sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
584433
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๔๗ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “แพทย์ห้วงเวลา” หมายความว่า แพทย์นอกเวลา แพทย์ที่ปรึกษา แพทย์ทั่วไป แพทย์เฉพาะโรค แพทย์เฉพาะทาง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ “ทันตแพทย์ห้วงเวลา” หมายความว่า ทันตแพทย์ที่ปรึกษา ทันตแพทย์ทั่วไป ทันตแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ “เภสัชกรห้วงเวลา” หมายความว่า เภสัชกรที่ปรึกษา เภสัชกรทั่วไป ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ “บุคลากรทางการสาธารณสุขห้วงเวลา” หมายความว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ เช่น นายสัตวแพทย์ สัตวแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการพยาบาล นักกายภาพบำบัด นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยา นักวิชาการศึกษาพิเศษ นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาลเทคนิค ผู้ช่วยพยาบาล เจ้าหน้าที่พยาบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าหน้าที่เวชสถิติ นักเวชระเบียน ผู้ช่วยทันตแพทย์ เจ้าหน้าที่เภสัชกร ผู้ช่วยเภสัชกร เป็นต้น ข้อ ๕ การจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลกรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา ให้พิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นของงาน และไม่เป็นภาระแก่สถานะการเงินของหน่วยงานหรือส่วนราชการ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลาท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการพิจารณากำหนดเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลา จำนวนสองคณะ ดังนี้ ๖.๑ คณะกรรมการพิจารณากำหนดเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลาของสำนักการแพทย์ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ และหัวหน้าส่วนราชการหรือข้าราชการในสังกัดที่ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์คัดเลือก จำนวนไม่เกินสิบห้าคนเป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เลขานุการ รวมทั้งให้แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน ๖.๒ คณะกรรมการพิจารณากำหนดเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลาของสำนักอนามัยประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ และหัวหน้าส่วนราชการหรือข้าราชการในสังกัดที่ผู้อำนวยการสำนักอนามัยคัดเลือก จำนวนไม่เกินสิบห้าคนเป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เลขานุการ รวมทั้งให้แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ปรับเพิ่มหรือปรับลดอัตราค่าตอบแทนนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ตามข้อ ๗ โดยให้พิจารณาตามความจำเป็นและไม่เป็นภาระด้านการเงินของหน่วยงาน (๒) กำกับดูแลและติดตามผลในการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ (๓) พิจารณาเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๔) สั่งให้ข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการชี้แจง ให้ความเห็น ให้ข้อเท็จจริงรวมทั้งเรียกเอกสารจากส่วนราชการ (๕) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ในส่วนของสำนักการแพทย์และสำนักอนามัย แล้วแต่กรณี (๖) ดำเนินการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๗ การจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลานอกเหนือจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๖ ประกาศกำหนดตามความจำเป็นและไม่เป็นภาระด้านการเงินของหน่วยงาน ดังนี้ (๑) การจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นไม่เกินหนึ่งเท่า หรือปรับลดลงไม่เกินร้อยละห้าสิบของอัตราที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๖ ประกาศกำหนด แล้วเสนอปลัดกรุงเทพมหานครทราบ (๒) การจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่า หรือปรับลดลงเกินกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๖ ประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของปลัดกรุงเทพมหานคร (๓) การจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเกินกว่าสองเท่าของอัตราที่กำหนดไว้ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๖ ประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ เงินค่าตอบแทนตามระเบียบนี้ ให้เบิกจ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ประเภทค่าตอบแทน หรือเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข เงินบำรุงวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล เงินบำรุงวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ เงินบำรุงโรงพยาบาล หรือเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาล แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลา ในส่วนของสำนักการแพทย์ แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๕๑ ๒. หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานห้วงเวลา ในส่วนราชการสังกัดสำนักอนามัย แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๕๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง/หน้า ๓๒/๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑
620183
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน พ.ศ. 2552
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๒[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๒” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “บุคคลภายนอก” หมายความว่า บุคคลที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร “อาสาสมัครการศึกษา” หมายความว่า บุคคลภายนอกที่สมัครใจเข้าช่วยปฏิบัติราชการด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินค่าตอบแทนที่ไม่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ข้อ ๖ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการเป็นอาสาสมัครการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ๖.๑ คุณสมบัติทั่วไป (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรค ดังต่อไปนี้ (ก) โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (ข) วัณโรคในระยะอันตราย (ค) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (ง) โรคพิษสุราเรื้อรัง (๕) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือถูกพักงานจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๖) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือเลิกจ้างเพราะกระทำผิดวินัยจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (๗) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๘) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๙) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๑๐) ไม่เป็นภิกษุ สามเณร หรือนักพรต นักบวช ในศาสนา ๖.๒ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ข้อ ๗ อาสาสมัครการศึกษาในสถานศึกษาใดจะมีจำนวนเท่าใด ระยะเวลาทำงานเท่าใด รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด หมวด ๒ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ข้อ ๘ อาสาสมัครการศึกษาให้มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูจัดกิจกรรมนักเรียน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสาธารณะ มีความตระหนักสำนึกในการมีส่วนร่วมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีความรักชาติรักประชาธิปไตยและหรืองานอื่น ๆ ตามที่ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย ข้อ ๙ การเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน การสิ้นสุดการปฏิบัติงาน วันเวลาปฏิบัติงาน วันหยุดและการลาหยุด ให้เป็นไปตามที่ผู้บริหารสถานศึกษากำหนด และให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่น้อยกว่าหกวันโดยปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าวันละแปดชั่วโมง หมวด ๓ การจ่ายค่าตอบแทน ข้อ ๑๐ การจ่ายค่าตอบแทนแก่อาสาสมัครการศึกษา ให้จ่ายตามวัน เวลา ที่ได้ปฏิบัติงานจริงในอัตราขั้นต่ำของคุณวุฒิปริญญาตรี โดยให้จ่ายเป็นรายวัน ข้อ ๑๑ การเบิกจ่ายค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามระเบียบนี้ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๖/๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
594017
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่มาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มาตรฐาน ทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบเกี่ยวกับมาตรฐาน ทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานที่ปรึกษา และที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ค่านิยมหลักของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนตามหลักนิติธรรมและหลักของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก ดังนี้ (๑) ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๒) ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม (๓) มีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ (๔) ยึดมั่นในการรักษาประโยชน์ของชาติและของกรุงเทพมหานครเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม (๕) ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ถูกกฎหมายและเป็นธรรม (๖) ให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีอัธยาศัย เอาใจใส่ ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติ (๗) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง (๘) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ (๙) ยึดมั่นในหลักจรรยาของการเป็นข้าราชการการเมืองที่ดี หมวด ๒ มาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้อ ๗ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ ข้อ ๘ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ข้อ ๙ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ต้องไม่กำหนดนโยบายหรือกระทำการใด อันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยมิชอบ ข้อ ๑๐ ข้าราชการการเมืองของในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ของการเป็นพลเมืองดีในการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ข้อ ๑๑ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องยึดมั่นในหลักนิติธรรม หลักของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ข้อ ๑๒ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องมีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ประชาชน ชุมชนและสังคม และต้องถือเอาผลประโยชน์ของส่วนรวมและประชาชนเป็นสิ่งสูงสุด ข้อ ๑๓ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องรับใช้ประชาชน อย่างเต็มความสามารถด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ รับผิดชอบ เที่ยงธรรม ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ข้อ ๑๔ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครพึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุข และรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ และต้องไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย ใส่ร้าย เสียดสี หรือเหยียดหยามบุคคลใด ข้อ ๑๕ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องรักษาความลับของราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อ ๑๖ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง ย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครถือหุ้น หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ องค์การมหาชน หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย ข้อ ๑๗ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องมีความเที่ยงธรรม ในการพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใดเข้าสู่ตำแหน่ง รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคล โดยยึดมั่นในกฎหมายและคำนึงถึงระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลประกอบด้วย ข้อ ๑๘ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ข้อ ๑๙ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องรักษาทรัพย์สินของราชการและใช้ทรัพย์สินของราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ เท่านั้น ข้อ ๒๐ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องเปิดเผยข้อมูลการทุจริต การใช้อำนาจในทางที่ผิด การฉ้อฉล หลอกลวง หรือการกระทำอื่นใดทำให้ราชการเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ข้อ ๒๑ ข้าราชการการเมืองของกรุงเทพมหานครต้องไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นข้าราชการการเมืองไปแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือไม่ก็ตาม ข้อ ๒๒ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องไม่ยินยอมให้คู่สมรส ญาติสนิท บุคคลในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือ ของผู้อื่น และต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยมิชอบ ข้อ ๒๓ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพหรือการงานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตน มีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อ ๒๔ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องไม่เรียกร้องของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของตน และจะต้องดูแลให้คู่สมรส ญาติสนิท หรือบุคคลในครอบครัวของตนปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย ข้อ ๒๕ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องปฏิบัติต่อองค์กรภาคเอกชนที่ติดต่อราชการหรือทำธุรกิจกับกรุงเทพมหานครตามระเบียบและขั้นตอนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ข้อ ๒๖ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องไม่ประพฤติตนอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๒๗ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องไม่คบหาหรือให้การสนับสนุนแก่ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย หรือผู้มีความประพฤติหรือมีชื่อในทางเสื่อมเสีย เช่น ผู้เปิดบ่อนการพนันหรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชน ในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ข้อ ๒๘ ข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง หมวด ๓ การกำกับดูแล ข้อ ๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหน้าที่กำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการการเมืองในฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีที่พบว่าบุคคลใดมีการประพฤติปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๑๔/๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๑
585853
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบด้วยข้อ ๕ และข้อ ๗/๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๔ ในระเบียบกรุงเทพมหานครนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว “คณะกรรมการบริหารกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว “สำนักงาน” หมายถึง สำนักพัฒนาสังคม “องค์กรพัฒนาเอกชน” หมายความว่า องค์กรที่ได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง “องค์กรชุมชน” หมายความว่า องค์กรชุมชนซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเรื่องชุมชน หมวด ๒ การบริหารกองทุน ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานครสั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักอนามัย และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีหนังสือเชิญเป็นกรรมการอีกไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกิน ๒ คน ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเชิญเป็นกรรมการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี และผู้ทรงคุณวุฒิที่หมดวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ข้อ ๖ คณะกรรมการบริหารกองทุน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๒) พิจารณาการสงเคราะห์ ป้องกัน ส่งเสริมศักยภาพ คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและสตรี รวมถึงครอบครัวที่มีผลกระทบมาจากความรุนแรง และการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (๓) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม (๔) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ข้อ ๗ ให้สำนักงาน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำประมาณการรายจ่ายประจำปีเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุน พิจารณา (๒) ตรวจสอบและวิเคราะห์คำขอรับการสนับสนุนกองทุนก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อพิจารณาอนุมัติ (๓) พิจารณาเสนอขออนุมัติเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามข้อบัญญัติและระเบียบของกรุงเทพมหานคร (๔) รวบรวมและเก็บหลักฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินกองทุน พร้อมทั้งจัดทำรายงานเพื่อการตรวจสอบ (๕) จัดทำทะเบียนหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน เพื่อกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุน เพื่อรายงานคณะกรรมการบริหารกองทุน (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการโครงการที่ได้รับอนุมัติ (๗) ดำเนินการด้านอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย ให้สำนักงานเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารของรัฐที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ โดยให้ใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนป้องกันและแก้ไขการใช้ความรุนแรงในครอบครัว” การถอนเงินฝากให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคมหรือรองผู้อำนวยการสำนักที่ผู้อำนวยการสำนักมอบหมายกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักพัฒนาสังคมลงนามร่วมกัน หมวด ๓ การพิจารณาอนุมัติโครงการ ข้อ ๘ ผู้ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) เป็นองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของกองทุน หรือ (๒) เป็นองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรชุมชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ศึกษา รวบรวมและจัดการข้อมูลเพื่อการดำเนินงานของกองทุน ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาคำขอรับการสนับสนุนกองทุนซึ่งสำนักงานได้ตรวจสอบ และวิเคราะห์แล้ว โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับการดำเนินงานของกองทุนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (๒) เป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณปกติได้ หรือได้รับไม่เพียงพอ (๓) กรณีเป็นบุคคล ครอบครัว ต้องเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากความรุนแรง โดยให้ทำรายการขอรับการสนับสนุนผ่านองค์กรตามข้อ ๘ ข้อ ๑๐ วงเงินการสนับสนุน จะพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ข้อ ๑๑ เพื่อให้ได้รายละเอียดประกอบการพิจารณาอนุมัติ คณะกรรมการหรือสำนักงานอาจให้ผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรที่เสนอขอรับการสนับสนุนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงรายละเอียดหรือแสดงหลักฐานเพิ่มเติม หรือจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงยังสถานที่ดำเนินงานของหน่วยงานหรือองค์กรหรือบุคคลที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๒ ให้องค์กรตามข้อ ๘ ยื่นขอรับการสนับสนุนต่อสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณาโครงการหรือรายการที่เสนอขอรับการสนับสนุนให้แล้วเสร็จโดยเร็วและให้สำนักงานแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอรับการสนับสนุนทราบ ข้อ ๑๔ องค์กรที่ได้รับเงินจากกองทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินที่ได้รับตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด องค์กรที่มิได้ดำเนินการ หรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนการใช้จ่าย ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายระงับการจ่ายเงินงวดต่อไปไว้ก่อน แล้วดำเนินการตรวจสอบ และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อดำเนินการ ข้อ ๑๕ องค์กรหรือบุคคลที่ได้รับเงินจากกองทุน ต้องให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน หรือตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ รายงานสถานะการเงิน ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานจัดทำรายงานสถานะการเงินตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนดแล้วรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนภายใน ๓๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานรวบรวมงบการเงินประจำปีและรายละเอียดประกอบของเงินกองทุนเพื่อจัดทำงบการเงินกองทุนในภาพรวมส่งให้กองตรวจสอบภายใน กรุงเทพมหานคร ตรวจสอบก่อนส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ข้อ ๑๘ วิธีการปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้สำนักงานปฏิบัติตามข้อบัญญัติและระเบียบของกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ ปณตภร/ปรับปรุง ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓๖ ง/หน้า ๑๕/๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
582828
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ อำนาจในการอนุมัติก่อหนี้ผูกพันและการอนุมัติจ่ายเงินบำรุง (๑) หัวหน้าสถานบริการสาธารณสุขที่มีฐานะต่ำกว่ากอง ยกเว้นศูนย์บริการสาธารณสุขสาขาครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข หรือหัวหน้าสถานบริการสาธารณสุขที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน การก่อหนี้ การจ่ายเงิน และการพัสดุ ให้นำกฎ ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ รายจ่ายดังต่อไปนี้ ห้ามสถานบริการสาธารณสุขจ่ายจากเงินบำรุง (๑) เงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการโดยตรง หรือเป็นการยืมเพื่อกิจการที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์หรือประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักอนามัย และให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในราชการครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่นๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ (๔) รายจ่ายตามที่ระเบียบกรุงเทพมหานครกำหนดห้ามไว้” ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๖/๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๑
581172
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ และ ข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความบทนิยามคำว่า “หน่วยบริการ” ในข้อ ๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดและสถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงสถานบริการหรือหน่วยบริการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนดหรือเห็นชอบด้วย” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๗) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ตามที่สำนักและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาลเสนอ” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความใน ๑๒.๑ และ ๑๒.๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๑๒.๑ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล สำนักการแพทย์ประกอบด้วย ๑๒.๑.๑ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์หรือ กรรมการที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ที่ได้รับมอบหมาย ๑๒.๑.๒ ผู้อำนวยการสถานพยาบาล ประธานกรรมการ ๑๒.๑.๓ รองผู้อำนวยการหรือ กรรมการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานพยาบาล ๑๒.๑.๔ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน กรรมการ หัวหน้าภาควิชา หรือผู้แทนที่ ผู้อำนวยการสถานพยาบาลคัดเลือก จำนวนไม่เกิน ๗ คน ๑๒.๑.๕ หัวหน้าศูนย์ประกันสุขภาพ กรรมการและเลขานุการ สถานพยาบาล ๑๒.๑.๖ หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ การเงิน และบัญชี กรณีที่สถานพยาบาลไม่มีฝ่ายงบประมาณ การเงิน และบัญชี ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๒.๒ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล สำนักอนามัย ประกอบด้วย ๑๒.๒.๑ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยหรือ กรรมการที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ที่ได้รับมอบหมาย ๑๒.๒.๒ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ประธานกรรมการ ๑๒.๒.๓ ทันตแพทย์หัวหน้าคลินิกทันตกรรม กรรมการ ๑๒.๒.๔ เภสัชกร กรรมการ ๑๒.๒.๕ นักสังคมสงเคราะห์ กรรมการ ๑๒.๒.๖ พยาบาลวิชาชีพผู้ทำหน้า กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าพยาบาล ๑๒.๒.๗ ข้าราชการด้านการเงินและ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ บัญชีผู้ซึ่งผู้อำนวยการศูนย์ บริการสาธารณสุขมอบหมาย” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๑๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำแผนงาน แผนดำเนินการงานหลักประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับแนวทางและนโยบายที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรภายใต้กรอบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๓) กำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครมอบหมาย (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและตามระเบียบนี้” ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๙๒ ง/หน้า ๒๖/๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
566763
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ประกอบกับข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความในหมวด ๔ ข้อ ๑๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยใช้ข้อความ ดังนี้ “(๔) เป็นการลงทุนเพื่อดำเนินการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง/หน้า ๑๑/๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
580881
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] โดยที่เป็นการสมควรตั้งสถาบันพัฒนาเมืองเพื่อพัฒนาไปสู่การจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของกรุงเทพมหานครต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถาบันพัฒนาเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบนี้ ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสถาบันพัฒนาเมือง” เรียกโดยย่อว่า “กพม.” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ไม่เกิน ๒ คน เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง หัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องไม่เกิน ๓ คน ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเมือง เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๕ ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่แทน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่แทน ข้อ ๖ ให้ “กพม.” มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานครและเมืองอื่นๆ (๒) กำหนดนโยบายและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการและแนวทางในการพัฒนากรุงเทพมหานครหรือเมืองอื่นๆ และรวมถึง การศึกษา การดูงาน การอบรม การสัมมนาด้านการพัฒนาเมือง (๓) ติดตาม ประเมินผล และแนะนำเพื่อให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ และรายงานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ (๔) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นประกอบการพิจารณา (๕) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่มอบหมาย (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ในกรณีมีกฎหมายกำหนดให้การดำเนินการใดต้องเสนอขอความเห็นชอบหรือดำเนินการอื่นใดให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่มีกฎหมายกำหนดในเรื่องนั้นไว้ ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งเป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งไม่เกิน ๕ คน โดยคำแนะนำของประธานกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการหนึ่งคน ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง มีอำนาจหน้าที่ (๑) ดำเนินการหรือร่วมดำเนินการกับองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม การสัมมนาด้านวิจัยและพัฒนาเมือง ตามที่ กพม. มอบหมาย (๒) ประสานงานกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง (๓) ดำเนินการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่หน่วยงาน ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง (๔) รายงานผลการดำเนินงานต่อ กพม. (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ กพม. และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๙ ให้ตั้งสถาบันพัฒนาเมือง เรียกโดยย่อว่า “สพม.” และ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า URBAN GREEN DEVELOPMENT INSTITUTE เรียกโดยย่อว่า “URB-GREEN” เป็นส่วนราชการภายในสำนักผังเมือง ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กพม. และ สพม. ให้ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการ สพม. รับผิดชอบการปฏิบัติงานและเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของ สพม. ให้ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองแต่งตั้งข้าราชการกรุงเทพมหานครรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ สพม. เว้นแต่การแต่งตั้งบุคคลซึ่งมิได้สังกัดสำนักผังเมือง ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ข้อ ๑๐ ให้ สพม. รับผิดชอบงานธุรการ งานวิชาการ งานประชุม และงานเลขานุการของคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่ กพม. แต่งตั้ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการให้เป็นไปตามมติของ กพม. และคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง (๒) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กพม. และคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง (๓) ศึกษา วิเคราะห์ นโยบายเสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุง แก้ไขหรือยกเลิก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งของกรุงเทพมหานคร และของหน่วยงานที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาเมือง (๔) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำของ กพม. และคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ กพม. คณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๑ ให้สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานครตั้งงบประมาณประจำปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารของ กพม. คณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมืองและ สพม. ไว้ที่สำนักผังเมือง ในกรณีที่ กพม. มอบหมายให้หน่วยงานใด ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามข้อ ๖ (๕) ให้หน่วยงานนั้นตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานนั้นก็ได้ ข้อ ๑๒ ให้หัวหน้าหน่วยงาน ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของ กพม. คณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมือง และ สพม. ข้อ ๑๓ ให้สำนักผังเมือง จัดหาสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์การปฏิบัติงานที่ทันสมัยเหมาะสมกับภารภิจในการบริหารงานของ กพม. และคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาเมืองและการปฏิบัติหน้าที่ของ สพม. อย่างเพียงพอ ข้อ ๑๔ เมื่อกรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของกรุงเทพมหานครแล้วให้โอนสถาบันพัฒนาเมืองไปเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษานั้น ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๑๖ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๔๙/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑
572317
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับการปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญของข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ นว แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ “ข้อ ๘ นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพบำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ และ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่ของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๓๖ ง/หน้า ๓๗/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
576604
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๓ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘.๒ ของข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๘.๒ ต้องเป็นผู้ค้าตามบัญชีผู้ค้าของสำนักงานเขตที่ผ่านการพิสูจน์สิทธิของผู้ค้า และได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ และต้องจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะอยู่จริงในพื้นที่ที่ยื่นคำขอ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ให้สิทธิผู้ค้าตามบัญชีผู้ค้าของสำนักงานเขตที่ผ่านการพิสูจน์สิทธิของผู้ค้า และได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ และต้องจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะอยู่จริงในพื้นที่ที่ยื่นคำขอ” การอนุญาตให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว ซึ่งจะโอนเปลี่ยนแปลงให้ผู้อื่นมิได้ กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตขอเลิกกิจการ เสียชีวิต ถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือเหตุอื่นใดอันทำให้พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะว่างลง ห้ามอนุญาตให้ผู้ใดทำการค้าในพื้นที่นั้นอีก” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกแบบ สณ.๑ แบบ สณ.๒ แบบ สณ.๕ แบบ สณ.๗ และแบบ สณ.๑๑ แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้แบบแนบท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๑) ๒. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๒) ๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๕) ๔. ใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๗) ๕. ใบรับรองแพทย์ (แบบ สณ.๑๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๗๖ ง/หน้า ๙/๒๕ เมษายน ๒๕๕๑
573103
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2551
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๒ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๔๘/๖ มีนาคม ๒๕๕๑
575868
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2546
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๓ ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แผงลอย) ข้อ ๕ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต้องจำหน่ายในบริเวณที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเท่านั้น ข้อ ๖ แผงสำหรับจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต้องมีลักษณะ ดังนี้ ๖.๑ แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารต้องมีความสูงจากพื้นที่ตั้งไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร ๖.๒ แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นๆ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนดขนาด ความสูงของแผงตามความเหมาะสมของประเภทสินค้าและพื้นที่ตั้งวางแผง ข้อ ๗ การจำหน่ายและจัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่นในที่หรือทางสาธารณะให้ปฏิบัติ ดังนี้ ๗.๑ ผู้ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต้องวางสินค้าบนแผงหรือในบริเวณที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ๗.๒ ต้องจัดวางสินค้าที่จำหน่ายเป็นหมวดหมู่แยกการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารออกจากการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร ๗.๓ อาหารที่วางจำหน่ายมีการปกปิดครบทุกด้านเพื่อป้องกันฝุ่นละอองความสกปรก และแมลงหรือสัตว์นำโรค โดยอนุญาตให้มีการเปิดบางด้านของที่ปกปิดเฉพาะระหว่างการตักจำหน่าย และจะต้องรีบปิดทันที ด้านปกปิดส่วนหน้าจะต้องปิดตลอดเวลาห้ามไม่ให้ผู้ซื้อเปิดเอง เว้นแต่เป็นอาหารที่ห่อด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ใบตองหรือถุงพลาสติกไว้แล้วอาจใช้แผ่นพลาสติกใสคลุมไว้อีกชั้นหนึ่งก็ได้ ๗.๔ ห้ามใช้วัสดุคลุมอาหารสัมผัสอาหารโดยตรง ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ ๘.๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง ๘.๒ ต้องเป็นผู้ค้ารายเดิมตามบัญชีการเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีดังกล่าวต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ๘.๓ ต้องผ่านการอบรมการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรที่กรุงเทพมหานครรับรอง (กรณีจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร) ข้อ ๙ การออกใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามระเบียบนี้ ต้องมีเงื่อนไข ดังนี้ ๙.๑ ให้สิทธิผู้ค้ารายเดิมตามบัญชีการเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย ๙.๒ ต้องเป็นผู้ค้ารายเดิมตามบัญชีการเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีดังกล่าวต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ๙.๓ กรณีที่มีพื้นที่ในจุดผ่อนผันว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ให้ผู้ค้าที่อยู่ในจุดทบทวนยื่นความจำนงที่สำนักงานเขตและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการคัดเลือกผู้ค้าให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับอนุญาตจำหน่ายสินค้าในจุดหรือบริเวณที่ว่างอยู่ ข้อ ๑๐ การขอและการออกใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้แบบต่างๆ ท้ายระเบียบ ดังนี้ ๑๐.๑ คำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๑ ๑๐.๒ ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๒ ๑๐.๓ บัตรประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ สณ.๓ ๑๐.๔ บัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๔ ๑๐.๕ คำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๕ ๑๐.๖ คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๖ ๑๐.๗ ใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๗ ๑๐.๘ คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ สณ.๘ ๑๐.๙ คำขอเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทสินค้าหรือลักษณะวิธีการจำหน่ายหรือสถานที่จัดวางสินค้าหรือผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ใช้แบบ สณ.๙ ๑๐.๑๐ คำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตหรือบัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า ให้ใช้แบบ สณ.๑๐ ๑๐.๑๑ ใบรับรองแพทย์ ให้ใช้แบบ สณ.๑๑ ๑๐.๑๒ ใบแทนบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตหรือบัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าให้ใช้แบบ สณ.๓ หรือแบบ สณ.๔ แล้วแต่กรณี โดยประทับตัวอักษรสีแดงคำว่า “ใบแทน” ไว้ที่บัตร ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะแล้ว ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ได้รับใบอนุญาตไม่มารับใบอนุญาตหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียม ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะรับใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเลิกการอนุญาตนั้น ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ใบอนุญาต บัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาต หรือบัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาต บัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาต หรือบัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า แล้วแต่กรณีภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ พร้อมกับหลักฐานต่อไปนี้ ๑๒.๑ เอกสารการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ๑๒.๒ ใบอนุญาต หรือบัตรประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาต หรือบัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ๑๒.๓ รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า แล้วแต่กรณี ที่ถ่ายไว้ไม่เกินหกสิบวัน ขนาด ๑ x ๑ ๑/๒ นิ้ว จำนวน ๓ รูป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณ (แบบ สณ.๑) ๒. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๒) ๓. บัตรประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๓) ๔. บัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๔) ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๕) ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๖) ๗. ใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๗) ๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๘) ๙. คำขอเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทสินค้าหรือลักษณะวิธีการจำหน่ายหรือสถานที่จัดวางสินค้าหรือผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๙) ๑๐. คำขอรับใบแทนบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตหรือบัตรประจำตัวผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ.๑๐) ๑๑. ใบรับรองแพทย์ (แบบ สณ.๑๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๔๘/๒ เมษายน ๒๕๕๑
582781
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2546
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ และข้อ ๒๐ ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้จำหน่ายอาหาร” หมายถึง ผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหาร “ผู้ปรุงอาหาร” หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่เตรียม ทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร “ผู้ให้บริการ” หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่เสริฟอาหาร ล้างภาชนะและอุปกรณ์ หรือมีหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับการช่วยทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร แต่ไม่รวมถึงผู้จำหน่ายอาหาร และผู้ปรุงอาหาร “ใบอนุญาต” หมายถึง ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร “หนังสือรับรองการแจ้ง” หมายถึง หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร ข้อ ๕ ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารที่กรุงเทพมหานครกำหนด หรือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่กรุงเทพมหานครรับรอง ข้อ ๖ บุคคลตามข้อ ๕ ต้องเข้ารับการอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารเมื่อครบกำหนดทุกสามปี ข้อ ๗ การขอและการออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้แบบต่างๆ ท้ายระเบียบ ดังนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑ (๒) ใบรับแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๒ (๓) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๓ (๔) หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๔ (๕) คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๕ (๖) คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๖ (๗) ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๗ (๘) คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๘ (๙) ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือ สถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๙ (๑๐) คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑๐ (๑๑) คำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑๑ (๑๒) ใบอนุญาตให้โอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๓ หรือแบบ สอ. ๔ แล้วแต่กรณี (๑๓) คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑๒ ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาอนุญาตการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารแล้ว ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ได้รับใบอนุญาตไม่มารับใบอนุญาตหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียม ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเลิกการอนุญาตนั้น ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารแล้ว ให้แจ้งให้ผู้แจ้งมารับหนังสือรับรองการแจ้งพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วผู้แจ้งไม่มารับหนังสือรับรองการแจ้งหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียม ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเลิกการแจ้งนั้น ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ พร้อมกับเอกสารการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีที่ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย หรือถูกทำลาย ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง หากปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ให้ออกใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑ ๒. ใบรับแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๒ ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๓ ๔. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๔ ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๕ ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๖ ๗. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๗ ๘. คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๘ ๙. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือ สถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๙ ๑๐. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑๐ ๑๑. คำขอโอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑๑ ๑๒. ใบอนุญาตให้โอนการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๓ หรือแบบ สอ. ๔ แล้วแต่กรณี ๑๓. คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑๒ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๗/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
566251
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินทดรองราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๕) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินทดรองราชการ พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณมีเงินทดรองราชการสำหรับทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายได้ ในหมวดรายจ่ายต่อไปนี้ (๑) หมวดค่าจ้างชั่วคราว สำหรับค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำแต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวันหรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง (๒) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยวัสดุ (๓) หมวดค่าสาธารณูปโภค ยกเว้นค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า (๔) หมวดรายจ่ายอื่น เฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และค่าใช้จ่ายในการประชุมอบรมสัมมนา (๕) งบกลาง เฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล” ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๖๔/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566249
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหาคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหมวด ๓ ข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ๑. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ สั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม ๒. รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ สั่งราชการสำนักพัฒนาสังคม ๓. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เป็นกรรมการ ๔. รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม เป็นกรรมการ ที่ได้รับมอบหมาย ๕. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ หรือผู้แทน ๖. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือผู้แทน เป็นกรรมการ ๗. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการ สำนักการคลัง หรือผู้แทน ๘. ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี เป็นกรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน ๙. ผู้อำนวยการกองส่งเสริมอาชีพ เป็นกรรมการ สำนักพัฒนาสังคม ๑๐. ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน เป็นกรรมการ สำนักพัฒนาสังคม ๑๑. ผู้อำนวยการกองการพัฒนาชุน เป็นกรรมการและเลขานุการ สำนักพัฒนาสังคม ๑๒. หัวหน้าฝ่ายการคลัง เป็นกรรมการและ สำนักงานเลขานุการ สำนักพัฒนาสังคม ผู้ช่วยเลขานุการ ๑๓. นักพัฒนาชุมชน กองการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและ สำนักพัฒนาสังคม ที่ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยเลขานุการ” กองการพัฒนาชุมชนมอบหมาย ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๗๖ ง/หน้า ๖๒/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
543455
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากการรับด้วยเงินสด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบด้วยข้อ ๕ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ๑. ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็ค หรือตราสารอื่น พ.ศ. ๒๕๔๐ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ๒. ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระภาษีผ่านธนาคาร พ.ศ. ๒๕๓๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “เงินรายได้กรุงเทพมหานคร” หมายความว่า บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับไว้เป็นค่าภาษีค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใด และนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานครหรือนำส่งเป็นเงินนอกงบประมาณ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่าหัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนักงาน เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้อำนวยการกอง เลขานุการสำนัก หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ “หน่วยการคลัง” หมายความว่า หน่วยการคลังตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน “หัวหน้าหน่วยการคลัง” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยการคลัง ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน “ส่วนราชการเจ้าของรายได้” หมายความว่า ส่วนราชการที่มีหน้าที่ประเมินภาษีอากรจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือจัดเก็บรายได้อื่นของกรุงเทพมหานคร เพื่อนำส่งหน่วยการคลัง “หน่วยงานเจ้าของรายได้” หมายความว่า หน่วยงานที่ส่วนราชการเจ้าของรายได้สังกัดอยู่ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร (กวร.) ข้อ ๖ กรุงเทพมหานครอาจรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครนอกเหนือจากการรับเงินสดได้ดังต่อไปนี้ (๑) เช็คหรือตราสารอื่น (๒) บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นใดในลักษณะนี้ (๓) หักบัญชีธนาคาร หรือชำระผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน นิติบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการธุรกิจในลักษณะธุรกิจการบริการรับชำระหนี้แทนหรือด้วยเครื่องฝาก ถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) (๔) ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ต (๕) ด้วยระบบอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ตามวรรคหนึ่งจะต้องเป็นกรณีที่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หากเกินระยะเวลาจะต้องชำระที่หน่วยงานผู้ออกหนังสือหรือใบแจ้งหนี้นั้น ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานคร (กวร.) ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักการคลังเป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการกองบัญชี ผู้อำนวยการกองรายได้ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และกรรมการอื่นที่ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งอีกไม่เกิน ๔ คน เป็นกรรมการผู้อำนวยการกองการเงินเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการอีกไม่เกิน ๒ คน ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๒) กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครประเภทต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ (๓) พิจารณาอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการที่เกี่ยวข้อง (๔) แต่งตั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานทำหน้าที่ตามที่มอบหมาย (๕) เรียกข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครมาชี้แจง สอบถามหรือให้ข้อเท็จจริงหรือเชิญข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการอื่น รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงาน (๖) พิจารณาดำเนินการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายการกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครตาม (๒) และ (๓) เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครเห็นชอบแล้ว ให้ดำเนินการจัดทำเป็นประกาศเพื่อใช้บังคับต่อไป ข้อ ๙ การรับชำ ระเงินรายได้ดังกล่าว หากกรณีกรุงเทพมหานครจะต้องรับภาระค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการให้บริการ ให้หน่วยงานเบิกจ่ายจากเงินนอกงบประมาณตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ เว้นแต่หน่วยงานที่ไม่มีเงินนอกงบประมาณอาจเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานเจ้าของรายได้นั้น ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากปลัดกรุงเทพมหานครตามข้อ ๑๖ (๔) ก่อน หมวด ๒ การรับเช็คหรือตราสารอื่น ข้อ ๑๐ เช็คที่จะรับชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานคร มี ๔ ประเภท คือ (๑) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก) (๒) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข) (๓) เช็คที่ธนาคารสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค) (๔) เช็คที่ผู้ขอใช้เช็คสั่งจ่ายและใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง) ข้อ ๑๑ เช็คที่รับชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ต้องมีลักษณะและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) มีรายการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๒) เป็นเช็คลงวันที่ที่เจ้าหน้าที่รับชำระเช็คนั้น หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓๐ วัน สำหรับเช็คประเภท ก. ประเภท ข. ประเภท ค. ประเภท ง. ห้ามรับเช็คลงวันที่ล่วงหน้า (๓) เป็นเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายให้แก่ “กรุงเทพมหานคร” กับขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” และหรือ “ตามคำสั่ง” (๔) เช็คนั้นต้องมิใช่เช็คโอนสลักหลัง (๕) เป็นเช็คที่สามารถเรียกเก็บเงินได้เต็มตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเช็ค หากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ผู้สั่งจ่าย หรือผู้ชำระเงินจะต้องรับภาระดังกล่าว (๖) เป็นเช็คของธนาคารหรือเช็คของธนาคารพาณิชย์อื่นที่มีสำนักงานหรือสาขาอยู่ในเขตสำนักหักบัญชีเดียวกับสาขาของธนาคารที่ทำรายการได้เท่านั้น (๗) เช็คฉบับหนึ่งจะรับชำระเป็นเงินรายได้ของกรุงเทพมหานคร ประเภทเดียวหรือหลายประเภทก็ได้ (๘) ห้ามรับเช็คที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินรายได้กรุงเทพมหานคร (๙) เช็คประเภท ง. ที่จะรับชำระเป็นเงินรายได้นั้น จะต้องเป็นเช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินสั่งจ่ายเอง หรือเป็นเช็คสั่งจ่ายของผู้ต้องรับผิดชอบร่วมกันตามกฎหมาย เมื่อได้รับเช็คแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารทั้งหมดในเบื้องต้น แล้วให้ผู้รับเช็คออกใบเสร็จแก่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร โดยให้ระบุในใบเสร็จรับเงินว่าใบเสร็จนี้จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อสามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว และบันทึกลงในทะเบียนรับเช็คต่อไป ข้อ ๑๒ กรณีที่ผู้ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครจะต้องเสียธรรมเนียมหรือค่าบริการอื่นใดเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น ให้หน่วยการคลังเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ที่นำเช็คมาชำระแล้วแจ้งนำส่งธนาคารโดยไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินและไม่ถือว่าเป็นเงินรายได้ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓ กรณีพบเช็คขัดข้องไม่อาจเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นได้ด้วยเหตุประการใดๆ ก็ตามให้หน่วยงานเจ้าของรายได้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้สั่งจ่ายทราบถึงเช็คขัดข้องนั้น ภายใน ๗ วันทำการนับแต่วันได้รับเช็คขัดข้องคืน หากผู้สั่งจ่ายไม่มาชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามจำนวนในเช็คภายใน ๗ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้หน่วยงานดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนสถานีตำรวจท้องที่ภายใน ๓ วันทำการ ข้อ ๑๔ หากภายหลังปรากฏว่า ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ชำระหนี้ทั้งหมด โดยครบถ้วนแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้แจ้งขอถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแต่ถ้าผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินยังฝ่าฝืนไม่ชำระหนี้โดยครบถ้วน ให้หน่วยงานเจ้าของรายได้ส่งเรื่องให้สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครภายในไม่เกิน ๖ เดือนนับจากวันที่ที่ลงในเช็คเพื่อดำเนินการฟ้องร้องบังคับคดีต่อไป ในกรณีผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร ไม่สามารถชดใช้หนี้ให้เป็นการเสร็จสิ้นในคราวเดียวกันและขอผ่อนชำระให้ดำเนินการตกลงหรือประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้หรือหนังสือสัญญา และให้ผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครนำบุคคลหรือหลักทรัพย์มาทำสัญญาค้ำประกันการผ่อนผันชำระหนี้ แบบของหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาผ่อนชำระหนี้ สัญญาค้ำประกัน และหลักเกณฑ์และเงื่อนไขวิธีการผ่อนชำระและการค้ำประกันให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดโดยอนุโลม หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๕ การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นตั๋วแลกเงิน ดราฟต์ หรือธนาณัติ ให้ผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้ สั่งจ่ายให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยให้หัวหน้าหน่วยการคลังเป็นผู้รับ หมวด ๓ การรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรอื่นใดในลักษณะนี้ ข้อ ๑๖ การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรอื่นใดในลักษณะนี้ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขดังนี้ (๑) เป็นบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรอื่นใดในลักษณะนี้ ที่ออกโดยธนาคาร สถาบันการเงินอื่นใดซึ่งได้ทำความตกลงกับกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานเจ้าของรายได้ให้ใช้ชำระเป็นเงินรายได้กรุงเทพมหานครโดยหน่วยงานจะประกาศหรือแสดงเครื่องหมายของบัตรที่สามารถใช้ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้เห็นโดยชัดเจน (๒) การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครดังกล่าวจะต้องเป็นการชำระครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ บาท หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด (๓) กรณีบัตรที่ใช้ชำ ระมิใช่เป็นบัตรของลูกหนี้หรือผู้มีหน้าที่ชำ ระเงินรายได้กรุงเทพมหานครโดยตรง หรือเป็นการชำระแทนในนามของลูกหนี้หรือผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครโดยตรงสามารถดำเนินการได้โดยให้หน่วยงานออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้มีหน้าที่หรือเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระเงินรายได้ดังกล่าวของกรุงเทพมหานครโดยตรง (๔) บรรดาเงินค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรดังกล่าวที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเรียกเก็บให้ผู้มีหน้าที่หรือเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระเงินรายได้ เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว เว้นแต่หน่วยงานเจ้าของรายได้ที่จะเป็นผู้รับภาระนั้นแทน ให้ทำได้โดยความเห็นชอบของปลัดกรุงเทพมหานคร หมวด ๔ การรับเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร ข้อ ๑๗ การรับชำระเงินรายได้ของกรุงเทพมหานครด้วยการหักบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขดังนี้ (๑) ลูกหนี้หรือผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครนั้นจะต้องแสดงเจตนาเป็นหนังสือตามแบบที่ธนาคารเจ้าของบัญชีกำหนดอนุญาตให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีของตนให้เป็นค่าชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร และธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าของบัญชีแจ้งผลการยินยอมดังกล่าวให้กรุงเทพมหานครทราบแล้ว (๒) บรรดาค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเรียกเก็บให้เป็นหน้าที่ลูกหนี้หรือผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายดังกล่าว หมวด ๕ การรับเงินโดยผ่านธนาคาร สถาบันการเงิน นิติบุคคลอื่นหรือด้วยเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ข้อ ๑๘ กรณีการรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครโดยผ่านธนาคารหรือด้วยเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) หรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในลักษณะธุรกิจการบริการชำระหนี้แทนได้ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขดังนี้ (๑) ต้องเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการที่ได้ทำความตกลงกับกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานแล้ว โดยกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานจะต้องกำหนดไว้ในใบแจ้งหนี้ให้ผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครทราบ (๒) ลูกหนี้หรือผู้มีหน้าที่ชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครจะต้องนำใบแจ้งหนี้ที่หน่วยงานจัดส่งให้ไปแสดงพร้อมกับการชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครกับธนาคารหรือนิติบุคคลนั้นและให้เก็บหลักฐานการแสดงการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครผ่านพนักงานซึ่งได้จัดทำให้ หรือกรณีการชำระผ่านเครื่องฝากถอนเงินสดอัตโนมัติ (ATM) จะต้องเก็บหลักฐานที่แสดงการชำระผ่านเครื่องดังกล่าวหลักเกณฑ์ วิธีการแจ้งหน่วยงานเพื่อทราบและขอรับใบเสร็จให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด บรรดาเงินค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บตามข้อนี้ให้ผู้มีหน้าที่ชำ ระเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นเอง หมวด ๖ การรับเงินโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ต ข้อ ๑๙ การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครทางระบบอิเล็คทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ตหรือระบบอื่นๆ ที่กรุงเทพมหานครกำหนดต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ดังนี้ (๑) การรับชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ตจะต้องเป็นการชำระรายได้กรุงเทพมหานครเฉพาะรายการ หรือประเภทเงินรายได้ที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น (๒) กรณีต้องดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ตดังกล่าวต้องดำเนินการผ่านธนาคารของรัฐหรือธนาคารอื่นใดที่กรุงเทพมหานครได้ทำความตกลงไว้ กรณีมีค่าธรรมเนียมผู้ใช้บริการจะต้องออกค่าใช้จ่ายนั้นเอง ข้อ ๒๐ การชำระเงินรายได้กรุงเทพมหานครด้วยวิธีการหรือระบบอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดวิธีการชำระรายได้กรุงเทพมหานครตามที่คณะกรรมการกำหนดได้ตามความเหมาะสม จำเป็น เพื่อประโยชน์ของราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒๕/๒๗ เมษายน ๒๕๕๐
560872
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดให้แก่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ การซื้อหรือการจ้างเกี่ยวกับการพัสดุที่มีวงเงินตั้งแต่ ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยล้านบาท) ขึ้นไป หรือการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) ขึ้นไป ให้กรุงเทพมหานครเสนอขอรับความเห็นชอบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน และเมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมทั้งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงด้วยโดยไม่ชักช้า” ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๗ ง/หน้า ๘/๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐
558886
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “สัตวแพทย์” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งดำรงตำแหน่งนายสัตวแพทย์หรือสัตวแพทย์ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น ๑ “ใบรับรอง” หมายความว่า ใบรับรองรูปพรรณสัณฐานสุนัขและการจัดทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัขอย่างถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การฝังไมโครชิป เป็นต้น ซึ่งออกโดยสถานพยาบาลสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานครที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ การจดทะเบียนสุนัขประกอบด้วยสองขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ ๑ การทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัขอย่างถาวร ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การฝังไมโครชิป เป็นต้น จากสัตวแพทย์ พร้อมออกใบรับรอง ขั้นตอนที่ ๒ ให้เจ้าของสุนัขแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐานของสุนัขและรหัสไมโครชิป รายละเอียดเจ้าของสุนัข สถานที่ที่สุนัขอาศัย พร้อมออกบัตรประจำตัวสุนัข ข้อ ๗ การดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หากเจ้าของสุนัขไม่สามารถดำเนินการเองได้สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๘ กำหนดแบบในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ดังต่อไปนี้ (๑) แบบใบรับรอง (แบบ คลส.๑) (๒) แบบคำขอจดทะเบียนสุนัข (แบบ คลส.๒) (๓) แบบบัตรประจำตัวสุนัข (แบบ คลส.๓) (๔) แบบเอกสารคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสุนัข (แบบ คลส.๔) หมวด ๒ การออกใบรับรอง ข้อ ๙ สุนัขที่ต้องจดทะเบียน ได้แก่ (๑) สุนัขที่มีอายุไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันต้องจดทะเบียนสุนัขภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่สุนัขเกิด (๒) สุนัขที่นำมาเลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานครต้องจดทะเบียนสุนัขภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นำสุนัขมาเลี้ยง ข้อ ๑๐ ให้สัตวแพทย์มีหน้าที่ทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัขอย่างถาวร เช่น การฝังไมโครชิปเป็นต้น และออกใบรับรอง ข้อ ๑๑ ให้สถานที่ต่อไปนี้เป็นสถานที่ออกใบรับรอง (๑) กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย (๒) สถานพยาบาลสัตว์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ หมวด ๓ การจดทะเบียนสุนัข ข้อ ๑๒ เจ้าของสุนัขต้องดำเนินการขอจดทะเบียนสุนัขต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยใช้แบบคำขอจดทะเบียนสุนัขพร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้ (๑) ใบรับรอง (๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสุนัข พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) สำเนาทะเบียนบ้านที่สุนัขอาศัยอยู่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (๔) หนังสือยินยอมให้สุนัขพักอาศัยจากเจ้าของบ้านที่สุนัขอาศัยอยู่ (๕) หนังสือรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปี มีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีน และลงชื่อสัตวแพทย์ พร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (๖) หนังสือรับรองการผ่าตัดทำหมันจากสัตวแพทย์ (ถ้ามี) (๗) หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) ข้อ ๑๓ ให้สถานที่ต่อไปนี้เป็นสถานที่รับจดทะเบียนสุนัข (๑) กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย (๒) สำนักงานเขตพื้นที่ที่สุนัขอาศัยอยู่ (๓) สถานที่อื่นใดที่สำนักงานเขตพื้นที่ หรือกองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัยจัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้บริการ ให้เจ้าของสุนัขนำสุนัขและหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัขอย่างถาวร เช่น การฝังไมโครชิป เป็นต้น ทำใบรับรองพร้อมจดทะเบียนและรับบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่กองสัตวแพทย์ สาธารณสุข สำนักอนามัย เจ้าของสุนัขสามารถนำใบรับรองที่ออกให้อย่างถูกต้องโดยสัตวแพทย์พร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ มาขอจดทะเบียนสุนัขและรับบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ หรือกองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย โดยไม่ต้องนำสุนัขมาด้วย หมวด ๔ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในการจดทะเบียนสุนัข ข้อ ๑๔ ในกรณีการย้ายสถานที่เลี้ยงสุนัข สุนัขตาย บัตรประจำตัวสุนัขหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของบัตรประจำตัวสุนัข ตลอดจนการจดทะเบียนเพื่อขอทำบัตรใหม่ ให้เจ้าของสุนัขยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยใช้แบบคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสุนัขพร้อมแนบหลักฐานที่ปรากฏในการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญนั้นๆ มาด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในการจดทะเบียน ในกรณีการแจ้งสุนัขหาย ให้เจ้าของสุนัขยื่นคำขอภายในสามวันนับแต่วันที่ทราบว่าสุนัขหาย ในกรณีเปลี่ยนเจ้าของสุนัข เจ้าของสุนัขใหม่มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อหน่วยงานที่จดทะเบียนไว้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันรับมอบสุนัข การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสมบูรณ์ต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบหลักฐานถูกต้องและออกบัตรประจำตัวสุนัขใหม่ให้แก่เจ้าของสุนัขใหม่ ข้อ ๑๕ การดำเนินการตามข้อ ๑๔ วรรคแรก เจ้าของสุนัขสามารถดำเนินการทางไปรษณีย์โดยกรอกรายละเอียดในแบบคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสุนัขให้ครบถ้วน พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้องส่งมายังหน่วยงานที่จดทะเบียนไว้ด้วยวิธีไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยให้ถือตราที่ประทับวันที่ส่งเป็นวันยื่นคำขอ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] (๑) แบบใบรับรอง (แบบ คลส.๑) (๒) แบบคำขอจดทะเบียนสุนัข (แบบ คลส.๒) (๓) แบบบัตรประจำตัวสุนัข (แบบ คลส.๓) (๔) แบบเอกสารคำขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสุนัข (แบบ คลส.๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๐ ง/หน้า ๒๘/๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐
562161
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด ข้อ ๕ เงินกองทุนได้มาจาก (๑) เงินที่มีผู้บริจาคให้เป็นเงินกองทุน (๒) ดอกผลจากเงินกองทุน ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการประกอบด้วยปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการรองปลัดกรุงเทพมหานคร (สั่งราชการสำนักอนามัย) เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (ด้านปฏิบัติการ) รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย (ด้านบริหาร)ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ผู้อำนวยการกองสัตวแพทยสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ากองสัตวแพทยสาธารณสุข เป็นกรรมการ เลขานุการสำนักอนามัย เป็นกรรมการและเลขานุการหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักอนามัย และหัวหน้างานธุรการ กองสัตวแพทยสาธารณสุข เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดแนวทางการดำเนินการเพิ่มทุนและการใช้จ่ายเงินกองทุน (๒) บริหารและควบคุมการใช้เงินกองทุน (๓) พิจารณาเสนอความเห็นในการเพิ่มทุนและการใช้จ่ายเงินกองทุน (๔) แต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคลเพื่อดำเนินการในเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้ตามความจำเป็น (๕) ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๘ เงินกองทุนให้นำไปใช้จ่ายได้ดังนี้ (๑) จัดซื้ออาหารและยารักษาโรคสำหรับสุนัขและแมวจรจัด (๒) ค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคและค่ารักษาพยาบาลสุนัขและแมวจรจัด (๓) ค่าผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวจรจัด (๔) ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม หรือโครงการเกี่ยวกับสุนัขและแมวจรจัด (๕) ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๙ เงินกองทุนที่นำไปใช้จ่ายต้องจัดทำบัญชีดังนี้ (๑) จัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย และงบประมาณเงินกองทุนประจำทุกเดือน (๒) จัดทำรายงานประจำเดือนและประจำปี ข้อ ๑๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๑ ให้กรุงเทพมหานครเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารของรัฐ โดยใช้ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัดกรุงเทพมหานคร” บรรดาเงินและดอกผลของเงินที่กรุงเทพมหานครมีอยู่แล้วตามบัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๐๘๘-๑-๐๓๘๘๐-๖ ของธนาคารกรุงไทย สำนักงานย่อยศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ชื่อบัญชี “กองทุนเพื่อสุนัขและแมวจรจัด สังกัดกรุงเทพมหานคร” ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือเป็นเงินกองทุนตามระเบียบนี้ด้วย ข้อ ๑๒ อำนาจในการอนุมัติเงินกองทุนตามข้อ ๘ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ไม่เกิน ๑ ล้านบาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร เกินกว่า ๑ ล้านบาทขึ้นไป ข้อ ๑๓ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๔ สำนักอนามัยมีหน้าที่รับจ่ายเงิน ฝาu3585 .เงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบและเก็บรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับการจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๕ การเบิกจ่ายเงินจากธนาคารให้ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย กับผู้อำนวยการสำนักอนามัย หรือรองผู้อำนวยการสำนักอนามัย หรือเลขานุการสำนักอนามัย ลงลายมือชื่อร่วมกัน ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่มิได้มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๔๑/๖ กันยายน ๒๕๕๐
560683
