sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
454187
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 3339/2543 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักการคลังปฏิบัติราชการแทน
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๓๓๙/๒๕๔๓ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักการคลังปฏิบัติราชการแทน เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบอำนาจในการขอรับเงินค่าปรับ ซึ่งกรุงเทพมหานครมีสิทธิ์ได้รับตามมาตรา ๑๑๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จากศาลทุกศาล ให้ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือรองผู้อำนวยการสำนักการคลังที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมายปฏิบัติราชการแทนและมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงในการปฏิบัติราชการดังกล่าวด้วย คำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ยกเลิก ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] สั่ง ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สุภาพร/พิมพ์ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ สุนันทา/พุทธพัท/ตรวจ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๑๔๐ง/๘๗/๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๗
451483
คำสั่งสำนักผังเมือง ที่ 91/2547 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนัก ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักผังเมือง
คำสั่งสำนักผังเมือง คำสั่งสำนักผังเมือง ที่ ๙๑/๒๕๔๗ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนัก ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักผังเมือง เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักผังเมือง ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการสำนักผังเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักปฏิบัติราชการแทน ในการลงนามหนังสือติดต่อระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ตามข้อ ๒๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๖ ในเรื่องดังต่อไปนี้ ๑. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม ๒. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของหรือเอกสาร ๓. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ ๔. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ๕. การติดตามเรื่องที่ค้าง ๖. การชี้แจงข้อร้องเรียน ๗. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการตามปกติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] สั่ง ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ พิชัย ไชยพจน์พานิช ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ศุภชัย/พิมพ์ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ สุนันทา/นวพร/ตรวจ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๑๑๑ง/๒๘/๕ ตุลาคม ๒๕๔๗
320496
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 3573/2528 เรื่อง การมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลบางกรณีให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๕๗๓/๒๕๒๘ เรื่อง การมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลบางกรณี ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร ----------- ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘ ซึ่งมีผลให้คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ ๙/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๔ เรื่อง มอบอำนาจ ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร และคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ ๑๓๗๗/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๒๔ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ ๙/๒๕๒๔ ลงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๔ สิ้นสภาพไป ฉะนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแบ่งเบาภาระของปลัดกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตาม มาตรา ๘๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๘ มาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจให้ ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานครในกรณีดังต่อไปนี้ ๑. การย้ายข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมิใช่ตำแหน่งผู้บริหารในสถานศึกษาตั้งแต่ ระดับ ๑ ถึงระดับ ๕ โดยไม่เปลี่ยนสายงานภายในสำนักงานเขต ๒. การเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการกรุงเทพมหานครภายในสำนักงานเขตไม่เกิน ๑ ขั้น ตั้งแต่ระดับ ๑ ถึงระดับ ๕ และไม่เกิน ๒ ขั้น สำหรับระดับ ๑ ถึงระดับ ๓ ๓. การให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครภายในสำนักงานเขต รักษาการในตำแหน่งหัว หน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตในกรณีที่ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานเขตว่างลง หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติราชการได้เป็นครั้งคราว ตามมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๑๘ ๔. การลงโทษทางวินัยที่เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้ใช้อำนาจ ของอธิบดีและมิใช่ความผิดถึงขั้นลดเงินเดือน ให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ สำหรับ ข้าราชการกรุงเทพมหานครตั้งแต่ระดับ ๑ ถึงระดับ ๕ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ว่าที่ร้อยตรี เสมอใจ พุ่มพวง ปลัดกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๒๘/๑๕๔/๕๔พ/๒๔ ตุลาคม ๒๕๒๘] อัมพิกา/แก้ไข ๘ ส.ค ๒๕๔๔
304779
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 635/2529 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 635/2529 เรื่อง มอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง ---------- ตามที่กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งที่ 137/2529 ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2529 มอบอำนาจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของลูกจ้างบางกรณี ให้ผู้อำนวยการสำนักและผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการ แทนปลัดกรุงเทพมหานครไปแล้ว นั้น เพื่อให้การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับลูกจ้างดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ข้อ 5, 9, 33, 62 และข้อ 65 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง พ.ศ. 2522 และ ข้อ 13 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเพิ่มค่าลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2527 จึงมอบอำนาจเพิ่ม เติม ดังนี้ 1. ให้ผู้อำนวยการสำนักและผู้อำนวยการเขต มีอำนาจกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์แก่ลูกจ้าง ประจำรายวัน สัปดาห์ละ 1 วัน โดยให้สับเปลี่ยนกันหยุดตามความเหมาะสมแก่ลักษณะงาน 2. ให้ผู้อำนวยการสำนักและผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร ในเรื่อง การจัดทำบัญชีถือจ่ายอัตราค่าจ้างของลูกจ้างในสังกัดสำนักและสำนักงานเขต และมีอำนาจจ้างลูกจ้าง ชั่วคราวรายเดือนโดยจะต้องได้รับอนุมัติอัตราตำแหน่งจากปลัดกรุงเทพมหานครก่อน 3. ให้หัวหน้าสำนักงานและคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองในสำนักปลัดกรุงเทพ มหานคร มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไปอย่างน้อย 3 คน เป็นคณะกรรมการคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำ 4. ให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจ ในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นลูก จ้าง สำหรับผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจเฉพาะกองต่าง ๆ ในสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สำหรับข้อ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2529 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ว่าที่ร้อยตรี เสมอใจ พุ่มพวง ปลัดกรุงเทพมหานคร
317300
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 5071/2533 เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการพัสดุ
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๕๐๗๑/๒๕๓๓ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการพัสดุ -------------------------- อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ ข้อ ๕๘ ข้อ ๖๔ ข้อ ๗๖ ข้อ ๙๑ และข้อ ๙๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้ ๑. การใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศเป็นหลักประกันซอง ประกวดราคาหรือหลักประกันสัญญา ตามข้อ ๕๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การ พัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ทำหนังสือค้ำประกันตามแบบท้ายคำสั่งนี้ ๒. การซื้อหรือการจ้างที่กำหนดให้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ตามข้อ ๖๔ แห่งข้อ บัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ทำตามแบบท้ายคำสั่งนี้ ๓. การทำสัญญาแลกเปลี่ยนพัสดุ ตามข้อ ๗๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ทำเป็นหนังสือตามแบบท้ายคำสั่งนี้ ๔. การลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ ตามข้อ ๙๑ แห่งข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ลงบัญชีหรือทะเบียนโดยแสดงรายการตาม แบบท้ายคำสั่งนี้ ๕. การแปรสภาพหรือทำลายพัสดุ ตามข้อ ๘๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้ การแปรสภาพพัสดุ (๑) ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรายงานปลัดกรุงเทพมหานคร โดยมีรายการดังนี้ ก. เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องมีการแปรสภาพพัสดุ ข. บัญชีรายละเอียดและสภาพพัสดุที่จะขออนุมัติแปรสภาพ ค. วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ของพัสดุที่จะได้รับจากการแปรสภาพ ง. ค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพ (ถ้ามี) (๒) ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารายงานการขอแปร สภาพพัสดุ ประกอบด้วยข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป หรือพนักงานการพาณิชย์ ของกรุงเทพมหานครซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ ๔ อย่างน้อยสามคน แล้วเสนอความเห็นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร (๓) การแปรสภาพพัสดุ ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานครอนุมัติ (๔) เมื่อได้รับอนุมัติให้แปรสภาพพัสดุแล้ว ให้คณะกรรมการตาม (๒) ควบคุมการ แปรสภาพพัสดุให้เป็นไปโดยถูกต้องตามวัตถุประสงค์และประโยชน์ของทางราชการ ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพพัสดุ ซึ่งจะต้องมีการซื้อหรือการจ้างให้ดำเนิน การตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่เกี่ยวกับการซื้อหรือการจ้าง โดย อนุโลม (๕) เมื่อทำการแปรสภาพพัสดุเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการแก้ไขเปลี่ยน แปลงบัญชีหรือทะเบียนให้ถูกต้องภายในกำหนด ๑๕ วัน นับจากวันที่แปรสภาพพัสดุเสร็จเรียบร้อยแล้ว การทำลายพัสดุ การทำลายพัสดุให้ขอความเห็นชอบจากปลัดกรุงเทพมหานคร และให้นำความใน (๑) (๒) (๓) (๔) และ (๕) เรื่อง การแปรสภาพพัสดุ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ๖. ในกรณีที่มีปัญหาตามคำสั่งนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณา สั่งการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๓ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๓๔/๕/๔๒๒/๑๐ มกราคม ๒๕๓๔] เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข ๒/๑๐/๔๕ B+A(c)
320497
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 3995/2528 เรื่อง มอบอำนาจกำหนดสถานที่ในการปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๙๙๕/๒๕๒๘ เรื่อง มอบอำนาจกำหนดสถานที่ในการปิดประกาศโฆษณาหาเสียง เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๑ แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ----------- ตามที่กรุงเทพมหานครจะต้องดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๑ แทนตำแหน่งที่ว่าง ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๒๘ เพื่อให้การกำหนดสถานที่สำหรับปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งเป็นไป ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๑๐ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑๗ และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๖ ข้อ ๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตพระนคร ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้อำนวยการเขต ปทุมวัน ผู้อำนวยการเขตสัมพันธวงศ์ ผู้อำนวยการเขตบางรัก ผู้อำนวยการเขตดุสิต ผู้อำนวยการเขต พญาไท และผู้อำนวยการเขตคลองสาน เป็นผู้กำหนดสถานที่ในการปิดประกาศโฆษณาหาเสียง เลือกตั้งในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อได้ดำเนินการไปแล้ว รายงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบโดยด่วน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๒๘/๑๘๑/๑๘พ/๑ ธันวาคม ๒๕๒๘] อัมพิกา/แก้ไข ๘ ส.ค ๒๕๔๔
533238
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย พ.ศ.๒๕๓๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรมดูงาน และปฏิบัติการวิจัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย พ.ศ.๒๕๓๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๔ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน พ.ศ. ๒๕๑๙ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๐ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครไม่ต่ำกว่าระดับกอง “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติ” หมายความว่า (ก) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับ ๙ ขึ้นไป (ข) ปลัดกรุงเทพมหานคร สำหรับข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับ ๘ ลงมา “ศึกษา” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ความสามารถหรือการวิจัย ตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิชาชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพตามกฎ ก.พ.ว่าด้วยการนั้นที่ ก.ก.มีมติให้นำมาใช้บังคับ และหมายความรวมตลอดถึงการฝึกฝนภาษา การรับคำแนะนำก่อนเข้าศึกษา และการฝึกอบรมหรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหรือต่อจากการศึกษานั้นด้วย “ฝึกอบรม” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญหรือประสบการณ์ด้วยการเรียนการวิจัย การอบรม การสัมนา หรือการปฏิบัติงานโดยไม่มีการรับปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพตามกฎ ก.พ.ว่าด้วยการนั้น ที่ ก.ก.มีมติให้นำมาใช้บังคับ และหมายความรวมตลอดถึงการฝึกฝนภาษา การรับคำแนะนำก่อนเข้าฝึกอบรม หรือการดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม หรือต่อจากการฝึกอบรมนั้นด้วย “ดูงาน” หมายความว่า การเพิ่มพูนความรู้หรือประสบการณ์ด้วยการสังเกตการณ์ “การปฏิบัติการวิจัย” หมายความว่า การทำงานวิจัย เพื่อนำผลที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ของสถาบันหรือหน่วยงานโดยตรง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการวิจัยตามลักษณะของการศึกษาหรือฝึกอบรม “ทุน” หมายความว่า เงินค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย และเพื่อการครองชีพระหว่างการศึกษาฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย และหมายความรวมตลอดถึงเงินค่าพาหนะเดินทางเพื่อการนี้ด้วย แต่ไม่รวมถึงเงินที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ทุนประเภท ๑ ได้แก่ (ก) ทุนที่กรุงเทพมหานครหรือกระทรวง ทบวง กรมอื่นใดเป็นผู้ให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย หรือจากเงินอื่นใดของทางราชการ (ข) ทุนที่รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศหรือนิติบุคคลต่างประเทศ มอบให้รัฐบาลไทย หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย และรัฐบาลไทยหรือกรุงเทพมหานครตกลงรับทุนนั้น ตามที่กรมวิเทศสหการจะได้ประกาศหรือแจ้งให้ทราบ ทั้งนี้ ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกรุงเทพมหานคร หรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง หรือจ่ายให้วิธีการอื่นใด (ค) ทุนที่นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาในประเทศมอบให้แก่กรุงเทพมหานครเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย โดยคณะกรรมการกำหนดโครงการให้ข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัยของกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นชอบด้วย ทุนประเภท ๒ ได้แก่ทุนอื่นที่มิใช่ทุนประเภท ๑ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการกำหนดโครงการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัยของกรุงเทพมหานคร คณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า `ก.ข.ก.' ประกอบด้วยปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองฝึกอบรม สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณากำหนดสาขาวิชาที่กรุงเทพมหานครต้องการจะให้ข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ตามลำดับก่อนหลัง โดยคำนึงถึงความรีบด่วนหรือความจำเป็นมากน้อยของโครงการ หรือแผนงานที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ กับให้มีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ หรือข้อปฏิบัตินอกจากที่ระบุไว้ โดยเฉพาะในระเบียบนี้ในเรื่องการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยและมีหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ และให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ แทนได้ ข้อ ๗ การให้ข้าราชการผู้ใดไปศึกษา หรือฝึกอบรม ให้ ก.ข.ก.พิจารณาความจำเป็นและความต้องการของหน่วยงานที่จะได้ผู้มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาและระดับความรู้ที่เหมาะสมแก่หน้าที่ที่กำหนดให้กลับมาปฏิบัติ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานกำหนดโครงการศึกษา หรือฝึกอบรมกับกำหนดแผนงาน หรือโครงการที่จะให้ข้าราชการผู้นั้นกลับมาปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้าเป็นการแน่นอน การดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ให้ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณาตามความเหมาะสม ข้อ ๘ การศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ต้องเป็นประโยชน์แก่หน้าที่ราชการและสถาบันการศึกษานั้นต้องเป็นสถาบันที่ก.ก. รับรองแล้ว ส่วนสถาบันการฝึกอบรมต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ข.ก. ข้อ ๙ ข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยให้อยู่ในความควบคุมดูแลของกองฝึกอบรม สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ให้รายงานผลการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ตามระยะเวลาที่กองฝึกอบรม สำนักปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) ผลการศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ต้องอยู่ในเกณฑ์ดี หากผลการศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยไม่ได้ผลหรือไม่อยู่ในเกณฑ์ ให้ ก.ข.ก.พิจารณาเรียกตัวกลับ เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรที่จะผ่อนผันให้ศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยต่อไปจนสำเร็จโดยพิจารณาจากรายงานของสถาบันที่เกี่ยวข้องในการศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยของข้าราชการผู้นั้น (๓) การเปลี่ยนแปลงระยะเวลา สถานที่ สาขาวิชา แนวการศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติการวิจัย ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ข.ก. ข้อ ๑๐ ข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติหรือเสร็จจากการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยก่อนครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติจะต้องเดินทางกลับ แล้วให้รายงานตัว พร้อมกับรายงานผลการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยโดยสังเขปต่อกองฝึกอบรม สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติทันทีและให้รายงานผลการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยโดยละเอียดต่อผู้บังคับบัญชาโดยด่วน ข้อ ๑๑ ข้าราชการซึ่งมิได้ปฏิบัติราชการ เพราะได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ให้ได้รับเงินเดือนในระหว่างลา ส่วนการจ่ายเงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น หมวด ๒ การให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัยในประเทศ ข้อ ๑๒ ข้าราชการที่จะไปศึกษาภายในประเทศ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ไปศึกษาขั้นต่ำกว่าปริญญาตรี หรือขั้นปริญญาตรี ต้องมีอายุไม่เกิน ๓๕ ปี ผู้ไปศึกษาขั้นสูงกว่าปริญญาตรีต้องมีอายุไม่เกิน ๔๕ ปี ในวันเปิดภาคการศึกษาของหลักสูตรนั้น ๆ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก ก.ข.ก. และผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี แต่ถ้าหน่วยงานใดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการไปศึกษาเป็นกรณีพิเศษและขอยกเว้นคุณสมบัตินี้ให้ ก.ข.ก. พิจารณา หากเห็นชอบให้เสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณายกเว้นได้เป็นราย ๆไปตามควรแก่กรณี แต่ทั้งนี้ข้าราชการผู้นั้นจะต้องพ้นจากการทดลองปฏิบัติราชการแล้ว (๓) ผู้ที่เอาใจใส่ในการปฏิบัติราชการและมีความประพฤติดี ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย หรือถ้าเป็นผู้เคยต้องโทษทางวินัย ต้องพ้นแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (๔) เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์และมีสุขภาพอนามัยดีพอที่จะไปศึกษาได้สำเร็จโดยต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาให้ไปศึกษา ข้อ ๑๓ ข้าราชการที่จะไปฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศ ให้นำคุณสมบัติของข้าราชการที่จะไปศึกษา ตามข้อ ๑๒ (๒) (๓) (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ การพิจารณาเสนอให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศ โดยใช้เวลาราชการปกติ หน่วยงานต้องพิจารณาถึงอัตรากำลังที่มีอยู่ให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงานไม่ให้เสียหายและต้องไม่ขออัตรากำลังเพิ่มเติม ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละสี่ของจำนวนของข้าราชการในหน่วยงานนั้น และในจำนวนนี้จะอนุมัติให้ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย ด้วยทุนประเภท ๒ ได้ไม่เกินร้อยละสองเว้นแต่ข้าราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัยไม่เกินร้อยละหก โดยไม่จำกัดประเภททุน การคิดอัตราร้อยละของข้าราชการตามข้อนี้ ให้คิดจากจำนวนข้าราชการผู้มีสิทธิลาศึกษาในระดับการศึกษาเดียวกันกับที่มีอยู่ในขณะที่พิจารณาให้ข้าราชการผู้หนึ่งผู้ใดไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยถ้าคำนวณแล้วมีเศษให้คิดเพิ่มเป็นอีกหนึ่งคน ถ้าคำนวณทั้งหน่วยงานไม่ถึงหนึ่งคนให้คิดเป็นหนึ่งคน ข้อ ๑๕ การให้ข้าราชการไปศึกษาในประเทศนอกเวลาราชการปกติ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) การศึกษาในประเทศนอกเวลาราชการปกติ โดยใช้เวลาราชการบางส่วน (๒) การศึกษาในประเทศนอกเวลาราชการปกติ โดยไม่ใช้เวลาราชการ ข้อ ๑๖ การพิจารณาอนุมัติตามข้อ ๑๕ (๑) ให้พิจารณาอนุญาตตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) จำนวนข้าราชการที่จะได้รับอนุญาตให้ไปศึกษานอกเวลาราชการปกติ โดยใช้เวลาราชการบางส่วน ไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนข้าราชการของหน่วยงานนั้น (๒) ข้าราชการผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา จะออกเดินทางจากสถานที่ทำงานก่อนเวลาเลิกปฏิบัติราชการตามปกติเกิน ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่ทำการสอนให้ออกเดินทางได้เมื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยปกติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อ ๑๗ ให้กรุงเทพมหานครทำสัญญาผูกมัดข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เวลาราชการปกติหรือบางส่วน เกิน ๙๐ วัน ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยตามหลักเกณฑ์ แบบ และวิธีการตามระเบียบคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ โดยอนุโลม ข้อ ๑๘ การขออนุญาตไปศึกษาในประเทศนอกเวลาราชการปกติ เมื่อข้าราชการผู้ใดสอบคัดเลือกหรือได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันใดแล้ว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ต้องใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา จะต้องยื่นใบลาพร้อมเอกสารอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะไปศึกษาได้ (๒) ผู้ที่ไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา ไม่ต้องขออนุญาตตาม (๑) แต่ต้องรายงานหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัด และแจ้งกองฝึกอบรม สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยมิชักช้า ข้าราชการผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข (๑) (๒) ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาปรับเงินเดือนให้ตรงตามวุฒิและเพิ่มวุฒิทุกกรณี[๒] หมวด ๓ การให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ ข้อ ๑๙ ข้าราชการที่จะไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ไปศึกษาขั้นปริญญาตรี ต้องมีอายุไม่เกิน ๓๕ ปี ผู้ไปศึกษาขั้นสูงกว่าปริญญาตรี ต้องมีอายุไม่เกิน ๔๐ ปี นับถึงวันเดินทางไปต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก ก.ข.ก.และผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย (๒) เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี แต่ถ้าหน่วยงานใดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการไปศึกษา ณ ต่างประเทศเป็นกรณีพิเศษ และขอยกเว้นคุณสมบัตินี้ให้ ก.ข.ก. พิจารณา หากเห็นชอบให้เสนอผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจอนุมัติยกเว้นได้เป็นราย ๆ ไปตามควรแก่กรณี แต่ทั้งนี้ข้าราชการผู้นั้นจะต้องพ้นจากการทดลองปฏิบัติราชการแล้ว (๓) เป็นผู้ที่มีความรู้ภาษาต่างประเทศที่จะใช้ในการศึกษานั้นได้ สำหรับผู้ไปศึกษาด้วยทุนประเภท ๒ ต้องมีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่ ก.ก.กำหนด (๔) เป็นผู้ที่เอาใจใส่ในการปฏิบัติราชการและมีความประพฤติดี ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย หรือถ้าเป็นผู้เคยต้องโทษทางวินัย ต้องพ้นโทษแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ข้อ ๒๐ ข้าราชการที่จะไปฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ ให้นำเอาคุณสมบัติของข้าราชการที่จะไปศึกษาตามข้อ ๑๙ (๒) (๓) (๔) มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ข้อ ๒๑ ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศทุกประเภททุนต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ไม่มีภาระผูกพันเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรมดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย หรือไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างค้าประกันการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยของบุคคลอื่น ทั้งนี้ ยกเว้นกรณีที่เป็นผู้ได้รับอนุมัติให้ไปฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยเป็นระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ วัน (๒) ไม่ขอค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติมในส่วนที่ได้รับเงินอุดหนุนจากทุนอื่นแล้ว ข้อ ๒๒ ภายใต้บังคับข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข คุณสมบัติ การทำสัญญาและการกำหนดจำนวนร้อยละของจำนวนข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย ณ ต่างประเทศ ให้นำระเบียบคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน ณ ต่างประเทศ มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๓[๓] ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑[๔] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔[๕] วชิระ/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๗/หน้า ๕/๑๕ มกราคม ๒๕๓๐ [๒] ข้อ ๑๘ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑ [๓] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๙๓/หน้า ๑๗๗/๙ มิถุนายน ๒๕๓๑ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๕๑/หน้า ๗๒๕/๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๔
441339
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 780/2547 เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๗๘๐/๒๕๔๗ เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์ดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๐ และมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะนายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ประจำท้องที่กรุงเทพมหานครจึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขตแห่งท้องที่ที่มีการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์ปฏิบัติราชการแทนในบรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายว่าด้วยการฌาปนกิจสงเคราะห์กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร ทุกประการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป[๑] สั่ง ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ญาณี/พิมพ์ ธัญกมล/ศุภสรณ์/ตรวจ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/๔๖ง/๒๒๕/๘ มิถุนายน ๒๕๔๗
306638
คำสั่งสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร ที่ 97/2528 เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน
คำสั่งสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร คำสั่งสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร ที่ ๙๗/๒๕๒๘ เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ----------- โดยที่เป็นการสมควรแบ่งเบาภาระในการปฏิบัติราชการของผู้อำนวยการสำนัก การคลังเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล งานเอกสาร การพัสดุ การเงิน การคลัง การงบประมาณ และ การซ่อมยานพาหนะและเครื่องจักรกล เพื่อให้ผู้อำนวยการสำนักการคลังปฏิบัติราชการด้านนโยบาย ตรวจสอบ และควบคุมการปฏิบัติงานของสำนักการคลังให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจในการสั่งการอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติ ราชการที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติหรือคำสั่งใด ให้เลขานุการสำนักและผู้อำนวยการกองในสังกัดสำนักการคลัง ปฏิบัติราชการ แทนดังต่อไปนี้ ๑. เลขานุการสำนักการคลัง (๑) ลงชื่ออนุมัติในฎีกาเบิกเงินได้ทุกหมวด ทุกประเภท ภายในวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เฉพาะกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักการคลัง และรองผู้อำนวยการ สำนักการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการได้ (๒) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรในส่วน ของสำนักงานเลขานุการ (๓) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ สำนักงานเลขานุการ (๔) ส่งใบเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้ารับการรักษา พยาบาลดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับสถานพยาบาล (๕) แจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ส่งใบสำคัญที่ผัดส่งไว้ และเลยกำหนดเวลาการผัดส่ง (๖) ส่งใบแจ้งหนี้ค่าสาธารณูปโภค (๗) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งไปยังกองต่าง ๆ ในสังกัดสำนักการคลังเพื่อทราบ หรือดำเนินการตามหน้าที่ (๘) ลงชื่อในหนังสือราชการถึงส่วนราชการในสังกัดกรุงเทพมหานครเฉพาะส่วนที่ สำนักงานเลขานุการเป็นผู้ดำเนินการ สำหรับเรื่องการบริหารงานบุคคลให้กระทำได้เฉพาะเรื่องที่ส่งไป เพื่อทราบ หรือที่มิใช่เรื่องการบรรจุแต่งตั้ง (๙) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุไปให้ส่วนราชการภายนอกเพื่อ ทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ แล้วรายงานผู้อำนวยการสำนักการคลัง ทราบทันที (๑๐) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการ พิจารณาเรื่องที่ดำเนินการ ๒. ผู้อำนวยการกองรายได้ (๑) ส่ง ภ.ร.ด. ๒ คืนสำนักงานเขต เมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว (๒) ขอสถิติการจัดเก็บรายได้และข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้จาก สำนักงานเขต (๓) ส่งใบนำฝากเงินธนาคาร และส่งคืนใบเสร็จรับเงินกรณีผู้เสียภาษีชำระเงิน ค่าภาษีผ่านธนาคาร (๔) ตรวจสอบหนี้สินของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพื่อขอเฉลี่ยหนี้ (๕) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรในส่วน ของกองรายได้ (๖) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ กองรายได้ (๗) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุไปให้ส่วนราชการภายนอกเพื่อ ทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ (๘) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา เรื่องที่ดำเนินการ ๓. ผู้อำนวยการกองการเงิน (๑) ส่งใบโอนเงินให้หน่วยการคลัง เมื่อผ่านการตรวจและอนุมัติฎีกาตามที่หน่วย การคลังนั้น ๆ ตั้งเบิกเงินมา (๒) ทวงใบสำคัญที่หน่วยการคลังขอผัดส่ง (๓) แจ้งการรับชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ที่ประชาชนนำมา ชำระกับกองการเงินให้สำนักงานเขตทราบ (๔) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรในส่วน ของกองการเงิน (๕) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ กองการเงิน (๖) ให้มีอำนาจในการรับรองสำเนาเอกสารประกอบฎีกาการเบิกจ่ายเงินจาก กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง แทนผู้เบิกหรือผู้เบิกแทนได้ ตามความในข้อ ๒๗ และข้อ ๕๕ แห่ง ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๕ และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๖ ประกอบกับหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค. ๐๕๐๒/๒๒๖๙๔ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗ (๗) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุไปให้ส่วนราชการภายนอก เพื่อ ทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ แล้วรายงานผู้อำนวยการสำนักการคลัง ทราบทันที (๘) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา เรื่องที่ดำเนินการ ๔. ผู้อำนวยการกองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ (๑) แจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานพิจารณาอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างที่ใช้เงิน งบประมาณของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น ซึ่งอำนาจอนุมัติเป็นของหัวหน้าส่วนราชการหรือ หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ (๒) แจ้งข้าราชการในสังกัดสำนักและสำนักงานเขต กรณีกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ให้เป็นกรรมการตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (๓) แจ้งส่วนราชการและหน่วยงานให้ส่งหลักฐานการอนุมัติเงินประจำงวดและหรือ จัดหางบประมาณเพิ่มเติม เมื่อการจัดซื้อหรือจัดจ้างนั้นมีวงเงินสูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้กรณีการ จัดซื้อหรือจัดจ้างที่กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุเป็นผู้ดำเนินการให้ (๔) แจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานมารับพัสดุ ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินและแจ้ง ให้ทราบเรื่องที่ได้ดำเนินการไปตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ หรือข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร (๕) แจ้งราคาพัสดุครุภัณฑ์ที่จัดซื้อครั้งหลังสุด ตามที่ส่วนราชการหรือหน่วยงาน ขอทราบ (๖) แจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมกรณีที่ส่วนราชการหรือ หน่วยงานนั้นขอให้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หรือขออนุมัติจำหน่ายทรัพย์สิน รวมทั้งการตรวจสอบ สภาพและตีราคาขั้นต่ำตามที่ได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร (๗) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรในส่วน ของกองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ (๘) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ (๙) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ไปให้ส่วนราชการภายนอก เพื่อทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ แล้วรายงานผู้อำนวยการ สำนักการคลังทราบทันที (๑๐) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการ พิจารณาเรื่องที่ดำเนินการ ๕. ผู้อำนวยการกองบัญชีและตรวจสอบ (๑) ลงชื่อหนังสือราชการติดต่อราชการกับส่วนราชการและหน่วยงาน ในเรื่อง การส่งฎีกาทักท้วงไปเพื่อดำเนินการแก้ไข และแจ้งผลการดำเนินการไปเพื่อทราบหรือส่งคืน (๒) แจ้งผลการพิจารณาการขอใช้เงินสะสมของกรุงเทพมหานครไปให้ส่วน ราชการหรือหน่วยงานผู้ขอใช้ทราบ (๓) ลงชื่ออนุมัติในฎีกาเบิกเงินได้ทุกหมวด ทุกประเภทภายในวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังและรองผู้อำนวยการ สำนักการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และให้ลงชื่ออนุมัติในฎีกาเบิกจ่ายเงินได้ทุกกรณี เฉพาะที่เป็น เรื่องเร่งด่วน ถ้าไม่อนุมัติการเบิกจ่ายเงิน จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการของกรุงเทพมหานคร และต้องเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังและรองผู้อำนวยการสำนักการคลังไม่อาจปฏิบัติราชการ ได้ (๔) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรในส่วน ของกองบัญชีและตรวจสอบ (๕) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ กองบัญชีและตรวจสอบ (๖) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ไปให้ส่วนราชการภายนอก เพื่อทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ แล้วรายงานผู้อำนวยการสำนัก การคลังทราบทันที (๗) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการ พิจารณาเรื่องที่ดำเนินการ ๖. ผู้อำนวยการกองโรงงานช่างกล (๑) ลงชื่อหนังสือราชการติดต่อเพื่อการประสานงานกับส่วนราชการและหน่วยงาน เกี่ยวกับการซ่อม การยุบสภาพ การตีราคาค่าเสียหาย (กรณีละเมิด) ของยานพาหนะหรือ เครื่องจักรกล (๒) ส่งใบแจ้งหนี้ให้กับส่วนราชการและหน่วยงานเจ้าของยานพาหนะหรือ เครื่องจักรกล (๓) แจ้งรายการและวงเงินค่าซ่อมให้ส่วนราชการและหน่วยงานเจ้าของยานพาหนะ และเครื่องจักรกลเพื่อทราบ (๔) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรในส่วน ของกองโรงงานช่างกล (๕) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ กองโรงงานช่างกล (๖) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุไปให้ส่วนราชการภายนอก เพื่อ ทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ แล้วรายงานผู้อำนวยการสำนักการคลัง ทราบทันที (๗) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการ พิจารณาเรื่องที่ดำเนินการ ๗. ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง (๑) แจ้งผลการพิจารณาที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ให้ส่วนราชการและหน่วยงานทราบตามที่หารือมา (๒) แจ้งให้ส่วนราชการและหน่วยงานแก้ไขหรือส่งหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอ รับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการและลูกจ้างประจำ (๓) ส่งสำเนาเรื่องราวขอรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการที่ได้ดำเนินการแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเก็บไว้เป็นหลักฐาน (๔) ส่งเรื่องขอรับเงินบำเหน็จของลูกจ้างประจำที่ได้รับอนุมัติให้จ่ายเงินได้แล้ว คืนให้หน่วยงานเจ้าสังกัด เพื่อดำเนินการตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงิน (๕) อนุมัติการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร การเบิกจ่ายเงิน สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร ในส่วนของกองระบบการคลัง (๖) รับรองการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เงิน พชค. และเงิน พ.ส.ร. ในส่วนของ กองระบบการคลัง (๗) ให้มีอำนาจในการรับรองสำเนาเอกสารประกอบฎีกาเบิกจ่ายเงินจาก กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง แทนผู้เบิกหรือผู้เบิกแทนได้ ตามความในข้อ ๒๗ และข้อ ๕๕ แห่งระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๕ และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๖ ประกอบกับหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค. ๐๕๐๒/๒๒๖๙๔ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗ (๘) ลงชื่อในหนังสือราชการส่งประกาศและสัญญาต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ไปให้ส่วนราชการภายนอกเพื่อ ทราบหรือดำเนินการตามที่ระเบียบหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ แล้วรายงานผู้อำนวยการสำนักการคลัง ทราบทันที (๙) แจ้งให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานส่งหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา เรื่องที่ดำเนินการ บรรดาคำสั่งใดที่ได้กำหนดไว้แล้วในคำสั่งนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้ คำสั่งนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ พิสิษฐ์ สืบมา ผู้อำนวยการสำนักการคลัง [รก.๒๕๒๘/๑๘๑/๒๐พ/๑ ธันวาคม ๒๕๒๘] สุรินทร์ / แก้ไข ๒๑/๐๘/๒๕๔๔
438275
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 781/2547 เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๗๘๑/๒๕๔๗ เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครในการบริหารงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ เพื่อให้การบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคมปฏิบัติราชการแทนเกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] สั่ง ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ญาณี/พิมพ์ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ สุนันทา/จีระ/ตรวจ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๓๗ง/๕๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
306636
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 3581/2528 เรื่อง มอบอำนาจให้ปลัดกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๕๘๑/๒๕๒๘ เรื่อง มอบอำนาจให้ปลัดกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ----------- ตามที่กรุงเทพมหานครได้มีคำสั่ง ที่ ๔๓๕๔/๒๕๒๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๗ มอบอำนาจให้ ว่าที่ร้อยตรี เสมอใจ พุ่มพวง รองปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ "พนักงานเจ้าหน้าที่" เกี่ยวกับการจดทะเบียน และการควบคุม ดูแลตรวจตรามูลนิธิในกรุงเทพมหานคร นั้น บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ ว่าที่ร้อยตรี เสมอใจ พุ่มพวง รองปลัดกรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๘ เป็นต้นไป ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘ ในการนี้จึงจำต้อง เปลี่ยนแปลงตำแหน่งตัวบุคคลผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ "พนักงาน เจ้าหน้าที่" ในงานมูลนิธิเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมและถูกต้องเป็นปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. ๒๔๘๐) ออกตาม ความในมาตรา ๙๗ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามความในมาตรา ๘๑ แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงให้ยกเลิกคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๔๓๕๔/๒๕๒๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๗ และมอบหมาย ให้ ว่าที่ร้อยตรี เสมอใจ พุ่มพวง ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนในฐานะ "พนักงานเจ้าหน้าที่" เกี่ยวกับการจดทะเบียนและการควบคุมดูแล ตรวจตรามูลนิธิในกรุงเทพ มหานคร ตามระเบียบการจดทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๗ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ อาษา เมฆสวรรค์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๒๘/๑๕๔/๕๖พ/๒๔ ตุลาคม ๒๕๒๘] ละออง/พิมพ์/๒๐/๐๗/๔๔
316552
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 1224/2541 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการแปรญัตติ
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๑๒๒๔/๒๕๔๑ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการแปรญัตติ ---------------- โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข การใช้จ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจำปีรายการแปรญัตติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบรรลุผลสมตาม ความมุ่งหมายของทางราชการและนโยบายของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบด้วยข้อ ๕ และข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการแปรญัตติ ไว้ดังต่อไปนี้ ๑. เป็นโครงการหรือรายการที่จะต้องมีเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ชัดเจนและต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร โดยดำเนินการได้ตามกฎหมายข้อบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ๒. เป็นโครงการหรือรายการที่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในปี งบประมาณนั้นและต้องไม่มีผลผูกพันกับงบประมาณในในปีต่อ ๆ ไป ๓. ต้องไม่เป็นโครงการหรือรายการที่นำงบประมาณไปสมทบกับงบประมาณ ปกติของหน่วยงาน ๔. ต้องเป็นโครงการหรือรายการรายจ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและ สิ่งก่อสร้าง เว้นแต่กรณีจำเป็นอาจเป็นรายการรายจ่ายในลักษณะค่าวัสดุได้เฉพาะรายการที่จะ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวม ๕. โครงการหรือรายการที่เป็นรายจ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ รวมทั้งค่าวัสดุ ตามข้อ ๔ ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข รายละเอียดเฉพาะเพิ่มเติมดังนี้ ๕.๑ เป็นรายการที่ไม่มีลักษณะนำไปจัดซื้อครุภัณฑ์ ซึ่งมีรายการละเอียด และคุณลักษณะเฉพาะเจาะจง หรือมุ่งกีดกันหรือสนับสนุนครุภัณฑ์ชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ ๕.๒ ต้องเป็นครุภัณฑ์ ตามบัญชีราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณหรือ ตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด ๕.๓ ต้องมีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ตลอดจนความ คุ้มค่าของการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้น ๖. โครงการหรือรายการที่เป็นการจ่ายในลักษณะค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ต้อง อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข รายละเอียดเฉพาะเพิ่มเติม ดังนี้ ๖.๑ ต้องมีแบบ แผนผังบริเวณ รายละเอียดเนื้องาน พร้อมใบประมาณราคา ค่าก่อสร้าง ๖.๒ สถานที่ที่จะดำเนินการต้องเป็นที่สาธารณะ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม กฎหมาย ข้อบัญญัติหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ๗. บรรดาคำสั่ง บันทึกสั่งการในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในคำสั่งนี้ หรือซึ่งขัดหรือ แย้งกับคำสั่งให้ใช้คำสั่งนี้แทน ๘. กรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ตามคำสั่งนี้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการ ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก. ๒๕๔๑/๓๔ง/๑๘๐/๒๘ เมษายน ๒๕๔๑] พรพิมล/พิมพ์/แก้ไข ๓ ก.ค ๒๕๔๕ A+B (C )
438277
คำสั่งสำนัการจราจรและขนส่ง ที่ 31/2547 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง
คำสั่งสำนักการจราจรและขนส่ง คำสั่งสำนักการจราจรและขนส่ง ที่ ๓๑/๒๕๔๗ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนัก ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักการจราจรและขนส่ง ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการกองและเลขานุการสำนักปฏิบัติราชการแทน ในการลงนามหนังสือติดต่อระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ตามข้อ ๒๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๔๖ ในเรื่องดังต่อไปนี้ ๑. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม ๒. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของหรือเอกสาร ๓. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ ๔. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ๕. การติดตามเรื่องที่ค้าง ๖. การชี้แจงข้อร้องเรียน ๗. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการตามปกติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] สั่ง ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ชิตชนก เขมาวุฒานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง ญาณี/พิมพ์ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗ สุนันทา/จีระ/ตรวจ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] รก. ๒๕๔๗/พ๓๗ง/๕๔/๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
316120
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 682/2541 เรื่อง มอบอำนาจกำหนดสถานที่สำหรับปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๖๘๒/๒๕๔๑ เรื่อง มอบอำนาจกำหนดสถานที่สำหรับปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภากรุงเทพมหานครให้ผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทน ------------ ตามที่กรุงเทพมหานครจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ นั้น เพื่อให้การกำหนดสถานที่สำหรับปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งสมาชิก สภากรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการเขต เป็นผู้กำหนดสถานที่เพื่อการปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งในเขตพื้นที่รับผิดชอบแทนผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้รายงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทราบ โดยด่วน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๑ สั่ง ณ วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๑/พ๒๑ง/๒๑/๑๑ มีนาคม ๒๕๔๑] ภคินี/แก้ไข ๕/๖/๒๕๔๕ (B+A)C
306639
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 3932/2528 เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คำสั่งกรุงเทพมหานคร คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๙๓๒/๒๕๒๘ เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการ แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ----------- ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบอำนาจให้ว่าที่ร้อยตรี เสมอใจ พุ่มพวง ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนในฐานะ "พนักงานเจ้าหน้าที่" เกี่ยวกับการจดทะเบียน การอนุมัติ การลงชื่อและสั่งการทั้งหลายเกี่ยวกับมัสยิดอิสลาม ในเขตกรุงเทพมหานครตาม พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ นั้น ปรากฏว่างานทะเบียนมัสยิดในกรุงเทพมหานคร มีปริมาณงานเพิ่มสูงขึ้น และจะต้องมีการควบคุม ดูแล ตรวจตรามัสยิดโดยใกล้ชิดทุกขั้นตอน การดำเนินงาน จึงเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ "พนักงานเจ้าหน้าที่" เกี่ยวกับการจดทะเบียน และการควบคุม ดูแล ตรวจตรามัสยิดในกรุงเทพ มหานครเพิ่มขึ้นอีก ๑ นาย ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในกฎกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. ๒๔๙๑) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ และตามความในมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมอบหมายให้ นายสุรินทร์ ชัชวาลย์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจปฏิบัติราชการแทนในฐานะ "พนักงานเจ้าหน้าที่" เกี่ยวกับการจดทะเบียน การอนุมัติ การลงชื่อ และสั่งการทั้งหลายเกี่ยวกับมัสยิด อิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. ๒๔๙๐ ในกรณีที่ ปลัดกรุงเทพมหานครไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ อาษา เมฆสวรรค์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๒๘/๑๗๘/๔๙พ/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๘] อัมพิกาแก้ไข ๘ ส.ค ๒๕๔๔
533253
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ. 2533 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการ ปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๕ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “แผนงาน” หมายความว่า แผนงานตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม “งาน” หมายความว่า งานตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม “โครงการ” หมายความว่า โครงการตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม “หมวดรายจ่าย” หมายความว่า วัตถุประสงค์ของรายจ่ายของแต่ละงาน หรือโครงการ “การโอน” หมายความว่า การโอนงบประมาณ ดังต่อไปนี้ (๑) การโอนงบประมาณระหว่างหมวดรายจ่ายในงานหรือโครงการของหน่วยงานเดียวกัน หรือในงานหรือโครงการระหว่างหน่วยงาน (๒) การโอนงบประมาณรายจ่ายระหว่างงบกลางกับงาน หรือโครงการของหน่วยงาน (๓) การโอนงบประมาณระหว่างรายการในงบกลาง “การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงรายการ วัตถุประสงค์ รายละเอียด เนื้องาน และหรือจำนวนเงินของรายการในหมวดรายจ่ายเดียวกันของงานหรือโครงการเดียวกัน ในหน่วยงานเดียวกัน ข้อ ๕ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาการตามระเบียบนี้ ลักษณะที่ ๑ การกำหนดประเภทรายรับและรายจ่าย หมวด ๑ ประเภทรายรับ ข้อ ๖ รายรับ ประกอบด้วยรายได้ประจำและรายได้พิเศษ ข้อ ๗ รายได้ประจำ จำแนกดังนี้ (๑) ภาษีอากร คือ รายได้ประเภทภาษีอากร ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดเก็บหรือส่วนราชการอื่นจัดเก็บแล้วโอนทั้งหมด หรือบางส่วนให้กรุงเทพมหานคร ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ (๒) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและค่าบริการ คือ รายได้ประเภทค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและค่าบริการ ที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บ หรือส่วนราชการอื่นจัดเก็บ แล้วโอนทั้งหมดหรือบางส่วนให้กรุงเทพมหานคร ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ (๓) รายได้จากทรัพย์สิน คือ รายได้จากดอกเบี้ยพันธบัตร เงินปันผล ดอกเบี้ยเงินฝาก และรายได้จากทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร หรือทรัพย์สินที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกรุงเทพมหานคร (๔) รายได้จากการสาธารณูปโภค การพาณิชย์และกิจกรรมอื่นของกรุงเทพมหานคร คือ รายได้จากการสาธารณูปโภค การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การทำกิจการร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ (๕) รายได้เบ็ดเตล็ด คือ รายได้ที่ไม่เข้าลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังกล่าวข้างต้น ข้อ ๘ รายได้พิเศษ จำแนกดังนี้ (๑) เงินกู้ คือ รายได้จาก ๑. เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ ๒. เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ (๒) เงินสะสมจ่ายขาด คือ เงินสะสมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้จ่ายขาดโดยได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร หมวด ๒ ประเภทรายจ่าย ข้อ ๙ รายจ่ายประกอบด้วยรายจ่ายประจำและรายจ่ายพิเศษ ข้อ ๑๐ รายจ่ายประจำ คือ รายจ่ายซึ่งตั้งจ่ายจากรายได้ประจำจำแนกเป็นรายจ่ายงบกลางและรายจ่ายของงานหรือโครงการ รายจ่ายงบกลาง คือ รายจ่ายที่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รายจ่ายของงานหรือโครงการ คือ รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้สำหรับงานหรือโครงการโดยเฉพาะซึ่งจำแนกออกเป็น ๗ หมวด ดังนี้ (๑) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ (๒) หมวดค่าจ้างชั่วคราว (๓) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ (๔) หมวดค่าสาธารณูปโภค (๕) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (๖) หมวดเงินอุดหนุน (๗) หมวดรายจ่ายอื่น การจำแนกประเภทรายจ่าย ตามหมวดรายจ่ายต่างๆ ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๑ รายจ่ายพิเศษ คือ รายจ่ายที่เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กำหนดไว้และให้จำแนกเป็นรายจ่ายงบกลาง และรายจ่ายของงานหรือโครงการหรือจำแนกเป็นหมวดรายจ่ายตามรายจ่ายประจำโดยอนุโลม หมวด ๓ การจัดทำประมาณการรายรับ ข้อ ๑๒ ให้สำนักการคลังรับผิดชอบในการจัดทำประมาณการรายรับของกรุงเทพมหานครตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๓ การจัดทำประมาณการรายรับต้องแสดงรายการและรายละเอียด ดังนี้ (๑) จำแนกตามประเภทรายได้และรายละเอียดของประเภทรายได้นั้นๆ (๒) จำนวนเงินที่ประมาณการในปีปัจจุบัน (๓) จำนวนเงินที่ประมาณการว่าจะจัดเก็บได้ในปีต่อไป (๔) จำนวนเงินเพิ่ม หรือลดสำหรับประมาณการปีต่อไป ข้อ ๑๔ การแสดงประมาณการตามประเภทรายได้ ให้แสดงจำนวนรับทั้งสิ้นโดยไม่หักรายจ่ายใดๆ และมีบันทึกแสดงหลักเกณฑ์การประมาณการพร้อมทั้งข้อความดังต่อไปนี้ด้วย คือ (๑) รายได้จริง เป็นรายปีย้อนหลังอย่างน้อย ๓ ปี (๒) รายได้จริง ๖ เดือนหลังของปีก่อน และ ๖ เดือนแรกของปีปัจจุบัน (๓) อัตราและเกณฑ์จำนวนตามประเภทรายได้ที่ตั้งเก็บและจำนวนรายได้ซึ่งประมาณจะเก็บ (๔) เหตุผลหรือคำชี้แจงอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมี หมวด ๔ การตั้งงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๑๕ ให้หัวหน้าหน่วยงาน จัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๖ การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต้องแสดงรายการและรายละเอียด ดังนี้ (๑) ให้จำแนกตามลักษณะแผนงาน งานหรือโครงการ (๒) จำนวนเงินงบประมาณปีปัจจุบัน (๓) จำนวนเงินเพิ่มหรือลดสำหรับงบประมาณปีต่อไป (๔) จำนวนเงินที่ขอตั้งงบประมาณในปีต่อไป (๕) รายละเอียดงบประมาณที่ขอตั้งในงานหรือโครงการให้มี วัตถุประสงค์ ขอบเขตเป้าหมาย ระยะเวลา ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ปีปัจจุบัน และปีต่อไป ข้อ ๑๗ ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกใช้ไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปีที่ล่วงมาไปพลางก่อนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ลักษณะที่ ๒ การบริหารงบประมาณรายจ่าย หมวด ๑ การขอเงินประจำงวด ข้อ ๑๘ ในแต่ละปีงบประมาณให้มีเงินประจำงวดสามงวด แต่ละงวดมีระยะเวลาสี่เดือน ข้อ ๑๙ การขอเงินประจำงวดครั้งแรกของแต่ละงวดให้หน่วยงานยื่นคำขอต่อกองงบประมาณก่อนวันเริ่มต้นของระยะเวลาของงวดนั้นๆ เป็นเวลาอย่างน้อยสิบห้าวัน เงินงบกลาง ให้กองงบประมาณเป็นผู้ยื่นขออนุมัติเงินประจำงวดต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เงินประจำงวดที่อนุมัติในงวดใด ถ้าเบิกจ่ายไม่หมดในระยะเวลาของเงินประจำงวดนั้น ให้นำส่วนที่เหลือไปสมทบกับเงินประจำงวดสำหรับงวดถัดไป เงินประจำงวดหมวดใดที่อนุมัติสำหรับงานหรือโครงการใด จะนำไปใช้สำหรับงานหรือโครงการอื่นมิได้ ข้อ ๑๙ ทวิ[๒] ให้งบประมาณรายจ่าย หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำหมวดค่าจ้างชั่วคราว และหมวดค่าสาธารณูปโภค มีเงินประจำงวดเท่ากับจำนวนงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ในกรณีที่มีการโอนงบประมาณรายจ่ายหมวดอื่นซึ่งยังไม่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดมาเพิ่มในงบประมาณรายจ่าย หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว และหมวดค่าสาธารณูปโภค ให้ขออนุมัติเงินประจำงวดมาในคราวเดียวกัน ข้อ ๒๐[๓] การขอเงินประจำงวดของแต่ละงานหรือโครงการที่ระบุไว้ในเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือเอกสารงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้แสดงรายละเอียดประกอบ ดังนี้ (๑) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ให้แสดงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย กรณีการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการให้แนบแผนปฏิบัติงานโดยแสดงเหตุผลตลอดจนรายละเอียดจำนวนข้าราชการลูกจ้างที่จะปฏิบัติงาน ระยะเวลา สถานที่ และจำนวนเงินประกอบด้วย (๒) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ๒.๑ ค่าครุภัณฑ์ ก. ให้แสดงรายละเอียดครุภัณฑ์แต่ละรายการ จำนวนราคาต่อหน่วยประเภทและหรือชนิดของครุภัณฑ์นั้นๆ สำหรับครุภัณฑ์ที่ไม่มีราคามาตรฐานของราชการกำหนดไว้ให้แสดงคุณลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งแนบใบเสนอราคา จำนวน ๓ ราย ของครุภัณฑ์นั้นๆ ข. ให้จัดทำแผนปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินแต่ละรายการ ๒.๒ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ในการขอเงินประจำงวดของงาน หรือโครงการใดๆ เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้แนบแผนปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินพร้อมทั้งปฏิบัติดังนี้ ก. กรณีที่ขอเงินประจำงวดสำหรับรายการค่าที่ดิน ให้ส่งแผนผังบริเวณของที่ดินแต่ละรายการ รวมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมที่เลือกซื้อที่ดินแปลงนั้นๆ จำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อ พร้อมทั้งข้อมูลดังต่อไปนี้ ๑. ราคากลางของกรมที่ดิน ๒. ราคาซื้อขายในท้องตลาดของที่ดินใกล้เคียง ๓. ราคาที่ทางราชการประเมินเพื่อเสียภาษีของที่ดินใกล้เคียง ข. กรณีที่ขอเงินประจำงวดสำหรับรายการค่าก่อสร้างให้แนบแบบรูปรายการก่อสร้าง ข้อกำหนดเฉพาะงาน และประมาณการโดยละเอียด จำนวนอย่างละ ๒ ชุด ๒.๓ การขอเงินประจำงวดเพิ่มเติม สำหรับรายการใดในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หรือรายการในหมวดอื่น ซึ่งเบิกจ่ายในลักษณะหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดไปแล้ว แต่ไม่อาจดำเนินการซื้อหรือจ้างภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติให้ชี้แจงเหตุผลและรายละเอียดประกอบ (๓) หมวดเงินอุดหนุน ให้แสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละรายการพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย (๔) หมวดรายจ่ายอื่น ให้แสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ พร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย สำหรับรายการในหมวดรายจ่ายอื่น ซึ่งเป็นรายการที่รวมค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ ไว้ให้แสดงค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทที่จะใช้จ่ายจากรายการนั้นๆ จำแนกตามหมวดรายจ่ายโดยอนุโลม ถ้ามีค่าใช้จ่ายในลักษณะหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้นำความในข้อ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๒ การใช้รายจ่าย ข้อ ๒๑[๔] การใช้รายจ่ายแต่ละหมวดของแต่ละงาน หรือโครงการที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินวงเงินที่ได้รับเงินประจำงวด หรือตามที่จะมีการโอน หรือเปลี่ยนแปลง โดยให้ถือปฏิบัติดังนี้ (๑) หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ให้เบิกจ่ายตามรายการในบัญชีถือจ่ายเงินเดือน หรือบัญชีถือจ่ายค่าจ้างประจำที่ได้รับอนุมัติครั้งสุดท้าย สำหรับเงินเดือนและค่าจ้างประจำอัตราใหม่ให้เบิกจ่ายตามคำสั่งบรรจุแต่งตั้ง (๒) หมวดค่าจ้างชั่วคราว ให้เบิกจ่ายตามที่ได้รับอนุมัติจ้าง (๓) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ให้ระบุลักษณะการใช้จ่ายว่าจะเป็นค่าตอบแทน ค่าใช้สอยหรือค่าวัสดุ และให้ถัวจ่ายกันได้ (๔) หมวดค่าสาธารณูปโภค ให้ระบุลักษณะการใช้จ่ายตามประเภทของสาธารณูปโภค และเบิกจ่ายตามใบแจ้งหนี้ (๕) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้เบิกจ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด และระบุลักษณะการใช้จ่ายว่าเป็นค่าครุภัณฑ์ หรือค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (๖) หมวดเงินอุดหนุน ให้เบิกจ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด (๗) หมวดรายจ่ายอื่น ให้เบิกจ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด (๘) งบกลางทุกรายการ ให้ระบุว่าจะเบิกจ่ายในลักษณะหมวดรายจ่ายใด งานหรือโครงการของแผนงานใด และให้เบิกจ่ายตามรายการ จำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ หรือตามที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรายการตามระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี รายจ่ายประเภทใดหรือรายการใดจะอยู่ในรายจ่ายหมวดใด หรือในรายจ่ายงบกลางรายการใดให้เป็นไปตามการจำแนกประเภทรายจ่ายตามหมวดรายจ่าย ตามรายละเอียดที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด หมวด ๓ การโอนและการเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๒๒ การโอนหรือการเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายที่กำหนดไว้ในรายการใดของงานหรือโครงการใด ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมไปยังงานหรือโครงการหรือรายการอื่น ในหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงาน ให้ยื่นคำขอตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด และให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (๑) รายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ขอโอน และให้แสดงว่าเงินเดือนและค่าจ้างประจำอัตราใดมีเหลือจ่ายเท่าใด และให้ผู้ที่ขอโอนรับรองว่า เมื่อโอนไปแล้วจะมีเงินเหลือพอจ่ายตลอดปี (๒) รายจ่ายหมวดอื่นๆ ให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่ขอโอน และให้แจ้งว่าหมวดใดหรือรายการใดมีเงินเหลือเท่าใดและจะโอนไปจ่ายในหมวดใดหรือรายการใดเท่าใด (๓) มีคำรับรองของหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ ว่า การโอนรายจ่ายนั้นได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้วหรือไม่ และไม่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานตามแผนงาน งานหรือโครงการที่กำหนดไว้ รวมทั้งจะไม่ทำให้เกิดมีหนี้สินค้างชำระ (๔) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายจ่ายที่กำหนดไว้ในแต่ละรายการงานหรือโครงการ ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมให้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นประกอบ ข้อ ๒๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณรายจ่าย ในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำหมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น ในหน่วยงานเดียวกันหรือระหว่างหน่วยงาน ข้อ ๒๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจโอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณรายจ่าย ดังนี้ (๑) โอนหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายในหมวดอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๓ (๒) โอนงบกลางระหว่างรายการ หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดรายการในงบกลาง (๓) โอนงบประมาณรายจ่ายระหว่างหน่วยงานกับงบกลาง ข้อ ๒๕ การโอน การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดหรือการยกเลิกไม่ดำเนินการงบประมาณรายจ่ายงบกลางที่ได้รับการจัดสรร ให้เป็นอำนาจของผู้อนุมัติเงินงบกลาง ข้อ ๒๖ การโอนงบประมาณรายจ่ายมาตั้งเป็นงานหรือโครงการที่มิได้ระบุไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีการโอนงบประมาณรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง และมีผลทำให้ต้องผูกพันงบประมาณปีต่อๆ ไป จะต้องขอรับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร ลักษณะที่ ๓ การรายงานผลงาน ข้อ ๒๗ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินงานตามงบประมาณต่อปลัดกรุงเทพมหานคร ภายในระยะเวลาที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ในกรณีที่เห็นสมควร ปลัดกรุงเทพมหานครจะกำหนดระยะเวลาให้หน่วยงานรายงานเพิ่มขึ้นก่อนสิ้นปีงบประมาณก็ได้ ลักษณะที่ ๔ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ข้อ ๒๘ ถ้าปีใดจำนวนเงินซึ่งกำหนดไว้ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่พอสำหรับการใช้จ่ายประจำปี หรือมีความจำเป็นที่จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายขึ้นใหม่ในระหว่างปีให้ทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ข้อ ๒๙ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ต้องแสดงที่มาของรายรับว่าเป็นรายได้ประเภทที่มิได้ตั้งรับไว้ในประมาณการรายรับ หรือรายรับประเภทรายได้ที่จัดเก็บได้เกินประมาณการเดิม หรือเงินสะสม หรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๓๐ ให้นำความในลักษณะที่ ๑ ลักษณะที่ ๒ และลักษณะที่ ๓ มาใช้บังคับแก่งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมโดยอนุโลม ลักษณะที่ ๕ บทเบ็ดเตล็ด ข้อ ๓๑ การใช้แบบต่างๆ ในการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๓๒ ให้กองงบประมาณ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับการตั้ง การบริหารและการรายงานงบประมาณรายจ่ายตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ ๓๓ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาวินิจฉัย ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖[๕] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐[๖] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๒๓๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๙/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ [๒] ข้อ ๑๙ ทวิ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๓] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ [๔] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๗/๑ธันวาคม ๒๕๓๖ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๑๙/๘ กันยายน ๒๕๔๐
533248
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสบทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2534 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสบทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่ออนุวัตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๕ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานและพนักงานหรือลูกจ้างการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “กองทุนประกันสังคม” หมายความว่า กองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองและรวมถึงสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย “หน่วยการคลัง” หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน และให้หมายความรวมถึงงานการคลังของสำนัก สำนักงานเขต และการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวดที่ ๑ การเบิกจ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง ข้อ ๕ ให้หน่วยงานเบิกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ (๑) กรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ ยกเว้นเงินอุดหนุนของรัฐบาลให้เบิกจากเงินงบประมาณตามหมวดรายจ่ายที่กองงบประมาณกำหนด (๒) กรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินนอกงบประมาณให้เบิกจากเงินนอกงบประมาณตามประเภทที่ใช้ในการจ้าง ข้อ ๖[๒] ให้หน่วยงานวางฎีกาขอเบิกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายกฎกระทรวง ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมของค่าจ้างก่อนหักภาษี พร้อมกับการวางฎีกาขอเบิกค่าจ้างต่อสำนักการคลังหรือหน่วยการคลัง แล้วแต่กรณี ข้อ ๗[๓] เมื่อหน่วยงานผู้เบิกได้รับอนุมัติฎีกาเบิกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแล้ว ให้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีกองทุนประกันสังคมแล้ว ตามวิธีการที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด หมวดที่ ๒ การหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างสมทบเข้ากองทุน ข้อ ๘[๔] ให้หน่วยงานหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีอัตราเงินสมทบท้ายกฎกระทรวง ซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมของค่าจ้างก่อนหักภาษี ส่งเข้ากองทุนประกันสังคมพร้อมกับส่วนที่จะต้องนำส่งในฐานะนายจ้างตามข้อ ๗ ข้อ ๙[๕] ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔[๖] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒[๗] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๙๘/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๑มิถุนายน ๒๕๓๔ [๒] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๔] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๕] ข้อ ๙ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๑๑๖/หน้า ๔๕๘/๒ กรกฎาคม ๒๕๓๔ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๑๐ ง/หน้า ๓๒/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
533242
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2532 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครไว้ดังต่อไปนี้ “ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๒ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้มีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้มีสิทธิได้รับบำนาญปกติ หรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น ตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไปแต่ไม่เกินสี่พันสองร้อยบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละสองร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับบำนาญแล้ว ให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันสองร้อยบาท ข้อ ๕ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะต่ำกว่าเดือนละสี่พันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะ หรือผู้อยู่ในอุปการะ ตั้งแต่เดือนละสี่พันบาทขึ้นไป แต่ไม่เกินสี่พันหนึ่งร้อยบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละหนึ่งร้อยบาท แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. กับบำนาญแล้วให้ได้รับไม่เกินเดือนละสี่พันหนึ่งร้อยบาท ข้อ ๖ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๓ และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการพลเรือน ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามสิบเก้าของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่ทั้งนี้เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับบำนาญและเงินเพิ่มจากเงินบำนาญในอัตราร้อยละยี่สิบห้าตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖ ข้อ ๓๑ แล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการพลเรือน ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๓ เป็นต้นมา และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๕ เดือนละต่ำกว่าอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการพลเรือน ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบหกของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ แต่เมื่อรวม ช.ค.บ. ตามวรรคนี้กับบำนาญและเงินเพิ่มจากเงินบำนาญในอัตราร้อยละยี่สิบห้า ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๑๖ ข้อ ๓๑ แล้ว ให้ได้รับไม่เกินอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของบัญชีอัตราเงินเดือนหมายเลข ๓ ของข้าราชการพลเรือน การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๗[๒] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. ตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ถ้าเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๘ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญและ ช.ค.บ. ตามข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ แล้วแต่กรณีอยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละหกของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๘ ทวิ[๓] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญและ ช.ค.บ. ตามข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ หรือข้อ ๘ แล้วแต่กรณีอยู่แล้ว ให้ได้ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละร้อยละสิบ ของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๘ ตรี[๔] ผู้ได้รับบำนาญปกติที่มีเวลาราชการรวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และได้รับ ช.ค.บ. ตามข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๘ หรือข้อ ๘ ทวิ แล้วแต่กรณีอยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เจ็ดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงแปดสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงสามพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนสามพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๒) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่แปดสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงเก้าสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงห้าพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนห้าพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ (๓) ถ้าผู้ที่ได้รับบำนาญปกติมีอายุตั้งแต่เก้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่ถึงเก้าสิบปีบริบูรณ์ และได้รับบำนาญปกติรวมกับ ช.ค.บ. เดือนละไม่ถึงหกพันบาท ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีก ในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของเงินจำนวนหกพันบาทหักด้วยบำนาญปกติและ ช.ค.บ. ที่ได้รับอยู่ ข้อ ๘ จัตวา[๕] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญก่อนวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่สิบของจำนวนบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ ตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ ถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๓) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบสองของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๘ ฉ[๖] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้วและยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับ หรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๘ สัตต[๗] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพบำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาท หักด้วยจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ ข้อ ๘ อัฏฐ[๘] ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพบำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ และ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๙ การจ่าย ช.ค.บ.ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือนเงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกันมาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีผู้ได้รับบำนาญถึงแก่ความตายให้จ่าย ช.ค.บ. เพียงวันที่ถึงแก่ความตาย ข้อ ๑๐ ให้เบิกจ่าย ช.ค.บ. จากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๑ การเบิกจ่าย ช.ค.บ. ไม่ต้องแสดงรายการหักภาษีเงินได้ แต่ให้นำไปคำนวณหักจากเงินบำนาญในฎีกาเบิกเงินบำนาญ ข้อ ๑๒ ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้วินิจฉัยและกำหนดวิธีปฏิบัติตามความจำเป็น ข้อ ๑๓ การปฏิบัตินอกเหนือจากระเบียบนี้ ให้ขออนุมัติผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรณี ๆไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓[๙] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔[๑๐] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕[๑๑] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑๒] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๓] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๔] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๖๒/หน้า ๑๔๔/๒๐ เมษายน ๒๕๓๒ [๒] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕ [๓] ข้อ ๘ ทวิ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๔] ข้อ ๘ ตรี เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ [๕] ข้อ ๘ จัตวา เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕ [๖] ข้อ ๘ ฉ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๗] ข้อ ๘ สัตต เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๘] ข้อ ๘ อัฎฐ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๐๑/หน้า ๒๐๔/๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๓ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๕๒/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๒ มีนาคม ๒๕๓๔ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๑๗/๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๕ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง/หน้า ๘๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๖/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙
533286
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “โรงเรียน” หมายความว่า โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครด้วย “ผู้บริหารโรงเรียน” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียน “พระภิกษุช่วยสอน” หมายความว่า พระภิกษุที่ได้รับการอาราธนาให้เข้าช่วยสอนในโรงเรียน และได้รับนิตยภัตจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร “นิตยภัต” หมายความว่า ค่าตอบแทนที่พระภิกษุช่วยสอนได้รับจากกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการพระภิกษุช่วยสอน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตที่โรงเรียนตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้าฝ่ายการคลัง ประธานฝ่ายพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์วิชาการเขตและผู้บริหารโรงเรียนที่มีพระภิกษุช่วยสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตนั้น ๆ เป็นกรรมการ ศึกษาธิการเขต เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยศึกษาธิการเขต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และให้มีผู้แทนฝ่ายสงฆ์ซึ่งคณะกรรมการพระภิกษุช่วยสอนเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาอีก ๒ รูป โดยให้มีการประชุมไม่น้อยกว่าปีละ ๑ ครั้ง คณะกรรมการพระภิกษุช่วยสอน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) คัดเลือกพระภิกษุช่วยสอนแนะนำเสนอผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (๒) เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ติดตามประเมินผลการสอนของพระภิกษุช่วยสอนและรายงานสำนักการศึกษา หรือสำนักพัฒนาชุมชน แล้วแต่กรณี ทุกสิ้นปีการศึกษา (๓) เสนอผู้อำนวยการสำนักการศึกษาพิจารณากรณีให้พระภิกษุช่วยสอนพ้นจากหน้าที่ ข้อ ๖ การอาราธนาพระภิกษุช่วยสอนตามระเบียบนี้ให้เป็นหน้าที่ของสำนักการศึกษา ข้อ ๗ พระภิกษุช่วยสอนต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๗.๑ มีสัญชาติไทย ๗.๒ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นผู้มีบุคลิกภาพอันน่ารังเกียจหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ๗.๓ เป็นพระภิกษุที่สังกัดอยู่ในวัดซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่หรือวัดใกล้เคียงกับโรงเรียนนั้น โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสให้ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุช่วยสอนได้ ๗.๔ เป็นพระภิกษุที่ผ่านการปฐมนิเทศจากสำนักการศึกษา ตามเนื้อหาวิชาที่สำนักการศึกษากำหนด ข้อ ๘ พระภิกษุช่วยสอนพ้นจากหน้าที่ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ ๘.๑ ลาออก ๘.๒ ขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ ๘.๓ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษามีความเห็นให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ ๙[๒] พระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนให้ได้รับนิตยภัตในอัตราชั่วโมงละ ๔๐๐ บาท วันละไม่เกิน ๒ ชั่วโมงต่อรูป ข้อ ๑๐ วิชาตามหลักสูตรที่กำหนดให้พระภิกษุช่วยสอนทำการสอนได้คือ จริยศึกษา ภาษาไทย และวิชาอื่น ๆ ที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕[๓] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙[๔] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕[๕] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๓๕/๘ สิงหาคม ๒๕๓๘ [๒] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๒/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๑/๑๐ มกราคม ๒๕๕๖
533278
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2536 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๖ อาศัยอำนาจตาความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินรายรับที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของกรุงเทพมหานครรวมถึงเงินรายรับที่มีกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำคำสั่งอื่นใดกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร “หน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยโรงพยาบาล ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง” [๒] หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขนุการสำนัก ฝ่ายการคลัง กองกลางสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการกรม สภากรุงเทพมหานคร และฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย “หัวหน้าหน่วยการคลัง[๓]” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนักหัวหน้าฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย ข้อ ๔ การอนุมัติเปิด-ปิด บัญชี และการปรับปรุงบัญชีเงินนอกงบประมาณในกรณีฝากกองการเงิน สำนักคลัง ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักการคลัง การอนุมัติเปิด-ปิด บัญชีและการปรับปรุงบัญชีเงินนอกงบประมาณในกรณีฝากกองการเงิน สำนักคลัง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ ๕ การนำเงินนอกงบประมาณฝากกองการเงิน สำนักการคลัง ให้นำฝากพร้อมด้วยสมุดใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ สมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงินโดยให้หัวหน้างานผู้ฝากเงินลงลายมือชื่อในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและบันทึกขออนุมัติฝากเงิน ให้ผู้อำนวยการกองการเงิน และเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองการเงินลงลายมือชื่อรับเงินในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และให้ผู้อำนวยการสำนักการคลังเป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ฝากในบันทึกขออนุมัติฝากเงินใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ ข้อ ๖ การนำเงินนอกงบประมาณฝากหน่วยการคลัง ให้นำฝากพร้อมด้วยสมุดใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ สมุดคู่ฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงินโดยให้ผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้ง ลงลายมือชื่อในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงิน ให้หัวหน้าหน่วยการคลัง และเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยการคลังลงลายมือชื่อรับเงินในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณและให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ลงลามอนุมัติให้ฝากในบันทึกขออนุมัติฝากเงินใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและต้นขั้วใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ ข้อ ๗ กรณีการนำฝากหรือถอนเงินนอกงบประมาณประเภทที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับดอกผลโดยเฉพาะ ให้หน่วยงานผู้ฝากเงินแจ้งกองการเงิน สำนักการคลังหรือหน่วยการคลังแล้วแต่กรณี เพื่อนำฝากเข้าหรือถอนออกจากบัญชี<เงินฝากธนาคารที่แยกควบคุมต่างหาก ข้อ ๘ สมุดใบนำฝากนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙ การถอนเงินฝากนอกงบประมาณ ให้นำระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจจ่ายเงินมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ บัญชีเงินฝากนอกงบประมาณที่ไม่มียอดคงเหลือและไม่มีรายการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป หรือมียอดเงินคงเหลือในบัญชีแต่ไม่มีรายการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป ให้หน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณขอปิดบัญชีหรือถอนเงิน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครต่อผู้มีอำนาจตามข้อ ๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานที่มีเงินนอกงบประมาณฝากกองการเงิน สำนักการคลังจัดทำรายงานยอดเงินคงเหลือตามประเภทเงินฝาก ส่งสำนักการคลังจำนวน ๒ ชุด ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔] วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๘๙/หน้า ๑/๘ กรกฎา ๒๕๓๖ [๒] บทนิยามคำว่า “หน่วยการคลัง” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] บทนิยามคำว่า “หัวหน้าหน่วยการคลัง” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๒๖/๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๒
533251
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตราในข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุขไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงของสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๒๐ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “สถานบริการสาธารณสุข” หมายความว่า หน่วยงานในสังกัด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่เป็นสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ “เงินบำรุง” [๒] หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริการทางการแพทย์ของสถานบริการสาธารณสุข (๒) เงินบำรุงที่สถานบริการสาธารณสุขส่งสมทบไว้ที่สำนักอนามัย (๓) เงินที่มีผู้บริจาค หรืออุทิศให้โดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ (๔) ดอกผลของเงินบำรุง (๕) เงินรายรับที่ได้รับสำหรับกิจการด้านการบริการทางการแพทย์ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินบำรุงที่มีอยู่ในวันใช้ระเบียบนี้ด้วย ข้อ ๕[๓] เงินบำรุงให้นำไปใช้จ่ายได้ ดังนี้ (๑) จ่ายสำหรับกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสถานบริการสาธารณสุขหรือสำนักอนามัย และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงินงบประมาณได้ แต่เงินงบประมาณไม่มี หรือมีไม่เพียงพอ หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณได้ทัน หรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น (๒) จ่ายในกิจการด้านบริการทางการแพทย์ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ การรับและการจ่ายเงินตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้สถานบริการสาธารณสุข หรือส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ที่มีการรับและจ่ายเงินตามระเบียบนี้ จัดทำรายงานการรับเงิน การจ่ายเงิน ประจำเดือน ประจำปี แยกจากเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุขประเภทอื่น ข้อ ๖ การรับเงินบำรุงจะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน และต้องมีต้นขั้วหรือคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินนั้นเก็บรักษาไว้ด้วย เว้นแต่การรับเงินที่มีผู้บริจาคไว้ในตู้รับเงินบำรุงให้คณะกรรมการรักษาเงินทำหลักฐานการตรวจนับเงินไว้แทน ข้อ ๗[๔] อำนาจในการอนุมัติก่อหนี้ผูกพันและการอนุมัติจ่ายเงินบำรุง (๑) หัวหน้าสถานบริการสาธารณสุขที่มีฐานะต่ำกว่ากอง ยกเว้นศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข หรือหัวหน้าสถานบริการสาธารณสุข ที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน การก่อหนี้ การจ่ายเงิน และการพัสดุ ให้นำ กฎ ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘[๕] รายจ่ายดังต่อไปนี้ ห้ามสถานบริการสาธารณสุขจ่ายจากเงินบำรุง (๑) เงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการโดยตรงหรือเป็นการยืมเพื่อกิจการที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักอนามัยและให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อใช้ในราชการ ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่นๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ (๔) รายจ่ายตามที่ระเบียบกรุงเทพมหานครกำหนดห้ามไว้ ข้อ ๙ การเก็บรักษาเงินให้นำข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยกำหนดวงเงินในการเก็บรักษาดังนี้ (๑) สถานบริการสาธารณสุขที่มีฐานะต่ำกว่ากอง ยกเว้น ศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา ให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท (๒) หน่วยงานที่มีฐานะเป็นกองหรือศูนย์บริการสาธารณสุข ให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (๓) สำหรับงานเลขานุการ สำนักอนามัย ให้เก็บรักษาไว้ได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท นอกนั้นให้นำฝากสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร หรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้ส่วนราชการนำเงินไปฝากได้ ข้อ ๑๐ ให้สถานบริการสาธารณสุขเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัย ที่มีการรับจ่ายเงินตามระเบียบนี้ ทำบัญชีรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุง และเก็บรวบรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ เมื่อสิ้นเดือนหนึ่ง ๆ ให้รายงานการรับ การจ่าย และยอดเงินคงเหลือให้ผู้อำนวยการสำนักอนามัยทราบ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๑[๖] ทุกวันสิ้นเดือนให้สถานบริการสาธารณสุขนำเงินบำรุงสมทบไว้ที่สำนักอนามัยร้อยละห้าสิบของรายรับประจำเดือนนั้นๆ และให้สำนักอนามัยปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ยกเว้น เงินยืมตามข้อ ๘ (๑) ห้ามจ่ายเงินยืมครั้งหนึ่งเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุมัติ ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕[๗] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐[๘] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑[๙] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔[๑๐] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕[๑๑] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๕/๑๙ มกราคม ๒๕๓๐ [๒] ข้อ ๔ บทนิยามคำว่า “เงินบำรุง” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๔] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๕] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๖] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙/ตอนที่ ๕๖/หน้า ๒/๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๓ ง/หน้า ๖๐/๒๔ เมษายน ๒๕๔๐ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๘๙ ง/หน้า ๓๙/๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๓๖ ง/หน้า ๑๓/๑๘ เมษายน ๒๕๔๔ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๙๘/๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
533257
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ ด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนประกอบด้วย (๑) ที่ปรึกษา (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน (๓) กรรมการชุมชน หมวด ๒ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ข้อ ๖ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ได้แก่ (๑) การให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนโดยที่ปรึกษา (๒) การสำรวจข้อมูลชุมชนโดยอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (๓) การเข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาชุมชนที่สำนักงานเขต หรือสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดการประชุมโดยกรรมการชุมชน หมวด ๓ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ข้อ ๗ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา จะต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน หรือเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยโดยคณะกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชนรับรองไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และมีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนนั้นๆ (๓) กรรมการชุมชนจะต้องเป็นกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน ข้อ ๘ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้มีที่ปรึกษาได้ไม่เกินกิจกรรมหรือโครงการละ ๔ คน (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ในชุมชนหนึ่งให้มีอาสาสมัครพัฒนาชุมชนกิจกรรมหรือโครงการละไม่เกิน ๑๒ คน โดยคำนวณจากประชากร ๕๐ ครอบครัวต่ออาสาสมัครพัฒนาชุมชน ๑ คน เศษของ ๕๐ ถ้าเกิน ๒๕ ให้เพิ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชนได้อีก ๑ คน (๓) กรรมการชุมชน จะต้องเป็นประธานกรรมการและเลขานุการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน หรือกรรมการชุมชนทีได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการหรือเลขานุการที่เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาชุมชน หมวด ๔ หลักเกณฑ์และวิธีการในการจ่ายค่าตอบแทน ข้อ ๙ การจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกตามระเบียบนี้ ให้กระทำได้เฉพาะแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการตามวันและเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง อัตราค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ หมวด ๕ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน และการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๑ การเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของเรื่องกำหนด และอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๓ ชั่งโมง (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าวันละ๘ ชั่วโมง (๓) กรรมการชุมชน ให้เข้าร่วมประชุมตามกำหนดที่สำนักงานเขตหรือสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดการประชุม ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทรายจ่าย รายการ อัตรา (บาท) หมายเหตุ ค่าตอบแทน ๑. ที่ปรึกษาเบิกจ่ายได้คนละ ชั่วโมงละ ๓๐๐ ๒[๒]. อาสาสมัครพัฒนาชุมชนเบิกจ่ายได้คนละ วันละ ตามอัตราแรงงานขั้นต่ำที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกำหนด ๓. กรรมการชุมชนเบิกจ่ายได้ คนละ ครั้งละ ๒๐๐ สำนักงานพัฒนาชุมชนและสำนักงานเขตแล้วแต่กรณี เบิกจ่ายได้เดือนละไม่เกิน ๑ ครั้ง ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๓] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๔๕/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๘ [๒] บัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน รายการที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๘ ง/หน้า ๓๒/๒๕ มกราคม ๒๕๓๙
533288
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้การบริหาร การจัดระบบ การขอ การอนุญาตและการบริการข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร พนักงานและลูกจ้างพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครรวมทั้งผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่กรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ถ้าไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตราที่ระบุถึงหมายถึง มาตราตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “ข้อมูลข่าวสาร” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูลใดๆ ทั้งที่เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการและข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของกรุงเทพมหานคร “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของกรุงเทพมหานคร “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่อยู่ในความในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของกรุงเทพมหานคร “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงส่วนราชการระดับกองในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานครและการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่กรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อ ๗ ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ อาจแยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๗.๑ ข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งต้องดำเนินการดังนี้ ๗.๑.๑ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗ ๗.๑.๒ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องจัดเตรียมไว้ในสถานที่ติดต่อให้ประชาชนเช้าตรวจดูตามมาตรา ๙ โดยหน่วยงานต้องตรวจสอบว่าไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยและต้องจัดในรูปที่ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ๗.๑.๓ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ประชาชนอาจขอได้ตามมาตรา ๑๑ โดยเป็นข้อมูลที่หน่วยงานไม่ต้องจัดไว้ในสถานที่ติดต่อแต่เมื่อประชาชนร้องขอ หน่วยงานต้องตรวจสอบคำขอว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่อาจจัดให้ได้หรือไม่ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ดังกล่าวหากมีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีการเปิดเผยหรือเผยแพร่ด้วยวิธีการอย่างอื่นให้หน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะเรื่องนั้นด้วย ๗.๒ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ข้อ ๘[๒] ให้มีคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า “กข.กทม.” ประกอบด้วย รองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ที่ปรึกษากฎหมายกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หัวหน้าสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการโดยมีผู้อำนวยการกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป และหัวหน้าฝ่ายบริหารเอกสาร กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๙ กข. กทม. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๙.๑ กำกับ เร่งรัดและติดตามดูแล ให้หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ๙.๒ เสนอนโยบายหรือมาตรการและหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการบริหาร การจัดระบบการขอ การอนุญาตและการบริการข้อมูลข่าวสาร ๙.๓ ให้คำแนะนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษารวมทั้งการจัดพิมพ์และเผยแพร่ ๙.๔ ให้คำแนะนำหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาประเภทข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยหรือข้อมูลข่าวสารที่เป็นความรับผิดลับของราชการ ๙.๕ ให้คำแนะนำหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทข้อมูลข่าวสารที่ควรจัดเก็บไว้ที่กรุงเทพมหานคร หรือส่งไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ๙.๖ ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับส่วนราชการและเอกชน ๙.๗ ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับส่วนราชการและเอกชน ๙.๘ ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็น ในกรณีที่มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินการตามระเบียบนี้ ๙.๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดๆ ตามที่ กข. กทม. เห็นสมควร ๙.๑๐ เชิญบุคคลใดๆ มาสอบถามหรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ๙.๑๑ ดำเนินการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๐ การประชุม กข. กทม. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ในการประชุม กข. กทม. ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๑ ให้นำความในข้อ ๑๐ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน ที่ กข. กทม. ตั้งขึ้นโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานต้องจัดทำและดำเนินการเพื่อลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗ ๑๒.๑ โครงสร้างและการจัดองค์กรของหน่วยงานในการดำเนินงาน ๑๒.๒ สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงานของหน่วยงาน ๑๒.๓ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงาน ๑๒.๔ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน ประกาศ นโยบายหรือการตีความ ของกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานนั้น ทั้งนี้ ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่กรุงเทพมหานคร หน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายจัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปแก่เอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับถือปฏิบัติ เป็นต้น หากยังไม่ได้มีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาหน่วยงานจะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารนั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร ๑๒.๕ ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้หน่วยงานจัดส่งข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้ให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ตามจำนวนพอสมควรแล้ว และมีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้น หน่วยงานไม่ต้องดำเนินการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาอีก ให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาว่าข้อมูลข่าวสารใดตามข้อนี้ที่สมควรขายหรือจำหน่ายจ่ายแจกแก่ส่วนราชการหรือแก่ประชาชน แล้วเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ ข้อ ๑๓[๓] ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูตามมาตรา ๙ ให้หน่วยงานดำเนินการเพื่อบริการประชาชนที่มาติดต่อขอตรวจดู ศึกษา ค้นคว้า และขอข้อมูลข่าวสาร ดังต่อไปนี้ ๑๓.๑ จัดให้มีสถานที่สำหรับบริการประชาชน ดังนี้ ๑๓.๑.๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ๑๓.๑.๒ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ๑๓.๑.๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ๑๓.๑.๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ กองกลาง ๑๓.๑.๕ สำนัก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ๑๓.๑.๖ สำนักงานเขต ได้แก่ ฝ่ายปกครอง ๑๓.๑.๗ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ กองกลางในสังกัดสำนักงานการพาณิชย์นั้น ๑๓.๑.๘ สถานที่ติดต่ออื่นตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ๑๓.๒ ในสถานที่ติดต่อตาม ๑๓.๑ ให้หน่วยงานจัดบริการประชาชน ดังนี้ ๑๓.๒.๑ จัดทำสำเนาข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานไว้ในสถานที่ติดต่อดังกล่าว โดยให้หน่วยงานตรวจสอบว่าข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้ มีส่วนใดที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ หรือไม่ หากมีให้ลบหรือตัดทอนหรือทำด้วยประการใดในข้อมูลข่าวสารให้เรียบร้อย แต่หากหน่วยงานเห็นว่าแม้เป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ แต่สมควรเปิดเผยให้หน่วยงานทำเรื่องหารือ กข.กทม. ก่อน เว้นแต่ กข.กทม. หรือคณะอนุกรรมการที่ กข.กทม. แต่งตั้ง ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าให้เปิดเผยได้ก็ให้หน่วยงานจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดู นอกจากนั้นหากหน่วยงานเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้แจ้งให้ผู้นั้นเสนอความเห็นคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหากผู้ได้รับหนังสือไม่คัดค้านให้หน่วยงานจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นให้ประชาชนตรวจดูได้ กรณีที่หน่วยงานตามข้อ ๑๓.๑ เห็นว่า สมควรจัดข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ไว้ในแต่ละส่วนราชการ นอกจากสถานที่ติดต่อตาม ๑๓.๑ ให้หน่วยงานจัดทำประกาศติดไว้ ณ สถานที่ที่เห็นได้ง่ายในบริเวณหน่วยงานให้ประชาชนได้ทราบ รวมทั้งติดป้าย ณ สถานที่ที่จัดไว้สำหรับเก็บข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ด้วย ๑๓.๒.๒ จัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถตรวจดูดัชนีข้อมูลข่าวสารทุกประเภทของของหน่วยงาน ว่าข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานดังกล่าวอยู่ที่ฝ่ายหรือกองหรือส่วนราชการใดในหน่วยงาน ๑๓.๒.๓ มีคำสั่งมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ประจำเพื่อบริการประชาชนที่มาติดต่อ โดยช่วยเหลือในการตรวจดูดัชนีข้อมูลข่าวสาร และอำนวยความสะดวก รวมทั้งการให้บริการประชาชนตามที่ กข.กทม. กำหนด และคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการหรือลูกจ้าง ที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไป ทำหน้าที่รับรองสำเนาข้อมูลข่าวสาร การบริการประชาชน ณ สถานที่ดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่บริการประชาชนที่มาติดต่อตรวจดู ศึกษา ค้นคว้าและขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๗ และมาตรา ๑๑ ที่อยู่ในความครอบครองดูแลของหน่วยงานด้วย เมื่อประชาชนเขียนคำร้องตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบนี้แล้ว ให้เจ้าหน้าที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูสำเนาข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ๑๓.๓ ให้หน่วยงานจัดทำบัญชีข้อมูลข่าวสารตามแบบท้ายระเบียบนี้ส่งกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ๑๓.๔ ให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร รวบรวมบัญชีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ของทุกหน่วยงาน และจัดส่งให้สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดทำดัชนีบัญชีข้อมูลข่าวสาร โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถตรวจดูได้ว่าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวว่ามีเรื่องใดและอาจค้นหาได้ที่หน่วยงานใด และจัดให้มีเครือข่ายเชื่อมโยงสามารถเปิดดูได้ทุกหน่วยงาน บุคคลใดไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องได้ โดยต้องยื่นคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประกาศของคณะกรรมการ สำหรับคนต่างด้าวจะมีสิทธิได้แค่ไหนเพียงใด ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อ ๑๔[๔] นอกจากข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๗ ที่กำหนดในข้อ ๑๒ และข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ที่กำหนดในข้อ ๑๓ หน่วยงานอื่นของรัฐและประชาชนอาจขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดตามมาตรา ๑๑ ได้ ให้หน่วยงานจัดสถานที่ตามข้อ ๑๓.๑ เป็นสถานที่สำหรับให้ประชาชนมาติดต่อเพื่อตรวจดู ศึกษา ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๑ โดยให้ผู้ขอกรอกรายการในคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๖ ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานมีคำสั่งมอบหมาย เป็นผู้พิจารณาว่าสมควรจัดข้อมูลข่าวสารดังกล่าวให้ผู้ขอหรือไม่ โดยให้พิจารณาสั่งไม่เปิดเผยและแจ้งผู้ขอโดยเร็วพร้อมระบุเหตุผลรายละเอียดที่จำเป็น หากเป็นกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ (๒) ผู้ขอได้ขอจำนวนมากหรือโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (๓) ข้อมูลข่าวสารนั้นไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ เนื่องจากต้องมีการดำเนินการวิเคราะห์หรืออื่นใดตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม เว้นแต่หน่วยงานเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้าและเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้น หรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ก็อาจจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ผู้ขอหรือเป็นกรณีที่หน่วยงานเห็นว่าเป็นการสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือของกรุงเทพมหานครหรือการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายก็อาจจัดหาข้อมูลให้ได้เช่นกัน แต่หากหน่วยงานเห็นว่าแม้เป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ แต่สมควรเปิดเผยให้หน่วยงานทำเรื่องหารือ กข.กทม. ก่อน เว้นแต่ กข.กทม. หรือคณะอนุกรรมการที่ กข.กทม. แต่งตั้ง ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าให้เปิดเผยได้ ก็ให้หน่วยงานเปิดเผยแก่ผู้ร้องนอกจากนั้นหากหน่วยงานเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้แจ้งให้ผู้นั้นเสนอความเห็นคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากผู้ได้รับหนังสือไม่คัดค้าน ให้หน่วยงานจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นให้ประชาชนตรวจดูได้ ถ้าข้อมูลข่าวสารนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ให้หน่วยงานตรวจสอบว่าอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นใด กรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งผู้ขอไปติดต่อที่หน่วยงาน แต่กรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นให้หน่วยงานแจ้งผู้ขอไปติดต่อที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นนั้น ถ้าหน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานแต่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นและได้ระบุห้ามการเปิดเผยไว้ตามระเบียบที่ออกตามมาตรา๑๖ ให้หน่วยงานส่งคำขอไปยังหน่วยงานของรัฐผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารนั้นเพื่อพิจารณามีคำสั่งต่อไป กรณีที่หน่วยงานเห็นว่าอาจจัดข้อมูลข่าวสารให้ผู้ขอได้ แต่ข้อมูลข่าวสารนั้นมีสภาพที่อาจบุบสลายได้ง่าย ให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) ขอขยายเวลาในการจัดหาโดยให้แจ้งผู้ขอทราบโดยเร็ว (๒) จัดทำสำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้น ข้อ ๑๕[๕] (ยกเลิก) ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความรับผิดชอบว่าข้อมูลข่าวสารประเภทใด ที่ไม่อาจเปิดเผยได้ตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ โดยหากเรื่องใดที่อาจทำเป็นบัญชีไว้ได้ ให้จัดทำบัญชีเป็นเรื่องลับเก็บไว้ที่หน่วยงานโดยให้จัดส่งสำเนาบัญชีให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (ยกเลิก) [๖] ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๒๓ ดังนี้ ๑๗.๑ ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานหรือของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น ๑๗.๒ พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจาเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น ๑๗.๓ จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอเกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้ ๑๗.๓.๑ ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ ๑๗.๓.๒ ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ๑๗.๓.๓ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ ๑๗.๓.๔ วิธีการตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล ๑๗.๓.๕ วิธีการให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ๑๗.๓.๖ แหล่งที่มาของข้อมูล ๑๗.๔ ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่เสมอ ๑๗.๕ จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล ให้หน่วยงานแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ และกรณีที่ขอข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจหรือเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับ หน่วยงานต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใด ซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ เว้นแต่เป็นไปลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ ข้อ ๑๘ หน่วยงานจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามมาตรา ๒๔ ดังต่อไปนี้ ๑๘.๑ ต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือของกรุงเทพมหานคร ๑๘.๒ เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น ๑๘.๓ ต่อหน่วยงานหรือหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้วยการวางแผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น ๑๘.๔ เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด ๑๘.๕ ต่อหอจดหมายแหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา ๑๘.๖ ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน หรือการฟ้องร้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม ๑๘.๗ เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล ๑๘.๘ ต่อศาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว ๑๘.๙ กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การเปิดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ๑๘.๓ ๑๘.๔ ๑๘.๕ ๑๘.๖ ๑๘.๗ ๑๘.๘ และ ๑๘.๙ ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อ ๑๙ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนและเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ ให้หน่วยงานที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น จัดให้บุคคลนั้น หรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น เว้นแต่เป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา ๑๔ หรือข้อมูลข่าวสารที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๕ บุคคลใดไม่ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ เว้นแต่เป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลนั้นที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้น เว้นแต่เป็นกรณีตามที่กำหนดในข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานพิจารณาตรวจสอบว่า ข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้มีส่วนใดที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ หรือไม่ หากมี ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำด้วยประการใดในข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ในสถานที่ติดต่อดังกล่าวเพื่อไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น บุคคลที่ต้องการตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ให้ยื่นคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประกาศของคณะกรรมการ[๗] การเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด ถ้ากรณีมีเหตุอันควรหน่วยงานจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ ข้อ ๒๐ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีการขอแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕ ให้หน่วยงานทำเรื่องเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ เว้นแต่กรณีนั้นมีกฎหมายเฉพาะเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการแก้ไขข้อมูลไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๑ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่กรุงเทพมหานครไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนดคือข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๔ เมื่อครบ ๗๕ ปี และข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๕ เมื่อครบ ๒๐ ปี นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มี่ข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า เว้นแต่ในกรณีดังตอไปนี้ (๑) หน่วยงานเห็นว่ายังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เอง เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (๒) หน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารของของราชการนั้น ยังไม่ควรเปิดเผยโดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้ ถ้าหน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้เรื่องใด ที่สมควรขยายเวลาในการจัดเก็บตาม (๑) และ (๒) ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการก่อนครบกำหนดที่จะต้องส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร บทบัญญัติในข้อนี้ ไม่ใช่บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา ข้อ ๒๒ กรณีหน่วยงานยังไม่ได้จัดทำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ซึ่งกำหนดไว้ในระเบียบข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ (๑) กรณีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ ให้หน่วยงานจัดทำและจัดส่งให้กองกลางสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เพื่อให้กองกลาง สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดส่งไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป (๒) กรณีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ให้หน่วยงานจัดทำพร้อมทั้งจัดสถานที่สำหรับให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ให้แล้วเสร็จภายใน ๔๕ วันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] (๑) คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร (ขส. ๑) (๒) คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร (ขส. ๒) (๓) บัญชีข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ (ขส. ๓) (๔) บัญชีเอกสารที่อาจเผยแพร่ได้ ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ (ขส. ๔) (๕) บัญชีเอกสารที่ไม่อาจเผยแพร่ได้ ตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ (ขส. ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓[๘] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔[๙] ข้อ ๘ กรณีที่ กข.กทม. เห็นว่าสมควรมีการจัดทำดัชนีข้อมูลข่าวสารประเภทใดหรือทุกประเภทให้ กข.กทม. แจ้งให้หน่วยงานจัดทำบัญชีข้อมูลข่าวสารประเภทดังกล่าว ตามแบบที่ กข.กทม. กำหนด จัดส่งให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อรวบรวมส่งสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำดัชนีบัญชีข้อมูลข่าวสาร โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถตรวจดูได้ว่าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวว่ามีเรื่องใดและอาจค้นหาได้ที่หน่วยงานใด ข้อ ๙ ให้ยกเลิกแบบคำร้อง และแบบบัญชีท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้แบบคำร้องและแบบบัญชีท้ายระเบียบนี้แทน วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๒๔/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ [๓] ข้อ ๑๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๔] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๕] ข้อ ๑๕ ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๖] ข้อ ๑๖ วรรคสอง ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๗] ข้อ ๑๙ วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๒๕/๓๑ มกราคม ๒๕๔๕ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๘ ง/หน้า ๒๗/๓๑ มกราคม ๒๕๔๕
