ๆ ไป
ข้อ ๖๓ สถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนรายวิชา
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอื่นของสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
สถานศึกษาเอกชน หรือหน่วยงานของราชการ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ตามเงื่อนไขดังนี้
(๑)
เป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่มีจุดประสงค์และเนื้อหาใกล้เคียงกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๖๐ และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร
(๒) รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐ ให้สถานศึกษาที่รับโอนผลการเรียนทำการประเมินใหม่
ถ้ามีผลตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว จึงรับโอนรายวิชานั้น
(๓) รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
สถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียน หรือจะทำการประเมินใหม่แล้ว
จึงรับโอนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ ๖๔ สถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนรายวิชาจากหลักสูตรอื่น
ซึ่ง ก.พ. รับรองคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หรือจากหลักสูตรอื่นใดที่มีรายวิชาลักษณะเดียวกัน
แต่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นของหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
สถานศึกษาเอกชน หรือหน่วยงานของราชการได้ ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
(๑)
เป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่มีจุดประสงค์และเนื้อหาใกล้เคียงกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๖๐ และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร
(๒) เป็นรายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
โดยสถานศึกษาจะรับโอนผลการเรียนหรือจะทำการประเมินใหม่แล้ว
จึงรับโอนรายวิชานั้นก็ได้
ข้อ ๖๕ การขอโอนผลการเรียนรายวิชา
ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการประเมินผลภาคเรียนแรกที่เข้าเรียน
ในกรณีที่มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ระเบียบ
หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเทียบโอนผลการเรียนหรือการถ่ายโอนผลการเรียนเรื่องใดไว้เป็นการเฉพาะ
ให้ถือปฏิบัติตามคำสั่ง ระเบียบหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น
ข้อ ๖๖ การบันทึกผลการเรียนตามข้อ
๖๑ ข้อ ๖๓ และข้อ ๖๔
ลงในระเบียนแสดงผลการเรียนให้ใช้รหัสวิชาและชื่อรายวิชาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยแสดงหมายเหตุว่าเป็นรายวิชาที่รับโอนมาจากหลักสูตรอื่นหรือจากการเทียบรายวิชา
รหัสวิชาใด ยกเว้นมีข้อกำหนดเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ
ข้อ ๖๗ สถานศึกษาจะอนุญาตให้นักเรียนไปเรียนรายวิชาบางรายวิชาจากสถานศึกษาแห่งอื่นในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถเปิดทำการสอนในรายวิชานั้นได้
โดยสถานศึกษาพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรตามที่เห็นสมควร
และให้สถานศึกษาทั้งสองแห่งทำความตกลงร่วมกันในการจัดสอนและรับโอนผลการเรียน
ข้อ ๖๘ ในกรณีสถานศึกษาอนุญาตให้นักเรียนไปเรียนจากสถานศึกษาแห่งอื่นตามข้อ
๖๗ ให้สถานศึกษาพิจารณารับโอนผลการเรียนดังนี้
(๑) รับโอนรายวิชาที่มีผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป หรือ
(๒) รายวิชาที่ได้ระดับผลการเรียนต่ำกว่า ๒.๐
สถานศึกษาที่รับโอนผลการเรียนทำการประเมินใหม่เมื่อได้ผลตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว
จึงรับโอนรายวิชานั้น
ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาแจ้งให้นักเรียนทราบก่อนที่จะอนุญาตให้ไปเรียน
การบันทึกผลการเรียนลงในระเบียนแสดงผลการเรียน ให้ใช้รหัสวิชา
และชื่อรายวิชาของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
โดยระบุว่ารับโอนจากสถานศึกษาแห่งอื่น รหัสวิชาใด
ยกเว้นมีข้อกำหนดเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ
ข้อ ๖๙ กรณีที่มีการประเมินใหม่ตามข้อ ๖๑ ข้อ ๖๓
ข้อ ๖๔ และข้อ ๖๘ ระดับผลการเรียนให้เป็นไปตามที่ได้จากการประเมินใหม่
แต่ต้องไม่สูงไปกว่าเดิม
ข้อ ๗๐ นักเรียนที่มีความรู้และประสบการณ์ในงานอาชีพ
หรือฝึกงานในสถานประกอบการหรือทำงานในอาชีพนั้นอยู่แล้ว
หรือมีความรู้ในรายวิชาตามหลักสูตรนี้มาก่อนเข้าเรียนหรือเข้าเรียนแล้วแต่ขอไปเรียนหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เพื่อนับจำนวนหน่วยกิตสะสมสำหรับรายวิชานั้นก็ได้
โดยเทียบโอนได้ไม่เกิน ๒ ใน ๓
ของจำนวนหน่วยกิตตามโครงสร้างหลักสูตรแต่ละประเภทวิชา
ถ้าผลการประเมินไม่ผ่าน นักเรียนสามารถลงทะเบียนเรียนปกติในภาคเรียนนั้นหรือขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในภาคเรียนต่อไปก็ได้
ข้อ ๗๑ นักเรียนที่สถานศึกษาให้พ้นสภาพนักเรียนตามข้อ
๕๙ หรือข้อ ๖๐ แล้วสอบเข้าเรียนใหม่ในสถานศึกษาเดิมหรือสถานศึกษาแห่งใหม่ได้
ให้สถานศึกษารับโอนผลการเรียนเฉพาะรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรนี้
และได้ระดับผลการเรียนตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
ข้อ ๗๒ นักเรียนที่ขอโอนผลการเรียนรายวิชาตามข้อ
๖๑ ข้อ ๖๓ และข้อ ๖๔ ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน
นักเรียนที่ขอเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามข้อ ๗๐
ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓
ของจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตร แต่ละประเภทวิชาและสาขาวิชา
นักเรียนที่เทียบโอนผลการเรียนรู้
ต้องลงทะเบียนรายวิชาในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน
หมวด ๔
เอกสารการศึกษา
ข้อ ๗๓ สถานศึกษาต้องจัดให้มีเอกสารการศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑)
ระเบียนแสดงผลการเรียนประจำตัวนักเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า ปพ. ๑ ปวช. .. และต้องเก็บรักษาไว้ตลอดไป
การจัดทำ ปพ.๑ ปวช. .. ให้หัวหน้างานทะเบียนเป็นผู้จัดทำ
ลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งวัน เดือน ปี และให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามรับรองผลการเรียนและการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒)
แบบรายงานผลการเรียนของผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช
๒๕๕๖ (ปพ. ๓ ปวช. .. ) ตามแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและเก็บรักษาไว้ตลอดไป
(๓) ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตร ตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
(๔) สมุดประเมินผลรายวิชา
และหลักฐานเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนในแบบอื่นนอกเหนือจาก ปพ. ๑ ปวช. .. และ
ปพ. ๓ ปวช. ..
สมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพหรือสมุดบันทึกการปฏิบัติงานหรือสมุดรายงานของนักเรียน
(๕) ใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียนและใบรับรองผลการเรียนตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗๔ ให้สถานศึกษาแจ้งผลการเรียนของนักเรียน
ให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบทุกภาคเรียน
ข้อ ๗๕ ให้สถานศึกษาออกใบรับรองผลการเรียน
และประกาศนียบัตรแก่นักเรียน โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา
ข้อ ๗๖ ให้สถานศึกษาเก็บรักษากระดาษคำตอบ
และหลักฐานการประเมินผลการเรียนไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปีการศึกษา
ข้อ ๗๗ ให้ใช้สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ. ๑
ปวช. .. ) เป็นเอกสารรับรองผลการเรียนแทนใบสุทธิ
และใบรับรองตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา
ข้อ ๗๘ การทำสำเนา ปพ.
๑ ปวช. .. จะใช้วิธีพิมพ์ใหม่ หรือสำเนาเอกสารตามต้นฉบับแล้วให้เขียนหรือประทับตรา
สำเนาถูกต้อง
ให้หัวหน้างานทะเบียน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนลงลายมือชื่อรับรองสำเนา
พร้อมทั้งวัน เดือน ปีที่ออกสำเนา
และหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อกำกับที่รูปถ่าย
ข้อ ๗๙ ถ้านักเรียนต้องการใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียน
หรือใบรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษา ให้สถานศึกษาออกใบรับรองสภาพการเป็นนักเรียน
หรือใบรับรองผลการเรียน หรือสำเนา ปพ. ๑ ปวช. .. แล้วแต่กรณี ใบรับรองนี้มีอายุ ๖๐
วัน โดยให้สถานศึกษากำหนดวันหมดอายุไว้ด้วย
ถ้านักเรียนต้องการให้รับรองพื้นความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
หรือการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ ๓ สถานศึกษาจะถ่ายสำเนา รบ. ๑ ต หรือ ปพ. ๑-๓
และรับรองสำเนาให้ไปก็ได้
หมวด ๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๘๐ สถานศึกษาใดที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๔๕ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๖) ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการเรียนการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๕๔ และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พุทธศักราช ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาหลักสูตร
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๑๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ |
697317 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา
ให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๖
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๕๖
เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของสถาบันศึกษาปอเนาะให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริงของโครงการพัฒนาสถาบันการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยและสร้างสุขลักษณะที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
และเป็นการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ และเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์
๒๕๕๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกในบทนิยามคำว่า การอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การอุดหนุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา หมายความว่า
การอุดหนุนที่รัฐให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งเป็นเงินอุดหนุนเพื่อจัดสร้างสนามฟุตซอลให้แก่เยาวชน
เงินอุดหนุนในรูปแบบสื่ออุปกรณ์วงดุริยางค์โยธวาทิตเพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
และเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาด้านกายภาพศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
และสถาบันศึกษาปอเนาะ
หรือเป็นการอุดหนุนในรูปแบบอื่นภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามแผนการดำเนินการตามนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
อุษมล/ผู้ตรวจ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๖/๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ |
678815 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและนโยบายรัฐบาลในการปรับเพิ่มเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนวุฒิปริญญาตรี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๓
(๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๕ เมื่อวันที่
๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ
๑๓ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
หากโรงเรียนไม่ชดใช้เงินอุดหนุนที่เบิกโดยผิดพลาด
โดยไม่มีสิทธิ หรือโดยทุจริต ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระเงินคืน
ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้ก่อนจนกว่าโรงเรียนจะมาชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑) ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ให้ชำระเงินคืนทันทีในงวดเดียว
(๒) ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป
ให้ชำระเงินคืนภายใน ๑ ปี โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕
พงศ์เทพ
เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๑ ธันวาคม
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๑ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๓/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
697319 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2556
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี
และนโยบายรัฐบาลในการปรับเพิ่มเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนวุฒิปริญญาตรี
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา
๘ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ และมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ซึ่งได้กําหนดเป็นหลักการว่าให้ปรับเงินอุดหนุนรายบุคคลในส่วนของเงินสมทบเงินเดือนครูในอัตราเดียวกันทุกครั้งที่มีการปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๑๓ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในการประชุมครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๓๐
กรกฎาคม ๒๕๕๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
มกราคม ๒๕๕๖
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓
แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกําหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๕๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ
๒ กันยายน ๒๕๕๗
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๗/๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ |
700077 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2556 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรี
สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๖[๑]
โดยที่มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง
กรอบคุณวุฒิการศึกษาวิชาชีพระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
ในการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษา
ให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา
๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ใช้ระเบียบนี้บังคับแก่สถาบันการอาชีวศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
หลักสูตร หมายความว่า
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
ปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ หมายความว่า การศึกษาตามหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง)
หลังจากจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า ใช้อักษรย่อว่า
ทล.บ.
ผู้เข้าศึกษา หมายความว่า ผู้มาสมัครเข้าศึกษาในสถาบัน
หรือสมัครฝึกอาชีพกับสถานประกอบการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
นักศึกษา หมายความว่า
ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตสำหรับนักศึกษาการศึกษาระบบทวิภาคีต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาและทำสัญญาการฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ
ภาคเรียน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนการจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบทวิภาคโดยกำหนดให้ ๑
ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
ภาคเรียนฤดูร้อน หมายความว่า
ช่วงเวลาที่จัดให้เรียนหรือฝึกปฏิบัติในระหว่างภาคฤดูร้อนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อนในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและในช่วงปิดภาคเรียนกลางปีโดยอนุโลม
สถาบัน หมายความว่า
สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาจารย์ประจำ หมายความว่า
คณาจารย์ประจำของสถาบันการอาชีวศึกษานั้นที่มีหน้าที่หลักทางด้านการสอน การวิจัย
และปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาตามภาระงานที่รับผิดชอบในหลักสูตรที่เปิดสอน
อาจารย์ที่ปรึกษา หมายความว่า
อาจารย์ประจำในสาขาวิชาซึ่งสถาบันมอบหมายให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษา
ติดตามผลเกี่ยวกับการศึกษา ตักเตือนดูแลความประพฤติ
ตลอดจนรับผิดชอบดูแลแผนการเรียนของนักศึกษา
อาจารย์ผู้สอน หมายความว่า
คณาจารย์ประจำและผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบสอนรายวิชาในระดับปริญญา
การศึกษาในระบบ หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถาบันเป็นหลักโดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
การวัดและการประเมินผลที่เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษาระบบทวิภาคี หมายความว่า
การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนการวัดและการประเมินผล
โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ
รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ
สถานประกอบการ หมายความว่า
สถานประกอบการที่ร่วมมือกับสถาบันในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เพื่อจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ผู้ควบคุมการฝึก หมายความว่า
ผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงานกับสถาบันในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของนักศึกษาในสถานประกอบการ
ครูฝึก หมายความว่า
ผู้ทำหน้าที่สอน ฝึก อบรมในสถานประกอบการที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรา ๕๕
แห่งพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
อาจารย์นิเทศก์ หมายความว่า
อาจารย์ที่สถาบันมอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษาที่ฝึกอาชีพและฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ
มาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
ข้อกำหนดคุณลักษณะของบุคคลด้านวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำกับดูแล
ตรวจสอบและประกันคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า
การทดสอบความรู้ ความสามารถ สมรรถนะ ตลอดจนลักษณะนิสัยในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งกำหนดเกณฑ์การตัดสินไว้ชัดเจน
พร้อมทั้งจัดดำเนินการประเมินภายใต้เงื่อนไขที่เป็นมาตรฐาน
คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หมายความว่า คณะกรรมการผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการ
ติดตามและกำกับดูแลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพของนักศึกษาในสถาบัน
ข้อ ๕ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษารักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
สภาพนักศึกษา
ส่วนที่ ๑
พื้นความรู้และคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ข้อ ๖ ผู้เข้าศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า
ที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาที่เรียนหรือเป็นคุณวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ผู้เข้าศึกษาตามโครงการต่าง ๆ ของสถาบัน
ให้สถาบันกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ส่วนที่ ๒
การรับผู้เข้าศึกษา
ข้อ ๗ การรับผู้เข้าศึกษา ให้ทำการสอบคัดเลือก
หรือคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบที่สถาบันกำหนด
การรับผู้เข้าศึกษาในรูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคี
สถาบันจะเป็นผู้สอบคัดเลือกหรือคัดเลือกนักศึกษาเองตามคุณสมบัติที่กำหนดและตามจำนวนที่ได้ตกลงร่วมกับสถานประกอบการหรือดำเนินการร่วมกันก็ได้
การรับผู้เข้าศึกษาตามโครงการต่าง ๆ ของสถาบัน
ให้สถาบันคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดตามความเหมาะสมของโครงการนั้น
ข้อ ๘ ให้มีการตรวจร่างกายเฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือก
หรือได้รับการคัดเลือกโดยแพทย์ปริญญา
ส่วนที่ ๓
การเป็นนักศึกษา
ข้อ ๙ ผู้ที่ผ่านการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกเข้าศึกษา
จะมีสภาพเป็นนักศึกษาเมื่อได้ขึ้นทะเบียนและชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมตามระเบียบที่สถาบันกำหนด
หากผู้ผ่านการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกเข้าศึกษา
ไม่มาขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามกำหนดของสถาบัน
จะถือว่าสละสิทธิ์ที่จะเข้าเป็นนักศึกษา
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและได้รับอนุมัติจากสถาบัน
สำหรับการศึกษาระบบทวิภาคี ผู้เข้าศึกษาต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
และทำสัญญาการฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ
การขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
และการทำสัญญาการฝึกอาชีพต้องกระทำด้วยตนเอง
พร้อมทั้งแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาตามวัน เวลา
ที่สถาบันและสถานประกอบการกำหนดโดยชำระเงินค่าธรรมเนียมให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคเรียน
ข้อ ๑๐ ให้สถาบันออกบัตรประจำตัวให้แก่นักศึกษา
โดยให้เป็นไปตามที่สถาบันกำหนด
สถานประกอบการจะใช้บัตรประจำตัวที่สถาบันออกให้
หรือจะออกให้ใหม่ตามความต้องการของสถานประกอบการก็ได้
ส่วนที่ ๔
การพ้นสภาพและคืนสภาพนักศึกษา
ข้อ ๑๑ การพ้นสภาพนักศึกษา
เป็นไปตามกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
(๒) พ้นสภาพนักศึกษาตามข้อ ๕๕
(๓) ลาออก
(๔) ถึงแก่กรรม
(๕) สถาบันสั่งให้พ้นสภาพนักศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
ก. ขาดเรียน ขาดการฝึกอาชีพ
หรือขาดการติดต่อกับสถาบันและหรือสถานประกอบการเกินกว่า ๑๕ วัน
ซึ่งสถาบันหรือสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือมีพฤติกรรมอย่างอื่นที่แสดงว่าไม่มีความตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียนหรือรับการฝึกอาชีพ
ข.
ไม่ชำระค่าธรรมเนียมการรักษาสภาพนักศึกษาทุกภาคเรียนที่พักการศึกษาตามข้อ ๑๖ ไม่ยื่นขอกลับเข้าศึกษาตามข้อ
๑๘ หรือไม่ติดต่อเพื่อรักษาสภาพนักศึกษาตามข้อ ๒๗
ค. ประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบัน หรือสถานประกอบการ
หรือของทางราชการ หรือประพฤติผิดศีลธรรมอย่างร้ายแรง
จนเป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สถาบันหรือประพฤติตนเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ง. ต้องโทษคดีอาญา โดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
จ. ขาดพื้นความรู้หรือคุณสมบัติของผู้เข้าเรียน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๖
ข้อ ๑๒ ผู้ที่พ้นสภาพนักศึกษาตามข้อ
๑๑ (๓), ๑๑ (๕) ก, ๑๑ (๕) ข
ถ้าประสงค์จะขอคืนสภาพเพื่อกลับเข้าศึกษาในสถาบันหรือฝึกอาชีพในสถานประกอบการจะต้องยื่นคำร้องขอต่อสถาบันแห่งนั้นภายใน
๑ ปี นับแต่วันถัดจากวันพ้นสภาพนักศึกษา
เมื่อสถาบันพิจารณาเห็นสมควรก็ให้รับเข้าศึกษาได้
ข้อ ๑๓ การขอคืนสภาพเพื่อกลับเข้าศึกษาตามข้อ
๑๒ ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) ต้องเข้าศึกษาภายในสัปดาห์แรกของภาคเรียน
เว้นแต่กลับเข้าศึกษาในภาคเรียนเดียวกัน
(๒) ต้องศึกษาตามหลักสูตรที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
(๓) ให้นำจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่ประเมินได้ไว้
และเป็นรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรนี้มานับรวม
เพื่อพิจารณาตัดสินการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ส่วนที่ ๕
การพักการศึกษา
ข้อ ๑๔ สถาบันและสถานประกอบการอาจพิจารณาอนุญาตให้นักศึกษาลาพักการศึกษาหรือฝึกอาชีพได้ตามที่เห็นสมควร
เมื่อมีเหตุจำเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
(๑) ได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษา หรือดูงาน หรือเป็นตัวแทนของสถาบัน
หรือสถานประกอบการในการเข้าร่วมประชุม หรือกรณีอื่น ๆ อันควรแก่การส่งเสริม
(๒) เจ็บป่วยต้องพักรักษาตัว
(๓) เพื่อรับราชการทหารกองประจำการ
โดยให้ลาพักได้จนกว่าจะได้รับการนำปลด
(๔) เหตุจำเป็นอย่างอื่นตามที่สถาบัน
หรือสถาบันและสถานประกอบการจะพิจารณาเห็นสมควร
ในภาคเรียนแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของสถาบัน
นักศึกษาจะขอลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพไม่ได้
เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากสถาบันเป็นกรณีพิเศษ
ในกรณีที่มีนักศึกษาลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพตั้งแต่ต้นปีเป็นระยะเวลานานเกินกว่า
๑ ปี
สถาบันหรือสถานประกอบการอาจพิจารณารับนักศึกษาอื่นเข้าศึกษาหรือฝึกอาชีพแทนที่ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๕ นักศึกษาที่ขออนุญาตลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ
ต้องยื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อสถาบัน หรือสถาบันและสถานประกอบการ
มิฉะนั้นจะถือว่าขาดเรียน เว้นแต่เหตุสุดวิสัย
ข้อ ๑๖ สถาบันสั่งให้นักศึกษาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพได้
โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับวินัยของนักศึกษาของสถาบันหรือระเบียบข้อบังคับของสถานประกอบการ
นักศึกษาที่ขออนุญาตลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพตามข้อ ๑๔
หรือถูกสั่งพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพตามข้อ ๑๖ เป็นเวลาเกินกว่า ๑ ภาคเรียน
ต้องชำระค่าธรรมเนียมการรักษาสภาพนักศึกษาทุกภาคเรียนที่พักการศึกษาตามระเบียบของสถาบันภายใน
๑๕ วัน นับจากวันประกาศลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนถัดไป
ข้อ ๑๗ การอนุญาตให้นักศึกษาลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ
ให้สถาบันทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้นักศึกษาโดยตรง
ข้อ ๑๘ นักศึกษาที่ลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ
หรือถูกสั่งพักการศึกษาหรือพักการฝึกอาชีพ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพ
หรือถูกสั่งพักการศึกษาแล้ว
ให้ยื่นคำขอกลับเข้าศึกษาพร้อมหลักฐานการอนุญาตให้ลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพต่อสถาบันภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนด หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าพ้นสภาพนักศึกษา
เว้นแต่เหตุสุดวิสัย
ส่วนที่ ๖
การลาออก
ข้อ ๑๙ นักศึกษาที่ประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักศึกษา
ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่สถาบันกำหนด
ข้อ ๒๐ นักศึกษาที่ลาออกแล้วได้รับอนุญาตให้กลับเข้าศึกษาในภาคเรียนเดียวกัน
ให้ถือว่านักศึกษาผู้นั้นมีสภาพนักศึกษามาตั้งแต่ต้นภาคเรียนนั้นทุกประการ
หมวด ๒
การจัดการศึกษา
ส่วนที่ ๑
การเปิดเรียน
ข้อ ๒๑ ให้สถาบันกำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษาการเปิดและปิดสถานศึกษา
สถาบันอาจกำหนดวันเปิดและปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากระเบียบดังกล่าวได้
และให้รายงานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทราบ
ข้อ ๒๒ สถาบันที่เปิดภาคเรียนฤดูร้อน
ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
ส่วนที่ ๒
การลงทะเบียนรายวิชา
ข้อ ๒๓ สถาบันต้องจัดให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาต่าง
ๆ ให้เสร็จก่อนวันเปิดภาคเรียนนั้นตามระยะเวลาที่สถาบันกำหนด
ข้อ ๒๔ การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
และการฝึกอาชีพในการศึกษาระบบทวิภาคี การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร
ข้อ ๒๕ นักศึกษาต้องลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเอง
ตามวันและเวลาที่สถาบันกำหนด ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาลงทะเบียนรายวิชาด้วยตนเอง
จะมอบหมายให้ผู้อื่นมาลงทะเบียนแทนให้สถาบันพิจารณาอนุญาตเป็นราย ๆ ไป
ข้อ ๒๖ สถาบันอาจให้นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ
๒๓ ก็ได้ โดยให้สถาบันกำหนดวันสิ้นสุดการลงทะเบียนตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน
๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือไม่เกิน ๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การลงทะเบียนรายวิชาภายหลังวันสิ้นสุดการลงทะเบียน
นักศึกษาต้องเสียค่าปรับตามที่สถาบันกำหนด
ข้อ ๒๗ นักศึกษาที่มิได้ลงทะเบียนรายวิชาภายในเวลาที่สถาบันกำหนด
ถ้าประสงค์จะรักษาสภาพนักศึกษา ต้องติดต่อลาพักการศึกษาภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันถัดจากวันปิดการลงทะเบียน
ข้อ ๒๘ นักศึกษาลงทะเบียนรายวิชาในภาคเรียนปกติได้ไม่น้อยกว่า
๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๒ หน่วยกิต สำหรับภาคเรียนฤดูร้อนลงทะเบียนได้ไม่เกิน ๙
หน่วยกิต เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากสถาบัน
ส่วนที่ ๓
การเปลี่ยน
การเพิ่ม และการถอนรายวิชา
ข้อ ๒๙ นักศึกษาจะขอเปลี่ยนรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว
หรือขอเพิ่มรายวิชาต้องกระทำภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน หรือภายใน ๕ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน ส่วนการขอถอนรายวิชาต้องกระทำภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันเปิดภาคเรียนหรือภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนฤดูร้อน
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามวรรคหนึ่งอาจกระทำได้
ถ้าสถาบันพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควร
การขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม หรือขอถอนรายวิชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา
ข้อ ๓๐ การถอนรายวิชาภายในกำหนดตามข้อ
๒๙ ให้ลงอักษร ถ.น. ในใบแสดงผลการศึกษา
การถอนรายวิชาภายหลังกำหนดตามข้อ ๒๙
และสถาบันพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรให้ลงอักษร ถ.น. ในใบแสดงผลการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่ถ้าสถาบันพิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
ก็ให้ลงอักษร ถ.ล.
ส่วนที่ ๔
การศึกษาโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ข้อ ๓๑ สถาบันอาจอนุญาตให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดวิชาหนึ่งเพื่อเป็นการเสริมความรู้โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรก็ได้
ข้อ ๓๒ เมื่อได้ทำการวัดและประเมินผลการศึกษาแล้วได้ระดับผลการศึกษาผ่าน
ให้บันทึก ม.ก. ลงในใบแสดงผลการศึกษาช่อง
ระดับผลการศึกษา ถ้าผลการประเมินไม่ผ่าน
ไม่ต้องบันทึกรายวิชานั้น และให้ถือเป็นการสิ้นสุดสำหรับการศึกษารายวิชานั้น
โดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ส่วนที่ ๕
การนับเวลาเรียนเพื่อสิทธิในการประเมินสรุปผลการศึกษา
ข้อ ๓๓ ในภาคเรียนหนึ่ง
ๆ การศึกษาในระบบและการศึกษาระบบทวิภาคีต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๘๐ ของเวลาเปิดเรียนเต็มสำหรับรายวิชานั้น
จึงจะมีสิทธิรับการประเมินสรุปผลการศึกษา
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย สถาบันอาจพิจารณาผ่อนผันได้เป็นราย ๆ ไป
นักศึกษาที่ไม่มีสิทธิรับการประเมินสรุปผลการศึกษาตามวรรคหนึ่ง
จะขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามข้อ ๖๓ ในภาคเรียนนั้นมิได้
ข้อ ๓๔ การนับเวลาเรียน
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑) เวลาเปิดเรียนเต็มตามปกติ ไม่น้อยกว่าภาคเรียนละ ๑๘ สัปดาห์
(๒) นักศึกษาที่ย้ายสถาบันระหว่างภาคเรียน
ให้นำเวลาเรียนจากสถาบันทั้งสองแห่งรวมกัน
(๓) นักศึกษาที่ลาออกแล้ว ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าศึกษาในภาคเรียนเดียวกัน
ให้นับเวลาเรียนที่เรียนแล้วมารวมกัน
(๔) นักศึกษาที่ลาพักการศึกษาหรือฝึกอาชีพในภาคเรียนใด
ให้นับเวลาเรียนก่อนและหลังการลาพักการศึกษาหรือการฝึกอาชีพในภาคเรียนนั้นมารวมกัน
(๕) นักศึกษาที่ถูกสั่งพักการศึกษาจะไม่นับเวลาเรียนในระหว่างถูกสั่งพักการศึกษา
(๖) รายวิชาที่มีอาจารย์ผู้สอนหรือครูฝึกตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
และแยกกันสอน ให้นำเวลาเรียนที่ศึกษากับอาจารย์ผู้สอนหรือครูฝึกทุกคนมารวมกัน
(๗) ถ้ามีการเปลี่ยนรายวิชา หรือเพิ่มรายวิชา
ให้นับเวลาเรียนตั้งแต่เริ่มเรียนรายวิชาใหม่
ส่วนที่ ๖
การขออนุญาตเลื่อนการประเมิน
ข้อ ๓๕ นักศึกษาที่ไม่สามารถเข้ารับการประเมินสรุปผลการศึกษาตามวันและเวลาที่สถาบันกำหนดสถาบันอาจอนุญาตเลื่อนการประเมินได้ในกรณีต่อไปนี้
(๑) ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย
ก่อนหรือระหว่างการประเมินสรุปผลการศึกษา
(๒) ถูกควบคุมตัวโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
(๓) เป็นตัวแทนของสถาบัน หรือสถานประกอบการ
ในการเข้าร่วมประชุมหรือกิจกรรมพิเศษอย่างอื่น
โดยได้รับความยินยอมจากสถาบันหรือสถานประกอบการ
(๔) มีความจำเป็นอย่างอื่น
โดยสถาบันหรือสถานประกอบการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความจำเป็นอย่างแท้จริง
ข้อ ๓๖ นักศึกษาที่ประสงค์จะขออนุญาตเลื่อนการประเมินสรุปผลการศึกษา
ต้องยื่นคำร้องพร้อมทั้งหลักฐานประกอบต่อสถาบันก่อนการประเมินไม่น้อยกว่า ๓ วัน
หากไม่สามารถกระทำได้ให้สถาบันพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การอนุญาตให้เลื่อนการประเมินสรุปผลการศึกษาให้สถาบันทำเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้นักศึกษา
ข้อ ๓๗ นักศึกษาจะขออนุญาตเลื่อนการประเมินออกไปได้ไม่เกินวันกำหนดการประเมินสรุปผลการศึกษาปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสถาบันเป็นราย ๆ ไป
ข้อ ๓๘ ถ้าเป็นกรณีที่สามารถกำหนดวันประเมินได้
ให้สถาบันกำหนดวันประเมินไว้ในหนังสืออนุญาตให้เลื่อนการประเมิน
แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ให้เป็นหน้าที่ของนักศึกษาซึ่งพร้อมที่จะรับการประเมินยื่นคำร้องต่อสถาบันเพื่อขอเข้ารับการประเมิน
พร้อมทั้งหลักฐานการอนุญาตให้เลื่อนการประเมิน ทั้งนี้
ต้องไม่เกินวันกำหนดการประเมินสรุปผลการศึกษาปลายภาคเรียนของภาคเรียนถัดไป หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าขาดการประเมินสรุปผลการศึกษา
และให้สถาบันทำการประเมินตัดสินผลการศึกษา เว้นแต่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๓๗
หมวด ๓
การประเมินผลการศึกษา
ส่วนที่ ๑
หลักการในการประเมินผลการศึกษา
ข้อ ๓๙ ให้สถาบันมีหน้าที่และรับผิดชอบในการประเมินผลการศึกษา
ข้อ ๔๐ ให้ประเมินผลการศึกษาเป็นรายวิชาตามระบบหน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชาให้ถือตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถาบัน
ข้อ ๔๑ ให้สถาบัน
หรือสถาบันและสถานประกอบการทำการประเมินผลการศึกษารายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียน
หรือเมื่อสิ้นสุดการศึกษาหรือการปฏิบัติงานในทุกรายวิชา
ข้อ ๔๒ ให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาร่วมกับสถาบัน
ดำเนินการส่งเสริมคุณภาพและควบคุมมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ส่วนที่ ๒
วิธีการประเมินผลการศึกษา
ข้อ ๔๓ การประเมินผลการศึกษาเป็นรายวิชา ให้ดำเนินการประเมินตามสภาพจริงต่อเนื่องตลอดภาคเรียนด้านความรู้
ความสามารถและเจตคติจากกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานที่มอบหมายซึ่งครอบคลุมเนื้อหาวิชา
โดยใช้เครื่องมือและวิธีการหลากหลายตามความเหมาะสม
ให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินสรุปผลการศึกษา
โดยพิจารณาจากการประเมินในแต่ละกิจกรรมและงานที่มอบหมาย
ในอัตราส่วนตามความสำคัญของแต่ละกิจกรรมหรืองานที่มอบหมาย
ให้ดำเนินการประเมินผลการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ศึกษาในรูปแบบการศึกษาระบบทวิภาคีจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ
ตามวิธีการที่ครูฝึกและอาจารย์นิเทศกำหนดโดยความเห็นชอบของสถาบัน
ข้อ ๔๔ ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการศึกษาในแต่ละรายวิชา
ดังต่อไปนี้
๔.๐ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม
๓.๕ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
๓.๐ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี
๒.๕ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดีพอใช้
๒.๐ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์พอใช้
๑.๕ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์อ่อน
๑.๐ หมายถึง ผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์อ่อนมาก
๐ หมายถึง ผลการศึกษาตก
ข้อ ๔๕ รายวิชาใดที่แสดงระดับผลการศึกษาตามข้อ
๔๔ ไม่ได้ ให้ใช้ตัวอักษรต่อไปนี้
ข.ร. หมายถึง ขาดเรียน ไม่มีสิทธิเข้ารับการประเมินสรุปผลการศึกษา
เนื่องจากมีเวลาศึกษาต่ำกว่าร้อยละ ๘๐
โดยสถาบันพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ข.ป. หมายถึง ขาดการปฏิบัติงาน หรือปฏิบัติงานไม่ครบ
โดยสถาบันพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ข.ส. หมายถึง ขาดการประเมินสรุปผลการศึกษา
โดยสถาบันพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.ล. หมายถึง ถอนรายวิชาภายหลังกำหนด
โดยสถาบันพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร
ถ.น. หมายถึง ถอนรายวิชาภายในกำหนด
ถ.พ. หมายถึง
ถูกสั่งพักการศึกษาในระหว่างที่มีการประเมินสรุปผลการศึกษา
ท. หมายถึง ทุจริตในการสอบหรืองานที่มอบหมายให้ทำ
ม.ส. หมายถึง ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการประเมินครบทุกครั้งและหรือไม่ส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการศึกษารายวิชาตามกำหนดด้วยเหตุสุดวิสัย
ม.ท. หมายถึง
ไม่สามารถเข้ารับการประเมินทดแทนการประเมินส่วนที่ขาดของรายวิชาที่ไม่สมบูรณ์ภายในภาคเรียนถัดไป
ผ. หมายถึง ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนด และผลการประเมินผ่าน
ม.ผ. หมายถึง ไม่เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนด และผลการประเมินไม่ผ่าน
ม.ก. หมายถึง
การศึกษาโดยไม่นับจำนวนหน่วยกิตมารวมเพื่อการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
และผลการประเมินผ่าน
ข้อ ๔๖ ในกรณีต่อไปนี้ให้ตัดสินผลการศึกษาเป็นระดับ
๐ (ศูนย์) เฉพาะรายวิชา
(๑) ได้ ข.ร.