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ให้รวมถึงการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ “สถานพยาบาล” หมายความว่า วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดสำนักการแพทย์หรือสำนักอนามัย “สำนัก” หมายความว่า สำนักการแพทย์ หรือสำนักอนามัย “ค่าบริการ” หมายความว่า เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในการรับบริการสาธารณสุข แต่ละครั้ง “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดและสถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงสถานบริการหรือหน่วยบริการที่คณะกรรมการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนดหรือเห็นชอบด้วย “บุคลากร” หมายความว่า ผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับสถานพยาบาล “ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของสถานพยาบาล และหน่วยบริการ ได้แก่ (๑) ค่าเสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค (๒) ค่าตรวจวินิจฉัยโรค (๓) ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ (๔) ค่าบำบัดและบริการทางการแพทย์ (๕) ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอวัยวะเทียม และค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ (๖) ค่าทำคลอด (๗) ค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล (๘) ค่าบริบาลทารกแรกเกิด (๙) ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย (๑๐) ค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ (๑๑) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ (๑๒) ค่าตอบแทนสำหรับบุคลากร (๑๓) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสถานพยาบาลและการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการ (๑๔) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมที่จำเป็นในการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข (๑๕) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่สถานพยาบาลหรือสำนักเห็นสมควร (๑๖) ค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ ๕ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสำนัก ประกอบด้วย (๑) เงินสมทบที่สถานพยาบาลหักเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาลจำนวนหนึ่งส่งสมทบเป็นเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสำนักตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) เงินที่ได้รับจากการจัดสรรของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (๓) เงินรายรับที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้เป็นค่าบริการสาธารณสุข (๔) ดอกผลหรือประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนนี้ (๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้กองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน (๗) เงินสมทบอื่นๆ ข้อ ๖ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาล ประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจากการจัดสรรของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (๒) เงินรายรับที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในการรับบริการสาธารณสุขแต่ละครั้งตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๓) เงินรายรับที่หน่วยบริการอื่นจ่ายให้เป็นค่าบริการสาธารณสุข (๔) เงินรายรับที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้เป็นค่าบริการสาธารณสุข (๕) เงินที่สถานพยาบาลได้รับจากการดำเนินการให้บริการสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๖) ดอกผลหรือประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนนี้ (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้กองทุน (๘) เงินหรือทรัพย์สินที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน (๙) เงินสมทบอื่นๆ ข้อ ๗ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาล (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ในกิจการของสถานพยาบาลหรือสำนัก (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่นๆ ข้อ ๘ ให้กำหนดวงเงินในการเก็บรักษาเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาลหรือสำนักไว้ดังนี้ (๑) สถานพยาบาลให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) หน่วยการคลังของสำนักให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสถานพยาบาลหรือสำนักที่เกิน ให้นำฝากธนาคารตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับ ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ประกอบด้วย ๙.๑ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งราชการ กรรมการที่ปรึกษา สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย ๙.๒ รองปลัดกรุงเทพมหานคร สั่งราชการ ประธานกรรมการ สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย ๙.๓ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รองประธานกรรมการ ๙.๔ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย รองประธานกรรมการ ๙.๕ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ ๙.๖ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ ๙.๗ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ ๙.๘ ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กรรมการ ๙.๙ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ๑ คน กรรมการ ๙.๑๐ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินการคลัง ๑ คน กรรมการ ๙.๑๑ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข ๑ คน กรรมการ ๙.๑๒ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยที่รับผิดชอบ กรรมการ งานหลักประกันสุขภาพ ๙.๑๓ รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ที่รับผิดชอบงาน กรรมการและเลขานุการ หลักประกันสุขภาพ ๙.๑๔ เลขานุการสำนักการแพทย์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๙.๑๕ เลขานุการสำนักอนามัย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดแนวทางและนโยบายการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ และแผนงานด้านหลักประกันสุขภาพของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับแผนสาธารณสุขแห่งชาติ และของกรุงเทพมหานคร (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราในการจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข (๓) กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราในการจ่ายเงินสมทบเป็นเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพของสำนัก (๔) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร (๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาลเสนอ (๖) กำหนดหรือพิจารณาให้ความเห็นชอบการเป็นหน่วยบริการตามระเบียบนี้ (๗) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ตามที่สำนักและคณะกรรมการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาลเสนอ (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๙) กำหนดกรอบ แนวทางการบริหารจัดการในภารกิจหลักของงานหลักประกันสุขภาพที่อยู่นอกเหนือหน้าที่ของสถานพยาบาล (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามข้อ ๙ ให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่งแล้ว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นควรให้พ้นจากตำแหน่ง ข้อ ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์ (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง (๔) เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับในด้านการบริหาร ด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินการคลัง หรือด้านการแพทย์และสาธารณสุข (๕) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการระดับ ๑๐ ขึ้นไป หรือเป็นพนักงานจากสถาบันการศึกษาหรือเป็นผู้บริหารจากภาคเอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของสังคม ข้อ ๑๒ ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง ดังนี้ ๑๒.๑ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพประจำสถานพยาบาล สำนักการแพทย์ประกอบด้วย ๑๒.๑.๑ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์หรือ กรรมการที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ที่ได้รับมอบหมาย ๑๒.๑.๒ ผู้อำนวยการสถานพยาบาล ประธานกรรมการ ๑๒.๑.๓ รองผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานพยาบาล กรรมการ ๑๒.๑.๔ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน หัวหน้าภาควิชา กรรมการ หรือผู้แทนที่ผู้อำนวยการสถานพยาบาลคัดเลือก จำนวนไม่เกิน ๗ คน ๑๒.๑.๕ หัวหน้าศูนย์ประกันสุขภาพ กรรมการและเลขานุการ ของสถานพยาบาล ๑๒.๑.๖ หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ การเงินและบัญชี กรณีที่สถานพยาบาลไม่มีฝ่ายงบประมาณ การเงินและบัญชี ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ๑๒.๒ คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำสถานพยาบาล สำนักอนามัย ประกอบด้วย ๑๒.๒.๑ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย หรือ กรรมการที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยที่ได้รับมอบหมาย ๑๒.๒.๒ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ประธานกรรมการ ๑๒.๒.๓ ทันตแพทย์หัวหน้าคลินิกทันตกรรม กรรมการ ๑๒.๒.๔ เภสัชกร กรรมการ ๑๒.๒.๕ นักสังคมสงเคราะห์ กรรมการ ๑๒.๒.๖ พยาบาลวิชาชีพผู้ทำหน้าที่ กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าพยาบาล ๑๒.๒.๗ ข้าราชการด้านการเงิน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และบัญชีผู้ซึ่งผู้อำนวยการ ศูนย์บริการสาธารณสุขมอบหมาย ให้คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพสถานพยาบาล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) จัดทำแผนงาน แผนดำเนินการงานหลักประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับแนวทางและนโยบายที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรภายใต้กรอบที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครกำหนด (๓) กำหนดจำนวนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครมอบหมาย (๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๓ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๔ ให้สถานพยาบาลและสำนักงานเลขานุการสำนักที่มีการจ่ายเงินตามระเบียบนี้จัดทำบัญชีการรับ การจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ จะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้และให้รายงานการรับ การจ่ายและยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๒๖/๘ สิงหาคม ๒๕๕๐
560678
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่ได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่กรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุญาตก่อสร้างอาคารหรือประกอบกิจการในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศอื่นใดที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกคำสั่งประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “กฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า กฎกระทรวงให้ใช้บังคับ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ “หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน” หมายความว่า หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ข้อ ๖ กฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินแบ่งออกเป็น ๖.๑ การอยู่อาศัย ๖.๒ การพาณิชยกรรม ๖.๓ การอุตสาหกรรม ๖.๔ การคลังสินค้า ๖.๕ การอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ๖.๖ การเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม ๖.๗ การอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม ๖.๘ สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ๖.๙ กิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละ ๕ หรือร้อยละ ๑๐ ของที่ดินแต่ละประเภทในแต่ละบริเวณ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร หมวด ๒ การก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร ข้อ ๗ การขออนุญาตหรือการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เพื่อกิจการตามที่กำหนดในข้อ ๖ ให้ผู้ขออนุญาต หรือผู้แจ้ง แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแบบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) พร้อมกับการยื่นขออนุญาตหรือ การแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ สำนักงานเขตหรือสำนักการโยธา แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ การพิจารณาการขออนุญาตหรือการแจ้งเพื่อกิจการตามที่กำหนดในข้อ ๖.๑ - ๖.๘ ให้สำนักงานเขตหรือสำนักการโยธา แล้วแต่กรณี ตรวจสอบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตหรือการออกหนังสือแจ้งข้อทักท้วงกรณีการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๙ การพิจารณาการขออนุญาตหรือการแจ้งเพื่อกิจการอื่นตามที่กำหนดในข้อ ๖.๙ ให้สำนักงานเขตหรือสำนักการโยธา แล้วแต่กรณี ตรวจสอบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบจำนวนพื้นที่คงเหลือการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นของที่ดินในบริเวณที่ขออนุญาต ก่อนการพิจารณาออกใบอนุญาตหรือการออกหนังสือแจ้ง ข้อทักท้วงกรณีการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๑๐ การพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ ๘ และข้อ ๙ หากสำนักงานเขตหรือสำนักการโยธามีปัญหาในการพิจารณาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีหนังสือหารือสำนักผังเมืองพร้อมรายละเอียดและหลักฐานการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตหรือวันที่ได้รับแจ้งและให้สำนักผังเมืองพิจารณาตรวจสอบและแจ้งเรื่องกลับภายใน ๗ วัน หมวด ๓ การประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ข้อ ๑๑ การขออนุญาตหรือการแจ้งประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่กำหนดในข้อ ๖ ให้ผู้ขออนุญาตหรือผู้แจ้ง แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแบบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) พร้อมกับการยื่นขออนุญาต หรือการแจ้งประกอบกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ สำนักงานเขต ข้อ ๑๒ การพิจารณาการขออนุญาตหรือการแจ้งประกอบกิจการตามที่กำหนดในข้อ ๖.๑ - ๖.๘ ให้สำนักงานเขตตรวจสอบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) ให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ข้อ ๑๓ การพิจารณาการขออนุญาตหรือการแจ้งประกอบกิจการตามที่กำหนดในข้อ ๖.๙ ให้สำนักงานเขตตรวจสอบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) ให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครและตรวจสอบจำนวนพื้นที่คงเหลือของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นของที่ดินในบริเวณที่ขออนุญาตก่อนการพิจารณาออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ข้อ ๑๔ การพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ หากสำนักงานเขตมีปัญหาในการพิจารณาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีหนังสือหารือสำนักผังเมืองพร้อมรายละเอียดและหลักฐานการแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาตหรือการแจ้งประกอบกิจการ และให้สำนักผังเมืองพิจารณาตรวจสอบและแจ้งเรื่องกลับภายใน ๗ วัน หมวด ๔ การรายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อ ๑๕ เมื่อได้ออกใบอนุญาต หรือออกใบรับแจ้งสำหรับการแจ้งและสำนักงานเขตหรือสำนักการโยธาแล้วแต่กรณี ตรวจสอบเห็นว่าไม่มีข้อทักท้วง หรือพ้นกำหนดระยะเวลาที่อาจทักท้วงได้ตามมาตรา ๓๙ ตรีแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยไม่ใช่กรณีตามมาตรา ๓๙ ตรี วรรค ๓ (๑) (๒) และ (๓) และหรือได้ออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว ให้สำนักงานเขตและสำนักการโยธา ดำเนินการดังนี้ ๑๕.๑ กรณีเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนดในข้อ ๖.๑ - ๖.๘ ให้ส่งสำเนาหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) พร้อมเอกสารประกอบการแจ้งให้สำนักผังเมืองภายในวันที่ ๑๕ ของเดือนถัดไป ๑๕.๒ กรณีเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนดในข้อ ๖.๙ ให้ส่งสำเนาหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) พร้อมเอกสารประกอบการแจ้งให้สำนักผังเมืองภายในวันอังคารของทุกสัปดาห์ หากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจากที่ได้รับอนุญาตหรือแจ้งไว้ให้สำนักงานเขตหรือสำนักการโยธา แล้วแต่กรณี แจ้งให้สำนักผังเมืองทราบ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๑๖ เมื่อสำนักผังเมืองได้รับข้อมูลหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อ ๑๕ แล้วให้ดำเนินการดังนี้ ๑๖.๑ รวบรวมและรายงานจำนวนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อ ๑๕.๑ เสนอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อทราบอย่างน้อยทุก ๓ เดือน หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ๑๖.๒ รวบรวมจำนวนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อ ๑๕.๒ และแจ้งจำนวนคงเหลือของที่ดินที่อาจใช้เพื่อกิจการอื่น แก่สำนักงานเขตและสำนักการโยธา ทราบภายในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตต่อไป และรายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อทราบอย่างน้อยทุกวันที่ ๑ ของเดือนหรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด การรวบรวมจำนวนการใช้ประโยชน์ที่ดินตามวรรคหนึ่ง ในกรณีของการอนุญาตหรือการแจ้งให้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ให้สำนักผังเมืองตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้อง หมวด ๕ การตรวจสอบและการดำเนินการแก่ผู้ฝ่าฝืน ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานเขต สำนักการโยธา สำนักผังเมือง ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๘ กรณีตรวจสอบพบว่ามีการใช้ประโยชน์ที่ดินฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้สำนักงานเขตรวบรวมหลักฐานเพื่อร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ ในกรณีพบว่า มีการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครด้วยให้ดำเนินการไปในคราวเดียวกัน ข้อ ๑๙ เมื่อสำนักงานเขตได้ร้องทุกข์แล้ว ให้แจ้งผลให้สำนักผังเมืองทราบโดยด่วน ข้อ ๒๐ ให้สำนักงานเขตติดตามรายงานผลการดำเนินคดีจากสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ทุก ๓ เดือน เมื่อการดำเนินคดีแก่ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครถึงที่สุดแล้วให้แจ้งผลให้สำนักผังเมืองทราบ หมวด ๖ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๑ ผู้ประสงค์จะใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน นอกเหนือที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ และหมวด ๓ ให้แจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแบบหนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดิน (แบบ ผมร.1) ณ สำนักงานเขตท้องที่ โดยให้สำนักงานเขตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๔ และ หมวด ๕ โดยอนุโลม ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามควรแก่กรณี ข้อ ๒๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือแจ้งการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (แบบ ผมร.1) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๒๐/๘ สิงหาคม ๒๕๕๐
563813
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอน พ.ศ. 2541
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับ ข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอน พ.ศ. ๒๕๔๑” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินค่าตอบแทนที่ไม่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง “บุคคลภายนอก” หมายความว่า บุคคลที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างในสังกัดกรุงเทพมหานคร “สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน และศูนย์สงเคราะห์เด็กของกรุงเทพมหานคร “ผู้สอน” หมายความว่า บุคคลที่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและชำนาญการด้านการสอนที่ทำหน้าที่ให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ข้อ ๕ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอนในสถานศึกษา ได้แก่การเพิ่มพูนความรู้ หรือประสบการณ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ข้อ ๖ ผู้สอนจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการสอนเป็นอย่างดี (๒) อายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี ในวันที่ได้รับการอนุมัติ (๓) มีความประพฤติเรียบร้อย (๔) ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๕) ไม่เป็นผู้ติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษ (๖) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (๗) ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ (๘) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ข้อ ๗ การอนุมัติให้บุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติราชการให้อนุมัติได้เป็นครั้งคราวตามความจำเป็นความเหมาะสม ความเร่งด่วน และประโยชน์ของทางราชการเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ข้อ ๘ การคัดเลือกให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของเรื่องเป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกแล้วนำเสนอผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้อนุมัติ ข้อ ๙ การเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของเรื่องกำหนด ข้อ ๑๐ ผู้สอนให้ปฏิบัติงานไม่เกินวันละ ๔ ชั่วโมง ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอก ตามระเบียบนี้ให้กระทำได้เฉพาะแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอนตามวัน เวลา ที่ได้ปฏิบัติงานจริง อัตราค่าตอบแทนผู้สอน ให้ผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้อนุมัติเป็นรายๆ ไป โดยให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละไม่เกิน ๖๐๐ บาท และเบิกจ่ายได้เดือนละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๒ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง/หน้า ๒๗/๒๙ กันยายน ๒๕๕๐
556367
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐” ๒[๑]. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ๓. ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอื่นของรัฐองค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ที่ประสงค์จะขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการทำกิจกรรมตามข้อ ๕ ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือที่สำนักสิ่งแวดล้อม ล่วงหน้าก่อนวันจัดงานไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เมื่อกรุงเทพมหานครได้อนุญาตให้ผู้ขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงตามข้อ ๕ และหากภายหลังมีกรณีจำเป็นต้องใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อจัดกิจกรรมตามข้อ ๔ กรุงเทพมหานครสามารถระงับการอนุญาตใช้พื้นที่ที่ได้อนุญาตไปแล้วได้ทันที โดยผู้ถูกระงับการอนุญาตจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับกรุงเทพมหานครมิได้ ให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้” ๔. ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๘ ให้สำนักสิ่งแวดล้อมดำเนินการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับอนุญาต หากพบความเสียหายให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด” ๕. ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ เงินที่ได้มาจากการชดใช้ความเสียหายตามข้อ ๑๐ ให้สำนักสิ่งแวดล้อมนำไปบูรณะทรัพย์สินที่เสียหาย โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณ” ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๔๗/๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
559007
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้การบริหารเงินกองทุนเพื่อการบูรณะเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ตามเจตนารมณ์ของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินกองทุนเสาชิงช้า กรุงเทพมหานครขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนเสาชิงช้ากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนเสาชิงช้ากรุงเทพมหานคร “เงินกองทุน” หมายความว่า เงินกองทุนเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ เงินกองทุนได้มาจาก (๑) เงินที่มีผู้บริจาคเพื่อสมทบเข้ากองทุน (๒) เงินซึ่งได้มาจากการจำหน่ายหรือให้เช่าวัตถุมงคล หรือของที่ระลึกที่เกี่ยวกับการดำเนินงานบูรณะเสาชิงช้า หรือที่เกี่ยวข้อง (๓) ดอกผลจากเงินกองทุน ข้อ ๖ ให้มีคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร สั่งราชการสำนักการคลัง สำนักผังเมือง และสำนักงานกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ผู้อำนวยการสำนักการโยธา ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองการเงิน เป็นกรรมการและเลขานุการกับให้คณะกรรมการแต่งตั้ง ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน ๒ คน ข้อ ๗ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) ควบคุมงบประมาณรายรับ รายจ่าย ของกองทุน (๒) พิจารณากำหนดประเภท อัตราค่าใช้จ่าย เพื่อบูรณะ ปฏิสังขรณ์ การบำรุงรักษา เสาชิงช้าและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวข้อง (๓) พิจารณากำหนดและการควบคุมดำเนินการ การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และหรือเพื่อการจัดหารายรับเข้ากองทุน (๔) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๕) เรียกข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครมาชี้แจง สอบถาม หรือให้ข้อเท็จจริงหรือเชิญข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการอื่น รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงาน (๖) พิจารณาดำเนินการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๘ กองทุนอาจมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ หรือบำรุงรักษาเสาชิงช้าและส่วนที่เกี่ยวข้อง (๒) ค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีกรรม หรือการจัดงานตามประเพณีที่เกี่ยวข้อง (๓) ค่าใช้จ่ายในการจัดหาไม้ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เสาชิงช้า (๔) ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๙ ให้กรุงเทพมหานคร เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารของรัฐ ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนเสาชิงช้า กรุงเทพมหานคร” ข้อ ๑๐ การสั่งก่อหนี้และอนุมัติเบิกเงินกองทุน ให้เป็นอำนาจและภายในวงเงิน ดังนี้ (๑) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท (๒) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกินกว่า ๑๐ ล้านบาท ข้อ ๑๑ เมื่อหน่วยงานได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำเนินกิจกรรมหรือโครงการเพื่อการบูรณะเสาชิงช้าหรือที่เกี่ยวข้องตลอดจนกรอบวงเงินในการก่อหนี้แล้ว ให้กองการเงิน สำนักการคลังโอนเงินกองทุนดังกล่าวให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและให้หน่วยงานนั้นดำเนินการจัดหาหรือก่อหนี้ผูกพันตามวงเงินโดยปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับ ข้อ ๑๒ ให้กองการเงิน สำนักการคลัง มีหน้าที่รับจ่ายเงิน ฝากเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีรับ จ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบและเก็บรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๓ การถอนเงินฝากตามข้อ ๙ ให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายกับ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง รองผู้อำนวยการสำนักการคลัง ซึ่งผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมายหรือหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดสำนักการคลังลงลายมือชื่อร่วมกัน ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๑๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๔๖/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐
543453
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระภาษีผ่านธนาคาร พ.ศ. 2534
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระภาษีผ่านธนาคาร พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อให้การชำระภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ และพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ ในกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เป็นผลดีทั้งผู้ชำระภาษีและกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชำระภาษีผ่านธนาคาร พ.ศ. ๒๕๓๔” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการชำระภาษีผ่านธนาคาร พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารที่กรุงเทพมหานครตกลงให้รับชำ ระภาษีแทนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ด้วย หมวด ๑ วิธีปฏิบัติสำหรับผู้ชำระภาษี ข้อ ๖ การชำระภาษีผ่านธนาคาร ผู้ชำระภาษีต้องส่งหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อธนาคาร (๑) ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องแสดงใบแจ้งรายการประเมิน (ภ.ร.ด. ๘) (๒) ภาษีบำรุงท้องที่ ต้องแสดงหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท. ๙) ในปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน หรือในปีแรกที่ทำการประเมิน ส่วนในปีต่อไปต้องแสดงใบเสร็จรับเงินภาษีของปีที่ล่วงแล้ว (๓) ภาษีป้าย ต้องแสดงหนังสือแจ้งประเมิน (ภ.ป. ๓) ข้อ ๗ การชำระภาษีผ่านธนาคาร ให้ชำระเฉพาะภาษีที่จะต้องชำระโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ ให้แก่ธนาคารและผู้ชำระภาษีจะมอบให้ผู้ใดนำหลักฐานไปชำระแทน โดยไม่ต้องมีใบมอบอำจานก็ได้ ข้อ ๘ การชำระภาษีผ่านธนาคาร อาจชำระเป็นเงินสดหรือเป็นเช็คก็ได้ หากชำระเป็นเช็คต้องเป็นเช็คคร่อมและสั่งจ่ายให้ “กรุงเทพมหานคร” เท่านั้น และต้องมีบัญชีเงินฝาก ณ ธนาคารที่รับชำระภาษี หมวด ๒ วิธีปฏิบัติสำหรับธนาคาร ข้อ ๙ การรับชำระภาษีผ่านธนาคาร ให้ธนาคารรับเฉพาะภาษีที่ชำระก่อนครบกำหนดไม่น้อยกว่า ๙ วัน เท่านั้น ข้อ ๑๐ เมื่อธนาคารรับเงินภาษีตามหลักฐานที่ผู้ชำระภาษีนำมาแสดงตามข้อ ๖ ให้ธนาคารออกหลักฐานการรับเงินภาษีแต่ละราย แต่ละประเภท โดยจัดทำเป็น ๔ ชุด ชุดที่ ๑ มอบให้ผู้ชำระภาษีชุดที่ ๒ และชุดที่ ๓ ส่งให้กรุงเทพมหานคร หลักฐานการรับเงินทั้ง ๓ ชุดนี้ ต้องมีลายมือชื่อของผู้มีอำนาจของธนาคารและประทับตราไว้เป็นหลักฐาน ชุดที่ ๔ ธนาคารเก็บรักษาไว้ ข้อ ๑๑ ธนาคารต้องนำเงินภาษีที่ได้รับชำระ เข้าบัญชีกรุงเทพมหานครทันที ข้อ ๑๒ ให้ธนาคารจัดทำเอกสารรายการประกอบด้วยหลักฐานที่ผู้ชำระภาษีนำมาแสดงตามข้อ ๖ นั้น ส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยแยกรายการแต่ละสำนักงานเขตตามแบบ ภ.ธ. ๑ ท้ายระเบียบนี้ เอกสารตามวรรคหนึ่งให้จัดทำเอกสารรายการเป็น ๓ ชุด ส่งให้กรุงเทพมหานครลงรับไว้เป็นหลักฐานภายใน ๘ วัน นับแต่วันได้รับชำระภาษีจากผู้ชำระภาษีพร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ ๖ และข้อ ๑๐ และให้กรุงเทพมหานครส่งชุดที่ ๓ คืนธนาคารเก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๓ ให้ธนาคารรับใบเสร็จรับเงินที่กรุงเทพมหานครออกให้ผู้ชำระภาษีตามข้อ ๑๕ พร้อมทั้งหลักฐานตามข้อ ๖ ที่ธนาคารส่งให้แก่กรุงเทพมหานคร ตามข้อ ๑๒ คืนไปเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับชำระภาษีต่อไป หมวด ๓ วิธีปฏิบัติของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๔ ให้งานรายได้ สำนักงานเขต หรือกองการเงิน สำนักการคลัง ประทับข้อความว่า“การชำระเงินผ่านธนาคารต้องชำระก่อนครบกำหนดไม่น้อยกว่า ๗ วัน” ลงใน ภ.ร.ด. ๘, ภ.บ.ท. ๙ ภ.ป. ๓ และใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี ทุกฉบับ ข้อ ๑๕ เมื่อกองการเงิน สำนักการคลัง ได้รับเอกสารหลักฐานการชำระภาษีตามข้อ ๖ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๒ จากธนาคารซึ่งได้ส่งมอบตามข้อ ๑๒ แล้ว ให้กองการเงิน สำนักการคลังตรวจสอบและออกใบเสร็จรับเงินส่งให้ธนาคารเพื่อมอบให้ผู้ชำระภาษีต่อไป หมวด ๔ ผลการชำระภาษีผ่านธนาคาร ข้อ ๑๖ กรณีผู้ชำระภาษีได้ชำระภาษีเกินจำนวนหรือได้ชำระโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระให้ผู้ชำระยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตที่แจ้งการประเมินเท่านั้น ข้อ ๑๗ การชำระภาษีต่อธนาคารตามรายการ จำนวนเงิน และภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายโดยถูกต้องแล้ว ย่อมมีผลนับแต่วันที่ธนาคารได้รับชำระภาษี แต่จะสมบูรณ์ตามกฎหมายต่อเมื่อกรุงเทพมหานครได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายการผู้ชำระภาษีผ่านธนาคาร (ภ.ธ. ๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๑ ง/หน้า ๒๒/๒๗ เมษายน ๒๕๕๐
526401
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงาน เพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงาน เพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลสำหรับผู้บริหารและหน่วยงานเพื่อจ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดา ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้บริหาร” หมายความว่า ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ) ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้อำนวยการสำนัก ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกอง และหัวหน้าหน่วยงาน หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าไม่ต่ำกว่าระดับกอง “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและข้าราชการครูกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร “ลูกจ้างประจำ” หมายความว่า ลูกจ้างประจำตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ผู้บริหาร ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานโครงการที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและประสิทธิผลตามพันธกิจและผลการประเมินหรือคำรับรองการปฏิบัติราชการของผู้บริหารและหรือข้าราชการและลูกจ้างประจำในหน่วยงานที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครได้พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินแล้ว หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อรับเงินรางวัลประจำปีให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๖ ให้ผู้บริหาร ข้าราชการและลูกจ้างประจำได้รับเงินรางวัลตามระดับของผลงานโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานในรอบปีงบประมาณนั้น ตามอัตราที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด กรณีมีเหตุจำเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจกำหนดอัตราเงินรางวัลโดยไม่แยกผู้บริหารกับข้าราชการและลูกจ้างประจำของหน่วยงานก็ได้ ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการจัดสรรเงินรางวัลประจำปี ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานครหรือรองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองระบบงาน สำนักงาน ก.ก. เป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่เสนอแนะแนวทางและอัตราในการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงาน ผู้บริหาร ข้าราชการและลูกจ้างประจำหรือดำเนินการอื่นใดตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๘ การจ่ายเงินรางวัลประจำปีให้จ่ายแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินรางวัลประจำปี ตามอัตราที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติ โดยให้หน่วยงานออกคำสั่งการจ่ายเงินรางวัลดังกล่าวและให้มีหลักฐานการจ่ายเงินตามระเบียบของทางราชการไว้เพื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ การจ่ายเงินรางวัลประจำปี หากมีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ข้อ ๙ ข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินตอบแทนพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๔ ให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งยังรับราชการอยู่ในวันที่ ๓๐ กันยายนของแต่ละปีให้ได้รับเงินรางวัลประจำปีตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินรางวัลประจำปีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษที่ ๙ ง/หน้า ๔๑/๒๖ มกราคม ๒๕๕๐
502004
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ และข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยาม คำว่า “หน่วยงาน” และ “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” ในข้อ ๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งตั้งแต่ระดับฝ่ายขึ้นไป และให้รวมถึง สถานธนานุบาลและตลาดของสำนักงานตลาดด้วย “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งระดับฝ่าย หรือผู้ได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๔ ให้เพิ่มบทนิยาม คำว่า “โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ” “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” “การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม” “เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ” และ “งานก่อสร้างสาธารณูปโภค” ในข้อ ๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ดังต่อไปนี้ “โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ” หมายความว่า โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 9001 หรือ มอก. 9002 ในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือองค์กรที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การรับรองระบบงาน (accreditation) “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขายในการซื้อพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเข้าเสนอราคาเพื่อรับจ้างทำพัสดุ หรือเข้าเสนองานเพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงานให้แก่หน่วยงานใด เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคา หรือเข้าเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าว มีความสัมพันธ์กันในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหาร โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน (๒) มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด อีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน คำว่า “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ ๒๕ ในกิจการนั้น หรือในอัตราอื่นตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เห็นสมควรประกาศกำหนด สำหรับกิจการบางประเภทหรือบางขนาด (๓) มีความสัมพันธ์กันในลักษณะไขว้กันระหว่าง (๑) และ (๒) โดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน ในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน หรือในนัยกลับกัน การดำรงตำแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการเข้าถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นของคู่สมรสหรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลใน (๑) (๒) หรือ (๓) ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งการเป็นหุ้นส่วนหรือการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าว ในกรณีบุคคลใดใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น โดยที่ตนเองเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารที่แท้จริง หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี และห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เกี่ยวข้องได้เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานนั้นในคราวเดียวกัน ให้ถือว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นมีความสัมพันธ์กันตาม (๑) (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี “การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม” หมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรค หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคาหรือเสนองานต่อหน่วยงาน ไม่ว่าจะกระทำโดยการสมยอมกัน หรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จ หรือกระทำการใดโดยทุจริต ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานด้วยกัน หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานนั้น หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบหน่วยงานโดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ “เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ” หมายความว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตามข้อ ๓๘ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๔๖ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๗๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๙๓ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดตามข้อ ๙๖ หรือผู้ว่าจ้างในกรณีการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีพิเศษที่เป็นการว่าจ้างโดยการประกวดแบบตามข้อ ๙๗ (๒) “งานก่อสร้างสาธารณูปโภค” หมายความว่า งานก่อสร้าง ซ่อมแซมและบำรุง รักษางานอันเกี่ยวกับการทาง การประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคม การระบายน้ำ ระบบการขนส่งปิโตรเลียมโดยทางท่อ ทางหลวง ทางรถไฟ และการอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งดำเนินการในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดินหรือเหนือพื้นดิน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ และข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยแก่ผู้เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามกฎหมายหรือระเบียบที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาบังคับอยู่ในขณะนั้นโดยอนุโลม หรือตามกฎหมายหรือระเบียบเฉพาะของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (๑) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำให้ออก (๒) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหาย แต่ไม่ร้ายแรง ให้ลงโทษอย่างต่ำตัดค่าจ้าง (๓) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหาย ให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การลงโทษทางวินัยตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากความรับผิดตามกฎหมายในทางแพ่งและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาใช้บังคับหรือความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี) ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการกองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่ง เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน ๒ คน” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความใน (๗) ของข้อ ๑๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๗) กำหนดอัตราร้อยละของราคาตามข้อ ๑๔ (๖) (๗) (๘) และ (๑๑)” ข้อ ๗ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๒) (๑๓) (๑๔) และ (๑๕) ของข้อ ๑๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ “(๑๒) พิจารณารายงานการจ้างตามข้อ ๗๓ วรรคสอง (๑๓) กำหนดอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามข้อ ๘๒ (๑๔) กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าปรับตามข้อ ๑๒๔ (๑๕) กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติเพื่อให้มีการปฏิบัติตามระเบียบนี้” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้หน่วยงานรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอนของระเบียบนี้ในส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว การจัดหาโดยวิธีสอบราคาและวิธีประกวดราคา ให้หน่วยงานวางแผนในการจัดหาและดำเนินการให้เป็นไปตามแผนด้วย” ข้อ ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๓/๑ ข้อ ๑๓/๒ ข้อ ๑๓/๓ ข้อ ๑๓/๔ ข้อ ๑๓/๕ และข้อ ๑๓/๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ “ข้อ ๑๓/๑ การจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหาต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เว้นแต่กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นข้อยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการพร้อมทั้งต้องระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๓/๒ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมตามข้อ ๑๓/๑ ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันแต่เพียงรายเดียวเท่านั้น มีสิทธิที่จะเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานของกรุงเทพมหานครในแต่ละครั้ง ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ก่อนการเปิดซองสอบราคาประกวดราคาหรือเสนองาน แล้วแต่กรณี และในกรณีการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุโดยวิธีประกวดราคาตามข้อ ๕๐ หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ ๗๕ และข้อ ๗๙ ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าว ก่อนการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน ข้อ ๑๓/๓ ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละราย ตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหาก โดยอย่างน้อยต้องมีเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุมและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง (๒) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นั้น สำเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง (๓) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้าและในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (๑) (๔) เอกสารอื่นตามที่หน่วยงานกำหนด เช่น หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี สำหรับกรณีที่ระเบียบนี้กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียวตามข้อ ๗๗ (๒) ให้ผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง มาพร้อมกับการยื่นซองดังกล่าวด้วย เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสองแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการของหน่วยงานโดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานอยู่ ณ สถานที่ที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นทราบด้วย ข้อ ๑๓/๔ เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสองแล้ว หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการเสนอราคาหรือเสนองานในครั้งนั้น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายดังกล่าวทราบโดยพลัน ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันอาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อปลัดกรุงเทพมหานครภายใน ๓ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกรุงเทพมหานครให้ถือเป็นที่สุด สำหรับการเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น และให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุทราบด้วย การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เว้นแต่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นว่า การขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง และในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานดังกล่าวได้ ข้อ ๑๓/๕ นอกจากการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ ๑๓/๒ วรรคสองและตามข้อ ๑๓๕ แล้ว หากปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนหรือในขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทำการดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ จะวินิจฉัยว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นเป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และมิได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าวตามนัยข้อ ๑๓๕/๔ จะไม่ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานนั้นก็ได้ ให้นำความในข้อ ๑๓/๓ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ ๑๓/๔ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้กับการอุทธรณ์ในกรณีนี้โดยอนุโลม และให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๑๓/๖ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังจากการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้ตามข้อ ๑๓/๓ วรรคสาม เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายอื่น หรือเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้หัวหน้าหน่วยงานมีอำนาจที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวทุกรายออกจากประกาศรายชื่อตามข้อ ๑๓/๓ วรรคสาม ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด ๒ ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน และในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้ว เห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานดังกล่าวได้” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทย ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศหรือเป็นกิจการของคนไทย สามารถเข้าแข่งขันกันในการเสนอราคากับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้างตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือเพื่อความสะดวกจะระบุเฉพาะหมายเลขมาตรฐานก็ได้ (๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างให้สอดคล้องกับรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะตามที่ระไว้ในคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น (๔) ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ หรือรายการในการก่อสร้างแตกต่างจากที่กำหนดไว้ใน (๒) หรือ (๓) ให้แจ้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเมื่อได้รับหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรมตอบรับทราบหรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำเป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น ในกรณีที่พัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำตามวรรคหนึ่ง เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตน้อยกว่า ๓ ราย แต่เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน โดยมีผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป หรือเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ โดยมีผู้ผลิตตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้หน่วยงานระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทย และให้ดำเนินการตาม (๖) (๖) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิดหรือขนาดเดียวกันตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไป ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุซึ่งผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพเสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๕ ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพรายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละ ๓ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๗) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำตาม (๕) หรือ (๖) เป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพน้อยกว่า ๓ ราย หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน โดยมีผู้รับใบอนุญาตน้อยกว่า ๓ ราย หรือเป็นพัสดุที่มีผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพแล้ว โดยมีผู้ผลิตน้อยกว่า ๓ ราย ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือมีผู้เสนอราคาพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ให้ดำเนินการต่อรองราคา ดังนี้ (ก) ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน และในขณะเดียวกันเป็นพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่น ไม่เกินร้อยละ ๑๐ มาต่อรองราคา ทั้งนี้ ให้เรียกผู้เสนอราคารายที่เสนอราคาต่ำสุดมาต่อรองราคาก่อน หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น หากต่อรองราคาแล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานและผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาต่ำสุดลำดับถัดไปมาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (ข) หากดำเนินการตาม (ก) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาพัสดุที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผู้เสนอราคาพัสดุที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ รายที่เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ มาต่อรองราคา หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ ๕ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๘) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ มีผู้ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้ระบุความต้องการเฉพาะพัสดุที่ทำในประเทศไทย การซื้อหรือการจ้างในกรณีนี้ นอกจากการจ้างก่อสร้าง หากมีผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม เสนอราคาสูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เข้าแข่งขันรายอื่นไม่เกินร้อยละ ๗ ให้ต่อรองราคาผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม รายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละ ๕ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๙) การดำเนินการตาม (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้นถึงเดือนก่อนหน้าที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง ถ้ามีผู้เสนอราคาพัสดุที่อยู่ระหว่างขอการรับรองระบบคุณภาพ หรือการขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือการขอจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม โดยแนบใบรับมาพร้อมกับใบเสนอราคา หากพัสดุนั้นได้รับการรับรองระบบคุณภาพหรือใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวันถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้ จะต้องก่อนการพิจารณาตัดสินราคาของคณะกรรมการ ให้ถือเสมือนเป็นผู้เสนอราคาพัสดุที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ หรือได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือได้รับการจดทะเบียนผลิตภัณฑ์ไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี (๑๐) ในกรณีที่ได้ดำเนินการตาม (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แล้ว แต่ไม่สามารถซื้อหรือจ้างได้ ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๑๑) การซื้อหรือการจ้างนอกจากที่กล่าวใน (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาระบุแหล่งกำเนิดหรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือเป็นกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่าพัสดุที่มิได้มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือมิได้เป็นกิจการของคนไทย ไม่เกินร้อยละ ๕ ของผู้เสนอราคารายต่ำสุด ให้ต่อรองราคาของผู้เสนอราคาพัสดุที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทยรายที่เสนอถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้ว ราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุด ไม่เกินร้อยละ ๓ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๑๒) การเปรียบเทียบราคาให้พิจารณาราคาที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณาราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี (๑๓) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวิธีซื้อหรือวิธีจ้างแต่ละวิธีเว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (๖) (๗) (๘) หรือ (๑๑) การซื้อหรือการจ้างที่ดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือซึ่งไม่สามารถเจรจากับแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ เพื่อกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งได้ ให้หน่วยงานส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศไทยหรือเป็นกิจการของคนไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่พัสดุใดผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเว้นการส่งเสริมพัสดุประเภทหรือชนิดดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกัน หรือผู้ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตาม (๕) (๖) หรือ (๗) แต่ละราย ถ้ามีลักษณะที่เป็นการมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ตามนัยของบทนิยาม “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” ให้นับผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือผู้ผลิตดังกล่าวเป็นหนึ่งรายเท่านั้น” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕ การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ ๖ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ (๖) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๘ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท” ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ และข้อ ๒๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๐ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สหการ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๓) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม (Repeat Order) (๔) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ (๕) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึง อะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตามข้อ ๕๖ (๖) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (๗) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๑ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๔) เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม (Repeat Order) (๕) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๒ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สหการ ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง (๒) มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง และกรณีนี้ให้รวมถึง หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย” ข้อ ๑๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๒๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท และการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเร่งด่วน ตามข้อ ๒๐ (๒) หรือข้อ ๒๑ (๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงานตามวรรคหนึ่งเฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้” ข้อ ๑๔ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๒๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๖ หน่วยงานใดประสงค์จะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้างให้กระทำได้ในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัดเฉพาะผู้ที่มีความสามารถ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกประกาศให้ผู้ที่สนใจทราบโดยเปิดเผย พร้อมทั้งส่งให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย” ข้อ ๑๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๙ ให้หน่วยงานพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือการจ้าง และตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ประกาศไปแล้ว อย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี โดยปกติให้กระทำภายในเดือนแรกของปีงบประมาณ และเมื่อได้ทบทวนแล้ว ให้หน่วยงานนั้นแจ้งการทบทวนพร้อมทั้งส่งหลักเกณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุทราบโดยเร็ว แต่ต้องไม่นานเกินกว่า ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ในกรณีที่หน่วยงานใดมีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้เป็นการประจำ ให้หน่วยงานนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้ขึ้นบัญชีไว้แล้วและประสงค์ที่จะขอเลื่อนชั้น หรือให้บุคคลที่ประสงค์จะเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก เพื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น มีสิทธิยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกได้ตลอดเวลา โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ และโดยปกติจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ถ้าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องชี้แจงเหตุผลและระยะเวลาที่ต้องใช้ตามความจำเป็นให้ผู้ยื่นคำขอทราบด้วย ในระหว่างการยื่นคำขอและตรวจพิจารณาคำขอ ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือผู้ที่ยื่นคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อขึ้นบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น จะใช้สิทธิจากการที่ตนได้ยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกดังกล่าว ในการซื้อหรือการจ้างที่มีขึ้นก่อนหรือในระหว่างที่ตนยื่นคำขอเลื่อนชั้นหรือคำขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกนั้นไม่ได้ ในกรณีที่หน่วยงานเห็นสมควรยกเลิกบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือการจ้างเพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานแจ้งให้ผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่อยู่ในบัญชีรายชื่อทราบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วัน” ข้อ ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒๙/๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ “ข้อ ๒๙/๑ ในการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้หน่วยงานพิจารณาถึงความสามารถในการรับงานของผู้ขายหรือผู้รับจ้างประกอบการพิจารณาคัดเลือกของหน่วยงานด้วย ในกรณีที่หน่วยงานใด มีการขึ้นบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นสำหรับการซื้อหรือการจ้างไว้แล้ว ให้หน่วยงานนั้นแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่อยู่ในบัญชีผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นดังกล่าว แสดงหลักฐานถึงขีดความสามารถและความพร้อมที่ตนมีอยู่ในวันเสนอราคา ตามหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด ทั้งในด้านบุคลากร เครื่องมือ โรงงาน และฐานะทางการเงินของตนต่อหน่วยงาน” ข้อ ๑๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๓ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้งหรือการจัดหาอื่นใดที่หน่วยงานเห็นว่า มีความจำเป็นต้องมีผู้ควบคุมงานโดยเฉพาะ ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ ความชำนาญทางด้านช่างหรือด้านอื่นใด ตามลักษณะของงานที่ดำเนินการนั้นจากพนักงานในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดอื่น ตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงาน หรือหัวหน้าส่วนราชการของผู้นั้นแล้ว ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างหรืองานจัดหาอื่นใดมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้ ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมงานแทนพนักงาน ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติตามหมวด ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี” ข้อ ๑๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามข้อ ๒๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน หรือเป็นกรณีการจัดซื้อจัดจ้าง (ยกเว้นค่าครุภัณฑ์) ที่มีวงเงินครั้งละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบและขออนุมัติต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง และเมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบและอนุมัติแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม” ข้อ ๑๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๓๙ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างตามข้อ ๒๓ (๔) หรือข้อ ๒๔ (๕) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการดำเนินการตามลำดับดังนี้ (๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้ว ราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้น ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซอง ให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุดในการต่อรองราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวน หรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่” ข้อ ๒๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๑ ข้อ ๔๒ และข้อ ๔๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔๑ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลและจัดทำหลักฐานการเผยแพร่และการปิดประกาศประกวดราคาภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการดังนี้ (๑) ปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานนั้น การปิดประกาศดังกล่าวให้กระทำในตู้ปิดประกาศที่มีกุญแจปิดตลอดเวลา โดยผู้ปิดประกาศและผู้ปลดประกาศออกจากตู้ปิดประกาศจะต้องจัดทำหลักฐานการปิดประกาศและการปลดประกาศออกเป็นหนังสือมีพยานบุคคลรับรอง ทั้งนี้ ผู้ปิดประกาศและผู้ปลดประกาศออก จะต้องมิใช่บุคคลเดียวกัน และจะต้องมิใช่บุคคลที่เป็นพยานในแต่ละกรณีด้วย (๒) ส่งใบประกาศประกวดราคาไปที่กองประชาสัมพันธ์ เพื่อปิดประกาศที่กองประชาสัมพันธ์ (๓) ส่งไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียงของกรุงเทพมหานคร และ/หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ (๔) ส่งให้กรมประชาสัมพันธ์และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อเผยแพร่ (๕) ส่งไปเผยแพร่ที่ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาของทางราชการ โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย (๖) ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย นอกจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากเห็นสมควรจะส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือจะโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้ การส่งประกาศประกวดราคาตามวรรคหนึ่ง หากจัดส่งทางไปรษณีย์ให้จัดส่งโดยใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) เว้นแต่ท้องที่ใดไม่มีบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) จึงให้จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ให้กระทำก่อนการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ สำหรับการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคานานาชาติ ให้หน่วยงานถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือแหล่งให้เงินช่วยเหลือ ข้อ ๔๒ การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียด ให้กระทำ ณ สถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้าม และจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น รายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นใดในการให้หรือการขาย การให้หรือการขายเอกสารประกวดราคาต้องกระทำไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ และจะต้องมีช่วงเวลาสำหรับการคำนวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้าเสนอราคาหลังปิดการให้หรือการขายเอกสารประกวดราคา จนถึงก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ หรือไม่น้อยกว่าจำนวนวันที่มากกว่านั้นตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด โดยคำนึงถึงขนาด ปริมาณ และลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องเสียไปในการจัดทำสำเนาเอกสารประกวดราคานั้น ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นและมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้เอกสารประกวดราคานั้นหรือได้รับเอกสารประกวดราคาใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก ข้อ ๔๓ ในกรณีที่การซื้อหรือการจ้างใดมีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน หรือมีความจำเป็น โดยสภาพของการซื้อหรือการจ้างที่จะต้องมีการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ ให้หน่วยงานกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ในประกาศประกวดราคา ก่อนวันปิดการรับซองประกวดราคา หากหน่วยงานเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมหรือมีการชี้สถานที่ อันเป็นการแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้น ให้หน่วยงานจัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติมและให้ระบุวัน เวลา และสถานที่ในการชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ไว้ด้วย และให้ดำเนินการตามข้อ ๔๑ วรรคหนึ่ง โดยอนุโลม รวมทั้งให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ได้รับหรือได้ซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายทราบโดยมิชักช้า การชี้แจงรายละเอียดหรือการชี้สถานที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบันทึกการชี้แจงรายละเอียด หรือการชี้สถานที่ เป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ถ้ามีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้หน่วยงานพิจารณาเลื่อนวัน เวลารับซอง การปิดการรับซองและการเปิดซองประกวดราคาตามความจำเป็นแก่กรณีด้วย” ข้อ ๒๑ ให้ยกเลิกความใน (๒) ของข้อ ๔๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๒) ตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน ให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย” ข้อ ๒๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔๘ ภายใต้บังคับข้อ ๔๖ (๑) ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนด ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นเพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่ หากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่า การประกวดราคาใหม่จะไม่ได้ผลดี จะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๗) หรือข้อ ๒๑ (๕) แล้วแต่กรณี ก็ได้” ข้อ ๒๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๐ และข้อ ๕๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕๐ การซื้อหรือการจ้างที่มีลักษณะจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุ และหรือข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาตัดสิน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอให้ครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการก่อนพิจารณาด้านราคา หรือการซื้อหรือการจ้างแบบเหมารวม (Lump Sum Turnkey) ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการได้ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกวดราคาทั่วไป เว้นแต่การกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นซองประกวดราคา โดยแยกเป็น (๑) ซองข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ (๒) ซองข้อเสนอด้านราคา (๓) ซองข้อเสนอทางการเงินตามข้อ ๕๒ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอนและหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย ข้อ ๕๑ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๕๐ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทำหน้าที่เปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิคของผู้เสนอราคาแทนคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาตามข้อ ๔๕ (๕) และพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๕๐ โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๔๖ ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่นของผู้เข้าเสนอราคาทุกราย และคัดเลือกเฉพาะรายที่เสนอได้ตรงหรือใกล้เคียงตามมาตรฐานความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ในกรณีจำเป็นจะเรียกผู้เสนอราคามาชี้แจงในรายละเอียดข้อเสนอเป็นการเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ (๒) เปิดซองราคาเฉพาะรายที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตาม (๑) แล้ว สำหรับรายที่ไม่ผ่านการพิจารณา ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาและซองข้อเสนอทางการเงิน (ถ้ามี) โดยไม่เปิดซอง ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอทางการเงินในกรณีนี้ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อหรือการจ้าง อย่างน้อยด้านละ ๑ คน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามวรรคหนึ่งด้วย” ข้อ ๒๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๓ ข้อ ๕๔ และข้อ ๕๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕๓ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้สั่งซื้อแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาดให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีเจรจาตกลงราคา (๒) ในกรณีเป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๓) ในกรณีที่เป็นพัสดุที่ได้ซื้อไว้แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพิ่มในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเร่งด่วน หรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เจรจากับผู้ขายรายเดิมตามสัญญา หรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการขายพัสดุตามรายละเอียด และราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิมภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าหรือเงื่อนไขเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุดที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะได้รับ (๔) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้สั่งซื้อเพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศโดยขอความร่วมมือให้สถานเอกอัครราชทูตหรือส่วนราชการอื่นในต่างประเทศช่วยสืบราคา คุณภาพ ตลอดจนรายละเอียด ส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศได้ (๕) ในกรณีเป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ให้เชิญผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๖) ในกรณีพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง ให้เชิญเจ้าของที่ดินและหรือเจ้าของสิ่งก่อสร้างโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๗) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงและผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อ เสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๕๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๑) (๒) และ (๓) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๔) ให้เจรจากับผู้รับจ้างรายเดิมตามสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาการส่งมอบ เพื่อขอให้มีการจ้างตามรายละเอียดและราคาที่ต่ำกว่าหรือราคาเดิม โดยคำนึงถึงราคาต่อหน่วยตามสัญญาเดิม (ถ้ามี) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์สูงสุดที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะได้รับ (๓) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๕) กรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง และผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้างเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๕๕ การดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง สั่งซื้อหรือสั่งจ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามข้อ ๒๒ ได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างตามข้อ ๒๕” ข้อ ๒๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๖ และข้อ ๕๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕๖ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่งนอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จัดการตลาด ผู้จัดการสถานธนานุบาล หรือหัวหน้าฝ่าย ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๕๗ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท” ข้อ ๒๖ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๕๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ หรือการจัดซื้อฐานข้อมูลสำเร็จรูป (CD-ROM) ที่มีลักษณะจะต้องบอกรับเป็นสมาชิกก่อน และมีกำหนดการออกเป็นวาระดังเช่นวารสาร หรือการบอกรับเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต (INTERNET) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์เรียกค้นหาข้อมูล ข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง” ข้อ ๒๗ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๖๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย” ข้อ ๒๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖๕ และข้อ ๖๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖๕ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคล นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนดให้ดำเนินการว่าจ้างโดยวิธีอื่น ให้หน่วยงานจ้างที่ปรึกษาไทยเป็นที่ปรึกษาหลัก (Lead Firm) ในการดำเนินงาน เว้นแต่ได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาว่า ไม่มีที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการหรืองานนั้น การจ้างที่ปรึกษาที่มิใช่นิติบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด เว้นแต่ระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในกรณีมีที่ปรึกษาไทย แต่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทย ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร สำหรับการจ้างที่ปรึกษาในกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศ จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทยก็ได้ ข้อ ๖๖ ภายใต้บังคับข้อ ๖๕ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงาน นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จากแหล่งที่กำหนดให้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่น จะต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนคน - เดือน (man - months) ของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่สาขาบริการหรืองานที่ไม่อาจจะจ้างบุคลากรไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร” ข้อ ๒๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗๐ คณะกรรมการตามข้อ ๖๙ ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยให้แต่งตั้งจากพนักงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๖ อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานอื่นหรือเชิญผู้แทนจากส่วนราชการอื่น หรือบุคคลที่มิใช่ข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ ตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ ให้เชิญผู้แทนจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ๑ คน” ข้อ ๓๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗๓ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว (๓) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการ มีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก และเป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) เป็นการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร บริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นใดที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุน ให้ดำเนินการจ้างได้โดยตรง การจ้างที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงก็ให้กระทำได้ โดยหัวหน้าหน่วยงานจะต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นของการจ้างโดยวิธีตกลง ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครทราบโดยมิชักช้า แต่อย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้มีการจ้าง ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้ว เห็นว่าการจ้างดังกล่าวไม่เป็นกรณีเร่งด่วน ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจแก้ไขสัญญาการจ้าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ได้ และในการทำสัญญาจ้างโดยอาศัยเหตุเร่งด่วนนี้ หน่วยงานจะต้องกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วยว่าสัญญาจ้างดังกล่าวจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ในกรณีการจ้างโดยอาศัยเหตุตาม (๒) หรือ (๓) คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จะกำหนดให้หัวหน้าหน่วยงานทำรายงานชี้แจงเหตุผลเพื่อทราบก็ได้ สำหรับกรณีที่เป็นการจ้างที่มีค่างานจ้างเกินวงเงินขั้นสูงที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด” ข้อ ๓๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘๑ และข้อ ๘๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘๑ การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๘๒ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัด โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่หน่วยงาน ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้าง จำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินกว่าอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (ถ้ามี) ด้วย ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษาจะต้องจัดให้ธนาคารในประเทศเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้างที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้น และให้ผู้ว่าจ้างคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ที่ปรึกษา เมื่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย สำหรับการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ให้จ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของค่าจ้างตามสัญญา และไม่ต้องมีหลักประกันเงินล่วงหน้าที่รับไปก็ได้” ข้อ ๓๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๐๔ การสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงานครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท” ข้อ ๓๓ ให้ยกเลิกความวรรคหกของข้อ ๑๒๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “บรรดาสรรพเอกสารต่าง ๆ แนบท้ายสัญญาหรือประกอบสัญญา ให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างแปลเอกสารให้เป็นภาษาไทย เฉพาะในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะหรือเอกสารด้านเทคนิคที่ได้กำหนดไว้ในประกาศประกวดราคาหรือสอบราคา แล้วแต่กรณี โดยให้มีผู้รับรองความถูกต้องการแปลเอกสารเป็นภาษาไทย ให้ถือปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นผู้รับรองความถูกต้องแปลเป็นภาษาไทย” ข้อ ๓๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒๓ และข้อ ๑๒๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒๓ การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้ จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกัน โดยไม่ต้องทำเป็นสัญญาตามข้อ ๑๒๒ ก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหา (๑) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ที่มีวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายใน ๕ วันทำการของทางราชการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ (๓) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ (๔) การซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๕) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๑) (๒) (๓) และ (๔) (๖) การเช่า ซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า ในกรณีการจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้างซึ่งใช้วิธีดำเนินการตามข้อ ๓๕ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ข้อ ๑๒๔ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ นอกจากการจ้างที่ปรึกษา ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ของราคางานจ้างนั้น แต่อาจจะกำหนดค่าปรับเป็นรายวันเกินกว่าอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ในการทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา หากหน่วยงานเห็นว่า ถ้าไม่กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาจะเกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้หน่วยงานผู้จัดทำสัญญากำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราหรือจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้นได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งและวรรคสามในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหา โดยคำนึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือกระทบต่อการจราจรหรือความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยงานรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญา หรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ให้หน่วยงานบอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย” ข้อ ๓๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓๑ หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด (๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ (๓) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๔) หนังสือค้ำประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกัน ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้ว โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๕) พันธบัตรรัฐบาลไทย สำหรับการประกวดราคานานาชาติ ให้ใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดี และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเชื่อถือเป็นหลักประกันซองได้อีกประเภทหนึ่ง” ข้อ ๓๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของข้อ ๑๓๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้หัวหน้าหน่วยงานรีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ผู้ค้ำประกันทราบด้วย” ข้อ ๓๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓๕ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานตามที่ได้กำหนดไว้ในหมวดนี้ ห้ามหน่วยงานก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ได้ระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน การห้ามหน่วยงานก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานตามวรรคสอง ให้ใช้บังคับกับบุคคลตามข้อ ๑๓๕/๕ วรรคสอง และวรรคสามด้วย บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงาน ตามข้อกำหนดในส่วนนี้ ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยงานได้ แต่ถ้าผลการพิจารณาต่อมาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หรือยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทำก่อนการสั่งการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เว้นแต่ในกรณีที่ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาเห็นว่า จะเป็นประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอย่างยิ่ง ปลัดกรุงเทพมหานครจะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองาน หรือจะไม่ยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทำก่อนการสั่งการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ได้” ข้อ ๓๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ ข้อ ๑๓๕/๓ ข้อ ๑๓๕/๔ และข้อ ๑๓๕/๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ “ข้อ ๑๓๕/๑ เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) เมื่อคู่สัญญาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือผู้รับจ้างช่วงที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น (๓) พัสดุที่ซื้อหรือจ้างทำเกิดข้อบกพร่องขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงและไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องจากผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง หรือคู่สัญญา หรือพัสดุที่ซื้อหรือจ้างไม่ได้มาตรฐาน หรือวัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง ทำให้งานบกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรง หรือ (๔) สำหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค หากปรากฏว่าพัสดุหรือวัสดุที่ซื้อหรือจ้างหรือใช้โดยผู้รับจ้างช่วงที่กรุงเทพมหานครอนุญาตให้รับช่วงงานได้ มีข้อบกพร่องหรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตาม (๓) ให้หัวหน้าหน่วยงานทำรายงานไปยังปลัดกรุงเทพมหานครโดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับการคัดเลือก ผู้จำหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา หรือผู้รับจ้างช่วงที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอนุญาตให้รับช่วงงานได้เป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแต่กรณี พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของปลัดกรุงเทพมหานครด้วย เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้ว เห็นว่าการกระทำตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) เป็นการกระทำโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครส่งชื่อบุคคลดังกล่าวไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอความเห็นในการพิจารณาผู้ทิ้งงาน ในกรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ตามหลักเกณฑ์และวงเงินที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด หากปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแล้วเห็นว่า บุคคลดังกล่าวข้างต้นยังไม่สมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรายงานไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาด้วย เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พิจารณาหลังจากที่ได้ฟังความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ตามวรรคสามและวรรคสี่แล้ว และเห็นว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงาน ก็ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน พร้อมทั้งแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครทราบและแจ้งสำนักนายกรัฐมนตรีทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ทิ้งงานรายนั้นทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย ข้อ ๑๓๕/๒ ในกรณีการจ้างที่ปรึกษาหรือการจ้างออกแบบและควบคุมงาน หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าผลจากการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอย่างร้ายแรง ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาให้คู่สัญญานั้นเป็นผู้ทิ้งงาน การพิจารณาสั่งให้คู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคหนึ่ง ให้นำความในข้อ ๑๓๕/๑ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๓๕/๓ ในการจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัยปรากฏในภายหลังว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายราย ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ได้รับการคัดเลือกหรือไม่ก็ตาม กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทำการโดยไม่สุจริต เช่น การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า บุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครสงสัยไปยังผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ พร้อมทั้งให้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากหน่วยงาน เมื่อหน่วยงานได้รับคำชี้แจงจากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานทำรายงานไปยังปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของปลัดกรุงเทพมหานครว่า บุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่ หากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัย ไม่ชี้แจงภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือมีการกระทำโดยไม่สุจริต ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาให้ผู้นั้นเป็นผู้ทิ้งงาน การพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคสองและวรรคสาม ให้นำความในข้อ ๑๓๕/๑ วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๓๕/๔ ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ร่วมกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทำการโดยไม่สุจริตรายใด ซึ่งมิใช่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าว ได้ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นได้รับการยกเว้นที่จะไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้ โดยแสดงเหตุผลไว้ในการสั่งการ ข้อ ๑๓๕/๕ ในกรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ หรือข้อ ๑๓๕/๓ ถ้าการกระทำดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่นิติบุคคลรายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ หรือข้อ ๑๓๕/๓ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลที่ถูกพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วย ในกรณีที่บุคคลธรรมดารายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ ๑๓๕/๑ ข้อ ๑๓๕/๒ หรือข้อ ๑๓๕/๓ ให้คำสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ซึ่งมีบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นด้วย” ข้อ ๓๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๔๖ เมื่อประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้รับรายงานดังกล่าวตามข้อ ๑๔๕ และปรากฏว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในกิจการต่อไป ก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่กรณีที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเสื่อมสภาพเนื่องมาจากการใช้งานตามปกติหรือสูญไปตามธรรมชาติ ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการจำหน่ายต่อไปได้ ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าจะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป” ข้อ ๔๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕๐ ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ได้หรือมีตัวพัสดุอยู่ แต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ (๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ” ข้อ ๔๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๕๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๕๒ ในกรณีที่พัสดุของหน่วยงานเกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป ก่อนมีการตรวจสอบตามข้อ ๑๔๕ และได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาใช้บังคับ หรือดำเนินการตามข้อ ๑๔๖ แห่งระเบียบนี้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี เสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีกฎหมายหรือระเบียบอื่นใดกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ ข้อ ๑๕๐ และข้อ ๑๕๑ โดยอนุโลม” ข้อ ๔๒ ให้หน่วยงานปฏิบัติการให้ถูกต้องตามข้อ ๑๓/๒ ข้อ ๑๓/๓ ข้อ ๑๓/๔ และข้อ ๑๓/๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบนี้ ภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ แต่ในระหว่างระยะเวลาที่ยังไม่ได้ปฏิบัติการให้ถูกต้องตามข้อ ๑๓/๒ ข้อ ๑๓/๓ ข้อ ๑๓/๔ และข้อ ๑๓/๖ ให้การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา เป็นไปตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ข้อ ๔๓ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ข้อ ๔๔ รายชื่อผู้ทิ้งงานที่มีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบนี้ด้วย สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว ไม่ยอมทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่กำหนด หรือคู่สัญญาของทางราชการไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ระเบียบนี้จะใช้บังคับ ให้พิจารณาสั่งการตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม ประกาศ ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๙ อุษมล/ปรับปรุง ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๗๔ ง/หน้า ๓๘/๓ สิงหาคม ๒๕๔๙
490239
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับการปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญของข้าราชการพลเรือน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ อัฏฐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ “ข้อ ๘ อัฏฐ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพบำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ และ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละห้าของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๕๙ ง/หน้า ๔๖/๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙
504756
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ ด้วยเป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เงินสนับสนุนในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “เงินสนับสนุน” หมายความว่า เงินที่กรุงเทพมหานครได้รับเพื่อสนับสนุนในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ และให้รวมถึงดอกผลของเงินดังกล่าวด้วย “ตู้โทรศัพท์สาธารณะ” หมายความว่า เครื่องโทรศัพท์ (ถ้ามี) อุปกรณ์ และตู้โทรศัพท์ ที่อยู่ภายนอกอาคารในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ให้เงินสนับสนุนตกลงให้กรุงเทพมหานครทำความสะอาด “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวของกรุงเทพมหานครที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการเขต ให้ปฏิบัติหน้าที่ทำความสะอาดตู้โทรศัพท์ ตามระเบียบนี้ “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินค่าตอบแทนที่มิใช่เงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่จ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีสิทธิตามระเบียบนี้ ข้อ ๕ เงินสนับสนุนให้นำไปใช้จ่ายได้เฉพาะเพื่อการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยให้ใช้จ่ายในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินสนับสนุน (๒) เป็นค่าวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และการอื่นที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ ให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกำหนดอัตราส่วนการใช้จ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๖ ให้ผู้อำนวยการเขตออกคำสั่งมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่ทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะโดยให้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ ที่ตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะที่รับผิดชอบ ให้เป็นปัจจุบันและส่งคำสั่งให้สำนักสิ่งแวดล้อม ให้ผู้อำนวยการเขตควบคุมให้มีการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ ดังนี้ (๑) ทำความสะอาดใหญ่เดือนละอย่างน้อยสองครั้ง (๒) ทำความสะอาดทั่วไปทุกวัน ข้อ ๗ ให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมจัดสรรเงินสนับสนุนตามข้อ ๕ (๑) ให้สำนักงานเขตตามจำนวนของตู้โทรศัพท์สาธารณะที่สำนักงานเขตรับผิดชอบ โดยงวดการจัดสรรให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด เงินสนับสนุนตามข้อ ๕ (๒) ให้สำนักสิ่งแวดล้อมนำไปจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และการอื่นที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการทำความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ เพื่อมอบให้สำนักงานเขตไปใช้สอย ข้อ ๘ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการพัสดุ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับ ข้อ ๙ ให้สำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขตจัดทำบัญชีการรับ - จ่ายเงินสนับสนุน รวมทั้งสรรพบัญชีหรือทะเบียนและเอกสารอื่นใดที่จำเป็นไว้ บรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนจะต้องรวบรวมไว้เก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วน พร้อมที่จะทำการตรวจสอบได้ และให้สำนักงานเขตรายงานการรับ - จ่ายเงิน ให้สำนักสิ่งแวดล้อมปีละครั้ง ตามที่ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด แล้วให้สำนักสิ่งแวดล้อมจัดทำสรุปและรายละเอียดการรับ - จ่ายเงิน ของสำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขตรายงานปลัดกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๐ บรรดาเงินสนับสนุนที่ได้รับ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘ ให้สำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขตร่วมกัน เพื่อดำเนินการให้มีการจ่ายเงินสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๘ จนถึงวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ แล้วรายงานการรับ - จ่ายเงิน ดังกล่าวให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาสั่งการเป็นกรณีไป ข้อ ๑๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๑ ง/หน้า ๑๗/๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๙
495960
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การทรัพย์สิน พ.ศ. ๒๕๓๘ และข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “ผู้เช่า” หมายความว่า บุคคลซึ่งเข้าอยู่ในอาคารโดยจ่ายค่าเช่าและทำสัญญาเช่ากับสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “อาคาร” หมายความว่า อาคารที่สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัยจัดให้บุคคลใดๆ เช่าเพื่ออยู่อาศัย “ทรัพย์สิน” หมายความว่า อาคารและสังหาริมทรัพย์ใดๆ ที่ติดหรืออยู่ในอาคาร ซึ่งสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้นำมาประกอบเข้าไว้ เพื่อประโยชน์ของผู้เช่าหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด “ค่าเช่า” หมายความว่า เงินที่ผู้เช่าจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการอยู่อาศัยในอาคารเป็นรายเดือนหรือเป็นระยะเวลาอื่นที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่า “ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง” หมายความว่า ค่ารักษาความปลอดภัย รวมทั้งค่าดูแลบำรุงรักษาอาคารและความเป็นระเบียบเรียบร้อยบริเวณอาคาร ข้อ ๔ ภายใต้บังคับของความในข้อ ๑๔ การคัดเลือกบุคคลเพื่อเป็นผู้เช่าอาคารนั้นจะต้องมีการประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบโดยเปิดเผยในที่ซึ่งผู้อำนวยการเห็นสมควร ซึ่งอย่างน้อยต้องปิดประกาศไว้ ณ สถานที่หรือบริเวณของอาคารที่จะมีการเช่าและที่ทำการของสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย ไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ก่อนถึงกำหนดการยื่นคำร้องขอเป็นผู้เช่าอาคาร ข้อ ๕ ประกาศตามข้อ ๔ ให้มีรายละเอียดที่ผู้อำนวยการเห็นสมควร ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดของอาคารที่จะให้มีการเช่า (๒) กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้เช่าโดยต้องกำหนดไม่น้อยกว่า ๑๕ วันนับแต่วันประกาศตามข้อ ๔ และสถานที่ยื่นคำร้องขอ พร้อมทั้งหลักฐานประกอบการยื่นคำร้องขอ (๓) คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้เช่า (๔) วิธีการคัดเลือกผู้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้เช่า (๕) อัตราค่าเช่า (๖) เงินค้ำประกันตามข้อ ๗ และข้อ ๘ (๗) ค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามข้อ ๙ (๘) กำหนดเวลาเช่า ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ลงนามในประกาศตามวรรคหนึ่งโดยทำเป็นประกาศสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติของผู้เช่าได้ตามที่เห็นสมควร ข้อ ๖ ให้ใช้แบบของสัญญาเช่าตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งอย่างน้อยสัญญาจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ (๑) กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาเช่าซึ่งจะต้องไม่เกิน ๓ ปี (๒) ข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิของผู้เช่าให้แก่บุคคลอื่น (๓) สภาพของทรัพย์สินขณะที่มีการส่งมอบตามสัญญาเช่า (๔) ข้อกำหนดการใช้สอยทรัพย์สิน (๕) ค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดจากการใช้ทรัพย์สิน เช่นค่าสาธารณูปโภค (๖) เงินค้ำประกันตามข้อ ๗ และข้อ ๘ (๗) ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามข้อ ๙ (๘) กำหนดเวลาและสถานที่ชำระค่าเช่า (๙) การเข้าตรวจสอบทรัพย์สินและความรับผิดของผู้เช่าในกรณีทรัพย์สินสูญหาย เสียหายหรือชำรุดบกพร่อง ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๕ (๑๐) ความระงับของสัญญาเช่า ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าในนามของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ การทำสัญญาเช่าต้องกำหนดให้มีการวางเงินค้ำประกัน (ค่าเช่าล่วงหน้า) ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าเช่ารายเดือนและไม่เกินสามเท่าของอัตราค่าเช่ารายเดือน ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดวงเงินค้ำประกัน อัตราค่าเช่าและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผู้เช่าจะต้องชำระ ข้อ ๘ ทรัพย์สินที่เช่าจะกำหนดให้มีการวางเงินประกันความเสียหาย ตามที่ผู้อำนวยการเห็นสมควรก็ได้ ข้อ ๙ ค่าใช้จ่ายส่วนกลางให้ผู้เช่าเป็นผู้ชำระ ข้อ ๑๐ การจัดเก็บค่าเช่าหรือเงินอื่นใด ให้นำฝาก ณ ธนาคารของรัฐ หรือธนาคารตามที่มีมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งให้นำเงินฝากให้เสร็จภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทันให้จัดการนำฝากในวันรุ่งขึ้น หรือวันเปิดทำการและให้ระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ในใบนำส่ง และในกรณีอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเงิน การส่งและการแบ่งผลกำไรสุทธิของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๑ ในระหว่างสัญญาเช่า ให้ผู้อำนวยการหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจเข้าตรวจสอบภายในอาคารที่เช่าได้ตามที่เห็นสมควร หากพบเห็นความผิดปกติให้เรียกให้ผู้เช่าจัดการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่พบความเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน ให้เรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าหรือนำเงินประกันความเสียหายตามข้อ ๘ มาชำระ และเรียกเงินประกันให้ครบตามจำนวนเดิม หากผู้เช่าไม่ยอมชำระค่าเสียหายให้ผู้อำนวยการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ และให้รายงานไปยังคณะกรรมการโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการในทางแพ่งหรือทางอาญาต่อผู้เช่า ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้มีการโอนสิทธิของผู้เช่าไปให้แก่บุคคลอื่น หรือให้บุคคลอื่นได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินหรืออาคารที่เช่า นอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หากผู้เช่าคนใด ทำผิดเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นไปทันที ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ผู้เช่าถึงแก่ความตายก่อนครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า ให้บิดามารดา บุตร หรือคู่สมรสของผู้ตายที่ได้อยู่อาศัยร่วมกับผู้ตายก่อนที่จะถึงแก่ความตาย มีสิทธิ์ร้องขอเป็นผู้สืบสิทธิการเช่าต่อจากผู้ตายได้ตามกำหนดเวลาที่เหลืออยู่ เมื่อมีคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ให้ตรวจสอบว่าผู้ตายมีหนี้สินใดๆ ที่ยังคงค้างชำระอยู่หรือไม่ หากมีหนี้สินค้างชำระ ให้เรียกให้ผู้ร้องขอชำระหนี้สินดังกล่าวของผู้ตาย ก่อนมีการอนุมัติให้เป็นผู้สืบสิทธิการเช่า ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้มีการสืบสิทธิการเช่าตามที่เห็นสมควร ข้อ ๑๔ ก่อนสิ้นสุดสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า ๑ เดือน ถ้าผู้เช่าประสงค์จะต่อสัญญาเช่า ให้ผู้เช่ามีหน้าที่แจ้งต่อผู้อำนวยการ และให้ผู้อำนวยการพิจารณาตามที่เห็นสมควร หากผู้เช่าไม่แสดงเจตนาใดๆ ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่า ในกรณีที่ผู้อำนวยการเห็นว่าไม่ควรต่อสัญญา ให้แจ้งไปยังผู้เช่าพร้อมเหตุผลภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าแจ้งตามวรรคแรก หากผู้เช่าประสงค์จะอุทธรณ์ให้อุทธรณ์พร้อมหลักฐานต่อคณะกรรมการ ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้อำนวยการ ในกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงระหว่างอุทธรณ์ ให้ผู้เช่ามีสิทธิอยู่ในอาคารที่เช่าได้จนกว่าจะได้มีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ข้อ ๑๕ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ให้สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัยตรวจสอบว่ามีหนี้สินใดๆ ที่ผู้เช่าเดิมยังคงค้างชำระ หรือทรัพย์สินที่เช่ามีความเสียหายหรือชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากมีความเสียหายหรือหนี้สินค้างชำระให้นำเงินค้ำประกันตามข้อ ๗ หรือข้อ ๘ มาชดใช้ค่าเสียหายจนคุ้มความเสียหาย ถ้ามีเงินคงเหลือให้คืนแก่ผู้เช่าเดิมภายในกำหนดเวลาไม่เกิน ๗ วัน หากเงินค้ำประกันไม่คุ้มค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ให้ผู้อำนวยการหรือผู้รับมอบหมาย เรียกเงินดังกล่าวจากผู้เช่าเดิม หากผู้เช่าเดิมไม่ยอมชำระให้รายงานไปยังคณะกรรมการโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการทางแพ่งหรือทางอาญาต่อผู้เช่าเดิมต่อไป การเสื่อมสภาพไปเพราะการใช้งานตามปกติของทรัพย์สินที่เช่า ไม่ถือว่าเป็นความเสียหายหรือชำรุดบกพร่องตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๖ แบบของบรรดาเอกสารต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ นอกเหนือจากสัญญาเช่า ที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติในขณะที่พักอาศัยอยู่ในอาคาร โดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่า ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๑๘ ให้ประธานคณะกรรมการรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกกฎ หลักเกณฑ์ คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๘/๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙
494911
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๔๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๒ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔๒ บัตรเลือกตั้งให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็น โดยบัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งให้เย็บเป็นเล่มๆ ละไม่เกินยี่สิบห้าบัตรให้มีปกหน้าและปกหลัง และมีรอยปรุ เพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้ ปกหน้าอย่างน้อยให้มีรายการดังนี้ เล่มที่ ............... เลขที่.............. ถึงเลขที่................... จำนวน..........บัตร บัตรเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต หน่วยเลือกตั้งที่ .................... แขวง ........................ เขต ......................... กรุงเทพมหานคร ที่เลือกตั้ง............................................. และมีช่องสำหรับลงลายมือผู้มอบบัตรเลือกตั้งและผู้รับมอบบัตรเลือกตั้ง ปกหลังอย่างน้อยให้มีรายการดังนี้ บัตรเลือกตั้งจำนวน ........................ บัตร ใช้แล้วจำนวน............... บัตร ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วเหลือจำนวน ............................. บัตร และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อคณะกรรมการตรวจคะแนนผู้ตรวจสอบและนำส่ง ปกบัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้โดยอนุโลม ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งอย่างน้อยให้มีรายการดังนี้ เล่มที่........... เลขที่ .......... อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้งและมีที่ลงลายมือชื่อของกรรมการตรวจคะแนนผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้ง และมีช่องสำหรับเขียนชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้เลือกตั้งด้วย บัตรเลือกตั้งมีลักษณะ ดังนี้ (๑) บัตรเลือกตั้งเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบขวา ถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑและระหว่างตราครุฑกับแถบสีมีข้อความว่า “บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต” (๒) ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า “ไม่ประสงค์ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดเลยให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) ใน “ช่องไม่ลงคะแนน” นี้” และมีลูกศรชี้ตรงช่องไม่ลงคะแนนด้านบนของช่องมีข้อความว่า “ช่องไม่ลงคะแนน” และมีช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายหนึ่งช่อง ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า “ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) ใน “ช่องทำเครื่องหมาย” นี้” และมีลูกศรตรงช่องทำเครื่องหมาย ในบัตรเลือกตั้งให้มีช่องเลขหมายประจำตัวผู้สมัคร และให้มีช่องทำเครื่องหมายสำหรับทำเครื่องหมายกากบาท บัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้โดยอนุโลม และหากจะนำไปใช้ในการเลือกตั้งครั้งใด เมื่อใด ให้มีการประทับตราประจำตำแหน่งผู้อำนวยการเขตท้องที่หรือเครื่องหมายอื่นของผู้อำนวยการเขตท้องที่ ลงบนบัตรเลือกตั้งด้านนอก” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔๙ เมื่อผู้เลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว ให้ไปยังคูหาลงคะแนนเพื่อทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้งได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาเขตที่จะพึงมีในแต่ละเขตเลือกตั้งและนำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเองต่อหน้ากรรมการตรวจคะแนน ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เลือกตั้งที่เป็นคนพิการเป็นกรณีพิเศษ เช่น จัดให้มีกรรมการตรวจคะแนนคอยช่วยเหลือ แนะนำวิธีการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่คนพิการ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจคะแนนหรือจัดให้มีคูหาลงคะแนนสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ เป็นต้น” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๕๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “กรณีที่ผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิเลือกตั้งต่อคณะกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งภายในกำหนดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งแล้วยังไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง และยังเหลืออยู่ในที่เลือกตั้งก็ให้คณะกรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งจ่ายบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้มาแสดงตนนั้นทำการลงคะแนนเลือกตั้งจนเสร็จสิ้น และบันทึกในรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (ส.ข.๒) ด้วย” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสอง และวรรคสามของข้อ ๕๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต พ.ศ. ๒๕๓๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗ ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พัชรินทร์/ผู้จัดทำ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๑๕/๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๙
506720
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๑๕ (๖) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การจัดซื้อหรือจัดจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงานการซื้อ หรือการจ้างโดยวิธีพิเศษหรือวิธีกรณีพิเศษ โดยกำหนดให้ผู้เสนอราคาได้เสนอราคาแข่งขันกันเอง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในระยะเวลา และ ณ สถานที่ที่กำหนดโดยไม่เปิดเผยตัวเลขที่มีการเสนอราคา (Sealed Bid Auction) “ราคาสูงสุด” หมายความว่า ราคากลาง วงเงินงบประมาณที่มีอยู่ หรือราคาสูงสุด ที่กรุงเทพมหานครจะพึงรับได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (กวอ.) กำหนด “หัวหน้าหน่วยการคลัง” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก หัวหน้าฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง กองบริหารทั่วไป สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้ากลุ่มงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ให้ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มการคลัง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินด้วย ข้อ ๕ การใช้บังคับ ให้การจัดซื้อหรือจัดจ้างของหน่วยงานที่กิจกรรม โครงการ หรือการก่อสร้างมีมูลค่าเกินกว่าสองล้านบาท ซึ่งใช้เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินอุดหนุนรัฐบาล เงินกู้ และเงินช่วยเหลือดำเนินการตามระเบียบนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจาก กวอ. ให้จัดซื้อหรือจัดจ้างด้วยวิธีการอื่นได้ ข้อ ๖ ความสัมพันธ์กับกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งอื่น นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือระเบียบอื่น หรือคำสั่งอื่นของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย เว้นแต่ กวอ. จะกำหนดหรือวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ข้อ ๗ คณะกรรมการ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เรียกโดยย่อว่า “กวอ.” ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการกองควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ ผู้อำนวยการกองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งไม่เกิน ๓ คน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อาจมอบหมายให้ข้าราชการในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น ข้อ ๘ อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ กวอ. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๒) พิจารณาอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ (๓) พิจารณาอุทธรณ์และคำร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้และความไม่เป็นธรรมอื่นๆ (๔) พิจารณาอนุมัติการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างด้วยวิธีการอื่น (๕) กำหนดแนวทาง และวิธีปฏิบัติในกระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (๖) เสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงระเบียบนี้ต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ข้อ ๙ การเตรียมดำเนินการ (๑) ให้หัวหน้าหน่วยงานที่จะจัดซื้อหรือจัดจ้างตามข้อ ๕ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) และร่างเอกสารการประมูลก่อนเริ่มการจัดซื้อหรือจัดจ้างตามระเบียบนี้ เมื่อขอบเขตของงานดังกล่าวได้รับอนุมัติแล้ว ให้นำสาระสำคัญที่สามารถเผยแพร่ได้ลงประกาศทางเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร (www.bma.go.th) และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามวันทำการ เพื่อให้สาธารณชนเสนอแนะวิจารณ์ หรือมีความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทางเว็บไซต์ มายังหน่วยงานโดยเปิดเผยตัว เมื่อคณะกรรมการตามข้อนี้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงร่างขอบเขตของงานตามนั้น และดำเนินการปรับปรุงเสร็จแล้ว ให้เสนอหัวหน้าหน่วยงานเพื่อขอความเห็นชอบ แล้วนำลงประกาศทางเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร (www.bma.go.th) และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามวันทำการ ทั้งนี้ จะประกาศทางสื่อมวลชนอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้ (๒) ในระหว่างดำเนินการตาม (๑) ให้เจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างเสนอผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างผ่านหัวหน้าหน่วยการคลัง เพื่อให้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการ (ระบุชื่อตามความเหมาะสม) โดยจะเสนอรายชื่อกรรมการบางส่วนหรือทั้งหมด เพื่อประกอบการพิจารณาด้วยก็ได้ หรือจะเสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว มาพร้อมกับการรายงานขอซื้อหรือขอจ้างตามข้อ ๑๐ ก็ได้ ให้หัวหน้าหน่วยการคลังของหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้าง คัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์จากทะเบียนที่มีอยู่ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนกำหนดวัน เวลาและสถานที่เสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการดำเนินการต่อไป ค่าใช้จ่ายในการจัดการประมูลสำหรับผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ได้รับการแจ้งตามข้อ ๑๑ ว่าเป็นผู้มีสิทธิเสนอราคาตามแนวทาง และวิธีปฏิบัติที่ กวอ. ประกาศกำหนด (๓) ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามโครงการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน จากข้าราชการกรุงเทพมหานครในหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้าง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสามคนและไม่มากกว่าห้าคน ในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งข้าราชการจากหน่วยงานอื่นของกรุงเทพมหานครที่มิใช่หน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างอย่างน้อยหนึ่งคน ทั้งนี้ จะแต่งตั้งตามข้อเสนอของหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยให้เจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงานนั้นเป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๑๐ การรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานขอซื้อ หรือขอจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วเสนอขอความเห็นชอบต่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยให้แนบ TOR และเอกสารการประมูลที่ได้ดำเนินการตามข้อ ๙ แล้ว พร้อมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างแล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว นำสาระสำคัญของเอกสารประกาศการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เอกสารการประมูลและเอกสารเบื้องต้นอื่นๆ ที่สามารถเผยแพร่ได้ ลงประกาศทางเว็บไซต์ของกรุงเทพมหานคร (www.bma.go.th) และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามวันทำการ โดยกำหนดให้มีการจัดทำซองข้อเสนอด้านเทคนิค การวางหลักประกันซอง วัน เวลาและสถานที่ ที่ให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค เงื่อนไข เงื่อนเวลาและสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะแจกจ่ายหรือจำหน่ายเอกสารดังกล่าวก็ได้ พร้อมกับแจ้งผลการส่งลงประกาศทางเว็บไซต์ดังกล่าวและเอกสารประกาศการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารการประมูล และเอกสารเบื้องต้นอื่นๆ ให้กองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบการประกาศทางเว็บไซต์ และเผยแพร่ประกาศการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีอื่น ให้ประชาชนทั่วไปทราบ กรณีกองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจสอบพบว่าคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มิได้ดำเนินการลงประกาศในเว็บไซต์ภายในเวลาที่กำหนดให้กองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร รีบรายงานต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ ๑๑ การยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิค (๑) ให้ผู้ประสงค์จะเสนอราคายื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคต่อคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อ ๙ (๓) ผ่านทางหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์กำหนด โดยต้องให้เวลาไม่น้อยกว่าสามวันทำการ นับแต่วันสุดท้ายของการแจกจ่ายหรือจำหน่ายเอกสารตามข้อ ๑๐ วรรคสอง แต่ต้องเป็นระยะเวลาภายในสามสิบวันนับแต่วันแรกที่กำหนดให้ยื่นซองดังกล่าว การรับซองข้อเสนอด้านเทคนิคตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ เว้นแต่ กวอ. จะกำหนดเป็นอย่างอื่น (๒) เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตาม (๑) แล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคา โดยพิจารณาว่า ก. คุณสมบัติของผู้ประสงค์จะเสนอราคาครบถ้วนหรือไม่ และยื่นเอกสารต่างๆ ครบถ้วนหรือไม่ ข. ข้อเสนอด้านเทคนิค (prequalification) มีความเหมาะสมหรือไม่ ค. เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือไม่ ทั้งนี้ ต้องให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์กำหนด เมื่อคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการคัดเลือกเบื้องต้น เพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคาเสร็จแล้ว กล่าวคือเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน ข้อเสนอด้านเทคนิคมีความเหมาะสมและไม่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ให้แจ้งผู้ประสงค์จะเสนอราคาแต่ละรายทราบผลการพิจารณาเฉพาะของตน โดยไม่เปิดเผยรายชื่อดังกล่าวต่อสาธารณชน (๓) หากผู้ประสงค์จะเสนอราคาที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นตาม (๒) ประสงค์จะคัดค้านผลการพิจารณา ก็ให้อุทธรณ์ต่อหัวหน้าหน่วยงานได้ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้แล้วเสร็จพร้อมแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านแต่ละรายทราบ ภายในเจ็ดวันทำการ ทั้งนี้ ในระหว่างการพิจารณาจะดำเนินการขั้นตอนต่อไปมิได้ หากหัวหน้าหน่วยงานไม่อาจแจ้งผลการพิจารณาวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านทราบภายในเวลาที่กำหนดให้ระงับการดำเนินการขั้นตอนต่อไป จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ และแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้คัดค้านแต่ละรายทราบ (๔) ในกรณีที่ปรากฏว่ามีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียว ให้หน่วยงานที่จะจัดซื้อ หรือจัดจ้างรายงานผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง เพื่อสั่งยกเลิกการดำเนินการทั้งหมดแล้วเริ่มดำเนินการใหม่ หรือจะขออนุมัติจาก กวอ. ดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างด้วยวิธีการอื่นก็ได้ (๕) ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แจ้งผลการพิจารณาคัดเลือกเบื้องต้นต่อหัวหน้าหน่วยการคลังเพื่อกำหนดวัน เวลาและสถานที่เสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๑๒ การเสนอราคา เมื่อพิจารณาคัดเลือกเบื้องต้นตามข้อ ๑๑ และได้รับแจ้งวัน เวลาและสถานที่เสนอราคาจากหัวหน้าหน่วยการคลังของหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้หน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างแจ้งวัน เวลา และสถานที่เสนอราคา ให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ เพื่อดำเนินการเข้าสู่กระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ (๑) ให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาแต่ละรายส่งผู้แทนไม่เกินรายละสามคน เข้าสู่กระบวนการเสนอราคาก่อนเวลาเริ่มการเสนอราคา โดยให้แจ้งชื่อตามแบบที่ กวอ. กำหนด ในวันเสนอราคาและให้เข้าประจำในสถานที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จัดไว้ โดยแยกจากผู้มีสิทธิเสนอราคารายอื่น และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มอบหมาย อีกหนึ่งคนเข้าประจำ ห้ามมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคาแล้ว ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะเปลี่ยนหรือเพิ่มผู้แทนมิได้ แต่อาจขอถอนผู้แทนบางคนออกเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งได้ หากผู้มีสิทธิเสนอราคารายใดไม่ส่งผู้แทนมาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดให้ประธานคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ประกาศเป็นผู้หมดสิทธิเสนอราคาแล้วแจ้งผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาที่เหลืออยู่ทุกรายเพื่อเข้าสู่กระบวนการเสนอราคา แต่ถ้ามีผู้มีสิทธิเสนอราคาเพียงรายเดียวเมื่อถึงเวลาเริ่มการเสนอราคา ให้นำความในข้อ ๑๑ (๔) มาใช้โดยอนุโลม (๒) สถานที่เสนอราคาตามข้อ ๙ (๒) อาจต่างจากที่ตั้งของหน่วยงานที่จัดซื้อหรือจัดจ้างก็ได้ เว้นแต่ กวอ. จะมีมติเป็นประการอื่น วันที่กำหนดให้มีการเสนอราคาต้องเป็นวันราชการ และให้เริ่มกระบวนการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาราชการ แต่จะสิ้นสุดลงนอกเวลาราชการก็ได้ ทั้งนี้ กระบวนการเสนอราคาให้กระทำภายในเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบนาที และไม่เกินกว่าหกสิบนาที โดยประธานคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศกำหนดเวลาแน่นอนที่จะใช้ในกระบวนการเสนอราคาให้ทราบล่วงหน้าก่อนเริ่มกระบวนการเสนอราคา (๓) เมื่อเริ่มกระบวนการเสนอราคา ให้ผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาเริ่มการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จะตรวจสอบควบคุมอยู่ ณ สถานที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จัดไว้ การเสนอราคากระทำได้หลายครั้ง จนถึงเวลาที่ประธานคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แจ้งเตือนว่าเป็นช่วงเวลาสามถึงห้านาทีสุดท้าย ในช่วงเวลาดังกล่าวระบบจะไม่แสดงว่าราคาของผู้ใดมีสถานะใด เมื่อหมดเวลาแล้วให้ประธานแจ้งสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคา เมื่อสิ้นสุดเวลาตามที่กำหนดใน (๒) แล้ว หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายจนไม่อาจชี้ขาดได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ขยายเวลาออกไปอีกสามนาที โดยนำความในวรรคก่อนมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายมีสิทธิเข้าเสนอราคาในช่วงเวลาที่ขยายนั้น และเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว หากยังไม่อาจชี้ขาดได้ ให้ขยายเวลาออกไปอีกครั้งละสามนาที จนได้ผู้เสนอราคาต่ำสุดเพียงรายเดียวในช่วงเวลาที่ขยายเวลาออกไป จึงให้แจ้งสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคา (๔) คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะประชุมพิจารณาทันทีที่กระบวนการเสนอราคาสิ้นสุดลง เพื่อมีมติว่าสมควรรับการเสนอราคาของผู้มีสิทธิเสนอราคารายใด มตินั้นต้องแสดงเหตุผลประกอบการพิจารณา แล้วรายงานเสนอผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ภายในสามวันทำการ หากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเห็นชอบกับมติของคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ หากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ไม่เห็นชอบกับมติของคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้แจ้งเหตุผลให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทราบและให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ชี้แจงภายในสามวันทำการ เมื่อได้รับคำชี้แจงแล้ว หากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างพิจารณาเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ หากผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างยังคงไม่เห็นชอบตามมติคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างสั่งยกเลิกการประมูล และให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายทราบ และรายงานให้ กวอ. ทราบผลการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างสั่งการ และส่งประกาศให้กองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อลงประกาศทางเว็บไซต์ ของกรุงเทพมหานคร (www.bma.go.th) และเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) อย่างน้อยสามวันทำการ (๕) ในกรณีผู้มีสิทธิเสนอราคาที่เข้าสู่กระบวนการเสนอราคาไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง หรือเห็นว่ามีเหตุอื่นใดอันควรร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม ให้อุทธรณ์ หรือร้องเรียนต่อ กวอ. ภายในสามวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้ ให้ กวอ. พิจารณาอุทธรณ์ หรือคำร้องเรียนให้เสร็จภายในสามสิบวัน โดยในระหว่างนี้ให้ กวอ. แจ้งหน่วยงานเพื่อระงับการดำเนินการขั้นตอนต่อไป ในกรณีที่ กวอ. เห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้น หรือคำร้องเรียนมีผล ให้สั่งให้หน่วยงานที่จะจัดซื้อ หรือจัดจ้างดำเนินกระบวนการเสนอราคาใหม่ โดยเริ่มจากขั้นตอนใดก็ได้ตามแต่ กวอ. จะมีคำสั่ง ในกรณีที่ กวอ. เห็นว่าอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น หรือฟังขึ้นแต่ไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลการพิจารณาที่ได้แจ้งไปแล้ว ให้ กวอ. รายงานผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมาย เพื่อวินิจฉัยต่อไป ส่วนคำร้องเรียน หาก กวอ. เห็นว่าไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงผลการพิจารณาที่ได้แจ้งไปแล้ว ให้แจ้งหน่วยงานเพื่อดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ต่อไป (๖) นับแต่เวลาที่เริ่มการเสนอราคาจนถึงเวลาที่สิ้นสุดการเสนอราคา ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยกึ่งหนึ่งอยู่ประจำในสถานที่ที่กำหนด เพื่อตรวจสอบควบคุมการเสนอราคาให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ทั้งนี้ กวอ. อาจมีข้อกำหนดให้บันทึกภาพและหรือเสียงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเสนอราคาเพื่อเป็นหลักฐานด้วยก็ได้ ข้อ ๑๓ มาตรการรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของรัฐ (๑) ห้ามผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาแต่ละรายติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น หรือออกจากสถานที่ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จัดไว้ ตั้งแต่เวลาที่เริ่มกระบวนการเสนอราคาจนถึงเวลาที่สิ้นสุดกระบวนการเสนอราคา (๒) ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แจ้งราคาสูงสุดให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบล่วงหน้า เพื่อให้เป็นฐานในการเสนอราคา การเสนอราคาแต่ละครั้งต้องต่ำกว่าราคาสูงสุดและราคาที่ตนเคยเสนอไว้ก่อนแล้ว การเสนอราคาเพิ่มขึ้นจะกระทำมิได้ (๓) การแสดงผลการเสนอราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนข้อ ๑๒ (๑) (๒) และ (๓) ให้กระทำโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน แต่ต้องไม่กระทบต่อการเสนอราคาของผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาแต่ละราย ในสถานที่ตามที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จัดไว้ ทั้งนี้ หากคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เห็นสมควร โดยความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยงาน อาจให้มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ทางวงจรปิดหรือเป็นการทั่วไปให้สาธารณชนทราบก็ได้ และต้องอนุญาตให้สื่อมวลชนและบุคคลภายนอกเข้าชมหรือรับทราบผลการเสนอราคาตามขั้นตอนดังกล่าวได้ ตามแนวทางและวิธีการรักษาความสงบเรียบร้อยที่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์กำหนด (๔) ในกรณีที่ กวอ. เห็นเอง หรือจากการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำร้องเรียน ตามข้อ ๑๒ (๕) ว่ากรรมการ เจ้าหน้าที่ ผู้มีสิทธิเสนอราคา หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างผู้ใด มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้มีสิทธิเสนอราคาหรือกรุงเทพมหานครไม่ว่าจะก่อให้เกิดผลเสียหายแล้วหรือไม่ กวอ. อาจแจ้งให้ผู้มีอำนาจ ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องก็ได้ หรือหากเข้าข่ายความผิดทางวินัย ให้แจ้งผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นดำเนินการทางวินัยด้วย (๕) คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ดูแลการเสนอราคาทุกขั้นตอนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริต เป็นธรรม และต้องวางมาตรการ เพื่อป้องกันการทุจริตและการสมยอมในด้านราคา ไม่ว่าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้มีสิทธิเสนอราคาด้วยความระมัดระวังรอบคอบ (๖) ในกรณีที่ปรากฏว่ากระบวนการเสนอราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ประสบข้อขัดข้องจนไม่อาจดำเนินต่อไปให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์สั่งพักกระบวนการเสนอราคา โดยมิให้ผู้แทนผู้มีสิทธิเสนอราคาพบปะหรือติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เมื่อแก้ไขข้อขัดข้องแล้ว จึงให้ดำเนินกระบวนการเสนอราคาต่อไปจากขั้นตอนที่ค้างอยู่ ภายในเวลาของการเสนอราคาที่ยังเหลือก่อนจะสั่งพักกระบวนการเสนอราคา แต่ต้องสิ้นสุดกระบวนการเสนอราคาภายในวันเดียวกัน เว้นแต่คณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เห็นว่ากระบวนการเสนอราคาจะไม่แล้วเสร็จได้โดยง่าย หรือข้อขัดข้องไม่อาจแก้ไขได้ ก็ให้ประธานคณะกรรมการดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สั่งยกเลิกกระบวนการเสนอราคา และกำหนด วัน เวลาและสถานที่ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเสนอราคาใหม่และแจ้งให้ผู้มีสิทธิเสนอราคาทุกรายที่อยู่ในสถานที่นั้นทราบ (๗) กวอ. อาจกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมอีกก็ได้ ข้อ ๑๔ บทเฉพาะกาล การประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ใดที่อยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามประกาศกรุงเทพมหานครที่ใช้บังคับอยู่เดิม จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ข้อ ๑๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๗ กันยายน ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๙๓ ง/หน้า ๓๕/๑ กันยายน ๒๕๔๙
483841
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในการพิจารณาอนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและเหมาะสม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ให้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจในการออกคำสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “สะพาน” หมายความว่า สิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นสำหรับข้ามคลอง เช่น สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก สะพานท่อ สะพานเหล็ก สะพานไม้ สะพานชั่วคราว “คลอง”.หมายความว่า คลอง ลำราง คูน้ำที่เป็นสาธารณะ หรือที่เป็นของหน่วยงานอื่นที่อยู่ในการควบคุม ดูแล รักษาของกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานอื่น หมวด ๒ การขออนุญาต ข้อ ๖ การขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลองที่อยู่ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ข้อ ๗ การขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลองที่อยู่ในการควบคุม ดูแล รักษาของหน่วยงานอื่นผู้ขออนุญาตก่อสร้างสะพานจะต้องได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่ควบคุม ดูแล รักษาคลองนั้นก่อน ข้อ ๘ การขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง เพื่อเชื่อมต่อกับถนนที่อยู่ในการควบคุม ดูแล รักษาของหน่วยงานอื่น ผู้ขออนุญาตก่อสร้างสะพานจะต้องได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามเงื่อนไขการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่ควบคุม ดูแล รักษาถนนนั้นก่อน ข้อ ๙ ผู้ขออนุญาตก่อสร้างสะพานต้องยื่นแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ พร้อมเอกสารหลักฐานวิธีการขออนุญาตตามกฎหมายควบคุมอาคาร โดยให้มีหนังสือแจ้งวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบการขออนุญาตด้วย ข้อ ๑๐ การยื่นขออนุญาตก่อสร้างสะพานท่อ สะพานไม้ สะพานชั่วคราวข้ามคลอง ให้ยื่นที่สำนักงานเขตพื้นที่ ส่วนสะพานอื่นนอกเหนือจากนั้น ให้ยื่นที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา หมวด ๓ การอนุญาต เงื่อนไขการอนุญาตและการก่อสร้างสะพาน ข้อ ๑๑ กรุงเทพมหานครอนุญาตให้ก่อสร้างสะพานเข้าสู่ที่ดินของผู้ขออนุญาต เฉพาะกรณีที่มีเหตุผลตามความจำเป็นและมีความเหมาะสมกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) การก่อสร้างสะพานเข้าสู่บริเวณบ้านเป็นหลังๆ หรือเข้าสู่ที่ดิน หรือถนน เพื่อประโยชน์ในการสัญจรร่วมกัน ที่ดินของผู้ขออนุญาตจะต้องไม่มีทางเข้าออกอื่นและผู้ขออนุญาตต้องแสดงรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ครบถ้วนชัดเจน (๒) การก่อสร้างสะพานเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการจราจร (๓) การก่อสร้างสะพานเพื่อเข้าสู่ที่ดินที่ใช้เป็นถนนในโครงการจัดสรรที่ดิน (๔) การก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างที่ดิน ๒ ฝั่ง ในกรณีที่ดินมีอาคารที่เข้าข่ายต้องมีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนด (๕) การก่อสร้างสะพานที่กรุงเทพมหานครเห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะตามที่กรุงเทพมหานครเห็นสมควร ข้อ ๑๒ การอนุญาตให้ก่อสร้างสะพานข้ามคลองต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคารกฎหมาย ว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายหรือระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สะพานที่ขออนุญาตต้องไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีประกาศกรุงเทพมหานคร ห้ามปลูกสร้างสิ่งอื่นใดในลำน้ำบริเวณนั้น ข้อ ๑๔ ผู้ขออนุญาตต้องยินยอมยกสะพานที่ก่อสร้างให้เป็นสาธารณประโยชน์ และมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาสะพานดังกล่าวให้มีความมั่นคง แข็งแรงและสามารถใช้งานได้โดยสะดวกด้วย ข้อ ๑๕ ผู้ขออนุญาตต้องมอบเงินให้แก่กรุงเทพมหานครเป็นจำนวนร้อยละ ๕๐ ของเงินค่าก่อสร้างสะพานที่คำนวณจากราคามาตรฐานของกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสภาพคลองบริเวณที่ขออนุญาต การมอบเงินให้แก่กรุงเทพมหานครตามวรรคแรก ไม่รวมถึงการขออนุญาตก่อสร้างสะพานไม้ สะพานชั่วคราวและสะพานตามข้อ ๒๔ ข้อ ๑๖ กรณีก่อสร้างสะพาน หากเป็นการรอนสิทธิ์ที่ดินข้างเคียงหรือเป็นปัญหาทางกฎหมายผู้ขออนุญาตจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น ข้อ ๑๗ ในกรณีผู้ขออนุญาตจะต้องยื่นเรื่องขออนุญาตตัดคันหิน ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ เพื่อเป็นทางเข้า-ออกรถยนต์ ต่อสำนักงานเขตพื้นที่ ตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้าและทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ จะต้องได้รับอนุญาตก่อนดำเนินการก่อสร้างสะพาน ข้อ ๑๘ การดำเนินการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก สะพานท่อและสะพานเหล็ก ผู้ดำเนินการก่อสร้างต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้รับเหมาด้านงานทางไว้กับกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๙ การก่อสร้างสะพานที่มีความจำเป็นต้องรื้อย้ายต้นไม้ สนามหญ้า ท่อระบายน้ำ เสาไฟฟ้า หรือสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่อยู่ในทางสาธารณะ ผู้ขออนุญาตจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของก่อนดำเนินการก่อสร้างสะพาน ข้อ ๒๐ ระหว่างการก่อสร้างสะพาน ผู้ขออนุญาตจะต้องจัดระบบระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน และปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณที่ก่อสร้าง ข้อ ๒๑ ถ้าตำแหน่งของสะพานที่ขออนุญาต มีเขื่อนเดิมของทางราชการ การตอกเสาเข็มสะพาน จะต้องไม่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้างเขื่อนเดิม หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ขออนุญาตจะต้องซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม ข้อ ๒๒ เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องเก็บเศษวัสดุ อุปกรณ์ และรื้อถอนโครงสร้างชั่วคราวที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่ในคลองออกให้หมดและขุดลอกคลองให้มีค่าระดับท้องคลอง ตามที่กรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๒๓ กรุงเทพมหานครมีสิทธิ์ที่จะยกเลิกการอนุญาตตามระเบียบนี้ได้ ถ้าผู้ขออนุญาตกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขในการอนุญาต หรือกรุงเทพมหานครมีความจำเป็น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจราจร หรือเพื่อความปลอดภัยของผู้สัญจรทางน้ำ ทางบกและผู้อยู่อาศัยที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงด้วย หมวด ๔ ลักษณะ รูปแบบของสะพาน ข้อ ๒๔ สะพานที่เข้าสู่บริเวณบ้านพักอาศัยเป็นหลังๆ ให้สร้างได้กว้างไม่เกิน ๔.๐๐ เมตร ข้อ ๒๕ สะพานที่เข้าสู่ที่ดินหรือถนนเพื่อประโยชน์ในการสัญจรร่วมกัน ให้สร้างได้กว้างไม่เกินความกว้างของถนนที่เชื่อมต่อกับสะพาน และมีความกว้างไม่เกิน ๑๒.๐๐ เมตร ข้อ ๒๖ สะพานที่เข้าสู่ที่ดินที่ใช้เป็นถนนในโครงการจัดสรรที่ดิน ให้สร้างได้กว้างไม่เกินความกว้างของถนนในโครงการจัดสรรที่ดิน ตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน หากสะพานมีความกว้างเกิน ๑๒.๐๐ เมตร ต้องจัดให้มีช่องว่างกลางสะพานตลอดความยาวของสะพานกว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เมตร พร้อมราวสะพานที่มั่นคง แข็งแรงกั้นช่องว่างกลางสะพานดังกล่าวด้วย ข้อ ๒๗ แนวศูนย์กลางสะพานต้องไม่เชื่อมกับถนนบริเวณทางร่วมหรือทางแยกสาธารณะ ที่มีความกว้างตั้งแต่ ๖.๐๐ เมตรขึ้นไป และต้องห่างจากจุดเริ่มต้นโค้งหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือทางแยกสาธารณะเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า ๒๐.๐๐ เมตร ข้อ ๒๘ แนวศูนย์กลางสะพานต้องไม่เชื่อมกับถนนบริเวณเชิงลาดสะพาน และต้องอยู่ห่างจากจุดสุดเชิงลาดสะพานเป็นระยะไม่น้อยกว่า ๕๐.๐๐ เมตร เว้นแต่สะพานที่เชื่อมกับถนนที่มีทางขนานข้างสะพาน ข้อ ๒๙ สะพานที่เข้าสู่ที่ดินหรือถนนเพื่อประโยชน์ในการสัญจรร่วมกัน หรือเข้าสู่โครงการจัดสรรที่ดิน จะต้องมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรงและต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐาน AASHTO HS 20-40 ส่วนสะพานที่เข้าสู่บริเวณบ้านเป็นหลังๆ จะต้องมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรง และต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐาน AASHTO HS 15-44 โดยผู้ขออนุญาตต้องติดตั้ง ป้ายควบคุมน้ำหนักบรรทุกให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานการออกแบบสะพาน ให้ผู้ใช้สะพานสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๓๐ สะพานที่เข้าสู่บริเวณบ้านเป็นหลังๆ กำหนดให้มีส่วนลาดชันไม่เกิน ๑๐ ใน ๑๐๐ และสะพานที่เข้าสู่ที่ดินหรือถนนเพื่อประโยชน์ในการสัญจรร่วมกัน กำหนดให้มีส่วนลาดชันไม่เกิน ๘ ใน ๑๐๐ ข้อ ๓๑ ตำแหน่ง เสาสะพานหรือกำแพงกันดิน ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ขวางทางน้ำไหลและไม่กีดขวางทางสัญจรทางน้ำ โดยให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้ (๑) แนวเขตคลองที่มีความกว้างไม่เกิน ๕.๐๐ เมตร ให้ก่อสร้างเป็นสะพานท่อได้ โดยให้ผนังของสะพานท่อทั้งสองด้านอยู่นอกแนวเขตคลอง (๒) แนวเขตคลองที่มีความกว้างน้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร กำหนดให้เสาสะพานทั้งสองด้านอยู่นอกแนวเขตคลอง (๓) แนวเขตคลองที่มีความกว้างตั้งแต่ ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ เมตร กำหนดให้สะพานมีช่องว่างระหว่างศูนย์กลางเสาสะพานช่วงกลาง กว้างไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร โดยตำแหน่งของศูนย์กลางเสาสะพานที่อยู่ช่วงกลางคลอง ต้องอยู่ห่างจากแนวศูนย์กลางคลองไม่น้อยกว่า ๓.๐๐ เมตร และเสาสะพานตัวริมทั้งสองด้านอยู่นอกแนวเขตคลอง (๔) แนวเขตคลองที่มีความกว้างมากกว่า ๑๕.๐๐ เมตร กำหนดให้สะพานมีช่องว่างระหว่างศูนย์กลางเสาสะพานช่วงกลาง กว้างไม่น้อยกว่า ๘.๐๐ เมตร โดยตำแหน่งของศูนย์กลางเสาสะพานที่อยู่ช่วงกลางคลอง ต้องอยู่ห่างจากแนวศูนย์กลางคลองไม่น้อยกว่า ๔.๐๐ เมตร และเสาสะพานตัวริมทั้งสองด้านอยู่นอกแนวเขตคลอง (๕) แนวเขตคลองที่มีความกว้างตั้งแต่ ๒๐.๐๐-๒๕.๐๐ เมตร กำหนดให้สะพานมีช่องว่างระหว่างศูนย์กลางเสาสะพานช่วงกลาง กว้างไม่น้อยกว่า ๑๐.๐๐ เมตร โดยตำแหน่งของศูนย์กลางเสาสะพานที่อยู่ช่วงกลางคลอง ต้องอยู่ห่างจากแนวศูนย์กลางคลองไม่น้อยกว่า ๕.๐๐ เมตร และเสาสะพานตัวริมทั้งสองด้านอยู่นอกเขตคลอง (๖) แนวเขตคลองที่มีความกว้างมากกว่า ๒๕.๐๐ เมตร กำหนดให้สะพานมีช่องว่างระหว่างศูนย์กลางเสาสะพานช่วงกลาง กว้างไม่น้อยกว่า ๑๒.๐๐ เมตร โดยตำแหน่งของศูนย์กลางเสาสะพานที่อยู่ช่วงกลางคลอง ต้องอยู่ห่างจากแนวศูนย์กลางคลองไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ เมตร และเสาสะพานตัวริมทั้งสองด้านอยู่นอกแนวเขตคลอง (๗) ตำแหน่งของเสาสะพานที่อยู่ในเขตคลอง ต้องมีระยะห่างระหว่างศูนย์กลางเสาสะพานกับแนวกำแพงกันดิน ไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร ข้อ ๓๒ เชิงลาดและปลายเชิงลาดสะพานต้องไม่ล้ำเข้าไปในผิวถนนสาธารณะ และจะต้องไม่กีดขวางทางเข้า-ออกของอาคาร หรือที่ดินของบุคคลอื่น เว้นแต่จะได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของอาคารหรือเจ้าของที่ดิน ส่วนสะพานข้ามคลองที่มีถนนสาธารณะขนานตลอดแนวคลอง กรุงเทพมหานครจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป ข้อ ๓๓ รูปแบบของสะพานที่ขออนุญาตต้องคำนึงถึงความสวยงามด้านสถาปัตยกรรม การปรับเชิงลาดสะพาน ทางเท้า ทางระบายน้ำและอื่นๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดีและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อ ๓๔ กำหนดให้ก่อสร้างกำแพงกันดินตลอดความกว้างสะพานตามแนวเขตคลองให้มีความมั่นคง แข็งแรง สามารถป้องกันการพังทลายของดินริมตลิ่ง ตามค่าระดับออกแบบที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ ซึ่งแนวกำแพงกันดินนี้จะต้องอยู่นอกเขตคลองและยื่นออกจากริมสะพานอย่างน้อยข้างละ ๓.๐๐ เมตร ในกรณีที่มีท่อระบายน้ำเดิมไหลลงคลอง จะต้องเปิดช่องให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกและมีขนาดของช่องเปิดเท่ากับท่อระบายน้ำเดิม ข้อ ๓๕ ในกรณีสะพานที่ขออนุญาตชิดที่ดินของบุคคลอื่น การก่อสร้างกำแพงกันดินตามข้อ ๓๔ หากล้ำที่ดินบุคคลอื่นต้องได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดิน กรณีที่ไม่สามารถก่อสร้างกำแพงกันดินอยู่นอกแนวเขตคลองได้ ให้ก่อสร้างกำแพงกันดินยื่นออกจากริมสะพานอย่างน้อยข้างละ ๓.๐๐ เมตร โดยให้อยู่ชิดแนวเขตคลองมากที่สุด ข้อ ๓๖ กำหนดให้ระดับพื้นล่างสะพานท่อ มีค่าเท่ากับ -๑.๕๐๐ ตามค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง และระดับใต้พื้นสะพานท่อด้านบนมีค่าเท่ากับ ๑.๐๐๐ ตามค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ข้อ ๓๗ กำหนดให้ค่าระดับต่ำสุดของโครงสร้างสะพานช่วงกลาง ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) คลองที่มีการสัญจรทางน้ำด้วยเรือโดยสารหรือเรือบรรทุกขนาดใหญ่ มีค่าระดับไม่น้อยกว่า ๔.๐๐๐ ตามค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (๒) คลองที่มีการสัญจรทางน้ำด้วยเรือโดยสารหรือเรือบรรทุกขนาดเล็ก มีค่าระดับไม่น้อยกว่า ๓.๐๐๐ ตามค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (๓) คลองที่ไม่มีการสัญจรทางน้ำ มีค่าระดับไม่น้อยกว่า ๒.๐๐๐ ตามค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามค่าที่กำหนดข้างต้นได้ กรุงเทพมหานครจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ข้อ ๓๘ กำหนดให้กำแพงกันดินต้องมีระยะจากปลายสุดของกำแพงกันดินอยู่ต่ำกว่าระดับขุดลอกคลองและจะต้องสามารถป้องกันมิให้ดินหลังกำแพงกันดินเกิดการยุบตัวไหลลอดผ่านใต้กำแพงกันดินลงสู่คลองในขณะที่ระดับน้ำในคลองลดลงถึงระดับขุดลอกคลอง ทั้งนี้ ให้ผู้ออกแบบคำนวณการป้องกันการไหลของดิน (Heave) โดยใช้ค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๒.๕ ข้อ ๓๙ สะพานที่ก่อสร้างข้ามผ่านสะพานทางเดินเลียบคลอง จะต้องจัดให้ประชาชนสามารถสัญจรผ่านได้โดยสะดวกและไม่เกิดอันตราย โดยผู้ขออนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบก่อน หมวด ๕ บทเบ็ดเตล็ด ข้อ ๔๐ หากกรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องใช้สถานที่หรือแจ้งให้รื้อถอนสะพาน ผู้ขออนุญาตจะต้องดำเนินการทันทีโดยไม่มีเงื่อนไขหรือเรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้น โดยผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนทั้งหมด ข้อ ๔๑ ในกรณีมีเหตุสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาสั่งการเป็นกรณีไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๖/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙
483839
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ พระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนให้ได้รับนิตยภัตในอัตราชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท วันละไม่เกิน ๒ ชั่วโมงต่อรูป” ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๕๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙
589402
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๔ ท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑ บัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๘ [๑] รก.๒๕๔๘/พ๘๖ง/๙/๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
472797
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะหรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “สถานประกอบการ” หมายความว่า สถานที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภท การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ลักษณะของอาคาร ข้อ ๖ การออกแบบและการวางผังของอาคารต้องเหมาะสมต่อการป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนจากการประกอบการ ข้อ ๗ พื้นที่ประกอบการส่วนที่มีเสียงดังและความสั่นสะเทือน ต้องเป็นอาคารที่ปิดมิดชิดและใช้วัสดุที่ป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนได้ ข้อ ๘ บริเวณโดยรอบอาคาร ตัวอาคาร พื้น ผนัง เพดาน โต๊ะและเก้าอี้ ต้องได้รับการดูแลให้สะอาดเป็นระเบียบ เรียบร้อยอยู่เสมอ ข้อ ๙ ต้องมีประตูเข้า-ออก ที่สูงไม่น้อยกว่า ๒ เมตร กว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร โดยขณะทำการต้องปิดไว้ตลอดเวลา แต่สามารถเปิดเข้าออกได้ หมวด ๒ การควบคุมและป้องกันเสียงจากการประกอบการ ข้อ ๑๐ สถานประกอบการต้องจัดให้มีการป้องกันเสียงและความสั่นสะเทือนอย่างมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพหรือเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง ข้อ ๑๑ ระดับเสียงภายในสถานประกอบการตลอดระยะเวลาทำการ ต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับเสียงไม่เกิน ๙๐ เดซิเบลเอ มีค่าสูงสุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่เกิน ๑๑๐ เดซิเบลเอ และระดับเสียงที่ออกนอกสถานประกอบการ จะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ รบกวนประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียง ข้อ ๑๒ ในระหว่างเวลาทำการ ต้องมีการหยุดหรือลดระดับเสียงจากการแสดงดนตรีหรือการเปิดเพลง หรือจากเครื่องกำเนิดเสียง หรือกิจกรรมอื่นที่ก่อให้เกิดเสียงดังมากเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้พักจากการสัมผัสเสียง ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีบริการอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ได้มาตรฐานและสะอาดสำหรับผู้ใช้บริการเสมอเมื่อได้รับการร้องขอ และผู้ดำเนินกิจการต้องติดประกาศ หรือให้ข้อมูลด้านวิธีการอื่นใด เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงการป้องกัน การแก้ไข และการบรรเทาอันตรายที่อาจเกิดจากการได้ยินเสียงดัง ข้อ ๑๔ สถานประกอบการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ ๑๐๐ ตารางเมตร หรือสถานประกอบการที่เคยก่อให้เกิดเหตุรำคาญเรื่องเสียง ต้องจัดให้มีเครื่องวัดระดับเสียงและแสดงผลการตรวจวัดผ่านทางจอแสดงผล เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงระดับเสียงในขณะนั้น และสามารถพิจารณาการป้องกันตัวเองได้ หมวด ๓ การระบายอากาศ ข้อ ๑๕ ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ โดยมีอัตราการระบายอากาศ ดังนี้ สถานที่ วิธีการระบายอากาศ วิธีกล (อัตราการระบายอากาศ ไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของ ปริมาตรของห้องใน ๑ ชั่วโมง) วิธีใช้ระบบปรับอากาศ (ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง/ ตารางเมตร) ๑. ห้องน้ำ ห้องส้วม ๒. ที่จอดรถที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ๓. ห้องปรุง ประกอบอาหาร ๔. บริเวณที่นั่ง แสดงดนตรี เต้นรำ ๔ ๔ ๒๔ ๑๒ ๑๐ - ๓๐ ๑๐ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่จัดให้มีเขตสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ ต้องจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทหมุนเวียนระหว่างภายนอกอาคารกับภายในเขตสูบบุหรี่ไม่น้อยกว่า ๕๐ ลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีต่อคน หมวด ๔ ระบบการจัดแสงสว่าง ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีความเข้มของแสงสว่างที่เหมาะสม ดังนี้ บริเวณพื้นที่ ความเข้มของแสงสว่าง ๑. พื้นที่ให้บริการ ๑.๑ พื้นที่ให้บริการทั้งหมดในขณะเตรียมสถานที่ให้บริการ ๑.๒ พื้นที่ให้บริการต่างๆ ในขณะเปิดให้บริการ เช่น ส่วนแสดงดนตรีหรือมีเสียงดนตรี ส่วนเต้นรำและบริเวณที่นั่งฟังดนตรี ๒. ห้องน้ำ ห้องส้วม ๓. ห้องปรุง ประกอบอาหาร ๔. ช่องทางเดินภายในอาคาร ๕. ที่จอดรถ ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ ให้มีแสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นและ จำหน้ากันได้ในระยะไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์ ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ ลักซ์ ไม่น้อยกว่า ๕๐ ลักซ์ ไม่น้อยกว่า ๕๐ ลักซ์ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่มีการใช้แสงเลเซอร์ ผู้ดำเนินกิจการต้องตรวจสอบจากผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งว่าแสงเลเซอร์ที่ใช้นั้น เป็นแสงเลเซอร์ที่ใช้สำหรับสถานบันเทิงเท่านั้น และต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสายตา หมวด ๕ ระบบความปลอดภัย ข้อ ๑๙ ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยและจัดให้มีประตูหรือทางออกหรือทางหนีไฟแยกต่างหากจากประตูเข้าออกปกติ เพียงพอกับจำนวนคนที่อยู่ภายในสถานประกอบการ สามารถออกได้โดยสะดวกหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงที่ชัดเจน รวมทั้งต้องมีระบบไฟฟ้าฉุกเฉินที่ไม่ใช้กำลังไฟฟ้าจากระบบปกติ เมื่อระบบปกติขัดข้อง ข้อ ๒๐ ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามชนิดและขนาดที่กำหนด จำนวน ๑ เครื่องต่อพื้นที่ไม่เกิน ๑๐๐ ตารางเมตร และติดตั้งกระจายในพื้นที่ประกอบการตามความเหมาะสม โดยต้องติดตั้งให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน ๑.๕ เมตร ในบริเวณที่สามารถเห็นได้ชัดเจนและสะดวกในการใช้สอย รวมทั้งต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้ได้ตลอดเวลา กรณีที่มีการประกอบการหลายชั้นต้องมีเครื่องดับเพลิงทุกชั้น ชนิดของเครื่องดับเพลิง ขนาดบรรจุ ๑. โฟมเคมี ๒. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๓. ผงเคมีแห้ง ๔. เฮลอน (HALON ๑๒๑๑) ไม่น้อยกว่า ๑๐ ลิตร ไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม ไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม ไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม ข้อ ๒๑ ต้องควบคุมมิให้ผู้ใช้บริการเข้าไปในสถานประกอบการมากจนทำให้เกิดความแออัดจนเกินไป ข้อ ๒๒ ต้องจัดให้มีระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อความสะดวกต่อการสัญจรและความปลอดภัยภายในสถานประกอบการ หมวด ๖ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ข้อ ๒๓ ต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ แยกเพศชายหญิง และมีสัญลักษณ์แสดงอย่างชัดเจน ข้อ ๒๔ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องจัดให้มีห้องส้วมสำหรับผู้ชาย จำนวน ๑ ที่ ที่ปัสสาวะ ๒ ที่ อ่างล้างมือ ๑ ที่ ห้องส้วมสำหรับผู้หญิง๒ ที่ อ่างล้างมือ ๑ ที่ ต่อพื้นที่อาคารทุก ๆ ๒๐๐ ตารางเมตร เศษของพื้นที่ให้คิดเป็น ๒๐๐ ตารางเมตร ข้อ ๒๕ สถานประกอบการที่มีการประกอบการหลายชั้น ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือในชั้นต่างๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม แต่ต้องมีทุกชั้น ข้อ ๒๖ ห้องส้วมต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตร และความกว้างภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ เมตร ความสูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร กรณีที่ห้องส้วมและห้องน้ำอยู่ห้องเดียวกัน ต้องมีพื้นที่ภายในไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ ตารางเมตร ข้อ ๒๗ ห้องส้วมและที่ปัสสาวะ ต้องเป็นระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและใช้วัสดุที่ทำความสะอาดง่าย และต้องได้รับการดูแลรักษาความสะอาดอย ู ่เสมอ หมวด ๗ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๒๘ สถานประกอบการที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือมีการปรุง ประกอบ หรือจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๒๙ สถานประกอบการที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ดำเนินกิจการปรับปรุงสถานประกอบการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ มีผลใช้บังคับ ยกเว้นกรณีการจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ทุกชั้นตามข้อ ๒๕ ให้ปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสองปี และเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัดต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พชร/ผู้จัดทำ ๑๐ มกราคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๖ ง/หน้า ๗๘/๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๘