533280
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกิจการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการบริหารกิจการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร หมวด ๒ การตั้งงบประมาณ และการนำส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย กรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ให้สำนักพัฒนาชุมขน ตั้งจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร เท่าที่จำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๗ ให้สำนักพัฒนาชุมชน ตั้งกาเบิกเงินสมทบกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานครที่ตั้งจ่ายไว้ในงบประมาณรายจ่ายตามข้อ ๖ และนำส่งสมทบกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ภายในปีงบประมาณทุกปี ข้อ ๘[๒] ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานครขึ้นในสำนักพัฒนาชุมชน เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานครเท่าที่ไม่ขัดกับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและให้สำนักพัฒนาชุมชนเปิดบัญชีเงินฝากกองทุนกับธนาคารของรัฐตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมวด ๓ การประกาศใช้ระเบียบ คำสั่ง และจัดตั้งสำนักงาน กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙ ให้ประธานคณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจลงนามประกาศใช้ระเบียบกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๐[๓] ให้จัดตั้งสำนักงานกองทุนขึ้นในสำนักพัฒนาชุมชน เพื่อดำเนินกิจการของกองทุน ข้อ ๑๑[๔] ให้สำนักพัฒนาชุมชนดำเนินการบริหารงานสำนักงานกองทุนตามคำแนะนำของคณะกรรมการ ข้อ ๑๒[๕] ให้สำนักพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายเงินกองทุนตามระเบียบของทางราชการตามแผนงานหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการเห็นชอบ และโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้การอนุมัติ หมวด ๔ การตรวจสอบการดำเนินกิจการกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย กรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการ รายงานผลการดำเนินการ รายงานการเงิน และงบดุล ให้คณะกรรมการติดตามผลที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ทราบทุก ๖ เดือน ข้อ ๑๔ เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ผู้อำนวยการรายงานผลกิจการที่ได้ดำเนินการในรอบปีงบประมาณ กับจัดทำรายงานการเงิน และรายวัน รายจ่ายเสนอคณะกรรมการแล้วส่งให้คณะกรรมการติดตามผล ประกาศ ณ วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๖] วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๑๒๔ ง/หน้า ๑๖/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๑ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๕] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๔๒/๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๒
533240
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. 2530 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๑๙ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๙ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๐ ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๐ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๑ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๑ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๒๑ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๒๑ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งรับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” [๒] หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” [๓] หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง” [๔] หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก ฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขตฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงฝ่ายหรือกลุ่มงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินด้วย “หัวหน้าหน่วยการคลัง” [๕] หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก หัวหน้าฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานครหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้ากลุ่มงาน ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มการคลัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินด้วย “เจ้าของงบประมาณ” หมายความว่า หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่าย ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับหน่วยงานนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในงบกลางและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ทำการเบิกและจ่ายเงินแทนเจ้าของงบประมาณด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานคร “เงินประจำงวด” หมายความว่า เงินประจำงวดที่เจ้าของงบประมาณได้รับอนุมัติให้เบิกกับหน่วยการคลัง “อนุมัติฎีกา” หมายความว่า อนุญาตให้จ่ายเงินจากหน่วยการคลัง “หลักฐานการจ่าย” หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับหรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันถูกต้องแล้ว และให้รวมตลอดถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลังด้วย “ใบสำคัญคู่จ่าย” หมายความว่า หลักฐานการจ่ายเงินที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองการจ่ายเงินหลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร ทั้งนี้ รวมถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลัง “เงินยืม” หมายความว่า เงินที่หน่วยงานจ่ายให้แก่บุคคลใดยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร หรือปฏิบัติราชการอื่นใดในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย เงินทดรองราชการ หรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “งบเงินรายรับรายจ่าย” หมายความว่า งบรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณ โดยแสดงรายรับจริงและรายจ่ายจริง ข้อ ๕ บรรดาแบบพิมพ์ แบบรายงานการเงิน เอกสาร สมุดบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงินและรายงานทางการเงิน ตลอดจนวิธีใช้ ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๖ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดการเสียหายขึ้นผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ข้อ ๗ ระเบียบนี้มิให้ใช้บังคับเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ได้รับจากรัฐบาล หมวด ๒ การเบิกเงิน ข้อ ๘ การเบิกเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ หรือหน่วยงานผู้ทำการเบิกแทนหรือหน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณ ขอเบิกจากหน่วยการคลัง โดยตั้งฎีกาเบิกเงินตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ข้อ ๙ ฎีกาเบิกเงินมีดังนี้ (๑) ฎีกาเบิกเงินรายจ่ายตามงบประมาณ (ยกเว้นเงินเดือนและค่าจ้าง) (๒) ฎีกาเบิกเงินเดือนและค่าจ้าง (๓) ฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ (๔) ฎีกาเบิกเงินนอกจาก (๑) (๒) และ (๓) ข้อ ๑๐[๖] การเบิกเงินกับหน่วยการคลังใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เว้นแต่เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดสาธารณูปโภค และกรณีการเบิกเงินที่ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณรายจ่าย สำหรับการเบิกเงินที่จะต้องโอนไปให้หน่วยการคลังใดเบิกจ่ายเอง ให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๑ หน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะมอบหมายให้หน่วยงานอื่น หรือหัวหน้าหน่วยงานในหน่วยงานเดียวกัน หรือหัวหน้างานในสำนักงานเขตเป็นผู้ทำการเบิกแทนก็ได้ โดยให้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้เบิกเพื่อขอทำความตกลงกับสำนักการคลังก่อนทำการเบิกเงิน ข้อ ๑๒ การขอเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายปีใด ให้วางฎีกาได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของปีนั้นหรือวันทำการสุดท้ายของระยะเวลาของงบประมาณรายจ่ายข้ามปี ในกรณีที่ได้มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้วางฎีกาได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของระยะเวลาการเบิกเงินที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ ๑๓ ฎีกาขอเบิกเงินจะต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยากจำนวนเงินที่ขอเบิกทั้งตัวเลขและตัวอักษรจะต้องพิมพ์หรือเขียนให้ชัดเจน ห้ามขูดลบ หากผิดพลาดก็ให้แก้ไขโดยวิธีขีดฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้นด้วย การพิมพ์หรือเขียนจำนวนเงินในฎีกาของเบิกเงินที่เป็นตัวอักษร ให้ พิมพ์ หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิด คำว่า “ตัวอักษร” หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงินอย่าให้มีช่องว่างที่จะพิมพ์หรือเขียนจำนวนเพิ่มเติมให้สูงขึ้นได้ ข้อ ๑๔ การตั้งฎีกาเบิกเงินให้ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่าย โดยต้องได้รับการทวงหนี้หรือใกล้ถึงกำหนดจ่ายเงิน จึงตั้งฎีกาเบิกเงินได้ ห้ามมิให้หน่วยงานใดเบิกเงินไปเพื่อเตรียมจ่ายล่วงหน้าและรักษาเงินไว้เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๕ การเบิกเงินโดยวิธีผัดส่งใบสำคัญ กระทำได้ภายในกำหนดเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันรับเงิน ถ้าการผัดส่งใบสำคัญเกินกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยการคลังจัดการเตือนและให้นำส่งอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันรับเงิน เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันแล้วหน่วยงานที่ขอผัดมิได้นำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้อีก ให้หน่วยการคลังงดการจ่ายเงินทุกประเภทให้แก่หน่วยงานนั้น จนกว่าหน่วยงานนั้นจะได้นำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ที่ผัดส่งไว้ก่อน จึงทำการเบิกจ่ายให้ต่อไป เว้นแต่การได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครเป็นการเฉพาะราย ทั้งนี้ ต้องมีกำหนดไม่เกินหกสิบวัน ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานที่เบิกเงินส่งเอกสารแก่หน่วยการคลัง เพื่อทำการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ (๑) ใบสำคัญประกอบเป็นงบตามรายการในฎีกาพร้อมทั้งการขอผัดส่ง (๒) ใบสำคัญที่ขอผัดส่งตามข้อ ๑๕ เมื่อได้รับใบสำคัญคูจ่ายมาแล้ว ให้นำส่งหน่วยการคลังพร้อมด้วยเงินเหลือจ่ายและต้องมีรายการแสดงว่าได้ผัดส่งไว้ตามฎีกาที่เท่าใด ลงวันที่เท่าใด และใบสำคัญที่เท่าใดไว้ด้วยให้ชัดเจน เมื่อสิ้นเดือนหนึ่ง ๆ ให้หน่วยการคลังจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงิน พร้อมทั้งรวบรวมใบสำคัญคู่จ่าย และเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ส่งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป เว้นแต่หน่วยงานใดที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ยกเว้น โดยกำหนดให้ส่งเพียงหน้างบเดือน สำหรับหลักฐานการจ่ายให้เก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานนั้น จนกว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะตรวจสอบจนแล้วเสร็จก็ได้ หน่วยงานใดที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้ส่งเพียงหน้างบเดือนเพื่อตรวจสอบ ให้หน่วยการคลังจัดส่งสำเนางบเดือนแสดงรายการจ่ายเงิน พร้อมทั้งรวบรวมใบสำคัญคู่จ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ส่งให้หน่วยงานตรวจสอบภายในสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไปเพื่อตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วให้ส่งคืนหน่วยงานต่อไป ข้อ ๑๗[๗] การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณ ให้นำความในข้อ ๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลมและอยู่ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) เป็นใบสำคัญค้างเบิกไม่เกินสามปี (๒) การก่อหนี้ผูกพันต้องไม่เกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติในปีนั้น (๓) การนับวัน เดือน ปีในใบสำคัญค้างเบิกนั้น ให้ถือวัน เดือน ปีที่ส่งมอบวัตถุแห่งหนี้เป็นสำคัญ (๔) ให้ทำการเบิกจ่ายได้เฉพาะหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และหมวดค่าสาธารณูปโภค ข้อ ๑๘ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใด ๆ โดยปกติให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีนั้น แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีเดียวกันได้ทัน ก็ให้เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดนั้น ๆ ของปีต่อต่อไปตามข้อ ๑๗ หรือให้เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นของปีถัดไปอีกปีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นเพื่อใช้จ่ายตามรายการที่ค้างเบิกให้ดำเนินการโอนเงินงบประมาณรายจ่ายในหมวดใดหมวดหนึ่งไปตั้งจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นตามรายการและจำนวนเงินที่ค้างเบิกนั้น แล้วให้ทำการเบิกจ่ายจากหมวดรายจ่ายอื่นได้ แต่การใช้จ่ายนั้นจะต้องไม่เป็นการใช้จ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ หรือหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุญาตในปีที่ล่วงมาแล้ว ข้อ ๑๙ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปี ตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ ให้แยกฎีกาเบิกเงินต่างหากจากการเบิกเงินตามปกติ โดยให้เขียนหรือประทับตราหัวฎีกาด้วยตัวแดงให้ชัดเจนว่า “ค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปี” ข้อ ๒๐ การเบิกเงินที่ได้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หรือขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเบิกเงินงบประมาณรายจ่าย และให้เขียนหรือประทับตราหัวฎีกา ด้วยตัวแดงให้ชัดเจนว่า “เบิกเหลื่อมปีครบกำหนดจ่าย.............” “ขยายเวลาเบิกเหลื่อมปีครบกำหนดจ่าย.............” พร้อมทั้งกรอกเลขที่ใบขอกันเงินด้วย ข้อ ๒๑ การเบิกเงินซึ่งมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายประจำ และมีการเรียกเก็บเงินเป็นคราว ๆ หรือค่าใช่จ่ายอื่น ๆ ตามประเภทที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ให้ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของงบประมาณได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ และให้นำมาเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ได้ การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เงินค่าเช่าบ้าน หรือเงินสวัสดิการอื่นใดในลักษณะเดียวกันให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๒ การซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระเงินให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณดำเนินการตั้งฎีกาเบิกเงินโดยเร็วอย่างช้าต้องไม่เกินเจ็ดวันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลอันสมควรให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกชี้แจงประกอบไว้เป็นหลักฐานประกอบฎีกาขอเบิกเงิน ข้อ ๒๓[๘] ในการเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ ให้แสดงรายการพัสดุและจำนวนเงินเป็นรายประเภทในฎีกาขอเบิกเงิน และให้ผู้เบิกรับรองด้านหลังฎีกาว่า การเบิกเงินตามฎีกาได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุถูกต้องแล้ว และมีหนี้สินผูกพันที่ถึงกำหนดหรือใกล้จะถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายเงิน โดยให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๒๔[๙] การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้ถือปฏิบัติดังนี้ (๑) เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เบิกในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และให้มีรายละเอียดแสดงรายชื่อข้าราชการ อัตราเงินเดือน และจำนวนเงินที่ขอเบิกแต่ละคนแนบไปพร้อมฎีกา (๒) การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการครั้งแรก หรือในกรณีที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าบ้านที่ได้รับอนุมัติแล้วให้มีคำขอรับเงินค่าเช่าบ้านแนบฎีกาด้วยหนึ่งฉบับ (๓) ให้ส่งใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านแนบฎีกาเบิกเงิน เพื่อประกอบการตรวจสอบ (๔) ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งอยู่ในข่ายที่จะเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้อยู่แล้วได้รับการแต่งตั้งไปสังกัดหน่วยงานอื่น แต่มีความจำเป็นต้องเช่าบ้านเดิมอยู่ต่อไปอีก และได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครแล้ว ให้เบิกและจ่ายเงินค่าเช่าบ้านได้โดยถือปฏิบัติตาม (๑) (๒) และ (๓) แต่ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ข้อ ๒๕[๑๐] การเบิกเงินในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และในลักษณะค่าตอบแทน ให้มีหลักฐานแสดงว่าเงินจำนวนที่ขอเบิกนี้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๒๖ การเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วย วิธีการงบประมาณ เป็นค่าใช้จ่ายหมวดใด ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดไว้สำหรับค่าใช้จ่ายนั้น ข้อ ๒๗ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินยืมสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร หากเป็นระยะเวลาติดต่อคาบเกี่ยวไปถึงปีงบประมาณใหม่จะเบิกเงินล่วงหน้าจากปีงบประมาณปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับระยะเวลาในปีงบประมาณใหม่ได้ แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตามต้องไม่เกินหกเดือนของปีงบประมาณใหม่ ในกรณีเช่นนี้ ถึงแม้จะเป็นการจ่ายเงินในปีงบประมาณใหม่ ให้ถือเป็นใบสำคัญคู่จ่ายของเงินที่เบิกจากปีงบประมาณเก่าได้ หมวด ๓ การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ ๒๘[๑๑] หน่วยงานใดก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณโดยการซื้อ การจ้างหรือการเช่าครั้งหนึ่ง รายหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ถ้าเห็นว่าจะเบิกเงินไปชำระหนี้ผูกพันนั้นไม่ทันสิ้นปี ให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้อีกหกเดือนปฏิทินนับจากวันสิ้นปี ในกรณีที่ไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีกให้หน่วยงานขออนุมัติเบิกเงินเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การเบิกจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินปีงบประมาณถัดไปเว้นแต่มีความจำเป็นต้องขอเบิกจ่ายภายหลังเวลาดังกล่าวให้เสนอขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๒๙ ในกรณีที่หน่วยการคลังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินชำระหนี้ได้ทันในวันสิ้นปีงบประมาณแต่ยังมีฎีกาเบิกจ่ายค้างอยู่ ให้หน่วยการคลังกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งเดือนของปีงบประมาณถัดไป ข้อ ๓๐ การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามข้อ ๒๘ เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครโดยให้หน่วยงานดำเนินการก่อนวันครบกำหนดอย่างน้อยสิบห้าวัน ข้อ ๓๑[๑๒] การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีตามข้อ ๒๘ ให้หน่วยงานผู้เบิกยื่นใบขอกันเงินตามแบบและวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดต่อผู้อำนวยการสำนักการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนสิ้นปีอย่างน้อยสามสิบวัน เว้นแต่จะมีเหตุผลสมควรผู้อำนวยการสำนักการคลังจะอนุญาตให้ขยายเวลายื่นขอกันเงินได้เป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินวันทำการสุดท้ายของปีนั้น ในการยื่นใบขอกันเงินให้แนบสัญญาซื้อสัญญาจ้าง สัญญาเช่าหรือเอกสารอื่นที่แสดงสภาพหนี้หรือหลักฐานการอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี หลักฐานดังกล่าวจะใช้ภาพถ่ายหรือสำเนาซึ่งผู้เบิกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อรับรองก็ได้ ในกรณีที่ยังมิได้ก่อหนี้ผูกพันและไม่มีหลักฐานการอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อหน่วยงานได้ยื่นใบขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว หากปรากฏว่าก่อหนี้ได้ทันสิ้นปีหรือได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้ว ให้หน่วยงานนำหลักฐานการก่อหนี้ผูกพันหรือหลักฐานการอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปประกอบใบขอกันเงินที่ได้ยื่นไว้แต่ถ้ารายการขอกันเงินดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันสิ้นปี และไม่ได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้หน่วยงานแจ้งสำนักการคลังขอตัดรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นปี หมวด ๔ การตรวจและอนุมัติฎีกา ข้อ ๓๒[๑๓] การตรวจและอนุมัติฎีกา ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเบิกเงินกับสำนักการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการกองตรวจจ่าย และการอนุมัติฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักการคลัง (๒) [๑๔] กรณีเบิกจ่ายเงินกับหน่วยการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยการคลัง และการอนุมัติฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยการคลังตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ในกรณีที่มีการจ่ายเงินไม่ถูกต้องและไม่สามารถเรียกเงินคืนจากผู้รับเงินได้เต็มจำนวน หรือหากมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุดแล้วไม่ได้เงินคืนเต็มจำนวนที่เบิกไป ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการในเรื่องนั้นร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจนครบ เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้ทักท้วงเป็นหนังสือก่อนแล้ว ให้พ้นความรับผิด การมอบหมายอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเกิดความเสียหายขึ้นเพราะการมอบหมายนั้นก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้มอบหมายพ้นความรับผิด ข้อ ๓๓[๑๕] การตรวจฎีกาเบิกเงินงบประมาณ ให้ตรวจสอบในสาระสำคัญดังต่อไปนี้แล้วจึงเสนอขออนุมัติฎีกา (๑) มีลายมือชื่อพร้อมวงเล็บชื่อของผู้เบิกเงินครบถ้วนถูกต้อง (๒) มีหนี้สินผูกพันหรือมีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินและถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายเงินและการก่อหนี้ได้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของผู้มีอำนาจ หรือมีคำรับรองของผู้เบิกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๓ แล้วแต่กรณี (๓) มีเงินประจำงวดเพียงพอ ยกเว้นหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดสาธารณูปโภค มีรายการถูกต้องตรงกับงบประมาณและมีคำสั่งของผู้มีอำนาจอนุมัติโดยชอบแล้ว (๔) มีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง การตรวจและขออนุมัติฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๓๔ การอนุมัติฎีกาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๓๓ แล้ว ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกามีเหตุผลสมควรจะอนุมัติฎีกาเป็นจำนวนเงินต่ำกว่าที่ขอเบิกก็ได้ ข้อ ๓๕[๑๖] ฎีกาเบิกเงินหรือเอกสารประกอบฎีกาใดไม่ถูกต้องในสาระสำคัญ ให้ผู้ตรวจฎีกาทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้เบิกได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในสามวันทำการนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการทักท้วงนั้น หากไม่สามารถแก้ไขให้ทันตามกำหนดดังกล่าวได้ และเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกาตามข้อ ๓๒ อาจพิจารณาให้ขยายระยะเวลาการแก้ไขฎีกาดังกล่าวตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณีที่ฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและมิใช่เป็นสาระสำคัญ หรือมิใช่เป็นจำนวนเงินที่ขอเบิก ผู้ตรวจฎีกาหรือผู้อนุมัติอาจแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งให้ผู้เบิกทราบหรือแจ้งให้ผู้เบิกเป็นผู้แก้ไขก็ได้ ข้อ ๓๖ การตรวจฎีกาและการอนุมัติฎีกาเป็นค่าซื้อพัสดุหรือค่าจ้างทำของ ให้ดำเนินการตรวจฎีกาให้เสร็จภายในแปดวันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับฎีกา และให้อนุมัติฎีกาภายในสองวันทำการนับแต่วันถัดจากวันตรวจฎีกาเสร็จ ในกรณีที่ฎีกามีเหตุทักท้วงให้ดำเนินการตรวจฎีกาให้เสร็จภายในสามวันทำการนับแต่วันถัดจากที่ได้รับคืนฎีกาที่แก้ไขถูกต้องแล้ว และให้อนุมัติฎีกาภายในสองวันทำการนับแต่วันถัดจากวันตรวจฎีกาที่แก้ไขเสร็จ ข้อ ๓๗ ในกรณีฎีกาเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ ถ้าผู้ตรวจฎีการายงานว่าการเบิกเงินนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง แต่ผู้อนุมัติฎีกาเห็นว่าเจ้าของงบประมาณมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ และมีเงินประจำงวดเหลือพอที่จะเบิกจ่ายได้และมีรายการถูกต้อง ให้รายงานข้อบกพร่องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการก่อนอนุมัติฎีกาแล้วแจ้งให้เจ้าของงบประมาณทราบเพื่อดำเนินการต่อไป หมวด ๕ การจ่ายเงิน ข้อ ๓๘[๑๗] การถอนเงินฝากตามข้อ ๗๗ ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครกับผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือผู้อำนวยการสำนักกับเลขานุการสำนักหรือผู้อำนวยการกองคลัง หรือผู้อำนวยการเขตกับหัวหน้าฝ่ายการคลังของสำนักงานเขต แล้วแต่กรณี ลงชื่อถอนร่วมกัน ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ใบสำคัญคู่จ่ายสูญหาย ให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) ถ้าใบสำคัญคู่จ่ายเป็นใบเสร็จรับเงินสูญหายให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองแทนได้ (๒) ถ้าใบสำคัญคู่จ่ายเป็นใบสำคัญรับเงินสูญหายหรือไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตาม (๑) ได้ ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยชี้แจงเหตุผลพฤติการณ์ที่ใบสำคัญคู่จ่ายสูญหายและไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นได้ พร้อมทั้งคำรับรองว่ายังไม่เคยนำใบสำคัญคู่จ่ายมาเบิกจ่ายและถ้าหากค้นพบภายหลังก็จะไม่นำมาเบิกจ่ายอีก เสนอต่อผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการเขต เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หัวหน้าสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาดังกล่าวแล้วก็ให้ใช้ใบรับรองนั้นเป็นใบสำคัญคู่จ่ายได้ กรณีการใช้หลักฐานอื่นประกอบการเบิกจ่าย นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้เสนอขออนุมัติปลัดกรุงเทพมหานครเป็นราย ๆ ไป ข้อ ๔๐ เงินที่ขอเบิกจากหน่วยการคลังเพื่อการใด เมื่อได้รับมาแล้วให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้น จะนำไปจ่ายเพื่อการอื่นมิได้ ข้อ ๔๑[๑๘] การก่อให้เกิดหนี้และการจ่ายเงินให้กระทำได้ภายในวงเงินงบประมาณประจำปีและภายในระยะเวลาของปีงบประมาณนั้น เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นและต้องได้รับเงินประจำงวดตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ การสั่งก่อหนี้และการอนุมัติจ่ายเงินทุกกรณีให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง และภายในวงเงินตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ ในเรื่องการสั่งซื้อ หรือสั่งจ้างนอกจากวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีการก่อให้เกิดหนี้และการจ่ายเงินในหมวดเงินอุดหนุน ที่หน่วยงานเจ้าของงบประมาณมิได้ดำเนินการเอง แต่มีลักษณะเป็นเงินอุดหนุนแก่ส่วนราชการ หรือองค์การหรือกรณีที่กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ ให้ขอรับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๔๒ เมื่อหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร แยกไปทำการรับจ่ายและรักษาเงินได้รับใบแจ้งหนี้ หรือทำรายการคำนวณเงินค่าแรงงานแล้ว ให้จัดแยกประเภทการจ่ายส่งหน่วยการคลังเพื่อตรวจสอบแล้วจึงนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงิน ตามข้อ ๔๑ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๔๓ เมื่อผู้มีอำนาจได้อนุมัติฎีกาแล้ว ให้หน่วยการคลังการเงินให้กับคณะกรรมการรับส่งเงินตามข้อ ๗๙ หรือเจ้าหนี้โดยตรง แล้วแต่กรณี ในเวลาที่มาขอรับเงินโดยเร็ว และเพื่อความเรียบร้อยในการปิดบัญชีประจำปี ให้หัวหน้าหน่วยการคลังจัดให้เจ้าหนี้มารับชำระเงินก่อนวันสิ้นปี และให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) [๑๙] การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก และขีดคร่อมทั่วไปโดยระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือว่า “A/C Payee Only” ด้วย เว้นแต่การจ่ายเงินนั้นได้เบิกเงินจากบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใด ซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้ หัวหน้าหน่วยการคลังอาจพิจารณาให้จ่ายเป็นเงินสดก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท จะจ่ายเป็นเงินสดหรือออกเป็นเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก (๓) ในกรณีสั่งจ่ายเพื่อขอรับเงินสดมาจ่ายให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับส่งเงินของหน่วยงานและขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก ห้ามมิให้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด (๔) การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวอักษรให้เขียนหรือพิมพ์ให้ชิดคำว่า “บาท” หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงิน อย่าให้มีช่องว่างที่จะเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินเพิ่มเติมได้ (๕) [๒๐] กรณีที่หน่วยการคลังจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค ให้หน่วยการคลังสามารถเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการใช้แคชเชียร์เช็คได้ ข้อ ๔๔ การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ และในกรณีที่เป็นใบสำคัญคู่จ่าย ให้หัวหน้าหน่วยการคลัง หรือผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองความถูกต้องพร้อมทั้งประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” และลงวัน เดือน ปี กำกับไว้ด้วย ข้อ ๔๕ หลักฐานการจ่ายต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยาก และให้หน่วยการคลังเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปี นับจากวันสิ้นปีนั้น ห้ามมิให้แก้ไขหลักฐานการจ่าย เว้นแต่กรณีจำเป็นให้ใช้วิธีขีดฆ่าและพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยาก กรณีหลักฐานการจ่ายเป็นใบสำคัญคู่จ่าย ให้ผู้รับเงินหรือผู้ออกใบสำคัญลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยทุกแห่ง หากหลักฐานการจ่ายเป็นสมุดหรือทะเบียน ให้ผู้รับเงินและผู้จ่ายเงินลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยทุกแห่ง ข้อ ๔๖ ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและสถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปีที่รับเงิน (๓) ชื่อผู้รับเงิน (๔) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (๕) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรซึ่งตรงกัน (๖) ลายมือชื่อผู้รับเงิน ถ้าผู้รับลงลายมือชื่อไม่ได้ให้ใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ ห้ามมิให้ใช้แกงได หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นแทนการลงลายมือชื่อ ใบเสร็จรับเงินเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยให้ได้ความตามรายการในวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ใบเสร็จรับเงินที่ไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้ ให้มีคำชี้แจงประกอบไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๔๗ ในการจ่ายเงินต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินทุกราย เช่น ต้องเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงิน เว้นแต่จะได้ลงชื่อรับเงินในทะเบียนจ่ายเงินเดือน หรือเงินอื่นไว้อีกทางหนึ่งแล้ว (๒) การจ่ายเงินดังต่อไปนี้ ผู้จ่ายอาจทำใบรับรองการจ่ายเงินได้ ก. การจ่ายเงินรายหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนไม่เกิน ๑๐๐ บาท ข. การจ่ายเงินเป็นค่ารถหรือเรือนั่งรับจ้าง ค. การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถไฟ รถยนต์ประจำทาง หรือเรือยนต์ประจำทาง ง. การจ่ายเงินค่าไปรษณียากร ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงินโดยแสดงจำนวนและเลขที่ของหนังสือหรือไปรษณียภัณฑ์ที่ส่ง และจำนวนเงินค่าไปรษณียากรที่จ่าย (๓) การจ่ายเงินรายใด ซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ชำระเงินได้และมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายโดยให้บันทึกชี้แจงเหตุที่ไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินได้ นำเสนอผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการเขต เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี เพื่ออนุมัติ หากจำนวนเงินเกิน ๑,๐๐๐ บาท ให้นำเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่ออนุมัติ (๔) การจ่ายเงินเป็นค่าแรงงานจ้างเหมา ไม่ว่าจะเบิกจ่ายจากงบประมาณหมวดใดหรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร ต้องมีรายงานรับรองของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบว่าผู้รับจ้างได้กระทำการไปแล้วเพียงใด ประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้ง สำหรับการจ่ายเงินเป็นค่าก่อสร้างปรับปรุงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเบิกจ่ายจากงบประมาณหมวดใด หรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร ต้องมีรายงานรับรองผลงานของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมงานว่าผู้รับจ้างได้กระทำการนั้น ๆ ไปแล้วเพียงใด ประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้ง (๕) ห้ามมิให้เรียกใบสำคัญคู่จ่ายเงินจากเจ้าหนี้ หรือผู้รับเงินก่อนการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับเงิน ข้อ ๔๘[๒๑] การเบิกจ่ายเงินในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ในลักษณะค่าใช้สอยให้ทำการเบิกจ่ายได้ตามงบประมาณที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่การเบิกจ่ายเป็นค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซมถนน สะพาน หรือพัสดุ แม้จะได้มีงบประมาณที่ได้รับอนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แต่มิได้จำแนกรายละเอียดไว้ หากวงเงินเกิน ๕,๐๐๐ บาท ต้องทำประมาณการรายละเอียด เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุอนุมัติเสียก่อน ข้อ ๔๙ ประมาณการรายละเอียดที่ต้องจัดทำประกอบในการก่อหนี้ตามความในข้อ ๔๘ ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือวิศวกรเป็นผู้ลงนาม โดยให้มีรายการอย่างน้อยดังนี้ (๑) ประเภทงานที่จัดทำ ต้องแสดงจำนวนประเภทวัสดุที่ใช้ในการดำเนินการรวมทั้งค่าแรงงาน (๒) จำนวนเงินงบประมาณที่อนุมัติ (๓) จำนวนเงินที่ประมาณว่าจะต้องจ่าย (๔) รายการอื่น ๆ ที่ควรชี้แจงประกอบการพิจารณา ข้อ ๕๐[๒๒] การเบิกจ่ายเงินในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หรือรายจ่ายอื่นใด ที่ถือจ่ายในลักษณะเดียวกันจะจ่ายได้เมื่อถึงกำหนดจ่าย ถ้ามีสัญญาระบุการปฏิบัติไว้ต้องมีใบรับรองแสดงว่าผู้ขอรับเงินได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้วด้วย ข้อ ๕๑ การจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินทุกรายการ ต้องมีการบันทึกรายการจ่ายเงินนั้นไว้ในบัญชีเงินสดหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือ ทะเบียนอื่นใด แล้วแต่กรณีในวันที่จ่ายเงินนั้น ข้อ ๕๒ การจ่ายเงินทุกกรณี ถ้าผู้จ่ายมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องหักภาษีใด ๆ ไว้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งส่วนราชการใด ให้ดำเนินการตามกฎหมายนั้น หมวด ๖ การจ่ายเงินยืม ข้อ ๕๓ การจ่ายเงินยืมใช้ในราชการจะกระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของทางราชการ และจะนำใบสำคัญคู่จ่ายที่ถูกต้อง รวมทั้งเงินเหลือจ่ายส่งใช้คืนตามที่กำหนดในข้อ ๖๑ ถ้าไม่ส่งตามกำหนดก็จะชดใช้เงินหรือยินยอมให้ทางราชการหักเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ หรือเงินอื่นใดอันจะพึงได้รับจากทางราชการชดใช้เงินยืมนั้น และผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้จ่ายเงินยืมตามสัญญาการยืมเงินนั้นแล้วเท่านั้น ข้อ ๕๔ การจ่ายเงินยืมในกรณีที่ผู้ยืมไม่มีเงินใด ๆ อันจะพึงได้รับจากกรุงเทพมหานครที่จะหักส่งใช้คืนเงินยืมได้ ให้ผู้ให้ยืมกำหนดให้ผู้ยืมหาหลักทรัพย์มาวางเป็นประกัน หรือหาบุคคลที่มีหลักฐานมาทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อผู้ให้ยืม และจะกระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕๕ สัญญาการยืมเงิน สัญญาวางหลักทรัพย์ และสัญญาค้ำประกัน ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๕๖[๒๓] ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินยืม (๑) เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานครครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินยืมแล้ว ให้หน่วยการคลังสำเนาหลักฐานการอนุมัติและสัญญาการยืมเงินส่งกองบัญชี สำนักการคลัง ภายในวันรุ่งขึ้น ข้อ ๕๗ สัญญาการยืมเงิน ให้ผู้ยืมยื่นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ ๕๖ ผ่านหัวหน้าหน่วยการคลังสองฉบับ โดยแสดงประมาณการค่าใช้จ่ายและกำหนดเวลาใช้คืน ทั้งนี้จะต้องมีงบประมาณเพื่อการนั้นอยู่แล้วและให้หัวหน้าหน่วยการคลังเสนอความเห็นตามลำดับชนต่อผู้มีอำนาจดังกล่าวอนุมัติ ข้อ ๕๘ การอนุมัติให้ยืมเงิน ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อใช้ในราชการ และห้ามมิให้อนุมัติให้ยืมเงินรายใหม่ในเมื่อผู้ยืมมิได้ชำระเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕๙ การจ่ายเงินยืมเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ให้จ่ายได้สำหรับระยะเวลาไม่เกินหกสิบวัน หากจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่ากำหนดดังกล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖๐ เมื่อผู้ยืมได้รับเงินตามสัญญาการยืมเงินแล้ว ให้ลงลายมือชื่อรับเงินในสัญญาการยืมเงินทั้งสองฉบับ มอบให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ให้ผู้ยืมเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมส่งสำเนาให้สำนักการคลังเพื่อลงทะเบียนด้วยหนึ่งฉบับ เมื่อผู้ยืมส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคืนเงินยืมบันทึกการรับคืนในสัญญาการยืมเงิน พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงิน และหรือใบรับใบสำคัญ ให้ผู้ยืมไว้เป็นหลักฐาน ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาสัญญาการยืมเงินที่ยังมิได้ชำระคืนเงินยืมให้เสร็จสิ้นไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย และเมื่อผู้ยืมได้ชำระคืนเงินยืมเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้เก็บเช่นเดียวกับหลักฐานการจ่ายทั้งนี้ โดยให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมจัดทำทะเบียนเงินยืมไว้ด้วย ข้อ ๖๑ เงินที่ยืมไป ให้ผู้ยืมส่งใบสำคัญคู่จ่ายและเงินเหลือจ่ายภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) กรณียืมไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ให้ส่งต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสิบห้าวันนับจากวันกลับมาถึง (๒) การยืมเงินเพื่อปฏิบัติราชการนอกจาก (๑) ให้ส่งต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน ในกรณีที่ผู้ยืมได้ส่งใบสำคัญคู่จ่ายล้างเงินยืมแล้วมีเหตุต้องทักท้วง ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมแจ้งข้อทักท้วงให้ผู้ยืมทราบโดยด่วน แล้วให้ผู้ยืมปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำทักท้วงหากผู้ยืมมิได้ดำเนินการตามคำทักท้วงและไม่ได้ชี้แจงเหตุผลให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมทราบ ก็ให้หน่วยงานดำเนินการตามข้อเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงิน โดยถือว่าผู้ยืมยังมิได้ส่งใช้เงินยืมเท่าจำนวนที่ทักท้วงนั้น ข้อ ๖๒ ในกรณีที่ผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมภายในกำหนดตามข้อ ๖๑ ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเรียกชดใช้เงินยืมตามเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงินให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนด หากผู้ยืมมิได้ส่งใช้เงินยืมตามกำหนดในวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบเพื่อพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามสัญญาการยืมเงินต่อไป หากจำเป็นก็ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ยืมนั้นโดยด่วนภายในกำหนดอายุความ ถ้าปรากฏว่าผู้อนุมัติให้ยืมได้อนุมัติให้ยืมเงินไปโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบ ผู้อนุมัติให้ยืมและผู้ยืมต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนแก่กรุงเทพมหานครจนครบถ้วน ถ้าไม่ยอมชดใช้คืนให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๖๓ ในกรณีที่ผู้ยืมจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ให้หัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยการคลังของผู้ยืมตรวจสอบทะเบียนเงินยืมของบุคคลผู้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ และเร่งรัดเงินยืมค้างชำระให้เสร็จสิ้นในทันที่ก่อนที่ผู้ยืมจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไป ในกรณีที่ผู้ยืมถึงแก่กรมให้หักจากเงินเดือนครั้งสุดท้ายหรือเงินอื่นใดที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับจากกรุงเทพมหานครเพื่อชดใช้เงินยืม ถ้ายังไม่พอให้ดำเนินการขอรับชดใช้จากกองมรดกหรือทายาทของผู้ยืม หากไม่ได้รับชดใช้ให้ดำเนินคดีเรียกคืนภายในกำหนดอายุความ ถ้าปรากฏว่าหัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยการคลังของผู้ยืมมิได้ดำเนินการเร่งรัดให้ผู้ยืมส่งใช้เงินยืมดังกล่าวข้างต้น หัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยการคลังของผู้ยืมต้องชดใช้เงินยืมแก่กรุงเทพมหานครแทนผู้ยืมจนครบ หมวด ๗ การเบิกและจ่ายเงินเดือน ข้อ ๖๔ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชีถือจ่ายเงินเดือนที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจัดทำขึ้นตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๖๕ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนประจำเดือนใด โดยปกติให้วางฎีกาภายในวันที่สิบห้าของเดือนนั้น และให้เบิกจ่ายได้เดือนละครั้ง และจ่ายในวันสิ้นเดือน ถ้าวันสิ้นเดือนเป็นวันปิดสำนักงานก็ให้จ่ายได้ในวันเปิดสำนักงานก่อนวันสิ้นเดือน เว้นแต่กรณีที่เป็นเงินเดือนค้างเบิกจะเบิกจ่ายเมื่อใดก็ได้ กรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถจ่ายเงินเดือนตามกำหนดในวรรคหนึ่งให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันจ่ายเงินเดือนได้ ข้อ ๖๖ การเบิกเงินเดือนในกรณีบรรจุใหม่ กลับเข้ารับราชการใหม่ เลื่อนระดับ เลื่อนเงินเดือนพักราชการ ย้าย โอน ถูกลงโทษพ้นจากราชการ หรือขอรับเงินเดือนทางหน่วยงานอื่นในสังกัดเดียวกันหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกกรณี ให้มีสำเนาคำสั่งหรือเอกสารหลักฐานในกรณีนั้น ๆ แนบฎีกาในการเบิกด้วย ข้อ ๖๗ ในกรณีข้าราชการได้รับการเลื่อนระดับ หรือเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึ่งต้องเบิกเงินเดือนย้อนหลังให้ใช้วิธีเบิกเพิ่ม ในกรณีข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนระดับโดยเปลี่ยนอัตราเงินเดือนให้ใช้วิธีเบิกหักผลักส่งฎีกา แต่ในกรณีเลื่อนระดับโดยไม่เปลี่ยนอัตราเงินเดือน ถ้าได้รับเงินเดือนสูงขึ้นให้ใช้วิธีเบิกเพิ่มเช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง ข้อ ๖๘ การเบิกเงินเดือนข้าราชการ ในกรณีย้ายหรือโอนให้หมายเหตุในฎีกาว่าได้ย้ายจากตำแหน่งใด หรือรับโอนจากส่วนราชการหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นใด และได้รับเงินเดือนเดิมในระดับและขั้นใด ถึงเดือนใด หมวด ๘ การเบิกและจ่ายค่าจ้าง ข้อ ๖๙ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้าง ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชีถือจ่ายค่าจ้างที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจัดทำขึ้นตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๗๐ การเบิกจ่ายเป็นค่าจ้าง ประจำเดือนใด โดยปกติให้วางฎีกาภายในสิบห้าวันของเดือนนั้นและให้เบิกจ่ายได้เดือนละครั้งและจ่ายในวันสิ้นเดือน ถ้าวันสิ้นเดือนเป็นวันปิดสำนักงาน ก็ให้จ่ายได้ในวันเปิดสำนักงานก่อนวันสิ้นเดือน เว้นแต่การเบิกค่าจ้างที่จ่ายเป็นรายวันหรือรายชั่วโมง ให้วางฎีกาและจ่ายเงินตามระยะเวลาที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๗๑ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างในกรณีบรรจุใหม่ เปลี่ยนอัตรา เพิ่มค่าจ้าง ย้าย ถูกลงโทษ เลิกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกกรณี ให้มีสำเนาคำสั่ง หรือเอกสารหลักฐานในกรณีนั้น ๆ แนบฎีกาในการเบิกด้วย ข้อ ๗๒ ในกรณีลูกจ้างได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นซึ่งต้องเบิกค่าจ้างย้อนหลัง ให้ใช้วิธีเบิกเพิ่ม ในกรณีที่ได้รับค่าจ้างเพิ่มโดยเปลี่ยนอัตราค่าจ้าง ให้ใช้วิธีเบิกหักผลักส่งฎีกา ข้อ ๗๓ การเบิกและการจ่ายเงินค่าจ้างนอกจากที่กำหนดไว้ข้างต้นให้ปฏิบัติตามวิธีการเกี่ยวกับการเบิกและจ่ายเงินเดือนโดยอนุโลม หมวด ๙ การรับเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงิน ข้อ ๗๔ การรับเงินทุกประเภทต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำเงินมาชำระทุกราย และต้องมีต้นขั้วหรือคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินนั้นรักษาไว้ด้วย แต่ในกรณีที่มีการจำหน่ายตั๋วฉีกแทนใบเสร็จรับเงินนั้นแล้วไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินอีก แต่ให้มีทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วไว้เป็นหลักฐานการรับเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกรายการรับเงินไว้ในบัญชีเงินสดหรือทะเบียนอื่นใด แล้วแต่กรณี ในวันที่ได้รับเงินโดยให้มีหลักฐานประกอบให้ครบถ้วนทุกราย ข้อ ๗๕ ให้หน่วยงานซึ่งได้แยกออกไปทำการรับจ่ายและรักษาเงินนำเงินรับทั้งสิ้นส่งหน่วยการคลังทุกวัน พร้อมด้วยใบนำส่งเงินและสำเนาคู่ฉีกอย่างน้อยสองฉบับ และต้องมีสำเนาเป็นหลักฐานเก็บรักษาไว้ ณ หน่วยงานด้วย ถ้าส่งไม่ทันในวันนั้นก็ให้นำส่งในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดสำนักงาน และให้ระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันในใบนำส่งไว้ด้วย ใบนำส่งต้องลงชื่อหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ส่ง หัวหน้าหน่วยการคลังหรือหัวหน้าหน่วยงานผู้รับเงินและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายในหน่วยการคลัง เป็นผู้ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๗๖[๒๔] จำนวนเงินที่เก็บรักษาไว้ในหน่วยการคลังต้องไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทและหน่วยการคลังของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขต ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท เว้นแต่ในกรณีจำเป็นให้ปลัดกรุงเทพมหานครอนุมัติขยายวงเงินที่เก็บรักษาในหน่วยการคลังนั้นได้ ข้อ ๗๗ บรรดาเงินรายรับตามข้อ ๗๔ ถ้ามีวงเงินเกินจำนวนที่เก็บรักษาไว้ตามข้อ ๗๖ ให้นำฝากธนาคารตามที่มีมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การนำฝากเงินธนาคารตามวรรคหนึ่ง ในใบนำฝากนั้นต้องลงชื่อหัวหน้าหน่วยการคลังเป็นผู้ฝากโดยให้มีหลักฐานการนำฝากเก็บรักษาไว้ ณ หน่วยงานนั้นด้วย ในกรณีวันใดมีจำนวนเงินเกินอำนาจที่เก็บรักษาไว้ได้ ให้หน่วยการคลังหรือหน่วยงานที่แยกไปทำการรับจ่ายและรักษาเงิน นำเงินฝากให้เสร็จภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทัน ให้จัดการนำฝากในวันรุ่งขึ้น หรือวันเปิดทำการ และให้ระบุเหตุผลที่นำฝากไม่ทันไว้ในใบนำฝากด้วย ข้อ ๗๘[๒๕] การถอนเงินฝากตามข้อ ๗๗ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ลงชื่อถอนเงินร่วมกัน แล้วแต่กรณี (๑) ปลัดกรุงเทพมหานครกับผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง (๒) ปลัดกรุงเทพมหานครกับผู้อำนวยการกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการสำนักกับเลขานุการสำนักหรือผู้อำนวยการกองคลัง แล้วแต่กรณี (๓) หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครกับเลขานุการสำนัก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (๔) เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๕) เลขานุการสภากรุงเทพมหานครกับหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป (๖) ผู้อำนวยการเขตกับหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ กรณีมีเหตุจำเป็น หรือมีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงาน จนเป็นเหตุให้ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้งผู้ลงชื่อถอนเงินร่วมกันแทนตำแหน่งดังกล่าวได้ ข้อ ๗๙ ในการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคาร หรือ ณ สถานที่รับเงินแห่งอื่นใด รวมตลอดถึงต่างหน่วยงานในสำนักงานเดียวกัน ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ไปรับหรือส่งเงินแต่ลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะ ให้ถือปฏิบัติดังนี้ (๑) จำนวนที่ไปรับหรือส่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท โดยไม่คิดรวมจำนวนเงินในเช็คขีดคร่อมให้มีกรรมการไปรับหรือส่งรวมกันอย่างน้อยสามคน โดยให้มีข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๒ ร่วมไปด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน (๒) จำนวนเงินที่รับหรือส่งเกิน ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป โดยไม่คิดรวมจำนวนเงินในเช็คขีดคร่อม ให้มีกรรมการไปรับหรือส่งร่วมกันอย่างน้อยสามคน โดยมีข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๓ ร่วมไปด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน ในกรณีที่มีข้าราชการระดับ ๓ หรือมีแต่ไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ ให้รายงานของอนุมัติปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการระดับ ๒ แทนโดยให้ทำเป็นหนังสือ (๓) กรรมการแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในจำนวนเงินที่ไปรับหรือนำส่งในขณะที่เงินยังอยู่ในความอารักขา ห้ามมิให้แยกย้ายกัน และความรับผิดชอบร่วมกันนี้ให้หมายรวมถึงการที่กรรมการแต่ละคนต้องร่วมกันชดใช้จำนวนเงินที่ขาดหายและร่วมกันรับผิดทางวินัยหรือทางอาญาอีกโสดหนึ่งด้วย (๔) ในกรณีการรับหรือส่งเงินตามข้อนี้ ให้กรรมการผู้มอบหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบเงินทำบันทึกการรับมอบหรือการส่งมอบกับกรรมการผู้นำส่งหรือผู้รับมอบไว้เป็นหลักฐาน (๕) ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการตาม (๑) และ (๒) โดยทำเป็นคำสั่ง ข้อ ๘๐[๒๖] ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี แต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบรักษาเงินไว้ ณ หน่วยการคลังไม่น้อยกว่าสามคน และในจำนวนนี้ต้องมีผู้อำนวยการกองการเงินหรือหัวหน้าหน่วยการคลัง แล้วแต่กรณี รวมอยู่ด้วย ข้อ ๘๑ กรรมการรักษาเงินตามข้อ ๘๐ มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ทำการตรวจรับเงินสดคงเหลือให้ถูกต้องตรงกับรายการคงเหลือในบัญชีเงินสดประจำวัน (๒) ทำการตรวจสอบบรรดาหลักฐานการรับและการจ่ายเงินให้ตรงกับราบการในบัญชีเงินสดเมื่อสิ้นการรับและจ่ายเงินในวันหนึ่ง ๆ เป็นประจำ (๓) ทำการตรวจสอบการคำนวณตัวเลขในการรับและการจ่ายเงินให้มียอดเงินคงเหลือถูกต้องเป็นประจำวัน (๔) ทำการเก็บรักษาเงินตามกำหนดวงเงินและระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้เก็บรักษาไว้ได้ (๕) ควบคุมดูแลให้มีการนำเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดและเกินระยะเวลาที่เก็บรักษาส่งฝากสำนักการคลัง หรือธนาคารทันที ข้อ ๘๒ หน่วยงานใดมีการเก็บรักษาเงิน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นจัดให้มีตู้นิรภัยสำหรับเก็บรักษาเงินของทางราชการ ตู้นิรภัยให้มีกุญแจอย่างน้อยสองดอก แต่ละดอกมีลักษณะต่างกัน โดยให้มีกรรมการเก็บรักษาเงินถือกุญแจคนละดอก กุญแจตู้นิรภัยตู้หนึ่ง ๆ โดยปกติให้มีอย่างน้อยสองสำรับให้หัวหน้าหน่วยงานมอบให้กรรมการเก็บรักษาเงินเก็บรักษาหนึ่งสำรับนอกนั้นให้นำฝากสำนักการคลังเก็บรักษาไว้ ข้อ ๘๓ ให้กรรมการเก็บรักษาเงินเป็นผู้ถือกุญแจตู้นิรภัยในกรณีที่ตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสามดอกและมีกรรมการสามคน ก็ให้กรรมการถือกุญแจคนละดอก แต่ถ้าตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสองดอกแต่มีกรรมการสามคนก็ให้กรรมการที่มีอาวุโสตามระเบียบราชการถือกุญแจคนละหนึ่งดอก และให้กรรมการอีกหนึ่งคนมีหน้าที่ประจำตราตู้นิรภัยแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ากรรมการเก็บรักษาเงินผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๓ ให้เป็นกรรมการแทนชั่วคราวให้ครบจำนวน การแต่งตั้งผู้ที่จะเป็นกรรมการแทนจะแต่งตั้งไว้เป็นการประจำเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวก็ได้ ข้อ ๘๔ การส่งมอบและการรับมอบกุญแจระหว่างกรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำหน้าที่กรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๘๓ ให้กรรมการส่งมอบและกรรมการผู้รับมอบตรวจนับตัวเงิน และหลักฐานแทนตัวเงินซึ่งเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยให้ถูกต้องตามรายงานเงินคงเหลือประจำวัน แล้วบันทึกการส่งมอบและรับมอบพร้อมกับลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันนั้นด้วย ห้ามมิให้กรรมการมอบกุญแจให้ผู้อื่นทำหน้าที่กรรมการแทน เว้นแต่เป็นการมอบให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๘๓ กรรมการจะต้องเก็บรักษากุญแจไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้สูญหาย หรือให้ผู้ใดลักลอบนำไปพิมพ์แบบกุญแจได้ หากปรากฏว่ากุญแจหายหรือมีกรณีสงสัยว่าจะมีผู้ปลอมแปลงกุญแจ ให้หัวหน้าหน่วยงานสอบสวนแล้วรีบรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการโดยด่วน ข้อ ๘๕ เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงิน ให้เจ้าหน้าที่การเงินนำเงินที่จะเก็บรักษาและรายงานเงินคงเหลือประจำวันส่งมอบต่อคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อปรากฏว่าถูกต้องแล้วให้นำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันไว้เป็นหลักฐาน รายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อกรรมการเก็บรักษาเงินได้ลงลายมือชื่อแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อทราบ ในกรณีที่ปรากฏว่าเงินที่ได้รับมอบให้เก็บรักษาไม่ตรงกับจำนวนซึ่งแสดงไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและเจ้าหน้าที่การเงินผู้นำส่งร่วมกันบันทึกจำนวนเงินที่ตรวจนับได้นั้นไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การเงินผู้นำส่งแล้วนำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย แล้วให้กรรมการเก็บรักษาเงินรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานทราบทันทีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ ๘๖ เมื่อนำเงินเข้าเก็บในตู้นิรภัยแล้ว ให้กรรมการใส่กุญแจตู้นิรภัยให้เรียบร้อยแล้วลงลายมือชื่อบนกระดาษปิดทับหรือประจำตราครั่งหรือดินเหนียวของกรรมการแต่ละคนไว้บนเชือกผูกมัดตู้นิรภัยในลักษณะที่ตราประจำครั่งดินเหนียว หรือแผ่นกระดาษปิดทับจะต้องถูกทำลายเมื่อมีการเปิดตู้นิรภัย ในกรณีที่ตู้นิรภัยตั้งอยู่ในห้องมั่นคง หรือกรงเหล็ก การลงลายมือชื่อบนกระดาษปิดทับหรือประจำตราครั่งของกรรมการจะกระทำที่ประตูห้องมั่นคงหรือกรงเหล็กแต่เพียงแห่งเดียวก็ได้ ในวันทำการถัดไปหากจะต้องนำเงินออกจ่าย ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินมอบเงินเก็บรักษาทั้งหมดให้หัวหน้าหน่วยการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินรับไปจ่าย โดยให้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันก่อนวันทำการที่รับเงินไปจ่ายนั้น ข้อ ๘๗ สำหรับหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครแยกออกไปทำการรับจ่าย และรักษาเงิน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครตั้งคณะกรรมการรักษาเงินไว้ ณ หน่วยงานไม่น้อยกว่าสามคน และต้องเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครไม่ต่ำกว่าระดับ ๓ และคนหนึ่งในจำนวนนั้นต้องเป็นหัวหน้าหน่วยการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินโดยตำแหน่งในกรณีที่ไม่มีข้าราชการระดับ ๓ หรือมีแต่ไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ให้รายงานขออนุมัติปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการระดับ ๒ แทน โดยให้ทำเป็นคำสั่ง ให้หน่วยงานตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเก็บรักษาเงินไว้ที่สำนักงานได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ความข้างต้นมิให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานที่มีข้อบัญญัติหรือระเบียบใช้บังคับโดยเฉพาะกับหน่วยงานนั้น ข้อ ๘๘ บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่ หรือสัญญา หรือได้รับการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราชการ ให้หน่วยงานที่ได้รับเงินนั้นนำส่งเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เว้นแต่จะมีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับกำหนดเป็นอย่างอื่น หน่วยงานใดได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้น หรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้น ให้หน่วยงานดังกล่าวจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับได้ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่กรุงเทพมหานครกำหนด แต่เมื่อได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แล้วมีเงินเหลือจ่ายเท่าใดให้นำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครต่อไป ข้อ ๘๙ เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานใดปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครไม่ถูกต้องตามระเบียบ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครสั่งการให้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยด่วน หากปรากฏว่าเงินในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดขาดบัญชีหรือสูญหายเพราะการทุจริต หรือมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งมิใช่กรณีปกติ ให้หัวหน้าหน่วยงานรีบรายงานพฤติการณ์ให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยด่วน ในกรณีที่เห็นว่าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินก็ให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด และให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งโดยด่วน หมวด ๑๐ การตรวจเงิน ข้อ ๙๐ ให้หน่วยงานแต่ละแห่งมีบัญชีและทะเบียนรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙๑ ทุกวันที่มีการรับจ่ายเงิน ให้หัวหน้าหน่วยการคลังรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่าง ๆ ให้หัวหน้าหน่วยงานทราบเป็นประจำทุกวัน และให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่าง ๆ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบเป็นประจำทุกเดือน ข้อ ๙๒ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานจัดให้มีการสำรวจรายละเอียดลูกหนี้และเจ้าหนี้ว่ามีจำนวนเงินคงค้างชำระหนี้อยู่กี่ราย เป็นเงินทั้งสิ้นรายละเท่าใด รวมเป็นจำนวนรายและจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าใด และแจ้งสำนักการคลังทราบเพื่อประกอบการทำรายงานการรับจ่ายเงินประจำปี ข้อ ๙๓ ภายในหกสิบวันนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับและจ่ายเงินจัดทำงบเงินรายรับรายจ่ายในรอบปีงบประมาณเสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยผ่านหน่วยงานตรวจสอบภายในสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และสำเนาส่งสำนักการคลังกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งละหนึ่งชุด ให้สำนักการคลังจัดทำงบเงินรายรับรายจ่ายในรอบปีงบประมาณเปรียบเทียบกับงบประมาณ กับจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลง เสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อดำเนินการต่อไป (ตามมาตรา ๑๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘) ข้อ ๙๔ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีการเงินการรับจ่ายเงิน การพัสดุ และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่าย หรือตรวจสอบอื่นใด ตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย และตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙๕ ในการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการรับจ่ายเงิน ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือรับเงินและหรือหัวหน้าหน่วยการคลังมีหน้าที่ให้คำชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุทักท้วงให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานตรวจสอบภายในสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร แจ้งโดยตรงกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือกรณีเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งโดยตรงกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้หน่วยงานนั้นปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากหัวหน้าหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามคำทักท้วงของหน่วยงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ตามกำหนดโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบเพื่อสั่งการ หมวด ๑๑ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๙๖ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป หมวด ๑๒ บทเฉพาะกาล ข้อ ๙๗ การรับ การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงินที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๑๙ ต่อไปจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงบรรดาแบบพิมพ์ เอกสาร สมุดบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกและจ่ายเงิน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒[๒๗] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓[๒๘] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘[๒๙] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๐[๓๐] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐[๓๑] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓๒] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๔[๓๓] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘[๓๔] วชิระ/จัดทำ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๕๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๓๐ มีนาคม ๒๕๓๐ [๒] ข้อ ๔ บทนิยามคำว่า “หน่วยงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๓] ข้อ ๔ บทนิยามคำว่า “หัวหน้าหน่วยงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ข้อ ๔ บทนิยามคำว่า “หน่วยการคลัง” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๕] ข้อ ๔ บทนิยามคำว่า “หัวหน้าหน่วยการคลัง” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๖] ข้อ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๗] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๘] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๙] ข้อ ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๑๐] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๑๑] ข้อ ๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๑๒] ข้อ ๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ [๑๓] ข้อ ๓๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ [๑๔] ข้อ ๓๒ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖)พ.ศ. ๒๕๔๐ [๑๕] ข้อ ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๑๖] ข้อ ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖)พ.ศ. ๒๕๔๐ [๑๗] ข้อ ๓๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๑๘] ข้อ ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๙] ข้อ ๔๓ (๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๒๐] ข้อ ๔๓ (๕) เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๒๑] ข้อ ๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๒๒] ข้อ ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ [๒๓] ข้อ ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๒๔] ข้อ ๗๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖)พ.ศ. ๒๕๔๐ [๒๕] ข้อ ๗๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖)พ.ศ. ๒๕๔๐ [๒๖] ข้อ ๘๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๑๖/หน้า ๓๖๘/๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๒ [๒๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๘๑/หน้า ๓๗๕/๒๐ กันยายน ๒๕๓๓ [๒๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๑๐/๖ ตุลาคม ๒๕๓๘ [๓๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๐ ง/หน้า ๓๖/๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ [๓๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๒๔/๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๐ [๓๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๙ ง/หน้า ๔๑/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ [๓๓]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๓๖ ง/หน้า ๑๕/๑๘ เมษายน ๒๕๔๔ [๓๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๓/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
533270
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. 2547 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากร ทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “แพทย์ห้วงเวลา” หมายความว่า แพทย์นอกเวลา แพทย์ที่ปรึกษา แพทย์ทั่วไป แพทย์เฉพาะโรค แพทย์เฉพาะทาง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งมาปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ “ทันตแพทย์ห้วงเวลา” หมายความว่า ทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ “เภสัชกรห้วงเวลา” หมายความว่า เภสัชกรที่ปรึกษา เภสัชกรทั่วไป ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ “บุคลากรทางการสาธารณสุขห้วงเวลา” หมายความว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งมาปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ เช่น นายสัตวแพทย์ทั่วไป นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษา สัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การกีฬา เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแทพย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการพยาบาล นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด นักเวชศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยา นักวิชาการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลเทคนิค ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่พยาบาล ทันตานามัย เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าหน้าที่เวชสถิติ นักเวชระเบียน ผู้ช่วยทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่เภสัชกร และผู้ช่วยเภสัชกร เป็นต้น ข้อ ๕ ให้กำหนดค่าตอบแทนแพทย์ห้วงเวลา ดังนี้ (๑) แพทย์ทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๓๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๒) แพทย์เฉพาะโรค แพทย์เฉพาะทาง ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๓) แพทย์นอกเวลา ให้จ่ายค่าตอบแทนผลัดละ ๑,๖๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานผลัดละ ๘ ชั่วโมง (๔) แพทย์ที่ปรึกษา ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ ๑,๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง (๕) แพทย์ที่ปรึกษาที่มีความชำนาญพิเศษซึ่งมีอายุไม่เกิน ๗๐ ปี และเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ ๘ หรือสูงกว่า ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง ข้อ ๖[๒] ให้กำหนดค่าตอบแทนทันตแพทย์ห้วงเวลา ดังนี้ (๑) ทันตแพทย์ทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๓๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๒) ทันตแพทย์เฉพาะทาง ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๓) ทันตแพทย์ที่ปรึกษา ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ ๑,๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง (๔) ทันตแพทย์ที่ปรึกษาที่มีความชำนาญพิเศษซึ่งมีอายุไม่เกิน ๗๐ ปี และเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ ๘ หรือสูงกว่า ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละ ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง ข้อ ๗ ให้กำหนดค่าตอบแทนเภสัชกรห้วงเวลา ดังนี้ (๑) เภสัชกรทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๒๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๒) เภสัชกรทั่วไปนอกเวลา ให้จ่ายค่าตอบแทนผลัดละ ๑,๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานผลัดละ ๘ ชั่วโมง (๓) เภสัชกรที่ปรึกษาที่มีความชำนาญพิเศษซึ่งมีอายุไม่เกิน ๗๐ ปี และเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ ๘ หรือสูงกว่า ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ ๑,๐๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ข้อ ๘ ให้กำหนดค่าตอบแทนสัตวแพทย์ห้วงเวลา ดังนี้ (๑) นายสัตวแพทย์ทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๓๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๒) นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษา ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ ๑,๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง (๓) นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษาที่มีความชำนาญพิเศษซึ่งมีอายุไม่เกิน ๗๐ ปี และเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ ๘ หรือสูงกว่า ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง ข้อ ๙ ให้กำหนดค่าตอบแทนพยาบาลห้วงเวลา ดังนี้ (๑) พยาบาลวิชาชีพ ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๒) พยาบาลเทคนิค ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๘๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๓) เจ้าหน้าที่พยาบาล ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง ข้อ ๑๐ ให้กำหนดค่าตอบแทนบุคลากรทางการสาธารณสุขห้วงเวลาอื่น ดังนี้ (๑) บุคลากรทางการสาธารณสุขที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาตรีทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๒) บุคลากรทางการสาธารณสุขที่มีคุณวุฒิระดับปวส. หรือเทียบเท่าขึ้นไปให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๘๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง (๓) บุคลากรทางการสาธารณสุขที่มีคุณวุฒิระดับปวช. หรือเทียบเท่าขึ้นไปให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๒ ครั้งๆ ละไม่เกิน ๔ ชั่วโมง ข้อ ๑๑ เงินค่าตอบแทนตามระเบียบนี้ ให้เบิกจ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ประเภทค่าตอบแทน หรือเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินบำรุงสถานบริการ สาธารณสุข เงินบำรุงวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและ วชิรพยาบาล เงินบำรุงวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ หรือเงินบำรุงโรงพยาบาล แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๓] วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๓๔/๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ [๒] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๔๗/๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘
533282
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. 2537 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งใดในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ทรัพย์สิน” หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน เช่น ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง อาคาร สะพาน ทางเท้า ถนน ตรอก ซอย และสาธารณูปโภค เป็นต้น “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่ากอง ข้อ ๕ การพัฒนาทรัพย์สินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ประชาชนเข้าใช้สอยเสมือนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยมิให้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ให้หน่วยงานถือปฏิบัติดังนี้ (๑) ทรัพย์สินดังกล่าวมีสภาพชำรุดทรุดโทรม และประชาชนได้รับความเดือดร้อนสมควรได้รับการพัฒนา (๒) ให้หน่วยงานตรวจสอบและบันทึกปากคำจากประชาชนที่ใช้ประโยชน์หรือเคยใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหรือบริเวณใกล้เคียงไม่น้อยกว่า ๕ ราย (๓) ให้หน่วยงานปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ บริเวณที่จะพัฒนาและทุกสำนักงานเขตไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า กรุงเทพมหานครจะดำเนินการพัฒนาทรัพย์สิน หากเจ้าของกรรมสิทธิ์คัดค้าน ให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานเจ้าของเรื่องภายในกำหนด ข้อ ๖ การพัฒนาทรัพย์สินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรยกให้กรุงเทพมหานคร หรือให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เจ้าของกรรมสิทธ์จะต้องแสดงเอกสารสิทธิ์ พร้อมทั้งยื่นหนังสือแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ให้กรุงเทพมหานคร หรือยกให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพร้อมแผนที่สังเขปและให้หน่วยงานถือปฏิบัติดังนี้ (๑) กรณียกกรรมสิทธิ์ให้กรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาทรัพย์สินจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน โดยที่หากเป็นการยกให้บางส่วนจะต้องให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ยื่นขอรังวัดแบ่งแยกต่อสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร เพื่อทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่ยกให้เป็นของกรุงเทพมหานคร หรือจะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมก็ได้ ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของปลัดกรุงเทพมหานคร และให้ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ (๒) กรณียกให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ให้หน่วยงานเข้าดำเนินการพัฒนาทรัพย์สินได้ทันทีที่มีการยกให้แล้ว แต่ต้องส่งสำเนาหนังสือแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์พร้อมแผนที่สังเขปแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทราบ และดำเนินการให้มีการจดทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินต่อไป โดยที่หากเป็นการยกให้บางส่วน จะต้องให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ยื่นขอรังวัดแบ่งแยกส่วนที่จะยกให้เพื่อจดทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หากเป็นการยกให้ทั้งแปลงให้เจ้าของยื่นขอจดทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินต่อไป ข้อ ๗ การพัฒนาทรัพย์สินที่เจ้าของยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้สอย เช่าหรือเจ้าของทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินหรือจดทะเบียนภารจำยอมให้กรุงเทพมหานคร ให้หน่วยงานถือปฏิบัติโดยความเห็นชอบของปลัดกรุงเทพมหานคร ดังนี้ (๑) กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้สอยทรัพย์สิน ให้หน่วยงานดำเนินการทำสัญญากับเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาทรัพย์สิน ในกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้สอยทรัพย์สินโดยมีกำหนดเวลาให้หน่วยงานกำหนดเวลาใช้สอยทรัพย์สินให้คุ้มค่ากับงบประมาณสำหรับการพัฒนาทรัพย์สิน (๒) กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้กรุงเทพมหานครเช่าทรัพย์สิน ให้หน่วยงานดำเนินการทำสัญญากับเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาทรัพย์สิน โดยให้หน่วยงานกำหนดเวลาใช้สอยทรัพย์สินให้คุ้มค่ากับค่าเช่าและงบประมาณสำหรับการพัฒนาทรัพย์สิน (๓) กรณีเจ้าของที่ดินยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้สอยที่ดินโดยจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ให้หน่วยงานดำเนินการทำสัญญากับเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ และจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แล้วเสร็จก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาทรัพย์สิน การจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ให้หน่วยงานกำหนดเวลาใช้สอยทรัพย์สินให้คุ้มค่ากับค่าตอบแทน และงบประมาณสำหรับการพัฒนาทรัพย์สิน (๔) กรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ โดยจดทะเบียนภารจำยอม ให้หน่วยงานดำเนินการทำสัญญากับเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามแบบท้ายระเบียบนี้ และจดทะเบียนภารจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แล้วเสร็จก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาทรัพย์สิน การจดทะเบียนภารจำยอม ให้หน่วยงานกำหนดเวลาใช้สอยทรัพย์สินให้คุ้มค่ากับค่าตอบแทน และงบประมาณสำหรับการพัฒนาทรัพย์สิน การลงนามในสัญญาและหรือการจดทะเบียนตามข้อนี้ ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๘ การพัฒนาทรัพย์สินของส่วนราชการอื่น กรุงเทพมหานครจะเข้าไปดำเนินการได้ ในกรณีที่สวนราชการเจ้าของทรัพย์สินได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือยินยอมให้กรุงเทพมหานคร เข้าไปดำเนินการเพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกันเสมือนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และต้องมิใช่เป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของส่วนราชการนั้นโดยเฉพาะ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามระเบียบนี้ให้นำเสนอปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ร้อยเอก กฤษฏา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบ] [๒] ๑. สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง ๒. สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สิน ๓. สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ๔. สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินโดยจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินหรือจดทะเบียนภารจำยอม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๓] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘[๔] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๕] วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๕๒ ง/หน้า ๕๔/๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ [๒] แบบสัญญาท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๙/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๔๘/๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๐/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
533272
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. 2534 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๓๔ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธี การงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงิน บำรุงโรงพยาบาลไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรง พยาบาล พ.ศ. ๒๕๓๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๓๐ บรรดาข้อบังคับระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔[๒] ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “โรงพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร “ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์” หมายความว่า ส่วนราชการตามประกาศของกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร “เงินบำรุงโรงพยาบาล” หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล (๒) เงินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้โรงพยาบาลโดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ (๓) เงินที่โรงพยาบาลได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ (๔) ดอกผลของเงินบำรุงโรงพยาบาล (๕) เงินที่สำนักการแพทย์ ได้มาจาก (ก) เงินบำรุงโรงพยาบาลตาม (๑) ถึง (๔) ที่โรงพยาบาลนำส่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์ (ข) การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่ออำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (ค) ดอกผลของเงิน ตาม (ก) และ (ข) (๖) เงินรายรับที่ได้รับสำหรับกิจการด้านการบริการทางการแพทย์ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินบำรุงโรงพยาบาลที่มีอยู่ในวันใช้ระเบียบนี้ด้วย ข้อ ๕[๓] ข้อ ๕ เงินบำรุงโรงพยาบาล ให้โรงพยาบาลและสำนักการแพทย์ใช้จ่ายได้ ดังนี้ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับโรงพยาบาล และส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงินงบประมาณได้ แต่เงินงบประมาณไม่มีหรือมีไม่เพียงพอหรือมีเหตุจำเป็นรีบด่วน ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทันหรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น (๒) กิจการด้านการบริการทางการแพทย์ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ ข้อ ๖ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาล (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของ โรงพยาบาลและส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการและเงินสงเคราะห์อื่น ๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ยกเว้นการจัดซื้อรถพยาบาลหรือรถเข็นคนไข้ ข้อ ๗ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินบำรุงโรงพยาบาลไว้ดังนี้ (๑) โรงพยาบาลไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) สำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินบำรุงโรงพยาบาลส่วนที่เกิน ให้นำฝากสำนักการคลัง หรือธนาคารตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินการตรวจเงิน การพัสดุการสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘[๔] ให้โรงพยาบาลและสำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ ที่มีการรับจ่ายเงินตามระเบียบนี้ จัดทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุงโรงพยาบาลจะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ และให้รายงานการรับการจ่าย และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือนและเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ สำหรับการรับและการจ่ายเงินตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้จัดทำรายงานการรับ การจ่ายเงิน ประจำเดือน และประจำปี แยกออกจากเงินบำรุงโรงพยาบาลประเภทอื่น ข้อ ๙ ให้โรงพยาบาลกันยอดเงินบำรุงโรงพยาบาล ที่มีอยู่ในวันที่ระเบียบนี้มีผล ใช้บังคับ เป็นจำนวนร้อยละสองครึ่ง นำสั่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์ ภายในกำหนดสามสิบวัน นับ ตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อสิ้นปีงบประมาณใด ถ้าปรากฏว่าโรงพยาบาลแห่งใดมียอดเงินบำรุงคงเหลือให้โรงพยาบาลนั้นนำเงินที่เหลือส่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์ เป็นจำนวนร้อยละห้าของยอดเงินบำรุงคงเหลือ ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณแต่ละปี[๕] ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่ระเบียบนี้มิได้ กำหนดไว้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑[๖] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕[๗] วชิระ/จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๙๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๙ พฤษภาคม ๒๕๓๔ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๔] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕ [๕] ข้อ ๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๑ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๕ ง/หน้า ๓๔/ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๕
533261
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม พ.ศ. 2533 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม พ.ศ. ๒๕๓๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินสะสม พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสมขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม พ.ศ. ๒๕๓๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ คำว่า “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง ข้อ ๕ ให้มีวงเงินขั้นต่ำของเงินสะสมไว้เป็นเงินคงคลังของกรุงเทพมหานคร สำหรับสำรองไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งพันล้านบาท ข้อ ๖ การเสนอเรื่องขอยืมเงินสะสม ให้พิจารณาดำเนินการตามลำดับดังต่อไปนี้ก่อน ๖.๑ พิจารณาโอนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีมาใช้จ่าย ๖.๒ พิจารณาแผนงานหรือโครงการที่หมดความจำเป็นก็ให้ยกเลิกหรือพิจารณาลดเนื้องานลงตามความจำเป็น ๖.๓ ถ้าไม่มีงบประมาณยอดใดที่จะนำมาใช้จ่ายหรือมีแต่ไม่พอ ให้เสนอขออนุมัติใช้เงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ข้อ ๗[๒] ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการขอยืมเงินสะสม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือรองผู้อำนวยการสำนักการคลังที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดีหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือผู้แทน ผู้อำนวยการกองตรวจจ่ายหรือผู้แทน เลขานุการสำนักการคลังหรือผู้แทน เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองบัญชี เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการพิจารณาการขอยืมเงินสะสมแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน ๒ คน คณะกรรมการพิจารณาขอยืมเงินสะสม มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ และมีอำนาจในการเรียกให้หน่วยงานชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐาน ตลอดจนสั่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจง หรือให้ถ้อยคำประกอบการพิจารณา ข้อ ๘ การขอยืมเงินสะสม ให้เสนอเรื่องขอยืมเงินสะสมพร้อมเหตุผลสรุปการพิจารณาดำเนินการตามความในข้อ ๖ เสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาการขอยืมเงินสะสมไปยังสำนักการคลัง ข้อ ๙[๓] เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้หน่วยงานยืมเงินสะสมแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ ๙.๑ ให้กองบัญชี สำนักการคลังแจ้งการอนุมัติพร้อมสำเนาบันทึกอนุมัติให้หน่วยงานทราบ และให้หน่วยงานจัดทำใบยืมเงินสะสม หรือหนังสือการยืมเงินสะสมไปเป็นเงินทดรองราชการ แล้วแต่กรณี ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ส่งให้กองบัญชี สำนักการคลังภายใน ๗ วัน นับแต่วันทราบการอนุมัติ เพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามอนุมัติในใบยืมเงินสะสมหรือหนังสือการยืมเงินสะสมไปเป็นเงินทดรองราชการ แล้วแต่กรณี ๙.๒ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามอนุมัติในใบยืมหรือหนังสือการยืมเงินสะสมไปเป็นเงินทดรองราชการแล้ว ให้กองบัญชี สำนักการคลังส่งคู่ฉบับใบยืมเงินสะสมหรือหนังสือการยืมเงินสะสมดังกล่าวพร้อมด้วยสำเนาหลักฐานประกอบการพิจารณาอนุมัติและเรื่องเดิมคืนหน่วยงาน ๙.๓ เมื่อหน่วยงานได้รับหลักฐานการอนุมัติจากกองบัญชี สำนักการคลังแล้ว ให้หน่วยงานสำเนาหลักฐานอนุมัติให้ยืมเงินสะสมส่งกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินสะสม และส่งให้กองงบประมาณสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบการตรวจสอบการขอตั้งงบประมาณชดใช้เงินยืมสะสมภายใน ๗ วัน นับแต่วันทราบการอนุมัติตามข้อ ๙.๒ ๙.๔[๔] ให้หน่วยงานรายงานผลการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินสะสมไปยังกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และกองบัญชี สำนักการคลัง ทุกๆ ๔ เดือน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสิ้นระยะเวลาเงินประจำงวดของแต่ละงวด ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับอนุมัติให้ยืมเงินสะสมแล้ว ให้หน่วยงานรีบดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน ภายในกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่วันได้รับอนุมัติให้ยืมเงินสะสม ในกรณีที่หน่วยงานที่ความจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดให้ต่างไปจากที่ได้รับอนุมัติ ให้หน่วยงานรายงานเหตุผลและความจำเป็นเสนอขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๘ โดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่หน่วยงานยังมิได้ก่อหนี้ผูกพันภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๑๐ และยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินสะสม ให้หน่วยงานรายงานเหตุผลความจำเป็นและเหตุที่ทำให้การดำเนินการล่าช้าต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ ทั้งนี้ หน่วยงานจะต้องดำเนินการก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๑๐ ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๘ โดยอนุโลม การขยายเวลาก่อหนี้ผูกพันให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกิน ๙๐ วัน ข้อ ๑๒[๕] เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้หน่วยงานขอตั้งงบประมาณชดใช้เงินยืมสะสมในหมวดรายจ่ายอื่นให้ครบถ้วนโดยคิดเฉพาะรายการที่ได้ก่อหนี้ผูกพันแล้วก่อนวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่ขอตั้งงบประมาณ ข้อ ๑๓ การพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ให้นำข้อบัญญัติหรือระเบียบที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบหนังสือการยืมเงินสะสมไปเป็นเงินทดรองราชการ ๒. แบบใบยืมเงินสะสม ๓. รายงานผลการดำเนินการใช้จ่ายเงินยืมเงินสะสม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๖] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗[๗] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘[๘] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๕๓/ฉบับพิเศษหน้า ๒๔/๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ [๒] ข้อ ๗ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๔] ข้อ ๙.๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๕] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๖ ง/หน้า ๑๓/๑๘ มกราคม ๒๕๓๙ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๒๘/๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๐๕ ง/หน้า ๑๔/๒๖ กันยายน ๒๕๔๘
533255
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. 2536 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๒๘ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ส่วนที่ ๑ การเตรียมการเลือกตั้ง ตอนที่ ๑ จำนวนสมาชิกสภาเขต ข้อ ๔ เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะมีในแต่ละเขตเลือกตั้งให้ผู้อำนวยการเขตประกาศชี้แจงแก่ราษฎรในเขตปกครองให้ทราบประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวโดยทั่วถึงกัน ตอนที่ ๒ ประกาศวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัคร ข้อ ๕ เมื่อได้มีประกาศกรุงเทพมหานครให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตเลือกตั้งใดแล้วให้ผู้อำนวยการเขตประกาศวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครตามประกาศกรุงเทพมหานครนั้นให้ประชาชนทราบตามแบบ ส.ข. ๔ และให้ปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต และที่สาธารณะซึ่งเห็นได้ง่ายตามที่เห็นสมควรในเขตเลือกตั้งนั้นโดยเร็ว ข้อ ๖ นอกจากการปิดประกาศตามข้อ ๕ แล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตดำเนินการโฆษณาให้ประชาชนได้ทราบโดยวิธีอื่นอีกเท่าที่จะทำได้ เช่น ประชุมชี้แจงผู้นำท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้ไปชี้แจงแก่ประชาชนให้ทราบโดยทั่วถึงกัน การดำเนินการดังกล่าวจะต้องดำเนินการก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และเมื่อใกล้วันเลือกตั้งให้ดำเนินการซ้ำอีก ตอนที่ ๓ หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง ข้อ ๗ ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในเขตใด ตามข้อ ๓๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้น ให้ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดหน่วยเลือกตั้งภายในเขต โดยใช้แบบ ส.ข. ๕ และปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต ที่สาธารณะที่เห็นได้ง่าย และที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้ง ก็ให้กระทำได้ โดยประกาศตามแบบ ส.ข. ๖ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินจะประกาศเปลี่ยนแปลงเขตของหน่วยเลือกตั้งหรือยุบ หรือรวมหน่วยเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่า ๑๕ วันก็ได้ เมื่อประกาศเปลี่ยนแปลงแล้วให้ปิดประกาศไว้ ณ ที่เดียวกับประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง การประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งภายในเขตตามวรรคหนึ่งนั้น ควรประกาศพร้อมกัน ข้อ ๘ การกำหนดหน่วยเลือกตั้งให้ถือหลักเกณฑ์การพิจารณาดังต่อไปนี้ (๑) ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้เลือกตั้งหน่วยละแปดร้อยคนเป็นประมาณ (๒) ถ้าหน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้เลือกตั้งเกินหนึ่งพันสองร้อยคน ให้กำหนดหน่วยเลือกตั้งเพิ่มขึ้น โดยถือเกณฑ์ผู้เลือกตั้งหน่วยละแปดร้อยคนเป็นประมาณ (๓) ถ้าหน่วยเลือกตั้งใดการคมนาคมไม่สะดวก หรือไม่ปลอดภัย แม้จำนวนผู้เลือกตั้งจะไม่ถึงแปดร้อยคนจะกำหนดหน่วยเลือกตั้งเพิ่มขึ้นตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควรโดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้เลือกตั้งก็ได้ หรือไม่กำหนดหน่วยเลือกตั้งเพิ่มขึ้นก็ได้ ข้อ ๙ ถ้าแขวงใดมีหน่วยเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งหน่วย ให้กำหนดเป็นหน่วยเลือกตั้งที่ ๑,๒,๓ ฯลฯ เรียงไปตามลำดับ และให้จัดทำแผนที่สังเขปแสดงเขตของหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยขนาดพอเห็นได้ชัดเจน ประกอบไว้ด้วยการทำแผนที่นี้ต้องให้ใกล้เคียงกับความจริงที่สุดโดยแสดงเขตติดต่อทั้งสี่ด้าน ข้อ ๑๐ เมื่อได้มีประกาศกรุงเทพมหานครให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขตในเขตเลือกตั้งใดแล้วให้ผู้อำนวยการเขตประกาศระบุที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง ตามข้อ ๓๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยใช้แบบ ส.ข. ๗ และให้ปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต ที่สาธารณะที่เห็นได้ง่ายในเขตของหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเลือกตั้ง ข้อ ๑๑ ที่เลือกตั้ง ต้องเป็นที่ซึ่งประชาชนเข้าออกได้ง่าย มีความเหมาะสมและขนาดพอที่จะทำการเลือกตั้งได้สะดวก และควรตั้งอยู่ในย่านกลางของหน่วยเลือกตั้ง เพื่อผู้เลือกตั้งไปทำการเลือกตั้งและตรวจดูบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งได้ง่าย ถ้าสามารถใช้สาธารณสถานได้ก็จะเป็นการเหมาะสม ข้อ ๑๒ ให้ผู้อำนวยการเขตจัดเตรียมหาเครื่องประกอบสำหรับที่เลือกตั้งไว้ให้พร้อมก่อนวันเลือกตั้ง คือ โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับคณะกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนน ที่วางหีบบัตรเลือกตั้ง กระดานดำ หรือสิ่งอื่นที่ใช้แทนได้ ป้ายปิดประกาศรูปผู้สมัคร ป้ายบอกที่เลือกตั้ง เครื่องประกอบคูหาลงคะแนน นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตจัดหาน้ำหมึก ปากกา ดินสอ กระดาษ ชอล์ค ครั่ง กาว หรือแป้งเปียก และสิ่งอื่นๆ ที่ต้องใช้ไว้ด้วย ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำเครื่องหมายแสดงบริเวณโดยรอบที่เลือกตั้งโดยทำป้ายบอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดชักชวนขอคะแนนหรือทำการปิดประกาศโฆษณาเพื่อการเลือกตั้ง ข้อ ๑๔ ป้ายบอกที่เลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการเขตปิดแสดงไว้ทางด้านหน้าของที่เลือกตั้ง โดยให้มีข้อความดังนี้ “ที่เลือกตั้งสำหรับหน่วยเลือกตั้ง แขวง เขต ” ข้อ ๑๕ ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำคูหาลงคะแนนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันเลือกตั้งและให้ตรวจตราความเรียบร้อยด้วย คูหาลงคะแนนต้องจัดตั้งบนโต๊ะให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และห่างกันคูหาละ ๕๐ เซนติเมตร โดยประมาณ เพื่อให้ผู้เลือกตั้งไปทำการลงคะแนนได้โดยไม่เป็นการเปิดเผย ข้อ ๑๖ ในวันเลือกตั้ง ให้ชักธงชาติขึ้นที่ด้านหน้าของที่เลือกตั้ง เช่นเดียวกับการชักธงสถานที่ราชการต่างๆ เมื่อเสร็จการเลือกตั้งให้ชักธงลง ข้อ ๑๗ ในที่เลือกตั้งอย่างน้อยให้มีประกาศรายชื่อผู้สมัครพร้อมเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครติดตั้งไว้ให้ผู้เลือกตั้งมองเห็นได้ชัดเจนขณะอยู่ในคูหาลงคะแนน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เลือกตั้งในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ห้ามมิให้ปิดประกาศรายชื่อผู้สมัครและเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครไว้ในคูหาลงคะแนน ตอนที่ ๔ การประชาสัมพันธ์ ข้อ ๑๘ เมื่อมีประกาศกรุงเทพมหานครให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต ให้กำหนดสถานที่ในการปิดประกาศโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งไว้ตามสมควร ตามเงื่อนไขข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๑๙ ก่อนวันเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการเชิญชวนผู้เลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยทั่วกัน และจัดให้มีการชี้แจงโดยวิธีการต่างๆ ตามสภาพของท้องที่ให้ราษฎรในเขตการปกครองมีความเข้าใจในวิธีการลงคะแนน และให้ทราบกำหนดวันเลือกตั้ง เขตของหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งด้วย ข้อ ๒๐ ในการปิดประกาศต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น ประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง ประกาศระบุที่เลือกตั้ง และประกาศบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง เป็นต้น ถ้าจะจัดให้มีการปะชุมราษฎรเพื่อชี้แจงพร้อมกันไปด้วยก็จะเป็นการสมควร ข้อ ๒๑ ก่อนวันเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการเขตปิดบัตรเลือกตั้งตัวอย่างไว้ ณ ที่ซึ่งปิดบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งทุกแห่ง บัตรเลือกตั้งตัวอย่าง ให้มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับบัตรเลือกตั้งของจริง แต่ให้ใช้กระดาษสีอื่น ตอนที่ ๕ เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง กรรมการตรวจลงคะแนน และเจ้าหน้าที่คะแนน ข้อ ๒๒ ให้ผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งข้าราชการเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อยหน่วยละหนึ่งคน สำหรับจัดการให้ความสะดวกแก่คณะกรรมการตรวจคะแนน ณ ที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้งและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง ควรแต่งตั้งจากข้าราชการซึ่งมีภูมิลำเนาหรือปฏิบัติราชการอยู่ในท้องที่เขตนั้น นอกจากเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบไปประจำทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ณ ที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้งแห่งละหนึ่งคนเป็นอย่างน้อย ข้อ ๒๓ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน ให้ผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อยหน่วยละเจ็ดคน และให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งหน่วยละหนึ่งคนเป็นอย่างน้อย ข้อ ๒๔ การแต่งตั้งกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนให้ประกาศตามแบบ ส.ข. ๙ และมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งทราบ ตามแบบ ส.ข. ๑๐ ให้ผู้อำนวยการเขตปิดประกาศแต่งตั้งกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนไว้ ณ สำนักงานเขตและที่เลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกัน ข้อ ๒๕ การแต่งตั้งกรรมการตรวจคะแนน ให้ผู้อำนวยการเขตพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๓๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คะแนน ให้ผู้อำนวยการเขตพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลที่เห็นว่าจะปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยไม่เสื่อมเสียแก่ความยุติธรรม และควรแต่งตั้งจากผู้เลือกตั้งซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๓๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ และควรแต่งตั้งจากข้าราชการหรือครูซึ่งมีภูมิลำเนาหรือปฏิบัติราชการอยู่ในท้องที่เขตนั้น. ข้อ ๒๖ กรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนผู้ใด ซึ่งผู้อำนวยการเขตได้ประกาศแต่งตั้งไว้แล้ว ต่อมาปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้ไม่สมควรหรือมีความจำเป็นต้องให้พ้นจากหน้าที่และแต่งตั้งผู้อื่นแทน ก็ให้ดำเนินการประกาศถอดถอนและแต่งตั้งใหม่โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องประกาศก่อนวันเลือกตั้ง ประกาศถอดถอนกรรมการตรวจคะแนน หรือเจ้าหน้าที่คะแนนและแต่งตั้งผู้อื่นแทนให้ดัดแปลงใช้แบบ ส.ข. ๙ โดยอนุโลม และให้ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่แห่งเดียวกับที่ได้ประกาศแต่งตั้งครั้งแรก ข้อ ๒๗ เจ้าหน้าที่คะแนนมีหน้าที่ขีดคะแนนบนกระดานดำในการนับคะแนน ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจคะแนน และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ตอนที่ ๖ การอบรมเจ้าหน้าที่ ข้อ ๒๘ ก่อนวันเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการอบรมเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง กรรมการตรวจคะแนน และเจ้าหน้าที่คะแนน ให้เข้าใจถึงหน้าที่ของตนตามกฎหมายและระเบียบอันพึงจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส่วนที่ ๒ สิทธิเลือกตั้งและการสมัครรับเลือกตั้ง ตอนที่ ๑ บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง ข้อ ๒๙ เมื่อได้มีประกาศกรุงเทพมหานครให้เลือกตั้งสมาชิกสภาเขตแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งขึ้น โดยให้ผู้อำนวยการเขตดำเนินการคัดบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งตามหลักฐานในทะเบียนบ้าน ตามชื่อถนน ตรอก ซอย หรือหมู่บ้านตามลำดับเลขหมายประจำบ้าน บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งให้ใช้แบบ ส.ข. ๑๓ ข้อ ๓๐ บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งตามข้อ ๒๙ ให้จัดทำหน่วยเลือกตั้งละหกชุด ในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งนี้ ให้ใช้วิธีพิมพ์ พิมพ์ดีด อัดสำเนา หรือถ่ายภาพจากต้นฉบับที่พิมพ์ หรือพิมพ์ดีด และสำหรับบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งที่จัดทำเสร็จแล้ว ให้ลงลายมือชื่อผู้พิมพ์ ผู้ทาน และชื่อผู้อำนวยการเขตกำกับไว้ทุกแผ่น บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งแต่ละชุดให้ผู้อำนวยการเขตดำเนินการดังต่อไปนี้ ก. ชุดที่ ๑ ปิดไว้ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่ายในเขตของหน่วยเลือกตั้งนั้น ข. ชุดที่ ๒ ปิดไว้ ณ ที่เลือกตั้ง หรือบริเวณใกล้เคียงแห่งหน่วยเลือกตั้งนั้น ค. ชุดที่ ๓ – ๔ มอบให้คณะกรรมการตรวจคะแนนแห่งหน่วยเลือกตั้งนั้น สำหรับใช้ในการเลือกตั้ง ๑ ชุด สำรองไว้ปิด ณ ที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้งอีก ๑ ชุด ง. ชุดที่ ๕ ปิดไว้ ณ สำนักงานเขต จ. ชุดที่ ๖ เก็บไว้เป็นหลักฐาน ณ สำนักงานเขต การปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งนี้ ให้กระทำไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเลือกตั้ง ข้อ ๓๑ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ให้ผู้อำนวยการเขตทำหนังสือถึงเจ้าบ้านแจ้งรายชื่อของผู้เลือกตั้งที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน ซึ่งปรากฏหลักฐานตามทะเบียนบ้านในเขตนั้นไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้ทราบโดยทั่วกัน การทำหนังสือถึงเจ้าบ้านให้ใช้ตามแบบ ส.ข. ๘ ข้อ ๓๒ ถ้ามีผู้ร้องว่าตนควรมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใดตามนัยข้อ ๒๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตพิจารณาสอบสวนหลักฐาน ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิเลือกตั้งได้ตามคำร้องก็ให้ผู้อำนวยการเขตเติมชื่อผู้ร้องลงในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งโดยเร็ว ถ้าผู้อำนวยการเขตเห็นว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิเลือกตั้งก็ให้สั่งยกคำร้องและแจ้งให้ผู้ร้องทราบโดยเร็ว คำสั่งดังกล่าวต้องสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๓๓ ในการที่ผู้อำนวยการเขตได้สั่งยกคำร้องของผู้ซึ่งร้องว่า ตนสมควรมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งนั้น ถ้าหากผู้นั้นยังติดใจสงสัยอยู่ก็ให้แนะนำให้ไปยื่นคำร้องต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครสั่งอย่างไรก็ให้ปฏิบัติไปตามนั้น ข้อ ๓๔ ถ้ามีผู้ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขตว่าตามบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งซึ่งผู้อำนวยการเขตประกาศไว้นั้น มีชื่อบุคคลซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายขอให้ถอนชื่อบุคคลนั้นออกเสียจากบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๓๒ และข้อ ๓๓ โดยอนุโลม ตอนที่ ๒ การสมัครรับเลือกตั้ง ข้อ ๓๕ ในการสมัครรับเลือกตั้งให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบ ส.ข. ๑ ตามเวลาปฏิบัติราชการ เว้นแต่กรุงเทพมหานครจะสั่งการเป็นอย่างอื่น พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมการสมัคร หลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่าย และหลักฐานอื่นซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครเป็นผู้มีคุณสมบัติของผู้สมัคร และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดไว้ ข้อ ๓๖ เมื่อมีผู้มายื่นใบสมัครรับเลือกตั้งตามข้อ ๓๕ ผู้อำนวยการเขตจะต้องจัดให้มีบันทึกการรับไว้เป็นหลักฐาน และออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นใบสมัครในวันที่รับใบสมัครนั้น โดยใช้แบบ ส.ข. ๑๔ แล้วดำเนินการสอบสวนคุณสมบัติของผู้สมัครตามลำดับที่ได้รับสมัคร การรับสมัครนี้ ผู้อำนวยการเขตจะต้องจัดสถานที่ให้เหมาะสมและให้เป็นการสะดวกแก่การรับสมัครด้วย ข้อ ๓๗ ในระหว่างเปิดการรับสมัคร ถ้าเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครมาพร้อมกันหลายคน และต่างชิงกันที่จะให้รับใบสมัครของตนก่อน หากไม่มีทางอื่นที่จะตกลงกันได้แล้วก็ให้ใช้วิธีจับสลาก ผู้สมัครจะจับสลากระหว่างกันเองหรือจะให้ผู้อำนวยการเขตดำเนินการจับให้ก็ได้ แต่ต้องกระทำโดยเปิดเผยและสลากนั้นให้ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้จัดทำขึ้นเท่ากับจำนวนผู้ที่ต้องการจับสลากในเขตเลือกตั้งนั้น ในการจับสลากหากได้ลำดับใดแล้ว ให้รับสมัครเรียงลำดับกันไป เมื่อรับสมัครแล้วให้ออกใบรับตามข้อ ๓๖ ข้อ ๓๘ เมื่อได้รับใบสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตทำการสอบสวนคุณสมบัติของผู้สมัครโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร ถ้าปรากฏว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดมีคุณสมบัติครบถ้วนและมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งได้ก็ให้ผู้อำนวยการเขตประกาศรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งตามแบบ ส.ข. ๑๕ และให้ปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเขต แล้วทำหนังสือแจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็วตามแบบ ส.ข. ๑๖ ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ผู้อำนวยการเขตได้สอบสวนแล้วเห็นว่า ผู้สมัครคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะอันต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้สั่งไม่รับสมัครและแจ้งการไม่รับสมัครนั้น ให้ผู้สมัครทราบโดยเร็วโดยใช้แบบ ส.