(๒) ได้ ข.ป.
(๓) ได้ ข.ส.
(๔) ได้ ถ.ล.
(๕) ได้ ถ.พ.
(๖) ได้ ท.
(๗) ได้ ม.ท.
ข้อ ๔๗ นักศึกษาที่ทำการทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริตในการสอบ
หรืองานที่มอบหมายให้ทำในรายวิชาใด ให้สถาบันพิจารณาผลการเรียนให้ได้คะแนน ๐
(ศูนย์) เฉพาะครั้งนั้น หรือในรายวิชานั้น หรืออาจตัดคะแนนความประพฤติตามระเบียบที่สถาบันกำหนด
ข้อ ๔๘ การคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
ให้นำผลบวกของผลคูณระหว่างจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชากับระดับผลการศึกษาหารด้วยผลบวกของจำนวนหน่วยกิตของแต่ละรายวิชา
คิดทศนิยมสองตำแหน่งไม่ปัดเศษ
(๒) ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย
จากรายวิชาที่ได้ระดับผลการศึกษาตามข้อ ๔๔ และข้อ ๔๖ รายวิชาที่นักศึกษาเรียนซ้ำ
เรียนแทน
ให้ใช้ระดับผลการศึกษาสุดท้ายและนับจำนวนหน่วยกิตมาเป็นตัวหารเพียงครั้งเดียว
(๓) ให้คำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้
(ก) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาคเรียน
คำนวณจากรายวิชาที่ได้ระดับผลการศึกษาตาม (๒) เฉพาะในภาคเรียนหนึ่ง ๆ
(ข) ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
คำนวณจากรายวิชาที่เรียนมาทั้งหมดและได้ระดับผลการศึกษาตาม (๒)
ตั้งแต่สองภาคเรียนขึ้นไป
ข้อ ๔๙ ผู้ที่ได้ ม.ส.
เนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการประเมินครบทุกครั้ง
ต้องรับการประเมินทดแทนส่วนที่ขาดภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการศึกษารายวิชา
หากพ้นกำหนดนี้ให้ถือว่าไม่สามารถเข้ารับการประเมินทดแทน (ม.ท.) ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย
ให้สถาบัน และหรือสถานประกอบการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ทั้งนี้
ให้ประเมินทดแทนในรายวิชาที่ไม่สมบูรณ์ให้แล้วเสร็จภายในภาคเรียนถัดไป
ผู้ที่ได้ ม.ส.
เนื่องจากไม่สามารถส่งงานอันเป็นส่วนประกอบของการศึกษารายวิชาตามกำหนด ให้ส่งงานนั้นให้สมบูรณ์ภายใน
๑๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการศึกษารายวิชา หากพ้นกำหนดให้สถาบันหรือสถานประกอบการทำการตัดสินผลการศึกษา
ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ให้สถาบันหรือสถานประกอบการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
กรณีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ให้อาจารย์ผู้สอนหรือครูฝึกรายงานให้สถาบันหรือผู้ควบคุมการฝึกทราบทุกราย
ข้อ ๕๐ นักศึกษาต้องรับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
เมื่อนักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามหลักสูตร
หรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินมาตรฐานวิชาชีพเห็นสมควร
ข้อ ๕๑ ให้ระดับผลการประเมิน
ในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ดังนี้
ผ. หมายถึง
ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพผ่านเกณฑ์
ม.ผ. หมายถึง
ผลการประเมินมาตรฐานวิชาชีพไม่ผ่านเกณฑ์
ส่วนที่ ๓
การตัดสินผลการศึกษา
ข้อ ๕๒ การตัดสินผลการศึกษาให้ดำเนินการ
ดังนี้
(๑) ตัดสินผลการศึกษาเป็นรายวิชา
(๒) รายวิชาที่มีผลการศึกษาตั้งแต่ระดับ ๑ ขึ้นไป
ถือว่าประเมินผ่านและให้นับจำนวนหน่วยกิตของรายวิชานั้นเป็นจำนวนหน่วยกิตสะสม
(๓) เมื่อได้ประเมินผลการศึกษาแล้ว นักศึกษาที่มีผลการศึกษาระดับ ๐
(ศูนย์) ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔๖ และข้อ ๔๗
ถ้าเป็นรายวิชาบังคับที่กำหนดให้ศึกษาในแต่ละสาขาวิชา ให้ศึกษาซ้ำรายวิชานั้น
ถ้าเป็นรายวิชาเลือกจะศึกษาซ้ำ หรือศึกษารายวิชาอื่นแทนก็ได้
ในกรณีที่ให้ศึกษารายวิชาอื่นแทนให้ลงหมายเหตุว่าให้ศึกษาแทนรายวิชาใด
ข้อ ๕๓ การตัดสินผลการศึกษาเพื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้
(๑) ประเมินผ่านรายวิชาในหมวดวิชาต่าง ๆ
ครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรและเงื่อนไขอื่น ๆ ที่สถาบันกำหนด
(๒) ได้จำนวนหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
(๓) ได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
ข้อ ๕๔ นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะลงทะเบียนเรียนเพิ่ม
เพื่อประเมินปรับค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมให้สูงขึ้น ให้สถาบันดำเนินการให้ศึกษาเพิ่มภายในเวลาที่เห็นสมควร
การนับจำนวนหน่วยกิตสะสมในกรณีนี้
ให้นับหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียนทุกรายวิชา
ข้อ ๕๕ ให้สถาบันพิจารณาเกณฑ์การพ้นสภาพเนื่องจากผลการศึกษาของนักศึกษาตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อนักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๒ ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า
๔๐ หน่วยกิตและได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า
๑.๗๕ ให้สถาบันพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือพ้นสภาพนักศึกษา
(๒) เมื่อนักศึกษาได้ลงทะเบียนรายวิชาครบ ๔ ภาคเรียน หรือไม่น้อยกว่า
๗๒ หน่วยกิตและได้รับการประเมินใหม่แล้ว หากได้ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า
๑.๙๐ ให้สถาบันพิจารณาว่าควรให้เรียนต่อไปหรือให้พ้นสภาพนักศึกษา
ส่วนที่ ๔
การเทียบโอนผลการศึกษา
ข้อ ๕๖ การโอนผลการศึกษา
ให้สถาบันที่รับนักศึกษาเข้าศึกษารับโอนผลการศึกษาทุกรายวิชา
ที่ได้รับความเห็นชอบจากสถาบัน
ข้อ ๕๗ สถาบันจะรับโอนผลการศึกษารายวิชาจากหลักสูตรอื่นซึ่ง
ก.พ. รับรองคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
หรือจากหลักสูตรอื่นใดที่มีรายวิชาลักษณะเดียวกัน
แต่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นของสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันกำหนดดังนี้
(๑) เป็นรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๗๕
และมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรที่ใช้ระเบียบนี้
(๒) รายวิชาที่ได้ระดับผลการศึกษาตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
สถาบันจะรับโอนผลการศึกษาหรือจะทำการประเมินใหม่แล้วจึงรับโอนรายวิชานั้นก็ได้
(๓) การขอโอนผลการศึกษาและหน่วยกิต สถาบันจะรับโอนได้ไม่เกิน ๓ ใน ๔
ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอน
(๔) รายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่รับโอนผลการศึกษา
ต้องนำมาคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมด้วย
ข้อ ๕๘ การบันทึกผลการศึกษาตามข้อ
๕๖ ข้อ ๕๗ ลงในใบแสดงผลการศึกษา ให้ใช้รหัสวิชาและชื่อรายวิชาตามหลักสูตร
โดยแสดงหมายเหตุว่าเป็นรายวิชาที่รับโอนมาจากหลักสูตรอื่นหรือจากการเทียบรายวิชารหัสวิชาใด
ยกเว้นมีข้อกำหนดเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ
ข้อ ๕๙ สถาบันจะอนุญาตให้นักศึกษาไปศึกษารายวิชาบางรายวิชาจากสถาบันแห่งอื่นในกรณีที่สถาบันไม่สามารถเปิดทำการสอนในรายวิชานั้นได้
โดยสถาบันพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตรตามที่เห็นสมควร
และให้สถาบันทั้งสองแห่งทำความตกลงร่วมกันในการจัดสอนและรับโอนผลการศึกษา
ข้อ ๖๐ ในกรณีสถาบันอนุญาตให้นักศึกษาไปศึกษาจากสถาบันแห่งอื่นตามข้อ
๕๙ ให้สถาบันพิจารณารับโอนผลการศึกษาตามที่ได้รับการประเมินจากสถาบันที่นักศึกษาไปศึกษาและบันทึกผลการศึกษาลงในใบแสดงผลการศึกษา
ให้ใช้รหัสวิชา
และชื่อรายวิชาของหลักสูตรของสถาบันโดยระบุว่ารับโอนจากสถาบันแห่งอื่น
ยกเว้นมีข้อกำหนดเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ
ข้อ ๖๑ นักศึกษาที่มีประสบการณ์ในงานอาชีพ
หรือฝึกงานในสถานประกอบการ หรือทำงานในอาชีพนั้นอยู่แล้ว
หรือมีความรู้ในรายวิชาตามหลักสูตรนี้มาก่อนเข้าศึกษาหรือเข้าศึกษาแล้ว
แต่ขอไปศึกษาหรือฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
จะขอเทียบโอนความรู้และประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการเพื่อนับจำนวนหน่วยกิตสะสมสำหรับรายวิชานั้นได้
ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
ถ้าผลการประเมินไม่ผ่าน
นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนปกติในภาคเรียนนั้นหรือขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ในภาคเรียนต่อไปได้
ข้อ ๖๒ นักศึกษาที่สถาบันให้พ้นสภาพนักศึกษาตามข้อ
๕๕ แล้วสอบเข้าศึกษาใหม่ในสถาบันเดิมหรือสถาบันแห่งใหม่ได้
ให้สถาบันรับโอนผลการศึกษาเฉพาะรายวิชาที่ยังปรากฏอยู่ในหลักสูตรนี้
และได้ระดับผลการศึกษาตั้งแต่ ๒.๐ ขึ้นไป
ข้อ ๖๓ นักศึกษาที่ขอโอนผลการศึกษารายวิชาตามข้อ
๕๗ หรือขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในสถาบันนั้นไม่น้อยกว่า ๑ ภาคเรียน
หมวด ๔
การขอสำเร็จการศึกษาและการรับปริญญา
ส่วนที่ ๑
การขอสำเร็จการศึกษาและการขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต
ข้อ ๖๔ นักศึกษาที่มีสิทธิขอสำเร็จการศึกษา
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) ศึกษารายวิชาได้ครบตามหลักสูตร และข้อกำหนดของสาขานั้น ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๔
ปีการศึกษาสำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา หรือไม่เกิน ๖ ปีการศึกษา
สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา นับตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
โดยไม่นับภาคเรียนที่ลาพักการเรียน หรือถูกสั่งพักการเรียนรวมเข้าด้วย
(๒) มีหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่าที่หลักสูตรกำหนดไว้
และผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
(๓) มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นบัณฑิต
และไม่มีหนี้สินผูกพันต่อสถาบัน
(๔)
ต้องยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษาในภาคเรียนที่นักศึกษาคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา ภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียนนั้น ตามประกาศของสถาบัน
(๕) นักศึกษาที่ไม่ดำเนินการตามข้อ (๔)
จะไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาในแต่ละภาคเรียนนั้น
และจะต้องชำระค่ารักษาสภาพการเป็นนักศึกษาจนถึงภาคเรียนที่นักศึกษายื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษา
ข้อ ๖๕ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาต้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต
โดยยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนบัณฑิต พร้อมชำระเงินค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต
ตามขั้นตอนที่สถาบันกำหนด
ข้อ ๖๖ การเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
ส่วนที่ ๒
ปริญญาเกียรตินิยม
ข้อ ๖๗ สภาสถาบันโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาอาจออกข้อบังคับกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองได้ภายใต้แนวทางดังนี้
ลงทะเบียนรายวิชาในสถาบันไม่ต่ำกว่า ๗๒ หน่วยกิต
(๑) สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด ทั้งนี้
ไม่นับระยะเวลาที่นักศึกษาขอลาพักการศึกษาตามระเบียบนี้
(๒) ต้องไม่มีผลการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าพอใช้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง
(๓) นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (๑) และ (๒)
ที่มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๗๕ ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
(๔) นักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม (๑) และ (๒)
ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๓.๕๐
ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสอง
(๕) การเสนอชื่อรับปริญญาเกียรตินิยม ให้สถาบันนำเสนอต่อสภาสถาบันในคราวเดียวกันกับที่เสนอขออนุมัติปริญญาประจำภาคเรียนนั้น
ข้อ ๖๘ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้
หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่จะพิจารณาวินิจฉัยและให้ถือเป็นที่สุด
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๔ ธันวาคม
๒๕๕๖
อังศุมาลี/ผู้ตรวจ
๒๔ ธันวาคม
๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๑๘/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ |
715553 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/12/2555)
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนโรงเรียนเอกชน
เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนเป็นรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑
และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จึงได้ลงมติเห็นชอบกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓[๒] การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
โรงเรียน หมายความว่า โรงเรียนเอกชนในระบบ
โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาและโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ
และให้รวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน หมายความว่า ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล หมายความว่า
เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๕
การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก ตามอัตราแนบท้ายระเบียบ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียนตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาต
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับ
ง.
ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓)
นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง
ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสาร แล้วแต่กรณี
ข.
เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า ๑๕
วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค.
เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓
ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษาในภาคเรียนแรก
ง.
กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ
หรือเอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๖
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๕ (๓) พร้อมสำเนาเอกสารจำนวน ๒ ชุด หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงานส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับการอุดหนุน ดังต่อไปนี้
ก.
แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๑) แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู (อน. ๒)
พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียน (อน. ๓) เพื่อขอรับการอุดหนุน โดยให้สำรวจ ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของทุกปี
ข.
แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน กรณีที่โรงเรียนขอรับ เงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค.
สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม
การศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง.
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๗
วิธีการขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลโดยแยกประเภทเงินอุดหนุน
พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
โดยให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
ข้อ ๘
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น เพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๙
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๔) ประจำเดือนจำนวน ๒ ชุด
ให้โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
กรณีโรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา (อน. ๕)
ข.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน ของเดือนที่ผ่านมา (อน.
๖)
ค.
บัญชีการจ่ายเงินเดือนครูและการหักเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ที่เรียงตามระดับการศึกษา
สำหรับกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ ชุด ส่วนจังหวัดอื่น จำนวน ๔ ชุด
นำไปประทับตราที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมแบบ วส.๐๐๐๑
หรือตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒)
โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓ ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน
สำหรับกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐
ของเดือน เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีจากสำนักงาน
ข้อ ๑๑
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี
(๓)
ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคล ภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลจากกรมบัญชีกลางและวันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๒
เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
การรับนักเรียนเข้าเรียน
โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้
กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์
โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
ในกรณีที่โรงเรียนไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔)
ในกรณีที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา
ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๕)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ
และต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับ
ไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และนำเงินที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและครุภัณฑ์
พัฒนาอาคารสถานที่และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๖)
โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
(๗)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือน
และเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (E- Document)
(๘)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๙)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน
โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๐)
เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน
โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือน
(๑๑)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคม
และในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๒)
กรณีที่มีนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน
ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
ข้อ ๑๓
การกำกับดูแลให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีที่ตรวจพบว่า
โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปีของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์
นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
(๓)
เมื่อปรากฏว่า
โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้โดยทุจริต
ให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม (๒) และอาจดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
หากโรงเรียนไม่ชดใช้เงินอุดหนุนที่เบิกโดยผิดพลาด โดยไม่มีสิทธิ
หรือโดยทุจริต ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระเงินคืน
ให้ผู้อนุญาตชะลอการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้ก่อนจนกว่าโรงเรียนจะมาชำระหนี้ให้แล้วเสร็จภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑) ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ให้ชำระเงินคืนทันทีในงวดเดียว
(๒) ถ้าจำนวนเงินที่แจ้งให้ชำระเงินคืนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป
ให้ชำระเงินคืนภายใน ๑ ปี โดยโรงเรียนต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร[๓]
ข้อ ๑๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒[๔]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๕]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔[๖]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕[๗]
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒
ณัฐพร/ผู้จัดทำ
๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๓] ข้อ ๑๓ วรรคสอง
เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๕๓
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๙๑ ง/หน้า ๓/๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
633673 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พ.ศ. 2553
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้
ในสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตร
การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่ได้มีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรนี้ได้ใช้ในสถานศึกษาในสังกัด
และในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ซึ่งการจัดการเรียนการสอนมีความจำเป็นต้องใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ
ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตรงตามมาตรฐานของหลักสูตร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
กระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษาในสังกัด
และในกำกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
หนังสือเรียน หมายถึง
เอกสารที่จัดเป็นรูปเล่มใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง
อาจจะมีลักษณะเป็นหนังสือเล่มเดียวตามสาระการเรียนรู้ หรือรายวิชาใด หรือเป็นชุดคือมีหลายเล่มในชุดเดียวกันก็ได้
และอาจจะมีแบบฝึกหัดประกอบ
สำหรับให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติหรืออาจจะมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น แบบเรียน
ตำราเรียน คู่มือเรียน เป็นต้น
สถานศึกษา หมายถึง
สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เอกชน หมายถึง
ผู้ที่มีความประสงค์จะจัดทำหรือผลิตหนังสือเรียน
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ข้อ
๔ ให้มีการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนของเอกชนที่ใช้ในสถานศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
โดยให้มีการตรวจคุณภาพหนังสือเรียนที่เอกชนขออนุญาตใช้ในสถานศึกษา
ตามประกาศของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ข้อ
๕ ให้เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคุณภาพหนังสือเรียน
ข้อ
๖ ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
ดำเนินการตรวจคุณภาพหนังสือเรียน
ตามแนวปฏิบัติที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ
๗ คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจคุณภาพหนังสือเรียนเล่มใด
จะต้องตรวจด้วยตนเอง ต้องรับผิดชอบในการตรวจนั้น ๆ
โดยตลอดและจะต้องบันทึกผลการตรวจตามข้อ ๖ เสนอต่อสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พร้อมกับคืนต้นฉบับ
ข้อ
๘ ให้เอกชนปฏิบัติตามประกาศของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามข้อ ๔ และจะต้องชำระค่าตรวจให้แก่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้อ
๙ ค่าตอบแทนที่จะต้องจ่ายให้แก่ผู้ตรวจ
ให้จ่ายได้ไม่เกินอัตราที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
ข้อ
๑๐ หนังสือเรียนที่ผ่านการตรวจแล้วให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
อนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษาได้
ข้อ
๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ปณตภร/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑/๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ |
648578 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน
เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๔) และ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับการเสนอความเห็นของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน
(๑) ของข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ตามอัตราที่สำนักงานกำหนด
ทั้งนี้
ต้องไม่เกินความจุนักเรียนที่ได้รับอนุญาต หรือที่กำหนดไว้ในตราสาร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ
๘ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๘ วิธีการจ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริงในปีการศึกษาที่ขอเบิกจ่ายจริง
ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) การจ่ายเงินอุดหนุน ให้เบิกจ่ายตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง ณ
วันที่ ๑๐ มิถุนายน ของปีการศึกษาที่ขอเบิก ซึ่งต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
กรณีที่มีนักเรียนหรือผู้ปกครองสละสิทธิ์ การรับเงินอุดหนุน
อุปกรณ์การเรียนหรือเครื่องแบบนักเรียน
ให้แนบหลักฐานการสละสิทธิ์ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
พร้อมปรับลดจำนวนนักเรียนที่สละสิทธิ์ออกจากจำนวนนักเรียนที่ขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
แล้วแต่กรณี
(๒) ให้โรงเรียนยื่นคำขอรับเงินอุดหนุนพร้อมหลักฐานตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓) ในกรณีที่จำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริงน้อยกว่าจำนวนนักเรียน ณ
วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีที่ขอเบิกจริง
โรงเรียนต้องคืนเงินส่วนที่เกินแก่สำนักงานหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากมีจำนวนนักเรียนมากกว่าให้ขอเบิกเพิ่มตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง
สำหรับการขอเบิกเงินอุดหนุนภาคเรียนที่ ๒ ในรายการอุปกรณ์การเรียน
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของทุกระดับ
และรายการหนังสือเรียนเฉพาะในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ให้โรงเรียนขอเบิกตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง
ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน โดยโรงเรียนต้องยื่นคำขอภายในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน
ของปีการศึกษานั้น
ข้อ ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง ของข้อ ๙
แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
สำหรับการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายการค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ที่เบิกจ่ายในภาคเรียนที่ ๒
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบคำขอและสรุปยอดเงินอุดหนุนที่ต้องขอเบิกและจัดส่งให้สำนักงานภายในวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ของทุกปี
ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ
๑๐ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
สำหรับการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในภาคเรียนที่ ๒
ให้สำนักงานตรวจสอบและรวบรวมคำขอของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
และตรวจสอบแบบสรุปยอดเงินอุดหนุนที่ได้รับจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วสรุปเพื่อขออนุมัติเบิกจ่ายต่อไป
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกตารางอัตราแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๓/๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
627115 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหมดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้สอดคล้องกับรายละเอียดงบประมาณรายจ่าย งบเงินอุดหนุน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๒ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในการประชุมครั้งที่
๘/๒๕๕๒ วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ดังนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ
๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ใช้อัตราแนบท้ายระเบียบนี้
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกตารางอัตราแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ แทน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/พิมพ์
๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๓ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๕๓ |
685237 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ณ วันที่ 12/10/2554) (ฉบับที่ 3)
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนโรงเรียนเอกชน
เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนเป็นรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑
และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จึงได้ลงมติเห็นชอบกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓[๒] การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล
ให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔
เป็นต้นไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
โรงเรียน หมายความว่า โรงเรียนเอกชนในระบบ
โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาและโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ
และให้รวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน หมายความว่า ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล หมายความว่า
เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๕
การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก ตามอัตราแนบท้ายระเบียบ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียนตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาต
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับ
ง.
ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓)
นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง
ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสาร แล้วแต่กรณี
ข.
เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า ๑๕
วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค.
เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓
ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษาในภาคเรียนแรก
ง.
กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ
หรือเอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๖
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๕ (๓) พร้อมสำเนาเอกสารจำนวน ๒ ชุด หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงานส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับการอุดหนุน ดังต่อไปนี้
ก.
แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๑) แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู (อน. ๒)
พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียน (อน. ๓) เพื่อขอรับการอุดหนุน โดยให้สำรวจ ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของทุกปี
ข.
แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน กรณีที่โรงเรียนขอรับ เงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค.
สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม
การศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง.
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๗
วิธีการขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลโดยแยกประเภทเงินอุดหนุน
พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
โดยให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
ข้อ ๘
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น เพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๙
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๔) ประจำเดือนจำนวน ๒ ชุด
ให้โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
กรณีโรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา (อน. ๕)
ข.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน ของเดือนที่ผ่านมา (อน.
๖)
ค.
บัญชีการจ่ายเงินเดือนครูและการหักเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ที่เรียงตามระดับการศึกษา
สำหรับกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ ชุด ส่วนจังหวัดอื่น จำนวน ๔ ชุด
นำไปประทับตราที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมแบบ วส.๐๐๐๑
หรือตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒)
โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓ ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน
สำหรับกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐
ของเดือน เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีจากสำนักงาน
ข้อ ๑๑
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี
(๓)
ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคล ภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
ภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลจากกรมบัญชีกลางและวันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๒
เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
การรับนักเรียนเข้าเรียน
โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้
กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์
โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
ในกรณีที่โรงเรียนไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔)
ในกรณีที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา
ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๕)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ
และต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับ
ไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และนำเงินที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและครุภัณฑ์
พัฒนาอาคารสถานที่และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๖)
โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
(๗)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือน
และเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (E- Document)
(๘)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๙)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน
โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๐)
เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน
โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือน
(๑๑)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคม
และในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๒)
กรณีที่มีนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน
ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
ข้อ ๑๓
การกำกับดูแลให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีที่ตรวจพบว่า
โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปีของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์
นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
(๓)
เมื่อปรากฏว่า
โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้โดยทุจริต
ให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม (๒) และอาจดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
ข้อ ๑๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒[๓]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๔]
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔[๕]
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒
ณัฐพร/ผู้ปรับปรุง
๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๓]
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๕๓
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
629888 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.
๒๕๕๓[๑]
โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เหมาะสม และเป็นการให้โอกาสแก่นักเรียนที่ศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้เข้าถึงการศึกษาและสอดคล้องกับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
ที่ต้องคำนึงถึงความจำเป็นเป็นสำคัญ และหากมีความพร้อมที่ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษา
มีอาคารสถานที่ มีครูที่มีความรู้ และได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรจากส่วนราชการ การขยายชั้นเรียนก็จะเป็นการส่งเสริมการศึกษาแก่นักเรียนให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น
จึงเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ด่วนมาก ที่ นร ๐๕๐๔/๑๖๖๑๐ ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ ๒
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
การขยายชั้นเรียน หมายความว่า
การขยายชั้นเรียนในระดับที่ต่างจากระดับที่มีการจัดการศึกษาอยู่เดิม ได้แก่
(๑) การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา
(๒) การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(๓) การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พื้นที่พิเศษ หมายความว่า
พื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ ได้แก่
(๑) พื้นที่กันดาร ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวก ขาดสาธารณูปโภคปัจจัยพื้นฐาน
(๒) พื้นที่เสี่ยงภัย เช่น ตะเข็บชายแดน ชายขอบ โรคติดต่อชุกชุม
เป็นต้น
(๓) พื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น พื้นที่สูงที่ไม่มีถนนติดต่อกับภายนอก
พื้นที่ที่เป็นเกาะ เป็นต้น
(๔) พื้นที่พิเศษตามประกาศของกระทรวงการคลัง สำนักงานในพื้นที่พิเศษ
คุณภาพการศึกษา หมายความว่า
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด
๑
การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
ข้อ ๕
การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม
ข้อ ๖
การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากเหตุผลความจำเป็นที่ปรากฏ
พร้อมเอกสารประกอบ หรือ เป็นพื้นที่พิเศษเป็นสำคัญเป็นอันดับแรกก่อน หากมีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษจึงให้พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง
ๆ ดังนี้
(๑) สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๒) ต้องไม่มีสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในระยะห่างไม่น้อยกว่า
๑๐ กิโลเมตร ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงระยะห่างของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาที่ติดต่อกันด้วย
เว้นแต่สถานศึกษาที่จัดอยู่แล้วนั้น รับนักเรียนเต็มรูปตามแผนการจัดชั้นเรียนแล้ว
(๓) สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ
และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
(๔) สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่
๑ ไม่น้อยกว่า ๒๕ คน
(๕) สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงาน
ที่รับผิดชอบ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
(๖) สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ
พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร
เมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่า
มีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษ และครบองค์ประกอบตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖)
ให้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนการขยายชั้นเรียน
หรือเมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษ
แต่ไม่ครบองค์ประกอบตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) และเห็นควรให้สถานศึกษาใดขยายชั้นเรียนแล้ว
ให้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมเหตุผล เพื่อนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนขยายชั้นเรียน
ข้อ ๗
การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากเหตุผลความจำเป็นที่ปรากฏ
พร้อมเอกสารประกอบ หรือเป็นพื้นที่พิเศษเป็นสำคัญเป็นอันดับแรกก่อน หากมีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษจึงให้พิจารณาจากองค์ประกอบต่าง
ๆ ดังนี้
(๑) สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับดี
(๒) ต้องไม่มีสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระยะห่างไม่น้อยกว่า
๑๐ กิโลเมตร ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงระยะห่างของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาที่ติดต่อกันด้วย
เว้นแต่สถานศึกษาที่จัดอยู่แล้วนั้นรับนักเรียนเต็มรูปตามแผนการจัดชั้นเรียนแล้ว
(๓) สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ
และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้
ให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและอยู่ในสภาพใช้การได้ดี
มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
(๔) สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่
๔ ไม่น้อยกว่า ๒๕ คน
(๕) เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ
ในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียน
(๖) สถานศึกษาต้องมีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ไม่น้อยกว่า ๕ ห้องเรียน
(๗) สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิตรงตามวิชาเอกในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า ๑ คน ต่อกลุ่มสาระวิชา และมีความรู้
ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
และมีครูเพียงพอทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
(๘) สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ
พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร
เมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามวรรคหนึ่งและเห็นว่า
มีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษและครบองค์ประกอบตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗)
และ (๘) ให้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนขยายชั้นเรียน
หรือเมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษ
แต่ไม่ครบองค์ประกอบตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) และเห็นควร ให้สถานศึกษาใดขยายชั้นเรียนแล้ว
ให้เสนอเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพร้อมเหตุผล เพื่อนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนการขยายชั้นเรียน
หมวด
๒
การดำเนินการขยายชั้นเรียน
ข้อ ๘
การขอขยายชั้นเรียน ให้สถานศึกษาปฏิบัติ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนขยายชั้นเรียนเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้ความเห็นชอบ
(๒) เสนอเรื่องเพื่อขอขยายชั้นเรียนพร้อมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง
ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก่อนเปิดภาคเรียนที่หนึ่งของปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า
๑ ปีการศึกษา
ข้อ ๙
การพิจารณาขยายชั้นเรียนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติ ดังนี้
(๑) ตรวจสอบข้อมูลเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความพร้อมในการขยายชั้นเรียน
(๒) เสนอข้อมูลและความเห็นต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อพิจารณาตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๑ และหมวด ๒
(๓) การดำเนินการตาม (๑) และ (๒) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน
๔๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
(๔) กรณีอนุญาตตามข้อ ๕ ให้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาให้สถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทราบ
และกรณีตามข้อ ๖ และข้อ ๗ ให้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพิจารณา
และเมื่อมีการอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนแล้ว ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำประกาศการขยายชั้นเรียน
และให้จัดระบบส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษา สามารถพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้มีประสิทธิภาพพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ข้อ ๑๐
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารายงานการขยายชั้นเรียน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อทราบและให้การสนับสนุน
ข้อ ๑๑
การขยายชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาที่ไม่มีความพร้อมตามหมวด ๑ แต่มีความจำเป็นหรือเป็นพื้นที่พิเศษที่ต้องขยายชั้นเรียน
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษา ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถเตรียมความพร้อมให้สถานศึกษาได้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการตามหมวด
๑
ข้อ ๑๒
ในกรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพิจารณาสั่งการ
ข้อ ๑๓
การขอขยายชั้นเรียนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และยังไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าเป็นการขอขยายชั้นเรียนตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔
มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๑๔
มิถุนายน ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๗/๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ |
685233 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ณ วันที่ 09/04/2553) (ฉบับที่ 2)
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนโรงเรียนเอกชน
เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนเป็นรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑
และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จึงได้ลงมติเห็นชอบกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓[๒] การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล
ให้ใช้อัตราแนบท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
โรงเรียน หมายความว่า โรงเรียนเอกชนในระบบ
โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต
โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล
โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาและโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ
และให้รวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน หมายความว่า
ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต หมายความว่า
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล หมายความว่า
เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หมายความว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๕
การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก ตามอัตราแนบท้ายระเบียบ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียนตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาต
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับ
ง.
ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓)
นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง
ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสาร แล้วแต่กรณี
ข.
เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า ๑๕
วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค.
เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล
สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓
ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษาในภาคเรียนแรก
ง.
กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ
หรือเอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๖
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๕ (๓) พร้อมสำเนาเอกสารจำนวน ๒ ชุด หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงานส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับการอุดหนุน ดังต่อไปนี้
ก.
แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๑) แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู (อน. ๒)
พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียน (อน. ๓) เพื่อขอรับการอุดหนุน โดยให้สำรวจ ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของทุกปี
ข.
แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน กรณีที่โรงเรียนขอรับ
เงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค.
สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม
การศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง.
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร
ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล งบรายได้และค่าใช้จ่าย
งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๗
วิธีการขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลโดยแยกประเภทเงินอุดหนุน
พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
โดยให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
ข้อ ๘
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓)
พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน
หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น เพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๙
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๔) ประจำเดือนจำนวน ๒ ชุด
ให้โรงเรียนเก็บไว้ ๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล กรณีโรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา
(อน. ๕)
ข.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน ของเดือนที่ผ่านมา (อน.
๖)
ค.
บัญชีการจ่ายเงินเดือนครูและการหักเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ที่เรียงตามระดับการศึกษา
สำหรับกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ ชุด ส่วนจังหวัดอื่น จำนวน ๔ ชุด
นำไปประทับตราที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมแบบ วส.๐๐๐๑
หรือตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒)
โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓ ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน
สำหรับกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐
ของเดือน เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีจากสำนักงาน
ข้อ ๑๑
วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ
จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย
และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี
(๓)
ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคล ภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน
เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ภายใน ๕ วันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลจากกรมบัญชีกลางและวันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๒
เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้ มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
การรับนักเรียนเข้าเรียน
โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้
กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์
โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
ในกรณีที่โรงเรียนไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔)
ในกรณีที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา
ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๕)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ
และต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับ
ไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
และนำเงินที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและครุภัณฑ์
พัฒนาอาคารสถานที่และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๖)
โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
(๗)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือน
และเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (E- Document)
(๘)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๙)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน
โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๐)
เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน
โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือน
(๑๑)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคม
และในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๒)
กรณีที่มีนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน
ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
ข้อ ๑๓
การกำกับดูแลให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีที่ตรวจพบว่า
โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปีของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
(๓)
เมื่อปรากฏว่า
โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้โดยทุจริต
ให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม (๒)
และอาจดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
ข้อ ๑๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒[๓]
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๔]
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒
ณัฐพร/ผู้ปรับปรุง
๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒
[๒] ข้อ ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๓]
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคล แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔๖ ง/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๕๓ |
648580 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน
เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๔) และ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อความใน
(๒) ของข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการระดับก่อนประถมศึกษา
(ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓) ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข. เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้นเรียนหรือบางระดับชั้นเรียนเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราที่สำนักงานกำหนด
ค.
ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่านักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุน
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกข้อความใน
(๓) ของข้อ ๕ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๓) ให้ประมาณการเงินอุดหนุนที่ขอเบิกในอัตราร้อยละ
๘๐ ในชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ ๑ ของจำนวนนักเรียน ณ
วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ยื่นคำขอ สำหรับชั้นอื่น ๆ จัดสรรให้ร้อยละ ๑๐๐
ของจำนวนนักเรียนในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอ
โดยคำนวณเงินอุดหนุนตามอัตราที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๕ ให้ยกเลิกข้อความใน (๑) ของข้อ ๙
แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๑) ตรวจสอบและเปรียบเทียบคำขอเบิกจ่ายตามข้อ ๕
และข้อ ๘ หากโรงเรียนเบิกเกินให้ส่งคืนเงินอุดหนุน
และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเบิกจ่ายให้กับโรงเรียนที่ขอเบิกเพิ่มตามอัตราที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๖ ให้ยกเลิกข้อความใน
(๓) ของข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
(๓) ในกรณีที่มีเงินอุดหนุนในรายการใดเหลือจ่าย
ให้โรงเรียนนำเงินอุดหนุนที่เหลือจ่ายไปสมทบเพื่อดำเนินการในรายการที่มีเงินอุดหนุนไม่เพียงพอได้
แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราที่สำนักงานกำหนดแต่ละรายการที่ต้องดำเนินการเบิก
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย
ข้อ ๗ ให้ยกเลิกข้อความในวรรคแรกของข้อ
๑๓
แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๓ สำหรับในวาระเริ่มแรกในปีการศึกษา ๒๕๕๒
ให้สำนักงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามจำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑
ในอัตราเงินอุดหนุนของแต่ละระดับ ยกเว้นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
ให้ถัวเฉลี่ยในระดับชั้นเรียนที่คำนวณจากอัตราที่สำนักงานกำหนด
สำหรับโรงเรียนที่ไม่เคยรับเงินอุดหนุนให้ดำเนินการตามข้อ ๑๑ (๒)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔๔ ง/หน้า ๑๕/๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ |
610673 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยลักษณะสถานศึกษาในกำกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ลักษณะสถานศึกษาในกำกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
กระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยลักษณะสถานศึกษาในกำกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๑
(๒)
ระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียนว่าด้วยการดำเนินงานโรงเรียนผู้ใหญ่ พ.ศ. ๒๕๓๔
บรรดาระเบียบคำสั่ง
หรือข้อบังคับอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
สถานศึกษา หมายความว่า
ภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ซึ่งได้ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษาตามระเบียบนี้
การศึกษาพื้นฐาน หมายความว่า
การศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ
การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อเทียบเท่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาต่อเนื่อง หมายความว่า
การจัดการศึกษาที่เป็นหลักสูตรเฉพาะ
หรือหลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ
ทักษะชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมและชุมชน
ข้อ ๕
สถานศึกษาที่เป็นภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามระเบียบนี้
อาจจัดการศึกษาในรูปแบบ ดังต่อไปนี้
(๑) การจัดการศึกษาพื้นฐาน
(๒) การจัดการศึกษาต่อเนื่อง
(๓) การจัดการศึกษาในรูปแบบอื่นที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
การดำเนินงานและการจัดการศึกษาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประกาศกำหนด
ข้อ ๖
หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถาบันศาสนา โรงเรียน มูลนิธิหรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษา
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพหรือองค์กรอื่น ๆ
อาจจัดตั้งสถานศึกษาโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(๑) เป็นสถานที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้
(๒) มีความพร้อมด้านบุคลากร สื่อ วัสดุ อุปกรณ์
และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการเรียนรู้
(๓) มีจำนวนผู้เรียนพอสมควร
ข้อ ๗
การขออนุญาตจัดตั้งสถานศึกษาให้ยื่นต่อเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
โดยผ่านสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘
การจัดตั้ง ยุบเลิก สถานศึกษา
ให้เป็นตามที่เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประกาศกำหนด
ข้อ ๙
ในสถานศึกษาให้มีหัวหน้าสถานศึกษาคนหนึ่ง
มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ คำสั่งที่กำหนด
ข้อ ๑๐
ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา
จำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน
โดยให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์
และวิธีการได้มาของประธานกรรมการและกรรมการสถานศึกษาวาระการดำรงตำแหน่ง
และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามที่เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประกาศกำหนด
คณะกรรมการสถานศึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ
เห็นชอบแผนการจัดการศึกษา และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
ข้อ ๑๑
สถานศึกษาอาจได้รับการสนับสนุนสื่อ
การพัฒนาวิชาการ การพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
สถานศึกษาอาจได้รับเงินสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกำหนด
ข้อ ๑๒
สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคให้อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
และสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้อยู่ในการกำกับดูแล
ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๑๓
ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับวิธีการประกันคุณภาพภายในตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งออกตามความในมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๑๔
การดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตร
วิธีการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลและหลักฐานทางการศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหรือคำสั่งว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๑๕
ให้ถือว่าโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส
โรงเรียนผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ (วิทยาลัยในวังชาย)
และโรงเรียนผู้ใหญ่พระตำหนักสวนกุหลาบ (วิทยาลัยในวังหญิง)
ซึ่งเป็นสถานศึกษาอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เป็นสถานศึกษาตามระเบียบนี้
ข้อ ๑๖
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือดำเนินการตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง
เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐
สิงหาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๑/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
656217 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๔[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีและนโยบายรัฐบาลในการปรับเพิ่มเงินเดือนครูโรงเรียนเอกชนในอัตราร้อยละ
๕
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๒/๑๐๐๘๓ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔
ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตามมาตรา ๑๓ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๔ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ
๓ ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล
ให้ใช้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔
เป็นต้นไป
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓
และให้ใช้ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบนี้แทน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ชินวรณ์
บุณยเกียรติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ |
610284 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์สื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2552
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์สื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
พ.ศ.
๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์และค่าประทับตราหนังสือ
หรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน พ.ศ. ๒๕๒๗
ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์สื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์และค่าประทับตราหนังสือหรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน
พ.ศ. ๒๕๒๗
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
หลักสูตร หมายความว่า
หลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ
สื่อการเรียนรู้ หมายความว่า
แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สิ่งพิมพ์อื่น
ๆ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น
ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้ตามหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
ของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนราชการ หมายความว่า
ส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ ที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายให้ จัดทำหลักสูตร
หรือสื่อการเรียนรู้ สำหรับหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
ลิขสิทธิ์ หมายความว่า
สิทธิ์แต่ผู้เดียวของส่วนราชการที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับ
สื่อการเรียนรู้ที่เป็นของส่วนราชการ
ค่าลิขสิทธิ์ หมายความว่า
เงินหรือประโยชน์อื่นใด
ที่ส่วนราชการได้รับหรือเรียกเก็บหรือที่อนุญาตให้เรียกเก็บจากผู้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์จำหน่ายหรือแจกจ่ายสื่อการเรียนรู้
อันเป็นลิขสิทธิ์ของส่วนราชการ
ข้อ ๕
การอนุญาตให้ผลิต
หรือจัดพิมพ์จำหน่าย หรือแจกจ่ายสื่อการเรียนรู้ อันเป็นลิขสิทธิ์ของส่วนราชการ
ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ ๖
ในกรณีที่เป็นต้นฉบับของส่วนราชการจัดทำ
ให้ผู้ได้รับอนุญาตจัดจำหน่ายหรือแจกจ่ายสื่อการเรียนรู้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำสัญญากับส่วนราชการที่เป็นเจ้าของต้นฉบับตามแบบที่ส่วนราชการกำหนด
(๒)
ชำระค่าลิขสิทธิ์ให้แก่ส่วนราชการตามอัตราที่กำหนด
เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้ ยกเว้น (๑)
หรือ (๒) จากหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นกรณีไป
ข้อ ๗
ค่าลิขสิทธ์ที่ส่วนราชการได้รับไว้ตามข้อ
๖ (๒) ให้เป็นของส่วนราชการ นั้น
ข้อ ๘
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา
อันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑๙/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
572231 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการ
เห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม
สนับสนุน เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
ประกอบมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐ เรื่อง
รับโอนศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด จังหวัดสตูล อำเภอจะนะ อำเภอเทพา
อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา
มาเป็นศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
กระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
(ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๓
ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
ศูนย์ หมายความว่า
ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
จังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายความว่า จังหวัดปัตตานี
จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา เฉพาะอำเภอจะนะ อำเภอเทพา
อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย
ผู้สอน หมายความว่า
ผู้ให้การอบรมหรือสอนในศูนย์
ผู้เรียน หมายความว่า
ผู้เข้ารับการอบรมหรือเรียนในศูนย์
สำนักงาน หมายความว่า สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วแต่กรณี
หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นายทะเบียน หมายความว่า
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
เขตตรวจราชการ หมายความว่า เขตตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ
เขตตรวจราชการที่ ๑๑ ประกอบด้วยจังหวัดสตูล อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี
และอำเภอสะบ้าย้อยของจังหวัดสงขลา เขตตรวจราชการที่ ๑๒ ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี
จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๙
ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับเขตตรวจราชการ
โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นที่ปรึกษา และมีกรรมการประกอบด้วย
(๑) ประธานศูนย์ประสานงานคณะกรรมการอิสลาม
ประจำเขตตรวจราชการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดละ ๑ คน
(๓) ประธานศูนย์ประสานงานชมรมตาดีกา
ประจำเขตตรวจราชการ จำนวน ๑ คน
(๔) ประธานชมรมตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดละ ๑ คน
(๕) ประธานชมรมอิหม่ามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จังหวัดละ ๑ คน
(๖) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เขตตรวจราชการละ ๑ คน
(๗)
ผู้แทนสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตตรวจราชการละ ๑ คน
(๘) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จังหวัดชายแดนภาคใต้
(๙) ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจประจำเขตตรวจราชการ
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๕
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๐
ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)
ในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๐ คณะกรรมการบริหารศูนย์ ระดับเขตตรวจราชการ
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดแนวทางการบริหารจัดการและติดตามประเมินผล
(๒) จัดทำหลักสูตรตาดีกาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(๓)
ให้คำแนะนำสนับสนุนส่งเสริมการสอนอิสลามศึกษาของศูนย์
ร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล
(๔) เสนอแนะการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อสำนักงาน
(๕) ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ ๖
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๒
ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดปัตตานี
ยะลา นราธิวาส พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ระดับจังหวัด
ประกอบด้วย
(๑)
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือผู้แทนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๓) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จำนวน ๑
คน
(๕) ผู้แทนชมรมตาดีการะดับจังหวัด จำนวน ๒ คน
(๖) ผู้แทนชมรมอิหม่ามระดับจังหวัด จำนวน ๒ คน
(๗) ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
(๘) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เขต ๑ ที่รับผิดชอบการศึกษาเอกชนเป็นกรรมการและเลขานุการ เว้นแต่จังหวัดสงขลา
ให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๓ ที่รับผิดชอบการศึกษาเอกชน
เป็นกรรมการและเลขานุการ
ให้บุคคลตามข้อ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) และ (๗)
เป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ชมรมอิหม่ามระดับจังหวัด
ชมรมตาดีการะดับจังหวัด แล้วแต่กรณี คัดเลือกผู้แทน ตามวรรคหนึ่ง (๔) (๕) และ (๖)
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๑/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ |
463666 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑]
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า โต๊ะครู และ
ผู้ช่วยโต๊ะครู ในข้อ ๓ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ.
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
โต๊ะครู หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
ผู้ช่วยโต๊ะครู หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะ
ข้อ ๔
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๔ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๔ โต๊ะครูเจ้าของปอเนาะใดประสงค์จะจดทะเบียนเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามแบบ
ป.น. ๑ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๕
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๒
กรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
ข้อ ๖
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๖ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๖ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์
ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำร้องขอจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ (แบบ ป.น. ๑)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๓๑
ตุลาคม ๒๕๔๘
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓๐/๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
610230 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจประเมินคุณภาพและการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2552
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการตรวจประเมินคุณภาพและการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
พ.ศ.
๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจและการพิจารณาหนังสือหรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน
พ.ศ. ๒๕๒๔
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจประเมินคุณภาพและการอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจและการพิจารณาหนังสือหรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน
พ.ศ. ๒๕๒๔
ข้อ ๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้
ข้อ ๕
ในระเบียบนี้
หลักสูตร หมายความว่า
หลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ
สื่อการเรียนรู้ หมายความว่า
แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ วัสดุ อุปกรณ์
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย ของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนราชการ หมายความว่า
ส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคล
และเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายให้จัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
ค่าตอบแทน หมายความว่า
จำนวนเงินที่ส่วนราชการจ่ายให้ในการตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้
ตามอัตราที่ได้รับการเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
คณะกรรมการ หมายความว่า
ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้
ข้อ ๖
ให้ใช้ระเบียบนี้ในการตรวจประเมินคุณภาพและการอนุญาตสื่อการเรียนรู้
หมวด
๑
การตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้
ข้อ ๗
สื่อการเรียนรู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาค่าตอบแทนในการตรวจประเมินคุณภาพ
ดังต่อไปนี้
(๑) สื่อการเรียนรู้ที่ส่วนราชการจัดทำ
หรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลจัดทำ หรือได้รับจากที่มีผู้มอบให้
(๒)
สื่อการเรียนรู้ที่ส่วนราชการจัดประกวดตามประกาศของส่วนราชการนั้น
(๓)
สื่อการเรียนรู้ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนขออนุญาตใช้ในสถานศึกษา
(๔)
สื่อการเรียนรู้ที่เอกชนขออนุญาตใช้ในสถานศึกษา
ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการ
ข้อ ๘
การตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมาย แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญในสาระการเรียนรู้เป็นคณะกรรมการ
เพื่อตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ตามที่เห็นสมควร
(๒) ให้ส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมาย
มอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเชี่ยวชาญในสาขาวิชา
เป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนด
ข้อ ๙
การตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ของคณะกรรมการตามข้อ
๘ (๑) หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายตามข้อ ๘ (๒) ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้เพียงขั้นใดขั้นหนึ่ง หรือทั้งสองขั้น ดังต่อไปนี้
การตรวจประเมินขั้นต้น
เป็นการตรวจโครงสร้างเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ แนวทางการนำเสนอเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อความถูกต้องตามหลักวิชา
ความสอดคล้องกับบทเรียนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรและการประเมินผล
ตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
การตรวจประเมินขั้นสุดท้าย เป็นการตรวจเนื้อหา
ภาพประกอบ อย่างละเอียด ทั้งในด้านความถูกต้องตามหลักวิชา สำนวนการใช้ภาษา
ความยากง่ายตามลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ รายละเอียดของการนำเสนอเนื้อหา
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ตามหลักการของหลักสูตรและสอดคล้องกับโครงสร้างเนื้อหา
ที่ผ่านการตรวจขั้นต้นแล้ว
(๒)
บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้ตามข้อ ๙ (๑)
จะต้องตรวจประเมินด้วยตนเอง ต้องรับผิดชอบในการตรวจประเมินนั้น ๆ โดยตลอด
และจะต้องบันทึกผลการตรวจ ฯ เสนอส่วนราชการ
พร้อมทั้งคืนต้นฉบับหรือต้นแบบสื่อการเรียนรู้
ข้อ ๑๐
ให้ผู้จัดทำสื่อการเรียนรู้รับผิดชอบดำเนินการ
การพิสูจน์อักษร การจัดเทคนิคทางการพิมพ์ และการจัดทำ โดยตรวจให้ถูกต้องตามต้นฉบับ
ต้นแบบ และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตลอดจนจัดเทคนิคการพิมพ์และการนำเสนอ เช่น
การจัดวรรคตอน ย่อหน้าขนาดตัวอักษร และแก้ไขข้อความที่เห็นว่า
จำเป็นจะต้องปรับปรุงให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
ข้อ ๑๑
ในกรณีสื่อการเรียนรู้ที่ส่วนราชการที่รับผิดชอบ
มอบหมายคณะบุคคลซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาระการเรียนรู้
เป็นผู้จัดทำในรูปคณะกรรมการ ซึ่งผ่านกระบวนการตรวจพิจารณาเป็นระยะ ๆ
ในระหว่างการจัดทำเรียบร้อยแล้ว
ส่วนราชการอาจพิจารณาอนุญาตให้ใช้สื่อการเรียนรู้โดยไม่ต้องตรวจประเมินคุณภาพก็ได้
ข้อ ๑๒
ให้ผู้ขออนุญาตตามข้อ ๗ (๔)
ปฏิบัติตามประกาศของส่วนราชการ และจะต้องชำระค่าตรวจประเมินคุณภาพให้แก่ส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับการตรวจประเมินขั้นต้นและหรือการตรวจประเมินขั้นสุดท้าย
ตามอัตราตามที่ส่วนราชการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๓
ค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ตรวจประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้
ให้ถือจ่ายไม่เกินอัตราตามที่ส่วนราชการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
หมวด
๒
การอนุญาตใช้สื่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา
ข้อ ๑๔
สื่อการเรียนรู้ที่ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพ
ตามข้อ ๙ แล้ว ส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย จะพิจารณาอนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษา
ข้อ ๑๕
ส่วนราชการจะพิจารณาอนุญาตให้ผู้ขออนุญาตตามข้อ
๗ (๓) และ ๗ (๔) ดำเนินการจัดพิมพ์หรือผลิตเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ได้ตามต้นฉบับหรือต้นแบบที่ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพแล้ว
และได้มีคำสั่งให้จัดพิมพ์หรือผลิตได้
โดยผู้ขออนุญาตต้องทำข้อตกลงตามที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษาต่อไป
ก่อนจำหน่าย
ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการตามวิธีการที่ส่วนราชการกำหนด
และให้สำเนาใบอนุญาตหรือการอื่นใดที่ให้พิมพ์หรือจัดทำ เผยแพร่คราวนั้น ๆ
พิมพ์ติดไว้ ณ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในสื่อการเรียนรู้นั้นด้วย และผู้ขออนุญาตต้องส่งสื่อการเรียนรู้ที่พิมพ์หรือผลิตตามต้นฉบับ
ที่ได้รับคำสั่งให้พิมพ์ หรือผลิต เผยแพร่ตามจำนวนหรือหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด
ข้อ ๑๖
ส่วนราชการอาจพิจารณายกเลิกการอนุญาตให้ใช้สื่อการเรียนรู้
เมื่อมีเหตุผลจำเป็นตามที่เห็นสมควรในกรณีต่อไปนี้
๑) ใบอนุญาตหมดอายุ
๒) ไม่จัดพิมพ์ตามต้นฉบับที่ได้รับอนุญาต
การยกเลิกการอนุญาตนี้
ผู้ได้รับอนุญาตจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ มิได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑๕/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610223 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการให้รางวัลหรือค่าตอบแทนผู้จัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2552 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการให้รางวัลหรือค่าตอบแทนผู้จัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
พ.ศ.
๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้รางวัลหรือค่าตอบแทน
ผู้จัดทำหลักสูตร หนังสือ หรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน พ.ศ. ๒๕๒๗
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบ
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้รางวัลหรือค่าตอบแทน
ผู้จัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.
๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้รางวัลหรือค่าตอบแทน
ผู้จัดทำหนังสือ หรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน พ.ศ. ๒๕๒๗
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
หลักสูตร หมายความว่า
หลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ
สื่อการเรียนรู้ หมายความว่า
แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ วัสดุอุปกรณ์
และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น ที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้
ตามหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปฐมวัยของกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนราชการ หมายความว่า
ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ ที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายให้จัดทำหลักสูตร
หรือสื่อการเรียนรู้ ตามหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัย
ผู้จัดทำ หมายความว่า
(๑) บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล
ที่ส่วนราชการแต่งตั้ง หรือมอบหมาย หรือว่าจ้างให้จัดทำ เรียบเรียง แปล
หลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
(๒)
เจ้าของผลงานการประกวดการจัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
ตามประกาศของส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ
(๓) ผู้ที่มอบลิขสิทธิ์
ของหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ให้ส่วนราชการจัดทำ จัดพิมพ์ แจกหรือจำหน่าย
รางวัล หมายความว่า
จำนวนเงินที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้จัดทำในการจัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
ค่าตอบแทน หมายความว่า
จำนวนเงินที่ส่วนราชการจ่ายให้ผู้จัดทำในการเข้าประชุมจัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
คณะกรรมการพิจารณารางวัล หมายความว่า
ผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมายแต่งตั้งให้เป็นผู้พิจารณาจ่ายรางวัลแก่ผู้จัดทำ
ข้อ ๕
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา
อันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้
หมวด
๑
การจัดทำหลักสูตร
หรือสื่อการเรียนรู้
ข้อ ๖
ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมาย
แต่งตั้งหรือมอบหมายผู้จัดทำ
ข้อ ๗
ลักษณะของหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ที่ผู้จัดทำมีสิทธิได้รับรางวัลหรือค่าตอบแทน
มีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผลงานที่จัดทำหรือเรียบเรียงขึ้น
จากผลงานค้นคว้าของตนเอง หรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
มีความประณีตเรียบร้อย คำอธิบายชัดเจนดี
(๒) เป็นผลงานที่จัดทำหรือเรียบเรียงขึ้น
จากผลการค้นคว้าของผู้อื่น หรือจากต้นฉบับของผู้อื่นหลาย ๆ ฉบับ
เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา มีความประณีตเรียบร้อย
คำอธิบายชัดเจนดีและได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วอย่างถูกต้อง
(๓) เป็นผลงานที่แปลหรือเรียบเรียง
โดยอาศัยต้นฉบับของผู้อื่น เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา มีความประณีตเรียบร้อย
คำอธิบายชัดเจนดี และได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วอย่างถูกต้อง
(๔) เป็นผลงานที่ปรับปรุง แก้ไข
หลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ของเดิม
ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้จัดพิมพ์ใช้แล้ว
(๕) เป็นผลงานที่จัดพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว
ซึ่งส่วนราชการเห็นว่าเกิดประโยชน์ มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับหลักสูตร
และพิจารณาเห็นชอบให้พิมพ์เผยแพร่ได้ ตามข้อตกลงระหว่างส่วนราชการกับเจ้าของลิขสิทธิ์
หมวด
๒
การจ่ายรางวัล
หรือค่าตอบแทน
ข้อ ๘
ให้ผู้จัดทำแจ้งความประสงค์ในการรับรางวัล
หรือค่าตอบแทน อย่างใดอย่างหนึ่งตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนดด้วยความเห็นชอบของส่วนราชการ
ข้อ ๙
ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมายแต่งตั้ง
คณะกรรมการผู้พิจารณารางวัล เป็นผู้จ่ายรางวัลแก่ผู้จัดทำ
โดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ข้อ ๑๐
การจ่ายรางวัลตามข้อ ๙ ให้จ่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) จ่ายรางวัลทั้งหมดเพียงครั้งเดียวแก่ผู้จัดทำ
เมื่อส่วนราชการเห็นชอบ และอนุมัติการจ่ายรางวัล
การจัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ตามข้อ ๗
(๒)
จ่ายรางวัลเป็นอัตราร้อยละของราคาหน้าปกต่อหน่วย ตามจำนวนหน่วยที่ผลิตทุกครั้ง
ในการจ่ายรางวัลให้จ่ายได้เมื่อจัดทำต้นฉบับต้นแบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว
หรือจ่าย เมื่อส่วนราชการได้รับค่าลิขสิทธิ์จากการจำหน่ายแล้ว
โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของส่วนราชการ
ถ้ามีผู้จัดทำหลายคน
ให้มีคณะกรรมการพิจารณาแบ่งจ่ายรางวัล ตามสัดส่วนของงานที่ทำและในกรณีที่บุคลากรของส่วนราชการที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมายให้จัดทำเนื้อหา
ภาพประกอบรูปเล่ม รูปแบบ หลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
ให้ส่วนแบ่งจ่ายที่ควรจะได้รับนี้ตกเป็นของส่วนราชการนั้น
ข้อ ๑๑
ในกรณีจ่ายรางวัลตามข้อ ๑๐
ถ้าผู้จัดทำนำผลงานที่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นตามระเบียบนี้
ให้คณะกรรมการตามข้อ ๙ เป็นผู้พิจารณาแบ่งจ่ายรางวัลของผู้จัดทำให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์นั้นด้วย
ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๒
ในกรณีผู้จัดทำแจ้งความประสงค์รับเป็นค่าตอบแทน
ให้ส่วนราชการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการกำหนด
ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
หมวด
๓
ลิขสิทธิ์ของหลักสูตร
หรือสื่อการเรียนรู้
ข้อ ๑๓
หลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้ที่ผู้จัดทำได้รับรางวัล
หรือค่าตอบแทนตามระเบียบนี้แล้ว ให้ลิขสิทธิ์เป็นของส่วนราชการ
ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ยกเว้นมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
ข้อ ๑๔
ในการจัดทำหลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
ผู้จัดทำจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
ถ้าปรากฏว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดให้ผู้จัดทำนั้นเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยตลอด
หมวด
๔
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ ๑๕
หลักสูตรหรือสื่อการเรียนรู้
ซึ่งผู้จัดทำได้รับรางวัลหรือค่าตอบแทน ตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้รางวัลหรือค่าตอบแทนผู้จัดทำหลักสูตร
หนังสือ หรือคู่มือที่ใช้ในการเรียนการสอน พ.ศ. ๒๕๒๗ ก่อนวันระเบียบนี้ใช้บังคับ
หากส่วนราชการพิจารณาเห็นสมควรอนุญาตให้พิมพ์จำหน่ายหลักสูตร
หรือสื่อการเรียนรู้นั้นการจ่ายรางวัลหรือค่าตอบแทนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวด
๒ แห่งระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
561585 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.
๒๕๕๐
ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ด่วนมาก ที่ นร ๐๕๐๔/๑๖๖๑๐ ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
การขยายชั้นเรียน
หมายความว่า การขยายชั้นเรียนในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่
(๑) การเพิ่มขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่
๕ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
(๒) การเพิ่มขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(๓) การเพิ่มขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พื้นที่พิเศษ
หมายความว่า พื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ ได้แก่
(๑) พื้นที่กันดาร ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวก ขาดสาธารณูปโภคปัจจัยพื้นฐาน
(๒) พื้นที่เสี่ยงภัย เช่น ตะเข็บชายแดน ชายขอบ พื้นที่ยังคงมีโรคติดต่อชุกชุม
เป็นต้น
(๓) พื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น พื้นที่สูงที่ไม่มีถนนติดต่อกับภายนอก
บนเกาะ เป็นต้น
(๔) พื้นที่พิเศษตามประกาศของกระทรวงการคลัง สำนักงานในพื้นที่พิเศษ
คุณภาพการศึกษา
หมายความว่า การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจในการตีความ
วินิจฉัย ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ ๕[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด
๑
การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
ข้อ ๖ การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่
๕ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม
ข้อ ๗ การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ
ดังนี้
(๑) สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๒) สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
(๓) สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๑ ไม่น้อยกว่า ๔๐ คน
(๔) สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
(๕) สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ
พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร
ข้อ ๘ การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ
ดังนี้
(๑) สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับดี
(๒) สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งนี้ให้มีห้องเรียน
ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและอยู่ในสภาพใช้การได้ดี
มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
(๓) สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๔ ไม่น้อยกว่า ๔๐ คน
(๔) เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ
ในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียน
(๕) สถานศึกษาต้องมีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ไม่น้อยกว่า ๕ ห้องเรียน
(๖) สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
และมีครูเพียงพอทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
(๗) สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ
พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร
หมวด
๒
การดำเนินการขยายชั้นเรียน
ข้อ ๙ การขอขยายชั้นเรียน ให้สถานศึกษาปฏิบัติ ดังนี้
(๑) จัดทำแผนขยายชั้นเรียนเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ
(๒) เสนอเรื่องการขอขยายชั้นเรียนพร้อมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ก่อนเปิดภาคเรียนที่หนึ่งของปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน
ข้อ ๑๐ การพิจารณาขยายชั้นเรียน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติ
ดังนี้
(๑) ตรวจสอบข้อมูลเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความพร้อมในการขยายชั้นเรียน
(๒) เสนอข้อมูลและความเห็นต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาตามที่กำหนดไว้ในหมวด
๑ และหมวด ๒ ประกอบการพิจารณาอนุญาต
(๓) การดำเนินการตาม (๑) และ (๒) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน
๔๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
(๔) แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาให้สถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทราบกรณีอนุญาต
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำประกาศการขยายชั้นเรียน และให้จัดระบบส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษา
สามารถพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้มีประสิทธิภาพพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารายงานการขยายชั้นเรียนให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อทราบและให้การสนับสนุน
ข้อ ๑๒ การขยายชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๓ การขยายชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาที่ไม่มีความพร้อมตามหมวด
๑ แต่มีความจำเป็นต้องขยายชั้นเรียน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษาและขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พร้อมเหตุผลความจำเป็นและแนวทางพัฒนาให้กับสถานศึกษา
ข้อ ๑๔ ในกรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำเสนอขอความเห็นชอบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการ
ประกาศ
ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
วิจิตร
ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๑๑
กันยายน ๒๕๕๐
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๒/๕ กันยายน ๒๕๕๐ |
610213 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงออกระเบียบว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.
๒๕๕๒ ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒
ให้ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้เพิ่มเติมข้อความในข้อ ๔
ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นวรรคสองดังนี้
ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ตามกฎกระทรวง
ว่าด้วยคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
และการประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามข้อ ๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
จนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการชุดดังกล่าว
ข้อ ๔
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๖/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610210 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ.
๒๕๕๑[๑]
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนเอง
โดยเฉพาะการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๒
ในระเบียบนี้
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
หมายความว่า บุคคลที่มีความรู้ความสามารถและสมัครใจทำงานเพื่อสังคมในด้านการศึกษาโดยไม่รับค่าตอบแทนในหมวดเงินเดือนและได้รับการฝึกอบรมก่อนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์การเรียนชุมชน หมายความว่า
สถานที่ ที่ชุมชนกำหนดหรือร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน
ซึ่งจัดขึ้นตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑
สถานศึกษา หมายความว่า
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ และศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต
ข้อ ๓
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เรียกชื่อโดยย่อว่าอาสาสมัคร กศน. มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Non-Formal
and Informal Education
Volunteer และเรียกชื่อโดยย่อว่า NIEV
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
และคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การดำเนินงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของแต่ละจังหวัด
(๒)
ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในการบริหารจัดการและการพัฒนาอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(๓)
ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครเสนอ
(๔)
เพิกถอนการเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรณีในข้อ
๑๑ (๔)
(๕)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อ ๕
ผู้ที่เป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้
(๑) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๒)
เป็นผู้ที่สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลืองานการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
(๓)
เป็นผู้มีภูมิลำเนาหรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่บ้านหรือชุมชน
(๔) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและสามารถอ่านออก
เขียนได้
(๕)
เป็นบุคคลที่กรรมการหมู่บ้านหรือประชาชนรับรองว่าเป็นผู้ที่มีความประพฤติอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี
ได้รับความไว้วางใจและยกย่องจากประชาชน
ข้อ ๖
ในกรณีที่คุณสมบัติไม่ครบตามนี้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณีโดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก
ข้อ ๗
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
อาจเสนอผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกิตติมศักดิ์ต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณีก็ได้
ข้อ ๘
การกำหนดจำนวนอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้กำหนดจากจำนวนหลังคาเรือนในชุมชนจำนวนไม่เกินห้าสิบหลังคาเรือนมีอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหนึ่งคน
ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา แล้วรายงานให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
หรือสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณีทราบ
ข้อ ๙
วิธีการสรรหา คัดเลือก
อบรมและแต่งตั้ง ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้สถานศึกษา
ร่วมกับชุมชนดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๕ เพื่อเข้ารับการอบรมและแต่งตั้งเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(๒)
ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
จัดให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ ๙ (๑)
เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กำหนด
(๓)
ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ผ่านการอบรมเป็นอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและออกบัตรประจำตัวให้ตามแบบที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกำหนด
ข้อ ๑๐
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละสามปี
ข้อ ๑๑
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สิ้นสุดสภาพเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เจ็บป่วยจนไม่สามารถปฏิบัติงานได้
(๔) มีความประพฤติเสียหาย
ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณีเห็นว่าทำความเสื่อมเสียต่อเกียรติของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ข้อ ๑๒
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มีดังนี้
(๑) เสนอความต้องการในการเรียนรู้ของประชาชน
โดยประสานงานกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน
(๒) ประชาสัมพันธ์ สื่อสาร
เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงการเรียนรู้ของประชาชน
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
(๔)
ร่วมกับครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนในการติดตามผลและดูแลการจัดกิจกรรมการศึกษาในชุมชน
(๕) ส่งเสริมสนับสนุน
การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการศึกษาของประชาชนในชุมชน
ข้อ ๑๓
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อาจได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่
ตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
ข้อ ๑๔
สิทธิประโยชน์ที่อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจะได้รับมีดังนี้
(๑) สิทธิที่จะได้รับการบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามประกาศสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(๒)
สิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๓) สิทธิที่จะได้รับเกียรติคุณและรางวัล
ตามที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กำหนด
(๔) สิทธิที่จะได้รับการศึกษา อบรม
พัฒนาที่สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จัดโดยเบิกค่าใช้จ่ายได้ ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้
ข้อ ๑๕
อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ
ซื่อสัตย์ สุจริต สามัคคี
รักษามาตรฐานการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างของผู้ที่มีความเสียสละ
และใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่เสมอ
ข้อ ๑๖
ให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดและสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
จำทำรายงานการปฏิบัติงานของอาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด
หรือคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี เป็นประจำทุกปีงบประมาณ
ข้อ ๑๗
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง
เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
กรกฎาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๑/๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
601230 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. 2552
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน
เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
พ.ศ.