477519
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งหรือข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “สภาเยาวชน” หมายความว่า สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “ประธานสภาเยาวชน” หมายความว่า ประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “รองประธานสภาเยาวชน” หมายความว่า รองประธานสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “เลขานุการสภาเยาวชน” หมายความว่า เลขานุการสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “ผู้ช่วยเลขานุการสภาเยาวชน” หมายความว่า ผู้ช่วยเลขานุการสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “สมาชิกสภาเยาวชน” หมายความว่า สมาชิกสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “เครือข่ายสภาเยาวชน” หมายความว่า สภาเยาวชนเขต องค์กรและกลุ่มกิจกรรมซึ่งทำงานเกี่ยวกับเยาวชนที่ได้ลงทะเบียนไว้กับสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร “หน่วยงานที่กำกับดูแลสภาเยาวชน” หมายความว่า สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว หมวด ๒ สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ให้มีสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นผู้แทนเยาวชนของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ สภาเยาวชนมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดและสะท้อนปัญหาของเยาวชนให้กับสังคม (๒) เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างเยาวชนกลุ่มต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นๆ (๓) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ อันเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนและสังคม (๔) ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของเยาวชน ข้อ ๘ สภาเยาวชนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อกรุงเทพมหานคร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน (๒) ประสานงานระหว่างเยาวชน กลุ่มเยาวชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาเยาวชน (๓) เลือกและตั้งคณะกรรมการด้านต่างๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมตามมติของสภาเยาวชน (๔) ส่งเสริม สนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อเยาวชน (๕) ศึกษา รวบรวม ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสภาเยาวชนและเครือข่ายสภาเยาวชน (๖) จัดการประชุมสภาเยาวชนและเครือข่ายสภาเยาวชน (๗) จัดทำแผนงานประจำปีเสนอต่อกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙ คุณสมบัติของสมาชิกสภาเยาวชน (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุตั้งแต่สิบห้าถึงยี่สิบห้าปี (โดยปี พ.ศ.) (๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (๔) มีความประพฤติดี (๕) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง ข้อ ๑๐ สภาเยาวชนประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานคณะกรรมการสภาเยาวชนเขต (๒) ผู้แทนกลุ่มเยาวชน ประกอบด้วย (๒.๑) ผู้แทนจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวนยี่สิบสี่คน (ก) ระดับมัธยมศึกษา จำนวนแปดคน (ข) ระดับอาชีวศึกษา จำนวนแปดคน (ค) ระดับอุดมศึกษา จำนวนแปดคน (๒.๒) ผู้แทนจากกลุ่มกิจกรรม จำนวนสิบสองคน เช่น กลุ่มกิจกรรมด้านคุณภาพชีวิตกลุ่มกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มกิจกรรมด้านการศึกษา กลุ่มกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม กลุ่มกิจกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพเยาวชน กลุ่มกิจกรรมด้านอื่นๆ เป็นต้น (๒.๓) ผู้แทนจากศูนย์เยาวชนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนสิบคน (๒.๔) ผู้แทนจากผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส จำนวนสี่คน ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวนห้าคน เพื่อดำเนินการให้มีการเลือกสมาชิกสภาเยาวชนตามข้อ ๑๐ (๒) โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๑๐ (๒) ส่งผู้แทนเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเยาวชน ตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด (๒) ให้คณะกรรมการจัดให้ผู้แทนตาม (๑) มีการเลือกตั้งกันเอง (๓) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งและส่งรายชื่อผู้ได้รับการเลือกตั้งให้หน่วยงานที่กำกับ ดูแลสภาเยาวชน ภายในห้าวันนับจากวันประกาศรับรองผลการเลือกตั้งกันเอง (๔) กรณีที่มีปัญหาอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ (๕) เมื่อประกาศรับรองผลการเลือกตั้งแล้ว ให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสภาเยาวชนเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในคำสั่งแต่งตั้งสมาชิกสภาเยาวชนดังกล่าว ข้อ ๑๒ สมาชิกสภาเยาวชนมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี นับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในคำสั่งแต่งตั้งสมาชิกสภาเยาวชน โดยสมาชิกสภาเยาวชนจะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระมิได้ สมาชิกสภาเยาวชนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งสมาชิกสภาเยาวชนใหม่ ข้อ ๑๓ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนัดประชุมสมาชิกสภาเยาวชน เพื่อให้สมาชิกสภาเยาวชนได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามแต่งตั้งสมาชิกสภาเยาวชน ข้อ ๑๔ ให้สภาเยาวชนมีประธานสภาเยาวชนหนึ่งคน รองประธานสภาเยาวชนสองคนและเลขานุการสภาเยาวชนหนึ่งคนซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งตามมติของสภาเยาวชน ในการประชุมสภาเยาวชนเป็นครั้งแรก เมื่อยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาเยาวชน รองประธานสภาเยาวชน และเลขานุการสภาเยาวชน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมเพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการเลือกตั้งประธานสภาเยาวชน รองประธานสภาเยาวชน และเลขานุการสภาเยาวชน ตามวรรคหนึ่ง การเลือกตั้งกระทำโดยให้สมาชิกสภาเยาวชนลงคะแนนเลือกประธานสภาเยาวชน รองประธานสภาเยาวชน และเลขานุการสภาเยาวชนโดยถือเสียงข้างมาก ในกรณีมีผู้ได้รับคะแนนสูงสุดมากกว่าหนึ่งคนให้สมาชิกสภาเยาวชนออกเสียงลงคะแนนอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป โดยให้มีสิทธิลงคะแนนเลือกเฉพาะผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในรอบแรก ข้อ ๑๕ ประธานสภาเยาวชนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการประชุม และมีอำนาจออกคำสั่งใดๆ ตามความจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในการประชุม (๒) ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาเยาวชนให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของสภาเยาวชน (๓) เป็นผู้แทนสภาเยาวชนในกิจการที่เกี่ยวกับเยาวชน (๔) อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ข้อ ๑๖ รองประธานสภาเยาวชน มีอำนาจหน้าที่ช่วยประธานสภาเยาวชนในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภาเยาวชน หรือปฏิบัติงานตามที่ประธานสภาเยาวชนมอบหมาย ข้อ ๑๗ เลขานุการสภาเยาวชน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) นัดประชุมสภาเยาวชน (๒) จัดทำรายงานการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนน (๓) ควบคุมการนับคะแนนเสียงในการประชุมสภาเยาวชน (๔) รายงานผลการประชุมและมติของสภาเยาวชนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง (๕) ติดต่อ ประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน (๖) หน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือข้อบังคับการประชุมสภาเยาวชนหรือตามที่ประธานสภาเยาวชนมอบหมาย ข้อ ๑๘ ให้เลขานุการสภาเยาวชนเลือกและแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการสภาเยาวชนได้ไม่เกินสองคนผู้ช่วยเลขานุการสภาเยาวชน มีหน้าที่ช่วยเลขานุการสภาเยาวชนในกิจการอันเป็นหน้าที่ของเลขานุการสภาเยาวชนหรือตามที่เลขานุการสภาเยาวชนมอบหมาย ในกรณีที่เลขานุการสภาเยาวชนไม่อยู่ ให้ผู้ช่วยเลขานุการสภาเยาวชนปฏิบัติหน้าที่แทน ข้อ ๑๙ ให้สภาเยาวชนมีคณะกรรมการด้านต่างๆ ซึ่งมาจากสมาชิกสภาเยาวชน เพื่อดำเนินกิจกรรมเฉพาะด้านตามมติที่ประชุม แต่ละคณะมีจำนวนกรรมการไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการอย่างละหนึ่งคน โดยการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการให้เป็นไปตามมติที่ประชุม และสมาชิกสภาเยาวชนสามารถดำรงตำแหน่งได้คนละไม่เกินสองคณะ ข้อ ๒๐ การประชุมสภาเยาวชน ต้องมีสมาชิกสภาเยาวชนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาเยาวชนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ข้อ ๒๑ ให้สภาเยาวชนจัดประชุมสมาชิกสภาเยาวชนอย่างน้อยเดือนละครั้ง ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ให้สมาชิกสภาเยาวชนจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภาเยาวชนทั้งหมด เข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาเยาวชนเพื่อเปิดประชุม ข้อ ๒๒ การประชุมสภาเยาวชนต้องกระทำโดยเปิดเผย ให้ประธานสภาเยาวชนเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานสภาเยาวชนไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาเยาวชนคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาเยาวชน ถ้ารองประธานสภาเยาวชนคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาเยาวชนคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาเยาวชน ในกรณีที่ไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมเฉพาะคราวนั้น การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก สมาชิกสภาเยาวชนคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๒๓ ให้สภาเยาวชนกำหนดข้อบังคับการประชุม และข้อบังคับอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสภาเยาวชน โดยเสนอปลัดกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ข้อ ๒๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว สมาชิกสภาเยาวชนจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) พ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๓๕ (๓) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภาเยาวชน (๔) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษา หรือถูกคุมประพฤติอยู่ในสถานพินิจโดยคำสั่งของศาล (๕) สมาชิกสภาเยาวชนมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกสภาเยาวชน ทั้งหมด ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาเยาวชน โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางเสื่อมเสียหรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ สมาชิกสภาเยาวชนที่พ้นจากตำแหน่งตาม (๕) สามารถยื่นคำคัดค้านต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการตรวจสอบและวินิจฉัยชี้ขาดได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบมติ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยชี้ขาดของปลัดกรุงเทพมหานครถือเป็นที่สุด สมาชิกสภาเยาวชนผู้เข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่างลงตามวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ข้อ ๒๕ ให้กรุงเทพมหานครสนับสนุนเพื่อพัฒนาการดำเนินงานสภาเยาวชนตามความเหมาะสมและให้หน่วยงานที่กำกับดูแลแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเพื่อดูแล ให้คำปรึกษาแก่สภาเยาวชน หมวด ๓ สภาเยาวชนเขต ข้อ ๒๖ ให้ผู้อำนวยการเขตทุกเขตจัดให้มีสภาเยาวชนเขต ข้อ ๒๗ สภาเยาวชนเขตมีฐานะเป็นเครือข่ายสภาเยาวชน ข้อ ๒๘ สภาเยาวชนเขต ประกอบด้วย เยาวชนจากชุมชน ศูนย์เยาวชน สถาบันการศึกษาทั้งในระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ผู้แทนจากกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เช่นด้านการพัฒนาชุมชน ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาเยาวชน เป็นต้น ในพื้นที่เขตนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งได้ยื่นขอสมัครเป็นสมาชิกสภาเยาวชนเขตและต้องได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการเขต ข้อ ๒๙ คุณสมบัติของสมาชิกสภาเยาวชนเขต (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุตั้งแต่สิบห้าถึงยี่สิบห้าปี (โดยปี พ.ศ.) (๓) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่นั้น (๔) มีความประพฤติดี (๕) ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง ข้อ ๓๐ ให้มีคณะกรรมการ ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตกันเองประกอบด้วย (๑) ผู้อำนวยการเขตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย (๒) สมาชิกสภากรุงเทพมหานครในพื้นที่เขต (๓) ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในพื้นที่เขต (๔) ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาในพื้นที่เขต (๕) ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่เขต (๖) ผู้แทนจากประธานชุมชนในพื้นที่เขต โดยให้ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้พิจารณาบุคคลตาม (๓) (๔) (๕) และ (๖) ในสัดส่วน ที่เหมาะสมและจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการให้มีการเลือกตั้งกันเอง โดยมีผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน ข้อ ๓๑ ให้คณะกรรมการตาม ข้อ ๓๐ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ประกาศวัน เวลา และสถานที่ในการรับสมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร ให้เยาวชนในพื้นที่เขตนั้นทราบโดยทั่วกัน เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันรับสมัคร (๒) พิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิรับการเลือกตั้งกันเอง (๓) พิจารณาสอบสวนและลงมติถอดถอนหรือยืนยันสิทธิการสมัครเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขต ในกรณีที่มีการเข้าชื่อคัดค้านตามข้อ ๓๒ (๔) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งกันเอง และส่งรายชื่อผู้ได้รับการเลือกตั้งกันเองให้ผู้อำนวยการเขตออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยให้ผู้อำนวยการเขตส่งประกาศและคำสั่งให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสภาเยาวชนทราบ ข้อ ๓๒ เยาวชนผู้มีสิทธิสมัครรับการเลือกตั้งกันเองไม่น้อยกว่าห้าสิบคนมีสิทธิเข้าชื่อคัดค้านต่อคณะกรรมการตามข้อ ๓๐ หากเห็นว่าผู้สมัครรับการเลือกตั้งกันเองนั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขต โดยต้องระบุถึงพฤติกรรมดังกล่าวให้ชัดเจน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสุดท้ายของการรับสมัคร เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาสอบสวนและลงมติถอดถอนหรือยืนยันสิทธิการสมัครรับการเลือกตั้งกันเอง ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันหมดสิทธิเข้าชื่อคัดค้านและประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตในวันถัดไป หากไม่มีการเข้าชื่อคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขต ภายในเจ็ดวันนับแต่วันหมดสิทธิเข้าชื่อคัดค้าน ข้อ ๓๓ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตคณะกรรมการตามข้อ ๓๐ ต้องจัดให้ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขต ได้แถลงนโยบายแนวความคิดต่างๆ และออกเสียงลงคะแนนเลือกคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตจำนวนสิบห้าคนโดยให้ถือเอาเสียงข้างมาก กรณีมีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันจนมีผลทำให้จำนวนที่ได้รับการเลือกตั้งกันเองเกินกว่าสิบห้าคนให้ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งกันเองทุกคนออกเสียงลงคะแนนอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีสิทธิลงคะแนนเลือกเฉพาะผู้ที่มีคะแนนเท่ากันน้อยที่สุดในลำดับที่ทำให้เกินสิบห้าคน จนกว่าจะได้จำนวนครบสิบห้าคน ข้อ ๓๔ ให้คณะกรรมการสภาเยาวชนเขตมีประธานสภาเยาวชนเขตหนึ่งคน รองประธานสภาเยาวชนเขตสองคน และเลขานุการสภาเยาวชนเขตหนึ่งคน ซึ่งผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งตามมติของสภาเยาวชนเขต และให้นำข้อ ๑๕ ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม กรรมการสภาเยาวชนเขตมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปี นับแต่วันที่ผู้อำนวยการเขตลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง โดยกรรมการสภาเยาวชนเขตจะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระมิได้ และกรรมการสภาเยาวชนเขตซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการ สภาเยาวชนเขตใหม่ ข้อ ๓๕ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว คณะกรรมการสภาเยาวชนเขตจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้อำนวยการเขต (๓) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษา หรือถูกคุมประพฤติอยู่ในสถานพินิจโดยคำสั่งของศาล (๔) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๒๙ (๕) คณะกรรมการสภาเยาวชนเขตมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตทั้งหมด ให้พ้นจากการเป็นคณะกรรมการสภาเยาวชนเขต โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางเสื่อมเสียหรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ กรรมการสภาเยาวชนเขตที่พ้นจากตำแหน่งตาม (๕) สามารถยื่นคำคัดค้านต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อให้มีการตรวจสอบและวินิจฉัยชี้ขาดได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบมติ ทั้งนี้คำวินิจฉัยชี้ขาดของปลัดกรุงเทพมหานครถือเป็นที่สุด ข้อ ๓๖ เมื่อคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๓๐ ดำเนินการให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตกันเองใหม่ ภายในสามสิบวัน ในกรณีตำแหน่งกรรมการสภาเยาวชนเขตว่างลงตามข้อ ๓๕ ให้มีการเลือกตั้งกันเองกรรมการสภาเยาวชนเขตให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวัน เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบวัน กรรมการสภาเยาวชนเขต ผู้เข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่างลงตามวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ข้อ ๓๗ ให้คณะกรรมการสภาเยาวชนเขตมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อผู้อำนวยการเขต สภาเยาวชนกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นที่เกี่ยวกับเยาวชน (๒) ดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และสังคม (๓) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาเยาวชนในขอบเขตที่สามารถกระทำได้ (๔) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินกิจกรรม หรือศึกษาเรื่องใด ตามที่คณะกรรมการสภาเยาวชนเขตเห็นสมควร (๕) รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาเยาวชนเขต เพื่อใช้ประกอบการดำเนินงาน (๖) จัดการประชุมสมาชิกสภาเยาวชนเขต ข้อ ๓๘ ให้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการสภาเยาวชนเขตอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยให้นำข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑ ข้อ ๒๒ และข้อ ๒๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๓๙ ให้สำนักงานเขตสนับสนุนเพื่อพัฒนาการดำเนินงานสภาเยาวชนเขตตามความเหมาะสมและให้ผู้อำนวยการเขตแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเขตเพื่อดูแล ให้คำปรึกษาแก่สภาเยาวชนเขต บทเฉพาะกาล ข้อ ๔๐ ในวาระเริ่มแรก ให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสภาเยาวชน กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาเยาวชนตามข้อ ๑๐ (๒) ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีสภาเยาวชนเขตภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เพื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะได้แต่งตั้งสมาชิกสภาเยาวชนกรุงเทพมหานครในลำดับต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๒๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
477517
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “การตรวจสอบภายใน” หมายความว่า การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนงานที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารการเงิน การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน การบริหารงานด้านอื่นๆ ตลอดจนการตรวจสอบบัญชี การวิเคราะห์ประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของการควบคุมภายในของหน่วยงานรวมทั้งการรายงานผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองและให้หมายความรวมถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่กรุงเทพมหานครเข้าไปบริหารจัดการ หรือถือสัดส่วนหุ้นหรือเงินลงทุนเกินกึ่งหนึ่ง “ผู้ตรวจสอบภายใน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของหน่วยงานตรวจสอบภายในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งผู้ที่ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือกรุงเทพมหานครจ้างให้มาปฏิบัติการตรวจสอบภายใน “หน่วยรับตรวจ” หมายความว่า หน่วยงานตามระเบียบนี้และรวมถึงส่วนราชการภายในหน่วยงาน “คณะกรรมการตรวจสอบ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ความทั่วไป ข้อ ๖ ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทางมาปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ปลัดกรุงเทพมหานครจะแต่งตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมจากหน่วยงานหรือส่วนราชการอื่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานนั้น หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกก็ได้ ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับบุคคลตามวรรคสอง ข้อ ๗ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายในที่ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งหรือผู้ที่กรุงเทพมหานครจ้างให้มาปฏิบัติการตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีความเป็นอิสระ ทั้งในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการตรวจสอบ และมิให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการใดๆ ของหน่วยงานในสังกัดอันมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็น หมวด ๒ ผู้ตรวจสอบภายใน ข้อ ๙ ให้ผู้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ (๑) ตรวจสอบความถูกต้อง และเชื่อถือได้ของข้อมูลและตัวเลขต่างๆ ด้วยเทคนิคและวิธีการตรวจสอบที่ยอมรับโดยทั่วไป ปริมาณมากน้อยตามความจำเป็นและความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในและความสำคัญของเรื่องที่ตรวจสอบ รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลการบริหารและการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ (๒) ตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบริหารการเงิน การบริหารพัสดุและทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารงานด้านอื่นๆ ของหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมายข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนตรวจสอบการดูแลรักษาทรัพย์สินและการใช้ทรัพยากรทุกประเภทว่าเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัด (๓) ประเมินผลการปฏิบัติงาน และเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติงานตาม (๑) และ (๒) เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัดยิ่งขึ้นรวมทั้งเสนอแนะเพื่อป้องปรามมิให้เกิดความเสียหายหรือการทุจริตรั่วไหลเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ของทางราชการ (๔) ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจ เพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจถูกต้องตามที่ผู้ตรวจสอบภายในเสนอแนะ (๕) ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน งาน/โครงการที่มีความสำคัญต่อผลสำเร็จของนโยบาย หรืองาน/โครงการที่ได้รับนโยบายให้ติดตามกำกับดูแลเป็นกรณีพิเศษ หรืองาน/โครงการที่มีความเสี่ยงสูงหรือที่มีสัญญาณบอกเหตุว่าจะเกิดความเสียหายต่อราชการ ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย (๖) ให้คำปรึกษาแนะนำ เสนอแนะ และให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับระบบการตรวจสอบภายใน (๗) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใน ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการตรวจสอบ นอกเหนือจากแผนการตรวจสอบประจำปี ข้อ ๑๐ ขอบเขตงานของการตรวจสอบภายในให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบวิเคราะห์รวมทั้งการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในของหน่วยงาน ตลอดจนการประเมินคุณภาพของการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งรวมถึง (๑) ประเมินความมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลของการดำเนินงาน ในหน้าที่ของหน่วยรับตรวจ (๒) สอบทานระบบการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และ/หรือกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่งที่ทางราชการกำหนด เพื่อให้มั่นใจได้ว่า สามารถนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับนโยบาย (๓) สอบทานความเชื่อถือได้ของข้อมูล (๔) ตรวจสอบระบบการดูแลรักษา และความปลอดภัยของทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจให้มีความเหมาะสมกับประเภทของทรัพย์สินนั้นๆ (๕) วิเคราะห์ และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ข้อ ๑๑ ให้ผู้ตรวจสอบภายในปฏิบัติงานตรวจสอบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานและคู่มือการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร กรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานของกรมบัญชีกลาง หรือของสมาคมวิชาชีพในประเทศหรือต่างประเทศ ข้อ ๑๒ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน เสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ให้ผู้ตรวจสอบภายในตรวจสอบตามแผนที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง หรือตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระหว่างปี และรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ตามเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าปีละสองครั้งหรือเมื่อตรวจสอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเสร็จตามแผน กรณีเรื่องที่ตรวจพบเป็นเรื่องที่จะมีผลเสียหายต่อทางราชการให้รายงานผลการตรวจสอบทันที หมวด ๓ หน่วยรับตรวจ ข้อ ๑๓ ให้หน่วยรับตรวจ มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ (๑) อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ตรวจสอบภายใน (๒) จัดให้มีระบบการเก็บเอกสาร ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและครบถ้วน (๓) จัดเตรียมรายละเอียดแผนงาน/โครงการ ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ (๔) จัดทำบัญชีและจัดเก็บเอกสารประกอบรายการบัญชี รวมทั้งจัดทำรายงานการเงินให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน พร้อมที่จะให้ผู้ตรวจสอบภายในตรวจสอบได้ (๕) ชี้แจงและตอบข้อซักถามต่างๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลเพิ่มเติมให้แก่ผู้ตรวจสอบภายใน (๖) ปฏิบัติตามข้อทักท้วงและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายใน ในเรื่องต่างๆ ที่ปลัดกรุงเทพมหานครสั่งให้ปฏิบัติ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยรับตรวจกระทำการโดยจงใจไม่ปฏิบัติ หรือละเลยต่อการปฏิบัติตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ตรวจสอบภายในรายงานปลัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาสั่งการตามควรแก่กรณีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หมวด ๔ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานตรวจสอบภายในโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบกำหนดมาตรฐานและจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติให้ผู้ตรวจสอบภายในถือปฏิบัติ ข้อ ๑๕ กรณีที่หน่วยงานมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราวๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑/หน้า ๑๖/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
589400
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ ข้อ ๑๘ ข้อ ๑๙ ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. 1) ที่แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้แบบใบแจ้งเช็คขัดข้อง (บ.ช. 1) ที่แนบท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินรายได้กรุงเทพมหานครเป็นเช็คหรือตราสารอื่น (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑ ใบแจ้งเช็คขัดข้อง (แบบ บ.ช.1) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ [๑] รก.๒๕๔๘/๕๒ง/๒๔/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘
480916
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการขอรับเงินค่าตอบแทน เหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการขอรับเงินค่าตอบแทน เหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการขอรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ ข้อ ๗ และข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการขอรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง รถราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ข้าราชการผู้มีสิทธิได้รับรถประจำตำแหน่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยรถราชการ ได้รับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่งดังกล่าวได้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตระดับ ๙ ใช้รถส่วนกลางแทนรถประจำตำแหน่งและงดจ่ายค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ข้อ ๔ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งของกรุงเทพมหานครให้เบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้ (๑) ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานครหรือเทียบเท่า ๔๑,๐๐๐ บาท/คน/เดือน (๒) ผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ตรวจราชการ ๑๐ ที่ปรึกษากฎหมายกรุงเทพมหานครหรือเทียบเท่า ๓๑,๘๐๐ บาท/คน/เดือน (๓) ผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนัก ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานคร นักบริหาร ๙ ผู้ตรวจราชการ ๙ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานหรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งระดับ ๙ เฉพาะประเภทบริหารระดับสูง หรือเทียบเท่า ๒๕,๔๐๐ บาท/คน/เดือน การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่ง ให้หน่วยงานเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี และดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงินใช้บังคับ ข้อ ๕ กรณีข้าราชการได้รับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือนแทนการใช้รถประจำตำแหน่งไว้แล้ว การจัดหารถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติราชการของข้าราชการนั้นให้พิจารณาจัดหาให้เหมาะสมกับเกียรติและฐานะตำแหน่งราชการที่ตนดำรงอยู่ด้วยเป็นสำคัญ ข้อ ๖ ให้หน่วยงานควบคุมกำกับและดูแลมิให้มีการประพฤติมิชอบ โดยการนำรถส่วนกลาง หรือรถประจำตำแหน่งอื่นไปใช้อีก หากผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับกรณีผู้มีสิทธินำรถส่วนกลางไปใช้โดยมีเหตุผลความจำเป็นเฉพาะคราวกรณีหนึ่งกรณีใดดังนี้ (๑) การร่วมเดินทางเพื่อไปประชุม สัมมนา ดูงาน ซึ่งมีข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยงานเป็นส่วนใหญ่ต้องร่วมเดินทางไปสถานที่ดังกล่าวพร้อมกัน (๒) การร่วมเดินทางเพื่อไปปฏิบัติราชการนอกสถานที่หรือออกตรวจงานซึ่งต้องมีข้าราชการหรือลูกจ้างของหน่วยงานเป็นส่วนใหญ่ร่วมเดินทางไปด้วยและถึงจุดหมายพร้อมกันเป็นหมู่คณะ ข้อ ๗ กรณีมีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๘ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๑๕/๓ มีนาคม ๒๕๔๙
477515
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกลไกการควบคุมภายในของกรุงเทพมหานคร ให้มีการบูรณาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีของกรุงเทพมหานคร อันจะนำไปสู่การบรรลุผลตามเจตนารมณ์ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจ แก่สาธารณชนต่อการดำเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และผลงานของกรุงเทพมหานครว่าได้มีการตรวจสอบและกำกับดูแลอย่างรอบคอบถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่าประสิทธิภาพ คุณภาพของการบริหารงาน ตลอดจนการยกระดับขีดสมรรถนะ การเรียนรู้ และศักยภาพของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมีความยุติธรรม โปร่งใส และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “การตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนา” หมายความว่า การตรวจสอบ ประเมินผลการบริหารและผลการดำเนินงาน การตรวจสอบบัญชีและการเงิน ความถูกต้องตามกฎระเบียบ รวมถึงการประเมินความเสี่ยง การประเมินความเพียงพอและเชื่อถือได้ของการกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดี ตลอดจนการให้คำปรึกษาในการสร้างคุณค่า “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง และให้หมายความรวมถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่กรุงเทพมหานครเข้าไปบริหารจัดการ หรือถือสัดส่วนหุ้น หรือเงินลงทุนเกินกึ่งหนึ่ง “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๔ การตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานคร จะต้องเป็นไปเพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจแก่สาธารณะได้ถึงประสิทธิผล ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ และคุณภาพของการบริหารงาน ตลอดจนการปรับปรุงขีดสมรรถนะและศักยภาพ การเสริมสร้างการเรียนรู้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการจัดวางระบบการควบคุมภายในของกรุงเทพมหานครที่เพียงพอ เหมาะสม และมีกลไกกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานครเรียกโดยย่อว่า ค.ต.พ. กทม. ประกอบด้วย (๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ (๒) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมาย กรรมการ (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๔) รองปลัดกรุงเทพมหานคร ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย กรรมการ (๕) หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. กรรมการ (๖) ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรรมการ (๗) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (๘) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร กรรมการ (๙) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง กรรมการ ไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเจ็ดคน ให้ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหารเป็นเลขานุการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน ข้อ ๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๕ (๙) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ทางด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านเกี่ยวกับการบัญชี การตรวจสอบการดำเนินการ กฎหมาย การเงิน เศรษฐศาสตร์ การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศวิศวกรรมศาสตร์ หรือสถาปัตยกรรมศาสตร์ (๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นข้าราชการประจำ พนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งบริษัทมหาชนที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่กรุงเทพมหานครเข้าไปบริหารจัดการหรือถือสัดส่วนหุ้นหรือเงินลงทุนเกินกึ่งหนึ่ง (๗) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง ข้อ ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ข้อ ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๖ (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ ข้อ ๙ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ ข้อ ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังอยู่ในตำแหน่ง ข้อ ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องนั้น ข้อ ๑๒ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) วางนโยบาย แนวทางการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาในภาคราชการของกรุงเทพมหานครรวมถึงกำหนดประเด็นหัวข้อการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนา (๒) ให้ความเห็นชอบแนวทางการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนา ตาม (๑) ของคณะอนุกรรมการ ตาม (๘) และหน่วยงานกลางที่มีภารกิจด้านการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนา (๓) ส่งเสริม ผลักดัน สอบทาน และเสนอแนะมาตรการ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาภาคราชการของกรุงเทพมหานครตามข้อ ๔ และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (๔) เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับแผนการตรวจราชการกรณีปกติประจำปีของผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครและรายงานผลการตรวจติดตามการดำเนินงานของแต่ละแผนงาน งานและโครงการที่ได้กำหนดไว้ในแผนการตรวจราชการ (๕) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างน้อยปีละสองครั้ง (๖) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ตลอดจนนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรายงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบเป็นระยะ (๗) ประสานงานกับคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ในการประเมินผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (๘) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๙) ปฏิบัติการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะเชิญบุคคลใดหรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ ข้อ ๑๓ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเองอย่างน้อยปีละสองครั้ง แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลตนเองที่ดี แต่ละหน่วยงานอาจจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ ประเมินผลและพัฒนาประจำหน่วยงานของตนเองก็ได้ การแต่งตั้ง อำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และคุณสมบัติของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๕ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ ๕ (๙) ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่ ข้อ ๑๖ ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหาร ให้รองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๑๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
478765
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกแบบสัญญาท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้แบบสัญญาท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [เอกสารแนบท้าย] ๑. สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง ๒. สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สิน ๓. สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ๔. สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินโดยจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินหรือจดทะเบียนภารจำยอม (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๐/๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
472857
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเงิน การส่งและการแบ่งผลกำไรสุทธิของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเงิน การส่งและการแบ่งผลกำไรสุทธิของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงินและการจัดสรรผลกำไรประจำปีของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ และข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเงิน การส่งและการแบ่งผลกำไรสุทธิของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินการตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินการตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ (๓) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินการตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของสำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๐ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการบริหารสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครผู้อำนวยการสำนักงานตลาด และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ระดับฝ่ายขึ้นไป และให้รวมถึง หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับฝ่าย “หน่วยการคลัง” หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงินการถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ให้รวมถึง สถานธนานุบาลและตลาดด้วย “เจ้าของงบประมาณ” หมายความว่า หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่าย ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับหน่วยงานนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือเป็นงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในงบกลาง และให้หมายความรวมถึง หน่วยงานที่ทำการเบิกและจ่ายเงินแทนเจ้าของงบประมาณด้วย “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พนักงานสำนักงานตลาด และพนักงานสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “พนักงานชั่วคราว” หมายความว่า พนักงานรายเดือนที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการชั่วคราวโดยมีกำหนดเวลาการจ้าง แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการจ้างต้องไม่เกินปีงบประมาณ “เงินประจำงวด” หมายความว่า จำนวนเงินประจำงวดที่เจ้าของงบประมาณได้รับอนุมัติให้เบิกจากหน่วยการคลัง “เงินกำไรสะสม” หมายความว่า ยอดรวมของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครในแต่ละปี หลังจากการส่งและการแบ่งผลกำไรสุทธิประจำปี “อนุมัติฎีกา” หมายความว่า อนุญาตให้จ่ายเงินจากหน่วยการคลัง “หลักฐานการจ่าย” หมายความว่า หลักฐานแสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับหรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันถูกต้องแล้ว และให้รวมตลอดถึง ใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลังด้วย “ใบสำคัญคู่จ่าย” หมายความว่า หลักฐานการจ่ายเงินที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองการจ่ายเงินหลักฐานของธนาคารแสดงการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับที่ธนาคาร ทั้งนี้ รวมถึงใบนำส่งเงินต่อหน่วยการคลังด้วย “เงินยืม” หมายความว่า เงินที่หน่วยงานจ่ายให้แก่บุคคลใดยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือปฏิบัติงานอื่นใดในหน้าที่ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย เงินทดรองราชการ หรือเงินอื่นใดของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร “เงินทดรองจ่าย” หมายความว่า เงินที่ให้หน่วยงานมีไว้เพื่อทดรองใช้จ่าย “ปี” หมายความว่า ปีงบประมาณ “งบเงินรายรับรายจ่าย” หมายความว่า งบรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบปีงบประมาณ โดยแสดงรายรับจริงและรายจ่ายจริง ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๖ บรรดาแบบพิมพ์ แบบรายงานการเงิน เอกสาร สมุดบัญชี ทะเบียนต่างๆ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายเงิน และรายงานทางการเงิน ตลอดจนวิธีใช้ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๗ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญหากเกิดการเสียหายขึ้น ผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดตามกฎหมาย หมวด ๒ การเบิกเงิน ข้อ ๘ การเบิกเงิน ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ หรือหน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณขอเบิกจากหน่วยการคลัง โดยตั้งฎีกาเบิกเงินตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ข้อ ๙ ฎีกาเบิกเงินมี ดังนี้ (๑) ฎีกาเบิกเงินรายจ่ายตามงบประมาณ ยกเว้นค่าจ้าง (๒) ฎีกาเบิกค่าจ้าง (๓) ฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ (๔) ฎีกาเบิกเงินอื่น ข้อ ๑๐ การเบิกเงินกับหน่วยการคลังใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เว้นแต่เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราวหมวดค่าสาธารณูปโภค และกรณีการเบิกเงินที่ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๑๑ หน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะมอบหมายให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ทำการเบิกแทนก็ได้โดยให้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้เบิก เพื่อขอทำความตกลงกับหน่วยการคลังก่อนทำการเบิกเงิน ข้อ ๑๒ การขอเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายปีใด ให้วางฎีกาได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของปีนั้นหรือวันทำการสุดท้ายของระยะเวลาของงบประมาณรายจ่ายข้ามปี ในกรณีที่ได้มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้วางฎีกาได้จนถึงวันทำการสุดท้ายของระยะเวลาการเบิกเงินที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ ๑๓ ฎีกาขอเบิกเงินจะต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยาก จำนวนเงินที่ขอเบิกทั้งตัวเลขและตัวอักษรจะต้องพิมพ์หรือเขียนให้ชัดเจนห้ามขูดลบ หากผิดพลาด ก็ให้แก้ไขโดยวิธีขีดฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้นด้วย การพิมพ์หรือเขียนจำนวนเงินในฎีกาขอเบิกเงินที่เป็นตัวอักษร ให้พิมพ์ หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิด คำว่า “ตัวอักษร” หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงิน อย่าให้มีช่องว่างที่จะพิมพ์หรือเขียนจำนวนเพิ่มเติมให้สูงขึ้นได้ ข้อ ๑๔ การตั้งฎีกาการเบิกเงินให้ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่าย โดยต้องได้รับการทวงหนี้หรือใกล้ถึงกำหนดจ่ายเงิน จึงตั้งฎีกาเบิกเงินได้ ห้ามมิให้หน่วยงานใดเบิกเงินไปเพื่อเตรียมจ่ายล่วงหน้าและรักษาเงินไว้เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๕ การเบิกเงินโดยวิธีผัดส่งใบสำคัญคู่จ่าย กระทำได้ภายในกำหนดเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันรับเงิน ถ้าการผัดส่งใบสำคัญคู่จ่ายเกินกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยการคลังเตือนและให้นำส่งอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันรับเงิน เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันแล้ว หน่วยงานที่ขอผัดมิได้นำใบสำคัญคู่จ่ายส่งใช้อีก ให้หน่วยการคลังงดจ่ายเงินทุกประเภทให้แก่หน่วยงานนั้น จนกว่าหน่วยงานนั้นจะได้นำใบสำคัญคู่จ่ายส่งใช้ที่ผัดส่งไว้ก่อน จึงจะทำการเบิกจ่ายให้ต่อไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานครเป็นการเฉพาะราย ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานที่เบิกเงินส่งเอกสารแก่หน่วยการคลัง เพื่อทำการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ (๑) ใบสำคัญคู่จ่ายประกอบเป็นงบตามรายการในฎีกา พร้อมทั้งการขอผัดส่ง (๒) ใบสำคัญคู่จ่ายที่ขอผัดส่งตามข้อ ๑๕ เมื่อได้รับใบสำคัญคู่จ่ายมาแล้ว ให้นำส่งหน่วยการคลังพร้อมด้วยเงินเหลือจ่าย และต้องมีรายการแสดงว่าได้ผัดส่งไว้ตามฎีกาที่เท่าใด ลงวันที่เท่าใด และใบสำคัญที่เท่าใดไว้ด้วยให้ชัดเจน ข้อ ๑๗ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณ ให้นำความในข้อ ๔๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นใบสำคัญคู่จ่ายค้างเบิกไม่เกินสามปี (๒) การก่อหนี้ผูกพันต้องไม่เกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติในปีนั้น (๓) การนับวัน เดือน ปี ในใบสำคัญค้างเบิกนั้นให้ถือ วัน เดือน ปี ที่ส่งมอบวัตถุแห่งหนี้เป็นสำคัญ (๔) ให้ทำการเบิกจ่ายได้เฉพาะหมวดค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และหมวดค่าสาธารณูปโภค ข้อ ๑๘ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใด โดยปกติให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีนั้น แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีเดียวกันได้ทัน ก็ให้เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดนั้นๆ ของปีต่อไป ตามข้อ ๑๗ หรือให้เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นของปีถัดไปอีกปีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นเพื่อใช้จ่ายตามรายการที่ค้างเบิกให้ดำเนินการโอนเงินงบประมาณรายจ่ายในหมวดใดหมวดหนึ่งไปตั้งจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นตามรายการและจำนวนเงินที่ค้างเบิกนั้น แล้วให้ทำการเบิกจ่ายจากหมวดรายจ่ายอื่นได้แต่การใช้จ่ายนั้นจะต้องไม่เป็นการใช้จ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุญาตในปีที่ล่วงมาแล้ว ข้อ ๑๙ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปี ตามข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ ให้แยกฎีกาเบิกเงินต่างหากจากการเบิกเงินตามปกติ โดยให้เขียนหรือประทับตราหัวฎีกาด้วยตัวแดงให้ชัดเจนว่า “ค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปี” ข้อ ๒๐ การเบิกเงินที่ได้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หรือขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเบิกเงินงบประมาณรายจ่าย และให้เขียนหรือประทับตราหัวฎีกา ด้วยตัวแดงให้ชัดเจนว่า “เบิกเหลื่อมปีครบกำหนดจ่าย........................” หรือ “ขยายเวลาเบิกเหลื่อมปีครบกำหนดจ่าย………………..” พร้อมทั้งกรอกเลขที่ใบขอกันเงินไว้ด้วย ข้อ ๒๑ การเบิกเงินซึ่งมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายประจำ และมีการเรียกเก็บเงินเป็นคราวๆ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามประเภทที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ให้ถือว่าค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของงบประมาณได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ และให้นำมาเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ได้ การเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตรเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หรือเงินสวัสดิการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ให้นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่หน่วยงานได้รับการแจ้งให้ชำระหนี้ในเดือนกันยายน ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายในปีที่ได้รับการแจ้งให้ชำระหนี้ หรือเบิกจ่ายในเดือนตุลาคมของปีถัดไป ข้อ ๒๒ การซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระเงินให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณดำเนินการตั้งฎีกาเบิกเงินโดยเร็ว อย่างช้าต้องไม่เกินเจ็ดวันทำการนับจากวันที่ได้รับแจ้งให้ชำระหนี้ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลอันสมควร ให้หัวหน้าหน่วยงานผู้เบิกชี้แจงประกอบไว้เป็นหลักฐานประกอบฎีกาขอเบิกเงิน ข้อ ๒๓ ในการเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ ให้แสดงรายการพัสดุและจำนวนเงินเป็นรายประเภทในฎีกาขอเบิกเงิน และให้ผู้เบิกรับรองด้านหลังฎีกาว่า การเบิกเงินตามฎีกาได้ปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครถูกต้องแล้วและมีหนี้สินผูกพันที่ถึงกำหนดหรือใกล้จะถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายเงิน โดยให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๒๔ การเบิกเงินในหมวดค่าตอบแทนใช้สอย และวัสดุในลักษณะค่าตอบแทน ให้มีหลักฐานแสดงว่าเงินจำนวนที่ขอเบิกนี้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ ข้อ ๒๕ การเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลางตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นค่าใช้จ่ายหมวดใด ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดไว้สำหรับค่าใช้จ่ายนั้น ข้อ ๒๖ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หากเป็นระยะเวลาติดต่อคาบเกี่ยวไปถึงปีงบประมาณใหม่ จะเบิกเงินล่วงหน้าจากปีงบประมาณปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับระยะเวลาในปีงบประมาณใหม่ได้ แต่กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ต้องไม่เกินสามเดือนของปีงบประมาณใหม่ ในกรณีเช่นนี้ ถึงแม้จะเป็นการจ่ายเงินในปีงบประมาณใหม่ ให้ถือเป็นใบสำคัญคู่จ่ายของเงินที่เบิกจากปีงบประมาณเก่าได้ หมวด ๓ การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ ๒๗ หน่วยงานใดก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยสั่งซื้อ สั่งจ้างหรือการเช่าทรัพย์สินครั้งหนึ่ง รายหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป ถ้าเห็นว่าจะเบิกเงินไปชำระหนี้ผูกพันนั้นไม่ทันสิ้นปีให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้อีกหกเดือนปฏิทิน นับจากวันสิ้นปี ในกรณีที่ไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นจะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้หน่วยงานขออนุมัติเบิกเงินเหลื่อมปีจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้และให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม การเบิกจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินปีงบประมาณถัดไปเว้นแต่มีความจำเป็นต้องขอเบิกจ่ายภายหลังเวลาดังกล่าว ให้เสนอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๒๘ ในกรณีที่หน่วยการคลังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินชำระหนี้ได้ทันในวันสิ้นปีงบประมาณแต่ยังมีฎีกาเบิกจ่ายค้างอยู่ ให้หน่วยการคลังกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ต่อไปอีกไม่เกินหนึ่งเดือนของปีงบประมาณถัดไป ข้อ ๒๙ การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามข้อ ๒๗ เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร โดยให้หน่วยงานดำเนินการก่อนวันครบกำหนดอย่างน้อยสิบห้าวัน ข้อ ๓๐ การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ตามข้อ ๒๗ ให้หน่วยงานผู้เบิกยื่นใบขอกันเงินตามแบบและวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนดต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนสิ้นปีอย่างน้อยสิบห้าวันเว้นแต่จะมีเหตุผลสมควร ผู้อำนวยการจะอนุญาตให้ขยายเวลายื่นขอกันเงินได้เป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินวันทำการสุดท้ายของปีนั้น ในการยื่นใบขอกันเงินให้แนบสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง สัญญาเช่า หรือเอกสารอื่นที่แสดงสภาพหนี้หรือหลักฐานการอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี หลักฐานดังกล่าวจะใช้ภาพถ่ายหรือสำเนาซึ่งผู้เบิกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงลายมือชื่อรับรองก็ได้ ในกรณีที่ยังมิได้ก่อหนี้ผูกพันและไม่มีหลักฐานการอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปี เมื่อหน่วยงานได้ยื่นใบขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว หากปรากฏว่าก่อหนี้ได้ทันสิ้นปีหรือได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปีแล้วให้หน่วยงานนำหลักฐานการก่อหนี้ผูกพันหรือหลักฐานการอนุมัติไปประกอบใบขอกันเงินที่ได้ยื่นไว้แต่ถ้ารายการขอกันเงินดังกล่าวข้างต้น ไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทันสิ้นปีและไม่ได้รับอนุมัติให้เบิกเหลื่อมปี ให้หน่วยงานแจ้งหน่วยการคลังขอตัดรายการภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นปี หมวด ๔ การตรวจและอนุมัติฎีกา ข้อ ๓๑ การตรวจและอนุมัติฎีกา รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาเป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยการคลัง การอนุมัติฎีกาเป็นอำนาจของผู้อำนวยการในกรณีที่มีการจ่ายเงินไม่ถูกต้องและไม่สามารถเรียกเงินคืนจากผู้รับเงินได้เต็มจำนวน หรือหากมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุดแล้วไม่ได้เงินคืนเต็มจำนวนที่เบิกไป ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการในเรื่องนั้นร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินจนครบเว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้ทักท้วงเป็นหนังสือก่อนแล้ว ให้พ้นความรับผิด ข้อ ๓๒ การตรวจฎีกาการเบิกเงินงบประมาณ ให้ตรวจสอบในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ แล้วจึงเสนอขออนุมัติฎีกา (๑) มีลายมือชื่อพร้อมวงเล็บชื่อของผู้เบิกครบถ้วน ถูกต้อง (๒) มีหนี้สินผูกพันหรือมีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินและถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายเงิน และการก่อหนี้ได้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของผู้มีอำนาจหรือมีคำรับรองของผู้เบิกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๓ แล้วแต่กรณี (๓) มีเงินประจำงวดเพียงพอ ยกเว้นหมวดค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าสาธารณูปโภคมีรายการถูกต้องตรงกับงบประมาณ และมีคำสั่งของผู้มีอำนาจอนุมัติโดยชอบแล้ว (๔) มีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง การตรวจและขออนุมัติฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ ให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม ข้อ ๓๓ การพิจารณาอนุมัติฎีกาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๓๒ แล้ว ในกรณีผู้อนุมัติฎีกามีเหตุผลสมควรจะอนุมัติฎีกาเป็นจำนวนเงินต่ำกว่าที่ขอเบิกก็ได้ ข้อ ๓๔ ฎีกาเบิกเงินหรือเอกสารประกอบฎีการายใดไม่ถูกต้องในสาระสำคัญ ให้ผู้ตรวจฎีกาทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้เบิกได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในสามวันทำการ นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการทักท้วงนั้น หากไม่สามารถแก้ไขให้ทันตามกำหนดดังกล่าวได้และเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรผู้อำนวยการอาจพิจารณาให้ขยายเวลาการแก้ไขฎีกาดังกล่าวตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณีที่ฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและมิใช่เป็นสาระสำคัญ หรือมิใช่เป็นจำนวนเงินที่ขอเบิกผู้ตรวจฎีกาหรือผู้อนุมัติฎีกาอาจแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งผู้เบิกทราบหรือแจ้งให้ผู้เบิกเป็นผู้แก้ไขก็ได้ ข้อ ๓๕ การตรวจฎีกาและการอนุมัติฎีกาเป็นค่าซื้อพัสดุหรือค่าจ้างทำของ ให้ดำเนินการตรวจฎีกาให้เสร็จภายในแปดวันทำการ นับแต่วันถัดจากวันรับฎีกา และให้อนุมัติฎีกาภายในสองวันทำการนับแต่วันถัดจากวันตรวจฎีกาเสร็จ ในกรณีที่ฎีกามีเหตุทักท้วงให้ดำเนินการตรวจฎีกาให้เสร็จภายในสามวันทำการ นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับคืนฎีกาที่แก้ไขถูกต้องแล้ว และให้อนุมัติฎีกาภายในสองวันทำการนับแต่วันถัดจากวันตรวจฎีกาที่แก้ไขเสร็จ ข้อ ๓๖ ในกรณีฎีกาเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ ถ้าผู้ตรวจฎีการายงานว่าการเบิกเงินนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง แต่ผู้อนุมัติฎีกาเห็นว่าเจ้าของงบประมาณมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ และมีเงินประจำงวดเหลือพอที่จะเบิกจ่ายได้และมีรายการถูกต้อง ให้รายงานข้อบกพร่องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการก่อนอนุมัติฎีกา แล้วแจ้งให้เจ้าของงบประมาณทราบเพื่อดำเนินการต่อไป หมวด ๕ การจ่ายเงิน ข้อ ๓๗ เจ้าของงบประมาณจะก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงินได้แต่เฉพาะที่มีกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ มติที่ประชุมคณะกรรมการ คำสั่ง อนุญาตให้จ่ายได้ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจส่งเจ้าหน้าที่และหรือมอบพัสดุที่ใช้ในการปฏิบัติราชการมาให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจการใดตามที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครขอความร่วมมือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่พึงเกิดจากการนั้นเจ้าของงบประมาณอาจถือปฏิบัติตามระเบียบของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้นก็ได้ การได้รับเงินจากหน่วยการคลังไปแล้วไม่ปลดเปลื้องความรับผิดชอบของเจ้าของงบประมาณที่จะต้องดูแลให้มีการจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเป็นไปตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ใบสำคัญคู่จ่ายเงินสูญหาย ให้ปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ถ้าใบสำคัญคู่จ่ายเป็นใบเสร็จรับเงินสูญหายให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งผู้รับเงินรับรองแทนได้ (๒) ถ้าใบสำคัญคู่จ่ายเป็นใบสำคัญรับเงินสูญหาย และไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินตาม (๑) ได้ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงเหตุผลพฤติการณ์ที่ใบสำคัญคู่จ่ายสูญหาย และไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นได้ พร้อมทั้งคำรับรองว่ายังไม่เคยนำใบสำคัญคู่จ่ายมาเบิกจ่าย และถ้าหากค้นพบภายหลัง ก็จะไม่นำมาเบิกจ่ายอีก เสนอต่อผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วก็ให้ใช้ใบรับรองนั้นเป็นใบสำคัญคู่จ่ายได้ กรณีการใช้หลักฐานอื่นประกอบการเบิกจ่าย นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคหนึ่งให้เสนอขออนุมัติประธานคณะกรรมการเป็นรายๆ ไป ข้อ ๓๙ เงินที่ขอเบิกจากหน่วยการคลังเพื่อการใด เมื่อได้รับมาแล้ว ให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้น จะนำไปจ่ายเพื่อการอื่นมิได้ ข้อ ๔๐ การก่อให้เกิดหนี้และการจ่ายเงินให้กระทำได้ภายในวงเงินงบประมาณประจำปีและภายในระยะเวลาของปีงบประมาณนั้น เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และต้องได้รับเงินประจำงวดตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ การสั่งก่อหนี้และการอนุมัติจ่ายเงินทุกกรณี ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ในเรื่องการสั่งซื้อ หรือสั่งจ้างนอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษ เว้นแต่มีกฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๔๑ เมื่อผู้มีอำนาจได้อนุมัติฎีกาแล้ว ให้หน่วยการคลังจ่ายเงินให้กับคณะกรรมการรับส่งเงินตามข้อ ๘๑ หรือเจ้าหนี้โดยตรง แล้วแต่กรณี ในเวลาที่มาขอรับเงินโดยเร็ว และเพื่อความเรียบร้อยในการปิดบัญชีประจำปี ให้หัวหน้าหน่วยการคลังจัดให้เจ้าหนี้มารับชำระเงินก่อนวันสิ้นปี และให้ปฏิบัติดังนี้ (๑) การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่า คำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก และขีดคร่อมทั่วไป โดยระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือว่า “A/C Payee Only” ด้วย (๒) การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนต่ำกว่า ๕,๐๐๐ บาท จะจ่ายเป็นเงินสดหรือออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่า คำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก (๓) ในกรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินสดมาจ่าย ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับส่งเงินของหน่วยงาน และขีดฆ่า คำว่า “หรือตามคำสั่ง” หรือ “หรือผู้ถือ” ออก ห้ามมิให้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด (๔) การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวอักษร ให้เขียนหรือพิมพ์ให้ชิด คำว่า “บาท”หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงิน อย่าให้มีช่องว่างที่จะเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินเพิ่มเติมได้ (๕) การจ่ายเงินจากบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใด ซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้ หัวหน้าหน่วยการคลังอาจพิจารณาให้จ่ายเป็นเงินสดก็ได้ โดยสั่งจ่ายในนามคณะกรรมการรับ - ส่งเงิน เว้นแต่การจ่ายเงินที่มิใช่เงินสวัสดิการ และวงเงินเกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค (๖) กรณีที่หน่วยการคลังจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค ให้หน่วยการคลังเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการใช้แคชเชียร์เช็คได้ ข้อ ๔๒ การจ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ และในกรณีที่เป็นใบสำคัญคู่จ่าย ให้หัวหน้าหน่วยการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองความถูกต้อง พร้อมทั้งประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” และลงวัน เดือน ปี กำกับไว้ด้วย ข้อ ๔๓ หลักฐานการจ่ายต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยาก และให้หน่วยการคลังเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่าสิบปี นับจากวันสิ้นปีนั้น ห้ามมิให้แก้ไขหลักฐานการจ่าย เว้นแต่กรณีจำเป็น ให้ใช้วิธีขีดฆ่าและพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยาก กรณีหลักฐานการจ่ายเป็นใบสำคัญคู่จ่าย ให้ผู้รับเงินหรือผู้ออกใบสำคัญลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยทุกแห่ง หากหลักฐานการจ่ายเป็นสมุดหรือทะเบียน ให้ผู้รับเงินและผู้จ่ายเงินลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยทุกแห่ง ข้อ ๔๔ ใบสำคัญคู่จ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน ต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อและสถานที่อยู่หรือที่ทำการของผู้รับเงิน (๒) วัน เดือน ปีที่รับเงิน (๓) ชื่อและลายมือชื่อผู้รับเงิน (๔) รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร (๕) จำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรซึ่งตรงกัน ถ้าผู้รับเงินลงลายมือชื่อไม่ได้ให้ใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ ห้ามมิให้ใช้แกงไดหรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นแทนการลงลายมือชื่อ ใบเสร็จรับเงินเป็นภาษาต่างประเทศให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยให้ได้ความตามรายการในวรรคหนึ่ง ในกรณีใบเสร็จรับเงินที่ไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ได้ ให้มีคำชี้แจงประกอบไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๔๕ ในการจ่ายเงินต้องปฏิบัติ ดังนี้ (๑) เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินทุกราย เช่น ต้องเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินเว้นแต่จะได้ลงชื่อรับเงินในทะเบียนจ่ายค่าจ้างหรือเงินอื่นไว้อีกทางหนึ่งแล้ว (๒) การจ่ายเงินดังต่อไปนี้ ผู้จ่ายอาจทำใบรับรองการจ่ายเงินได้ ก. การจ่ายเงินรายหนึ่งๆ เป็นจำนวนไม่เกิน ๑๐๐ บาท ข. การจ่ายเงินเป็นค่ารถหรือเรือนั่งรับจ้าง ค. การจ่ายเงินเป็นค่าโดยสารรถ หรือเรือประจำทาง ง. การจ่ายเงินค่าไปรษณียากร ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยแสดงจำนวนและเลขที่ของหนังสือหรือไปรษณียภัณฑ์ที่ส่ง และจำนวนเงินค่าไปรษณียากรที่จ่าย (๓) การจ่ายเงินรายใด ซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ชำระเงินได้และมีจำนวนเงินไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ให้ผู้จ่ายเงินทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยให้บันทึกชี้แจงเหตุที่ไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินได้นำเสนอผู้อำนวยการเพื่ออนุมัติ หากจำนวนเงินเกิน ๒,๐๐๐ บาท ให้นำเสนอประธานคณะกรรมการ (๔) การจ่ายเงินเป็นค่าแรงงานจ้างเหมา ไม่ว่าจะเบิกจ่ายจากงบประมาณหมวดใดหรือเงินอื่นใดของสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ต้องมีรายงานรับรองของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบว่าผู้รับจ้างได้กระทำการไปแล้วเพียงใด ประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้ง สำหรับการจ่ายเงินเป็นค่าก่อสร้างปรับปรุงต่างๆ ไม่ว่าจะเบิกจ่ายจากงบประมาณหมวดใดหรือเงินอื่นใดของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ต้องมีรายงานรับรองผลงานของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมงานว่าผู้รับจ้างได้กระทำการนั้นๆ ไปแล้วเพียงใด ประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้ง (๕) ห้ามมิให้เรียกใบสำคัญคู่จ่ายจากเจ้าหนี้ หรือผู้รับเงินก่อนการจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้รับเงิน ข้อ ๔๖ การเบิกจ่ายเงินในหมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ ประเภทค่าใช้สอย ให้ทำการเบิกจ่ายได้ตามงบประมาณที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่การเบิกจ่ายเป็นค่าบำรุงรักษา ซ่อมแซมถนนสะพานหรือพัสดุ แม้จะได้มีงบประมาณที่ได้รับอนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แต่มิได้จำแนกรายละเอียดไว้ หากวงเงินเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ต้องทำประมาณการรายละเอียดเพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งจ้างตามระเบียบพิจารณาอนุมัติเสียก่อน ข้อ ๔๗ ประมาณการรายละเอียดที่ต้องจัดทำประกอบในการก่อหนี้ตามความในข้อ ๔๖ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือวิศวกรของกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนาม โดยให้มีรายการอย่างน้อย ดังนี้ (๑) ประเภทงานที่จัดทำจะต้องแสดงจำนวนและประเภทวัสดุที่ใช้ในการดำเนินการ รวมทั้งค่าแรงงาน (๒) จำนวนเงินงบประมาณที่อนุมัติ (๓) จำนวนเงินที่ประมาณว่าจะต้องจ่าย (๔) รายการอื่นๆ ที่ควรชี้แจงประกอบการพิจารณา ข้อ ๔๘ การเบิกจ่ายเงินในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หรือรายจ่ายอื่นใดที่ถือจ่ายในลักษณะเดียวกันจะจ่ายได้เมื่อถึงกำหนดจ่าย ถ้ามีสัญญาระบุการปฏิบัติไว้ ต้องมีใบรับรองแสดงว่าผู้ขอรับเงินได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้วด้วย ข้อ ๔๙ การจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินทุกรายการ ต้องมีการบันทึกรายการจ่ายเงินนั้นไว้ในบัญชีเงินสด หรือบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือทะเบียนอื่นใด แล้วแต่กรณี ในวันที่จ่ายเงินนั้น ข้อ ๕๐ การจ่ายเงินทุกกรณี ถ้าผู้จ่ายมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องหักภาษีใดๆ ไว้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งส่วนราชการใด ให้ดำเนินการตามกฎหมายนั้น หมวด ๖ การยืมเงินกำไรสะสม การจ่ายเงินทดรองจ่าย และการจ่ายเงินยืม ข้อ ๕๑ การยืมเงินกำไรสะสม เมื่อรวมกันทุกครั้งแล้วต้องไม่เกินวงเงินร้อยละห้าสิบของกำไรสะสมที่มีอยู่ในวันสิ้นปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้ว การยืมเงินกำไรสะสมจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน และเหตุนั้นต้องอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งหากจัดทำไม่ทัน จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียประโยชน์อันจะพึงได้แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) เพื่อประโยชน์ในการขยายกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๓) เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการหรือโครงการเฉพาะที่จำเป็น และที่เกิดผลตอบแทนแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕๒ ให้ประธานคณะกรรมการ โดยได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินยืมกำไรสะสมได้ครั้งหนึ่งไม่เกินห้าล้านบาท ข้อ ๕๓ การยืมเงินกำไรสะสมที่ไม่เป็นไปตามข้อ ๕๑ หรือเกินอำนาจตามข้อ ๕๒ ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ข้อ ๕๔ เมื่อมีการอนุมัติให้ยืมเงินกำไรสะสม ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครตั้งงบประมาณชดใช้ให้ครบถ้วนในคราวตั้งงบประมาณครั้งต่อไป ข้อ ๕๕ การจ่ายขาดเงินกำไรสะสมเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และให้กระทำได้ในกรณีที่เป็นกิจการที่มีความจำเป็นจะต้องจัดทำโดยรีบด่วนและไม่อาจรอตั้งงบประมาณในปีต่อไปได้ หรือเป็นกิจการซึ่งบำบัดความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นำไปตราเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ข้อ ๕๖ กิจการใดที่มีงบประมาณประจำปีอนุญาตให้จ่ายได้แล้ว แต่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดเก็บรายได้เพียงพอที่จะดำเนินการตามงบประมาณ ให้นำเงินกำไรสะสมทดรองจ่ายไปพลางก่อนได้ การนำเงินกำไรสะสมทดรองจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ชดใช้เงินกำไรสะสมคืนในงบประมาณนั้น หากในปีงบประมาณนั้นไม่สามารถชดใช้คืนเงินกำไรสะสมได้ให้นำเงินกำไรสะสมของปีงบประมาณถัดไปมาชดใช้คืน โดยต้องรายงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบด้วย ข้อ ๕๗ ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณมีเงินทดรองจ่ายสำหรับทดรองใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายได้หน่วยละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท โดยให้ผู้อำนวยการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายจากเงินกำไรสะสมหรือเงินทุนหมุนเวียน ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครในหมวดรายจ่ายต่อไปนี้ (๑) หมวดค่าจ้างชั่วคราว สำหรับค่าจ้างซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายเป็นงวดแน่นอนเป็นประจำ แต่จำเป็นต้องจ่ายให้ลูกจ้างแต่ละวัน หรือแต่ละคราวเมื่อเสร็จงานที่จ้าง (๒) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ (๓) หมวดค่าสาธารณูปโภค (๔) งบกลาง เฉพาะที่จ่ายเป็นเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ข้อ ๕๘ การยืมเงินเพื่อนำมาเป็นเงินทดรองจ่าย ให้หน่วยงานจัดทำใบยืมไว้เป็นหลักฐานตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด เมื่อได้รับอนุมัติให้ยืมเงินทดรองจ่ายแล้ว ให้หน่วยการคลังของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครดำเนินการเบิกจ่ายจากเงินกำไรสะสมหรือเงินทุนหมุนเวียนของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้แก่หน่วยงานนั้น และให้ส่งใช้คืนภายในปีงบประมาณที่ยืม ข้อ ๕๙ เงินทดรองจ่ายที่ได้รับอนุมัติต้องเบิกจ่ายลงบัญชีรับจ่ายและเก็บรักษาเงิน พร้อมทั้งให้มีใบสำคัญคู่จ่ายไว้เป็นหลักฐานเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ และเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทดรองจ่ายตามระเบียบนี้ ข้อ ๖๐ ในกรณีที่หมดความจำเป็นต้องใช้เงินทดรองจ่าย ให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณนำเงินทดรองจ่ายส่งคืนหน่วยการคลังของสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครภายในสิบห้าวัน ข้อ ๖๑ การจ่ายเงินยืมใช้ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จะกระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยืมได้ทำสัญญาการยืมเงินและรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และจะนำใบสำคัญคู่จ่ายที่ถูกต้อง รวมทั้งเงินเหลือจ่ายส่งใช้คืนตามที่กำหนดในข้อ ๖๙ ถ้าไม่ส่งตามกำหนด ให้ชดใช้เงินหรือยินยอมให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหักค่าจ้างบำเหน็จหรือเงินอื่นใดอันจะพึงได้รับจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครชดใช้เงินยืมนั้น และผู้มีอำนาจได้อนุมัติให้จ่ายเงินยืมตามสัญญาการยืมเงินนั้นแล้ว เท่านั้น ข้อ ๖๒ การจ่ายเงินยืมใช้ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครในกรณีที่ผู้ยืมไม่มีเงินใดๆ อันจะพึงได้รับจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่จะหักส่งใช้คืนเงินยืมได้ จะกระทำได้โดยได้รับอนุมัติจากประธานคณะกรรมการและให้เจ้าของเงินยืมกำหนดให้ผู้ยืมหาหลักทรัพย์มาวางเป็นประกัน หรือหาบุคคลที่มีหลักฐานมาทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อเจ้าของเงินยืม ข้อ ๖๓ สัญญาการยืมเงิน สัญญาวางหลักทรัพย์ และสัญญาค้ำประกัน ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๖๔ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินยืมตามข้อ ๖๑ (๑) ผู้อำนวยการ ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานคณะกรรมการ ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๖๕ สัญญาการยืมเงิน ให้ผู้ยืมยื่นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติตามข้อ ๖๔ ผ่านหัวหน้าหน่วยการคลังสองฉบับ โดยแสดงประมาณการค่าใช้จ่ายและกำหนดเวลาใช้คืน ทั้งนี้ จะต้องมีงบประมาณเพื่อการนั้นอยู่แล้ว และให้หัวหน้าหน่วยการคลังพิจารณาเสนอความเห็นตามลำดับชั้นต่อผู้มีอำนาจดังกล่าวอนุมัติ ข้อ ๖๖ การอนุมัติให้ยืมเงินใช้ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้ยืมเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อใช้ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร และห้ามมิให้อนุมัติให้ยืมเงินรายใหม่ในเมื่อผู้ยืมมิได้ชำระเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นไปก่อน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖๗ การจ่ายเงินยืมเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครในราชอาณาจักรให้จ่ายได้สำหรับระยะเวลาไม่เกินหกสิบวัน หากจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่ากำหนดดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖๘ เมื่อผู้ยืมได้รับเงินยืมตามสัญญาการยืมเงินแล้ว ให้ลงลายมือชื่อรับเงินในสัญญายืมเงินทั้งสองฉบับ มอบให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ให้ผู้ยืมเก็บไว้หนึ่งฉบับและให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมส่งสำเนาให้หน่วยการคลังเพื่อลงทะเบียนด้วยหนึ่งฉบับ เมื่อผู้ยืมส่งใช้เงินยืม ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคืนเงินยืมบันทึกการรับคืนในสัญญาการยืมเงิน พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงิน และหรือใบรับใบสำคัญ ให้ผู้ยืมไว้เป็นหลักฐาน ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมเก็บรักษาสัญญาการยืมเงินที่ยังมิได้ชำระคืนเงินยืมให้เสร็จสิ้นไว้ในที่ปลอดภัยอย่าให้สูญหาย และเมื่อผู้ยืมได้ชำระคืนเงินยืมเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้เก็บเช่นเดียวกับหลักฐานการจ่าย ทั้งนี้ โดยให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมจัดทำทะเบียนเงินยืมไว้ด้วย ข้อ ๖๙ เงินที่ยืมไป ให้ผู้ยืมส่งใบสำคัญคู่จ่ายและเงินเหลือจ่ายภายในกำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) กรณียืมไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ให้ส่งต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสิบห้าวันนับจากวันกลับมาถึง (๒) การยืมเงินเพื่อปฏิบัติงานนอกจาก (๑) ให้ส่งต่อหน่วยงานเจ้าของเงินยืมภายในสามสิบวันนับจากวันได้รับเงิน ในกรณีที่ผู้ยืมได้ส่งใบสำคัญคู่จ่ายล้างเงินยืมแล้วมีเหตุต้องทักท้วง ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมแจ้งข้อทักท้วงให้ผู้ยืมทราบโดยด่วน แล้วให้ผู้ยืมปฏิบัติตามคำทักท้วงภายในสิบห้าวัน นับจากวันที่ได้รับคำทักท้วง หากผู้ยืมมิได้ดำเนินการตามทักท้วงและไม่ได้ชี้แจงเหตุผลให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมทราบก็ให้หน่วยงานดำเนินการตามข้อเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงิน โดยถือว่าผู้ยืมยังมิได้ส่งใช้เงินยืมเท่าจำนวนที่ทักท้วงนั้น ข้อ ๗๐ ในกรณีที่ผู้ยืมมิได้ชำระคืนเงินยืมภายในกำหนดตามข้อ ๖๙ ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเรียกชดใช้เงินยืมตามเงื่อนไขในสัญญาการยืมเงินให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันครบกำหนด หากผู้ยืมมิได้ส่งใช้เงินยืมตามกำหนดในวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานเจ้าของเงินยืมรายงานให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบเพื่อพิจารณาสั่งการให้เป็นไปตามสัญญาการยืมเงินต่อไป หากจำเป็น ก็ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ยืมนั้นโดยด่วนภายในกำหนดอายุความ ถ้าปรากฏว่าผู้อนุมัติให้ยืมได้อนุมัติให้ยืมเงินไปโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบ ผู้อนุมัติให้ยืมและผู้ยืมต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจนครบถ้วน ถ้าไม่ยอมชดใช้คืนให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๗๑ ในกรณีที่ผู้ยืมจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ให้หัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยการคลังของผู้ยืมตรวจสอบทะเบียนเงินยืมของบุคคลผู้จะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และเร่งรัดเงินยืมค้างชำระให้เสร็จสิ้นในทันทีก่อนที่ผู้ยืมจะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไป ในกรณีที่ผู้ยืมถึงแก่กรรม ให้หักจากค่าจ้างครั้งสุดท้ายหรือเงินบำเหน็จหรือเงินอื่นใดที่ผู้นั้นมีสิทธิได้รับจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเพื่อชดใช้เงินยืมถ้ายังไม่พอให้ดำเนินการขอรับชดใช้จากกองมรดกหรือทายาทของผู้ยืม หากไม่ได้รับชดใช้ให้ดำเนินคดีเรียกเงินคืนภายในกำหนดอายุความ ถ้าปรากฏว่าหัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยการคลังของผู้ยืมมิได้ดำเนินการเร่งรัด ให้ผู้ยืมส่งใช้เงินดังกล่าวข้างต้น หัวหน้าหน่วยงานและหัวหน้าหน่วยการคลังของผู้ยืมต้องชดใช้เงินยืมแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแทนผู้ยืมจนครบ หมวด ๗ การเบิกและจ่ายค่าจ้าง ข้อ ๗๒ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้าง ให้เบิกได้ตามอัตราในบัญชีถือจ่ายค่าจ้างที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจัดทำขึ้น ตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๗๓ การเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าจ้างประจำเดือนใด โดยปกติให้วางฎีกาภายในวันที่สิบห้าของเดือนนั้น และให้เบิกจ่ายได้เดือนละครั้ง และจ่ายในวันสิ้นเดือน ถ้าวันสิ้นเดือนเป็นวันปิดสำนักงานก็ให้จ่ายได้ในวันเปิดสำนักงานก่อนสิ้นเดือน เว้นแต่กรณีที่เป็นค่าจ้างค้างเบิก จะเบิกจ่ายเมื่อใดก็ได้ส่วนการเบิกค่าจ้างที่จ่ายเป็นรายวันหรือรายชั่วโมง ให้ส่งฎีกาตามที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด กรณีมีเหตุจำเป็นไม่สามารถจ่ายค่าจ้างตามกำหนดในวรรคหนึ่ง ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดวันเปลี่ยนแปลงการจ่ายค่าจ้าง ข้อ ๗๔ การเบิกค่าจ้างในกรณีบรรจุใหม่ กลับเข้าทำงานใหม่ เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนค่าจ้างพักงาน ย้าย ถูกลงโทษ พ้นจากงาน เลิกจ้าง หรือขอรับค่าจ้างทางหน่วยงานอื่นใดในสังกัดเดียวกันหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทุกกรณี ให้มีสำเนาคำสั่งหรือเอกสารหลักฐานในกรณีนั้นๆ แนบฎีกาในการเบิกด้วย ข้อ ๗๕ ในกรณีพนักงานและพนักงานชั่วคราวได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องเบิกค่าจ้างย้อนหลังให้ใช้วิธีเบิกเพิ่ม ในกรณีที่ได้รับค่าจ้างเพิ่มโดยเปลี่ยนอัตราค่าจ้าง ให้ใช้วิธีเบิกหักผลักส่งฎีกา ข้อ ๗๖ การเบิกค่าจ้างพนักงานและพนักงานชั่วคราว ในกรณีย้ายให้หมายเหตุในฎีกาว่าได้ย้ายจากตำแหน่งใด และได้รับค่าจ้างเดิมในขั้นใด ถึงเดือนใด หมวด ๘ การรับเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ข้อ ๗๗ การรับเงินทุกประเภทต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้นำเงินมาชำระทุกราย และต้องมีต้นขั้วหรือคู่ฉบับใบเสร็จรับเงินนั้นเก็บรักษาไว้ด้วย ในกรณีที่มีการจำหน่ายตั๋วฉีกแทนใบเสร็จรับเงินนั้น แล้วไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินอีก แต่ให้มีทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วไว้เป็นหลักฐานการรับเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกรายการรับเงินไว้ในบัญชีเงินสดหรือทะเบียนอื่นใด แล้วแต่กรณีในวันที่ได้รับเงิน โดยให้มีหลักฐานประกอบให้ครบถ้วนทุกราย ข้อ ๗๘ จำนวนเงินที่เก็บรักษาไว้ ณ หน่วยการคลังต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท เว้นแต่กรณีพิเศษ ให้ขออนุมัติประธานคณะกรรมการเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น สำหรับสถานธนานุบาลต้องไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท เว้นแต่คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครจะพิจารณาเห็นสมควรกำหนดวงเงินเป็นอย่างอื่นก็ได้ และหากเงินทุนหมุนเวียนของสถานธนานุบาลมีไม่พอสำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน ให้ผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครมีอำนาจสั่งจ่ายเงินยืมได้ครั้งละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้นำเงินยืม ดังกล่าวหักจากเงินซึ่งสถานธนานุบาลได้นำส่งสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครตามข้อ ๗๙ วรรคสาม ข้อ ๗๙ บรรดาเงินรายรับตามข้อ ๗๗ ถ้ามีวงเงินเกินจำนวนที่เก็บรักษาไว้ตามข้อ ๗๘ ให้นำส่งฝาก ณ ธนาคารของรัฐ หรือตามที่มีมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร การนำส่งฝากธนาคารตามวรรคหนึ่ง ในใบนำส่งนั้นต้องลงชื่อหัวหน้าหน่วยการคลังเป็นผู้ส่งโดยให้มีหลักฐานการนำส่งเก็บรักษาไว้ ณ หน่วยงานนั้นด้วย ในกรณีวันใดมีจำนวนเงินเกินอำนาจที่เก็บรักษาไว้ได้ ให้หน่วยการคลังนำเงินฝากให้เสร็จภายในวันนั้น ถ้าฝากในวันนั้นไม่ทัน ให้จัดการนำฝากในวันรุ่งขึ้น หรือวันเปิดทำการ และให้ระบุเหตุผลที่นำส่งไม่ทันไว้ในใบนำส่งด้วย สำหรับเงินทุนหมุนเวียนของสถานธนานุบาลที่นำฝากธนาคารตามวรรคหนึ่ง หากวงเงินเกินกว่า ๖๐๐,๐๐๐ บาท เงินส่วนที่เกินสถานธนานุบาลต้องนำส่งสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครเว้นแต่คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครจะพิจารณาเห็นสมควรกำหนดวงเงินเป็นอย่างอื่นก็ได้ ข้อ ๘๐ การถอนเงินฝากตามข้อ ๗๙ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการและหัวหน้าหน่วยการคลังลงชื่อร่วมกัน กรณีของสถานธนานุบาลให้ผู้จัดการสถานธนานุบาล และพนักงานการเงินและบัญชีลงชื่อร่วมกัน และหากวงเงินที่ถอนเกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท จะต้องให้หัวหน้าหน่วยการคลัง หรือผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครลงชื่อถอนร่วมด้วย ข้อ ๘๑ ในการไปรับหรือส่งเงินที่ธนาคาร หรือ ณ สถานที่รับเงินแห่งอื่นใด รวมตลอดถึงต่างหน่วยงานในสำนักงานเดียวกัน ห้ามมิให้พนักงานไปรับหรือส่งเงินแต่ลำพังผู้เดียว ต้องมีกรรมการไปรับหรือส่งเงินร่วมกันรับผิดชอบเป็นคณะอย่างน้อย ๓ คน โดยให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ (๑) กรรมการแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในจำนวนเงินที่ไปรับหรือนำส่งในขณะที่เงินยังอยู่ในความอารักขา ห้ามมิให้แยกย้ายกัน และความรับผิดชอบร่วมกันนี้ให้หมายรวมถึง การที่กรรมการแต่ละคนต้องร่วมกันชดใช้จำนวนเงินที่ขาดหาย และร่วมกันรับผิดทางวินัยหรือทางอาญาอีกโสตหนึ่งด้วย (๒) ในกรณีการรับหรือส่งเงินตามข้อนี้ ให้กรรมการผู้มอบหรือพนักงานผู้รับมอบเงินทำบันทึกการรับมอบหรือการส่งมอบกับกรรมการผู้นำส่งหรือผู้รับมอบไว้เป็นหลักฐาน (๓) ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้สั่งแต่งตั้งกรรมการ โดยทำเป็นคำสั่ง (๔) กรณีที่หน่วยงานมีพนักงานออกไปเก็บเงินกับลูกค้านอกสำนักงาน ให้ผู้อำนวยการกำหนดวิธีปฏิบัติให้รัดกุม ข้อ ๘๒ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบรักษาเงินไว้ ณ หน่วยการคลังไม่น้อยกว่าสามคน และในจำนวนนี้ต้องมีหัวหน้าหน่วยการคลัง หรือผู้ทำบัญชีการเงินโดยตำแหน่งหนึ่งคนรวมอยู่ด้วย ข้อ ๘๓ กรรมการรักษาเงินตามข้อ ๘๒ มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ทำการตรวจรับเงินสดคงเหลือให้ถูกต้องตรงกับรายการคงเหลือในบัญชีเงินสดประจำวัน (๒) ทำการตรวจสอบบรรดาหลักฐานการรับและการจ่ายเงินให้ตรงกับรายการในบัญชีเงินสดเมื่อสิ้นการรับและการจ่ายเงินในวันหนึ่งๆ เป็นประจำ (๓) ทำการตรวจสอบการคำนวณตัวเลขในการรับและการจ่ายเงินให้มียอดเงินคงเหลือถูกต้องเป็นประจำวัน (๔) ทำการเก็บรักษาเงินตามกำหนดวงเงินและระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาเงินไว้ได้ (๕) ควบคุมดูแลให้มีการนำเงินที่เกินวงเงินที่กำหนด และเกินระยะเวลาที่เก็บรักษาส่งฝากหน่วยการคลัง หรือธนาคารทันที ข้อ ๘๔ หน่วยงานใดมีการเก็บรักษาเงิน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นจัดให้มีตู้นิรภัยสำหรับเก็บรักษาเงินของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ตู้นิรภัยให้มีกุญแจอย่างน้อยสองดอก แต่ละดอกมีลักษณะต่างกัน โดยให้กรรมการเก็บรักษาเงินถือกุญแจคนละดอก กุญแจตู้นิรภัยตู้หนึ่งๆ โดยปกติให้มีอย่างน้อยสองสำรับ ให้หัวหน้าหน่วยงานมอบให้กรรมการเก็บรักษาเงินหนึ่งสำรับ นอกนั้นให้นำฝากหน่วยการคลังเก็บรักษาไว้ ข้อ ๘๕ ให้กรรมการเก็บรักษาเงินเป็นผู้ถือกุญแจตู้นิรภัย ในกรณีที่ตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสามดอกและมีกรรมการสามคน ก็ให้กรรมการถือกุญแจคนละดอก แต่ถ้าตู้นิรภัยมีที่ใส่กุญแจสองดอกแต่มีกรรมการสามคน ก็ให้กรรมการที่อาวุโสถือกุญแจคนละหนึ่งดอก และให้กรรมการอีกหนึ่งคนมีหน้าที่ประจำตราตู้นิรภัยแต่เพียงอย่างเดียว ถ้ากรรมการเก็บรักษาเงินผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้ ให้ผู้อำนวยการพิจารณาแต่งตั้งพนักงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นกรรมการแทนชั่วคราวให้ครบจำนวน การแต่งตั้งผู้ที่จะเป็นกรรมการแทนจะแต่งตั้งไว้เป็นการประจำเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวก็ได้ ข้อ ๘๖ การส่งมอบและรับมอบกุญแจระหว่างกรรมการกับผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่กรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๘๕ ให้กรรมการผู้ส่งมอบและกรรมการผู้รับมอบตรวจนับตัวเงิน และหลักฐานแทนตัวเงินซึ่งเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยให้ถูกต้องตามรายงานเงินคงเหลือประจำวัน แล้วบันทึกการส่งมอบและรับมอบ พร้อมกับลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันนั้นด้วย ห้ามมิให้กรรมการมอบกุญแจให้ผู้อื่นทำหน้าที่กรรมการแทน เว้นแต่เป็นการมอบให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนชั่วคราวตามข้อ ๘๕ กรรมการจะต้องเก็บรักษากุญแจไว้ในที่ปลอดภัย อย่าให้สูญหาย หรือให้ผู้ใดลักลอบนำไปพิมพ์แบบกุญแจได้ หากปรากฏว่ากุญแจหายหรือมีกรณีสงสัยว่าจะมีผู้ปลอมแปลงกุญแจ ให้ผู้อำนวยการสอบสวนแล้วรีบรายงานให้ประธานคณะกรรมการพิจารณาสั่งการโดยด่วน ข้อ ๘๗ เมื่อสิ้นเวลารับจ่ายเงิน ให้พนักงานการเงินนำเงินที่จะเก็บรักษาและรายงานเงินคงเหลือประจำวันส่งมอบต่อคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินร่วมกันตรวจสอบตัวเงินและหลักฐานแทนตัวเงินกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อปรากฏว่าถูกต้องแล้ว ให้นำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันไว้เป็นหลักฐาน รายงานเงินคงเหลือประจำวัน เมื่อกรรมการเก็บรักษาเงินได้ลงลายมือชื่อแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยการคลังเสนอผู้อำนวยการเพื่อทราบ ในกรณีที่ปรากฏว่าเงินที่ได้รับมอบให้เก็บรักษาไม่ตรงกับจำนวนซึ่งแสดงไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและพนักงานการเงินผู้นำส่งร่วมกันบันทึกจำนวนเงินที่ตรวจนับได้นั้นไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวัน และลงลายมือชื่อกรรมการทุกคนพร้อมด้วยพนักงานการเงินผู้นำส่ง แล้วนำเงินเข้าเก็บรักษาในตู้นิรภัย แล้วให้กรรมการเก็บรักษาเงินรายงานให้ผู้อำนวยการทราบทันทีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ข้อ ๘๘ เมื่อนำเงินเข้าเก็บในตู้นิรภัยแล้ว ให้กรรมการใส่กุญแจตู้นิรภัยให้เรียบร้อยแล้วลงลายมือชื่อบนกระดาษปิดทับหรือประจำตราครั่งหรือดินเหนียวของกรรมการแต่ละคนไว้บนเชือกผูกมัดตู้นิรภัยในลักษณะที่ตราประจำครั่งดินเหนียวหรือแผ่นกระดาษปิดทับจะต้องถูกทำลายเมื่อมีการเปิดตู้นิรภัย ในกรณีที่ตู้นิรภัยตั้งอยู่ในห้องมั่นคงหรือกรงเหล็ก การลงลายมือชื่อบนกระดาษปิดทับหรือประจำตราครั่งของกรรมการจะกระทำที่ประตูห้องมั่นคงหรือกรงเหล็กแต่เพียงแห่งเดียวก็ได้ ในวันทำการถัดไป หากจะต้องนำเงินออกจ่าย ให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินมอบเงินเก็บรักษาทั้งหมดให้หัวหน้าหน่วยการคลังหรือพนักงานการเงินรับไปจ่าย โดยให้ลงลายมือชื่อรับเงินไว้ในรายงานเงินคงเหลือประจำวันก่อนวันทำการที่รับเงินไปจ่ายนั้น ข้อ ๘๙ บรรดาเงินที่หน่วยงานได้รับกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่ หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้หน่วยงานที่ได้รับเงินนั้นนำส่งเป็นรายได้ของสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น เว้นแต่จะมีกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับกำหนดเป็นอย่างอื่น หน่วยงานใดได้รับเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้นหรือได้รับเงินที่เกิดจากทรัพย์สิน ซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานนั้น ให้หน่วยงานดังกล่าวจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับได้ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด แต่เมื่อได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์แล้วมีเงินเหลือจ่ายเท่าใด ให้นำส่งเป็นรายรับของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต่อไป ข้อ ๙๐ เมื่อปรากฏว่าหน่วยงานใดปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงิน การนำส่งเงิน และการเก็บรักษาเงินไม่ถูกต้องตามระเบียบ ให้ผู้อำนวยการสั่งการให้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยด่วน หากปรากฏว่าเงินในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดขาดบัญชีหรือสูญหายเสียหายเพราะการทุจริตหรือมีพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต หรือเพราะเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งมิใช่กรณีปกติ ให้ผู้อำนวยการรีบรายงานพฤติการณ์ให้ประธานคณะกรรมการทราบโดยด่วน ในกรณีที่เห็นว่าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินก็ให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด และให้แต่งตั้งกรรมการขึ้นดำเนินการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งโดยด่วน หมวด ๙ การตรวจเงิน ข้อ ๙๑ ให้หน่วยงานแต่ละแห่งมีบัญชีและทะเบียนรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙๒ ทุกวันที่มีการรับจ่ายเงิน ให้หัวหน้าหน่วยการคลังรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่างๆ ให้หัวหน้าหน่วยงานทราบเป็นประจำทุกวัน และให้หัวหน้าหน่วยงานรายงานจำนวนเงินรับจ่าย ตลอดจนเงินคงเหลือและเงินฝากต่างๆ ให้คณะกรรมการทราบเป็นประจำทุกเดือน ข้อ ๙๓ เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้หน่วยงานจัดให้มีการสำรวจรายละเอียดลูกหนี้และเจ้าหนี้ว่ามีจำนวนเงินคงค้างชำระหนี้อยู่กี่ราย เป็นเงินทั้งสิ้นรายละเท่าใด รวมเป็นจำนวนรายและจำนวนเงินทั้งสิ้นเท่าใด แล้วแจ้งผู้อำนวยการทราบเพื่อประกอบการทำรายงานการรับจ่ายเงินประจำปี ข้อ ๙๔ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน จัดทำงบเงินรายรับรายจ่ายของกิจการที่ได้กระทำในรอบปีงบประมาณกับรายงานการเงิน รายรับจริงและรายจ่ายจริงเทียบกับงบประมาณเสนอประธานคณะกรรมการ สำหรับการจัดทำงบแสดงฐานะการเงินและงบรายรับรายจ่ายแสดงผลของกิจการที่ได้กระทำในรอบปีงบประมาณกับรายงานการเงิน รายรับจริง และรายจ่ายจริงเทียบกับงบประมาณ ให้หน่วยการคลังจัดทำให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณเสนอประธานคณะกรรมการแล้วส่งให้สำนักการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งละหนึ่งชุด ข้อ ๙๕ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจควบคุมการตรวจสอบบัญชีการเงินของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ในการตรวจสอบบัญชีเป็นอำนาจของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเพื่อทำการตรวจสอบและให้คำรับรองงบแสดงฐานะการเงิน งบรายรับรายจ่าย และรายงานการเงิน รายรับ รายจ่ายจริงเทียบกับงบประมาณตามความในข้อ ๙๔ ในกรณีที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องจ่ายเงินจ้างสมทบในการตรวจสอบบัญชีให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณากำหนดเงินจ้างสมทบค่าสอบบัญชี หมวด ๑๐ การส่งและการแบ่งกำไรสุทธิ ข้อ ๙๖ การส่งและการแบ่งกำไรสุทธิประจำปี ให้ดำเนินการได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อส่งเป็นรายได้ให้กรุงเทพมหานคร (๒) เพื่อใช้เป็นเงินสมทบทุนดำเนินการและขยายกิจการ (๓) เพื่อจ่ายเป็นเงินบำเหน็จรางวัลประจำปีแก่คณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการและพนักงาน (๔) เพื่อการสาธารณกุศล (๕) เพื่อสนับสนุนกิจการหรืองานของกรุงเทพมหานคร การส่งและการแบ่งกำไรสุทธิประจำปีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมวด ๑๑ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๙๗ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ตามระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราวๆ ไป หมวด ๑๒ บทเฉพาะกาล ข้อ ๙๘ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามระเบียบของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครและสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานครต่อไปจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง บรรดาแบบพิมพ์ เอกสารสมุดบัญชีและทะเบียนต่างๆ ที่ใช้ในการเบิกและจ่ายเงิน ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นันทนา/ผู้จัดทำ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๓ ง/หน้า ๑/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
477523
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2549
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๙” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๘ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ สัตต แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ “ข้อ ๘ สัตต ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพบำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอด ในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับ ช.ค.บ. แล้ว ต่ำกว่าเดือนละห้าพันหนึ่งร้อยบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินห้าพันหนึ่งร้อยบาท หักด้วยจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ” ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนพิเศษ ๒๑ ง/หน้า ๓๑/๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
472855
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ประสบการณ์ ให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร “อาสาสมัคร” หมายความว่า บุคคลผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร หมวด ๒ กิจการที่บุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติราชการ ข้อ ๖ กิจการที่บุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติราชการ ได้แก่ (๑) การให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร (๒) การปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับงานอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร เช่น การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยด้านผีเสื้อและแมลง การสำรวจข้อมูล การติดตามประเมินผล การประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น หมวด ๓ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือก ข้อ ๗ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา จะต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีขึ้นไป ทางด้านชีววิทยา หรือกีฏวิทยาและเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยา กีฏวิทยา หรือธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างใดอย่างหนึ่งไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๒) อาสาสมัคร แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ อาสาสมัครประเภท ก. อาสาสมัครประเภท ข.และอาสาสมัครประเภท ค. ซึ่งแต่ละประเภทจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (ก) อาสาสมัครประเภท ก. จะต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ ๖ และมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี (ข) อาสาสมัครประเภท ข. จะต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ ๓ และมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี (ค) อาสาสมัครประเภท ค. จะต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปี ข้อ ๘ ให้ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ จำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยให้มีข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๘ เป็นประธาน และกำหนดให้คัดเลือกบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการโดยวิธีสอบสัมภาษณ์ หรือวิธีอื่นที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙ การให้บุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติราชการและพ้นจากการช่วยปฏิบัติราชการ ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม หมวด ๔ หลักเกณฑ์และวิธีการในการจ่ายค่าตอบแทน ข้อ ๑๐ การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานครตามระเบียบนี้ ให้กระทำได้เฉพาะแก่ผู้ที่ช่วยปฏิบัติราชการตามวันและเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง โดยมีอัตราตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ หมวด ๕ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการเลิกงาน ข้อ ๑๒ การเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการเลิกงาน ให้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อมกำหนด และอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๓ ชั่วโมง (๒) อาสาสมัคร ให้ปฏิบัติงานวันละไม่น้อยกว่า ๘ ชั่วโมง ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (เอกสารแนบท้าย) ๑ บัญชีค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการอุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพมหานคร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) นันทนา/ผู้จัดทำ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๘ [๑] รก.๒๕๔๘/๑๒๒ง/๖/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘
457316
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ ฉ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๒ “ข้อ ๘ ฉ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาท หรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้วและยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญและ ช.ค.บ. อยู่แล้ว ให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มขึ้นอีกในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับ หรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเฉพาะบำนาญ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสามของจำนวนบำนาญที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง” ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรพิมล/พิมพ์ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘ ฐิติพงษ์/พัชรินทร์/ตรวจ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๑๒๘ง/๘๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
453459
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ประธาน” หมายความว่า ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความโปร่งใส และรับผิดชอบต่อประชาชน ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานครขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกจำนวนไม่เกินสามสิบคนที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งขึ้น การแต่งตั้งกรรมการอื่นให้แต่งตั้งตามข้อเสนอของประธาน การแต่งตั้งคณะกรรมการตามวรรคแรก ให้คำนึงถึงความหลากหลายของที่มาความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสำคัญ คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบการดำเนินการตามนโยบายที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ประกาศไว้ (๒) ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงให้การดำเนินการตามนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (๓) จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเป็นประจำอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในวรรคแรกให้ประธานกรรมการและกรรมการมีความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อาณัติใดๆ ข้อ ๗ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (๑) ตรวจสอบเอกสารทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๒) ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นในการปฏิบัติงาน หรือส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณา (๓) เชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในตำแหน่งอื่นเข้าร่วมประชุมและให้ข้อมูล หรือความเห็นแก่คณะกรรมการ (๔) ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร (๕) จัดประชุมข้าราชการหรือลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร เพื่อชี้แจงหรือรับฟังความคิดเห็น (๖) จัดประชาพิจารณ์หรือจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ประชาสังคมหรือชุมชน (๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๘) ออกระเบียบหรือวางแนวปฏิบัติเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ (๙) ดำเนินการอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ข้อ ๘ ให้กรุงเทพมหานครอำนวยความสะดวกกับคณะกรรมการในเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) จัดสถานที่ทำงานและห้องประชุมให้เพียงพอแก่การดำเนินงานของคณะกรรมการ (๒) จัดสรรเจ้าหน้าที่ให้กับคณะกรรมการ โดยให้เจ้าหน้าที่เหล่านี้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของประธาน (๓) จ่ายค่าตอบแทน เบี้ยประชุม ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นแก่การดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานตามที่กฎหมายกำหนด ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ญาณี/พิมพ์ ๗ มีนาคม ๒๕๔๘ ฐิติพงษ์/พัชรินทร์/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๑๑๗ง/๑๒/๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๗
443627
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหาย อันเกิดจากการละเมิด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๕ ข้อ ๗ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด พ.ศ. ๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๑ กรณีที่ไม่สามารถตกลงเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายได้ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องรวบรวมเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๒ ส่งกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันเกิดเหตุ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มยุรี/พิมพ์ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๗๘ง/๒๔/๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
445338
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินสะสม พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสมขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการขอยืมเงินสะสม ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือรองผู้อำนวยการสำนักการคลังที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการกองตรวจจ่าย ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง เลขานุการสำนักการคลัง เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองบัญชี เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการพิจารณาการขอยืมเงินสะสมแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน ๒ คน คณะกรรมการพิจารณาการขอยืมเงินสะสมมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการและมีอำนาจเรียกข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครชี้แจง สอบถาม หรือให้ข้อเท็จจริง รวมทั้งเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงาน” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙.๔ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยืมเงินสะสม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “๙.๔ ให้หน่วยงานรายงานผลการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับอนุมัติให้ยืมเงินสะสมไปยังกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และกองบัญชี สำนักการคลัง ทุกๆ ๔ เดือน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันสิ้นระยะเวลาเงินประจำงวดของแต่ละงวด ตามแบบท้ายระเบียบนี้” ประกาศ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ญาณี/พิมพ์ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๙๔ง/๒๘/๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗
448692
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และกฎกระทรวง กำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของนักเรียนและให้ความหมายรวมถึงบุคคลที่นักเรียนอยู่ด้วยเป็นประจำ หรือที่นักเรียนอยู่รับใช้งาน “ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดกรุงเทพมหานคร “สถานศึกษา” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดกรุงเทพมหานคร “องค์กรชุมชน” หมายความว่า ชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน หมู่บ้านจัดสรรและชุมชนเมืองที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้น ทั้งนี้โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน และมีที่ตั้งแน่นอนอยู่ในท้องที่แขวงที่เป็นภูมิลำเนาของนักเรียนในสถานศึกษา หรือท้องที่แขวงที่สถานศึกษาตั้งอยู่ “ศิษย์เก่า” หมายความว่า ผู้ที่สถานศึกษารับรองว่าสำเร็จการศึกษาจากหรือเคยศึกษาในสถานศึกษา นั้น “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละแห่ง “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละแห่ง “ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละแห่ง ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครทุกแห่ง สถานศึกษาละไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ข้อ ๖ คณะกรรมการ ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการ (๒) กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้ปกครอง จำนวนหนึ่งคน (๓) กรรมการที่เป็นผู้แทนครู จำนวนหนึ่งคน (๔) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวนหนึ่งคน (๕) กรรมการที่เป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร จำนวนหนึ่งคน (๖) กรรมการที่เป็นผู้แทนศิษย์เก่า จำนวนหนึ่งคน (๗) กรรมการที่เป็นผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้แทนองค์กรศาสนาในพื้นที่จำนวนหนึ่งรูปหรือหนึ่งคน (๘) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนหนึ่งถึงเจ็ดคน (๙) ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๗ ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) ไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๕) ไม่เป็นคู่สัญญากับสถานศึกษานั้น ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีลักษณะต้องห้ามตาม (๕) ต้องออกจากการเป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามหรือแสดงหลักฐานให้เป็นที่เชื่อได้ว่าตนได้เลิกประกอบกิจการหรือการใดๆ อันมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้วต่อผู้บริหารสถานศึกษาภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งหากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ ข้อ ๘ นอกจากคุณสมบัติตามข้อ ๗ แล้ว (๑) กรรมการตามข้อ ๖ (๒) ต้องเป็นผู้ปกครองตามทะเบียนนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้น และไม่เป็นครู เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของสถานศึกษา ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีสัญญาจ้างกับสถานศึกษานั้น (๒) กรรมการตามข้อ ๖ (๓) ต้องเป็นครูในสถานศึกษานั้น (๓) กรรมการตามข้อ ๖ (๔) ต้องไม่เป็นครู เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของสถานศึกษาที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีสัญญาจ้างกับสถานศึกษานั้น (๔) กรรมการตามข้อ ๖ (๖) ต้องเป็นผู้ที่เคยศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษานั้นและไม่เป็นครู เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีสัญญาจ้างกับสถานศึกษานั้น (๕) กรรมการตามข้อ ๖ (๘) ต้องไม่เป็นกรรมการสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครเกินกว่าสามแห่งขึ้นไปในเวลาเดียวกัน และไม่เป็นครู เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของสถานศึกษา ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีสัญญาจ้างกับสถานศึกษานั้น ข้อ ๙ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการสรรหาและเลือกประธานกรรมการและกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) การสรรหาและเลือกกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) และ (๖) ให้บุคคลแต่ละประเภทเสนอชื่อผู้ที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๗ และข้อ ๘ จากนั้นให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเลือกกันเองให้เหลือประเภทละหนึ่งคน ทั้งนี้ โดยให้แต่ละประเภทแยกกันดำเนินการ (๒) การสรรหาและเลือกกรรมการตามข้อ ๖ (๔) ให้องค์กรชุมชนเสนอชื่อผู้ที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๗ และข้อ ๘ จากนั้นให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเลือกกันเองให้เหลือจำนวนหนึ่งคน ในกรณีไม่มีองค์กรชุมชนในท้องที่แขวงที่เป็นภูมิลำเนาของนักเรียนในสถานศึกษาหรือแขวงที่สถานศึกษาตั้งอยู่ หรือมีแต่ไม่เสนอชื่อผู้แทนเข้ารับเลือกเป็นกรรมการ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาสรรหาผู้แทนองค์กรชุมชนในท้องที่แขวงใกล้เคียง หรือในท้องที่แขวงของเขตใกล้เคียงเป็นกรรมการผู้แทนองค์กรชุมชนในสถานศึกษานั้น (๓) การสรรหาและเลือกกรรมการตามข้อ ๖ (๕) ให้ดำเนินการโดยการพิจารณาร่วมกันของผู้ที่ได้รับการสรรหาและได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๖) (๗) และกรรมการตามข้อ ๖ (๙) (๔) การสรรหาและเลือกกรรมการตามข้อ ๖ (๘) ให้ดำเนินการโดยการพิจารณาร่วมกันของผู้ที่ได้รับการสรรหาและได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ กรรมการตามข้อ ๖ (๙)ให้ได้จำนวนสองถึงแปดคน (๕) การสรรหาและเลือกประธานกรรมการ ให้ผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และกรรมการตามข้อ ๖ (๙) ร่วมกันเลือกประธานกรรมการจากผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (๖) ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาและได้รับเลือกตาม (๑) ถึง (๕) ต่อผู้อำนวยการสำนักการศึกษาหรือผู้ที่ผู้อำนวยการสำนักการศึกษามอบหมาย เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการและกรรมการ ข้อ ๑๐ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา และการเลือกกรรมการนอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เป็นไปตามประกาศของสถานศึกษา ข้อ ๑๑ ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกแต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้ นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งให้พ้นจากตำแหน่งตามมติของคณะกรรมการไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมดพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้เสื่อมเสียต่อสถานศึกษาหรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๗ หรือข้อ ๘ (๕) พ้นจากการเป็นพระภิกษุ หรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น เฉพาะกรรมการตามข้อ ๖ (๗) ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการตามข้อ ๖ (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการสรรหา เลือก และแต่งตั้งประธานกรรมการหรือกรรมการแทนภายในเก้าสิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการก็ได้ ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่ประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่งจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหากรรมการใหม่ภายในเก้าสิบวันก่อนครบวาระ และให้ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานกรรมการและกรรมการซึ่งแต่งตั้งใหม่เข้ามารับหน้าที่ ข้อ ๑๓ ในวาระเริ่มแรกให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการสรรหาและเลือกประธานกรรมการและกรรมการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๑๔ ในวาระเริ่มแรกกรรมการตามข้อ ๖ (๓) ยังไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจนกว่าคุรุสภาจะกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้อ ๑๕ คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอแนวทางการกำหนดนโยบาย และแผนพัฒนาของสถานศึกษา (๒) ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา (๓) ให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น (๔) กำกับ และติดตามการดำเนินงานตามแผนของสถานศึกษา (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและได้มาตรฐาน (๖) ส่งเสริมให้มีการพิทักษ์สิทธิเด็ก ดูแลเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ (๗) เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปของสถานศึกษา (๘) ส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน รวมทั้งสืบสานจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ (๙) เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชนและมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น (๑๐) ให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษาก่อนเสนอต่อสาธารณชน (๑๑) พิจารณาเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาสถานศึกษา ต่อผู้อำนวยการสำนักการศึกษาหรือผู้ที่ผู้อำนวยการสำนักการศึกษามอบหมาย เพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา (๑๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอื่นๆ ตามที่เห็นสมควร (๑๓) ปฏิบัติการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๖ ให้มีการประชุมคณะกรรมการ อย่างน้อยภาคเรียนละสองครั้ง การดำเนินการประชุมคณะกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดโดยให้มีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ในขณะนั้น และให้มีผู้แทนของนักเรียนเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรแล้วแต่กรณี ในกรณีที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของนักเรียนโดยตรง ให้รับฟังความคิดเห็นของนักเรียนประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการด้วย ให้ผู้บริหารสถานศึกษารายงานผลการประชุมต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีการประชุม ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มยุรี/พิมพ์ ๗ มกราคม ๒๕๔๘ ธัญกมล/ศุภสรณ์/ตรวจ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๘ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๑๐๗ง/๕๐/๒๘ กันยายน ๒๕๔๗
442007
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับ ข้อ ๕ และ ข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๕ และ ข้อ ๑๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ และ ข้อ ๑๖ และ ข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร สำนักงานตลาดและสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครและสถานธนานุบาลที่กรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้น “สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร” หมายความว่า สำนักงานบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า สธก. “สถานธนานุบาล” หมายความว่า โรงรับจำนำตามความหมายแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำซึ่งกรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้น “สำนักงานตลาด” หมายความว่า สำนักงานตลาด กรุงเทพมหานคร “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงานตลาด และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “พนักงานชั่วคราว” หมายความว่า พนักงานรายเดือนที่จ้างไว้ปฏิบัติงานที่มีลักษณะเป็นการชั่วคราวโดยมีกำหนดเวลาการจ้าง แต่ทั้งนี้ระยะเวลาการจ้างต้องไม่เกินปีงบประมาณ “พนักงาน” หมายความว่า พนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พนักงานสำนักงานตลาดและพนักงานสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาดและประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย “เวลาทำงานปกติ” หมายความว่า เวลาทำงานที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นเวลาทำงานปกติ “วันทำงานปกติ” หมายความว่า วันทำงานที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นวันทำงานปกติ “วันหยุดประจำสัปดาห์” หมายความว่า วันหยุดที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ “วันหยุดพิเศษ” หมายความว่า วันหยุดที่คณะกรรมการกำหนดให้เป็นวันหยุดพิเศษ “บำเหน็จ” หมายความว่า เงินตอบแทนความชอบที่ได้ทำงานมาซึ่งจ่ายเพียงครั้งเดียว “ค่าจ้างเดือนสุดท้าย” หมายความว่า ค่าจ้างที่พนักงานได้รับในเดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงานนอกเวลา และเงินเพิ่มอื่น “ค่าอาหารในวันทำงานปกติ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่พนักงาน ที่ปฏิบัติงานในสถานธนานุบาลทุกแห่งซึ่งปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นในเวลากลางวันในวันทำงานปกติ “ค่าจ้าง” หมายความว่า ค่าจ้างที่กำหนดอัตราจ่ายเป็นรายเดือน ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๖ บุคคลที่จะได้รับการจ้างเป็นพนักงานและพนักงานชั่วคราวต้องมีคุณสมบัติทั่วไปดังนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (๔) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคดังต่อไปนี้ ก. โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการที่น่ารังเกียจแก่สังคม ข. วัณโรคในระยะอันตราย ค. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ง. โรคติดยาเสพติดให้โทษ จ. โรคพิษสุราเรื้อรัง (๕) ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ พักงาน ให้ออกจากราชการไว้ก่อนหรือออกจากงานไว้ก่อน จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น (๖) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ หรือถูกเลิกจ้างจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่นเพราะกระทำผิดวินัย (๗) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๘) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี (๙) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (๑๐) ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๑๑) ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานราชการ ข้าราชการการเมือง ลูกจ้างหรือพนักงานของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือดำรงตำแหน่งในทางการเมืองรวมทั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น (๑๒) ไม่เป็นกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (๑๓) ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าทำงานของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น (๑๔) ไม่เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อมในสัญญาที่ทำกับกรุงเทพมหานครหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือบริษัทซึ่งกรุงเทพมหานครถือหุ้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่กรุงเทพมหานครหรือที่กรุงเทพมหานครจะกระทำ (๑๕) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การใดๆ ที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกัน หรือแข่งขันกับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือทำงานหรือให้บริการอื่นแก่บุคคลภายนอก ซึ่งประกอบการอันมีลักษณะคล้ายธุรกิจของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ผู้ที่จะเข้าทำงานเป็นพนักงานหรือพนักงานชั่วคราวซึ่งขาดคุณสมบัติตาม (๗) (๘) (๑๐) หรือ (๑๓) อาจพิจารณายกเว้นให้เข้าทำงานได้ ส่วนผู้ที่ขาดคุณสมบัติตาม (๖) ถ้าผู้นั้นได้ออกจากราชการ หรือออกจากงานเนื่องจากถูกให้ออก ปลดออก หรือถูกเลิกจ้างไปเกินสองปีแล้ว หรือได้ออกจากราชการ หรือออกจากงานเนื่องจากถูกไล่ออกไปเกินสามปีแล้ว และมิใช่เป็นกรณีออกจากราชการ หรือออกจากงานเพราะกระทำผิดในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ คณะกรรมการอาจพิจารณายกเว้นให้เข้าทำงานได้ การขอยกเว้นและการพิจารณายกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ผู้ที่เป็นพนักงานหรือพนักงานชั่วคราว ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคหนึ่งตลอดเวลาที่ทำงานเว้นแต่คุณสมบัติตาม (๕) หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่ขาดคุณสมบัติทั่วไปตามวรรคสอง ข้อ ๗ อัตราค่าจ้างพนักงานและพนักงานชั่วคราวให้เป็นไปตามบัญชีอัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ การกำหนดเวลาทำงานปกติ วันทำงานปกติ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดพิเศษ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๙ พนักงานและพนักงานชั่วคราวซึ่งปฏิบัติงานในสถานธนานุบาลทุกแห่งที่มาทำงานในวันทำงานปกติเต็มวัน ให้มีสิทธิได้รับค่าอาหารในวันทำงานปกติตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๐ ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จัดทำทะเบียนประวัติของพนักงานและพนักงานชั่วคราวให้เป็นปัจจุบันเก็บไว้ที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ๑ ชุด และจัดส่งสำนักการคลัง ๑ ชุด และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ให้จัดส่งคำสั่งและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สำนักการคลังภายใน ๗ วัน กรณีที่มีการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อแต่งตั้งพนักงานผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครส่งเรื่องให้สำนักการคลังตรวจสอบคุณสมบัติล่วงหน้าก่อนหน่วยงานเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน หมวด ๒ การกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับค่าจ้าง ข้อ ๑๑ การตั้ง ยุบ หรือเปลี่ยนแปลงหน่วยงานภายในการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ โดยทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๒ การกำหนดตำแหน่งพนักงานและพนักงานชั่วคราว ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามตารางกำหนดตำแหน่งในการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่แนบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๓ ให้ตำแหน่งผู้อำนวยการไม่มีฐานะเป็นพนักงานตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๔ ตำแหน่งพนักงานจะมีตำแหน่งใด จำนวนเท่าใด ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๕ ให้คณะกรรมการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งไว้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดตำแหน่งพนักงานทุกตำแหน่ง โดยในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้แสดงชื่อของตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมี และความรู้ความสามารถที่ต้องการ ข้อ ๑๖ ให้พนักงานและพนักงานชั่วคราวได้รับค่าจ้างตามตำแหน่ง หมวด ๓ การจ้างและแต่งตั้ง ข้อ ๑๗ การจ้างบุคคลเข้าเป็นพนักงานและพนักงานชั่วคราว เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้จ้างและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยจ้างและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ข้อ ๑๘ ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ข้อ ๑๙ หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน วิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งอื่น และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๐ ในกรณีมีเหตุพิเศษ ที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเห็นว่า การจ้างบุคคลเป็นพนักงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขันการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอาจขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกจ้างบุคคลเป็นพนักงาน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๑ พนักงานและพนักงานชั่วคราวตำแหน่งใดที่จะต้องจัดให้มีการค้ำประกันไว้แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๒๒ การจ้างและแต่งตั้งพนักงานให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ในกรณีที่เห็นสมควร คณะกรรมการอาจกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจในการจ้างและแต่งตั้งพนักงานในระดับใดก็ได้ ข้อ ๒๓ การจ้างพนักงานชั่วคราว ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการ เมื่อได้รับอนุมัติตำแหน่งจากคณะกรรมการแล้ว และต้องมีกำหนดระยะการจ้างไม่ข้ามปีงบประมาณ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการจ้างพนักงานชั่วคราวตามความในวรรคหนึ่งแล้วให้ถือว่าการจ้างสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลาของการจ้างพนักงานชั่วคราว โดยไม่ต้องมีคำสั่งเลิกจ้าง และให้ถือว่าพนักงานชั่วคราวได้พ้นจากหน้าที่ตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของการสั่งจ้างเป็นต้นไป ข้อ ๒๔ การจ้างและแต่งตั้งพนักงานให้ดำรงตำแหน่งใด เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้แต่งตั้งเป็นพนักงานทดลองงานก่อน เมื่อได้ทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลาหกเดือนแล้ว หากเห็นว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี มีความรู้ความสามารถ สมควรที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ให้แต่งตั้งเป็นพนักงานต่อไป แต่หากปรากฏว่าเป็นผู้ไม่มีความรู้ความสามารถหรือมีพฤติการณ์ส่อไปในทางเสื่อมเสีย หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ผู้มีอำนาจสั่งจ้างและแต่งตั้งตามข้อ ๒๒ สั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการทดลองการปฏิบัติงานโดยหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการกำหนดให้วุฒิปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ให้หมายถึงปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ ก.พ. หรือ ก.ก. รับรอง ข้อ ๒๖ การเลื่อนพนักงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้เลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับการคัดเลือก กรณีใดจะเลื่อนและแต่งตั้งจากผู้สอบคัดเลือกได้หรือผู้ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด พนักงานที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งจะต้องมีอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าสองขั้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งที่จะได้รับการเลื่อนนั้น หลักสูตรและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือกและการคัดเลือกคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก หรือผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก ตลอดจนเกณฑ์การตัดสิน การขึ้นบัญชี และการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้และผู้ได้รับการคัดเลือก ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๗ พนักงานที่ถูกสั่งให้ออกจากงานเพื่อไปรับราชการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร เมื่อพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย หากประสงค์จะเข้าทำงาน ให้กลับมารายงานตัวภายในกำหนดสามสิบวันนับจากวันพ้นราชการทหารโดยให้ผู้มีอำนาจสั่งจ้างและแต่งตั้ง จ้างและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมซึ่งสงวนไว้ให้หรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกันที่ว่างอยู่ ทั้งนี้ โดยให้ได้รับค่าจ้างเท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิมเหมือนกับพนักงานซึ่งไม่ได้ลาไปรับราชการทหาร ไม่เกินปีละหนึ่งขั้น เมื่อพ้นกำหนดที่ให้มารายงานตัวแล้วให้ถือว่าพนักงานผู้นั้นไม่พึงประสงค์จะทำงานต่อไป ผู้ที่ไปรับราชการทหารดังกล่าวในวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับการจ้างเข้าเป็นพนักงานแล้วก็ให้คำนวณเวลาทำงานต่อเนื่องกับอายุเวลาเดิมก่อนไปรับราชการทหาร เว้นแต่พนักงานผู้นั้นได้ขอรับเงินชดเชยหรือเงินบำเหน็จไปเรียบร้อยแล้ว ไม่มีสิทธินับอายุเวลาเดิมต่อเนื่องได้ ข้อ ๒๘ ถ้าตำแหน่งพนักงานว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราวให้ผู้มีอำนาจสั่งจ้างและแต่งตั้งสั่งให้พนักงานที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นชั่วคราวได้ ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งนั้นทำหน้าที่กรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี เพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอาจสั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ว่างในการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครอีกทางหนึ่งได้ โดยให้มีสิทธิได้รับเงินรางวัลหรือเงินโบนัสประจำปีเช่นเดียวกับพนักงานอื่นๆ ข้อ ๒๙ การจ้างและแต่งตั้งตำแหน่งผู้อำนวยการ ให้มีคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกรุงเทพมหานครซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจำนวนสองคน เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนดและเมื่อสรรหาได้แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการแล้วแต่กรณี การจ้างผู้อำนวยการ ให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกินสี่ปี เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างแล้วและมีอายุไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ สามารถเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการได้อีกเพียงคราวเดียว การทำสัญญาจ้างตามวรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง ทั้งนี้สัญญาจ้างอย่างน้อยต้องมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง เงื่อนไขการทำงาน การพ้นจากตำแหน่ง การเลิกสัญญาจ้าง การประเมินผลการทำงานและค่าจ้าง หรือผลประโยชน์อื่นของผู้อำนวยการ หมวด ๔ การเลื่อนขั้นค่าจ้าง ข้อ ๓๐ การเลื่อนขั้นค่าจ้างของพนักงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง รวมทั้งระเบียบ คำสั่ง และหนังสือที่ออกเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวโดยอนุโลม ข้อ ๓๑ การเลื่อนขั้นค่าจ้างของพนักงานทุกตำแหน่งให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หมวด ๕ วินัยและการรักษาวินัย ข้อ ๓๒ วินัยและการรักษาวินัยของพนักงานและพนักงานชั่วคราว ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง รวมทั้งระเบียบ คำสั่งและหนังสือที่ออกเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ให้ผู้อำนวยการหรือประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ในกรณีที่พนักงานถูกกล่าวหาหรือมีมูลอันควรเชื่อได้ว่าได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนแล้ว ให้เสนอรายงานการสอบสวนต่อผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาเสนอคณะกรรมการพิจารณาลงโทษตามที่เห็นสมควร (๒) เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานผู้ใดไปแล้ว ให้รายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปตามลำดับจนถึงประธานกรรมการ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นผู้สั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งเห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษหรือยกโทษ ตามควรแก่กรณีได้ แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นผู้สั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งเห็นว่า กรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้อำนวยการหรือประธานกรรมการมีอำนาจดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตาม (๑) (๓) อำนาจการลงโทษให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๖ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ข้อ ๓๓ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ของพนักงานและพนักงานชั่วคราวให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง รวมทั้งระเบียบ คำสั่ง และหนังสือที่ออกเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ (๒) การร้องทุกข์ให้ร้องทุกข์ต่อประธานกรรมการ หมวด ๗ การลา ข้อ ๓๔ การลาของพนักงานและพนักงานชั่วคราวให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง รวมทั้งระเบียบ คำสั่ง และหนังสือที่ออกเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว ยกเว้นอำนาจในการอนุญาตการลาให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๘ การออกจากงาน ข้อ ๓๕ การออกจากงานของพนักงานและพนักงานชั่วคราว ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง รวมทั้งระเบียบ คำสั่ง และหนังสือที่ออกเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว หมวด ๙ การจ่ายค่าจ้าง ข้อ ๓๖ การจ่ายค่าจ้างของพนักงานและพนักงานชั่วคราว ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง รวมทั้งระเบียบ คำสั่ง และหนังสือที่ออกเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว หมวด ๑๐ เงินบำเหน็จ ข้อ ๓๗ พนักงานผู้ใดทำงานมาเป็นเวลาต่อเนื่องกัน จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ถ้าต้องออกจากงานเพราะ (๑) ตายและการตายนั้นมิได้เกิดจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง (๒) เกษียณอายุ (๓) ได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกเลิกจ้าง เว้นแต่ถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก กรณีตาม (๑) และ (๔) ต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีบริบูรณ์ กรณีตาม (๓) ต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีบริบูรณ์ ข้อ ๓๘ เงินบำเหน็จที่ให้แก่พนักงานซึ่งออกจากงานตามข้อ ๓๗ มีจำนวนเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาทำงานสำหรับคำนวณเงินบำเหน็จเศษของปีถ้าครบหกเดือนให้นับเป็นหนึ่งปีถ้าไม่ถึงหกเดือนให้ปัดทิ้ง ข้อ ๓๙ พนักงานที่ต้องออกจากงานเพราะเหตุตาย หรือเพราะเหตุยุบเลิกตำแหน่ง ถ้ามีเวลาการทำงานในการคำนวณบำเหน็จไม่ถึงปี ให้ถือเวลาหนึ่งปีเป็นเวลาในการคำนวณเงินบำเหน็จ ถ้ามีเวลาการทำงานไม่น้อยกว่าสองปีให้ได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับค่าจ้างเดือนสุดท้ายสามเดือน แต่ถ้ามีเวลาการทำงานต่อเนื่องกันเกินสามปีให้ถือเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อ ๓๘ ข้อ ๔๐ การหยุดงานในกรณีต่อไปนี้ไม่ให้ถือว่าการทำงานขาดตอน คือ (๑) การลาป่วยไม่เกินหกสิบวันในรอบหนึ่งปี (๒) การลาคลอดบุตรครรภ์ละไม่เกินเก้าสิบวัน (๓) การลากิจส่วนตัวไม่เกินสี่สิบห้าวันในรอบหนึ่งปี (๔) การลาพักผ่อนประจำปี (๕) การลาอุปสมบทหรือการลาเพื่อไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน (๖) การลาเข้ารับการระดมพล การฝึกวิชาทหาร การทดลองความพรั่งพร้อมหรือการตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหาร ข้อ ๔๑ ในกรณีที่พนักงานมีสิทธิได้รับบำเหน็จอยู่แล้วถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินบำเหน็จของพนักงานนั้นให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อ ๔๒ การขอรับเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จยื่นเรื่องราวต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครภายในกำหนดหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิได้รับ หากยื่นพ้นกำหนดนี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ข้อ ๔๓ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินบำเหน็จ หมวด ๑๑ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๔๔ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๔๕ การนำข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยลูกจ้าง มาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีใดที่ข้อบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ส่วนกรณีอื่นให้เป็นอำนาจของประธานกรรมการ ทั้งนี้ เว้นแต่ระเบียบนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หมวด ๑๒ บทเฉพาะกาล ข้อ ๔๖ การใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไป ตามระเบียบข้อบังคับเดิมที่ใช้อยู่จนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ข้อ ๔๗ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการกำหนดบัญชีอัตราค่าจ้าง รวมทั้งหลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งตามระเบียบนี้ ให้นำบัญชีอัตราค่าจ้างรวมทั้ง หลักเกณฑ์ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตารางกำหนดตำแหน่งในการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] พรพิมล/พิมพ์ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗ ศุภสรณ์/ธัญกมล/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๗/พ๗๕ง/๕๗/๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
323450
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนโดยสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน โดยสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๔ ----------- ด้วยกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ เด็กและเยาวชนโดยสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่ออนุวัตให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิเด็กและเยาวชนโดยสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับบุคลากรในสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ "เด็กและเยาวชน" หมายความว่า บุคคลที่มีอายุตั้งแต่สามปีจนถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ "บุคลากรในสถานศึกษา" หมายความว่า หัวหน้าสถานศึกษา ข้าราชการครู ครู อาจารย์ ผู้สอนและลูกจ้าง "บุคลากรทางการศึกษา" หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษา ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัด กระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ "หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ โรงเรียน หรือวิทยาลัย หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน "สถานศึกษา" หมายความว่า โรงเรียน วิทยาลัย หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีลักษณะ เดียวกัน ข้อ ๖ การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์และไม่กระทำการใด ๆ ต่อเด็กและเยาวชน โดยใช้ความรุนแรงหรือโดยขัดต่อ กฎหมายหรือศีลธรรมอันดี การจัดกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนจะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของเด็กและเยาวชน ข้อ ๗ ต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดทางร่างกาย ทางเพศ วาจา การพูด ดูหมิ่น หยาบคาย หลอกลวง หรือการกระทำการใดอันเป็นการทารุณหรือบีบคั้นต่อจิตใจของเด็กและ เยาวชน ข้อ ๘ การลงโทษเด็กและเยาวชน จะต้องไม่กระทำโดยการทรมานหรือทารุณแก่ ร่างกายหรือจิตใจหรือด้วยวิธีการโหดร้ายหรือประจานหรือกระทำโดยไร้มนุษยธรรม หรือโดยวิธีการ อันไม่เหมาะสม ข้อ ๙ ให้มีการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการกำหนด กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพิจารณาการลงโทษเด็กและเยาวชน ข้อ ๑๐ ต้องปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนโดยเสมอภาคด้วยความเป็นธรรมและต้อง ไม่เลือกปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน เพราะเหตุความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย สติปัญญา สถานะบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อและการปฏิบัติ กิจกรรมทางศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง ข้อ ๑๑ ต้องไม่จำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การเลือกกิจกรรมทางการศึกษา การแสดงออกทางวิชาการ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถานศึกษา ของเด็กและเยาวชน เว้นแต่เป็นการกระทำอันขัดต่อระเบียบหรือกฎหมาย หรือเพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ข้อ ๑๒ ห้ามแสวงหาประโยชน์จากเด็กและเยาวชน ทั้งในด้านการใช้แรงงาน ทรัพย์สิน สิทธิในร่างกาย หรือเป็นการละเมิดสิทธิอื่น ๆ ของเด็กและเยาวชน การทำกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการศึกษาอบรมต้องคำนึงถึงเพศ อายุ สุขภาพ สภาวะจิตใจ ความพร้อมด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของเด็กและเยาวชน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็น การขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี ข้อ ๑๓ ให้สถานศึกษาใช้ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมในการ จัดกิจกรรม การเรียนรู้ อุปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองสิทธิของ เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา รวมทั้งเด็กและเยาวชนที่ยากไร้ เด็กและเยาวชนพิการ หรือทุพพล ภาพ หรือเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส และเด็กและเยาวชนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาที่อยู่ในสถานศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ โดยการ ร่วมมือกับชุมชน และประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดย คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชนเป็นลำดับแรก ข้อ ๑๔ สถานศึกษาต้องให้เสรีภาพ และส่งเสริมการศึกษา อบรม และการเรียน การสอนแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่หรือศีลธรรมอันดี การคัดชื่อเด็กและ เยาวชนที่อยู่ระหว่างการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานออก หรือให้ออกจากสถานศึกษา จะกระทำมิได้ เว้นแต่เด็กหรือเยาวชนนั้นกระทำผิดทางอาญาอย่างร้ายแรง ที่มิใช่การกระทำโดยประมาท การย้ายเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษานั้น ๆ ออกจากสถานศึกษาจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะจัดหาสถานศึกษาหรือกระบวนการทางการศึกษาที่เหมาะสมรองรับ โดยการพิจารณาร่วมกัน ระหว่างเด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ข้อ ๑๕ ให้สถานศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านโภชนาการ สาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ดูแล รักษาความปลอดภัย รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาของเด็กและ เยาวชนอย่างต่อเนื่องเพียงพอและเหมาะสม ข้อ ๑๖ ให้สถานศึกษาดำเนินการส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษา และบุคลากร ทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิเด็กและเยาวชน ฝึกฝนทักษะและพัฒนาความสามารถ ในการให้คำปรึกษาและร่วมแก้ปัญหาของเด็กและเยาวชนเพื่อดำเนินการพิจารณาตรวจสอบแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้การปกป้องคุ้มครองอย่างมีเหตุผล รวมทั้งสร้างเสริมจิตสำนึกให้มีทัศนคติที่ดี ในการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนด้วย ให้สถานศึกษา จัดให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ถึงสิทธิและเสรีภาพของตน โดยทั่วถึงกัน ข้อ ๑๗ ให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาถือเป็นหน้าที่ในการ เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูเด็กและเยาวชนใน สถานศึกษาที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพย์ติด เด็กและเยาวชนที่พิการ ยากไร้ มีปัญหาทางกฎหมาย ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกกระทำละเมิดหรือเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก หรือประสบปัญหาอื่น ๆ ในกรณีที่มีการกระทำละเมิดสิทธิเด็กหรือมีการกระทำละเมิดต่อเด็กและเยาวชนให้ บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาที่รู้หรือเห็นการกระทำดังกล่าวมีหน้าที่แจ้งต่อผู้ บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และให้หัวหน้าสถานศึกษาดำเนินการที่จำเป็นโดยเร็ว เช่น ติดต่อผู้ปกครอง นำเด็กและเยาวชนไปตรวจร่างกาย ดำเนินการสอบสวน และร้องทุกข์ให้เป็นไป โดยเที่ยงธรรม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลืออื่นตามที่จำเป็น ข้อ ๑๘ ให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เด็กและเยาวชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการสอดส่อง ดูแลเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาให้ประพฤติตนอยู่ใน กรอบของกฎหมายและศีลธรรมอันดี ห้ามกระทำการใด ๆ ที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ จำหน่าย จ่ายแจกสื่อ หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ทางเพศที่ไม่เหมาะสมในสถานศึกษา ข้อ ๑๙ ให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาถือเป็นหน้าที่ที่จะต้อง จัดการศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาให้เกิดความรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้าน คุณธรรม จริยธรรม จนเป็นวิถีชีวิตอย่างสมดุล ยั่งยืน มีคุณภาพได้มาตรฐานและเหมาะสมกับ ศักยภาพ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ ให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการ ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาสิทธิเด็กและเยาวชนด้วยความยุติธรรม โดยการประสานกับชุมชน หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนอื่น ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยถือประโยชน์สูงสุดของเด็กและ เยาวชนเป็นสำคัญ ข้อ ๒๑ บุคลากรในสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาและหัวหน้าสถานศึกษา ที่ฝ่าฝืนระเบียบนี้ ต้องรับโทษทางอาญาหรือทางวินัย แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๒๖ง/๒๓/๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๒๒/๐๘/๒๕๔๔
438329
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ และข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ให้ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยมีผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติการให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสม เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ในกรณีจำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการต่างหน่วยงานในสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเสนอปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้ง ข้อ ๙ การให้ความช่วยเหลือตามข้อ ๖ ค. และข้อ ๗ ในกรณีเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบสาธารณภัยไปพลางก่อนให้สำนักงานเขตท้องที่เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการ ส่วนอำนาจการอนุมัติให้เป็นของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองอำนวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ครั้งละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน” ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ญาณี/พิมพ์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๒๘ ง/หน้า ๔๘/๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
324789
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ ------------ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อความในบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการ พัฒนาชุมชนและเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ ๗ ของระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ข้อ ความที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๔/พ๗๔ง/๓๔/๒ สิงหาคม ๒๕๔๔] ภคินี/แก้ไข ๒๕/๔/๒๕๔๕ A
312667