ข. ๑๗ แต่ผู้สมัครมีสิทธิยื่นคำร้องต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งอย่างใด ให้ผู้อำนวยการเขตรีบปฏิบัติตามคำสั่งปลัดกรุงเทพมหานครโดยเร็ว ข้อ ๔๐ การกำหนดเลขหมายประจำตัวผู้สมัคร ให้เป็นไปตามข้อ ๒๐ วรรคท้าย แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ผู้อำนวยการเขตประกาศชื่อผู้สมัคร ตามแบบ ส.ข. ๑๘ ไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต ที่สาธารณะที่เห็นได้ง่าย และที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงที่เลือกตั้งโดยเร็ว ข้อ ๔๑ เมื่อพ้นกำหนดเวลารับสมัครแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามแบบ ส.ข. ๑๙ เพื่อมอบแก่คณะกรรมการตรวจคะแนนหน่วยเลือกตั้งละ ๒ ฉบับ บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนปิดไว้ ณ ที่เห็นได้ง่ายหน้าที่เลือกตั้ง ๑ ฉบับ และให้เก็บไว้ใช้ตรวจสอบ ๑ ฉบับ ส่วนที่ ๓ การดำเนินการเลือกตั้ง ข้อ ๔๒[๒] บัตรเลือกตั้งให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็น โดยบัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งให้เย็บเป็นเล่มๆ ละไม่เกินยี่สิบห้าบัตรให้มีปกหน้าและปกหลัง และมีรอยปรุ เพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้ ปกหน้าอย่างน้อยให้มีรายการดังนี้ เล่มที่ ............... เลขที่.............. ถึงเลขที่................... จำนวน..........บัตร บัตรเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต หน่วยเลือกตั้งที่ .................... แขวง ........................ เขต ......................... กรุงเทพมหานคร ที่เลือกตั้ง............................................. และมีช่องสำหรับลงลายมือผู้มอบบัตรเลือกตั้งและผู้รับมอบบัตรเลือกตั้ง ปกหลังอย่างน้อยให้มีรายการดังนี้ บัตรเลือกตั้งจำนวน ........................ บัตร ใช้แล้วจำนวน............... บัตร ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วเหลือจำนวน ............................. บัตร และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนผู้ตรวจสอบและนำส่ง ปกบัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้โดยอนุโลม ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งอย่างน้อยให้มีรายการดังนี้ เล่มที่........... เลขที่ .......... อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้งและมีที่ลงลายมือชื่อของกรรมการตรวจคะแนนผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้ง และมีช่องสำหรับเขียนชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้เลือกตั้งด้วย บัตรเลือกตั้งมีลักษณะ ดังนี้ (๑) บัตรเลือกตั้งเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบขวา ถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑและระหว่างตราครุฑกับแถบสีมีข้อความว่า “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต” (๒) ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า “ไม่ประสงค์ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดเลยให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) ใน “ช่องไม่ลงคะแนน” นี้” และมีลูกศรชี้ตรงช่องไม่ลงคะแนนด้านบนของช่องมีข้อความว่า “ช่องไม่ลงคะแนน” และมีช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายหนึ่งช่อง ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า “ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) ใน “ช่องทำเครื่องหมาย” นี้” และมีลูกศรตรงช่องทำเครื่องหมาย ในบัตรเลือกตั้งให้มีช่องเลขหมายประจำตัวผู้สมัคร และให้มีช่องทำเครื่องหมายสำหรับทำเครื่องหมายกากบาท บัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้โดยอนุโลม และหากจะนำไปใช้ในการเลือกตั้งครั้งใด เมื่อใด ให้มีการประทับตราประจำตำแหน่งผู้อำนวยการเขตท้องที่หรือเครื่องหมายอื่นของผู้อำนวยการเขตท้องที่ ลงบนบัตรเลือกตั้งด้านนอก ข้อ ๔๓ ผู้อำนวยการเขตจะต้องมอบหีบบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง (ส.ข. ๑๓) สำหรับหน่วยเลือกตั้ง บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง (ส.ข. ๑๙) ประกาศผลการนับคะแนน (ส.ข. ๓) รายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) แบบกรอกคะแนน (ส.ข. ๒๐) ป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้ง (ส.ข. ๒๑) และอุปกรณ์การเลือกตั้งอื่นๆ แก่คณะกรรมการตรวจคะแนนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการเปิดการลงคะแนน โดยให้มีเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือกตั้ง แบบพิมพ์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้ในการเลือกตั้ง ทั้งนี้ ต้องพิจารณาและคำนวณด้วยความรอบคอบ ให้มีจำนวนเพียงพอที่จะใช้ในการลงคะแนนด้วย ข้อ ๔๔ ในวันเลือกตั้ง ผู้มีหน้าที่ไปประจำ ณ ที่เลือกตั้งตามข้อ ๒๒ คณะกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนต้องไปถึงที่เลือกตั้งก่อนเวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา ก่อนเวลาเปิดการรับลงคะแนนครึ่งชั่วโมงให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเลือกกรรมการตรวจคะแนนคนหนึ่งขึ้นเป็นประธาน เมื่อประธานไม่อยู่ในที่เลือกตั้งหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการตรวจคะแนนเลือกกรรมการตรวจคะแนนอื่นเป็นประธานไปพลางก่อนจนกว่าประธานที่ได้เลือกตั้งไว้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก่อนถึงเวลาเปิดการลงคะแนน คณะกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนต้องจัดแบ่งหน้าที่กันให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๑ วรรคสามและวรรคสี่ ข้อ ๔๕ ถ้าสามารถจะทำได้ ให้กรรมการตรวจคะแนนชี้แจงวิธีการลงคะแนนให้ผู้เลือกตั้งซึ่งมาใช้สิทธิลงคะแนนทราบ แต่พึงระวังอย่าชี้แจงให้เป็นเชิงแนะนำ สนับสนุนโดยเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด ข้อ ๔๖ เมื่อจะถึงเวลา ๐๗.๕๐ นาฬิกา ให้ประธานกรรมการตรวจคะแนนเปิดหีบบัตรเลือกตั้งแสดงให้ผู้เลือกตั้งซึ่งอยู่ ณ ที่นั้นเห็นว่าเป็นหีบเปล่า แล้วปิดหีบใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจวางไว้ ณ ที่วางหีบบัตรเลือกตั้งซึ่งได้จัดไว้ และให้คณะกรรมการตรวจคะแนนบันทึกการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งขึ้นไว้ในหลังรายงานแสดงผลของการนับคะแนนตามแบบ ส.ข. ๒ โดยให้ผู้เลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกตั้งในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย ข้อ ๔๗ เมื่อถึงเวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ให้ประธานกรรมการตรวจคะแนนกล่าวเปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ ถึงเวลาลงคะแนนแล้ว ขอเปิดการลงคะแนน” แล้วจึงเริ่มดำเนินการลงคะแนนต่อไป ข้อ ๔๘[๓] (ยกเลิก) ข้อ ๔๙[๔] เมื่อผู้เลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว ให้ไปยังคูหาลงคะแนนเพื่อทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้งได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะพึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้งและนำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองต่อหน้ากรรมการตรวจคะแนน ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เลือกตั้งที่เป็นคนพิการเป็นกรณีพิเศษ เช่น จัดให้มีกรรมการตรวจคะแนนคอยช่วยเหลือ แนะนำวิธีการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่คนพิการ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจคะแนนหรือจัดให้มีคูหาลงคะแนนสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ เป็นต้น ข้อ ๕๐ ผู้ใดแสดงตนว่าเป็นผู้เลือกตั้ง แต่กรรมการตรวจคะแนนตรวจไม่พบชื่อผู้นั้นในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง ให้แจ้งแก่ผู้นั้นว่า “ไม่มีสิทธิลงคะแนน” ห้ามมิให้กรรมการตรวจคะแนนเพิ่มชื่อผู้นั้นลงไปโดยพลการแม้จะทราบว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเป็นผู้เลือกตั้งได้ก็ตาม แต่ถ้าผู้นั้นยังยืนยันว่าตนมีสิทธิที่จะลงคะแนนได้ เช่น อ้างว่าได้ยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขต หรือปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตหรือปลัดกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ลงชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งแล้วแต่ผู้อำนวยการเขตมิได้ลงชื่อให้ เป็นต้น ก็ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนสอบสวนหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดว่า จะให้ผู้นั้นลงคะแนนเลือกตั้งหรือไม่ และบันทึกไว้ในด้านหลังรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจคะแนนวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้นั้นลงคะแนนได้ ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนหมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง (ส.ข. ๑๓) ด้วย ข้อ ๕๑ ผู้ใดแสดงตนว่าเป็นผู้เลือกตั้งและมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง แต่คำนำหน้าชื่อหรือรายการแสดงเพศในช่อง “เพศ” ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือการสะกดชื่อ ชื่อสกุล ผิดในเรื่องตัวอักษร สระหรือวรรณยุกต์ ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดว่าสมควรจะมอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้นไปลงคะแนนหรือไม่ แล้วบันทึกไว้ในหลังรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) ด้วย ข้อ ๕๒ เมื่อผู้เลือกตั้งผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการเลือกตั้ง หรือเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่ตนประจำอยู่ ประสงค์จะลงคะแนน ณ หน่วยเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนตรวจสอบหลักฐานคำสั่งแต่งตั้งของผู้อำนวยการเขต เมื่อตรวจสอบเห็นว่ามีสิทธิจะลงคะแนนได้ตามข้อ ๕๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ให้เพิ่มชื่อผู้นั้นในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก แล้วมอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้นไปลงคะแนน ข้อ ๕๓[๕] (ยกเลิก) ข้อ ๕๔ ในระหว่างเปิดการลงคะแนน กรรมการตรวจคะแนนจะออกไปจากที่เลือกตั้งได้เพียงคราวละหนึ่งคน แต่ทั้งนี้ จะต้องมีกรรมการตรวจคะแนนอยู่ในที่เลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ข้อ ๕๕ ในระหว่างเวลาเวลาเปิดการลงคะแนน ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปในที่เลือกตั้ง เว้นแต่ผู้มีหน้าที่ในการเลือกตั้ง ผู้ที่เข้าไปเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตแห่งท้องที่นั้นรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขตแห่งท้องที่นั้นมีสิทธิเข้าไปในที่เลือกตั้งเพื่อทำการสอดส่องดูแล หรือแนะนำให้การปฏิบัติการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยเฉพาะที่คูหาลงคะแนนจากผู้เลือกตั้งซึ่งไปทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งของตนแล้ว ผู้ใดจะเข้าไปไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็น เช่น กรรมการตรวจคะแนนนำดินสอ หรือปากกาไปแทนอันเดิมที่ใช้ไม่ได้ และให้คณะกรรมการตรวจคะแนนบันทึกเหตุการณ์ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขตแห่งท้องที่เข้าไปในที่เลือกตั้ง หรือบันทึกเหตุผลในกรณีจำเป็น แล้วแต่กรณี ไว้ในหลังรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) ด้วย ข้อ ๕๖ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน ห้ามมิให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้ง เว้นแต่จะมีความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น มีบัตรคาอยู่ที่ช่อง ใส่อีกไม่ลง ดังนี้เป็นต้น คณะกรรมการตรวจคะแนนจึงจะเปิดได้แต่จะเอาบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรไม่ได้ และเมื่อเปิดแล้วก็ให้ปิดใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้ตามเดิม ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจคะแนนจะต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้เลือกตั้งซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น และให้บันทึกแสดงเหตุผลในการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งนั้นไว้ในด้านหลังรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) ด้วย โดยให้ผู้เลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองคนซึ่งอยู่ในที่เลือกตั้งในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย ข้อ ๕๗ เมื่อถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ให้ประธานกรรมการตรวจคะแนนประกาศปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกาแล้ว ให้ปิดการลงคะแนน” กรณีที่ผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิเลือกตั้งต่อคณะกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งภายในกำหนดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งแล้วยังไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง และยังเหลืออยู่ในที่เลือกตั้งก็ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งจ่ายบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้มาแสดงตนนั้นทำการลงคะแนนเลือกตั้งจนเสร็จสิ้น และบันทึกในรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข.๒) ด้วย[๖] ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงคะแนนหรือนับคะแนนเนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย หรือเหตุนอกอำนาจอย่างอื่น ให้คณะกรรมการการตรวจคะแนนสั่งเลิกการลงคะแนนหรือนับคะแนน แล้วรายงานผู้อำนวยการเขตเพื่อให้ปลัดกรุงเทพมหานครดำเนินการตามนัยข้อ ๖๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยใช้แบบ ส.ข. ๒๒ ข้อ ๕๘ ก่อนปิดการลงคะแนน ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนและเจ้าหน้าที่คะแนนแบ่งหน้าที่ในการนับคะแนนกันให้เป็นส่วนสัด เช่น เจ้าหน้าที่คะแนนเป็นผู้กรอกคะแนนบนกระดานดำ กรรมการตรวจคะแนนสองคนแรกเป็นผู้กรอกคะแนนในแบบกรอกคะแนน (ส.ข. ๒๐) กรรมการตรวจคะแนนคนที่สามเป็นผู้อ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครที่ปรากฏอยู่ในบัตรเลือกตั้ง ส่วนกรรมการตรวจคะแนนที่เหลือให้ช่วยทำหน้าที่อื่นและคอยดูเครื่องหมายที่อ่านว่าถูกต้องหรือไม่ ข้อ ๕๙[๗] เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนเปิดหีบบัตรเลือกตั้งออกเพื่อนับคะแนนโดยไม่ชักช้า การเปิดหีบบัตรเลือกตั้งและนับคะแนนนี้ต้องกระทำโดยเปิดเผยและต้องให้เสร็จในรวดเดียว จะเลื่อนหรือประวิงเวลาไม่ได้ (ยกเลิก) [๘] (ยกเลิก) [๙] ข้อ ๖๐ การนับคะแนน ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ห้ามมิให้เทบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรเลือกตั้ง (๒) ในการนับคะแนน ให้กรรมการตรวจคะแนนคนหนึ่งหยิบบัตรเลือกตั้งทีละบัตรออกมาจากหีบบัตรเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการตรวจคะแนนวินิจฉัยว่าบัตรเลือกตั้งนั้นเป็นบัตรดีหรือบัตรเสีย ถ้าเป็นบัตรดีให้ดำเนินการต่อไป ถ้าเป็นบัตรเสียตามข้อ ๗๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้กรรมการตรวจคะแนนสลักหลังว่า “เสีย” ที่ด้านนอกตรงใต้ตราครุฑ และให้กรรมการตรวจคะแนนไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ โดยให้แยกบัตรเสียออกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก (๓) การอ่านลงคะแนน ให้กรรมการตรวจคะแนนอ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครที่ปรากฏในบัตรเลือกตั้งนั้นดังๆ และชูให้กรรมการตรวจคะแนนอื่น ผู้สมัคร และประชาชนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้นได้เห็นด้วย (๔) เมื่ออ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครตาม (๓) แล้ว ให้กรรมการตรวจคะแนนทำหน้าที่อ่านวางบัตรเลือกตั้งลงในภาชนะที่จัดไว้สำหรับใส่บัตรเลือกตั้งเพื่อการนับคะแนนโดยจัดวางให้เป็นระเบียบและระมัดระวังมิให้บัตรเลือกตั้งนั้นฉีกขาดหรือชำรุดหรือเลอะเลือน (๕) เมื่อหยิบบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรเลือกตั้งหมดแล้ว ให้คว่ำหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้ากรรมการตรวจคะแนน ผู้สมัคร และประชาชนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อแสดงว่าได้หยิบบัตรเลือกตั้งออกจากหีบบัตรเลือกตั้งหมดแล้ว เสร็จแล้วจึงหงายหีบบัตรเลือกตั้งไว้ตามเดิม ข้อ ๖๑ การวินิจฉัยบัตรเสียต้องเป็นไปตามข้อ ๗๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖๒ ในการนับคะแนนให้ใช้ทั้งแบบกรอกคะแนนตามแบบ ส.ข. ๒๐ และกระดานดำสำหรับขีดคะแนนควบคู่กันไปในขณะเดียวกัน โดยให้กรรมการตรวจคะแนนเป็นผู้กรอกคะแนนลงในแบบกรอกคะแนน และเจ้าหน้าที่คะแนนเป็นผู้กรอกคะแนนบนกระดานดำ เมื่อกรรมการตรวจคะแนนผู้มีหน้าที่อ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร ได้อ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครคนใดแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่กรอกคะแนนขีดคะแนนลงในแบบกรอกคะแนนและบนกระดานดำสำหรับกรอกคะแนนพร้อมกันคนละหนึ่งขีดต่อหนึ่งเครื่องหมาย โดยขีดคะแนนลงในช่องกรอกคะแนนของผู้สมัครที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายนั้น ถ้าเป็นการกรอกคะแนนลงในแบบกรอกคะแนน ให้ขีดคะแนนตั้งแต่ช่องที่หนึ่งของบรรทัดแรกเรียงต่อกันไปจนถึงช่องที่ห้าสิบ เมื่อสุดช่องที่หาสิบแล้ว จึงเริ่มต้นบรรทัดที่สอง ตั้งแต่ช่องที่หนึ่งไปใหม่อีกทำนองเดียวกัน สำหรับการกรอกคะแนนบนนกระดานดำ ให้ใช้วิธีขีดโดยนับขีดหนึ่งต่อหนึ่งคะแนน แต่เมื่อถึงขีดที่ ๕ ให้ขีดขวางทับเส้น ๔ ขีดแรก ดังรูปนี้ |||| เพื่อสะดวกแก่การนับคะแนนและให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุก ๕ ขีด ข้อ ๖๓ เมื่อเสร็จการกรอกคะแนนแล้ว ให้จัดการรวมคะแนนและตรวจสอบคะแนนบนกระดานดำกับคะแนนในแบบกรอกคะแนน ถ้าหากผลลัพธ์ตรงกันก็เป็นอันถูกต้อง ถ้าไม่ตรงกันให้ตรวจสอบจนกว่าจะถูกต้องตรงกัน แล้วเป็นอันสิ้นสุดแห่งการนับคะแนน ข้อ ๖๔ เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนจัดทำรายงานแสดงผลของการนับคะแนนตามแบบ ส.ข. ๒ และประกาศประกาศผลของการนับคะแนนตามแบบ ส.ข. ๓ จำนวนอย่างละสี่ฉบับ การจัดทำรายงานแสดงผลของการนับคะแนน และประกาศผลของการนับคะแนนตามวรรคหนึ่งนั้นให้จัดเรียงตามลำดับเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร ข้อ ๖๕ การกรอกแบบรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) และประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๓) ห้ามมิให้ขูดลบหรือแก้ ถ้าจำเป็นเพราะเขียนผิดต้องใช้วิธีขีดฆ่าและเขียนใหม่ และให้กรรมการตรวจคะแนนอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อกำกับตรงที่ขีดฆ่าและแก้ใหม่ทุกแห่ง ข้อ ๖๖ เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว คณะกรรมการตรวจคะแนนต้องเก็บบัตรเลือกตั้งและสิ่งต่างๆ ลงในหีบบัตรเลือกตั้ง โดยปฏิบัติตามข้อ ๖๘ วรรคเก้า แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ สิ่งที่จะต้องบรรจุลงในหีบบัตรเลือกตั้ง คือ (๑) บัตรเลือกตั้งที่นับเป็นคะแนนแล้ว กับบัตรเสีย (๒) ประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๓) และรายงานแสดงผลการนับคะแนน (ส.ข. ๒) อย่างละหนึ่งฉบับ (๓) แบบกรอกคะแนน (ส.ข. ๒๐) ที่ได้ใช้ในการกรอกคะแนนทั้งหมด สำหรับกระดาษปิดทับช่องใส่บัตรให้ใช้แบบ ส.ข. ๒๑ ในการเก็บบัตรเลือกตั้งบรรจุลงในหีบบัตร ให้กระทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้บัตรเลือกตั้งชำรุด หรือฉีกขาด และควรจัดวางไว้ในหีบบัตรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ห้ามมิให้ใช้วิธีเทบัตรลงในหีบเป็นอันขาด สำหรับบัตรเสียนั้นเมื่อได้แยกไว้ต่างหาก และบรรจุซองหรือห่อแล้วให้ผนึกหรือใช้เชือกผูกมัดให้เรียบร้อยด้วย ข้อ ๖๗ เมื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนได้ปฏิบัติการตามข้อ ๖๔ แล้ว ให้ประกาศผลของการนับคะแนนแก่ประชาชนผู้อยู่ ณ ที่เลือกตั้งนั้น แล้วปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งหนึ่งฉบับ ข้อ ๖๘ เมื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนได้ประกาศผลของการนับคะแนนตามข้อ ๖๗ แล้วให้มอบสิ่งต่อไปนี้แก่ผู้อำนวยการเขตโดยเร็ว คือ (๑) ประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๓) และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) อย่างละสองฉบับ (๒) หีบบัตรเลือกตั้งพร้อมด้วยลูกกุญแจ (๓) บัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้งชุดที่ใช้หมายเหตุในการลงคะแนนเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้สมัคร (๔) บัตรเลือกตั้งที่ยังไม่ได้ใช้ ข้อ ๖๙ ให้ผู้อำนวยการเขตรักษาประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๓) และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) ไว้อย่างละหนึ่งฉบับ และให้ปิดประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๓) ไว้ ณ สำนักงานเขตหนึ่งฉบับ ส่วนรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๒) ที่เหลือหน่วยเลือกตั้งละฉบับ ให้นำส่งกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗๐ ให้ผู้อำนวยการเขตรีบจัดการรวมยอดคะแนนตามที่ปรากฏในประกาศผลของการนับคะแนน (ส.ข. ๓) ของทุกหน่วยเลือกตั้งซึ่งอยู่ในเขตนั้น ตามที่ได้รับมาจากคณะกรรมการตรวจคะแนน ให้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็ว ข้อ ๗๑ เมื่อผลที่สุดแห่งการเลือกตั้งปรากฏว่า ผู้ใดได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขตตามข้อ ๗๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำเป็นประกาศผลเลือกตั้งแบบ ส.ข. ๒๓ ส่งให้ปลัดกรุงเทพมหานครลงนามประกาศผลการเลือกและประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ปิดประกาศดังกล่าวไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขต ข้อ ๗๒ ในเขตเลือกตั้งเขตใด ถ้ามีผู้สมัครไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะมีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น เมื่อพ้นระยะเวลาการรับสมัครแล้ว ให้ปลัดกรุงเทพมหานครประกาศว่า ผู้นั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขตตามข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยใช้แบบ ส.ข. ๒๔ และให้ปิดประกาศไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต และที่สาธารณะที่เห็นได้ง่ายตามจำนวนที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องกระทำก่อนวันเลือกตั้ง ข้อ ๗๓ ให้ผู้อำนวยการเขตออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเขตตามแบบ ส.ข. ๒๕ เพื่อเป็นหลักฐานในการที่ได้รับเลือกตั้งจะได้นำไปแสดงในคราวเปิดการประชุมสภาเขตครั้งแรก และให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำทะเบียนสมาชิกสภาเขตไว้เป็นหลักฐานด้วยตามแบบ ส.ข. ๒๖ ข้อ ๗๔ หากทราบว่าเขตเลือกตั้งใดมีการคัดค้านการเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการเขตรีบรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยเร็ว ส่วนที่ ๔ แบบพิมพ์ ข้อ ๗๕ แบบพิมพ์ที่ใช้ในการเลือกตั้ง ให้ใช้แบบพิมพ์ตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบ] (๑) แบบ ส.ข. ๑ (๒) แบบ ส.ข. ๒ (๓) แบบ ส.ข. ๓ (๔) แบบ ส.ข. ๔ (๕) แบบ ส.ข. ๕ (๖) แบบ ส.ข. ๖ (๗) แบบ ส.ข. ๗ (๘) แบบ ส.ข. ๘ (๙) แบบ ส.ข. ๙ (๑๐)แบบ ส.ข. ๑๐ (๑๑) แบบ ส.ข. ๑๑ (๑๒) แบบ ส.ข. ๑๒ (๑๓) แบบ ส.ข. ๑๓ (๑๔)แบบ ส.ข. ๑๔ (๑๕)แบบ ส.ข. ๑๕ (๑๖)แบบ ส.ข. ๑๖ (๑๗) แบบ ส.ข. ๑๗ (๑๘) แบบ ส.ข. ๑๘ (๑๙) แบบ ส.ข. ๑๙ (๒๐)แบบ ส.ข. ๒๐ (๒๑) แบบ ส.ข. ๒๑ (๒๒) แบบ ส.ข. ๒๒ (๒๓) แบบ ส.ข. ๒๓ (๒๔)แบบ ส.ข. ๒๔ (๒๕)แบบ ส.ข. ๒๕ (๒๖)แบบ ส.ข. ๒๖ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗[๑๐] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑๑] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๐/ตอนที่ ๑๖๓/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๖ [๒] ข้อ ๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓] ข้อ ๔๘ ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔] ข้อ ๔๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕] ข้อ ๕๓ ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖] ข้อ ๕๗ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗] ข้อ ๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ [๘] ข้อ ๕๙ วรรคสอง ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๙] ข้อ ๕๙ วรรคสาม ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๕/ ๑ มีนาคม ๒๕๓๗ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๑๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๙
533276
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ที่จัดตั้งขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร “ชุมชน” หมายความว่า ชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน “คณะกรรมการชุมชน” หมายความว่า คณะกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน “กองทุนชุมชน” หมายความว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ประชาชนในชุมชนได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการหาผลประโยชน์และให้บริการด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านแก่ประชาชนในชุมชน โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุมชน “เงินยืมสมทบ” หมายความว่า เงินที่ให้กองทุนชุมชนยืมโดยไม่มีดอกเบี้ยและมีกำหนดระยะเวลาใช้คืนจากกองทุนชุมชน หมวด ๒ กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ให้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร” ขึ้นในสำนักพัฒนาชุมชนเพื่อสนับสนุนกองทุนชุมชน โดยให้ยืมเงินสมทบโครงการแก่กองทุนชุมชน เพื่อนำไปดำเนินงานพัฒนาชุมชน ข้อ ๗ กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร อาจได้มาซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (๑) เงินงบประมาณของกรุงเทพมหานคร (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๔) เงินที่ได้รับจากการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๕) ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ให้สำนักพัฒนาชุมชนเปิดบัญชีเงินฝากกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครกับธนาคารออมสินหรือธนาคารอื่นใดที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรและโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมวด ๓ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙[๒] ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ๑. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการสั่งราชการสำนักพัฒนาชุมชน ๒. รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการสั่งราชการสำนักพัฒนาชุมชน ๓. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการ ๔. รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมาย ๕. ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ เป็นกรรมการสำนักปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน ๖[๓]. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือผู้แทน เป็นกรรมการ ๗. ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง เป็นประธานสำนักการคลังหรือผู้แทน ๘. ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี เป็นกรรมการสำนักปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน ๙. ผู้อำนวยการกองส่งเสริมอาชีพ เป็นกรรมการสำนักพัฒนาชุมชน ๑๐. ผู้อำนวยการกองวิชาการ เป็นกรรมการและแผนงานสำนักพัฒนาชุมชน ๑๑. ผู้อำนวยการกองการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและสำนักพัฒนาชุมชน เลขานุการ ๑๒. เลขานุการสำนักพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๓. หัวหน้าฝ่ายกองทุนชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยกองการพัฒนาชุมชน เลขานุการ ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแนวทางในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๒) กำหนดสัดส่วนเงินยืมสมทบและอนุมัติเงินยืมสมทบให้แก่กองทุนชุมชน (๓) ผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้คืนเงินยืมสมทบโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๔) กำกับและติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครและกองทุนชุมชน (๕) แต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคลเพื่อดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ตามความจำเป็น (๖) มีอำนาจเชิญบุคคลจากส่วนราชการและภาคเอกชนมาช่วยดำเนินงาน หรือเพื่อให้ชี้แจงหรือให้ข้อมูลสถิติใด ๆ หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการของกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๗) ดำเนินการอื่นใดของกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดที่ประชุมให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกเสียงเป็นเสียงชี้ขาด หมวด ๔ การขอรับเงินยืมสมทบกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๒ กองทุนชุมชน ที่มีสิทธิขอรับเงินยืมสมทบโครงการจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นกองทุนชุมชนที่อยู่ในชุมชนในพื้นที่เขตของกรุงเทพมหานคร (๒) เป็นกองทุนชุมชนที่ได้จัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน (๓) มีเงินทุนสะสมของกองทุนชุมชนอยู่แล้วไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท (๔) เป็นกองทุนชุมชนที่มีกรรมการกองทุนชุมชน และการบริหารงานกองทุนชุมชนตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๕ และหมวด ๖ ข้อ ๑๓ การยืมเงินสมทบให้กรรมการกองทุนชุมชน จัดทำโครงการตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการชุมชน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้เสนอผ่านสำนักงานเขตพื้นที่ไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ข้อ ๑๔ ลักษณะของโครงการที่มีสิทธิขอรับเงินยืมสมทบ คือ (๑) เป็นการลงทุนเพื่อขยายหรือปรับปรุงกิจการเดิมของกองทุนชุมชนที่มีอยู่แล้วในชุมชน (๒) เป็นการลงทุนเพื่อการผลิต การค้า หรือการบริการทางสังคม (๓) เป็นการลงทุนด้านการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ซึ่งมีแผนจัดเก็บเงินจากผู้ได้รับประโยชน์ เพื่อใช้คืนเงินยืมสมทบ ข้อ ๑๕ การใช้คืนเงินยืมสมทบของกองทุนชุมชน ให้เป็นไปตามแผนการใช้คืนเงินยืมที่คณะกรรมการกำหนดโดยมีระยะปลอดหนี้ ๓ ปี และต้องส่งใช้คืนให้ครบภายใน ๖ ปี นับแต่วันที่กองทุนชุมชนได้รับเงินยืมสมทบ กรณีกองทุนชุมชนผิดนัดไม่ส่งใช้คืนภายในกำหนดตามวรรคแรก ให้คิดเบี้ยปรับตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานเขตพื้นที่มีหน้าที่เร่งรัดการส่งใช้คืนเงินยืมสมทบจากกองทุนชุมชน ข้อ ๑๗ ในกรณีเกิดเหตุจำเป็นหรือภัยพิบัติสาธารณะ ทำให้โครงการที่ได้รับเงินยืมสมทบไปไม่สามารถดำเนินกิจการให้ได้ผลเท่าที่ควรให้กองทุนชุมชนยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาผ่อนผัน หรือยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการยืมเงินสมทบโดยผ่านคณะกรรมการชุมชนและสำนักงานเขตพื้นที่ ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานเขตเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับและติดตามผลการดำเนินโครงการที่ได้รับเงินยืมสมทบจากกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร หากมีข้อร้องเรียนหรือพฤติการณ์ที่แสดงว่ามีการทุจริตหรือมีการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ให้สำนักงานเขตดำเนินการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริง แล้วรายงานคณะกรรมการทราบ ในกรณีจำเป็น สำนักงานเขตอาจสั่งระงับหรือยับยั้งการดำเนินการตามโครงการทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ข้อ ๑๙ ให้กองทุนชุมชนรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานโดยผ่านคณะกรรมการชุมชนให้สำนักงานเขตทราบและให้สำนักงานเขตรายงานคณะกรรมการทุก ๖ เดือน ข้อ ๒๐ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนให้ความสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ ปรึกษา ทางด้านวิชาการ ด้านเทคนิค หรือข้อมูลสถิติ เอกสารในการจัดทำโครงการแก่กองทุนชุมชนตามสมควร หมวด ๕ กรรมการกองทุนชุมชน ข้อ ๒๑ ให้มีคณะผู้บริหารงานกองทุนชุมชน ไม่น้อยกว่า ๗ คน เรียกว่า “กรรมการกองทุนชุมชน” ข้อ ๒๒ กรรมการกองทุนชุมชน ประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกองทุนชุมชน (๒) รองประธานกองทุนชุมชน (๓) เลขานุการกองทุนชุมชน (๔) เหรัญญิกกองทุนชุมชน ข้อ ๒๓ กรรมการกองทุนชุมชนมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกกองทุนชุมชน ข้อ ๒๔ การพ้นจากตำแหน่งหรือในกรณีเมื่อตำแหน่งใดว่างลงของกรรมการกองทุนชุมชนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกองทุนชุมชน หมวด ๕ การบริหารงานกองทุนชุมชน ข้อ ๒๕ กรรมการกองทุนชุมชนมีหน้าที่ออกระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายเงินกองทุนชุมชน และวางแผนจัดทำโครงการหรือกิจกรรมตลอดจนการดำเนินการเพื่อหารายได้สมทบเงินกองทุนชุมชน ข้อ ๒๖ คณะกรรมการชุมชนเป็นผู้ควบคุมการบริหารงานของกรรมการกองทุนชุมชนโดยมีเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครเป็นที่ปรึกษา ข้อ ๒๗ ให้คณะกรรมการชุมชนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบกองทุนชุมชนไม่น้อยกว่า ๒ คน โดยผู้ตรวจจะต้องไม่เป็นกรรมการกองทุนชุมชน ข้อ ๒๘ ผู้ตรวจสอบกองทุนชุมชน มีหน้าที่ติดตาม สอบถาม และตรวจสอบบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของกองทุนชุมชน แล้วรายงานคณะกรรมการชุมชนอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔[๕] วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๒๖/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ [๒] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] ข้อ ๙ ลำดับที่ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๖๓ ง/หน้า ๑๑/๑ กันยายน ๒๕๔๒ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๒๐/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๔
533290
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. 2537 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ ข้อ ๘ และข้อ ๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ให้พิจารณาช่วยเหลือตามความเหมาะสมและจำเป็นของแต่ละราย โดยคำนึงถึงฐานะความจำเป็นที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เพื่อให้ผู้ประสบสาธารณภัยสามารถผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้าลง มิใช่เป็นการชดใช้ค่าเสียหายให้ ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือตามระเบียบนี้ ต้องมีหนังสือรับรองจากสำนักงานเขตท้องที่ว่าเป็นผู้ได้ประสบสาธารณภัย และมาติดต่อขอรับความช่วยเหลือพร้อมด้วยหนังสือรับรองดังกล่าว ภายในกำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย ข้อ ๖ การให้ความช่วยเหลือ อาจจะให้เป็นเงิน วัสดุสิ่งของหรือบริการ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราดังต่อไปนี้ ก. ประเภทการเงิน ๑. ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๒. ค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บจากการประสบสาธารณภัย ให้ช่วยเหลือตามความจำเป็น ดังนี้ ๒.๑ ค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒.๒ กรณีบาดเจ็บต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลให้ช่วยเหลือเป็นเงินค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ในกรณีที่เป็นสาธารณภัยรายใหญ่หรือรุนแรงเป็นที่สะเทือนขวัญของประชาชนทั่วไป ให้จ่ายเงินปลอบขวัญคนละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ๒.๓ กรณีบาดเจ็บสาหัสหรือพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้และเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงครอบครัว ให้ช่วยเหลือเป็นเงินค่าครองชีพคนละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑ ปี ๓. ค่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรือค่าเช่าบ้าน หากผู้ประสบสาธารณภัยพักอาศัยในบ้านหรือที่พักอาศัยอื่นซึ่งต้องเสียค่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรือค่าเช่าบ้าน ให้ช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน เป็นเวลาไม่เกิน ๒ เดือน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย ในกรณีจำเป็นให้หน่วยงานจัดทำหรือจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวเพื่อให้ผู้ประสบสาธารณภัยได้พักอาศัยชั่วคราวได้ไม่เกิน ๒ เดือน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย โดยให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ๔. เงินทุนประกอบอาชีพ ครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๕. เงินทุนฝึกอาชีพ เฉพาะผู้ประสบสาธารณภัยที่ได้รับอันตรายเป็นเหตุให้ไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ต้องได้รับการฝึกอาชีพใหม่ ในวงเงินคนละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ๖. ค่าพาหนะในการส่งกลับภูมิลำเนาเดิม สำหรับผู้ประสบสาธารณภัยที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครแต่มาอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และมีความประสงค์จะอพยพกลับภูมิลำเนาเดิม ในวงเงินเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ต่อหนึ่งคน ๗. ค่าพาหนะในการขนส่งสิ่งของเครื่องใช้ไปยังที่พักแห่งใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ต่อหนึ่งครอบครัว ๘. เงินสมทบจัดซื้อสัตว์เลี้ยงหรือพืชพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ในกรณีที่ผู้ประสบสาธารณภัยมีอาชีพในการทำเกษตรกรรมหรือเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งครอบครัว ข.[๒] ประเภทสิ่งของ ๑. วัสดุสมทบสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยซึ่งผู้ประสบสาธารณภัยเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองในกรณีที่เจ้าของยินยอมหรือกรณีที่ไม่สามารถจ่ายให้แก่เจ้าของได้ โดยจะให้ความช่วยเหลือดังนี้ ๑.๑ บ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายบางส่วนเท่าที่เสียหายจริง มูลค่าหลังละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ๑.๒ บ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายทั้งหลังเท่าที่เสียหายจริง มูลค่าหลังละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๒. วัสดุสมทบสร้างหรือซ่อมแซมสำนักสงฆ์ วัด มัสยิด โบสถ์หรือศาสนสถาน ที่ได้รับความเสียหายไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหลัง เท่าที่เสียหายจริง มูลค่าหลังละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๓. เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค เครื่องครัว เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว ๓.๑ เครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องกระป๋อง มูลค่ารวมคนละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ๓.๒ ยารักษาโรค มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๒๐๐ บาท ๓.๓ เครื่องครัว และอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๓,๕๐๐ บาท ๓.๔ เครื่องมือประกอบอาชีพ มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ในกรณีที่ไม่ได้รับเงินทุนประกอบอาชีพ ๓.๕ เครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว (๑) เครื่องนุ่งห่ม คนละไม่เกิน ๒ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๒) เครื่องนอน คนละ ๑ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๕๐๐ บาท (๓) สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ถังน้ำ เป็นต้น มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๓๐๐ บาท ๔. เครื่องแบบนักเรียน หนังสือและอุปกรณ์การเรียน ๔.๑ เครื่องแบบนักเรียนคนละ ๒ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๔.๒ หนังสือและอุปกรณ์การเรียนคนละ ๑ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท การให้ความช่วยเหลือตามข้อนี้ กรุงเทพมหานครอาจให้ความช่วยเหลือเป็นประเภทการเงินเท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดด้วยก็ได้ ค. ประเภทบริการ ๑. ค่าจัดเลี้ยงอาหารแก่ผู้ประสบสาธารณภัย เท่าที่จ่ายจริงมื้อละไม่เกิน ๒๐ บาทต่อคน ๒. ค่าจัดสร้างหรือดัดแปลงสถานที่พักชั่วคราว ซึ่งรวมทั้งการจัดน้ำดื่มและใช้สอย ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงครัว และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ครอบครัวละไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องอพยพผู้ประสบสาธารณภัยไปในที่ปลอดภัย อาจให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้ ๑. ค่าจัดการขนย้ายผู้ประสบสาธารณภัยจากสถานที่ประสบภัยไปยังที่พักอาศัยชั่วคราว และขนย้ายกลับที่อยู่เดิมเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่สภาพปกติ ให้จัดยานพาหนะของทางราชการบริการก่อน หากไม่สามารถบริการได้หรือบริการไม่พอกับความต้องการที่จำเป็นเร่งด่วน ให้พิจารณาจ้างเหมายานพาหนะรวมถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามความจำเป็นโดยประหยัด และให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท ๒. ค่าจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับผู้อพยพ หากจำเป็นต้องดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ ให้ดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและโดยประหยัด และค่าใช้จ่ายในการจัดสาธารณูปโภคในที่พักอาศัยชั่วคราวตามความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๖ ค.๒ ข้อ ๘[๓] ให้ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยมีผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติการให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสม เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ในกรณีจำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการต่างหน่วยงานในสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้ง ข้อ ๙[๔] การให้ความช่วยเหลือตามข้อ ๖ ค. และข้อ ๗ ในกรณีเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบสาธารณภัยไปพลางก่อนให้สำนักงานเขตท้องที่เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการ ส่วนอำนาจการอนุมัติให้เป็นของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองอำนวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ครั้งละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๑๐ บรรดาเงินและทรัพย์สินหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินและทรัพย์สินที่หน่วยงานได้รับจากผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานหรือกรุงเทพมหานครใช้จ่ายในกิจการการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับหรือขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร โดยให้หน่วยงานนั้น ๆ จัดตั้งเป็นกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ๑๐.๑ กองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย อาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ ๑๐.๑.๑ เงินงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ๑๐.๑.๒ เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ ๑๐.๑.๓ ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ๑๐.๒ การจ่ายเงิน ให้นำเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยไปใช้จ่ายได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ ๑๐.๒.๑ ทดรองจ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้วให้เบิกจ่ายเงินงบประมาณชดใช้ทันที ๑๐.๒.๒ จ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยในกรณีที่ไม่อาจเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณได้ หรือมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานที่จะอนุมัติภายในวงเงินรายละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ๑๐.๓ ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ๑๐.๔ ให้หน่วยงานเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยไว้เป็นเงินสดเพื่อสำรองจ่ายได้ภายในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท นอกนั้นให้นำฝากไว้กับธนาคารตามที่มีมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้และได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า “กองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย” และให้ต่อท้ายด้วยชื่อหน่วยงาน ๑๐.๕ ให้หน่วยงานจัดทำบัญชีควบคุมการรับและการจ่ายเงิน เพื่อแสดงฐานะการเงินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยอย่างถูกต้อง รวมทั้งเก็บรักษาเอกสารใบสำคัญต่างๆ ๑๐.๖ เมื่อได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยไปแล้ว ให้สรุปรายงานปลัดกรุงเทพมหานครทราบเป็นประจำทุกเดือนที่มีการจ่ายเงิน ข้อ ๑๑ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำฝากเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ซึ่งนอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๕] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕[๖] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๗๓/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ [๒] ข้อ ๖ ข. แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๔] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๔๘/๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๑/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
533284
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ก.ก.” หมายถึง คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ข้าราชการ” หมายถึง ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร” หมายถึง ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ และผู้แทนข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร ใน ก.ก. “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” หมายถึง ข้าราชการผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ผู้สมัครรับเลือกตั้ง” หมายถึง ข้าราชการผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้ง” หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร “หน่วยงาน” หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร หมวด ๑ วิธีการคัดเลือก ข้อ ๕ การคัดเลือกผู้แทนข้าราชกรุงเทพมหานคร ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ และข้าราชการครูกรุงเทพมหานครเลือกผู้แทนข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ข้าราชการกรุงเทพมหานครมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญได้สองคน ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนข้าราชการครูกรุงเทพมหานครได้หนึ่งคน การลงคะแนนให้ใช้วิธีทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องหลังเลขหมายเลขประจำตัวของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องการเลือกในบัตรเลือกตั้ง ตามแบบ ก.ก. ๔ ในกรณีที่ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงก่อนครบวาระให้เลือกตั้งผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครได้เท่ากับจำนวนที่ว่างลง ข้อ ๗ การลงคะแนนเลือกตั้งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของข้าราชการแต่ละคน จะมอบหมายให้ผู้อื่นลงคะแนนแทนไม่ได้ ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดตามลำดับ ในข้อ ๖ เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง หากมีคะแนนเท่ากันหลายคนให้ใช้วิธีการจับสลากเฉพาะผู้ที่ได้รับคะแนนเท่ากันเพื่อจัดลำดับผลการเลือกตั้ง หมวด ๒ คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ข้อ ๙ ข้าราชการทุกคนมีสิทธิเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้ใช้บัตรประจำตัวข้าราชการแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ข้อ ๑๐ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสำหรับหน่วยเลือกตั้งใดให้ลงคะแนนเลือกตั้งได้เฉพาะหน่วยเลือกตั้งนั้น และให้ลงคะแนนเลือกตั้งได้เฉพาะแห่งเดียว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งที่ตนต้องประจำปฏิบัติหน้าที่นั้นโดยให้แสดงหลักฐานคำสั่งแต่งตั้งพร้อมบัตรประจำตัวข้าราชการ และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเพิ่มชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ข้อ ๑๑ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนข้าราชกรุงเทพมหานครสามัญ และข้าราชการครูกรุงเทพมหานครมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย หรือต้องไม่เป็นคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งหรือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หมวด ๓ คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งและวิธีการดำเนินการเลือกตั้ง ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๙ คน แต่ไม่เกิน ๑๕ คน จากหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งมีอำนวจหน้าที่ ดังนี้ (๑) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร (๒) จัดให้มีการออกเสียงลงคะแนนตรวจนับคะแนนและประกาศผลการนับคะแนนการเลือกตั้ง (๓) สั่งการให้ข้าราชการหรือหน่วยงานช่วยปฏิบัติงานใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง (๔) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากการดำเนินการเลือกตั้ง (๕) กำหนดวิธีปฏิบัติในการดำเนินการเลือกตั้งหรือปฏิบัติการอื่นซึ่งเกี่ยวกับการดำเนินการเลือกตั้งตามความจำเป็นและเหมาะสม ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งจัดทำประกาศกำหนดวันเลือกตั้งและระยะเวลารับสมัครเลือกตั้ง ตามแบบ ก.ก. ๒ และดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งโดยใบสมัครรับเลือกตั้งให้ใช้แบบ ก.ก. ๑ ทั้งนี้ วันสุดท้ายของวันรับสมัครเลือกตั้งถึงวันเลือกตั้งต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๕ วัน เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติและกำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้วให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งประกาศรายฃื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามแบบ ก.ก. ๓ และใบสมัครรับเลือกตั้ง (แบบ ก.ก. ๑) ไว้ ณ ศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ เขตพระนคร และบริเวณที่เลือกตั้ง ข้อ ๑๔ ให้ผู้อำนวยการเขต จัดทำบัญชีรายชื่อข้าราชการผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งสังกัดหน่วยงานที่มีสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่เขต ตามแบบ ก.ก. ๕ และกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง ตามแบบ ก.ก. ๖ โดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยละห้าร้อยคนเป็นประมาณ ข้อ ๑๕ ให้ผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ตามแบบ ก.ก. ๗ หน่วยละ ๗ คน เพื่อดำเนินการเลือกตั้งให้เรียบร้อย ข้อ ๑๖[๒] เมื่อปิดหีบลงคะแนนเลือกตั้งแล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทำการส่งหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมบัตรเลือกตั้งที่เหลือและแบบรายงานผลการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง (แบบ ก.ก. ๘/๑) ให้ศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ เขตพระนคร เพื่อให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งตรวจนับคะแนนต่อไป ข้อ ๑๗ บัตรเลือกตั้งที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าบัตรเสียมิให้นับคะแนนและให้แยกไว้ต่างหาก โดยกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องสลักหลังว่า “เสีย” (๑) บัตรปลอม หรือบัตรที่มิใช่บัตรที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้น (๒) บัตรทำเครื่องหมายกากบาทเกินกว่าจำนวนผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครที่มีได้แต่ละประเภท (๓) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายกากบาท (๔) บัตรที่พับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งบัตร (๕) บัตรที่มีเครื่องหมายสังเกตหรือข้อความอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดในบัตรเลือกตั้ง ข้อ ๑๘ ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งรวมผลการนับคะแนนทุกหน่วยเลือกตั้ง และจัดทำประกาศผลการนับคะแนน ตามแบบ ก.ก.๙ โดยนำเรียนปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อรายงานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามประกาศผู้ได้รับการคัดเลือก ตามแบบ ก.ก. ๑๐ เป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครต่อไป ให้คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งปิดประกาศผลการนับคะแนน (ก.ก. ๙) และประกาศผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก. ๑๐) ไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ เขตพระนคร และเวียนแจ้งให้ข้าราชการทราบโดยทั่วกัน หมวด ๔ การคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครแทนตำแหน่งว่าง ข้อ ๑๙ กรณีผู้แทนข้าราชกรุงเทพมหานครจะถึงกำหนดพ้นจากตำแหน่งตามวาระให้สำนักงาน ก.ก. รายงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ภายใน ๖๐ วัน เพื่อเตรียมจัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง ข้อ ๒๐ กรณีผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครว่างลงก่อนถึงคราวออกตามวาระให้ดำเนินการคัดเลือกให้ได้ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครตำแหน่งที่ว่างลงภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งว่าง ทั้งนี้ เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ว่างลงเหลือไม่ถึง ๙๐ วัน ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] (๑) แบบ ก.ก. ๑ (๒) แบบ ก.ก. ๒ (๓) แบบ ก.ก. ๓ (๔) แบบ ก.ก. ๔ (๕) แบบ ก.ก. ๕ (๖) แบบ ก.ก. ๖ (๗) แบบ ก.ก. ๗ (๘)[๓] แบบ ก.ก. ๘/๑ (๙) แบบ ก.ก. ๙ (๑๐) แบบ ก.ก. ๑๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒[๔] สัญชัย/ผู้จัดทำ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑๙/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ [๒] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๓] แบบ ก.ก. ๘/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๑/๗ ธันวาคม ๒๕๔๒
533268
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับ ข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔[๒] อัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนได้แก่ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานพิธีการที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัด ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้สถานที่ ค่าพาหนะและค่าขนส่ง ค่าตอบแทนอาสาสมัคร ค่าจ้างแรงงาน ค่าของรางวัล ของขวัญและของที่ระลึก ค่าอาหารแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ค่าเวชภัณฑ์ ค่าบัตรผ่านประตู ค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน และเงื่อนไขการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ในกรณีมีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๖ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ประเภทค่าใช้จ่าย อัตราการเบิกจ่าย เงื่อนไจการเบิกจ่าย ๑ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ๑.๑ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ๑.๑.๑ ค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียน การสอน อุปกรณ์เสริมทักษะ - เฉลี่ยคนละไม่เกิน ๑๐๐ บาท - เบิกจ่ายได้ปีละครั้ง ๑.๑.๒ ค่าอุปกรณ์เครื่องครัว เช่น เตาแก๊สพร้อมถังแก๊ส ถาดหลุม หม้อปรุงอาหาร หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ช้อน ทัพพี มีด เป็นต้น - เบิกจ่ายได้ตามที่จำเป็นแต่ไม่เกินศูนย์ละ ๑๐,๐๐๐ บาท - เบิกจ่ายได้ครั้งเดียวยกเว้นกรณีชำรุดหรือเสื่อมสภาพเนื่องจากการใช้งานให้เบิกจ่ายทดแทนได้ ๑.๑.๓ ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องนอน เช่น เสื่อน้ำมัน หมอน ที่นอน ผ้าห่ม เป็นต้น - เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง - เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นและประหยัด ๑.๒ ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาด - เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง - เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นและประหยัด ๑.๓ ค่าวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่กรุงเทพเป็นผู้จัด ๑.๓.๑ ค่าป้ายชื่อผู้เข้าร่วมแข่งขัน หรือเข้าประกวด - คนละไม่เกิน ๓ บาท ๑.๓.๒ ค่าปกเกียรติบัตรหรือค่าอัดกรอบเกียรติบัตร - เบิกจ่ายได้ไม่เกิน ๑๕๐ บาท ๑.๔[๓] ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย ต้นไม้ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น - เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง - เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นและประหยัด ๒ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานพิธีการที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัด ๒.๑ ค่าเครื่องดื่มสำหรับรับรองแขกที่ส่วนราชการเชิญร่วมพิธี - คนละไม่เกิน ๕ บาท - เบิกจ่ายได้งานพิธีละไม่เกิน ๓๐๐ บาท ๒.๒ ค่าดอกไม้ในพิธีเปิด - ปิด - เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง - เบิกจ่ายได้งานพิธีละไม่เกิน ๔๐๐ บาท ๓ ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้สถานที่ ค่าพาหนะ และค่าขนส่ง ๓.๑ ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้สถานที่ ค่ายานพาหนะ และค่าขนส่ง ในกรณี กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดำเนินการรื้อย้าย ๓.๑.๑ ค่าเช่าที่พัก - ไม่เกินครอบครัวละ๕,๐๐๐ บาท - ให้เบิกได้ตามที่จ่ายจริง และให้เบิกในเฉพาะกรณีที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดหาที่พักชั่วคราวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ผู้รื้อย้ายอยู่อาศัยชั่วคราวได้ ๓.๑.๒ ค่าใช้สถานที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ - ไม่เกินครอบครัวละ ๑,๐๐๐ บาท - ให้เบิกได้ตามที่จ่ายจริงและให้เบิกในเฉพาะกรณีที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดหาที่พักชั่วคราวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้ผู้รื้อย้ายอยู่อาศัยชั่วคราวได้ ๓.๑.๓[๔] ค่าขนส่ง - เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินครอบครัวละ ๑๐,๐๐๐ บาท - ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะในกรณีที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถจะจัดยานพาหนะขนส่งให้ได้ ๓.๒ ค่ายานพาหนะสำหรับการพัฒนาชุมชน เช่น การจัดทัศนศึกษาของเด็กและเยาวชน เป็นต้น -เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง - ให้เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีที่หน่วยงานที่จัดไม่สามารถจัดหายานพาหนะสำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าวได้โดยให้เบิกจ่ายอย่างประหยัด ๔[๕] ค่าตอบแทนอาสาสมัคร คนละ ๕,๖๔๐ บาทต่อเดือน เบิกจ่ายได้เฉพาะผู้ปฏิบัติงานตามวันและเวลาราชการหรือตามหลักเกณฑ์ที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ๕[๖] ค่าจ้างแรงงานบุคคลภายนอก - เบิกจ่ายได้ในอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกำหนด - เบิกจ่ายได้ในการรื้อถอนขนย้ายสิ่งก่อสร้างในบริเวณรื้อย้ายชุมชนที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการรื้อย้ายและในการพัฒนาชุมชน ๖ ค่าของขวัญ ของรางวัล และของที่ระลึกในกิจกรรมที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัด ๖.๑ ค่าเงินรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ ๑ รองชนะเลิศอันดับ ๒ และรางวัลชมเชย ในการประกวดชุมชนดีเด่น รางวัลละไม่เกิน ดังต่อไปนี้ -รางวัลชนะเลิศ ๕,๐๐๐ บาท - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๔,๐๐๐ บาท - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ๓,๐๐๐ บาท - รางวัลชมเชย ไม่เกิน ๓ รางวัล รางวัลละ ๑,๐๐๐ บาท ๖.๒ ค่าถ้วยเกียรติยศหรือโล่มอบให้ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ และรางวัลชมเชย ในการประกวดชุมชนดีเด่น และการแข่งขันกีฬาของชุมชน - เบิกจ่ายได้ไม่เกินชิ้นละ ๑,๐๐๐ บาท ๖.๓ ค่าเหรียญรางวัลหรือโล่มอบให้ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ และรางวัลชมเชย ในการประกวดชุมชนดีเด่นและการแข่งขันกีฬาของชุมชนชิ้นละไม่เกิน ๕๐ บาท ๖.๔ ค่าของรางวัลกรรมการตัดสินที่เป็นบุคคลภายนอก - คนละไม่เกิน ๑๕๐ บาท เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นและประหยัด ๖.๕[๗] ค่าของขวัญของรางวัลสำหรับเด็กในชุมชน ครั้งละไม่เกิน ๒๐ บาท/คน เบิกจ่ายได้เฉพาะกรณีที่จำเป็นและประหยัด ๗[๘] ค่าอาหารสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน คนละไม่เกิน ๑๕ บาท/วัน ค่าอาหาร หมายถึง ค่าอาหารกลางวันและค่าอาหารเสริม(นม) โดยให้เบิกจ่ายแบบเหมาจ่าย โดยให้คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน ๒ คน และอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กที่อยู่ประจำศูนย์ฯ จำนวน ๑ คน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ ร่วมกันโดยให้ถือว่า ใบรับเงินดังกล่าวเป็นใบสำคัญจ่ายหากไม่มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ให้ประธานกรรมการชุมชนและกรรมการ ๑ คน ลงลายมือชื่อร่วมกัน ทั้งนี้ ให้ประธานกรรมการศูนย์ หรือประธานกรรมการชุมชน จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินเสนอต่อผู้อำนวยการเขตเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งในแต่ละวันต้องให้เด็กได้บริโภคอาหารเสริม(นม) ไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ มิลลิลิตร/คน ๘ ค่าเวชภัณฑ์ - ชุมชนละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ๙ ค่าบัตรผ่านประตูและค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน - เบิกจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง ๑๐[๙] ค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน เบิกจ่ายได้ไม่เกินชุมชนละ ๕,๐๐๐ บาท ต่อเดือน ให้เบิกจ่ายแบบเหมาจ่ายโดยให้ประธานกรรมการชุมชน เหรัญญิกและกรรมการชุมชนผู้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการชุมชน ๑ คนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงินร่วมกันโดยให้ถือว่าใบรับเงินดังกล่าวเป็นใบสำคัญคู่จ่าย ทั้งนี้ ให้ประธานกรรมการชุมชนจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินเสนอต่อผู้อำนวยการเขตประจำทุกเดือน ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐[๑๐] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑[๑๑] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒[๑๒] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔[๑๓] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑๔] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๕] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๘[๑๖] วชิระ/จัดทำ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๕/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๓] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๑ ๑.๔ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๔] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๓ ๓.๑.๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ [๕] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๖] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๗] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๖ ๖.๕ เพิ่มโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ [๘] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๖ [๙] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๑๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๕ ง/หน้า ๕๒/๑ พฤษภาคม ๒๕๔๐ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๑๗/๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๘/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ [๑๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๓๔/๒ สิงหาคม ๒๕๔๔ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๒๗/๘ มกราคม ๒๕๔๗ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๑๗/๑๐ เมษายน ๒๕๔๘ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๘๖ ง/หน้า ๙/๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
533274
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น พ.ศ. 2540 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น พ.ศ. ๒๕๔๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่ว ๆ ไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “เช็ค” หมายความว่า หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “เช็คขัดข้อง” หมายความว่า เช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน “ตั๋วแลกเงิน” หมายความว่า หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “ดราฟต์” หมายความว่า ตราสารซึ่งธนาคารเป็นผู้ออก สั่งธนาคารตัวแทนของตนให้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับตามที่ได้ระบุไว้ หรือตามคำสั่งของผู้รับ “ธนาณัติ” หมายความว่า ตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน “เงินรายได้กรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับไว้และนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานครหรือนำส่งเป็นเงินนอกงบประมาณตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง” หมายความว่า หน่วยการคลังตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน “หัวหน้าหน่วยการคลัง” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยการคลังตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน “ส่วนราชการเจ้าของรายได้” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีหน้าที่ประเมินภาษีอากรหรือจัดเก็บรายได้อื่นของกรุงเทพมหานคร เพื่อนำส่งหน่วยการคลัง “หน่วยงานเจ้าของรายได้” หมายความว่า หน่วยงานที่ส่วนราชการเจ้าของรายได้สังกัดอยู่ หมวด ๒ การรับเช็คหรือตราสารอื่น ข้อ ๖ เช็คที่จะรับชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานคร มี ๔ ประเภท คือ (๑) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.) (๒) เช็คที่ธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.) (๓) เช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.) (๔) เช็คที่ผู้ขอใช้เช็คสั่งจ่ายและใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.) ข้อ ๗ ให้สถานที่ดังต่อไปนี้ เป็นสถานที่รับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (๑) หน่วยการคลังของหน่วยงาน (๒) สถานที่ที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๘ เช็คที่รับชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) มีรายการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๒) [๒] เป็นเช็คลงวันที่ที่เจ้าหน้าที่รับเช็คนั้นหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๑๕ วันทำการ สำหรับเช็คประเภท ก ประเภท ข ประเภท ค ประเภท ง และห้ามรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้า (๓) เป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายให้แก่ “กรุงเทพมหานคร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และหรือ “ตามคำสั่ง” (๔) เช็คนั้นต้องมิใช่เช็คโอนสลักหลัง (๕) เป็นเช็คที่สามารถเรียกเก็บเงินได้เต็มตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเช็ค หากจะต้องเสียค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใดเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ผู้สั่งจ่าย หรือผู้ชำระเงินจะต้องรับภาระดังกล่าว (๖) เช็คฉบับหนึ่งจะรับชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ประเภทเดียวหรือหลายประเภทก็ได้ (๗) ห้ามรับเช็คที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินรายได้กรุงเทพมหานครที่จะต้องชำระ (๘) เช็คประเภท ง. ที่จะรับชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานครนั้น จะต้องเป็นเช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระสั่งจ่ายเงิน หรือเป็นเช็คสั่งจ่ายของผู้ต้องรับผิดชอบร่วมกันตามกฎหมาย ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับเช็คของส่วนราชการเจ้าของรายได้ตรวจสอบความถูกต้องของเช็คที่ได้รับว่ามีลักษณะเงื่อนไขและข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้เช็ค ถูกต้องตามที่กำหนดดังกล่าวหรือไม่ กรณีมีข้อสงสัยใด ๆ ให้รีบติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากธนาคารที่ปรากฏในเช็คก่อนที่จะรับเช็คนั้น ข้อ ๙ การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นตั๋วแลกเงิน ดราฟต์ หรือธนาณัติ ให้ผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้ สั่งจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยให้หัวหน้าหน่วยงานการคลังเป็นผู้รับ ข้อ ๑๐ การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คประเภท ข. ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งให้ผู้ชำระเงิน ยื่นหนังสือแสดงความจำนงโดยมีข้อความเกี่ยวกับชื่อบริษัท กิจการหรือผู้สั่งจ่าย สถานที่ที่รับเงินตามที่ระบุไว้ในข้อ ๗ ชื่อธนาคารที่ค้ำประกัน วงเงินและระยะเวลาที่ค้ำประกันพร้อมทั้งแนบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ (๒) แจ้งธนาคารผู้ค้ำประกันส่งบัตรตัวอย่างลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายพร้อมทั้งแนบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ เมื่อได้รับเอกสารตาม (๑) และ (๒) แล้ว ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คนั้นกับบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ได้รับจากธนาคาร และเงื่อนไขในหนังสือค้ำประกันด้วย หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้อง ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้เสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร สำหรับส่วนราชการเจ้าของรายได้ในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๒) ผู้อำนวยการสำนัก สำหรับส่วนราชการเจ้าของรายได้ในสังกัดสำนัก และ (๓) ผู้อำนวยการเขต สำหรับส่วนราชการเจ้าของรายได้ในสังกัดสำนักงานเขต เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติได้สั่งการประการใดแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้แจ้งผู้สั่งจ่ายเช็คทราบ ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุมัติให้รับเช็คตามจำนวนที่หน่วยงานเจ้าของรายได้เสนอแล้ว หากต้องมีการชำระเงินด้วยเช็คตามจำนวนเงินนั้นอีก ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในระเบียบข้อนี้ โดยไม่ต้องเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติเพื่อพิจารณาอีก ข้อ ๑๑ สำหรับเช็คประเภท ง. เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้นของเช็คตามข้อ ๘ แล้ว ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ตรวจสอบพิจารณาด้วยความรอบคอบก่อนว่า ผู้สั่งจ่ายเช็คเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีฐานะการเงินดีเชื่อถือได้ และต้องเป็นเช็คที่เรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้สั่งจ่ายที่เปิดไว้กับธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดอื่นเฉพาะอำเภอและกิ่งอำเภอที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๒ กรณีที่เป็นเช็คประเภท ข. ซึ่งได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติแล้ว หรือเช็คประเภท ง. ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ประทับตราด้านหลังของเช็คพร้อมกับกรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร หรือผู้สั่งจ่าย ให้ปรากฏชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ และประเภทรายได้ที่ชำระ แล้วให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้จัดทำใบนำชำระเงิน หรือคำร้องขอชำระเงิน (ค.ร. ๑) หรือใบนำส่งเงินหรือใบนำฝากเงินหรือเอกสารนำชำระเงินอื่นใด ส่งให้หน่วยการคลัง พร้อมเช็คและสำเนาบันทึกอนุมัติและสำเนาเอกสารตามข้อ ๑๐ (๑) และ (๒) กรณีเป็นเช็คประเภท ข. เมื่อหน่วยการคลังได้รับเรื่องแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารทั้งหมด หากเห็นว่าถูกต้อง ให้หน่วยการคลังออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร โดยให้ระบุในใบเสร็จรับเงินด้วยว่าใบเสร็จรับเงินนี้ จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายต่อเมื่อสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้วและบันทึกลงในทะเบียนรับเช็คต่อไป ข้อ ๑๓ กรณีที่ผู้ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ให้หน่วยการคลังเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ที่นำเช็คมาชำระ ในขณะที่รับเช็คตามจำนวนเงินที่ได้รับแจ้งจากธนาคารแล้วนำส่งธนาคารที่นำฝากเช็คนั้น โดยไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินและไม่ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นรายได้กรุงเทพมหานคร หมวด ๓ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเช็คขัดข้อง ข้อ ๑๔ เมื่อกองการเงิน สำนักการคลังได้รับเช็คขัดข้องจากธนาคาร ให้จัดทำใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) ตามแบบท้ายระเบียบนี้ขึ้น ๕ ฉบับ ภายในวันทำการถัดไป และให้เขียน พิมพ์ หรือประทับตราให้เห็นได้โดยชัดเจนด้วยคำว่า “ฉบับที่ ๑” “ฉบับที่ ๒” ต่อไปตามลำดับ ไว้ที่มุมบนด้านขวาของใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) แล้วแยกใบแจ้งเช็คขัดข้องส่งให้หน่วยงาน ดังนี้ ฉบับที่ ๑ ส่งให้กองบัญชี สำนักการคลัง เพื่อลดยอดเงินรายได้กรุงเทพมหานครและเงินฝากธนาคาร ฉบับที่ ๒ ฉบับที่ ๓ และฉบับที่ ๔ ส่งให้หน่วยงานที่รับเช็คนั้นพร้อมทั้งเช็คขัดข้องและใบคืนเช็คของธนาคาร ฉบับที่ ๕ ให้กองการเงิน สำนักการคลังเก็บไว้เป็นหลักฐาน และลงบัญชีทะเบียนเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๒) ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๕ เมื่อหน่วยงานได้รับแจ้งเช็คขัดข้องจากกองการเงิน สำนักการคลัง ให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) เมื่อหน่วยการคลังของหน่วยงานได้รับแจ้งเช็คขัดข้องฉบับที่ ๒ ฉบับที่ ๓ และฉบับที่ ๔ พร้อมเช็คขัดข้องและใบคืนเช็คของธนาคาร ให้ประทับตราลงเลขที่รับในใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) ทั้ง ๓ ฉบับ แล้วส่งฉบับที่ ๒ พร้อมทั้งเช็คขัดข้องและใบคืนเช็คของธนาคารให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ และให้ใช้ฉบับที่ ๓ เป็นหลักฐานบันทึกบัญชีและบันทึกในทะเบียนเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๒) ส่วนฉบับที่ ๔ ใช้เป็นหลักฐานการตรวจสอบเมื่อมีการนำส่งชดใช้เช็คขัดข้อง (๒) เมื่อส่วนราชการเจ้าของรายได้ ได้รับแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) ฉบับที่ ๒ พร้อมทั้งเช็คขัดข้องและใบคืนเช็คของธนาคาร จากหน่วยการคลังของหน่วยงาน ให้ดำเนินการติดตามทวงหนี้และคำนวณค่าเพิ่มตามอัตราและอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป และให้เก็บรักษาเช็คนั้นไว้เป็นหลักฐานแทนตัวเงินจนกว่าจะเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นจากผู้สั่งจ่ายหรือผู้ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร (๓) ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้สั่งจ่ายทราบถึงเช็คขัดข้อง ภายใน ๗ วันทำการ นับแต่วันที่ส่วนราชการเจ้าของรายได้ได้รับแจ้งตาม (๒) ข้อ ๑๖ หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระหนี้ให้ครบตามจำนวนที่ปรากฏในเช็ค ภายในกำหนด ๗ วัน นับแต่วันที่แจ้งดังกล่าว ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท้องที่ภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่เกินกำหนด ๗ วันนั้น และติดตามเรื่องเพื่อให้มีการดำเนินคดีและชำระหนี้ ข้อ ๑๗ หากภายหลังปรากฏว่า ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครได้ยินยอมชำระหนี้ทั้งหมดโดยครบถ้วน ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้แจ้งขอถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน แต่ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินยังคงฝ่าฝืนไม่ยอมชำระหนี้โดยครบถ้วน ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ส่งเรื่องให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายใน ๖ เดือน นับจากวันที่ที่ลงในเช็คเพื่อดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีต่อไป ในกรณีผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ไม่สามารถชดใช้หนี้ให้เป็นการเสร็จสิ้นในคราวเดียวกันและขอผ่อนชำระ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความให้มีการผ่อนชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขและเงื่อนเวลา ดังนี้ (๑) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการวิทยาลัย เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต และผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท และมีอำนาจให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ผ่อนชำระได้ไม่เกินหนึ่งปี (๒) ผู้อำนวยการสำนักหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นสำนัก และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่เกินห้าแสนบาท และมีอำนาจให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครผ่อนชำระได้ไม่เกินสามปี (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกินหนึ่งล้านบาท และมีอำนาจให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครผ่อนชำระได้ไม่เกินห้าปี (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกินกว่าหนึ่งล้านบาท และมีอำนาจให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครผ่อนชำระได้ไม่เกินสิบปี การตกลงหรือประนีประนอมยอมความดังกล่าวให้ทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้หรือหนังสือสัญญา และให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครนำบุคคลหรือหลักทรัพย์มาทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระหนี้ โดยแบบของหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาผ่อนชำระหนี้ สัญญาค้ำประกัน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการค้ำประกัน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดโดยอนุโลม ข้อ ๑๘ เมื่อเช็คของผู้สั่งจ่ายขัดข้องและเรียกเก็บเงินไม่ได้ ห้ามหน่วยงานส่งเช็คขัดข้องคืนให้แก่ผู้สั่งจ่าย เว้นแต่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินสดหรือเป็นการแลกเปลี่ยนกับเช็คประเภท ก. หรือเช็คประเภท ข. หรือเช็คประเภท ค. หรือเช็คประเภท ง. โดยเช็คที่นำมาแลกเปลี่ยนต้องมีจำนวนเต็มตามมูลค่าในเช็คที่ขัดข้อง และหากเป็นเช็คประเภท ง. ที่ผู้สั่งจ่ายนำมาแลกเปลี่ยนกับเช็คที่ขัดข้องตามมูลหนี้เดิมนั้นเกิดขัดข้องและยังเรียกเก็บเงินไม่ได้ ห้ามหน่วยงานส่งคืนเช็คที่ขัดข้องอันเนื่องจากมูลหนี้เดิมแก่ผู้สั่งจ่าย เว้นแต่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินสดหรือเป็นการแลกเปลี่ยนกับเช็คประเภท ก. หรือเช็คประเภท ข. หรือเช็คประเภท ค. จึงคืนเช็คขัดข้องได้ ตลอดระยะเวลาที่มีเช็คขัดข้อง ให้หน่วยการคลังแสดงเลขที่เช็คขัดข้องเป็นรายฉบับ พร้อมทั้งจำนวนเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน (บ.ช. ๓) ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๙ เมื่อส่วนราชการเจ้าของรายได้รับชำระเงินเพื่อชดใช้เช็ดขัดข้องเป็นเงินสดหรือเช็ค ให้นำส่งเงินสดหรือเช็คส่งหน่วยการคลัง หากเป็นเช็คประเภท ง. ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้หมายเหตุ ในใบนำส่งเงินหรือใบนำฝากแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนถึงจำนวนครั้งที่ขัดข้องทุกครั้ง และแต่ละครั้งได้นำส่งเงินตามเช็คขัดข้องของธนาคารใดตามใบนำส่งเงิน หรือใบนำฝากที่เท่าใด เมื่อวันเดือนปีใด จำนวนเงินเท่าใด เป็นรายได้ประเภทอะไร ตั้งแต่ ครั้งแรกจนถึงครั้งที่เรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้องได้ โดยให้แยกใบนำส่งเงินหรือใบนำฝากต่างหากจากใบนำส่งเงินรายได้ หรือใบนำฝากตามปกติ และประทับตราข้อความในใบนำส่งเงินหรือใบนำฝากด้วยตัวอักษรสีแดงว่า “ชดใช้เช็คขัดข้อง” ข้อ ๒๐ เมื่อกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครได้เรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้องอันเนื่องจากผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครยินยอมชำระหนี้แล้ว ให้นำส่งเงินหรือเช็คส่งกองการเงิน สำนักการคลัง โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และจัดทำรายงานผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๔) ตามแบบท้ายระเบียบนี้ จำนวน ๔ ฉบับ ส่งให้หน่วยงาน ดังนี้ ฉบับที่ ๑ ส่งให้กองการเงิน สำนักการคลัง เพื่อลดยอดเช็คขัดข้องในทะเบียนเช็คขัดข้อง หากเป็นรายได้กรุงเทพมหานครประเภทภาษีอากร ให้สำเนาแจ้งกองรายได้ สำนักการคลัง ด้วย ฉบับที่ ๒ ฉบับที่ ๓ ส่งให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ เพื่อให้หน่วยการคลังใช้ฉบับที่ ๒ เป็นหลักฐานลดยอดเช็คขัดข้องในทะเบียนเช็คขัดข้อง ส่วนฉบับที่ ๓ ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ ใช้เป็นหลักฐานเพื่อลดหนี้ในทะเบียนลูกหนี้หรืองบยอดตั้งหรือลดลูกหนี้เงินายได้กรุงเทพมหานคร (บ.ช. ๕) ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ฉบับที่ ๔ ให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเก็บเป็นหลักฐาน ข้อ ๒๑ เมื่อหน่วยการคลังได้รับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครตามเช็คขัดข้องแล้ว ให้หมายเหตุว่า ได้รับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ตามเช็คขัดข้อง ธนาคาร สาขา เลขที่ ลงวันที่ แล้ว ด้วยเงินสด หรือเช็คทางธนาคาร สาขา เลขที่ ลงวันที่ จำนวนเงิน ตามใบนำส่งเงินหรือใบนำฝากที่ ในเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสรุปการรับเงิน ใบนำชำระเงิน (ค.ร. ๑) หรือเอกสารนำชำระเงินอื่นใด งบหน้าสรุปบัญชีรายรับ เป็นต้น พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนสภาพไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันn (บ.ช. ๓) และในทะเบียนเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๒) และลงรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครตามเช็คขัดข้องในใบสรุปการรับเงินประจำวันที่ได้รับการชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร หากกรณีรับเงินค่าปรับ และ/หรือค่าเพิ่ม และ/หรือเงินอื่นใดที่ลูกหนี้ต้องชำระเพิ่มขึ้นจากจำนวนเดิมตามมูลค่าในเช็คที่ขัดข้องอันเนื่องจากผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครชำระเงินเกินกำหนด ให้หน่วยงานเรียกเก็บจากลูกหนี้เป็นเงินสดในขณะที่มีการนำเช็คมาแลกเปลี่ยนเช็คที่ขัดข้องนั้นและให้หน่วยการคลังออกใบเสร็จรับเงินเฉพาะค่าปรับ และ/หรือค่าเพิ่ม และ/หรือเงินอื่นใด หมวด ๔ การเก็บรักษา การนำส่ง และการตรวจสอบเช็ค ข้อ ๒๒ เช็คที่หน่วยงานรับไว้ ให้เก็บรักษาตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๒๓ ให้หน่วยงานนำเช็คส่งเข้าบัญชีกรุงเทพมหานคร-รับในวันที่ได้รับเช็คหรืออย่างช้าภายในวันทำการถัดไป และให้แสดงในใบนำฝากเงิน ธนาคาร (เปย์-อิน) ให้ชัดเจนว่าเป็นเช็คธนาคารใด จำนวนเงินเท่าใด รวมทั้งสิ้นกี่ฉบับ กรณีการนำส่งเงินเพื่อชดใช้เช็คขัดข้อง ให้ปฏิบัติตาม ข้อ ๑๙ หรือข้อ ๒๐ แล้วแต่กรณี หากเป็นการนำส่งเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ประเภทภาษีอากรรายการภาษีบำรุงท้องที่ที่ได้รับชดใช้เช็คขัดข้อง ให้หน่วยงานนำส่งเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานครทั้งหมด โดยไม่ต้องหักเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ร้อยละ ๕ และส่วนลดในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ร้อยละ ๖ อีก ข้อ ๒๔ การปฏิบัติเกี่ยวกับการบัญชี และการรายงาน (๑) การตั้งลูกหนี้ เมื่อส่วนราชการเจ้าของรายได้ ได้รับใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) ฉบับที่ ๒ พร้อมทั้งเช็คขัดข้องและใบคืนเช็คของธนาคารจากหน่วยการคลัง ให้เจ้าหน้าที่ใช้ใบแข้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) สำเนาเช็คขัดข้อง และใบคืนเช็คขัดข้องของธนาคารเป็นหลักฐาน บันทึกจำนวนเงินในช่องลูกหนี้ของแบบยอดตั้งหรือลดลูกหนี้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร (บ.ช. ๕) ตามแบบท้ายระเบียบนี้ หรือบันทึกจำนวนเงินในทะเบียนคุมลูกหนี้ เพื่อตั้งเป็นลูกหนี้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร (๒) การลดลูกหนี้ เมื่อส่วนราชการเจ้าของรายได้ ดำเนินการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้องได้แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ใช้รายงานผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๔) เป็นหลักฐานบันทึกจำนวนเงินในช่องเจ้าหนี้ของแบบงบยอดตั้ง หรือลดลูกหนี้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร (บ.ช. ๕) หรือบันทึกจำนวนเงินด้วยตัวอักษรสีแดงในทะเบียนคุมลูกหนี้ เพื่อลดหนี้ในบัญชีลูกหนี้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร ข้อ ๒๕ ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ จัดทำรายงานผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๔) จำนวน ๓ ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ ๑ ส่งให้กองการเงิน สำนักการคลัง หากเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ประเภทภาษีอากร ให้สำเนาแจ้งกองรายได้ สำนักการคลัง ด้วย ฉบับที่ ๒ ส่งให้หน่วยการคลัง ภายใน ๗ วันทำการ นับแต่วันสิ้นเดือนของทุกเดือน ฉบับที่ ๓ ให้ส่วนราชการเจ้าของรายได้ เก็บไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ให้จัดทำรายงานผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๔) ภายใน ๗ วันทำการนับแต่วันสิ้นเดือนของทุกเดือน เพื่อติดตามผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้อง ข้อ ๒๖ เมื่อหน่วยการคลังได้รับชำระเงินตามใบนำส่งเงินพร้อมเงินสดหรือเช็คตามเช็คขัดข้องแล้วให้ลงบัญชีตามคู่มือระบบบัญชี หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๗ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบ] (๑) ใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๑) (๒) ทะเบียนเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๒) (๓) รายละเอียดเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๓) (๔) รายงานผลการเรียกเก็บเงินตามเช็คขัดข้อง (บ.ช. ๔) (๕) งบยอดตั้งหรือลดลูกหนี้เงินรายได้กรุงเทพมหานคร (บ.ช. ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑[๓] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘[๔] วชิระ/จัดทำ ๑ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๔๘/๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๐ [๒] ข้อ ๘ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๕/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๗๙/๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๑ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๑๘/๑๐ เมษายน ๒๕๔๘
685223
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2554 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๕) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๖) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ (๘) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ อัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานพิธีการที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัด ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้สถานที่ ค่าพาหนะและค่าขนส่ง ค่าตอบแทนอาสาสมัคร ค่าจ้างแรงงาน ค่าของรางวัล ของขวัญและของที่ระลึก ค่าอาหารแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ค่าเวชภัณฑ์ ค่าบัตรผ่านประตู ค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน และค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน และเงื่อนไขการเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ในกรณีมีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๒] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓] ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณัฐพร/ผู้ปรับปรุง ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๕/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๒] บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่ายแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
685227
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ ด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนประกอบด้วย (๑) ที่ปรึกษา (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน (๓) กรรมการชุมชน หมวด ๒ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ข้อ ๖ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ได้แก่ (๑) การให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนโดยที่ปรึกษา (๒) การสำรวจข้อมูลชุมชนโดยอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (๓) การเข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาชุมชนที่สำนักงานเขต หรือสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดการประชุมโดยกรรมการชุมชน หมวด ๓ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ข้อ ๗ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา จะต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน หรือเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยโดยคณะกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชนรับรองไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และมีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนนั้นๆ (๓) กรรมการชุมชนจะต้องเป็นกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน ข้อ ๘ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้มีที่ปรึกษาได้ไม่เกินกิจกรรมหรือโครงการละ ๔ คน (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ ในชุมชนหนึ่งให้มีอาสาสมัครพัฒนาชุมชนกิจกรรมหรือโครงการละไม่เกิน ๑๒ คน โดยคำนวณจากประชากร ๕๐ ครอบครัวต่ออาสาสมัครพัฒนาชุมชน ๑ คน เศษของ ๕๐ ถ้าเกิน ๒๕ ให้เพิ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชนได้อีก ๑ คน (๓) กรรมการชุมชน จะต้องเป็นประธานกรรมการและเลขานุการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน หรือกรรมการชุมชนทีได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการหรือเลขานุการที่เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาชุมชน หมวด ๔ หลักเกณฑ์และวิธีการในการจ่ายค่าตอบแทน ข้อ ๙ การจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกตามระเบียบนี้ ให้กระทำได้เฉพาะแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการตามวันและเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง อัตราค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ หมวด ๕ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน และการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๑ การเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของเรื่องกำหนด และอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๓ ชั่งโมง (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าวันละ๘ ชั่วโมง (๓) กรรมการชุมชน ให้เข้าร่วมประชุมตามกำหนดที่สำนักงานเขตหรือสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดการประชุม ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน[๒] ประเภทรายจ่าย รายการ อัตรา (บาท) หมายเหตุ ค่าตอบแทน ๑. ที่ปรึกษาเบิกจ่ายได้คนละ ชั่วโมงละ ๓๐๐ ๒. อาสาสมัครพัฒนาชุมชนเบิกจ่ายได้คนละ วันละ ๓๐๐ ๓. กรรมการชุมชนเบิกจ่ายได้ คนละ ครั้งละ ๔๐๐ เบิกจ่ายได้เดือนละไม่เกิน ๑ ครั้ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๓] ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ ณัฐพร/ผู้ปรับปรุง ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๔๕/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๘ [๒] บัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน รายการที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๘ ง/หน้า ๓๒/๒๕ มกราคม ๒๕๓๙ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๑/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
533296
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสำนักงานปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหมวด ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๗ และหมวด ๑๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร” [๒] “หน่วยงาน” หมายความว่า[๓] ส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งตั้งแต่ระดับฝ่าย หรือกองขึ้นไป และให้รวมถึงสถานธนานุบาลและตลาดด้วย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างประจำของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “สถานศึกษาของทางราชการ” หมายความว่า (๑) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย (๒) วิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หรือสังกัดส่วนราชการอื่น ที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๓) โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (๔) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาลที่ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ (๕) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานศึกษาของเอกชน” หมายความว่า (๑) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งจัดหลักสูตรระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าแยกต่างหากจากปริญญาตรี (๒) โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฏร์ แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนราษฏร์ประเภทอาชีวศึกษาที่ใช้หลักสูตรของโรงเรียนเอง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษ “เงินบำรุงการศึกษา” หมายความว่า เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์การของรัฐบาล “เงินค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาวิทยาลัย “บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีในวันที่ ๑ พฤษภาคม ของทุกปี แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น “ปีการศึกษา” หมายความว่า ปีการศึกษาที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย ส่วนราชการเจ้าสังกัด มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือองค์การของรัฐบาล หมวด ๒ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ข้อ ๖ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามระเบียบนี้ สำหรับวิธีการเบิกจ่ายในส่วนที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ รวมทั้งแบบพิมพ์การขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามระเบียบนี้ คือ พนักงานซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามข้อ ๗ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจการปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดมีบุตรเกินสามคน ถ้าบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาในสถานศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก่อนอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตาย กายพิการ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบนั้น โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน ข้อ ๙ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามข้อ ๘ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝด ซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามข้อ ๘ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรสหรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ในกรณีที่บุตรคนหนึ่งคนใดของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าว ตามวรรคหนึ่งตาย กายพิการจนไม่สามารถเล่าเรียนได้ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถที่มิได้ศึกษาที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ก่อนมีอายุครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวจึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้นได้ตามข้อ ๘ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งระเบียบข้อนี้ ข้อความที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามวรรคหนึ่ง การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัด ให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ประเภทและอัตราดังนี้ (๑) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรี ให้ได้รับเงินบำรุงการศึกษาเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม (๒) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม (๓) บุตรที่ศึกษาในสถานศึกษาของเอกชนในหลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แต่ไม่สูงกว่าระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าและหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรีให้ได้รับเงินค่าเล่าเรียนตามประเภทและอัตราที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง ข้อ ๑๑ การใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรในกรณีทีคู่สมรสเป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของทางราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือกรุงเทพมหานคร ให้คู่สมรสฝ่ายสามีเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียว คือถ้าคู่สมรสฝ่ายสามีเป็นพนักงาน ให้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามระเบียบนี้ ถ้าคู่สมรสเป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของทางราชการ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือกรุงเทพมหานครและมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานนั้น ให้ใช้สิทธิขอรับการช่วยเหลือจากทางรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานดังกล่าว เว้นแต่สิทธิที่ได้รับจากทางรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานนั้นต่ำกว่าสิทธิที่จะพึงได้รับตามระเบียบนี้ ให้คู่สมรสฝ่ายภรรยาที่เป็นพนักงานใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามระเบียบนี้ได้เพิ่มเท่าจำนวนที่ยังขาดอยู่ ในกรณีหย่าหรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมาย และบุตรอยู่ในความปกครองหรืออุปการะเลี้ยงดูของมารดาซึ่งเป็นพนักงาน ให้มารดาเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรที่อยู่ในอำนาจปกครองหรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของตนนั้นได้ ข้อ ๑๒ ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิ (๑) ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของพนักงานในสังกัด (๒) ให้ผู้อำนวยการการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครมีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเองและของผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าหน่วยงานขึ้นไป ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินในสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๔ การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามระเบียบนี้ ให้หน่วยงานเป็นผู้วางฎีกาเบิกเงินกับหน่วยงานการคลังส่วนกลางของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครของตนจากเงินงบกลางของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่ง ข้อ ๑๕ เมื่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ใช้สิทธิแล้ว ให้เขียนข้อความหรือประทับตรามีข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” ในหลักฐานการรับเงินทุกฉบับ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่พนักงานใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามระเบียบนี้โดยทุจริต หรือกรอกข้อความในคำขอเบิกเงินตามที่กล่าวข้างต้นนี้เป็นเท็จ นอกจากจะต้องรับโทษทางวินัยแล้ว ให้เป็นอันหมดสิทธิที่จะได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรดังกล่าวข้างต้นตลอดไปอีกด้วย ข้อ ๑๗ พนักงานผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรภายหลังวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้นำหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินดังกล่าวมาใช้บังคับกับการจ่ายเงินตามระเบียบนี้ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๙ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามระเบียบเดิมต่อไปจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘[๔] วชิระ/จัดทำ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๗๗/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ [๒] ข้อ ๕ บทนิยามคำว่า “การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร” ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ข้อ ๕ บทนิยามคำว่า “หน่วยงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๒/๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๘
787804