๒๕๕๒
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมนักเรียนโดยการจัดเงินอุดหนุนเป็นค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับนักเรียนระดับ ก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ (๔) และ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น
เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในคราวประชุมครั้งที่
๒/๒๕๕๒ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงได้ลงมติเห็นชอบกำหนดมาตรการการอุดหนุน
เป็นเงินค่าหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
เงินอุดหนุน หมายความว่า
เงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรจากงบประมาณเพื่อเป็นค่าหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน
เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
หนังสือเรียน หมายความว่า
หนังสือแบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนในแต่ละระดับ
และหรือหนังสือแบบเรียนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้จากกระทรวงศึกษาธิการ
อุปกรณ์การเรียน หมายความว่า
เครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นและเหมาะสมที่ต้องใช้ในการเรียนของนักเรียนในแต่ละระดับหรือสาขาวิชา
ตามที่คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่ายกำหนด เช่น สมุด แบบฝึกหัด ดินสอ
ยางลบ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ สี ดินน้ำมัน เป็นต้น
เครื่องแบบนักเรียน หมายความว่า
เครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.
๒๕๕๑ และที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต รวมถึง ชุดฮิญาบ ชุดลูกเสือ ชุดยุวกาชาด
ชุดเนตรนารี ชุดผู้บำเพ็ญประโยชน์ ชุดพลศึกษา ชุดฝึก ชุดไตรจีวร
สำหรับสามเณรในโรงเรียนการกุศล และรวมถึงเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า เน็คไท
เข็มตราโรงเรียน กระดุมตามระเบียบของโรงเรียน
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
หมายความว่า กิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้แก่นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมทางวิชาการ
กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม ลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด กิจกรรมทัศนศึกษา
และการบริการสารสนเทศ
โรงเรียน หมายความว่า
โรงเรียนเอกชนในระบบ โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
นักเรียน หมายความว่า
ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
ข้อ ๔
หลักเกณฑ์การให้เงินอุดหนุนตามระเบียบนี้
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ตามอัตราแนบท้ายระเบียบ
ทั้งนี้ ต้องไม่เกินความจุของโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตหรือที่กำหนดไว้ในตราสาร แล้วแต่กรณี
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
ระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ - ๓) ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลายหรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้นเรียนหรือบางระดับชั้นเรียน
เมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราแนบท้ายระเบียบนี้
ค. ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่านักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุน
(๓)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ต่อไปดังนี้
ก.
เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนเป็นนักเรียนและเรียนอยู่จริงในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือที่กำหนดไว้ในตราสาร
แล้วแต่กรณี
ข.
เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุน
ค.
ไม่เป็นนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า
นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับการอุดหนุน
ง.
เป็นนักเรียนที่ผู้ปกครองไม่แจ้งขอสละสิทธิ์ขอรับเงินอุดหนุน
ข้อ ๕
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนของโรงเรียนตามประมาณการขอรับเงินอุดหนุนให้โรงเรียนดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม
๔ ฝ่ายนั้น ประกอบด้วยผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครองที่มิได้เป็นคณะกรรมการบริหาร
ผู้แทนชุมชนส่วนท้องถิ่นที่โรงเรียนนั้นตั้งอยู่ และผู้แทนคณะกรรมการนักเรียนยกเว้นระดับอนุบาล
สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก (มีนักเรียนไม่เกิน ๓๐๐ คน) ให้มีได้ไม่น้อยกว่าฝ่ายละ ๑
คน สำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่ (มีนักเรียนตั้งแต่ ๓๐๑ คนขึ้นไป)
ให้มีไม่น้อยกว่าฝ่ายละ ๒ คน
โดยการเสนอชื่อของคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาดำเนินการ กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนเป็นค่าหนังสือเรียนอุปกรณ์การเรียน
เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนอย่างเหมาะสม
เป็นธรรมและโปร่งใสในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ก.
การรับเงินอุดหนุนเป็นค่าหนังสือเรียนให้ที่ประชุมกำหนดกรอบรายการหนังสือ แบบเรียน
จำนวนและราคา วิธีการซื้อ และวิธีดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
พร้อมทั้งกำหนดให้ชัดเจนว่าหนังสือแบบเรียนเล่มใดซื้อโดยเงินอุดหนุน
หรือหนังสือแบบเรียนหรือหนังสือประกอบการเรียนเล่มใดที่ผู้ปกครองจัดซื้อเอง
ข.
การรับเงินอุดหนุนเป็นค่าอุปกรณ์การเรียนให้จ่ายเงินแก่ผู้ปกครอง
และให้ผู้ปกครองนำหลักฐานการนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์มาแสดงต่อโรงเรียน
ค. การรับเงินอุดหนุนเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียนให้จ่ายเงินแก่ผู้ปกครอง
และให้ผู้ปกครองนำหลักฐานการนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์มาแสดงต่อโรงเรียน
ง.
การรับเงินอุดหนุนเป็นค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ที่ประชุมกำหนดความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม
จ. เห็นชอบจำนวนนักเรียนตามประมาณการที่ขอรับการอุดหนุนตามระเบียบนี้
(๒)
จัดทำประกาศแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย โดยมีรายละเอียดการขอรับเงินอุดหนุนแต่ละรายการ
แล้วปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยเพื่อแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบโดยทั่วกัน
(๓) ให้ประมาณการเงินอุดหนุนที่ขอเบิกในอัตราร้อยละ
๘๐ ในชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ ๑ ของจำนวนนักเรียน ณ
วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ยื่นคำขอ สำหรับชั้นอื่น ๆ จัดสรรให้ร้อยละ ๑๐๐
ของจำนวนนักเรียนในปีการศึกษาที่ยื่นคำขอ
โดยคำนวณเงินอุดหนุนตามอัตราแนบท้ายระเบียบ
(๔) จัดทำคำขอรับการอุดหนุนตามข้อ ๕ (๓)
พร้อมส่งเอกสารดังต่อไปนี้
ก.
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย
ข.
ประกาศแจ้งผู้ปกครองในเรื่องการรับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้
ค. ประกาศแจ้งการเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
ง.
ใบสำคัญรับเงินตามจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนแต่ละประเภท
(๕) ให้โรงเรียนยื่นคำขอรับการอุดหนุนตามข้อ ๕
(๔) และเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๓) ภายในเดือนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
ข้อ ๖
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามประมาณการขอรับเงินอุดหนุนให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบคำขอรับเงินอุดหนุนของโรงเรียน ตามข้อ
๕ (๕) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๐ มีนาคม ของทุกปี
(๒) ส่งแบบสรุปประมาณการจำนวนนักเรียน
ที่ขอรับการอุดหนุนเป็นเงินค่าหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน
และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พร้อมจำนวนเงินที่ขอรับการอุดหนุน
และสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับโอนเงินอุดหนุน
โดยให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่ ๑๕ มีนาคม ของทุกปี
(๓)
เมื่อได้รับการแจ้งโอนเงินเข้าบัญชีเรียบร้อยแล้วให้เร่งดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนที่ได้ส่งเอกสารตาม
(๑) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ภายใน ๕ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชี
ข้อ ๗
วิธีการขอรับเงินอุดหนุนของสำนักงานและเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามประมาณการขอรับเงินอุดหนุนให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบคำขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารประกอบ
สำหรับโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและแบบสรุปประมาณการจำนวนนักเรียนตามข้อ ๕ (๕)
และข้อ ๖ (๒) สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามประมาณการให้โรงเรียนในกรุงเทพมหานครและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ตามข้อ ๖ (๒) ภายใน ๕ วันทำการ นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติเงินจากกรมบัญชีกลาง
(๒)
สำหรับกรุงเทพมหานครให้โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนที่ได้ส่งเอกสารตาม (๑)
ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ภายใน ๕ วันทำการ นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง
ข้อ ๘
วิธีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของโรงเรียนตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริงในปีการศึกษาที่ขอเบิกจ่ายจริง
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) การขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้เบิกจ่ายตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต
กรณีที่มีนักเรียนหรือผู้ปกครองสละสิทธิ์การรับเงินอุดหนุน
อุปกรณ์การเรียนหรือเครื่องแบบนักเรียน
ให้แนบหลักฐานการสละสิทธิ์ตามแบบที่สำนักงานกำหนด พร้อมปรับลดจำนวนนักเรียนที่สละสิทธิ์ออกจากจำนวนนักเรียนที่ขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
แล้วแต่กรณี
(๒)
ให้โรงเรียนยื่นคำขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนพร้อมหลักฐานตามแบบที่สำนักงานกำหนดภายในวันที่
๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓) ในกรณีที่จำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริง ณ
วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ยื่นคำขอน้อยกว่าจำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐
มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิกจริง โรงเรียนต้องคืนเงินส่วนที่เกินแก่สำนักงาน
หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี
หากมีจำนวนนักเรียนมากกว่าให้ขอเบิกเพิ่มตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง
ข้อ ๙
วิธีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามจำนวนนักเรียน
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิกจ่ายจริง ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและเปรียบเทียบคำขอเบิกจ่ายตามข้อ ๕
และข้อ ๘ หากโรงเรียนเบิกเกินให้ส่งคืนเงินอุดหนุน และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเบิกจ่ายให้กับโรงเรียนที่ขอเบิกเพิ่มตามอัตราท้ายระเบียบ
(๒)
โรงเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มเติม
แต่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีเงินอุดหนุนไม่เพียงพอ
ให้สรุปยอดเงินอุดหนุนที่ต้องขอเบิกเพิ่มจัดส่งให้สำนักงานภายในวันที่ ๑๐
กรกฎาคมของทุกปี
(๓)
เมื่อได้รับแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนที่ได้ส่งเอกสารตาม
(๒) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ภายใน ๕ วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชี
ข้อ ๑๐
วิธีการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนของสำนักงานตามจำนวนนักเรียน
ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ของปีการศึกษาที่ขอเบิกจ่ายจริง ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบและเปรียบเทียบการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ ๕ และข้อ ๘ สำหรับในกรุงเทพมหานคร
หากโรงเรียนเบิกเกินให้ส่งคืนเงินอุดหนุน
ส่วนเงินอุดหนุนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับเพิ่มเติมในกรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี ให้สรุปยอดเพื่อเสนอขออนุมัติเบิกจ่ายเงิน
(๒)
เมื่อได้รับอนุมัติเบิกจ่ายเงินส่วนที่ขอเพิ่มในกรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อโอนเข้าบัญชีโรงเรียนต่อไป
สำหรับโรงเรียนในกรุงเทพมหานครให้โอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนที่ได้ส่งเอกสารตาม
(๑) ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ภายใน ๕ วันทำการ นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง
ข้อ ๑๑
เงื่อนไขการขอรับเงินอุดหนุนและการเบิกจ่ายเงินอุดหนุน
(๑) โรงเรียนที่ไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
หากพ้นกำหนดให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์ขอรับเงินอุดหนุน
โดยโรงเรียนต้องรับภาระชดเชยเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้ให้แก่นักเรียนหรือผู้ปกครอง
เว้นแต่นักเรียนหรือผู้ปกครองของนักเรียนรายนั้นจะสละสิทธิ์เอง
(๒) สำหรับโรงเรียนที่ไม่เคยรับเงินอุดหนุนมาก่อน
ให้ขอเงินอุดหนุนตามประมาณการโดยให้โรงเรียนจัดทำแผนการรับนักเรียนในชั้นเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนนั้น
และแผนการรับนักเรียนจะต้องเป็นไปตามใบอนุญาตที่มีอยู่ ทั้งนี้
ให้ขอเบิกเงินตามประมาณการไม่เกินร้อยละ ๘๐ ของจำนวนนักเรียนที่โรงเรียนกำหนดในแผนการรับนักเรียน
และแผนการรับนักเรียนต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม ๔
ฝ่าย
(๓) ในกรณีที่มีเงินอุดหนุนในรายการใดเหลือจ่าย
ให้โรงเรียนนำเงินอุดหนุนที่เหลือจ่ายไปสมทบเพื่อดำเนินการในรายการที่มีเงินอุดหนุนไม่เพียงพอได้
แต่ทั้งนี้
ต้องไม่เกินอัตราแนบท้ายระเบียบแต่ละรายการที่ต้องดำเนินการเบิกโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม
๔ ฝ่าย
(๔)
ให้โรงเรียนสรุปผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนรายงานต่อคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม
๔ ฝ่ายในทุกปีการศึกษา ให้โรงเรียนนำเงินอุดหนุนที่ได้ไปใช้จ่ายให้เป็นไปตามประกาศนี้
และตามมติคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการร่วม ๔ ฝ่าย
โดยให้จัดทำหลักฐานการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามวัตถุประสงค์
(๕)
ให้โรงเรียนสรุปผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามแบบที่สำนักงานกำหนด ภายในวันที่ ๓๐
พฤศจิกายนของทุกปี สำหรับกรุงเทพมหานครให้จัดส่งที่สำนักงาน จำนวน ๑ ชุด
ส่วนจังหวัดอื่นให้จัดส่งที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี จำนวน ๒ ชุด
และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวบรวมส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๓๑
ธันวาคมของทุกปี
(๖) โรงเรียนต้องจัดทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
จัดทำทะเบียนคุมรายการรับจ่ายในการอุดหนุนแต่ละรายการ พร้อมเก็บเอกสาร
หลักฐานการรับจ่ายในแต่ละรายการพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้
(๗) การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
ให้เบิกจ่ายไม่เกินวงเงินงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีหากเงินงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอให้สำนักงานเบิกจ่ายโดยวิธีถัวเฉลี่ยจ่ายตามวงเงินงบประมาณที่มีอยู่
เว้นแต่ที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติม
ข้อ ๑๒
การกำกับดูแลมาตรการการให้เงินอุดหนุนให้ดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒) ในกรณีที่ตรวจพบว่า
โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปี ของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
(๓)
เมื่อปรากฏว่าโรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับเงินอุดหนุนตามระเบียบนี้
โดยทุจริตให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม ๑๒ (๒)
อาจจะดำเนินการทางคดีตามกฎหมายแก่ผู้เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
ข้อ ๑๓
สำหรับในวาระเริ่มแรกในปีการศึกษา
๒๕๕๒ ให้สำนักงานเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามจำนวนนักเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑
ในอัตราเงินอุดหนุนของแต่ละระดับ ยกเว้นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
ให้ถัวเฉลี่ยในระดับชั้นเรียนที่คำนวณจากอัตราท้ายระเบียบ
สำหรับโรงเรียนที่ไม่เคยรับเงินอุดหนุนให้ดำเนินการตามข้อ ๑๑ (๒)
สำหรับจำนวนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑
ซึ่งไม่ได้รับการอุดหนุนมาก่อน ให้คำนวณจากร้อยละ ๘๐
ของจำนวนนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๒ และ ๓ ถัวเฉลี่ย
เพื่อเบิกจ่ายเงินอุดหนุนตามประมาณการ
ข้อ ๑๔
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตารางอัตราการอุดหนุนแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พ.ศ. ๒๕๕๒
๒. ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๘/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒ |
601226 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2552
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียนโรงเรียนเอกชน
เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนนักเรียนเป็นรายบุคคลสำหรับนักเรียนในระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และรวมถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๔) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๓๙ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๐ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ดังนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงได้ลงมติเห็นชอบกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ใช้อัตราแนบท้ายตามระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่
๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
โรงเรียน
หมายความว่า โรงเรียนเอกชนในระบบ โดยไม่รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนการกุศล
หมายความว่า โรงเรียนเอกชนที่จัดตั้งโดยมีวัตถุประสงค์จัดการศึกษาเพื่อผู้ยากไร้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา
ได้แก่ โรงเรียนเอกชนที่สำนักพระราชวังเป็นผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนสงเคราะห์เด็กยากจนตามพระราชประสงค์
โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระราชูปถัมภ์ที่จัดการศึกษาเพื่อการกุศล โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาและโรงเรียนการศึกษาพิเศษหรือการศึกษาสงเคราะห์หรือโรงเรียนประเภทอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ
และให้รวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญที่มีมูลนิธิหรือมัสยิดเป็นผู้รับใบอนุญาตที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาเท่านั้น
นักเรียน
หมายความว่า ผู้ที่โรงเรียนได้รับเข้าเรียนตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดและตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาต
หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้รับใบอนุญาต
เงินอุดหนุนรายบุคคล
หมายความว่า เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐจัดสรรงบประมาณให้เป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลแก่นักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการบริหาร
หมายความว่า คณะกรรมการบริหารของโรงเรียน
สำนักงาน
หมายความว่า สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
หมายความว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
ข้อ ๕ การให้เงินอุดหนุนรายบุคคล ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ให้คำนวณจากจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงของโรงเรียน ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษาที่ขอเบิก
ตามอัตราแนบท้ายระเบียบ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินความจุนักเรียนของโรงเรียนตามหลักสูตรและสาขาวิชาที่โรงเรียนได้รับอนุญาต
(๒)
นักเรียนที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับใดระดับหนึ่งหรือหลายระดับรวมกัน
ข.
เป็นโรงเรียนการกุศลที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาจากนักเรียน
ค.
เป็นโรงเรียนที่เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนรายบุคคลแล้วไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับนักเรียนภาครัฐในแต่ละระดับ
ง.
ไม่เป็นโรงเรียนที่ประกาศแจ้งให้ผู้ปกครองทราบว่า นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนนี้ไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล
(๓)
นักเรียนที่โรงเรียนจะนำมาคำนวณเงินอุดหนุนรายบุคคล ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
ก.
เป็นนักเรียนที่ได้ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริง ในชั้นเรียนที่โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับการอุดหนุนโดยถูกต้องและเป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
หรือตราสาร แล้วแต่กรณี
ข.
เป็นนักเรียนที่มาเรียนจริงสม่ำเสมอเป็นปกติโดยไม่ขาดเรียนติดต่อกันเกินกว่า ๑๕ วัน
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เว้นแต่กรณีเจ็บป่วยจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมรับรองว่าต้องหยุดพักการเรียน
ค.
เป็นนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับที่ได้รับการอุดหนุนรายบุคคล สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่
๑ อายุของนักเรียนต้องไม่ต่ำกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษาในภาคเรียนแรก
ง.
กรณีนักเรียนพิการต้องมีสมุดประจำตัวคนพิการ หรือเอกสารรับรองความพิการจากแพทย์ของสถานพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
และให้โรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ข้อ ๖ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำคำร้องขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลตามแบบหรือโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนพร้อมเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับเงินอุดหนุนตามข้อ
๕ (๓) พร้อมสำเนาเอกสารจำนวน ๒ ชุด หรือข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ กรณีโรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรุงเทพมหานครให้ยื่นที่สำนักงานส่วนจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายนของทุกปี
(๓)
ให้ส่งเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการขอรับการอุดหนุน ดังต่อไปนี้
ก.
แบบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๑) แบบรายงานจำนวนนักเรียนและครู (อน. ๒) พร้อมบัญชีรายชื่อนักเรียน
(อน. ๓) เพื่อขอรับการอุดหนุน โดยให้สำรวจ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายนของทุกปี
ข.
แบบทะเบียนคุมนักเรียนพิการในโรงเรียนเอกชน กรณีที่โรงเรียนขอรับ เงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนพิการ
ค.
สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ประกาศโรงเรียนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียม การศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
และหลักฐานการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
ง.
รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ซึ่งให้ความเห็นชอบจำนวนนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล
งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบดุล ของปีการศึกษาที่ผ่านมา
ข้อ ๗ วิธีการขอรับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓) พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคลโดยแยกประเภทเงินอุดหนุน
พร้อมสำเนาเลขที่บัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยให้ส่งถึงสำนักงานภายในวันที่
๑๐ กรกฎาคมของทุกปี
ข้อ ๘ วิธีการขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลและเอกสารประกอบตามข้อ ๕ (๒) และ (๓) พร้อมข้อมูลของโรงเรียนด้วยโปรแกรมที่สำนักงานกำหนด
(๒)
ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลนักเรียนตาม (๑) ของทุกโรงเรียน หากถูกต้องให้จัดทำแบบสรุปจำนวนนักเรียนของโรงเรียนที่มีสิทธิ์รับการอุดหนุนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
โดยแยกประเภทเงินอุดหนุนทั้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น เพื่อเสนอขออนุมัติ
ข้อ ๙ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของโรงเรียน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
จัดทำใบสำคัญรับเงินอุดหนุนรายบุคคล (อน. ๔) ประจำเดือนจำนวน ๒ ชุด ให้โรงเรียนเก็บไว้
๑ ชุด โดยมีเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
ก.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคล กรณีโรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียนเพิ่มเติมของเดือนที่ผ่านมา
(อน. ๕)
ข.
บัญชีรายชื่อนักเรียนที่โรงเรียนจำหน่าย ลาออก พักการเรียน ของเดือนที่ผ่านมา (อน.
๖)
ค.
บัญชีการจ่ายเงินเดือนครูและการหักเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ที่เรียงตามระดับการศึกษา
สำหรับกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓ ชุด ส่วนจังหวัดอื่น จำนวน ๔ ชุด นำไปประทับตราที่ธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) พร้อมแบบ วส.๐๐๐๑ หรือตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒)
โรงเรียนจัดส่งเอกสารตาม (๑) ภายในวันที่ ๓ ของเดือนที่เบิกที่สำนักงาน สำหรับกรุงเทพมหานคร
หรือที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน
แล้วให้นำส่งสำนักงาน ภายในวันที่ ๑๐ ของเดือน เพื่อสำนักงานจะดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนภายใน
๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีจากสำนักงาน
ข้อ ๑๑ วิธีการขอเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลของสำนักงาน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ตรวจสอบจำนวนนักเรียนปกติ นักเรียนพิการ ทั้งประจำและไปกลับ จำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลและเงินสะสมส่วนของครูและเงินสมทบส่วนของผู้รับใบอนุญาตที่ต้องนำส่งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
และตรวจสอบจำนวนเงินคงเหลือให้ถูกต้อง
(๒)
สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ขอเบิกจ่าย และขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนประจำเดือน
ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่น เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีโรงเรียนหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
แล้วแต่กรณี
(๓)
ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลประจำเดือน สรุปยอดจำนวนโรงเรียนและจำนวนเงินอุดหนุนรายบุคคล
ภายในวันที่ ๑๐ ของทุกเดือน เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายและโอนเงินเข้าบัญชีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔)
เมื่อโรงเรียนดำเนินการตามข้อ ๙ ได้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้โอนเงินอุดหนุนรายบุคคลเข้าบัญชีโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
ภายใน ๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลจากกรมบัญชีกลางและวันที่ได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงาน
ข้อ ๑๒ เงื่อนไขการรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
มีดังต่อไปนี้
(๑)
นักเรียนต้องมาเรียนตามหลักสูตรและเวลาเปิดที่โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนและมาเรียนทุกวันเป็นประจำสม่ำเสมอตามกฎกระทรวง
ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
(๒)
การรับนักเรียนเข้าเรียน โรงเรียนต้องดำเนินการรับนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ
และจัดเก็บเอกสารไว้ให้เป็นปัจจุบันพร้อมให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ กรณีที่จัดเก็บเอกสารเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์
โรงเรียนต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย
(๓)
ในกรณีที่โรงเรียนไม่ยื่นคำร้องขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
ให้ถือว่าโรงเรียนไม่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลสำหรับนักเรียนของโรงเรียนนั้น
โดยห้ามเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาในส่วนที่โรงเรียนไม่ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้
และห้ามจำหน่ายนักเรียนผู้นั้นออกจากโรงเรียนด้วยเหตุดังกล่าว
(๔)
ในกรณีที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในตราสารเป็นโรงเรียนการกุศลภายหลังวันที่
๑๐ มิถุนายนของปีการศึกษา ให้โรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลโรงเรียนการกุศลในปีการศึกษาถัดไป
(๕)
โรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลต้องดำเนินกิจการโรงเรียนให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทางราชการ และต้องนำเงินอุดหนุนรายบุคคลที่ได้รับ ไปจ่ายเป็นเงินเดือนครูไม่ต่ำกว่าวุฒิที่ทางราชการกำหนดและตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และนำเงินที่เหลือให้นำไปใช้จ่ายเป็นค่าพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและครุภัณฑ์
พัฒนาอาคารสถานที่และการดำเนินกิจการของโรงเรียน
(๖)
โรงเรียนต้องทำบัญชีการเงินและบัญชีอื่นให้ถูกต้องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
(๗)
โรงเรียนต้องจ่ายเงินเดือนครูโดยผ่านระบบธนาคารเป็นรายบุคคลทุกเดือน และเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
(E- Document)
(๘)
โรงเรียนต้องเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามประกาศของโรงเรียนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
(๙)
โรงเรียนต้องบรรจุครูให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับที่เปิดสอน โดยให้มีครูประจำชั้นครบทุกชั้นที่เปิดทำการสอน
(๑๐)
เมื่อนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียน โรงเรียนต้องแจ้งผู้อนุญาตภายในสิ้นเดือนและให้จ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลแก่โรงเรียนนั้นจนถึงสิ้นเดือน
(๑๑)
การจ่ายเงินอุดหนุนรายบุคคลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนมีนาคม
และในเดือนตุลาคมให้จ่ายตามจำนวนนักเรียนที่เรียนอยู่จริงในเดือนกันยายน
(๑๒)
กรณีที่มีนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนระหว่างเดือนในแต่ละภาคเรียน ให้เบิกเงินอุดหนุนรายบุคคลได้สำหรับนักเรียนผู้นั้นในเดือนถัดไป
ข้อ ๑๓ การกำกับดูแลให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้สำนักงานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามระเบียบ
(๒)
ในกรณีที่ตรวจพบว่า โรงเรียนมีการเบิกเงินอุดหนุนผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ให้ผู้อนุญาตเรียกเงินคืนจากโรงเรียนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ
๗.๕ ต่อปีของจำนวนเงินที่เบิกโดยผิดพลาดหรือโดยไม่มีสิทธิ์ นับแต่วันที่เบิกจ่ายจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
(๓)
เมื่อปรากฏว่า โรงเรียนดำเนินการเกี่ยวกับขอรับเงินอุดหนุนรายบุคคลตามระเบียบนี้โดยทุจริต
ให้ผู้อนุญาตดำเนินการเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตาม (๒) และอาจดำเนินการทางคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ผู้กระทำความผิด
ข้อ ๑๔ ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
ตารางอัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล
พ.ศ. ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒
ปริญสินีย์/ปรับปรุง
๓ กันยายน ๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๖/ตอนพิเศษ ๔๐ ง/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๒ |
391225 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ.
๒๕๔๖
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริการราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
สถานศึกษา หมายความว่า
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล
ข้อ ๔
ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๕
ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
ข้อ ๖ ให้สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง
รักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา
เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษา
ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
เมื่อจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งแล้ว
ให้สถานศึกษารายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบโดยเร็ว
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาจวางระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๗ ในกรณีที่จะต้องมีการจดทะเบียนสิทธิ ขึ้นทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนใด
ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา
ให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการทางทะเบียนดังกล่าวได้ในนามนิติบุคคลสถานศึกษา
ข้อ ๘ ในกรณีนิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องคดี
ให้สถานศึกษารายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดีโดยเร็ว
ข้อ ๙
สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณในส่วนของที่ตั้งไว้สำหรับสถานศึกษาตามที่ได้รับการกำหนดวงเงินและได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ทั้งนี้ ยกเว้นงบประมาณในหมวดเงินเดือน
ข้อ ๑๐
สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัสดุในส่วนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบหรืออยู่ในวงเงินงบประมาณที่ได้รับมอบตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในข้อ
๙ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกำหนด
ข้อ ๑๑
การรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา
ให้สถานศึกษารับบริจาคตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ
และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒
การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ข้อ ๑๓
ให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ตามข้อ
๖ ไว้เป็นหลักฐานและให้สรุปรายการบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวรายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สถานศึกษานั้นสังกัดทราบทุกสิ้นปีงบประมาณ
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวแล้วรายงานให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๔ การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อ ๑๕ เมื่อมีประกาศยุบ รวม เลิก สถานศึกษา
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี
รวมทั้งดำเนินการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ข้อ ๑๖
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
ปองพล
อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๑/๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
457338 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแก้วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2547
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการแก้วัน
เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา
พ.ศ.
๒๕๔๗
โดยที่เห็นสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้วัน
เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแก้วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้วัน เดือน ปีเกิด
ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๕
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ คำว่า สถานศึกษา
หมายความว่า
สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและให้หมายความรวมถึงสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแลและหรืออยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
ข้อ ๕ การขอแก้วัน เดือน ปีเกิด
ของนักเรียนและนักศึกษาให้ถือปฏิบัติดังนี้
(๑) ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด
ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน
และการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้
และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
(๒) ในกรณีที่ วัน เดือน ปีเกิด
ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้
และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน
ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ
(ก) สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด
(ข) ถ้าหากเอกสารหลักฐานตามข้อ (ก)
สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่น ๆ ที่หน่วยราชการออกให้ เช่น
สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร ทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน
(ค) ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข)
ที่หน่วยราชการออกให้นั้นวัน เดือน ปีเกิด ไม่ตรงกัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย
ๆ ไป
(๓) เมื่อทางสถานศึกษาได้พิจารณาวินิจฉัยเอกสารตามข้อ
๕ (๒) (ก) หรือข้อ ๕ (๒) (ข) หรือได้ทำการสอบสวนตามข้อ ๕ (๒) (ค) แล้ว
ถ้าปรากฏชัดแจ้งว่า วัน เดือน ปีเกิด ผิดพลาดไม่ตรงกับหลักฐานความเป็นจริง
ให้ทำรายงานส่งคำร้องขอแก้วัน เดือน ปีเกิด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้น
และสำเนาการสอบสวน (ถ้ามี)
ไปตามระเบียบราชการเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบแก้ไขเป็นราย
ๆ ไป
ข้อ ๖
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
อดิศัย โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๑๕/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ |
831173 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 | พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๖๒
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.
๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๑๐ สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเขตละหนึ่งคน
ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต
แต่เขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนห้าหมื่นคนให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นทุกหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคนเศษของหนึ่งแสนห้าหมื่นคนถ้าเกินเจ็ดหมื่นห้าพันคนให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
เขตใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งไม่ครบจำนวน ถ้าในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ยังไม่มีผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนอีก
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะครบอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เว้นแต่จะมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงสองในสามของจำนวนตามวรรคหนึ่ง
มาตรา
๔ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๑๒ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา
๖ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา
๗ ให้ยกเลิกมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา
๘ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๒๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงและมีการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเข้ามาแทน
ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งเข้ามาแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา
๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๔) และ (๕)
ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม
มาตรา
๑๑ ให้ยกเลิก (๖)
ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘
มาตรา
๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๒๔ เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗)
หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๒๓ (๔) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
แล้วแต่กรณี
แม้ว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด
เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยว่า
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้นั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗)
นั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน
ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม
โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้
และให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้นั้นสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่มีเหตุตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗)
แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีการประกาศคำวินิจฉัย
ถ้าในขณะที่ประกาศคำวินิจฉัยดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน
ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย
และในกรณีที่เป็นผลให้ถูกห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือใช้สิทธิเลือกตั้ง
ให้ถือว่าวันที่ประกาศคำวินิจฉัยเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามดังกล่าว ทั้งนี้
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา
๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕
มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๔๔ ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด
มาตรา
๔๕
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา ๔๖ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นด้วย
มาตรา
๔๗ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ
และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา
๑๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา
๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องไม่กระทำการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินหรือตามนโยบายของรัฐบาล
(๒)
รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่กรุงเทพมหานคร
หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
โดยมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นการต่างตอบแทนหรือเอื้อประโยชน์ส่วนตนระหว่างกัน
หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานครอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน
ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เว้นแต่ในส่วนที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
มาตรา
๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา
๕๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ให้นำความใน
(๒) และ (๓) มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครด้วยโดยอนุโลม
มาตรา
๑๖ ให้ยกเลิกความใน (๔)
ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๖
มาตรา
๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา
๕๓ เมื่อมีข้อสงสัยว่าความเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าความเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๕๒ (๔)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
แล้วแต่กรณี แม้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด
เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน
ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีเหตุตามมาตรา
๕๒ (๔) หรือ (๕) แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีการประกาศคำวินิจฉัย
ถ้าในขณะที่ประกาศคำวินิจฉัยดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน
ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย
และในกรณีที่เป็นผลให้ถูกห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือใช้สิทธิเลือกตั้ง
ให้ถือว่าวันที่ประกาศคำวินิจฉัยเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามดังกล่าว ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา
๑๘ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๗)
การจัดการจราจรและการวิศวกรรมจราจร
มาตรา
๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๗/๑)
ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘
(๗/๑)
การส่งเสริมและสนับสนุนสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ
(๗)
มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความใน (๒๑) ของวรรคหนึ่งในมาตรา
๘๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๒๑)
การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติ
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
มาตรา
๒๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา
๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครตามวรรคหนึ่ง
หรือการนำเงินของกิจการที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของหรือเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในกิจการนั้น
ไปใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานคร
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภาเขต จะกระทำมิได้
มาตรา ๒๒ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๔/๒๕๕๙
เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนถึงวันก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใด
ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้นั้นต้องลาออกจากตำแหน่งภายในสามวันนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง
ผู้ซึ่งมิได้ลาออกภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นอันยกเลิก
มาตรา
๒๓ บทบัญญัติมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มิให้ใช้บังคับกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๒๔ ให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ในระหว่างที่กฎหมายตามวรรคหนึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ
มิให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘
มาตรา ๗๙ และ มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ มาใช้บังคับ
มาตรา
๒๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการกระทำอันเป็นการต้องห้ามของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่
มีความซื่อสัตย์สุจริตสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วิวรรธน์/ธนบดี/จัดทำ
๒๒
เมษายน ๒๕๖๒
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๔๒/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒ |
455233 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้แก่บุคคลอื่น พ.ศ. 2548
| ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง
ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้แก่บุคคลอื่น
พ.ศ.
๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนของปลัดกระทรวงหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการปฏิบัติราชการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๕ (๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้แก่บุคคลอื่น
พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้มอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ปลัดกระทรวงอาจมอบอำนาจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวง
ที่ปรึกษา หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงาน หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า หรือข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ
๘ ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
(๒) ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงาน
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ
๘ ในสำนักหรือหน่วยงานนั้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
อดิศัย
โพธารามิก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดลธี/ผู้จัดทำ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๕/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ |
664552 | ข้อบังคับสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน ว่าด้วยเข็มวิทยฐานะ ตรา เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และเครื่องแบบ เครื่องหมาย เครื่องแต่งกาย เครื่องแบบผู้สำเร็จการศึกษาสำหรับนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2549 | ข้อบังคับสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน
ข้อบังคับสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน
ว่าด้วยเข็มวิทยฐานะ
ตรา เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และเครื่องแบบ เครื่องหมาย
เครื่องแต่งกาย
เครื่องแบบผู้สำเร็จการศึกษาสำหรับนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน
พ.ศ.
๒๕๔๙
เพื่อให้วิทยาลัยชุมชนแต่ละแห่งมีระบบการจัดการศึกษาที่มีลักษณะเดียวกัน
คณะกรรมการวิทยาลัยชุมชนเห็นสมควรกำหนดข้อบังคับสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนว่าด้วยเข็มวิทยฐานะตรา
เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ และเครื่องแบบ เครื่องหมาย เครื่องแต่งกาย
เครื่องแบบผู้สำเร็จการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ (๔) ข้อ ๒๒ และข้อ
๒๓
แห่งกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญารูปแบบวิทยาลัยชุมชน
พ.ศ. ๒๕๔๖ คณะกรรมการวิทยาลัยชุมชนจึงกำหนดข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบังคับนี้เรียกว่า ข้อบังคับสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนว่าด้วยเข็มวิทยฐานะตรา
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และเครื่องแบบ เครื่องหมาย เครื่องแต่งกาย
เครื่องแบบผู้สำเร็จ การศึกษาสำหรับนักศึกษาของวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๒[๑]
ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในข้อบังคับนี้
วิทยาลัยชุมชน หมายความว่า
วิทยาลัยชุมชนแต่ละแห่ง
หมวดที่
๑
เข็มวิทยฐานะ
ข้อ ๔
เข็มวิทยฐานะของวิทยาลัยชุมชน มีลักษณะเป็นโลหะสีเงินรูปวงรี ทรงนูน ๒ x ๒.๕ เซนติเมตร
ภายในจารึกชื่อของวิทยาลัยชุมชนที่ขอบด้านล่าง
เหนือชื่อของวิทยาลัยชุมชนจะมีตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยชุมชนเป็นโลหะลงยาติดอยู่
ด้านหลังจารึกอักษรชื่อ อนุปริญญา
ข้อ ๕
ผู้มีสิทธิประดับเข็มวิทยฐานะต้องได้รับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าจากวิทยาลัยชุมชนผู้ที่ประดับเข็มวิทยฐานะ
จะต้องประพฤติตนสุภาพเรียบร้อย
ข้อ ๖
การประดับเข็มวิทยฐานะ ให้ประดับที่อกเสื้อด้านขวาเมื่อแต่งเครื่องแบบ
หรือที่ปกเสื้อสากลด้านซ้าย
ข้อ ๗
ให้วิทยาลัยชุมชนจัดทำและจำหน่ายเข็มวิทยฐานะให้ผู้มีสิทธิประดับต้องเสียค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่วิทยาลัยชุมชนกำหนด
หมวดที่
๒
ตรา
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์
ข้อ ๘
ตรา เครื่องหมาย หรือตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยชุมชนมีสัญลักษณ์เป็นรูปทรงทางสถาปัตยกรรมไทยและลวดลายไทยประสานกัน
ซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของชุมชนไทย ลักษณะของปลายแหลม
ด้านบนสื่อถึงการมุ่งสู่จุดหมายสูงสุดในการดำเนินงาน
วงกลมสีทองอยู่ภายในสื่อถึงเป้าหมายในการดำเนินงาน ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง
มองภายในจะเห็นเป็นลักษณะของคนกับหนังสือที่เปิดออกซึ่งสื่อถึงการเปิดโอกาสทางการศึกษาและการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบุคลากรของชุมชน
เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชุมชน และมีแถบสีธงชาติอยู่มุมด้านล่างของหนังสือ
ซึ่งสื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติที่มีผลมาจากการที่บุคลากรของชาติมีคุณภาพ
และมีเส้นโค้งรองรับด้านล่าง ซึ่งสื่อถึงการศึกษาตลอดชีวิต
การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่ชุมชน ทั้งนี้ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบังคับนี้
หมวดที่
๓
เครื่องแบบ
เครื่องหมาย เครื่องแต่งกายนักศึกษา
ข้อ ๙
เครื่องแบบในงานพิธีหรือในการเรียน
(๑)
นักศึกษาหญิง
(ก)
เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาวเนื้อเรียบ ไม่บาง ไม่มีลวดลาย
ติดกระดุมเครื่องหมายของวิทยาลัยชุมชน ทับชายเสื้อไว้ในกระโปรง
ประดับเครื่องหมายของวิทยาลัยชุมชนที่อกเสื้อด้านขวาในงานพิธีติดกระดุมคอให้เรียบร้อย
(ข)
กระโปรงแบบและทรงสุภาพ สีน้ำเงิน กรมท่า หรือดำ ยาวคลุมใต้เข่า เข็มขัดหนังสีดำ
หัวเข็มขัดเป็นโลหะสีเงิน มีเครื่องหมายของวิทยาลัยชุมชนติดอยู่
(ค)
รองเท้าหุ้มส้นทรงสุภาพ สีดำ
(ง)
ทรงผมแบบสุภาพ
(๒)
นักศึกษาชาย
(ก)
เสื้อเชิ้ตแขนสั้นหรือแขนยาวสีขาว ทับชายเสื้อไว้ในกางเกง
(ข)
กางเกงขายาวสีน้ำเงิน กรมท่า หรือดำ แบบและทรงสุภาพ
(ค)
เข็มขัดหนังสีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะสีเงิน มีเครื่องหมายของวิทยาลัยชุมชนติดอยู่
(ง)
รองเท้าหุ้มส้นสีดำ ทรงสุภาพ ถุงเท้าสีดำหรือสีสุภาพ
(จ)
ทรงผมแบบสุภาพ
ข้อ ๑๐
ในการเรียน ให้นักศึกษาใช้เครื่องแบบตามข้อ ๙ หรือชุดสุภาพในการปฏิบัติการ
หรือในการทำงานในหน่วยงานต่างๆ ตามความเหมาะสม
หมวดที่
๔
เครื่องแบบผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ข้อ ๑๑
เครื่องแบบผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
เป็นเสื้อคลุมโปร่งสีขาวผ่าอกตลอด มีสำรดผ่าตลอดซ้ายและขวา ชายเสื้อ และรอบขอบที่ปลายแขน
พื้นสำรดทำด้วยสักหลาดสีฟ้าเข้ม กว้าง ๑๐ เซนติเมตร เว้นระยะขอบนอก ๐.๕ เซนติเมตร
มีแถบทองทาบกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร เว้นระยะ ๑ เซนติเมตร มีแถบสักหลาดสีแดงเข้มกว้าง
๒ เซนติเมตร อยู่กึ่งกลางสำรดหน้าอก มีเข็มวิทยฐานะทำด้วยโลหะ
ติดบนสำรดข้างซ้ายของหน้าอก
ข้อ ๑๒
ให้ประธานกรรมการวิทยาลัยชุมชนรักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สิริกร
มณีรินทร์
ประธานกรรมการวิทยาลัยชุมชน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบเข็มวิทยฐานะ ตรา เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ และเครื่องแบบ เครื่องหมาย
เครื่องแต่งกาย เครื่องแบบผู้สำเร็จการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
โสรศ/ผู้จัดทำ
๒๒
มกราคม ๒๕๕๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๑๔/๑๒ มกราคม ๒๕๕๐ |
461774 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2548 | ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา
พ.ศ.
๒๕๔๘
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับหลักฐานในการรับนักเรียน
นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับเพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่บุคคลให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา
๕ และมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
กระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๒[๑]
ระเบียบให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานวัน เดือน
ปีเกิดในการรับนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้
สถานศึกษา
หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย
สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน
ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
หลักฐานทางการศึกษา
หมายความว่า เอกสารอันเป็นหลักฐานทางการศึกษาของนักเรียน นักศึกษา ได้แก่
ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา สมุดประจำตัวนักเรียนนักศึกษา สมุดประจำชั้น
บัญชีรายชื่อในส่งตัวนักเรียนนักศึกษา หลักฐานแสดงผลการเรียน ประกาศนียบัตร
หรือเอกสารอื่นใดในลักษณะเดียวกันหรือเอกสารที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เป็นหลักฐานทางการศึกษา
ตามระเบียบนี้
องค์กรเอกชน
หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ
หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ข้อ ๕ ให้สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่
ในการที่จะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ
เข้าเรียนในสถานศึกษา
กรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวก
และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่
ข้อ ๖
การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน
ให้สถานศึกษาเรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
ดังต่อไปนี้
(๑) สูติบัตร
(๒) กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม (๑)
ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษระเดียวกัน
(๓) ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม (๑) หรือ (๒)
ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ได้
(๔) ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม (๑) (๒) และ (๓)
ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชนทำบันทึกแจ้งประวัติบุคคล
ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
(๕) ในกรณีที่มีบุคคล หรือองค์กรเอกชนตาม (๔)
ให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมัครเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคลตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
ข้อ ๗
ให้สถานศึกษาจัดเก็บสำเนาเอกสารหลักฐานตามข้อ ๖ (๑) (๒) และ (๓)
ซึ่งได้รับรองความถูกต้องแล้ว ไว้เป็นหลักฐาน และคืนต้นฉบับแก่ผู้ปกครอง
สำหรับหลักฐานบันทึกแจ้งประวัติบุคคล ตามข้อ ๖
(๔) และ (๕) ให้เก็บต้นฉบับไว้ที่สถานศึกษานั้น
ข้อ ๘ ในขณะที่นักเรียนนักศึกษาอยู่ในสถานศึกษา
เมื่อปรากฏว่ามีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มาแสดงภายหลัง
ให้สถานศึกษาแก้ไขหลักฐานทางการศึกษาให้เป็นไปตามหลักฐานดังกล่าว
โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๙ การบันทึกในหลักฐานทางการศึกษา
ให้สถานศึกษาปฏิบัติดังนี้
(๑) ในกรณีที่เป็นหลักฐานทางการศึกษารายบุคคล
เช่น สมุดประจำตัวนักเรียน นักศึกษา ใบส่งตัว ประกาศนียบัตร เป็นต้น
ไม่ต้องบันทึกหมายเหตุใดๆ
(๒)
ในกรณีที่เป็นหลักฐานทางการศึกษาเป็นหลักฐานรวมที่ใช้บันทึกข้อมูลของนักเรียน
นักศึกษาทั้งชั้นเรียน หรือจำนวนมากกว่าหนึ่งคน เช่น ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา
สมุดประจำชั้น บัญชีเรียกชื่อ เป็นต้น ให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายบันทึกไว้เฉพาะในสมุดทะเบียนนักเรียนนักศึกษาโดยบันทึกลงในช่องหมายเหตุพร้อมกับลงนามกำกับข้อความว่า
ไม่มีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร
ข้อ ๑๐
ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อัมภิญา/พิมพ์
๑๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๙/๑๙ กันยายน ๒๕๔๘ |
560763 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่ ๔๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง
ตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖
ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๗
ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การตั้ง
ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘
บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต
อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑)
สภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๑
สภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐[๒] สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเขตละหนึ่งคน
ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต
แต่เขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนห้าหมื่นคนให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นทุกหนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เศษของหนึ่งแสนห้าหมื่นคนถ้าเกินเจ็ดหมื่นห้าพันคนให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
เขตใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งไม่ครบจำนวน
ถ้าในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ยังไม่มีผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนอีก
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่จนกว่าจะครบอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เว้นแต่จะมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงสองในสามของจำนวนตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๑[๓] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๒[๔] ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา ๑๓[๕] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๔[๖] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๕[๗] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๖[๘] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๗
อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
วรรคสอง[๙]
(ยกเลิก)
มาตรา ๑๘
ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร
ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้
แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก
ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
มาตรา ๑๙
ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙
และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๘ วรรคสาม
ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑[๑๐] สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงและมีการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเข้ามาแทน
ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งเข้ามาแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา ๒๒
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัท
ซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ตาย
(๓)
ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
(๔)[๑๑] ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๒
(๕)[๑๒] กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา
๒๒ หรือมาตรา ๕๑ วรรคสาม
(๖)[๑๓] (ยกเลิก)
(๗)
ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออกเพราะเห็นว่า
ได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
(๙)[๑๔]
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีตาม
(๘) ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอ
หรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
มาตรา ๒๔[๑๕] เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗)
หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๒๓ (๔)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
แล้วแต่กรณี
แม้ว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด
เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยว่า
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้นั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗)
นั้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน
ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม
โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้
และให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้นั้นสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่มีเหตุตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗)
แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีการประกาศคำวินิจฉัย
ถ้าในขณะที่ประกาศคำวินิจฉัยดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน
ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย
และในกรณีที่เป็นผลให้ถูกห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือใช้สิทธิเลือกตั้ง
ให้ถือว่าวันที่ประกาศคำวินิจฉัยเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามดังกล่าว ทั้งนี้
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๕
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
มาตรา ๒๖
ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓)
เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่
และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดโดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน
แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๗
ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
มาตรา ๒๘
ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย
การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบ และความเรียบร้อย
และกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย
แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย
จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง
ๆ ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวันจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว
เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม
โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวันจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๒
การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๓๓
การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้
หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๔
ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
มาตรา ๓๕
การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
แต่ถ้าหากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ
มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ
ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป
ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา ๓๘
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๙
คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
มาตรา ๔๐ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา
๓๙ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑
คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ ทั้งนี้
จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้
และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ
อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี
คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา
๓๘ และมาตรา ๓๙
ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
มาตรา ๔๓ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๔[๑๖] ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด
มาตรา ๔๕[๑๗] ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา ๔๖[๑๘] ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นด้วย
มาตรา ๔๗[๑๙] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ
และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๔๘
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๔๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(๒)
สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(๓)
แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด
ๆ
(๔)
บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(๕)
วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(๖)
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๗)
อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๕๐
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้
เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องไม่กระทำการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินหรือตามนโยบายของรัฐบาล
(๒)
รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่กรุงเทพมหานคร
หรือมีส่วนได้เสียในสัญญาหรือกิจการที่กระทำหรือจะกระทำกับหรือให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
โดยมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นการต่างตอบแทนหรือเอื้อประโยชน์ส่วนตนระหว่างกัน
หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานครอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
เว้นแต่ในส่วนที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนจำกัดอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง[๒๐]
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์
หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน
เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร
หรือสภากรุงเทพมหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น
หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
ให้นำความใน (๒) และ (๓) มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครด้วยโดยอนุโลม[๒๑]
มาตรา ๕๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑)
ถึงคราวออกตามวาระ
(๒)
ตาย
(๓)
ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๔)[๒๒] ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๔๖
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
(๖)
ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า
ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือสวัสดิภาพของประชาชน
(๙)[๒๓]
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม
(๘) สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๓[๒๔] เมื่อมีข้อสงสัยว่าความเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าความเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ใดสิ้นสุดลงตามมาตรา
๕๒ (๔) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
แล้วแต่กรณี
แม้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด
เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศคำวินิจฉัยให้ทราบทั่วกัน
ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม
โดยในคำวินิจฉัยนั้นให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีเหตุตามมาตรา
๕๒ (๔) หรือ (๕) แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีการประกาศคำวินิจฉัย
ถ้าในขณะที่ประกาศคำวินิจฉัยดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน
ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย
และในกรณีที่เป็นผลให้ถูกห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือใช้สิทธิเลือกตั้ง
ให้ถือว่าวันที่ประกาศคำวินิจฉัยเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามดังกล่าว ทั้งนี้
คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๕๒ (๑) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๕
ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้
ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖
ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๗
ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๔๙ (๓)
ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
มาตรา ๕๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา
เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควร
และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
แล้วแต่กรณี พ้นจากตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
มาตรา ๕๙ ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘
และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๑
ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๐ ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔)
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๕)
สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
(๖)
สำนักงานเขต
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก
หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน ตามวรรคหนึ่ง
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
มาตรา ๖๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๕
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๖ สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก
และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
มาตรา ๖๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖
ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด
และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ ๒
เขตและสภาเขต
มาตรา ๖๘
สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๒)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
(๓)
อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่เป็นการสมควร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้
และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้
แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๑ ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา
๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์
และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๒ อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
มาตรา ๗๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา
๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
มาตรา ๗๔
ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่ง
และรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก
ประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
มาตรา ๗๕
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๗๗ ให้ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗๘
ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
มาตรา ๗๙ ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต
และสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต
ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(๓)
สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(๔)
ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต
เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ
ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๕)
ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
(๖)
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
(๗)
หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม
ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม
(๒)
มาตรา ๘๐
ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ (๑) และ (๒)
โดยขอลาออกต่อสภาเขต มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับแก่สภาเขต
สมาชิกสภาเขต รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
หมวด ๔
การรักษาราชการแทน
และปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๘๑ อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา
๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ
หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน
ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น
ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๔ ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๘๕ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๖ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๗
ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๘
ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด ๕
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
(๓)
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๕)
การผังเมือง
(๖)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(๗)[๒๕] การจัดการจราจรและการวิศวกรรมจราจร
(๗/๑)[๒๖]
การส่งเสริมและสนับสนุนสถานีตำรวจ และหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ
(๗)
(๘)
การขนส่ง
(๙)
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
(๑๐)
การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๑๑)
การควบคุมอาคาร
(๑๒)
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔)
การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๑๔
ทวิ)[๒๗]
บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๑๕)
การสาธารณูปโภค
(๑๖)
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๑๗)
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๘)
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๑๙)
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๐)
การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ
และสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๑)[๒๘] การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติ
รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
(๒๒)
การสาธารณูปการ
(๒๓)
การสังคมสงเคราะห์
(๒๔)
การส่งเสริมการกีฬา
(๒๕)
การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(๒๖)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๙๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น
และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี
เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ
หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๑ ในการปฏิบัติหน้าที่
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๒ กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๓
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้ เมื่อ
(๑)
การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร
และ
(๒)
ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ
(๓)
ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙๔
กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
เมื่อ
(๑)
บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และ
(๒)
กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้
ในกรณีที่มีกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน
และ
(๓)
สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
และ
(๔)
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๕
ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของกรุงเทพมหานคร
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี
การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน
เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
มาตรา ๙๖ ในกรณีจำเป็น
กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
หมวด ๖
ข้อบัญญัติ
มาตรา ๙๗
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๓)
การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๔)
การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง
และการพัสดุ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๘
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
ในกรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด[๒๙]
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๙
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
หมายความถึงร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
(๑)
การตั้งขึ้นหรือยกเลิก หรือลด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
หรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒)
การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร
หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร
(๓)
การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
(๔)
การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
การจ้างและการพัสดุ
(๕)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖)
การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐๐
เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลงมติเห็นชอบแล้วให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๑
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร
นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๐๐
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
มาตรา ๑๐๒ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป
ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
มาตรา ๑๐๓
งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ
ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่
ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี
ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙
เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน
ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม
ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป
และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๖
ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๗
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ
หรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครให้เป็นอันตกไป
มาตรา ๑๐๘ ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร
หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ
และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป
ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ
ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป
ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้
ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไประหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๗
การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๙ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์
และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๐ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์
หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๑
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน
และก๊าซปิโตรเลียม
ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์
ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
มาตรา ๑๑๒[๓๐]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษีและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ดังต่อไปนี้
(๑)
ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๒ ทวิ[๓๑]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้กรุงเทพมหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
(๒)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น
ให้กรุงเทพมหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๑๑๓ กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น
และบรรดาค่าธรรมเนียม
ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้นให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๔ กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด
ๆ จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานคร
จัดให้มีขึ้นได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๑๕
ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น
ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจสั่งยึด และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้
โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว
ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
มาตรา ๑๑๖ กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม
ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม
เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้
ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง
กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๗ กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑)
รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
(๒)
รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
(๓)
รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(๔)
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
(๕)
ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
(๖)
ค่าบริการตามมาตรา ๙๒
(๗)
รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๘)
เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๙)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล
(๑๐)
เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑)
เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๑๒)
เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๓)
เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
(๑๔)
รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๕)
รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๖)
รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๘ กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินเดือน
(๒)
ค่าจ้างประจำ
(๓)
ค่าจ้างชั่วคราว
(๔)
ค่าตอบแทน
(๕)
ค่าใช้สอย
(๖)
ค่าสาธารณูปโภค
(๗)
ค่าวัสดุ
(๘)
ค่าครุภัณฑ์
(๙)
ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
(๑๐)
เงินอุดหนุน
(๑๑)
รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้
(๑๒)
รายจ่ายตามข้อผูกพัน
มาตรา ๑๑๙
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
การจ่ายเงิน ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครตามวรรคหนึ่ง
หรือการนำเงินของกิจการที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าของหรือเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในกิจการนั้น
ไปใช้จ่ายเพื่อการฝึกอบรมหรือดูงานในต่างประเทศของข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานคร
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภาเขต จะกระทำมิได้[๓๒]
มาตรา ๑๒๐
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี
การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง
เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๘
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๑
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ถ้ากระทรวง ทบวง
กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๒
การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร
ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๒๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใด ๆ ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย
มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ
หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๕
ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๖
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา ๖๐
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๗
ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๘
ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น
จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
การประกาศตามวรรคสอง
และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา
๕๙ ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๒๐ มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๐
นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๒๗
ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง
และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๑
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา
๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๒ ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว
ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้น ในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง
ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๓๓]
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา
๕
ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครยังมิได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานคร
เพิ่มขึ้นอีกเท่ากับอัตราภาษีตามมาตรา ๑๑๒ ทวิ
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรตามมาตรานี้
ให้ถือว่ากรุงเทพมหานครได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ยกเลิกภาษีการค้าและได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทน
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๓๔]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสม
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ และให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓๕]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ในส่วนของการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่เกี่ยวกับการมีสัญชาติไทยและการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้เพิ่มสิทธิของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถลงคะแนนเสียงให้สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติ
และให้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐[๓๖]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย แต่บทบัญญัติมาตรา ๑๖ (๖) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ เป็นบทบัญญัติที่ถือปฏิบัติต่อบุคคล
เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย
สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒[๓๗]
มาตรา
๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๒๒
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๔/๒๕๕๙
เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปจนถึงวันก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใด
ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้นั้นต้องลาออกจากตำแหน่งภายในสามวันนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง
ผู้ซึ่งมิได้ลาออกภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง
และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นอันยกเลิก
มาตรา
๒๓ บทบัญญัติมาตรา ๔๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มิให้ใช้บังคับกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๒๔ ให้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ในระหว่างที่กฎหมายตามวรรคหนึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ
มิให้นำมาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ มาตรา ๗๔ มาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ มาตรา ๗๘ มาตรา
๗๙ และ มาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาใช้บังคับ
มาตรา
๒๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการกระทำอันเป็นการต้องห้ามของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่
มีความซื่อสัตย์สุจริตสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีประสิทธิภาพ
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วิวรรธน์/เพิ่มเติม
๒๒ เมษายน ๒๕๖๒
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘
[๒] มาตรา ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓] มาตรา
๑๑ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๔] มาตรา ๑๒
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๕] มาตรา
๑๓ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๖] มาตรา
๑๔ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๗] มาตรา
๑๕ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๘] มาตรา ๑๖ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๙] มาตรา
๑๗ วรรคสอง ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๐] มาตรา ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๑๑] มาตรา
๒๓ (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๒] มาตรา
๒๓ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๓] มาตรา ๒๓ (๖) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๑๔] มาตรา
๒๓ (๙) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๒
[๑๕] มาตรา ๒๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๑๖] มาตรา ๔๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๑๗] มาตรา ๔๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๑๘] มาตรา ๔๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๑๙] มาตรา ๔๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๒๐] มาตรา
๕๑ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๒๑] มาตรา
๕๑ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๖๒
[๒๒] มาตรา
๕๒ วรรคหนึ่ง (๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๒๓] มาตรา
๕๒ (๙) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๒
[๒๔] มาตรา ๕๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๖๒
[๒๕] มาตรา ๘๙
(๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๒๖] มาตรา ๘๙ (๗/๑) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๒๗] มาตรา ๘๙ (๑๔ ทวิ)
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๒๘] มาตรา
๘๙ (๒๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๖) พ.ศ. ๒๕๖๒
[๒๙] มาตรา
๙๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๓๐]
มาตรา ๑๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๓๑] มาตรา ๑๑๒ ทวิ
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๓๒] มาตรา
๑๑๙ วรรคสอง เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๖๒
[๓๓]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๓๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๓๙
[๓๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๒๒/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๒
[๓๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๘ ก/หน้า ๑๖/๑ สิงหาคม ๒๕๕๐
[๓๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๐ ก/หน้า ๑๔๒/๑๖ เมษายน ๒๕๖๒ |
831826 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (ฉบับ Update ณ วันที่ 01/08/2550) | พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่ ๔๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้
แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖
ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๗
ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การตั้ง
ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘
บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร
อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง
อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑)
สภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๑
สภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐ สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑
มาตรา ๑๑
การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
การกำหนดเขตเลือกตั้ง
ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำเอาพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง
ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง
จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒[๒] บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๑)[๓]
มีสัญชาติไทย
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๒)
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๓
บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คือ
(๑)
วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒)[๔]
(ยกเลิก)
(๓)
ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๔)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๕)[๕]
อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา ๑๔
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)[๖]
มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กรุงเทพมหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
มาตรา ๑๕[๗] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๖[๘] บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
(๑)
ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๓)
เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๓) หรือ (๕)
(๔)
ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕)
เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป
โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖)[๙]
(ยกเลิก)
(๗)
เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘)
เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๙)
เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๑๐)
เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(๑๑)
เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออก
หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่
หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๑๒)
เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๓)
เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘)
ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๔)
เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
มาตรา ๑๗ อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๘
ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานคร
ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้
แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก
ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
มาตรา ๑๙
ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙
และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๘ วรรคสาม
ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา ๒๒
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัท
ซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ตาย
(๓)
ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖
(๔)
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
(๖)
ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออกเพราะเห็นว่า
ได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
(๙)[๑๐]
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีตาม
(๘) ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอ
หรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน
ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้
ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
มาตรา ๒๖
ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓)
เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่
และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดโดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน
แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๗
ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
มาตรา ๒๘
ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย
การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบ และความเรียบร้อย
และกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย
แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย
จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง
ๆ ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวันจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว
เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม
โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวันจะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๒
การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๓๓ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้
หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๔
ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
มาตรา ๓๕
การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
แต่ถ้าหากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ
มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น
ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป
ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา ๓๘
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๙
คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
มาตรา ๔๐ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา
๓๙
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑
คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ ทั้งนี้
จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้ และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ
อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี
คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา
๓๘ และมาตรา ๓๙
ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
มาตรา ๔๓ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น
ได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๔
ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น
โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๔๕
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๔๖
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๔๗
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น
ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน
และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่
มาตรา ๔๘
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๔๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(๒)
สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(๓)
แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด
ๆ
(๔)
บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(๕)
วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(๖)
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๗)
อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๕๐
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้
เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๑)
ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(๒)
ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานครหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์
หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน
เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร
หรือสภากรุงเทพมหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น
หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา ๕๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ถึงคราวออกตามวาระ
(๒)
ตาย
(๓)
ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๖ (๔)
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
(๖)
ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า
ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือสวัสดิภาพของประชาชน
(๙)[๑๑]
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม
(๘) สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๓ เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล
ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา
ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล
หรือศาลพิพากษาให้เป็นไปตามคำสั่ง ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง
วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งให้หมายถึงวันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับคำสั่งดังกล่าว
มาตรา ๕๔
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๑)
คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๕
ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้
ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖
ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๗ ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๔๙ (๓)
ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
มาตรา ๕๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา
เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา
จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
พิจารณาเห็นสมควร
และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี
พ้นจากตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๕๑ หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
มาตรา ๕๙ ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘
และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๑
ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๐ ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔)
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๕)
สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
(๖)
สำนักงานเขต
การตั้ง
ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน ตามวรรคหนึ่ง
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
มาตรา ๖๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๕
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๖ สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก
และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
มาตรา ๖๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖
ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ ๒
เขตและสภาเขต
มาตรา ๖๘ สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต
และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๒)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
(๓)
อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่เป็นการสมควร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้
และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้
แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๑ ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา
๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์
และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๒
อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
มาตรา ๗๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง
และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา
๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
มาตรา ๗๔
ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่ง และรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก
ประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
มาตรา ๗๕
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๗๗ ให้ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗๘
ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
มาตรา ๗๙ ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต
และสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต
ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(๓)
สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(๔)
ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต
เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ
ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๕)
ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
(๖) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด
ๆ
อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
(๗)
หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม
ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (๒)
มาตรา ๘๐ ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔
มาตรา ๒๖ (๑) และ (๒) โดยขอลาออกต่อสภาเขต มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๒
วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับแก่สภาเขต สมาชิกสภาเขต
รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
หมวด ๔
การรักษาราชการแทน
และปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๘๑
อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา
๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก
หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๔ ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๘๕ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๖
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๗
ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๘
ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด ๕
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
(๓)
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๕)
การผังเมือง
(๖)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(๗)
การวิศวกรรมจราจร
(๘)
การขนส่ง
(๙)
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
(๑๐)
การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๑๑)
การควบคุมอาคาร
(๑๒)
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔)
การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๑๔
ทวิ)[๑๒]
บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๑๕)
การสาธารณูปโภค
(๑๖)
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๑๗)
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๘)
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๑๙)
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๐)
การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ
และสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๑)
การจัดการศึกษา
(๒๒)
การสาธารณูปการ
(๒๓)
การสังคมสงเคราะห์
(๒๔)
การส่งเสริมการกีฬา
(๒๕)
การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(๒๖)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒๗) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายอำเภอ เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๙๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น
และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี
เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ
หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๑ ในการปฏิบัติหน้าที่
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๒ กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๓ กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้
เมื่อ
(๑)
การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร
และ
(๒)
ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ
(๓)
ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙๔
กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
เมื่อ
(๑)
บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และ
(๒)
กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้
ในกรณีที่มีกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน
และ
(๓)
สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
และ
(๔)
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๕
ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของกรุงเทพมหานคร
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี
การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
มาตรา ๙๖ ในกรณีจำเป็น
กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ
ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
หมวด ๖
ข้อบัญญัติ
มาตรา ๙๗
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๓)
การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๔)
การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง
และการพัสดุ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๘
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
ในกรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด[๑๓]
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๙
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
หมายความถึงร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
(๑)
การตั้งขึ้นหรือยกเลิก หรือลด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
หรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒)
การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร
หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร
(๓)
การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
(๔)
การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
การจ้างและการพัสดุ
(๕)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖)
การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐๐ เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลงมติเห็นชอบแล้วให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๑
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร
นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๐๐
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
มาตรา ๑๐๒
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป
ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
มาตรา ๑๐๓ งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ
ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่
ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี
ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙
เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน
ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม
ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป
และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๖
ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๗
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ
หรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครให้เป็นอันตกไป
มาตรา ๑๐๘ ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร
หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ
และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป
ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ
ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป
ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไประหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๗
การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๙ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์
และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๐ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์
หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๑
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียม
ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์
ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
มาตรา ๑๑๒[๑๔] กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษีและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ดังต่อไปนี้
(๑)
ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๒ ทวิ[๑๕] กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้กรุงเทพมหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
(๒)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น
ให้กรุงเทพมหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๑๑๓
กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น
และบรรดาค่าธรรมเนียม
ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้นให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๔
กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานคร
จัดให้มีขึ้นได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๑๕
ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก
หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต
ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น
ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจสั่งยึด
และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้
โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว
ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
มาตรา ๑๑๖ กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม
ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม
เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้
ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง
กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๗ กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑)
รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
(๒)
รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
(๓)
รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(๔)
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
(๕)
ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
(๖)
ค่าบริการตามมาตรา ๙๒
(๗)
รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๘)
เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๙)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล
(๑๐)
เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑)
เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๑๒)
เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๓)
เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
(๑๔)
รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๕)
รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๖)
รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๘ กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินเดือน
(๒)
ค่าจ้างประจำ
(๓)
ค่าจ้างชั่วคราว
(๔)
ค่าตอบแทน
(๕)
ค่าใช้สอย
(๖)
ค่าสาธารณูปโภค
(๗)
ค่าวัสดุ
(๘)
ค่าครุภัณฑ์
(๙)
ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
(๑๐)
เงินอุดหนุน
(๑๑)
รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้
(๑๒)
รายจ่ายตามข้อผูกพัน
มาตรา ๑๑๙
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
การจ่ายเงิน ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒๐
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี
การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง
เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๘
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๑
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๒
การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร
ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๒๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใด ๆ ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย
มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ
หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๕
ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๖
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา ๖๐
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๗
ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๘
ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น
จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
การประกาศตามวรรคสอง
และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๙
ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๕๙
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๒๐ มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๐ นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๒๗
ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง
และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๑
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา
๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๒ ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้น
ในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง
ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๖]
มาตรา
๕
ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครยังมิได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานคร
เพิ่มขึ้นอีกเท่ากับอัตราภาษีตามมาตรา ๑๑๒ ทวิ
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรตามมาตรานี้
ให้ถือว่ากรุงเทพมหานครได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖
มาตรา
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ยกเลิกภาษีการค้าและได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทน
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๗]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสม
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ และให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒[๑๘]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ในส่วนของการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่เกี่ยวกับการมีสัญชาติไทยและการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้เพิ่มสิทธิของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถลงคะแนนเสียงให้สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติ
และให้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๙]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย แต่บทบัญญัติมาตรา ๑๖ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นบทบัญญัติที่ถือปฏิบัติต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย
สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๕๓
นันทพล/ปรับปรุง
๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๕๖
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘
[๒] มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา
๑๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๔] มาตรา ๑๓ (๒)
ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๕] มาตรา
๑๓ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๖] มาตรา
๑๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๗] มาตรา
๑๕ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๘] มาตรา ๑๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๓๙
[๙] มาตรา ๑๖ (๖) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐] มาตรา
๒๓ (๙) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๒
[๑๑] มาตรา
๕๒ (๙) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๔๒
[๑๒] มาตรา ๘๙ (๑๔ ทวิ)
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๑๓] มาตรา
๙๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๑๔]
มาตรา ๑๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๑๕] มาตรา ๑๑๒ ทวิ
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๓๙
[๑๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๒๒/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๒
[๑๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๘ ก/หน้า ๑๖/๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
560759 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
| พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิก (๖) ของมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๙
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย แต่บทบัญญัติมาตรา ๑๖ (๖)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นบทบัญญัติที่ถือปฏิบัติต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย
สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐
นันทพล/ปรับปรุง
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๓๘ ก/หน้า ๑๖/๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
304749 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๒ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๑)
มีสัญชาติไทย
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
(๒)
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๔
ให้ยกเลิก (๒) ของมาตรา ๑๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
(๑)
ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๓)
เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๓) หรือ (๕)
(๔)
ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕)
เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป
โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖)
เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้
(๗)
เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘)
เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๙)
เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๑๐)
เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(๑๑)
เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่
หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๑๒)
เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๓)
เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘)
ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๔)
เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสม
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ และให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
นันทพล/ปรับปรุง
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๓๙ |
304748 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๔
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔
เป็นปีที่ ๔๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๑๒ กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษีและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ดังต่อไปนี้
(๑)
ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีอากรและธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๔
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๑๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๑๑๒ ทวิ กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้กรุงเทพมหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
(๒)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น
ให้กรุงเทพมหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๕
ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครยังมิได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นอีกเท่ากับอัตราภาษีตามมาตรา
๑๑๒ ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรตามมาตรานี้
ให้ถือว่ากรุงเทพมหานครได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
ได้ยกเลิกภาษีการค้าและได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทน
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
นันทพล/ปรับปรุง
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ |
310592 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) มีสัญชาติไทย
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๑๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๕) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๑๔
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘
มาตรา ๗
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๙) ของมาตรา ๒๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
(๙)
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๙) ของมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
(๙)
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา ๙
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๔ ทวิ) ของมาตรา ๘๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
(๑๔ ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
มาตรา ๑๐
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๙๘
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๙๘
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
ในกรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ในส่วนของการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่เกี่ยวกับการมีสัญชาติไทยและการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้เพิ่มสิทธิของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถลงคะแนนเสียงให้สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติ
และให้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/ผู้จัดทำ
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
นันทพล/ปรับปรุง
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๒๒/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๒ |
300135 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (Update ณ วันที่ 21/11/2534) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่
๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้
แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖
ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๗
ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การตั้ง ยุบ
หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘
บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร
อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง
อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑) สภากรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๑
สภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐
สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา
๑๑
มาตรา ๑๑
การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
การกำหนดเขตเลือกตั้ง
ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง
ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง
จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) สัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑
มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๓
บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คือ
(๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒)
หูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้
(๓) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๔)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๕)
อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำพิพากษา
มาตรา ๑๔
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) สัญชาติไทยโดยการเกิด
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕ ด้วย
(๒)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กรุงเทพมหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
มาตรา ๑๕
ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมาใช้บังคับแก่คุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๓)
เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) หรือ
(๕)
(๔)
ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
(๕)
เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป
และได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๗)
เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘)
เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๙) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของทางราชการ
ไม่ว่าจะเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น
(๑๐) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก
ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่ นับแต่วันที่ถูกไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้าง แล้วแต่กรณี ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
(๑๑)
เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
(๑๒)
เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘)
ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
(๑๓)
เป็นผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
เพราะปฏิบัติการอันฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
ก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่สภาท้องถิ่น
กระทำการอันอาจเสื่อมเสียแก่ประโยชน์ของทางราชการหรือของประเทศ
ละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่
หรือมีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
หรือแก่ท้องถิ่น หรือแก่ราชการ
และนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
มาตรา ๑๗
อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปี
นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร
ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้
แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก
ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน
หรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙ และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๘ วรรคสาม
ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา ๒๒
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๒) ตาย
(๓)
ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔
หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖ (๔)
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
(๘) สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
ในกรณีตาม (๘)
ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอหรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน
ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๕๓
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
มาตรา ๒๖
ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(๒) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓)
เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่
และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน
แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๗
ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
มาตรา ๒๘
ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร วิธีการประชุม
การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ
การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบ
และความเรียบร้อยของกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย
แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง ๆ
ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว
เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๒
การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๓๓
การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้
หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๔ ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
มาตรา ๓๕
การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
แต่ถ้าหากว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ
มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ
ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป
ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา ๓๘
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
มาตรา ๔๐ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา
๓๙
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑ คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ทั้งนี้ จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้
และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี
คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙
ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
มาตรา ๔๓ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๔
ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น
โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๔๕
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๔๖ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๔๗
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น
ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน
และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่
มาตรา ๔๘
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๔๙
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(๒) สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(๓)
แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด
ๆ
(๔) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(๕)
วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(๖) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๗) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๕๐
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้
เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๑)
ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(๒) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ
เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานครหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์
หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน
เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด
เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร หรือสภากรุงเทพมหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น
หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา ๕๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๖ (๔)
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามบทที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๕๑
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า
ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือสวัสดิภาพของประชาชน
ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม (๘) สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๓ เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล
ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา
ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล
หรือศาลพิพากษาให้เป็นไปตามคำสั่ง
ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง
วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งให้หมายถึงวันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับคำสั่งดังกล่าว
มาตรา ๕๔
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๑) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๕
ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้
ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖ ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๗
ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๔๙ (๓)
ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
มาตรา ๕๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา
เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควร
และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี
พ้นจากตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
มาตรา ๕๙ ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘ และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
หมวด
๓
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๑
ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๐
ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๕) สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
(๖) สำนักงานเขต
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก
หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๒ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
มาตรา ๖๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๕
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๖ สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก
และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
มาตรา ๖๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖ ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด
และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ
ส่วนที่
๒
เขตและสภาเขต
มาตรา ๖๘
สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต
และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๒)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
(๓) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่เป็นการสมควร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้
และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้ แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๑ ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๒
อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
มาตรา ๗๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง
และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา
๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
มาตรา ๗๔ ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่งและรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก
ประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
มาตรา ๗๕ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๗๗ ให้ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗๘
ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
มาตรา ๗๙
ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร
(๒) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(๓)
สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(๔) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต
เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ
ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๕) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
(๖)
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
(๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม
ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (๒)
มาตรา ๘๐
ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ (๑)และ (๒) โดยขอลาออกต่อสภาเขต
มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕
มาใช้บังคับแก่สภาเขต สมาชิกสภาเขต รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
หมวด
๔
การรักษาราชการแทน
และปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๘๑
อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา
๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก
หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน
ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๔ ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๘๕ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๖
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๗
ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๘
ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด
๕
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทั้งนี้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
(๓) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๕) การผังเมือง
(๖) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ
และทางระบายน้ำ
(๗) การวิศวกรรมจราจร
(๘) การขนส่ง
(๙) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ
ท่าข้ามและที่จอดรถ
(๑๐) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๑๑) การควบคุมอาคาร
(๑๒)
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๑๕) การสาธารณูปโภค
(๑๖) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๑๗) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๘) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๑๙) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๐) การควบคุมความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๑) การจัดการศึกษา
(๒๒) การสาธารณูปการ
(๒๓) การสังคมสงเคราะห์
(๒๔) การส่งเสริมการกีฬา
(๒๕) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(๒๖) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร
หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๙๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก ผู้อำนวยการเขต
ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น
และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี
เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ
หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๑ ในการปฏิบัติหน้าที่
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๒ กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๓
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้ เมื่อ
(๑)
การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร
และ
(๒) ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ
(๓) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙๔
กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
เมื่อ
(๑)
บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และ
(๒)
กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้
ในกรณีที่กรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน
และ
(๓)
สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
และ
(๔)
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๕
ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของกรุงเทพมหานคร
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่ออำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน
เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
มาตรา ๙๖ ในกรณีจำเป็น
กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ
ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
หมวด
๖
ข้อบัญญัติ
มาตรา ๙๗ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๓) การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน
การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๘
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ถ้าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๙
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
หมายความถึงร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
(๑) การตั้งขึ้น หรือยกเลิก หรือลด
หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒) การจัดสรร รับ รักษา
หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร
(๓) การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน
การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้างและการพัสดุ
(๕) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖) การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐๐
เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลงมติเห็นชอบแล้วให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๑
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร
นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๐๐
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
มาตรา ๑๐๒ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป
ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
มาตรา ๑๐๓
งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ
ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่
ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี
ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙
เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน
ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม
ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป
และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๖
ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๗
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ
หรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครให้เป็นอันตกไป
มาตรา ๑๐๘ ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร
หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ
และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป
ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ
ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป
ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด
๗
การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๙ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ภาษาป้าย อากรการฆ่าสัตว์
และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๐ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์
หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๑
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน
และก๊าซปิโตรเลียม
ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์
ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
มาตรา ๑๑๒[๒]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษีและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ดังต่อไปนี้
(๑) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีอากรและธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๒ ทวิ[๓] กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้กรุงเทพมหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
(๒) ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น
ให้กรุงเทพมหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๑๑๓ กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น
และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้น
ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๔ กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด
ๆ จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดให้มีขึ้นได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๑๕
ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น
ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจสั่งยึด
และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้
โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึดและขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว
ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
มาตรา ๑๑๖ กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม
ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม
เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้
ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง
กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๗ กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
(๑) รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
(๒) รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
(๓) รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(๔)
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
(๕) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต
และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
(๖) ค่าบริการตามมาตรา ๙๒
(๗) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๘) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ
หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๙) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล
(๑๐) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑) เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ
หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๑๒) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๓) เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
(๑๔) รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๕)
รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๖) รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๘
กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
(๑) เงินเดือน
(๒) ค่าจ้างประจำ
(๓) ค่าจ้างชั่วคราว
(๔) ค่าตอบแทน
(๕) ค่าใช้สอย
(๖) ค่าสาธารณูปโภค
(๗) ค่าวัสดุ
(๘) ค่าครุภัณฑ์
(๙) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
(๑๐) เงินอุดหนุน
(๑๑) รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้
(๑๒) รายจ่ายตามข้อผูกพัน
มาตรา ๑๑๙
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมการจ่ายเงิน
ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒๐
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี
การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง
เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร
หมวด
๘
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๑
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๒
การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร
ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๒๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใด ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ
หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๕
ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๖
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา ๖๐ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๗
ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๘
ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น
จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
การประกาศตามวรรคสอง
และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๙
ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๕๙
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๐ นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามาตรา
๑๒๗
ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง
และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๑
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา
๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๒ ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้นในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง
ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๔]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครยังมิได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานคร
เพิ่มขึ้นอีกเท่ากับอัตราภาษีตามมาตรา ๑๑๒ ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรตามมาตรานี้
ให้ถือว่ากรุงเทพมหานครได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
ได้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทน
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๑๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘
[๒]
มาตรา ๑๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๓]
มาตรา ๑๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๔
[๔]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘/๓๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ |
310708 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (Update ณ วันที่ 09/04/2539) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่
๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้
แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖
ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๗
ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การตั้ง ยุบ
หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘
บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร
อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง
อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑) สภากรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๑
สภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐
สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา
๑๑
มาตรา ๑๑
การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
การกำหนดเขตเลือกตั้ง
ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง
ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง
จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒[๒] บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๑) มีสัญชาติไทย
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑
มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๓
บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คือ
(๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒)[๓]
(ยกเลิก)
(๓) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๔)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๕)
อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำพิพากษา
มาตรา ๑๔
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) สัญชาติไทยโดยการเกิด
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๕ ด้วย
(๒)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร
และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กรุงเทพมหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
มาตรา ๑๕ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมาใช้บังคับแก่คุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
มาตรา ๑๖[๔] บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๓)
เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๓) หรือ (๕)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป
โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖) เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้
(๗) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘)
เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๙) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๑๐) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(๑๑)
เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก
ให้ออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่
หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๑๒) เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๓)
เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘)
ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๔)
เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
มาตรา ๑๗
อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปี
นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๘
ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร
ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้
แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก
ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
มาตรา ๑๙
ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน
หรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙ และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๘ วรรคสาม ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา ๒๒
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑)
ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๒) ตาย
(๓)
ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔
หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖ (๔)
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
(๘) สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
ในกรณีตาม (๘)
ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอหรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน
ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๕๓
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
มาตรา ๒๖
ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(๒) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓)
เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่
และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน
แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๗
ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
มาตรา ๒๘
ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย
การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบ
และความเรียบร้อยของกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย
แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย
จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง ๆ
ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว
เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม
โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๒ การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๓๓
การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้
หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๔
ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
มาตรา ๓๕ การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
แต่ถ้าหากว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ
มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด
ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ
ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป
ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา ๓๘
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๙
คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
มาตรา ๔๐ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา
๓๙ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑
คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ทั้งนี้ จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้
และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ
อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี
คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙
ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
มาตรา ๔๓ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๔
ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น
โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๔๕
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๔๖
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๔๗
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น
ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน
และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่
มาตรา ๔๘
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๔๙
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(๒) สั่ง อนุญาต
อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(๓)
แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด
ๆ
(๔) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(๕)
วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(๖) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๗)
อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๕๐ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๑)
ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(๒) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ
เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานครหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์
หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน
เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด
เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร
หรือสภากรุงเทพมหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น
หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา ๕๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๖ (๔)
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามบทที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า
ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือสวัสดิภาพของประชาชน
ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม (๘)
สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๓ เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล
ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา
ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล
หรือศาลพิพากษาให้เป็นไปตามคำสั่ง
ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง
วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งให้หมายถึงวันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับคำสั่งดังกล่าว
มาตรา ๕๔
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๑)
คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๕
ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้
ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖
ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๗
ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๔๙ (๓)
ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
มาตรา ๕๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา
เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควร
และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี
พ้นจากตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑ หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
มาตรา ๕๙ ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘
และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
หมวด
๓
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๑
ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๐
ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๕)
สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
(๖) สำนักงานเขต
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
มาตรา ๖๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๕
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๖ สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก
และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
มาตรา ๖๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖
ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด
และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ
ส่วนที่
๒
เขตและสภาเขต
มาตรา ๖๘
สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต
และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๒)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
(๓) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่เป็นการสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้
และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้
แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๑ ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๒
อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน
นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
มาตรา ๗๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง
และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา
๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
มาตรา ๗๔
ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่งและรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก
ประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
มาตรา ๗๕
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๗๗ ให้ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗๘
ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
มาตรา ๗๙
ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร
(๒) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(๓)
สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(๔) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต
เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ
ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๕) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
(๖)
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
(๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม
ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (๒)
มาตรา ๘๐
ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ (๑)และ (๒) โดยขอลาออกต่อสภาเขต
มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕
มาใช้บังคับแก่สภาเขต สมาชิกสภาเขต รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
หมวด
๔
การรักษาราชการแทน
และปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๘๑
อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา
๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก
หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน
ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๔ ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๘๕
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๖
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๗
ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๘
ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด
๕
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทั้งนี้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
(๓) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๕) การผังเมือง
(๖) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ
และทางระบายน้ำ
(๗) การวิศวกรรมจราจร
(๘) การขนส่ง
(๙) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ
ท่าข้ามและที่จอดรถ
(๑๐) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๑๑) การควบคุมอาคาร
(๑๒) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๑๕) การสาธารณูปโภค
(๑๖) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว
และการรักษาพยาบาล
(๑๗) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๘) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๑๙) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๐) การควบคุมความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๑) การจัดการศึกษา
(๒๒) การสาธารณูปการ
(๒๓) การสังคมสงเคราะห์
(๒๔) การส่งเสริมการกีฬา
(๒๕) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(๒๖) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร
หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๙๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น
และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี
เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ
หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๑ ในการปฏิบัติหน้าที่
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๒ กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๓
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้ เมื่อ
(๑)
การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร
และ
(๒) ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ
(๓) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙๔
กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
เมื่อ
(๑) บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และ
(๒)
กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้
ในกรณีที่กรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน
และ
(๓)
สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
และ
(๔)
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๕
ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า
สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของกรุงเทพมหานคร
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี
การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่ออำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน
เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
มาตรา ๙๖ ในกรณีจำเป็น
กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ
ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
หมวด
๖
ข้อบัญญัติ
มาตรา ๙๗
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๓) การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน
การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๘
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๙ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
หมายความถึงร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
(๑) การตั้งขึ้น หรือยกเลิก หรือลด
หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร
หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร
(๓) การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน
การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้างและการพัสดุ
(๕) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖) การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐๐
เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลงมติเห็นชอบแล้วให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๑
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร
นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๐๐
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
มาตรา ๑๐๒
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป
ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
มาตรา ๑๐๓
งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ
ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่
ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี
ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙
เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน
ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม
ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป
และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ในกรณีเช่นว่านี้
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๖ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๗ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ
หรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว
แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครให้เป็นอันตกไป
มาตรา ๑๐๘ ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร
หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ
และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป
ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป
ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด
๗
การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๙ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ภาษาป้าย อากรการฆ่าสัตว์
และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๐ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์
หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๑
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน
และก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์
ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
มาตรา ๑๑๒[๕]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษีและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ดังต่อไปนี้
(๑) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีอากรและธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๒ ทวิ[๖]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้กรุงเทพมหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
(๒)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น
ให้กรุงเทพมหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๑๑๓
กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น
และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้น
ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๔
กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ
จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดให้มีขึ้นได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๑๕
ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น
ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจสั่งยึด
และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้
โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึดและขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว
ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
มาตรา ๑๑๖ กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม
ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม
เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้
ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง
กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๗ กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
(๑) รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
(๒) รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
(๓) รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(๔)
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
(๕) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต
และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
(๖) ค่าบริการตามมาตรา ๙๒
(๗) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๘) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ
หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๙) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล
(๑๐) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑) เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ
หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๑๒) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๓) เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
(๑๔) รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๕)
รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๖)
รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๘
กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
(๑) เงินเดือน
(๒) ค่าจ้างประจำ
(๓) ค่าจ้างชั่วคราว
(๔) ค่าตอบแทน
(๕) ค่าใช้สอย
(๖) ค่าสาธารณูปโภค
(๗) ค่าวัสดุ
(๘) ค่าครุภัณฑ์
(๙) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
(๑๐) เงินอุดหนุน
(๑๑)
รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้
(๑๒) รายจ่ายตามข้อผูกพัน
มาตรา ๑๑๙
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมการจ่ายเงิน
ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒๐
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี
การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง
เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร
หมวด
๘
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๑
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ถ้ากระทรวง ทบวง
กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๒
การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร
ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๒๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใด ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย
มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๕
ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๖ ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา
๖๐ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๗
ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๘
ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น
จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
การประกาศตามวรรคสอง และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๙
ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๕๙
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๐
นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามาตรา
๑๒๗
ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง
และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๑ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา
๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๒ ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว
ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้นในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง
ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น
เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๗]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครยังมิได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานคร
เพิ่มขึ้นอีกเท่ากับอัตราภาษีตามมาตรา ๑๑๒ ทวิ
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรตามมาตรานี้
ให้ถือว่ากรุงเทพมหานครได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
ได้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทน
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๘]
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสม
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ และให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๑๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘
[๒]
มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓]
มาตรา ๑๓ (๒) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๙
[๔]
มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๕]
มาตรา ๑๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๖]
มาตรา ๑๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๔
[๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘/๓๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๘]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๓๙ |
782461 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งและประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกของสภากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครดังกล่าว พ.ศ. 2560 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้ง
และประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ที่มาจากการเลือกของสภากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วย
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครดังกล่าว
พ.ศ. ๒๕๖๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๖๐
เป็นปีที่ ๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกของสภากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้ง
และประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกของสภากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครดังกล่าว
พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา
๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร มาใช้บังคับแก่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่
๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว
ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
ให้นำพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกของสภากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งด้วย
กรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ผู้ใดเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ให้ผู้นั้นได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทนอื่นตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งในอัตรากึ่งหนึ่ง
มาตรา
๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๖/๒๕๕๗ เรื่อง
การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ ๑๐
กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
กำหนดให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแทนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ
และโดยที่มาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
กำหนดให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานครสมควรกำหนดให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้ง
และประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกของสภากรุงเทพมหานครซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครดังกล่าว
ได้เงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนอื่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
วิชพงษ์/ตรวจ
๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนที่ ๗๙ ก/หน้า ๓๐/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
533231 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใด
ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ในอัตราร้อยละสามของเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของผู้นั้นต่อวัน
และประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใด ขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม
ให้งดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น[๓]
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๔[๔] ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓
วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับกับประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตโดยอนุโลม
มาตรา ๕[๕] ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔
ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา
๖[๖] กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
และประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
หรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการ
หรือประธานอนุกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น
ๆ แล้วแต่กรณี และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน[๗]
(หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๘,๕๖๐
๑๕,๐๐๐
๗๓,๕๖๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๓,๖๔๐
๗,๕๐๐
๖๑,๑๔๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๗๐๐
๓,๗๕๐
๔๘,๔๕๐
ประธานสภาเขต
๑๕,๓๑๐
๘๗๐
๑๖,๑๘๐
สมาชิกสภาเขต
๑๑,๕๕๐
๔๔๐
๑๑,๙๙๐
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ[๘]
ประเภท
เงินค่าเบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
กรรมการ
(๑)
ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือ
พนักงานลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือ
ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๓)
บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
อนุกรรมการ
(๑)
ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือ
พนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือ
ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๓)
บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๕๐๐
๘๐๐
๑,๐๐๐
๓๐๐
๔๐๐
๕๐๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓
และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น
ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๙]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๐]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๑]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๑๒]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต
ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ และให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินตอบแทนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต
ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๔]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๕]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งแก้ไขการลดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเมื่อขาดการประชุมเสียใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ตามกฎหมายและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการในกรณีที่มิได้มาปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๓ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๔] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๕] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๖] มาตรา ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.