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ ----------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการ งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ (๒) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "สถานศึกษา" หมายความว่า โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เรียกชื่ออย่างอื่น "หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือผู้บริหารสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น "เงินบำรุงการศึกษา" หมายความว่า เงินที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เพื่อบำรุงการศึกษา นอกจากงบประมาณรายจ่าย และให้หมายความรวมถึงเงินที่สถานศึกษาได้รับ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่ได้รับจากการให้ใช้อาคารสถานที่หรือทรัพย์สินของสถานศึกษา (๒) เงินที่มีผู้มอบให้โดยไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์หรือระบุวัตถุประสงค์ไว้ไม่ชัดแจ้ง (๓) รายได้จากการดำเนินงานของสถานศึกษาในการรับจัดทำ รับบริการ รับจ้าง ผลิต จำหน่าย ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๔) เงินที่ได้จากการแสดงหรือกิจกรรมในหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรของ นักเรียน นักศึกษา ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๕) เงินที่ได้จากการจัดบริการให้แก่นักเรียน นักศึกษา เช่น การใช้บริการเครื่องถ่าย เอกสาร การขายสมุด หนังสือ เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องแต่งกาย และในกรณีที่สถานศึกษาไม่ได้ ดำเนินโครงการอาหารกลางวัน ให้รวมถึงเงินที่ได้จากการจัดบริการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มด้วย (๖) เงินผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ได้มาด้วยเงินบำรุงการศึกษาหรือทรัพย์สิน ที่มีผู้บริจาคให้สถานศึกษาเพื่อหาผลประโยชน์ เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เป็นต้น (๗) เงินส่วนลดค่าใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะ (๘) เงินค่าปรับจากการผิดสัญญายืมหนังสือห้องสมุดและเงินค่าปรับจากการพัสดุ ที่ใช้เงินบำรุงการศึกษา (๙) เงินรายรับอื่นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๕ เงินบำรุงการศึกษาไม่ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานครและจะนำ ไปจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ เฉพาะเพื่อการดำเนินงานในกิจการของสถานศึกษานั้น ๆ ในอันที่จะก่อ ประโยชน์ต่อสถานศึกษา และนักเรียน นักศึกษา เงินบำรุงการศึกษาที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้โดยมีวัตถุประสงค์แน่นอน ให้สถานศึกษาดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคหรืออุทิศ ถ้ามีเงินเหลือจ่ายให้ใช้เพื่อ ประโยชน์ต่อสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษาได้ ข้อ ๖ การรับเงิน สถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงิน ผู้บริจาคเงิน หรือผู้อุทิศเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน และให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินบำรุงการศึกษา (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม ยกเว้นการยืมเพื่อกิจการของสถานศึกษา (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จบำนาญ (๓) รายจ่ายที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๘ อำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินบำรุงการศึกษา (๑) หัวหน้าสถานศึกษา ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการเขต/ ผู้อำนวยการกอง ที่รับผิดชอบ ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนัก ที่รับผิดชอบ ครั้งละไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละ ๒๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ข้อ ๙ การพัสดุให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุ ข้อ ๑๐ การเก็บรักษาเงิน ให้หัวหน้าสถานศึกษาแต่งตั้งกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการครู กรุงเทพมหานครรักษาเงิน ๒ คน ร่วมกับหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ และให้เก็บไว้ใน สถานที่ปลอดภัยพร้อมที่จะตรวจสอบได้ โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินดังนี้ (๑) ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินได้ภายในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินเกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้นำฝากธนาคารของรัฐหรือธนาคารรัฐวิสาหกิจ หรือ ธนาคารที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบ ข้อ ๑๑ การบัญชี การรับเงิน และการจ่ายเงินให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานคร กำหนดและให้รวบรวมบรรดาเอกสารและหลักฐานการรับเงินและการจ่ายเงินนั้นไว้ให้ตรวจสอบได้ ข้อ ๑๒ ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานการรับเงินและการจ่ายเงินบำรุงการศึกษาให้ ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองที่รับผิดชอบทราบเป็นประจำทุกระยะสามเดือนและเมื่อสิ้น ปีงบประมาณให้รายงานสรุปการรับเงิน การจ่ายเงินประจำปี และเงินคงเหลือให้ผู้อำนวยการสำนัก ที่รับผิดชอบทราบด้วย ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๔ การบัญชี การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และกิจการอื่นใดที่อยู่ใน ระหว่างการดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ และ ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้ดำเนินการตาม ระเบียบดังกล่าวจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๒๖ง/๑๘/๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๒๗/๘/๔๔
413292
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี พ.ศ. ๒๕๔๖
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยที่มาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้กำหนดให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีได้ โดยให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานครวินิจฉัยสั่งการ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “ภาษี” หมายความว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่กรุงเทพมหานครจัดเก็บเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น “ภาษีค้าง” หมายความว่า ภาษีที่ต้องชำระตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ชำระ และให้รวมถึงเงินเพิ่มด้วย “ผู้ค้างภาษี” หมายความว่า ผู้ต้องรับผิดชอบชำระภาษีค้าง “การบังคับภาษีค้าง” หมายความว่า กระบวนการบังคับเรียกเก็บภาษีค้างในชั้นยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน “เจ้าพนักงานบังคับภาษี” หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำการบังคับภาษีค้าง “ยึด” หมายความว่า การกระทำใดๆ ต่อทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี เพื่อให้ทรัพย์สินนั้นได้เข้ามาอยู่ในความควบคุมดูแลหรือครอบครองของเจ้าพนักงานบังคับภาษี “อายัด” หมายความว่า การสั่งให้ผู้ค้างภาษีและหรือบุคคลภายนอกมิให้จำหน่ายจ่ายโอน หรือกระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้ รวมตลอดถึงการสั่งให้บุคคลภายนอกมิให้นำส่งทรัพย์สิน หรือชำระหนี้แก่ผู้ค้างภาษีและหรือให้ส่งมอบ หรือชำระหนี้ต่อกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด ข้อ ๖ การส่งหนังสือ เช่น หนังสือเตือน คำสั่งหรือประกาศตามระเบียบนี้ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๖.๑ ให้ส่งในเวลากลางวันระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการ ๖.๒ ให้ส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสถานที่ทำการของผู้รับหรือให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือสถานที่ทำการของผู้รับให้ส่งแก่ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ณ ภูมิลำเนา หรืออยู่ในบ้านหรือสถานที่ทำการของผู้นั้น ถ้าไม่สามารถจะส่งตามวิธีดังกล่าวได้ ให้ปิดไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสถานที่ทำการของผู้นั้น หรือลงประกาศแจ้งความในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย ๒ ฉบับ หรือโฆษณาด้วยวิธีอื่น เมื่อได้ปฏิบัติการตามวิธีดังกล่าว และเวลาได้ล่วงพ้นไปไม่น้อยกว่า ๗ วัน นับแต่วันที่ปฏิบัติการให้ถือว่าผู้รับได้รับหนังสือนั้นแล้ว หมวด ๒ การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี ส่วนที่ ๑ วิธีการเร่งรัดภาษีค้าง ข้อ ๗ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิยึดทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย หากผู้ค้างภาษียังไม่นำเงินภาษีค้างมาชำระ ให้พนักงานเก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ แล้วแต่กรณี ออกหนังสือเตือนตามแบบ ภ.กทม.๑ โดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องให้เวลาผู้ค้างภาษีนำเงินมาชำระภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือเตือน ข้อ ๘ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๗ แล้วปรากฏว่า ๘.๑ ผู้ค้างภาษีมาพบตามกำหนดเวลา และมีความประสงค์จะขอชำระภาษีค้างเป็นงวดรายเดือนให้ปฏิบัติตามระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครกำหนด ๘.๒ ผู้ค้างภาษีขอชำระภาษีค้างแต่เพียงบางส่วน ให้รับชำระภาษีนั้นไว้ก่อนแล้วบันทึกถ้อยคำและรายการทรัพย์สินไว้เป็นหลักฐาน ส่วนที่เหลือให้ปฏิบัติตาม ๘.๑ ๘.๓ ผู้ค้างภาษีไม่มาพบตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ หรือมาพบแต่ไม่ยินยอมชำระหรือผิดนัดไม่ชำระภายในกำหนดเวลาตาม ๘.๑ หรือ ๘.๒ ให้บันทึกเหตุผลไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ออกหนังสือเตือนครั้งสุดท้ายตามแบบ ภ.กทม.๒ ขึ้นโดยเร็ว ให้ผู้ค้างภาษีนำเงินมาชำระ โดยกำหนดให้นำเงินมาชำระภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันได้รับหนังสือเตือนครั้งสุดท้าย เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ค้างภาษียังไม่ได้ชำระเงินตามกำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ แล้วแต่กรณี กำหนดตัวผู้รับผิดชอบออกไปทำการสืบสวนหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี และเมื่อทำการสืบสวนหาทรัพย์สินแล้วให้ประมาณราคาทรัพย์สินนั้นตามข้อ ๒๙ หรือข้อ ๓๐ พร้อมทั้งทำรายงานการสืบสวนหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีตามแบบ ภ.กทม.๓ เสนอผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ แล้วแต่กรณี ให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ แล้วแต่กรณี เร่งรัดให้มีการสืบสวนหาทรัพย์สินโดยไม่ชักช้า ข้อ ๙ เมื่อทำการสืบสวนหาทรัพย์สินตามข้อ ๘ วรรคสองแล้ว ให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ แล้วแต่กรณี รายงานพร้อมเอกสารหลักฐานในการเร่งรัดภาษีค้าง รายงานการสืบสวนหาทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี ตามแบบ ภ.กทม.๓ พร้อมเสนอคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับภาษี ตามแบบ ภ.กทม.๔ คำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน ตามแบบ ภ.กทม.๕ ประกาศยึดทรัพย์สิน ตามแบบ ภ.กทม.๖ หรือคำสั่งให้อายัดทรัพย์สิน ตามแบบ ภ.กทม.๗ แล้วแต่กรณี เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนาม ส่วนที่ ๒ วิธีดำเนินการยึดทรัพย์สิน ข้อ ๑๐ ก่อนไปทำการยึดทรัพย์สิน ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีผู้ไปยึดทรัพย์สินตรวจสอบและทำความเข้าใจให้แน่ชัดว่าจะต้องยึดทรัพย์สินอะไรบ้าง ของใคร และจำนวนราคาทรัพย์สินที่จะยึดได้ตามกฎหมายมีประมาณเท่าใด ข้อ ๑๑ เจ้าพนักงานบังคับภาษีผู้ไปทำการยึดทรัพย์สิน ต้องนำสำเนาคำสั่งยึดทรัพย์สินและคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับภาษีกับเครื่องมือสำหรับทำการยึดทรัพย์สิน เช่น ครั่ง และตราตีครั่งไปด้วยพร้อมทั้งประกาศยึดทรัพย์สิน ตามแบบ ภ.กทม.๖ เพื่อติดไว้ ณ สถานที่ยึดทรัพย์สิน ข้อ ๑๒ ก่อนดำเนินการยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับภาษีต้องแสดงคำสั่งยึดทรัพย์สินและคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับภาษีต่อผู้ค้างภาษีหรือบุคคลที่ระบุไว้ใน คำสั่งยึดทรัพย์สิน ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าว ให้แสดงต่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น ข้อ ๑๓ เจ้าพนักงานบังคับภาษีต้องดำเนินการยึดทรัพย์สินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันการงานปกติ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินการยึดทรัพย์สิน เจ้าพนักงานบังคับภาษีมีอำนาจเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อที่จะเข้าไปในสถานที่ใดๆ อันเป็นของผู้ค้างภาษีหรือที่ผู้ค้างภาษีได้ครอบครองอยู่ เช่น บ้านที่อยู่ คลังสินค้า โรงงานและร้านค้าขาย เป็นต้น ทั้งมีอำนาจที่จะยึดและตรวจสมุดบัญชีหรือแผ่นกระดาษ และกระทำการใดๆ ตามสมควรเพื่อเปิดสถานที่หรือบ้านที่อยู่หรือโรงเรือนดังกล่าว รวมทั้งตู้นิรภัยหรือที่เก็บของอื่นๆ แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๑๕ ในการยึดทรัพย์สินรายใด ถ้ามีผู้ขัดขวาง ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีชี้แจงว่ากล่าวแต่โดยดีก่อน ถ้าผู้นั้นยังขัดขวางอยู่อีก เจ้าพนักงานบังคับภาษีชอบที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์สินจนได้ ข้อ ๑๖ ให้ยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีแต่เพียงประมาณราคาที่ควรจะขายทอดตลาดได้พอชำระหนี้ตามคำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าผู้ค้างภาษีมีทรัพย์สินซึ่งมีราคามากกว่าจำนวนเงินภาษีค้าง และมิอาจแบ่งยึดโดยมิให้ทรัพย์สินนั้นเสื่อมราคา เช่น ทำให้เปลี่ยนสภาพและราคาตกต่ำ เป็นต้น ทั้งทรัพย์สินอื่นที่จะยึดให้พอคุ้มจำนวนภาษีค้างไม่ปรากฏด้วยแล้ว ก็ให้ยึดทรัพย์สินที่ว่านั้นมาขายทอดตลาด ข้อ ๑๗ กรณีการยึดทรัพย์สิน ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างอยู่บนที่ดินหรือทรัพย์ที่มีทะเบียน เจ้าพนักงานบังคับภาษีต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสำเนาของโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือทะเบียนของทรัพย์สินนั้น เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของทรัพย์สินที่จะยึดและราคาประมาณของทรัพย์สินนั้น ๑๗.๑ กรณีการยึดที่ดิน หากควรเชื่อได้ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันแล้วให้จดชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียงเท่าที่ทราบกำกับไว้ในแผนที่จำลอง และแสดงให้เห็นสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินที่ยึดและแสดงด้วยว่าอยู่ใกล้ไกลจากสถานที่ราชการหรือที่ชุมชน หรือทางบก ทางน้ำ ประมาณระยะเท่าใด ๑๗.๒ กรณีการยึดเรือน โรง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจดขนาดกว้างยาวและบรรยายสภาพแห่งสิ่งนั้นๆ ว่าพื้น ประตู หน้าต่าง เสา เครื่องบนใช้วัสดุชนิดใด หลังคาอะไร มีกี่ชั้น กี่ห้องและเก่าใหม่อย่างใด เลขทะเบียนเท่าไร ถ้าเป็นสถานที่ให้เช่า ค่าเช่าเท่าใด ข้อ ๑๘ การยึดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ย่อมครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินและอุปกรณ์แห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๙ ในการยึดที่ดินของผู้ค้างภาษีถ้าที่ดินที่ยึดนั้นมีสิ่งปลูกสร้างหรือไม้ล้มลุก หรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี เป็นของผู้อื่นปลูกอยู่ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีบันทึกถ้อยคำของเจ้าของสิ่งนั้นๆ ให้ปรากฎว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินให้อยู่ในที่ดินนั้นหรือไม่และอาศัยสิทธิอะไร ข้อ ๒๐ การยึดที่ดินซึ่งมีไม้ยืนต้น ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจดชนิดและประมาณจำนวนต้นไม้ไว้ด้วยภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พ.ศ. ๒๔๗๕ การยึดที่ไร่นาซึ่งมีไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวได้ตามฤดูกาล จะยึดแต่ที่ดินไม่ยึดไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือจะยึดทั้งที่ดินและไม้ล้มลุกหรือธัญชาติด้วยก็ได้ ข้อ ๒๑ ถ้าอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมีดอกผลธรรมดาที่ผู้ค้างภาษีจะต้องเป็นผู้เก็บเกี่ยวหรือบุคคลอื่นเป็นผู้เก็บเกี่ยวในนามของผู้ค้างภาษี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับภาษีเห็นสมควรจัดการเก็บเกี่ยวเอง ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ค้างภาษีทราบเสียก่อนในขณะทำการยึด แล้วจึงทำการเก็บเกี่ยวดอกผลนั้นเมื่อถึงกำหนด ข้อ ๒๒ ในการยึดทรัพย์สินนั้น ให้ยึดเฉพาะส่วนของผู้ค้างภาษี แต่ถ้ามีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของผู้ค้างภาษีให้ยึดมาทั้งหมด ข้อ ๒๓ เมื่อยึดทรัพย์สินมาแล้วปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดนั้นมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทะเบียน ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีรีบแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการถอนยึดทรัพย์สินนั้น ตามควรแก่กรณี ข้อ ๒๔ เจ้าพนักงานบังคับภาษีต้องแสดงให้เห็นโดยประจักษ์แจ้งตามวิธีที่เห็นสมควรว่าได้มีการยึดทรัพย์สินแล้ว เช่น ๒๔.๑ สิ่งของให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปิดหรือผูกแผ่นเลขหมายสิ่งของที่ยึดให้ตรงตามบัญชีทรัพย์สิน ถ้าสามารถจะเก็บรวมเข้าหีบหรือตู้ได้ ก็ให้รวมไว้แล้วปิดหีบหรือตู้ประทับตราครั่งอีกชั้นหนึ่ง ๒๔.๒ ห้องแถว ตึกแถวหรือสิ่งปลูกสร้าง ให้ปิดเครื่องหมายไว้ทุกห้อง ๒๔.๓ สัตว์พาหนะและปศุสัตว์ จะใช้สีทาที่ขาด้านในตัวหรือที่ตัวหรือจะใช้แผ่นเลขหมายผูกคอหรือจะต้อนเข้าคอกและผูกเชือกประทับตราครั่งที่ประตูคอกก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร แต่อย่าให้เป็นการขัดข้องต่อการเลี้ยงรักษาสัตว์ ข้อ ๒๕ ห้ามยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี ดังต่อไปนี้ ๒๕.๑ เครื่องนุ่งห่มหลับนอนหรือเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควรจะกำหนดทรัพย์สินดังกล่าวที่ราคาเกิน ๕,๐๐๐ บาท ให้เป็นทรัพย์สินที่ไม่ต้องอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับภาษีค้าง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นตามฐานะของผู้ค้างภาษี ๒๕.๒ เครื่องมือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ถ้าผู้ค้างภาษียื่นคำร้องขอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขออนุญาตยึดหน่วงและใช้เครื่องมือหรือเครื่องใช้อันจำเป็นเพื่อดำเนินการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพอันมีราคาเกินกว่าจำนวนราคาดังกล่าวแล้ว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตภายในบังคับแห่งเงื่อนไขตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นสมควร ๒๕.๓ วัตถุ เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทนหรือช่วยอวัยวะของผู้ค้างภาษี ๒๕.๔ ทรัพย์สินอย่างใดที่โอนกันมิได้ตามกฎหมาย หรือตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ๒๕.๕ ทรัพย์สินของกสิกรตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของกสิกร พ.ศ. ๒๔๗๕ ดังได้แก่ พืชพันธุ์ที่ใช้ในปีต่อไปตามสมควร พืชผลที่เก็บไว้สำหรับเลี้ยงตัวและครอบครัวตามฐานานุรูปสำหรับหนึ่งปี สัตว์และเครื่องมือประกอบอาชีพที่มีไว้พอแก่การดำเนินอาชีพต่อไป ทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ จดหมายหรือสมุดบัญชีต่างๆ นั้น อาจยึดมาตรวจดูเพื่อประโยชน์แห่งการบังคับภาษีได้ถ้าจำเป็น แต่ห้ามมิให้เอาออกขายทอดตลาด ประโยชน์แห่งข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในข้อนี้ ให้ขยายไปถึงทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งอันเป็นของภรรยาหรือของบุตรผู้เยาว์ของผู้ค้างภาษี ซึ่งทรัพย์สินเช่นว่านี้ตามกฎหมายอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีหรือเป็นทรัพย์สินที่อาจบังคับเอาชำระหนี้ภาษีค้างได้ ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่ยึดโดยแสดงรายละเอียด เช่น ชื่อ ประเภท จำนวน ขนาด น้ำหนัก สภาพและราคาประมาณแห่งทรัพย์สิน เป็นต้น ตามลำดับหมายเลขไว้ ข้อ ๒๗ การจดบัญชีทรัพย์สิน ถ้าเป็นทรัพย์สินหลายสิ่งราคาเล็กน้อย จะมัดรวมหรือกองรวมกันแล้วจดเป็นเลขหมายเดียวก็ได้ ข้อ ๒๘ เมื่อได้กระทำการยึดทรัพย์สินเสร็จแล้ว ต้องปิดประกาศยึดทรัพย์สินไว้ ณ สถานที่ยึดโดยเปิดเผย ส่วนที่ ๓ การแจ้งและประมาณราคาทรัพย์สินที่ยึด ข้อ ๒๙ การประมาณราคาที่ดินพึงพิจารณาตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ประกอบกัน คือ ๒๙.๑ ราคาซื้อขายกันในท้องตลาดโดยคำนึงถึงสภาพแห่งที่นั้นว่าเป็นที่อะไร เช่น ที่ปลูกตึกแถว เรือนแถว ให้เช่า หรือที่บ้าน ที่สวน ที่นา ที่ไร่ เป็นต้น และที่นั้นอยู่ในทำเลอย่างไร เช่น อยู่ในทำเลค้าขาย ที่ชุมนุมชน หรือใกล้ทางบก ทางน้ำ ท่าเรือ หรือมีประโยชน์รายได้มากน้อยเพียงใดเหล่านี้ เป็นต้น ๒๙.๒ ราคาที่ดินท้องที่นั้นหรือท้องที่ใกล้เคียง ซึ่งเคยมีการขายทอดตลาดไปแล้ว ๒๙.๓ ราคาซื้อขายหรือจำนองหรือขายฝากครั้งสุดท้ายของที่ดินที่ยึดและที่ดินข้างเคียง ๒๙.๔ ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ข้อ ๓๐ การประมาณราคาทรัพย์สินนอกจากที่ดินให้ประมาณตามราคาซื้อขายในท้องตลาดตามสภาพความเก่าใหม่ของทรัพย์สินนั้นๆ ข้อ ๓๑. การประมาณราคาทรัพย์สินที่มีการจำนองหรือจำนำ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๒๙ และข้อ ๓๐ แต่ให้หมายเหตุไว้ด้วยว่า จำนอง หรือจำนำเมื่อใด ต้นเงินเท่าใด รวมดอกเบี้ยเท่าใด เพื่อประกอบดุลพินิจในการขายทอดตลาด ข้อ ๓๒ การยึดที่ดินมีโฉนดและที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด ตราจอง หรือใบไต่สวนตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นอันอยู่ในที่ดินให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีรีบแจ้งการยึดไปยังเจ้าพนักงานที่ดิน ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ ข้อ ๓๓ การยึดสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บนที่ดินของผู้อื่นที่มีโฉนด ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีแจ้งชื่อเจ้าของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบเพื่อมิให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้ผู้อื่น ข้อ ๓๔ เมื่อได้ยึดเรือกำปั่น หรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีแจ้งการยึดไปยังกรมเจ้าท่า กรณียึดสังหาริมทรัพย์อื่นที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เครื่องจักร ให้แจ้งการยึดไปยังนายทะเบียนแห่งทรัพย์สินนั้น กรณียึดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่มีกฎหมายควบคุมไว้ ให้แจ้งการยึดไปให้นายทะเบียนทราบด้วย ข้อ ๓๕ การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับภาษีประมาณราคายังไม่สมควรก็ให้แก้ไขและให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีแจงให้ผู้ค้างภาษีทราบ และถ้าหากทรัพย์สินที่ยึดมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมให้แจ้งการยึดและราคาประมาณให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมทราบด้วย ถ้าไม่สามารถจะกระทำตามความในวรรคแรกได้ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีปิดประกาศแจ้งการยึดไว้ ณ สถานที่ที่ยึด ที่สำนักงานเขต ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครหรือประกาศแจ้งการยึดทรัพย์สินทางหนังสือพิมพ์รายวันไม่เกิน ๗ วัน ส่วนที่ ๔ การคัดค้านการยึดทรัพย์สิน ข้อ ๓๖ ถ้าบุคคลใดจะยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์สิน โดยกล่าวอ้างว่าผู้ค้างภาษีไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับภาษีได้ยึดไว้ ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น บุคคลนั้นอาจยื่นคำร้องขอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มีคำสั่งปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการได้รับคำร้องขอเช่นว่านี้ ให้งดการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้นไว้ในระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปเว้นแต่ ๓๖.๑ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงเวลาให้ชักช้า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ร้องวางเงินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือต่อคณะกรรมการในเวลาที่กำหนดตามจำนวนเงินที่เห็นสมควรเพื่อประกันความเสียหายใดๆ ที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุที่เนิ่นช้าในการขายทอดตลาดอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอนั้น ถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านี้ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ยกคำร้องนั้นเสียและมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อไป ๓๖.๒ ถ้าทรัพย์สินที่พิพาทนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ และมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องขอนั้นไม่มีเหตุอันควรฟังหรือถ้าปรากฏว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นสังหาริมทรัพย์ที่เก็บไว้นานไม่ได้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือจำหน่ายทรัพย์สินเช่นว่านี้โดยไม่ชักช้า ส่วนที่ ๕ การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ยึด ข้อ ๓๗ ทรัพย์สินที่ยึดไว้แล้วให้นำมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานเขตหรือสถานที่อื่นใดที่ผู้อำนวยการสำนักการคลังกำหนด แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของอื่นซึ่งลำบากต่อการขนย้ายให้มอบแก่บุคคลที่สมควรดูแลรักษาไว้ ในการที่จะให้ผู้ใดดูแลรักษาทรัพย์สินให้ถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ๓๗.๑ ถ้าผู้ค้างภาษียอมรับรักษาทรัพย์สินที่ยึดและเจ้าพนักงานบังคับภาษีเห็นสมควรจะมอบทรัพย์สินนั้นไว้ในความอารักขาของผู้ค้างภาษีก็ได้ ๓๗.๒ ถ้าผู้ค้างภาษีไม่รับรักษาทรัพย์สินที่ยึด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับภาษีเห็นสมควรจะมอบไว้ในความอารักขาของบุคคลอื่นซึ่งครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก็ได้ ๓๗.๓ ถ้าไม่สามารถปฏิบัติดังกล่าวใน ๓๗.๑ และ ๓๗.๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจะเช่าสถานที่เก็บทรัพย์สินและจ้างคนเฝ้าทรัพย์สินนั้นไว้ก็ได้ ข้อ ๓๘ ในกรณียึดอัญมณี เครื่องทองรูปพรรณ หรือของมีค่าอื่นๆ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีมอบแก่ผู้อำนวยการสำนักการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในที่อันปลอดภัยตามที่เห็นสมควร ข้อ ๓๙ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจดไว้ในรายงานยึดทรัพย์สินโดยชัดแจ้งว่าได้จัดการเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นอย่างไร และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยึดทรัพย์สินค่าเช่าสถานที่เก็บทรัพย์สิน ค่าจ้างดูแลรักษาทรัพย์สินเท่าใด ข้อ ๔๐ ให้ผู้รับรักษาทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนก็ดี หรือไม่มีค่าตอบแทนก็ดี หรือผู้ให้เช่าสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินก็ดี ทำหนังสือสัญญากับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๔๑ ในกรณีผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย ทำให้เสื่อมค่า ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดทุกเรื่อง หมวด ๓ การอายัดทรัพย์สิน ข้อ ๔๒ การอายัดทรัพย์สิน ให้นำเอาวิธีการยึดทรัพย์สินตามที่กล่าวมาใช้ปฏิบัติโดยอนุโลม หมวด ๔ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ส่วนที่ ๑ การขายทอดตลาดทรัพย์สินและคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด ข้อ ๔๓ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจัดทำรายงานเสนอให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีภาษี คำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน ประกาศยึดทรัพย์สิน บัญชีทรัพย์สินที่ยึด เป็นต้น รวมทั้งเสนอความเห็นว่าควรขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ในรายงาน พร้อมเสนอคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ภ.กทม.๘ เพื่อให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนาม หากทรัพย์สินที่ยึดมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ เจ้าพนักงานบังคับภาษีมีอำนาจขายทันที โดยวิธีที่เห็นสมควร แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทราบ ข้อ ๔๔ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาด ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยนิติกรของกองรายได้ สำนักการคลัง และอาจมีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย ตามแบบ ภ.กทม.๙ ให้คณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดในคณะกรรมการเป็นผู้ทำหน้าที่ ผู้ทอดตลาด ส่วนที่ ๒ วิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ข้อ ๔๕ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจัดทำประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะขาย เช่น ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน วัน เวลา สถานที่ที่จะขาย ชื่อ ประเภท ลักษณะ จำนวน ขนาด น้ำหนักและภาระติดพันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นๆ เป็นต้น ถ้าเป็นที่ดินให้แจ้งเนื้อที่เขตกว้างยาวชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง สถานที่ตั้งพร้อมทั้งแผนที่พอสังเขป ตามแบบ ภ.กทม.๑๐ เสนอประธานคณะกรรมการเพื่อลงนาม ข้อ ๔๖ เมื่อประธานคณะกรรมการ ได้ลงนามในประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินตามแบบ ภ.กทม.๑๐ แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีจัดส่งประกาศเรื่อง ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ค้างภาษีและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ที่จะขาย สถานที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ที่ชุมนุมชนและสถานที่ราชการอันสมควรจะปิดได้ ก่อนกำหนดวันขายไม่น้อยกว่า ๗ วัน อนึ่ง ถ้าเจ้าพนักงานบังคับภาษีเห็นสมควร จะลงประกาศโฆษณาการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นในหนังสือพิมพ์รายวัน หรือทางวิทยุกระจายเสียง หรือทางโทรทัศน์ก่อนกำหนดวันขายไม่น้อยกว่า ๗ วันก็ได้ ข้อ ๔๗ การกำหนดวันขายทอดตลาดในประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ถือเกณฑ์ดังนี้ ๔๗.๑ ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กำหนดวันขายไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน แต่ไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ที่ลงประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สิน ๔๗.๒ โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ และทรัพย์สินอื่น กำหนดวันขายไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน แต่ไม่เกิน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ที่ลงประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สิน ๔๗.๓ ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนคณะกรรมการอาจขายทอดตลาดทรัพย์สินได้เมื่อพ้นระยะเวลาอย่างน้อย ๕ วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์สินเสร็จแล้ว ข้อ ๔๘ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้คณะกรรมการถือปฏิบัติ ดังนี้ ๔๘.๑ ก่อนขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปักธงเครื่องหมายการขายทอดตลาดของกรุงเทพมหานคร ๔๘.๒ ให้อ่านประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สิน ณ สถานที่ขายโดยเปิดเผย ๔๘.๓ ให้ทำการขายโดยเปิดเผย ๔๘.๔ คณะกรรมการหรือผู้ทอดตลาด โดยตนเองหรือจะใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ตนเป็นผู้จัดการขายไม่ได้ ๔๘.๕ เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าทรัพย์สินที่ทำการขายทอดตลาดมีมูลค่าสูงมาก หรือมีผู้ใดจะสู้ราคาโดยไม่สุจริตก็ดี หรือไม่สามารถจะชำระราคาได้ก็ดี ให้คณะกรรมการจัดให้มีการวางหลักประกันที่เชื่อถือได้ตามที่เห็นสมควร ๔๘.๖ เมื่อประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว หากมีเหตุอันสมควรอาจเลื่อนหรืองดการขายทอดตลาดทรัพย์สินในครั้งนั้นได้ ๔๘.๗ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามปกติให้ผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงขายด้วยวิธีเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ถ้ายังไม่ได้แสดงเช่นนั้นผู้สู้ราคาจะถอนคำสู้ราคาก็ได้ ๔๘.๘ ตามปกติให้ผู้ทอดตลาดร้องขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งและกล่าวคำว่า “หนึ่ง” ๓-๔ หน ถ้าไม่มีผู้สู้ราคาสูงขึ้นให้เปลี่ยนร้องขานจำนวนเงินนั้นเป็นครั้งที่สองและกล่าวคำว่า “สอง” อีก ๓-๔ หน เมื่อไม่มีผู้สู้ราคาสูงกว่านั้นและคณะกรรมการเห็นว่าได้ราคาพอสมควรก็ให้ผู้ทอดตลาดกล่าวคำว่า “สาม” พร้อมกับเคาะไม้ หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด แต่ถ้าก่อนเคาะไม้หรือแสดงกิริยาดังกล่าวมีผู้สู้ราคาสูงขึ้นไปอีกก็ให้ร้องขานราคานั้นตั้งต้นใหม่ตามลำดับ ๔๘.๙ ถ้าผู้สู้ราคาถอนคำสู้ราคาของตนเสียก่อนที่ผู้ทอดตลาดเคาะไม้ หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดให้ผู้ทอดตลาดตั้งต้นร้องขานราคาใหม่ ๔๘.๑๐ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้คณะกรรมการบันทึกเหตุการณ์การขายทอดตลาดไว้ทุกครั้งโดยมีข้อความอย่างน้อย ดังนี้ ๔๘.๑๐.๑ จำนวนบุคคลซึ่งมาฟังการขายและสู้ราคา ๔๘.๑๐.๒ ในการสู้ราคาทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ให้บันทึกชนิดของทรัพย์สิน ชื่อและราคาของผู้ให้ราคาสูงสุด รวมทั้งชื่อและราคาของผู้ให้ราคาลำดับรองลงมาอีก ๒ ราคา (ถ้ามี) ส่วนกรณีการสู้ราคาทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ ให้บันทึกชนิดของทรัพย์สิน ชื่อและราคาของผู้ให้ราคาสูงสุดเท่านั้น ๔๘.๑๐.๓ คณะกรรมการได้ขายให้หรือไม่ เพราะเหตุใด ๔๘.๑๐.๔ คณะกรรมการและผู้ทอดตลาดต้องลงชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้ ๔๘.๑๑ ถ้าทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเป็นตู้นิรภัย หีบ หรือกำปั่นเหล็กให้คณะกรรมการจัดการเปิดเสียก่อนจึงจะขายทอดตลาดได้ ๔๘.๑๒ การขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทซึ่งผู้ยึดถือครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายเสียก่อน เช่น อาวุธปืน เป็นต้น ให้ผู้ซื้อวางเงินมัดจำไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของราคาซื้อและให้ผู้ซื้อจัดการนำใบอนุญาตมาแสดงภายใน ๓๐ วัน พร้อมทั้งชำระเงินที่ค้างให้ครบถ้วน ถ้าพ้นกำหนดนี้แล้วผู้ซื้อไม่สามารถนำใบอนุญาตมาแสดงได้ ก็ให้ริบเงินมัดจำนั้นและให้จัดการขายทอดตลาดใหม่ได้ ๔๘.๑๓ การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จะต้องมีใบอนุญาตกำกับ เช่น สุราตั้งแต่ ๑๐ ลิตรขึ้นไป ให้คณะกรรมการขอความร่วมมือไปยังเจ้าพนักงานสรรพสามิตจัดการออกใบอนุญาตขนสุราให้แก่ผู้ซื้อด้วย ๔๘.๑๔ การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ติดจำนอง ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับจำนองทราบถึง วัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาด พร้อมทั้งให้สอบถามผู้รับจำนองถึงรายละเอียดของการจำนอง เช่น ต้นเงิน ดอกเบี้ยที่ค้างชำระตลอดจนวิธีการขายทอดตลาดว่าจะให้ขายโดยติดจำนองหรือปลอดจำนอง ถ้าผู้รับจำนองไม่แจ้งให้ทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแล้ว ก็ให้ขายทรัพย์สินโดยติดจำนอง ในกรณีที่ได้รับแจ้งจากผู้รับจำนองให้ขายทรัพย์สินโดยปลอดจำนองคณะกรรมการอาจพิจารณา ให้ขายทรัพย์สินโดยติดจำนองก็ได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การขายทรัพย์สินอย่างติดจำนอง ให้แสดงรายชื่อผู้รับจำนองพร้อมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยที่ยังค้างชำระจนถึงวันขาย และข้อความว่าผู้ใดซื้อทรัพย์สินนั้นต้องรับภาระจำนองติดไปด้วย ไว้ในการประกาศเรื่องขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยชัดเจน การขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง การกำหนดราคาขายให้พิจารณาถึงต้นเงิน ดอกเบี้ยจำนอง ซึ่งยังค้างชำระแก่ผู้รับจำนองจนถึงวันขาย พร้อมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาด และเงินภาษีค้าง ถ้าคาดหมายว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่อาจปลดเปลื้องหนี้ภาษีได้ หรือหากขายทอดตลาดแล้วเจ้าหนี้จำนองจะได้รับเงินจากการขายทอดตลาดไปทั้งหมด ก็ให้งดการขายทอดตลาดและรายงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งการเป็นรายๆ ไป การขอรับชำระหนี้ของผู้รับจำนอง ให้ถือหนังสือตอบรับของผู้รับจำนองตามวรรคหนึ่งเป็นคำขอรับชำระหนี้จำนอง ก่อนจ่ายเงินชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ย ต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อนว่าหนี้จำนองและดอกเบี้ย เป็นหนี้บุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญหรือไม่ และผู้รับจำนองได้ปลดหนี้จำนองให้แล้วพร้อมทั้งให้ขอใบรับยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการชำระหนี้จำนอง พร้อมดอกเบี้ยด้วยจึงจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจำนองได้ ๔๘.๑๕ ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลายสิ่ง ให้ปฏิบัติดังนี้ ๔๘.๑๕.๑ การขายทรัพย์สินที่มีหลายสิ่งโดยแยกขายทีละสิ่งต่อเนื่องกัน คณะกรรมการมีอำนาจ ดังนี้ ๔๘.๑๕.๑.๑ จัดสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาเล็กน้อยรวมกันขายเป็นกองๆ ได้ ๔๘.๑๕.๑.๒ จัดสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์สองสิ่ง หรือมากกว่านั้นขึ้นไปรวมขายไปด้วยกันได้ เมื่อเป็นที่คาดหมายว่าจะได้ราคาเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น ๔๘.๑๕.๒ ในการขายอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ และอาจแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ ได้ คณะกรรมการมีอำนาจขายทรัพย์สินนั้นเป็นส่วนๆ ได้ เมื่อเป็นที่คาดหมายว่าจะได้ราคาเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนั้น ๔๘.๑๕.๓ ในการขายทรัพย์สินหลายสิ่งด้วยกัน คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดลำดับที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ ๔๘.๑๕.๔ บุคคลที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดอาจร้องขอให้คณะกรรมการรวมหรือแยก หรือให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือจะร้องคัดค้านการขายของคณะกรรมการใน ๔๘.๑๕.๑ ถึง ๔๘.๑๕.๓ ก็ได้ ในกรณีที่คณะกรรมการไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องขอหรือคำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นคำร้องขอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยทำเป็นคำร้องภายใน ๒ วัน นับแต่วันปฏิเสธ เพื่อขอให้มีคำสั่งชี้ขาดในเรื่องนั้นก็ได้ ๔๘.๑๖ กรณีผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดการชำระราคานั้นจะขอหักส่วนได้ของตนออกจากราคาซื้อก็ได้ ๔๘.๑๗ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามปกติเมื่อผู้ทอดตลาดตกลงขายโดยวิธีเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ซื้อต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์สินซึ่งมีราคาตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป คณะกรรมการอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อวางมัดจำไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของราคาซื้อและทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลาไม่เกิน ๑๕ วันนับแต่วันที่ซื้อนั้นก็ได้ ถ้าผู้ซื้อวางมัดจำไว้แล้วไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนดตามสัญญาให้ริบเงินมัดจำที่ผู้ซื้อวางไว้และถือว่าเงินมัดจำนั้นเป็นเงินส่วนหนึ่งจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีย่อมนำไปชำระค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึด อายัด ขายทอดตลาดทรัพย์สิน และภาษีค้างโดยให้คณะกรรมการเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดใหม่ได้ ในกรณีที่ผู้ทอดตลาดมีเหตุสงสัยว่า ผู้ใดจะสู้ราคาโดยไม่สุจริตก็ดี หรือไม่สามารถจะชำระราคาได้ก็ดีให้ผู้ทอดตลาดจัดการสอบถามผู้นั้นเสียก่อนจึงเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดก็ได้ ๔๘.๑๘ เมื่อการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยผู้ทอดตลาดตกลงขายโดยวิธีเคาะไม้หรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาดแล้ว ถ้าผู้ซื้อไม่ชำระเงินหรือไม่วางเงินมัดจำตามข้อสัญญา ให้คณะกรรมการเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก และแจ้งให้ผู้ซื้อเดิมทราบกำหนด วัน เวลา ขายด้วย ได้เงินเท่าใด เมื่อหักค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าขายทอดตลาดครั้งก่อนให้จัดการเรียกร้องให้ผู้ซื้อเดิมชำระเงินส่วนที่ยังขาดนั้น ตลอดจนเสนอคดีต่อศาลหากจำเป็น ๔๘.๑๙ เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าราคาซื้อที่มีผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพออาจถอนทรัพย์สินนั้นจากการขายทอดตลาดได้แล้วดำเนินการประกาศขายใหม่อีก โดยไม่ต้องขออนุญาตในการขายทอดตลาดอีก ข้อ ๔๙ สถานที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ ๔๙.๑ ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน โรง และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ซึ่งมิได้ยึด อายัดไว้รวมกับที่ดินให้ขายทอดตลาด ณ สำนักงานเขตท้องที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่อื่นตามที่ประธานคณะกรรมการกำหนด ๔๙.๒ ทรัพย์สินอื่นๆ ให้ขาย ณ สำนักงานเขตเจ้าของเรื่องที่ทำการยึด หรือสถานที่อื่นที่ประธานคณะกรรมการกำหนด ข้อ ๕๐ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินแล้ว ให้คณะกรรมการรายงานผลการขายทอดตลาดนั้นทุกครั้งแก่ผู้อำนวยการสำนักการคลังภายใน ๗ วันทำการนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด ตามแบบ ภ.กทม.๑๑ ในกรณีที่ไม่อาจขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดได้ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด ส่วนที่ ๓ การโอนและการส่งมอบ ข้อ ๕๑ การขายทอดตลาดทรัพย์สิน เมื่อผู้ซื้อชำระเงินครบถ้วนแล้วให้คณะกรรมการส่งมอบทรัพย์นั้นให้ผู้ซื้อไปได้ ถ้าเป็นทรัพย์ที่จะต้องแก้ทะเบียนชื่อผู้เป็นเจ้าของ เช่น อาวุธปืน รถยนต์ เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหนะ เป็นต้น ให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ แล้วแต่กรณี แจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นๆ จัดการแก้ทะเบียนให้ด้วย ส่วนที่ดินหรือโรงเรือนซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองรายได้ แล้วแต่กรณี แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจัดการโอน หมวด ๕ การงดหรือการถอนการบังคับคดี ส่วนที่ ๑ การงดการบังคับภาษี ข้อ ๕๒ ให้งดการบังคับภาษีในกรณีดังต่อไปนี้ ๕๒.๑ เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายได้มีคำสั่งงดการบังคับภาษีและได้ส่งคำสั่งนั้นไปให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการทราบ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการงดการบังคับภาษีและดำเนินการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสั่งการ ๕๒.๒ ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม เมื่อมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินเช่นว่านั้นไว้ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล ข้อ ๕๓ ถ้าได้งดการบังคับภาษีตามข้อ ๕๒ ให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการดำเนินการบังคับภาษีต่อไป เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายได้สั่ง หรือเมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์สินหรือมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้ค้างภาษี ส่วนที่ ๒ การถอนการบังคับภาษี ข้อ ๕๔ เมื่อผู้ค้างภาษีได้ชำระภาษีค้าง พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการบังคับภาษี หรือศาลมีคำสั่งให้ถอนการบังคับภาษี ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสั่งถอนการบังคับภาษี ตามแบบ ภ.กทม.๑๒ และให้เจ้าพนักงานบังคับภาษีหรือคณะกรรมการมอบคืนทรัพย์สินแก่ผู้ค้างภาษีและให้แจ้งการถอนแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย หมวด ๖ วิธีรับและจ่ายเงิน ข้อ ๕๕ การรับเงิน การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและการเบิกจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ดำเนินการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน ข้อ ๕๖ เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้หักเป็นภาษีค้าง ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการยึด อายัดและขายทอดตลาด กรณีที่มีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ผู้อำนวยการสำนักงานการคลังส่งคืนเงินที่เหลือนั้นให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับ หมวด ๗ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๕๗ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นการอย่างอื่นหรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูภาพจากข้อมูลกฎหมาย] มัตติกา/พิมพ์ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๖ สุภาพร/แก้ไข ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ นิลวรรณ/อรรถชัย/ตรวจ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ A+B [๑] รก.๒๕๔๖/พ๗๖ง/๒๙/๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖
323482
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๔ ------------ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินการ เบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่าย เงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๕) ของข้อ ๔๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ "(๕) กรณีที่หน่วยการคลังจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค ให้หน่วยการคลังสามารถเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการใช้แคชเชียร์เช็คได้" ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๓๖ง/๑๕/๑๘ เมษายน ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๒๕/๙/๔๔
312742
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔ ------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุง สถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการ งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการ สาธารณสุข (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุง สถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงิน บำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๘ รายจ่ายดังต่อไปนี้ ห้ามสถานบริการสาธารณสุขจ่ายจากเงินบำรุง (๑) เงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการโดยตรงหรือ เป็นการยืมเพื่อกิจการที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณ ประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักอนามัยและให้ผู้มีอำนาจอนุมัติให้ยืมเฉพาะ เท่าที่จำเป็น เพื่อใช้ในราชการ ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่นๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ (๔) รายจ่ายตามที่ระเบียบกรุงเทพมหานครกำหนดห้ามไว้" ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุง สถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงิน บำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๑๑ ทุกวันสิ้นเดือนให้สถานบริการสาธารณสุขนำเงินบำรุงสมทบไว้ที่สำนัก อนามัยร้อยละห้าสิบของรายรับประจำเดือนนั้นๆ และให้สำนักอนามัยปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ ยกเว้น เงินยืมตามข้อ ๘ (๑) ห้ามจ่ายเงินยืมครั้งหนึ่งเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท" ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๓๖ง/๑๓/๑๘ เมษายน ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๒๕/๙/๔๔
312793
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาด บริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาด บริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย พ.ศ. ๒๕๔๔ ----------- ด้วยเป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษา ความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย เพื่อความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย บนทางเท้า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการ รักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้ใดตั้งวางแผงลอยบนทางเท้า ให้ชำระค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณ ทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอยในอัตรา ดังนี้ ๓.๑ ขนาดพื้นที่ไม่เกิน ๑ ตารางเมตร เดือนละ ๑๕๐ บาท ๓.๒ ขนาดพื้นที่เกิน ๑ ตารางเมตร คิดค่าบริการเพิ่มขึ้นต่อพื้นที่ทุก ๐.๕๐ ตาราง เมตร เดือนละ ๑๕๐ บาท เศษของ ๐.๕๐ ตารางเมตร ให้คิดเป็น ๐.๕๐ ตารางเมตร ข้อ ๔ ให้สำนักงานเขตจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวาง แผงลอยตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ ๓ ข้อ ๕ ให้จัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอยจาก ผู้ค้าทุกรายที่ตั้งวางแผงลอย ณ จุดผ่อนผันและจุดทบทวน ในกรณีที่มีผู้ค้าหลายผลัด ให้เก็บค่าบริการจากผู้ค้าทุกผลัดด้วย ข้อ ๖ ให้จัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย เป็นรายเดือน ข้อ ๗ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๘ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๔๗ง/๑๙/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔] ละออง/พิมพ์/19/07/44
324630
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔ ------------ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุน พัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้ จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวาง ระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุม ชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกกรรมการในลำดับ ๖ ของข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ กรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๒ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "๖. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนหรือผู้แทน เป็นกรรมการ" ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๖๔ง/๒๐/๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๔] อัมพิกา/แก้ไข ๕/๑๐/๔๔
316209
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนฟ้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๔ --------------- ด้วยกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมานานกว่า ๒๐๐ ปี มีอาคารและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางด้านประวัติ ศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม อันวิจิตรประณีตงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของ เมืองและเป็นมรดกสิบทอดความรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น แต่ด้วยกาลเวลา ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อาหารและสิ่งก่อสร้างอันทรงคุณค่าเหล่านี้ โดยเฉพาะที่อยู่ในความรับผิดชอบ หรือครอบ ครองดูแลของภาคเอกชน อยู่ในสภาพทรุดโทรมลดความงดงามเป็นอย่างมาก เกินกว่ากำลังของ เอกชนคนใดคนหนึ่งที่จะดำเนินการแก้ไขด้วยตนเอง สมควรที่ภาคราชการและประชาชนจะได้ร่วม มือกันในการอนุรักษ์ บูรณะซ่อมแซมและสงวนรักษาอาคารและสิ่งก่อสร้างอันทรงคุณค่าเหล่านี้ไว้ เพื่อให้เป็นมรดกสืบทอดทางประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิต ดั้งเดิมไปยังอนุชนรุ่นหลังด้วยการจัดตั้ง "กองทุนฟื้นเมืองกรุงเทพมหานคร" ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ มีส่วนร่วมบริจาคเงินและทรัพย์สินสมทบกองทุน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อ ไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูเมือง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์ และบริเวณต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งใด ในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออก คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ตลอดจนมีอำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการ ปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิจฉัยของปลัดกรุงเทพมหานครให้เป็นที่สุด หมวด ๑ นิยาม ------------- ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ "กองทุน" หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพ มหานคร "การฟื้นฟู" หมายความว่า การทำให้กลับเจริญงอกงาม "ฟื้นฟูเมือง" หมายความว่า การอนุรักษ์ การสงวนรักษา การปฏิสังขรณ์และ การบูรณะ ส่วนต่าง ๆ ของเมือง "การอนุรักษ์" หมายความว่า การดูแลรักษาเพื่อให้คงคุณค่าไว้ "การสงวนรักษา" หมายความว่า การดูและรักษาไว้ตามสภาพของเดิมเท่าที่เป็น อยู่และป้องกันมิให้เสียหายต่อไป "การปฏิสังขรณ์" หมายความว่า การทำให้กลับคืนสู่สภาพอย่างที่เคยเป็นมา "การบูรณะ" หมายความว่า การซ่อมแซมและปรับปรุงให้มีรูปทรงและลักษณะ กลมกลืนหรือเหมือนของเดิม "อาคารประวัติศาสตร์" หมายความว่า อาคารหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งโดยอายุหรือ โดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอาคารนั้นเป็นประโยชน์ในทาง ศิลปะ ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี "อาคารอันควรค่าแก่การอนุรักษ์" หมายความว่า อาคารหรือสิ่งก่อสร้างเก่าที่มี คุณค่าทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม หรืออาคารหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งเคยเป็นที่พำนักของบุคคล สำคัญของประวัติศาสตร์ไทยหรืออาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญของประวัติ ศาสตร์ไทย หมวด ๒ กองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร ------------ ข้อ ๖ ให้จัดตั้ง "กองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร" ขึ้นในสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ (๑) การฟื้นฟูเมือง ชุมชนเมือง ภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม (๒) อนุรักษ์ สงวนรักษา ปฏิสังขรณ์และบูรณะอาคารประวัติศาสตร์ อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ หรืออาคารหรือสิ่งก่อสร้างอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ (๓) การปรับปรุงถนน ทางเท้า สวน ที่ว่างและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยว กับ (๑) และ (๒) ข้อ ๗ กองทุนประกอบด้วยเงินหรือทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้สนับสนุนหรือบริจาคให้กองทุน (๒) ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๓) เงินรายรับอื่น เช่น เงินรายได้จากการจัดกิจกรรมของกองทุน ฯลฯ หมวด ๓ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร ----------------- ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานครประกอบด้วยผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการที่ปรึกษา ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานผังเมืองเป็นรองประธานกรรมการผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการ กองกฎหมายและคดี ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งอีกไม่เกิน ๗ คน เป็น กรรมการ และให้ผู้อำนวยการกองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมือง สำนักผังเมืองเป็นกรรมการ และเลขานุการ ให้ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน ๒ คน ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระและยังมิได้แต่งตั้ง กรรมการใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ ข้อ ๑๐ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจาก ตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นความ ผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท (๖) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ออก ข้อ ๑๑ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร อาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งดำรง ตำแหน่งแทนผู้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรง คุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดแนวทางในการบริหารเงินกองทุน ควบคุมงบประมาณของ เงินกองทุน การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนตามระเบียบนี้ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ขั้นตอนการปฏิบัติและการดำเนินการ อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินกองทุน (๓) ให้ความเห็นชอบโครงการที่มีผู้ยื่นเสนอ ตามวัตถุประสงค์ของกอง ทุนในข้อ ๗ (๔) อนุมัติแบบรายละเอียดประกอบโครงการใน (๓) และอนุมัติการใช้ จ่ายเงินกองทุน (๕) กำกับและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคล เพื่อดำเนินการในเรื่องใดเรื่อง หนึ่งตามความจำเป็น (๗) เชิญบุคคลจากหน่วยงานและส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การของรัฐและเอกชนมาช่วยดำเนินงาน ให้ คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ให้ข้อเท็จจริง ให้เอกสาร หลักฐานเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของกอง ทุน ข้อ ๑๓ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุม การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธาน ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานกิจการ และฐานะกิจการของเงินกอง ทุนรายงานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี หมวด ๔ การบริหารเงินกองทุน ------------- ข้อ ๑๕ เงินกองทุน ให้ใช้จ่ายได้เฉพาะโครงการที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในข้อ ๖ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามข้อ ๑๘ แล้ว ข้อ ๑๖ การขอใช้เงินกองทุน ให้จัดทำเป็นโครงการเสนอต่อสำนักผังเมืองโดย โครงการดังกล่าวต้องประกอบด้วย หลักการและเหตุผลตามความจำเป็น วิธีการดำเนินการ แผน งาน รูปแบบรายการและประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดทั้งชื่อผู้เสนอโครงการ ข้อ ๑๗ ให้สำนักผังเมืองดำเนินการตรวจสอบรายละเอียดโครงการ แบบราย การและประมาณการค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๖ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและนำเสนอ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการอนุมัติแบบรายการและอนุมัติให้ใช้เงินกอง ทุน ข้อ ๑๘ เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการอนุมัติแบบ รายการและอนุมัติการใช้จ่ายเงินกองทุนแล้ว ให้ผู้เสนอโครงการทำสัญญาให้ใช้เงินกองทุน ตาม แบบที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๙ การอนุมัติจ่ายเงินกองทุน ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภาย ในวงเงินดังต่อไปนี้ (๑) รองประธานกรรมการไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท (๒) ประธานกรรมการ ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๒๐ การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การก่อหนี้และการสั่งจ่ายเงินให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง ที่ กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๑ การรับเงินจากผู้บริจาคหรือผู้อุทิศเงินเข้ากองทุนทุกครั้งให้ออกใบเสร็จ รับเงินในนามของกรุงเทพมหานคร หมวด ๕ การเก็บรักษาเงินกองทุน และการเบิกจ่ายเงิน ------------- ข้อ ๒๒ ให้สำนักผังเมืองเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า "กองทุนฟื้นฟูเมืองกรุงเทพมหานคร" ข้อ ๒๓ ให้สำนักผังเมือง มีหน้าที่รับจ่ายเงิน ฝากเงิน เก็บรักษาเงินทำบัญชีรับ จ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่าย เงินตามระเบียบและเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ และให้รายงานการ รับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบภายในเดือนกันยายน ของทุกปี ข้อ ๒๔ การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินกองทุนให้เป็นอำนาจของบุคคลที่คณะ กรรมการแต่งตั้ง ข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดใน ระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการการกรุงเทพมหานคร [รก. ๒๕๔๔/พ๑๓๐ง/๑๕/๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๔] พรพิมล/พิมพ์/แก้ไข ๔ มิ.ย ๒๕๔๕ A
324829
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย พ.ศ. 2544
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาด บริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย พ.ศ. ๒๕๔๔ ------------- ด้วยเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่า บริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย เพื่อความสะอาดและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยบนทางเท้าให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๕ และข้อ ๑๑ แห่งข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ. ๒๕๔๓ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการ รักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอย พ.ศ. ๒๕๔๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจัดเก็บค่าบริการรักษา ความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งแผงลอย พ.ศ. ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ บรรดาคำสั่งหรือระเบียบอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือขัดแย้ง กับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ผู้ใดตั้งวางแผงลอยบนทางเท้า ให้ชำระค่าบริการรักษาความสะอาด บริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวางแผงลอยในอัตรา ดังนี้ ๔.๑ ขนาดพื้นที่ไม่เกิน ๑ ตารางเมตร เดือนละ ๑๕๐ บาท ๔.๒ ขนาดพื้นที่เกิน ๑ ตารางเมตร คิดค่าบริการเพิ่มขึ้นต่อพื้นที่ทุก ๐.๕๐ ตารางเมตร เดือนละ ๗๕ บาท เศษของ ๐.๕๐ ตารางเมตร ให้คิดเป็น ๐.๕๐ ตารางเมตร ข้อ ๕ ให้สำนักงานเขตจัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ ตั้งวางแผงลอยตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ ข้อ ๖ ให้จัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวาง แผงลอยจากผู้ค้าทุกรายที่ตั้งวางแผงลอย ณ จุดผ่อนผันและจุดทบทวน ในกรณีที่มีผู้ค้าหลายผลัด ให้เก็บค่าบริการจากผู้ค่าทุกผลัดด้วย ข้อ ๗ ให้จัดเก็บค่าบริการรักษาความสะอาดบริเวณทางเท้าที่ใช้ตั้งวาง แผงลอยเป็นรายเดือน เดือนละ ๒ ครั้ง โดยเก็บ ๑๕ วันครั้ง ข้อ ๘ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ ๙ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออก คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๙๒ง/๑๐/๒๑ กันยายน ๒๕๔๔] ภคินี/แก้ไข ๒๖/๔/๒๕๔๕ A
316484
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ พระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนให้ได้รับนิตยภัตในอัตราชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท วันละ ไม่เกิน ๒ ชั่วโมงต่อรูป” ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรพิมล/แก้ไข ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๒/๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
412972
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๖
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ การขอและการออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้แบบต่างๆ ท้ายระเบียบ ดังนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๓ (๔) คำขอเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการ สถานที่ หรือเครื่องจักรของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๔ (๕) ใบอนุญาตให้เปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการ สถานที่หรือเครื่องจักรของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๕ (๖) คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๖ (๗) ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ใช้แบบ อภ.๗ (๘) คำขอโอนการดำเนินกิจการ ให้ใช้แบบ อภ.๘ (๙) คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการ ให้ใช้แบบ อภ.๙ ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ให้แจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายในสิบห้าวัน นับแต่วันได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ได้รับอนุญาตไม่มารับใบอนุญาตและไม่ชำระค่าธรรมเนียมให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะประกอบกิจการ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเลิกการอนุญาตนั้น ข้อ ๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการเสียหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ พร้อมกับเอกสารการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย หรือถูกทำลาย ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] คำขอเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการ สถานที่ หรือเครื่องจักร ของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ใบอนุญาตให้เปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการ สถานที่ หรือเครื่องจักร ของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] คำขอโอนการดำเนินกิจการ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการ [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] หทัยชนก/พิมพ์ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๖ มัตติกา/แก้ไข ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๖ ทรงยศ/สุมลรัตน์/ตรวจ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ A+B [๑] รก.๒๕๔๖/พ๖๕ง/๕๒/๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๖
323423
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๓ ----------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิบัติราชการ เพื่อประชาชนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันและให้การดำเนินการของหน่วยงานของ กรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงออกระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อ ประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน พ.ศ. ๒๕๓๒ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่กำหนดเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และการปฏิบัติราชการที่มีกำหนดเวลาแน่นอนไว้แล้วโดยเฉพาะใน พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่มีผลบังคับแก่ หน่วยงานของรัฐโดยทั่วไปที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี หรือระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการนั้น ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ "วัน" หมายความว่า วันตามปีปฏิทิน "วันทำการ" หมายความว่า วันทำการตามปกติของหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร "คำขอ" หมายความว่า คำขอซึ่งประชาชนยื่นเพื่อให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการให้แก่ตนตามที่กำหนดในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือสัญญาที่หน่วยงานของ กรุงเทพมหานคร ทำกับประชาชน และหมายความรวมถึงเอกสาร แบบแปลน รูป และรายละเอียดอื่น ที่ต้องมีประกอบคำขอด้วย "ระเบียบข้อบังคับ" หมายความว่า กฎ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรี หรือคำสั่งของ ทางราชการที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปด้วย "ประชาชน" หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีกฎหมาย รับรอง "การปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน" หมายความว่า การดำเนินการของหน่วยงาน จนแล้วเสร็จตามคำขอที่ประชาชนยื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือสัญญาที่หน่วยงานทำกับ ประชาชนเพื่อให้หน่วยงานกระทำการอันมีผลในทางราชการไม่ว่าในทางที่สมประโยชน์แก่ผู้ยื่นคำขอ หรือไม่ เช่น การอนุญาต การอนุมัติ การให้ความเห็นชอบ การรับรอง การรับจดทะเบียน การรับแจ้ง การยกเว้น การผ่อนผัน การขยายระยะเวลา การทำเอกสารที่ประชาชนต้องมี การให้สัมปทาน การตรวจสอบ การควบคุม การวิเคราะห์ การตรวจรับงานหรือสิ่งของ การชำระหนี้ การให้คำวินิจฉัย และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการที่ไม่จำต้องมีคำขอ ได้แก่ การบริการที่มีลักษณะของการ บริการสาธารณะ การสงเคราะห์ การให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนด้วย "หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร" หมายความว่า หน่วยงานตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของ กรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง ข้อ ๖ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อ ๗ ขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของสำนัก สำนักการคลัง การรับเงินชำระค่าภาษี ๑๕ นาที ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ๑. ใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (ภ.ร.ด. ๘, ภ.ป. ๑) ๒. เขียนแบบฟอร์มบันทึกการขอชำระเงินตามประเภทภาษี (แบบ ค.ร. ๑) กำหนดยื่นแบบการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตั้งแต่ ๑ ม.ค. - สิ้นเดือน ก.พ. ภาษีป้าย ๑ ม.ค. - ๓๑ มี.ค. ภาษีบำรุงท้องที่ ๑๕ นาที ๑. ใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (ภ.ป.ท. ๙) หรือใบเสร็จ รับเงินของปีล่วงมาแล้ว ๒. เขียนแบบฟอร์มบันทึกการขอชำระเงินตามประเภทภาษี (แบบ ค.ร. ๑) ถ้าเป็นปีที่มีการตีราคาปานกลางจะต้อง มีใบแจ้งการประเมิน กำหนดยื่นแบบชำระภาษีตั้งแต่ ๑ ม.ค. - ๓๐ เม.ย. การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (กรณีโรงเรือนรายเก่า) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งก่อน ๓. แบบ ภ.ร.ด. ๒ ขั้นตอน ๑. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินยื่น แบบ ภ.ร.ด. ๒ พร้อมเอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ออกหมายเรียกผู้รับประเมินเพื่อนำพยานหลักฐานไป แสดงเพิ่มเติม ตรวจสอบสถานที่ หรือสภาพโรงเรือน สอบสวนผู้เช่า ผู้ครอง หรือเจ้าของโรงเรือนข้างเคียง เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมประเมินภาษี เขียน ภ.ร.ด. ๘ แจ้งการประเมินแก่ผู้รับประเมิน ๔๕ วันทำการ รวม ๔๕ วันทำการ การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (กรณีโรงเรือนรายใหม่) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตว ๒. สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน ๓. สำเนาใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ๔. สำเนาสัญญาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ๕. สำเนาโฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างโรงเรือน ๖. สำเนาสัญญาการเช่า ๗. สำเนาทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์ ๘. สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงงาน ๙. หลักฐานยื่นแสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของโรงเรือนพิกัด ภาษี ๑๐. สำเนาทะเบียนบ้านของโรงเรือนพิกัดภาษี ๑๑. แผนที่โรงเรือนของที่ตั้งโรงเรือนรายพิกัดภาษี ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคนให้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อใน แบบ ภ.ร.ด. ๒ ในฐานะผู้รับประเมินทุกคนหรือจะมอบอำนาจให้คนใด คนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากร แสตมป์ตามกฎหมาย ขั้นตอน ๑. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่เริ่มเสียภาษีเป็น ครั้งแรกต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือน และที่ดิน (ภ.ร.ด. ๒) พร้อมเอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมจากเจ้าของโรงเรือน สอบผู้เช่า หรือผู้ครอง สอบเจ้าของโรงเรือนใกล้เคียง ตรวจสอบ สภาพโรงเรือนและทำแผนที่โรงเรือน จัดหมวดหมู่โรงเรือน คำนวณค่ารายปีและประเมินภาษีส่ง ภ.ร.ด. ๒ และ เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังกองรายได้ สำนักการคลัง ๕๘ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ตรวจสอบสภาพโรงเรือน ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ที่จำเป็นกำหนดค่ารายปีค่าภาษี เสนอผู้อำนวยการกอง รายได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งส่งให้คณะกรรมการ ตรวจสอบและพิจารณากำหนดค่ารายปีค่าภาษีพิจารณา แล้วส่ง ภ.ร.ด. ๒ คืนให้สำนักงานเขต ๖๕ วันทำการ ๔. สำนักงานเขตได้รับเรื่องแล้ว ฝ่ายรายได้จะเขียน ภ.ร.ด. ๘ แจ้งผู้รับประเมินทราบ ๗ วันทำการ รวม ๑๓๐ วันทำการ การเสียภาษีบำรุงท้องที่ในกรณีที่มีการตีราคาปานกลางที่ดินใหม่ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น โฉนด หรือ น.ส. ๓ ๓. ใบเสร็จรับเงินที่ชำระไว้ครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) กรณีเจ้าของที่ดินไม่สามารถมาด้วยตนเองได้ ให้ผู้รับ มอบอำนาจนำหนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจรวมทั้ง หลักฐานอื่น ๆ ในข้อ ๑, ๒, ๓ มาแสดงด้วย ขั้นตอน ๑. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ที่ดิน (ภ.ร.ด. ๕) พร้อมเอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบสภาพที่ดิน กำหนดหน่วยและขอเอกสาร หลักฐานที่จำเป็นเพิ่มเติม คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ เขียนใบแจ้งการประเมิน (ภ.บ.ท. ๙) และส่งใบแจ้ง การประเมินให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีทราบ ๔๐ วันทำการ รวม ๔๐ วันทำการ การเสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ทะเบียนการค้า ๔. ทะเบียนพาณิชย์ ๕. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย ขั้นตอน ๑. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ต้องยื่นแบบแสดง รายการภาษีป้าย (ภ.ป. ๑) พร้อมเอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบป้าย ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมที่จำเป็น คำนวณค่าภาษีป้าย เขียนแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ป. ๓) แล้วส่งแบบแจ้งการประเมินให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ทราบ ๓๐ วันทำการ รวม ๓๐ วันทำการ การชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ณ กองการเงิน สำนักการคลัง ๑๕ นาที เอกสารประกอบ ๑. แบบเรื่องราวเสียภาษีรถประจำปี ๒. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ๓. กรมธรรม์การประกันภัยบุคคลที่ ๓ ๔. ใบตรวจสภาพรถ (ถ้าเกิน ๗ ปี) ขั้นตอน ๑. ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอพร้อมหลักฐานใบคู่มือจดทะเบียนรถ ๒. กองการเงินรับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน เขียนแบบ เรื่องราวเสียภาษีรถยนต์ประจำปี คำนวณภาษี รับชำระเงินเขียนใบเสร็จรับเงิน ส่งเอกสารต่าง ๆ ให้ กองรายได้ ๕ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ แยกประเภทรถยนต์ ทำบัญชี เรื่องราวฉบับละ ๔ แผ่น ๕ วันทำการ ๔. กองรายได้ส่งเรื่องให้สำนักงานทะเบียนรถยนต์สาขาต่าง ๆ ๓๐ วันทำการ (เพื่อรอให้ครบสาขา ละ ๑๐ รายเป็นอย่าง น้อย) ๕. สำนักงานทะเบียนรถยนต์ หรือสำนักงานทะเบียนรถยนต์ สาขา กรมการขนส่งทางบก ดำเนินการตรวจสอบและ ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีส่งให้กอง รายได้ ๗ วันทำการ ๖. กองรายได้ รับเอกสารกลับจากสำนักงานทะเบียนรถยนต์ แล้ว ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเครื่องหมายแสดงการ เสียภาษีประจำปีให้กองการเงิน ๕ วันทำการ ๗. กองการเงินแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอมารับเครื่องหมายแสดงการ เสียภาษีประจำปี ๓ วันทำการ รวม ๕๕ วันทำการ หมายเหตุ การชำระเงินภาษีรถยนต์ที่กองการเงิน ฝ่ายรับเงินให้ ผู้เสียภาษียื่นเรื่องก่อนกำหนดวันสิ้นอายุภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ เดือน และไม่เกิน ๒ เดือน กองรายได้รวบรวมแบบเรื่องราวเสียภาษีรถประจำปีใบคู่มือ จดทะเบียนรถและสำเนาหลักฐานการรับเงิน ยื่นต่อสำนักงาน ทะเบียนรถยนต์หรือสำนักงานทะเบียนรถยนต์สาขา เป็นการล่วงหน้าก่อนวันสิ้นอายุภาษีอย่างน้อย ๑ เดือน เมื่อสำนักงานทะเบียนรถยนต์หรือสำนักงานทะเบียน รถยนต์สาขารับเรื่องราวเสียภาษีรถประจำปีจากกรุงเทพ มหานครแล้ว และดำเนินการเสร็จเรียบร้อยจึงจ่ายใบคู่มือ จดทะเบียนรถเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้กอง รายได้ และกองรายได้นำส่งกองการเงิน เพื่อนำส่งให้ผู้เสีย ภาษีต่อไป การขอเช่าทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ผังบริเวณใกล้เคียงกับทรัพย์สินที่ขอเช่า ขั้นตอน ๑. ยื่นคำขอได้ที่กองรายได้ สำนักการคลังหรือที่สำนักงาน เขตที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ ๒. กองรายได้รับเรื่องโดยตรงหรือจากสำนักงานเขตแล้วแต่ กรณีดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน นำเสนอคณะกรรมการ พิจารณาการให้เช่าทรัพย์สิน ที่สาธารณะและท่าเทียบเรือ กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการ ฯ พิจารณา ขออนุมัติดำเนินการตามมติที่ประชุม ฯ โดยเสนอ ผู้อำนวยการสำนักการคลังเพื่อเสนอเรื่องให้ปลัดกรุงเทพ มหานครพิจารณาอนุมัติหรือนำเรียนผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครพิจารณาอนุมัติ ๔๐ วันทำการ ๓. ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติหรือนำเรียนผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ ๑๕ วันทำการ ๔. เมื่อสำนักการคลังได้รับเรื่องคืนแล้ว กองรายได้แจ้งให้ ผู้ยื่นคำขอทราบ ๕ วันทำการ รวม ๖๐ วันทำการ การอุทธรณ์การประเมินภาษีโรงเรือน ฯ ภาษีบำรุงท้องที่และ ภาษีป้าย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือแจ้งการประเมิน ๓. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่ผู้ยื่นคำขอกล่าวอ้าง ขั้นตอน ๑. ผู้ประสงค์จะอุทธรณ์การประเมินภาษี ยื่นคำขอพร้อม เอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบสภาพโรงเรือน สถานที่หรือป้ายแล้วแต่กรณี พิจารณาทำคำชี้แจงเหตุผลการประเมิน ทำแผนที่สังเขป แสดงภูมิถิ่นที่ตั้งของโรงเรือนผู้ร้อง และโรงเรือนนำเทียบ พร้อมหลักฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นเสนอผู้อำนวยการเขต ส่งเรื่องให้กองรายได้ สำนักการคลัง ๒๕ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน เสนอกองกฎหมายและคดี ๗ วันทำการ ๔. กองกฎหมายและคดีรับเรื่องแล้วดำเนินการต่อไป รวม ๓๒ วันทำการ การขอลดค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดิน เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. คำชี้แจงประกอบคำขอ (ถ้ามี) ๓. หลักฐานหรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบคำชี้แจง ขั้นตอน ๑. ผู้ประสงค์จะขอลดค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ยื่น คำขอพร้อมเอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน เรียก เอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม (ถ้าจำเป็น) ตรวจสอบสภาพ โรงเรือน สอบปากคำผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของโรงเรือน ข้างเคียง เสนอผู้อำนวยการเขต ส่งเรื่องให้กองรายได้ สำนักการคลัง ๓๐ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน เรียกให้เจ้าของทรัพย์สินหรือสำนักงานเขตส่งมอบ เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นเสนอผู้มีอำนาจพิจารณา อนุมัติหรือไม่อนุมัติแล้วกองรายได้รับเรื่องคืนแจ้งให้ สำนักงานเขตทราบ ๓๐ วันทำการ ๔. เมื่อสำนักงานเขตได้รับแจ้งแล้วฝ่ายรายได้แจ้งผู้ยื่นคำขอ ทราบ ๕ วันทำการ รวม ๖๕ วันทำการ การขอผ่อนภาษีค้างชำระ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวในกรณีผู้ขอผ่อนภาษีเป็นบุคคลธรรมดา กรณีผู้ขอผ่อนภาษีเป็นนิติบุคคลต้องนำหนังสือรับรอง ฐานะนิติบุคคลมาแสดงพร้อมด้วยบัตรประจำตัวของ ผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล ๒. หนังสือเตือนให้ชำระค่าภาษี (ถ้ามี) ๓. หลักประกันการผ่อนชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ ขอผ่อนชำระ เช่น โฉนดที่ดิน หรือหนังสือค้ำประกัน ของธนาคาร เงินสด เช็ค ขั้นตอน ๑. ผู้ประสงค์จะขอผ่อนภาษีค้างชำระต้องยื่นคำขอพร้อม เอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบจำนวนภาษีค้างชำระ ให้ผู้ขอผ่อนชำระทำ หนังสือรับสภาพหนี้ตามแบบที่กำหนด กรณีภาษีค้างชำระ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทเสนอผู้อำนวยการเขตพิจารณาอนุมัติ ได้ผลเป็นประการใดแล้วแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ กรณีภาษี ค้างชำระที่ขอผ่อนเกินหนึ่งหมื่นบาทเสนอผู้อำนวยการเขต ส่งเรื่องให้กรุงเทพมหานคร ๑๓ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานรวมถึงขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการ เสนอ ขออนุมัติต่อผู้มีอำนาจ ๓.