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. 2555 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๕) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๖) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๗) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๙) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศและคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนักงาน เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง”[๒] หมายความว่า กองการเงิน กองตรวจจ่าย สำนักการคลัง กองคลัง สำนักการศึกษา ฝ่ายการคลังหรือกลุ่มงานการคลัง หรือฝ่ายหรือกลุ่มงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน และให้หมายความรวมถึงฝ่ายงบประมาณการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ด้วย “หัวหน้าหน่วยการคลัง” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก หัวหน้าฝ่ายการคลังกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครvหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง กองบริหารทั่วไปสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้ากลุ่มงาน ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานการคลัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินด้วย “เจ้าของงบประมาณ” หมายความว่า หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายไม่ว่าจะเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับหน่วยงานนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในงบกลางและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ทำการเบิกและจ่ายเงินแทนเจ้าของงบประมาณด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานคร “อนุมัติฎีกา” หมายความว่า อนุญาตให้จ่ายเงินจากหน่วยการคลัง “หลักฐานการจ่าย” หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ หรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันถูกต้องแล้ว และให้รวมตลอดถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลังด้วย “ใบสำคัญคู่จ่าย” หมายความว่า หลักฐานการจ่ายเงินที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองการจ่ายเงินหลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร ทั้งนี้ รวมถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลัง “เงินยืม” หมายความว่า เงินที่หน่วยงานจ่ายให้แก่บุคคลใดยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร หรือปฏิบัติราชการอื่นใดในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย หรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร “ระบบ” หมายความว่า ระบบการบริหารการเงินการคลังของกรุงเทพมหานครด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปฏิบัติผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือผ่านช่องทางอื่นที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดก่อนนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “งบเงินรายรับรายจ่าย” หมายความว่า งบรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณโดยแสดงรายรับจริงและรายจ่ายจริง “ข้อมูลหลักเจ้าหนี้” หมายความว่า ข้อมูลของหน่วยงานผู้เบิกหรือเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับเงินเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อและเลขที่บัญชีธนาคาร เลขที่สัญญา เงื่อนไขการชำระเงิน หรือข้อมูลอื่นใดที่จำเป็น แล้วแต่กรณี เพื่อใช้สำหรับการรับเงินขอเบิกจากหน่วยการคลัง ข้อ ๖ บรรดาแบบพิมพ์ แบบรายงานการเงิน เอกสาร สมุดบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงินและรายงานทางการเงิน ตลอดจนวิธีใช้ ให้เป็นไปตามที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๗ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือ หรือทำเป็นคำสั่งมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดการเสียหายขึ้นผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดตามกฎหมาย หมวด ๒ การใช้งานในระบบ ข้อ ๘ ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายเป็นผู้มีสิทธิถือรหัสผู้ใช้งาน (user name) และรหัสผ่าน (password) เพื่อใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทั้งในด้านการเงิน การคลัง การวางฎีกา การลงบัญชีที่เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ให้หัวหน้าหน่วยงานกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบหมายไว้ด้วย ข้อ ๙ ให้ผู้มีสิทธิตามข้อ ๘ เก็บรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน เป็นความลับ และมีสิทธิใช้รหัสเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย อาทิเช่น การเรียกดูข้อมูล บันทึก ปรับปรุง ประมวลผล หรือเรียกรายงานจากระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ข้อ ๑๐ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดแนวทางการควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อเป็นหลักในการเข้าใช้งานในระบบ ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำคำสั่งหรือมอบหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด ๓ การเบิกเงิน ข้อ ๑๑ การเบิกเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณหรือหน่วยงานผู้ทำการเบิกแทนหรือหน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณ หรือเงินอุดหนุนรัฐบาล จัดทำใบขอเบิกเงินในระบบพร้อมเอกสารประกอบการขอเบิก กรณีเบิกเงินจากกระทรวงการคลังให้กองตรวจจ่าย สำนักการคลัง ส่งข้อมูลคำขอเบิกเงินและข้อมูลหลักเจ้าหนี้ในระบบไปยังกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ข้อ ๑๒ เมื่อหน่วยการคลังได้รับใบขอเบิกเงินและตรวจสอบแล้วให้ดำเนินการจัดทำฎีกาเบิกเงินในระบบ ข้อ ๑๓ การเบิกเงินกับหน่วยการคลังใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เว้นแต่กรณีการเบิกเงินที่ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๑๔ หน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะมอบหมายให้หน่วยงานอื่นหรือส่วนราชการภายในหน่วยงานเดียวกันเป็นผู้ทำการเบิกแทนก็ได้ โดยแจ้งให้สำนักการคลังทราบก่อนทำการเบิกเงิน ข้อ ๑๕ การขอเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายปีใด ให้กระทำได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของปีนั้น หากได้มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีหรือการขยายเวลาเบิกเหลื่อมปี ให้ขอเบิกได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้ ข้อ ๑๖ การขอเบิกเงินทุกกรณีให้ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่ายและห้ามขอเบิกเงินจนกว่าหนี้จะถึงกำหนด หรือใกล้จะถึงกำหนดจ่ายเงิน โดยอยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานที่เบิกเงินส่งหลักฐานตามข้อ ๘๒ แก่หน่วยการคลัง เพื่อทำการตรวจสอบ ทุกสิ้นเดือนให้หน่วยการคลังจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินจากระบบส่งให้หน่วยตรวจสอบภายในและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด สำหรับใบสำคัญพร้อมหลักฐานการส่งคืนเงินเหลือจ่าย ใบสำคัญคู่จ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้หรือหลักฐานการจ่ายให้เก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานนั้น จนกว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและหรือหน่วยตรวจสอบภายในจะตรวจสอบจนแล้วเสร็จ ข้อ ๑๘ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใด โดยปกติให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีนั้นในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณรายจ่ายของปีนั้นได้ทัน ให้เบิกข้ามปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณถัดไปได้ แต่ต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๑๙ ค่าใช้จ่ายที่เบิกในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้าง เงินค่าตอบแทนรายเดือน เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ เงินประจำตำแหน่ง เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เงินค่าสาธารณูปโภคหรือรายการอื่นที่สำนักการคลังกำหนด ในกรณีที่จำเป็นต้องค้างเบิกให้นำมาเบิกจากเงินงบประมาณของรายการนั้น ๆ หรือเงินอื่นที่ได้รับอนุมัติของปีงบประมาณต่อ ๆ ไปได้ ข้อ ๒๐ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ให้นำความในข้อ ๓๓ วรรคสอง มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๒๑ ค่าใช้จ่ายซึ่งมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายประจำ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามประเภทที่สำนักการคลังกำหนด ให้ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ และให้นำมาเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ ข้อ ๒๒ การซื้อพัสดุ การจ้างทำของ หรือการเช่า เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณทำใบขอเบิกโดยเร็ว อย่างช้าต้องไม่เกินเจ็ดวันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลอันสมควรให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกชี้แจงประกอบไว้เป็นหลักฐานประกอบใบขอเบิกเงิน ข้อ ๒๓ การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้เบิกในลักษณะค่าตอบแทน โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๒๔ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร หากเป็นระยะเวลาติดต่อคาบเกี่ยวไปถึงปีงบประมาณใหม่ จะเบิกเงินล่วงหน้าจากปีงบประมาณปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับระยะเวลาในปีงบประมาณใหม่ได้ แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตามต้องไม่เกินหกเดือนของปีงบประมาณใหม่ และให้ถือเป็นใบสำคัญคู่จ่ายที่เบิกจากปีงบประมาณเก่าได้ ข้อ ๒๕ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ต้องจ่ายประจำเดือนให้หน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนในกรณีบรรจุใหม่ กลับเข้ารับราชการใหม่ เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน พักราชการ ย้าย โอน ถูกลงโทษ พ้นจากราชการ หรือขอรับเงินเดือนทางหน่วยงานอื่นในสังกัดเดียวกัน หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกกรณี ให้มีสำเนาคำสั่งหรือเอกสารหลักฐานในกรณีนั้น ๆ ประกอบการขอเบิกด้วย ข้อ ๒๖ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ต้องจ่ายประจำเดือนให้หน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดเป็นอย่างอื่น ลูกจ้างรายเดือนให้จ่ายค่าจ้างในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ ส่วนลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมง ให้จ่ายค่าจ้างในวันสิ้นเดือน ถ้าวันสิ้นเดือนตรงกับวันหยุดราชการก็ให้จ่ายได้ในวันทำการก่อนวันสิ้นเดือน การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างในกรณีบรรจุใหม่ เปลี่ยนอัตรา เพิ่มค่าจ้าง ย้าย ถูกลงโทษ เลิกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกกรณี ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๒๕ วรรคสอง ข้อ ๒๗ การเบิกเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ต้องจ่ายประจำเดือนให้หน่วยงานทำการขอเบิกภายในวันที่สิบห้าของเดือนนั้น สำหรับวันจ่ายให้เป็นไปตามที่ระเบียบนี้กำหนด เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๘ การจ่ายเงินตามข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖ ที่ต้องจ่ายประจำเดือน ยกเว้นค่าจ้างชั่วคราวค่าจ้างลูกจ้างรายวัน และค่าจ้างลูกจ้างรายชั่วโมง ให้หน่วยการคลังโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับแทนการจ่ายเงินสด โดยผู้รับไม่ต้องลงลายมือชื่อรับเงิน แต่ให้แนบหลักฐานการจ่ายเงินประกอบเป็นใบสำคัญคู่จ่ายให้ครบถ้วนตามฎีกาที่ขอเบิกเงิน ทั้งนี้ หน่วยงานต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและป้องกันการทุจริตให้รัดกุมเพียงพอด้วย หมวด ๔ การจ่ายเงิน ข้อ ๒๙ เจ้าของงบประมาณจะก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงินได้แต่เฉพาะที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง อนุญาตให้จ่ายได้ การได้รับเงินจากหน่วยการคลังไปแล้วไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของเจ้าของงบประมาณที่จะต้องดูแลให้มีการจ่ายเงินตามหนี้ผูกพันให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง กรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจส่งเจ้าหน้าที่และหรือมอบพัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติราชการมาให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจการใดตามที่กรุงเทพมหานครขอความร่วมมือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่พึงเกิดจากการนั้น เจ้าของงบประมาณอาจถือปฏิบัติตามระเบียบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นก็ได้ กรณีที่กรุงเทพมหานครขอความร่วมมือหรือมอบหมายภารกิจให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นใดดำเนินการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น และส่งหลักฐานรายการค่าใช้จ่าย และหรือหลักฐานการตรวจรับพัสดุให้แก่กรุงเทพมหานคร ข้อ ๓๐ กรณีข้าราชการ บุคลากรกรุงเทพมหานครของหน่วยงาน หรือผู้มีสิทธิซึ่งจ่ายเงินไปโดยได้รับใบเสร็จรับเงินอันมีรายการไม่ครบถ้วนหรือตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ ให้ผู้นั้นทำใบรับรองการจ่ายเงินเพื่อนำมาเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินเสนอขออนุมัติต่อหัวหน้าหน่วยงานและเมื่อมีการจ่ายเงินแล้ว ให้ทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงินนั้นเพื่อเป็นหลักฐานการจ่าย กรณีที่ได้รับใบเสร็จรับเงินแล้วแต่เกิดสูญหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินแทนได้ กรณีที่ไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตามวรรคสองได้ ให้ข้าราชการ บุคลากรกรุงเทพมหานครของหน่วยงาน หรือผู้มีสิทธิทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงเหตุผลพฤติการณ์ที่สูญหายหรือไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินได้ และรับรองว่ายังไม่เคยนำใบเสร็จรับเงินนั้นมาเบิกจ่ายแม้พบภายหลังจะไม่นำมาเบิกจ่ายอีก แล้วเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้ใช้ใบรับรองนั้นเป็นหลักฐานประกอบการขอเบิกเงินได้ และเมื่อมีการจ่ายเงินแล้วให้ทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงินนั้นเพื่อเป็นหลักฐานการจ่าย กรณีเอกสารอื่นประกอบการเบิกจ่ายเงินสูญหายให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติให้ใช้สำเนาเอกสารแทนได้ ข้อ ๓๑ กรณีหลักฐานการจ่ายของหน่วยงานสูญหายให้ถือปฏิบัติตามวิธีการที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๓๒ เงินที่ขอเบิกจากหน่วยการคลังเพื่อการใด เมื่อได้รับมาแล้วให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้น จะนำไปจ่ายเพื่อการอื่นมิได้ ข้อ ๓๓[๓] การจ่ายเงินให้กระทำได้ภายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และภายในระยะเวลาของปีงบประมาณนั้น หากไม่สามารถจ่ายได้ทันให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอผ่อนผันได้ไม่เกินสิบห้าวัน เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การสั่งก่อหนี้และการอนุมัติจ่ายเงินทุกกรณีจะต้องได้รับเงินประจำงวดตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ การอนุมัติการจ่ายเงินให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (๑) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร นอกจากวงเงินใน (๑) และ (๒) แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร นอกจากวงเงินใน (๑) (๒) และ (๓) แต่ไม่เกิน ๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกินกว่า ๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท กรณีงบประมาณกำหนดรายการในหมวดเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ส่วนราชการ องค์กร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานเจ้าของงบประมาณมิได้ดำเนินการเอง การจ่ายเงินให้เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจตามวรรคสามพิจารณา ข้อ ๓๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจอนุมัติให้หน่วยงานใดแยกไปทำการรับเงิน จ่ายเงิน และเก็บรักษาเงินได้ และให้หน่วยงานที่แยกไปนั้นดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิก - จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๓๕ การจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค ยกเว้น (๑) กรณีที่จ่ายจากเงินทดรองราชการ ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นเงินสดให้จ่ายเป็นเงินสด (๒) การจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าห้าพันบาทจะจ่ายเป็นเงินสดก็ได้ (๓) กรณีการจ่ายเงินจากบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใด ซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้หัวหน้าหน่วยการคลังอาจพิจารณาให้จ่ายเป็นเงินสดก็ได้ โดยสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับหรือส่งเงิน เว้นแต่การจ่ายเงินที่มิใช่เงินสวัสดิการ และวงเงินเกินห้าพันบาท ให้จ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค การจ่ายเงินผ่านธนาคารหรือด้วยวิธีอื่นใด ให้เป็นไปตามที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๓๖ การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ในกรณีซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ หรือเช่าทรัพย์สินให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน พร้อมระบุเลขที่บัญชีธนาคารที่ผู้นั้นแจ้งไว้ด้วยและขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก และขีดคร่อมทั่วไป โดยระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือว่า “A/C Payee Only” (๒) การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินนอกจากกรณีตาม (๑) ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน โดยขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออกและจะขีดคร่อมหรือไม่ก็ได้ (๓) กรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินสดมาจ่าย ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับหรือส่งเงินของหน่วยงานและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก โดยห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้เขียนหรือพิมพ์ให้ชิดเส้นและชิดคำว่า “บาท” หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรมิให้มีช่องว่างที่จะเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินเพิ่มเติมได้ และให้ขีดเส้นตรงหลังชื่อผู้รับเงินจนชิดคำว่า “หรือผู้ถือ” โดยมิให้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลอื่นเพิ่มเติมได้ ห้ามลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คไว้ล่วงหน้า โดยยังมิได้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อผู้รับเงิน วันที่ที่ออกเช็ค และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย ข้อ ๓๗ การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ และในกรณีที่เป็นใบสำคัญคู่จ่ายให้ผู้จ่ายเงินประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” และลงลายมือชื่อ พร้อมวัน เดือน ปี กำกับไว้ด้วย ส่วนหลักฐานอื่นให้ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” โดยไม่ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ก็ได้ ข้อ ๓๘ หลักฐานการจ่ายต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึก การแก้ไขหลักฐานการจ่ายให้ใช้วิธีขีดฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่และให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง ให้หน่วยงานเก็บรักษาหลักฐานการจ่ายไว้ในที่ปลอดภัย มิให้สูญหายหรือเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วให้เก็บอย่างเอกสารธรรมดา ข้อ ๓๙ ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินออกให้อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและสถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน (๓) ลายมือชื่อผู้รับเงิน (๔) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (๕) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร ใบเสร็จรับเงินเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยได้ความตามรายการในวรรคหนึ่ง ข้อ ๔๐ ในการจ่ายเงินของหน่วยงานต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินทุกราย เช่น ต้องเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงิน เว้นแต่จะได้ลงชื่อรับเงินในทะเบียนจ่ายเงินเดือนหรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคารหรือเงินอื่นไว้อีกทางหนึ่งแล้ว (๒) ห้ามมิให้เรียกใบสำคัญคู่จ่ายจากเจ้าหนี้หรือผู้รับเงินก่อนการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับเงิน ข้อ ๔๑ การจัดจ้างทุกกรณี ยกเว้นการจ้างที่ปรึกษาหรือการจัดจ้างอื่นใดที่มีลักษณะของการคำนวณราคากลางตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างก่อสร้าง ต้องจัดทำประมาณการรายละเอียด ประกอบการเบิกจ่ายเงิน โดยเสนอหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาอนุมัติ การจัดทำประมาณการรายละเอียดให้แยกรายละเอียดเนื้องานให้ละเอียดมากที่สุด โดยแยกออกเป็นรายการ ๆ ไป ทั้งนี้ ให้แสดงราคาต่อหน่วยและจำนวนเงินรวมที่ประมาณว่าจะต้องจ่ายไว้ด้วยประมาณการรายละเอียดการจ้างต้องลงลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำกำกับไว้ ข้อ ๔๒ การจ่ายเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกรายการจ่ายเงินนั้นในระบบบัญชีของกรุงเทพมหานครในวันที่มีการจ่ายเงิน ข้อ ๔๓ การจ่ายเงินทุกกรณี ถ้าผู้จ่ายมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องหักภาษีใด ๆ ไว้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งส่วนราชการใด ให้ดำเนินการตามกฎหมายนั้น การจ่ายเงินในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด หมวด ๕ การเบิกจ่ายเงินยืม ข้อ ๔๔ การอนุมัติให้ยืมเงินเพื่อใช้ในราชการ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็น และห้ามมิให้อนุมัติให้ยืมเงินรายใหม่หากผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน ข้อ ๔๕ การจ่ายเงินยืมใช้ในราชการจะจ่ายได้แต่เฉพาะที่ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้จ่ายเงินยืมตามสัญญาการยืมเงินแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ในการยืมเงินต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อสัญญา ข้อ ๔๖ สัญญาการยืมเงินให้จัดทำขึ้นสองฉบับ เมื่อผู้ยืมได้รับเงินตามสัญญาการยืมเงินแล้วให้ลงลายมือชื่อรับเงินในสัญญาการยืมเงินทั้งสองฉบับ มอบให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับและผู้ยืมเก็บไว้หนึ่งฉบับ เมื่อผู้ยืมส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคืนเงินยืมบันทึกการรับคืนในสัญญาการยืมเงิน พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงินและหรือใบรับใบสำคัญให้ผู้ยืมเก็บไว้เป็นหลักฐาน ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาสัญญาการยืมเงินที่ยังมิได้ชำระคืนเงินยืมไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย และเมื่อผู้ยืมได้ชำระคืนเงินยืมเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้เก็บเช่นเดียวกับหลักฐานการจ่าย ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมจัดทำทะเบียนเงินยืมไว้ด้วย ข้อ ๔๗ การยืมเงินของผู้ยืมที่มิใช่ข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องนำหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันเงินยืมพร้อมทั้งทำสัญญาวางหลักทรัพย์หรือหาบุคคลทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ข้อ ๔๘ สัญญาการยืมเงิน สัญญาวางหลักทรัพย์ และสัญญาค้ำประกันให้เป็นไปตามแบบที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๔๙ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินยืม (๑) เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขต ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๕๐ การจ่ายเงินยืมเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ให้จ่ายได้สำหรับระยะเวลาไม่เกินหกสิบวัน หากจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่ากำหนดเวลาดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕๑ ให้ผู้ยืมส่งหลักฐานการจ่ายและเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) กรณียืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการทั้งในและนอกราชอาณาจักร ให้ส่งคืนต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันกลับมาถึง (๒) กรณียืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติราชการอื่นใดในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร นอกจาก (๑) ให้ส่งคืนต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับเงิน ในกรณีที่ผู้ยืมได้ส่งหลักฐานการจ่ายเพื่อส่งใช้คืนเงินยืมแล้วมีเหตุต้องทักท้วง ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมแจ้งข้อทักท้วงให้ผู้ยืมทราบโดยด่วน แล้วให้ผู้ยืมปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำทักท้วง หากผู้ยืมมิได้ดำเนินการตามคำทักท้วงและมิได้ชี้แจงเหตุผลให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมทราบ ก็ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงิน โดยถือว่าผู้ยืมยังมิได้ส่งใช้คืนเงินยืมเท่าจำนวนที่ทักท้วงนั้น ข้อ ๕๒ ในกรณีที่ผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเรียกชดใช้เงินยืมตามเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงินให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนด กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ ให้หัวหน้าหน่วยการคลังรายงานตามสายการบังคับบัญชาถึงผู้อนุมัติเงินยืม เพื่อสั่งการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาการยืมเงินต่อไป หากจำเป็นก็ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ยืมนั้นภายในกำหนดอายุความ ข้อ ๕๓ กรณีที่จำเป็นต้องจ่ายเงินยืมเพื่อปฏิบัติราชการที่ติดต่อคาบเกี่ยวจากปีงบประมาณปัจจุบันไปจนถึงปีงบประมาณถัดไปให้เบิกเงินยืมงบประมาณในปีปัจจุบัน โดยให้ถือว่าเป็นรายจ่ายของงบประมาณปีปัจจุบันและให้ใช้จ่ายเงินยืมคาบเกี่ยวปีงบประมาณถัดไปได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ หมวด ๖ การรับเงิน ส่วนที่ ๑ ใบเสร็จรับเงิน ข้อ ๕๔ ใบเสร็จรับเงินให้ใช้ตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด และให้มีสำเนาติดไว้กับเล่มอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ใบเสร็จรับเงินที่ออกด้วยคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๕๕ ใบเสร็จรับเงินให้พิมพ์หมายเลขกำกับเล่ม และหมายเลขกำกับใบเสร็จรับเงินเรียงกันไปทุกฉบับ ข้อ ๕๖ ให้สำนักการคลังเป็นผู้จัดหาใบเสร็จรับเงิน และจัดทำทะเบียนคุมจำนวนที่จัดพิมพ์ จำนวนที่จ่าย โดยระบุเล่มที่ เลขที่ของใบเสร็จรับเงิน ระบุว่าจ่ายให้กับหน่วยงานใด พร้อมวันเดือนปีที่จ่ายและจำนวนคงเหลือพร้อมทั้งเล่มที่ เลขที่ รวมทั้งจัดเก็บหลักฐานการรับ - จ่าย เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ให้หน่วยการคลังที่เบิกใบเสร็จรับเงินจากสำนักการคลัง รวมทั้งหน่วยงานหรือส่วนราชการที่เบิกใช้ใบเสร็จรับเงิน ควบคุมใบเสร็จรับเงิน โดยจัดทำทะเบียนคุมไว้เพื่อทราบ และตรวจสอบตามวรรคหนึ่งด้วย กรณีที่หน่วยงานจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากที่สำนักการคลังจัดหา หรือเป็นใบเสร็จรับเงินที่ต้องออกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใด ให้ขออนุมัติต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรณี ๆ ไป และให้หัวหน้าหน่วยงานมีอำนาจกำหนดวิธีการควบคุมใบเสร็จรับเงินนั้นด้วย ข้อ ๕๗ การจ่ายใบเสร็จรับเงินให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไปจัดเก็บเงินให้พิจารณาจ่ายในจำนวนที่เหมาะสมแก่ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และให้มีหลักฐานการรับส่งใบเสร็จรับเงินนั้นไว้ด้วย ข้อ ๕๘ ใบเสร็จรับเงินเล่มใดเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เช่น ยุบเลิกสำนักงานหรือไม่มีการจัดเก็บเงินต่อไปอีก ให้หัวหน้าหน่วยงานที่รับใบเสร็จรับเงินนั้น นำส่งคืนส่วนราชการที่จ่ายใบเสร็จรับเงินนั้นโดยด่วน ข้อ ๕๙ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานซึ่งรับใบเสร็จรับเงินไปดำเนินการจัดเก็บเงินรายงานให้หน่วยการคลังทราบว่า มีใบเสร็จรับเงินอยู่ในความรับผิดชอบ เล่มใด เลขที่ใดถึงเลขที่ใด และได้ใช้ใบเสร็จรับเงินไปแล้วเล่มใด เลขที่ใดถึงเลขที่ใด อย่างช้าไม่เกินวันที่ ๓๑ ตุลาคมของปีงบประมาณถัดไป ข้อ ๖๐ ใบเสร็จรับเงินเล่มใดสำหรับรับเงินของปีงบประมาณใด ให้ใช้รับเงินของปีงบประมาณนั้นเมื่อขึ้นปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มใหม่ ใบเสร็จรับเงินฉบับใดยังไม่ใช้ ให้คงติดไว้กับเล่มแต่ให้ปรุ เจาะรู หรือประทับตรา “เลิกใช้” เพื่อให้เป็นที่สังเกตมิให้นำมาใช้รับเงินได้อีกต่อไป ข้อ ๖๑ ห้ามขูดลบเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินหรือชื่อผู้ชำระเงินในใบเสร็จรับเงิน หากใบเสร็จรับเงินฉบับใดลงรายการรับเงินผิดพลาด ให้ขีดฆ่าจำนวนเงินและเขียนใหม่ทั้งจำนวนโดยให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับการขีดฆ่านั้นไว้ หรือขีดฆ่าเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินนั้นทั้งฉบับแล้วออกฉบับใหม่โดยให้นำใบเสร็จรับเงินที่ขีดฆ่าเลิกใช้นั้นติดไว้กับสำเนาใบเสร็จรับเงินในเล่ม ข้อ ๖๒ ให้หน่วยงานเก็บรักษาสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังไม่ได้ตรวจสอบไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้สูญหายหรือเสียหายได้ และเมื่อได้ตรวจสอบแล้วให้เก็บไว้อย่างเอกสารธรรมดาได้ ส่วนที่ ๒ การรับเงิน ข้อ ๖๓ การรับเงินทุกประเภทต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำเงินมาชำระทุกรายและต้องมีต้นขั้วหรือคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินนั้นรักษาไว้ด้วย ในกรณีที่มีการจำหน่ายตั๋วฉีกแทนใบเสร็จรับเงินนั้นแล้วไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินอีก แต่ให้มีทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วไว้เป็นหลักฐาน การรับเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกรายการรับเงินไว้ในบัญชีเงินสดหรือทะเบียนอื่นใดแล้วแต่กรณีในวันที่ได้รับเงิน โดยให้มีหลักฐานประกอบให้ครบถ้วนทุกราย ข้อ ๖๔ ให้หน่วยงานซึ่งได้แยกไปทำการรับจ่ายและรักษาเงินนำเงินรับทั้งสิ้นหรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารส่งหน่วยการคลังทุกวัน พร้อมด้วยใบนำส่งเงินและสำเนาคู่ฉบับอย่างน้อยสองฉบับ และต้องมีสำเนาเป็นหลักฐานเก็บรักษาไว้ ณ หน่วยงานด้วย ถ้าส่งไม่ทันในวันนั้นก็ให้นำส่งในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการ และให้ระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ในใบนำส่งเงินด้วย ใบนำส่งเงินต้องลงชื่อหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ส่ง หัวหน้าหน่วยการคลังหรือหัวหน้าหน่วยงานผู้รับเงินและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายในหน่วยการคลังเป็นผู้ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐาน หมวด ๗ การเก็บรักษาเงิน ข้อ ๖๕ ให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงินไม่น้อยกว่าสามคนจากข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงานและหรือชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไปในหน่วยงาน โดยให้หัวหน้าหน่วยการคลังของหน่วยงานนั้นเป็นประธานกรรมการ ข้อ ๖๖ ให้หน่วยงานเก็บรักษาเงินที่จัดเก็บหรือได้รับไว้ในตู้นิรภัยซึ่งตั้งอยู่ในที่ปลอดภัยของหน่วยงานนั้น ข้อ ๖๗ ตู้นิรภัยให้มีลูกกุญแจอย่างน้อยสองสำรับ แต่ละสำรับไม่น้อยกว่าสองดอกแต่ไม่เกินสามดอก โดยแต่ละดอกต้องมีลักษณะต่างกัน โดยสำรับหนึ่งมอบให้กรรมการเก็บรักษาเงิน ส่วนสำหรับที่เหลือให้เก็บรักษาไว้ในลักษณะหีบห่อ ณ สำนักการคลัง ข้อ ๖๘ ให้กรรมการเก็บรักษาเงินเป็นผู้ถือกุญแจตู้นิรภัย ในกรณีที่ตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสามดอกและมีกรรมการสามคน ก็ให้กรรมการถือกุญแจคนละดอก หากตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสองดอกแต่มีกรรมการสามคน ให้กรรมการที่มีอาวุโสตามระเบียบราชการถือกุญแจคนละหนึ่งดอก และให้กรรมการอีกหนึ่งคนมีหน้าที่ประจำรหัสตู้นิรภัยแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ากรรมการเก็บรักษาเงินผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงานและหรือชำนาญการให้เป็นกรรมการแทนชั่วคราวให้ครบจำนวน การแต่งตั้งผู้ที่จะเป็นกรรมการจะแต่งตั้งไว้เป็นการประจำ เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวก็ได้ ข้อ ๖๙ การส่งมอบและรับมอบกุญแจระหว่างกรรมการกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๖๘ ให้กรรมการผู้ส่งมอบและกรรมการผู้รับมอบตรวจนับตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงิน ซึ่งเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยให้ถูกต้องตามรายงานเงินคงเหลือประจำวันแล้วบันทึกการส่งมอบและรับมอบพร้อมกับลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันนั้นด้วย ห้ามมิให้กรรมการมอบกุญแจให้ผู้อื่นทำหน้าที่กรรมการแทน เว้นแต่เป็นการมอบให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๖๘ กรรมการจะต้องเก็บรักษากุญแจไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย หรือให้ผู้ใดลักลอบนำไปพิมพ์แบบกุญแจได้ หากปรากฏว่ากุญแจสูญหายหรือมีกรณีสงสัยว่าจะมีผู้ปลอมแปลงกุญแจ ให้หัวหน้าหน่วยงานสอบสวนแล้วรีบรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการโดยด่วน ข้อ ๗๐ เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินนำเงินที่จะเก็บรักษาและรายงานเงินคงเหลือประจำวันส่งมอบต่อคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและเอกสารแทนตัวเงินกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อปรากฏว่าถูกต้องแล้ว ให้นำเงินและเอกสารแทนตัวเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัยและให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันไว้เป็นหลักฐาน รายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อกรรมการเก็บรักษาเงินได้ลงลายมือชื่อแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อทราบ ในกรณีที่ปรากฏว่า เงินที่ได้รับมอบให้เก็บรักษาไม่ตรงกับจำนวนซึ่งแสดงไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและเจ้าหน้าที่การเงินผู้นำส่งร่วมกันบันทึกจำนวนเงินที่ตรวจนับได้นั้นไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การเงินผู้นำส่ง แล้วนำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย และให้กรรมการเก็บรักษาเงินรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครทราบทันที เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ ๗๑ การนำเงินและเอกสารแทนตัวเงินเข้าเก็บในตู้นิรภัย ให้กรรมการใส่กุญแจตู้นิรภัยให้เรียบร้อยพร้อมกับล้างรหัสตู้นิรภัยไปตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดออกได้ แม้จะมีกุญแจทั้งสองดอกไขพร้อมกันก็ตาม จนกว่ากรรมการที่ประจำรหัสตู้นิรภัยจะหมุนรหัสตู้นิรภัยไปอยู่ในตำแหน่งปลดล็อครหัส ในวันทำการถัดไปหากจะต้องนำเงินออกจ่าย ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินมอบเงินที่เก็บรักษาทั้งหมดให้หัวหน้าหน่วยการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินรับไปจ่าย โดยให้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันก่อนวันทำการที่รับเงินไปจ่ายนั้น กรณีคณะกรรมการเก็บรักษาเงินส่งมอบเอกสารแทนตัวเงินให้แก่หัวหน้าหน่วยการคลังให้จัดทำหลักฐานการส่งมอบเป็นหนังสือไว้ด้วย ข้อ ๗๒ จำนวนเงินที่เก็บรักษาไว้ในหน่วยการคลังต้องไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เว้นแต่ในกรณีจำเป็นให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติขยายวงเงินที่เก็บรักษาในหน่วยการคลังนั้นได้เป็นคราว ๆ ไป หมวด ๘ การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง ข้อ ๗๓ บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับไว้ในวันใดให้นำส่งหน่วยการคลังในวันนั้น ถ้านำส่งไม่ทันให้นำส่งในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการ พร้อมระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ด้วย ทั้งนี้ หน่วยงานอาจนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร แล้วนำส่งหลักฐานการนำฝากแทนก็ได้ ส่วนการนำส่งเอกสารแทนตัวเงินอื่นใดให้เป็นไปตามที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๗๔ การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร ให้เปิดบัญชีกับธนาคารของรัฐหรือธนาคารที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗๕ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจถอนเงินฝากร่วมกันจากบัญชีเงินฝากธนาคารตามข้อ ๗๔ (๑) ผู้อำนวยการสำนักการคลังหรือผู้ที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมายกับหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักการคลัง กรณีเป็นการเบิกเงินจากสำนักการคลัง (๒) หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายกับหัวหน้าหน่วยการคลัง การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการถอนเงินฝากให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี การโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากธนาคารให้ถือเป็นการถอนเงินตามวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวให้ถือเป็นรายจ่ายของหน่วยงาน ข้อ ๗๖ ให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งกรรมการร่วมกันเป็นคณะในการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคาร หรือ ณ สถานที่รับเงินแห่งอื่นใดรวมตลอดถึงต่างหน่วยงานในสำนักงานเดียวกัน โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้เป็นกรรมการ จำนวนกรรมการ จำนวนเงิน และสถานที่รับส่งเงิน พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการการควบคุม เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ ห้ามกรรมการไปรับหรือส่งเงินแต่ลำพังผู้เดียว ข้อ ๗๗ บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราชการ หรือรายได้อื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร ให้นำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร เว้นแต่จะมีกฎหมาย ข้อบัญญัติหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หน่วยงานใดได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้นหรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้นให้หน่วยงานดังกล่าวจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับได้โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ หรือข้อบังคับที่กรุงเทพมหานครกำหนดแต่เมื่อได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แล้วมีเงินเหลือจ่ายเท่าใดให้นำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครต่อไป หมวด ๙ การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ ๗๘ หน่วยงานใดได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณโดยการซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของหรือเช่าทรัพย์สินที่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง สัญญา หรือข้อตกลง และมีวงเงินตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไปหรือตามที่สำนักการคลังกำหนด กรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินไปชำระหนี้ได้ทันสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือว่าใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง สัญญา หรือข้อตกลง ที่ได้จัดทำหรือลงไว้ในระบบเป็นการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีต่อไปได้อีกตามอายุสัญญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันสิ้นปีงบประมาณถัดไป ในกรณีที่ไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้หน่วยงานขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้อีกเป็นเวลาหกเดือนนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ หากก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายในหกเดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ และมีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้หน่วยงานขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการก่อหนี้ผูกพันให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การเบิกจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายภายหลังเวลาดังกล่าว ให้เสนอขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร เป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๗๙ การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หน่วยงานต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณโดยปฏิบัติตามวิธีการที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๘๐ หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนรัฐบาล ไม่ว่าจะได้ก่อหนี้ผูกพันแล้วหรือยังมิได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือปฏิบัติตามที่สำนักการคลังกำหนด หมวด ๑๐ การตรวจและอนุมัติฎีกา ข้อ ๘๑ การตรวจและอนุมัติฎีกา ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเบิกเงินจากสำนักการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการกองตรวจจ่าย และการอนุมัติฎีกาให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักการคลัง (๒) กรณีเบิกจ่ายเงินกับหน่วยการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยการคลัง และการอนุมัติฎีกาให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘๒ การตรวจฎีกาเบิกเงินงบประมาณ ให้ตรวจสอบในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ แล้วจึงเสนอขออนุมัติฎีกา (๑) มีลายมือชื่อพร้อมวงเล็บชื่อของผู้เบิกเงินครบถ้วนถูกต้อง (๒) มีเงินประจำงวดเพียงพอและมีรายการถูกต้องตรงกับงบประมาณ (๓) มีหนี้สินผูกพันหรือมีหลักฐานแห่งหนี้อื่นใดหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงิน และถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดที่ต้องจ่ายเงิน (๔) มีคำรับรองของผู้เบิกเงินว่า การก่อหนี้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมีผู้อนุมัติถูกต้องครบถ้วน (๕) ต้องมีหลักฐานหรือคำสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง และมีหลักฐานการตรวจรับพัสดุหรือตรวจรับงานจ้าง แล้วแต่กรณี การตรวจและขออนุมัติฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนรัฐบาลและเงินอื่น ให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๘๓ การอนุมัติฎีกาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการครบถ้วนตามข้อ ๘๒ แล้ว ข้อ ๘๔ เมื่อหน่วยการคลังจ่ายเงินแล้ว ให้ตรวจสอบใบสำคัญคู่จ่ายและหรือหลักฐานการจ่ายให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ และนำหลักฐานประกอบไว้ในฎีกาจ่ายเงิน และจัดส่งเอกสารทั้งหมดคืนหน่วยงานผู้เบิกเงินเพื่อรวมกับเรื่องเดิมและเก็บไว้รอการตรวจสอบ ข้อ ๘๕ ฎีกาเบิกเงินหรือเอกสารประกอบฎีการายใดไม่ถูกต้องในสาระสำคัญให้ผู้ตรวจฎีกาทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้เบิกได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในห้าวันทำการนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการทักท้วงนั้น หากไม่สามารถแก้ไขให้ทันตามกำหนดดังกล่าวได้และเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกาตามข้อ ๘๑ อาจพิจารณาให้ขยายระยะเวลาการแก้ไขฎีกาดังกล่าวตามที่เห็นสมควรได้ หากข้อผิดพลาดในสาระสำคัญนั้นเกิดจากการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง แต่เจ้าของงบประมาณมีข้อผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ ให้ผู้ตรวจฎีกาแจ้งหน่วยงานเพื่อรายงานข้อบกพร่องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ ในกรณีที่ฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญหรือมิใช่เป็นจำนวนเงินที่ขอเบิกผู้ตรวจฎีกาหรือผู้อนุมัติฎีกาอาจแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งผู้เบิกทราบ หรือแจ้งให้ผู้เบิกเป็นผู้แก้ไขก็ได้ ข้อ ๘๖ การตรวจฎีกาและการอนุมัติฎีกาให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับฎีกา ในกรณีที่ฎีกามีเหตุทักท้วง เมื่อได้รับคืนฎีกาที่แก้ไขแล้วให้ดำเนินการตรวจและอนุมัติฎีกาให้แล้วเสร็จภายในสามวันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับคืนฎีกา ข้อ ๘๗ ก่อนการขอเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจัดซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ หากหน่วยงานพบว่าการขอเบิกเงินไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง แต่เจ้าของงบประมาณมีข้อผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ ให้รายงานข้อบกพร่องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ หมวด ๑๑ การควบคุมและตรวจสอบ ข้อ ๘๘ ให้หน่วยงานแต่ละแห่งมีบัญชีและทะเบียนรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักการและนโยบายบัญชีที่กรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๘๙ ทุกวันที่มีการรับจ่ายเงินให้หัวหน้าหน่วยการคลังรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่าง ๆ ให้หัวหน้าหน่วยงานทราบเป็นประจำทุกวัน ทุกสิ้นเดือนให้หัวหน้าหน่วยงานจัดส่งรายงานทางการเงินให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบพร้อมสำเนารายงานดังกล่าวให้หน่วยตรวจสอบภายในและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งละหนึ่งชุด ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานจัดทำรายงานทางการเงินในรอบปีงบประมาณเสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบ โดยผ่านหน่วยตรวจสอบภายในและสำเนาส่งสำนักการคลังกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งละหนึ่งชุด ข้อ ๙๐ ให้สำนักการคลังจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงเปรียบเทียบกับงบประมาณ กับจัดทำรายงานทางการเงินในรอบปีงบประมาณเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙๑ ให้หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การรับจ่ายเงิน การพัสดุ และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่าย หรือตรวจสอบอื่นใดตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙๒ ในการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการรับจ่ายเงิน ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือรับเงินและหรือหัวหน้าหน่วยการคลังมีหน้าที่ให้คำชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบภายในหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุทักท้วงให้หน่วยตรวจสอบภายในแจ้งโดยตรงกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือกรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งโดยตรงกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้หน่วยงานนั้นปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากหัวหน้าหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามคำทักท้วงของหน่วยตรวจสอบภายในตามกำหนดโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้หน่วยตรวจสอบภายในรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบเพื่อสั่งการ ข้อ ๙๓ เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานใดปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังไม่ถูกต้องตามระเบียบ ให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยด่วน หากปรากฏว่าเงินในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดขาดบัญชีหรือสูญหายหรือเสียหายเพราะการทุจริตหรือมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งมิใช่กรณีปกติ ให้หัวหน้าหน่วยงานสั่งการให้หาตัวผู้รับผิดเบื้องต้นให้ส่งเงินคืนให้ครบถ้วน และดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้ต้องรับผิดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เห็นว่าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด และรายงานพฤติการณ์ให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยพลัน หมวด ๑๒ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๙๔ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป หมวด ๑๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๙๕ ให้บรรดาเอกสารแบบพิมพ์ ซึ่งกำหนดขึ้นตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าสำนักการคลังจะกำหนดขึ้นใหม่ตามระเบียบนี้ ข้อ ๙๖ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงินใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๔] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๑/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๒] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “หน่วยการคลัง” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๘ ง/หน้า ๑/๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๐
697290
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘[๑] เพื่อให้การพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “อาคารสงเคราะห์” หมายความว่า อาคารที่กรุงเทพมหานครจัดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครพักอาศัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์เรื่องที่พักอาศัยและอยู่ในความดูแลของสำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างประจำของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร “เงินบำรุงอาคารสงเคราะห์” หมายความว่า เงินที่ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะต้องจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานครตามระเบียบนี้ รวมถึงดอกผลของเงินดังกล่าวด้วย [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๕[๒] ให้มีคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ (๒) รองปลัดกรุงเทพมหานคร รองประธานกรรมการ สั่งราชการฝ่ายสวัสดิการ สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๓) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม กรรมการ (๔) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (๕) ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรรมการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๘) ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๙) ผู้อำนวยการเขตซึ่งอาคารสงเคราะห์ตั้งอยู่ กรรมการ (๑๐) ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่* กรรมการและเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๑๑) หัวหน้ากลุ่มงานสวัสดิการ* กองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการ (๑๒) เจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานสวัสดิการ* สำนักงานการเจ้าหน้าที่* ผู้ช่วยเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมาย ให้ดูแลงานด้านอาคารสงเคราะห์ จำนวนหนึ่งคน ข้อ ๖[๓] ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแผนงานในการพัฒนาอาคารสงเคราะห์ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ได้รับสิทธิและผู้ร่วมพักอาศัยต้องปฏิบัติเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ (๓) อนุมัติการเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๔) เพิกถอนสิทธิการเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๕) กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๓ (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๗) ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร จะต้องมีคุณสมบัติตามกำหนดและให้ผู้บังคับบัญชารับรองคุณสมบัติดังกล่าว คือ (๑) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร (๒)[๔] กรณีเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ไม่เกินระดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ไม่เกินระดับชำนาญการ กรณีเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีวิทยฐานะไม่เกินชำนาญการ สำหรับลูกจ้างประจำต้องเป็นผู้มีอัตราค่าจ้างไม่เกินค่ากลางระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (๓) ไม่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองหรือคู่สมรส (๔) ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามกฎหมายว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ (๕) ไม่ได้รับการสงเคราะห์จากทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารให้มีสิทธิกู้เงินเพื่อกิจการที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรส (๖) เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เสพติดสุรา ของมึนเมา หรือยาเสพติดทุกชนิด ไม่หมกมุ่นในการพนัน (๗) ตนเองหรือคู่สมรสไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่งแห่งใดอยู่แล้ว (๘) ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานครมาก่อน ข้อ ๘ ลำดับความสำคัญในการพิจารณาเข้าพักอาศัย (๑) บ้านที่พักอาศัยประสบอัคคีภัย ภัยธรรมชาติหรือวินาศภัยอื่น ๆ จนไม่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ (๒) ต้องคำพิพากษาของศาลให้ออกจากที่อยู่เดิม (๓) บ้านที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรสถูกเวนคืน และกรณีเป็นที่ยุติว่าต้องออกจากที่พักอาศัยนั้น (๔) พักอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง เช่น พักในวัด ที่ทำงาน กองขยะ (๕) เช่าบ้านอยู่หรืออาศัยผู้อื่นอยู่ (๖) อยู่ไกลที่ทำงานการเดินทางไม่สะดวก (๗) เหตุจำเป็นอื่น ๆ ข้อ ๙ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะต้องเข้าพักอาศัยเอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าพักอาศัยแทน หรือร่วมพักอาศัย หรือใช้ประโยชน์ ยกเว้นบุคคลซึ่งคณะกรรมการอนุญาตเท่านั้นที่จะร่วมพักอาศัยด้วยได้ การพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ผู้พักอาศัยจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของทางราชการและเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ (๒) ไม่ใช้อาคารที่พักเพื่อประโยชน์อย่างอื่น นอกจากการพักอาศัยเท่านั้น (๓) ไม่เล่นการพนันทุกชนิดในอาคารที่พักอาศัย หรือบริเวณที่พักอาศัย (๔) ไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติดใด ๆ ในอาคารที่พักอาศัยหรือบริเวณที่พักอาศัย (๕) ดูแลรักษาอาคารที่พักอาศัยทั้งภายในและภายนอกให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ ห้ามมิให้ต่อเติม ดัดแปลง ย้าย หรือรื้อถอนส่วนใด ๆ ของอาคารที่พักอาศัย รวมทั้งการตอกวัสดุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังอาคารที่พักอาศัยด้วย (๖) กรณีมีการชำรุดเสียหายเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัยและสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณอาคาร ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขโดยเร็ว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในระหว่างการซ่อมแซมด้วย (๗) ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบอาคารที่พักอาศัยตามอำนาจหน้าที่ (๘) ไม่เลี้ยงสัตว์ที่อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ หรือก่อให้เกิดความสกปรกต่ออาคารที่พักอาศัย เช่น สุนัข แมว เป็นต้น (๙) ไม่ประกอบการใด ๆ หรือมีพฤติกรรมใด ๆ อันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม หรือก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ (๑๐) หากค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้า จนกระทั่งถูกตัดมาตรวัด จะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง (๑) ถึง (๑๐) หรือยอมให้ผู้อื่นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคสอง (๑) ถึง (๙) ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ใดไม่ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์แต่ได้เข้าพักอาศัยแทนผู้ได้รับสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในกรณีต่อไปนี้ (๑) ขาดคุณสมบัติที่ระบุในข้อ ๗ (๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๓) ไม่เข้าพักอาศัยภายใน ๑ เดือน นับแต่วันทำสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๔) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ หรือยอมให้ผู้อื่นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ และเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือนแล้วแต่ก็ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอีก (๕) ไม่ชำระเงินค่าบำรุงอาคารสงเคราะห์เป็นเวลาติดต่อกัน ๓ เดือน (๖) ค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้าจนกระทั่งถูกตัดมาตรวัดและไม่ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน นับแต่วันถูกตัดมาตรวัด ข้อ ๑๑ ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิตามข้อ ๑๐ ต้องออกจากอาคารสงเคราะห์พร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนและผู้ร่วมพักอาศัยออกไปภายใน ๒ เดือน นับแต่วันได้รับแจ้งว่าถูกเพิกถอนสิทธิ หากไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย และให้แจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณีอีกทางหนึ่งด้วย [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๒ เมื่อผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ถึงแก่กรรมลง ให้บุคคลที่คณะกรรมการอนุญาตให้ร่วมพักอาศัยออกจากอาคารสงเคราะห์พร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนไปภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่ผู้นั้นถึงแก่กรรม หากไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ (๑) ค่าดูแลบำรุงรักษาอาคารสงเคราะห์และบริเวณ (๒) ค่าประกันอัคคีภัย (๓) ค่ากระแสไฟฟ้า (๔) ค่าน้ำประปา (๕) ค่าประกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจากการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ข้อ ๑๔ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่มีความประสงค์จะขอเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ให้ยื่นคำร้องตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ต่อสำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยผ่านผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี และต้องแสดงหลักฐานประกอบการขอเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ดังนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หลักฐานตามข้อ ๗ และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๘ ผู้ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง หากแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๕ ผู้ยื่นคำร้องที่ได้รับอนุมัติให้เข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ต้องทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร ตามแบบสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุมัติ โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ลงนามในสัญญาในนามกรุงเทพมหานคร [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๖ เงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร โดยให้นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสะอาดตัวอาคารและบริเวณ ตลอดจนการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และค่าซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหายตามสภาพการใช้สอย รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานอาคารสงเคราะห์ ข้อ ๑๗[๕] การสั่งก่อหนี้หรือสั่งจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ครั้งหนึ่งให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่* ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๒) ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย การสั่งจ่ายเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครกับกรรมการและเลขานุการหรือกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครร่วมกันลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินหรือใบถอนเงิน ข้อ ๑๘ การพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงิน ให้นำข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งว่าด้วยการนั้น มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานการเจ้าหน้าที่* สำนักปลัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการควบคุมดูแล จัดการอาคารสงเคราะห์ ตลอดจนการพักอาศัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์เป็นประจำทุกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานสรุปการรับ - จ่ายเงินประจำปีและเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบ [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการ ข้อ ๒๑ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ศาสตราจารย์ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๖] ข้อ ๕ ให้แก้ไขคำว่า “กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม” และ “สำนักสวัสดิการสังคม” ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นคำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” ทุกแห่ง ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๗] ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๘] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้แก้ไขคำว่า “กองการเจ้าหน้าที่” เป็น “สำนักงานการเจ้าหน้าที่” คำว่า“ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่” คำว่า “ฝ่ายสวัสดิการ” เป็น “กลุ่มงานสวัสดิการ” และคำว่า “หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ” เป็น “หัวหน้ากลุ่มงานสวัสดิการ” ทุกแห่ง ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ปวันวิทย์/เพิ่มเติม ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๔] ข้อ ๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๒/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๑๐/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๕/๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
860787
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการ พ.ศ. 2563
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ และข้อ ๙ และข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๖๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๔ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บจากการบริการทางการแพทย์และการบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ รวมทั้งค่าบริการรถพยาบาล “การบริการทางการแพทย์” หมายความว่า การบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคล เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ “การบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ” หมายความว่า การบริการทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งผู้รับบริการจะได้รับการบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว ในสถานที่ที่จัดไว้เป็นสัดส่วนเฉพาะตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้รับบริการจะต้องเสียค่าบริการสูงกว่าค่าบริการทางการแพทย์ ข้อ ๕ อัตราค่าบริการทางการแพทย์ และค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษให้เป็นไปตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ค่าบริการทางการแพทย์และค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เรียกเก็บตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๗ ผู้รับบริการของโรงพยาบาล ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจจะยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร ข้อ ๘ ผู้รับบริการของศูนย์บริการสาธารณสุข หรือผู้รับบริการของส่วนราชการสังกัดสำนักอนามัยที่ให้บริการทางการแพทย์ ให้ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข หัวหน้าส่วนราชการไม่ต่ำกว่าระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจจะยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร ข้อ ๙ ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยฉุกเฉินอันเกิดจากสาธารณภัยหรือในกรณีป้องกันโรค ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ ค่าห้อง และค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน ได้ทุกรายการ รวมทั้งค่าบริการรถพยาบาล ข้อ ๑๐ ค่าบริการรถพยาบาลของการบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร นอกเหนือจากกรณีรับ - ส่งผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือฉุกเฉินหรือรีบด่วน ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการได้เมื่อมีเหตุอันสมควร ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าบริการแนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษ และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๑/๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๓
704468
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบด้วยข้อ ๕ และข้อ ๗/๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๔ ในระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว “คณะกรรมการบริหารกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว “สำนักงาน” หมายถึง สำนักพัฒนาสังคม “องค์กรพัฒนาเอกชน” หมายความว่า องค์กรที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “องค์กรชุมชน” หมายความว่า องค์กรชุมชนซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเรื่องชุมชน หมวด ๒ การบริหารกองทุน ข้อ ๕[๒] ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งไม่เกินห้าคน และผู้แทนภาคประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามที่เห็นสมควร กลุ่มละหนึ่งคน เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนภาคประชาชนซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการผู้แทนภาคประชาชนว่างลง ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้นั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างตามวรรคสาม และยังมีกรรมการเหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนภาคประชาชนขึ้นใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ ข้อ ๖ คณะกรรมการบริหารกองทุน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๒) พิจารณาการสงเคราะห์ ป้องกัน ส่งเสริมศักยภาพ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสตรี รวมถึงครอบครัวที่มีผลกระทบมาจากความรุนแรง และการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม (๔) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ข้อ ๗ ให้สำนักงาน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำประมาณการรายจ่ายประจำปีเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุน พิจารณา (๒) ตรวจสอบและวิเคราะห์คำขอรับการสนับสนุนกองทุนก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อพิจารณาอนุมัติ (๓) พิจารณาเสนอขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามข้อบัญญัติและระเบียบของกรุงเทพมหานคร (๔) รวบรวมและเก็บหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินกองทุน พร้อมทั้งจัดทำรายงานเพื่อการตรวจสอบ (๕) จัดทำทะเบียนหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน เพื่อกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุน เพื่อรายงานคณะกรรมการบริหารกองทุน (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการโครงการที่ได้รับอนุมัติ (๗) ดำเนินการด้านอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารของรัฐที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ โดยให้ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว” การถอนเงินฝากให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมหรือรองผู้อำนวยการสำนักที่ผู้อำนวยการสำนักมอบหมายกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักพัฒนาสังคมลงนามร่วมกัน หมวด ๓ การพิจารณาอนุมัติโครงการ ข้อ ๘ ผู้ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของกองทุน หรือ (๒) เป็นองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ศึกษา รวบรวมและจัดการข้อมูลเพื่อการดำเนินงานของกองทุน ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาคำขอรับการสนับสนุนกองทุนซึ่งสำนักงานได้ตรวจสอบ และวิเคราะห์แล้ว โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับการดำเนินงานของกองทุนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (๒) เป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณปกติได้ หรือได้รับไม่เพียงพอ (๓) กรณีเป็นบุคคล ครอบครัว ต้องเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากความรุนแรง โดยให้ทำรายการขอรับการสนับสนุนผ่านองค์กรตามข้อ ๘ ข้อ ๑๐ วงเงินการสนับสนุน จะพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ข้อ ๑๑ เพื่อให้ได้รายละเอียดประกอบการพิจารณาอนุมัติ คณะกรรมการหรือสำนักงานอาจให้ผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรที่เสนอขอรับการสนับสนุนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงรายละเอียดหรือแสดงหลักฐานเพิ่มเติม หรือจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงยังสถานที่ดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์กรหรือบุคคลที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๒ ให้องค์กรตามข้อ ๘ ยื่นขอรับการสนับสนุนต่อสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาโครงการหรือรายการที่เสนอขอรับการสนับสนุนให้แล้วเสร็จโดยเร็วและให้สำนักงานแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับการสนับสนุนทราบ ข้อ ๑๔ องค์กรที่ได้รับเงินจากกองทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินที่ได้รับตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด องค์กรที่มิได้ดำเนินการ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่าย ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายระงับการจ่ายเงินงวดต่อไปไว้ก่อน แล้วดำเนินการตรวจสอบ และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อดำเนินการ ข้อ ๑๕ องค์กรหรือบุคคลที่ได้รับเงินจากกองทุน ต้องให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน หรือตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ รายงานสถานะการเงิน ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานจัดทำรายงานสถานะการเงินตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนภายใน ๓๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานรวบรวมงบการเงินประจำปีและรายละเอียดประกอบของเงินกองทุนเพื่อจัดทำงบการเงินกองทุนในภาพรวมส่งให้กองตรวจสอบภายใน กรุงเทพมหานคร ตรวจสอบก่อนส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ข้อ ๑๘ วิธีการปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้สำนักงานปฏิบัติตามข้อบัญญัติและระเบียบของกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗[๓] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๕/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑/๔ เมษายน ๒๕๕๗
533292
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. 2532 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. ๒๕๓๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๕ ข้อ ๗ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. ๒๕๓๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน หมวด ๑ การแจ้งความหรือร้องทุกข์ ข้อ ๔ กรณีที่ทรัพย์สินถูกกระทำละเมิดและการกระทำละเมิดนั้นเป็นความผิดทางอาญาให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการแจ้งความหรือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ทราบเหตุละเมิด ไม่ว่าจะทราบตัวผู้กระทำละเมิดหรือไม่ เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำละเมิด การแจ้งความหรือร้องทุกข์ให้ระบุสาระสำคัญดังต่อไปนี้ (๑) วัน เดือน ปี และเวลาเกิดเหตุ (๒) สถานที่เกิดเหตุ (๓) ชื่อ และที่อยู่ของผู้กระทำละเมิดเท่าที่จะบอกได้ (๔) ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นกระทำลง และข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่สามารถตรวจสอบได้ (๕) ความเสียหายของทรัพย์สินที่ถูกกระทำละเมิด ข้อ ๕ การแจ้งความหรือร้องทุกข์ ให้ทำเป็นหนังสือตามแบบ ๑ หรือแบบ ๒ ท้ายระเบียบนี้แล้วแต่กรณี หมวด ๒ การตกลงหรือประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหาย ข้อ ๖ การตกลงหรือประนีประนอมยอมความ โดยผู้กระทำละเมิดยินยอมชดใช้เป็นตัวเงิน ให้ทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความตามแบบ ๓ ท้ายระเบียบนี้ ในกรณีที่ผู้กระทำละเมิดยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย โดยรับจะดำเนินการหาทรัพย์สินที่มีคุณภาพหรือปริมาณอย่างเดียวกัน หรือซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม ให้ทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความตามแบบ ๔ หรือแบบ ๕ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี เมื่อได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความตามวรรคสองแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการดังนี้ (๑) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสังกัดตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้ควบคุมงานในกรณีที่เป็นการซ่อมแซมทรัพย์สินที่เป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น ถนน สะพาน เป็นต้น (๒) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสังกัดตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน เป็นคณะกรรมการตรวจรับทรัพย์สินตามหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ ในกรณีที่ผู้กระทำละเมิดยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่พร้อมที่จะทำสัญญาตามข้อ ๗ ได้ ให้หน่วยงานจัดให้ผู้กระทำละเมิดทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ก่อน ตามแบบ ๖ ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๗ ภายใต้ข้อบังคับข้อ ๘ และข้อ ๙ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อ ๖ วรรคหนึ่ง ต้องให้ผู้กระทำละเมิดนำบุคคล หรือหลักทรัพย์มาทำสัญญาค้ำประกันตามแบบ ๗ หรือแบบ ๘ ท้ายระเบียบนี้แล้วแต่กรณี สำหรับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อ ๖ วรรคสอง และเป็นกรณีที่ผู้กระทำละเมิดรับจะหาทรัพย์สินมาชดใช้ให้กรุงเทพมหานคร ให้ทำสัญญาค้ำประกันตามแบบ ๙ หรือแบบ ๑๐ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี ส่วนกรณีที่ผู้กระทำละเมิดรับจะซ่อมแซมทรัพย์สินให้กรุงเทพมหานคร ให้ทำสัญญาค้ำประกันตามแบบ ๑๑ หรือแบบ ๑๒ ท้ายระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ การค้ำประกันด้วยบุคคล ผู้ค้ำประกันต้องเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจและอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (๑) ค่าเสียหายไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ ๓ (๒) ค่าเสียหายไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ ๕ (๓) ค่าเสียหายไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๖ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ ๖ (๔) ค่าเสียหายเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๗ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการระดับ ๗ การทำสัญญาค้ำประกันตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้ำประกันจะต้องนำหนังสือรับรองการเป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และอัตราเงินเดือนของผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไป และสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจมาแนบสัญญาค้ำประกันด้วย ข้อ ๙ การค้ำประกันด้วยหลักทรัพย์ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (๑) ที่ดิน ต้องมีราคาไม่ต่ำกว่าจำนวนค่าเสียหายของทรัพย์สินที่ถูกกระทำละเมิด โดยมีหนังสือรับรองจากพนักงานที่ดินหรือสำหรับท้องที่กรุงเทพมหานครจะให้เจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่เป็นผู้รับรองก็ได้ (๒) หลักทรัพย์อื่น ๆ ต้องมีราคาไม่ต่ำกว่าจำนวนค่าเสียหายของทรัพย์สินที่ถูกกระทำละเมิด โดยให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้พิจารณา ในกรณีที่ที่ดินตาม (๑) มีบางส่วนเป็นถนน มิให้นำส่วนที่เป็นถนนมาคำนวณราคา หลักทรัพย์ตาม (๑) และ (๒) ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้เก็บรักษา และแจ้งอายัดไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๑๐ การดำเนินการตามความในหมวดนี้ หากทรัพย์สินที่ถูกกระทำละเมิดเป็นทรัพย์สินของส่วนราชการอื่น แต่อยู่ในความครอบครองดูแลของกรุงเทพมหานคร และเป็นกรณีที่ต้องขออนุมัติตามระเบียบและคำสั่งของส่วนราชการอื่น ก็ให้ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของส่วนราชการนั้นด้วย ให้จัดทำข้อมูลรายได้และหรือทรัพย์สินของบุคคลผู้กระทำละเมิดหรือผู้ค้ำประกันไว้ตามแบบ ๑๓ หรือแบบ ๑๔ ท้ายระเบียบนี้ หมวด ๓ การส่งเรื่องให้กองกฎหมายและคดี ข้อ ๑๑[๒] กรณีที่ไม่สามารถตกลงเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายได้ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องรวบรวมเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๒ ส่งกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันเกิดเหตุ ข้อ ๑๒ หลักฐานที่ต้องรวบรวมส่ง กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ตามข้อ ๑๑ มีดังนี้ (๑) สำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ (๒) รายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตลอดจนแผนที่ (ถ้ามี) หรือพยานผู้รู้เห็น (๓) รายการประเมินค่าเสียหายทั้งหมด ตลอดจนใบเสร็จค่าซ่อมหรือสิ่งของที่ทางกรุงเทพมหานครได้ชำระเงินไปก่อน (๔) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กระทำละเมิด (๕) สำเนาทะเบียนบ้านของนายจ้าง และหลักฐานการเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง (๖) ในกรณีผู้ต้องร่วมรับผิดเป็นนิติบุคคล ให้ส่งหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (๗) ในกรณีผู้ต้องรับผิดเป็นผู้รับประกันภัย ให้ส่งหลักฐานการรับประกันภัย เช่น ตารางกรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น (๘) หลักฐานอื่น ๆ ที่เห็นว่าจำเป็นต้องใช้ประกอบในการดำเนินคดี หมวด ๔ การละเมิดที่กระทำต่อทรัพย์สินที่กรุงเทพมหานคร มอบหมายให้ส่วนราชการ หรือองค์การอื่นดูแล หรือดำเนินการแทน ข้อ ๑๓ การปฏิบัติเกี่ยวกับการละเมิดที่กระทำต่อทรัพย์สินที่กรุงเทพมหานครมอบหมายให้ส่วนราชการ หรือองค์การอื่นดูแล หรือดำเนินการแทน ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างกรุงเทพมหานครกับส่วนราชการหรือองค์การนั้น ๆ สำหรับการดำเนินการใด ๆ ในส่วนที่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครจะต้องดำเนินการเอง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีคำสั่ง หรือบันทึกสั่งการไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ให้นำเสนอปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ธำรง พัฒนรัฐ ที่ปรึกษากรุงเทพมหานคร ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๓] วชิระ/จัดทำ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๑๑/หน้า ๗/๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ [๒] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑ /ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๒๔/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
687998
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้การยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕ และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและหนังสือสั่งการอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์ และกำหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีมีเหตุผลอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่งให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “ภาษี”[๒] หมายความว่า ภาษีอากรที่กฎหมายหรือข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดเก็บ สำหรับกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาให้หมายถึงเฉพาะกรณีภาษีป้าย “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”[๓] หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และในกรณีภาษีป้ายให้รวมถึงกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาด้วย “ผู้บริหารท้องถิ่น”[๔] หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และในกรณีภาษีป้ายให้รวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกเมืองพัทยาด้วย “ผู้ค้างภาษี” หมายความว่า บุคคลที่ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “ภาษีค้างชำระ” หมายความว่า ภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามกฎหมายหรือข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ชำระหรือนำส่ง และให้หมายความรวมถึงเงินเพิ่มด้วย “เจ้าพนักงานบังคับภาษี” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่บังคับภาษีค้างชำระ “ยึด” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี เพื่อให้ทรัพย์สินนั้นได้เข้ามาอยู่ในความดูแลหรือครอบครองของผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมาย “อายัด” หมายความว่า การสั่งให้ผู้ค้างภาษีหรือบุคคลภายนอกมิให้จำหน่าย จ่ายโอน หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้ รวมตลอดถึงการสั่งบุคคลภายนอกมิให้นำส่งทรัพย์สินหรือชำระหนี้แก่ผู้ค้างภาษี และให้ส่งมอบหรือชำระหนี้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทน “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด “ผู้ทอดตลาด” หมายความว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดในคณะกรรมการหรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการแต่งตั้ง “ขายทอดตลาด” หมายความว่า การนำเอาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีออกขายโดยวิธีให้สู้ราคากันโดยเปิดเผย “ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง” หมายความว่า ผู้มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี แล้วแต่กรณี ข้อ ๖ ผู้มีอำนาจออกคำสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน หมายถึง ผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ข้อ ๗ แบบและคำสั่งที่ใช้ในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ยึดถือตามที่กำหนดท้ายระเบียบนี้เป็นแนวทางปฏิบัติ ข้อ ๘[๕] การส่งหนังสือเตือน คำสั่งหรือประกาศตามระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ให้ส่งในเวลากลางวัน หรือในเวลาทำการของสถานประกอบการนั้น (๒) ให้ส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการของผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หากไม่พบผู้ค้างภาษี ณ ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการของผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ส่งแก่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ณ ภูมิลำเนา หรืออยู่ในบ้านหรือสถานประกอบการของผู้นั้น (๓) ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตาม (๒) ได้ ให้ปิดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการของผู้นั้น หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่จำหน่าย ณ ท้องที่นั้นอย่างน้อยสองฉบับ หรือโฆษณาด้วยวิธีอื่น เมื่อได้ล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันปิด ประกาศ หรือโฆษณา ให้ถือว่าผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งแล้ว หมวด ๒ ส่วนที่ ๑ การยึดทรัพย์สิน ข้อ ๙ เมื่อได้มีการประเมินภาษีโดยถูกต้องและพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว และถึงกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิยึดทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย หากผู้ค้างภาษียังไม่นำเงินค่าภาษีค้างชำระมาชำระให้เจ้าหน้าที่จัดทำหนังสือเตือนตามแบบ ๑ โดยเร็ว เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ค้างภาษีเพิกเฉยหรือไม่ยอมชำระภาษีในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้บันทึกเหตุผลไว้เป็นหลักฐาน แล้วให้ทำหนังสือเตือนครั้งสุดท้ายตามแบบ ๒ โดยเร็ว เพื่อให้ผู้ค้างภาษีนำเงินมาชำระภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับหนังสือเตือนครั้งสุดท้าย ข้อ ๑๐ หากผู้ค้างภาษียังไม่นำเงินมาชำระในกำหนดเวลาตามข้อ ๙ ให้ทำรายงานแสดงการเร่งรัดหนี้ค่าภาษีค้างชำระและรายงานการขออนุมัติการยึดทรัพย์สินเสนอผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบออกไปทำการสืบหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีว่ามีทรัพย์สินพอจะให้ยึดได้หรือไม่ หากไม่มีทรัพย์สินพอให้ยึด ก็ให้ทำรายงานเสนอผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๑ การสืบหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีให้จัดทำรายละเอียดประเภททรัพย์สิน ประมาณราคาทรัพย์สิน ภาระติดพันในทรัพย์สินลงในแบบที่กำหนดตามแบบ ๓ และให้ผู้ทำการสืบหาทรัพย์สิน ลงชื่อ วัน เดือน ปี ที่ดำเนินการไว้ด้วย ข้อ ๑๒ เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งได้มีคำสั่งยึดทรัพย์สินตามแบบ ๔ และคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับภาษีตามแบบ ๕ แล้ว ให้ปิดคำสั่งยึดทรัพย์สินตามแบบ ๔ ไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และที่ชุมชนในตำบล หมู่บ้านที่ยึดทรัพย์สิน กับส่งคำสั่งยึดทรัพย์สินตามแบบ ๔ ให้เจ้าของทรัพย์สินทราบ ข้อ ๑๓[๖] ในการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างน้อยสองคน โดยแสดงบัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในระหว่างปฏิบัติงานพร้อมอุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการตามวรรคหนึ่งจะต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุ และพึงทราบว่าทรัพย์สินที่จะยึดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ค้างภาษี มีเจ้าของร่วม ภาระติดพัน และจำนวนทรัพย์สินที่จะยึดได้ตามกฎหมาย ข้อ ๑๔ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีทำการยึดทรัพย์สินในเวลากลางวันหรือเวลาทำการของสถานประกอบการนั้น เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจออกคำสั่งก็ให้กระทำได้ ข้อ ๑๕ ก่อนยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับภาษีต้องแสดงคำสั่งยึดทรัพย์สินตามแบบ ๔ ต่อผู้ค้างภาษี ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าวให้แสดงต่อบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ในสถานที่นั้นหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินทราบ แต่ถ้าไม่พบบุคคลใดให้แจ้งเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นพยานเพื่อทำการยึดทรัพย์สินดังกล่าวนั้น และต้องแจ้งให้ผู้ค้างภาษีทราบโดยเร็ว การยึดสังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่างจะต้องทำการยึดให้เห็นประจักษ์แจ้งโดยวิธีประทับตราหรือกระทำโดยวิธีอื่นใดที่เห็นสมควร การยึดอสังหาริมทรัพย์ ให้นำหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย ถ้าเป็นที่ดินต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ เพื่อจะได้บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ถ้าหนังสือสำคัญแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นยังไม่ออกหรือนำมาแสดงไม่ได้หรือหาไม่พบ ก็ให้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน และให้ถือว่าการที่ได้แจ้งการยึดต่อผู้ค้างภาษีและเจ้าพนักงานที่ดินนั้นเป็นการยึดตามกฎหมายแล้ว การยึดทรัพย์สินที่จะต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทราบ เพื่อเจ้าพนักงานจะได้บันทึกการยึดไว้ในทะเบียน ข้อ ๑๖ การดำเนินการยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับภาษีมีอำนาจเท่าที่จำเป็นในการค้นสถานที่ใด ๆ อันเป็นของผู้ค้างภาษี หรือผู้ค้างภาษีได้ครอบครองอยู่ ทั้งมีอำนาจที่จะยึดและตรวจสมุดบัญชี หรือกระทำการใด ๆ ตามสมควร หรือเพื่อเปิดสถานที่อยู่หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้ว รวมทั้งตู้นิรภัยหรือที่เก็บของอื่น ๆ แล้วรายงานให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งทราบ ข้อ ๑๗ ในการยึดทรัพย์สินรายใดถ้ามีผู้ขัดขวาง ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีชี้แจงว่ากล่าวแต่โดยดีก่อน ถ้าผู้นั้นยังขัดขวางอยู่อีกให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์สินต่อไป ข้อ ๑๘ กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับภาษีจะทำการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี แต่ปรากฏว่าทรัพย์สินดังกล่าวถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามมิให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีทำการยึดทรัพย์สินนั้นอีก แต่ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นตามแบบที่ศาลกำหนด เพื่อขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น ข้อ ๑๙ การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีนั้น เจ้าพนักงานบังคับภาษีจะต้องพิจารณายึดทรัพย์สินเพียงประมาณราคาที่ควรจะขายทอดตลาดได้พอชำระหนี้ตามคำสั่งยึดทรัพย์สินตามแบบ ๔ รวมทั้งค่าธรรมเนียมการยึดและการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าผู้ค้างภาษีมีทรัพย์สินซึ่งมีราคามากกว่าจำนวนค่าภาษีค้างชำระ และไม่อาจแบ่งยึดได้โดยไม่ให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคา ทั้งไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะยึดได้พอคุ้มกับจำนวนค่าภาษีค้างชำระ ก็ให้ยึดทรัพย์สินนั้นมาขายทอดตลาดได้ ข้อ ๒๐[๗] เมื่อกระทำการยึดทรัพย์สินเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปิดประกาศยึดทรัพย์สินตามแบบ ๖ ไว้ ณ สถานที่ที่ได้ปิดคำสั่งยึดทรัพย์สินไว้ตามข้อ ๑๒ พร้อมทั้งให้ทำรายการบัญชีทรัพย์สินที่ยึดตามแบบ ๗ เสนอผู้มีอำนาจออกคำสั่ง ข้อ ๒๑ ทรัพย์สินที่ยึดได้ มีดังนี้ (๑) ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี และให้รวมถึง (ก) ทรัพย์สินที่ผู้ค้างภาษีมีกรรมสิทธิ์ร่วม (ข) ทรัพย์สินที่ผู้ค้างภาษีเอาไปจำนำ จำนอง หรือเอาไปประกันหนี้ไว้ (ค) ทรัพย์สินที่ผู้ค้างภาษีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก็ตาม (ง) ที่ดินมือเปล่าซึ่งผู้ค้างภาษีมีสิทธิครอบครอง (จ) ที่ดินมีโฉนด แม้ผู้ค้างภาษีจะโอนการครอบครองให้บุคคลอื่นแล้ว แต่ยังมิได้โอนให้ถูกต้องตามกฎหมาย (ฉ) กรณีมีการโอนโดยการฉ้อฉล เมื่อได้ฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นแล้ว (๒) ทรัพย์สินที่คู่สมรสหรือบุตรผู้เยาว์ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ค้างภาษีถือกรรมสิทธิ์ ได้แก่ (ก) ทรัพย์สินของคู่สมรส ได้แก่ สินสมรสและสินส่วนตัวในกรณีหนี้ภาษีค้างชำระนั้นเป็นหนี้ร่วม แต่ถ้าหนี้ภาษีค้างชำระนั้นเป็นหนี้ส่วนตัวของผู้ค้างภาษี เจ้าพนักงานบังคับภาษีจะยึดสินส่วนตัวของคู่สมรสไม่ได้ คงยึดได้แต่เฉพาะสินสมรสเท่านั้น (ข) ทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์ ซึ่งตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นของผู้ค้างภาษี เช่น มีพฤติกรรมหรือการกระทำใด ๆ อันแสดงให้ปรากฏว่าผู้ค้างภาษีได้เอาทรัพย์สินใส่ชื่อบุตรผู้เยาว์เป็นเจ้าของ โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการถูกยึดทรัพย์สินดังกล่าว อันเป็นการทำนิติกรรมอำพราง ย่อมถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นของผู้ค้างภาษี (ค) ทรัพย์สินอันอาจบังคับเอาชำระหนี้ได้ เช่น เครื่องประดับอันมีค่าที่ผู้ค้างภาษีซื้อให้แก่บุตรผู้เยาว์ของตน เป็นต้น ข้อ ๒๒ ทรัพย์สินที่ไม่อาจยึดได้ และไม่อยู่ในบังคับแห่งระเบียบนี้ ได้แก่ (๑) ทรัพย์สินที่ระบุไว้ ดังต่อไปนี้ (ก) เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หรือเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัวโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินห้าหมื่นบาท ในกรณีที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควรจะกำหนดให้ทรัพย์สินดังกล่าวที่มีราคาเกินห้าหมื่นบาทไม่ตกอยู่ในการยึดนี้ก็ได้โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของผู้ค้างภาษี (ข) เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินหนึ่งแสนบาท ในกรณีผู้ค้างภาษีมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่น ขออนุญาตยึดหน่วงและใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจำเป็นเพื่อดำเนินการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพอันมีราคาเกินกว่าที่กำหนดดังกล่าว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามสมควร (ค) วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะของผู้ค้างภาษี (ง) ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันไม่ได้ตามกฎหมายหรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (จ) ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ (๒) ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของผู้ค้างภาษี ดังต่อไปนี้ (ก) เบี้ยเลี้ยงชีพซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ และเงินรายได้เป็นคราว ๆ อันบุคคลภายนอกได้ยกให้เพื่อเลี้ยงชีพเป็นจำนวนรวมกันไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือตามจำนวนที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร (ข) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จและเบี้ยหวัดของข้าราชการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของรัฐบาล และเงินสงเคราะห์หรือบำนาญที่รัฐได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของผู้ค้างภาษี ในฐานะที่ตนเป็นบุคคลเหล่านั้น (ค) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน นอกจากที่กล่าวไว้ใน (ข) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ผู้ค้างภาษี ในฐานะที่ตนเป็นบุคคลเหล่านั้น หรือคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของผู้ค้างภาษีในฐานะที่ตนเป็นบุคคลเหล่านั้นด้วย เป็นจำนวนตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร (ง) เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ผู้ค้างภาษีได้รับอันเนื่องมาจากความตายของบุคคลอื่นเป็นจำนวนตามที่จำเป็นในการดำเนินการฌาปนกิจศพตามฐานะของผู้ตายเป็นจำนวนตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร การกำหนดจำนวนเงินตาม (ก) และ (ค) ให้คำนึงถึงฐานะในทางครอบครัวของผู้ค้างภาษี จำนวนบุพการีและผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะของผู้ค้างภาษีด้วย (๓) ทรัพย์สินของกสิกร ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พุทธศักราช ๒๔๗๕ ส่วนที่ ๒ การคัดค้านการยึดทรัพย์สิน ข้อ ๒๓ ถ้าบุคคลใดจะยื่นคำคัดค้านการยึดทรัพย์สิน โดยกล่าวอ้างว่าผู้ค้างภาษีไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ได้ยึดไว้ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำคัดค้านต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อให้มีคำสั่งปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการได้รับคำคัดค้านเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไว้ในระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป เว้นแต่ (๑) หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำคัดค้านนั้นไม่มีมูล และเป็นคำคัดค้านที่ยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีอำนาจสั่งให้ผู้คัดค้านวางเงินต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งในเวลาที่กำหนดตามจำนวนเงินที่เห็นสมควรเพื่อประกันความเสียหายใด ๆ ที่อาจได้รับเนื่องจากสาเหตุที่เนิ่นช้าในการขายทอดตลาดอันเกิดแต่การยื่นคำคัดค้านนั้น ถ้าผู้ยื่นคำคัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งยกคำคัดค้านนั้นเสีย และมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อไป (๒) ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ และมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำคัดค้านนั้นไม่มีเหตุอันควรฟังหรือถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า ส่วนที่ ๓ การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึด ข้อ ๒๔[๘] ให้นำทรัพย์สินที่ยึดมาแล้วเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำการยึดทรัพย์สินนั้น หรือสถานที่ที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด โดยผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีหน้าที่ควบคุม ดูแล เว้นแต่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งของอื่นซึ่งลำบากต่อการขนย้าย ให้พิจารณามอบแก่บุคคลที่สมควรดูแลรักษาตามแบบ ๘ ก็ได้ แต่การมอบนี้ผู้มอบยังคงต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น เว้นแต่ เป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ให้จัดทำรายงานการยึดทรัพย์สินโดยชัดแจ้งว่า ได้จัดการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึดมาอย่างไร ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์สินเท่าใด ค่าเช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเท่าใด และค่าจ้างดูแลรักษาทรัพย์สินเท่าใดกรณีจ้างให้บุคคลอื่นดูแล ถ้าทรัพย์สินถูกบุคคลใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดในทุกข้อหา ส่วนที่ ๔ ผลของการยึดทรัพย์สิน ข้อ ๒๕ ผลของการยึดทรัพย์สิน (๑) การที่ผู้ค้างภาษีได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานบังคับภาษีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้ภาษีค้างชำระ ตลอดจนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด และผู้ค้างภาษีได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม (๒) ถ้าผู้ค้างภาษีได้รับมอบให้เป็นผู้อารักขาสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างที่ถูกยึดหรือเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึด ผู้ค้างภาษีชอบที่จะใช้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตามสมควร แต่ถ้าผู้มีอำนาจออกคำสั่งเห็นว่าผู้ค้างภาษีจะทำให้ทรัพย์สินที่ได้รับไว้ในอารักขาเสียหายหรือเกรงว่าจะเสียหาย โดยผู้มีอำนาจออกคำสั่งเห็นเองหรือเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการยึดทรัพย์สินนั้นร้องขอ ผู้มีอำนาจออกคำสั่งจะระวังรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นก็ได้ (๓) การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างนั้นให้รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นด้วย (๔) การยึดอสังหาริมทรัพย์นั้นให้รวมถึง (ก) เครื่องอุปกรณ์ (ข) ดอกผลนิตินัยของอสังหาริมทรัพย์ (ค) ดอกผลธรรมดาที่จะเก็บเกี่ยวเอง หมวด ๓ ส่วนที่ ๑ การอายัดทรัพย์สิน ข้อ ๒๖ ทรัพย์สินที่อายัดได้มีดังนี้ (๑) สังหาริมทรัพย์อันมีรูปร่าง (๒) อสังหาริมทรัพย์ (๓) สิทธิทั้งปวงอันมีอยู่ในทรัพย์สิน (๔) เงิน ข้อ ๒๗ ทรัพย์สินที่ไม่อาจอายัดได้และไม่อยู่ในบังคับแห่งระเบียบนี้ ให้เป็นไปเช่นเดียวกับทรัพย์สินที่ไม่อาจยึดได้ตามข้อ ๒๒ และให้รวมถึงทรัพย์สินที่โอนกันไม่ได้ หรือไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามกฎหมายอื่น เช่น (๑) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามมาตรา ๑๕๙๘/๔๑ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๒) ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลางตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ (๓) ทรัพย์สินตามกฎหมายอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการรถไฟ เป็นต้น ข้อ ๒๘ การอายัดทรัพย์สินให้นำเอาวิธีการยึดทรัพย์สินตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๑ การยึดทรัพย์สินมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในส่วนนี้ได้โดยอนุโลม ข้อ ๒๙ การอายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี ให้อายัดได้ไม่เกินหนี้ภาษีค้างชำระจนถึงวันชำระ เว้นแต่ทรัพย์สินที่อายัดนั้นไม่อาจแบ่งแยกได้ ส่วนที่ ๒ ผลการอายัดทรัพย์สิน ข้อ ๓๐ กรณีที่ผู้ค้างภาษีได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกอายัดภายหลังที่ได้ทำการอายัดไว้แล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่เจ้าพนักงานบังคับภาษีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้ภาษีค้างชำระ ตลอดจนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการอายัดและขายทอดตลาด และผู้ค้างภาษีได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม ข้อ ๓๑ เมื่อบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในคำสั่งอายัดทรัพย์สินแล้ว ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้ของผู้ค้างภาษีตามกฎหมาย ข้อ ๓๒ ทรัพย์สินที่อายัดได้ให้จัดการดังนี้ (๑) ถ้าเป็นพันธบัตรรัฐบาลและหลักทรัพย์ที่เป็นประกัน ซึ่งเป็นของผู้ค้างภาษีออกให้แก่ผู้ถือหรือออกในนามของผู้ค้างภาษี เจ้าพนักงานบังคับภาษีจะร้องขอต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้มีคำสั่งอนุญาตให้จำหน่ายสิ่งเหล่านั้นตามรายการขานราคาในวันที่ขายก็ได้ หากสิ่งเหล่านี้มีรายการขานราคากำหนดไว้ ณ สถานที่แลกเปลี่ยน หรือจะขายโดยวิธีทอดตลาดดังที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ก็ได้ ถ้ามิได้ทำคำขอเช่นว่านั้นหรือคำขอถูกยกเสีย ให้ขายสิ่งเหล่านั้นโดยวิธีขายทอดตลาด (๒) ถ้าเป็นตราสารเปลี่ยนมือ คณะกรรมการคนใดคนหนึ่งอาจร้องขอให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีคำสั่งอนุญาตจำหน่ายตามราคาที่ปรากฏในตราสารหรือราคาต่ำกว่านั้นตามที่เห็นสมควร ถ้าผู้มีอำนาจออกคำสั่งยกคำขอเสียก็ให้นำตราสารนั้นออกขายทอดตลาด (๓) ถ้าสิ่งของที่จะต้องส่งมอบตามสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดนั้นได้ส่งมอบให้แก่เจ้าพนักงานบังคับภาษี ให้นำออกขายโดยการขายทอดตลาด (๔) ถ้าการจำหน่ายสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดนั้นกระทำได้โดยยาก เนื่องจากการชำระหนี้ต้องอาศัยการชำระหนี้ตอบแทน หรืออาจต้องด้วยเหตุอื่นอันจะทำให้การชำระหนี้ภาษีล่าช้าออกไป และอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานบังคับภาษีร้องขอ ผู้มีอำนาจออกคำสั่งอาจมีคำสั่งให้จำหน่ายโดยวิธีอื่นก็ได้ ส่วนที่ ๓ การคัดค้านการอายัดทรัพย์สิน ข้อ ๓๓ การคัดค้านการอายัดทรัพย์สินให้นำความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๒ การคัดค้านการยึดทรัพย์สินมาใช้บังคับโดยอนุโลม หมวด ๔ ส่วนที่ ๑ การขายทอดตลาด ข้อ ๓๔ เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งได้มีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้จัดทำประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ๙ โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขาย เช่น ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน ผู้สั่งให้ขาย วัน เวลา และสถานที่ที่จะขาย ชื่อประเภท ลักษณะ จำนวน ขนาด และน้ำหนักแห่งทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นต้น ถ้าเป็นที่ดิน ให้แจ้งเนื้อที่เขต กว้างยาว ชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียงเท่าที่ทราบและอยู่ในท้องที่ใดด้วย ถ้ามีข้อสัญญาและคำเตือนอย่างไรก็ให้ระบุไว้โดยชัดเจน กับให้กำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาแห่งการชำระเงินไว้ด้วย ให้จัดส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ๙ ให้แก่ผู้ค้างภาษีและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขาย สถานที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ ที่ชุมชน สถานที่ราชการอันสมควรจะปิดได้ หรืออาจแจ้งกำหนดการขายทอดตลาดในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับที่แพร่หลาย หรือทางวิทยุกระจายเสียงก็ได้ให้รู้ล่วงหน้าก่อนวันขายทอดตลาดไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ข้อ ๓๕ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตามแบบ ๑๐ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมาย ผู้อำนวยการสำนักหรือกองคลังท้องถิ่นและเจ้าพนักงานบังคับภาษี ในกรณีของกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกองรายได้ และเจ้าพนักงานบังคับภาษี[๙] ข้อ ๓๖ การกำหนดวันขายทอดตลาดทรัพย์สินตามปกติให้ปฏิบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้กำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่ไม่เกินหกสิบวัน (๒) โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ และทรัพย์สินอื่น ๆ ไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน แต่ไม่เกินสามสิบวัน (๓) ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน คณะกรรมการอาจขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อยห้าวันนับแต่วันยึดทรัพย์สินเสร็จสิ้น กรณีของสดหรือเสียง่าย ให้นำออกขายทอดตลาดได้ทันทีหรือดำเนินการขายโดยวิธีอื่นตามที่เห็นสมควร (๔) เมื่อประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินไปแล้ว หากมีความจำเป็นคณะกรรมการอาจเลื่อนหรืองดการขายทอดตลาดทรัพย์สินก็ได้ ทั้งนี้ ให้นับตั้งแต่วันลงประกาศขายทอดตลาดเป็นต้นไป ข้อ ๓๗ การพิจารณาราคาทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด ให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีที่ดินให้ประมาณราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โดยคำนึงถึงสภาพและลักษณะของที่ดินนั้น (๒) ราคาซื้อขายหรือจำนอง หรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึดและที่ดินข้างเคียง (๓) ราคาที่ดินข้างเคียงในตำบลนั้นหรือตำบลใกล้เคียง หรือราคาที่คณะกรรมการเคยขายทอดตลาดไปแล้ว (๔) ราคาประเมินที่ดินของทางราชการ (๕) การประเมินราคาทรัพย์สินอื่น ให้ประมาณตามราคาซื้อขายกันในท้องตลาดหรือตามสภาพเก่าใหม่ของทรัพย์สินนั้น (๖) การประมาณราคาทรัพย์สินที่มีการจำนำหรือจำนอง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๑) ถึง (๕) ข้อ ๓๘ วิธีการขายทอดตลาดให้คณะกรรมการถือปฏิบัติดังนี้ (๑) ก่อนเริ่มต้นขายทอดตลาดให้ปักธงเครื่องหมายการขายทอดตลาดเป็นธงลายหมากรุกแดง ขาว (๒) ให้อ่านประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน ณ สถานที่ขายโดยเปิดเผยก่อนการขายทอดตลาด (๓) ผู้ทอดตลาดต้องร้องขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งสามถึงสี่หน ถ้าไม่มีผู้สู้ราคาสูงขึ้น ให้เปลี่ยนร้องขานเป็นครั้งที่สองอีกสามถึงสี่หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้น และได้ราคาเหมาะสมกับสภาพของทรัพย์สินที่ขายก็ให้ลงคำว่า “สาม” พร้อมกับเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด แต่ถ้าก่อนเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดมีผู้สู้ราคาสูงขึ้นไปอีก ก็ให้ผู้ทอดตลาดร้องขานราคานั้นตั้งต้นใหม่ตามลำดับดังกล่าว (๔) การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามประเพณีในการขายทอดตลาด ถ้ายังมิได้แสดงเช่นนั้นอยู่ตราบใด ผู้สู้ราคาจะถอนคำสู้ราคาของตนเสียก็ได้ และถ้าผู้สู้ราคาได้ถอนคำสู้ราคาแล้ว ให้ผู้ทอดตลาดตั้งต้นร้องขานราคาใหม่ (๕)[๑๐] ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการหรือพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ทอดตลาด โดยตนเองหรือจะใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้ (๖) การขายทอดตลาด เมื่อผู้ทอดตลาดเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดว่าตกลงขายแล้ว ผู้ซื้อต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ที่ดินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นซึ่งมีราคาตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป ผู้ทอดตลาดอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของราคาซื้อ และทำสัญญาซื้อขายภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวันก็ได้ เมื่อได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว จึงให้โอนมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ซื้อไป หากผู้ซื้อไม่ไปทำสัญญาซื้อขายภายในกำหนดดังกล่าว ให้คณะกรรมการริบเงินมัดจำ และนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดใหม่ได้ การขายทอดตลาดทรัพย์สินตามวรรคสอง ถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาด ผู้ซื้อคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด (๗) ในการขายทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการบันทึกไว้ในสมุดขายทอดตลาดทุกครั้ง โดยที่คณะกรรมการและผู้ทอดตลาดต้องลงชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้ (๘) เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ให้นำส่งหน่วยงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ๆ ข้อ ๓๙ การขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้มีไว้ในความครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของราคาซื้อ และให้ผู้ซื้อจัดการนำใบอนุญาตมาแสดงภายในหกสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วผู้ซื้อไม่สามารถนำใบอนุญาตมาแสดงได้ ก็ให้ริบเงินมัดจำนั้น ถ้าผู้ซื้อนำใบอนุญาตมาแสดงได้ ก็ให้ใช้เงินที่ค้างชำระให้ครบถ้วน ข้อ ๔๐ การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จะต้องมีใบอนุญาต เช่น สุราตั้งแต่สิบลิตรขึ้นไป ให้ขอความร่วมมือไปยังเจ้าพนักงานสรรพสามิตจัดการออกใบอนุญาตขนสุราแก่ผู้ซื้อด้วย ข้อ ๔๑ การขายทอดตลาดทรัพย์สินติดจำนอง ให้มีหนังสือแจ้งผู้รับจำนองทราบถึงวัน เวลา สถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาด พร้อมทั้งใบสอบถามผู้รับจำนองถึงรายละเอียดของภาระจำนอง ตลอดจนวิธีการขายทอดตลาดว่าให้ขายโดยติดจำนองหรือปลอดจำนอง ถ้าผู้รับจำนองไม่แจ้งให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับหนังสือแล้ว ก็ให้ขายทรัพย์สินโดยติดจำนอง ในกรณีที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจำนองให้ขายทรัพย์สินโดยปลอดจำนอง คณะกรรมการอาจพิจารณาให้ขายทรัพย์สินโดยติดจำนองก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจออกคำสั่ง การขายทอดตลาดทรัพย์สินติดจำนอง ให้ประกาศแสดงรายชื่อผู้รับจำนองพร้อมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังค้างชำระจนถึงวันขาย และในการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ๙ ให้มีความว่าผู้ซื้อทรัพย์สินต้องรับภาระจำนองติดไปด้วย การขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ในกรณีกำหนดราคาขายให้พิจารณาถึงต้นเงิน และดอกเบี้ยจำนองซึ่งยังค้างชำระแก่ผู้รับจำนองจนถึงวันขาย พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดและเงินภาษีค้างชำระ ถ้าคาดหมายว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินไม่อาจปลดเปลื้องหนี้ภาษีได้ หรือหากการขายทอดตลาดแล้วเจ้าหนี้จำนองจะได้รับเงินจากการขายทอดตลาดไปทั้งหมด ก็ให้งดการขายทอดตลาดและรายงานผู้มีอำนาจออกคำสั่งพิจารณาสั่งการเป็นราย ๆ ไป การขอรับชำระหนี้ของผู้รับจำนองให้ถือหนังสือตอบรับของผู้รับจำนองตามวรรคหนึ่งเป็นคำขอรับชำระหนี้จำนอง ก่อนจ่ายเงินชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่า หนี้จำนองและดอกเบี้ยเป็นหนี้บุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่ และผู้รับจำนองได้ปลดหนี้จำนองให้แล้ว พร้อมทั้งให้ขอใบรับยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยด้วยจึงจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจำนองได้ ข้อ ๔๒ กรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด การชำระราคานั้นจะขอหักส่วนได้เสียของตนจากราคาซื้อก็ได้ ส่วนที่ ๒ การคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ ๔๓ ถ้าคณะกรรมการได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ชอบ เช่น มิได้ส่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ๙ ให้แก่ผู้ค้างภาษีหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ค้างภาษีหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งต้องเสียหายอาจยื่นคำคัดค้านต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งก่อนที่การบังคับชำระค่าภาษีค้างชำระได้เสร็จสิ้นลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าเจ็ดวันนับแต่วันทราบผลการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ชอบ เพื่อขอให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าว ข้อ ๔๔ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีนั้น ก่อนที่ผู้ทอดตลาดจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด ผู้ค้างภาษีหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินอาจคัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินสมควร ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งเลื่อนการขายทอดตลาดทรัพย์สินออกไป และในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อ ๆ ไป หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนที่ผู้เสนอราคาสูงสุดได้เสนอในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งก่อน ให้ผู้ทอดตลาดเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคานั้นได้ ในกรณีที่ผู้ค้างภาษีหรือผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สินเห็นว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้น เกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคา หรือกระทำการโดยไม่สุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ทอดตลาด บุคคลดังกล่าวอาจยื่นคำคัดค้านต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่ง เพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และเมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งได้ไต่สวนแล้วเห็นว่า คำคัดค้านนั้นรับฟังได้ ให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น ส่วนที่ ๓ การโอนและการส่งมอบ ข้อ ๔๕ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อผู้ซื้อชำระเงินครบถ้วนแล้ว ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อไปได้ กรณีเป็นสังหาริมทรัพย์กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อขณะที่ได้ทำสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์แล้ว กรณีเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๕๖ หรือสังหาริมทรัพย์อื่นที่มีทะเบียนควบคุม ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ๆ ทราบ เพื่อดำเนินการทางทะเบียนต่อไป หมวด ๕ การงดหรือการถอนบังคับภาษี ข้อ ๔๖ ให้งดการบังคับภาษีในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีการยื่นคำคัดค้านขอให้มีการงดการบังคับภาษี โดยแสดงเหตุผลให้ปรากฏ และได้ไต่สวนแล้วมีเหตุผลอันสมควร ผู้มีอำนาจออกคำสั่งอาจมีคำสั่งให้งดการบังคับภาษี แต่หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลสมควร ก็ให้ดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนการบังคับภาษี (๒) ถ้าบุคคลใดกล่าวอ้างว่าผู้ค้างภาษีมิใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับภาษี ได้ยึดไว้ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาดหรือขายด้วยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำคัดค้านต่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อให้มีคำสั่งปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น เมื่อได้รับคำคัดค้านให้งดการบังคับภาษีไว้รอคำวินิจฉัยต่อไป (๓) ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม เมื่อมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้งดการบังคับภาษีในทรัพย์สินเช่นว่านั้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งได้สั่งหรือเมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกคำคัดค้านการยึดทรัพย์สินหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้ค้างภาษี ให้ดำเนินการบังคับภาษีต่อไป ข้อ ๔๗ การถอนการบังคับภาษีจะกระทำได้ต่อเมื่อได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดพิพากษาว่าผู้ค้างภาษีไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีตามจำนวนที่ถูกประเมินหรือสั่งให้ชำระ หรือกรณีที่ผู้ค้างภาษีได้ชำระหนี้ค่าภาษี พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับภาษีครบถ้วน ให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีคำสั่งถอนการบังคับภาษีตามแบบ ๑๑ แล้วส่งมอบทรัพย์สินคืนให้ผู้ค้างภาษี และแจ้งถอนการยึดหรืออายัดแก่ผู้เกี่ยวข้อง หมวด ๖ การจัดทำบัญชีการเงิน และการหักภาษีที่ค้างชำระ ข้อ ๔๘ เมื่อได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีเสร็จแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นจัดให้มีบัญชีแสดงจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้จากการขายทอดตลาด ตลอดจนค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีลงในทะเบียนการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน เงินที่ได้จากการขายทอดตลาด ให้หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน เงินค่าภาษีค้างชำระ ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน ค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี ให้ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาสั่งจ่ายตามบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้บันทึกไว้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สุพล ฟองงาม รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือเตือน (แบบ ๑)[๑๑] ๒. หนังสือเตือนครั้งสุดท้าย (แบบ ๒) ๓. รายงานการสืบหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๓)[๑๒] ๔. แบบคำสั่ง เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๔)[๑๓] ๕. แบบคำสั่ง เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับภาษี (แบบ ๕) ๖. แบประกาศ เรื่อง การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๖) ๗. รายการบัญชีทรัพย์สินที่ยึด (แบบ ๗) ๘. หนังสือสัญญารักษาทรัพย์สิน (แบบ ๘) ๙. แบบประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๙)[๑๔] ๑๐. แบบคำสั่ง เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด (แบบ ๑๐) ๑๑. แบบคำสั่ง เรื่อง การถอนการบังคับภาษี (แบบ ๑๑)[๑๕] ๑๒. แบบคำสั่ง เรื่อง ให้อายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๑๒)[๑๖] (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑๗] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์ และกำหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีมีเหตุผลอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่งให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณัฐพร/ปรับปรุง ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๗/๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๒] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “ภาษี” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “ผู้บริหารท้องถิ่น” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๕] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๖] ข้อ ๑๒ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๗] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๘] ข้อ ๒๔ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๙] ข้อ ๓๕ วรรคสอง เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๐] ข้อ ๓๘ (๕) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๑] หนังสือเตือน (แบบ ๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๒] รายงานการสืบหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๓] แบบคำสั่ง เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๔) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๔] แบบประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๙) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๕] แบบคำสั่ง เรื่อง การถอนการบังคับภาษี (แบบ ๑๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๖] แบบคำสั่ง เรื่อง ให้อายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๑๒) เพิ่มโดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๑/๓๐ เมษายน ๒๕๕๕
533298
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องสำนักงานปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๓๑ ข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหมวด ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๗ และหมวด ๑๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานสำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร” (ยกเลิก) [๒] “หน่วยงาน” [๓] หมายความว่า ส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งตั้งแต่ระดับฝ่าย หรือกองขึ้นไป และให้รวมถึงสถานธนานุบาลและตลาดด้วย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างประจำของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างชั่วคราว” หมายความว่า ลูกจ้างรายเดือนและรายวันของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะชั่วคราวโดยมีกำหนดเวลาการจ้าง “ค่ารักษาพยาบาล” หมายความว่า เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาลดังนี้ (๑) ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทนค่าน้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค (๒) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม (๓) ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกันที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ (๔) ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล (๕) ค่าตรวจสุขภาพประจำปี “การรักษาพยาบาล” หมายความรวมถึง การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อประโยชน์ของการสาธารณสุข “สถานพยาบาล” หมายความว่า สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลของเอกชน “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และให้หมายความรวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สภากาชาดไทย คุรุสภา สมาคม ปราบวัณโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนด “สถานพยาบาลของเอกชน” หมายความว่า สถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า (๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว (๒) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (๓) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หมวด ๒ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ข้อ ๖ การจ่ายเงินตามงบประมาณรายจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตามระเบียบนี้ สำหรับวิธีการเบิกจ่ายในส่วนที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ รวมทั้งแบบพิมพ์การขอรับเงินค่ารักษาพยาบาล ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามระเบียบนี้ ได้แก่ พนักงาน และลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งรับเงินหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้น มีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบนี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ข้อ ๙ ในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากผู้อื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบนี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ไปก่อนแล้ว ภายหลังได้รับค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากบุคคลอื่นมีจำนวนเท่าหรือเกินกว่าที่ได้รับตามระเบียบนี้ก็ให้นำเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ได้รับไปนั้นส่งคืนแต่ถ้าเงินค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบุคคลอื่นต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ ก็ให้ส่งคืนเท่าจำนวนที่ได้รับจากบุคคลอื่นนั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม ข้อ ๑๐ ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามข้อ ๗ มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรได้เพียงคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังทั้งนี้ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด หรืออยู่ในอำนาจปกครองของตนหรือไม่ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดมีบุตรเกินสามคนและต่อมาบุตรคนหนึ่งคนใดในจำนวนสามคนตามวรรคหนึ่งนั้นตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะก็ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรเพิ่มขึ้นอีกเท่าจำนวนบุตรที่ตายนั้น โดยให้นับบุตรคนที่อยู่ในลำดับถัดไปก่อน กรณีที่ฝ่ายสามีมีบุตรติดมากับตน เมื่อมีภรรยาใหม่ซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวแล้วมีบุตรใหม่ เมื่อฝ่ายสามีใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรจนครบจำนวนที่ระเบียบกำหนดแล้วยังมีบุตรเหลืออยู่อีก ฝ่ายภรรยาก็มีสิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรของตนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับทีฝ่ายสามีใช้สิทธิอยู่ได้ ข้อ ๑๑ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามข้อ ๑๐ ยังไม่ถึงสามคน ถ้าต่อมามีบุตรแฝด ซึ่งทำให้มีจำนวนบุตรเกินสามคน ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามข้อ ๑๐ สำหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรสหรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิงเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่บุตรคนใดคนหนึ่งของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาลดังกล่าว ตามวรรคหนึ่งตายลงก่อนที่จะบรรลุนิติภาวะ ก็ให้ลดจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลลงจนกว่าจำนวนบุตรที่ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเหลือไม่เกินสามคน และหลังจากนั้นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลดังกล่าวจึงจะมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นได้ตามข้อ ๑๐ วรรคสาม เพื่อประโยชน์แห่งระเบียบนี้ ข้อความที่อ้างถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สามของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ให้หมายถึงบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่ง การนับลำดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายในกรณีที่ไม่อาจทราบลำดับการเกิดก่อนหลังของบุตรแฝดได้โดยแน่ชัดให้นับลำดับบุตรแฝดตามหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอย่างอื่นซึ่งมิใช่เป็นการตรวจสุขภาพประจำปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายใน ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซมให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข) ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (๒) ผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของเอกชนประเภทผู้ป่วยภายในให้เบิกค่ารักษาพยาบาล ดังนี้ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่าห้อง และค่าอาหารให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลของทางราชการ (ข) ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่จะต้องไม่เกินสามพันบาทสำหรับระยะเวลาภายสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวันให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาทและในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหลายครั้งโดยมีระยะห่างกันไม่เกินสิบห้าวันให้นับระยะเวลาการเข้ารับการรักษาพยาบาลทุกครั้งรวมเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใดอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชนตามระเบียบนี้ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้ ข้อ ๑๓ การจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้ (๑) ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ ต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราว (๒) ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของทางราชการ (๓) ค่าตรวจสุขภาพให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๑๔ ในกรณีที่สถานพยาบาลตามข้อ ๑๒ ไม่มียา เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน น้ำยาหรืออาหารทางเส้นเลือด ออกซิเจน อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค จำหน่าย หรือไม่อาจให้การตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์แก่ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ เมื่อแพทย์ผู้ตรวจรักษาหรือหัวหน้าสถานพยาบาลของสถานพยาบาลแห่งนั้นลงลายมือชื่อรับรองตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว ก็ให้ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลซื้อ หรือรับการตรวจทางห้องทดลองหรือเอ็กซเรย์จากสถานที่อื่นซึ่งอยู่ในประเทศไทยแล้วนำมาเบิกได้ตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๕ เมื่อปรากฏว่าสถานพยาบาลของเอกชนได้มีพฤติการณ์ในทางทุจริตร่วมกับผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นในเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบเพื่อมิให้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลตามของเอกชนนั้นอีกต่อไป เว้นแต่จะเป็นกรณีตามข้อยกเว้นของข้อ ๑๒ (๒) การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแจ้ง การแจ้งชื่อสถานพยาบาลของเอกชนตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนนั้นที่การแจ้งมีผลโดยได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องกันจนถึงวันที่การแจ้งมีผล ข้อ ๑๖ ในท้องที่อำเภอหรือเขตใดไม่มีสถานพยาบาลของเอกชนตามระเบียบนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกินสิบเตียงแต่ไม่เกินยี่สิบห้าเตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในข้อ ๑๒ (๒) ได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ (๑) กรณีที่ท้องที่อำเภอหรือเขตนั้นไม่มีสถานพยาบาลเช่นว่านั้นอีกผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดใน ข้อ ๑๒ (๒) ได้ (๒) กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาพยาบาลในทันทีทันใด อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ให้เบิกค่ารักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในข้อ ๑๒ (๒) ได้ ให้นำข้อ ๑๒ วรรคสอง ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ มาใช้บังคับสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในท้องที่อำเภอหรือเขตตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามระเบียบนี้แล้วไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่จะเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับตนเองหรือบุคคลในครอบครัวในการเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลตามวรรคหนึ่งที่มีอยู่ก่อนวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลของเอกชนตามระเบียบนี้โดยได้รับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องกันจนถึงวันที่มีการจัดตั้งสถานพยาบาลนั้น ข้อ ๑๗ ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นหากได้รับเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยภายในของสถานพยาบาลอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและสถานพยาบาลนั้นเรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลคาบเกี่ยวถึงวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๘ การใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรในกรณีที่คู่สมรสเป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของทางราชการ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือกรุงเทพมหานคร ให้คู่สมรสฝ่ายสามีเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว คือถ้าคู่สมรสฝ่ายสามีเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวให้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ ถ้าคู่สมรสเป็นผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของทางราชการ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือกรุงเทพมหานคร และมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานนั้น ให้ใช้สิทธิขอรับการช่วยเหลือจากทางรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานดังกล่าวเว้นแต่สิทธิที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นต่ำกว่าสิทธิที่จะพึงได้รับตามระเบียบนี้ ให้คู่สมรสฝ่ายภรรยาที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ได้เพิ่มเท่าจำนวนที่ยังขาดอยู่ ในกรณีหย่าหรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมาย และบุตรอยู่ในความปกครองหรืออุปการะเลี้ยงดูของมารดาซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราว ให้มารดาใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับบุตรที่อยู่ในอำนาจปกครองหรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของตนนั้นได้ ข้อ ๑๙ ให้ผู้บังคับบัญชาต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิ (๑) ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้มีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของพนักงานและลูกจ้างชั่วคราวในสังกัด (๒) ให้ผู้อำนวยการการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครมีอำนาจรับรองการใช้สิทธิของตนเองและของผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าหน่วยงานขึ้นไป ข้อ ๒๐ ให้ผู้อำนวยการการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๑ การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ ให้หน่วยงานเป็นผู้วางฎีกาเบิกเงินกับหน่วยการคลังส่วนกลางของการพาณิชย์ของตนซึ่งเป็นหน่วยงานเบิกเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วแต่กรณี จากเงินงบกลางของการพาณิชย์แต่ละแห่ง ข้อ ๒๒ เมื่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ใช้สิทธิแล้วให้เขียนข้อความหรือประทับตรามีข้อความว่า “จ่ายเงินแล้ว” ในหลักฐานการรับเงินทุกฉบับ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่พนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวใช้สิทธิเบิกเงินค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบนี้ โดยทุจริตหรือกรอกข้อความในคำขอเบิกเงินตามที่กล่าวข้างต้นนี้เป็นเท็จนอกจากจะต้องรับโทษทางวินัยแล้วให้เป็นอันหมดสิทธิที่จะได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลตลอดไปอีกด้วย ข้อ ๒๔ พนักงานหรือลูกจ้างชั่วคราวผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรเกินสามคนอยู่แล้วก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ก็ให้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรเหล่านั้นต่อไปจนกว่าจะหมดสิทธิตามระเบียบนี้ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสวัสดิการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลภายหลังวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้นำหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินดังกล่าวมาใช้บังคับกับการจ่ายเงินตามระเบียบนี้ หมวด ๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๖ การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการตามระเบียบเดิมต่อไปจนกว่าจะดำเนินการเสร็จ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๘[๔] วชิระ/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๖๔/๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ [๒] ข้อ ๕ บทนิยามคำว่า “การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร” ยกเลิกโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๓] ข้อ ๕ บทนิยามคำว่า “หน่วยงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๘ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง/หน้า ๑๓/๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๘