๒๕๕๐
[๗] บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
[๘] บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๖/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๓๕/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๑๘/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ |
533228 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา
๕[๓] กรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้
ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสอง
มาตรา ๖
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ
และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่ม[๔]
ตำแหน่ง
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินเพิ่ม
(บาท/เดือน)
รวม
(บาท/เดือน)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๗๒,๐๖๐
๖๙,๕๗๐
๔๑,๕๐๐
๒๐,๗๕๐
๑๑๓,๕๖๐
๙๐,๓๒๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๓๙,๗๑๐
๔,๔๐๐
๔๔,๑๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๓๕,๗๕๐
๒,๒๐๐
๓๗,๙๕๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๓,๔๙๐
๓๙,๗๑๐
๓๙,๗๑๐
๓๕,๗๕๐
๘,๘๐๐
๔,๔๐๐
๔,๔๐๐
๒,๒๐๐
๕๒,๒๙๐
๔๔,๑๑๐
๔๔,๑๑๐
๓๗,๙๕๐
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ[๕]
ประเภท
เบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงาน
หรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๕๐๐
(๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการ
ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๘๐๐
(๓) บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๑,๐๐๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๘]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๙]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนด เงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และตามบัญชีหมายเลข ๒ อัตราเงินเพิ่ม
ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๐]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๑]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง
และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง มาตรการปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๒]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๓]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครและกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
ประกอบกับที่ผ่านมาได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทต่าง ๆ
มาแล้วหลายครั้งโดยมิได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑๔]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๕ ไม่เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
ประกอบกับข้าราชการประเภทอื่นได้มีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละห้า ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นมา สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจ
ค่าครองชีพ และอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
เอกฤทธิ์/ผู้ปรับปรุง
๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๓] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่ม
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
[๕] บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๒๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๙ ก/หน้า ๔/๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๒๑/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๐/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๔/๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ |
304750 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 (Update ณ วันที่ 26/10/2542) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่
๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ
ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้
แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖
ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๗
ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การตั้ง ยุบ
หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร
และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘
บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร
อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง
อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด
๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑) สภากรุงเทพมหานคร
(๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๑
สภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐
สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา
๑๑
มาตรา ๑๑
การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
การกำหนดเขตเลือกตั้ง
ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง
ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง
จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒[๒] บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(๑)[๓]
มีสัญชาติไทย
แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑
มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๓
บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คือ
(๑) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒)[๔]
(ยกเลิก)
(๓) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๔)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๕)[๕]
อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มาตรา ๑๔
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑)[๖]
มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร และได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กรุงเทพมหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
มาตรา ๑๕[๗] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๖[๘] บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คือ
(๑) ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๓)
เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๓) หรือ (๕)
(๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(๕) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป
โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖) เป็นบุคคลหูหนวกและเป็นใบ้
(๗) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘) เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๙)
เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๑๐) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(๑๑) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก
ปลดออก ให้ออกหรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่
หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
(๑๒)
เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๓) เป็นผู้ถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา
๒๓ (๘) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบสี่ปี
(๑๔)
เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
มาตรา ๑๗
อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๘
ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร
ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้
แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก
ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
มาตรา ๑๙
ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกัน
หรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘
หรือมาตรา ๑๙ และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๘ วรรคสาม
ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา ๒๒
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๒) ตาย
(๓)
ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔
หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖ (๔)
(๕) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
(๘) สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
(๙)[๙]
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
และถ้าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงพร้อมกันทั้งหมดเพราะเหตุดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นการยุบสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีตาม (๘)
ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอหรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
มาตรา ๒๔
ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา
๒๓ (๔) (๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน
ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้ ให้นำมาตรา ๕๓
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
มาตรา ๒๖
ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(๒) ลาออกจากตำแหน่ง โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓)
เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่
และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
โดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน
แล้วแต่กรณี และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๗
ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
มาตรา ๒๘
ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย
การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบ
และความเรียบร้อยของกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย
แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย
จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง ๆ
ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว
เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม
โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๒
การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๓๓ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้
หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๔
ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
มาตรา ๓๕
การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
แต่ถ้าหากว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ
มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ
อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น ๆ
ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป
ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา ๓๘
สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ
อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๙
คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
มาตรา ๔๐ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา
๓๙
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑
คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ทั้งนี้ จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้
และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ
อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี
คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙
ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
มาตรา ๔๓ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น
ได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๔
ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น
โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๔๕
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๓
มาตรา ๔๖
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๔๗
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น
ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน
และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่
มาตรา ๔๘
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๔๙
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(๒) สั่ง อนุญาต
อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(๓)
แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด
ๆ
(๔) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(๕)
วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(๖) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๗)
อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๕๐
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้
เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๑) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(๒) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ
เป็นพิเศษจากส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานครหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์
หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน
เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร
หรือสภากรุงเทพมหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น
หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา ๕๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ถึงคราวออกตามวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๖ (๔)
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามบทที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า
ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือสวัสดิภาพของประชาชน
(๙)[๑๐]
ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม (๘)
สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๓ เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล
ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา
ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล
หรือศาลพิพากษาให้เป็นไปตามคำสั่ง ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง
วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งให้หมายถึงวันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับคำสั่งดังกล่าว
มาตรา ๕๔
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๒ (๑)
คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๕
ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้
ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖
ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๗
ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๔๙ (๓)
ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
มาตรา ๕๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี พิจารณาเห็นสมควร
และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี
พ้นจากตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
มาตรา ๕๙ ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘
และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
หมวด
๓
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่
๑
ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๐
ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๒) สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๕)
สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
(๖) สำนักงานเขต
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก
หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๒
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
มาตรา ๖๓
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคน
เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๔
สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ
มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๕
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๔
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๖ สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕)
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก
และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
มาตรา ๖๗
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๖
ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด
และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และปลัดกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ
ส่วนที่
๒
เขตและสภาเขต
มาตรา ๖๘ สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต
และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๒)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
(๓) อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่เป็นการสมควร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้
และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้
แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๑ ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย
สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๒
อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
มาตรา ๗๓
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง
และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา
๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่ ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
มาตรา ๗๔
ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่งและรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก
ประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
มาตรา ๗๕
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต
และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๗๗ ให้ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗๘
ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
มาตรา ๗๙
ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร
(๒) จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(๓)
สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(๔) ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต
เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ
ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๕) ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
(๖) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด
ๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
(๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม
ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (๒)
มาตรา ๘๐
ให้นำความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ (๑)และ (๒) โดยขอลาออกต่อสภาเขต
มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕
มาใช้บังคับแก่สภาเขต สมาชิกสภาเขต รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
หมวด
๔
การรักษาราชการแทน
และปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๘๑
อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา
๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒
วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก
หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่ง
เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน
ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๔ ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ
หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด
ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๘๕
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๖
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๗
ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๘
ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด
๕
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทั้งนี้ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒) การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
(๓) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๕) การผังเมือง
(๖) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ
และทางระบายน้ำ
(๗) การวิศวกรรมจราจร
(๘) การขนส่ง
(๙) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ
ท่าข้ามและที่จอดรถ
(๑๐) การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๑๑) การควบคุมอาคาร
(๑๒)
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔) การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๑๔ ทวิ)[๑๑]
บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๑๕) การสาธารณูปโภค
(๑๖) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว
และการรักษาพยาบาล
(๑๗) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๘) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๑๙) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๐) การควบคุมความปลอดภัย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๑) การจัดการศึกษา
(๒๒) การสาธารณูปการ
(๒๓) การสังคมสงเคราะห์
(๒๔) การส่งเสริมการกีฬา
(๒๕) การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(๒๖) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒๗) หน้าที่อื่น ๆ
ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศบาลนคร
หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๙๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น
และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ
หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๑ ในการปฏิบัติหน้าที่
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๒ กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๓
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้ เมื่อ
(๑) การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร
และ
(๒) ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ
(๓) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙๔
กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
เมื่อ
(๑)
บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และ
(๒)
กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้
ในกรณีที่กรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน
และ
(๓) สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
และ
(๔)
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๕ ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า สหการ
มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่ออำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน
เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
มาตรา ๙๖ ในกรณีจำเป็น
กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ
ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
หมวด
๖
ข้อบัญญัติ
มาตรา ๙๗
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๓) การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน
การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง และการพัสดุ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๘[๑๒]
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
ในกรณีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๙ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
หมายความถึงร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
(๑) การตั้งขึ้น หรือยกเลิก หรือลด
หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร
หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร
(๓) การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
(๔) การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน
การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้างและการพัสดุ
(๕) การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖) การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐๐
เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลงมติเห็นชอบแล้วให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๑
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว
ให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร
นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๐๐
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
มาตรา ๑๐๒
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป
ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
มาตรา ๑๐๓
งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ
ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่
ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี
ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙
เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน
ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม
ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป
และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ในกรณีเช่นว่านี้
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๖ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๗ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ
หรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว
แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครให้เป็นอันตกไป
มาตรา ๑๐๘ ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร
หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ
และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป
ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป
ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป
แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไปในระหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด
๗
การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๙ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน
ภาษาป้าย อากรการฆ่าสัตว์
และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๐ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์
หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๑
ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน
และก๊าซปิโตรเลียม ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์
ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
มาตรา ๑๑๒[๑๓]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษีและค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท
ดังต่อไปนี้
(๑) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
(๒)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีอากรและธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๒ ทวิ[๑๔]
กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยให้กำหนดเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นจากอัตราที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละศูนย์ให้กรุงเทพมหานครเก็บในอัตราร้อยละศูนย์
(๒)
ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น
ให้กรุงเทพมหานครเก็บหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
มาตรา ๑๑๓
กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น
และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้น
ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๔
กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ
จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานครจัดให้มีขึ้นได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๑๕
ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง
หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น
ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจสั่งยึด
และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้
โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึดและขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว
ถ้ามีเงินเหลือ ให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
มาตรา ๑๑๖ กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม
ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม
เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้
ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง
กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๗ กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
(๑) รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
(๒) รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
(๓) รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(๔)
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
(๕) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต
และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
(๖) ค่าบริการตามมาตรา ๙๒
(๗) รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๘) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ
หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๙) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล
(๑๐) เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑) เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ
หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๑๒) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๓) เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
(๑๔) รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน
หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๕)
รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๖)
รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๘
กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่ายดังต่อไปนี้
(๑) เงินเดือน
(๒) ค่าจ้างประจำ
(๓) ค่าจ้างชั่วคราว
(๔) ค่าตอบแทน
(๕) ค่าใช้สอย
(๖) ค่าสาธารณูปโภค
(๗) ค่าวัสดุ
(๘) ค่าครุภัณฑ์
(๙) ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
(๑๐) เงินอุดหนุน
(๑๑)
รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้
(๑๒) รายจ่ายตามข้อผูกพัน
มาตรา ๑๑๙
การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมการจ่ายเงิน
ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒๐
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน การจ่ายเงิน การบัญชี
การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง
เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร
หมวด
๘
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๑
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ถ้ากระทรวง ทบวง
กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรมนั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๒
การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร
ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๒๓
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง
หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใด ๆ
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย
มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ
ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๕
ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๖ ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา
๖๐ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๗
ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๘
ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม
และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น
จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
การประกาศตามวรรคสอง
และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๙
ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๕๙
ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๐
นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามาตรา
๑๒๗ ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง
และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๑ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา
๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๒ ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว
ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้นในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง
ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๕]
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๕
ในระหว่างที่กรุงเทพมหานครยังมิได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
ให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานคร
เพิ่มขึ้นอีกเท่ากับอัตราภาษีตามมาตรา ๑๑๒ ทวิ
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรตามมาตรานี้
ให้ถือว่ากรุงเทพมหานครได้มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๑๖
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ. ๒๕๓๔
ได้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาใช้แทน
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวกับรายได้เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ภาษีดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๖]
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ ประกอบกับมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสม
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕)
พุทธศักราช ๒๕๓๘ และให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒[๑๗]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ในส่วนของการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งที่เกี่ยวกับการมีสัญชาติไทยและการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังได้เพิ่มสิทธิของราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถลงคะแนนเสียงให้สมาชิกสภาท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่นพ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายบัญญัติ
และให้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๑๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘
[๒]
มาตรา ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓]
มาตรา ๑๒ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๔]
มาตรา ๑๓ (๒) ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๓๙
[๕]
มาตรา ๑๓ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๖]
มาตรา ๑๔ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๗]
มาตรา ๑๕ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๒
[๘]
มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๙]
มาตรา ๒๓ (๙) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๒
[๑๐]
มาตรา ๕๒ (๙) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๔๒
[๑๑]
มาตรา ๘๙ (๑๔ ทวิ) เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๑๒]
มาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒
[๑๓]
มาตรา ๑๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๑๔]
มาตรา ๑๑๒ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๔
[๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๒๐๑/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๘/๓๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๙ ก/หน้า ๑/๙ เมษายน ๒๕๓๙
[๑๗]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๒๒/๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๒ |
304747 | พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นปีที่ ๔๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๒) พ.ศ. ๒๕๑๘
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๓) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔)
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงกรุงเทพมหานคร
เขต แขวง จังหวัด อำเภอ ตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น อ้างถึงกรุงเทพมหานคร เขตหรือแขวง ตามพระราชบัญญัตินี้
แล้วแต่กรณี เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖ ให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีระเบียบการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอาณาเขตท้องที่ตามที่กรุงเทพมหานครมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาณาเขตท้องที่กรุงเทพมหานครให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๗ ให้แบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงตามพื้นที่เขตและแขวงที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
การตั้ง
ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตให้กระทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในเขตหนึ่งถ้าเห็นสมควรอาจแบ่งพื้นที่การบริหารออกเป็นแขวงก็ได้
การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงให้ทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘ บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงเขตท้องที่จังหวัดให้หมายถึงกรุงเทพมหานคร อ้างถึงเขตท้องที่อำเภอให้หมายถึงเขต อ้างถึงเขตท้องที่ตำบลให้หมายถึงแขวง
อ้างถึงหัวหน้าเขตให้หมายถึงผู้อำนวยการเขตตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒
การบริหารกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙ การบริหารกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
(๑)
สภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๑
สภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐ สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วย สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา
๑๑
มาตรา ๑๑ การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
การกำหนดเขตเลือกตั้ง
ให้ถือเกณฑ์ราษฎรหนึ่งแสนคนเป็นประมาณโดยพยายามจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนราษฎรใกล้เคียงกันเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ต้องไม่เป็นการนำเอาพื้นที่ของเขตหนึ่งไปรวมกับเขตอื่นหรือนำเอาพื้นที่เพียงบางส่วนของแขวงหนึ่งไปรวมกับแขวงอื่น
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีจำนวนราษฎรไม่พอที่จะจัดให้เป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง ก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นหนึ่งคนและให้ถือเป็นเขตเลือกตั้งหนึ่ง
การกำหนดเขตเลือกตั้งให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย
หลักเกณฑ์และวิธีการของการกำหนดเขตเลือกตั้ง จำนวนแตกต่างของราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง
และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สัญชาติไทย
(๒)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง และ
(๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๓ บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คือ
(๑)
วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๒)
หูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้
(๓)
ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(๔)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(๕)
อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำพิพากษา
มาตรา ๑๔ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สัญชาติไทยโดยการเกิด แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๕ ด้วย
(๒)
อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง และ
(๓)
มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกันจนถึงวันสมัครไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครและได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หรือตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กรุงเทพมหานครในปีที่สมัครหรือปีก่อนที่สมัครหนึ่งปี
มาตรา ๑๕ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในส่วนที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งมาใช้บังคับแก่คุณสมบัติของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ บุคคลผู้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
คือ
(๑)
ติดยาเสพติดให้โทษ
(๒)
เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
(๓)
เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕)
(๔) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
(๕)
เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง
เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(๖)
เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น
หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๗)
เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๘)
เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๙)
เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของทางราชการ ไม่ว่าจะเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
หรือราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น
(๑๐) เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจไล่ออก ปลดออก ให้ออก
หรือเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่
นับแต่วันที่ถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้าง แล้วแต่กรณี ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
(๑๑) เป็นผู้ถูกถอดถอนให้ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
(๑๒)
เป็นผู้เคยถูกให้ออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา ๒๓ (๘) ถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
(๑๓) เป็นผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ
สมาชิกสภาท้องถิ่น
คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เพราะปฏิบัติการอันฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่สภาท้องถิ่น
กระทำการอันอาจเสื่อมเสียแก่ประโยชน์ของทางราชการหรือของประเทศ
ละเลยไม่ปฏิบัติการหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่
หรือมีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หรือแก่ท้องถิ่น หรือแก่ราชการ และนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้งยังไม่ครบแปดปี
มาตรา ๑๗ อายุของสภากรุงเทพมหานครมีกำหนดคราวละสี่ปี
นับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่การดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และสภากรุงเทพมหานคร ขัดแย้งกันจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอพร้อมด้วยเหตุผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ประกาศยุบสภากรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอให้ยุบสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจยื่นข้อเสนอทบทวนให้พิจารณาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอตามวรรคหนึ่ง ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จะเห็นควรให้ยุบสภากรุงเทพมหานครตามข้อเสนอทบทวนหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเสนอทบทวนดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สั่งยุบสภากรุงเทพมหานครในเหตุการณ์เดียวกันอีก
ให้กระทำได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดสามสิบวันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับข้อเสนอทบทวนตามวรรคสอง
มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏว่าการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และสภากรุงเทพมหานครขัดแย้งกันหรือการดำเนินงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสภากรุงเทพมหานครเป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
จนอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร หรือแก่ราชการโดยส่วนรวม และการแก้ไขสภาพเช่นนั้นไม่อาจกระทำได้โดยเหมาะสมด้วยวิธีการอื่นนอกจากการยุบสภากรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจให้ยุบสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครใหม่ได้
มาตรา ๒๐ การยุบสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๘ หรือมาตรา ๑๙ และการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอทบทวนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา ๑๘ วรรคสาม ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยพร้อมกับแสดงเหตุผลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑ สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่น
นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน เว้นแต่อายุของสภากรุงเทพมหานครจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เข้ามาแทนนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภากรุงเทพมหานครที่เหลืออยู่
มาตรา ๒๒ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัท ซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
หรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๒๓ สมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ตาย
(๓) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภากรุงเทพมหานครและให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๔ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๑๖ (๔)
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗) ขาดการประชุมสภากรุงเทพมหานครตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ออกเพราะเห็นว่า ได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครลงมติ
ในกรณีตาม
(๘) ให้กระทำเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร้องขอ หรือเมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอเป็นญัตติให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา
มาตรา ๒๔ ในกรณีที่มีข้อกล่าวหาว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลงเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๒๓ (๔)
(๕) หรือ (๗) ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครดำเนินการสอบสวน
ถ้าประธานสภากรุงเทพมหานครรายงานว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนนั้นสิ้นสุดลงตามข้อกล่าวหานั้น
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่งตามมาตรานี้
ให้นำมาตรา ๕๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕ ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินสองคน
โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศชื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครผู้ได้รับเลือกในราชกิจจานุเบกษา
ประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสองปี
มาตรา ๒๖ ประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
ลาออกจากตำแหน่งโดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๓) เมื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเข้าชื่อเสนอญัตติให้สภากรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครใหม่ และสภากรุงเทพมหานครมีมติตามนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดโดยให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อได้มีการเลือกตั้งประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
แล้วแต่กรณี
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกประธานสภาหรือรองประธานสภากรุงเทพมหานครคนใหม่ขึ้นแทน แล้วแต่กรณี
และให้ผู้ได้รับเลือกนั้นอยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๒๗ ประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภากรุงเทพมหานครเมื่อประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
หรือตามที่ประธานสภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
เมื่อประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
มาตรา ๒๘ ให้มีเลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองประธานสภากรุงเทพมหานคร โดยประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง
มาตรา ๒๙ สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการสามัญหรือวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร วิธีการประชุม
การเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม
การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบ และความเรียบร้อย และกิจการอื่นอันเป็นหน้าที่ของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๐ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่าสองสมัย
แต่ต้องไม่เกินสี่สมัย จำนวนสมัยประชุมสามัญและวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีแต่ละสมัยให้สภากรุงเทพมหานครกำหนด
สมัยประชุมสามัญของสภากรุงเทพมหานครสมัยหนึ่ง
ๆ ให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดหรือปิดการประชุม
มาตรา ๓๑ นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อมีกรณีเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร ขอให้เรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครเป็นการประชุมสมัยวิสามัญได้
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเรียกประชุม โดยกำหนดวันประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำร้อง
สมัยประชุมวิสามัญให้มีกำหนดเวลาสามสิบวัน
แต่ถ้ามีกรณีจำเป็นให้ประธานสภากรุงเทพมหานครสั่งขยายสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
การปิดสมัยประชุมวิสามัญก่อนครบกำหนดเวลาสามสิบวัน
จะกระทำได้แต่โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๒ การประชุมสภากรุงเทพมหานครทุกคราวต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภากรุงเทพมหานคร
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๓๓ การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๓๔ ห้ามมิให้สภากรุงเทพมหานครประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
มาตรา ๓๕ การประชุมของสภากรุงเทพมหานครย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร
แต่ถ้าหากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดร้องขอให้ประชุมลับก็ให้ประชุมลับ
มาตรา ๓๖ ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกย่อมมีสิทธิตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด
ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้น
ๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๗ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
ญัตติดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้ยื่นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแจ้งไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับการเปิดอภิปรายทั่วไป
ซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแจ้ง
การเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรานี้สภากรุงเทพมหานครจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้
มาตรา ๓๘ สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลผู้มิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญได้จำนวนกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิเสนอนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ
ให้มีกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้ที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครตั้งเป็นกรรมการได้ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ
มาตรา ๔๐ การประชุมคณะกรรมการตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
และให้ใช้ข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานครโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑ คณะกรรมการของสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้
ทั้งนี้ จะกระทำนอกสมัยประชุมของสภากรุงเทพมหานครก็ได้
และถ้ามีความจำเป็นคณะกรรมการแต่ละคณะ อาจตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นพิจารณารายละเอียดในเรื่องที่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการแล้วเสนอรายงานต่อคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการสามัญของสภากรุงเทพมหานคร
ให้มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี
คณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา
๓๘ และมาตรา ๓๙ ให้สิ้นสภาพไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและเสนอรายงานต่อสภากรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
มาตรา ๔๓ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น หรือคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตั้งขึ้น ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๒
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๔๔ ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้น
โดยวิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผลของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๔๕ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๒ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๔๖ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา
๑๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
มาตรา ๔๗ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
แต่ถ้าตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงโดยเหตุอื่น ให้ทำการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในเก้าสิบวัน และให้ผู้ได้รับการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งโดยเริ่มนับวาระใหม่
มาตรา ๔๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้ง
ให้มีการมอบหมายงานในหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา ๔๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
(๒)
สั่ง อนุญาต อนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
(๓)
แต่งตั้งและถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด
ๆ
(๔)
บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
(๕)
วางระเบียบเพื่อให้งานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย
(๖)
รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๗)
อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
มาตรา ๕๐ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณี โดยอนุโลม ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๑) ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ
หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นหรือตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(๒) ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ
หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นนอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจ หรือการพาณิชย์หรือบริษัทปฏิบัติกับบุคคลอื่นในธุรกิจการงานตามปกติ
(๓)
ต้องไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานครหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้น
เว้นแต่กรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญาอยู่ก่อนได้รับการเลือกตั้ง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญหรือเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์
หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรับเงินตอบแทน
เงินค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภาหรือวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร
หรือสภากรุงเทพมหานครหรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง
มาตรา ๕๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
ถึงคราวออกตามวาระ
(๒)
ตาย
(๓) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
และให้มีผลนับแต่วันถัดจากวันที่ยื่นหนังสือลาออก
(๔)
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๖ ยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา
๑๖ (๔)
(๕)
กระทำการอันต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๑
(๖) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
มีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
(๘)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ออกจากตำแหน่งเมื่อมีกรณีแสดงให้เห็นว่า
ได้กระทำการอันเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหรือปฏิบัติการหรือละเลยไม่ปฏิบัติการอันควรปฏิบัติในลักษณะที่เห็นได้ว่าจะเป็นเหตุให้เสียหายอย่างร้ายแรงแก่กรุงเทพมหานครหรือแก่ราชการโดยส่วนรวมหรือแก่การรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือสวัสดิภาพของประชาชน
ในกรณีมีพฤติการณ์ดังที่ระบุไว้ตาม
(๘) สภากรุงเทพมหานครจะมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ได้
มติของสภากรุงเทพมหานครในข้อนี้ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภากรุงเทพมหานคร
ในการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งมติของสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๓ เมื่อปรากฏกรณีตามมาตรา ๕๒ (๔) หรือ (๕) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้มีการสอบสวนก่อนมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
แต่ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ในระหว่างรอคำพิพากษาของศาล
ให้ผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งพักการปฏิบัติหน้าที่นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจนกว่าศาลจะพิพากษา
ในกรณีผู้ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งไม่ยื่นฟ้องต่อศาล หรือศาลพิพากษาให้เป็นไปตามคำสั่ง
ให้ผู้ถูกสั่งนั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกคำสั่ง
วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งให้หมายถึงวันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับคำสั่งดังกล่าว
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา
๕๒ (๑) คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๕ ให้มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินสี่คนตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้
ช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
คำสั่งแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖ ให้มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกินจำนวนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๕๗ ในกรณีมีการแต่งตั้งประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา
และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา
๔๙ (๓) ตำแหน่งดังกล่าวจะมีจำนวนรวมกันทั้งหมดเกินเก้าคนไม่ได้
มาตรา ๕๘ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษา เป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองมาใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา จากบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
พิจารณาเห็นสมควร และจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๑ มาใช้บังคับแก่บุคคลดังกล่าวด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร ผู้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แล้วแต่กรณี พ้นจากตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย นอกจากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
บุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง หรือเมื่อกระทำการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๕๑ หรือถูกสั่งให้ออกตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานครไม่ว่าจะเป็นไปโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม
มาตรา ๕๙ ให้ข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๕๘ และคณะกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ได้รับเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น สำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
หมวด ๓
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ ๑
ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๐ ให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
(๑)
สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(๓)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(๔)
สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
(๕)
สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
(๖)
สำนักงานเขต
การตั้ง
ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงสำนัก หรือการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน ตามวรรคหนึ่ง จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๖๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของสภากรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครขึ้นต่อประธานสภากรุงเทพมหานคร และมีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๒ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการและงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มีเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และมีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง เป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้ช่วยของเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และในการบังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ
มาตรา ๖๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
มีหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครขึ้นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ขึ้นต่อประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และจะให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และจะให้มีรองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
มาตรา ๖๕ นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๖๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนดและตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๖๖ สำนักตามมาตรา ๖๐ (๕) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร
โดยมีผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
และลูกจ้างกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนัก และจะให้มีรองผู้อำนวยการสำนักซึ่งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
มาตรา ๖๗ นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๖๖ ให้ผู้อำนวยการสำนักมีอำนาจหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และปลัดกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของสำนักที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
กำกับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักที่รับผิดชอบ
ส่วนที่ ๒
เขตและสภาเขต
มาตรา ๖๘ สำนักงานเขตมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต และจะให้มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๒)
อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการเขต
(๓)
อำนาจหน้าที่ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย
มาตรา ๗๐ ในกรณีที่เป็นการสมควร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้สำนักงานเขตใดปฏิบัติหน้าที่ใดแทนสำนักงานเขตอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนได้
และจะให้ผู้อำนวยการเขตใดเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่นั้นก็ได้ แต่ต้องประกาศการสั่งการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๑ ในเขตหนึ่ง ๆ ให้มีสภาเขต ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีจำนวนอย่างน้อยเขตละเจ็ดคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
จำนวนสมาชิกสภาเขตที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขต
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขต
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หลักเกณฑ์
และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
การประกาศตามวรรคสองและผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้กระทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗๒ อายุของสภาเขตมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
เมื่ออายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวัน
นับแต่วันที่อายุของสภาเขตสิ้นสุดลง
มาตรา ๗๓ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเขตเริ่มแต่วันเลือกตั้ง
และอยู่ในตำแหน่งตามอายุของสภาเขต
เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาเขตในเขตใดว่างลงถึงกึ่งจำนวนของสมาชิกสภาเขตที่เขตนั้นจะมีได้ตามประกาศในมาตรา
๗๑ วรรคห้า สมาชิกภาพของสภาเขตแห่งนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นใหม่
ภายในเก้าสิบวันนับแต่มีกรณีดังกล่าว
มาตรา ๗๔ ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตคนหนึ่ง
และรองประธานสภาเขตคนหนึ่ง โดยให้ดำรงตำแหน่งทันทีที่ได้รับเลือก
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศชื่อประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตผู้ได้รับเลือก
ประธานสภาเขต
และรองประธานสภาเขตดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละหนึ่งปี
มาตรา ๗๕ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต
ให้ผู้อำนวยการเขตนัดประชุมสมาชิกสภาเขตเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
ให้สภาเขตกำหนดให้มีการประชุมสภาเขตอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
และจะประชุมในวันใด เวลาใด ให้เป็นไปตามมติของสภาเขต
มาตรา ๗๖ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และหรือผู้ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายมีหน้าที่เข้าประชุมสภาเขต
และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ต่อที่ประชุมสภาเขต
แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
มาตรา ๗๗ ให้ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตได้รับเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๗๘ ให้ผู้อำนวยการเขตอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการประชุมและกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเขต
มาตรา ๗๙ ให้สภาเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(๑)
ให้ข้อคิดเห็นและข้อสังเกตเกี่ยวกับแผนพัฒนาเขตต่อผู้อำนวยการเขต และสภากรุงเทพมหานคร
(๒)
จัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขต ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรืองบประมาณรายจ่าย
(๓)
สอดส่องและติดตามดูแลการดำเนินการของสำนักงานเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎร
(๔)
ให้คำแนะนำหรือข้อสังเกตต่อผู้อำนวยการเขต เกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขการบริการประชาชนภายในเขต
หากผู้อำนวยการเขตไม่ดำเนินการใด ๆ โดยไม่แจ้งเหตุผลให้ทราบ ให้สภาเขตแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการต่อไป
(๕)
ให้คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ
(๖)
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับการงานของสภาเขต ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น
(๗)
หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายหรือที่สภากรุงเทพมหานครมอบหมาย
ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาเขตตามความเหมาะสม
ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวจะต้องได้รับการพิจารณาจัดสรรจากสภาเขตตาม (๒)
มาตรา ๘๐ ให้นำความในมาตรา
๒๒ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๖ (๑) และ (๒) โดยขอลาออกต่อสภาเขต มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง
และวรรคสอง มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ มาใช้บังคับแก่สภาเขต
สมาชิกสภาเขต รองประธานสภาเขต และประธานสภาเขต โดยอนุโลม
หมวด ๔
การรักษาราชการแทน
และการปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๘๑ อำนาจหน้าที่ในการสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามลำดับที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดไว้ตามมาตรา
๕๕ เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ให้ทำเป็นคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๒ ในกรณีที่มีรองปลัดกรุงเทพมหานคร การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกรุงเทพมหานครหลายคน ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนักคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าปฏิบัติราชการแทนในนามปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๓ ในกรณีที่มีรองผู้อำนวยการสำนัก การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรองผู้อำนวยการสำนักให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน ให้รองผู้อำนวยการสำนักผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนักหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการสำนักจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการสำนักจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักก็ได้
แต่ถ้าจะมอบให้ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าของสำนักนั้น
ปฏิบัติราชการแทนในนามผู้อำนวยการสำนัก ให้ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘๔ ในกรณีที่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหลายคน ให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้อำนวยการกอง
หัวหน้ากองหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้รักษาราชการแทน
อำนาจในการสั่ง
การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการที่ผู้อำนวยการเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดในเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้อำนวยการเขตจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตหรือหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตก็ได้
มาตรา ๘๕ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๖ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๗ ในกรณีที่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายคน ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
ให้ประธานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๘๘ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน
ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในระหว่างที่รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด ๕
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๘๙ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(๑)
การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งนี้
ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
การทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด
(๓)
การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๔)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๕)
การผังเมือง
(๖)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
(๗)
การวิศวกรรมจราจร
(๘)
การขนส่ง
(๙)
การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
(๑๐)
การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๑๑)
การควบคุมอาคาร
(๑๒)
การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)
การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔)
การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๑๕)
การสาธารณูปโภค
(๑๖)
การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๑๗)
การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๑๘)
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๑๙)
การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
(๒๐)
การควบคุมความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการอนามัยในโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น
ๆ
(๒๑)
การจัดการศึกษา
(๒๒)
การสาธารณูปการ
(๒๓)
การสังคมสงเคราะห์
(๒๔)
การส่งเสริมการกีฬา
(๒๕)
การส่งเสริมการประกอบอาชีพ
(๒๖)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒๗)
หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ
เทศบาลนคร หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
หรือที่กฎหมายระบุเป็นหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจะมอบให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติก็ได้
โดยให้ทำเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศ แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ทำเป็นข้อบังคับหรือประกาศต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๙๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๘๙ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นสำนักหรือเทียบเท่าสำนัก
ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และข้าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และให้มีฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเข้าไปในอาคารหรือบริเวณที่ตั้งอาคารที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติดังกล่าว
ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือสั่งให้แสดงเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องจากบุคคลที่อยู่หรือทำงานในสถานที่นั้น
และให้มีอำนาจยึดหรืออายัดเอกสาร หลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
รวมทั้งให้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดได้ด้วย
ในกรณีที่มีการจับกุมผู้กระทำความผิดตามวรรคสอง
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษจำคุกให้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับได้
เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกำหนดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ
ให้ถือว่าคดีเลิกกัน
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยอมตามที่ปรับ
หรือเมื่อยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีอำนาจในการสอบสวนและมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา
ที่ปรึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๙๒ กรุงเทพมหานครอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นโดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๓ กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้
เมื่อ
(๑)
การนั้นจำเป็นต้องกระทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครหรือเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร
และ
(๒)
ได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และ
(๓)
ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๙๔ กรุงเทพมหานครอาจทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
เมื่อ
(๑)
บริษัทนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจการเป็นสาธารณูปโภค แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่กรุงเทพมหานครได้กระทำอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และ
(๒)
กรุงเทพมหานครต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษัทนั้นจดทะเบียนไว้
ในกรณีที่มีกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกัน
ให้นับหุ้นที่ถือนั้นรวมกัน และ
(๓)
สภากรุงเทพมหานครมีมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
และ
(๔)
ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นที่กรุงเทพมหานครถืออยู่ต้องได้รับอนุมัติจากสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๕ ถ้ากิจการใดอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินการนั้นร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้โดยจัดตั้งเป็นองค์การเรียกว่า
สหการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของกรุงเทพมหานคร
ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
การจัดตั้งสหการจะกระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงาน เมื่อจะยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
และให้ระบุวิธีจัดการทรัพย์สินไว้ด้วย
มาตรา ๙๖ ในกรณีจำเป็น กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการ
ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนกรุงเทพมหานครได้
แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสียก่อน
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไปมิได้
หมวด ๖
ข้อบัญญัติ
มาตรา ๙๗ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๓)
การดำเนินการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๔)
การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง
และการพัสดุ
ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้
แต่มิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๘ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็แต่โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครลงนามรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๙๙ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน
หมายความถึงร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้อความต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่ข้อใดข้อหนึ่ง
(๑)
การตั้งขึ้นหรือยกเลิก หรือลด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีอากร
(๒)
การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินของกรุงเทพมหานคร หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานคร
(๓)
การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
(๔)
การคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้างและการพัสดุ
(๕)
การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๖)
การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานคร
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างข้อบัญญัติใดเป็นร่างข้อบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นผู้วินิจฉัย
มาตรา ๑๐๐ เมื่อสภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและลงมติเห็นชอบแล้วให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบ
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่ผ่านความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๑ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับสภากรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัตินั้นพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่เห็นชอบด้วยให้สภากรุงเทพมหานครภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครเพื่อให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ส่งให้สภากรุงเทพมหานครภายในเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วย
และให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยและส่งให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาใหม่
สภากรุงเทพมหานครจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งกลับให้สภากรุงเทพมหานคร
นอกจากร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวด้วยการเงิน สภากรุงเทพมหานครอาจยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที
ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครมีมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครส่งร่างข้อบัญญัติดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องดำเนินการต่อไปตามมาตรา
๑๐๐ ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่ดำเนินการตามกำหนด ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครลงนามในร่างข้อบัญญัตินั้นแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย
มาตรา ๑๐๒ ร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยให้เป็นอันตกไป
ยกเว้นร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ร่างข้อบัญญัติที่ตกไปตามวรรคหนึ่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะเสนอใหม่ได้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัตินั้น
มาตรา ๑๐๓ งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ทำเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เสนอ
ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งได้กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปีก็ดี
หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีก็ดี ให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
มาตรา ๑๐๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกคณะกรรมการวิสามัญตามมาตรา ๓๙ เพื่อพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร
และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๐๖ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ให้สภากรุงเทพมหานครตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนแปดคน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนเจ็ดคน
ประกอบเป็นคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งในสาระสำคัญที่บัญญัติไว้ในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อสภากรุงเทพมหานครภายในสิบวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการร่วม
ถ้าสภากรุงเทพมหานครยังไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเป็นอันตกไป และให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
ในกรณีเช่นว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครถ้ามีข้อเสนอของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๖ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
สภากรุงเทพมหานครจะต้องพิจารณาให้เสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภากรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นครั้งแรก
ถ้าสภากรุงเทพมหานครพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าสภากรุงเทพมหานครได้ให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายนั้น และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๗ ในกรณีที่สภากรุงเทพมหานครสิ้นอายุหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร
บรรดาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่สภากรุงเทพมหานครยังมิได้ให้ความเห็นชอบ หรือที่สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังมิได้ลงนามและประกาศใช้เป็นกฎหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันรับร่างข้อบัญญัติจากประธานสภากรุงเทพมหานครให้เป็นอันตกไป
มาตรา ๑๐๘ ในระหว่างที่ไม่มีสภากรุงเทพมหานคร หรือในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและจะเรียกประชุมสภากรุงเทพมหานครให้ทันท่วงทีมิได้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกข้อกำหนดกรุงเทพมหานครให้ใช้บังคับดังเช่นข้อบัญญัติ
และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครคราวต่อไป
ให้นำข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่ออนุมัติ ถ้าสภากรุงเทพมหานครอนุมัติแล้ว
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นใช้บังคับเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครต่อไป ถ้าสภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติ
ให้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้กระทำไประหว่างที่ใช้ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครนั้น
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๗
การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๐๙ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีป้าย
อากรการฆ่าสัตว์ และผลประโยชน์อื่นอันเนื่องในการฆ่าสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๐ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์ หรือล้อเลื่อนที่จัดเก็บได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๑ ให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานคร
สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียม
ซึ่งสถานการค้าปลีกในเขตกรุงเทพมหานครเป็นผู้จำหน่ายได้ไม่เกินลิตรละห้าสตางค์ ราคาขายปลีกที่สูงเพิ่มขึ้นไม่เกินจำนวนภาษีที่เรียกเก็บตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด
มาตรา ๑๑๒ กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละสิบของภาษี
และค่าธรรมเนียมประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภท ดังต่อไปนี้
(๑)
ภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
(๒)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(๓)
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
ในการเสียภาษีและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง
ภาษีและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นภาษีและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑๓ กิจการใดที่กฎหมายมอบหน้าที่ให้เทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
ถ้ากิจการนั้นอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น
และบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาตและค่าปรับเนื่องในกิจการเช่นว่านั้นให้เป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๔ กรุงเทพมหานครอาจออกข้อบัญญัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด
ๆ จากผู้ซึ่งใช้หรือได้ประโยชน์จากบริการสาธารณะที่กรุงเทพมหานคร จัดให้มีขึ้นได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๑๑๕ ในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก ผู้อำนวยการเขต
ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
เว้นแต่กฎหมายว่าด้วยการนั้นจะได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น
ในการบังคับเรียกเก็บภาษีอากรค้างชำระ
ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจสั่งยึด
และสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชอบเสียภาษีอากรได้ โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง
วิธียึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในวรรคสอง
ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยอนุโลม
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
เมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขาย และเงินภาษีอากรค้างชำระออกแล้ว
ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน
มาตรา ๑๑๖ กรุงเทพมหานครจะมอบให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียม เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพื่อกรุงเทพมหานครก็ได้
ในกรณีเช่นนี้เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแล้ว ให้กระทรวง ทบวง
กรม นั้นส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๗ กรุงเทพมหานครอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑)
รายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
(๒)
รายได้จากการสาธารณูปโภคของกรุงเทพมหานคร
(๓)
รายได้จากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
(๔)
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นของเทศบาลหรือมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ
(๕)
ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับตามที่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้
(๖)
ค่าบริการตามมาตรา ๙๒
(๗)
รายได้จากการจำหน่ายพันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
(๘)
เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๙)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นและเงินสมทบจากรัฐบาล
(๑๐)
เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๑)
เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร
(๑๒)
เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๑๓)
เงินช่วยเหลือหรือเงินค่าตอบแทน
(๑๔)
รายได้จากทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรในกรุงเทพมหานครตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๕)
รายได้จากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหรือค่าธรรมเนียมพิเศษตามที่จะมีกฎหมายกำหนด
(๑๖)
รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๑๘ กรุงเทพมหานครอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(๑)
เงินเดือน
(๒)
ค่าจ้างประจำ
(๓)
ค่าจ้างชั่วคราว
(๔)
ค่าตอบแทน
(๕)
ค่าใช้สอย
(๖)
ค่าสาธารณูปโภค
(๗)
ค่าวัสดุ
(๘)
ค่าครุภัณฑ์
(๙)
ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
(๑๐)
เงินอุดหนุน
(๑๑)
รายจ่ายอื่นตามที่กฎหมายหรือระเบียบของกรุงเทพมหานครกำหนดไว้
(๑๒)
รายจ่ายตามข้อผูกพัน
มาตรา ๑๑๙ การจ่ายเงินของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
การจ่ายเงิน ซึ่งมิได้อนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๒๐ ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบการรับเงิน
การจ่ายเงิน การบัญชี การเงิน และทรัพย์สินอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงนั้นในราชกิจจานุเบกษา
โดยมิชักช้า
รายงานการรับจ่ายเงินประจำปีตามวรรคสอง
เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสภากรุงเทพมหานคร
หมวด ๘
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๑ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นนอกเหนือจากที่พระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
ถ้ากระทรวง ทบวง กรมใดเห็นสมควรส่งข้าราชการมาประจำกรุงเทพมหานครเพื่อปฏิบัติราชการในหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรม นั้น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ โดยทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๑๒๒ การตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนในกรุงเทพมหานคร
ให้รัฐบาลตั้งให้กรุงเทพมหานครโดยตรง
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานครนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบกำหนดการใช้จ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
มาตรา ๑๒๓ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
เพื่อการนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครชี้แจงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าการปฏิบัติใด
ๆ ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขัดต่อกฎหมาย มติของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะยับยั้งหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรก็ได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๑๒๔ ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๑๒๕ ให้ดำเนินการให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๖ ให้กรุงเทพมหานครจัดให้มีส่วนราชการตามมาตรา
๖๐ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๗ ให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๒๘ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามกฎหมายนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
ในการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือเขตแต่ละเขตเป็นเขตเลือกตั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตนั้น
จำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่แต่ละเขตจะพึงมี
ให้คำนวณตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละเขตตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่กระทรวงมหาดไทยประกาศครั้งสุดท้ายก่อนวันประกาศพระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในราชกิจจานุเบกษา โดยถือเกณฑ์หนึ่งแสนคนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหนึ่งคน
เขตใดมีราษฎรไม่ถึงหนึ่งแสนคนให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นได้หนึ่งคน
ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคนก็ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในเขตนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน
เศษของหนึ่งแสนถ้าถึงห้าหมื่นหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งแสน
การประกาศตามวรรคสอง
และผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๒๙ ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา
๕๙ ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๓๐ นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนถึงวันเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามมาตรา
๑๒๗ ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงมีวาระอยู่ในตำแหน่งต่อไป
ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควร ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งคณะหรือแต่ละบุคคลพ้นจากตำแหน่ง
และจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๑ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับเลือกตั้งตามมาตรา
๑๒๗ จะเข้ารับหน้าที่ ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเมื่อมีเหตุอันสมควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรดำรงตำแหน่งแทนก็ได้
มาตรา ๑๓๒ ให้ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนันในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ยังคงมีอยู่ต่อไป ถ้าในเขตหรือแขวงใดหมดความจำเป็นต้องมีตำแหน่งดังกล่าว ให้กรุงเทพมหานครประกาศยกเลิกตำแหน่งนั้น
ในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป.
ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วรวม ๕ ครั้ง
ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วศิน/แก้ไข
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
นันทพล/ปรับปรุง
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๑๘ มิถุนายน
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๒/ตอนที่ ๑๑๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๘ |
690298 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๑๐)
พ.ศ. ๒๕๕๖
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
เป็นปีที่ ๖๘
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๖
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๕
และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่ม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๕
ไม่เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
ประกอบกับข้าราชการประเภทอื่นได้มีการปรับอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละห้า
ตามพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นมา
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจ
ค่าครองชีพ และอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ
๘ สิงหาคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๗๐ ก/หน้า ๔/๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ |
495066 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2549
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๔๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
เป็นปีที่ ๖๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
มาตรา
๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕ กรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสอง
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลตำรวจเอก
ชิดชัย วรรณสถิตย์
รองนายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประเภท
เบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงาน
หรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๕๐๐
(๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือของราชการ
ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๘๐๐
(๓) บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๑,๐๐๐
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๙
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๙ ก/หน้า ๔/๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
560938 | พระราชกฤษฎีกา กำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๕๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๔๙ และมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๖ กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
และประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
หรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการ
หรือประธานอนุกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ให้เพิ่มบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้เป็นบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์
จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
ประเภท
เงินค่าเบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
กรรมการ
(๑)
ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือ
พนักงานลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือ
ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๓)
บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
อนุกรรมการ
(๑)
ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือ
พนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือ
ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๓)
บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๕๐๐
๘๐๐
๑,๐๐๐
๓๐๐
๔๐๐
๕๐๐
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๐
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม
๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม
๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๓๕/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
674934 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 07/06/2549) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔
ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา
๕[๓] กรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้
ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสอง
มาตรา ๖
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ
และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม[๔]
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินเพิ่ม
(บาท/เดือน)
รวม
(บาท/เดือน)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๖๒,๘๓๐
๖๐,๖๖๐
๔๑,๕๐๐
๒๐,๗๕๐
๑๐๔,๓๓๐
๘๑,๔๑๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๓๗,๙๑๐
๓๔,๖๑๐
๓๔,๖๑๐
๓๑,๑๗๐
๘,๘๐๐
๔,๔๐๐
๔,๔๐๐
๒,๒๐๐
๔๖,๗๑๐
๓๙,๐๑๐
๓๙,๐๑๐
๓๓,๓๗๐
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ[๕]
ประเภท
เบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงาน
หรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๕๐๐
(๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการ
ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๘๐๐
(๓) บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๑,๐๐๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๙
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๖]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๗]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๘]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๙]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข ๑
อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนด เงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
และตามบัญชีหมายเลข ๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๐]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๑]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง
มาตรการปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๒]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๒๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๙ ก/หน้า ๔/๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
674003 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2555 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๙)
พ.ศ. ๒๕๕๕
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นปีที่ ๖๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๕
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘
และให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินเพิ่ม
(บาท/เดือน)
รวม
(บาท/เดือน)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๖๘,๖๒๐
๖๖,๒๕๐
๔๑,๕๐๐
๒๐,๗๕๐
๑๑๐,๑๒๐
๘๗,๐๐๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๗,๘๑๐
๔,๔๐๐
๔๒,๒๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๔,๐๔๐
๒,๒๐๐
๓๖,๒๔๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๔๑,๔๑๐
๓๗,๘๑๐
๓๗,๘๑๐
๓๔,๐๔๐
๘,๘๐๐
๔,๔๐๐
๔,๔๐๐
๒,๒๐๐
๕๐,๒๑๐
๔๒,๒๑๐
๔๒,๒๑๐
๓๖,๒๔๐
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครและกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
ประกอบกับที่ผ่านมาได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการประเภทต่าง ๆ
มาแล้วหลายครั้งโดยมิได้มีการปรับอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ กันยายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๑ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๒๑/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ |
674001 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2555 | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘)
พ.ศ. ๒๕๕๕
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นปีที่ ๖๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๕
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา
๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใด
ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ในอัตราร้อยละสามของเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของผู้นั้นต่อวัน
และประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้ใด ขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม
ให้งดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.
๒๕๓๙ และให้ใช้บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
(หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๘,๕๖๐
๑๕,๐๐๐
๗๓,๕๖๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๓,๖๔๐
๗,๕๐๐
๖๑,๑๔๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๗๐๐
๓,๗๕๐
๔๘,๔๕๐
ประธานสภาเขต
๑๕,๓๑๐
๘๗๐
๑๖,๑๘๐
สมาชิกสภาเขต
๑๑,๕๕๐
๔๔๐
๑๑,๙๙๐
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งแก้ไขการลดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเมื่อขาดการประชุมเสียใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ตามกฎหมายและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการในกรณีที่มิได้มาปฏิบัติงาน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ กันยายน
๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๑ กันยายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๙๐ ก/หน้า ๑๘/๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ |
864114 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 14/10/2548) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น
ของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕ กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๓]
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา
๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา
๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม[๔]
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินเพิ่ม
(บาท/เดือน)
รวม
(บาท/เดือน)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๖๒,๘๓๐
๔๑,๕๐๐
๑๐๔,๓๓๐
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๖๐,๖๖๐
๒๐,๗๕๐
๘๑,๔๑๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๗,๙๑๐
๘,๘๐๐
๔๖,๗๑๐
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๘
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๒
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๕]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๖]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๗]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๘]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และตามบัญชีหมายเลข
๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๙]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๐]
มาตรา
๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง
และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง มาตรการปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๔] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๒๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
864116 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 07/06/2549) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น
ของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕[๓] กรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสอง
มาตรา ๖ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา
๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา
๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม[๔]
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินเพิ่ม
(บาท/เดือน)
รวม
(บาท/เดือน)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๖๒,๘๓๐
๔๑,๕๐๐
๑๐๔,๓๓๐
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๖๐,๖๖๐
๒๐,๗๕๐
๘๑,๔๑๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๗,๙๑๐
๘,๘๐๐
๔๖,๗๑๐
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๘
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๒
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ[๕]
ประเภท
เบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
(๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงาน
หรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๕๐๐
(๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือของราชการ
ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้าง
ในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
๘๐๐
(๓) บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๑,๐๐๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๖]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๗]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๘]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๙]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และตามบัญชีหมายเลข
๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๐]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๑]
มาตรา
๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง
และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง มาตรการปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๒]
มาตรา
๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๔] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘
[๕] บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๒๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๕๙ ก/หน้า ๔/๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ |
864122 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 15/08/2550) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่วันละสามร้อยยี่สิบบาท
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุมให้งดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๔[๓] ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับกับประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตโดยอนุโลม
มาตรา ๕[๔] ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖[๕] กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ตามบัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
และประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
หรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือประธานอนุกรรมการไม่สามารถร่วมประชุมได้ให้ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมในอัตราเดียวกับประธานกรรมการ
หรือประธานอนุกรรมการตามที่กำหนดในวรรคสาม แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน[๖]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๘,๘๐๐
๑๕,๐๐๐
๖๓,๘๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๗๐๐
๗,๕๐๐
๕๒,๒๐๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๗,๒๕๐
๓,๗๕๐
๔๑,๐๐๐
ประธานสภาเขต
๑๒,๗๖๐
๘๗๐
๑๓,๖๓๐
สมาชิกสภาเขต
๙,๖๓๐
๔๔๐
๑๐,๐๗๐
บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ[๗]
ประเภท
เงินค่าเบี้ยประชุม
(บาท/ครั้ง)
กรรมการ
(๑)
ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือ
พนักงานลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือ
ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๓)
บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
อนุกรรมการ
(๑)
ข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือ
พนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๒)
ข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ หรือพนักงานหรือ
ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร
หรือพนักงานหรือลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
(๓)
บุคคลอื่นนอกจาก (๑) และ (๒)
๕๐๐
๘๐๐
๑,๐๐๐
๓๐๐
๔๐๐
๕๐๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๘]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๙]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๐]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๑๑]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
เสียใหม่ และให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินตอบแทนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๒]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐[๑๓]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ ไม่เหมาะสมกับภาวะการครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ สมควรปรับปรุงอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๔] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๕] มาตรา ๖
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๖] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๑ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๒ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๓ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๔ และบัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทนหมายเลข ๕ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๗] บัญชีอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการและอนุกรรมการ
เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๖/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๔๒ ก/หน้า ๓๕/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐ |
463217 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2548
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๗)
พ.ศ. ๒๕๔๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา
๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
(บาท/เดือน)
เงินเพิ่ม
(บาท/เดือน)
รวม
(บาท/เดือน)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๖๒,๘๓๐
๔๑,๕๐๐
๑๐๔,๓๓๐
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๖๐,๖๖๐
๒๐,๗๕๐
๘๑,๔๑๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๗,๙๑๐
๘,๘๐๐
๔๖,๗๑๐
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๘
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๑๐
๔,๔๐๐
๓๙,๐๑๐
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๒
๓๑,๑๗๐
๒,๒๐๐
๓๓,๓๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่ง
และภาวะการครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง มาตรการปรับปรุงค่าตอบแทนภาคราชการ สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๕ ก/หน้า ๒๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
304765 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2541 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๑
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
เป็นปีที่ ๕๓
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามความในมาตรา
๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครรับเลือกตั้งให้เริ่มตั้งแต่วันที่
๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอายุของสภากรุงเทพมหานครจะครบกำหนดสี่ปี
ในวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
จะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว และในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๑/๔ มีนาคม ๒๕๔๑ |
864112 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/07/2539) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น
ของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม
และเงินค่าเบี้ยประชุม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับแต่งตั้งในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินเดือน หรือเงินเพิ่มของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๕ กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๓]
กรรมการตามวรรคหนึ่งซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร
หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
มาตรา ๖ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการตามมาตรา
๕ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และถ้ากรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการตามมาตรา ๕ ของแต่ละคณะ
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๗ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา
๕ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม[๔]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๖๑,๐๐๐
๔๑,๕๐๐
๑๐๒,๕๐๐
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๕๘,๘๙๐
๒๐,๗๕๐
๗๙,๖๔๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๓,๖๐๐
๔,๔๐๐
๓๘,๐๐๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๐,๒๖๐
๒,๒๐๐
๓๒,๔๖๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๖,๘๐๐
๘,๘๐๐
๔๕,๖๐๐
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๘
๓๓,๖๐๐
๔,๔๐๐
๓๘,๐๐๐
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๓๓,๖๐๐
๔,๔๐๐
๓๘,๐๐๐
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๒
๓๐,๒๖๐
๒,๒๐๐
๓๒,๔๖๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาและที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๕]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๖]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๗]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๘]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
ตามบัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และตามบัญชีหมายเลข
๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน
และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๙]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๔] บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๑ บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข
๒ บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๓ บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม หมายเลข ๔ และบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๕ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๒/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๒/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ |
575022 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดินแดง เขตเลือกตั้งที่ 1 ขึ้นแทนตำแนห่งที่ว่าง พ.ศ. 2547
| พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตดินแดง เขตเลือกตั้งที่
๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๔๗
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกกรุงเทพมหานคร ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตดินแดง
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตดินแดง เขตเลือกตั้งที่ ๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑
วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นวันเลือกตั้ง
และให้ระยะเวลารับสมัครรับเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่
๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตดินแดง
เขตเลือกตั้งที่ ๑ ว่างลง ซึ่งมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
อัมภิญา/พิมพ์
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๒ ก/หน้า ๑/๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ |
451051 | พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตทุ่งครุ เขตบางกอกใหญ่ เขตบางเขน เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตบางคอแหลม เขตบางพลัด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสายไหม เขตเลือกตั้งที่ 1 ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2548
| พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตทุ่งครุ เขตบางกอกใหญ่ เขตบางเขน
เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางคอแหลม เขตบางพลัด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
และเขตสายไหม เขตเลือกตั้งที่ ๑
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๔๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
เป็นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๑
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตทุ่งครุ เขตบางกอกใหญ่ เขตบางเขน เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางคอแหลม เขตบางพลัด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสายไหม เขตเลือกตั้งที่ ๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ ๑
เขตทุ่งครุ เขตบางกอกใหญ่ เขตบางเขน เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางคอแหลม เขตบางพลัด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสายไหม เขตเลือกตั้งที่ ๑ ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นวันเลือกตั้ง และให้ระยะเวลารับสมัครรับเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
วิษณุ เครืองาม
รองนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดอนเมือง เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตทุ่งครุ เขตบางกอกใหญ่ เขตบางเขน เขตเลือกตั้งที่ ๑
เขตบางคอแหลม เขตบางพลัด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสายไหม เขตเลือกตั้งที่ ๑ ว่างลง ซึ่งมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภากรุงเทพมหานครหรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานคร ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑ ก/หน้า ๑/๒๘ มกราคม ๒๕๔๘ |
674918 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/07/2539) | พระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘
เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่วันละสามร้อยยี่สิบบาท
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุมให้งดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก
ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๔[๓] ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓
วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับกับประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตโดยอนุโลม
มาตรา ๕[๔] ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔
ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖
กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๕]
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละสองร้อยบาท[๖]
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ
พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗
เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖
ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน
และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘
กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน[๗]
(หน่วย : บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๘,๘๐๐
๑๕,๐๐๐
๖๓,๘๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๗๐๐
๗,๕๐๐
๕๒,๒๐๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๗,๒๕๐
๓,๗๕๐
๔๑,๐๐๐
ประธานสภาเขต
๑๒,๗๖๐
๘๗๐
๑๓,๖๓๐
สมาชิกสภาเขต
๙,๖๓๐
๔๔๐
๑๐,๐๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๓
และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๘]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๙]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๐]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๑๑]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต
ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร เสียใหม่ และให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินตอบแทนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๒]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ
เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต
ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๔] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๕] มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๖] มาตรา ๖ วรรคสอง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๗] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๑ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๒
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๓ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน
หมายเลข ๔ และบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทนหมายเลข ๕ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๖/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ |
323495 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคันนายาว ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2544 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตคันนายาว
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๔๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
เป็นปีที่ ๕๖
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคันนายาว ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตคันนายาว ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นวันเลือกตั้ง และให้ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่
๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ
ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตคันนายาว ว่างลง ซึ่งมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานครให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้น ให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ละออง/พิมพ์
๑๙ กรกฎาคม
๒๕๔๔
สุรินทร์ /แก้ไข
๑๗ กันยายน ๒๕๔๔
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๓๑ ก/หน้า ๑/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๔ |
324875 | พระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดุสิต เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตธนบุรี เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตบางแค เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตบางซื่อ เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตบางพลัด เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตมีนบุรี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2543 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตดุสิต เขตเลือกตั้งที่
๑ เขตธนบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๒
เขตบางแค เขตเลือกตั้งที่
๑ เขตบางซื่อ เขตเลือกตั้งที่ ๑
เขตบางพลัด เขตปทุมวัน
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตมีนบุรี
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตดุสิต เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตธนบุรี เขตเลือกตั้งที่
๒ เขตบางแค เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางซื่อ เขตเลือกตั้งที่
๑ เขตบางพลัด เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตมีนบุรี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง
พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
เขตดุสิต เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตธนบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๒ เขตบางแค เขตเลือกตั้งที่
๑ เขตบางซื่อ เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางพลัด เขตปทุมวัน
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตมีนบุรี ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามความในมาตรา ๒๑ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นวันเลือกตั้ง และให้ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึงวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตดุสิต
เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตธนบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๒ เขตบางแค เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางซื่อ
เขตเลือกตั้งที่ ๑ เขตบางพลัด เขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตมีนบุรี ว่างลง
ซึ่งมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
บัญญัติว่า เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
หรือมีการยุบสภากรุงเทพมหานครให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวัน
และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปรียนันท์/พิมพ์
๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๑๒๐ ก/หน้า ๙/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๓ |
497876 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2545
| พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๕
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา
๒ [๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามความในมาตรา
๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา
๔ ให้กำหนดวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๕ เป็นวันเลือกตั้ง
และให้ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม
๒๕๔๕
มาตรา
๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยอายุของสภากรุงเทพมหานครจะครบกำหนดสี่ปี
ในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๕ ซึ่งมาตรา ๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่ออายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง ให้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครขึ้นใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่อายุของสภากรุงเทพมหานครสิ้นสุดลง
และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดวันเดียวกันทั่วกรุงเทพมหานคร และโดยที่มาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
ในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
วนิดา/พิมพ์
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๙
สุนันทา/ฐิติพงษ์/ผู้ตรวจ
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๔๓ ก/หน้า ๑/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๕ |
864120 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/07/2539) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานครและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนสำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น
ให้ลดเงินประจำตำแหน่งสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่วันละสามร้อยยี่สิบบาท
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุมให้งดเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๔[๓] ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต
ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนเป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับกับประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขตโดยอนุโลม
มาตรา ๕[๔] ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา ๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖ กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๕]
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยบาท[๖]
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน[๗]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๘,๘๐๐
๑๕,๐๐๐
๖๓,๘๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๗๐๐
๗,๕๐๐
๕๒,๒๐๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๗,๒๕๐
๓,๗๕๐
๔๑,๐๐๐
ประธานสภาเขต
๑๒,๗๖๐
๘๗๐
๑๓,๖๓๐
สมาชิกสภาเขต
๙,๖๓๐
๔๔๐
๑๐,๐๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๘]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๙]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๐]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๑๑]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
เสียใหม่ และให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินตอบแทนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙[๑๒]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทนของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๓] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๔] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๕] มาตรา ๖
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๖] มาตรา ๖
วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๗] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๑ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๒ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๓ บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๔ และบัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทนหมายเลข ๕ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๙
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๓๐ ก/หน้า ๒๖/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ |
311859 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๔๓
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
เป็นปีที่ ๕๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามความในมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ครบกำหนดสี่ปีในวันที่
๑ มิถุนายน ๒๕๔๓ และตามมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ
และโดยที่มาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว
และในพระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม
๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๓/๒ มิถุนายน ๒๕๔๓ |
309777 | พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539 | พระราชกฤษฎีกา
ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช
๒๕๓๘ และมาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.
๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ตามความในมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔ ให้กำหนดวันที่
๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นวันเลือกตั้ง
มาตรา ๕ ระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง
ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ถึงวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปัจจุบันได้สิ้นสุดลง
เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และตามมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติว่า เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้จัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่
ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดวาระ และโดยที่มาตรา ๔๔ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะกระทำได้เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งแล้ว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๑๐ กรกฎคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๑ ก/หน้า ๖/๑๙ เมษายน ๒๕๓๙ |
319785 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2536
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่น
ของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๓๖
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖
เป็นปีที่ ๔๘
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข
๑ อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ยกเลิกบัญชีหมายเลข ๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข ๑ หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ และหมายเลข
๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร และเลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
ให้ได้รับเงินเดือน และเงินเพิ่ม ตามบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่ม หมายเลข
๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือวันเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
เมื่อใดได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข
๕ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ให้ปรับใช้บัญชีอัตราตำแหน่งเงินเดือน
และเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข ๒ หมายเลข
๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ แล้วแต่กรณี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๑
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๔๔,๐๐๐
๔๒,๔๘๐
๓๕,๐๐๐
๑๗,๕๐๐
๗๙,๐๐๐
๕๙,๙๘๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๒๖,๖๒๐
๓,๐๖๐
๒๙,๖๘๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๒๓,๙๘๐
๑,๕๓๐
๒๕,๕๑๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๒๙,๑๕๐
๒๖,๖๒๐
๒๖,๖๒๐
๒๓,๙๘๐
๖,๑๒๐
๓,๐๖๐
๓,๐๖๐
๑,๕๓๐
๓๕,๒๗๐
๒๙,๖๘๐
๒๙,๖๘๐
๒๕,๕๑๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๒
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๕๒,๐๐๐
๕๐,๒๐๐
๔๑,๕๐๐
๒๐,๗๕๐
๙๓,๕๐๐
๗๐,๙๕๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๐,๑๘๐
๔,๔๑๐
๓๔,๕๙๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๒๗,๑๘๐
๒,๒๑๐
๒๙,๓๙๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๓๓,๐๕๐
๓๐,๑๘๐
๓๐,๑๘๐
๒๗,๑๘๐
๘,๘๒๐
๔,๔๑๐
๔,๔๑๐
๒,๒๑๐
๔๑,๘๗๐
๓๔,๕๙๐
๓๔,๕๙๐
๒๙,๓๙๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๓
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๖๐,๐๐๐
๕๗,๙๒๐
๔๘,๐๐๐
๒๔,๐๐๐
๑๐๘,๐๐๐
๘๑,๙๒๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๔,๖๔๐
๖,๗๕๐
๔๑,๓๙๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๑,๒๐๐
๓,๓๘๐
๓๔,๕๘๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๓๗,๙๓๐
๓๔,๖๔๐
๓๔,๖๔๐
๓๑,๒๐๐
๑๓,๕๐๐
๖,๗๕๐
๖,๗๕๐
๓,๓๘๐
๕๑,๔๓๐
๔๑,๓๙๐
๔๑,๓๙๐
๓๔,๕๘๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๔
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๖๘,๐๐๐
๖๕,๖๔๐
๕๔,๕๐๐
๒๗,๒๕๐
๑๒๒,๕๐๐
๙๒,๘๙๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๓๙,๗๘๐
๑๐,๐๘๐
๔๙,๘๖๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๓๕,๘๓๐
๕,๐๔๐
๔๐,๘๗๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๔๓,๕๖๐
๓๙,๗๘๐
๓๙,๗๘๐
๓๕,๘๓๐
๒๐,๑๖๐
๑๐,๐๘๐
๑๐,๐๘๐
๕,๐๔๐
๖๓,๗๒๐
๔๙,๘๖๐
๔๙,๘๖๐
๔๐,๘๗๐
บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม
หมายเลข ๕
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
อัตรา
เงินเดือน
เงินเพิ่ม
รวม
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔
๗๖,๕๐๐
๗๓,๘๕๐
๖๑,๐๐๐
๓๐,๕๐๐
๑๓๗,๕๐๐
๑๐๔,๓๕๐
เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๑
๔๕,๗๑๐
๑๖,๑๐๐
๖๑,๘๑๐
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
๔
๔๑,๑๗๐
๘,๐๕๐
๔๙,๒๒๐
ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๑
๘
๑
๒
๕๐,๐๖๐
๔๕,๗๑๐
๔๕,๗๑๐
๔๑,๑๗๐
๓๒,๒๐๐
๑๖,๑๐๐
๑๖,๑๐๐
๘,๐๕๐
๘๒,๒๖๐
๖๑,๘๑๐
๖๑,๘๑๐
๔๙,๒๒๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้
คือ เนื่องจากอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข ๑ อัตราเงินเดือน ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน
เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และตามบัญชีหมายเลข
๒ อัตราเงินเพิ่ม ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือน และเงินเพิ่ม
ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเดือนของข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครเสียใหม่
และให้ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานครได้รับเงินเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖ |
864118 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (ฉบับ Update ณ วันที่ 30/04/2536) | พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙
เป็นปีที่ ๔๑
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าเบี้ยประชุมของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙
มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข
๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
เมื่อใดได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน
และเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข
๕ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ให้ปรับใช้บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข ๒ หมายเลข
๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน สำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน สำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น ให้ลดเงินประจำตำแหน่งสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่วันละสามร้อยยี่สิบบาท
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม
ให้งดเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน ในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๔[๓] ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน
เป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทนหมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้า มาใช้บังคับกับประธานสภาเขตและสมาชิกสภาเขต
โดยอนุโลม
มาตรา ๕[๔] ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน
หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
มาตรา ๖ กรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม ครั้งละสองร้อยห้าสิบบาท[๕]
อนุกรรมการที่คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งตั้งขึ้น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเฉพาะครั้งที่มาประชุม
ครั้งละสองร้อยบาท[๖]
กรรมการตามวรรคหนึ่งหรืออนุกรรมการตามวรรคสองซึ่งมิได้เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ
หรือพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่าของอัตราค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการ
ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและประธานอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามวรรคสอง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสี่ของอัตราเงินค่าเบี้ยประชุมกรรมการหรืออนุกรรมการที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับ
แล้วแต่กรณี
มาตรา ๗ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการหรืออนุกรรมการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
และถ้ากรรมการหรืออนุกรรมการดังกล่าวผู้ใดเป็นเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการด้วย
ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุมได้เพียงตำแหน่งเดียว
เลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา
๖ ของแต่ละคณะ ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการดังกล่าว
ให้มีสิทธิได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมไม่เกินสองคน
มาตรา ๘ กรรมการในคณะกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง หรืออนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๖ คณะหนึ่ง ให้ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียวในวันหนึ่ง
มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๑[๗]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๓๘,๘๗๐
๑๐,๘๒๐
๔๙,๖๙๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๓๕,๖๑๐
๕,๔๑๐
๔๑,๐๒๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๒๙,๖๗๐
๒,๗๑๐
๓๒,๓๘๐
ประธานสภาเขต
๙,๙๔๐
๖๑๐
๑๐,๕๕๐
สมาชิกสภาเขต
๗,๕๐๐
๓๑๐
๗,๘๑๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน
หมายเลข ๒[๘]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๐๖๐
๑๔,๙๔๐
๕๙,๐๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๐,๓๖๐
๗,๔๗๐
๔๗,๘๓๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๓,๖๔๐
๓,๗๔๐
๓๗,๓๘๐
ประธานสภาเขต
๑๑,๕๙๐
๘๖๐
๑๒,๔๕๐
สมาชิกสภาเขต
๘,๗๕๐
๔๓๐
๙,๑๘๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๓[๙]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๐,๖๘๐
๒๑,๑๑๐
๗๑,๗๙๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๖,๔๓๐
๑๐,๕๖๐
๕๖,๙๙๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๘,๖๙๐
๕,๒๘๐
๔๓,๙๗๐
ประธานสภาเขต
๑๓,๒๕๐
๑,๒๑๐
๑๔,๔๖๐
สมาชิกสภาเขต
๑๐,๐๐๐
๖๑๐
๑๐,๖๑๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๔[๑๐]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๘,๑๕๐
๓๐,๓๙๐
๘๘,๕๔๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๓,๒๗๐
๑๕,๒๐๐
๖๘,๔๗๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๓๙๐
๗,๖๐๐
๕๑,๙๙๐
ประธานสภาเขต
๑๔,๙๐๐
๑,๗๐๐
๑๖,๖๐๐
สมาชิกสภาเขต
๑๑,๒๕๐
๘๕๐
๑๒,๑๐๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๕[๑๑]
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๖๙,๒๒๐
๕๕,๓๘๐
๑๒๔,๖๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๖๓,๔๑๐
๒๗,๖๙๐
๙๑,๑๐๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๕๒,๘๔๐
๑๓,๘๕๐
๖๖,๖๙๐
ประธานสภาเขต
๑๖,๕๖๐
๒,๙๔๐
๑๙,๕๐๐
สมาชิกสภาเขต
๑๒,๕๐๐
๑,๔๗๐
๑๓,๙๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา
๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ บัญญัติให้การกำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต สมาชิกสภาเขต กรรมการและอนุกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๑๒]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครและกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๑๓]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานครเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๔]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้น ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุมและเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยประชุมของกรรมการและอนุกรรมการที่สภากรุงเทพมหานครตั้งขึ้นเสียใหม่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖[๑๕]
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
เสียใหม่ และให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินตอบแทนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ผู้จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๒๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๖/๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๓] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๔] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๕] มาตรา ๖
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๖] มาตรา ๖
วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น
ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔
[๗] บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่ง
แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๑ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๘] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๒ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๙] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๓ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๑๐] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๔ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๑๑] บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๕ เพิ่มโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม
และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
[๑๒] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๐๙/หน้า ๓๓๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒
[๑๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๕๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔/๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
[๑๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๕๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
[๑๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖ |
304762 | พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2536
| พระราชกฤษฎีกา
กำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๓๖
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖
เป็นปีที่ ๔๘
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กับมาตรา ๔๓ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๖
มาตรา ๒[๑]
พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน หมายเลข ๑ หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ และหมายเลข ๕ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้แทน
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๓ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทนเป็นรายเดือน
ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน หมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
เมื่อใดได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บัญชีอัตราตำแหน่ง
เงินเดือน และเงินเพิ่ม สำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมือง หมายเลข
๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ให้ปรับใช้บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ตามบัญชีหมายเลข
๒ หมายเลข ๓ หมายเลข ๔ หรือหมายเลข ๕ แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร
เมื่อได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน สำหรับตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน สำหรับตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครอีก แล้วแต่กรณี
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่ของจำนวนวันที่มีการประชุมในสมัยประชุมนั้น ให้ลดเงินประจำตำแหน่งสำหรับวันที่ขาดการประชุมเกินหนึ่งในสี่วันละสามร้อยยี่สิบบาท
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ใดขาดการประชุมตลอดสมัยประชุม
ให้งดเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน ในระหว่างสมัยประชุมนั้นเสียทั้งสิ้น
ประธานสภากรุงเทพมหานคร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร หรือสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ผู้ใดต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งและเงินตอบแทน
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๔ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔ ประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขต ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน เป็นรายเดือน ตามบัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทนหมายเลข ๑ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ตั้งแต่วันที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพ
แล้วแต่กรณี
ให้นำความในมาตรา ๓ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคห้า มาใช้บังคับกับประธานสภาเขต
และสมาชิกสภาเขต โดยอนุโลม
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา
๕ แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕ ในกรณีที่บุคคลตามมาตรา
๓ และมาตรา ๔ ได้เข้าดำรงตำแหน่งหรือเริ่มต้นสมาชิกภาพในระหว่างเดือน หรือพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากสมาชิกภาพก่อนสิ้นเดือน
ให้จ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน ของเดือนนั้นตามส่วนของจำนวนวันที่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๑
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๓๘,๘๗๐
๑๐,๘๒๐
๔๙,๖๙๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๓๕,๖๑๐
๕,๔๑๐
๔๑,๐๒๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๒๙,๖๗๐
๒,๗๑๐
๓๒,๓๘๐
ประธานสภาเขต
๙,๙๔๐
๖๑๐
๑๐,๕๕๐
สมาชิกสภาเขต
๗,๕๐๐
๓๑๐
๗,๘๑๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง และเงินตอบแทน
หมายเลข ๒
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๐๖๐
๑๔,๙๔๐
๕๙,๐๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๐,๓๖๐
๗,๔๗๐
๔๗,๘๓๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๓,๖๔๐
๓,๗๔๐
๓๗,๓๘๐
ประธานสภาเขต
๑๑,๕๙๐
๘๖๐
๑๒,๔๕๐
สมาชิกสภาเขต
๘,๗๕๐
๔๓๐
๙,๑๘๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๓
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๐,๖๘๐
๒๑,๑๑๐
๗๑,๗๙๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๔๖,๔๓๐
๑๐,๕๖๐
๕๖,๙๙๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๓๘,๖๙๐
๕,๒๘๐
๔๓,๙๗๐
ประธานสภาเขต
๑๓,๒๕๐
๑,๒๑๐
๑๔,๔๖๐
สมาชิกสภาเขต
๑๐,๐๐๐
๖๑๐
๑๐,๖๑๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๔
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๘,๑๕๐
๓๐,๓๙๐
๘๘,๕๔๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๕๓,๒๗๐
๑๕,๒๐๐
๖๘,๔๗๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๔๔,๓๙๐
๗,๖๐๐
๕๑,๙๙๐
ประธานสภาเขต
๑๔,๙๐๐
๑,๗๐๐
๑๖,๖๐๐
สมาชิกสภาเขต
๑๑,๒๕๐
๘๕๐
๑๒,๑๐๐
บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
และเงินตอบแทน
หมายเลข ๕
(หน่วย :
บาท)
ตำแหน่ง
เงินประจำตำแหน่ง
เงินตอบแทน
รวม
ประธานสภากรุงเทพมหานคร
๖๙,๒๒๐
๕๕,๓๘๐
๑๒๔,๖๐๐
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร
๖๓,๔๑๐
๒๗,๖๙๐
๙๑,๑๐๐
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
๕๒,๘๔๐
๑๓,๘๕๐
๖๖,๖๙๐
ประธานสภาเขต
๑๖,๕๖๐
๒,๙๔๐
๑๙,๕๐๐
สมาชิกสภาเขต
๑๒,๕๐๐
๑,๔๗๐
๑๓,๙๗๐
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราเงินประจำตำแหน่งของประธานสภากรุงเทพมหานคร
รองประธานสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ประธานสภาเขต และสมาชิกสภาเขต ตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดเงินประจำตำแหน่ง
เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่น ของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
และกรรมการของสภากรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ ไม่เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะการครองชีพในปัจจุบัน
สมควรปรับปรุงบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร
เสียใหม่ และให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตของกรุงเทพมหานคร ได้รับเงินตอบแทนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ปณตภร/ปรับปรุง
๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
สายสัมพันธ์/ปรับปรุง
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓
อรญา/ตรวจ
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๓๐ เมษายน ๒๕๓๖ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.