๑ กรณีภาษีค้างชำระไม่เกินหนึ่งแสนบาท และขอ ผ่อนไม่เกิน ๑๒ งวด ขออนุมัติต่อผู้อำนวยการ สำนักการคลัง และผู้อำนวยการสำนักการคลัง พิจารณา ๓.๒ กรณีภาษีค้างชำระเกินกว่าหนึ่งแสนบาทและขอผ่อน ไม่เกิน ๑๒ งวด ขออนุมัติต่อปลัดกรุงเทพ มหานคร และปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณา นอกเหนือจากข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ ขออนุมัติต่อผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครพิจารณา ๖๐ วันทำการ ๔. เมื่อกองรายได้ ได้รับเรื่องคืนแล้วแจ้งสำนักงานเขตทราบ ๔ วันทำการ ๕. เมื่อสำนักงานเขตได้รับแจ้งแล้ว ฝ่ายรายได้แจ้งผู้ยื่นคำขอ ๕ วันทำการ ทราบ รวมของเขต ๑๓ วัน ทำการของกองรายได้ ๒๙ วันทำการ ๓๔ วัน ทำการ และ ๓๙ วันทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินของ ผู้มีอำนาจอนุมัติ) การขอคืนเงินค่าภาษี เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าภาษี ๓. คำชี้แจงประกอบคำร้องขอคืน (ถ้ามี) ๔. เอกสารหลักฐานประกอบคำชี้แจง ขั้นตอน ๑. ผู้ประสงค์ขอคืนเงินค่าภาษี ยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมที่จำเป็น ตรวจดูสภาพทรัพย์สิน ที่ขอคืนค่าภาษี เสนอผู้อำนวยการเขตส่งเรื่องให้กรุงเทพ มหานคร ๒๐ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม (ถ้าจำเป็น) พิจารณาเสนอ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง และปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณา อนุมัติหรือไม่อนุมัติ และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ ๖๐ วันทำการ ๔. เมื่อกองรายได้รับเรื่องคืนแล้วแจ้งให้สำนักงานเขตทราบ ๕. เมื่อสำนักงานเขตได้รับแจ้งแล้วตั้งฎีกาเบิกเงินค่าภาษีถอนคืน แก่ผู้ยื่นคำขอแล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อมารับเงิน ๒๐ วันทำการ รวม ๑๐๐ วันทำการ สำนักการโยธา ๑. การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย อาคารตั้งแต่ ๕ ชั้นขึ้นไป และสูงเกิน ๑๕ เมตร อาคารสาธารณะ สะพาน ป้ายโฆษณา กฎหมายบัญญัติให้ ดำเนินการภายใน กำหนด ๔๕ วัน นับ แต่วันที่ยื่นขออนุญาต ในกรณีมีเหตุจำเป็น ไม่อาจออกใบอนุญาต ได้ทันให้ขยายเวลาได้ อีกไม่เกิน ๒ คราว คราวละไม่เกิน ๔๕ วัน เอกสารประกอบ ๑. กรอกแบบฟอร์ม ข. ๑ พร้อมสำเนา ๔ ชุด (เพื่อสะดวก ในการแยกส่งหน่วยงานต่าง ๆ) ๒. สำเนาโฉนดที่ดินทุกแปลงทุกหน้า ถ่ายเท่าตัวจริง ๕ ชุด (พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า) ในกรณีใช้ทางภารจำยอม หรือเป็นทางเข้า - ออก รถยนต์ให้แนบสำเนาโฉนดที่ดินด้วย ๓. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกคน ๔. หนังสือจดทะเบียนบริษัท (บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สมาคม ฯลฯ) ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน กรณีบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๕. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินทุกแปลง (ในกรณีที่ดิน เป็นของผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ขออนุญาต) ๖. หนังสือมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนเจ้าของอาคาร (กรณีมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนเจ้าของอาคาร) ๗. หนังสือมอบอำนาจผู้ขออนุญาตในการติดต่อดำเนินการ (ถ้าต้องการมอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินการ) ๘. หนังสือมอบอำนาจเจ้าของที่ดินในการติดต่อดำเนินการ (ถ้าต้องการมอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินการ) ๙. สำเนาใบอนุญาตเดิม ๓ ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร) ๑๐. เอกสารที่เป็นสำเนาให้เจ้าของอาคารลงนามรับรองสำเนา ๑๑. หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม (พร้อมสำเนาบัตรที่ไม่หมดอายุ) ๑๒. หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม (พร้อมสำเนาบัตรที่ไม่หมดอายุ) ๑๓. แบบแปลน ๕ ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร แบบต้อง แสดงอาคารเดิมและส่วนที่ดัดแปลงให้ชัดเจน) ๑๔. รายการคำนวณโครงสร้าง ๑ ชุด ๑๕. รายการคำนวณระบบต่าง ๆ (น้ำเสีย) (ไฟฟ้า, เครื่องกล เฉพาะกรณีอาคารขนาดใหญ่พิเศษและอาคารสูง) ๑๖. แผนผังบริเวณให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า ๑ ใน ๕๐๐ แสดงลักษณะที่ตั้งและระยะขอบเขตของที่ดินและอาคาร ที่ขออนุญาตพร้อมด้วยรายละเอียดลักษณะและขอบเขต ของที่สาธารณะและอาคารในบริเวณที่ดินติดต่อโดยสังเขป พร้อมด้วยเครื่องหมายแสดงทิศตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ ข้อ ๙ (๒) (ง) ๑๗. ระยะขอบเขตที่ดินตามข้อ ๑๖ ให้แสดงรูปแผนที่โฉนด ที่ดินด้วย ในกรณีที่ใช้ที่ดินหลายแปลงให้แสดงรูป การต่อรูปแผนที่โฉนดที่ดินทุกแปลง ที่ประกอบเป็น ที่ดินที่ขออนุญาต สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๖๗๒ ๒. การขอต่ออายุใบอนุญาต เมื่อยื่นแบบ ข. ๕ ก่อนใบอนุญาตหมดอายุแล้ว ผู้ขอ สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้จนกว่ากรุงเทพมหานคร จะแจ้งการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต เอกสารประกอบ ๑. กรอกแบบฟอร์มคำขออนุญาตต่ออายุ (ข. ๕) ๒. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคาร ๓. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน จำกัด (ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) ๔. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ ผู้จัดการบริษัท หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีเจ้าของ อาคารเป็นนิติบุคคล) หรือสำเนาบัตรประจำตัว และ สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของอาคาร (กรณีเจ้าของ อาคารเป็นบุคคลธรรมดา) ๕. หนังสือแสดงความยินยอมของวิศวกรควบคุมงาน (แบบ น. ๔) พร้อมใบประกอบวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ ๖. หนังสือแสดงความยินยอมของสถาปนิกควบคุมงาน (แบบ น. ๔) พร้อมใบประกอบวิชาชีพที่ยังไม่หมดอายุ ๗. ต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนใบอนุญาตหมดอายุ สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๕๓๒, ๑๕๓๙, ๑๕๔๒-๓, ๑๕๔๐ ๓. การยื่นคำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร/ดัดแปลง อาคาร/รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยน การใช้อาคาร เอกสารประกอบ ๑. กรอกแบบฟอร์มคำขออนุญาต (ข. ๖) ๒. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือดัดแปลงอาคารฉบับจริง จำนวน ๒ แผ่น (สีขาวและสีเหลือง) ๓. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน จำกัด (ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการ บริษัท หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีผู้โอนใบอนุญาต เป็นนิติบุคคล) หรือสำเนาบัตรประจำตัว และสำเนา ทะเบียนบ้านของเจ้าของอาคาร (กรณีผู้โอนใบอนุญาต เป็นบุคคลธรรมดา) ๔. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน จำกัด (ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัวและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้จัดการ (กรณีผู้รับโอนใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล) หรือสำเนา บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับโอน (กรณีผู้รับโอนใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดา) ๕. สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่ระบุในใบอนุญาตทุกแปลง ถ่ายสำเนาและลงชื่อเจ้าของทุกแผ่น พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน ทุกแผ่น ๖. หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีที่ยัง มิได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน) เจ้าของที่ดินแปลงที่ระบุใน ใบอนุญาตลงชื่อรับรองในแบบฟอร์ม พร้อมผู้รับโอน ใบอนุญาต สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๕๔๒-๓ ๔. การยื่นขอเปลี่ยนผู้ควบคุมงาน เอกสารประกอบ ๑. กรอกแบบฟอร์ม น. ๕ (กรณีเจ้าของอาคารเป็นผู้ขอ เปลี่ยนผู้ควบคุมงาน) ๒. จดหมายแจ้งบอกเลิกการควบคุมงานของเจ้าของอาคาร ถึงผู้ควบคุมงานคนเดิม หรือแบบฟอร์ม น. ๖ (กรณี ผู้ควบคุมงานเป็นผู้บอกเลิกควบคุมงาน) ๓. จดหมายแจ้งบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงานของผู้ควบคุม งานถึงเจ้าของอาคาร ๔. แบบฟอร์ม น. ๗ (หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงาน พร้อมกับการส่งมอบหนังสือแสดงความยินยอมของ ผู้ควบคุมงานคนใหม่) ๕. แบบฟอร์ม น. ๘ (หนังสือแสดงความยินยอมของ ผู้ควบคุมงานคนใหม่) พร้อมใบประกอบวิชาชีพที่ยัง ไม่หมดอายุ ๖. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ๗. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน จำกัด (ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน) ๘. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ ผู้จัดการบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการ (กรณีเจ้าของอาคาร เป็นนิติบุคคล) ๙. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของ เจ้าของอาคาร (กรณีเจ้าของอาคารเป็นบุคคลธรรมดา) สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๕๓๒, ๑๕๓๙, ๑๕๔๒ ๕. การขอใบรับรองอาคาร (ขอเปิดการใช้อาคาร) ๓๐ วันทำการ หากพ้นกำหนดนี้แล้ว สามารถเปิดการใช้ได้ เอกสารประกอบ ๑. แบบ กทม. ๔ ๒. ใบอนุญาตเดิม ๓. บัตรประจำตัว ๔. ทะเบียนบ้าน ๕. หนังสือรับรองบริษัท ๖. หนังสือรับรองของวิศวกรผู้ควบคุมงาน ๗. หนังสือรับรองของสถาปนิกผู้ควบคุมงาน สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๕๓๒, ๑๕๓๙, ๑๕๔๑, ๑๕๔๓ ๖. ตอบข้อหารือเกี่ยวกับอาคาร หรือขอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ กฎหมายควบคุมอาคาร ต้องเป็นผู้ที่มีความประสงค์จะก่อสร้าง/ดัดแปลง/รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๖๗๑ ๗. การยื่นแจ้งโดยไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต โดยยื่นแจ้ง และดำเนินการตาม ม. ๓๙ ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร ฯ ๑ วันทำการ (กล่าวคือเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นจะออกใบรับ แจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน วันที่ได้รับแจ้งแล้วผู้ แจ้งสามารถลงมือ ก่อสร้างได้ทันที) เอกสารประกอบ ๑. กรอกแบบฟอร์มตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (แบบ กทม. ๑) และแจ้งข้อมูล พร้อมยื่นเอกสาร ทุกข้อ ดังนี้ (ก) ชื่อวุฒิของสถาปนิกผู้ออกแบบ (ข) ชื่อวุฒิของวิศวกรผู้คำนวณ (ค) ชื่อสถาปนิก และวิศวกรผู้ควบคุมงาน (ง) สำเนาใบอนุญาตของ (ก) (ข) (ค) (จ) หนังสือรับรองผู้ออกแบบ และคำนวณอาคาร ผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี (ใช้แบบ กทม. ๕) (ฉ) แบบแปลน แผนผัง รายการ ประกอบแบบแปลน จำนวน ๕ ชุด และรายการคำนวณโดยมีคำรับรอง ของบุคคลตาม (ก) และ (ข) วันเริ่มและสิ้นสุด การดำเนินการ ๒. ชำระค่าธรรมเนียม การก่อสร้าง ดัดแปลง ๓. ตารางแสดงการคำนวณพื้นที่ของอาคารและแบบย่อ สถานที่ติดต่อ กองควบคุมอาคาร โทร. ๒๔๖๐๓๐๑-๒ ต่อ ๑๕๓๗-๘, ๑๕๔๐-๓ ๘. การซ่อมแซมสะพานรถยนต์ข้ามทางแยก สะพานข้าม คลองและสะพานคนเดินข้ามถนนในเขตพื้นที่ กรุงเทพ มหานคร ๘.๑ กรณีปริมาณงานเล็กน้อย ๑-๓ วันทำการ ๘.๒ กรณีปริมาณงานมาก อาจล่าช้าเนื่องจากต้องรอ การจัดซื้อ/จัดจ้าง ขั้นตอน ๑. รับเรื่องแจ้งจากเขตพื้นที่ ๒. ประชาชนร้องเรียน ๓. ศูนย์รับร้องทุกข์ ๔. สื่อมวลชนต่าง ๆ ๕. รับนโยบายจากผู้บริหาร สถานที่ติดต่อ งานปรับปรุงและบูรณะสะพาน ฝ่ายบูรณะ โครงสร้างและประสานงาน โทร. ๒๔๖๐๒๕๗, ๒๔๕๖๙๕๙ ๙. พิจารณาการขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหิน ทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ ๙.๑ พิจารณาเร่งด่วนเพื่อมิให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ๔๕ วันทำการ ๙.๒ กรณีมีปัญหาด้านเอกสารหลักฐานไม่ครบ ทำให้ พิจารณาล่าช้า เนื่องจากรอเอกสารเพิ่มเติมจะจัดส่ง เรื่องคืน แจ้งเขตพื้นที่เพื่อให้จัดส่งเอกสารเพิ่มเติม และส่งเรื่องมาพิจารณาใหม่ เอกสารประกอบ ๑. สำเนาบัตรประจำตัว ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ผังบริเวณที่ขออนุญาต ๔. สำเนาโฉนดที่ดิน ๕. สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร ๖. สำเนาใบจดทะเบียน ใบมอบอำนาจ (กรณีนิติบุคคล) ๗. พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนา ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ ๘. สำเนาทุกฉบับ รับรองสำเนาถูกต้อง ขั้นตอน ๑. สำนักงานเขตรวบรวมเอกสารจัดส่งให้พิจารณาตาม ระเบียบ การขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหิน ทางเท้า และทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๓๑ ๒. กองก่อสร้างและบูรณะจัดส่งให้หน่วยงานภายในรับผิดชอบ ออกตรวจสอบ และเสนอเรื่องตามขั้นตอน โดยเสนอ ผู้อำนวยการสำนักการโยธาเป็นผู้พิจารณา ๓. พิจารณาแล้วส่งเรื่องคืนให้สำนักงานเขตเจ้าของเรื่อง เพื่อออกหนังสืออนุญาตต่อไป ๔. สำนักงานเขตออกหนังสืออนุญาตแล้ว ส่งใบอนุญาต ให้สำนักการโยธาทราบเพื่อควบคุมการดำเนินการที่ อนุญาตนั้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด สถานที่ติดต่อ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๑ ถนนนวมินทร์ โทร. ๕๑๐๗๐๗๒, ๕๐๙๔๑๔๐, ๕๑๐๔๓๓๒ ๑๐. การซ่อมแซมผิวจราจร คันหินทางเท้า ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ๑๐.๑ กรณีปริมาณงานเล็กน้อย ๑-๓ วันทำการ ๑๐.๒ กรณีปริมาณงานมาก อาจล่าช้าเนื่องจากต้อง รอการจัดซื้อ/จัดจ้าง ขั้นตอน ๑. รับเรื่องแจ้งจากเขตพื้นที่ ๒. ประชาชนร้องเรียน ๓. ศูนย์รับร้องทุกข์ ๔. สื่อมวลชนต่าง ๆ ๕. รับนโยบายจากผู้บริหาร สถานที่ติดต่อ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๑ ถนนนวมินทร์ โทร. ๕๑๐๗๐๗๒, ๕๐๙๔๑๔๐, ๕๑๐๔๓๓๒ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๒ ถนนมิตรไมตรี โทร. ๒๔๕๖๙๕๖, ๒๔๕๙๑๕๒, ๒๔๕๒๖๕๗ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๓ ถนนสุขุมวิท ๑๐๓ โทร. ๓๒๘๐๙๙๓, ๓๒๘๑๓๖๕, ๓๒๘๑๓๖๒, ๓๒๘๐๙๙๑-๒ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๔ ถนนเพชรเกษม โทร. ๔๑๓๑๗๒๓, ๔๑๓๑๘๐๖, ๔๑๓๑๑๕๐, ๔๕๔๔๒๐๙ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๕ ใต้สะพานบางกอกใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก โทร. ๔๕๘๐๗๘๓, ๔๕๗๔๔๕๙ ๔๕๗๔๔๕๘, ๔๕๘๐๗๘๒ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน ๖ ถนนรัชดาภิเษก โทร. ๙๑๑๑๓๗๗, ๙๑๑๑๓๗๓-๕ สำนักการระบายน้ำ กองระบบท่อระบายน้ำ - แจ้งเรื่อง น้ำท่วมขัง ท่อระบายน้ำอุดตัน ฝาท่อพักชำรุด แจ้งทางโทรศัพท์หมายเลข ๒๔๖๐๓๑๗-๙, ๒๔๘๕๑๑๕ ๒๔๘๕๖๖๕ หรือโทรสารหมายเลข ๒๔๖๐๓๒๐ หรือ แจ้งเป็นหนังสือสำนักการระบายน้ำจะดำเนินการให้ ๑-๗ วันทำการ กองสารสนเทศระบายน้ำ - การขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับฝน ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง สภาพน้ำท่วมขังในเวลานั้น ขอทราบทางโทรศัพท์ หมายเลข ๒๔๖๐๓๑๗-๙, ๒๔๘๕๑๑๕, ๒๔๘๕๖๖๕ หรือ โทรสารหมายเลข ๒๔๖๐๓๒๐ หรือหนังสือ ๑๐-๓๐ นาที - การขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับฝน ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง สภาพน้ำท่วมขังในเวลาย้อนหลัง ขอทราบทางโทรศัพท์ หมายเลข ๒๔๖๐๓๑๗-๙, ๒๔๘๕๑๑๕, ๒๔๘๕๖๖๕ หรือโทรสารหมายเลข ๒๔๖๐๓๒๐ หรือหนังสือ ๑-๒ วันทำการ - บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้ภาคเอกชนโดยคิดค่า บริการจะดำเนินการและแจ้งผลการวิเคราะห์ให้ทราบ ๕ วันทำการ สำนักรักษาความสะอาด กองบริการรักษาความสะอาด ๑. บริการเก็บขนมูลฝอยในแม่น้ำเจ้าพระยา ๑ วันทำการ - ผู้ขอรับบริการจะต้องมีที่พักอาศัย หรือสถานที่พัก อาศัย หรือสถานที่ทำการอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยสถานที่ต้องสามารถนำเรือเข้าเก็บขนมูลฝอยได้ โดยเฉพาะและรถเก็บขนมูลฝอยไม่สามารถให้ บริการได้ - ผู้ขอรับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเก็บขน มูลฝอยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ๒. บริการเก็บขนมูลฝอยทั่วไป และเป็นครั้งคราว ๑ วันทำการ - ผู้ขอรับบริการแจ้งขอรับบริการได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ - ผู้ขอรับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเก็บขน มูลฝอยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ๓. การตั้งถังรองรับมูลฝอย ๑ วันทำการ - ผู้ขอรับบริการทำหนังสือแจ้งรายละเอียด วัน เวลา สถานที่จัดงาน และจำนวนถังรองรับมูลฝอยที่จะใช้ ก่อนกำหนดการจัดงานอย่างน้อย ๑๐ วัน - ค่าบริการตั้งถังรองรับมูลฝอยขนาด ๒๔๐ ลิตร ไม่เกิน ๒๕ ถัง เที่ยวละ ๒๐๐ บาท ๔. การตั้งถังน้ำ ส่งน้ำ ๑ วันทำการ - หน่วยงานเอกชนขอรับบริการ โดยยื่นคำขอพร้อม บัตรประจำตัว - ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ให้ทำหนังสือจากหน่วยงาน เพื่อขอรับบริการ - การขอรับบริการน้ำดื่มสนับสนุนงานรัฐพิธีต่าง ๆ ๕. การให้บริการน้ำ เอกสารประกอบ - สำเนาบัตรประจำตัว - แผนที่จุดรับน้ำ พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ - ค่าบริการส่งน้ำเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ขั้นตอน - ผู้ขอรับบริการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน ๑๐ นาที - คิดจำนวนค่าบริการและรับค่าบริการ ๒๐ นาที - เสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ ๒๐ นาที - ส่งเอกสารประกอบการขอรับบริการให้หน่วยงาน ๒ ชม. ที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินการส่งน้ำ - จัดส่งน้ำ ตามแผนที่จุดรับน้ำ ๑-๒ ชม. กองควบคุมสิ่งปฏิกูล ๖. ให้บริการสูบถ่ายสิ่งปฏิกูล ๒ วันทำการ ขั้นตอน - ผู้ขอรับบริการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน โดยกรอก รายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ สถานที่รับบริการ - รับเรื่องดำเนินการออกเลขรหัสรับ และส่งสัญญา รับแจ้งยังหน่วยงาน - ผู้ควบคุมงาน ประสานงาน ตรวจสอบ (หากดำเนิน การได้จะดำเนินการทันที) - แจ้งให้ผู้รับบริการทราบผลการพิจารณา - ค่าธรรมเนียมตามระเบียบ ๗. ให้บริการรถสุขาเคลื่อนที่และสุขาชั่วคราว ๒ วันทำการ - ผู้รับบริการยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน ได้แก่ รายชื่อ ผู้ประสานงานพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ แผนที่ที่กำหนด สถานที่จัดงาน - รับเรื่องแล้วดำเนินการตรวจสอบวัน เวลา สถานที่ ขอรับบริการ จำนวนรถ จำนวนคนที่ขอใช้บริการ - ดำเนินการขออนุมัติ - ลงทะเบียนในการขอใช้รถแต่ละคัน - แจ้งให้ผู้ขอรับบริการทราบ และชำระค่าบริการตาม ระเบียบ ฯ ๒ วันทำการ กองโรงงานกำจัดมูลฝอย ๘. ให้บริการขยะแห้งเพื่อกลบที่ ๒ วันทำการ เอกสารประกอบ - หนังสือแสดงความจำนง - บัตรประจำตัวผู้แจ้ง - หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินใกล้เคียง - โฉนดที่ดิน - หนังสือความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบล - หนังสือความเห็นชอบจากกองควบคุมมลพิษ กระทรวง วิทยาศาสตร์ ฯ - หนังสือความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด ขั้นตอน - ยื่นคำขอ - ตรวจสอบหลักฐาน - ตรวจสอบสถานที่ - ผู้ขอรับบริการต้องจัดหาเครื่องจักรและรถบรรทุกมา ดำเนินการเอง ๙. การให้บริการด้านสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยในโรงงานกำจัด มูลฝอยและสถานีขนถ่ายและฝังกลบมูลฝอยของกรุงเทพ มหานคร ๑๐ วันทำการ ขั้นตอน - ยื่นคำขอรับบริการพร้อมหลักฐาน ถ้าเป็นผู้ยื่นขอใหม่ ต้องแจ้งลักษณะและชนิดของมูลฝอยที่จะนำมาทิ้ง รวมทั้งปริมาณและจำนวนเที่ยว/วัน สถานที่ประกอบการ ชื่อผู้รับผิดชอบ ถ้าเป็นผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตทิ้งมูลฝอย ต้องแนบสำเนาใบขออนุญาตเดิมพร้อมหลักฐานอื่น ๆ เพื่อให้ทราบว่ามีลักษณะชนิดของมูลฝอย ปริมาณ จำนวนเที่ยวต่างไปจากเดิมหรือไม่ รวมทั้งสถานที่ ประกอบการและชื่อผู้รับผิดชอบ - ดำเนินการโดยการสั่งการ ตรวจสอบ พิจารณาทำ หนังสืออนุญาต นำเสนออนุมัติ และแจ้งผู้ขอรับ บริการทราบ ๑๐. การขอเข้าดูงานที่โรงงานกำจัดมูลฝอยของกรุงเทพ มหานคร ๕ วันทำการ เอกสารประกอบ - หนังสือจากสถาบันการศึกษา หรือสถาบันที่ต้องการ ศึกษาดูงาน โดยให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ได้รับ มอบหมายลงนามแจ้งความประสงค์ ขั้นตอน - ยื่นคำขอ - แจ้งวัน เวลา จำนวนผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ระยะเวลา (ชั่วโมง) ที่จะใช้ในการศึกษาดูงาน - ขอบเขต จุดประสงค์การดูงาน หลักสูตรที่ต้องการ - ดำเนินการโดยการสั่งการ ตรวจสอบพิจารณา ทำหนังสือตอบสถาบันที่ต้องการศึกษาดูงาน ทำ หนังสือขออนุญาต แจ้งให้ผู้ขอศึกษาดูงานทราบ สำนักพัฒนาชุมชน ๑. การสมัครเรียนวิชาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ๑.๑ คุณสมบัติของผู้เข้าเรียนวิชาชีพ - กรณีการฝึกอาชีพทั่วไป ๑. ชาย - หญิง อายุ ๑๔ ปีขึ้นไป ๒. มีความรู้ โดยอ่านออกเขียนได้ ๓. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน ๔. ความประพฤติเรียบร้อย - กรณีการฝึกอาชีพคอมพิวเตอร์ ๑. มีคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอาชีพทั่วไป ๒. มีความรู้ด้านพิมพ์ดีดได้ - กรณีการฝึกช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ๑. ชาย - หญิง อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ๒. สำเร็จการศึกษาสายสามัญตั้งแต่ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ๓. ผ่านการเรียนรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์มาแล้ว (การใช้โปรแกรม DOS) ๔. มีคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั่วไป ข้อ ๒-๔ ๑.๒ ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐาน ดังนี้ ๑. บัตรประจำตัว หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวต้องมีผู้ปกครอง มาลงชื่อรับรอง ๒. รูปถ่าย ๑ นิ้ว ๒ รูป ๓. ไม่เสียค่าสมัคร และค่าเข้าฝึกอบรม (ยกเว้น อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ประจำตัวบางชนิด ในบางวิชา) ๔. รับสมัครและเปิดฝึกอบรมทุกวัน (หยุดวัน นักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๕.๐๐ น. ๑.๓ สถานที่รับสมัครและหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ๔ แห่ง ดังนี้ ๑. ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร สวนลุมพินี โทร. ๒๕๑๕๘๔๙, ๒๕๑๕๒๘๑ โทรสาร ๒๕๑๕๒๖๘ ๒. ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร วัดวรจรรยาวาส โทร. ๒๙๒๐๑๙๔ โทรสาร ๒๘๙๓๔๗๘ ๓. ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร วัดธรรมมงคล โทร. ๓๓๑๗๕๗๓ โทรสาร ๓๓๑๗๕๗๔ ๔. ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร บางพลัด โทร. ๔๒๓๒๐๒๕ โทรสาร ๔๒๓๒๐๒๖ ๑.๔ ระยะเวลาที่รับสมัคร และ การฝึกอบรม ภาคปกติ รุ่นที่ ๑ สมัครเดือน ก.ย. เปิดเรียน ๑ ต.ค. - ๓๑ ธ.ค. ของทุกปี รุ่นที่ ๒ สมัครเดือน ธ.ค. เปิดเรียน ๑ ม.ค. - ๓๑ มี.ค. ของทุกปี รุ่นที่ ๓ สมัครเดือน มี.ค. เปิดเรียน ๑ เม.ย. - ๓๐ มิ.ย. ของทุกปี รุ่นที่ ๔ สมัครเดือน มิ.ย. เปิดเรียน ๑ ก.ค. - ๓๐ ก.ย. ของทุกปี ภาคค่ำ (หลักสูตร ๔๘ ชั่วโมง) รับสมัคร วันที่ ๑ - ๕ ของทุกเดือน เรียนวันจันทร์แรกของสัปดาห์ที่ ๒ ของทุกเดือน ๑.๕ วิชาที่เปิดฝึกอบรม ๑. แกะสลักผลไม้และงานใบตอง ๒. ตัดเสื้อสูทชาย - หญิง ๓. ตัดเสื้อกางเกงชาย ๔. การสร้างแบบเสื้อผ้า (แพทเทิร์น) ๕. การออกแบบเสื้อผ้า (ดีไซน์) ๖. เย็บจักรอุตสาหกรรม ๗. ตัดเสื้อหลักเซนต์ ระดับ ๑,๒ ๘. ปักจักร ๙. ซ่อมจักร ๑๐. เสริมสวย ระดับ ๑,๒ ๑๑. ตัดผมสุภาพบุรุษ ระดับ ๑,๒ ๑๒. ช่างไฟฟ้า ๑๓. ช่างซ่อมวิทยุ ระดับ ๑,๒ ๑๔. ช่างซ่อมวีดีโอ ๑๕. ช่างโทรทัศน์ ขาว - ดำ ๑๖. ช่างโทรทัศน์สี ๑๗. ดอกไม้ผ้าระบายสี ๑๘. ดอกไม้กระดาษ ๑๙. ถักโครเชท์ ๒๐. ถักนิตติ้ง ๒๑. ถักเชือกปอ ๒๒. ของชำร่วย (ตุ๊กตายัดนุ่น พับผ้า ฯลฯ) ๒๓. สิ่งประดิษฐ์จากกระดาษ กระดาษสา ๒๔. สิ่งประดิษฐ์จากของเหลือใช้ ๒๕. สิ่งประดิษฐ์จากขนมปัง สบู่ ข้าวเหนียว ๒๖. กรอบรูปวิทยาศาสตร์ ๒๗. อาหารคาว ๒๘. อาหารว่าง (ซาลาเปา) ๒๙. ขนม (ปาท่องโก๋ ถั่วกรอบแก้ว โรตี) ๓๐. เบเกอร์รี่ ขนมเค้ก ๓๑. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ๓๒. การแกะสลักหยก และกระจก ๓๓. วิชาซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ ๓๔. จัดดอกไม้สด ๓๕. ขนมไทย ๓๖. พิมพ์ดีด ๓๗. สมุนไพร ๓๘. นวดแผนโบราณ ๓๙. ดอกไม้เกล็ดปลา ๔๐. เพนท์ผ้าบาติก ๔๑. สกรีน ๔๒. เรซิน ๔๓. เทียนหอม เทียนแฟนซี ๔๔. การห่อของขวัญ การ์ดอวยพร และการ จัดกระเช้าของขวัญ ๔๕. การแปรรูปอาหาร, ผัก, ผลไม้ ๒. การสมัครเรียนวิชาชีพในโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพ มหานคร ๒.๑ คุณสมบัติของผู้เรียนวิชาชีพ - กรณีการเรียนวิชาชีพทั่วไป ๑. ชาย - หญิง อายุ ๑๔ ปีขึ้นไป ๒. มีความรู้โดยอ่านออกเขียนได้ ๓. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการ เรียน ๔. ความประพฤติเรียบร้อย - กรณีการเรียนวิชาชีพคอมพิวเตอร์ ๑. มีคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ ทั่วไป ๒. มีความรู้ด้านพิมพ์ดีดได้ - กรณีการเรียนวิชาชีพช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ๑. ชาย - หญิง อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ๒. สำเร็จการศึกษาสายสามัญตั้งแต่ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ ๓ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ๓. ผ่านการเรียนรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์มาแล้ว (การใช้โปรแกรม DOS) ๔. มีคุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอาชีพทั่วไป ข้อ ๒ - ๔ ๒.๒ ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐาน ดังนี้ - สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัว กรณี ที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวต้องมีผู้ปกครองมาลงชื่อ รับรอง - สำเนาใบประกาศนียบัตร หรือ ใบสุทธิ - รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว ๒ รูป - เงินค่าสมัคร ๕ บาท พร้อมเงินบำรุงการศึกษา ๑๐๐ บาท รวม ๑๐๕ บาท (สำหรับวิชาชีพ ทั่วไป) - เงินค่าสมัคร ๕ บาท พร้อมเงินบำรุงการศึกษา ๕๐๐ บาท รวม ๕๐๕ บาท (สำหรับวิชาชีพ คอมพิวเตอร์) ๒.๓ ระยะเวลาการรับสมัครและการเปิดเรียน หลักสูตร ๔๐๒ และ ๒๐๑ ชั่วโมง (ภาคปกติ และภาคค่ำ) รุ่นที่ ๑ รับสมัคร ๑ เมษายน - ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี เปิดเรียน ๑๖ พฤษภาคม - ๒๕ สิงหาคม ของทุกปี รุ่นที่ ๒ รับสมัคร ๑๕ กรกฎาคม - ๓๑ สิงหาคม ของทุกปี เปิดเรียน ๑ กันยายน - ๑๕ ธันวาคม ของทุกปี รุ่นที่ ๓ รับสมัคร ๑ พฤศจิกายน - ๑๕ ธันวาคม ของทุกปี เปิดเรียน ๒๐ ธันวาคม - ๓๑ มีนาคม ของทุกปี หลักสูตร ๕ เดือน (ภาคปกติ) รุ่นที่ ๑ รับสมัคร ๑๕ เมษายน - ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี เปิดเรียน ๑๖ พฤษภาคม - ๑๕ ตุลาคม ของทุกปี รุ่นที่ ๒ รับสมัคร ๑๖ ตุลาคม - ๑ พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดเรียน ๑ พฤศจิกายน - ๓๑ มีนาคม ของทุกปี ๒.๔ วิชาชีพที่เปิดสอน หลักสูตร ๔๐๒ และ ๒๐๑ ชั่วโมง (ภาคปกติ และภาคค่ำ) ๑. หมวดวิชาชีพอุตสาหกรรม มี ๑๘ สาขา วิชาช่าง ดังนี้ - ช่างเครื่องยนต์เบนซินไฟฟ้ารถยนต์ - ช่างเครื่องยนต์ดีเซล - เครื่องยนต์ช่วงล่าง - ช่างเครื่องยนต์เล็ก - จักรยานยนต์ - ช่างเดินสายไฟฟ้า - เครื่องกลไฟฟ้า - ช่างวิทยุ - เครื่องเสียง - ช่างโทรทัศน์สี - วีดีโอ - ช่างเครื่องทำความเย็นปรับอากาศ - ช่างเจียระไนพลอย - ช่างเชื่อมโลหะแผ่น - ช่างเครื่องยนต์ช่วงล่าง - ช่างเครื่องยนต์ชั้นสูง - ช่างเชื่อมไฟฟ้า - ช่างเชื่อมแก๊ส - ช่างไฟฟ้ารถยนต์ - ช่างไฟฟ้า - ช่างเครื่องยนต์ - ช่างทำตัวเรือนเครื่องประดับ - ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ๒. หมวดวิชาชีพคหกรรม มี ๑๐ สาขาวิชา ดังนี้ - ช่างเสื้อผ้าสตรีเบื้องต้น - ช่างเสื้อผ้าสตรีชั้นสูง - ช่างเสื้อผ้าชาย - ช่างออกแบบเสื้อผ้า - ช่างสร้างแบบเสื้อผ้า - ช่างเสริมสวยสตรีเบื้องต้น - ช่างเสริมสวยสตรีชั้นสูง - ช่างตัดผมชาย - ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม - อาหารและโภชนาการ ๓. หมวดวิชาชีพธุรกิจ มี ๒ สาขาวิชาช่าง ดังนี้ - พิมพ์ดีด - คอมพิวเตอร์ ๔. หมวดวิชาชีพธุรกิจ มี ๒ สาขาวิชาช่าง ดังนี้ - ช่างศิลปประดิษฐ์ - ช่างศิลปประยุกต์ หลักสูตร ๕ เดือน (ภาคปกติ) หมวดวิชาชีพอุตสาหกรรม มี ๔ สาขาวิชาช่าง ดังนี้ - ช่างเครื่องยนต์ - ช่างเครื่องยนต์เล็ก - จักรยานยนต์ - ช่างไฟฟ้ากำลัง - ช่างอิเล็กทรอนิกส์ สำนักสวัสดิการสังคม ๑. การขอรับความช่วยเหลือกรณีประสบสาธารณภัย ผู้ประสบสาธารณภัยต้องมาติดต่อขอรับความช่วยเหลือ พร้อมเอกสารหลักฐาน ภายในกำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย เอกสารประกอบ ๑. หนังสือรับรองจากสำนักงานเขตท้องที่ว่าเป็นผู้ได้ประสบ สาธารณภัย ๒. บัตรประจำตัว (ถ้ามี) ขั้นตอน ๑. ตรวจสอบหลักฐาน ๑ ชม. ๒. สัมภาษณ์สอบประวัติผู้ขอรับความช่วยเหลือ ๓. จัดทำบันทึกประวัติผู้ขอรับความช่วยเหลือ ๑ วันทำการ ๔. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ๕. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ * ด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ๑ วันทำการ * ด้านการเงิน ๑๕ วันทำการ ๖. ติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ ภายหลังการให้ความช่วยเหลือไปแล้ว ๑-๓ เดือน สถานที่ติดต่อ กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๗๖๘๗๘, ๒๔๕๒๓๖๖ ๒. การขอรับความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา ทุนฝึกอาชีพ ทุนประกอบอาชีพ ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ๑. เป็นผู้มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ๒. เป็นครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อนยากจน คือ หัวหน้าครอบครัวหรือผู้หาเลี้ยงครอบครัว บิดา มารดา หรือเฉพาะบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ตาย ทอดทิ้ง สาบสูญ ต้องโทษจำคุก พิการ ทุพพลภาพ ป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ ประสบเหตุอื่น จนไม่ สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ ๓. ทุนการศึกษา ต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถม ศึกษาถึงระดับปริญญาตรี และอายุไม่เกิน ๒๕ ปี ๔. ทุนฝึกอาชีพ ต้องเป็นผู้ที่กำลังฝึกอาชีพในสถานศึกษา หรือสถานฝึกอาชีพ เอกสารประกอบ ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน ๒. บัตรประจำตัว ๓. หนังสือรับรองจากสถานศึกษาหรือสถานฝึกอาชีพว่ากำลัง เรียนอยู่จริง (กรณีขอรับทุนการศึกษาหรือทุนฝึกอาชีพ) ๔. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีขอรับทุนฝึกอาชีพ) ขั้นตอน ๑. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ๑ ชม. ๒. สัมภาษณ์พร้อมนัดหมายเยี่ยมบ้าน ๓. เยี่ยมบ้าน เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ๑ วันทำการ ๔. จัดทำบันทึกรายงานเรื่องราวผู้ขอรับความช่วยเหลือ ๑ วันทำการ ๕. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ความช่วยเหลือ ๖. ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินตามที่ได้รับอนุมัติ ๗ วันทำการ ๗. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ๑๕ วันทำการ ๘. ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ (ภายหลัง การให้ความช่วยเหลือ ๑-๓ เดือน) สถานที่ติดต่อ กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๗๖๘๗๘, ๒๔๖๐๓๕๙ ๓. การขอรับความช่วยเหลือด้านค่าครองชีพประจำวัน ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๑. เป็นผู้มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ๒. เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปหรือผู้พิการหรือ ทุพพลภาพที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนยากจน และไร้ที่พึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เอกสารประกอบ ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน ๒. บัตรประจำตัว ขั้นตอน ๑. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ๑ ชม. ๒. สัมภาษณ์พร้อมนัดหมายเยี่ยมบ้าน ๓. เยี่ยมบ้านเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ๔. จัดทำบันทึกรายงานเรื่องราวผู้ขอรับความช่วยเหลือ ๑ วันทำการ ๕. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ความช่วยเหลือ ๖. ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินตามที่ได้รับอนุมัติ ๗ วันทำการ ๗. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ๑๕ วันทำการ * ด้านเครื่องอุปโภคบริโภค * ด้านค่าครองชีพประจำวัน เดือนละ ๑ ครั้ง (พิจารณา ตามความเป็นจริงและจำเป็นโดยอยู่ในดุลยพินิจของ นักสังคมสงเคราะห์) ๘. ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ (ภายหลัง การให้ความช่วยเหลือ ๑ เดือน) สถานที่ติดต่อ กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๗๖๘๗๘, ๒๔๖๐๓๕๙ ๔. การขอรับความช่วยเหลือด้านเงินช่วยเหลือกรณีเร่งด่วน และจำเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าอวัยวะเทียม ผู้ขอรับความช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๑. เป็นผู้มีสัญชาติไทย มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ตามสำเนาทะเบียนบ้าน ๒. เป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ยากจนและ ไร้ที่พึ่งและยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก หน่วยงานใด ๓. ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตาม ความจำเป็นของแต่ละราย กรณีขอความช่วยเหลือ ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ เอกสารประกอบ ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน ๒. บัตรประจำตัว ๓. ใบรับรองแพทย์กรณีขอรับการสงเคราะห์ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ ขั้นตอน ๑. ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ๑ ชม. ๒. สัมภาษณ์พร้อมนัดหมายเยี่ยมบ้าน ๓. เยี่ยมบ้านเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงและสภาพแวดล้อม ๔. จดบันทึกรายงานเรื่องราวผู้ขอรับความช่วยเหลือ ๑ วันทำการ ๕. เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ความช่วยเหลือ ๖. ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินตามที่ได้รับอนุมัติ ๗ วันทำการ ๗. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ๑๕ วันทำการ * ด้านเครื่องอุปโภคบริโภค วัสดุซ่อมแซมและอื่น ๆ ที่จำเป็น * ด้านการเงิน อาทิเช่น ค่าอาหาร ค่าที่พักชั่วคราว ค่ารักษาพยาบาล และค่าอวัยวะเทียม (การได้รับ ความช่วยเหลือคำนึงถึงความเป็นจริง และจำเป็น โดยอยู่ในดุลยพินิจของนักสังคมสงเคราะห์) ๘. ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือ (ภายหลัง การให้ความช่วยเหลือ ๑ - ๓ เดือน) สถานที่ติดต่อ กองสังคมสงเคราะห์ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๗๖๘๗๘, ๒๔๖๐๓๕๙ ๕. บริการให้คำแนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์ "สายด่วน เติมพลังใจให้กัน" โทร. ๒๔๗๘๑๘๔, ๖๔๔๓๓๔๔ ให้คำแนะนำปรึกษาทางโทรศัพท์แก่ผู้ที่เดือดร้อนด้วย เหตุต่าง ๆ อาทิ ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ ความเครียด ความวิตกกังวล ๖. การสมัครเป็นสมาชิกศูนย์เยาวชน ศูนย์ชุมชน ศูนย์ ฝึกกีฬา เอกสารประกอบ ๑. ใบสมัคร ขอได้ที่ศูนย์ ฯ ๒. สำเนาบัตรประจำตัว ๓. สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเยาวชนอายุไม่ถึง ๑๕ ปี) ๔. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาสีเข้ม ขนาด ๑ นิ้ว หรือ ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ถ่ายไม่เกิน ๑ เดือน ๕. ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน ๖ เดือน) กรณีกีฬาว่ายน้ำ ๖. เงินค่าสมัครสมาชิกศูนย์เยาวชน * อายุ ๘ - ๑๘ ปี อัตราค่าสมาชิกปีละ ๑๐ บาท * อายุ ๑๙ - ๒๔ ปี อัตราค่าสมาชิกปีละ ๒๐ บาท ประเภทศูนย์ชุมชน * อายุ ๒๔ ปี ขึ้นไป อัตราค่าสมาชิกปีละ ๔๐ บาท สมาชิกศูนย์ฝึกกีฬา * อายุ ๘ - ๑๕ ปี อัตราค่าสมาชิกปีละ ๑๐ บาท * อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป อัตราค่าสมาชิกปีละ ๔๐ บาท ขั้นตอน ๑. ตรวจสอบหลักฐาน ๑ ชม. ๒. ชำระเงินค่าสมาชิก ๓. รับบัตรสมาชิก ๔. ใช้บริการตามวัน เวลา และระเบียบที่กำหนด (บัตร สมาชิกมีระยะเวลา ๑ ปี เมื่อครบแล้วต้องทำบัตร สมาชิกใหม่) สถานที่ติดต่อ - ศูนย์เยาวชน ศูนย์ชุมชน กองนันทนาการ สำนัก สวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๒๘ - ศูนย์เยาวชน ศูนย์ชุมชน ทุกแห่ง ศูนย์ฝึกกีฬา กองการกีฬา สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๘๐๔๒, ๒๔๘๔๐๒๔-๕ ๗. การสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานคร เอกสารประกอบ ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน ๒. บัตรประจำตัว บัตรประจำตัวนักศึกษา หรือหนังสือ รับรองจากสถานศึกษา ๓. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นกันแดด ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ๔. เงินค่าสมาชิก ก. อายุไม่เกิน ๑๕ ปี ปีละ ๕ บาท ข. อายุเกิน ๑๕ ปี ปีละ ๑๐ บาท ๕. เงินค่าประกันหนังสือ ก. อายุไม่เกิน ๑๕ ปี คนละ ๒๐ บาท ข. อายุเกิน ๑๕ ปี คนละ ๔๐ บาท (เงินค่าประกัน หนังสือจะคืนให้เมื่อลาออกจากการเป็นสมาชิก) ขั้นตอน ๑. ตรวจสอบหลักฐาน ๑ ชม. ๒. ชำระเงิน ๓. บัตรสมาชิก ๔. ใช้บริการตามวัน เวลา และระเบียบที่กำหนด (บัตร สมาชิกมีระยะเวลา ๑ ปี เมื่อครบแล้วต้องทำบัตรสมาชิกใหม่) สถานที่ติดต่อ ฝ่ายห้องสมุดประชาชน กองนันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๕๔๑๗๑ หรือห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครทุกแห่ง ๘. การติดต่อวงดนตรีไทย และวงดนตรีสากลของกรุงเทพ มหานครไปบรรเลงในงาน เอกสารประกอบ ๑. หนังสือขอใช้บริการโดยระบุวัน เวลา ที่จะไปแสดง ๒. บัตรประจำตัว ขั้นตอน ๑. หน่วยงานที่ประสงค์ขอใช้บริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ สำนักสวัสดิการสังคมหากเป็นเอกชนให้ยื่นคำร้องขอใช้ บริการที่งานดนตรีไทย งานดนตรีสากล กองนันทนาการ ๑ ชม. ๒. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดว่าสามารถจะไปได้ หรือไม่ พร้อมแจ้งอัตราค่าบริการ ๓. นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุญาต ๓ วันทำการ ๔. เมื่อผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วให้ผู้ขอใช้บริการได้ทราบ และนำเงินค่าบริการไปชำระ ณ ฝ่ายการคลัง สำนักงาน เลขานุการ สำนักสวัสดิการสังคม ๓ วันทำการ สถานที่ติดต่อ งานดนตรีไทยและงานดนตรีสากล กอง นันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๒๘๗ ๙. การสมัครเข้ารับการอบรมดนตรีไทย ดนตรีสากล เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ขั้นตอน ๑. สำนักสวัสดิการสังคม แจ้งกำหนดการเปิดอบรม ด้านการ บรรเลงเครื่องดนตรีไทย การขับร้องเพลงไทย การขับร้อง เพลงสากล ทฤษฎีโน้ตเบื้องต้นโดยการประกาศหนังสือพิมพ์ วิทยุ ๒. ผู้สมัครมาติดต่อด้วยตนเองพร้อมหลักฐาน ๑ ชม. ๓. ผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่า ๗๕ % ของ เวลาการอบรมทั้งหมด ๔. กรุงเทพมหานครจะมอบวุฒิบัตรให้เป็นเกียรติ ๕. ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากต้องนำอุปกรณ์มาเอง สถานที่ติดต่อ งานดนตรีไทยและงานดนตรีสากล กอง นันทนาการ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๒๘๗ ๑๐. การขอใช้สถานที่ของศูนย์เยาวชน ฯ ศูนย์ ฯ ชุมชน หรือศูนย์ฝึกกีฬา เอกสารประกอบ ๑. หนังสือขอใช้สถานที่โดยระบุวัน เวลา สถานที่และ วัตถุประสงค์ที่ขอใช้ ๒. บัตรประจำตัว ขั้นตอน ๑. หน่วยงานที่ประสงค์ขอใช้สถานที่ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการ สำนักสวัสดิการสังคม หากเป็นเอกชนให้ยื่นคำร้องขอ ที่กองนันทนาการ ๒. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดว่าสามารถจะดำเนินการ ให้ได้หรือไม่ พร้อมทั้งแจ้งอัตราค่าบริการ ๓ วันทำการ ๓. นำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่ออนุญาต ๓ วันทำการ ๔. เมื่อผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วจะแจ้งให้ผู้ขอใช้สถานที่ ได้ทราบ ๓ วันทำการ สถานที่ติดต่อ ศูนย์เยาวชน ศูนย์ชุมชน กองนันทนาการ สำนักสวัสดิการ สังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๒๘ ศูนย์ฝึกกีฬา กองการกีฬา สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๘๐๔๒, ๒๔๘๔๐๒๔-๕ ๑๑. การขออนุญาตใช้สวนสาธารณะ สวนหย่อม สนามหลวง จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มิใช่เพื่อการค้า เอกสารประกอบ ๑. หนังสือขอใช้สถานที่ โดยระบุวัน เวลา สถานที่ วัตถุประสงค์ ๒. หนังสือรับรองส่วนราชการ องค์กรการกุศล มูลนิธิ รับรองว่าจะนำเงินไปสมทบทุนจริง (กรณีจัดเพื่อการ กุศล) ขั้นตอน ๑. เจ้าหน้าที่รับเรื่องและส่งให้หน่วยงานเจ้าของสถานที่ พิจารณาว่าสถานที่นั้นว่างอยู่หรือไม่ ๓ วันทำการ ๒. หากว่างจะนำเสนอผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม เพื่ออนุญาตและลงนามในหนังสือตอบ ๗ วันทำการ ๓. เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอใช้สถานที่ทราบ ๓ วันทำการ สถานที่ติดต่อ กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๕๕ ๑๒. การขออนุญาตใช้สวนสาธารณะถ่ายทำภาพยนตร์ เอกสารประกอบ ๑. หนังสือขอใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ (ประเภทใด) โดยระบุ วัน เวลา สถานที่ วัตถุประสงค์ ๒. สคริปบทภาพยนตร์และแผนผังรายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์ ขั้นตอน ๑. เจ้าหน้าที่รับเรื่องและส่งให้หน่วยงานเจ้าของสถานที่ พิจารณาว่าสถานที่นั้นว่างหรือไม่ สมควรอนุญาตหรือไม่ พร้อมทั้งแจ้งค่าบริการในการถ่ายทำภาพยนตร์ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท ๓ วันทำการ ๒. หากว่างจะนำเสนอผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม เพื่ออนุญาตและลงนามในหนังสือตอบ ๗ วันทำการ ๓. เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขอใช้สถานที่ทราบและมาชำระเงิน ค่าบริการ ๒,๐๐๐ บาท ที่ฝ่ายการคลัง สำนักงาน เลขานุการ สำนักสวัสดิการสังคม ๓ วันทำการ ๔. เจ้าหน้าที่หน่วยงานเจ้าของสถานที่ทราบ เพื่อประสานงาน สถานที่ติดต่อ กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๕๕ ๑๓. การขออนุญาตให้ดำเนินการตั้งประดับต้นไม้ในงานต่าง ๆ เอกสารประกอบ ๑. หนังสือแสดงความประสงค์ให้กรุงเทพมหานครดำเนินการ ตั้งประดับต้นไม้ในงานอะไร ที่ไหน ระยะเวลาในการตั้ง ประดับต้นไม้กี่วัน ตั้งแต่วันที่ ............ ถึงวันที่ ............ ต้นไม้ จำนวนกี่ต้น ต้องการให้ขนไปตั้งประดับและ ขนกลับด้วย หรือไม่ ต้องการคอกใส่ต้นไม้ด้วยหรือไม่ ๒. แผนผังสังเขปแสดงจุดหรือบริเวณที่ต้องการให้ขนต้นไม้ ไปตั้งประดับ ขั้นตอน ๑. งานธุรการรับเรื่องเสนอให้ผู้อำนวยการกองสวนสาธารณะ พิจารณาส่งเรื่องให้ฝ่ายขยายพันธุ์ไม้พิจารณาดำเนินการ ๑ วันทำการ ๒. ฝ่ายขยายพันธุ์ไม้ประสานผู้ขอแจ้งค่าบริการและให้นำเงิน ไปชำระที่ฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักสวัสดิการ สังคม ๓ วันทำการ ๓. ฝ่ายขยายพันธุ์ไม้ดำเนินการตั้งประดับ วัน ......... เวลา ........ สถานที่ติดต่อ กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๕๕ ๑๔. การขออนุญาตย้าย ตัด โค่นต้นไม้ที่อยู่ในความดูแล รับผิดชอบของสำนักสวัสดิการสังคม และที่อยู่ในที่ดิน ของเอกชน เอกสารประกอบ ๑. หนังสือแสดงความประสงค์ขอย้าย ตัด โค่นต้นไม้ แจ้งรายละเอียด ต้นไม้อะไร จำนวนกี่ต้น ณ บริเวณใด ถนน แขวง เขต ๒. แผนผังสังเขปแสดงจุดที่ต้นไม้ตั้งอยู่ ๓. ภาพถ่ายต้นไม้ที่ขออนุญาตย้าย ตัด โค่น ขนาดภาพ ๔x๖ นิ้ว ด้านหน้าและด้านข้างอย่างละ ๑ รูป ๔. สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตของราชการที่อนุญาตให้ผู้ยื่น คำขอดำเนินการ เช่น ก่อสร้างอาคาร ตัดคันหิน ทางเท้า ทำถนนเข้าบริเวณที่ดิน ฯลฯ ขั้นตอน ๑. งานธุรการรับเรื่อง เสนอให้ผู้อำนวยการกองสวนสาธารณะ พิจารณาสั่งการให้ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาพิจารณา ๑ วันทำการ ๒. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษามอบเรื่องให้ผู้รับผิดชอบพิจารณา ๑ วันทำการ ๓. หน่วยงานผู้รับผิดชอบไปตรวจสอบแล้วเสนอความเห็น พร้อมคิดค่าเสียหายต้นไม้ต่อฝ่ายปลูกบำรุงรักษา ๔ วันทำการ ๔. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการกอง สวนสาธารณะเพื่อนำเสนอผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการ สังคม ๒ วันทำการ ๕. ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคมนำเสนอขออนุมัติ จากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๗ วันทำการ ๖. รับเรื่องจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่งฝ่ายปลูก บำรุงรักษาดำเนินการ ดังนี้ ๓ วันทำการ ๖.๑ กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่อนุญาตให้ ย้าย ตัด โค่นต้นไม้ ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาแจ้งให้ ผู้ยื่นคำขอทราบ ๖.๒ กรณีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุญาตให้ย้าย ตัด โค่นต้นไม้ ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอ ทราบและนำเงินไปชำระค่าเสียหายต้นไม้ ณ ฝ่าย การคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักสวัสดิการ สังคม ๗. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษา แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ ย้าย ตัด โค่นต้นไม้ ๑๐ วันทำการ สถานที่ติดต่อ กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๕๕ ๑๕. การขออนุญาตตัดแต่งบางส่วนของต้นไม้ เอกสารประกอบ ๑. หนังสือแสดงความประสงค์ขอตัดแต่งบางส่วนของ ต้นไม้ แจ้งรายละเอียด ต้นไม้อะไร จำนวนกี่ต้น อยู่ใน บริเวณใด ถนน แขวง เขต ๒. แผนผังสังเขปแสดงจุดที่ตั้งของต้นไม้ ขั้นตอน ๑. งานธุรการรับเรื่อง เสนอให้ผู้อำนวยการกองสวนสาธารณะ พิจารณาสั่งการให้ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาพิจารณา ๑ วันทำการ ๒. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาแยกเรื่องให้หน่วยงานรับผิดชอบ ไปพิจารณา ๑ วันทำการ ๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบไปตรวจสอบแล้วเสนอความเห็น พร้อมคิดค่าใช้จ่ายในการตัดแต่งต้นไม้ต่อฝ่ายปลูกบำรุง รักษา ๓ วันทำการ ๔. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการ กองสวนสาธารณะ ๑ วันทำการ ๕. ผู้อำนวยการกองสวนสาธารณะพิจารณาสั่งการตามข้อเสนอ ของฝ่ายปลูกบำรุงรักษา ๑ วันทำการ ๖. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและนำเงิน ค่าใช้จ่ายในการตัดแต่งต้นไม้ไปชำระ ณ ฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักสวัสดิการสังคม ๒ วันทำการ ๗. ฝ่ายปลูกบำรุงรักษาแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปตัดแต่ง ต้นไม้หลังจากที่ผู้ยื่นคำขอได้ไปชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ๑๐ วันทำการ สถานที่ติดต่อ กองสวนสาธารณะ สำนักสวัสดิการสังคม กทม. ๒ โทร. ๒๔๖๐๓๕๕ สำนักการศึกษา ๑. การขอใช้สถานที่ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เอกสารประกอบและขั้นตอน ๑. ส่งหนังสือขอใช้ต่อครูใหญ่/อาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ โรงเรียน ระบุวัตถุประสงค์ ๒. กรณีใช้ไม่เกิน ๓ วัน ผู้อำนวยการเขตจะพิจารณาอนุญาต ๑-๒ วันทำการ กรณีใช้เกิน ๓ วัน ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาจะพิจารณา ๓-๕ วันทำการ อนุญาต ๓. โรงเรียน หรือสำนักงานเขตแจ้งผู้ขอรับอนุญาตทราบ สถานที่ติดต่อ ๑. โรงเรียนที่ประสงค์จะใช้ ๒. ฝ่ายการศึกษาของสำนักงานเขตที่โรงเรียนนั้นสังกัดอยู่ ๒. การขออนุโมทนาบัตร (ผู้บริจาคทรัพย์ สิ่งของ เพื่อการ ศึกษา) เอกสารประกอบและขั้นตอน ๑. หน่วยงานที่ได้รับบริจาค ส่งหนังสือขออนุโมทนาบัตร ถึงสำนักงานเขตหรือสำนักการศึกษา (แล้วแต่มูลค่า และวงเงินที่กำหนด) ๒. กรณีวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ผู้อำนวยการเขตจะเป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตร ๑-๒ วันทำการ กรณีวงเงิน ตั้งแต่ ๒๐,๐๐๑ - ๕๐,๐๐๐ บาท ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาจะเป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตร ๒-๓ วันทำการ กรณีวงเงิน ตั้งแต่ ๕๐,๐๐๑ - ๑๐๐,๐๐๐ บาท ปลัดกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตร ๕-๗ วันทำการ กรณีวงเงิน ตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๑ บาทขึ้นไป ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะเป็นผู้ออกใบอนุโมทนาบัตร ๗-๙ วันทำการ สถานที่ติดต่อ - โรงเรียน หรือสำนักงานเขต หรือสำนักการศึกษา ที่ได้รับ การบริจาคเงิน หรือสิ่งของ ๓. การขอใช้ค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร ๘-๑๒ วันทำการ เอกสารประกอบและขั้นตอน ๑. ตรวจสอบวัน เวลาเพื่อขอจองค่ายลูกเสือ ๒. ส่งหนังสือเรียนผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เพื่อขอ อนุญาตใช้ค่าย ระบุวัตถุประสงค์ จำนวนผู้เข้าใช้ค่าย กำหนด ระยะเวลาการใช้ค่าย และอุปกรณ์ที่ต้องการสนับสนุน ๓. ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาพิจารณาอนุญาต ๔. สำนักการศึกษาแจ้งผู้ได้รับอนุญาตทราบ เพื่อชำระ ค่าบริการ ณ กองคลัง สำนักการศึกษา และรับหนังสือ อนุญาต พร้อมใบเสร็จรับเงิน เพื่อนำไปแสดงต่อหัวหน้า ค่ายลูกเสือในวันใช้ค่าย สถานที่ติดต่อ - ค่ายลูกเสือกรุงธน ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ โทร. ๔๒๖๓๒๘๐ - ค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร (พิศลยบุตร) ถนนสรงประภา แขวงสีกัน เขตดอนเมือง โทร. ๕๖๖๑๔๑๓, ๕๖๖๔๙๖๘ - ค่ายลูกเสือกรุงเทพมหานคร (จอม -ประจญ นพเกตุ) ตำบลบางคล้า อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. (๐๓๘) ๕๗๕๒๓๑ ๔. การตรวจสอบคุณวุฒิ เอกสารประกอบและขั้นตอน ๑. ทำหนังสือขอตรวจสอบที่ผู้อำนวยการเขต หรือผู้อำนวยการ สำนักการศึกษา โดยแนบสำเนาคุณวุฒิที่มีประกอบ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ๒. สำนักงานเขตแจ้งโรงเรียนดำเนินการตรวจสอบ ๓. สำนักการศึกษาแจ้งสำนักงานเขตเพื่อให้โรงเรียน ตรวจสอบ ๕-๑๐ วันทำการ ๔. โรงเรียนแจ้งผลการตรวจสอบต่อสำนักงานเขตหรือ สำนักการศึกษา ๕. สำนักการศึกษาหรือสำนักงานเขตแจ้งผู้ร้องขอ ๒-๓ วันทำการ สถานที่ติดต่อ ๑. ฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตที่โรงเรียนสังกัดตั้งอยู่ ๒. ฝ่ายจัดการศึกษา กองโรงเรียน สำนักการศึกษา สำนักการแพทย์ ๑. การขอรับบริการผู้ป่วยนอก ๑.๑ ในกรณีผู้ป่วยใหม่ไม่เคยขอรับบริการในสถาน พยาบาลนั้นมาก่อน ทั้งในเวลาราชการและ นอกเวลาราชการ ๑ ชม. ยกเว้นกรณีที่มีการตรวจ พิเศษหรือมีหัตถการ ร่วมด้วย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรอื่น ๆ ซึ่งแสดงสิทธิในการขอรับบริการ เช่น บัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ บัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล บัตรข้าราชการ บัตรผู้สูงอายุ เป็นต้น ๓. หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ๔. หนังสือเดินทาง ขั้นตอน ๑. กรอกแบบขอรับบริการพร้อมยื่นเอกสารทั้งหมด ที่โต๊ะบัตร ๒. พบแพทย์ห้องตรวจ ๓. ยื่นใบสั่งยาที่ห้องยา ๔. ชำระเงินที่การเงิน ๕. รับยากลับบ้าน หรือรับไว้สังเกตอาการหรือ รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ๑.๒ ในกรณีผู้ป่วยเก่าซึ่งเคยมารับบริการทั้งในเวลา ราชการและนอกเวลาราชการ ๑ ชม. ยกเว้นกรณีที่มีการตรวจ พิเศษหรือมีหัตถการ ร่วมด้วย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรผู้ป่วยของโรงพยาบาล ๓. บัตรอื่น ๆ ซึ่งแสดงสิทธิในการขอรับบริการ เช่น บัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ บัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล บัตรข้าราชการ บัตรผู้สูงอายุ เป็นต้น ๔. หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ๕. บัตรนัดตรวจ ๖. หนังสือเดินทาง ขั้นตอน ๑. ยื่นเอกสารที่โต๊ะบัตร ๒. พบแพทย์ ๓. ยื่นใบสั่งยาที่ห้องยา ๔. ชำระเงินที่การเงิน ๕. รับยากลับบ้าน หรือรับไว้สังเกตอาการหรือ รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ๑.๓ กรณีผู้ป่วยนอกฉุกเฉินทั้งในเวลาราชการและ นอกเวลาราชการผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาทันที เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรอื่น ๆ ซึ่งแสดงสิทธิในการขอรับบริการ เช่น บัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ บัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล บัตรข้าราชการ บัตรผู้สูงอายุ เป็นต้น ๓. หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ๔. หนังสือเดินทาง ขั้นตอน ๑. กรอกแบบขอรับบริการพร้อมยื่นเอกสารทั้งหมด ที่โต๊ะบัตร ๒. พบแพทย์ห้องตรวจ ๓. ยื่นใบสั่งยาที่ห้องยา ๔. ชำระเงินที่การเงิน ๕. รับยากลับบ้าน หรือรับไว้สังเกตอาการหรือ รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ๒. การรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ๒.๑ ในกรณีที่ผู้มาขอรับบริการตรวจประเภท ๑ แพทย์ ลงความเห็นว่าจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยฉุกเฉินรับ ไว้โดยทันทีถ้ามีเตียง ว่างที่จะรับ กรณีผู้ป่วย ไม่ฉุกเฉินตามแพทย์ นัด เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ๓. บัตรอื่น ๆ ซึ่งแสดงสิทธิในการขอรับบริการ ๔. เอกสารรับรองการมีสิทธิเบิกการรักษาจาก ต้นสังกัด ขั้นตอน ๑. ยื่นเอกสารที่โต๊ะบัตร ๒. พบแพทย์ ๓. ติดต่อโต๊ะบัตร ๔. ติดต่อที่หอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้อง ๒.๒ กรณีรอฟังเตียง ๓ เดือน ยกเว้น การผ่าตัดโรค หัวใจ และหลอดเลือด ทุกประเภท การปลูก ถ่ายอวัยวะ การเปลี่ยน ข้อสะโพก การผ่าตัด ต้อกระจก เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ๓. บัตรอื่น ๆ ซึ่งแสดงสิทธิในการขอรับบริการ ๔. เอกสารรับรองการมีสิทธิเบิกค่ารักษาจาก ต้นสังกัด ขั้นตอน ยื่นเอกสารที่ประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาล ๒.๓ ในกรณีการคลอดบุตร รับไว้เป็นผู้ป่วยในโดย ทันที เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาทะเบียนบ้านของมารดา ขั้นตอน ๑. ยื่นเอกสารที่ห้องบัตร ๒. ติดต่อห้องคลอด ๓. การตรวจชันสูตรโรคทางห้องปฏิบัติการและเอ็กซเรย์ ชนิดธรรมดา ๑ ชั่วโมงครึ่ง การตรวจห้องปฏิบัติการ และเอ็กซเรย์ชนิดพิเศษ เอกสารประกอบ ใบที่แพทย์ส่งตรวจ ขั้นตอน ๑. กรณี ๑.๑ และ ๑.๒ เมื่อพบแพทย์ ๒. นำใบส่งตรวจติดต่อที่ห้องปฏิบัติการหรือห้อง เอ็กซเรย์ ๓. ชำระเงินที่การเงิน ๔. ทำการตรวจชันสูตรโรคหรือเอ็กซเรย์แล้วแต่ กรณี ๔. การออกเอกสารสำคัญของทางราชการ ๑๕ วันทำการ ๑. ใบสูติบัตร ในกรณีที่ทารกคลอดในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาล จะออกเอกสารสำคัญรับรองการเกิด เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวของบิดา มารดา ๒. บัตรผู้ป่วยของมารดา ๓. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา มารดา ๔. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะให้ทารกมีชื่ออยู่ ๕. หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร. ๑/๑) ๖. ใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร. ๑๐๐) ๗. ทะเบียนสมรส (ถ้ากรณีบัตรประจำตัวประชาชน ของมารดาเป็นนางสาว) ขั้นตอน ยื่นเอกสารที่โต๊ะบัตรของกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม ๒. ใบมรณบัตร ๒๔ ชม. ในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาล จะออกเอกสารสำคัญรับรองการตาย (ใบมรณบัตร) ให้กับญาติผู้ตายเพื่อนำไปแจ้งยังฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขต ซึ่งผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวของผู้ตาย ๒. บัตรผู้ป่วยของโรงพยาบาลของผู้ตาย ๓. ทะเบียนบ้านซึ่งผู้ตายมีชื่ออยู่ ๔. ใบรับแจ้งการตาย (ท.ร. ๔๐๐) ๕. หนังสือรับรองการตาย (ท.ร. ๔/๑ ตอนที่ ๑) ๖. บัตรประจำตัวของผู้แจ้งการตาย ๗. หนังสือมอบหมายให้ไปแจ้งการตาย พร้อม บัตรประจำตัวของผู้ถือหนังสือมอบหมาย ขั้นตอน ยื่นเอกสารที่ห้องเก็บศพของโรงพยาบาล ๓. ใบรับรองการเบิกต้นสังกัดในรายที่มารับบริการตรวจ รักษาในโรงพยาบาล และต้องการนำใบเสร็จไปเบิก ต้นสังกัด ทางโรงพยาบาลจะออกใบสำคัญกำกับ ใบเสร็จให้แก่ผู้ป่วย ๑๕ นาที เอกสารประกอบ ๑. บัตรของผู้ป่วยโรงพยาบาล ๒. ใบเสร็จรับเงิน ๓. ใบรับรองแพทย์ ขั้นตอน ยื่นเอกสารที่ห้องเก็บเงิน ๔. ใบรับรองแพทย์ ๔.๑ การขอใบรับรองแพทย์ของบริษัทประกันชีวิต ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ - ใบยินยอมของผู้ป่วย - ใบคำขอ พร้อมเลขที่บัตรผู้ป่วยของโรงพยาบาล ขั้นตอน ยื่นเอกสารที่ฝ่ายบริหารทั่วไปของโรงพยาบาล ๔.๒ การขอใบรับรองแพทย์เพื่อทำงานหรือรับรองการป่วย ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรอื่น ๆ ซึ่งแสดงสิทธิในการขอรับบริการ เช่น บัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ บัตรสวัสดิการ ประชาชนด้านการรักษาพยาบาล บัตรข้าราชการ บัตรผู้สูงอายุ เป็นต้น ๓. หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ๔. หนังสือเดินทาง ขั้นตอน ยื่นเอกสารกับแพทย์ผู้ตรวจรักษาโดยตรง สำนักอนามัย ๑. การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์บริการ สาธารณสุขสาขา รับบริการได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา ๒๐-๔๕ นาที เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง ๓. บัตรตรวจโรค หรือบัตรรับบริการใด ซึ่งผู้นั้นมีใช้อยู่แล้ว ประจำศูนย์บริการสาธารณสุข ๔. บัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล บัตร สงเคราะห์อื่น ๆ (ถ้ามี) ๕. บัตรประกันสุขภาพ ๒. การขอรับบริการฉีดวัคซีนเพื่อไปต่างประเทศ ๑๐ นาที เอกสารประกอบ ๑. หนังสือเดินทาง ๒. สำหรับข้าราชการที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจะต้อง มีใบรับรองการเป็นข้าราชการต้นสังกัด สถานที่ติดต่อ - ฝ่ายวัณโรค กองควบคุมโรค สำนักอนามัย ชั้น ๑ ศาลาว่าการกทม. ๑ โทร. ๒๒๔๓๐๔๖ - ฝ่ายโรคทั่วไป กองควบคุมโรค สำนักอนามัย ชั้น ๑ ศาลาว่าการกทม. ๒ (ดินแดง) โทร. ๒๔๕๓๐๘๒ ๓. การขอรับบริการ กำจัดยุงลาย ยุงรำคาญ และลูกน้ำ ยุงรำคาญ โดยการพ่นสารเคมีกำจัดชนิดฝอยละเอียด ๗ วันทำการ สถานที่ติดต่อ ๓.๑ กรณีเหตุเดือดร้อนรำคาญแจ้งที่กองควบคุมโรค อาคาร สำนักการระบายน้ำ ชั้น ๕ โทร. ๒๔๖๐๓๕๘ ๓.๒ กรณีไข้เลือดออก แจ้งที่กองควบคุมโรค โทร. ๒๔๕๘๐๗๘ หรือฝ่ายสัตว์นำโรค โทร. ๓๓๑๑๘๒๒ ๔. การขอรับบริการสัตว์เลี้ยง ๔.๑ ตรวจโรคสัตว์เลี้ยง คุมกำเนิดสุนัขและแมว ฝากดู อาการสุนัข ๗-๑๐ วันทำการ สถานที่ติดต่อ ๑. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๓ สี่พระยา ๒. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๔๓ มีนบุรี ๓. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๑ วัดธาตุทอง ๔. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๔ บางเขน ๕. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๒๙ ช่วงนุชเนตร ๖. ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ วัดหงส์รัตนาราม ๔.๒ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สัตว์เลี้ยง ๕-๒๐ นาที สถานที่ติดต่อ ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกศูนย์ เปิดให้บริการทุกวันศุกร์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ๔.๓ การขอรับบริการจับสุนัขไม่มีเจ้าของและการฉีด วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่สัตว์เลี้ยงในชุมชน ๑๐ วันทำการ สถานที่ติดต่อ ๑. ฝ่ายระบาดวิทยาโรคสัตว์ติดต่อคน เขต บางกอกน้อย ๒. ฝ่ายควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า เขตดินแดง ๕. การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นการจัดบริการสาธารณสุขในระดับชุมชน โดยมุ่งเน้น ให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัย ของตนเอง ครอบครัว และเพื่อนบ้านในชุมชน เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ประชาชนที่ต้องการ มีส่วนร่วมกิจกรรมสาธารณสุขมูลฐานของชุมชน สามารถ สมัครเป็น อสส. ได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เอกสารประกอบ บัตรประจำตัว ๖. คลินิกพิเศษ ๖.๑ สุขภาพจิต ๑) บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพจิต ทางโทรศัพท์หมายเลข ๒๔๖๕๒๐๑ ทุกวัน (ในเวลาราชการ) ๑๕ นาที - ๑ ช.ม. ๒) บริการตรวจรักษาโรคจิต โรคประสาทและ ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ๔๕ นาที - ๑ ช.ม. ๓) บริการคลินิกสุขภาพจิต ๖ แห่ง ที่ศูนย์บริการ สาธารณสุข ๓, ๔, ๒๑, ๒๓ และ ๒๔ ให้บริการทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. และศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๓ ให้บริการ ทุกวันอังคาร พุธ พฤหัสบดี เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ๖.๒ คลินิกฝากครรภ์ ให้บริการทุกวันจันทร์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ๔๕ นาที ๖.๓ คลินิกหลังคลอด (หญิงหลังคลอดลูกภายใน ๖ สัปดาห์) ทุกวันพุธ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ๔๕ นาที ๖.๔ คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี (เด็กอายุ ๐ - ๖ ปี) ๖๐ นาที - ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. - สมุดบันทึกสุขภาพเด็ก ๖.๕ คลินิกวางแผนครอบครัว ให้บริการ ๓ ด้าน คือ ๔๕ นาที ๑) การคุมกำเนิด ๒) การตรวจมะเร็งเต้านม ๓) การตรวจมะเร็งปากมดลูก ศูนย์บริการสาธารณสุขให้บริการในวันพุธ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ศูนย์บริการสาธารณสุขสาขาให้บริการทุกวัน ในเวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. บัตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง ๓. บัตรรับบริการวางแผนครอบครัว ซึ่งผู้ใช้มีใช้ อยู่แล้ว ประจำศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งนั้น ๔. บัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล หรือบัตรสงเคราะห์อื่น ๆ (ถ้ามี) ๕. บัตรประกันสุขภาพ ๖.๖ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของสำนักอนามัย ดูแล เด็กอายุ ๒.๕ - ๖ ปี มีปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ยากจนและขาดผู้เลี้ยงดู มีปัญหาด้านทุพโภชนาการ มีปัญหาด้านสติปัญญาพัฒนาการช้า สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓, ๕, ๗, ๘, ๑๖, ๑๗, ๒๒, ๒๔, ๒๗ ๓๕, ๔๒ และ ๕๐ เอกสารประกอบ ๑. สูติบัตร ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ใบสมัคร ๔. ใบสัมภาษณ์ของนักสังคมสงเคราะห์ ๕. ใบเยี่ยมของพยาบาล ๖. สมุดสุขภาพเด็ก ๖.๗ คลินิกผู้สูงอายุ ๖๐ นาที เป็นคลินิกที่เปิดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้สูงอายุที่มารับบริการตรวจรักษาโรค ณ ศูนย์ บริการสาธารณสุข การจัดทำบัตรประจำตัวผู้สูงอายุด้านการรักษาพยาบาล โดยไม่เสียค่าบริการตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้สูงอายุด้านการรักษาพยาบาล เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว หรือบัตรอื่นที่แสดงว่ามีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๒. ทะเบียนบ้าน ๗. บริการด้านการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ๗.๑ ด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ๑) ผู้ป่วยใหม่ ๓๐ นาที ๒) ผู้ป่วยเก่า ๒๐ นาที ก. คลินิกยาเสพติด สถานที่บำบัดรักษาการติดยาเสพติดคลินิก ยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓, ๔, ๖ ๗, ๑๕, ๑๖, ๑๙, ๒๑, ๒๒, ๒๓, ๒๙, ๓๑ ๔๐, ๔๑ และ ๕๑ ข. ศูนย์ซับน้ำตาผู้ติดยาเสพติดบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ปัญหายาเสพติดทางโทรศัพท์ หรือ มาติดต่อด้วยตนเอง ๑) สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้าน ๒) ผู้สมัครที่อายุไม่เกิน ๑๘ ปี ให้มาพร้อมผู้ปกครอง ๓) ผู้สมัครต้องไม่อยู่ระหว่างการรักษาใน คลินิกยาเสพติดอื่น ๆ ๔) รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๔ รูป ๕) ผลการตรวจ X - ray ภายใน ๖ เดือน ค. สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (บ้าน พิชิตใจ) รับผู้ป่วยที่ผ่านขั้นตอนการถอนพิษยา จากคลินิกยาเสพติดมาแล้วเป็นผู้ป่วยใน/ หลักสูตร ๘ - ๑๒ เดือน เอกสารประกอบ ๑. รูปถ่ายขนาด ๒ นิ้ว จำนวน ๔ รูป ๒. บัตรประจำตัว หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการรับรองพร้อมสำเนา ๑ ชุด ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา ๑ ชุด ๓. สำเนาบัตรประจำตัว หรือทะเบียนบ้าน ญาติหรือผู้ปกครอง สถานที่ติดต่อ - สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ประเวศ เลขที่ ๙๙/๙ ริมคลองตาพุด ซอยอ่อนนุช ๙๐ ถนนสุขุมวิท ๗๗ (อ่อนนุช) เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร โทร. ๓๒๙๑๕๓๕, ๓๒๙๑๕๖๖ และ ๓๒๙๑๓๕๓ - สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ราชดำริ ชั้น ๕ ศูนย์บริการสาธารณสุข ราชดำริ ซอยเพชรบุรี ๓๒ กรุงเทพ มหานคร ๑๐๓๓๐ โทร. ๒๔๕๒๐๓๙ ๗.๒ ด้านการป้องกันการติดยาเสพติด ก. หน่วยป้องกันการติดยาเสพติดให้บริการป้องกัน ยาเสพติดแก่เยาวชน และประชาชนโดยเอกสาร สิ่งพิมพ์ และเป็นวิทยากรหรือการแสดงละครหุ่น ในการป้องกันยาเสพติดพร้อมฉายภาพยนตร์ เพื่อให้ความรู้ และการป้องกันยาเสพติด สถานที่ติดต่อ - หน่วยป้องกันยาเสพติด ๑ ศูนย์บริการ สาธารณสุข ๓๓ โทร. ๔๖๕๙๖๖๓ - หน่วยป้องกันยาเสพติด ๒ ราชดำริ โทร. ๒๕๔๒๐๓๙ - หน่วยป้องกันยาเสพติด ๓ ลาดพร้าว โทร. ๕๑๓๒๕๐๙ - หน่วยป้องกันยาเสพติด ๔ วัดธาตุทอง โทร. ๓๙๑๘๑๑๘ ข. ศูนย์ศึกษาชีวิตเป็นรูปแบบใหม่ของการให้ ภูมิคุ้มกันยาเสพติดแก่เด็ก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๒ ๑ ช.ม. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ -๖ ๑.๓๐ ช.ม. สถานที่ติดต่อ ศูนย์ศึกษาชีวิต ชั้น ๖ ศูนย์ บริการสาธารณสุขราชดำริ ซอยเพชรบุรี ๓๒ ถนนเพชรบุรี ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐ โทร. ๒๕๕๒๔๒๑ ๘. การขอรับบริการด้านป้องกันเอดส์และช่วยเหลือผู้ป่วย ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ๘.๑ การให้บริการให้การปรึกษา - ให้บริการปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ และ ประชาชนทั่วไปที่มาพบด้วยตนเอง - รับปรึกษาทางโทรศัพท์ โทร. ๘๖๐๘๗๕๑-๖ ในวันและเวลาราชการ ๘.๒ โครงการจริยธรรมด้านเอดส์ เป็นการตอบปัญหา ชีวิตครอบครัวสุขภาพ และโรคเอดส์ทางสถานี วิทยุเสียงสามยอด คลื่น ๑๑๗๐ กิโลเฮิร์ทช ภาคเอเอ็ม วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. และเวลา ๐๑.๐๐ - ๐๓.๐๐ น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๔๐ น. สถานที่ติดต่อ ณ ที่ทำการอาคารอเนกประสงค์ กิ่มเลื่อน น้อยวัฒน์ ๑๒๔/๑๖ ถนนกรุงธนบุรี แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. สำนักผังเมือง ๑. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางผังเมือง ๗ วันทำการ ขั้นตอน ทำหนังสือเสนอผู้อำนวยการสำนักผังเมือง ระบุตัวผู้ขอ ข้อมูลและรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการพร้อมเหตุผล สถานที่ติดต่อ ฝ่ายวิจัย ๑ ฝ่ายวิจัย ๒ กองวิชาการและ แผนงาน โทร. ๖๑๓๗๒๕๗-๘ ๒. การบริการข้อมูลแผนที่พื้นฐานกรุงเทพมหานคร ๓ วันทำการ ประกอบด้วย ๒.๑ แผนที่แสดงเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร มาตรส่วน ๑ : ๗๕,๐๐๐ (ขนาด A-0) ๒.๒ แผนที่แสดงเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร รายเขต มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ - ๑ : ๒๐,๐๐๐ (ขนาด A-0) ๒.๓ แผนที่แสดงเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร ขนาด A-3 A-4 ๒.๔ แผนที่แสดงเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร รายเขต ขนาด A-3 A-4 ๒.๕ แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพ มหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ บริเวณเขตเมือง และ ๑ : ๑๐,๐๐๐ บริเวณ เขตชานเมือง ๒.๖ แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มาตราส่วน ๑ : ๔๐,๐๐๐ ๒.๗ แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของอาคารสูงในกรุงเทพ มหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ๒.๘ แผนที่แสดงการใช้ที่ดินรายเขตของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ๒.๙ แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้ จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ แยกตามรายเขต ๕๐ เขต ขั้นตอน ทำหนังสือเสนอผู้อำนวยการสำนักผังเมืองเพื่อ ขออนุญาตใช้ข้อมูล (ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการ จัดทำสำเนาแผนที่เอง) สถานที่ติดต่อ ฝ่ายแผนที่ กองสำรวจและแผนที่ โทร. ๖๑๓๗๑๙๓ ๓. ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพ ๗ วันทำการ มหานคร ขั้นตอน ๑. หนังสือเสนอผู้อำนวยการสำนัก ๒. สำเนาโฉนดที่ดิน ๓. แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งของที่ดิน สถานที่ติดต่อ ฝ่ายควบคุมผังเมือง กองควบคุมทางผังเมือง โทร. ๖๑๓๗๒๕๒ ๔.การศึกษาเพื่อจัดทำแผนและผังพัฒนาเขต (เฉพาะเขต ชั้นนอก ๑๐ เขต) ๗ วันทำการ ขั้นตอน ทำหนังสือเสนอผู้อำนวยการสำนักผังเมือง (ผู้ขอจะต้อง เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำสำเนาแผนที่เอง) สถานที่ติดต่อ ฝ่ายวางผังการใช้ที่ดิน กองวางผังพัฒนาเมือง โทร. ๖๑๓๗๒๖๐-๒ ๕. ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ๑) ๕ วันทำการ ประกอบด้วย ๕.๑ แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินท้ายกฎกระทรวง ๕.๒ ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ๕.๓ รายการประกอบแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ๕.๔ เอกสารรายงานผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ ๑) ขั้นตอน ทำหนังสือเสนอผู้อำนวยการสำนักผังเมือง (ผู้ขอจะต้อง เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำสำเนาแผนที่เอง) สถานที่ติดต่อ ฝ่ายวางผังการใช้ที่ดิน กองวางผังพัฒนาเมือง โทร. ๖๑๓๗๒๖๐-๒ ๖. แผนผังโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวง ๕ วันทำการ สถานที่ติดต่อ ฝ่ายวางผังระบบคมนาคมขนส่งระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ กองวางผังพัฒนาเมือง โทร. ๖๑๓๗๒๖๐-๒ สำนักการจราจรและขนส่ง ๑. กองวิชาการ รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาจราจรด้านวิศวกรรมจราจร การกำหนดพิจารณาให้มีสะพานคนเดินข้ามถนน สะพานลอยข้ามทางแยก การตัดถนน การติดตั้งและ บำรุงรักษาราวป้องกันอันตราย (การ์ดเรล) รั้วป้องกัน คนเดินข้ามถนน หมุดสะท้อนแสงต่าง ๆ คันชะลอ ความเร็ว การพิจารณาออกแบบปรับปรุงกายภาพของ ถนน ทางแยก เกาะกลางถนน ทางเท้า การกำหนด ทางม้าลาย ๓ วันทำการ สำหรับ ป้าย ๘ ชม. สำหรับ สัญญาณไฟจราจร การ ติดตั้งป้ายใหม่ขึ้นอยู่กับ งบประมาณที่มีหรือต้อง ขอจัดสรรงบประมาณ หรือประกาศข้อบังคับ กองบัญชาการตำรวจ นครบาลเหนือ สถานที่ติดต่อ กองวิชาการ สำนักการจราจรและขนส่ง โทร. ๙๓๗๕๖๘๔ โทรสาร ๙๓๗๕๖๘๕ (ในเวลาราชการ) ๒. กองเครื่องหมาย รับผิดชอบการออกแบบและทำเครื่องหมายจราจรบน พื้นทาง (งานตีเส้นจราจร) เครื่องหมายจราจรขอบทาง ติดตั้งและซ่อมบำรุงป้ายจราจรต่าง ๆ เช่น ป้ายบังคับการ จราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ป้ายเตือน ต่าง ๆ ป้ายแนะนำทางลัด ป้ายแนะนำสถานที่ราชการ ป้ายแนะนำโรงพยาบาล ป้ายแนะนำโรงเรียน ป้ายชื่อถนน ตรอก และซอย ป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ป้ายชื่อ คลอง ป้ายชื่อทางแยก ป้ายชุมชนต่าง ๆ ตลอดจน แผ่นกระจกโค้งตามทางแยกต่าง ๆ สถานที่ติดต่อ กองเครื่องหมาย สำนักการจราจรและขนส่ง โทร. ๙๑๐๓๗๑๕-๖ โทรสาร ๙๑๐๓๗๑๗ (ในเวลา ราชการ) ๓. กองสัญญาณไฟ รับผิดชอบการออกแบบ ติดตั้งบำรุงรักษาสัญญาณ ไฟจราจร ควบคุมทางแยกสัญญาณไฟจราจรควบคุมเป็น พื้นที่ (เอ.ที.ซี.) ไฟกะพริบ ไฟแสงสว่างส่องทางข้าม (ม้าลาย) ไฟเตือนหัวเกาะ ไฟส่องป้ายแนะนำการจราจร ไฟบังคับช่องทางเดินรถสลับทิศทางการจราจร สถานที่ติดต่อ กองสัญญาณไฟ สำนักการจราจรและขนส่ง โทร. ๙๑๐๓๗๑๔ ศูนย์ เอ.ที.ซี. โทร. ๒๒๕๖๙๗๘ - ๘๐ (ตลอด ๒๔ ชม.) ๔. กองการขนส่ง รับผิดชอบเกี่ยวกับศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง การซ่อมบำรุงป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพ มหานคร ๑. กรณีแจ้งข่าวให้ซ่อมแซม เช่น ป้ายชำรุด สัญญาณ ไฟจราจรขัดข้อง เป็นต้น อาจแจ้งทางโทรศัพท์ โทรสาร จดหมาย หนังสือ หรือการยื่นเป็นคำร้อง ก็ได้ ๒. กรณีแจ้งขอให้มี เช่น ขอสะพานคนข้ามถนน ขอย้ายป้ายหยุดรถโดยสารประจำทาง ขอทางม้าลาย ขอคันชะลอความเร็ว เป็นต้น ควรยื่นขอเป็น ลายลักษณ์อักษรพร้อมแผนผังโดยสังเขป อาจเป็น ทางจดหมาย หนังสือ หรือคำร้องก็ได้ เพราะจะต้อง นำคำร้องเหล่านี้ไปเป็นหลักฐานในการประสานงานกับ หน่วยงานอื่น ๆ ตลอดจนการขอจัดสรรงบประมาณ ดำเนินการ ๓. การแจ้งข่าว หรือการร้องขอต่าง ๆ ควรแจ้งชื่อผู้ร้อง พร้อมที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ หรือโทรสารด้วย เพื่อสำนักการจราจรและขนส่งจะได้ขอคำหารือ หรือเพิ่มเติมแจ้งผลการดำเนินการ หรือเหตุขัดข้อง หรืออุปสรรคในการดำเนินการให้ทราบ สถานที่ติดต่อ กองการขนส่ง โทร./โทรสาร ๙๑๐๓๗๑๑ (ในเวลาราชการ) ศูนย์รับแจ้งทุกข์และภัย กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานคร การรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ทางโทรศัพท์หมายเลข ๑๕๕๕ ทางโทรสาร และมาร้องทุกข์ด้วยตนเอง - สอบถามรายละเอียด สถานที่เกิดเหตุ ชื่อ ที่อยู่ของ ผู้ร้อง บันทึกในแบบฟอร์ม - ส่งเรื่องร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทาง Computer Online ทางเอกสารเพื่อดำเนินการ แก้ไข และแจ้งผลให้ผู้ร้องทราบ พร้อมรายงานผล ให้ศูนย์ ฯ ทราบภายใน ๓ วัน ๓ วันทำการ - กรณีเรื่องเร่งด่วน ประสานงานทางโทรศัพท์ โทรสาร ไปยังเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทันที - ติดตามผลการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ที่ยังไม่รายงาน ให้ศูนย์ ฯ ทราบ - จัดทำสถิติการรับแจ้งและการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ รายงานผู้บริหารทราบทุกเดือน การรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ทางอินเตอร์เน็ต (Internet) - เมื่อประชาชนต้องการร้องทุกข์ แสดงความคิดเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะทาง Web Site ของกรุงเทพ มหานคร - พิมพ์ www.bma.go.th และเลือกรายการ คน กทม. ร้องทุกข์ จากนั้นใส่รายละเอียดลงในแบบฟอร์ม ที่ปรากฏ - เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเรื่องว่าอยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานใด แล้ว Forward ไปยังหน่วยงานนั้น ๆ เช่น สำนักงานเขตพระนคร สำนักงานเขตจตุจักร สำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ ตลาดนัด กทม. ๓ วันทำการ องค์การโทรศัพท์ ฯ เพื่อแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน ๓ วันทำการ - เมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว ศูนย์ ฯ ๑๕๕๕ จะตอบ ประชาชนโดยขึ้นคำตอบให้ประชาชนทราบ และถ้า ประชาชนให้ E - Mail Address จะทำการส่ง คำตอบให้ตามที่อยู่ที่แจ้ง - จัดทำสถิติการรับแจ้งและการแก้ไขเรื่องร้องทุกข์ทาง อินเตอร์เน็ตรายงานผู้บริหารทราบทุกเดือน ขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์อุบัติภัยกรุงเทพมหานคร กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ เฝ้าฟังจากข่ายพระราม วชิระ ร่วมด้วยช่วยกัน จส. ๑๐๐ สวพ. ๙๑ และรับแจ้งจากประชาชน - ได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ - ทางศูนย์ได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นเหตุจริง - ศูนย์อุบัติภัยแจ้งผู้บังคับบัญชาของศูนย์อุบัติภัย และ กองป้องกันอัคคีภัยฝ่ายพลเรือน ทราบ - แจ้งชุดปฏิบัติการพหลโยธินเข้าตรวจสอบในพื้นที่เกิดเหตุ - แจ้งเขตรับผิดชอบ ขอกำลังสนับสนุน - เจ้าพนักงานป้องกันสาธารณภัยออกจากศูนย์ปฏิบัติการ ถึงที่เกิดเหตุ - เมื่อพนักงานป้องกันสาธารณภัยเข้าถึงที่เกิดเหตุ ได้ ตรวจสอบและสังเกตการณ์ที่เกิดเหตุโดยรอบ กั้นบริเวณ ๑ วันทำการ พื้นที่เขตอันตรายห้ามเข้า และอำนวยความสะดวก ด้านการจราจรแก่หน่วยงานต่าง ๆ - แจ้งสถานการณ์เบื้องต้นให้ทางศูนย์อุบัติภัยทราบ เป็นระยะ เมื่อศูนย์อุบัติภัยได้แจ้งรายละเอียดให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ - ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย - รายงานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ ศูนย์ทราบ - พนักงานป้องกันสาธารณภัยแจ้งกลับที่ตั้ง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์อุบัติภัยกรุงเทพมหานคร กรณีการตรวจพบสารเคมี เฝ้าฟังจากร่วมด้วยช่วยกัน จส. ๑๐๐ สวพ. ๙๑ และ รับแจ้งจากประชาชน - ได้รับแจ้งเหตุพบสารเคมี - แจ้งชุดปฏิบัติการพหลโยธินเข้าตรวจสอบในพื้นที่เกิดเหตุ - แจ้งเขตรับผิดชอบ ขอกำลังสนับสนุน - ศูนย์อุบัติภัยแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ - แจ้งผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมี (กรมโรงงานอุตสาหกรรม การท่าเรือ บริษัท CALTEX) - เมื่อพนักงานป้องกันสาธารณภัยเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ ๑ วันทำการ ตรวจสอบและสังเกตการณ์ที่เกิดเหตุโดยรอบ กั้นบริเวณ พื้นที่เขตอันตรายห้ามเข้า และอำนวยความสะดวก ด้านการจราจรแก่หน่วยงานต่าง ๆ - หน่วยงานต่าง ๆ เข้าที่เกิดเหตุ - เข้ากู้ภัย เก็บสารปนเปื้อนตกหล่น - รายงานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ ศูนย์ทราบ - พนักงานป้องกันสาธารณภัยแจ้งกลับที่ตั้ง ขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์อุบัติภัยกรุงเทพมหานคร กรณีการเกิดน้ำท่วมขัง เฝ้าฟังจากร่วมด้วยช่วยกัน จส. ๑๐๐ สวพ. ๙๑ และ รับแจ้งจากประชาชน ๑ วันทำการ - ได้รับแจ้งการเกิดน้ำท่วม - แจ้งชุดปฏิบัติการพหลโยธินเข้าตรวจสอบในพื้นที่เกิดเหตุ ตรวจสอบว่าเหตุที่เกิดอยู่ในความรับผิดชอบของ หน่วยงานใด เช่น ถนนพหลโยธิน บริเวณแยกเกษตร อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการระบายน้ำ แต่ถ้าอยู่ ในตรอก ซอย จะอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขต ๑ วันทำการ - แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมปัญหาและอุปสรรค - เมื่อพนักงานป้องกันสาธารณภัยเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ ตรวจสอบและสังเกตการณ์ที่เกิดเหตุโดยรอบ หาเหตุ ที่ทำให้น้ำท่วมขังในบริเวณที่รับแจ้งเหตุ รายงาน สถานการณ์เบื้องต้นให้ศูนย์อุบัติภัยทราบและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์อุบัติภัยกรุงเทพมหานคร กรณีอุบัติภัยอื่น ๆ เช่น กรณีมีน้ำมันหกหล่น กรณีต้นไม้ล้ม ฯลฯ เฝ้าฟังจากร่วมด้วยช่วยกัน จส. ๑๐๐ สวพ. ๙๑ และ รับแจ้งจากประชาชน - ได้รับแจ้งกรณีอุบัติภัยต่าง ๆ เช่น กรณีน้ำมันหกหล่น กรณีต้นไม้ล้ม ฯลฯ - แจ้งชุดปฏิบัติการพหลโยธินเข้าตรวจสอบในพื้นที่ เกิดเหตุตรวจสอบว่าเหตุที่เกิดอยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานใด เช่น ถนนบรมราชชนนีบริเวณหน้า ๑ วันทำการ สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน อยู่ในความรับผิดชอบ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน - แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมปัญหาและอุปสรรค - เมื่อพนักงานป้องกันสาธารณภัยเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ ตรวจสอบและสังเกตการณ์ที่เกิดเหตุโดยรอบ ในบริเวณ ที่รับแจ้งเหตุรายงานสถานการณ์เบื้องต้นให้ศูนย์อุบัติภัย ทราบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ หมวด ๒ ข้อ ๘ ขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครของ สำนักงานเขต ฝ่ายปกครอง ๑. รับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ๒. รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ๓. รับรองสถานที่เกิด - ตาย ๔. รับรองว่าบ้านถูกไฟไหม้ ๕. รับรองฐานะของบุคคลเพื่อรับอุปการะผู้พ้นโทษ ๖. รับรองความประพฤติ ๗. รับรองว่าบุคคลยังมีชีวิตอยู่เพื่อไปรับบำนาญ ๘. รับรองสถานภาพการสมรส ๓-๕ ชม. ๙. รับรองลายมือชื่อกรณีให้ความยินยอมบุตรเดินทางไป (กรณีผู้ร้องนำเอกสาร ต่างประเทศ และพยานบุคคลมา ๑๐. รับรองว่าได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากบุตร หรือผู้ส่งเงินใน แสดงครบถ้วน) ต่างประเทศ ๑๑. รับรองสถานะทางครอบครัวของคนงานที่ไปทำงานใน ต่างประเทศ ๑๒. รับรองลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงินกองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ๑๓. รับรองรายการบริจาคทรัพย์สินเพื่อขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ ๑๔. การสอบสวนเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลกรณีอื่น ๆ ๒ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. พยานบุคคลที่เชื่อถือได้อย่างน้อย ๒ คน ๔. เอกสารที่จะให้รับรองและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. สอบสวนถ้อยคำผู้ร้องและพยาน ๔. บันทึก ป.