533300
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๓๑ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ส่วนที่ ๑ นิยาม ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่กำหนดไว้ในระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ “การซื้อ” หมายความว่า การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้งทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง “การจ้าง” ให้หมายความรวมถึงการจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจ้างออกแบบและก่อสร้าง และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การรับขนในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “การจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึงการจ้างออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “การจ้างออกแบบและควบคุมงาน” หมายความว่า การจ้างบริการจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจบริการด้านงานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “ผู้สั่งซื้อ” หมายความว่า ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อ “ผู้สั่งจ้าง” หมายความว่า ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้จ้าง “เงินงบประมาณ” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และเงินซึ่งหน่วยงานได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ไม่ต้องส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือตามกฎหมายและระเบียบอื่นกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานคร แต่ไม่รวมถึงเงินกู้และเงินช่วยเหลือตามระเบียบนี้ “เงินกู้” หมายความว่า เงินกู้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ และตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิหรือเอกชนต่างประเทศ “อาคาร” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา สถานีนำร่อง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและรวมตลอดถึงสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา และสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟต์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น “พัสดุที่ผลิตในประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว โดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย “กิจการของคนไทย” หมายความว่า กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสัญชาติไทย “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจหรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านศึกษา สำรวจ ออกแบบและควบคุมงานและการวิจัย แต่ไม่รวมถึงการให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “ที่ปรึกษาไทย” หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง “หน่วยงาน”[๒] หมายความว่า หน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งตั้งแต่ระดับฝ่ายขึ้นไป และให้รวมถึง สถานธนานุบาลและตลาดของสำนักงานตลาดด้วย “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วย “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ”[๓] หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งระดับฝ่าย หรือผู้ได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุหรือผู้ได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้ “ผู้อำนวยการโครงการ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุตามโครงการเงินกู้หรือโครงการเงินช่วยเหลือ “โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ”[๔] หมายความว่า โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 9001 หรือ มอก. 9002 ในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือองค์กรที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การรับรองระบบงาน (accreditation) “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน”[๕] หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขายในการซื้อพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเข้าเสนอราคาเพื่อรับจ้างทำพัสดุ หรือเข้าเสนองานเพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงานให้แก่หน่วยงานใด เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคา หรือเข้าเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าว มีความสัมพันธ์กันในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน (๒) มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด อีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน คำว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ ๒๕ ในกิจการนั้น หรือในอัตราอื่นตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เห็นสมควรประกาศกำหนด สำหรับกิจการบางประเภทหรือบางขนาด (๓) มีความสัมพันธ์กันในลักษณะไขว้กันระหว่าง (๑) และ (๒) โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน หรือในนัยกลับกัน การดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการเข้าถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลใน (๑) (๒) หรือ (๓) ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งการเป็นหุ้นส่วนหรือการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าว ในกรณีบุคคลใดใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น โดยที่ตนเองเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารที่แท้จริง หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี และห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เกี่ยวข้องได้เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน ให้ถือว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นมีความสัมพันธ์กันตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี “การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม”[๖] หมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคาหรือเสนองานต่อหน่วยงาน ไม่ว่าจะกระทำโดยการสมยอมกัน หรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จ หรือกระทำการใดโดยทุจริต ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานด้วยกัน หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานนั้น หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบหน่วยงานโดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ “เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ”[๗] หมายความว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตามข้อ ๓๘ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๔๖ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๗๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๙๓ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดตามข้อ ๙๖ หรือผู้ว่าจ้างในกรณีการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีพิเศษที่เป็นการว่าจ้างโดยการประกวดแบบตามข้อ ๙๗ (๒) “งานก่อสร้างสาธารณูปโภค”[๘] หมายความว่า งานก่อสร้าง ซ่อมแซมและบำรุง รักษางานอันเกี่ยวกับการทาง การประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ ระบบการขนส่งปิโตรเลียมโดยทางท่อ ทางหลวง ทางรถไฟ และการอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดินหรือเหนือพื้นดิน ส่วนที่ ๒ การใช้บังคับและการมอบอำนาจ ข้อ ๖ ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่หน่วยงาน ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ข้อ ๗ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดการเสียหายขึ้น ผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพื่อความคล่องตัวในการจัดหา ให้ผู้มีอำนาจตามระเบียบนี้มอบอำนาจในการสั่งการและดำเนินการจัดหาให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไปเป็นลำดับ การทำนิติกรรมตามระเบียบนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจให้แก่ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติราชการแทนก็ได้ สำหรับโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้จะแต่งตั้งข้าราชการคนหนึ่งทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการ และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการตามระเบียบนี้ให้เป็นการเฉพาะก็ได้ ให้ผู้มอบส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้หน่วยการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบทุกครั้ง ส่วนที่ ๓ บทกำหนดโทษ ข้อ ๘[๙] ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายหรือระเบียบที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาบังคับอยู่ในขณะนั้นโดยอนุโลม หรือตามกฎหมายหรือระเบียบเฉพาะของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำให้ออก (๒) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหาย แต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดค่าจ้าง (๓) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหาย ให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การลงโทษทางวินัยตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายในทางแพ่งและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาใช้บังคับหรือความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี) ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ข้อ ๙[๑๐] ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการกองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่ง เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน ๒ คน ข้อ ๑๐ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ (๒) พิจารณาการขออนุมัติยกเว้น หรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ (๓) พิจารณาคำร้องเรียนเกี่ยวกับการที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครไม่ปฏิบัติตามระเบียบ (๔) เสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงระเบียบต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๕) กำหนดแบบหรือตัวอย่าง รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงและกำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๖) เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการพิจารณาและแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานและการสั่งเปลี่ยนแปลงเพิกถอนผู้ทิ้งงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๗)[๑๑] กำหนดอัตราร้อยละของราคาตามข้อ ๑๔ (๖) (๗) (๘) และ (๑๑) (๘) กำหนดประเภทหรือชนิดของพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศตามข้อ ๕๙ (๙) เชิญพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือพนักงานและลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อเท็จจริงรวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงาน (๑๐) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๑๑) พิจารณาดำเนินการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย (๑๒)[๑๒] พิจารณารายงานการจ้างตามข้อ ๗๓ วรรคสอง (๑๓)[๑๓] กำหนดอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๘๒ (๑๔)[๑๔] กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าปรับตามข้อ ๑๒๔ (๑๕)[๑๕] กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติเพื่อให้มีการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หมวด ๒ การจัดหา ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ข้อ ๑๑[๑๖] หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้หน่วยงานรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอนของระเบียบนี้ในส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว การจัดหาโดยวิธีสอบราคาและวิธีประกวดราคา ให้หน่วยงานวางแผนในการจัดหาและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนด้วย ข้อ ๑๒ การได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการนอกเหนือจากที่ระเบียบนี้ได้กำหนดไว้และไม่มีระเบียบของทางราชการหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามวิธีการจัดหาลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการจัดทำเอง ให้ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์แต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเองนั้น และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงานโดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่หน่วยงานที่กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะอยู่แล้ว ข้อ ๑๓/๑[๑๗] การจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหาต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เว้นแต่กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการพร้อมทั้งต้องระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๓/๒[๑๘] เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมตามข้อ ๑๓/๑ ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันแต่เพียงรายเดียวเท่านั้น มีสิทธิที่จะเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานของกรุงเทพมหานครในแต่ละครั้ง ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ก่อนการเปิดซองสอบราคาประกวดราคาหรือเสนองาน แล้วแต่กรณี และในกรณีการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุโดยวิธีประกวดราคาตามข้อ ๕๐ หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๗๕ และข้อ ๗๙ ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าว ก่อนการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน ข้อ ๑๓/๓[๑๙] ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละราย ตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหาก โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุมและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง (๒) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นั้น สำเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้าและในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (๑) (๔) เอกสารอื่นตามที่หน่วยงานกำหนด เช่น หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีที่ระเบียบนี้กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียวตามข้อ ๗๗ (๒) ให้ผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง มาพร้อมกับการยื่นซองดังกล่าวด้วย เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสองแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการของหน่วยงานโดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานอยู่ ณ สถานที่ที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นทราบด้วย ข้อ ๑๓/๔[๒๐] เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสองแล้ว หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการเสนอราคาหรือเสนองานในครั้งนั้น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายดังกล่าวทราบโดยพลัน ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันอาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อปลัดกรุงเทพมหานครภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกรุงเทพมหานครให้ถือเป็นที่สุด สำหรับการเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น และให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุทราบด้วย การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นว่า การขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง และในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๓/๕[๒๑] นอกจากการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสองและตามข้อ ๑๓๕ แล้ว หากปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนหรือในขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทำการดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ จะวินิจฉัยว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นเป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และมิได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าวตามนัยข้อ ๑๓๕/๔ จะไม่ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานนั้นก็ได้ ให้นำความในข้อ ๑๓/๓ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๑๓/๔ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้กับการอุทธรณ์ในกรณีนี้โดยอนุโลม และให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๑๓/๖[๒๒] ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังจากการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้ตามข้อ ๑๓/๓ วรรคสาม เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายอื่น หรือเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้หัวหน้าหน่วยงานมีอำนาจที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวทุกรายออกจากประกาศรายชื่อตามข้อ ๑๓/๓ วรรคสาม ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน และในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้ว เห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานดังกล่าวได้ ส่วนที่ ๒ การซื้อการจ้าง ข้อ ๑๔[๒๓] ให้หน่วยงานใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทย ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทย สามารถเข้าแข่งขันกันในการเสนอราคากับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้างตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือเพื่อความสะดวกจะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้ (๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างให้สอดคล้องกับรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะตามที่ระไว้ในคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น (๔) ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้างแตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน (๒) หรือ (๓) ให้แจ้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเมื่อได้รับหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรมตอบรับทราบหรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำเป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น ในกรณีที่พัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำตามวรรคหนึ่ง เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตน้อยกว่า ๓ ราย แต่เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป หรือเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้หน่วยงานระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทย และให้ดำเนินการตาม (๖) (๖) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิดหรือขนาดเดียวกันตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๕ ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพรายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละ ๓ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๗) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำตาม (๕) หรือ (๖) เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพน้อยกว่า ๓ ราย หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน โดยมีผู้รับใบอนุญาตน้อยกว่า ๓ ราย หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพแล้ว โดยมีผู้ผลิตน้อยกว่า ๓ ราย ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ให้ดำเนินการต่อรองราคาดังนี้ (ก) ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละ ๑๐ มาต่อรองราคา ทั้งนี้ ให้เรียกผู้เสนอราคารายที่เสนอราคาต่ำสุดมาต่อรองราคาก่อน หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น หากต่อรองราคาแล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาต่ำสุดลำดับถัดไปมาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (ข) หากดำเนินการตาม (ก) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผู้เสนอราคาพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ มาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๕ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๘) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เข้าแข่งขันรายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม รายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละ ๕ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๙) การดำเนินการตาม (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้นถึงเดือนก่อนหน้าที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง ถ้ามีผู้เสนอราคาพัสดุที่อยู่ระหว่างขอการรับรองระบบคุณภาพ หรือการขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแนบใบรับมาพร้อมกับใบเสนอราคา หากพัสดุนั้นได้รับการรับรองระบบคุณภาพหรือใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวันถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้ จะต้องก่อนการพิจารณาตัดสินราคาของคณะกรรมการ ให้ถือเสมือนเป็นผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี (๑๐) ในกรณีที่ได้ดำเนินการตาม (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แล้ว แต่ไม่สามารถซื้อหรือจ้างได้ ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๑๑) การซื้อหรือการจ้างนอกจากที่กล่าวใน (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาระบุแหล่งกำเนิดหรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือเป็นกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่าพัสดุที่มิได้มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือมิได้เป็นกิจการของคนไทย ไม่เกินร้อยละ ๕ ของผู้เสนอราคารายต่ำสุด ให้ต่อรองราคาของผู้เสนอราคาพัสดุที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทยรายที่เสนอถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละ ๓ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๑๒) การเปรียบเทียบราคาให้พิจารณาราคาที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณาราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี (๑๓) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวิธีซื้อหรือวิธีจ้างแต่ละวิธีเว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (๖) (๗) (๘) หรือ (๑๑) การซื้อหรือการจ้างที่ดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือซึ่งไม่สามารถเจรจากับแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ เพื่อกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งได้ ให้หน่วยงานส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศไทยหรือเป็นกิจการของคนไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่พัสดุใดผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเว้นการส่งเสริมพัสดุประเภทหรือชนิดดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน หรือผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตาม (๕) (๖) หรือ (๗) แต่ละราย ถ้ามีลักษณะที่เป็นการมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตามนัยของบทนิยาม “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” ให้นับผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือผู้ผลิตดังกล่าวเป็นหนึ่งรายเท่านั้น วิธีซื้อหรือวิธีจ้าง ข้อ ๑๕[๒๔] การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ ๖ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ (๖) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ โดยอนุโลม ข้อ ๑๖[๒๕] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๗[๒๖] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๘[๒๗] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๙ การซื้อหรือการจ้างตามข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเวินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไปจะกระทำมิได้ การซื้อหรือการจ้างซึ่งดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างจะสั่งให้กระทำตามวงเงินที่สัญญาเงินกู้หรือสัญญาเงินช่วยเหลือกำหนดก็ได้ ข้อ ๒๐[๒๘] การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สหการ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๓) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม (Repeat Order) (๔) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ (๕) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึง อะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามข้อ ๕๖ (๖) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (๗) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๑[๒๙] การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๔) เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม (Repeat Order) (๕) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๒[๓๐] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สหการ ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง (๒) มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง และกรณีนี้ให้รวมถึง หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย รายงานขอซื้อหรือของจ้าง ข้อ ๒๓ ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๒๔ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (๓) ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ (๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น (๕) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท และการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเร่งด่วน ตามข้อ ๒๐ (๒) หรือข้อ ๒๑ (๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงานตามวรรคหนึ่งเฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้[๓๑] ข้อ ๒๔ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้สั่งซื้อตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ (๒) รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ (๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น (๔) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย (๕) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น (๖) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง ข้อ ๒๕ เมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ ๒๓ หรือข้อ ๒๔ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการตามวิธีการซื้อหรือการจ้างนั้นต่อไปได้ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้าง ข้อ ๒๖ หน่วยงานใดประสงค์จะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้างให้กระทำได้ในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะผู้ที่มีความสามารถ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกประกาศให้ผู้ที่สนใจทราบโดยเปิดเผย พร้อมทั้งส่งให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย[๓๒] ในการดำเนินการคัดเลือก ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องจัดทำรายงานเสนอขออนุมัติผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยเอกสารการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น (๒) ประเภท วงเงิน และรายละเอียดของพัสดุหรืองานที่จะต้องซื้อหรือจ้าง (๓) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งเป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและโรงงาน ฐานะการเงิน เป็นต้น (๔) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ข้อ ๒๗ เมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างสั่งการอนุมัติในข้อ ๒๖ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ประกาศเชิญชวน อย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดเฉพาะของที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้าง (๒) ประสบการณ์และผลงานของผู้เสนอที่มีลักษณะและประเภทเดียวกัน (๓) สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและโรงงาน (๔) ฐานะการเงิน (๕) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาคัดเลือก (๖) สถานที่ในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารคุณสมบัติเบื้องต้น ในประกาศครั้งแรก ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลารับข้อเสนอ ปิดการรับข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอ พร้อมทั้งประกาศโฆษณาและแจ้งลักษณะโดยย่อของพัสดุที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้างและกำหนดเวลาให้พอเพียงเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่สนใจจัดเตรียมข้อเสนอ ทั้งนี้ จะต้องกระทำก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและลงประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเห็นสมควรจะลงประกาศเชิญชวนไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือโฆษณาด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ สำหรับการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการประกวดราคานานาชาติให้ประกาศโฆษณาก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลืออีกด้วย ข้อ ๒๘ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยให้แต่งตั้งจากพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๕ และจะต้องมีผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ๑ คน คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างกำหนด ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือจ้างต่อไป ข้อ ๒๙[๓๓] ให้หน่วยงานพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือการจ้าง และตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ประกาศไปแล้ว อย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี โดยปกติให้กระทำภายในเดือนแรกของปีงบประมาณ และเมื่อได้ทบทวนแล้ว ให้หน่วยงานนั้นแจ้งการทบทวนพร้อมทั้งส่งหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุทราบโดยเร็ว แต่ต้องไม่นานเกินกว่า ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ในกรณีที่หน่วยงานใดมีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้เป็นการประจำ ให้หน่วยงานนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ขึ้นบัญชีไว้แล้วและประสงค์ที่จะขอเลื่อนชั้น หรือให้บุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น มีสิทธิยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกได้ตลอดเวลา โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ และโดยปกติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ถ้าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องชี้แจงเหตุผลและระยะเวลาที่ต้องใช้ตามความจำเป็นให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ในระหว่างการยื่นคำขอและตรวจพิจารณาคำขอ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือผู้ที่ยื่นคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น จะใช้สิทธิจากการที่ตนได้ยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกดังกล่าว ในการซื้อหรือการจ้างที่มีขึ้นก่อนหรือในระหว่างที่ตนยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกนั้นไม่ได้ ในกรณีที่หน่วยงานเห็นสมควรยกเลิกบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือการจ้างเพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานแจ้งให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่อยู่ในบัญชีรายชื่อทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน ข้อ ๒๙/๑[๓๔] ในการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้หน่วยงานพิจารณาถึงความสามารถในการรับงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างประกอบการพิจารณาคัดเลือกของหน่วยงานด้วย ในกรณีที่หน่วยงานใด มีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้แล้ว ให้หน่วยงานนั้นแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่อยู่ในบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นดังกล่าว แสดงหลักฐานถึงขีดความสามารถและความพร้อมที่ตนมีอยู่ในวันเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด ทั้งในด้านบุคลากร เครื่องมือ โรงงาน และฐานะทางการเงินของตนต่อหน่วยงาน กรรมการ ข้อ ๓๐ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (๔) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (๕) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (๖) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (๗) คณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น ข้อ ๓๑ คณะกรรมการตามข้อ ๓๐ แต่ละคณะ ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๓ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่พนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ในกรณีเมื่อถึงกำหนดเวลาการเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ ๓๘ (๑) หรือข้อ ๔๕ แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการทุกคณะ เว้นแต่คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งพนักงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้ ข้อ ๓๒ ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ ๓๓[๓๕] ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้งหรือการจัดหาอื่นใดที่หน่วยงานเห็นว่า มีความจำเป็นต้องมีผู้ควบคุมงานโดยเฉพาะ ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ ความชำนาญทางด้านช่างหรือด้านอื่นใด ตามลักษณะของงานที่ดำเนินการนั้นจากพนักงานในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดอื่น ตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงาน หรือหัวหน้าส่วนราชการของผู้นั้นแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างหรืองานจัดหาอื่นใดมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้ ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมงานแทนพนักงาน ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติตามหมวด ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ในการซื้อ หรือจ้างทำพัสดุที่มีเทคนิคพิเศษ และจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาเป็นการเฉพาะ ให้อยู่ในดุลพินิจของปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในกรณีที่มีวงเงินเกินอำนาจปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา มาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดได้ตามความจำเป็น โดยให้ดำเนินการจ้างโดยถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ในส่วนที่ ๓ วิธีตกลงราคา ข้อ ๓๕[๓๖] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามข้อ ๒๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน หรือเป็นกรณีการจัดซื้อจัดจ้าง (ยกเว้นค่าครุภัณฑ์) ที่มีวงเงินครั้งละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบและขออนุมัติต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง และเมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบและอนุมัติแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม วิธีสอบราคา ข้อ ๓๖ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารสอบราคาโดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อและจำนวนที่ต้องการหรือแบบรูปรายการละเอียดและปริมาณงานที่ต้องการจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องดูสถานที่ หรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมประกอบตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลาที่นัดหมายไว้ด้วย (๒) คุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคาซึ่งจะต้องมีอาชีพขายหรือรับจ้างตาม (๑) โดยให้ผู้เสนอราคาแสดงหลักฐานดังกล่าวด้วย (๓) ในกรณีจำเป็นให้ระบุผู้เข้าเสนอราคาส่งตัวอย่าง แคตตาล็อกหรือแบบรูปและรายการละเอียดไปพร้อมกับใบเสนอราคา (๔) ถ้าจำเป็นต้องมีการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจทดลองและเหลือไว้สำหรับการทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่าทางราชการไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทดสอบตัวอย่างนั้น (๕) สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปรายการละเอียด ในกรณีที่มีการขายให้ระบุราคาขายไว้ด้วย (๖) ข้อกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคาเสนอราคารวมทั้งสิ้น และราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ (ถ้าทำได้) พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ์โดยชัดเจนว่า จะพิจารณาราคารวมหรือราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาให้พิจารณาราคารวม (๗) แบบใบเสนอราคา โดยกำหนดไว้ด้วยว่าในการเสนอราคาให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลขและต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกัน ให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ ในการสอบราคาจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้างตามความเหมาะสมของลักษณะและประเภทของงาน เพื่อให้ผู้เข้าเสนอราคากรอกปริมาณวัสดุและราคาด้วย (๘) กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็นต่อทางราชการ และมีเงื่อนไขด้วยว่าซองเสนอราคาที่ยื่นต่อทางราชการและลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้ (๙) กำหนดสถานที่ส่งมอบพัสดุและวันส่งมอบโดยประมาณ (สำหรับการซื้อ) หรือกำหนดวันที่จะเริ่มทำงานและวันแล้วเสร็จโดยประมาณ (สำหรับการจ้าง) (๑๐) กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา (๑๑) ข้อกำหนดให้ผู้เสนอราคาผนึกซองราคาให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อทางราชการจ่าหน้าถึงประธานกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อการจ้างครั้งนั้นและส่งถึงหน่วยงาน ก่อนวันเปิดซองโดยให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสาร เสนอไปพร้อมกับซองราคาด้วย สำหรับกรณีที่จะให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ ให้กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ให้ชัดเจนด้วย (๑๒) กำหนดเงื่อนไขในการสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับทางกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทิ้งงาน (๑๓) ข้อกำหนดว่าผู้เข้าเสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำสัญญาจะต้องวางหลักประกันสัญญาตามชนิดและอัตราในข้อ ๑๓๑ และข้อ ๑๓๒ (๑๔) ร่างสัญญา รวมทั้งการแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไข การจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) และอัตราค่าปรับ (๑๕) ข้อสงวนสิทธิ์ว่า กรุงเทพมหานครจะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ และกรุงเทพมหานครทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะงดซื้อหรือจ้าง หรือเลือกซื้อหรือจ้างโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคา และลงโทษผู้เสนอราคาเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา ข้อ ๓๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบราคาในประเทศหรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานนั้น (๒) ในการยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นและส่งถึงหน่วยงานผู้ดำเนินการสอบราคาก่อนวันเปิดซองสอบราคาโดยยื่นโดยตรงต่อหน่วยงาน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนในกรณีที่หน่วยงานกำหนดให้กระทำได้ (๓) ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซองในกรณีที่ผู้เสนอราคามายื่นซองโดยตรง ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซอง สำหรับกรณีที่เป็นการยื่นซองทางไปรษณีย์ ให้ถือวันและเวลาที่หน่วยงานนั้นลงรับจากไปรษณีย์เป็นเวลารับซอง และให้ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที (๔) ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาซองเสนอราคาทุกรายโดยไม่เปิดซองและเมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาแล้ว ให้ส่งมอบซองเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๓๘ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ดังนี้ (๑) เปิดซองใบเสนอราคาและอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกรายแล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น (๒) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา (๓) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (๒) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับกรุงเทพมหานครในเวลาที่กำหนดตามเอกสารสอบราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันรายหลาย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตามข้อ ๓๙ (๔) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดำเนินการตาม (๓) โดยอนุโลม (๕) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๓๙[๓๗] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ ๒๓ (๔) หรือข้อ ๒๔ (๕) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการดำเนินการตามลำดับดังนี้ (๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้ว ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้น ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุดในการต่อรองราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่ วิธีประกวดราคา ข้อ ๔๐ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารประกวดราคาตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด หรือตามแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแล้ว การจัดทำเอกสารประกวดราคารายใดจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดหรือแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างหรือแบบดังกล่าวและไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียเปรียบก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างเอกสารประกวดราคาไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครตรวจพิจารณาก่อน การเผยแพร่เอกสารประกวดราคาให้จัดทำเป็นประกาศ และมีสาระสำคัญดังนี้ (๑) รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ หรืองานที่ต้องการจ้าง (๒) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา (๓) กำหนดวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา (๔) สถานที่และระยะเวลาในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารการประกวดราคาและราคาของเอกสาร (๕) แหล่งเงินกู้และประเทศผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา ในกรณีประกวดราคานานาชาติ ข้อ ๔๑[๓๘] การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลและจัดทำหลักฐานการเผยแพร่และการปิดประกาศประกวดราคาภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังนี้ (๑) ปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานนั้น การปิดประกาศดังกล่าวให้กระทำในตู้ปิดประกาศที่มีกุญแจปิดตลอดเวลา โดยผู้ปิดประกาศและผู้ปลดประกาศออกจากตู้ปิดประกาศจะต้องจัดทำหลักฐานการปิดประกาศและการปลดประกาศออกเป็นหนังสือมีพยานบุคคลรับรอง ทั้งนี้ ผู้ปิดประกาศและผู้ปลดประกาศออก จะต้องมิใช่บุคคลเดียวกัน และจะต้องมิใช่บุคคลที่เป็นพยานในแต่ละกรณีด้วย (๒) ส่งใบประกาศประกวดราคาไปที่กองประชาสัมพันธ์ เพื่อปิดประกาศที่กองประชาสัมพันธ์ (๓) ส่งไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียงของกรุงเทพมหานคร และ/หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ (๔) ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ (๕) ส่งไปเผยแพร่ที่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย (๖) ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย นอกจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเห็นสมควรจะส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือจะโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้ การส่งประกาศประกวดราคาตามวรรคหนึ่ง หากจัดส่งทางไปรษณีย์ให้จัดส่งโดยใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เว้นแต่ท้องที่ใดไม่มีบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) จึงให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำก่อนการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ สำหรับการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ให้หน่วยงานถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือแหล่งให้เงินช่วยเหลือ ข้อ ๔๒[๓๙] การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียด ให้กระทำ ณ สถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้าม และจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น รายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใดในการให้หรือการขาย การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาต้องกระทำไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และจะต้องมีช่วงเวลาสำหรับการคำนวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาหลังปิดการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา จนถึงก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ หรือไม่น้อยกว่าจำนวนวันที่มากกว่านั้นตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด โดยคำนึงถึงขนาด ปริมาณ และลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องเสียไปในการจัดทำสำเนาเอกสารประกวดราคานั้น ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นและมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้เอกสารประกวดราคานั้นหรือได้รับเอกสารประกวดราคาใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก ข้อ ๔๓[๔๐] ในกรณีที่การซื้อหรือการจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน หรือมีความจำเป็น โดยสภาพของการซื้อหรือการจ้างที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ ให้หน่วยงานกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ในประกาศประกวดราคา ก่อนวันปิดการรับซองประกวดราคา หากหน่วยงานเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีการชี้สถานที่ อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้น ให้หน่วยงานจัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติมและให้ระบุวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย และให้ดำเนินการตามข้อ ๔๑ วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ได้รับหรือได้ซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายทราบโดยมิชักช้า การชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกการชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ถ้ามีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้หน่วยงานพิจารณาเลื่อนวัน เวลารับซอง การปิดการรับซองและการเปิดซองประกวดราคาตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย ข้อ ๔๔ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔๓ เมื่อถึงกำหนดวันรับซองประกวดราคา ห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับซองและเปิดซองประกวดราคา การรับซองทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่การประกวดราคานานาชาติซึ่งกำหนดให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ โดยให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๓๗ (๒) (๓) และ (๔) โดยอนุโลม ข้อ ๔๕ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อกำกับซองกับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นของผู้ใด (๒)[๔๑] ตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน ให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย (๓) รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคาพร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูป และรายการละเอียด (ถ้ามี) หากไม่ถูกต้องให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย (๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคาหรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอีก เว้นแต่กรณีตามข้อ ๑๔ (๗) (๕) เปิดซองใบเสนอราคาและอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น ในกรณีที่มีการยื่นซองข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคาซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่น ๆ ก่อน ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามข้อ ๕๐ และข้อ ๕๒ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาที่จะต้องดำเนินการต่อไป (๖) ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันทีในวันเดียวกัน ข้อ ๔๖ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใด เสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคา โดยไม่ตัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ (๒) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วตาม (๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับกรุงเทพมหานครในเวลาที่กำหนดตามเอกสารประกวดราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาดำเนินการตามข้อ ๓๙ โดยอนุโลม (๓) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๔๗ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ได้พิจารณาตามข้อ ๔๖ (๑) แล้วปรากฏว่ามีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเพียงรายเดียว โดยปกติให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเห็นว่า มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคา ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๔๖ (๒) โดยอนุโลม ข้อ ๔๘[๔๒] ภายใต้บังคับข้อ ๔๖ (๑) ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนด ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นเพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่า การประกวดราคาใหม่จะไม่ได้ผลดี จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๗) หรือข้อ ๒๑ (๕) แล้วแต่กรณี ก็ได้ ข้อ ๔๙ หลังจากการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอราคารายใด ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างพิจารณายกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น ข้อ ๕๐[๔๓] การซื้อหรือการจ้างที่มีลักษณะจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุ และหรือข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาตัดสิน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอให้ครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการก่อนพิจารณาด้านราคา หรือการซื้อหรือการจ้างแบบเหมารวม (Lump Sum Turnkey) ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการได้ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกวดราคาทั่วไป เว้นแต่การกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นซองประกวดราคา โดยแยกเป็น (๑) ซองข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ (๒) ซองข้อเสนอด้านราคา (๓) ซองข้อเสนอทางการเงินตามข้อ ๕๒ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย ข้อ ๕๑[๔๔] เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๕๐ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทำหน้าที่เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้เสนอราคาแทนคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาตามข้อ ๔๕ (๕) และพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๕๐ โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๔๖ ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่นของผู้เข้าเสนอราคาทุกราย และคัดเลือกเฉพาะรายที่เสนอได้ตรงหรือใกล้เคียงตามมาตรฐานความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ในกรณีจำเป็นจะเรียกผู้เสนอราคามาชี้แจงในรายละเอียดข้อเสนอเป็นการเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ (๒) เปิดซองราคาเฉพาะรายที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตาม (๑) แล้ว สำหรับรายที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาและซองข้อเสนอทางการเงิน (ถ้ามี) โดยไม่เปิดซอง ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอทางการเงินในกรณีนี้ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือการจ้าง อย่างน้อยด้านละ ๑ คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๕๒ การซื้อหรือการจ้างที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นข้อเสนอทางการเงินมาด้วยให้กำหนดให้ผู้เสนอราคายื่นซองข้อเสนอทางการเงินแยกมาต่างหากและให้เปิดซองข้อเสนอทางการเงินพร้อมกับการเปิดซองราคาตามข้อ ๕๑ (๒) เพื่อทำการประเมินเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการขั้นตอนและหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารการประกวดราคาด้วย วิธีพิเศษ ข้อ ๕๓[๔๕] การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้สั่งซื้อแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาดให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีเจรจาตกลงราคา (๒) ในกรณีเป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๓) ในกรณีที่เป็นพัสดุที่ได้ซื้อไว้แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เจรจากับผู้ขายรายเดิมตามสัญญา หรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการขายพัสดุตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิมภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าหรือเงื่อนไขเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุดที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะได้รับ (๔) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้สั่งซื้อเพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศโดยขอความร่วมมือให้สถานเอกอัครราชทูตหรือส่วนราชการอื่นในต่างประเทศช่วยสืบราคา คุณภาพ ตลอดจนรายละเอียด ส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศได้ (๕) ในกรณีเป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ให้เชิญผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๖) ในกรณีพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง ให้เชิญเจ้าของที่ดินและหรือเจ้าของสิ่งก่อสร้างโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๗) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงและผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อ เสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๕๔[๔๖] การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๑) (๒) และ (๓) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๔) ให้เจรจากับผู้รับจ้างรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการจ้างตามรายละเอียดและราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุดที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะได้รับ (๓) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๕) กรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้างเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๕๕[๔๗] การดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง สั่งซื้อหรือสั่งจ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามข้อ ๒๒ ได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างตามข้อ ๒๕ อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ข้อ ๕๖[๔๘] การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่งนอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จัดการตลาด ผู้จัดการสถานธนานุบาล หรือหัวหน้าฝ่าย ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๕๗[๔๙] การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๕๘ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยไม่จำกัดวงเงิน การจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๕๙ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องจ่าย และมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนการทำสัญญาหรือข้อตกลง ให้กระทำได้เฉพาะกรณีและตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาซื้อหรือราคาจ้าง (๒) การซื้อพัสดุจากสถาบันของรัฐในต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่นในต่างประเทศซึ่งต้องดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือการซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรือพัสดุอื่นที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุกำหนดตามข้อ ๑๐ (๘) ซึ่งจำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงในต่างประเทศให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกับสถาบันของรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือตามเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนด แล้วแต่กรณี (๓)[๕๐] การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ หรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูป (CD-ROM) ที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อน และมีกำหนดการออกเป็นวาระดังเช่นวารสาร หรือการบอกรับเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต (INTERNET) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์เรียกค้นหาข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง (๔) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาหรือประกวดราคา จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือการจ้าง แต่ทั้งนี้ จะต้องกำหนดอัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้างที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคาด้วย (๕) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง ข้อ ๖๐ การจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือโดยวิธีใช้ดร๊าฟท์ กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือการจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการจัดหาพัสดุที่สั่งซื้อให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๖๑ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕๙ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ต้องเรียกหลักประกัน ส่วนการจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕๙ (๔) และ (๕) ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะต้องนำพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมาค้ำประกันเงินที่รับล่วงหน้าไปนั้น การตรวจรับพัสดุ ข้อ ๖๒ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้นหรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่นในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างก่อน (๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ (๓) โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน และรายงานให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างทราบ ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้รายงานผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้องโดยถือปฏิบัติตาม (๔) และโดยปกติให้รีบรายงานผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์ของผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น (๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ (๗) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ ๖๓ คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป (๒) การดำเนินการตาม (๑) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ โดยให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา (๓) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงิน และรายงานให้ผู้สั่งจ้างทราบ ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้สั่งจ้างสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดำเนินการตาม (๔) ข้อ ๖๔ ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดไว้ในสัญญาทุกประการโดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด แล้วแต่กรณี ไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที (๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูป รายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดีหรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว (๓)[๕๑] จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย (๔) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ ส่วนที่ ๓ การจ้างที่ปรึกษา การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย ข้อ ๖๕[๕๒] การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคล นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนดให้ดำเนินการว่าจ้างโดยวิธีอื่น ให้หน่วยงานจ้างที่ปรึกษาไทยเป็นที่ปรึกษาหลัก (Lead Firm) ในการดำเนินงาน เว้นแต่ได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาว่า ไม่มีที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการหรืองานนั้น การจ้างที่ปรึกษาที่มิใช่นิติบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีมีที่ปรึกษาไทย แต่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทย ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร สำหรับการจ้างที่ปรึกษาในกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศ จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทยก็ได้ ข้อ ๖๖[๕๓] ภายใต้บังคับข้อ ๖๕ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงาน นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนดให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่น จะต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนคน - เดือน (man - months) ของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่สาขาบริการหรืองานที่ไม่อาจจะจ้างบุคลากรไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร วิธีจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๖๗ การจ้างที่ปรึกษากระทำได้ ๒ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง (๒) วิธีคัดเลือก รายงานขอจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๖๘ ก่อนดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้สั่งจ้างตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา (๒) ขอบเขตโดยละเอียดของงานที่จะจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference) (๓) คุณสมบัติของที่ปรึกษาที่จะจ้าง (๔) วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาโดยประมาณ (๕) กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน (๖) วิธีจ้างที่ปรึกษาและเหตุผลที่ต้องจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) เมื่อผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้ กรรมการ ข้อ ๖๙ ในการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง (๒) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ข้อ ๗๐[๕๔] คณะกรรมการตามข้อ ๖๙ ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยให้แต่งตั้งจากพนักงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๖ อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานอื่นหรือเชิญผู้แทนจากส่วนราชการอื่น หรือบุคคลที่มิใช่ข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ ตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ ให้เชิญผู้แทนจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ๑ คน ข้อ ๗๑ ในการประชุมของคณะกรรมการตามข้อ ๖๙ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม การประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำความตามข้อ ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม วิธีตกลง ข้อ ๗๒ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างรายใดรายหนึ่ง ซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถและผลงานแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ ข้อ ๗๓[๕๕] การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว (๓) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการ มีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก และเป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) เป็นการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุน ให้ดำเนินการจ้างได้โดยตรง การจ้างที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงก็ให้กระทำได้ โดยหัวหน้าหน่วยงานจะต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นของการจ้างโดยวิธีตกลง ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครทราบโดยมิชักช้า แต่อย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้มีการจ้าง ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้ว เห็นว่าการจ้างดังกล่าวไม่เป็นกรณีเร่งด่วน ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจแก้ไขสัญญาการจ้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ได้ และในการทำสัญญาจ้างโดยอาศัยเหตุเร่งด่วนนี้ หน่วยงานจะต้องกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วยว่าสัญญาจ้างดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ในกรณีการจ้างโดยอาศัยเหตุตาม (๒) หรือ (๓) คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จะกำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานทำรายงานชี้แจงเหตุผลเพื่อทราบก็ได้ สำหรับกรณีที่เป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างเกินวงเงินขั้นสูงที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๗๔ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา (๒) พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบริการที่จะจ้างและเจรจาต่อรอง (๓) พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา (๔) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้าง เพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ วิธีคัดเลือก ข้อ ๗๕ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาโดยการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานนั้นให้เหลือน้อยราย และเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เหลือน้อยรายดังกล่าวยื่นข้อเสนอเข้ารับงานนั้น ๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรและผู้สั่งจ้างเห็นชอบ ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมยื่นข้อเสนอเข้ารับงาน โดยไม่ต้องทำการคัดเลือกให้เหลือน้อยรายก่อนก็ได้ ข้อ ๗๖ เพื่อให้ได้รายชื่อของที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากรายที่สุดให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้ขอรายชื่อจากสถาบันการเงินหรือองค์การระหว่างประเทศหรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ แจ้งไปยังสมาคมหรือสถาบันอาชีพหรือสถานทูตที่เกี่ยวข้อง หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานหรือส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งเคยดำเนินการจ้างที่ปรึกษาในงานประเภทเดียวกัน (๒) ที่ปรึกษาไทยให้ขอรายชื่อที่ปรึกษาจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง หากกรุงเทพมหานครมีรายชื่อที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่แล้วอาจพิจารณาคัดเลือกให้เหลือน้อยราย โดยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้ การคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยราย ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลืออย่างมาก ๖ ราย เมื่อได้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยรายแล้ว ให้รายงานผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาและกรณีที่เป็นการจ้างที่ปรึกษาโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินนั้นด้วย ข้อ ๗๗ ให้หน่วยงานออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงานตามวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกันโดยแยกเป็น ๒ ซอง (๒) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว ข้อ ๗๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (๒) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกรายและจัดลำดับ (๓) ในกรณีที่ใช้วิธีตามข้อ ๗๗ (๑) ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสมสำหรับกรณีที่ใช้วิธีตามข้อ ๗๗ (๒) ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดมายื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม หากเจรจาไม่ได้ผล ให้เสนอผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณายกเลิกการเจรจากับที่ปรึกษารายนั้นแล้วเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไป หรือเชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไปให้ยื่นข้อเสนอด้านราคา แล้วแต่กรณี และเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม (๔) เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้วให้พิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกำหนดในสัญญา (๕) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้าง โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามข้อ ๗๗ (๑) หลังจากตัดสินใจให้ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือโดยกรมวิเทศสหการให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ ๗๙ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีที่ปรึกษาซึ่งสามารถทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้สั่งจ้างที่จะออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ให้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงาน โดยให้ดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้ คือ (๑) ให้ที่ปรึกษายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกัน โดยแยกเป็น ๒ ซอง (๒) ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับ (๓) เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับไว้อันดับหนึ่งถึงอันดับสามตาม (๒) พร้อมกันแล้วเลือกรายที่เสนอต่ำสุดมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก (๔) หากเจรจาตาม (๓) แล้วไม่ได้ผล ให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ เมื่อเจรจาได้ผลประการใด ให้ดำเนินการตามข้อ ๗๘ (๔) และ (๕) ข้อ ๘๐ การจ้างที่ปรึกษาเป็นรายบุคคลที่ไม่ต้องยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคให้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามนัยข้อ ๗๖ และพิจารณาจัดลำดับและเมื่อสามารถจัดลำดับได้แล้ว ให้เชิญรายที่เหมาะสมที่สุดมาเสนอราคาค่าจ้างเพื่อเจรจาต่อรองราคาตามลำดับ อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๘๑[๕๖] การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๘๒[๕๗] อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัด โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่หน่วยงาน ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้าง จำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินกว่าอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (ถ้ามี) ด้วย ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษาจะต้องจัดให้ธนาคารในประเทศเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้างที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้น และให้ผู้ว่าจ้างคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ที่ปรึกษา เมื่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย สำหรับการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ให้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างตามสัญญา และไม่ต้องมีหลักประกันเงินล่วงหน้าที่รับไปก็ได้ หลักประกันผลงาน ข้อ ๘๓ การจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ที่ปรึกษาที่แบ่งการชำระเงินออกเป็นงวด นอกจากการจ้างที่ปรึกษาซึ่งดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ ให้หน่วยงานหักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าจ้างเพื่อเป็นการประกันผลงาน หรือจะให้ที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมีอายุการค้ำประกันตามที่กรุงเทพมหานครจะกำหนด วางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย ข้อ ๘๔ กรณีสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามโครงการเงินกู้ที่ได้รวมเงินค่าภาษีซึ่งที่ปรึกษาจะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาลไทยไว้ในราคาจ้าง ให้แยกเงินส่วนที่กันเป็นค่าภาษีไว้ต่างหากจากราคาจ้างรวม ส่วนที่ ๔ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน วิธีจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๘๕ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน กระทำได้ ๔ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง (๒) วิธีคัดเลือก (๓) วิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด (๔) วิธีพิเศษ รายงานขอจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๘๖ ก่อนดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานทุกวิธีให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้สั่งจ้าง ตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ขอบเขตวงงานรวมทั้งรายละเอียดเท่าที่จำเป็น (๒) วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง (๓) ประมาณการค่าจ้าง (๔) กำหนดเวลาแล้วเสร็จ (๕) วิธีที่จะจ้าง และเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น (๖) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) เมื่อผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้ การจ้างโดยวิธีตกลง ข้อ ๘๗ การจ้างโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานที่เลือกจ้างผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใด ซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่มีหลักฐานดีตามที่คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงได้พิจารณาเสนอแนะ ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๘๘ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลงแต่ละครั้งให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนี้ คณะกรรมการดังกล่าวต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๘๙ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลง มีหน้าที่พิจารณาข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ และให้รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้าง ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ข้อ ๙๐ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยหน่วยงานประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างจะพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เพื่อดำเนินการว่าจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๙๑ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแต่ละครั้งให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งกรรมการรับซองเสนองานและกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก คณะกรรมการรับซองเสนองานให้ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้เป็นพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๓ อย่างน้อย ๒ คน คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ให้ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนี้ คณะกรรมการดังกล่าวในข้อนี้ ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๙๒ คณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองเสนองานจากผู้ให้บริการและบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นผู้ให้บริการรายใดแล้วลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน (๒) มอบซองเสนองานในสภาพเดิมต่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกและเมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองเสนองานแล้ว ห้ามรับซองเสนองานจากผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใดอีกเป็นอันขาด ข้อ ๙๓ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกมาครบองค์ประชุมแล้ว จึงเปิดซองเสนองานตามที่คณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือกมอบให้ (๒) พิจารณาข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คุณวุฒิและประวัติการทำงานจำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วของผู้ให้บริการและลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน (๓) เมื่อได้พิจารณาเสร็จแล้วเห็นสมควรดำเนินการต่อไปประการใด ให้รายงานต่อผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมด้วยหลักฐาน ตามปกติคณะกรรมการควรเสนอจ้างผู้ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุดเว้นแต่ผู้ให้บริการดังกล่าวไม่สามารถรับงานในกรณีใดก็ตาม ให้คณะกรรมการเสนอผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมรายถัดไป การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ข้อ ๙๔ การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบและควบคุมงานที่หน่วยงานประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะทางนิติบุคคล คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ตลอดจนแนวความคิดในการออกแบบเพื่อดำเนินการจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๙๕ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีการจ้างแบบจำกัดข้อกำหนดแต่ละครั้งให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการรับซอง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละคณะ คุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด หน้าที่ของคณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดให้นำความในข้อ ๙๑ ข้อ ๙๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๙๖ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดมาครบองค์ประชุมแล้วจึงเปิดซองเสนองานตามที่คณะกรรมการรับซองเสนองานมอบให้ (๒) พิจารณาข้อกำหนดต่าง ๆ ดังนี้ ก. ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข. คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ ค. หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ง. แนวความคิดในการออกแบบ (๓) พิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมไว้เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ ราย และแจ้งวิธีดำเนินการเสนองานตามความประสงค์ของหน่วยงานแก่ผู้เสนองาน และอาจพิจารณากำหนดให้ผู้ให้บริการดังกล่าวยื่นเสนอแบบร่างของงานก็ได้ อนึ่ง การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนองานให้คำนึงถึงแผนปฏิบัติงานความเหมาะสมทางด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนสายงานและความเหมาะสมทางด้านสถาปัตยกรรมและลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน (๔) เมื่อได้พิจารณาเสร็จแล้ว เห็นสมควรดำเนินการต่อไปประการใดและสมควรเลือกผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใด ให้รายงานต่อผู้สั่งจ้าง ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยหลักฐาน การจ้างโดยวิธีพิเศษ ข้อ ๙๗ การจ้างโดยวิธีพิเศษมี ๒ ลักษณะ ดังนี้ (๑) วิธีเลือกจ้าง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหากจะดำเนินการว่าจ้างตามวิธีอื่นดังกล่าวมาแล้ว จะทำให้เกิดการล่าช้า เกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจตกลงจ้างผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใดตามที่พิจารณาเห็นสมควร (๒) การว่าจ้างโดยการประกวดแบบ ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบอาคารที่มีลักษณะพิเศษเป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมของชาติ เช่น อนุสาวรีย์ หรืองานออกแบบอาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬา ให้ผู้ว่าจ้างเสนอรายละเอียดเรื่องการจ้างออกแบบโดยวิธีประกวดแบบต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙๘ กรุงเทพมหานครมีสิทธิ์บอกเลิกการคัดเลือกผู้ให้บริการได้ในกรณีต่อไปนี้ (๑) มีผู้ยื่นเสนองานไม่น้อยกว่า ๒ ราย (๒) ผู้ให้บริการยื่นเสนองานไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙๙ ให้หน่วยงานส่งหนังสือแจ้งผลการตัดสินคัดเลือก และนัดหมายการทำสัญญาไปยังผู้ให้บริการรายที่ได้รับการคัดเลือกโดยเร็ว การประกาศเชิญชวน ข้อ ๑๐๐ การประกาศเชิญชวนการว่าจ้างกระทำได้ ๓ วิธี คือ (๑) ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย (๒) ประกาศทางสื่อสารมวลชน เช่น ลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือประกาศทางวิทยุกระจายเสียง (๓) ส่งประกาศไปยังสมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมหรือสำนักงานที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว การจะประกาศด้วยวิธีใดให้พิจารณาตามความจำเป็นของกิจการและความเหมาะสมแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อ ๑๐๑ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวนโดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยของอาคารและขอบเขตของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (๒) กำหนดวัน เวลา สถานที่เปิดและปิดรับซองเสนองาน (๓) เงื่อนไขและระยะเวลาการออกแบบ (๔) กำหนดให้ผู้เสนองานวางหลักประกันซอง ตามชนิดและจำนวนในข้อ ๑๓๑ และข้อ ๑๓๒ และให้มีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้เข้าประกวดราคาถอนการเสนองาน หรือไม่ไปทำสัญญากับกรุงเทพมหานครภายในกำหนด กรุงเทพมหานครจะริบหลักประกันซองหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกันและสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญากับกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทิ้งงานด้วย (๕) วินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเป็นเด็ดขาด การเสนองาน ข้อ ๑๐๒ ผู้ให้บริการที่เสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือก และการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด นอกจากจะต้องส่งข้อเสนองานให้กับหน่วยงานแล้ว ยังต้องยื่นหลักฐานประกอบการเสนองานดังนี้ (๑) ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ (๒) คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ (๓) หลักฐานแสดงผลงานที่เคยปฏิบัติมาแล้ว (๔) หลักประกันการเสนองาน เมื่อการคัดเลือกการว่าจ้างเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งข้อเสนอและหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวคืนแก่ผู้ให้บริการที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ข้อ ๑๐๓ ผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมสำหรับงานว่าจ้างตามที่กำหนด โดยกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรม แล้วแต่กรณี และไม่เป็นข้าราชการประจำหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือพนักงานเทศบาล รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นคนไทย และเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเกินร้อยละห้าสิบของทุนการจัดตั้งนิติบุคคลนั้น ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง ข้อ ๑๐๔[๕๘] การสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงานครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๐๕ กรุงเทพมหานครอาจริบหลักประกัน หรือใช้สิทธิ์เรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน การเสนองานที่ผู้รับจ้างนำมามอบไว้กับผู้ว่าจ้างได้ในกรณีดังนี้ (๑) ผู้รับจ้างหลีกเลี่ยงการทำสัญญาในระยะเวลาที่กำหนด (๒) กรุงเทพมหานครไม่สามารถส่งใบแจ้งให้มาทำสัญญาได้เนื่องจาก ก. ผู้รับจ้างเลิกหรือหยุดกิจการ ข. ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา บุคคลนั้นถูกระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรม (๓) ผู้รับจ้างผิดสัญญา และกรุงเทพมหานครได้บอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว การตรวจและรับมอบงาน ข้อ ๑๐๖ ในการจ้างออกแบบและควบคุมงานแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานเพื่อปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และคณะกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนั้น คณะกรรมการดังกล่าวต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๑๐๗ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน มีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานออกแบบและก่อสร้างอาคารว่าถูกต้องตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงิน และรายงานให้ผู้สั่งจ้างทราบ การควบคุมงาน ข้อ ๑๐๘ ผู้รับจ้างจะต้องจัดผู้ควบคุมงานที่มีความรู้และมีความชำนาญงานการก่อสร้างให้เหมาะสมกับสภาพงานการก่อสร้างนั้น ๆ ผู้รับจ้างจะต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจการหรือผู้แทนให้กรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบและในกรณีที่ผู้ควบคุมงานไม่สามารถปฏิบัติงานตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างจะต้องเสนอชื่อผู้ควบคุมงานปฏิบัติงานแทน ผู้ที่ปฏิบัติงานแทนในกรณีดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากกรุงเทพมหานคร ค่าออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๑๐๙ การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (๑) อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้าง ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง (๒) อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้าง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับในส่วนที่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราร้อยละ ๑.๗๕ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงานตามความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงค่าสำรวจและวิเคราะห์ดินฐานราก ข้อ ๑๑๐ ในกรณีที่กรุงเทพมหานครจะนำแบบแปลนรายละเอียดงานจ้างไปดำเนินการก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้หน่วยงานจ่ายเงินค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามอัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณากำหนดเป็นราย ๆ ไป ข้อ ๑๑๑ ห้ามผู้รับจ้างนำแบบแปลนรายละเอียดงานออกแบบและควบคุมงานที่ได้ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างแล้วไปให้ผู้อื่นดำเนินการก่อสร้างอีก ข้อ ๑๑๒ ระหว่างดำเนินการจ้างตามสัญญาจ้าง ผู้สั่งจ้างอาจขอให้ผู้รับจ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ ในส่วนที่ไม่กระทบกระเทือนโครงสร้างที่สำคัญของอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ น้ำประปา ของงานที่ผู้รับจ้างได้ส่งมอบตามงวดงานในสัญญาแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญให้ผู้สั่งจ้างเสนอขออนุมัติคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครก่อน ส่วนที่ ๕ การแลกเปลี่ยน ข้อ ๑๑๓ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องแลกเปลี่ยนให้กระทำได้เฉพาะการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์และการแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ประเภทและชนิดเดียวกัน (๒) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ต่างประเภทหรือต่างชนิดกัน (๓) การแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุประเภทและชนิดเดียวกันที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ข้อ ๑๑๔ การแลกเปลี่ยนพัสดุระหว่างหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วยกันให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ให้รายงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ โดยให้มีรายการดังนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องแลกเปลี่ยน (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน (๓) ราคาที่ซื้อหรือได้มาของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน และราคาที่จะแลกเปลี่ยนได้โดยประมาณ (๔) พัสดุที่จะรับแลกเปลี่ยน และให้ระบุว่าจะแลกเปลี่ยนกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน (๕) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) ในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนกับเอกชน ให้ระบุวิธีที่จะแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งเหตุผล โดยให้นำวิธีการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุที่จะนำไปแลกครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะใช้วิธีตกลงราคาก็ได้ ข้อ ๑๑๕ การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพนักงานของการพาณิชย์นั้น ๆ ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๔ อย่างน้อยสามคน เพื่อดำเนินการดังนี้ (๑) ตรวจสอบและประเมินราคาพัสดุที่ต้องการแลกเปลี่ยนตามสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น (๒) ตรวจสอบรายละเอียดพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนว่าเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งานมาก่อน เว้นแต่พัสดุเก่าที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนนั้นจะเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องเสียประโยชน์ (๓) เปรียบเทียบราคาพัสดุที่จะแลกเปลี่ยนกัน โดยพิจารณาจากราคาที่ประเมินตาม (๑) และราคาพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยน ซึ่งถือตามราคากลางหรือราคามาตรฐานหรือราคาในท้องตลาดโดยทั่วไป (๔) ต่อรองกับผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรแลกเปลี่ยน (๕) เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ (๖) ตรวจรับพัสดุโดยปฏิบัติตามข้อ ๖๒ โดยอนุโลม เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้แลกเปลี่ยนพัสดุแล้ว ให้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นหนังสือตามแบบที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาแลกเปลี่ยนตามแบบดังกล่าวได้ ให้นำความในข้อ ๑๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะไม่ทำสัญญาตามวรรคสองก็ได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะตกลงกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ แต่ต้องมีหลักฐานการส่งมอบและรับมอบเป็นหนังสือไว้ต่อกัน ข้อ ๑๑๖ การแลกเปลี่ยนพัสดุในกรณีที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ให้กระทำได้เมื่อมีงบประมาณสำหรับการนั้นแล้ว ถ้าได้รับเงินจากการแลกเปลี่ยนให้นำส่งเป็นเงินรายได้ของการพาณิชย์นั้น ข้อ ๑๑๗ ครุภัณฑ์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์แล้วให้หน่วยงานที่ได้รับครุภัณฑ์นั้นแจ้งให้หน่วยการคลังทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับครุภัณฑ์ ในกรณีการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ให้แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับครุภัณฑ์พร้อมกับส่งสำเนาหลักฐานการดำเนินการของคณะกรรมการตามข้อ ๑๑๕ และการอนุมัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปด้วย ส่วนที่ ๖ การเช่า ข้อ ๑๑๘ การเช่าสังหาริมทรัพย์ และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์กำหนดไว้ในหมวดนี้ นอกเหนือจากข้อ ๑๒๑ ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การเช่าจากกระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าเช่าทั้งสัญญา (๒) การเช่าจากเอกชนจ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าเช่าทั้งสัญญา การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายได้เป็นราย ๆ ไป การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๑๙ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการในกรณีที่ไม่มีสถานที่ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่เพียงพอ (๓) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ การเช่าให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา ข้อ ๑๒๐ ก่อนดำเนินการเช่า ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า (๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ (๓) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า เช่น สภาพของสถานที่บริเวณที่ต้องการให้พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) และราคาค่าเช่าครั้งหลังสุด เป็นต้น (๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี) ในกรณีการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในส่วนภูมิภาคให้ขอความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่และอัตราค่าเช่าจากจังหวัดนั้น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๒๑ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่น เกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ส่วนที่ ๗ สัญญาและหลักประกัน สัญญา ข้อ ๑๒๒ การลงนามในสัญญาในการจัดหาตามระเบียบนี้ เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด การทำสัญญารายใด ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างสัญญาที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดโดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างสัญญาและไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียเปรียบ ก็ให้กระทำได้เว้นแต่ผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหาเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อน ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อนเว้นแต่ผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหาเห็นสมควรทำสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของสำนักปลัดกรุงเทพมหานครมาแล้ว ก็ให้กระทำได้ สำหรับการเช่าซึ่งผู้เช่าจะต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า หรือในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานหรือปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องมีคำแปลตัวสัญญา และเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน เว้นแต่เป็นการทำสัญญาในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นว่าเป็นสัญญาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาก็ได้ บรรดาสรรพเอกสารต่าง ๆ แนบท้ายสัญญาหรือประกอบสัญญา ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างแปลเอกสารให้เป็นภาษาไทย เฉพาะในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะหรือเอกสารด้านเทคนิคที่ได้กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาหรือสอบราคา แล้วแต่กรณี โดยให้มีผู้รับรองความถูกต้องการแปลเอกสารเป็นภาษาไทย ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นผู้รับรองความถูกต้องแปลเป็นภาษาไทย[๕๙] ข้อ ๑๒๓[๖๐] การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน โดยไม่ต้องทำเป็นสัญญาตามข้อ ๑๒๒ ก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหา (๑) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ที่มีวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน ๕ วันทำการของทางราชการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (๓) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ (๔) การซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๕) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๖) การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า ในกรณีการจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้างซึ่งใช้วิธีดำเนินการตามข้อ ๓๕ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ข้อ ๑๒๔[๖๑] การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของราคางานจ้างนั้น แต่อาจจะกำหนดค่าปรับเป็นรายวันเกินกว่าอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา หากหน่วยงานเห็นว่า ถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาจะเกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้หน่วยงานผู้จัดทำสัญญากำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราหรือจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้นได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งและวรรคสามในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหา โดยคำนึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือกระทบต่อการจราจรหรือความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยงานรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญา หรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ให้หน่วยงานบอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย ข้อ ๑๒๕ ให้หน่วยงานดำเนินการเพื่อให้มีการจัดส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกรมสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง ข้อ ๑๒๖ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสัญญาหรือข้อตกลงที่มีวงเงินเกินอำนาจปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินและทำให้วงเงินนั้นสูงเกินอำนาจสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานคร ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณา แต่ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือขอทำความตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี ด้วย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่ม หรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป สำหรับการจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกร ผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้างหรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณี ด้วย ข้อ ๑๒๗ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป ข้อ ๑๒๘ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้หน่วยงานเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ข้อ ๑๒๙ การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงให้อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้อนุญาต แต่ถ้าวงเงินในการสั่งการให้จัดหาครั้งนั้นเกินอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณา และให้พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) เหตุสุดวิสัย (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครระบุไว้ในสัญญากำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้กรุงเทพมหานครทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลงหากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดคู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับหรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (๑) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ข้อ ๑๓๐ ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะใช้สิทธิดังกล่าวสั่งการได้ตามความจำเป็น หลักประกัน ข้อ ๑๓๑[๖๒] หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด (๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ (๓) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๔) หนังสือค้ำประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้ว โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย สำหรับการประกวดราคานานาชาติ ให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดี และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเชื่อถือเป็นหลักประกันซองได้อีกประเภทหนึ่ง ข้อ ๑๓๒ หลักประกันซองและหลักประกันสัญญาในข้อ ๑๓๑ ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละห้าของวงเงินหรือราคาพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น แล้วแต่กรณี เว้นแต่การจัดหาพัสดุที่ผู้สั่งจัดหาเห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ จะกำหนดอัตราสูงกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบก็ได้ ในการทำสัญญาจัดหาพัสดุที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกิน ๑ ปี และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง ให้กำหนดหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของราคาพัสดุที่ส่งมอบในแต่ละปีของสัญญา โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกันตลอดอายุสัญญา และหากในปีต่อไปราคาพัสดุที่ส่งมอบแตกต่างไปจากราคาในรอบปีก่อนให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปีในกรณีที่หลักประกันต้องปรับปรุงในทางที่เพิ่มขึ้นและคู่สัญญาไม่นำหลักประกันมาเพิ่มให้ครบจำนวนภายใน ๑๕ วันก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้น ให้หน่วยงานหักจากเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องจ่ายให้เป็นหลักประกันในส่วนที่เพิ่มขึ้น การกำหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา และหรือในสัญญาด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาวางหลักประกันที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาหรือสัญญาให้อนุโลมรับได้ ข้อ ๑๓๓ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกัน ข้อ ๑๓๔ ให้หัวหน้าหน่วยงานคืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคา คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) หลักประกันซอง ให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดไม่เกิน ๓ ราย ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงหรือผู้เสนอราคาได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว (๒) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันโดยเร็วและอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว การจัดหาที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง ให้คืนหลักประกันให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันตามอัตราส่วนของพัสดุ ซึ่งหน่วยงานได้รับมอบไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาและในสัญญาด้วย การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้หัวหน้าหน่วยงานรีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ค้ำประกันทราบด้วย[๖๓] ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๑๓๕[๖๔] ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานตามที่ได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ห้ามหน่วยงานก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน การห้ามหน่วยงานก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานตามวรรคสอง ให้ใช้บังคับกับบุคคลตามข้อ ๑๓๕/๕ วรรคสอง และวรรคสามด้วย บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามข้อกำหนดในส่วนนี้ ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานได้ แต่ถ้าผลการพิจารณาต่อมาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หรือยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทำก่อนการสั่งการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นว่า จะเป็นประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง ปลัดกรุงเทพมหานครจะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองาน หรือจะไม่ยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทำก่อนการสั่งการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้ ข้อ ๑๓๕/๑[๖๕] เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) เมื่อคู่สัญญาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือผู้รับจ้างช่วงที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น (๓) พัสดุที่ซื้อหรือจ้างทำเกิดข้อบกพร่องขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงและไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องจากผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง หรือคู่สัญญา หรือพัสดุที่ซื้อหรือจ้างไม่ได้มาตรฐาน หรือวัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง ทำให้งานบกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรง หรือ (๔) สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค หากปรากฏว่าพัสดุหรือวัสดุที่ซื้อหรือจ้างหรือใช้โดยผู้รับจ้างช่วงที่กรุงเทพมหานครอนุญาตให้รับช่วงงานได้ มีข้อบกพร่องหรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตาม (๓) ให้หัวหน้าหน่วยงานทำรายงานไปยังปลัดกรุงเทพมหานครโดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา หรือผู้รับจ้างช่วงที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอนุญาตให้รับช่วงงานได้เป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของปลัดกรุงเทพมหานครด้วย เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้ว เห็นว่าการกระทำตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) เป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครส่งชื่อบุคคลดังกล่าวไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอความเห็นในการพิจารณาผู้ทิ้งงาน ในกรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ตามหลักเกณฑ์และวงเงินที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด หากปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลดังกล่าวข้างต้นยังไม่สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรายงานไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาด้วย เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พิจารณาหลังจากที่ได้ฟังความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ตามวรรคสามและวรรคสี่แล้ว และเห็นว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ก็ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครทราบและแจ้งสำนักนายกรัฐมนตรีทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ทิ้งงานรายนั้นทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย ข้อ ๑๓๕/๒[๖๖] ในกรณีการจ้างที่ปรึกษาหรือการจ้างออกแบบและควบคุมงาน หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าผลจากการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาให้คู่สัญญานั้นเป็นผู้ทิ้งงาน การพิจารณาสั่งให้คู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคหนึ่ง ให้นำความในข้อ ๑๓๕/๑ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๓๕/๓[๖๗] ในการจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัยปรากฏในภายหลังว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายราย ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ก็ตาม กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริต เช่น การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า บุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครสงสัยไปยังผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ พร้อมทั้งให้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากหน่วยงาน เมื่อหน่วยงานได้รับคำชี้แจงจากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานทำรายงานไปยังปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของปลัดกรุงเทพมหานครว่า บุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ หากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัย ไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือมีการกระทำโดยไม่สุจริต ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาให้ผู้นั้นเป็นผู้ทิ้งงาน การพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคสองและวรรคสาม ให้นำความในข้อ ๑๓๕/๑ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๓๕/๔[๖๘] ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ร่วมกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทำการโดยไม่สุจริตรายใด ซึ่งมิใช่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าว ได้ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นได้รับการยกเว้นที่จะไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้ โดยแสดงเหตุผลไว้ในการสั่งการ ข้อ ๑๓๕/๕[๖๙] ในกรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ หรือข้อ ๑๓๕/๓ ถ้าการกระทำดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่นิติบุคคลรายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ หรือข้อ ๑๓๕/๓ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลที่ถูกพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่บุคคลธรรมดารายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ หรือข้อ ๑๓๕/๓ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ซึ่งมีบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ ๑ การยืม ข้อ ๑๓๖ ห้ามิให้ผู้ใดยืมพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครไปใช้ เว้นแต่เป็นการใช้ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือการยืมใช้เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานระหว่างประเทศ การศาสนา การกุศล หรือที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควร ข้อ ๑๓๗ การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปไปใช้ ให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเหตุผล และกำหนดวันส่งคืน โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การยืมระหว่างหน่วยงาน จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น (๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในหน่วยงานเดียวกัน จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น แต่ถ้ายืมไปใช้นอกสถานที่ จะต้องได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๓) การให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานระหว่างประเทศ องค์การศาสนา องค์การกุศล ยืมไปใช้จะต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร (๔) การให้ยืมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (๑) (๒) และ (๓) จะต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓๘ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อยหากเกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๓๙ การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างหน่วยงาน ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อหน่วยงานผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการและหน่วยงานผู้ให้ยืมมีพัสดุนั้น ๆ พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหายแก่หน่วยงานของตนและให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ โดยปกติหน่วยงานผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้หน่วยงานผู้ให้ยืม ข้อ ๑๔๐ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน ๗ วัน นับแต่วันครบกำหนด ส่วนที่ ๒ การควบคุม การเก็บรักษาพัสดุ ข้อ ๑๔๑ พัสดุของหน่วยงานไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุมตามระเบียบนี้เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๔๒ เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบแล้ว ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้ (๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยและให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน การเบิก - จ่ายพัสดุ ข้อ ๑๔๓ การเบิกจ่ายพัสดุ ให้หัวหน้าหน่วยงานซึ่งต้องใช้พัสดุนั้น ๆ เป็นผู้เบิกจากหน่วยการคลังหรืองานธุรการ และให้หัวหน้าหน่วยพัสดุซึ่งมีหน้าที่จ่ายพัสดุของหน่วยงานนั้น เป็นผู้สั่งจ่าย ข้อ ๑๔๔ ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย การตรวจสอบพัสดุประจำปี ข้อ ๑๔๕ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือหัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีพัสดุไว้จ่ายตามข้อ ๑๔๓ แต่งตั้งพนักงานในหน่วยงานนั้นซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุ คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ปีก่อนจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ปีปัจจุบันและตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุดเสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในกิจการต่อไป แล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้งภายใน ๓๐ วันทำการนับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานจากพนักงานผู้ตรวจสอบแล้ว ให้ส่งรายงานเสนอตามลำดับชั้นจนถึงประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ๑ ชุด และส่งสำเนารายงานไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ๑ ชุด ข้อ ๑๔๖[๗๐] เมื่อประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้รับรายงานดังกล่าวตามข้อ ๑๔๕ และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในกิจการต่อไป ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติหรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้ ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าจะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย ข้อ ๑๔๗ หลังจากการตรวจสอบแล้วพัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในกิจการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะเห็นสมควรให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดีให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้ ในกรณีที่ดำเนินการโดยวิธีสอบราคาหรือวิธีประกวดราคาแล้วไม่ได้ผลจะดำเนินการโดยวิธีพิเศษก็ได้ การขายให้แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้ขายโดยวิธีตกลงราคา (๒) แลกเปลี่ยน ให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ (๓) โอน ให้โอนให้แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ วัดที่โรงเรียนของกรุงเทพมหานครอาศัยสถานที่ของวัด โดยทางวัดมิได้เรียกเก็บค่าเช่า หรือค่าตอบแทนอื่นใดและวัดได้แจ้งความประสงค์ขอพัสดุนั้นมาหรือองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากรโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากปลัดกรุงเทพมหานครกับให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกัน หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควร (๔) แปรสภาพหรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครสั่งการ ก่อนส่งมอบพัสดุที่จำหน่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ลบตราและเครื่องหมายกรุงเทพมหานครออกให้เรียบร้อยก่อน ข้อ ๑๔๘ การโอนพัสดุระหว่างหน่วยงานไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะต้องได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครก่อน ข้อ ๑๔๙ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี การจำหน่ายเป็นสูญ ข้อ ๑๕๐[๗๑] ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ได้หรือมีตัวพัสดุอยู่ แต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ (๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน ข้อ ๑๕๑ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ หรือข้อ ๑๕๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น พร้อมกับแจ้งให้หน่วยการคลังทราบเพื่อจำหน่ายพัสดุออกจากทะเบียน สำหรับพัสดุซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งแก่นายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย ข้อ ๑๕๒[๗๒] ในกรณีที่พัสดุของหน่วยงานเกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก่อนมีการตรวจสอบตามข้อ ๑๔๕ และได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาใช้บังคับ หรือดำเนินการตามข้อ ๑๔๖ แห่งระเบียบนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบอื่นใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ ข้อ ๑๕๐ และข้อ ๑๕๑ โดยอนุโลม หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๕๓ รายชื่อผู้ทิ้งงานที่มีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบนี้ด้วย สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่กำหนด หรือคู่สัญญาของกรุงเทพมหานครไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ระเบียบนี้จะใช้บังคับ ให้พิจารณาสั่งการตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม ข้อ ๑๕๔ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙[๗๓] ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๔๒ ให้หน่วยงานปฏิบัติการให้ถูกต้องตามข้อ ๑๓/๒ ข้อ ๑๓/๓ ข้อ ๑๓/๔ และข้อ ๑๓/๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ ภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ แต่ในระหว่างระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามข้อ ๑๓/๒ ข้อ ๑๓/๓ ข้อ ๑๓/๔ และข้อ ๑๓/๖ ให้การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ข้อ ๔๓ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ข้อ ๔๔ รายชื่อผู้ทิ้งงานที่มีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบนี้ด้วย สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ไม่ยอมทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่กำหนด หรือคู่สัญญาของทางราชการไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ระเบียบนี้จะใช้บังคับ ให้พิจารณาสั่งการตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม อุษมล/ผู้จัดทำ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๔ ง/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๘ [๒] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “หน่วยงาน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ” เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม” เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ” เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๘] ข้อ ๕ นิยามคำว่า “งานก่อสร้างสาธารณูปโภค” เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๙] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๐] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๑] ข้อ ๑๐ (๗) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๒] ข้อ ๑๐ (๑๒) เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๓] ข้อ ๑๐ (๑๓) เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๔] ข้อ ๑๐ (๑๔) เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๕] ข้อ ๑๐ (๑๕) เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๖] ข้อ ๑๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๗] ข้อ ๑๓/๑ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๘] ข้อ ๑๓/๒ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๑๙] ข้อ ๑๓/๓ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๐] ข้อ ๑๓/๔ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๑] ข้อ ๑๓/๕ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๒] ข้อ ๑๓/๖ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๓] ข้อ ๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๔] ข้อ ๑๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๕] ข้อ ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๖] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๗] ข้อ ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๘] ข้อ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๒๙] ข้อ ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๐] ข้อ ๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๑] ข้อ ๒๓ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๒] ข้อ ๒๖ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๓] ข้อ ๒๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๔] ข้อ ๒๙/๑ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๕] ข้อ ๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๖] ข้อ ๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๗] ข้อ ๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๘] ข้อ ๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๓๙] ข้อ ๔๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๐] ข้อ ๔๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๑] ข้อ ๔๕ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๒] ข้อ ๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๓] ข้อ ๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๔] ข้อ ๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๕] ข้อ ๕๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๖] ข้อ ๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๗] ข้อ ๕๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๘] ข้อ ๕๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๔๙] ข้อ ๕๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๐] ข้อ ๕๙ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๑] ข้อ ๖๔ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๒] ข้อ ๖๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๓] ข้อ ๖๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๔] ข้อ ๗๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๕] ข้อ ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๖] ข้อ ๘๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๗] ข้อ ๘๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๘] ข้อ ๑๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๕๙] ข้อ ๑๒๒ วรรคหก แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๐] ข้อ ๑๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๑] ข้อ ๑๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๒] ข้อ ๑๓๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๓] ข้อ ๑๓๔ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๔] ข้อ ๑๓๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๕] ข้อ ๑๓๕/๑ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๖] ข้อ ๑๓๕/๒ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๗] ข้อ ๑๓๕/๓ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๘] ข้อ ๑๓๕/๔ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๖๙] ข้อ ๑๓๕/๕ เพิ่มโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗๐] ข้อ ๑๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗๑] ข้อ ๑๕๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗๒] ข้อ ๑๕๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ [๗๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๗๔ ง/หน้า ๓๘/๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
775068
ระเบียบ ว่าด้วยการรับเรื่องร้องเรียน การนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา วิธีพิจารณาการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและวิธีพิจารณาสอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2560
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยการรับเรื่องร้องเรียน การนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา วิธีพิจารณาการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและวิธีพิจารณา สอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๓๖ ของข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๙ ประธานสภากรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร จึงออกระเบียบว่าด้วยการรับเรื่องร้องเรียน การนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา วิธีพิจารณาการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและวิธีพิจารณาสอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณสภากรุงเทพมหานครดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการรับเรื่องร้องเรียน การนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณา วิธีพิจารณาการสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและวิธีพิจารณาสอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ คำว่า “ข้อบังคับ” หมายถึง ข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๙ “คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการจรรยาบรรณสภากรุงเทพมหานคร “สมาชิก” หมายถึง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร “สำนักงาน” หมายถึง สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร “เลขานุการสภา” หมายถึง เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร “เรื่องร้องเรียน” หมายถึง ข้อกล่าวหาว่าสมาชิกกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ “ผู้ร้อง” หมายถึง ผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ร้องให้กระทำการแทน ทั้งนี้ การมอบหมายต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร “ผู้ถูกร้อง” หมายถึง สมาชิกที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ ๔ ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การยื่นเรื่องร้องเรียน การถอนเรื่องร้องเรียน และการยุติเรื่องร้องเรียน ข้อ ๕ เรื่องร้องเรียนต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยใช้ถ้อยคำสุภาพและมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องรวมถึงวิธีการติดต่อสื่อสารที่สะดวกพร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออกให้ (๒) ข้อกล่าวหาที่ระบุว่าสมาชิกคนใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณตามข้อบังคับในเรื่องใด โดยระบุเรื่องอันเป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิยื่นเรื่องร้องเรียนพร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว โดยข้อกล่าวหาดังกล่าวจะต้องเป็นการกล่าวหาถึงการกระทำในขณะที่ผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งสมาชิกและภายในเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณเกิดขึ้น (๓) ลงลายมือชื่อผู้ร้องหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ร้องให้กระทำการแทน ข้อ ๖ การยื่นเรื่องร้องเรียนให้กระทำได้ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังสำนักงาน (๒) ยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่น ณ สำนักงาน (๓) วิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๗ ให้เลขานุการสภาตรวจสอบคำร้องเบื้องต้นดังนี้ (๑) ผู้ร้องมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และเป็นเจ้าของเรื่องร้องเรียนจริงหรือไม่ (๒) เรื่องร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบนี้หรือไม่ เมื่อเลขานุการสภาตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเบื้องต้นแล้วและเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้เสนอเรื่องต่อประธานสภาเพื่อเสนอให้สภาตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ต่อไป ในกรณีที่เลขานุการสภาตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเบื้องต้นแล้วและเห็นว่าไม่เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้เสนอเรื่องต่อประธานสภาเพื่อให้มีคำสั่งไม่รับเป็นเรื่องร้องเรียน ข้อ ๘ เรื่องร้องเรียนตามข้อ ๕ ผู้ร้องจะถอนในเวลาใดก็ได้ โดยให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อเลขานุการสภา ให้เลขานุการสภาตรวจสอบเรื่องการขอถอนเรื่องร้องเรียนเบื้องต้นโดยนำความในข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่อเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้เสนอเรื่องการขอถอนเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี ในกรณีขอถอนเรื่องร้องเรียนตามวรรคหนึ่ง หรือกรณีผู้ร้องตาย หากคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จะพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่อไปหรือยุติเรื่องร้องเรียนนั้นก็ได้ กรณีที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการจะพิจารณาตามวรรคสาม ให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบถามผู้ถูกร้องเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๙ กรณีที่ผู้ร้องไม่ดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการ หรือไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการอาจสั่งให้ยุติเรื่องร้องเรียนก็ได้ โดยให้ปฏิบัติตามข้อ ๘ วรรคสี่ด้วย ข้อ ๑๐ กรณีที่มีเหตุให้ยุติเรื่องร้องเรียนตามข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๕ วรรคสอง ข้อ ๑๘ วรรคสอง หรือด้วยเหตุอื่นใดให้เลขานุการสภาแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้องทราบ หมวด ๒ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง การประชุมและการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและวิธีพิจารณา ข้อ ๑๑ การประชุมของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม และการลงมติใด ๆ ตามระเบียบนี้ให้ถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม หากคะแนนเท่ากันให้ประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๒ ให้มีการจัดทำบันทึกการประชุมของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทุกครั้ง ข้อ ๑๓ เมื่อสภาตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นและเสนอความเห็นต่อประธานสภาในเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนตามข้อบังคับแล้ว ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประธานสภา หากมีความจำเป็นไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขอขยายเวลาต่อประธานสภาได้ไม่เกินสามสิบวัน ข้อ ๑๔ การพิจารณาของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงอย่างน้อยต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้องได้รับทราบถึงการพิจารณา และชี้แจงข้อเท็จจริงของตนในการพิจารณาของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงด้วย คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๕ เมื่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง พิจารณาเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเสร็จแล้วให้รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงต่อประธานสภาภายในสิบห้าวัน ในกรณีที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าข้อร้องเรียนไม่มีมูลให้เสนอความเห็นต่อประธานสภา หากประธานสภาเห็นชอบ ให้ยุติเรื่องและรายงานสภาทราบ ในกรณีที่ประธานสภาไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงตามวรรคสองให้ประธานสภาส่งเรื่องให้สภาชี้ขาดโดยเร็ว หากสภาเห็นว่าข้อร้องเรียนมีมูลให้ส่งเรื่องร้องเรียนให้คณะกรรมการพิจารณาต่อไป ในกรณีปรากฏหลักฐานโดยแจ้งชัดว่ามีการกระทำฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณตามข้อบังคับให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเสนอต่อประธานสภาพิจารณาดำเนินการส่งเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาต่อไป หมวด ๓ คณะกรรมการจรรยาบรรณสภากรุงเทพมหานคร การประชุมและการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและวิธีพิจารณา ข้อ ๑๖ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม และการลงมติใด ๆ ตามระเบียบนี้ให้ถือเอาเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม หากคะแนนเท่ากันให้ประธานคณะกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๗ ให้มีการจัดทำบันทึกการประชุมของคณะกรรมการทุกครั้ง ข้อ ๑๘ เมื่อคณะกรรมการได้รับเรื่องร้องเรียนจากประธานสภา ให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากประธานสภา หากมีความจำเป็นไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการขอขยายเวลาต่อประธานสภาได้อีกสามครั้ง ครั้งละไม่เกินหกสิบวัน กรณีมีเรื่องร้องเรียนใดที่คณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จได้ทันก่อนที่สภาสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภา ให้คณะกรรมการสรุปผลการสอบสวนจากพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่เพื่อให้เลขานุการสภาบันทึกเหตุนั้นไว้ กรณีที่ผู้ถูกร้องเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ให้ผู้ถูกร้องงดการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการในการพิจารณาเรื่องที่ตนถูกร้อง และให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกร้อง ข้อ ๑๙ ให้ประธานคณะกรรมการจัดส่งสำเนาเรื่องร้องเรียนแก่ผู้ถูกร้อง และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาเรื่องร้องเรียน การส่งสำเนาเรื่องร้องเรียนหรือหนังสืออื่นใดแก่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนา หรือสถานที่ติดต่อแห่งใดแห่งหนึ่งตามที่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องได้แจ้งไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งสำเนาเรื่องร้องเรียนและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงแก่ผู้ถูกร้องได้หรือผู้ถูกร้องไม่ยอมรับสำเนาเรื่องร้องเรียนและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจง ให้ประธานคณะกรรมการสั่งให้ปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนา หรือสถานที่ติดต่อแห่งใดแห่งหนึ่งตามที่ผู้ถูกร้องได้แจ้งไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามที่กล่าวมาได้ ให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานเพื่อให้ผู้ถูกร้องมารับสำเนาเรื่องร้องเรียนและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศ ข้อ ๒๐ เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาเรื่องร้องเรียนแล้วและได้ยื่นคำชี้แจง หรือไม่ยื่นคำชี้แจงภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่มารับสำเนาเรื่องร้องเรียนและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงตามประกาศข้อ ๑๙ วรรคสาม ให้คณะกรรมการกำหนดวันพิจารณาครั้งแรก ผู้ร้องจะขอแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องร้องเรียนที่ยื่นไว้แล้วก็ได้ แต่ต้องเป็นสาระสำคัญอันควรแก่การแก้ไขเพิ่มเติมและเกี่ยวกับเรื่องเดิม โดยให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการก่อนวันพิจารณาครั้งแรก คำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องตามวรรคสอง คณะกรรมการจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร ให้เลขานุการสภาแจ้งกำหนดการพิจารณาของคณะกรรมการเป็นหนังสือไปยังกรรมการ ผู้ร้องและผู้ถูกร้องทุกคนไม่น้อยกว่าสามวันก่อนวันพิจารณา ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาและสอบสวนเพื่อให้ทราบความจริงว่าผู้ถูกร้องกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณตามข้อบังคับหรือไม่ อย่างไร โดยมีอำนาจหน้าที่แสวงหาข้อมูลและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนหรือที่ถูกกล่าวหา ในการพิจารณาและสอบสวนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานของผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง และในกรณีที่เห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง อาจดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง (๒) รับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องหรือของพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องกล่าวอ้าง เว้นแต่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็น ฟุ่มเฟือยหรือเพื่อประวิงเวลา (๓) ขอข้อเท็จหรือความเห็นจากผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ (๔) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (๕) ออกไปตรวจสถานที่ ข้อ ๒๒ การพิจารณาของคณะกรรมการ ให้สมาชิก ผู้ถูกร้องหรือผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณา ในกรณีเป็นการประชุมลับ ผู้ที่จะเข้าฟังการพิจารณาของคณะกรรมการได้ต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ ข้อ ๒๓ คณะกรรมการอาจอนุญาตให้ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องสามารถอ้างตนเองและพยานหลักฐานอื่นเป็นพยานหรือขอตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับตนได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ข้อ ๒๔ การยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐานต่อคณะกรรมการ ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดยื่นต่อคณะกรรมการหรือเลขานุการสภาก็ได้ การมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นเอกสารหรือพยานหลักฐานต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๒๕ ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้อาจรับสำเนาที่รับรองความถูกต้อง หรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความเป็นพยานได้ การอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน แม้ต้นฉบับยังมีอยู่จะส่งสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้ เว้นแต่คณะกรรมการจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๖ พยานจะให้การด้วยวาจาหรือให้การเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีให้การเป็นหนังสือ คณะกรรมการจะเรียกให้พยานมาให้ถ้อยคำประกอบก็ได้หรือพยานที่ให้ถ้อยคำแล้วอาจถูกเรียกมาให้ถ้อยคำอีกก็ได้ ข้อ ๒๗ ในการพิจารณา คณะกรรมการจะให้ผู้ร้องหรือผู้ถูกร้องให้ข้อเท็จจริงหรือความเห็นเป็นหนังสือก็ได้ การสอบพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญให้กระทำได้เท่าที่จำเป็น ข้อ ๒๘ คณะกรรมการมีอำนาจซักถามพยาน หรือเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาประกอบการพิจารณาตามที่เห็นสมควรก็ได้ หรือสั่งให้งดการสอบพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณาหรือไม่มีความจำเป็นแก่การพิจารณาหรือจะทำให้การพิจารณาล่าช้าโดยไม่สมควรก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ร้องและผู้ถูกร้องอาจทำคำแถลงการณ์เป็นหนังสือสรุปความเห็นของตนเสนอต่อคณะกรรมการก่อนการวินิจฉัยก็ได้ ส่วนการแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อคณะกรรมการให้กระทำได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร คำแถลงการณ์ของผู้ร้องและผู้ถูกร้องต้องกระทำหลังจากวันพิจารณานัดสุดท้ายภายในเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ในการแถลงการณ์ด้วยวาจาให้ผู้ร้องเป็นผู้แถลงก่อน และให้ผู้ถูกร้องแถลงในลำดับถัดไป ในการแถลงการณ์ด้วยวาจาของแต่ละฝ่าย คณะกรรมการจะซักถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากผู้แถลงในระหว่างการแถลงหรือภายหลังการแถลงก็ได้ ข้อ ๓๐ การพิจารณาของคณะกรรมการให้กระทำด้วยความรวดเร็วและพิจารณาต่อเนื่องจนกว่าจะแล้วเสร็จ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น คณะกรรมการจะสั่งเลื่อนการพิจารณาออกไปก็ได้ ข้อ ๓๑ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของการพิจารณา คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้บุคคลใดออกไปนอกสถานที่พิจารณาได้ ข้อ ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณา คณะกรรมการมีอำนาจขอเอกสารใด ๆ ของสภากรุงเทพมหานครได้ ข้อ ๓๓ การพิจารณาของคณะกรรมการอย่างน้อยต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้องได้รับทราบถึงการพิจารณา และชี้แจงข้อเท็จจริงของตนในการพิจารณาของคณะกรรมการด้วย ข้อ ๓๔ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ได้รับการร้องเรียนเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา ในรายงานดังกล่าวคณะกรรมการต้องสรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งความเห็นว่าสมาชิกผู้ถูกร้องฝ่าฝืนข้อบังคับหรือไม่ อย่างไร ฝ่าฝืนข้อใด และควรดำเนินการต่อไปอย่างไร เพื่อให้สภาพิจารณาโดยให้เป็นการประชุมลับ ข้อ ๓๕ ในกรณีที่สภาเห็นว่ามีหลักฐานและข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ถูกร้องฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ซึ่งเป็นความผิดไม่ร้ายแรง ให้สภามีมติว่ากล่าวตักเตือน ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงและเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง ให้สภาพิจารณาถอดถอนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร มติของสภาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ข้อ ๓๖ การดำเนินการกับผู้ถูกร้องตามระเบียบนี้ให้เป็นอันยุติ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ประธานสภากรุงเทพมหานคร ชวัลพร/ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๖/๒๑ เมษายน ๒๕๖๐
783809
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “หน่วยการคลัง” ในข้อ ๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หน่วยการคลัง” หมายความว่า กองการเงิน กองตรวจจ่าย สำนักการคลัง กองคลัง สำนักการศึกษา ฝ่ายการคลังหรือกลุ่มงานการคลัง หรือฝ่ายหรือกลุ่มงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน และให้หมายความรวมถึงฝ่ายงบประมาณการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ด้วย” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๓ การจ่ายเงินให้กระทำได้ภายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และภายในระยะเวลาของปีงบประมาณนั้น หากไม่สามารถจ่ายได้ทันให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอผ่อนผันได้ไม่เกินสิบห้าวัน เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การสั่งก่อหนี้และการอนุมัติจ่ายเงินทุกกรณีจะต้องได้รับเงินประจำงวดตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ การอนุมัติการจ่ายเงินให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (๑) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร นอกจากวงเงินใน (๑) และ (๒) แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร นอกจากวงเงินใน (๑) (๒) และ (๓) แต่ไม่เกิน ๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกินกว่า ๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท กรณีงบประมาณกำหนดรายการในหมวดเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ส่วนราชการ องค์กร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานเจ้าของงบประมาณมิได้ดำเนินการเอง การจ่ายเงินให้เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจตามวรรคสามพิจารณา” ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภวรรณตรี/จัดทำ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๘ ง/หน้า ๑/๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๐
783426
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับ ตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๘ วรรคสาม ได้บัญญัติให้ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งตามมาตรา ๕๑ กึ่งหนึ่ง และพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานจราจรหรือตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร ผู้จับกุมอีกกึ่งหนึ่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยเรียบร้อย จึงสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และแนวทางปฏิบัติอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ” หมายความว่า เงินที่ได้จากการเปรียบเทียบคดีตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง “ผู้รับแจ้งความนำจับ” หมายความว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง “ผู้แจ้งความนำจับ” หมายความว่า ประชาชนผู้พบเห็นผู้กระทำความผิดและแจ้งความต่อผู้รับแจ้งความนำจับตามระเบียบนี้เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ แต่ต้องไม่ใช่ผู้มีอำนาจจับกุมและข้าราชการ ลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร ที่มีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง “ผู้มีอำนาจอนุมัติแบ่งค่าปรับ” หมายความว่า ผู้อำนวยการเขตในเขตพื้นที่ที่เปรียบเทียบปรับ หมวด ๒ การแจ้งความและวิธีการรับแจ้งความ ข้อ ๖ การแจ้งความนำจับต่อผู้รับแจ้งความนำจับ สามารถดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งความด้วยตนเองโดยแสดงตนต่อผู้รับแจ้งความนำจับ (๒) แจ้งความโดยทางโทรศัพท์ ไปรษณีย์ โทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น หรือวิธีการอื่นใด ข้อ ๗ การแจ้งความและการรับแจ้งความนำจับให้ทำตามแบบบันทึกการแจ้งความนำจับที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่กรณีจำเป็นผู้รับแจ้งความนำจับจะจัดทำบันทึกการแจ้งความนำจับในภายหลังก็ได้ หมวด ๓ การขอรับเงินและการอนุมัติแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ ข้อ ๘ ผู้แจ้งความนำจับตามระเบียบนี้มีสิทธิรับเงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบจำนวนกึ่งหนึ่งเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว โดยให้ผู้เปรียบเทียบคดีทำหนังสือแจ้งผลการเปรียบเทียบคดีส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนาของผู้แจ้งความนำจับ และให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่ง ผู้แจ้งความนำจับต้องยื่นคำขอรับเงินต่อผู้รับแจ้งความนำจับภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง หากพ้นกำหนดนี้แล้วให้ถือว่าผู้แจ้งความนำจับสละสิทธิขอรับเงินและจะฟ้องร้องหรือทวงถามไม่ได้ ในกรณีผู้แจ้งความนำจับไม่ประสงค์ขอรับเงินหรือไม่มาขอรับเงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบภายในกำหนดเวลา ให้นำส่งเงินดังกล่าวเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙ เมื่อผู้แจ้งความนำจับยื่นคำขอรับเงินตามข้อ ๘ ให้เจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมายตรวจสอบความถูกต้องแล้วบันทึกในแบบคำขอรับเงินค่าปรับและนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติแบ่งค่าปรับเพื่อพิจารณาสั่งการการแบ่งค่าปรับ ตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ หมวด ๔ หลักเกณฑ์การแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ ข้อ ๑๐ การแบ่งค่าปรับจะแบ่งได้เมื่อกระทำการครบถ้วนดังนี้ (๑) เป็นผู้แจ้งความนำจับตามระเบียบนี้ (๒) การเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาเป็นผลเนื่องจากการแจ้งความนำจับ (๓) ผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ (๔) ได้รับอนุมัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๑ การแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบในคดีเดียวกัน กรณีมีบุคคลหลายคนแจ้งความนำจับให้ถือว่าบุคคลที่แจ้งความนำจับก่อนเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงิน กรณีแจ้งความนำจับพร้อมกันให้ถือว่าทุกคนมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบโดยให้เฉลี่ยเท่ากันทุกคน หมวด ๕ การแบ่งเงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ ข้อ ๑๒ การแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบจำนวนกึ่งหนึ่งให้แบ่งแก่ผู้แจ้งความนำจับได้ทันทีในวันที่ผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบเมื่อมีการยื่นคำขอรับเงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบและได้รับอนุมัติให้จ่ายเงินจากผู้มีอำนาจอนุมัติ แต่หากในกรณียังไม่สามารถแบ่งได้ให้ดำเนินการตามที่สำนักเทศกิจกำหนด ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับส่วนแบ่งค่าปรับแล้วให้ผู้แจ้งความนำจับลงลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือไว้เป็นหลักฐานตามแบบการรับส่วนแบ่งค่าปรับที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๔ ให้สำนักงานเขตรายงานผลการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้สำนักเทศกิจทราบเป็นประจำทุกเดือนและให้สำนักเทศกิจรายงาน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. การแจ้งความนาจับ คาขอรับค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ การอนุมัติแบ่งค่าปรับและการรับเงินส่วนแบ่งค่าปรับตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๔ ง/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
804055
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจและควบคุมอาคาร พ.ศ. 2561
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจและควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุญาตและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจและควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุญาตและการควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๕ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ เมื่อสำนักงานเขตออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ อ.๑) ตามมาตรา ๒๑ ใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ยผ.๔) ตามมาตรา ๓๙ ตรี หรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ อ.๕) ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ส่งสำเนาใบอนุญาตหรือสำเนาใบรับแจ้งให้สำนักการโยธาไม่เกินทุกวันที่ ๕ ของเดือน เมื่อสำนักการโยธาออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ อ.๑) ตามมาตรา ๒๑ ใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ยผ.๔) ตามมาตรา ๓๙ ตรี หรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ อ.๕) ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ส่งสำเนาใบอนุญาตหรือสำเนาใบรับแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่ไม่เกินทุกวันที่ ๕ ของเดือน เพื่อใช้ในการตรวจสอบการก่อสร้างอาคาร ให้สำนักการโยธาเป็นผู้ดำเนินการสรุปรายงานการอนุญาตหรือรับแจ้งดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบทุกวันที่ ๑๕ ของเดือน ข้อ ๕ เมื่อมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร หรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคารแล้ว สำนักการโยธาและสำนักงานเขตต้องดำเนินการตรวจอาคาร โดยจัดนายตรวจดำเนินการตรวจสอบอาคาร และรายงานจำนวนสามครั้ง โดยครั้งแรกให้ตรวจสอบเมื่อเริ่มทำการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ครั้งที่สองให้ตรวจสอบเมื่อทำการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนโครงสร้างของอาคาร และครั้งที่สามให้ตรวจสอบเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๖ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับใบรับแจ้งการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารประเภทควบคุมการใช้ที่ไม่เป็นอาคารขนาดใหญ่ ได้ทำการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จ และได้แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ เพื่อทำการตรวจสอบการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคาร หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าการก่อสร้าง หรือดัดแปลงอาคารเป็นไปโดยถูกต้องตามที่ได้รับอนุญาตหรือที่ได้แจ้งไว้ ให้เจ้าหน้าที่นำเสนอเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อออกใบรับรองให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ข้อ ๗ เมื่อนายช่าง นายตรวจ ตรวจพบว่ามีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคารโดยมิได้รับอนุญาต ให้ทำรายงานพร้อมความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นโดยเร็ว เพื่อให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการระงับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร แล้วแต่กรณี และให้ถือปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการ ข้อ ๘ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปุณิกา/จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง/หน้า ๓/๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑
816495
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจาของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้แก้ไขคำว่า “กองการเจ้าหน้าที่” เป็น “สำนักงานการเจ้าหน้าที่” คำว่า“ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่” เป็น “ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่” คำว่า “ฝ่ายสวัสดิการ” เป็น “กลุ่มงานสวัสดิการ” และคำว่า “หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ” เป็น “หัวหน้ากลุ่มงานสวัสดิการ” ทุกแห่ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปวันวิทย์/จัดทำ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๕๖ ง/หน้า ๕/๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
808719
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ พ.ศ. 2561
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ[๑] พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเว้นค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ สำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย ดังต่อไปนี้ (๑) เด็กที่มีความสูงไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร (๒) คนพิการ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อ ๔ ให้ลดหย่อนค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ กึ่งหนึ่งสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ข้อ ๕ ให้ยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการเดินรถ ในเทศกาลพิเศษ คือ วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร วันเด็กแห่งชาติ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ หรือในเทศกาลสำคัญอื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๖ การยกเว้นหรือลดหย่อนค่าโดยสารส่วนต่อขยายสายสีลม (๒.๒ กิโลเมตร) ให้เป็นไปตามโครงสร้างค่าโดยสารส่วนสัมปทานของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ข้อ ๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๑/๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑
821365
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. 2561
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทดรองราชการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๑๘ (๕) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทดรองราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หน่วยการคลัง” หมายความว่า กองการเงิน กองตรวจจ่าย สำนักการคลัง กองคลังสำนักการศึกษา ฝ่ายการคลังหรือกลุ่มงานการคลัง หรือฝ่ายหรือกลุ่มงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน และให้หมายความรวมถึงฝ่ายงบประมาณ การเงิน และบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ด้วย “เจ้าของงบประมาณ” หมายความว่า หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่าย ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับหน่วยงานนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในงบกลางและเงินนอกงบประมาณอื่น “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินรายรับที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของกรุงเทพมหานคร รวมถึงเงินรายรับที่มีกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร “เงินทดรองราชการ” หมายความว่า เงินที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้หน่วยงานมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควรเพื่อทดรองใช้จ่าย ข้อ ๕ ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณมีเงินทดรองราชการสำหรับทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายได้ ในหมวดรายจ่ายต่อไปนี้ (๑) หมวดค่าจ้างชั่วคราว สำหรับค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำแต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวันหรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง (๒) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ (๓) หมวดค่าสาธารณูปโภค ยกเว้น ค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า (๔) หมวดรายจ่ายอื่น เฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการประชุมอบรมสัมมนา และค่าใช้จ่ายในการจัดงานและการจัดกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (๕) งบกลาง เฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ข้อ ๖ ในกรณีที่หน่วยงานมีเงินนอกงบประมาณไว้เพื่อเบิกจ่าย ให้หน่วยงานมีเงินทดรองราชการสำหรับทดรองใช้จ่ายได้ ทั้งนี้ เฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ค่าใช้จ่ายในการประชุม อบรม สัมมนา และค่าใช้จ่ายในการจัดงานและการจัดกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ข้อ ๗ หน่วยงานเจ้าของงบประมาณใดจำเป็นต้องมีเงินทดรองราชการไว้ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเท่าใดให้เสนอขออนุมัติผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ เงินทดรองราชการที่หน่วยงานเจ้าของงบประมาณได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้สำนักการคลังทำการเบิกจ่ายเงินสะสมของกรุงเทพมหานครให้กับหน่วยงานนั้น ข้อ ๙ เงินทดรองราชการที่ได้รับอนุมัติตามระเบียบนี้ หน่วยการคลังต้องเบิกจ่าย ลงบัญชีรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินการนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๑๐ เงินทดรองราชการที่หน่วยงานเจ้าของงบประมาณใดได้รับอนุมัติไว้แล้ว ถ้ามีเหตุผลสมควรผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะพิจารณาเพิ่มหรือลด หรือยกเลิกวงเงินก็ได้ ในกรณีที่ลดหรือยกเลิกวงเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณนำเงินทดรองราชการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งลดหรือยกเลิกวงเงินส่งคืนสำนักการคลังทันที ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินทดรองราชการ ให้มีใบสำคัญคู่จ่ายไว้เป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทดรองราชการการปฏิบัติเกี่ยวกับใบสำคัญคู่จ่าย ให้เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๑๒ ในกรณีที่หมดความจำเป็นต้องใช้เงินทดรองราชการ ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณนำเงินทดรองราชการส่งคืนสำนักการคลังภายในสิบห้าวัน ข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณที่ได้รับเงินทดรองราชการจัดทำใบยืมเงินทดรองราชการไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด และให้ส่งใช้คืนภายในปีงบประมาณที่ยืม ข้อ ๑๔ แบบพิมพ์ สมุดบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเงินทดรองราชการ และวิธีใช้ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๖ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วิวรรธน์/จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๙๙ ง/หน้า ๗/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
804823
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิกระทำกิจการที่ใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิกระทำกิจการ ที่ใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิกระทำกิจการที่ใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๕ วรรคสอง และข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การทรัพย์สิน พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิกระทำกิจการที่ใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ให้สิทธิ” หมายความว่า การให้สิทธิกระทำกิจการที่ใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครและเป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและให้หมายความรวมถึงส่วนราชการของสำนักปลัดกรุงเทพมหานครและการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาการให้สิทธิ ข้อ ๕ ระเบียบนี้ไม่ใช้บังคับกับการให้สิทธิเอกชนกระทำกิจการที่ต้องใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้ (๑) การให้เช่าทรัพย์สินตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการทรัพย์สิน (๒) การมอบให้เอกชนกระทำกิจการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (๓) การให้สิทธิดำเนินการโครงการที่เป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐที่มีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป หรือมูลค่าตามที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐกำหนดให้เป็นโครงการขนาดกลางขึ้นไป ข้อ ๖ ผู้มีอำนาจตามระเบียบนี้อาจมอบอำนาจเป็นหนังสือหรือทำเป็นคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดความเสียหายขึ้นผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ข้อ ๗ ผู้ได้รับสิทธิตามระเบียบนี้ มีหน้าที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้นด้วย หมวด ๒ คณะกรรมการพิจารณาการให้สิทธิ ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการให้สิทธิ ประกอบด้วย (๑) ปลัดกรุงเทพมหานครหรือ ประธานกรรมการ รองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย (๒) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (๓) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ (๔) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๕) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถด้านการเงินหรือการคลัง กรรมการ หรือเศรษฐศาสตร์หรือบัญชีหรือการจราจรและขนส่ง หรือสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรรมหรือการระบายน้ำหรือกฎหมาย ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจำนวนไม่เกินสามคน (๖) ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๗) ผู้อำนวยการกองรายได้ สำนักการคลัง กรรมการ และเลขานุการ (๘) เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักการคลัง ผู้ช่วยเลขานุการ ที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมายจำนวนไม่เกินสองคน ข้อ ๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๘ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ (๒) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๓) เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ ข้อ ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๘ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ กรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนครบวาระตามวรรคหนึ่ง และมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งไว้แล้ว ข้อ ๑๑ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๘ พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออกโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงระเบียบนี้ (๒) ให้คำปรึกษา แนะนำแก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๓) ตีความและวินิจฉัยปัญหา ข้อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๔) พิจารณาโครงการที่หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอตามข้อ ๑๔ การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิโดยใช้เกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วยตามข้อ ๑๕ (๑) การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีการประกวดราคาตามข้อ ๑๕ (๓) และการแก้ไขสัญญาให้สิทธิในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กำหนดในข้อ ๑๗ วรรคสองเพื่อนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณา (๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำการใดตามที่มอบหมาย (๖) เรียกหัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมาให้ความเห็น ข้อเสนอแนะทำความเห็นหรือรายงานเสนอ หรือส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเชิญบุคคลอื่นให้ความเห็น (๗) หน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๓ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการซึ่งมาประชุมคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด หมวด ๓ การดำเนินการ ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการ โดยอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดหัวข้อการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ดังนี้ (๑) เหตุผล ความจำเป็น และประโยชน์ของโครงการ (๒) ต้นทุนการดำเนินโครงการในภาพรวมและมูลค่าโครงการที่คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐประกาศกำหนด รวมทั้งสัดส่วนการลงทุนของกรุงเทพมหานครและเอกชนต่อมูลค่าของโครงการ (๓) รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนและระยะเวลาการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการ (๔) ประมาณการผลตอบแทนในด้านต่าง ๆ ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงให้เห็นอัตราผลตอบแทนทางการเงิน และทางเศรษฐศาสตร์ และลักษณะการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนของโครงการ (๕) ผลกระทบของโครงการซึ่งครอบคลุมทั้งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมจากการดำเนินโครงการตลอดจนวิธีการป้องกัน ลด หรือแก้ไขเยียวยาผลกระทบดังกล่าว (๖) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและแนวทางการบริหารความเสี่ยง (๗) ความพร้อมของหน่วยงานเจ้าของโครงการรวมถึงการศึกษาการดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการของหน่วยงานเจ้าของโครงการ ข้อ ๑๕ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบโครงการตามข้อ ๑๔ แล้วให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการคัดเลือกเอกชนดังนี้ (๑) การคัดเลือกเอกชนให้พิจารณาจากผลประโยชน์สูงสุดที่รัฐและประชาชนจะได้รับเป็นเกณฑ์โดยนอกจากผลประโยชน์ทางการเงินแล้ว ให้คำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสวยงามของบ้านเมือง และการเป็นเมืองน่าอยู่ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยโดยการดำเนินการประกวดราคาต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม กรณีหน่วยงานกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิโดยใช้เกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย ให้หัวหน้าหน่วยงานนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาโดยให้หน่วยงานเสนอพร้อมกับการเสนอโครงการตามข้อ ๑๔ (๒) การดำเนินการคัดเลือก ให้เริ่มต้นจากวิธีประกวดราคาทั่วไป โดยให้ดำเนินการประกวดราคาตามหลักเกณฑ์และวิธีการแนบท้ายระเบียบนี้ (๓) หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจพิจารณาดำเนินการคัดเลือกเอกชนโดยไม่ใช้วิธีประกวดราคาทั่วไปก็ได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อนจึงจะดำเนินการได้ (๓.๑) มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการนั้นอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งหากใช้วิธีประกวดราคาทั่วไปอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ (๓.๒) เป็นกิจการของรัฐที่โดยลักษณะและขนาดของกิจการแล้ว หากใช้วิธีประกวดราคาทั่วไปจะไม่คุ้มค่าสำหรับการดำเนินการโครงการ (๓.๓) เป็นกิจการที่ต้องให้เอกชนซึ่งมีคุณสมบัติทางเทคนิคเป็นการเฉพาะเข้าร่วมลงทุนและเอกชนลักษณะดังกล่าวนั้นมีเพียงรายเดียว (๓.๔) เงื่อนไขอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร การเสนอให้คณะกรรมการพิจารณากรณีการดำเนินการคัดเลือกโดยไม่ใช้วิธีประกวดราคานี้ให้หัวหน้าหน่วยงานนำเสนอคณะกรรมการพร้อมกับการเสนอโครงการตามข้อ ๑๔ ข้อ ๑๖ เมื่อได้ผลการคัดเลือกเอกชนแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอผลการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานกฎหมายและคดีต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบผลการคัดเลือกและร่างสัญญาพร้อมอนุมัติให้สิทธิดังกล่าวแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานลงนามสัญญาให้สิทธิกับผู้ได้รับสิทธิต่อไป ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขสัญญาให้สิทธิในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาแล้วแจ้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อทราบก่อนลงนามสัญญาฉบับแก้ไข ในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขสัญญาให้สิทธิในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำประเด็นที่ขอแก้ไข ผลกระทบจากการแก้ไขสัญญา และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งร่างสัญญาฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจร่างจากสำนักงานกฎหมายและคดีแล้วเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติต่อไป การแก้ไขสัญญาใดเป็นการแก้ไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ให้เป็นไปตามประกาศที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐกำหนด เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้แก้ไขสัญญาและเห็นชอบร่างสัญญาดังกล่าวแล้วให้หัวหน้าหน่วยงานลงนามสัญญาแก้ไขการให้สิทธิกับผู้ได้รับสิทธิต่อไป หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้หน่วยงานพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์และวิธีประกวดราคาให้สิทธิท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเอกชนเพื่อให้สิทธิกระทำกิจการที่ใช้ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๑/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
704150
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ ข้อ ๗/๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งไม่เกินห้าคน และผู้แทนภาคประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามที่เห็นสมควร กลุ่มละหนึ่งคน เป็นกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนภาคประชาชนซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการผู้แทนภาคประชาชนว่างลง ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้นั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในวาระเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างตามวรรคสาม และยังมีกรรมการเหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนภาคประชาชนขึ้นใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่” ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ เมษายน ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๕๘ ง/หน้า ๑/๔ เมษายน ๒๕๕๗
710158
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก พ.ศ. 2557
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบกรุงเทพมหานครนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ ให้ใช้ระเบียบกรุงเทพมหานครนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยที่กรุงเทพมหานครมีข้อตกลงสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก “โรงพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ที่มีข้อตกลงกับมหาวิทยาลัย “ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก” หมายความว่า ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สำนักการแพทย์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสาขาโรงพยาบาล “นักศึกษาแพทย์” หมายความว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกของมหาวิทยาลัย ข้อ ๕ ให้จัดตั้ง “กองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก” โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (๑) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ (๒) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเสริม หรือสมทบเพิ่มเติมให้กับโรงพยาบาล ในส่วนของรายจ่ายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ (๓) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก (๔) เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ (๕) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ข้อ ๖ รายรับของเงินกองทุน ได้แก่ (๑) เงินอุดหนุนการผลิตแพทย์ตามจำนวนรายหัวนักศึกษาแพทย์ซึ่งได้รับการจัดสรรจากมหาวิทยาลัย (๒) เงินค่าหน่วยกิตที่ได้รับการจัดสรรจากมหาวิทยาลัย (๓) รายได้จากการให้บริการทางวิชาการ หรือบริการอื่นที่จัดขึ้นโดยศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก (๔) ดอกผลหรือประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนนี้ (๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้กองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน (๗) เงินสมทบอื่น ๆ ข้อ ๗ การจ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการใช้จ่ายเงินกองทุน แนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก” ประกอบด้วย รองปลัดกรุงเทพมหานคร (สั่งราชการสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย) เป็นกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ที่ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์มอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นกรรมการ เลขานุการสำนักการแพทย์ เป็นกรรมการ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายการแพทย์ เป็นกรรมการ หัวหน้ากลุ่มงานนิติการ สำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักการแพทย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มงานการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หัวหน้าฝ่ายแผนงาน กองวิชาการ สำนักการแพทย์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารเงินกองทุน (๒) ให้ข้อเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการในการจ่ายเงิน (๓) ควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๔) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ตามที่ประธานกรรมการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกเสนอ (๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดอัตราการเบิกจ่ายค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ที่ประธานกรรมการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกเสนอ (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๗) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงินให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการใช้จ่ายเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก พ.ศ. ๒๕๕๗ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๘/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
696524
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) กรณีเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไม่เกินระดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ไม่เกินระดับชำนาญการ กรณีเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีวิทยฐานะไม่เกินชำนาญการ สำหรับลูกจ้างประจำต้องเป็นผู้มีอัตราค่าจ้างไม่เกินค่ากลางระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๗ การสั่งก่อหนี้หรือสั่งจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ครั้งหนึ่งให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๒) ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย การสั่งจ่ายเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครกับกรรมการและเลขานุการหรือกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครร่วมกันลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินหรือใบถอนเงิน” ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๑๐/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
705996
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. 2557
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ประเภทค่าใช้จ่าย อัตราและหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ในการให้บริการตามประเภทการเงิน และประเภทสิ่งของให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ อัตราและหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในแต่ละกรณี ให้คำนึงถึงงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเพื่อการนี้ด้วย ข้อ ๖ การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ตามข้อ ๕ ให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมหรือผู้อำนวยการเขต แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิภาพสังคมหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี เป็นประธาน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสามคน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ ข้อ ๗ บรรดาเงินและทรัพย์สิน หรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินและทรัพย์สิน ที่หน่วยงานได้รับจากผู้มอบให้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานหรือกรุงเทพมหานครใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับหรือขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร โดยให้หน่วยงานนั้น ๆ จัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการควบคุมเงินกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ทดรองจ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนแล้วให้เบิกจ่ายเงินงบประมาณชดใช้ทันที (๒) ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ (๓) ให้หน่วยงานเก็บรักษาเงินกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ไว้เป็นเงินสดเพื่อสำรองจ่ายได้ภายในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท นอกนั้นให้นำฝากไว้กับธนาคารตามที่ราชการกำหนดไว้และได้รับความเห็นชอบจากปลัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า “กองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์” และให้ต่อท้ายด้วยชื่อหน่วยงาน (๔) ให้หน่วยงานจัดทำบัญชีควบคุมการรับและการจ่ายเงิน เพื่อแสดงฐานะการเงินของกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์ รวมทั้งเก็บรักษาเอกสารใบสำคัญต่าง ๆ (๕) เมื่อได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์แล้ว ให้สรุปรายงานปลัดกรุงเทพมหานครทราบเป็นประจำทุกเดือนที่มีการจ่ายเงิน ข้อ ๘ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำฝากเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้และการสั่งจ่ายเงิน ซึ่งนอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ ระเบียบ กฎ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙ ในกรณีมีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๐ บรรดาการเบิกจ่ายตามประเภทค่าใช้จ่ายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๑ อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการเบิกจ่ายตามอัตรา และหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๔๑ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชี ๑ ประเภทการเงิน ๒. บัญชี ๒ ประเภทสิ่งของ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จุฑามาศ/ผู้ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๗๘ ง/หน้า ๔/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗
696522
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘[๑] เพื่อให้การพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “อาคารสงเคราะห์” หมายความว่า อาคารที่กรุงเทพมหานครจัดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครพักอาศัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์เรื่องที่พักอาศัยและอยู่ในความดูแลของสำนักสวัสดิการสังคม “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างประจำของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร “เงินบำรุงอาคารสงเคราะห์” หมายความว่า เงินที่ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะต้องจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานครตามระเบียบนี้ รวมถึงดอกผลของเงินดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ (๒) รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ สั่งราชการสำนักสวัสดิการสังคม (๓) ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม หรือผู้แทน เป็นกรรมการ (๔) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือผู้แทน เป็นกรรมการ (๕) ผู้อำนวยการสำนักการโยธา หรือผู้แทน เป็นกรรมการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน เป็นกรรมการ กรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน (๗) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ เป็นกรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน (๘) ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี เป็นกรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน (๙) ผู้อำนวยการเขตซึ่งอาคารสงเคราะห์ตั้งอยู่ เป็นกรรมการ หรือผู้แทน (๑๐) ผู้อำนวยการกองสังคมสงเคราะห์ เป็นกรรมการและเลขานุการ สำนักสวัสดิการสังคม (๑๑) หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการและการสงเคราะห์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม (๑๒) หัวหน้างานอาคารสงเคราะห์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) อนุมัติการพักอาศัย (๒) เพิกถอนสิทธิการพักอาศัย (๓) กำหนดอัตราเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (๔) ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร จะต้องมีคุณสมบัติตามกำหนดและให้ผู้บังคับบัญชารับรองคุณสมบัติดังกล่าว คือ (๑) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร (๒) สำหรับข้าราชการต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งไม่เกินระดับ ๕ และสำหรับลูกจ้างต้องเป็นผู้มีอัตราค่าจ้างไม่เกินขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๖ (๓) ไม่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองหรือคู่สมรส (๔) ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามกฎหมายว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ (๕) ไม่ได้รับการสงเคราะห์จากทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารให้มีสิทธิกู้เงินเพื่อกิจการที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรส (๖) เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เสพติดสุรา ของมึนเมา หรือยาเสพติดทุกชนิด ไม่หมกมุ่นในการพนัน (๗) ตนเองหรือคู่สมรสไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่งแห่งใดอยู่แล้ว (๘) ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานครมาก่อน ข้อ ๘ ลำดับความสำคัญในการพิจารณาเข้าพักอาศัย (๑) บ้านที่พักอาศัยประสบอัคคีภัย ภัยธรรมชาติหรือวินาศภัยอื่น ๆ จนไม่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ (๒) ต้องคำพิพากษาของศาลให้ออกจากที่อยู่เดิม (๓) บ้านที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรสถูกเวนคืน และกรณีเป็นที่ยุติว่าต้องออกจากที่พักอาศัยนั้น (๔) พักอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง เช่น พักในวัด ที่ทำงาน กองขยะ (๕) เช่าบ้านอยู่หรืออาศัยผู้อื่นอยู่ (๖) อยู่ไกลที่ทำงานการเดินทางไม่สะดวก (๗) เหตุจำเป็นอื่น ๆ ข้อ ๙ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะต้องเข้าพักอาศัยเอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าพักอาศัยแทน หรือร่วมพักอาศัย หรือใช้ประโยชน์ ยกเว้นบุคคลซึ่งคณะกรรมการอนุญาตเท่านั้นที่จะร่วมพักอาศัยด้วยได้ การพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ผู้พักอาศัยจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของทางราชการและเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ (๒) ไม่ใช้อาคารที่พักเพื่อประโยชน์อย่างอื่น นอกจากการพักอาศัยเท่านั้น (๓) ไม่เล่นการพนันทุกชนิดในอาคารที่พักอาศัย หรือบริเวณที่พักอาศัย (๔) ไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติดใด ๆ ในอาคารที่พักอาศัยหรือบริเวณที่พักอาศัย (๕) ดูแลรักษาอาคารที่พักอาศัยทั้งภายในและภายนอกให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ ห้ามมิให้ต่อเติม ดัดแปลง ย้าย หรือรื้อถอนส่วนใด ๆ ของอาคารที่พักอาศัย รวมทั้งการตอกวัสดุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังอาคารที่พักอาศัยด้วย (๖) กรณีมีการชำรุดเสียหายเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัยและสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณอาคาร ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขโดยเร็ว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในระหว่างการซ่อมแซมด้วย (๗) ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบอาคารที่พักอาศัยตามอำนาจหน้าที่ (๘) ไม่เลี้ยงสัตว์ที่อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ หรือก่อให้เกิดความสกปรกต่ออาคารที่พักอาศัย เช่น สุนัข แมว เป็นต้น (๙) ไม่ประกอบการใด ๆ หรือมีพฤติกรรมใด ๆ อันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม หรือก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ (๑๐) หากค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้า จนกระทั่งถูกตัดมาตรวัด จะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง (๑) ถึง (๑๐) หรือยอมให้ผู้อื่นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคสอง (๑) ถึง (๙) ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และให้สำนักสวัสดิการสังคมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ใดไม่ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์แต่ได้เข้าพักอาศัยแทนผู้ได้รับสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และให้สำนักสวัสดิการสังคมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในกรณีต่อไปนี้ (๑) ขาดคุณสมบัติที่ระบุในข้อ ๗ (๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๓) ไม่เข้าพักอาศัยภายใน ๑ เดือน นับแต่วันทำสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๔) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ หรือยอมให้ผู้อื่นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ และเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือนแล้วแต่ก็ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอีก (๕) ไม่ชำระเงินค่าบำรุงอาคารสงเคราะห์เป็นเวลาติดต่อกัน ๓ เดือน (๖) ค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้าจนกระทั่งถูกตัดมาตรวัดและไม่ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน นับแต่วันถูกตัดมาตรวัด ข้อ ๑๑ ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิตามข้อ ๑๐ ต้องออกจากอาคารสงเคราะห์พร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนและผู้ร่วมพักอาศัยออกไปภายใน ๒ เดือน นับแต่วันได้รับแจ้งว่าถูกเพิกถอนสิทธิ หากไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักสวัสดิการสังคมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย และให้แจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณีอีกทางหนึ่งด้วย ข้อ ๑๒ เมื่อผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ถึงแก่กรรมลง ให้บุคคลที่คณะกรรมการอนุญาตให้ร่วมพักอาศัยออกจากอาคารสงเคราะห์พร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนไปภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่ผู้นั้นถึงแก่กรรม หากไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักสวัสดิการสังคมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ (๑) ค่าดูแลบำรุงรักษาอาคารสงเคราะห์และบริเวณ (๒) ค่าประกันอัคคีภัย (๓) ค่ากระแสไฟฟ้า (๔) ค่าน้ำประปา (๕) ค่าประกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจากการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ข้อ ๑๔ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่มีความประสงค์จะขอเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ให้ยื่นคำร้องตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ต่อกองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม โดยผ่านผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี และต้องแสดงหลักฐานประกอบการขอเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ดังนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หลักฐานตามข้อ ๗ และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๘ ผู้ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง หากแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้สำนักสวัสดิการสังคมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๕ ผู้ยื่นคำร้องที่ได้รับอนุมัติให้เข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ต้องทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร ตามแบบสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุมัติ โดยให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม เป็นผู้ลงนามในสัญญาในนามกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๖ เงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร โดยให้นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสะอาดตัวอาคารและบริเวณ ตลอดจนการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และค่าซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหายตามสภาพการใช้สอย รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานอาคารสงเคราะห์ ข้อ ๑๗ อำนาจในการสั่งก่อหนี้หรือสั่งจ่ายเงินตามข้อ ๑๖ ให้เป็น ดังนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองสังคมสงเคราะห์ ครั้งละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๑๘ การพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงิน ให้นำข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งว่าด้วยการนั้น มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ให้สำนักสวัสดิการสังคมรับผิดชอบในการควบคุมดูแล จัดการอาคารสงเคราะห์ ตลอดจนการพักอาศัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์เป็นประจำทุกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานสรุปการรับ - จ่ายเงินประจำปีและเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการ ข้อ ๒๑ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ศาสตราจารย์ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
679750
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ พระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนให้ได้รับนิตยภัตในอัตราชั่วโมงละ ๔๐๐ บาท วันละไม่เกิน ๒ ชั่วโมงต่อรูป” ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ โชติกานต์/ผู้ตรวจ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๔ ง/หน้า ๑/๑๐ มกราคม ๒๕๕๖
842077
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ณ วันที่ 17/10/2556)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘[๑] เพื่อให้การพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “อาคารสงเคราะห์” หมายความว่า อาคารที่กรุงเทพมหานครจัดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครพักอาศัย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์เรื่องที่พักอาศัยและอยู่ในความดูแลของกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างประจำของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร “เงินบำรุงอาคารสงเคราะห์” หมายความว่า เงินที่ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะต้องจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานครตามระเบียบนี้ รวมถึงดอกผลของเงินดังกล่าวด้วย [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๕[๒] ให้มีคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ (๒) รองปลัดกรุงเทพมหานคร รองประธานกรรมการ สั่งราชการฝ่ายสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๓) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม กรรมการ (๔) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (๕) ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรรมการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๘) ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๙) ผู้อำนวยการเขตซึ่งอาคารสงเคราะห์ตั้งอยู่ กรรมการ (๑๐) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๑๑) หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการ (๑๒) เจ้าหน้าที่ในฝ่ายสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมาย ให้ดูแลงานด้านอาคารสงเคราะห์ จำนวนหนึ่งคน ข้อ ๖[๓] ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแผนงานในการพัฒนาอาคารสงเคราะห์ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ได้รับสิทธิและผู้ร่วมพักอาศัยต้องปฏิบัติเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ (๓) อนุมัติการเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๔) เพิกถอนสิทธิการเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๕) กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๓ (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๗) ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร จะต้องมีคุณสมบัติตามกำหนดและให้ผู้บังคับบัญชารับรองคุณสมบัติดังกล่าว คือ (๑) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร (๒)[๔] กรณีเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ไม่เกินระดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ไม่เกินระดับชำนาญการ กรณีเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีวิทยฐานะไม่เกินชำนาญการ สำหรับลูกจ้างประจำต้องเป็นผู้มีอัตราค่าจ้างไม่เกินค่ากลางระหว่างเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (๓) ไม่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองหรือคู่สมรส (๔) ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามกฎหมายว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ (๕) ไม่ได้รับการสงเคราะห์จากทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารให้มีสิทธิกู้เงินเพื่อกิจการที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรส (๖) เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เสพติดสุรา ของมึนเมา หรือยาเสพติดทุกชนิด ไม่หมกมุ่นในการพนัน (๗) ตนเองหรือคู่สมรสไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่งแห่งใดอยู่แล้ว (๘) ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานครมาก่อน ข้อ ๘ ลำดับความสำคัญในการพิจารณาเข้าพักอาศัย (๑) บ้านที่พักอาศัยประสบอัคคีภัย ภัยธรรมชาติหรือวินาศภัยอื่น ๆ จนไม่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ (๒) ต้องคำพิพากษาของศาลให้ออกจากที่อยู่เดิม (๓) บ้านที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรสถูกเวนคืน และกรณีเป็นที่ยุติว่าต้องออกจากที่พักอาศัยนั้น (๔) พักอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง เช่น พักในวัด ที่ทำงาน กองขยะ (๕) เช่าบ้านอยู่หรืออาศัยผู้อื่นอยู่ (๖) อยู่ไกลที่ทำงานการเดินทางไม่สะดวก (๗) เหตุจำเป็นอื่น ๆ ข้อ ๙ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะต้องเข้าพักอาศัยเอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าพักอาศัยแทน หรือร่วมพักอาศัย หรือใช้ประโยชน์ ยกเว้นบุคคลซึ่งคณะกรรมการอนุญาตเท่านั้นที่จะร่วมพักอาศัยด้วยได้ การพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ผู้พักอาศัยจะต้องปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของทางราชการและเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ (๒) ไม่ใช้อาคารที่พักเพื่อประโยชน์อย่างอื่น นอกจากการพักอาศัยเท่านั้น (๓) ไม่เล่นการพนันทุกชนิดในอาคารที่พักอาศัย หรือบริเวณที่พักอาศัย (๔) ไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติดใด ๆ ในอาคารที่พักอาศัยหรือบริเวณที่พักอาศัย (๕) ดูแลรักษาอาคารที่พักอาศัยทั้งภายในและภายนอกให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ ห้ามมิให้ต่อเติม ดัดแปลง ย้าย หรือรื้อถอนส่วนใด ๆ ของอาคารที่พักอาศัย รวมทั้งการตอกวัสดุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังอาคารที่พักอาศัยด้วย (๖) กรณีมีการชำรุดเสียหายเกี่ยวกับอาคารที่พักอาศัยและสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณอาคาร ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขโดยเร็ว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในระหว่างการซ่อมแซมด้วย (๗) ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบอาคารที่พักอาศัยตามอำนาจหน้าที่ (๘) ไม่เลี้ยงสัตว์ที่อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ หรือก่อให้เกิดความสกปรกต่ออาคารที่พักอาศัย เช่น สุนัข แมว เป็นต้น (๙) ไม่ประกอบการใด ๆ หรือมีพฤติกรรมใด ๆ อันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม หรือก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ (๑๐) หากค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้า จนกระทั่งถูกตัดมาตรวัด จะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง (๑) ถึง (๑๐) หรือยอมให้ผู้อื่นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามวรรคสอง (๑) ถึง (๙) ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ใดไม่ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์แต่ได้เข้าพักอาศัยแทนผู้ได้รับสิทธิ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัย และให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์จะถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในกรณีต่อไปนี้ (๑) ขาดคุณสมบัติที่ระบุในข้อ ๗ (๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๓) ไม่เข้าพักอาศัยภายใน ๑ เดือน นับแต่วันทำสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๔) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ หรือยอมให้ผู้อื่นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๙ และเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือนแล้วแต่ก็ยังฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอีก (๕) ไม่ชำระเงินค่าบำรุงอาคารสงเคราะห์เป็นเวลาติดต่อกัน ๓ เดือน (๖) ค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้าจนกระทั่งถูกตัดมาตรวัดและไม่ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน นับแต่วันถูกตัดมาตรวัด ข้อ ๑๑ ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิตามข้อ ๑๐ ต้องออกจากอาคารสงเคราะห์พร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนและผู้ร่วมพักอาศัยออกไปภายใน ๒ เดือน นับแต่วันได้รับแจ้งว่าถูกเพิกถอนสิทธิ หากไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย และให้แจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณีอีกทางหนึ่งด้วย [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๒ เมื่อผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ถึงแก่กรรมลง ให้บุคคลที่คณะกรรมการอนุญาตให้ร่วมพักอาศัยออกจากอาคารสงเคราะห์พร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนไปภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่ผู้นั้นถึงแก่กรรม หากไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ (๑) ค่าดูแลบำรุงรักษาอาคารสงเคราะห์และบริเวณ (๒) ค่าประกันอัคคีภัย (๓) ค่ากระแสไฟฟ้า (๔) ค่าน้ำประปา (๕) ค่าประกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจากการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ข้อ ๑๔ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่มีความประสงค์จะขอเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ให้ยื่นคำร้องตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ต่อกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยผ่านผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี และต้องแสดงหลักฐานประกอบการขอเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ ดังนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หลักฐานตามข้อ ๗ และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๘ ผู้ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง หากแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๕ ผู้ยื่นคำร้องที่ได้รับอนุมัติให้เข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ต้องทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร ตามแบบสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุมัติ โดยให้ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้ลงนามในสัญญาในนามกรุงเทพมหานคร [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๑๖ เงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร โดยให้นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสะอาดตัวอาคารและบริเวณ ตลอดจนการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และค่าซ่อมแซมสิ่งชำรุดเสียหายตามสภาพการใช้สอย รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานอาคารสงเคราะห์ ข้อ ๑๗[๕] การสั่งก่อหนี้หรือสั่งจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ครั้งหนึ่งให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๒) ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย การสั่งจ่ายเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครกับกรรมการและเลขานุการหรือกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครร่วมกันลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินหรือใบถอนเงิน ข้อ ๑๘ การพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงิน ให้นำข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งว่าด้วยการนั้น มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในการควบคุมดูแล จัดการอาคารสงเคราะห์ ตลอดจนการพักอาศัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์เป็นประจำทุกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานสรุปการรับ - จ่ายเงินประจำปีและเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบ [คำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔] ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการ ข้อ ๒๑ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ศาสตราจารย์ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[๖] ข้อ ๕ ให้แก้ไขคำว่า “กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม” และ “สำนักสวัสดิการสังคม” ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นคำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” ทุกแห่ง ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖[๗] ปณตภร/ผู้จัดทำ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๔/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ [๒] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๓] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ [๔] ข้อ ๗ (๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๕] ข้อ ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๒/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง/หน้า ๑๐/๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
764140
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารที่พักอาศัย พ.ศ. 2559
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารที่พักอาศัย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารที่พักอาศัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารที่พักอาศัย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “อาคารที่พักอาศัย” หมายความว่า อาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อมบริเวณศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชหรือศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพนักงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองโรงงานกำจัดมูลฝอย สำนักสิ่งแวดล้อม ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุม ดูแลอาคารที่พักอาศัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร “เงินบำรุงอาคารที่พักอาศัย” หมายความว่า เงินที่ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยจะต้องจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานครตามระเบียบนี้ รวมถึงดอกผลของเงินดังกล่าวด้วย ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (๑) ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม ประธานกรรมการ (๒) รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม รองประธานกรรมการ (๓) หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อม กรรมการ (๔) ผู้อำนวยการกองโรงงานกำจัดมูลฝอย กรรมการและเลขานุการ สำนักสิ่งแวดล้อม (๕) หัวหน้าฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ สำนักสิ่งแวดล้อม (๖) หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ผู้ช่วยเลขานุการ กองโรงงานกำจัดมูลฝอย สำนักสิ่งแวดล้อม ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแผนงานในการพัฒนาอาคารที่พักอาศัย (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ได้รับสิทธิและผู้ร่วมพักอาศัยต้องปฏิบัติเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ (๓) อนุมัติการเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัย (๔) เพิกถอนสิทธิการเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัย (๕) กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๔ (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๗) ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ ผู้มีสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยจะต้องมีคุณสมบัติตามกำหนดและให้ผู้บังคับบัญชารับรองคุณสมบัติดังกล่าว คือ (๑) เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ (๒) กรณีเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปไม่เกินระดับชำนาญงาน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ไม่เกินระดับชำนาญการ กรณีเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่มีวิทยฐานะไม่เกินชำนาญการ สำหรับลูกจ้างประจำต้องเป็นผู้มีอัตราค่าจ้างไม่เกินค่ากลางระหว่างเงินเดือนขั้นตํ่าขั้นสูงของข้าราชการ ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (๓) ไม่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองหรือคู่สมรส (๔) ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามกฎหมายว่าด้วยค่าเช่าบ้านข้าราชการ (๕) ไม่ได้รับการสงเคราะห์จากทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารให้มีสิทธิกู้เงิน เพื่อกิจการที่พักอาศัยของตนหรือคู่สมรส (๖) เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เสพติดสุรา ของมึนเมา หรือยาเสพติดทุกชนิด ไม่หมกมุ่นในการพนัน (๗) ตนเองหรือคู่สมรสไม่ได้เข้าพักอาศัยในอาคารที่กรุงเทพมหานครจัดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำพักอาศัยเพื่อวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์เรื่องที่พักอาศัยแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่แล้ว (๘) ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในอาคารที่กรุงเทพมหานครจัดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำพักอาศัยเพื่อวัตถุประสงค์ในการสงเคราะห์เรื่องที่พักอาศัยแห่งใดแห่งหนึ่งมาก่อน ข้อ ๘ การพิจารณาคัดเลือกบุคคลผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยให้พิจารณาตามลำดับดังนี้ (๑) ลูกจ้างประจำสังกัดฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขต ที่ปฏิบัติหน้าที่ขับรถเก็บขนมูลฝอยและต้องรับมอบและส่งมอบรถที่จอดไว้ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชหรือศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม (๒) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชหรือศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม สำนักสิ่งแวดล้อม (๓) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อมซึ่งหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักสิ่งแวดล้อมเสนอชื่อ (๔) ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำนอกเหนือ (๑) (๒) และ (๓) ข้อ ๙ ลำดับความสำคัญในการพิจารณาเข้าพักอาศัย (๑) บ้านที่พักอาศัยประสบอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือวินาศภัยอื่น ๆ จนไม่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ (๒) ต้องคำพิพากษาของศาลให้ออกจากที่อยู่เดิม (๓) บ้านพักอาศัยของตนหรือคู่สมรสถูกเวนคืน และกรณีเป็นที่ยุติว่าต้องออกจากที่พักอาศัยนั้น (๔) พักอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสม เช่น วัด เป็นต้น (๕) เช่าบ้านอยู่หรืออาศัยผู้อื่นอยู่ (๖) อยู่ไกลที่ทำงานการเดินทางไม่สะดวก (๗) เหตุจำเป็นอื่น ๆ ที่คณะกรรมการเห็นว่าสมควรนำมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยจะต้องเข้าพักอาศัยเอง ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าพักอาศัยแทน หรือร่วมพักอาศัย หรือใช้ประโยชน์ ยกเว้นบุคคลซึ่งคณะกรรมการอนุญาตเท่านั้นที่จะร่วมพักอาศัยด้วยได้ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยจะต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติและต้องไม่กระทำการใดอันเป็นข้อห้ามดังนี้ (๑) ต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของทางราชการและเชื่อฟังคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ (๒) ต้องดูแล รักษาห้องพักอาศัยทั้งภายในและภายนอกให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ (๓) หากห้องพักอาศัยและสิ่งก่อสร้างภายในห้องพักอาศัยมีการชำรุดเสียหาย ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขโดยเร็ว พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในระหว่างการซ่อมแซมด้วย (๔) ต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบห้องพักอาศัยตามอำนาจหน้าที่ (๕) หากค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่ากระแสไฟฟ้าจนกระทั่งถูกตัดมาตรวัด จะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว (๖) ต้องไม่ใช้ห้องพักอาศัยเพื่อประโยชน์อย่างอื่นนอกจากการพักอาศัยเท่านั้น (๗) ต้องไม่เล่นการพนันทุกชนิดในห้องพักอาศัย อาคารที่พักอาศัย หรือบริเวณอาคารที่พักอาศัย (๘) ต้องไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติดใด ๆ ในห้องพักอาศัย อาคารที่พักอาศัย หรือบริเวณอาคารที่พักอาศัย (๙) ต้องไม่ต่อเติม ดัดแปลง ย้าย หรือรื้อถอนส่วนใด ๆ ของห้องพักอาศัยหรืออาคารที่พักอาศัยรวมทั้งการตอกวัสดุต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังห้องพักอาศัยหรืออาคารที่พักอาศัยด้วย (๑๐) ต้องไม่เลี้ยงสัตว์ที่อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ หรือก่อให้เกิดความสกปรกต่อห้องพักอาศัย อาคารที่พักอาศัย หรือบริเวณอาคารที่พักอาศัย เช่น สุนัข แมว เป็นต้น (๑๑) ต้องไม่ประกอบการใด ๆ หรือมีพฤติกรรมใด ๆ อันเป็นที่รังเกียจแก่สังคมหรือก่อให้เกิดความรำคาญ เดือดร้อน อันตราย หรือเป็นภัยต่อความสงบสุขแก่ผู้พักอาศัยคนอื่น ๆ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยผู้ใดไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติหรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามวรรคสอง ข้อหนึ่งข้อใด หรือยอมให้ผู้ร่วมพักอาศัยไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติหรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามวรรคสอง (๑) (๒) (๓) (๔) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ให้สำนักสิ่งแวดล้อมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราวผู้ใดไม่ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยแต่ได้เข้าพักอาศัยแทนผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัย ให้สำนักสิ่งแวดล้อมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยจะถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยในกรณีต่อไปนี้ (๑) ขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามข้อ ๗ (๒) ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยข้อหนึ่งข้อใด (๓) ไม่เข้าพักอาศัยภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัย (๔) ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติหรือฝ่าฝืนข้อห้าม หรือยอมให้ผู้ร่วมพักอาศัยไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติหรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ ๑๐ วรรคสาม และเจ้าหน้าที่ได้ตักเตือนแล้วแต่ก็ยังไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนอีก (๕) ไม่ชำระค่าบำรุงอาคารที่พักอาศัยเป็นเวลาติดต่อกันสามเดือน (๖) ค้างชำระค่าน้ำประปาหรือค่าไฟฟ้าจนกระทั่งถูกตัดมาตรวัดและไม่ดำเนินการติดตั้งมาตรวัดให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ถูกตัดมาตรวัด ข้อ ๑๒ ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยตามข้อ ๑๑ ต้องออกจากอาคารที่พักอาศัยพร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนและผู้ร่วมพักอาศัยออกไปภายในสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งว่าถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัย หากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการพักอาศัยไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักสิ่งแวดล้อมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย และให้แจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณีอีกทางหนึ่งด้วย ข้อ ๑๓ เมื่อผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยถึงแก่ความตาย ให้บุคคลที่คณะกรรมการอนุญาตให้ร่วมพักอาศัยออกจากอาคารที่พักอาศัยพร้อมขนย้ายทรัพย์สินของตนออกไปภายในหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย หากบุคคลที่คณะกรรมการอนุญาตให้ร่วมพักอาศัยไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักสิ่งแวดล้อมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับสิทธิเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อไปนี้ (๑) ค่าบำรุงอาคารที่พักอาศัย (๒) ค่าประกันอัคคีภัย (๓) ค่าน้ำประปาและค่ารักษามาตรน้ำประปา (๔) ค่าประกันความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจากการพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัย (๕) ค่าไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดตามสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัย ข้อ ๑๕ ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่มีความประสงค์จะขอเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยให้ยื่นคำร้องตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดต่อผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมโดยผ่านผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าหน่วยงาน แล้วแต่กรณี และต้องแสดงหลักฐานประกอบการขอเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยดังนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หลักฐานตามข้อ ๗ ข้อ ๘ และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๙ หากผู้ยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่งแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้สำนักสิ่งแวดล้อมแจ้งพร้อมส่งพยานหลักฐานไปให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นพิจารณาดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ยื่นคำร้องที่ได้รับอนุมัติให้เข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยต้องทำสัญญากับกรุงเทพมหานครตามแบบสัญญาเข้าพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการอนุมัติโดยให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ลงนามในสัญญาในนามกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๗ เงินบำรุงอาคารที่พักอาศัยไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร โดยให้นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาความสะอาดอาคารที่พักอาศัยและบริเวณอาคารที่พักอาศัย ตลอดจนการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และค่าซ่อมแซมสิ่งชำรุด เสียหายตามสภาพการใช้สอย รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินงานอาคารที่พักอาศัย เฉพาะกรณีที่ไม่มีเงินงบประมาณหรือมีไม่เพียงพอหรือมีเหตุจำเป็นรีบด่วนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทัน ข้อ ๑๘ การอนุมัติให้ใช้เงินบำรุงอาคารที่พักอาศัยครั้งหนึ่งให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองโรงงานกำจัดมูลฝอย ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท สำนักสิ่งแวดล้อม (๒) ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม ไม่จำกัดวงเงิน หรือรองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม ที่ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมมอบหมาย การสั่งจ่ายเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร กับกรรมการและเลขานุการหรือกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการของคณะกรรมการอาคารที่พักอาศัยของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ร่วมกันลงนามในเช็คสั่งจ่ายเงินหรือใบถอนเงิน ข้อ ๑๙ การพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ให้นำข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๐ ให้กองโรงงานกำจัดมูลฝอย สำนักสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบในการควบคุม ดูแลการบริหารจัดการอาคารที่พักอาศัย ตลอดจนการพักอาศัยของข้าราชการและลูกจ้างประจำให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้จัดทำรายงานบัญชีรายรับ – รายจ่ายเงินบำรุงอาคารที่พักอาศัยเป็นประจำทุกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานสรุปบัญชีรายรับ - รายจ่ายเงินบำรุงอาคารที่พักอาศัยประจำปีและเงินคงเหลือให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมและปลัดกรุงเทพมหานครทราบตามลำดับ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๒๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลตำรวจเอก อัศริน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ ชวัลพร/ตรวจ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๙๙ ง/หน้า ๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๙
687350
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในลำดับที่ ๔ ของบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ท้ายระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่ายท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๖๘ ง/หน้า ๗/๖ มิถุนายน ๒๕๕๖
679831
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “การพัฒนาชุมชน” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีแบบแผนทั้งทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม อนามัยและจิตใจ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา “ชุมชน” หมายความว่า บริเวณที่กลุ่มคนอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวพันกัน “สมาชิกชุมชน” หมายความว่า ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านในชุมชนนั้น “คณะกรรมการชุมชน” หมายความว่า ตัวแทนของสมาชิกชุมชนซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกชุมชน “ชุมชนแออัด” หมายความว่า ชุมชนที่มีลักษณะบ้านเรือนหนาแน่น ประชาชนอยู่อย่างแออัด “ชุมชนเมือง” หมายความว่า ชุมชนที่มีลักษณะของบ้านเรือนอยู่รวมกันค่อนข้างหนาแน่นแต่ไม่แออัด มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมสะดวก “ชุมชนชานเมือง” หมายความว่า ชุมชนที่มีพื้นที่ด้านเกษตรกรรม มีบ้านเรือนไม่แออัด “เคหะชุมชน” หมายความว่า ชุมชนที่เคยอยู่ในความดูแลของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งชุมชนที่การเคหะแห่งชาติยังคงดูแลอยู่ แต่ได้ให้ความยินยอมในการจัดตั้งเป็นชุมชนได้ “ชุมชนอาคารสูง” หมายความว่า ชุมชนที่มีสภาพเป็นแฟลต คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ หรืออาคารอย่างอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ยกเว้นแฟลตของการเคหะแห่งชาติที่เป็นนิติบุคคล “ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร” หมายความว่า ชุมชนที่มีการจัดสร้างขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน ยกเว้นที่เป็นนิติบุคคล “การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม” หมายความว่า การส่งเสริมและเสริมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต “การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมชุมชนอย่างยั่งยืน” หมายความว่า การพัฒนาสภาพบ้านเรือน อาคารและสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสภาพแวดล้อมชุมชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของประชาชน ให้มีความสุข สะดวกสบาย มั่นคงปลอดภัยและถูกสุขลักษณะเหมาะสมกับการดำรงชีวิต “การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน” หมายความว่า การพัฒนาอย่างเป็นระบบในการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนโดยเฉพาะในด้านการผลิต การบริโภค การบริหารเงินออม การจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรและรายได้ ทุนชุมชนให้สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียงเพื่อเป็นการสร้างโอกาสและสามารถพึ่งตนเองได้ “การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในสังคม” หมายความว่า การส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนพึ่งตนเองและพัฒนาตนเอง โดยให้ผู้นำชุมชน ประชาชน และกลุ่มต่าง ๆ รวมตัวเพื่อประกอบกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง “การพัฒนาอนามัยชุมชน” หมายความว่า การส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดีและสามารถหาเลี้ยงชีพได้โดยปกติสุข รวมทั้งการปลูกฝังให้รู้จักดูแลสุขอนามัยของตนเองและปฏิบัติต่อบุคคลอื่นให้เกิดสุขนิสัยที่ดี “การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นชาติไทย” หมายความว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและสร้างความตระหนักให้ประชาชนมีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน “แผนชุมชน” หมายความว่า แนวทางในการพัฒนาและดำเนินงานของชุมชนอย่างมีทิศทางตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาให้เป็นไปตามความต้องการและสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชนได้ร่วมกันคิด กำหนดแนวทาง กิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอกด้วยการคำนึงถึงศักยภาพทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน “เลือกตั้ง” หมายความว่า การเลือกตั้งกรรมการชุมชน “หน่วยเลือกตั้ง” หมายความว่า ชุมชนที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง “ที่เลือกตั้ง” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งและให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบบริเวณที่เลือกตั้งด้วย “วันเลือกตั้ง” หมายความว่า วันที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน “ผู้เลือกตั้ง” หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการชุมชน “ผู้อำนวยการเขต” หมายความว่า ผู้อำนวยการเขตที่ชุมชนตั้งอยู่ในท้องที่ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการเขตให้ดำเนินการเลือกตั้ง “ขอบเขตของชุมชน” หมายความว่า บริเวณพื้นที่ที่ชุมชนร่วมกันกำหนดขอบเขตในการขอจัดตั้งชุมชน หมวด ๒ ชุมชน ข้อ ๗ ชุมชนมี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้ (๑) ชุมชนแออัด (๒) ชุมชนเมือง (๓) ชุมชนชานเมือง (๔) เคหะชุมชน (๕) ชุมชนอาคารสูง (๖) ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ข้อ ๘ การจัดตั้งชุมชนให้ทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานครโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) เหตุผลในการขอจัดตั้งชุมชน (๒) มีชื่อชุมชน ที่ตั้ง แผนที่แสดงขอบเขตของชุมชน และผังแสดงที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้างและบริเวณข้างเคียงของชุมชน (๓) จำนวนบ้านที่ประชาชนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยหลัง (๔) ข้อมูลโครงสร้างประชากรและรายละเอียดของประชาชนในชุมชน เช่น ชื่อ - ชื่อสกุล เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ เป็นต้น (๕) ข้อมูลการคมนาคม สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (๖) เจ้าบ้านหรือผู้อาศัยที่เจ้าของบ้านมอบหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของจำนวนบ้านในชุมชน เข้าชื่อเสนอต่อผู้อำนวยการเขตแจ้งความประสงค์ขอจัดตั้งชุมชน (๗) มีกลุ่มด้านการพัฒนาชุมชนอย่างน้อยสามกลุ่ม เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มทางสังคม เป็นต้น และมีระยะเวลาจัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน โดยมีหลักฐานการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง (๘) กรณีบริเวณสถานที่ตั้งชุมชนเป็นพื้นที่ของบุคคลอื่น ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้จัดตั้งเป็นชุมชนได้ (๙) สถานที่ตั้งชุมชนไม่เป็นที่สาธารณะ (๑๐) ผู้อำนวยการเขตเห็นสมควรจัดตั้งเป็นชุมชนและเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนาม การรวมชุมชน การแยกชุมชน การเปลี่ยนชื่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงประเภทชุมชน ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ โดยจัดทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร และให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนามประกาศ ข้อ ๙ การจัดทำประกาศกำหนดชุมชนตามระเบียบนี้ให้สำนักงานเขตจัดส่งเอกสารตามข้อ ๘ ให้สำนักพัฒนาสังคม เพื่อตรวจสอบรายละเอียดและจัดทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานครเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนาม ข้อ ๑๐ เมื่อกรุงเทพมหานครได้ประกาศให้ชุมชนใดเป็นชุมชนตามระเบียบนี้แล้ว ให้สำนักงานเขตจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งชุมชน ข้อ ๑๑ ชุมชนใดมีสภาพอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ให้พ้นสภาพการเป็นชุมชน (๑) คณะกรรมการชุมชนหมดวาระแล้วไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนครบตามจำนวนที่กำหนด เมื่อได้ประกาศเลือกตั้งกรรมการชุมชนไปแล้วอย่างน้อยสองครั้ง (๒) เจ้าบ้านหรือผู้อาศัยที่เจ้าของบ้านมอบหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของชุมชนเข้าชื่อเสนอต่อผู้อำนวยการเขตแจ้งความประสงค์ขอให้ชุมชนพ้นสภาพการเป็นชุมชน (๓) จำนวนบ้านที่ประชาชนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านน้อยกว่าหนึ่งร้อยหลัง (๔) กรณีที่สำนักงานเขตพิจารณาเห็นว่าคณะกรรมการชุมชน หรือสมาชิกชุมชนไม่ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย และหรือไม่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (๕) เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามข้อ ๘ (๘) ได้ถอนความยินยอมเป็นหนังสือให้จัดตั้งเป็นชุมชน เมื่อปรากฏความตามวรรคหนึ่งให้ผู้อำนวยการเขตเสนอความเห็นต่อสำนักพัฒนาสังคมเพื่อตรวจสอบรายละเอียดและจัดทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานครเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนามประกาศยกเลิกชุมชนชน หมวด ๓ คณะกรรมการชุมชน ข้อ ๑๒ กรรมการชุมชนเป็นตัวแทนสมาชิกชุมชน ข้อ ๑๓ ในชุมชนหนึ่งให้มีกรรมการชุมชนซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวนอย่างน้อยชุมชนละเจ็ดคน ถ้าชุมชนใดมีบ้านเกินหนึ่งร้อยหลัง ให้มีการเลือกกรรมการชุมชนนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนต่อจำนวนบ้านทุกห้าสิบหลัง เศษของห้าสิบ ถ้าเกินยี่สิบห้า ให้นับเป็นห้าสิบหลัง แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมกรรมการชุมชนทั้งหมดแล้ว จะต้องไม่เกินจำนวนสิบห้าคน ชุมชนใดถ้ามีผู้สมัครตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไป และไม่เกินจำนวนกรรมการชุมชนที่กำหนดไว้ให้ถือว่าผู้สมัครได้รับเลือกตั้งโดยไม่มีการเลือกตั้ง และไม่ต้องเลือกตั้งกรรมการชุมชนให้ครบตามจำนวนที่พึงมีตามวรรคแรก ข้อ ๑๔ คณะกรรมการชุมชนประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการ (๒) รองประธานกรรมการ (๓) เลขานุการ (๔) เหรัญญิก (๕) นายทะเบียน (๖) ประชาสัมพันธ์ (๗) ตำแหน่งอื่นใด ตามที่คณะกรรมการชุมชนเห็นสมควรแต่งตั้ง ข้อ ๑๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน (๑) มีสัญชาติไทย (๒) อายุยี่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป นับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง (๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (๔) มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (๕) เป็นสมาชิกชุมชนที่ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ประพฤติตนเป็นภัยต่อสังคม ข้อ ๑๖ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน (๑) ติดยาเสพติดให้โทษ (๒) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) หูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ (๕) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช (๖) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น (๗) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันสมัครรับเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (๘) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาเขต ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (๙) เคยเป็นกรรมการชุมชน และได้พ้นจากตำแหน่งในชุมชนนั้นตามข้อ ๒๐ (๖) หรือ (๗) มายังไม่ถึงสองปีในวันสมัครรับเลือกตั้ง ข้อ ๑๗ บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการชุมชน (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง ข้อ ๑๘ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการชุมชน (๑) เป็นบุคคลต้องห้ามตามข้อ ๑๖ (๒) หรือ (๕) (๒) ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อ ๑๙ กรรมการชุมชนดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละสามปี นับแต่วันเลือกตั้ง ข้อ ๒๐ กรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ครบกำหนดตามวาระ (๒) ตาย (๓) ลาออก (๔) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๑๕ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๑๖ (๕) กรรมการชุมชนว่างลงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการชุมชนที่ประกาศแต่งตั้ง และให้ถือว่ากรรมการชุมชนส่วนที่เหลือพ้นจากตำแหน่ง (๖) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม เข้าชื่อเสนอต่อผู้อำนวยการเขตให้กรรมการชุมชนคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง (๗) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสาม เข้าชื่อเสนอต่อผู้อำนวยการเขตให้กรรมการชุมชนทั้งชุดพ้นจากตำแหน่ง และผู้อำนวยการเขตให้ความเห็นชอบ ข้อ ๒๑ เมื่อกรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๒๐ (๑) (๕) หรือ (๗) ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนชุดใหม่ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่กรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีอยู่ในระยะเวลาการเลือกตั้งทั่วไปหรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ผู้อำนวยการเขตขยายเวลาออกไปได้ไม่เกินหกสิบวัน ในกรณีคณะกรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๒๐ (๑) ให้กรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าการเลือกตั้งกรรมการชุมชนชุดใหม่แล้วเสร็จ โดยในระหว่างปฏิบัติหน้าที่สามารถเบิกจ่ายค่าสนับสนุนการดำเนินงานคณะกรรมการชุมชนได้ กรณีกรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๒๐ (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) จนเป็นเหตุให้กรรมการชุมชนเหลือน้อยกว่าเจ็ดคน และไม่ใช่กรณีตามข้อ ๒๐ (๕) ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนมีจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน แต่ไม่เกินจำนวนกรรมการชุมชนที่ประกาศแต่งตั้งตามข้อ ๖๐ ภายในกำหนดสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่กรรมการชุมชนเหลือน้อยกว่าเจ็ดคน เว้นแต่วาระของกรรมการชุมชนจะเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และให้กรรมการชุมชนที่ได้รับเลือกตั้งใหม่อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ข้อ ๒๒ การลาออกของกรรมการชุมชนให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อผู้อำนวยการเขตและให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำประกาศลาออกของผู้นั้นออกจากการเป็นกรรมการชุมชน โดยมีผลนับแต่วันที่ระบุไว้ในหนังสือลาออก ในกรณีหนังสือลาออกมิได้ระบุวันที่ลาออกไว้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ผู้อำนวยการเขตได้รับหนังสือลาออก หมวด ๔ การเลือกตั้งกรรมการชุมชน ข้อ ๒๓ การเลือกตั้งกรรมการชุมชนให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ ผู้เลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้ไม่เกินจำนวนกรรมการชุมชนที่จะพึงมีได้ในชุมชนนั้น ข้อ ๒๔ ให้ผู้อำนวยการเขตประกาศให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชน จำนวนกรรมการชุมชนที่พึงมีตามข้อ ๑๓ กำหนดวันรับสมัคร วันเลือกตั้ง ระยะเวลารับสมัคร สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง โดยให้ทำเป็นประกาศของสำนักงานเขต และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งอย่างน้อยหน่วยเลือกตั้งละเจ็ดคน หากมีผู้สมัครกรรมการชุมชนน้อยกว่าเจ็ดคน ให้ประกาศขยายระยะเวลารับสมัครและเลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งไม่เกินสองครั้งภายในสามสิบวัน กรณีผู้สมัครกรรมการชุมชนได้ยื่นใบสมัครแล้ว เมื่อพ้นระยะเวลาการรับสมัครจะขอถอนชื่อออกจากการสมัครรับเลือกตั้งกรรมการชุมชนไม่ได้ ข้อ ๒๕ เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้รับใบสมัครแล้ว ให้บันทึกการรับสมัครไว้เป็นหลักฐาน และให้ตรวจสอบหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร และตรวจสอบว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร ถ้าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งได้ ให้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานเขตที่เลือกตั้งหรือสถานที่อื่นที่เห็นสมควร ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อหน้าเจ้าหน้าที่ผู้รับสมัคร ณ สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง พร้อมหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ใบรับรองแพทย์ และรูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัวขนาดสองนิ้ว แต่งกายสุภาพ ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ซึ่งถ่ายในคราวเดียวกันและไม่เกินหกเดือน นับถึงวันแรกของการรับสมัครเลือกตั้ง จำนวนสี่ใบ หรือตามจำนวนที่ผู้อำนวยการเขตกำหนด ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้มีชื่อผู้สมัคร รูปถ่ายผู้สมัคร และหมายเลขประจำตัวผู้สมัครที่จะใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง ตามแบบท้ายระเบียบนี้หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๒๖ ให้กำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเรียงตามลำดับก่อนหลังในการมายื่นใบสมัคร ถ้ามีผู้สมัครมาพร้อมกันหลายคน และไม่สามารถตกลงกันได้ให้ใช้วิธีจับสลากระหว่างผู้สมัครที่มาพร้อมกัน เมื่อได้กำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัครตามวรรคหนึ่งแล้ว จะเปลี่ยนแปลงหมายเลขประจำตัวผู้สมัครไม่ได้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร และการจับสลากให้เป็นไปตามกฎหมายที่ใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตโดยอนุโลม ข้อ ๒๗ เมื่อได้มีประกาศให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งพิมพ์ แผ่นประกาศหรือสิ่งอื่นมาโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งเพื่อประโยชน์ของผู้สมัครภายในที่เลือกตั้ง กรณีมีสิ่งพิมพ์ แผ่นประกาศ หรือสิ่งอื่นใดอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครภายในที่เลือกตั้งอยู่แล้วก่อนหรือในวันเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ทำลาย ปกปิดหรือนำเอกสารไปไว้นอกที่เลือกตั้ง การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง ห้ามพ่นหรือระบายสีซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใด ๆ หรือโดยวิธีการปิดประกาศ ณ ที่รั้ว กำแพง ผนัง อาคาร สะพาน เสาไฟฟ้า หรือต้นไม้ บรรดาซึ่งเป็นทรัพย์สินของทางราชการ หรือ ณ บริเวณที่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินมิได้อนุญาต เว้นแต่เป็นการปิดประกาศ ณ สถานที่ที่กำหนด ในกรณีที่มีการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง อันเป็นการฝ่าฝืนวรรคสาม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มีอำนาจหน้าที่ทำลาย ปกปิด ลบ หรือล้างข้อความ ภาพ หรือรูปรอยดังกล่าว แต่ในกรณีที่มิใช่ทรัพย์สินของทางราชการ เจ้าพนักงานท้องถิ่น จะมีอำนาจดังกล่าวเมื่อได้รับคำร้องขอจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ข้อ ๒๘ ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนเลือกตั้งตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา นับตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ของวันเลือกตั้งจนสิ้นสุดเวลาของการเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาไม่ว่าโดยวิธีใดอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือทำด้วยประการใดอันเป็นการรบกวนหรือเป็นอุปสรรคแก่การเลือกตั้ง ข้อ ๒๙ เมื่อมีประกาศสำนักงานเขตให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนจนถึงวันเลือกตั้ง ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่นหรืองดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรายใดด้วยวิธีการดังนี้ (๑) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด (๒) ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด (๓) ทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ (๔) เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด (๕) หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในเรื่องใด อันเกี่ยวกับผู้สมัครรายใด การประกาศนโยบาย หรือการดำเนินการตามแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาตามหน้าที่ของกรรมการชุมชน หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในชุมชน มิให้ถือว่าเป็นกรณีตาม (๑) หรือ (๒) เพื่อให้การหาเสียงเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้อำนวยการเขตอาจประกาศเพื่อแนะนำวิธีการหรือลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครไว้ในบริเวณสถานที่เลือกตั้งก็ได้ ข้อ ๓๐ เมื่อได้มีประกาศสำนักงานเขตให้เลือกตั้งกรรมการชุมชนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมประสานฝ่ายทะเบียนตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามทะเบียนบ้านให้ถูกต้องตามความจริงและประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงที่เลือกตั้งนั้นไว้โดยเปิดเผยให้ทราบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ข้อ ๓๑ ผู้เลือกตั้งหรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่าตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อต่อผู้อำนวยการเขตก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าวัน เมื่อผู้อำนวยการเขตได้รับคำร้องแล้ว ให้รีบตรวจสอบหลักฐาน หากเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใด ให้เพิ่มชื่อต่อท้ายบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้น และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบโดยเร็ว ข้อ ๓๒ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเห็นว่าผู้มีชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามข้อ ๓๐ เป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการเขตก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าวัน เพื่อให้ถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้มีคำสั่งถอนชื่อผู้นั้น ออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องและเจ้าบ้านทราบ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้รายงานต่อผู้อำนวยการเขตพร้อมทั้งประกาศไว้ในสถานที่เลือกตั้งและแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายในสามวัน นับแต่วันได้รับคำร้อง กรณีตามวรรคสอง ถ้าผู้ที่ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและยื่นคำร้องคัดค้านการถูกถอนชื่อต่อผู้อำนวยการเขตให้ผู้อำนวยการเขตตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยโดยเร็ว คำวินิจฉัยของผู้อำนวยการเขตถือเป็นที่สุด ข้อ ๓๓ เขตเลือกตั้งกรรมการชุมชน ให้ถืออาณาเขตบริเวณและขอบเขตที่กำหนดไว้ ในแผนที่ของชุมชน ซึ่งชุมชนเป็นผู้กำหนดทำขึ้นในการใช้ขึ้นทะเบียนเป็นชุมชนของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๓๔ หน่วยเลือกตั้งหนึ่ง ต้องจัดให้มีจำนวนผู้เลือกตั้งในจำนวนที่เหมาะสมสามารถจัดให้ผู้เลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้นลงคะแนนเลือกตั้งได้หมดเสร็จภายในระยะเวลาที่เปิดลงคะแนนเลือกตั้ง และให้มีที่เลือกตั้งได้หนึ่งแห่ง ที่เลือกตั้งนั้นให้เป็นที่ซึ่งประชาชนเข้าออกได้สะดวกเพื่อการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้มีขนาดพอสมควรที่จะดำเนินการเลือกตั้งได้โดยสะดวกและให้ผู้เลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งและตรวจดูบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้โดยง่าย ข้อ ๓๕ ในที่เลือกตั้งอย่างน้อยให้มีประกาศรายชื่อผู้สมัครพร้อมเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครติดตั้งไว้ ให้ผู้เลือกตั้งมองเห็นได้ชัดเจน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เลือกตั้งในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ห้ามปิดประกาศรายชื่อผู้สมัครและเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครไว้ในคูหาลงคะแนน ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการอำนวยความสะดวก หรือช่วยเหลือในการลงคะแนนเลือกตั้งแก่คนพิการ ข้อ ๓๖ ห้ามผู้ใดก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในที่เลือกตั้งหรือเข้าไปในที่เลือกตั้งโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องหรือก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนที่รอการเข้าไปลงคะแนนเลือกตั้ง ข้อ ๓๗ บัตรเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดซึ่งต้องกำหนดให้มีช่องทำเครื่องหมาย สำหรับผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งด้วย ข้อ ๓๘ หีบบัตรเลือกตั้งให้ทำด้วยไม้หรือโลหะหรือวัสดุอื่นที่มั่นคงแข็งแรง มีฝาและกุญแจพร้อมด้านหน้าใต้ที่ใส่กุญแจใช้วัตถุโปร่งแสงมองเห็นภายในหีบบัตรเลือกตั้งได้ และที่ฝามีช่องใส่บัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้งให้มีขนาดพอที่จะบรรจุบัตรเลือกตั้งของผู้เลือกตั้งทั้งหมดของหน่วยเลือกตั้งนั้น และเมื่อใส่กุญแจแล้วถ้ามิได้ไขกุญแจออกจะเอาบัตรเลือกตั้งออกไม่ได้ ข้อ ๓๙ การลงคะแนนเลือกตั้งให้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้งให้ตรงกับเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัครไม่เกินจำนวนกรรมการชุมชนที่จะมีได้ในชุมชนนั้น ๆ ข้อ ๔๐ ก่อนเริ่มเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง นับจำนวนบัตรเลือกตั้งทั้งหมด ของหน่วยเลือกตั้งนั้น และปิดประกาศจำนวนบัตรเลือกตั้ง ไว้ในที่เปิดเผย และเมื่อถึงเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง เปิดหีบบัตรเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกตั้งนั้น เห็นว่าเป็นหีบบัตรเลือกตั้งเปล่า และให้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประจำไว้แล้ว ให้บันทึกการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งอยู่บริเวณที่เลือกตั้งในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย เว้นแต่ไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในขณะนั้น ข้อ ๔๑ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๔๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่กล่าวเปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ ถึงเวลาลงคะแนนแล้ว ขอเปิดการลงคะแนน” แล้วจึงเริ่มการลงคะแนนต่อไป ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้งไปแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือแสดงบัตรหรือหลักฐานอื่นใดซึ่งทางราชการ หน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและหมายเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วให้ใช้แสดงตนได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้ใดทักท้วงให้จดหมายเลขบัตร และสถานที่ออกบัตร และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลักฐาน แล้วให้เจ้าหน้าที่มอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนนเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้ทักท้วงหรือเจ้าหน้าที่สงสัยว่าผู้ซึ่งมาแสดงตนนั้น มิใช่ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่บันทึกการทักท้วง หรือข้อสงสัยไว้เป็นหลักฐาน และให้ทำการสอบสวนและวินิจฉัยว่าผู้ถูกทักท้วง หรือผู้ถูกสงสัยเป็นผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ แล้วให้เจ้าหน้าที่บันทึกคำวินิจฉัยและลงลายมือชื่อไว้ด้วย ข้อ ๔๒ เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งแล้ว ให้พับบัตรเลือกตั้งเพื่อมิให้ผู้อื่นทราบได้ว่าลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครใด แล้วให้นำบัตรเลือกตั้งนั้น ใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และให้นำความในข้อ ๓๕ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการนำบัตรเลือกตั้งใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งของคนพิการด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๔๓ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งต้องมิให้ผู้ใดเข้าไปในที่เลือกตั้ง เว้นแต่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือผู้ที่เข้าไปเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้ง ข้อ ๔๔ ห้ามผู้ใดซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิเลือกตั้ง หรือไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้นลงคะแนนเลือกตั้งหรือพยายามลงคะแนนเลือกตั้ง ข้อ ๔๕ ห้ามผู้ใดใช้บัตรที่มิใช่บัตรเลือกตั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่มอบให้ลงคะแนนเลือกตั้ง ห้ามผู้ใดนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ ข้อ ๔๖ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อเป็นที่สังเกตไว้ที่บัตรเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ ข้อ ๔๗ ห้ามผู้ใดนำบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ ๔๒ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้บัตรเลือกตั้งมีจำนวนผิดจากความจริง ข้อ ๔๘ ห้ามผู้ใดกระทำการใด ๆ โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง หรือเข้าไป ณ ที่ลงคะแนนเลือกตั้ง หรือมิให้ไปถึง ณ ที่ดังกล่าวภายในกำหนดเวลาเปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง ข้อ ๔๙ ห้ามผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง หรืองดเว้นไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง ให้แก่ผู้สมัครใด ข้อ ๕๐ ตั้งแต่เวลาที่ได้เปิดและปิดหีบบัตรเลือกตั้งเพื่อการลงคะแนนตามข้อ ๔๐ แล้วหรือภายหลังเวลาที่ได้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งนั้นเพื่อรักษาไว้ เมื่อการเลือกตั้งได้เสร็จสิ้นแล้ว ห้ามผู้ใดเปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ หรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือลักพาไปซึ่งหีบบัตรเลือกตั้งหรือบัตรเลือกตั้ง โดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อ ๕๑ ก่อนประกาศผลการนับคะแนน ห้ามเจ้าหน้าที่แจ้งแก่ผู้ใดให้ทราบจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ได้ลงคะแนนไว้หรือให้ทราบจำนวนคะแนนอันได้ลงไว้สำหรับบุคคลใด หรือให้ทราบว่าผู้ใดลงคะแนนหรือไม่ ข้อ ๕๒ เมื่อถึงเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกาตรงให้เจ้าหน้าที่ประกาศปิดการแสดงตนเพื่อลงคะแนนเลือกตั้ง กรณีมีผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิเลือกตั้งต่อเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาลงคะแนนเลือกตั้งแล้วยังไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง ก็ให้เจ้าหน้าที่จ่ายบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้มาแสดงตนนั้น ทำการลงคะแนนเลือกตั้งจนเสร็จสิ้นและบันทึกเหตุการณ์พร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย ข้อ ๕๓ ให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งนับจำนวนผู้มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้งจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งชุดที่ใช้หมายเหตุ การลงคะแนนและนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือแล้วจัดทำประกาศรายการเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งทั้งหมด จำนวนผู้มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง ปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้ง ข้อ ๕๔ วิธีนับคะแนน ให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งหยิบบัตรเลือกตั้งทีละบัตร ออกมาจากหีบบัตรเลือกตั้ง และให้เจ้าหน้าที่วินิจฉัยว่าบัตรเลือกตั้งนั้นเป็นบัตรดีหรือบัตรเสีย ถ้าเป็นบัตรดีให้ดำเนินการนับคะแนนต่อไป ถ้าเป็นบัตรเสียให้เจ้าหน้าที่สลักหลังว่า “เสีย” และให้เจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสามคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ โดยให้แยกบัตรเสียออกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก และห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนนไม่ว่ากรณีใด ในการนับคะแนน ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้กรอกคะแนนในแบบกรอกคะแนน ให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งเป็นผู้อ่านเลขหมายประจำตัวผู้สมัครที่ปรากฏมีการทำเครื่องหมายกากบาทอยู่ในบัตรเลือกตั้งโดยให้ออกเสียงดัง ๆ และให้ผู้เลือกตั้งที่ยังเหลืออยู่ ณ ที่นั้นได้เห็นด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ได้อ่านเลขหมายประจำตัวผู้สมัครคนใดแล้ว ให้เจ้าหน้าที่อีกหนึ่งคนขีดคะแนนหนึ่งขีดตรงช่องกรอกคะแนนของผู้สมัครที่เป็นเจ้าของเลขหมายประจำตัวนั้นในกระดานกรอกคะแนนหรือวัสดุอื่น ที่ใช้ในการกรอกคะแนน โดยให้บุคคลทั่วไปที่อยู่ ณ บริเวณนั้นเห็นการกรอกคะแนนได้โดยชัดเจนและสะดวก เมื่อเสร็จการกรอกคะแนนแล้ว ให้ตรวจสอบคะแนนให้ตรงกัน แบบกรอกคะแนนซึ่งได้ใช้กรอกคะแนนถูกต้องแล้วให้เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแผ่น เมื่อการนับคะแนนสิ้นสุดลงแล้ว ให้เจ้าหน้าที่เก็บบัตรเลือกตั้งที่ใช้นับคะแนนแล้วรายงานแสดงผลการนับคะแนนหนึ่งฉบับ ประกาศผลของการนับคะแนนหนึ่งฉบับ และแบบกรอกคะแนนที่ใช้กรอกคะแนนแล้วบรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง แล้วปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประทับครั่งทับรูกุญแจไว้และให้เอากระดาษปิดทับช่องใส่บัตรเลือกตั้งโดยมีลายมือชื่อกำกับไว้บนกระดาษนั้นด้วย ทั้งนี้ให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าประชาชนซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น ให้เจ้าหน้าที่ประกาศผลของการนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งนั้นและรีบทำรายงานแสดงผลของการนับคะแนนและปิดหีบบัตรเลือกตั้งรายงานผู้อำนวยการเขตโดยเร็ว ข้อ ๕๕ ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ได้ทำเครื่องหมายในช่องไม่ลงคะแนนเลือกตั้ง และให้ประกาศจำนวนบัตรดังกล่าวด้วย ในการนับคะแนนเลือกตั้ง หากเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง วินิจฉัยด้วยเสียงข้างมากว่าบัตรเลือกตั้งใด เป็นบัตรเสีย ให้แยกบัตรเสียออกไว้ต่างหาก และห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนนเลือกตั้งไม่ว่ากรณีใด บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย (๑) บัตรปลอม (๒) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายใด ๆ (๓) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนเลือกตั้งให้กับผู้สมัครคนใด (๔) บัตรที่ทำเครื่องหมายเป็นที่สังเกต (๕) บัตรที่มีลักษณะตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครประกาศกำหนด ข้อ ๕๖ เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ผู้อำนวยการเขตจะทำลายบัตรเลือกตั้งและเอกสารที่เก็บอยู่ในหีบบัตรเลือกตั้งนั้นได้ เมื่อพ้นระยะเวลาคัดค้านการเลือกตั้งแล้วไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่มีการคัดค้านการเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการเขตเก็บรักษาหีบบัตรเลือกตั้งนั้นไว้จนกว่าเรื่องจะถึงที่สุด ข้อ ๕๗ ในการประกาศผลการนับคะแนนการเลือกตั้งกรรมการชุมชนให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในชุมชนนั้น ในกรณีที่ผู้สมัครหลายคนได้คะแนนเท่ากัน จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งได้ตามจำนวนกรรมการชุมชนที่จะมีได้ ให้ทำการจับสลากโดยทำสลากเท่ากับจำนวนผู้สมัครที่จะต้องจับสลากเป็นสลากซึ่งมีข้อความ “ได้รับเลือกตั้ง” เท่ากับจำนวนกรรมการชุมชนที่จะพึงมีหรือยังขาดอยู่ นอกนั้นเป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า “ไม่ได้รับเลือกตั้ง” ผู้ใดจับสลากซึ่งมีข้อความว่า “ได้รับเลือกตั้ง” ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนนั้น โดยให้เรียงลำดับหมายเลขผู้สมัครก่อนหลัง การจับสลากให้กระทำต่อหน้าผู้อำนวยการเขตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการเขต ณ ที่เลือกตั้ง และให้บันทึกผลการจับสลากไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๕๘ เมื่อผู้อำนวยการเขตประกาศผลการเลือกตั้งของชุมชนใด ๆ หากผู้เลือกตั้งหรือผู้สมัครเห็นว่าการเลือกตั้งนั้น หรือเห็นว่าการที่บุคคลใดได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนเป็นไปโดยมิชอบ ผู้เลือกตั้งหรือผู้สมัครมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อผู้อำนวยการเขตภายในเจ็ดวัน ข้อ ๕๙ เมื่อผู้อำนวยการเขตได้รับคำร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้า และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าเห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่ผู้ใดได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนเป็นไปโดยมิชอบ สมควรจะให้มีการเลือกตั้งใหม่ ให้มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดหรือเฉพาะแต่กรรมการชุมชนคนใดที่ถูกคัดค้านตามคำร้องคัดค้านนั้นก็ได้ (๒) ถ้าเห็นว่าการเลือกตั้งหรือการที่ผู้ใดได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนเป็นไปโดยชอบหรือเป็นเพียงข้อสงสัยว่ามิชอบแต่ไม่มีเหตุอันสมควรจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือเฉพาะกรรมการชุมชนที่ถูกคัดค้านให้มีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเสีย คำสั่งที่ผู้อำนวยการเขตได้วินิจฉัยใน (๑) หรือ (๒) ให้เป็นที่สุด คำสั่งของผู้อำนวยการเขตซึ่งเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของกรรมการชุมชนผู้ใดผู้หนึ่งสิ้นสุดลงย่อมไม่กระทบกระเทือนกิจการที่กรรมการชุมชนผู้นั้นได้กระทำไปในหน้าที่กรรมการชุมชนก่อนได้รับแจ้งคำสั่ง ข้อ ๖๐ ให้ผู้อำนวยการเขตประกาศผลการเลือกตั้งกรรมการชุมชน ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานเขตให้ทราบทั่วกัน หมวด ๕ การดำเนินงานของกรรมการชุมชน ข้อ ๖๑ ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการประชุมกรรมการชุมชนครั้งแรกภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาเลือกคณะกรรมการชุมชนตำแหน่งต่าง ๆ ตามข้อ ๑๔ โดยให้ผู้อำนวยการเขตทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ในการเลือกคณะกรรมการชุมชนตำแหน่งต่าง ๆ ตามวรรคหนึ่ง หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก ข้อ ๖๒ ให้สำนักงานเขตจัดส่งเอกสารให้กับสำนักพัฒนาสังคมดังนี้ (๑) สำเนาประกาศสำนักงานเขต เรื่อง แต่งตั้งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๘ หรือ กช. ๑๑) (๒) สำเนาประกาศสำนักงานเขต เรื่อง แต่งตั้งตำแหน่งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๒) (๓) แบบแสดงบัญชีรายชื่อชุมชนและกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๘) ข้อ ๖๓ ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำประกาศแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการชุมชน และลงนามในบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน ข้อ ๖๔ คณะกรรมการชุมชนมีหน้าที่ดังนี้ (๑) พัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนทั้งในด้ายกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม และระดมทรัพยากรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (๒) จัดประชุมในชุมชนหรือเวทีสาธารณะเพื่อพัฒนาชุมชนตาม (๑) (๓) ดูแลรักษาทรัพย์สินของชุมชนและสาธารณสมบัติในชุมชน (๔) ประสานงานและดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายองค์กร หน่วยงานราชการ องค์การและหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน (๕) เสริมสร้างความสามัคคีและการมีวินัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชน (๖) ส่งเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอันดีงาม (๗) ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๘) เผยแพร่ผลงาน ติดตามประเมินผลและรายงานต่อสมาชิกชุมชน เช่น การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ทางเครื่องขยายเสียง (๙) ประสานงานแจ้งการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนต่อผู้อำนวยการเขต (๑๐) มีอำนาจแต่งตั้งผู้มีความรู้ความเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาหรือคณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ ข้อ ๖๕ ผู้ได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๖๔ (๑๐) ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะกรรมการชุมชนเกินกึ่งหนึ่งเห็นชอบให้พ้นจากตำแหน่ง (๔) กรรมการชุมชนซึ่งเป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง ข้อ ๖๖ ประธานกรรมการชุมชนมีหน้าที่ดังนี้ (๑) เรียกประชุมคณะกรรมการชุมชน (๒) ควบคุมดูแลการติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน (๓) เป็นตัวแทนของคณะกรรมการชุมชนในการติดต่อประสานกับหน่วยงานราชการ องค์กรและหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ (๔) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือคณะกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ ๖๗ รองประธานกรรมการชุมชนมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการชุมชน ในกรณีที่ประธานกรรมการชุมชนไม่อยู่ หรืออยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (๒) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ ๖๘ เลขานุการมีหน้าที่ดังนี้ (๑) เตรียมการนัดประชุมและจัดระเบียบวาระการประชุม (๒) จัดทำรายงานการประชุม (๓) จัดเก็บและดูแลรักษาเอกสารของคณะกรรมการชุมชน (๔) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ ๖๙ เหรัญญิกมีหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย และรายงานต่อคณะกรรมการชุมชนทุกเดือน พร้อมติดประกาศให้ประชาชนในชุมชนทราบ (๒) รับผิดชอบเก็บรักษาเงินสดไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หากเกินกว่าจำนวนนี้ให้นำฝากธนาคารภายในเจ็ดวัน ในนามของชุมชน (๓) ฝากและถอนเงิน สำหรับกรณีการถอนเงินให้ลงนามร่วมกับกรรมการชุมชนอีกสองคนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการชุมชน (๔) จ่ายเงินตามที่คณะกรรมการชุมชนมีมติอนุมัติ เว้นแต่กรณีฉุกเฉินให้ประธานกรรมการชุมชนมีอำนาจสั่งจ่ายได้ครั้งละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท แล้วให้รายงานต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป (๕) จัดทำทะเบียนทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแลหรือครอบครองของคณะกรรมการชุมชนและรายงานให้สำนักงานเขตทราบปีละหนึ่งครั้ง (๖) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ ๗๐ นายทะเบียนมีหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำแผนที่และแผนผังชุมชนให้เป็นปัจจุบัน (๒) สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลประชากรในชุมชนให้เป็นปัจจุบันและรายงานให้สำนักงานเขตทราบปีละหนึ่งครั้ง (๓) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ ๗๑ ประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ (๒) ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (๓) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ ๗๒ ให้มีการประชุมคณะกรรมการชุมชนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และจัดส่งรายงานการประชุมให้สำนักงานเขตทราบ ในกรณีที่กรรมการชุมชนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม หรือผู้อำนวยการเขตเห็นสมควรให้มีการประชุมคณะกรรมการชุมชนเป็นกรณีพิเศษให้ประธานกรรมการชุมชนเรียกประชุมภายในเจ็ดวัน ข้อ ๗๓ การนัดประชุมต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน พร้อมทั้งวาระการประชุม เว้นแต่ได้นัดในที่ประชุมแล้วหรือเป็นกรณีเร่งด่วน ข้อ ๗๔ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับ ดังต่อไปนี้ (๑) เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (๒) เรื่องรับรองรายงานการประชุม (๓) เรื่องเพื่อทราบ (๔) เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว (๕) เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา (๖) เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ข้อ ๗๕ การประชุมคณะกรรมการชุมชนต้องมีกรรมการชุมชนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการชุมชน จึงจะเป็นองค์ประชุม การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งกรรมการชุมชนให้เป็นไปตามมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการชุมชน โดยองค์ประชุมต้องมีกรรมการชุมชนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของกรรมการชุมชนที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗๖ มติที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด และให้ถือมตินั้นเป็นที่สุด ข้อ ๗๗ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุมชนและคณะทำงานมีสิทธิเข้าร่วมประชุม และมีสิทธิขออภิปรายแสดงข้อคิดเห็นใด ๆ ก็ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ ข้อ ๗๘ เมื่อคณะกรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๒๐ (๑) (๕) หรือ (๗) คณะกรรมการชุมชนจะต้องส่งมอบงานและทรัพย์สินในความครอบครองของคณะกรรมการชุมชนให้แก่ผู้อำนวยการเขตภายในสิบห้าวัน นับแต่คณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ได้รับเลือกตั้งเพื่อให้ผู้อำนวยการเขตมอบให้คณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ต่อไป หมวด ๖ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๗๙ แบบพิมพ์และทะเบียนต่าง ๆ ให้ใช้แบบพิมพ์ตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๘๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป บทเฉพาะกาล ข้อ ๘๑ ชุมชนซึ่งได้รับการจัดตั้งก่อนใช้ระเบียบนี้ ให้มีฐานะเป็นชุมชนตามระเบียบนี้ ข้อ ๘๒ กรรมการชุมชนซึ่งได้รับเลือกตั้งก่อนใช้ระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนครบวาระตามระเบียบเดิม ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบพิมพ์และทะเบียนต่าง ๆ สำหรับการจัดตั้งชุมชนและการเลือกตั้งกรรมการชุมชน ๒. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดชุมชนเป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แบบ กช. ๑) ๓. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๒) ๔. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง ระยะเวลารับสมัคร และสถานที่เลือกตั้ง (กรณีการจัดตั้งชุมชนใหม่) (แบบ กช. ๓) ๕. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง ระยะเวลารับสมัคร และสถานที่เลือกตั้ง (กรณีกรรมการชุมชนหมดวาระ) (แบบ กช. ๔) ๖. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง การขยายระยะเวลารับสมัคร และเลื่อนกำหนดวันเลือกตั้ง (แบบ กช. ๕) ๗. ใบสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๖) ๘. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๗) ๙. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง แต่งตั้งกรรมการชุมชน (กรณีไม่มีการเลือกตั้ง) (แบบ กช. ๘) ๑๐. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๙) ๑๑. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง ผลการเลือกตั้งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๐) ๑๒. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง แต่งตั้งกรรมการชุมชน (กรณีมีการเลือกตั้ง) (แบบ กช. ๑๑) ๑๓. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง แต่งตั้งตำแหน่งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๒) ๑๔. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง ยกเลิกและแต่งตั้งตำแหน่งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๓) ๑๕. ใบขอมีบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๔) ๑๖. บัตรประจำตัวกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๕) ๑๗. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง การลาออกของกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๖) ๑๘. ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง ถอดถอนกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๗) ๑๙. แบบแสดงบัญชีรายชื่อชุมชนและกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๘) ๒๐. บัตรเลือกตั้งกรรมการชุมชน (แบบ กช. ๑๙) ๒๑. ทะเบียนสังหาริมทรัพย์ (แบบ กช. ๒๐) ๒๒. ทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ (แบบ กช. ๒๑) ๒๓. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยกเลิกชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (กรณีมีประกาศชุมชน ๑ ชุมชน) (แบบ กช. ๒๒) ๒๔. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดชุมชนเป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (กรณีมีประกาศชุมชนหลายชุมชน) (แบบ กช. ๒๓) ๒๕. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงขอบเขตของชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แบบ กช. ๒๔) ๒๖. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยกเลิกชุมชนและกำหนดชุมชนใหม่เป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (กรณีการแบ่งแยกชุมชน) (แบบ กช. ๒๕) ๒๗. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนชื่อชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (กรณีเปลี่ยนชื่อชุมชน) (แบบ กช. ๒๖) ๒๘. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รวมชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (กรณีมีการรวมชุมชน) (แบบ กช. ๒๗) ๒๙. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทชุมชนเป็นชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ (แบบ กช. ๒๘) ๓๐. แบบสรุปข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน (กรณีการจัดตั้งชุมชนใหม่) (แบบ กช. ๒๙) ๓๑. แบบสรุปข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน (กรณีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตชุมชน) (แบบ กช. ๓๐) ๓๒. แบบสรุปข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน (กรณีการแบ่งแยกชุมชน) (แบบ กช. ๓๑) ๓๓. แบบสรุปข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน (กรณีการรวมชุมชน) (แบบ กช. ๓๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ อุษมล/ผู้ตรวจ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๑/๑๑ มกราคม ๒๕๕๖
679434
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โชติกานต์/ผู้จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ ชาญ/ผู้ตรวจ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑ ง/หน้า ๑๔/๔ มกราคม ๒๕๕๖
677816
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้ การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้ การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่กรุงเทพมหานครเห็นว่า ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี และงานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นประกอบกับได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และตั้งอยู่ใกล้สถานที่สำคัญของชาติ คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง และศาลหลักเมือง จึงสมควรต้องมีระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้ การบำรุงและการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวงไว้เป็นการเฉพาะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ และมาตรา ๘๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้ การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “พื้นที่ท้องสนามหลวง” หมายความว่า พื้นที่ท้องสนามหลวงทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยบริเวณที่เป็นพื้นที่แข็งและบริเวณที่เป็นสนามหญ้า “พื้นที่แข็ง” หมายความว่า พื้นคอนกรีต พื้นกระเบื้องทางเท้า และพื้นที่ประเภทอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ในพื้นที่ท้องสนามหลวง “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ “งานพระราชพิธี” หมายความว่า งานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดไว้เป็นประจำตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี และก่อนถึงงานพระราชพิธีจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีหมายกำหนดการพระราชพิธีนั้น “งานรัฐพิธี” หมายความว่า งานที่รัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาให้ทรงรับไว้เป็นงานรัฐพิธี มีหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้แทนพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน “งาน” หมายความถึงงานหรือกิจกรรมที่กำหนดตามข้อ ๗ “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตพระนคร สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักการโยธาตามที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมาย และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งให้รับผิดชอบดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง “ผู้รับผิดชอบจัดงาน” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบจัดงานตามข้อ ๗.๑ และข้อ ๗.๒ และผู้ได้รับอนุญาตให้จัดงานตามข้อ ๗.๓ และข้อ ๗.๔ ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ โดยให้มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการและออกคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ การใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง ข้อ ๖ พื้นที่ท้องสนามหลวง เปิดให้ประชาชนทั่วไปใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และการออกกำลังกาย ตามวันเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกรุงเทพมหานครประกาศกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรุงเทพมหานครอาจประกาศกำหนดเงื่อนไขการใช้พื้นที่ซึ่งอาจรวมถึงการห้ามเล่นกีฬาบางชนิดหรือบางประเภท การห้ามนำสัตว์หรือสิ่งของบางชนิดหรือบางประเภทเข้ามาในพื้นที่สนามหลวง และการไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่นเกินสมควรตามวิสัยและพฤติการณ์ ข้อ ๗ ให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดงาน ดังต่อไปนี้ ๗.๑ งานพระราชพิธี ๗.๒ งานรัฐพิธี ๗.๓ งานประเพณีสำคัญของชาติโดยหน่วยงานของรัฐ ๗.๔ การจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี ข้อ ๘ การจัดงานตามข้อ ๗ ผู้รับผิดชอบจัดงานต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ ๘.๑ จัดงานในพื้นที่ที่กำหนด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับกรุงเทพมหานครหรือตามที่ได้รับอนุญาต แล้วแต่กรณี ๘.๒ ควบคุมและดูแลบริเวณงานให้มีความสะอาดอยู่เสมอ ไม่มีการทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ไม่มีการเล่นการพนันหรือกระทำการขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือวัฒนธรรมประเพณีไทย ๘.๓ ควบคุมดูแลมิให้มีการแสดงกิจกรรมหรือข้อความหรือการกระทำด้วยประการใดที่ไม่เหมาะสม ขัดกฎหมาย หรือในลักษณะเป็นการดูหมิ่นชาติ ศาสนาหรือสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยหรือของประเทศอื่น รวมทั้งต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีและประเพณีไทย ๘.๔ ไม่จัดงานหรือกิจกรรมที่มีผลประโยชน์ทางการค้า ธุรกิจ หรือการพาณิชย์ รวมทั้งไม่มีการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ เว้นแต่การโฆษณาของผู้สนับสนุนหลักต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการเขตพระนครก่อนดำเนินการ ๘.๕ ห้ามผู้รับผิดชอบจัดงานอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้พื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนในงานโดยมีค่าตอบแทน ๘.๖ ต้องไม่มีการขูด การขุด การขีดเขียน การพ่นสีหรือทำให้ปรากฏด้วยข้อความหรือภาพหรือสัญลักษณ์หรือก่อให้เกิดความเสียหายใด แก่ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างของกรุงเทพมหานครหรือของราชการในบริเวณพื้นที่ท้องสนามหลวง เว้นแต่กรณีการจัดงานตามข้อ ๗.๑ และข้อ ๗.๒ ที่ผู้รับผิดชอบจัดงานตกลงไว้กับกรุงเทพมหานครก่อนดำเนินการ ๘.๗ ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าด้วยประการใด และไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ๘.๘ ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการเข้าไปตรวจสอบพื้นที่บริเวณที่จัดงานตลอดเวลา ทั้งก่อนการจัดงาน ระหว่างการจัดงาน หลังการจัดงาน และในเวลาการดำเนินการปรับปรุงสภาพพื้นที่หลังจัดงาน โดยผู้รับผิดชอบจัดงานต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด ๘.๙ ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ท้องสนามหลวงหรือสิ่งปลูกสร้างหรืออุปกรณ์ของกรุงเทพมหานครหรือของราชการ ผู้รับผิดชอบจัดงานต้องดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงทรัพย์สินที่เสียหายนั้นทันที ๘.๑๐ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามระเบียบนี้ รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นตามที่กรุงเทพมหานครหรือผู้อำนวยการเขตพระนครกำหนดเพิ่มเติม หมวด ๒ การอนุญาตและการวางหลักประกัน ข้อ ๙ การขออนุญาตใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงตามข้อ ๗.๓ และข้อ ๗.๔ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้ ๙.๑ ผู้ขออนุญาตต้องยื่นคำขอต่อสำนักงานเขตพระนครล่วงหน้าก่อนวันจัดงานไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยแนบแผนผังและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานตามที่สำนักงานเขตพระนครกำหนด ๙.๒ ให้ผู้อำนวยการเขตพระนครเป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง ได้ไม่เกิน ๕ วัน กรณีการขออนุญาตจัดงานเกินกว่า ๕ วัน ให้ผู้อำนวยการเขตพระนครเสนอขอความเห็นจากปลัดกรุงเทพมหานครก่อน แล้วจึงพิจารณาอนุญาต กรณีการขออนุญาตดังกล่าว มีการขอใช้พื้นที่สนามหญ้าด้วย ให้ผู้อำนวยการเขตพระนครขอความเห็นชอบจากสำนักสิ่งแวดล้อมก่อนการพิจารณาอนุญาต โดยจะมีการอนุญาตให้ใช้บริเวณที่เป็นพื้นที่สนามหญ้าได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ๙.๓ ให้ผู้อำนวยการเขตพระนครกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นใดในการอนุญาตเพิ่มเติมจากข้อ ๘ ได้ ๙.๔ กรุงเทพมหานครอาจยกเลิกการอนุญาตได้ เมื่อพบหรือเห็นว่า มีการกระทำผิดระเบียบนี้หรือผิดไปจากเงื่อนไขในการอนุญาต หรือผู้ขออนุญาตไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงโดยครบถ้วนในการขออนุญาต หรือเมื่อเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการใดแล้วผู้รับผิดชอบจัดงานไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นของราชการอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยให้ผู้อำนวยการเขตพระนครเป็นผู้ออกคำสั่งยกเลิกการอนุญาต ๙.๕ ผู้ได้รับอนุญาตรายใดที่เคยได้รับอนุญาตให้จัดงานตามข้อ ๗ แล้ว และค้างชำระค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายให้กรุงเทพมหานคร จะไม่ได้รับอนุญาตให้จัดงานในพื้นที่ท้องสนามหลวงอีกจนกว่าจะได้ชำระค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระนั้นแล้ว ข้อ ๑๐ ผู้ขออนุญาตตามข้อ ๗.๓ และข้อ ๗.๔ ต้องวางหลักประกันเพื่อชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันอาจเกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง ดังนี้ ๑๐.๑ กรณีการขออนุญาตใช้บริเวณที่เป็นพื้นที่แข็ง ต้องวางหลักประกันจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ๑๐.๒ กรณีการขออนุญาตใช้บริเวณที่เป็นพื้นที่แข็งและบริเวณที่เป็นพื้นที่สนามหญ้าด้วยต้องวางหลักประกันจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) หลักประกันดังกล่าวอาจใช้เงินสด หรือเช็คเงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามแบบที่ผู้อำนวยการเขตพระนครกำหนด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยผู้ขออนุญาตต้องนำหลักประกันวางไว้ให้สำนักงานเขตพระนครก่อนการจัดงานไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และจะเข้าพื้นที่ได้หลังจากมีการวางหลักประกันแล้วเท่านั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่การอนุญาตสิ้นสุดลง ไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับผิดชอบจัดงานต้องจัดเก็บและขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ออกจากพื้นที่ท้องสนามหลวง และทำความสะอาด รวมทั้งดำเนินการให้พื้นที่ท้องสนามหลวงหรือสิ่งปลูกสร้างหรืออุปกรณ์ของกรุงเทพมหานครหรือราชการกลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนการจัดงาน ภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขการอนุญาต แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๗ วัน นับแต่วันสิ้นสุดการอนุญาต โดยการดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับผิดชอบจัดงานทำความสะอาดพื้นที่ท้องสนามหลวงไม่เรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้ดำเนินการให้ ผู้รับผิดชอบจัดงานต้องรับผิดชอบออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบของราชการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นและผู้รับผิดชอบจัดงานไม่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงทรัพย์สินที่เสียหายหรือพื้นที่ท้องสนามหลวงให้ดีดังเดิมในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือผู้รับผิดชอบจัดงานไม่ยินยอมชำระค่าใช้จ่ายที่เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครต้องเป็นผู้ดำเนินการเองด้วยประการใดหรือมีค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ผู้รับผิดชอบจัดงานค้างชำระต่อกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขตพระนครได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ดำเนินการหรือให้ชำระแล้ว แต่ผู้รับผิดชอบจัดงานไม่ดำเนินการในกำหนดให้ผู้อำนวยการเขตพระนครนำหลักประกันที่ผู้รับผิดชอบจัดงานวางไว้ตามข้อ ๑๐ มาชำระเป็นค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระดังกล่าวโดยทันที และหากหลักประกันที่วางไว้ไม่เพียงพอผู้รับผิดชอบจัดงานต้องรับผิดชอบชดใช้จนครบ หมวด ๓ การบำรุงและการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง ข้อ ๑๒ ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจตราดูแลพื้นที่ท้องสนามหลวงโดยสม่ำเสมอ โดยให้สำนักงานเขตพระนครเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ หากพบเห็นการกระทำใดฝ่าฝืนกฎหมายและหรือฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้ตักเตือนผู้นั้นและดำเนินการที่จำเป็นเพื่อไม่ให้มีการกระทำดังกล่าว ให้สำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักการโยธาให้ความร่วมมือในการดำเนินการปรับปรุงและการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวงในส่วนที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ รวมทั้งการตรวจสอบสภาพและการประเมินความเสียหายของพื้นที่ท้องสนามหลวง สิ่งปลูกสร้าง และอุปกรณ์ของกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่มีการใช้งานตามข้อ ๗ ข้อ ๑๓ กรณีที่จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมาย ให้สำนักงานเขตพระนครเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ โดยให้หน่วยงานและส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ให้ความร่วมมือในการดำเนินการกับสำนักงานเขตพระนคร หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๔ กรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้สำนักงานเขตพระนคร สำนักสิ่งแวดล้อม และสำนักการโยธาร่วมกันพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง/หน้า ๔/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
678716
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ในชุมชนหนึ่งให้มีอาสาสมัครพัฒนาชุมชน กิจกรรมหรือโครงการละไม่เกิน ๑๒ คน โดยคำนวณจากประชากร ๕๐ หลัง ที่มีทะเบียนบ้านในชุมชนต่ออาสาสมัครพัฒนาชุมชน ๑ คน เศษของ ๕๐ ถ้าเกิน ๒๕ ให้เพิ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชนได้อีก ๑ คน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน ท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้บัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๑/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
667005
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินรายรับ” หมายความว่า เงินรายรับตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ “สถานบริการสาธารณสุข” หมายความว่า ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่เป็นสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ “เงินบำรุง” หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานบริการสาธารณสุข (๒) เงินที่มีผู้บริจาค หรืออุทิศให้ โดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ (๓) เงินที่สถานบริการสาธารณสุขได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (๔) เงินรายรับประเภทเงินรายได้จากทรัพย์สิน (๕) ดอกผลจากเงินบำรุง (๖) เงินที่สำนักอนามัยได้มาจาก (ก) เงินบำรุงตาม (๑) ถึง (๕) ที่สถานบริการสาธารณสุขส่งสมทบไว้ที่สำนักอนามัย (ข) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (ค) ดอกผลของเงินตาม (ก) และ (ข) (๗) เงินบำรุงที่มีอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ เงินบำรุง ให้สถานบริการสาธารณสุขและสำนักอนามัยใช้จ่ายได้ดังนี้ (๑) กิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสถานบริการสาธารณสุข หรือสำนักอนามัย และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงินงบประมาณได้แต่เงินงบประมาณไม่มี หรือมีไม่เพียงพอ หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินจากเงินงบประมาณได้ทัน หรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น (๒) กิจการอื่นที่จำเป็นในการบริการหรือสนับสนุนการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ข้อ ๖ รายจ่ายดังต่อไปนี้ ห้ามจ่ายจากเงินบำรุง (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของสถานบริการสาธารณสุขหรือส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่น ๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ยกเว้นรถบริการทางการแพทย์ ข้อ ๗ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินบำรุงไว้ดังนี้ (๑) สถานบริการสาธารณสุข ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) สำนักงานเลขานุการ สำนักอนามัย ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินบำรุงส่วนที่เกินให้นำฝากธนาคารที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานคร ใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้สถานบริการสาธารณสุขหรือส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ที่มีการรับจ่ายเงินตามระเบียบนี้ ทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็นและบรรดาเอกสาร หลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุงจะต้องเก็บรวบรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะทำการตรวจสอบได้ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๙ ทุกวันสิ้นเดือนให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง นำเงินบำรุงส่งสมทบไว้ที่สำนักอนามัย ร้อยละห้าสิบของรายรับประจำเดือนนั้น ๆ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๑๘/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
677376
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ ข้อ ๘ และข้อ ๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน ข ประเภทสิ่งของ ของข้อ ๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข. ประเภทสิ่งของ ๑. วัสดุสมทบสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยซึ่งผู้ประสบสาธารณภัยเป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองในกรณีที่เจ้าของยินยอมหรือกรณีที่ไม่สามารถจ่ายให้แก่เจ้าของได้ โดยจะให้ความช่วยเหลือดังนี้ ๑.๑ บ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายบางส่วนเท่าที่เสียหายจริง มูลค่าหลังละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ๑.๒ บ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายทั้งหลังเท่าที่เสียหายจริง มูลค่าหลังละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๒. วัสดุสมทบสร้างหรือซ่อมแซมสำนักสงฆ์ วัด มัสยิด โบสถ์หรือศาสนสถาน ที่ได้รับความเสียหายไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหลัง เท่าที่เสียหายจริง มูลค่าหลังละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๓. เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค เครื่องครัว เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว ๓.๑ เครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องกระป๋อง มูลค่ารวมคนละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ๓.๒ ยารักษาโรค มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๒๐๐ บาท ๓.๓ เครื่องครัว และอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๓,๕๐๐ บาท ๓.๔ เครื่องมือประกอบอาชีพ มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ในกรณีที่ไม่ได้รับเงินทุนประกอบอาชีพ ๓.๕ เครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว (๑) เครื่องนุ่งห่ม คนละไม่เกิน ๒ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท (๒) เครื่องนอน คนละ ๑ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๕๐๐ บาท (๓) สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ถังน้ำ เป็นต้น มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๓๐๐ บาท ๔. เครื่องแบบนักเรียน หนังสือและอุปกรณ์การเรียน ๔.๑ เครื่องแบบนักเรียนคนละ ๒ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๔.๒ หนังสือและอุปกรณ์การเรียนคนละ ๑ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท การให้ความช่วยเหลือตามข้อนี้ กรุงเทพมหานครอาจให้ความช่วยเหลือเป็นประเภทการเงินเท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดด้วยก็ได้” ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๔ ง/หน้า ๑/๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
674847
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงาน เพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ) ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้อำนวยการสำนัก ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกอง และหัวหน้าหน่วยงาน หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างรายเดือน รายวัน และรายชั่วโมงที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะประจำ โดยไม่มีกำหนดเวลาการจ้างตามอัตราและจำนวนที่กำหนดไว้ และรับเงินค่าจ้างจากงบประมาณหมวดค่าจ้างประจำของกรุงเทพมหานครหรือเงินอุดหนุนของรัฐบาล “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ ข้าราชการและลูกจ้างประจำซึ่งยังรับราชการอยู่ในวันที่ ๓๐ กันยายนของแต่ละปีให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบนี้ ยกเว้นกรณีข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ผู้ใดลาออก ตาย หรือโอนไปรับราชการในส่วนราชการอื่น โดยมีระยะเวลาในการปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่าหกเดือน ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง หรือเคยเป็นลูกจ้างประจำมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการไม่ถึงหกเดือน ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามอัตราส่วนของระยะเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริงในขณะเป็นลูกจ้างประจำ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๑/๕ ตุลาคม ๒๕๕๕
678714
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในลำดับที่ ๑๐ ของบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ท้ายระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่ายท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๒๐/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
667007
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ “สถานพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดสำนักการแพทย์หรือสำนักอนามัย “สำนัก” หมายความว่า สำนักการแพทย์ หรือสำนักอนามัย “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในการรับบริการสาธารณสุขแต่ละครั้ง “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดและสถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงสถานบริการหรือหน่วยบริการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนดหรือเห็นชอบด้วย “บุคลากร” หมายความว่า ผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับสถานพยาบาล “ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของสถานพยาบาล และหน่วยบริการ ได้แก่ (๑) ค่าเสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค (๒) ค่าตรวจวินิจฉัยโรค (๓) ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ (๔) ค่าบำบัดและบริการทางการแพทย์ (๕) ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอวัยวะเทียม และค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ (๖) ค่าทำคลอด (๗) ค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล (๘) ค่าบริบาลทารกแรกเกิด (๙) ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย (๑๐) ค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ (๑๑) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ (๑๒) ค่าตอบแทนสำหรับบุคลากร (๑๓) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสถานพยาบาลและการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการ (๑๔) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมที่จำเป็นในการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (๑๕) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่สถานพยาบาลหรือสำนักเห็นสมควร (๑๖) ค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ ๕ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสำนัก ประกอบด้วย (๑) เงินสมทบที่สถานพยาบาลหักเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาลจำนวนหนึ่งส่งสมทบเป็นเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสำนักตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) เงินที่ได้รับจากการจัดสรรของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (๓) เงินรายรับที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้เป็นค่าบริการสาธารณสุข (๔) ดอกผลหรือประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนนี้ (๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้กองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน (๗) เงินสมทบอื่น ๆ ข้อ ๖ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาล ประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจากการจัดสรรของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (๒) เงินรายรับที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในการรับบริการสาธารณสุขแต่ละครั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๓) เงินรายรับที่หน่วยบริการอื่นจ่ายให้เป็นค่าบริการสาธารณสุข (๔) เงินรายรับที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้เป็นค่าบริการสาธารณสุข (๕) เงินที่สถานพยาบาลได้รับจากการดำเนินการให้บริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๖) ดอกผลหรือประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนนี้ (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้กองทุน (๘) เงินหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน (๙) เงินสมทบอื่น ๆ ข้อ ๗ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาล (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของสถานพยาบาลหรือสำนัก (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่น ๆ ข้อ ๘ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาลหรือสำนักไว้ดังนี้ (๑) สถานพยาบาลให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) หน่วยการคลังของสำนักให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาลหรือสำนักที่เกิน ให้นำฝากธนาคารตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับ ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ประกอบด้วย (๑) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งราชการ กรรมการที่ปรึกษา สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย (๒) รองปลัดกรุงเทพมหานครสั่งราชการ ประธานกรรมการ สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย (๓) ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รองประธานกรรมการ (๔) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย รองประธานกรรมการ (๕) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ (๗) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (๘) ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กรรมการ (๙) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ๑ คน กรรมการ (๑๐) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์หรือ กรรมการ การเงินการคลัง ๑ คน (๑๑) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข ๑ คน กรรมการ (๑๒) รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยที่รับผิดชอบงาน กรรมการ หลักประกันสุขภาพ (๑๓) รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ที่รับผิดชอบงาน กรรมการและเลขานุการ หลักประกันสุขภาพ (๑๔) เลขานุการสำนักการแพทย์ กรรมการและผู้ช่วย เลขานุการ (๑๕) เลขานุการสำนักอนามัย กรรมการและผู้ช่วย เลขานุการ ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดแนวทางและนโยบายการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และแผนงานด้านหลักประกันสุขภาพของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับแผนสาธารณสุขแห่งชาติ และของกรุงเทพมหานคร (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (๓) กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราในการจ่ายเงินสมทบเป็นเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสำนัก (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร (๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาลเสนอ (๖) กำหนดหรือพิจารณาให้ความเห็นชอบการเป็นหน่วยบริการตามระเบียบนี้ (๗) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ตามที่สำนักและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาลเสนอ (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๙) กำหนดกรอบ แนวทางการบริหารจัดการในภารกิจหลักของงานหลักประกันสุขภาพที่อยู่นอกเหนือหน้าที่ของสถานพยาบาล (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามข้อ ๙ ให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่งแล้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นควรให้พ้นจากตำแหน่ง ข้อ ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง (๔) เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับในด้านการบริหาร ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินการคลัง หรือด้านการแพทย์และสาธารณสุข (๕) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการบริหารระดับสูงขึ้นไปหรือเทียบเท่า หรือเป็นพนักงานจากสถาบันการศึกษาหรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของสังคม ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งดังนี้ (๑) คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล สำนักการแพทย์ ประกอบด้วย (๑.๑) ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์หรือ กรรมการที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ที่ได้รับมอบหมาย (๑.๒) ผู้อำนวยการสถานพยาบาล ประธานกรรมการ (๑.๓) รองผู้อำนวยการหรือ กรรมการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานพยาบาล (๑.๔) หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน กรรมการ หัวหน้าภาควิชาหรือผู้แทน ที่ผู้อำนวยการสถานพยาบาล คัดเลือกจำนวนไม่เกิน ๗ คน (๑.๕) หัวหน้าศูนย์ประกันสุขภาพสถานพยาบาล กรรมการและเลขานุการ (๑.๖) หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ การเงิน และบัญชี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ กรณีที่สถานพยาบาลไม่มีฝ่ายงบประมาณ การเงิน และบัญชี ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (๒) คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล สำนักอนามัย ประกอบด้วย (๒.๑) ผู้อำนวยการสำนักอนามัยหรือ กรรมการที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ที่ได้รับมอบหมาย (๒.๒) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ประธานกรรมการ (๒.๓) ทันตแพทย์หัวหน้าคลินิกทันตกรรม กรรมการ (๒.๔) เภสัชกร กรรมการ (๒.๕) นักสังคมสงเคราะห์ กรรมการ (๒.๖) พยาบาลวิชาชีพผู้ทำหน้าที่หัวหน้าพยาบาล กรรมการและเลขานุการ (๒.๗) ข้าราชการด้านการเงินและบัญชีผู้ซึ่ง กรรมการและ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุขมอบหมาย ผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำแผนงาน แผนดำเนินการงานหลักประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับแนวทางนโยบายที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรภายใต้กรอบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๓) กำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครมอบหมาย (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๓ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๔ ให้สถานพยาบาลและสำนักงานเลขานุการสำนักที่มีการจ่ายเงินตามระเบียบนี้จัดทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ จะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้และให้รายงานการรับ การจ่ายและยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๒๐/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
678712
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๒ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๓ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๘ (๕) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๖) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๗) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๘) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๙) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศและคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนักงาน เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง” หมายความว่า กองการเงิน กองตรวจจ่าย สำนักการคลัง กองคลังสำนักการศึกษา ฝ่ายการคลังหรือกลุ่มงานการคลัง หรือฝ่ายหรือกลุ่มงานที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าฝ่ายงบประมาณการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ด้วย “หัวหน้าหน่วยการคลัง” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก หัวหน้าฝ่ายการคลังกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครvหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง กองบริหารทั่วไปสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้ากลุ่มงาน ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานการคลัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจสอบก่อนและหลังการจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินด้วย “เจ้าของงบประมาณ” หมายความว่า หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายไม่ว่าจะเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับหน่วยงานนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในงบกลางและให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ทำการเบิกและจ่ายเงินแทนเจ้าของงบประมาณด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานคร “อนุมัติฎีกา” หมายความว่า อนุญาตให้จ่ายเงินจากหน่วยการคลัง “หลักฐานการจ่าย” หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ หรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันถูกต้องแล้ว และให้รวมตลอดถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลังด้วย “ใบสำคัญคู่จ่าย” หมายความว่า หลักฐานการจ่ายเงินที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองการจ่ายเงินหลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร ทั้งนี้ รวมถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลัง “เงินยืม” หมายความว่า เงินที่หน่วยงานจ่ายให้แก่บุคคลใดยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร หรือปฏิบัติราชการอื่นใดในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย หรือเงินอื่นใดของกรุงเทพมหานคร “ระบบ” หมายความว่า ระบบการบริหารการเงินการคลังของกรุงเทพมหานครด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปฏิบัติผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือผ่านช่องทางอื่นที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดก่อนนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “งบเงินรายรับรายจ่าย” หมายความว่า งบรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณโดยแสดงรายรับจริงและรายจ่ายจริง “ข้อมูลหลักเจ้าหนี้” หมายความว่า ข้อมูลของหน่วยงานผู้เบิกหรือเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิรับเงินเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อและเลขที่บัญชีธนาคาร เลขที่สัญญา เงื่อนไขการชำระเงิน หรือข้อมูลอื่นใดที่จำเป็น แล้วแต่กรณี เพื่อใช้สำหรับการรับเงินขอเบิกจากหน่วยการคลัง ข้อ ๖ บรรดาแบบพิมพ์ แบบรายงานการเงิน เอกสาร สมุดบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงินและรายงานทางการเงิน ตลอดจนวิธีใช้ ให้เป็นไปตามที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๗ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือ หรือทำเป็นคำสั่งมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดการเสียหายขึ้นผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดตามกฎหมาย หมวด ๒ การใช้งานในระบบ ข้อ ๘ ให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายเป็นผู้มีสิทธิถือรหัสผู้ใช้งาน (user name) และรหัสผ่าน (password) เพื่อใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทั้งในด้านการเงิน การคลัง การวางฎีกา การลงบัญชีที่เชื่อมต่อโดยตรงกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ให้หัวหน้าหน่วยงานกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบหมายไว้ด้วย ข้อ ๙ ให้ผู้มีสิทธิตามข้อ ๘ เก็บรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน เป็นความลับ และมีสิทธิใช้รหัสเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย อาทิเช่น การเรียกดูข้อมูล บันทึก ปรับปรุง ประมวลผล หรือเรียกรายงานจากระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ข้อ ๑๐ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดแนวทางการควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อเป็นหลักในการเข้าใช้งานในระบบ ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดทำคำสั่งหรือมอบหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด ๓ การเบิกเงิน ข้อ ๑๑ การเบิกเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณหรือหน่วยงานผู้ทำการเบิกแทนหรือหน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณ หรือเงินอุดหนุนรัฐบาล จัดทำใบขอเบิกเงินในระบบพร้อมเอกสารประกอบการขอเบิก กรณีเบิกเงินจากกระทรวงการคลังให้กองตรวจจ่าย สำนักการคลัง ส่งข้อมูลคำขอเบิกเงินและข้อมูลหลักเจ้าหนี้ในระบบไปยังกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ข้อ ๑๒ เมื่อหน่วยการคลังได้รับใบขอเบิกเงินและตรวจสอบแล้วให้ดำเนินการจัดทำฎีกาเบิกเงินในระบบ ข้อ ๑๓ การเบิกเงินกับหน่วยการคลังใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เว้นแต่กรณีการเบิกเงินที่ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๑๔ หน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะมอบหมายให้หน่วยงานอื่นหรือส่วนราชการภายในหน่วยงานเดียวกันเป็นผู้ทำการเบิกแทนก็ได้ โดยแจ้งให้สำนักการคลังทราบก่อนทำการเบิกเงิน ข้อ ๑๕ การขอเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายปีใด ให้กระทำได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของปีนั้น หากได้มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีหรือการขยายเวลาเบิกเหลื่อมปี ให้ขอเบิกได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้ ข้อ ๑๖ การขอเบิกเงินทุกกรณีให้ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่ายและห้ามขอเบิกเงินจนกว่าหนี้จะถึงกำหนด หรือใกล้จะถึงกำหนดจ่ายเงิน โดยอยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานที่เบิกเงินส่งหลักฐานตามข้อ ๘๒ แก่หน่วยการคลัง เพื่อทำการตรวจสอบ ทุกสิ้นเดือนให้หน่วยการคลังจัดทำงบเดือนแสดงรายการจ่ายเงินจากระบบส่งให้หน่วยตรวจสอบภายในและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด สำหรับใบสำคัญพร้อมหลักฐานการส่งคืนเงินเหลือจ่าย ใบสำคัญคู่จ่ายและเอกสารอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้หรือหลักฐานการจ่ายให้เก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานนั้น จนกว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและหรือหน่วยตรวจสอบภายในจะตรวจสอบจนแล้วเสร็จ ข้อ ๑๘ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใด โดยปกติให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีนั้นในกรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณรายจ่ายของปีนั้นได้ทัน ให้เบิกข้ามปีจากเงินงบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณถัดไปได้ แต่ต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๑๙ ค่าใช้จ่ายที่เบิกในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้าง เงินค่าตอบแทนรายเดือน เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ เงินประจำตำแหน่ง เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เงินค่าสาธารณูปโภคหรือรายการอื่นที่สำนักการคลังกำหนด ในกรณีที่จำเป็นต้องค้างเบิกให้นำมาเบิกจากเงินงบประมาณของรายการนั้น ๆ หรือเงินอื่นที่ได้รับอนุมัติของปีงบประมาณต่อ ๆ ไปได้ ข้อ ๒๐ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ให้นำความในข้อ ๓๓ วรรคสอง มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๒๑ ค่าใช้จ่ายซึ่งมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายประจำ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามประเภทที่สำนักการคลังกำหนด ให้ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ และให้นำมาเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ ข้อ ๒๒ การซื้อพัสดุ การจ้างทำของ หรือการเช่า เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณทำใบขอเบิกโดยเร็ว อย่างช้าต้องไม่เกินเจ็ดวันทำการ นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลอันสมควรให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกชี้แจงประกอบไว้เป็นหลักฐานประกอบใบขอเบิกเงิน ข้อ ๒๓ การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านให้เบิกในลักษณะค่าตอบแทน โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้อ ๒๔ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร หากเป็นระยะเวลาติดต่อคาบเกี่ยวไปถึงปีงบประมาณใหม่ จะเบิกเงินล่วงหน้าจากปีงบประมาณปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับระยะเวลาในปีงบประมาณใหม่ได้ แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตามต้องไม่เกินหกเดือนของปีงบประมาณใหม่ และให้ถือเป็นใบสำคัญคู่จ่ายที่เบิกจากปีงบประมาณเก่าได้ ข้อ ๒๕ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ต้องจ่ายประจำเดือนให้หน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นในลักษณะเดียวกัน และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดเป็นอย่างอื่น การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนในกรณีบรรจุใหม่ กลับเข้ารับราชการใหม่ เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน พักราชการ ย้าย โอน ถูกลงโทษ พ้นจากราชการ หรือขอรับเงินเดือนทางหน่วยงานอื่นในสังกัดเดียวกัน หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกกรณี ให้มีสำเนาคำสั่งหรือเอกสารหลักฐานในกรณีนั้น ๆ ประกอบการขอเบิกด้วย ข้อ ๒๖ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ต้องจ่ายประจำเดือนให้หน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดเป็นอย่างอื่น ลูกจ้างรายเดือนให้จ่ายค่าจ้างในวันทำการก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือนสามวันทำการ ส่วนลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมง ให้จ่ายค่าจ้างในวันสิ้นเดือน ถ้าวันสิ้นเดือนตรงกับวันหยุดราชการก็ให้จ่ายได้ในวันทำการก่อนวันสิ้นเดือน การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างในกรณีบรรจุใหม่ เปลี่ยนอัตรา เพิ่มค่าจ้าง ย้าย ถูกลงโทษ เลิกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทุกกรณี ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๒๕ วรรคสอง ข้อ ๒๗ การเบิกเงินเดือน ค่าจ้าง หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ต้องจ่ายประจำเดือนให้หน่วยงานทำการขอเบิกภายในวันที่สิบห้าของเดือนนั้น สำหรับวันจ่ายให้เป็นไปตามที่ระเบียบนี้กำหนด เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๘ การจ่ายเงินตามข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖ ที่ต้องจ่ายประจำเดือน ยกเว้นค่าจ้างชั่วคราวค่าจ้างลูกจ้างรายวัน และค่าจ้างลูกจ้างรายชั่วโมง ให้หน่วยการคลังโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับแทนการจ่ายเงินสด โดยผู้รับไม่ต้องลงลายมือชื่อรับเงิน แต่ให้แนบหลักฐานการจ่ายเงินประกอบเป็นใบสำคัญคู่จ่ายให้ครบถ้วนตามฎีกาที่ขอเบิกเงิน ทั้งนี้ หน่วยงานต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบและป้องกันการทุจริตให้รัดกุมเพียงพอด้วย หมวด ๔ การจ่ายเงิน ข้อ ๒๙ เจ้าของงบประมาณจะก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงินได้แต่เฉพาะที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง อนุญาตให้จ่ายได้ การได้รับเงินจากหน่วยการคลังไปแล้วไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของเจ้าของงบประมาณที่จะต้องดูแลให้มีการจ่ายเงินตามหนี้ผูกพันให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง กรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจส่งเจ้าหน้าที่และหรือมอบพัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติราชการมาให้กรุงเทพมหานครปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจการใดตามที่กรุงเทพมหานครขอความร่วมมือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่พึงเกิดจากการนั้น เจ้าของงบประมาณอาจถือปฏิบัติตามระเบียบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นก็ได้ กรณีที่กรุงเทพมหานครขอความร่วมมือหรือมอบหมายภารกิจให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นใดดำเนินการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น และส่งหลักฐานรายการค่าใช้จ่าย และหรือหลักฐานการตรวจรับพัสดุให้แก่กรุงเทพมหานคร ข้อ ๓๐ กรณีข้าราชการ บุคลากรกรุงเทพมหานครของหน่วยงาน หรือผู้มีสิทธิซึ่งจ่ายเงินไปโดยได้รับใบเสร็จรับเงินอันมีรายการไม่ครบถ้วนหรือตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ ให้ผู้นั้นทำใบรับรองการจ่ายเงินเพื่อนำมาเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินเสนอขออนุมัติต่อหัวหน้าหน่วยงานและเมื่อมีการจ่ายเงินแล้ว ให้ทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงินนั้นเพื่อเป็นหลักฐานการจ่าย กรณีที่ได้รับใบเสร็จรับเงินแล้วแต่เกิดสูญหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินแทนได้ กรณีที่ไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตามวรรคสองได้ ให้ข้าราชการ บุคลากรกรุงเทพมหานครของหน่วยงาน หรือผู้มีสิทธิทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงเหตุผลพฤติการณ์ที่สูญหายหรือไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินได้ และรับรองว่ายังไม่เคยนำใบเสร็จรับเงินนั้นมาเบิกจ่ายแม้พบภายหลังจะไม่นำมาเบิกจ่ายอีก แล้วเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้ใช้ใบรับรองนั้นเป็นหลักฐานประกอบการขอเบิกเงินได้ และเมื่อมีการจ่ายเงินแล้วให้ทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงินนั้นเพื่อเป็นหลักฐานการจ่าย กรณีเอกสารอื่นประกอบการเบิกจ่ายเงินสูญหายให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติให้ใช้สำเนาเอกสารแทนได้ ข้อ ๓๑ กรณีหลักฐานการจ่ายของหน่วยงานสูญหายให้ถือปฏิบัติตามวิธีการที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๓๒ เงินที่ขอเบิกจากหน่วยการคลังเพื่อการใด เมื่อได้รับมาแล้วให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้น จะนำไปจ่ายเพื่อการอื่นมิได้ ข้อ ๓๓ การจ่ายเงินให้กระทำได้ภายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และภายในระยะเวลาของปีงบประมาณนั้น หากไม่สามารถจ่ายได้ทันให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอผ่อนผันได้ไม่เกินสิบห้าวัน เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การสั่งก่อหนี้และการอนุมัติจ่ายเงินทุกกรณีจะต้องได้รับเงินประจำงวดตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ในเรื่องการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง นอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษ เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีงบประมาณกำหนดรายการในหมวดเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ส่วนราชการ องค์กร หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ มิได้ดำเนินการเอง การจ่ายเงินให้เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจตามวรรคสองพิจารณา ข้อ ๓๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจอนุมัติให้หน่วยงานใดแยกไปทำการรับเงิน จ่ายเงิน และเก็บรักษาเงินได้ และให้หน่วยงานที่แยกไปนั้นดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิก - จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๓๕ การจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค ยกเว้น (๑) กรณีที่จ่ายจากเงินทดรองราชการ ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นเงินสดให้จ่ายเป็นเงินสด (๒) การจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าห้าพันบาทจะจ่ายเป็นเงินสดก็ได้ (๓) กรณีการจ่ายเงินจากบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใด ซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้หัวหน้าหน่วยการคลังอาจพิจารณาให้จ่ายเป็นเงินสดก็ได้ โดยสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับหรือส่งเงิน เว้นแต่การจ่ายเงินที่มิใช่เงินสวัสดิการ และวงเงินเกินห้าพันบาท ให้จ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค การจ่ายเงินผ่านธนาคารหรือด้วยวิธีอื่นใด ให้เป็นไปตามที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๓๖ การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ในกรณีซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ หรือเช่าทรัพย์สินให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน พร้อมระบุเลขที่บัญชีธนาคารที่ผู้นั้นแจ้งไว้ด้วยและขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก และขีดคร่อมทั่วไป โดยระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือว่า “A/C Payee Only” (๒) การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินนอกจากกรณีตาม (๑) ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน โดยขีดฆ่าคำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออกและจะขีดคร่อมหรือไม่ก็ได้ (๓) กรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินสดมาจ่าย ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับหรือส่งเงินของหน่วยงานและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก โดยห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้เขียนหรือพิมพ์ให้ชิดเส้นและชิดคำว่า “บาท” หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรมิให้มีช่องว่างที่จะเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินเพิ่มเติมได้ และให้ขีดเส้นตรงหลังชื่อผู้รับเงินจนชิดคำว่า “หรือผู้ถือ” โดยมิให้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลอื่นเพิ่มเติมได้ ห้ามลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คไว้ล่วงหน้า โดยยังมิได้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อผู้รับเงิน วันที่ที่ออกเช็ค และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย ข้อ ๓๗ การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ และในกรณีที่เป็นใบสำคัญคู่จ่ายให้ผู้จ่ายเงินประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” และลงลายมือชื่อ พร้อมวัน เดือน ปี กำกับไว้ด้วย ส่วนหลักฐานอื่นให้ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” โดยไม่ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ก็ได้ ข้อ ๓๘ หลักฐานการจ่ายต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึก การแก้ไขหลักฐานการจ่ายให้ใช้วิธีขีดฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่และให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง ให้หน่วยงานเก็บรักษาหลักฐานการจ่ายไว้ในที่ปลอดภัย มิให้สูญหายหรือเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วให้เก็บอย่างเอกสารธรรมดา ข้อ ๓๙ ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ซึ่งผู้รับเงินออกให้อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและสถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปี ที่รับเงิน (๓) ลายมือชื่อผู้รับเงิน (๔) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (๕) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษร ใบเสร็จรับเงินเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยได้ความตามรายการในวรรคหนึ่ง ข้อ ๔๐ ในการจ่ายเงินของหน่วยงานต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินทุกราย เช่น ต้องเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงิน เว้นแต่จะได้ลงชื่อรับเงินในทะเบียนจ่ายเงินเดือนหรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคารหรือเงินอื่นไว้อีกทางหนึ่งแล้ว (๒) ห้ามมิให้เรียกใบสำคัญคู่จ่ายจากเจ้าหนี้หรือผู้รับเงินก่อนการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับเงิน ข้อ ๔๑ การจัดจ้างทุกกรณี ยกเว้นการจ้างที่ปรึกษาหรือการจัดจ้างอื่นใดที่มีลักษณะของการคำนวณราคากลางตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างก่อสร้าง ต้องจัดทำประมาณการรายละเอียด ประกอบการเบิกจ่ายเงิน โดยเสนอหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาอนุมัติ การจัดทำประมาณการรายละเอียดให้แยกรายละเอียดเนื้องานให้ละเอียดมากที่สุด โดยแยกออกเป็นรายการ ๆ ไป ทั้งนี้ ให้แสดงราคาต่อหน่วยและจำนวนเงินรวมที่ประมาณว่าจะต้องจ่ายไว้ด้วยประมาณการรายละเอียดการจ้างต้องลงลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำกำกับไว้ ข้อ ๔๒ การจ่ายเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกรายการจ่ายเงินนั้นในระบบบัญชีของกรุงเทพมหานครในวันที่มีการจ่ายเงิน ข้อ ๔๓ การจ่ายเงินทุกกรณี ถ้าผู้จ่ายมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องหักภาษีใด ๆ ไว้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งส่วนราชการใด ให้ดำเนินการตามกฎหมายนั้น การจ่ายเงินในกรณีที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด หมวด ๕ การเบิกจ่ายเงินยืม ข้อ ๔๔ การอนุมัติให้ยืมเงินเพื่อใช้ในราชการ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็น และห้ามมิให้อนุมัติให้ยืมเงินรายใหม่หากผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน ข้อ ๔๕ การจ่ายเงินยืมใช้ในราชการจะจ่ายได้แต่เฉพาะที่ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้จ่ายเงินยืมตามสัญญาการยืมเงินแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ในการยืมเงินต้องไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อสัญญา ข้อ ๔๖ สัญญาการยืมเงินให้จัดทำขึ้นสองฉบับ เมื่อผู้ยืมได้รับเงินตามสัญญาการยืมเงินแล้วให้ลงลายมือชื่อรับเงินในสัญญาการยืมเงินทั้งสองฉบับ มอบให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับและผู้ยืมเก็บไว้หนึ่งฉบับ เมื่อผู้ยืมส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคืนเงินยืมบันทึกการรับคืนในสัญญาการยืมเงิน พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงินและหรือใบรับใบสำคัญให้ผู้ยืมเก็บไว้เป็นหลักฐาน ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาสัญญาการยืมเงินที่ยังมิได้ชำระคืนเงินยืมไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย และเมื่อผู้ยืมได้ชำระคืนเงินยืมเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้เก็บเช่นเดียวกับหลักฐานการจ่าย ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมจัดทำทะเบียนเงินยืมไว้ด้วย ข้อ ๔๗ การยืมเงินของผู้ยืมที่มิใช่ข้าราชการกรุงเทพมหานครต้องนำหลักทรัพย์มาวางเป็นประกันเงินยืมพร้อมทั้งทำสัญญาวางหลักทรัพย์หรือหาบุคคลทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ข้อ ๔๘ สัญญาการยืมเงิน สัญญาวางหลักทรัพย์ และสัญญาค้ำประกันให้เป็นไปตามแบบที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๔๙ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินยืม (๑) เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการเขต ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๕๐ การจ่ายเงินยืมเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร ให้จ่ายได้สำหรับระยะเวลาไม่เกินหกสิบวัน หากจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่ากำหนดเวลาดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕๑ ให้ผู้ยืมส่งหลักฐานการจ่ายและเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) กรณียืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการทั้งในและนอกราชอาณาจักร ให้ส่งคืนต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันกลับมาถึง (๒) กรณียืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติราชการอื่นใดในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร นอกจาก (๑) ให้ส่งคืนต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันที่ได้รับเงิน ในกรณีที่ผู้ยืมได้ส่งหลักฐานการจ่ายเพื่อส่งใช้คืนเงินยืมแล้วมีเหตุต้องทักท้วง ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมแจ้งข้อทักท้วงให้ผู้ยืมทราบโดยด่วน แล้วให้ผู้ยืมปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับคำทักท้วง หากผู้ยืมมิได้ดำเนินการตามคำทักท้วงและมิได้ชี้แจงเหตุผลให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมทราบ ก็ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงิน โดยถือว่าผู้ยืมยังมิได้ส่งใช้คืนเงินยืมเท่าจำนวนที่ทักท้วงนั้น ข้อ ๕๒ ในกรณีที่ผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเรียกชดใช้เงินยืมตามเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงินให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนด กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามวรรคหนึ่งได้ ให้หัวหน้าหน่วยการคลังรายงานตามสายการบังคับบัญชาถึงผู้อนุมัติเงินยืม เพื่อสั่งการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาการยืมเงินต่อไป หากจำเป็นก็ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ยืมนั้นภายในกำหนดอายุความ ข้อ ๕๓ กรณีที่จำเป็นต้องจ่ายเงินยืมเพื่อปฏิบัติราชการที่ติดต่อคาบเกี่ยวจากปีงบประมาณปัจจุบันไปจนถึงปีงบประมาณถัดไปให้เบิกเงินยืมงบประมาณในปีปัจจุบัน โดยให้ถือว่าเป็นรายจ่ายของงบประมาณปีปัจจุบันและให้ใช้จ่ายเงินยืมคาบเกี่ยวปีงบประมาณถัดไปได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ หมวด ๖ การรับเงิน ส่วนที่ ๑ ใบเสร็จรับเงิน ข้อ ๕๔ ใบเสร็จรับเงินให้ใช้ตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด และให้มีสำเนาติดไว้กับเล่มอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ใบเสร็จรับเงินที่ออกด้วยคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๕๕ ใบเสร็จรับเงินให้พิมพ์หมายเลขกำกับเล่ม และหมายเลขกำกับใบเสร็จรับเงินเรียงกันไปทุกฉบับ ข้อ ๕๖ ให้สำนักการคลังเป็นผู้จัดหาใบเสร็จรับเงิน และจัดทำทะเบียนคุมจำนวนที่จัดพิมพ์ จำนวนที่จ่าย โดยระบุเล่มที่ เลขที่ของใบเสร็จรับเงิน ระบุว่าจ่ายให้กับหน่วยงานใด พร้อมวันเดือนปีที่จ่ายและจำนวนคงเหลือพร้อมทั้งเล่มที่ เลขที่ รวมทั้งจัดเก็บหลักฐานการรับ - จ่าย เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ให้หน่วยการคลังที่เบิกใบเสร็จรับเงินจากสำนักการคลัง รวมทั้งหน่วยงานหรือส่วนราชการที่เบิกใช้ใบเสร็จรับเงิน ควบคุมใบเสร็จรับเงิน โดยจัดทำทะเบียนคุมไว้เพื่อทราบ และตรวจสอบตามวรรคหนึ่งด้วย กรณีที่หน่วยงานจำเป็นต้องใช้ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากที่สำนักการคลังจัดหา หรือเป็นใบเสร็จรับเงินที่ต้องออกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใด ให้ขออนุมัติต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรณี ๆ ไป และให้หัวหน้าหน่วยงานมีอำนาจกำหนดวิธีการควบคุมใบเสร็จรับเงินนั้นด้วย ข้อ ๕๗ การจ่ายใบเสร็จรับเงินให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไปจัดเก็บเงินให้พิจารณาจ่ายในจำนวนที่เหมาะสมแก่ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และให้มีหลักฐานการรับส่งใบเสร็จรับเงินนั้นไว้ด้วย ข้อ ๕๘ ใบเสร็จรับเงินเล่มใดเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เช่น ยุบเลิกสำนักงานหรือไม่มีการจัดเก็บเงินต่อไปอีก ให้หัวหน้าหน่วยงานที่รับใบเสร็จรับเงินนั้น นำส่งคืนส่วนราชการที่จ่ายใบเสร็จรับเงินนั้นโดยด่วน ข้อ ๕๙ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานซึ่งรับใบเสร็จรับเงินไปดำเนินการจัดเก็บเงินรายงานให้หน่วยการคลังทราบว่า มีใบเสร็จรับเงินอยู่ในความรับผิดชอบ เล่มใด เลขที่ใดถึงเลขที่ใด และได้ใช้ใบเสร็จรับเงินไปแล้วเล่มใด เลขที่ใดถึงเลขที่ใด อย่างช้าไม่เกินวันที่ ๓๑ ตุลาคมของปีงบประมาณถัดไป ข้อ ๖๐ ใบเสร็จรับเงินเล่มใดสำหรับรับเงินของปีงบประมาณใด ให้ใช้รับเงินของปีงบประมาณนั้นเมื่อขึ้นปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ใบเสร็จรับเงินเล่มใหม่ ใบเสร็จรับเงินฉบับใดยังไม่ใช้ ให้คงติดไว้กับเล่มแต่ให้ปรุ เจาะรู หรือประทับตรา “เลิกใช้” เพื่อให้เป็นที่สังเกตมิให้นำมาใช้รับเงินได้อีกต่อไป ข้อ ๖๑ ห้ามขูดลบเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินหรือชื่อผู้ชำระเงินในใบเสร็จรับเงิน หากใบเสร็จรับเงินฉบับใดลงรายการรับเงินผิดพลาด ให้ขีดฆ่าจำนวนเงินและเขียนใหม่ทั้งจำนวนโดยให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อกำกับการขีดฆ่านั้นไว้ หรือขีดฆ่าเลิกใช้ใบเสร็จรับเงินนั้นทั้งฉบับแล้วออกฉบับใหม่โดยให้นำใบเสร็จรับเงินที่ขีดฆ่าเลิกใช้นั้นติดไว้กับสำเนาใบเสร็จรับเงินในเล่ม ข้อ ๖๒ ให้หน่วยงานเก็บรักษาสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยังไม่ได้ตรวจสอบไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้สูญหายหรือเสียหายได้ และเมื่อได้ตรวจสอบแล้วให้เก็บไว้อย่างเอกสารธรรมดาได้ ส่วนที่ ๒ การรับเงิน ข้อ ๖๓ การรับเงินทุกประเภทต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำเงินมาชำระทุกรายและต้องมีต้นขั้วหรือคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินนั้นรักษาไว้ด้วย ในกรณีที่มีการจำหน่ายตั๋วฉีกแทนใบเสร็จรับเงินนั้นแล้วไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินอีก แต่ให้มีทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วไว้เป็นหลักฐาน การรับเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกรายการรับเงินไว้ในบัญชีเงินสดหรือทะเบียนอื่นใดแล้วแต่กรณีในวันที่ได้รับเงิน โดยให้มีหลักฐานประกอบให้ครบถ้วนทุกราย ข้อ ๖๔ ให้หน่วยงานซึ่งได้แยกไปทำการรับจ่ายและรักษาเงินนำเงินรับทั้งสิ้นหรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารส่งหน่วยการคลังทุกวัน พร้อมด้วยใบนำส่งเงินและสำเนาคู่ฉบับอย่างน้อยสองฉบับ และต้องมีสำเนาเป็นหลักฐานเก็บรักษาไว้ ณ หน่วยงานด้วย ถ้าส่งไม่ทันในวันนั้นก็ให้นำส่งในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการ และให้ระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ในใบนำส่งเงินด้วย ใบนำส่งเงินต้องลงชื่อหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ส่ง หัวหน้าหน่วยการคลังหรือหัวหน้าหน่วยงานผู้รับเงินและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายในหน่วยการคลังเป็นผู้ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐาน หมวด ๗ การเก็บรักษาเงิน ข้อ ๖๕ ให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงินไม่น้อยกว่าสามคนจากข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงานและหรือชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไปในหน่วยงาน โดยให้หัวหน้าหน่วยการคลังของหน่วยงานนั้นเป็นประธานกรรมการ ข้อ ๖๖ ให้หน่วยงานเก็บรักษาเงินที่จัดเก็บหรือได้รับไว้ในตู้นิรภัยซึ่งตั้งอยู่ในที่ปลอดภัยของหน่วยงานนั้น ข้อ ๖๗ ตู้นิรภัยให้มีลูกกุญแจอย่างน้อยสองสำรับ แต่ละสำรับไม่น้อยกว่าสองดอกแต่ไม่เกินสามดอก โดยแต่ละดอกต้องมีลักษณะต่างกัน โดยสำรับหนึ่งมอบให้กรรมการเก็บรักษาเงิน ส่วนสำหรับที่เหลือให้เก็บรักษาไว้ในลักษณะหีบห่อ ณ สำนักการคลัง ข้อ ๖๘ ให้กรรมการเก็บรักษาเงินเป็นผู้ถือกุญแจตู้นิรภัย ในกรณีที่ตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสามดอกและมีกรรมการสามคน ก็ให้กรรมการถือกุญแจคนละดอก หากตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสองดอกแต่มีกรรมการสามคน ให้กรรมการที่มีอาวุโสตามระเบียบราชการถือกุญแจคนละหนึ่งดอก และให้กรรมการอีกหนึ่งคนมีหน้าที่ประจำรหัสตู้นิรภัยแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ากรรมการเก็บรักษาเงินผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญงานและหรือชำนาญการให้เป็นกรรมการแทนชั่วคราวให้ครบจำนวน การแต่งตั้งผู้ที่จะเป็นกรรมการจะแต่งตั้งไว้เป็นการประจำ เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวก็ได้ ข้อ ๖๙ การส่งมอบและรับมอบกุญแจระหว่างกรรมการกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๖๘ ให้กรรมการผู้ส่งมอบและกรรมการผู้รับมอบตรวจนับตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงิน ซึ่งเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยให้ถูกต้องตามรายงานเงินคงเหลือประจำวันแล้วบันทึกการส่งมอบและรับมอบพร้อมกับลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันนั้นด้วย ห้ามมิให้กรรมการมอบกุญแจให้ผู้อื่นทำหน้าที่กรรมการแทน เว้นแต่เป็นการมอบให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๖๘ กรรมการจะต้องเก็บรักษากุญแจไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย หรือให้ผู้ใดลักลอบนำไปพิมพ์แบบกุญแจได้ หากปรากฏว่ากุญแจสูญหายหรือมีกรณีสงสัยว่าจะมีผู้ปลอมแปลงกุญแจ ให้หัวหน้าหน่วยงานสอบสวนแล้วรีบรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการโดยด่วน ข้อ ๗๐ เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่การเงินนำเงินที่จะเก็บรักษาและรายงานเงินคงเหลือประจำวันส่งมอบต่อคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและเอกสารแทนตัวเงินกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อปรากฏว่าถูกต้องแล้ว ให้นำเงินและเอกสารแทนตัวเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัยและให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันไว้เป็นหลักฐาน รายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อกรรมการเก็บรักษาเงินได้ลงลายมือชื่อแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อทราบ ในกรณีที่ปรากฏว่า เงินที่ได้รับมอบให้เก็บรักษาไม่ตรงกับจำนวนซึ่งแสดงไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและเจ้าหน้าที่การเงินผู้นำส่งร่วมกันบันทึกจำนวนเงินที่ตรวจนับได้นั้นไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่การเงินผู้นำส่ง แล้วนำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย และให้กรรมการเก็บรักษาเงินรายงานให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครทราบทันที เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ ๗๑ การนำเงินและเอกสารแทนตัวเงินเข้าเก็บในตู้นิรภัย ให้กรรมการใส่กุญแจตู้นิรภัยให้เรียบร้อยพร้อมกับล้างรหัสตู้นิรภัยไปตำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดออกได้ แม้จะมีกุญแจทั้งสองดอกไขพร้อมกันก็ตาม จนกว่ากรรมการที่ประจำรหัสตู้นิรภัยจะหมุนรหัสตู้นิรภัยไปอยู่ในตำแหน่งปลดล็อครหัส ในวันทำการถัดไปหากจะต้องนำเงินออกจ่าย ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินมอบเงินที่เก็บรักษาทั้งหมดให้หัวหน้าหน่วยการคลังหรือเจ้าหน้าที่การเงินรับไปจ่าย โดยให้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันก่อนวันทำการที่รับเงินไปจ่ายนั้น กรณีคณะกรรมการเก็บรักษาเงินส่งมอบเอกสารแทนตัวเงินให้แก่หัวหน้าหน่วยการคลังให้จัดทำหลักฐานการส่งมอบเป็นหนังสือไว้ด้วย ข้อ ๗๒ จำนวนเงินที่เก็บรักษาไว้ในหน่วยการคลังต้องไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เว้นแต่ในกรณีจำเป็นให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติขยายวงเงินที่เก็บรักษาในหน่วยการคลังนั้นได้เป็นคราว ๆ ไป หมวด ๘ การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง ข้อ ๗๓ บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับไว้ในวันใดให้นำส่งหน่วยการคลังในวันนั้น ถ้านำส่งไม่ทันให้นำส่งในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการ พร้อมระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ด้วย ทั้งนี้ หน่วยงานอาจนำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร แล้วนำส่งหลักฐานการนำฝากแทนก็ได้ ส่วนการนำส่งเอกสารแทนตัวเงินอื่นใดให้เป็นไปตามที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๗๔ การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารของกรุงเทพมหานคร ให้เปิดบัญชีกับธนาคารของรัฐหรือธนาคารที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗๕ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจถอนเงินฝากร่วมกันจากบัญชีเงินฝากธนาคารตามข้อ ๗๔ (๑) ผู้อำนวยการสำนักการคลังหรือผู้ที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมายกับหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดสำนักการคลัง กรณีเป็นการเบิกเงินจากสำนักการคลัง (๒) หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานมอบหมายกับหัวหน้าหน่วยการคลัง การเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการถอนเงินฝากให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี การโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากธนาคารให้ถือเป็นการถอนเงินตามวรรคหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวให้ถือเป็นรายจ่ายของหน่วยงาน ข้อ ๗๖ ให้หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งกรรมการร่วมกันเป็นคณะในการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคาร หรือ ณ สถานที่รับเงินแห่งอื่นใดรวมตลอดถึงต่างหน่วยงานในสำนักงานเดียวกัน โดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้เป็นกรรมการ จำนวนกรรมการ จำนวนเงิน และสถานที่รับส่งเงิน พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการการควบคุม เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นด้วย ทั้งนี้ ห้ามกรรมการไปรับหรือส่งเงินแต่ลำพังผู้เดียว ข้อ ๗๗ บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราชการ หรือรายได้อื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของกรุงเทพมหานคร ให้นำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร เว้นแต่จะมีกฎหมาย ข้อบัญญัติหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หน่วยงานใดได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้นหรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้นให้หน่วยงานดังกล่าวจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับได้โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ หรือข้อบังคับที่กรุงเทพมหานครกำหนดแต่เมื่อได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แล้วมีเงินเหลือจ่ายเท่าใดให้นำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครต่อไป หมวด ๙ การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ ๗๘ หน่วยงานใดได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณโดยการซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของหรือเช่าทรัพย์สินที่มีใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง สัญญา หรือข้อตกลง และมีวงเงินตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไปหรือตามที่สำนักการคลังกำหนด กรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินไปชำระหนี้ได้ทันสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือว่าใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง สัญญา หรือข้อตกลง ที่ได้จัดทำหรือลงไว้ในระบบเป็นการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีต่อไปได้อีกตามอายุสัญญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันสิ้นปีงบประมาณถัดไป ในกรณีที่ไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้หน่วยงานขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้อีกเป็นเวลาหกเดือนนับจากวันสิ้นปีงบประมาณ หากก่อหนี้ผูกพันไม่ทันภายในหกเดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ และมีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้หน่วยงานขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการก่อหนี้ผูกพันให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การเบิกจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายภายหลังเวลาดังกล่าว ให้เสนอขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร เป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๗๙ การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หน่วยงานต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณโดยปฏิบัติตามวิธีการที่สำนักการคลังกำหนด ข้อ ๘๐ หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนรัฐบาล ไม่ว่าจะได้ก่อหนี้ผูกพันแล้วหรือยังมิได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือปฏิบัติตามที่สำนักการคลังกำหนด หมวด ๑๐ การตรวจและอนุมัติฎีกา ข้อ ๘๑ การตรวจและอนุมัติฎีกา ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเบิกเงินจากสำนักการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการกองตรวจจ่าย และการอนุมัติฎีกาให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักการคลัง (๒) กรณีเบิกจ่ายเงินกับหน่วยการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยการคลัง และการอนุมัติฎีกาให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘๒ การตรวจฎีกาเบิกเงินงบประมาณ ให้ตรวจสอบในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ แล้วจึงเสนอขออนุมัติฎีกา (๑) มีลายมือชื่อพร้อมวงเล็บชื่อของผู้เบิกเงินครบถ้วนถูกต้อง (๒) มีเงินประจำงวดเพียงพอและมีรายการถูกต้องตรงกับงบประมาณ (๓) มีหนี้สินผูกพันหรือมีหลักฐานแห่งหนี้อื่นใดหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงิน และถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดที่ต้องจ่ายเงิน (๔) มีคำรับรองของผู้เบิกเงินว่า การก่อหนี้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมีผู้อนุมัติถูกต้องครบถ้วน (๕) ต้องมีหลักฐานหรือคำสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง และมีหลักฐานการตรวจรับพัสดุหรือตรวจรับงานจ้าง แล้วแต่กรณี การตรวจและขออนุมัติฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนรัฐบาลและเงินอื่น ให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๘๓ การอนุมัติฎีกาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการครบถ้วนตามข้อ ๘๒ แล้ว ข้อ ๘๔ เมื่อหน่วยการคลังจ่ายเงินแล้ว ให้ตรวจสอบใบสำคัญคู่จ่ายและหรือหลักฐานการจ่ายให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ และนำหลักฐานประกอบไว้ในฎีกาจ่ายเงิน และจัดส่งเอกสารทั้งหมดคืนหน่วยงานผู้เบิกเงินเพื่อรวมกับเรื่องเดิมและเก็บไว้รอการตรวจสอบ ข้อ ๘๕ ฎีกาเบิกเงินหรือเอกสารประกอบฎีการายใดไม่ถูกต้องในสาระสำคัญให้ผู้ตรวจฎีกาทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้เบิกได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในห้าวันทำการนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการทักท้วงนั้น หากไม่สามารถแก้ไขให้ทันตามกำหนดดังกล่าวได้และเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกาตามข้อ ๘๑ อาจพิจารณาให้ขยายระยะเวลาการแก้ไขฎีกาดังกล่าวตามที่เห็นสมควรได้ หากข้อผิดพลาดในสาระสำคัญนั้นเกิดจากการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง แต่เจ้าของงบประมาณมีข้อผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ ให้ผู้ตรวจฎีกาแจ้งหน่วยงานเพื่อรายงานข้อบกพร่องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ ในกรณีที่ฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและมิใช่สาระสำคัญหรือมิใช่เป็นจำนวนเงินที่ขอเบิกผู้ตรวจฎีกาหรือผู้อนุมัติฎีกาอาจแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งผู้เบิกทราบ หรือแจ้งให้ผู้เบิกเป็นผู้แก้ไขก็ได้ ข้อ ๘๖ การตรวจฎีกาและการอนุมัติฎีกาให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับฎีกา ในกรณีที่ฎีกามีเหตุทักท้วง เมื่อได้รับคืนฎีกาที่แก้ไขแล้วให้ดำเนินการตรวจและอนุมัติฎีกาให้แล้วเสร็จภายในสามวันทำการนับแต่วันถัดจากวันรับคืนฎีกา ข้อ ๘๗ ก่อนการขอเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจัดซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ หากหน่วยงานพบว่าการขอเบิกเงินไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่ง แต่เจ้าของงบประมาณมีข้อผูกพันที่ต้องเบิกจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ ให้รายงานข้อบกพร่องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ หมวด ๑๑ การควบคุมและตรวจสอบ ข้อ ๘๘ ให้หน่วยงานแต่ละแห่งมีบัญชีและทะเบียนรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักการและนโยบายบัญชีที่กรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๘๙ ทุกวันที่มีการรับจ่ายเงินให้หัวหน้าหน่วยการคลังรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่าง ๆ ให้หัวหน้าหน่วยงานทราบเป็นประจำทุกวัน ทุกสิ้นเดือนให้หัวหน้าหน่วยงานจัดส่งรายงานทางการเงินให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบพร้อมสำเนารายงานดังกล่าวให้หน่วยตรวจสอบภายในและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งละหนึ่งชุด ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานจัดทำรายงานทางการเงินในรอบปีงบประมาณเสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบ โดยผ่านหน่วยตรวจสอบภายในและสำเนาส่งสำนักการคลังกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งละหนึ่งชุด ข้อ ๙๐ ให้สำนักการคลังจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุดลงเปรียบเทียบกับงบประมาณ กับจัดทำรายงานทางการเงินในรอบปีงบประมาณเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙๑ ให้หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชี การรับจ่ายเงิน การพัสดุ และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่าย หรือตรวจสอบอื่นใดตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙๒ ในการตรวจสอบบัญชีและหลักฐานการรับจ่ายเงิน ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกหรือรับเงินและหรือหัวหน้าหน่วยการคลังมีหน้าที่ให้คำชี้แจงและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบภายในหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วแต่กรณี เมื่อมีเหตุทักท้วงให้หน่วยตรวจสอบภายในแจ้งโดยตรงกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือกรณีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้แจ้งโดยตรงกับหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้หน่วยงานนั้นปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากหัวหน้าหน่วยงานไม่ปฏิบัติตามคำทักท้วงของหน่วยตรวจสอบภายในตามกำหนดโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้หน่วยตรวจสอบภายในรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบเพื่อสั่งการ ข้อ ๙๓ เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานใดปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังไม่ถูกต้องตามระเบียบ ให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาสั่งการให้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยด่วน หากปรากฏว่าเงินในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดขาดบัญชีหรือสูญหายหรือเสียหายเพราะการทุจริตหรือมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งมิใช่กรณีปกติ ให้หัวหน้าหน่วยงานสั่งการให้หาตัวผู้รับผิดเบื้องต้นให้ส่งเงินคืนให้ครบถ้วน และดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้ต้องรับผิดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เห็นว่าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด และรายงานพฤติการณ์ให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยพลัน หมวด ๑๒ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๙๔ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป หมวด ๑๓ บทเฉพาะกาล ข้อ ๙๕ ให้บรรดาเอกสารแบบพิมพ์ ซึ่งกำหนดขึ้นตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าสำนักการคลังจะกำหนดขึ้นใหม่ตามระเบียบนี้ ข้อ ๙๖ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงินใด ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๑/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕
667003
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินรายรับ” หมายความว่า เงินรายรับตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ-รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ “โรงพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครและให้หมายความรวมถึงส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข “เงินบำรุงโรงพยาบาล” หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาล (๒) เงินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้โรงพยาบาลโดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ (๓) เงินที่โรงพยาบาลได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (๔) เงินรายรับประเภทเงินรายได้จากทรัพย์สิน (๕) ดอกผลของเงินบำรุงโรงพยาบาล (๖) เงินที่สำนักการแพทย์ได้มาจาก (ก) เงินบำรุงโรงพยาบาลตาม (๑) ถึง (๕) ที่โรงพยาบาลนำส่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์ (ข) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (ค) ดอกผลของเงินตาม (ก) และ (ข) (๗) เงินบำรุงโรงพยาบาลที่มีอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ เงินบำรุงโรงพยาบาล ให้โรงพยาบาลและสำนักการแพทย์ใช้จ่ายได้ดังนี้ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลและส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงินงบประมาณได้แต่เงินงบประมาณไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ หรือมีเหตุจำเป็นรีบด่วนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทัน หรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น (๒) กิจการอื่นที่จำเป็นในการบริการหรือสนับสนุนการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ข้อ ๖ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาล (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของโรงพยาบาลและส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่น (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะยกเว้นการจัดซื้อรถพยาบาลหรือรถเข็นคนไข้ ข้อ ๗ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินบำรุงโรงพยาบาลไว้ดังนี้ (๑) โรงพยาบาลไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) สำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินบำรุงโรงพยาบาลส่วนที่เกิน ให้นำฝากธนาคารตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงินให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้โรงพยาบาลและสำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ ที่มีการรับจ่ายเงินตามระเบียบนี้จัดทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็นและบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุงโรงพยาบาลจะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ และให้รายงานการรับ การจ่าย และยอดเงินคงเหลือ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปีและยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๙ เมื่อสิ้นปีงบประมาณใด ถ้าปรากฏว่าโรงพยาบาลแห่งใดมียอดเงินบำรุงโรงพยาบาลคงเหลือ ให้โรงพยาบาลนั้นนำเงินที่เหลือส่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์เป็นจำนวนร้อยละห้าของยอดเงินบำรุงโรงพยาบาลคงเหลือภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณแต่ละปี ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๑๖/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
666997
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนโรงพยาบาล พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนโรงพยาบาล อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “โรงพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร “เงินทุนหมุนเวียน” หมายความว่า เงินที่กำหนดให้โรงพยาบาลนำเงินนอกงบประมาณประเภทเงินบำรุงของโรงพยาบาลนั้น ๆ ไปตั้งจ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนโรงพยาบาล จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) และดอกผลของเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนที่โรงพยาบาลมีอยู่ในวันใช้ระเบียบนี้ด้วย ข้อ ๕ เงินทุนหมุนเวียน ให้ใช้เฉพาะการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ หรือสารเคมีพิเศษที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจและบำบัดโรคเกี่ยวกับคนไข้ในโรงพยาบาล ข้อ ๖ ให้โรงพยาบาลเก็บรักษาเงินไว้ภายในวงเงินที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด นอกนั้นให้นำฝากธนาคาร การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง ที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗ การจำหน่ายยาหรือเวชภัณฑ์จะกระทำได้ ดังต่อไปนี้ (๑) คนไข้สามัญที่ไม่สามารถซื้อยาหรือเวชภัณฑ์พิเศษได้ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจ่ายให้โดยไม่คิดมูลค่าได้ (๒) การจำหน่ายยาหรือเวชภัณฑ์ให้แก่คนไข้ที่มาทำการรักษาในโรงพยาบาลนั้น ๆ ให้จ่ายได้โดยคิดกำไรไม่เกินร้อยละสิบของราคาที่ซื้อ ข้อ ๘ ผลกำไรที่เกิดขึ้นจากเงินทุนหมุนเวียนแต่ละปีให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) ให้กันยอดเงินไว้ร้อยละสี่สิบของกำไรทั้งหมด สำหรับจ่ายเพื่อการกุศล ให้แก่คนไข้สามัญที่ไม่สามารถซื้อยาหรือเวชภัณฑ์พิเศษได้ โดยให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจ่ายให้โดยไม่คิดมูลค่าได้ (๒) ส่วนที่เหลืออีกร้อยละหกสิบของกำไรทั้งหมด สำหรับไว้ใช้จ่ายในกรณีดังต่อไปนี้คือ (ก) การจัดหาเครื่องใช้ประจำห้องคนไข้สามัญ (ข) การจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์สำหรับคนไข้สามัญ (ค) การจัดซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ในการผลิตยา (๓) ถ้าผลกำไรที่เกิดจากเงินทุนหมุนเวียนแต่ละปี หากมิได้ดำเนินการหรือดำเนินการไม่หมดตาม (๑) และหรือ (๒) ให้นำเข้าเป็นเงินทุนหมุนเวียน ข้อ ๙ การจ่ายเงินทุนหมุนเวียน ให้โรงพยาบาลจัดทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชีหรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียนจะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ และให้รายงานการรับ การจ่าย และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือน เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๘/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
666995
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินบำรุงศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินบำรุงศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้จ่ายเงินบำรุงศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินบำรุงศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ. ๒๕๒๙ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินบำรุงศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินบำรุง” หมายความว่า เงินบำรุงศูนย์เยาวชนและเงินบำรุงศูนย์ส่งเสริมกีฬาตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินบำรุงศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ. ๒๕๒๙ ข้อ ๕ การรับเงินบำรุงทุกครั้ง ศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬาจะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงิน ผู้บริจาคหรือผู้อุทิศให้ โดยให้ใช้แบบใบเสร็จรับเงินของกรุงเทพมหานคร เว้นแต่การรับเงินกรณีที่ไม่อาจออกใบเสร็จรับเงินได้ก็ให้ใช้หลักฐานการรับเงินแทนใบเสร็จรับเงิน การรับเงินทุกรายการจะต้องมีการบันทึกรายการรับเงินนั้นไว้ในบัญชีเงินสดหรือทะเบียนอื่นใด แล้วแต่กรณี ในวันที่รับเงินนั้น โดยมีหลักฐานประกอบให้ครบ ข้อ ๖ เงินบำรุงให้ใช้เพื่อการดำเนินงานและกิจกรรมของศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬาในอันที่จะก่อประโยชน์แก่ศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬา และสมาชิกศูนย์เยาวชนหรือสมาชิกศูนย์ส่งเสริมกีฬา แล้วแต่กรณี เงินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้แก่ศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬา โดยมีวัตถุประสงค์แน่นอนให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคหรือผู้อุทิศ ถ้ามีเงินเหลือจ่ายให้นำไปใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗ รายจ่ายต่อไปนี้ ห้ามจ่ายจากเงินบำรุง (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่การยืมเพื่อกิจกรรมของศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬา (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จบำนาญ ข้อ ๘ อำนาจในการสั่งก่อหนี้หรือผูกพันและการอนุมัติจ่ายเงินตามข้อ ๖ ให้เป็นของผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) หัวหน้าศูนย์เยาวชนหรือหัวหน้าศูนย์ส่งเสริมกีฬา ครั้งละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท (๒) หัวหน้าศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) และหัวหน้าศูนย์เยาวชนราษฎร์บูรณะครั้งละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการกองนันทนาการ ครั้งละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ครั้งละไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท (๕) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (๖) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๙ การเก็บรักษา การนำฝากและการถอนเงินบำรุง ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ให้เก็บรักษาเงินในรูปคณะกรรมการศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬา ภายในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นเงินทดรองจ่าย สำหรับวงเงินเกินอำนาจเก็บรักษาให้คณะกรรมการนำฝากธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารของรัฐในนามของศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬานั้น ๆ (๒) ให้ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แต่งตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬา แห่งละ ๓ คน เป็นผู้รับผิดชอบการเก็บรักษาเงิน การนำฝากเงินโดยให้มีหัวหน้าศูนย์เยาวชนหรือหัวหน้าศูนย์ส่งเสริมกีฬาแล้วแต่กรณีเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ในการถอนเงินจากธนาคารจะต้องมีกรรมการลงชื่อร่วมกันอย่างน้อยสองคน และให้เก็บรักษาเงิน เอกสารการนำฝากและการถอนเงินจากธนาคารไว้ในที่ปลอดภัยพร้อมที่จะตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐ การบัญชี การปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชี วิธีจ่ายและหลักฐานการจ่ายให้เป็นไปตามที่กรุงเทพมหานครกำหนดเท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบนี้ และให้รวบรวมหลักฐานการจ่ายนั้นไว้ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้ทุกขณะ ข้อ ๑๑ การจัดหาพัสดุ ให้ดำเนินการตามระเบียบซึ่งกรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ ข้อ ๑๒ ให้ศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา จัดทำรายงานการรับ - จ่ายเงินบำรุงศูนย์เยาวชนหรือศูนย์ส่งเสริมกีฬาแล้วแต่กรณีให้ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวทราบเป็นประจำทุกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานสรุปการรับ - จ่ายเงินประจำปีและเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบด้วย ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่ระเบียบนี้มิได้กำหนดไว้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๖/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
665215
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] โดยที่เป็นการสมควรที่แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง” เรียกโดยย่อว่า “กพม.” ประกอบด้วย (๑) คณะที่ปรึกษา ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษา ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินเจ็ดคน (๒) ประธานกรรมการ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นสมควร (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนแปดคน ได้แก่ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย จำนวนสองคน และปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ รองปลัดกรุงเทพมหานคร สั่งราชการสำนักผังเมือง ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่องานของสถาบันพัฒนาเมือง (๕) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง (๖) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจำนวนสองคน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ และข้อ ๘ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นเรียกว่า “สถาบันพัฒนาเมือง” เรียกโดยย่อว่า “สพม.” และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Urban Green Development Institute” เรียกโดยย่อว่า “URB-GREEN” ให้สถาบันพัฒนาเมืองเป็นส่วนราชการภายในสำนักผังเมือง” ข้อ ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๙/๑ และข้อ ๙/๒ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ “ข้อ ๙/๑ ให้มีผู้ปฏิบัติงานใน สพม. ประกอบด้วย (๑) ผู้อำนวยการ สพม. ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน (๒) รองผู้อำนวยการ สพม. ได้แก่ ผู้อำนวยการกองวางผังพัฒนาเมือง สำนักผังเมือง (๓) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้มาปฏิบัติงานของ สพม. ให้ผู้ปฏิบัติงานใน สพม. ตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่บริหารกิจการของ สพม. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สพม. และมติของ กพม. ข้อ ๙/๒ ให้ สพม. อยู่ในความควบคุมดูแลของผู้อำนวยการสำนักผังเมือง และให้ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการคลัง การงบประมาณ การเงิน การทรัพย์สิน การจัดหาประโยชน์จากทรัพย์สิน การจ้าง การพัสดุ และงานราชการประจำของ สพม. ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ คำสั่ง และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ตลอดจนเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกรุงเทพมหานครที่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้มาปฏิบัติงานของ สพม. ทุกตำแหน่ง” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ ให้ สพม. มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเมือง (๒) ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา อบรม และสัมมนาด้านการพัฒนาเมือง (๓) จัดให้มี ดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอย่างครบวงจร (๔) ร่วมมือและแลกเปลี่ยนการพัฒนาทางวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนาเมืองในระดับนานาชาติ (๕) ให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและการให้บริการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนา (๖) ดำเนินการให้เป็นไปตามทิศทาง เป้าหมาย และนโยบายในการบริหารงานของสถาบันพัฒนาเมือง ตามที่ กพม. กำหนด (๗) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กพม. รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งที่เป็นอุปสรรคแก่การพัฒนาเมือง (๘) ปฏิบัติหน้าที่ด้านเลขานุการ ธุรการ และวิชาการของ กพม. (๙) กระทำการอื่นใดซึ่งจำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ กพม. (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กพม. หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย (๑๑) รายงานผลการดำเนินการต่อ กพม. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๑ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ให้สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครตั้งงบประมาณประจำปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของ กพม. และ สพม. ไว้ที่สำนักผังเมือง” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของ กพม. และ สพม. ข้อ ๑๓ ให้สำนักผังเมือง จัดหาสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์การปฏิบัติงานที่ทันสมัยเหมาะสมกับภารกิจในการบริหารงานของ กพม. และ สพม.” ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๕/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕
666810
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ครอบคลุมถึงกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดในระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ มาตรา ๗๐ และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕ และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๔ และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๕ และมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ภาษี” “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” และ “ผู้บริหารท้องถิ่น” ในข้อ ๕ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ภาษี” หมายความว่า ภาษีอากรที่กฎหมายหรือข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดเก็บ สำหรับกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาให้หมายถึงเฉพาะกรณีภาษีป้าย “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และในกรณีภาษีป้ายให้รวมถึงกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาด้วย “ผู้บริหารท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และในกรณีภาษีป้ายให้รวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกเมืองพัทยาด้วย ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ การส่งหนังสือเตือน คำสั่งหรือประกาศตามระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) ให้ส่งในเวลากลางวัน หรือในเวลาทำการของสถานประกอบการนั้น (๒) ให้ส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการของผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หากไม่พบผู้ค้างภาษี ณ ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการของผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ส่งแก่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ณ ภูมิลำเนา หรืออยู่ในบ้านหรือสถานประกอบการของผู้นั้น (๓) ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตาม (๒) ได้ ให้ปิดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการของผู้นั้น หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยที่จำหน่าย ณ ท้องที่นั้นอย่างน้อยสองฉบับ หรือโฆษณาด้วยวิธีอื่น เมื่อได้ล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันปิด ประกาศ หรือโฆษณา ให้ถือว่าผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งแล้ว” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๑๓ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ ในการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างน้อยสองคน โดยแสดงบัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในระหว่างปฏิบัติงานพร้อมอุปกรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๐ เมื่อกระทำการยึดทรัพย์สินเสร็จแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปิดประกาศยึดทรัพย์สินตามแบบ ๖ ไว้ ณ สถานที่ที่ได้ปิดคำสั่งยึดทรัพย์สินไว้ตามข้อ ๑๒ พร้อมทั้งให้ทำรายการบัญชีทรัพย์สินที่ยึดตามแบบ ๗ เสนอผู้มีอำนาจออกคำสั่ง” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๒๔ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๔ ให้นำทรัพย์สินที่ยึดมาแล้วเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานหรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำการยึดทรัพย์สินนั้น หรือสถานที่ที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด โดยผู้มีอำนาจออกคำสั่งมีหน้าที่ควบคุม ดูแล เว้นแต่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งของอื่นซึ่งลำบากต่อการขนย้าย ให้พิจารณามอบแก่บุคคลที่สมควรดูแลรักษาตามแบบ ๘ ก็ได้ แต่การมอบนี้ผู้มอบยังคงต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น เว้นแต่ เป็นเพราะเหตุสุดวิสัย” ข้อ ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๓๕ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ “ในกรณีของกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการกองรายได้ และเจ้าพนักงานบังคับภาษี” ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความใน (๕) ของข้อ ๓๘ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๕) ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการหรือพนักงานและลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ทอดตลาด โดยตนเองหรือจะใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นไม่ได้” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกแบบ ๑ แบบ ๓ แบบ ๔ แบบ ๙ และแบบ ๑๑ ท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้แบบ ๑ แบบ ๓ แบบ ๔ แบบ ๙ และแบบ ๑๑ ท้ายระเบียบนี้แทน ข้อ ๑๑ ให้เพิ่มแบบ ๑๒ ท้ายระเบียบนี้ เป็นแบบ ๑๒ ท้ายระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์ และกำหนดวิธีปฏิบัติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีมีเหตุผลอันสมควร ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามวรรคหนึ่งให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือเตือน (แบบ ๑) ๒. รายงานการสืบหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๓) ๓. แบบคำสั่ง เรื่อง ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๔) ๔. แบบประกาศ เรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๙) ๕. แบบคำสั่ง เรื่อง การถอนการบังคับภาษี (แบบ ๑๑) ๖. แบบคำสั่ง เรื่อง ให้อายัดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี (แบบ ๑๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๑/๓๐ เมษายน ๒๕๕๕
656970
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ (๕) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๖) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๖ (๗) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๘ (๘) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ อัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานพิธีการที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัด ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้สถานที่ ค่าพาหนะและค่าขนส่ง ค่าตอบแทนอาสาสมัคร ค่าจ้างแรงงาน ค่าของรางวัล ของขวัญและของที่ระลึก ค่าอาหารแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ค่าเวชภัณฑ์ ค่าบัตรผ่านประตู ค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน และค่าสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน และเงื่อนไขการเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ในกรณีมีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๕/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
665217
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมืองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ ของระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๒๘/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕
656968
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๑๕ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ การนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานครอนุญาตให้กระทำการได้เฉพาะเพื่อการแสดง การร่วมงานพิธีต่าง ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ข้อ ๕ การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร เจ้าของช้างจะต้องยื่นคำขอตามแบบท้ายระเบียบนี้ และปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต ดังต่อไปนี้ (๑) แสดงเอกสารหลักฐาน (ก) ตั๋วรูปพรรณช้างหรือบัญชีลูกคอก (ข) ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายที่ผ่านการตรวจรับรองโรคระบาดตามที่กฎหมายกำหนด (ค) หนังสือแสดงการเข้าร่วมการแสดง การเข้าร่วมงานพิธี (ง) ระบุชื่อผู้ควบคุมดูแลช้าง (๒) แจ้งสถานที่ ขอบเขต และระยะเวลาการแสดง การร่วมงานพิธีที่ชัดเจนแน่นอน (๓) จัดให้มีที่พักช้างและปฏิบัติดังนี้ (ก) ที่พักช้างต้องมั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมโดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของช้าง มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (ข) รักษาดูแลที่พักช้างให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (ค) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (ง) ให้ควบคุมดูแลช้างภายในที่พักช้างของตน ไม่ปล่อยให้ช้างอยู่นอกที่พักช้างโดยปราศจากการควบคุมที่มั่นคงแข็งแรง ซึ่งบุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวช้างและมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (จ) ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าช้างนั้นเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้เจ้าของช้างแยกกักช้างนั้นไว้ต่างหากและแจ้งให้สำนักงานเขตท้องที่ทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ (ฉ) ห้ามนำช้างออกมานอกที่พักช้างเพื่อการอื่นนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วย หรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ช) ควบคุมดูแลช้างของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของผู้อำนวยการเขตท้องที่ ใบอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ เจ้าของช้างจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในระเบียบนี้ หากมีการฝ่าฝืนให้ถือว่าการได้รับอนุญาตสิ้นสุดลง ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๘ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ๒. ใบอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปณตภร/ผู้ตรวจ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๓/๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
666999
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินรายรับที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของกรุงเทพมหานคร รวมถึงเงินรายรับที่มีกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง” หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก ฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขตฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย “หัวหน้าหน่วยการคลัง” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก หัวหน้าฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย ข้อ ๕ การอนุมัติเปิด - ปิด บัญชี และการปรับปรุงบัญชีเงินนอกงบประมาณในกรณีฝากกองการเงิน สำนักการคลัง ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักการคลัง การอนุมัติเปิด - ปิด บัญชี และการปรับปรุงบัญชีนอกงบประมาณในกรณีฝากหน่วยการคลังให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ ๖ การนำเงินนอกงบประมาณฝากกองการเงิน สำนักการคลัง ให้นำฝากพร้อมด้วยสมุดใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ สมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงินโดยให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ฝากเงินลงลายมือชื่อในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและบันทึกขออนุมัติฝากเงิน ให้ผู้อำนวยการกองการเงิน และเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองการเงินลงลายมือชื่อรับเงินในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และให้ผู้อำนวยการสำนักการคลังเป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ฝากในบันทึกขออนุมัติฝากเงิน ใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและต้นขั้วใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ ข้อ ๗ การนำเงินนอกงบประมาณฝากหน่วยการคลัง ให้นำฝากพร้อมด้วยสมุดใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ สมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงินโดยให้ผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้ง ลงลายมือชื่อในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงิน ให้หัวหน้าหน่วยการคลัง และเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยการคลังลงลายมือชื่อรับเงินในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ฝากในบันทึกขออนุมัติฝากเงินใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและต้นขั้วใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ ข้อ ๘ กรณีการนำฝากหรือถอนเงินนอกงบประมาณประเภทที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับดอกผลโดยเฉพาะ ให้หน่วยงานผู้ฝากเงินแจ้งกองการเงิน สำนักการคลังหรือหน่วยการคลัง แล้วแต่กรณี เพื่อนำเงินฝากเข้าหรือถอนออกจากบัญชีเงินฝากธนาคารที่แยกควบคุมต่างหาก ข้อ ๙ สมุดใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๐ การถอนเงินฝากนอกงบประมาณ ให้นำระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ บัญชีเงินฝากนอกงบประมาณที่ไม่มียอดเงินคงเหลือและไม่มีรายการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป หรือมียอดเงินคงเหลือในบัญชีแต่ไม่มีรายการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป ให้หน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณขอปิดบัญชีหรือถอนเงิน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครต่อผู้มีอำนาจตามข้อ ๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานที่มีเงินนอกงบประมาณฝากกองการเงิน สำนักการคลังจัดทำรายงานยอดเงินคงเหลือตามประเภทเงินฝาก ส่งสำนักการคลังจำนวน ๒ ชุด ภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๑๐/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
666993
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ (๒) และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งหรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “ระบบขนส่งมวลชน” หมายความว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครประเภทรถไฟฟ้าที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการ “เงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชน” หมายความว่า เงินที่สำนักการจราจรและขนส่งได้รับจากค่าบริการประเภทค่าโดยสารของระบบขนส่งมวลชนในส่วนที่กรุงเทพมหานครรับผิดชอบดำเนินการรวมถึงดอกผลที่เกิดจากการนำส่งรายได้จากระบบขนส่งมวลชนล่าช้า “หน่วยการคลัง” หมายความว่า หน่วยการคลังของสำนักการจราจรและขนส่ง ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน “การจ้าง” หมายความว่า การจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานตามโครงการที่กรุงเทพมหานครกำหนด “ผู้บริหารระบบ” หมายความว่า ผู้ที่กรุงเทพมหานครว่าจ้างให้เป็นผู้บริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน “ผู้ดำเนินการตั๋วโดยสารร่วม” หมายความว่า นิติบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบระบบตั๋วโดยสารร่วมที่ได้จดทะเบียนหรือได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยและเป็นผู้รับผิดชอบระบบตั๋วโดยสารของระบบขนส่งมวลชน “รายงานการรับและการจ่ายเงิน” หมายความว่า รายงานที่ผู้บริหารระบบจัดทำขึ้นเพื่อสรุปยอดจำนวนรายรับและรายจ่ายของระบบขนส่งมวลชน “วันทำการ” หมายความว่า วันทำการของธนาคารตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ ๖ บรรดาแบบพิมพ์ แบบรายงานการเงิน เอกสาร สมุดบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ที่ใช้ตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๗ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้แต่ต้องคำนึงถึงระดับ ตำแหน่งหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดความเสียหาย ผู้มอบและผู้รับมอบต้องรับผิดตามกฎหมาย ข้อ ๘ สำนักการจราจรและขนส่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนให้ถูกต้องตามระเบียบนี้ หมวด ๒ การรับเงินและการฝากเงิน ข้อ ๙ เงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชน ให้นำฝากในบัญชีของธนาคารที่กรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๐ กรณีที่กรุงเทพมหานครกำหนดให้ผู้บริหารระบบมีหน้าที่จัดเก็บรายได้จากระบบขนส่งมวลชนเพื่อนำส่งกรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) กรณีการนำส่งเงินเข้าบัญชีของกรุงเทพมหานครตามข้อ ๙ ดำเนินการโดยผู้รับจ้างเดินรถ ให้ถือว่าเป็นการดำเนินการของผู้บริหารระบบ โดยผู้บริหารระบบมีหน้าที่ตรวจสอบให้มีการดำเนินการโดยถูกต้องครบถ้วน หากมีการจัดตั้งผู้ดำเนินการตั๋วโดยสารร่วม ซึ่งกรุงเทพมหานครต้องเข้าร่วมและใช้บริการของผู้ดำเนินการตั๋วโดยสารร่วมดังกล่าว ผู้บริหารระบบยังคงมีหน้าที่ตรวจสอบให้มีการดำเนินการโดยถูกต้องครบถ้วน (๒) ผู้บริหารระบบต้องนำส่งเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนเข้าบัญชีธนาคารตามข้อ ๙ ทุกวัน หลังการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณหายอดเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชน หากผู้บริหารระบบนำส่งเงินเข้าบัญชีดังกล่าวไม่ทันในวันนั้น ก็ให้นำส่งหรือโอนเงินเข้าบัญชีในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการของธนาคารถัดไป โดยผู้บริหารระบบต้องนำดอกเบี้ยของเงินรายได้ที่ไม่ได้นำส่งดังกล่าวส่งเข้าเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานครด้วย ในกรณีที่วันหยุดหรือวันหยุดพิเศษอื่นของผู้บริหารระบบ หรือวันหยุดธนาคารไม่ตรงกับวันหยุดราชการ หรือวันหยุดอื่นที่มีผลให้ไม่สามารถดำเนินการส่งเงินให้กรุงเทพมหานครได้ตามกำหนด ให้ผู้บริหารระบบนำส่งเงินในวันทำการถัดไป (๓) ผู้บริหารระบบต้องทำรายงานการฝากเงินที่มีรายละเอียดของยอดจำนวนเงินพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งให้หน่วยการคลังทุกครั้งที่มีการฝากเงิน นอกจากนั้น ผู้บริหารระบบต้องทำรายงานการฝากเงินส่งให้หน่วยการคลังตามรายละเอียดที่กรุงเทพมหานครกำหนดดังนี้ (๑) รายงานรายเดือน (๒) รายงานรายไตรมาสและ (๓) รายงานทุกสิ้นปีงบประมาณ ให้สำนักการจราจรและขนส่งตรวจสอบความถูกต้องของรายงานดังกล่าว แล้วแจ้งให้สำนักการคลังและสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๑ การคิดคำนวณยอดเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครหลังจากวันที่ได้รับเงิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) หลังจากมีการนำส่งเงินแล้ว พบว่ายอดเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนที่นำส่งไปแล้ว น้อยกว่ายอดเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครที่ควรได้รับจริง ให้ผู้บริหารระบบนำส่งเงินรายได้จำนวนที่ขาดเข้าบัญชีธนาคารตามข้อ ๙ ให้ครบถ้วน ส่วนดอกผลตั้งแต่วันที่ขาดจนถึงวันที่นำส่งจริงให้ส่งเข้าเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร (๒) หลังจากมีการนำส่งเงินแล้ว พบว่ายอดเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนที่นำส่งไปแล้วมากกว่ายอดเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนที่ควรได้รับจริง ให้นำยอดเงินที่เกินไปหักจากยอดเงินที่กรุงเทพมหานครควรได้รับในงวดถัดไป (๓) กรณีที่ไม่สามารถคำนวณเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนหรือจัดทำรายงานการนำส่งเงินได้ทันภายในวันที่กำหนดด้วยเหตุขัดข้องใดๆ ที่เป็นเหตุสุดวิสัย ผู้บริหารระบบจะต้องนำส่งเงินด้วยยอดรายได้รวมเท่ากับยอดรายได้ของวันเดียวกันของสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ถ้าหากตรงกับวันหยุดทำการให้เทียบจากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ส่วนยอดเงินที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑ (๑) หรือ ๑๑ (๒) แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ กรณีที่การรับเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชน จำเป็นต้องปิดรับเกินเวลาเที่ยงคืนของวันนั้น ให้ถือว่าเงินรายรับหลังจากเวลาเที่ยงคืนในส่วนที่ไม่เกินกว่าสองชั่วโมงหลังเที่ยงคืนเป็นเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครวันเดียวกัน ข้อ ๑๓ ดอกเบี้ยจากเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนตามข้อ ๑๐ (๒) รวมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นตามข้อ ๑๑ (๑) และค่าปรับตามสัญญา ให้สำนักการจราจรและขนส่งนำฝากเข้าบัญชีรายรับกรุงเทพมหานคร หมวด ๓ การจ่ายเงิน ข้อ ๑๔ เงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนให้นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระบบขนส่งมวลชนดังนี้ (๑) ค่าจ้างผู้บริหารระบบ (๒) ค่าใช้จ่ายผู้รับจ้างเดินรถระบบขนส่งมวลชน (๓) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๕ ให้สำนักการจราจรและขนส่งจัดให้มีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้บริหารระบบสามารถเบิกเงินจากบัญชีธนาคารตามข้อ ๙ เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ โดยสำนักการจราจรและขนส่งต้องควบคุมดูแลการจ่ายเงินของผู้บริหารระบบให้ดำเนินการโดยถูกต้อง ข้อ ๑๖ ในวันสิ้นเดือน ผู้บริหารระบบต้องรวบรวมยอดรายได้จากระบบขนส่งมวลชนและยอดค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยผู้บริหารระบบมีหน้าที่นำเงินรายได้จากระบบขนส่งมวลชนจากบัญชีธนาคารตามข้อ ๙ มาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายประจำเดือนตามข้อ ๑๔ ในกรณี (๑) รายรับน้อยกว่ารายจ่าย ผู้บริหารระบบมีหน้าที่จ่ายส่วนที่ขาดจนครบ (๒) รายรับมากกว่ารายจ่าย หลังจากผู้บริหารระบบจ่ายรายจ่ายประจำเดือนแล้วสำนักการจราจรและขนส่งมีหน้าที่นำส่งรายรับสุทธิประจำเดือนให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยผู้บริหารระบบมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๔ และนำส่งกรมสรรพากร พร้อมรายงานภาระภาษีให้สำนักการจราจรและขนส่งทราบ ข้อ ๑๗ ทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน ผู้บริหารระบบต้องจัดทำรายงานการจ่ายเงิน พร้อมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งทันที โดยสำนักการจราจรและขนส่งต้องดำเนินการตรวจสอบให้มีการดำเนินการโดยถูกต้องครบถ้วน หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๘ การนำส่งเงินรายรับสุทธิตามข้อ ๑๖ (๒) และเงินตามข้อ ๑๓ เป็นรายรับกรุงเทพมหานครนั้น ให้สำนักการจราจรและขนส่งนำฝากเข้าบัญชีรายรับของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ต้องจัดทำใบนำส่งเงินพร้อมสำเนาใบนำฝากเงินธนาคารส่งสำนักการคลังในวันนั้น ถ้าส่งไม่ทันให้นำส่งในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดสำนักงาน โดยระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ด้วย ใบนำส่งต้องลงชื่อผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งเป็นผู้ส่ง ผู้อำนวยการสำนักการคลังหรือหัวหน้าหน่วยการคลังของสำนักการคลัง และเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายในสำนักการคลังเป็นผู้ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๙ ผู้บริหารระบบต้องจัดทำรายงานการรับและการจ่ายเงินทุกหกเดือนเพื่อส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งตรวจสอบ แล้วให้สำนักการจราจรและขนส่งแจ้งสำนักการคลังและสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครทราบ และรายงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบด้วย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๑/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
667001
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “สถานศึกษา” หมายความว่า โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เรียกชื่ออย่างอื่น “หัวหน้าสถานศึกษา” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น “เงินบำรุงการศึกษา” หมายความว่า เงินที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์เพื่อบำรุงการศึกษานอกจากงบประมาณรายจ่าย และให้หมายความรวมถึงเงินที่สถานศึกษาได้รับในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่ได้รับจากการให้ใช้อาคารสถานที่หรือทรัพย์สินของสถานศึกษา (๒) เงินที่มีผู้มอบให้โดยไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์หรือระบุวัตถุประสงค์ไว้ไม่ชัดแจ้ง (๓) รายได้จากการดำเนินงานของสถานศึกษาในการรับจัดทำ รับบริการ รับจ้างผลิต จำหน่าย ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๔) เงินที่ได้จากการแสดงหรือกิจกรรมในหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักเรียน นักศึกษา ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๕) เงินที่ได้จากการจัดบริการให้แก่นักเรียน นักศึกษา เช่น การใช้บริการเครื่องถ่ายเอกสาร การขายสมุด หนังสือ เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องแต่งกาย และในกรณีที่สถานศึกษาไม่ได้ดำเนินโครงการอาหารกลางวัน ให้รวมถึงเงินที่ได้จากการจัดบริการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มด้วย (๖) เงินผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ได้มาด้วยเงินบำรุงการศึกษาหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้สถานศึกษาเพื่อหาผลประโยชน์ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น (๗) เงินส่วนลดค่าใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะ (๘) เงินค่าปรับจากการผิดสัญญายืมหนังสือห้องสมุดและเงินค่าปรับจากการพัสดุที่ใช้เงินบำรุงการศึกษา (๙) เงินบำรุงการศึกษาที่มีอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ (๑๐) เงินรายรับอื่นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๕ เงินบำรุงการศึกษาไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานครและจะนำไปจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ เฉพาะเพื่อการดำเนินงานในกิจการของสถานศึกษานั้น ๆ ในอันที่จะก่อประโยชน์ต่อสถานศึกษา และนักเรียน นักศึกษา เงินบำรุงการศึกษาที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้โดยมีวัตถุประสงค์แน่นอนให้สถานศึกษาดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคหรืออุทิศ ถ้ามีเงินเหลือจ่ายให้ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษาได้ ข้อ ๖ การรับเงิน สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงิน ผู้บริจาคเงินหรือผู้อุทิศเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน และให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินบำรุงการศึกษา (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม ยกเว้นการยืมเพื่อกิจการของสถานศึกษา (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จบำนาญ (๓) รายจ่ายที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๘ อำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินบำรุงการศึกษา (๑) หัวหน้าสถานศึกษา ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการเขต/ผู้อำนวยการกองที่รับผิดชอบ ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนักที่รับผิดชอบ ครั้งละไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละ ๒๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ข้อ ๙ การพัสดุให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ข้อ ๑๐ การเก็บรักษาเงิน ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการครูกรุงเทพมหานครรักษาเงิน ๒ คน ร่วมกับหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ และให้เก็บไว้ในสถานที่ปลอดภัยพร้อมที่จะตรวจสอบได้ โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินดังนี้ (๑) ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินได้ภายในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินเกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้นำฝากธนาคารของรัฐหรือธนาคารรัฐวิสาหกิจหรือธนาคารที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ ข้อ ๑๑ การบัญชี การรับเงิน และการจ่ายเงินให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดและให้รวบรวมบรรดาเอกสารและหลักฐานการรับเงินและการจ่ายเงินนั้นไว้ให้ตรวจสอบได้ ข้อ ๑๒ ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานการรับเงินและการจ่ายเงินบำรุงการศึกษาให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองที่รับผิดชอบทราบเป็นประจำทุกระยะสามเดือนและเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานสรุปการรับเงิน การจ่ายเงินประจำปี และเงินคงเหลือให้ผู้อำนวยการสำนักที่รับผิดชอบทราบด้วย ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๔ การบัญชี การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และกิจการอื่นใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๗๕ ง/หน้า ๑๓/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
655388
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ (๔) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๕) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ (๖) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๕ (๗) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๑ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินรายรับ” หมายความว่า เงินรายรับตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ “สถานบริการสาธารณสุข” หมายความว่า ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครที่เป็นสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ “เงินบำรุง” หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของสถานบริการสาธารณสุข (๒) เงินที่มีผู้บริจาค หรืออุทิศให้ โดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ (๓) เงินที่สถานบริการสาธารณสุขได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (๔) เงินรายรับประเภทเงินรายได้จากทรัพย์สิน (๕) ดอกผลจากเงินบำรุง (๖) เงินที่สำนักอนามัยได้มาจาก (ก) เงินบำรุงตาม (๑) ถึง (๕) ที่สถานบริการสาธารณสุขส่งสมทบไว้ที่สำนักอนามัย (ข) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (ค) ดอกผลของเงินตาม (ก) และ (ข) (๗) เงินบำรุงที่มีอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ เงินบำรุง ให้สถานบริการสาธารณสุขและสำนักอนามัยใช้จ่ายได้ดังนี้ (๑) กิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสถานบริการสาธารณสุข หรือสำนักอนามัย และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงินงบประมาณได้แต่เงินงบประมาณไม่มี หรือมีไม่เพียงพอ หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินจากเงินงบประมาณได้ทัน หรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น (๒) กิจการอื่นที่จำเป็นในการบริการหรือสนับสนุนการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ข้อ ๖ รายจ่ายดังต่อไปนี้ ห้ามจ่ายจากเงินบำรุง (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของสถานบริการสาธารณสุขหรือส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่น ๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ยกเว้นรถบริการทางการแพทย์ ข้อ ๗ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินบำรุงไว้ดังนี้ (๑) สถานบริการสาธารณสุข ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) สำนักงานเลขานุการ สำนักอนามัย ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินบำรุงส่วนที่เกินให้นำฝากธนาคารที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้สถานบริการสาธารณสุขหรือส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัย ที่มีการรับจ่ายเงินตามระเบียบนี้ ทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสาร หลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุงจะต้องเก็บรวบรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะทำการตรวจสอบได้ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๙ ทุกวันสิ้นเดือนให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง นำเงินบำรุงส่งสมทบไว้ที่สำนักอนามัย ร้อยละห้าสิบของรายรับประจำเดือนนั้น ๆ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ชาญ/ผู้ตรวจ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง/หน้า ๒/๒๑ กันยายน ๒๕๕๔
650140
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ ทศ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ “ข้อ ๘ ทศ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ และ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๑๕/๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
651230
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร และการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ และข้อ ๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ (๒) รองปลัดกรุงเทพมหานคร รองประธานกรรมการ สั่งราชการฝ่ายสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๓) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม กรรมการ (๔) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (๕) ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรรมการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ (๗) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๘) ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๙) ผู้อำนวยการเขตซึ่งอาคารสงเคราะห์ตั้งอยู่ กรรมการ (๑๐) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๑๑) หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการ (๑๒) เจ้าหน้าที่ในฝ่ายสวัสดิการ กองการเจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับมอบหมาย ให้ดูแลงานด้านอาคารสงเคราะห์ จำนวนหนึ่งคน ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแผนงานในการพัฒนาอาคารสงเคราะห์ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ได้รับสิทธิและผู้ร่วมพักอาศัยต้องปฏิบัติเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ (๓) อนุมัติการเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๔) เพิกถอนสิทธิการเข้าพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ (๕) กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๓ (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๗) ดำเนินการใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๗ การสั่งก่อหนี้หรือสั่งจ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน หรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย” ข้อ ๕ ให้แก้ไขคำว่า “กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม” และ “สำนักสวัสดิการสังคม” ในระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานครและการใช้จ่ายเงินบำรุงอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นคำว่า “กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร” ทุกแห่ง ประกาศ ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี ดำรง/ตรวจ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๔ ง/หน้า ๒/๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
629555
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. 2553
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เครือข่าย” หมายความว่า การเข้ามามีบทบาทในฐานะการสร้างความร่วมมือ แนวร่วมและหรือการมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่นักเรียนอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือนักเรียนอยู่รับใช้งาน “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการ ประกอบด้วยประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการตามความเหมาะสม ดังนี้ (๑) คณะกรรมการระดับห้องเรียนมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน โดยคัดเลือกกันเองจากผู้ปกครองของแต่ละห้องเรียน (๒) คณะกรรมการระดับชั้นเรียนแต่งตั้งจากประธานกรรมการระดับห้องเรียนเป็นคณะกรรมการระดับชั้นเรียน (๓) คณะกรรมการระดับโรงเรียนแต่งตั้งจากประธานกรรมการระดับชั้นเรียนเป็นคณะกรรมการระดับโรงเรียน ข้อ ๖ คุณสมบัติของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง (๑) เป็นผู้ปกครองนักเรียนในปัจจุบัน (๒) ประกอบอาชีพสุจริต (๓) ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่สังคมรังเกียจ ข้อ ๗ ภายใต้บังคับข้อ ๑๐ วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งและสิ้นสุดลงในวันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนดำเนินการและประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง ข้อ ๘ การพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ข้อ ๙ เมื่อกรรมการว่างลงตามข้อ ๘ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนดำเนินการและประกาศแต่งตั้งกรรมการภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการว่างลง กรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ให้อยู่ในตำแหน่งได้ตามวาระของกรรมการเดิม เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการจะเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน ข้อ ๑๐ ในกรณีที่คณะกรรมการครบวาระแต่ยังมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ข้อ ๑๑ คณะกรรมการมีหน้าที่ดังนี้ (๑) คณะกรรมการระดับห้องเรียน มีหน้าที่ (ก) ประชุมปรึกษาปัญหาการเรียน และพฤติกรรมของนักเรียน (ข) วางแผนพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี มีความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร และพัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (ค) ดำเนินการตามแผนโดยเสนอแนวทางกิจกรรมให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติโดยผ่านครูที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ประสานงาน (๒) คณะกรรมการระดับชั้นเรียน มีหน้าที่ (ก) รวบรวมข้อมูลที่เป็นกิจกรรมดีเด่นของระดับห้องเรียนรายงานที่ประชุมระดับชั้นเรียน (ข) นำแนวทางที่ดีที่จะช่วยพัฒนาโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้นมาเผยแพร่สู่คณะกรรมการระดับชั้นเรียนและระดับโรงเรียน (๓) คณะกรรมการระดับโรงเรียน มีหน้าที่ (ก) ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาด้านพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตอาสา มีคุณธรรม จริยธรรม รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีไทย มีความรักชาติ รักสามัคคี โดยความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา (ข) ร่วมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครอง (ค) สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษา (ง) เสนอข้อคิด ข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนและสถานศึกษา (จ) ร่วมกับสถานศึกษาจัดให้มีการประชุมระหว่างคณะกรรมการกับผู้ปกครองตามความเหมาะสมอย่างน้อยปีละสองครั้ง (ฉ) สรุปและรายงานผลการดำเนินการของคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งในที่ประชุมใหญ่ของผู้ปกครองนักเรียน ข้อ ๑๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่ดำรงตำแหน่งอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ข้อ ๑๓ มติที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมากหากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาดและให้ถือมตินั้นเป็นที่สุด ข้อ ๑๔ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนจัดประชุมใหญ่ของคณะกรรมการทุกระดับอย่างน้อยสองครั้งต่อปี ข้อ ๑๕ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนแต่งตั้งครูเป็นผู้ประสานงานกับคณะกรรมการทุกระดับ ข้อ ๑๖ ให้ผู้อำนวยการโรงเรียนรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการต่อผู้อำนวยการเขตภาคเรียนละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๑๓/๒ มิถุนายน ๒๕๕๓
652564
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการใช้เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การใช้เงินที่มีผู้บริจาคให้กรุงเทพมหานครเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ ข้อ ๑๘ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “เงินบริจาค” หมายความว่า บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับจากผู้มอบให้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานหรือกรุงเทพมหานครใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ทั้งนี้ รวมถึงดอกผลที่เกิดขึ้นนั้นด้วย “สาธารณภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยจากโรคระบาด การก่อวินาศภัยตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย ของประชาชนหรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ “ผู้ประสบสาธารณภัย” หมายความว่า ประชาชนผู้ประสบสาธารณภัย ข้อ ๕ กรุงเทพมหานครอาจรับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยโดยวิธีใด ๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยให้สำนักการคลังเป็นผู้รับผิดชอบเปิดบัญชีเงินบริจาคฝากไว้กับธนาคารของรัฐตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ ให้หน่วยงานที่รับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาค ในกรณีที่ผู้บริจาคแจ้งความประสงค์ต้องการใบเสร็จรับเงินและให้นำเงินที่รับบริจาคฝากเข้าบัญชีธนาคารตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๖ เงินบริจาคตามระเบียบนี้ ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ กรุงเทพมหานครอาจนำเงินบริจาคมอบต่อผู้ประสบสาธารณภัยโดยตรง หรือนำไปใช้ในการจัดหาพัสดุ เครื่องอุปโภคบริโภค สิ่งของเท่าที่จำเป็นมอบต่อผู้ประสบสาธารณภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ทั้งนี้ อาจมอบผ่านส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก็ได้ การจัดหาพัสดุ สิ่งของ เครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ อำนาจการอนุมัติสั่งใช้เงินบริจาคให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน อำนาจการสั่งก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุและระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน ข้อ ๙ ให้สำนักการคลังมีหน้าที่รับจ่ายเงิน ฝากเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีการรับจ่ายเงิน รวมทั้งสรรพบัญชีหรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น รวมถึงการถอนเงินจากบัญชีเงินบริจาคตามข้อ ๕ และให้มอบแก่หน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เงินจากผู้มีอำนาจตามข้อ ๘ โดยนำฝากเข้าบัญชีเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานนั้น กรณีมีเงินเหลือจากการก่อหนี้ให้นำส่งคืนสำนักการคลังภายในสามสิบวันนับแต่วันเบิกจ่ายเงิน พร้อมรายงานให้สำนักการคลังทราบ ภายในสี่สิบห้าวันหลังจากภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสิ้นสุดลงให้สำนักการคลังทำรายงานสรุปผลการรับ การจ่ายเงินบริจาคเสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๐ ภายหลังการให้การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยเสร็จสิ้นลง หากปรากฏว่ามีพัสดุคงเหลือจากการดำเนินการ ให้หน่วยงานที่มีพัสดุเช่นนั้นอยู่ในความครอบครองเก็บรักษาไว้ก่อนพร้อมทั้งจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินบริจาคและพัสดุคงเหลือเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เว้นแต่พัสดุคงเหลือนั้นเป็นของสด เสียง่าย หรือเก็บไว้นานจะทำให้เสื่อมราคา ให้หน่วยงานที่เก็บรักษาหรือมีไว้ในครอบครองนำออกขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้ฝากกลับเข้าบัญชีเงินบริจาคตามข้อ ๕ พร้อมแจ้งให้สำนักการคลังทราบ เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครสั่งการเกี่ยวกับพัสดุคงเหลือนั้นเป็นประการใดแล้ว ให้หน่วยงานปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นโดยเร็ว และในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นควรให้พัสดุตามวรรคหนึ่งตกเป็นของหน่วยงานใด ให้หน่วยงานนั้นลงบัญชีพัสดุ หรือทะเบียนครุภัณฑ์ของหน่วยงานนั้นตามระเบียบของทางราชการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานจัดทำบัญชีควบคุมการรับและจ่ายเงินหรือสิ่งของในระบบบัญชีหรือลงทะเบียน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเก็บรวบรวมรักษาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินให้ครบถ้วน พร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๑๑ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การนำส่งเงินและการเก็บรักษาเงิน ให้หน่วยงานถือปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๘ ง/หน้า ๔/๙ สิงหาคม ๒๕๕๔
649119
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินรางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินรางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินรางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินรางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดา ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร “กระบวนงาน” หมายความว่า งานที่ต้องมีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนหรือผู้รับบริการ สามารถควบคุมระยะเวลาการปฏิบัติงานได้ มีความชัดเจนมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด “นวัตกรรมการให้บริการ” หมายความว่า การดำเนินการปรับปรุงการให้บริการ โดยนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือผู้รับบริการให้ได้รับการบริการที่มีคุณภาพ สะดวก และรวดเร็ว “งานบริการประชาชน” หมายความว่า งานที่หน่วยงาน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการแก่ประชาชน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการด้วยกันเองหรือผู้รับบริการอื่น ๆ เนื่องจากเป็นอำนาจที่ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ทั้งนี้ อาจเป็นบริการที่ให้กับประชาชนโดยตรง หรือการบริการทางอ้อมก็ได้ ข้อ ๕ หน่วยงานที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๖ หน่วยงานที่มีผลงานระดับดีเด่นด้านคุณภาพการให้บริการประเภทรายกระบวนงานหรือประเภทนวัตกรรมการให้บริการตามผลการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ให้ได้รับรางวัลเป็นโล่รางวัล หรือถ้วยรางวัล หรือวุฒิบัตรและเงินรางวัล ในอัตราประเภทละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ต่อหน่วยงาน ข้อ ๗ หน่วยงานที่มีผลงานระดับชมเชยประเภทรายกระบวนงานหรือประเภทนวัตกรรมการให้บริการตามผลการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานครให้ได้รับรางวัลเป็นโล่รางวัล หรือถ้วยรางวัล หรือวุฒิบัตร ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองระบบงานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกิน ๒ คน ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจประเมินและพิจารณาตัดสินคุณภาพผลงานของหน่วยงานแต่ละประเภท (๒) กำหนดชนิดรางวัลให้แก่หน่วยงาน (๓) แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๔) เสนอแนะแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณารางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๙ ให้กรุงเทพมหานครจ่ายเงินรางวัลให้แก่หน่วยงานที่มีผลงานระดับดีเด่นเพื่อนำไปพัฒนาองค์กร ข้อ ๑๐ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๔๐/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔
641728
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ ข้อ ๑๘ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน” ประกอบด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควรไม่เกินสองคนเป็นกรรมการ และให้หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่เกินสองคน ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๑๑/๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓
652037
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “การจัดงานหรือกิจกรรม” หมายความว่า การจัดงานซึ่งหน่วยงานดำเนินการเองตามแผนงานโครงการของหน่วยงานหรือตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร เช่น การจัดงานคล้ายวันสถาปนาของหน่วยงาน การจัดงานนิทรรศการ การจัดงานแถลงข่าว การจัดประกวดหรือแข่งขัน หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงการจัดกิจกรรม ซึ่งเข้าลักษณะการฝึกอบรมตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมอื่นใดที่มีข้อบัญญัติหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ ๕ การจัดงานหรือกิจกรรมของหน่วยงานให้หน่วยงานเบิกจ่ายได้ตามรายการ ดังนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายพิธีทางศาสนา (๒) ค่ารับรองผู้มาร่วมงานหรือร่วมกิจกรรม (ก) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ข) ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (๓) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่ (ก) ค่าสถานที่จัดงาน (ข) ค่าเช่าและค่าบริการวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดงาน (ค) ค่ารักษาความปลอดภัย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ, ทหาร หรืออื่น ๆ (ง) ค่าจ้างเหมาทำความสะอาด (จ) ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง จัดสถานที่รวมค่าติดตั้งและค่ารื้อถอน เช่น ค่าเช่าหรือจัดสร้างคูหา เป็นต้น (ฉ) ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ รวมค่าติดตั้งค่าเช่าอุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ช) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดสถานที่ (๔) ค่าวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดงานหรือกิจกรรม เช่น ค่าผ้าแพรคลุมป้าย ค่าวัสดุจัดทำเอกสารเผยแพร่การจัดงานหรือกิจกรรม ค่าของชำร่วยหรือของที่ระลึก เป็นต้น (๕) ค่าใช้จ่ายในการจัดประกวดหรือแข่งขัน (ก) ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน (ข) ค่าเขียนป้ายชื่อผู้เข้าร่วมแข่งขันและค่าเขียนเกียรติบัตรหรือประกาศเกียรติคุณ (ค) ค่าโล่ หรือถ้วยรางวัลที่มอบให้ผู้ชนะการประกวดหรือแข่งขันเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ (ง) เงินหรือของรางวัลผู้ชนะการประกวดหรือแข่งขัน (๖) ค่าจ้างเหมาจัดงานนิทรรศการ ค่าจ้างเหมาจัดบอร์ดนิทรรศการ (๗) ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์งาน เช่น ค่าโฆษณาทางวิทยุ - โทรทัศน์และสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศทางวิทยุ - โทรทัศน์ ค่าจ้างเหมาทำป้ายโฆษณาหรือสิ่งพิมพ์ เป็นต้น (๘) ค่าบัตรผ่านประตูเข้าชมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเจ้าหน้าที่ตามกิจกรรมที่โครงการกำหนด (๙) ค่าพาหนะ (๑๐) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการจัดงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานกำหนดค่าใช้จ่ายตาม (๑) - (๑๐) ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัดเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ข้อ ๖ กรณีมีเหตุจำเป็นซึ่งหน่วยงานไม่อาจทราบจำนวนหรือรายชื่อผู้มาร่วมงานหรือร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานจัดขึ้นเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินได้ กรณีนี้ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้จัดงานหรือกิจกรรมจัดทำคำรับรองจำนวนของผู้ร่วมงานหรือร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานจัดขึ้นเพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงินได้ ข้อ ๗ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การนำส่งเงินและการเก็บรักษาเงิน ให้หน่วยงานถือปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๘ การจัดหาพัสดุเพื่อการจัดงานหรือกิจกรรมตามระเบียบนี้ให้หน่วยงานดำเนินการจัดหาตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ ตลอดจนระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง กรณีที่หน่วยงานประสงค์จะดำ เนินการจ้างจัดงาน หรือจัดกิจกรรมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจเพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ข้อ ๙ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๑๗/๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔
632701
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ พ.ศ. 2553
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ เพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบจากภัย ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกด้านเป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ ข้อ ๑๘ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารจัดการกองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “กองทุน” หมายความว่า กองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำได้ “ภัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย หรือภัยอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลหรือของรัฐ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น “ผู้ประสบภัย” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และให้หมายความรวมถึงอาคาร สถานที่สาธารณูปโภค ชุมชน หรือองค์กรภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากภัยโดยตรง “ผู้ได้รับผลกระทบ” หมายความว่า บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประสบภัยโดยตรง แต่ได้รับผลกระทบอื่นจากภัยที่เกิดขึ้น และให้หมายความรวมถึง ผู้ที่อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายจากภัยด้วย “ให้ความช่วยเหลือ” หมายความว่า การช่วยเหลือด้วยเงิน สิ่งของ การให้โอกาส ตลอดจนการช่วยเหลือโดยวิธีใด ๆ ไม่ว่าจะสามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่ “ฟื้นฟู” หมายความว่า การดำเนินการใด ๆ เพื่อเสริมสร้าง ป้องกันและแก้ไขปัญหาตลอดจนการทำให้กลับเจริญงอกงามขึ้นมาใหม่ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน ข้อ ๖ ผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบผู้ใดได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นฟูตามระเบียบนี้ยังคงมีสิทธิได้รับเงินหรือการช่วยเหลือตามที่กฎหมายหรือระเบียบอื่นกำหนด หมวด ๒ กองทุนและรายรับของกองทุน ข้อ ๗ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนร่วมสร้างกรุงเทพมหานคร รวมกันเราทำ ได้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนภารกิจของกรุงเทพมหานครหรือรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกด้าน เช่น การสังคม การศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควรไม่เกินสองคนเป็นกรรมการ และให้หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้อีกไม่เกินสองคน ให้ประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ข้อ ๙ คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบ (๒) กำหนดประเภทของภัยและคุณสมบัติของผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบที่จะมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นฟูจากกองทุน (๓) พิจารณาอนุมัติการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบ (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร (๕) พิจารณาอนุมัติการจัดทำโครงการ การจัดกิจกรรม หรือการหารายได้เพื่อสมทบเข้ากองทุน (๖) ควบคุม กำกับและตรวจสอบ การรับ - จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๗) กำหนดแนวทาง วิธีการ รวมทั้งตีความและวินิจฉัยปัญหาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๙) เชิญข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือข้าราชการลูกจ้างของส่วนราชการอื่น รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งขอให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม (๑๐) หน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่แทน มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนและจะเรียกประชุมคณะกรรมการให้ทันท่วงทีมิได้ประธานกรรมการจะขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโดยวิธีทำหนังสือเวียนก็ได้ ข้อ ๑๑ ให้กรุงเทพมหานครเปิดบัญชีเงินกองทุนฝากไว้กับธนาคารของรัฐตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ เพื่อเป็นบัญชีในการรับ - จ่ายเงินกองทุน ข้อ ๑๒ กองทุนอาจมีรายรับดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินอื่นซึ่งมีผู้บริจาคเพื่อสมทบเข้ากองทุน (๒) เงินหรือทรัพย์สินอื่นซึ่งได้มาจากการจัดทำโครงการหรือการจัดกิจกรรมของกองทุน (๓) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล กรุงเทพมหานคร ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (๔) ดอกผลจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๕) เงินรายรับหรือทรัพย์สินอื่น ๆ บรรดาเงินหรือทรัพย์สินและดอกผลที่ได้รับตามระเบียบนี้ ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับหรือขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓ การรับเงินบริจาค ให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ (๑) ให้หน่วยงานผู้รับบริจาคมีหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงิน และให้หน่วยงานนั้นนำเงินฝากเข้าบัญชีกองทุนให้เสร็จภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทันก็ให้นำฝากในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการและให้ระบุเหตุผลที่นำฝากไม่ทันไว้ในใบนำฝากด้วย (๒) กรณีมีผู้บริจาคโดยไม่อาจออกใบเสร็จรับเงินได้ ให้หน่วยงานตั้งคณะกรรมการตรวจนับและเก็บรักษาเงิน จำนวนไม่เกินสามคน มีหน้าที่ตรวจนับและเก็บรักษาเงินและนำเงินฝากเข้าบัญชีกองทุนให้เสร็จภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทันก็ให้นำฝากในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการ และให้ระบุเหตุผลที่นำฝากไม่ทันไว้ในใบนำฝากด้วย (๓) กรณีการบริจาคเงินผ่านระบบธนาคารหรือระบบอื่น ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบบัญชีกองทุนมีหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคตามความประสงค์ ข้อ ๑๔ คณะกรรมการอาจอนุมัติให้หน่วยงานนำเงินกองทุนไปใช้จ่ายในการจัดทำโครงการหรือการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้สมทบกองทุนก็ได้ หลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดทำโครงการ หรือการจัดกิจกรรม และการนำส่งเงินรายได้หรือทรัพย์สินเข้ากองทุน ให้คณะกรรมการพิจารณาตามความเหมาะสม หมวด ๓ การใช้จ่ายเงินกองทุน ข้อ ๑๕ กองทุนอาจมีรายจ่ายตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบจากภัย (๒) เพื่อสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร (๓) เพื่อการจัดทำโครงการ หรือการจัดกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ (๔) รายจ่ายอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร ข้อ ๑๖ หน่วยงานใดประสงค์จะใช้จ่ายเงินกองทุน ให้จัดทำรายละเอียดการใช้เงินเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการ กรณีที่เห็นสมควรคณะกรรมการอาจสั่งให้หน่วยงานปรับปรุง แก้ไข หรือเสนอรายละเอียดใหม่ก็ได้ กรณีมีเงินเหลือจ่ายให้นำส่งคืนหน่วยงานที่รับผิดชอบบัญชีกองทุน ข้อ ๑๗ กรณีที่หน่วยงานได้รับอนุมัติการใช้เงินจากคณะกรรมการแล้ว ให้เลขานุการคณะกรรมการแจ้งมติของคณะกรรมการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบบัญชีกองทุนโอนเงินจากบัญชีกองทุนให้หน่วยงานนั้นและนำฝากเป็นบัญชีเงินนอกงบประมาณของหน่วยงาน ข้อ ๑๘ การถอนเงินฝากตามข้อ ๑๑ ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายกับเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือหัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อร่วมกัน ข้อ ๑๙ อำนาจการสั่งก่อหนี้และการอนุมัติเบิกจ่ายเงินกองทุนให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุและระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ข้อ ๒๐ ให้หน่วยงานที่คณะกรรมการมอบหมายรับผิดชอบบัญชีกองทุนมีหน้าที่รับจ่ายเงินฝากเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีรายการรับ - จ่ายเงิน รวมทั้งสรรพบัญชีหรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็นและบรรดาเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบและเก็บรวบรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ - จ่ายเงินประจำปีและยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ บัญชีรายการรับ - จ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง ให้จัดไว้สำหรับประชาชนเข้าตรวจดูได้ รวมทั้งให้ประกาศเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๗/๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓
623702
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๗๙ กำหนดให้มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทเป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น โดยให้มีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบค่านิยมหลักสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันผู้ตรวจการแผ่นดินได้ให้คำแนะนำให้หน่วยงานทั้งหลายถือปฏิบัติ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ประมวลจริยธรรม” หมายความว่า ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร โดยให้หมายความรวมถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้าง” หมายความว่า ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวและผู้ชำนาญงาน โดยให้หมายความรวมถึงพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ มาตรฐานจริยธรรม ส่วนที่ ๑ ค่านิยมหลัก ข้อ ๕ ข้าราชการและลูกจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในค่านิยมหลัก ดังนี้ (๑) ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมอันดี (๒) มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ (๓) ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน (๔) ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นไปตามหลักนิติธรรม (๕) ให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยอันดี และไม่เลือกปฏิบัติ (๖) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง (๗) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ (๘) ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๙) ยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์การ ส่วนที่ ๒ มาตรฐานจริยธรรมขององค์การ ข้อ ๖ ข้าราชการและลูกจ้างต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ข้อ ๗ ข้าราชการและลูกจ้างต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ ข้อ ๘ ข้าราชการและลูกจ้างต้องซื่อสัตย์ สุจริต พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง เกียรติและศักดิ์ศรีของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙ ข้าราชการและลูกจ้างต้องเป็นพลเมืองดี เคารพกฎ ระเบียบขององค์การและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๐ ข้าราชการและลูกจ้างต้องมีจิตสำนึกที่ดี มีความขยัน หมั่นเพียร รับผิดชอบมุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ละเว้นจากการกระทำทั้งปวงอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ข้อ ๑๑ ข้าราชการและลูกจ้างมีหน้าที่เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกรุงเทพมหานครกับประชาชน ข้อ ๑๒ ข้าราชการและลูกจ้างต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ข้อ ๑๓ ข้าราชการและลูกจ้างต้องละเว้นการกระทำใด ๆ อันทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียงของกรุงเทพมหานคร เว้นแต่เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการตามหลักวิชาโดยสุจริต ข้อ ๑๔ ข้าราชการและลูกจ้างต้องไม่ใช้หรือแนะนำให้ประชาชนใช้ช่องว่างของกฎหมายในงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ข้อ ๑๕ ข้าราชการและลูกจ้างต้องไม่ยอมให้บุคคลอื่นอาศัยชื่อตนเองถือครองทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแทนบุคคลอื่น หรือใช้ชื่อบุคคลอื่นถือครองสิ่งดังกล่าวแทนตนเพื่อปกปิดทรัพย์สินของตนอันเป็นการเลี่ยงกฎหมาย หมวด ๒ กลไกและระบบการใช้บังคับประมวลจริยธรรม ส่วนที่ ๑ การส่งเสริมและคุ้มครองจริยธรรม ข้อ ๑๖ ให้มีคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ (๒) ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการ (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคนที่กรุงเทพมหานครนำ เสนอโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ (๔) เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินหรือผู้แทนเป็นกรรมการ ให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการและให้หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งข้าราชการในสังกัดจำนวนสองคน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครต้องไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครโดยอนุโลม ข้อ ๑๗ คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) กำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การใช้บังคับประมวลจริยธรรม (๒) คุ้มครองข้าราชการและลูกจ้างซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมามิให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการและลูกจ้างผู้นั้น (๓) เผยแพร่ ปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้เป็นที่รับทราบอย่างกว้างขวางทั้งในหมู่ข้าราชการ ลูกจ้าง และประชาชน (๔) ส่งเสริมและยกย่องหน่วยงาน ส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บังคับบัญชา ข้าราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างจริงจัง (๕) ติดตาม สอดส่องการใช้บังคับและการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ในกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรมและยังไม่มีการดำเนินการใด คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครอาจมีมติให้หัวหน้าหน่วยงานผู้ฝ่าฝืนดำเนินการตามประมวลจริยธรรมได้ (๖) ประสานงานกับผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้การปฏิบัติตามค่านิยมหลักสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนประมวลจริยธรรมนี้มีผลใช้บังคับอย่างจริงจังมีประสิทธิภาพและทั่วถึง (๗) ประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ของข้าราชการและลูกจ้างและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากประมวลจริยธรรมนี้ (๘) ประมวลการตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ทุกปี และเผยแพร่ให้ข้าราชการและลูกจ้างทราบเพื่อยึดถือและเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป (๙) ทบทวนว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมนี้หรือไม่อย่างน้อยทุกสี่ปี (๑๐) เชิญบุคคลภายนอกเป็นกรรมการที่ปรึกษาแต่ละกรณีของคณะกรรมการ (๑๑) แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงาน (๑๒) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่จะตกลงกับผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้อ ๑๘ ให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร โดยข้อเสนอของหัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานขึ้น เพื่อควบคุม กำกับให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ประกอบด้วย (๑) ประธานกรรมการซึ่งหัวหน้าหน่วยงานเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ผู้มีความซื่อสัตย์เป็นประจักษ์ (๒) กรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งบริหารตั้งแต่ รองหัวหน้าหน่วยงาน ผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด คัดเลือกกันเองให้เหลือสองคน (๓) กรรมการสองคนซึ่งเป็นข้าราชการและหรือลูกจ้างที่ได้รับการคัดเลือกจากข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด กรณีการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้คัดเลือกกันเองจากพนักงานและลูกจ้างในสังกัดจำนวนสองคน (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสองคน ซึ่งหัวหน้าหน่วยงานและรองหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงานร่วมกันเสนอ ให้เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการกองบริหารทั่วไปหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น หัวหน้าฝ่ายปกครอง หรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปแล้วแต่กรณี เป็นเลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานที่ตนสังกัด กรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานต้องมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครกำหนด ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครโดยอนุโลม ข้อ ๑๙ คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) ควบคุม กำกับ ส่งเสริมและให้คำแนะนำในการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในหน่วยงาน (๒) สอดส่องดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมในหน่วยงาน ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนว่ามีการฝ่าฝืนจริยธรรม ให้คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานพิจารณาวินิจฉัย กรณีเห็นว่ามีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม ให้ส่งเรื่องให้หัวหน้าหน่วยงานเพื่อปฏิบัติตามความในส่วนที่ ๒ หมวด ๒ แห่งประมวลจริยธรรมนี้โดยเร็ว (๓) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในหน่วยงานเมื่อได้วินิจฉัยแล้วให้ส่งคำ วินิจฉัยให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครโดยเร็วถ้าคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครมิได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครรับเรื่อง ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานเป็นที่สุด (๔) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ หรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายหน่วยงาน และยังไม่มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน (๕) คุ้มครองข้าราชการและลูกจ้างซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมามิให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการและลูกจ้างผู้นั้น (๖) เสนอแนะการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมนี้ หรือการอื่นที่เห็นสมควรต่อคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร (๗) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๒๐ กรรมการจริยธรรมตามข้อ ๑๘ มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละสองปี เมื่อครบวาระให้ดำเนินการคัดเลือกใหม่ โดยกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งอีกได้แล้วแต่กรณี และให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการเสนอรายชื่อคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครแต่งตั้งต่อไป ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง คงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการที่ได้รับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ข้อ ๒๑ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ (๓) พ้นจากการเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น (๔) ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง (๕) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ได้รับโทษจำคุก (๖) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๗) เป็นบุคคลล้มละลาย ในกรณีที่กรรมการจริยธรรมซึ่งคัดเลือกกันเองหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการประเภทคัดเลือกกันเองหรือแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่กรรมการผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง และให้ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือแต่งตั้งแล้วแต่กรณี ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทนแต่ถ้าวาระของกรรมการผู้นั้นเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน จะไม่ดำเนินการคัดเลือกกรรมการหรือแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นก็ได้ ในระหว่างที่ยังมิได้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงตามวรรคหนึ่งหากกรรมการที่เหลืออยู่มีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ข้อ ๒๒ ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ และประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควบคุมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้สนับสนุนส่งเสริมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มีความซื่อสัตย์ มีผลงานและความรู้ความสามารถ และปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) คุ้มครองข้าราชการและลูกจ้างซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมามิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรม (๒) ส่งเสริมและเผยแพร่การปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างสม่ำเสมอ (๓) ติดตามสอดส่องให้ข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยงานหรือส่วนราชการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างเคร่งครัด (๔) ปฏิบัติตามมติหรือคำ วินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงาน หรือคำแนะนำของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานมีคำวินิจฉัยใด และหัวหน้าหน่วยงานไม่เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยนั้น ให้เสนอความเห็นของตนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานไปให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครวินิจฉัยได้ เว้นแต่กรณีนั้นมีคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินหรือคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครวินิจฉัยไว้เสร็จเด็ดขาดแล้ว (๕) รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประมวลจริยธรรมนี้ หรือการอื่นตามที่เห็นสมควรเสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร (๖) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้หรือตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครมอบหมาย ส่วนที่ ๒ ระบบการใช้บังคับประมวลจริยธรรม ข้อ ๒๓ การฝ่าฝืนจริยธรรมตามความในหมวด ๑ ของประมวลจริยธรรมนี้ ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี การฝ่าฝืนจริยธรรมตามความในหมวด ๑ ของประมวลจริยธรรมอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครอย่างร้ายแรงให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง การดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมนี้ ให้นำกระบวนการทางวินัยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่มีการลงโทษผู้ฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมนี้ ให้หน่วยงานรายงานคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงาน และให้คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานรายงานคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครทราบด้วย ข้อ ๒๔ การกระทำกรรมเดียวที่มีทั้งความผิดวินัยและเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมให้ลงโทษวินัยได้ครั้งเดียวในการกระทำนั้น และอาจให้รับการพัฒนาตามที่คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครกำหนดด้วยก็ได้ ข้อ ๒๕ ให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงาน หัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าส่วนราชการ ส่งเสริมจริยธรรมข้าราชการและลูกจ้างโดยอย่างน้อยต้องดำเนินการ ดังนี้ (๑) ในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือน หรือค่าจ้าง ย้ายหรือโอนข้าราชการและลูกจ้างให้ใช้พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้นั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย (๒) ปลูกฝังจริยธรรมให้ข้าราชการและลูกจ้างที่บรรจุใหม่ จัดให้ลงลายมือชื่อรับทราบประมวลจริยธรรม จัดให้มีสมุดบันทึกประวัติในส่วนที่เกี่ยวกับจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างแต่ละคน รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมผู้บริหาร และข้าราชการและลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ (๓) ประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างแต่ละคน (๔) คุ้มครองข้าราชการและลูกจ้างผู้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ (๕) ยกย่องข้าราชการและลูกจ้าง หน่วยงานและส่วนราชการที่ถือปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้โดยเคร่งครัด (๖) ตอบข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ (๗) จัดให้มีการศึกษาค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้และดำเนินการแก้ไขปรับเปลี่ยนค่านิยมนั้น (๘) เผยแพร่ให้ประชาชน ผู้เป็นคู่สมรส ญาติ พี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูงของข้าราชการและลูกจ้าง ตลอดจนประชาชนผู้มาติดต่อราชการทราบประมวลจริยธรรมข้าราชการและลูกจ้างเพื่อไม่ทำการอันเป็นการส่งเสริมหรือก่อให้เกิดการฝ่าฝืนจริยธรรม (๙) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ข้อ ๒๖ เมื่อมีปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ในเรื่องใด ข้าราชการและลูกจ้างอาจเสนอเรื่องที่เป็นปัญหาดังกล่าวให้เลขานุการคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานที่ตนสังกัดนำเสนอเพื่อขอคำวินิจฉัยจากคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานได้ ในกรณีที่เรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญหรือมีผลกระทบในวงกว้างหลายหน่วยงาน และยังไม่มีคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินหรือคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานอาจส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครวินิจฉัยให้ ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร เห็นว่าเรื่องดังกล่าวตามวรรคหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญอันควรแก่การขอคำแนะนำจากผู้ตรวจการแผ่นดินก็ให้กระทำได้ ข้าราชการและลูกจ้างที่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงานคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร หรือผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ต้องรับผิดทางวินัย บทเฉพาะกาล ข้อ ๒๗ ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานคร ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประมวลจริยธรรมนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒๘ เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่ประมวลจริยธรรมนี้มีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครจัดให้มีการประเมินการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ พร้อมดำเนินการปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติหรือแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมให้เหมาะสม ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการจริยธรรมกรุงเทพมหานครรับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการ ลูกจ้าง คณะกรรมการจริยธรรมประจำหน่วยงาน หัวหน้าหน่วยงานและผู้ตรวจการแผ่นดินอย่างกว้างขวาง โดยจะต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ครบหนึ่งปีของการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๒๐/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
608497
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมบัญชีอัตราค่าบริการแนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ (บัญชี ๑ อัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้) ในประเภทบริการ (๖) ค่าบริการศัลยกรรมต่าง ๆ รายการการรักษา โดยเพิ่มรายการที่ ๗ ตามบัญชีอัตราค่าบริการแนบท้ายระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าบริการแนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้ ค่าห้อง ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยใน และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการทางการแพทย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๒ (บัญชี ๑ อัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขมิได้กำหนดไว้) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๙๘ ง/หน้า ๑/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
604932
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๓๔ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงโรงพยาบาล (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินรายรับ” หมายความว่า เงินรายรับตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ “โรงพยาบาล” หมายความว่า โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข “เงินบำรุงโรงพยาบาล” หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาล (๒) เงินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้โรงพยาบาลโดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ (๓) เงินที่โรงพยาบาลได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (๔) เงินรายรับประเภทเงินรายได้จากทรัพย์สิน (๕) ดอกผลของเงินบำรุงโรงพยาบาล (๖) เงินที่สำนักการแพทย์ได้มาจาก (ก) เงินบำรุงโรงพยาบาลตาม (๑) ถึง (๕) ที่โรงพยาบาลนำส่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์ (ข) การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ (ค) ดอกผลของเงินตาม (ก) และ (ข) (๗) เงินบำรุงโรงพยาบาลที่มีอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ เงินบำรุงโรงพยาบาล ให้โรงพยาบาลและสำนักการแพทย์ใช้จ่ายได้ ดังนี้ (๑) กิจการที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลและส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงินงบประมาณได้แต่เงินงบประมาณไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ หรือมีเหตุจำเป็นรีบด่วนไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทัน หรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น (๒) กิจการอื่นที่จำเป็นในการบริการหรือสนับสนุนการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ข้อ ๖ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินบำรุงโรงพยาบาล (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของโรงพยาบาลและส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่น (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะยกเว้นการจัดซื้อรถพยาบาลหรือรถเข็นคนไข้ ข้อ ๗ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินบำรุงโรงพยาบาลไว้ ดังนี้ (๑) โรงพยาบาลไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) สำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินบำรุงโรงพยาบาลส่วนที่เกิน ให้นำฝากธนาคารตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้โรงพยาบาลและสำนักงานเลขานุการ สำนักการแพทย์ ที่มีการรับจ่ายเงินตามระเบียบนี้จัดทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุงโรงพยาบาลจะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำ การตรวจสอบได้ และให้รายงานการรับ การจ่าย และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๙ เมื่อสิ้นปีงบประมาณใด ถ้าปรากฏว่าโรงพยาบาลแห่งใดมียอดเงินบำรุงคงเหลือให้โรงพยาบาลนั้นนำเงินที่เหลือส่งสมทบไว้ที่สำนักการแพทย์เป็นจำนวนร้อยละห้าของยอดเงินบำรุงคงเหลือภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณแต่ละปี ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๔/๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
620940
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการขอใช้สุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสุสานและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในส่วนรวม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ และมาตรา ๘๙ (๑๗) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการเขตหนองจอก หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตหนองจอก ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร อิหม่ามประจำมัสยิดดารุ้ลกอนี (สุเหร่าต้นโพธิ์) หรือผู้แทน เป็นกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายปกครองสำนักงานเขตหนองจอก เป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการบริหารสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการบริหารจัดการสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร (๒) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการใช้สุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานครตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสุสาน (๓) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน บัญชีเอกสาร และรายงานผลการดำเนินการให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี (๔) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นประกอบการพิจารณาในการดำเนินการเกี่ยวกับสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในระเบียบนี้ ข้อ ๕ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๖ ให้ผู้อำนวยการเขตหนองจอกมีอำนาจบริหารจัดการสุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ ให้ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับศาสนพิธีตามหลักศาสนาอิสลาม ข้อ ๘ ในการขอใช้สุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ขออนุญาตยื่นคำขอที่สำนักงานเขตหนองจอก โดยแนบใบมรณบัตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาอนุญาต ข้อ ๙ ในการดำเนินการเกี่ยวกับศาสนพิธีในการฝังศพ ให้คณะกรรมการประจำมัสยิดเป็นผู้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ โดยปกติในทางศาสนาอิสลาม ข้อ ๑๐ ที่ฝังศพต้องอยู่ห่างจากแนวเขตสถานที่สำหรับฝังศพไม่น้อยกว่า ๔ เมตร แต่ละหลุมฝังศพต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร และการฝังหีบศพหรือที่บรรจุศพต้องอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า ๑ เมตร การกำหนดจุดสำหรับการฝังศพในตำแหน่งใดให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการเขตหนองจอกกำหนด ข้อ ๑๑ การฝังศพผู้ตายด้วยโรคติดต่ออันตราย ห้ามนำศพออกจากหีบศพหรือที่บรรจุเดิมและห้ามนำสิ่งที่ติดไปกับศพออกจากหีบศพหรือที่บรรจุ ข้อ ๑๒ ผู้ขออนุญาตใช้สุสานกลางมุสลิมประจำกรุงเทพมหานคร ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของผู้อำนวยการเขตหนองจอกในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การชำระล้างสถานที่ในบริเวณสุสานตามที่กำหนด ข้อ ๑๓ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๒๑/๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
622603
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ สัตต แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ สัตต ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพบำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น เมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้วต่ำกว่าเดือนละหกพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินหกพันบาท หักด้วยจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๗/๑๒ มกราคม ๒๕๕๓
620186
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาล พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๔๙ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “งานด้านสุขาภิบาล” หมายถึง งานด้านการควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหมดของมนุษย์ที่กระทำ หรืออาจกระทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาการทางด้านสุขภาพร่างกายและการมีชีวิตอยู่รอดของมนุษย์ เช่น งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานสุขาภิบาลอาหาร เป็นต้น ข้อ ๕ บุคคลภายนอกที่มาช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสุขาภิบาล ประกอบด้วย (๑) ผู้เชี่ยวชาญ (๒) ผู้ชำนาญการ (๓) อาสาสมัคร ข้อ ๖ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ได้แก่ (๑) การให้คำปรึกษาในกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการสุขาภิบาล (๒) การดำเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการสุขาภิบาล เช่น การสำรวจข้อมูลการติดตามตรวจประเมินผล การประชาสัมพันธ์ และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาล เป็นต้น (๓) การเพิ่มพูนความรู้หรือประสบการณ์ด้วยการฝึกอบรม การสอน การสาธิต การฝึกงานทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หรือบริการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับงานสุขาภิบาล (๔) การช่วยปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการสุขาภิบาล ข้อ ๗ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้เชี่ยวชาญ จะต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเคยปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี (๒) ผู้ชำนาญการ จะต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเคยปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๓) อาสาสมัคร จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไป ซึ่งผ่านการอบรมด้านการสุขาภิบาลมีระยะเวลาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และต้องเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ข้อ ๘ ให้สำนักและสำนักงานเขตพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมตามข้อ ๗ เสนอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และอาสาสมัครตามความจำเป็นของแต่ละกิจกรรมหรือโครงการ ทั้งนี้ ให้มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญการได้ไม่เกินกิจกรรมหรือโครงการละ ๒ คน ข้อ ๙ ให้ผู้อำนวยการสำนักหรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี ออกคำสั่งในการกำหนดวันและเวลาในการปฏิบัติงานของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และอาสาสมัคร ที่ได้รับแต่งตั้งตามข้อ ๘ และให้จ่ายค่าตอบแทนตามวันและเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง โดยให้ได้รับค่าตอบแทน ดังนี้ (๑) ค่าตอบแทนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ให้เบิกจ่ายเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ ๓๕๐ บาทต่อคน ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินวันละ ๔ ชั่วโมง (๒) ค่าตอบแทนสำหรับผู้ชำนาญการ ให้เบิกจ่ายเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ ๒๕๐ บาทต่อคน ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินวันละ ๔ ชั่วโมง (๓) ค่าตอบแทนสำหรับอาสาสมัคร ให้เบิกจ่ายเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ ๔๐ บาทต่อคน โดยต้องช่วยปฏิบัติราชการเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายได้ไม่เกินวันละ ๗ ชั่วโมง เศษของชั่วโมงถ้าเกินครึ่งชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง ถ้าไม่ถึงครึ่งชั่วโมงให้ปัดทิ้ง ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๙/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
583281
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๔) ของข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๖ “(๑๔) คำขอชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ.๑๓” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๖ “นอกจากที่ได้กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร รวมทั้งขอต่ออายุใบอนุญาต ขอชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการแจ้งทางอินเทอร์เน็ตผ่านทางเว็บไซต์ของส่วนราชการ หน่วยงานหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง หรือโดยวิธีการอื่นได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามประกาศของกรุงเทพมหานคร” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกแบบ สอ.๔ แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยให้ใช้แบบ สอ.๔ แนบท้ายระเบียบนี้แทน ข้อ ๖ ให้เพิ่มแบบ สอ.๑๓ ท้ายระเบียบนี้ เป็นแบบแนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๔) ๒. คำขอชำระค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๑๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑๗/๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