ค. ๑๔ กรณีเรื่องสอบสวน ๕. จัดทำหนังสือรับรอง ๖. เสนอผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ๗. ผู้ร้องรับหนังสือรับรอง/เอกสาร และลงลายมือชื่อ รับเป็นหลักฐาน หมายเหตุ - กิจกรรมต่าง ๆ มอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน ไม่ได้ ยกเว้นข้อ ๓ และข้อ ๘ - พยานต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและทราบเรื่องที่จะให้ รับรองเป็นอย่างดี ฝ่ายทะเบียน ทะเบียนราษฎร การขอเลขหมายประจำบ้าน ๑. กรณีบ้านปลูกใหม่ ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และแบบแปลนการก่อสร้าง (ถ้ามี) ๓. หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือสัญญาเช่าที่ดิน (ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ ๒) ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ หมายเหตุ ต้องขอเลขหมายประจำบ้านภายใน ๑๕ วัน นับแต่ วันสร้างบ้านแล้วเสร็จหากไม่ขอภายในกำหนด ปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒. กรณีขอแยกเลขหมายประจำบ้าน หรือกรณีรวมเลขหมาย ประจำบ้าน ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒ ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านทุกหลัง ๓. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์บ้าน (ถ้ามี) ๔. คำยินยอมให้แยกเลขหมายประจำบ้านจากเจ้าบ้าน การแจ้งรื้อบ้าน ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ หมายเหตุ ต้องแจ้งสำนักงานเขตท้องที่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่ วันรื้อเสร็จหากไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท การแจ้งเกิด ๑. กรณีมีคนเกิดในบ้านหรือมีคนเกิดนอกบ้าน ๓๐ นาที เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี) ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ หมายเหตุ กรณีคนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้าน หรือมารดา หรือบิดา หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักทะเบียน ท้องถิ่นเขตที่มีคนเกิดในบ้าน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด หากไม่แจ้งภายในกำหนดปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท กรณี มีคนเกิดนอกบ้าน มารดาหรือบิดาเป็นผู้แจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักทะเบียนท้องถิ่นเขตที่มีคนเกิดนอกบ้าน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด หากไม่แจ้งภายในกำหนด ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒. กรณีคนเกิดในสถานพยาบาล ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวมารดา หรือบิดา ๒. ใบนัดของสถานพยาบาล หรือเอกสารอื่นที่สถาน พยาบาลออกให้ ๓. กรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด ๑๕ วัน ๓๐ นาที เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. หนังสือรับรองการเกิด (ถ้ามี) ๔. เจ้าบ้าน บิดา มารดา และพยานบุคคล พร้อมบัตร ประจำตัว หมายเหตุ ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท การแจ้งตาย ๑. กรณีคนตายในบ้าน หรือมีคนตายนอกบ้าน ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่ (ถ้ามี) ๓. หนังสือรับรองการตาย (ถ้ามี) ๔. บันทึกประจำวันแจ้งความคนตาย (กรณีไม่มีหลักฐาน รับรองการตาย) ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ หมายเหตุ กรณีคนตายในบ้านให้เจ้าบ้าน หรือผู้พบศพแจ้ง ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หากไม่แจ้งตาย ภายในกำหนดปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท กรณีมีคนตาย นอกบ้านให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่ที่มีการตาย หรือพบศพ แล้วแต่กรณี ภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพ หากไม่แจ้ง ภายในกำหนดปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒. กรณีมีคนตายในสถานพยาบาล ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนที่มีชื่ออยู่ (ถ้ามี) ๓. หนังสือรับรองการตาย ๔. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านของโรงพยาบาล ๓. กรณีเก็บ ฝัง เผา ทำลาย และย้ายศพผิดไปจากที่แจ้ง ไว้เดิม ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. มรณบัตร การแจ้งย้ายที่อยู่ ๑. กรณีย้ายออก ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้แจ้งย้ายออก ๓. กรณีผู้แจ้งไม่ได้เป็นเจ้าบ้านให้นำบัตรประจำตัวเจ้าบ้าน มาแสดงด้วย หมายเหตุ ต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากเกินกำหนดปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒. กรณีย้ายเข้า ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ๓. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๔. กรณีเจ้าบ้านไม่ได้เป็นผู้แจ้งย้ายเข้าให้แสดงบัตร ประจำตัวเจ้าบ้าน และให้เจ้าบ้านลงชื่อยินยอมใน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ๕. บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน หมายเหตุ ต้องแจ้งภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันย้ายเข้า หากเกิน กำหนดปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๓. การแจ้งย้ายปลายทาง ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน พร้อมด้วยคำยินยอม เป็นหนังสือของเจ้าบ้านที่เข้าไปอยู่ใหม่ ๓. บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน หมายเหตุ ยกเว้นสำนักทะเบียนต้นทางที่ไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ จะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เอกสารประกอบ หลักฐานประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐาน การศึกษา หลักฐานการผ่านการอุปสมบท หลักฐานการรักษา พยาบาล บัตรประจำตัวลูกเสือชาวบ้าน ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ คนสัญชาติไทยขอเพิ่มชื่อ ๑. กรณีไม่มีชื่อเพราะตกสำรวจจากทะเบียนบ้านปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (เกิดก่อน ๑ มิ.ย. ๒๔๙๙ เคยมีชื่อในหลักฐานทะเบียน บ้านฉบับก่อน ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ แต่ชื่อได้ตกไปไม่ปรากฏ อยู่ในทะเบียนบ้าน ปี พ.ศ. ๒๔๙๙) ๓๘ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หลักฐานการเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านฉบับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (ถ้ามี) เช่น สำมะโนครัว ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ และปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ๒. หัวหน้าครอบครัวตามทะเบียนบ้านเดิม (ถ้ามี) ๓. เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติ พี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร พร้อมบัตร ประจำตัว ๒. กรณีบุคคลอ้างว่ามีสัญชาติไทย และไม่มีหลักฐานมาแสดง (ไม่เคยแจ้งเกิดและไม่เคยมีชื่อในทะเบียนบ้านฉบับเดิม) ๘ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หลักฐานประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐาน การศึกษา หลักฐานการรักษาพยาบาล บัตรประจำตัว ลูกเสือชาวบ้าน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการ ออกให้ ๒. เจ้าบ้าน บิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง หรือบุคคล ที่น่าเชื่อถือ เช่น ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร พร้อมบัตร ประจำตัว ๓. กรณีขอเพิ่มชื่อตามสูติบัตร หรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้านแบบเดิมที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ทะเบียนบ้านปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หรือ พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือ พ.ศ. ๒๕๒๖) ๓๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หลักฐานประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐาน การศึกษา หลักฐานการรักษาพยาบาล บัตรประจำตัว ลูกเสือชาวบ้าน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการ ออกให้ ๒. สูติบัตรหรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่ หรือทะเบียนบ้าน (ฉบับปี พ.ศ. ๒๔๙๙ หรือ พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือ พ.ศ. ๒๕๒๖) ที่เคยมีชื่อ ๔. กรณีเกิดในต่างประเทศ โดยมีหลักฐานการเกิดซึ่งแสดงว่า เป็นบุคคลสัญชาติไทย ๓๘ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หลักฐานการจดทะเบียนคนเกิด (สูติบัตร) หรือ หลักฐานการเกิดซึ่งออกโดยรัฐบาลประเทศนั้น ซึ่งแปล และรับรองว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ ๒. หนังสือเดินทางของผู้จะขอเพิ่มชื่อซึ่งออกโดย สถานทูตไทย ๓. เจ้าบ้านพร้อมบัตรประจำตัว ๕. กรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้ว เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่า เป็นคนสัญชาติไทย ๓๐ วันทำการ (ไม่รวมขั้นตอนของ สำนักงานตรวจคน เข้าเมือง) เอกสารประกอบ ๑. หนังสือตอบจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็น บุคคลสัญชาติไทย ๒. หลักฐานประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือ เดินทาง หลักฐานแสดงการเกิด บัตรประจำตัว ๓. เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรพร้อมบัตร ประจำตัว ๖. กรณีได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หลักฐานประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือ เดินทาง หนังสือประจำตัวคนต่างด้าว ๒. หลักฐานการได้รับสัญชาติไทย เช่น หนังสือสำคัญ การแปลงสัญชาติเป็นไทยและหนังสือราชกิจจานุเบกษา หนังสืออนุญาตให้เข้าถือสัญชาติไทยตามสามี ๓. เจ้าบ้านพร้อมบัตรประจำตัว ๗. บุคคลเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูก ลงรายการ "ตาย" หรือ "จำหน่าย" ในทะเบียนบ้าน ขอเพิ่มชื่อ ๒๓ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หลักฐานประจำตัวผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น บัตรประจำตัว หลักฐานการทหาร หลักฐานการศึกษา ๒. เจ้าบ้านพร้อมบัตรประจำตัว ๓. ผู้แจ้งการตาย หรือผู้ขอจำหน่ายชื่อ (ถ้ามี) พร้อม บัตรประจำตัว ๔. หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) หลักฐานมรณบัตร หลักฐาน แสดงการตาย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในสูติบัตร มรณบัตร และ ทะเบียนบ้าน ๑. กรณีมีเอกสารราชการมาแสดง ๑ วันทำการ (ไม่นับเวลาเตรียมการ หรือการเดินทางควร ติดต่อก่อนวันแก้ไข) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. หลักฐานที่ทางราชการออกให้ซึ่งมีรายการที่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ๒. กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดง ๓๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. พยานบุคคล และหลักฐานอื่นที่เชื่อถือได้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับสัญชาติเนื่องจากลง รายการผิดพลาด ๑. กรณีการแก้ไขจากสัญชาติอื่น หรือจากไม่มีสัญชาติอื่น หรือจากไม่มีสัญชาติเป็นสัญชาติไทย ๓๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. สูติบัตร หรือทะเบียนบ้านฉบับที่ลงรายการสัญชาติ ถูกต้อง ๓. พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ พร้อมบัตรประจำตัว เช่น บิดา มารดา เจ้าบ้าน ฯลฯ ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ๒. กรณีการแก้ไขจากสัญชาติไทย หรือจากไม่มีสัญชาติ หรือจากสัญชาติอื่นเป็นสัญชาติอื่น ๓๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. สูติบัตร หรือหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือหนังสือเดินทาง ฯลฯ ๓. พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ พร้อมบัตรประจำตัว เช่น บิดา มารดา เจ้าบ้าน ฯลฯ การขอตรวจ คัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร ๓๐ นาที เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง ๒. หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ๓. บัตรประจำตัวทนายความหรือใบอนุญาตเป็นทนายความ (กรณียื่นขอในฐานะทนายความ) ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชน - กรณีขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ครั้งแรกอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ (ไม่เกิน ๖๐ วัน นับจากวันเกิด) ๑ ชม. ยกเว้น กรณีที่ต้อง ตรวจสอบการทำบัตร ประจำตัวประชาชน ไปยังหน่วยงานอื่น ให้ทำหนังสือตรวจสอบ ภายในวันที่ยื่นคำขอ มีบัตรประจำตัวประชาชน และให้ติดตามผล ตรวจสอบเพื่อให้ทราบ ข้อเท็จจริงโดยเร็ว เอกสารประกอบ ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ๒. สูติบัตร หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ ถ้าไม่มี หลักฐานเอกสารให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมา ให้การรับรองโดยนำบัตรประจำตัวประชาชน และ ทะเบียนบ้านมาด้วย ๓. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา หรือ ใบมรณบัตร กรณีผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนมีบิดา และมารดาเป็นคนต่างด้าว ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ๔. รูปถ่าย ๕. รับบัตรประจำตัวประชาชน หมายเหตุ ค่าปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท ถ้าขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เกิน ๖๐ วัน นับจากวันที่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ๒. กรณีบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ (ต้องขอมี บัตรประจำตัวประชาชน ภายใน ๖๐ วัน นับจากวันที่ บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุวันครบรอบวันเกิด) ๑๕ นาที ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ๒. บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ หมายเหตุ ค่าปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท ถ้าบัตรประจำตัวประชาชน หมดอายุเกิน ๖๐ วัน และถ้าผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ก่อนวันที่บัตรประจำตัว ประชาชนหมดอายุก็ได้ โดยยื่นคำขอภายใน ๖๐ วันก่อน วันที่บัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ๓. กรณีบุคคลพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอมี บัตรประจำตัวประชาชน (ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ภายใน ๖๐ วัน นับจากวันที่พ้นจากสภาพได้รับการยกเว้น) ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ๒. หลักฐานที่แสดงว่าพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น คำสั่งให้ ออกจากราชการ หนังสือแสดงการปลดทหารกอง ประจำการ ใบสุทธิที่ระบุวันลาสิกขา ฯลฯ หมายเหตุ ค่าปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท ถ้าขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เกิน ๖๐ วัน นับจากวันพ้นสภาพได้รับยกเว้นไม่ต้องขอมี บัตรประจำตัวประชาชน ๔. กรณีได้สัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ (ต้องขอ มีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน ๖๐ วัน นับจากวันที่ได้ สัญชาติไทย) ๓๐ นาที ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ๒. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา หากถึงแก่กรรมให้แสดงใบมรณบัตร กรณีผู้ขอมี บัตรประจำตัวประชาชน มีบิดา และมารดาเป็น คนต่างด้าว ๓. เจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง ๕. กรณีได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ต้องขอมี บัตรประจำตัวประชาชน ภายใน ๖๐ วัน นับจากวันที่ ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน) ๓๐ นาที ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ๒. หลักฐานที่ใช้ในการเพิ่มชื่อ เช่น สูติบัตร ๓. เจ้าบ้าน หรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง หมายเหตุ ค่าปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท ถ้าขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เกิน ๖๐ วัน นับจากวันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ๖. กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ๓๐ นาที ๑. สำเนาทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ๒. หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงาน องค์การของรัฐ ทะเบียนทั่วไป ทะเบียนครอบครัว ๑. การจดทะเบียนสมรส ๑.๑ การจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต ๓๐ นาทีต่อราย เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ที่ยังไม่หมดอายุ เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส ๓. พยานบุคคล ๒ คน (ถ้าไม่มีทางเขตจัดหาให้) และต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติม คือ ๑. ฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงต้องบรรลุนิติภาวะ ๑. ถ้าฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องให้ บิดา มารดาทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงลงนาม ยินยอม ๓. ฝ่ายหญิงถ้าเคยจดทะเบียนสมรสมา แต่ได้ จดทะเบียนหย่ามาแล้ว และจะจดทะเบียน สมรสใหม่ต้องทำการหย่ามาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๑๐ วัน ยกเว้นจดทะเบียนสมรสกับคนเดิม หรือใบรับรองแพทย์ว่าไม่เคยตั้งครรภ์ ๑.๒ การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักงานเขต ๓๐ นาที ไม่นับเวลาเตรียมการ หรือการเดินทาง ควร ติดต่อก่อนวันจดทะเบียน สมรส เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงที่ยัง ไม่หมดอายุ เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่สมรส ๓. พยานบุคคล ๒ คน หมายเหตุ การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักงานเขต ค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท ๑. การจดทะเบียนสมรสของคนสัญชาติไทยกับ คนสัญชาติอื่นต้องมีหลักฐานหนังสือรับรอง จากสถานทูตหรือสถานกงสุลซึ่งแปลเป็น ภาษาไทย และผ่านการรับรองจากสถานทูต หรือกระทรวงการต่างประเทศและหนังสือ เดินทางที่ต่ออายุแล้ว ๒. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักงานเขต ผู้ร้องต้องจัดพาหนะรับ-ส่ง หรือจ่ายค่าพาหนะ ให้ตามที่จ่ายจริง ๒. การจดทะเบียนหย่า ๒.๑ การจดทะเบียนหย่า โดยความยินยอมในสำนัก ทะเบียนเดียวกัน ๑ ชม. (ไม่นับเวลาเตรียมการ หรือการเดินทาง ควร ติดต่อก่อนวันจดทะเบียน หย่า) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวประชาชนทั้งฝ่ายชาย และ ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า เอกสาร การเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) ๓. ใบสำคัญการสมรสทั้ง ๒ ฝ่าย ๔. พยานบุคคล ๒ คน ๕. ข้อตกลงการหย่า ๒.๒ การจดทะเบียนหย่า โดยความยินยอมต่างสำนัก ทะเบียน (สำนักงานเขตหรืออำเภอ) ๑ ชม. (นับแต่วันที่เอกสาร ครบถ้วน) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า ๓. ใบสำคัญการสมรส ๔. พยานบุคคล ๒ คน ๕. ข้อตกลงการหย่า ๒.๓ การจดทะเบียนหย่า โดยคำพิพากษาของศาล ๑ ชม. (ในกรณีไม่ต้องไปศาล) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุด ซึ่งศาลรับรองแล้ว ๓. การจดทะเบียนรับรองบุตร ๓.๑ การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน ๑ ชม. (ไม่นับเวลาเตรียมการ หรือการเดินทาง ควร ติดต่อก่อนวันจดทะเบียน รับรองบุตร) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้องของบิดา และมารดา ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้องของบิดา และมารดา ๓. สูติบัตรของบุตร ๔. พยานบุคคล ๒ คน ๓.๒ การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียน ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. สูติบัตรของบุตร ๔. พยานบุคคล ๒ คน ๕. ค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท ๓.๓ การจดทะเบียนรับรองบุตร โดยคำพิพากษาของศาล ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุด ซึ่งศาลรับรอง หมายเหตุ มารดา และบุตรต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง ๔. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. หนังสืออนุญาตให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม จากกรมประชาสงเคราะห์ (กรณีผู้เยาว์) ๔. ใบสำคัญการสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม และ ของบุตรบุญธรรม (ถ้ามี) ๕. พยานบุคคล ๒ คน หมายเหตุ ๑. หากผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย ๒. ผู้เป็นบุตรบุญธรรม ถ้าอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปต้องลงนาม ให้ความยินยอมด้วย ๕. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ๕.๑ การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยความตกลง ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. สำเนาการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ๔. พยานบุคคล ๒ คน ๕.๒ การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยคำพิพากษา ของศาล ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุด ซึ่งศาลรับรองแล้ว หมายเหตุ ๑. ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับ ความยินยอมจากบิดามารดาของบุตรบุญธรรม ๒. บุตรบุญธรรมมีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ต้องให้ บุตรบุญธรรมให้ความยินยอมด้วย ๖. การบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. เอกสารหลักฐานในเรื่องที่ต้องการให้บันทึก ซึ่งเป็นต้นฉบับพร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทย รับรองการแปลจากต่างประเทศหรือสถานทูต ของประเทศที่ออกเอกสารให้ (เฉพาะกรณี ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นคนสัญชาติต่างประเทศ) ๔. พยานบุคคล ๒ คน ขั้นตอนการจดทะเบียนครอบครัว ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ทะเบียนชื่อบุคคล การขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง ๓. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา) ๔. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ ต้องมีทะเบียนสมรสมาแสดง การขอตั้งชื่อสกุล ๖๙ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้ขอตั้งชื่อสกุล ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ขอตั้งชื่อสกุล ๓. กรณีดำเนินการแทนผู้เยาว์ ใช้สูติบัตรผู้เยาว์ ทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้เยาว์ บัตรประจำตัวผู้ดำเนินการแทน (มารดา) ๔. กรณีบิดาทำการแทนผู้เยาว์ ต้องมีทะเบียนสมรสมาแสดง ๕. หลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบสำคัญการหย่า หนังสืออนุญาต ให้ร่วมใช้ชื่อสกุล เป็นต้น ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การดำเนินการที่ฝ่ายทะเบียนมีขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. นายทะเบียนท้องถิ่นเขตลงนาม การดำเนินการที่กองปกครองและทะเบียนมีขั้นตอน ตรวจสอบหลักฐานเพื่อความถูกต้อง ก่อนที่จะ ส่งให้ส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน กรม การปกครองพิจารณาต่อไป การดำเนินการที่ส่วนการทะเบียนทั่วไปมีขั้นตอน พิจารณาการขอตั้งชื่อสกุลเพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ต่อไป การขอร่วมใช้ชื่อสกุล ๑. กรณีอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ชื่อสกุล ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล (ช. ๒) ๓. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ๒. กรณีขอร่วมใช้ชื่อสกุลของผู้อื่น ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล ๓. กรณีเจ้าของชื่อสกุลและผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลมีชื่ออยู่ใน สำนักงานเขตเดียวกัน ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวของทั้ง ๒ ฝ่าย ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของทั้ง ๒ ฝ่าย ๓. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล (ช. ๒) พินัยกรรม การทำพินัยกรรม ๑. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ๑ วัน เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่แจ้งไว้ ๔. กรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุเกิน ๖๐ ปี หรือป่วย ควรมี ใบรับรองแพทย์ว่ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ๕. พยานบุคคล ๒ คน ๒. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ๑/๒ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. พยานบุคคล ๒ คน ๓. พินัยกรรมทำด้วยวาจา ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. พยานบุคคล ๒ คน การตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. พยานบุคคล ๒ คน การถอนการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ๑/๒ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. หลักฐานการตัดทายาท ๔. พยานบุคคล ๒ คน การสละมรดก ๑/๒ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ๓. พยานบุคคล ๒ คน การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ๓ วันทำการ (หลังจากปิดประกาศ ครบตามกำหนด) เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง ๒. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง ๓. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขอจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรม เช่น สัญญาซื้อขาย ๔. หนังสือยินยอมของคู่สมรส ๕. พยานบุคคล ๒ คน ฝ่ายโยธา ควบคุมอาคาร ๑. การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร กฎหมายบัญญัติให้ ดำเนินการภายใน กำหนด ๔๕ วัน นับ แต่วันที่ยื่นขออนุญาต ในกรณีมีเหตุจำเป็น ไม่อาจออกใบอนุญาต ได้ทันให้ขยายเวลาได้ อีกไม่เกิน ๒ คราว คราวละไม่เกิน ๔๕ วัน เอกสารประกอบ ๑. แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข. ๑) หรือแบบคำขออนุญาต เคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ ข. ๒) ๒. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดง วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนาหรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับ และ เจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า ๔. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน หรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ใช่ เจ้าของที่ดิน) จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ อนุญาต ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทน นิติบุคคลและเจ้าของที่ดินพร้อมลงนามรับรองสำเนา ทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๖. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิก วิศวกร ผู้ออกแบบและคำนวณพร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ใน ประเภทเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพ สถาปัตยกรรม) จำนวน ๑ ชุด ๗. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน จำนวน ๕ ชุด ๘. กรณีเป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคาร ที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแสดงแบบแปลนแผนผัง แบบก่อสร้าง จำนวน ๕ ชุด และรายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน ๑ ชุด ๙. กรณีอาคารที่อยู่ในข่ายต้องมีระบบกำจัดน้ำเสีย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้อง แสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน ๕ ชุด และ รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน ๑ ชุด หมายเหตุ ๑. ประเภทอาคารที่ขออนุญาตกับสำนักงานเขต ผู้มีความ ประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้าย อาคารสูงไม่เกิน ๕ ชั้น หรือสูงไม่เกิน ๒๐ เมตร ทุกประเภท ยกเว้นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ โรงแรม โรงพยาบาล โรงงานทุกประเภทซึ่งไม่ใช่โรงงาน ที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในครอบครัว และโรงงาน ที่ประกอบกิจการโดยไม่ก่อเหตุรำคาญหรือไม่เป็นมลพิษ ต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม ๒. ประเภทอาคารที่ขออนุญาต ที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธาผู้มีความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่มีความสูงเกิน ๕ ชั้น หรือสูงเกิน ๒๐ เมตร และอาคารอื่นใดที่นอกเหนือ อำนาจของสำนักงานเขต ๒. การแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแทนการยื่นคำขออนุญาต ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร กฎหมายบัญญัติให้ ดำเนินการภายใน กำหนด ๔๕ วัน นับ แต่วันที่ยื่นขออนุญาต ในกรณีมีเหตุจำเป็น ไม่อาจออกใบอนุญาต ได้ทันให้ขยายเวลาได้ อีกไม่เกิน ๒ คราว คราวละไม่เกิน ๔๕ วัน เอกสารประกอบ ๑. แบบหนังสือแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ กทม. ๑) หรือแบบหนังสือ แจ้งความประสงค์จะเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ กทม. ๒) ๒. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดง วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนา หรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับ และ เจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๔. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารใน ที่ดิน หรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้ขออนุญาต ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง ความประสงค์ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทน นิติบุคคล และเจ้าของที่ดินพร้อมลงนามรับรองสำเนา ทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๖. หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของสถาปนิก วิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณ พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ ฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภท เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน ๑ ชุด และต้องเป็นวุฒิสถาปนิกและวุฒิวิศวกร ๗. หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของผู้ควบคุม งานของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ ฯ จำนวน ๑ ชุด ๘. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบอาคาร ผู้ออกแบบและ คำนวณอาคาร หรือผู้ควบคุมงาน (แบบ กทม. ๕) จำนวน ๑ ชุด ๙. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบ แบบแปลน จำนวน ๕ ชุด ๑๐. รายการคำนวณพื้นที่อาคารทุกชั้นและทุกหลัง (เพื่อ ประกอบการเสียค่าธรรมเนียม) ๑๑. กรณีเป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคาร ที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแสดงแบบแปลนแผนผังแบบก่อสร้าง จำนวน ๕ ชุด และรายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน ๑ ชุด ๑๒. กรณีอาคารที่อยู่ในข่ายต้องมีระบบกำจัดน้ำเสีย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ตลาดสด ภัตตาคาร อาคารชุด หอพัก และอาคารที่เกี่ยวกับกิจการค้าอันเป็นที่น่ารังเกียจ ต้องแสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน ๕ ชุด และ รายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน ๑ ชุด ๓. การขอเปลี่ยนการใช้อาคาร ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หนังสือแจ้งความประสงค์จะเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ กทม. ๓) ๒. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดง วัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออกให้ ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง ความประสงค์ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทน นิติบุคคล พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๔. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของสถาปนิก วิศวกร ผู้ออกแบบและคำนวณ พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ ฯ (กรณีอาคารที่ขออนุญาตอยู่ในประเภท เป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม) จำนวน ๑ ชุด ๕. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบอาคาร ผู้ออกแบบและ คำนวณอาคาร หรือผู้ควบคุมงาน (แบบ กทม. ๕) จำนวน ๑ ชุด ๖. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบ แปลน จำนวน ๕ ชุด (เฉพาะการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก บรรทุกที่เพิ่มขึ้น) ๗. กรณีเป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร และวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแสดงแบบแปลนแผนผังแบบก่อสร้าง จำนวน ๕ ชุด และรายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน ๑ ชุด (เฉพาะ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้น) ๘. สำเนา หรือภาพถ่ายเอกสารการเป็นเจ้าของอาคาร หรือ ผู้ครอบครองอาคารพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๙. สำเนาใบอนุญาตเดิม และเจ้าของอาคาร หรือผู้ครอบครอง อาคารลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๑๐. หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณี ผู้ที่ครอบครองเป็นผู้ขออนุญาต) จำนวน ๑ ชุด หมายเหตุ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งไม่เป็นอาคารประเภท ควบคุมการใช้มีความประสงค์จะใช้ หรือยินยอมให้บุคคลใด ใช้อาคารดังกล่าวเพื่อกิจการอื่น ต้องได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น ๔. การขออนุญาตดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และ ทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น กฎหมายบัญญัติให้ ดำเนินการภายในกำหนด ๔๕ วัน นับแต่วันที่ ยื่นขออนุญาต ในกรณี มีเหตุจำเป็นไม่อาจออก ใบอนุญาตได้ทันให้ขยาย เวลาได้อีกไม่เกิน ๒ คราว คราวละไม่เกิน ๔๕ วัน เอกสารประกอบ ๑. แบบคำขออนุญาตดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น (แบบ ข. ๔) ๒. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดง วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออก ให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนา หรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับ และ เจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๔. หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน หรือสำเนาสัญญาเช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่ใช่ เจ้าของที่ดิน) จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ อนุญาต ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดินพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๖. หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของสถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบและคำนวณ พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ (กรณีเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคาร) จำนวน ๑ ชุด ๗. แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบ แปลน จำนวน ๕ ชุด ๘. กรณีเป็นอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคาร ที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร และวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแสดงแบบแปลนแผนผังแบบก่อสร้าง จำนวน ๕ ชุด และรายการคำนวณโครงสร้างจำนวน ๑ ชุด (กรณีเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นอาคาร) ๙. สำเนา หรือภาพถ่ายเอกสารการเป็นเจ้าของอาคาร หรือ ผู้ครอบครองอาคารพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๑๐. หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณี ผู้ที่ครอบครองเป็นผู้ขออนุญาต) จำนวน ๑ ชุด ๑๑. สำเนาใบอนุญาตเดิมพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๑๒. หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของผู้ควบคุมงาน ของสถาปนิก และวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ จำนวน ๑ ชุด ๕. การขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร ดัดแปลง หรือใช้ ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถเพื่อการอื่น เอกสารประกอบ ๑. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลง อาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร ดัดแปลง หรือใช้ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถเพื่อ การอื่น (แบบ ข. ๕) ๒. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดง วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล ที่ออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขอ อนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่น คำร้อง ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๔. สำเนาใบอนุญาตเดิม พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของอาคาร พร้อมลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีที่ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตไม่ใช่ เจ้าของอาคารที่ได้รับอนุญาต) จำนวน ๑ ชุด ๖. สำเนาเอกสารแสดงการเป็นผู้ครอบครองอาคาร พร้อม ลงนามรับรองสำเนา (กรณีที่ผู้ครอบครองอาคารเป็น ผู้ขอต่อใบอนุญาต) จำนวน ๑ ชุด ๗. หนังสือยินยอมจากเจ้าของอาคาร (กรณีที่ผู้ครอบครอง เป็นผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต) จำนวน ๑ ชุด ๖. การขอใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. แบบคำขอใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนใบรับรอง (แบบ ข. ๗) ๒. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่น คำร้อง ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนา ทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. ใบแจ้งความว่าใบอนุญาตเดิมหายหรือใบอนุญาตเดิม ที่ชำรุด หมายเหตุ ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรอง ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองต่อกรุงเทพ มหานครภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ให้มีผลตามกฎหมายเช่นเดียวกับใบอนุญาต หรือใบรับรอง แล้วแต่กรณี ๗. การขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร หรือการเปลี่ยนการใช้ อาคาร ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. แบบคำขอโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร หรือเปลี่ยนการใช้ อาคาร (แบบ ข. ๘) ๒. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดง วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลที่ออก ให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต) และผู้มีอำนาจลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้รับโอน ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนา หรือภาพถ่ายโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับ และ เจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า (กรณีผู้รับโอน ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน ๑ ชุด ๔. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน หรือสัญญา เช่าที่ดิน (กรณีที่ผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าของที่ดิน) จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่น คำร้อง ผู้รับมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล และเจ้าของที่ดิน พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๖. หนังสือแสดงความยินยอม และรับรองของผู้ควบคุมงาน ของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ ฯ จำนวน ๑ ชุด ๗. ใบอนุญาตเดิมพร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๘. หนังสือรับทราบการโอนใบอนุญาตของสถาปนิก และ วิศวกรผู้ออกแบบ หมายเหตุ ใบอนุญาตจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็น หนังสือจากกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่ผู้ได้ใบอนุญาตตาย ทายาทหรือผู้จัดการมรดกของบุคคลดังกล่าว ซึ่งประสงค์ จะทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้หรือ เปลี่ยนการใช้อาคารนั้นต่อไป ต้องมีหนังสือแจ้งให้กรุงเทพ มหานครทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ผู้ได้รับใบ อนุญาตตาย ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าทายาท หรือผู้จัดการ มรดกดังกล่าวเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นแทน ๘. การแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานกับวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดการ ดำเนินการ ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. แบบคำร้องทั่วไป ๒. หนังสือแสดงความยินยอมและรับรองของผู้ควบคุมงาน ของสถาปนิกและวิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต ผู้ประกอบวิชาชีพ จำนวน ๑ ชุด ๓. สำเนาใบอนุญาตเดิม พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด หมายเหตุ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมีหนังสือ แจ้งชื่อผู้ควบคุมงานกับวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดการดำเนินการ ตามที่ได้รับอนุญาตให้กรุงเทพมหานครทราบ พร้อมทั้งแนบ หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงานมาด้วย ผู้ควบคุม งานจะเป็นบุคคลใด หรือเป็นเจ้าของอาคารก็ได้เว้นแต่จะ เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ วิศวกรรม หรือกฎหมาย ว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม ๙. การบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงาน ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. แบบคำร้องทั่วไป ๒. สำเนาใบอนุญาตเดิม พร้อมลงนามรับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. หนังสือแจ้งการบอกเลิกผู้ควบคุมงาน (น. ๕) หนังสือ แจ้งการเลิกเป็นผู้ควบคุมงาน (น. ๖) หนังสือการ ส่งมอบผู้ควบคุมงานคนใหม่ (น. ๗) หนังสือการยินยอม ของผู้ควบคุมงานใหม่ (น. ๘) (แล้วแต่กรณี) จำนวน ๑ ชุด ๔. สำเนาหนังสือของสถาปนิกผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกร ผู้ควบคุมงานที่แจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตทราบ (กรณีที่ สถาปนิกผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกรผู้ควบคุมงานเป็นผู้ บอกเลิก) จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาหนังสือของผู้ได้รับอนุญาตที่ได้แจ้งให้สถาปนิก ผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกรผู้ควบคุมงานทราบ (กรณีที่ ผู้ได้รับอนุญาตเป็นผู้บอกเลิก) หมายเหตุ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตจะบอกเลิกตัวผู้ควบคุมงานที่ได้แจ้ง ชื่อไว้ หรือผู้ควบคุมงานจะบอกเลิกการเป็นผู้ควบคุมงาน ให้มีหนังสือแจ้งให้กรุงเทพมหานครทราบ แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการ กระทบถึงสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งระหว่างผู้ได้รับใบอนุญาตกับ ผู้ควบคุมงานนั้น ในกรณีที่มีการบอกเลิกตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับ ใบอนุญาตต้องระงับการดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้ก่อน จนกว่าจะได้มีหนังสือแจ้งชื่อและส่งหนังสือแสดงความยินยอม ของผู้ควบคุมงานคนใหม่ให้แก่กรุงเทพมหานครแล้ว ๑๐. การสอบถามข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร ๓๐ วันทำการ และ ขยายได้ไม่เกิน ๙๐ วัน ทำการ เอกสารประกอบ ๑. แบบคำร้องทั่วไป ๒. สำเนา หรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน (กรณีขอตรวจสอบ เกี่ยวกับสถานที่ก่อสร้าง) ๓. แผนผังบริเวณโดยสังเขป ๓ ชุด หมายเหตุ ถ้าผู้ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้มีข้อสงสัย เกี่ยวกับ ๑. การกำหนดระยะ หรือระดับ ระหว่างอาคารกับ อาคาร หรือเขตที่ดินของผู้อื่น หรือระหว่าง อาคารกับถนน ตรอก ซอย ทางเท้า หรือ ที่สาธารณะ หรือ ๒. การกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารชนิดใด หรือประเภทใด ผู้นั้นมีสิทธิหารือไปยังกรุงเทพมหานครได้ โดยทำเป็น หนังสือในกรณีที่ผู้หารือได้ดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยถือปฏิบัติตามคำตอบ ข้อหารือ ของกรุงเทพมหานคร ถ้าต่อมาปรากฏว่ากรุงเทพมหานคร ได้ตอบข้อหารือไปโดยผิดพลาดเป็นเหตุให้ผู้หารือได้ดำเนินการ ดังกล่าวไปโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ขั้นตอนการติดต่อเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร ๑. ยื่นคำขออนุญาต ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขออนุญาตใช้ที่สาธารณะเป็นการชั่วคราว กรณีต้องการเช่าที่สาธารณะเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการ ก่อสร้างหรือกิจกรรมอย่างอื่นเป็นการชั่วคราว ๑๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. แบบคำขออนุญาต ๒. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. แผนผังแสดงตำแหน่งการขอใช้สถานที่สาธารณะโดย สังเขป จำนวน ๓ ชุด ๔. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (ถ้ามี) จำนวน ๑ ชุด ขั้นตอน ๑. ยื่นคำขออนุญาต ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขออนุญาตตัดคันหินทางเท้า กรณีต้องการตัดคันหิน ทางเท้าเพื่อใช้เป็นทางเข้า - ออกในที่ดินหรืออาคาร ๑๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. คำร้องขออนุญาต ๒. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. แผนผังแสดงตำแหน่งที่จะขอก่อสร้าง จำนวน ๓ ชุด ๔. สำเนา หรือภาพถ่ายโฉนดที่ดิน พร้อมลงนามรับรอง สำเนาทุกหน้า จำนวน ๓ ชุด ๕. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (ถ้ามี) จำนวน ๓ ชุด หมายเหตุ - ถนนที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานเขต ๑๕ วันทำการ - ถนนที่อยู่ในความดูแลของสำนักการโยธา ๖๐ วันทำการ ขั้นตอน ๑. ยื่นคำขออนุญาต ๒. ตรวจสอบหลักฐาน การขออนุญาตเชื่อมท่อระบายน้ำ กรณีต้องการสร้างเชื่อม ระหว่างท่อระบายน้ำของอาคารกับท่อระบายน้ำสาธารณะ ๑๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. คำร้องขออนุญาต ๒. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. แผนผังแสดงตำแหน่งที่จะขออนุญาตเชื่อมท่อระบายน้ำ จำนวน ๓ ชุด ขั้นตอน ๑. ยื่นคำขออนุญาต ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขออนุญาตวางท่อระบายน้ำในที่สาธารณะ ๖๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. คำร้องขออนุญาต ๒. สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลงนาม รับรองสำเนาทุกหน้า จำนวน ๑ ชุด ๓. แผนผังแสดงตำแหน่งที่จะขอก่อสร้าง จำนวน ๓ ชุด ๔. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (ถ้ามี) จำนวน ๑ ชุด ขั้นตอน ๑. ยื่นคำขออนุญาต ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล การขออนุญาตต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๑๒๕ ประเภท (๑) กรณีขออนุญาตรายใหม่ ๓๐-๖๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ ใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนา แนบมาด้วย) ๒. บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต (ถ่าย เอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) ๓. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้ง สถานประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรอง สำเนาแนบมาด้วย) ๔. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมแสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคล ๕. สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารที่ใช้แสดงว่า อาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ สามารถใช้ ประกอบการนั้น ได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร (ถ่ายเอกสารและ รับรองสำเนาแนบมาด้วย) ๖. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัว ผู้มอบและผู้รับมอบกรณีผู้ขอรับใบอนุญาต ไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง (๒) กรณีขอต่ออายุใบอนุญาต ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. แสดงบัตรประจำตัวผู้ได้รับอนุญาต และ เจ้าหน้าที่จดเลขที่บัตรประจำตัวไว้ในใบคำร้อง ๒. แสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล และเจ้าหน้าที่จดเลขที่บัตรประจำตัวไว้ใน ใบคำร้องด้วยในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็น นิติบุคคล ๓. กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อผู้แทนนิติบุคคลต้อง แนบสำเนาบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล และเลขหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ผู้ได้รับอนุญาต ๔. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัว ผู้มอบและผู้รับมอบกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง ๕. ใบอนุญาต หรือใบแทนใบอนุญาตฉบับเดิม (๓) กรณีขออนุญาตเปลี่ยนแปลงขยาย หรือลดการ ประกอบกิจการสถานที่ หรือเครื่องจักร ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. เหมือนกับการขออนุญาตรายใหม่ในข้อ (๑) ๒. ใบอนุญาตเดิม (๔) กรณีใบอนุญาตชำรุด หรือสูญหาย ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิมและใบอนุญาต การเปลี่ยนแปลงตามแบบ อภ. ๕ (ถ้ามี) ที่ชำรุดในสาระสำคัญ ๒. หลักฐานการแจ้งความกรณีใบอนุญาตสูญหาย (๕) กรณีแจ้งเลิกกิจการ ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิม ๒. การขออนุญาตจัดตั้งตลาด (๑) กรณีขออนุญาต (รายใหม่) ๓๐-๖๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอใบ อนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบ มาด้วย) ๒. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) ๓. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถาน ประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนา แนบมาด้วย) ๔. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมแสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคล ๕. สำเนาใบอนุญาตปลูกสร้างที่ใช้แสดงว่าอาคาร ที่ใช้เป็นสถานประกอบการสามารถใช้ประกอบ การนั้นได้ โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนา แนบมาด้วย) ๖. หนังสือมอบอำนาจ (๒) กรณีขอต่ออายุใบอนุญาต ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิม (๓) กรณีใบอนุญาตชำรุดสูญหาย ๑. ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิม (ถ้ามี) ที่ชำรุด ในสาระสำคัญ ๒. หลักฐานการแจ้งความกรณีใบอนุญาตสูญหาย (๔) กรณีแจ้งเลิกกิจการ ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิม และใบอนุญาต เปลี่ยนแปลง (ถ้ามี) ๒. บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้รับใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนา ด้วย) (๕) กรณีขอรับใบแทนใบอนุญาต เช่นเดียวกับการ ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. การขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่ สะสมอาหาร (พื้นที่เกิน ๒๐๐ ตารางเมตร) (๑) กรณีขออนุญาต (รายใหม่) ๓๐-๖๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอใบ อนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบ มาด้วย) ๒. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) ๓. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้งสถาน ประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนา แนบมาด้วย) ๔. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมแสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคล ๕. หลักฐานที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถาน ประกอบการสามารถใช้ประกอบการนั้นได้ โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคาร (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบ มาด้วย) ๖. หนังสือมอบอำนาจ (๒) กรณีขอต่ออายุใบอนุญาต ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. เหมือนกับการขออนุญาตรายใหม่ในข้อ (๑) ยกเว้นหลักฐานการใช้อาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมอาคาร ๒. ใบอนุญาต (๓) กรณีแจ้งเลิกกิจการ ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิม ๒. บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้รับใบอนุญาต (ถ่ายเอกสาร และรับรอง สำเนาด้วย) (๔) กรณีขอรับใบแทนใบอนุญาตเช่นเดียวกับการขอ อนุญาตประกอบกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๕) กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย เอกสารประกอบ ๑. ใบอนุญาตประกอบกิจการเดิม (ถ้ามี) ที่ชำรุด ในสาระสำคัญ ๒. หลักฐานการแจ้งความกรณีใบอนุญาตสูญหาย ๔. การขอหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (พื้นที่ไม่เกิน ๒๐๐ ตารางเมตร) (๑) กรณีขอหนังสือรับรองการแจ้ง (รายใหม่) ๗-๑๔ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอหนังสือ รับรองการแจ้ง (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนา แนบมาด้วย) ๒. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านผู้จัดการ หากไม่ใช่บุคคลเดียวกับผู้ถือหนังสือรับรอง การแจ้ง (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบ มาด้วย) ๓. สำเนาทะเบียนบ้านของบ้านที่ใช้เป็นที่ตั้ง สถานประกอบการ (ถ่ายเอกสารและรับรอง สำเนาแนบมาด้วย) ๔. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมแสดงบัตรประจำตัวของผู้แทนนิติบุคคล (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) หากผู้ขอเป็นนิติบุคคล ๕. หลักฐานที่ใช้แสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถาน ประกอบการสามารถใช้ประกอบการนั้นได้ โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคาร (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบ มาด้วย) ๖. หนังสือมอบอำนาจฯ (๒) กรณีขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง เอกสารประกอบ - หนังสือรับรองการแจ้งเดิม (๓) กรณีหนังสือรับรองการแจ้งชำรุดหรือสูญหาย เอกสารประกอบ ๑. หนังสือรับรองการแจ้งเดิม (ถ้ามี) ที่ชำรุด ในสาระสำคัญ ๒. หลักฐานการแจ้งความ กรณีหนังสือรับรอง การแจ้งสูญหาย (๔) กรณีแจ้งเลิกกิจการ ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หนังสือรับรองการแจ้งหรือใบแทนหนังสือรับรอง การแจ้ง (ถ้ามี) ๒. บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้ขอหนังสือรับรองการแจ้ง (ถ่ายเอกสาร และรับรองสำเนาด้วย) ๕. การขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (๑) กรณีขออนุญาต (รายใหม่) ๓๐-๖๐ วันทำการ - ขออนุญาตตั้งวางขายในจุดผ่อนผัน - ขออนุญาตเร่ขาย เอกสารประกอบ ๑. รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวม แว่นตา ขนาด ๑x๑.๕ นิ้ว ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำนวนคนละ ๓ รูป (ถ่ายไม่เกิน ๖ เดือน) ๒. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ขอรับใบอนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาแนบมาด้วย) ๓. สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้ช่วยจำหน่าย (ถ่ายเอกสารและรับรอง สำเนาแนบมาด้วย) ๔. ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอใบอนุญาต และ ผู้ช่วยจำหน่าย ๕. แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งจำหน่ายสินค้า (กรณี เร่ขายไม่ต้องมีแผนที่) ๖. ใบอนุญาตให้ขายตามพระราชบัญญัติรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (๒) กรณีแจ้งเลิกกิจการ เอกสารประกอบ ๑. ใบอนุญาต ๒. บัตรสุขลักษณะประจำตัว ๓. บัตรประจำตัว หรือสำเนาทะเบียนบ้านของ ผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่ายสินค้า (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาด้วย) (๓) กรณีขอต่ออายุใบอนุญาต เช่นเดียวกับการขออนุญาต ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๔) กรณีขอรับใบแทนใบอนุญาต เช่นเดียวกับการขอ อนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขั้นตอนการขออนุญาตต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ๑. ยื่นคำขออนุญาต ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง ๑ ชม. เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต (ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนามาด้วย) ๒. ใบอนุญาตให้มีเพื่อใช้ซึ่งเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน (ถ้ามี) ๓. รายละเอียดของเครื่องขยายเสียงที่จะใช้ เช่น กำลัง ไฟฟ้าที่ใช้ กำลังขยายเสียง จำนวนกำลังขับเสียง ลำโพง ที่ใช้ ๔. แผนที่แสดงที่ตั้งที่จะใช้เครื่องขยายเสียง ๕. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือสัญญาเช่า กรณีผู้ขอ อนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร หรือสถานที่ที่ขออนุญาต ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขออนุญาตจัดตั้งสุสานและฌาปนสถาน เอกสารประกอบ ๑. สำเนาบัตรประจำตัว และทะเบียนบ้านผู้ยื่นคำขอ ๒. หนังสือแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดตั้งสุสาน หรือเป็นผู้จัดการ บำรุงรักษาสุสานและฌาปนสถาน จากนิติบุคคล หรือ ผู้เป็นเจ้าของสถานที่ ๓. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวผู้มอบ และรับมอบอำนาจ กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถ ดำเนินการด้วยตนเอง ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ การขอใบอนุญาตเป็นผู้จัดการสุสานและฌาปนสถาน หลักฐานที่นำมาประกอบการพิจารณาเช่นเดียวกันกับ การขออนุญาตจัดตั้ง ๑. กรณีขออนุญาต (รายใหม่) เช่นเดียวกับการขอ อนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๒. กรณีขอต่อใบอนุญาต เช่นเดียวกับการขออนุญาต ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. กรณีขอรับใบแทนใบอนุญาต เช่นเดียวกับการขอ อนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฝ่ายรายได้ การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรณีโรงเรือนรายใหม่ ๑๒๐ วันทำการ - ระยะเวลารับคำร้อง ๑๐ นาที - ระยะเวลาการแก้ไขเหตุร้องเรียนแล้วแต่กรณี เอกสารประกอบ ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. ๒) พร้อมหลักฐาน ดังนี้ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาใบให้เลขหมายประจำบ้าน ๓. สำเนาใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ๔. สำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ๕. สำเนาโฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างโรงเรือน ๖. สำเนาสัญญาการเช่า ๗. สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือทะเบียนพาณิชย์ ๘. สำเนาใบอนุญาตตั้งหรือประกอบกิจการโรงงาน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ๙. หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงการเริ่มใช้ประโยชน์ของ โรงเรือนพิกัดภาษี เช่น การ์ดเชิญแขกมาเปิด อาคาร ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า ใบอนุญาต ใช้สถานที่ขายอาหาร ๑๐. สำเนาทะเบียนบ้านของโรงเรือนพิกัดภาษี และ ของเจ้าของทรัพย์สิน ๑๑. แผนที่ของที่ตั้งโรงเรือนรายพิกัดภาษี ๑๒. หนังสือมอบอำนาจกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำแทน ๑๓. ในกรณีที่โรงเรือนมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมลงลายมือชื่อในแบบ ภ.ร.ด. ๒ ในฐานะผู้รับประเมินทุกคน หรือจะมอบอำนาจ ให้คนใดคนหนึ่งก็ได้ การมอบต้องทำเป็นหนังสือ และปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย กรณีโรงเรือนรายเก่า ๔๕ วันทำการ (กรณีรายการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงจาก เดิม) ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินที่เคยยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินไว้แล้ว ให้นำ ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งก่อนไปแสดงด้วย หมายเหตุ ผู้ใดละเลย ไม่แสดงข้อความ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก หรือยื่นข้อความเท็จ ฯลฯ เว้นแต่จะเป็นเหตุสุดวิสัยต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขั้นตอน ๑. ยื่นแบบและหลักฐาน ๒. ตรวจสอบ ๓. คณะกรรมการกองรายได้พิจารณา ๔. ชำระค่าภาษี การเสียภาษีป้าย กรณีป้ายที่ติดตั้งใหม่ ๓๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป. ๑) พร้อม หลักฐาน ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจ ๔. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท ๕. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้าน ทำป้าย กรณีป้ายรายเก่า (กรณีรายการเพิ่มเติมหรือ เปลี่ยนแปลงจากเดิม) ๔๕ วันทำการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายที่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อ เสียภาษีป้ายไว้แล้ว ให้นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย ไปแสดงด้วยให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งในปีแรก ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วัน เริ่มติดตั้งถึงวันสิ้นปี และคิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ ๓ เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้าย ถึงงวดสุดท้ายของปี หมายเหตุ ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ จงใจหลีกเลี่ยงการเสีย ภาษี ฯลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขั้นตอน ๑. ยื่นแบบพร้อมหลักฐาน ๒. ตรวจสอบหลักฐานและป้าย ๓. ชำระค่าภาษี การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ๔๐ วันทำการ กรณีมีรายการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงรายการจากเดิม ๔๕ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท ๔. หลักฐานที่แสดงถึงการเป็นเจ้าของที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน น.ส. ๓ ๕. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) ๖. หนังสือมอบอำนาจกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำการแทนผู้มี หน้าที่เสียภาษี หรือเจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีภายใน เดือนเมษายนของทุกปี ขั้นตอน ๑. ยื่นหลักฐาน ๒. ตรวจสอบ ๓. ชำระค่าภาษี หมายเหตุ ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ จงใจหลีกเลี่ยงการเสีย ภาษี ฯลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับ ไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ณ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต เอกสารประกอบ ๑. แบบเรื่องราวเสียภาษีรถประจำปี ๒. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ๓. กรมธรรม์การประกันภัยบุคคลที่ ๓ ๔. ใบตรวจสภาพรถ (ถ้าเกิน ๗ ปี) ขั้นตอน ๑. ผู้ประสงค์จะขอชำระภาษีรถยนต์ประจำปียื่นคำขอพร้อม ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ๒. ฝ่ายรายได้รับเรื่องแล้วดำเนินการเขียนแบบเรื่องราว เสียภาษีรถยนต์ประจำปี คำนวณภาษี รับชำระเงิน เขียนใบเสร็จรับเงิน เสนอผู้อำนวยการเขตส่งเรื่องให้ สำนักการคลัง (กองรายได้) ๕ วันทำการ ๓. กองรายได้รับเรื่องราวแล้วดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบจำนวนภาษีที่ต้องชำระ แยกประเภทรถยนต์ ทำบัญชีเรื่องราวฉบับละ ๔ แผ่น ๕ วันทำการ ๔. ส่งเรื่องให้สำนักงานทะเบียนรถยนต์สาขาต่าง ๆ ๓๐ วันทำการ (เพื่อรอให้ครบสาขา ละ ๑๐ รายเป็นอย่าง น้อย) ๕. สำนักงานทะเบียนรถยนต์หรือสำนักงานทะเบียนรถยนต์ สาขา กรมการขนส่งทางบก ดำเนินการตรวจสอบและ ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีแล้วส่งให้ กองรายได้ ๗ วันทำการ ๖. กองรายได้ได้รับเอกสารจากสำนักงานทะเบียนรถยนต์แล้ว ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ประจำปีให้สำนักงานเขตที่รับผิดชอบ ๕ วันทำการ ๗. สำนักงานเขตได้รับเอกสารแล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอมารับ เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี ๔ วันทำการ รวม ๕๖ วันทำการ หมายเหตุ การชำระเงินภาษีรถยนต์ที่ฝ่ายรายได้ให้ผู้เสียภาษียื่นเรื่อง ก่อนกำหนดวันสิ้นอายุภาษีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ เดือน และ ไม่เกิน ๒ เดือน ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ การเก็บขยะมูลฝอย การขนถ่ายสิ่งปฏิกูล แจ้งด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์ที่ฝ่ายรักษาความสะอาด ฯ โดยแจ้งชื่อผู้แจ้ง บ้านเลขที่ ถนน ซอย สถานที่สำคัญ ใกล้เคียงและหมายเลขโทรศัพท์เพื่อสะดวกในการติดต่อ หมายเหตุ - เก็บขยะช่วงกลางคืนและกลางวัน - สูบสิ่งปฏิกูลช่วงกลางวัน ฝ่ายการศึกษา การแจ้งเด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับเข้าเรียน ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. สูติบัตร ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ชื่อโรงเรียนที่ต้องการส่งเด็กเข้าเรียน ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ลงทะเบียนและตรวจสอบ ๓. ออกหนังสือส่งตัวเข้าเรียนพร้อมแนบใบตอบรับ (การรับ เด็กเข้าเรียน) การขอผ่อนผันยกเว้นเด็กในเกณฑ์ ๑ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. ยื่นคำร้องต่อฝ่ายการศึกษาพร้อมเหตุผลที่ขอยกเว้น ๔. กรณีมีความบกพร่องในทางร่างกาย จิตใจ เป็นโรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย ต้องทำใบรับรองแพทย์ไป เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบเอกสาร ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ฝ่ายการคลัง รับชำระค่าธรรมเนียมของฝ่ายต่าง ๆ และค่าภาษีจากฝ่ายรายได้ ๑ ชม. เอกสารประกอบ เอกสารจากฝ่ายต่าง ๆ ขั้นตอน ๑. ยื่นเอกสารและ/หรือหลักฐานต่าง ๆ ๒. ชำระเงิน ฝ่ายเทศกิจ การชำระค่าเปรียบเทียบปรับ กรณีความผิดปกติทั่วไป ๑๕ นาที เอกสารประกอบ - บัตรประจำตัว หรือบัตรประจำตัวอื่น ๆ ที่ทางราชการ ออกให้ - หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของกลางที่ถูกยึด (ถ้ามี การยึดของกลาง) - เงินสดค่าเปรียบเทียบปรับ ขั้นตอน ๑. ชำระค่าปรับ ๒. รับใบเสร็จรับเงิน ๓. รับของกลางคืน (กรณีมีการยึดของกลางไว้) การร้องเรียนด้วยตนเอง การรับคำร้อง ๑๐ นาที การแก้เหตุร้องเรียน แล้วแต่กรณี เอกสารประกอบ ๑. ข้อมูลเหตุเดือดร้อน ๒. ภาพถ่าย (ถ้ามี) ๓. แผนที่ แผนผังบริเวณเกิดเหตุ ๔. บัตรประจำตัว หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบ (ภาพถ่าย) ๓. รายงานผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาต่อไป การยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวผู้ค้า เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัวผู้ค้าฉบับเดิมต้องนำไปคืนเจ้าหน้าที่ (กรณี ต่ออายุบัตร) ๒. บัตรประจำตัว หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้ ๓. รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ๒ รูป ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีขอมีบัตรใหม่) ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม การจัดตั้งชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการ ชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๔ ๖๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. หนังสือจากชุมชนเพื่อขอจัดตั้งเป็นชุมชนตามระเบียบ กรุงเทพมหานคร ๒. แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ๓. แผนที่กำหนดขอบเขตชุมชน ๔. แบบ กช. ๑ - ๑๙ ขั้นตอน ๑. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมรวบรวมหลักฐาน เพื่อส่งให้สำนักพัฒนาชุมชนพิจารณา ๒. สำนักพัฒนาชุมชนพิจารณาแล้ว นำเสนอปลัดกรุงเทพ มหานครลงนาม การจัดทำบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน ๗ วันทำการ เอกสารประกอบ แบบคำขอมีบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน ขั้นตอน ๑. ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมรวบรวมส่งสำนัก พัฒนาชุมชน ๒. สำนักพัฒนาชุมชนนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนาม การจัดทำบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล ๑. บัตรถาวรสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในเขตท้องที่บัตรมีอายุ ๓ ปี ๙๐ วันทำการ เอกสารประกอบ ๑. บัตรประจำตัว หรือบัตรอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้และมี รูปถ่ายติดอยู่ด้วย ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน ๓. เอกสารทางราชการ หรือบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องออกให้ เช่น ๑) หนังสือรับรองรายได้ เงินเดือน หรือค่าจ้าง ๒) หนังสือรับรองการเสียภาษี เช่น ภาษีเงินได้ ภาษี การค้า ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีที่ดิน ฯลฯ ๓) หนังสือรับรองการทำงาน ๔) เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า - มีรายได้น้อยกว่า ๒,๐๐๐ บาทต่อเดือน สำหรับ ผู้ขอที่เป็นคนโสด - มีรายได้น้อยกว่า ๒,๘๐๐ บาทต่อเดือน สำหรับ ผู้ขอที่ไม่ใช่เป็นคนโสด ๒. บัตรชั่วคราว สำหรับผู้มีภูมิลำเนานอกเขตท้องที่ เช่น แรงงานอพยพบัตรมีอายุ ๑ ปี (รวมแล้วไม่เกิน ๒ ปี หรือขอติดต่อกันได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง) บัตรประจำตัว หรือบัตรอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้ และมีรูปถ่ายติดด้วย ๙๐ วันทำการ ขั้นตอน ๑. ยื่นคำร้อง ๒. ตรวจสอบหลักฐาน ๓. ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ หมวด ๓ ข้อยกเว้นในการปฏิบัติราชการ ----------- ข้อ ๙ ในกรณีที่หน่วยงานของกรุงเทพมหานครไม่อาจดำเนินการในเรื่องใด ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามระเบียบนี้ ให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครขออนุมัติ ปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อขยายระยะเวลาในเรื่องนั้นได้อีกไม่เกิน ๓๐ วัน นับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลา ดังกล่าว และให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานคร แจ้งการขยายระยะเวลาและเหตุผลให้ประชาชน ผู้ยื่นคำขอทราบ ข้อ ๑๐ การนับระยะเวลาการปฏิบัติราชการนั้น ไม่รวมระยะเวลาที่หน่วยงาน คืนคำขอให้ประชาชนผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการแก้ไข ในกรณีคำขอนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ และ ในกรณีที่มีการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนนั้นจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบ อนุญาต หรืออนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีก่อน มิให้นับรวมระยะเวลานับแต่วันที่กรุงเทพมหานครส่งเรื่องถึงสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี จนถึงวันที่หน่วยงานได้รับแจ้งผลการพิจารณาจากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ข้อ ๑๑ ในการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน ให้หน่วยงานปฏิบัติ ดังนี้ (๑) ในการรับคำขอของประชาชน ให้ตรวจสอบคำขอและหลักฐานประกอบเรื่อง แล้วลงทะเบียนรับเรื่อง และออกใบรับคำขอแก่ผู้ยื่นคำขอไว้เป็นหลักฐานตามลำดับที่รับยื่น (๒) ในการตรวจความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับกำหนดให้ หน่วยงานดังกล่าวรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ประชาชนผู้ยื่นคำขอ แก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ประชาชนผู้ยื่น คำขอก็ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้ทราบโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกินระยะ เวลาที่กำหนดในขั้นตอนการตรวจสอบคำขอในเรื่องนั้น ๆ ตามระเบียบนี้ (๓) แจ้งผลการพิจารณาดำเนินการตามคำขอที่ถูกต้องและสมบูรณ์แล้วให้ประชาชน ผู้ยื่นคำขอทราบ ในกรณีไม่สามารถดำเนินการนั้นแก่ประชาชนผู้ยื่นคำขอให้แจ้งเป็นหนังสือและระบุ เหตุผลประกอบโดยละเอียด หมวด ๔ การร้องทุกข์ และการกำกับให้เป็นไปตามระเบียบ ----------- ข้อ ๑๒ ในกรณีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ โดยไม่มีเหตุผล อันควรให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานผู้ใด จงใจไม่ปฏิบัติตาม ระเบียบนี้อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อราชการหรือประชาชน ให้ถือว่าเป็น ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้อ ๑๓ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ไม่ดำเนินการตามระเบียบนี้ให้แก่ ประชาชนผู้ยื่นคำขอรายใด ประชาชนผู้ยื่นคำขอรายนั้นจะร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานนั้นหรือจะร้องเรียนต่อคณะกรรมการว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงาน ของรัฐก็ได้ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาสั่งการอนุมัติเป็นราย ๆ ไป บทเฉพาะกาล ----------- ข้อ ๑๕ คำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันประกาศใช้ระเบียบนี้และยังอยู่ในระหว่าง การดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ ให้นับระยะเวลาตามที่กำหนดในแต่ละขั้นตอนที่ยังดำเนินการ ไม่เสร็จสิ้นตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๘ง/๔/ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔] สุรินทร์ / แก้ไข ๐๔/๐๙/๒๕๔๔
311862
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ไม่สามารถ เข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ พ.ศ. ๒๕๔๓ ------------ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินสนับสนุนการศึกษา แก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินสนับสนุนการศึกษา แก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนด ไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินสนับสนุนการศึกษา แก่นักเรียน "นักเรียน" หมายความว่า นักเรียนที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับที่สมัคร เข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครก่อนเปิดเรียนภาคต้นไม่ได้ เพราะเกินจำนวนที่โรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานครจะรับไว้ได้ "ผู้ปกครอง" หมายความว่า บิดา มารดา หรือผู้อุปการะเลี้ยงดู ข้อ ๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ หลักเกณฑ์การพิจารณา ------------ ข้อ ๖ นักเรียนที่มีสิทธิขอรับเงินสนับสนุนการศึกษาตามระเบียบนี้ จะต้องเป็น นักเรียนที่เริ่มต้นเข้าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เท่านั้น และสามารถใช้สิทธินี้จนถึงชั้นสูงสุด ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่โรงเรียนเอกชนเปิดสอนชั้นต่ำกว่าโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้ได้ รับสิทธิจนถึงชั้นสูงสุดของโรงเรียนเอกชนนั้น ข้อ ๗ นักเรียนที่มีสิทธิรับเงินสนับสนุนการศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า ๒ ปี (นับถึง ๑๖ พฤษภาคม ของปีการศึกษานั้น) และต้องมีชื่อของผู้ปกครองอยู่ใน ทะเบียนบ้านนั้นด้วย (๒) ผู้ปกครองมีรายได้ไม่เกิน ๑๒๐,๐๐๐ บาทต่อปี (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่เขตที่โรงเรียนได้รับเงินสนับสนุนการศึกษาตั้งอยู่ (๔) ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ข้อ ๘ โรงเรียนเอกชนที่มีสิทธิรับนักเรียนต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) เป็นโรงเรียนที่มีข้อตกลงกับกรุงเทพมหานคร (๒) จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาหรือ อยู่ในกระบวนการประกันคุณภาพที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนรับรอง หมวด ๒ คณะกรรมการ ------------ ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการ ประกอบด้วย (๑) ผู้อำนวยการเขต เป็นประธานกรรมการ (๒) ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต เป็นรองประธานกรรมการ สั่งราชการฝ่ายการศึกษา (๓) ผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียน เป็นกรรมการ ในสังกัดสำนักงานเขต (๔) ศึกษาธิการเขต เป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๑๐ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณากระจายนักเรียนไปยังโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขต หรือพื้นที่ใกล้เคียงเป็นลำดับแรก หากดำเนินการดังกล่าวแล้วยังไม่สามารถรับนักเรียนได้ทั้งหมด ก็ให้ดำเนินการใน (๒) (๒) คัดเลือกโรงเรียนเอกชนเพื่อทำข้อตกลงความร่วมมือในโครงการเงินสนับสนุน การศึกษาแก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ (๓) พิจารณาคัดเลือกนักเรียนและให้ความเห็นชอบนักเรียนได้รับเงินสนับสนุน การศึกษา (๔) ติดตามและรายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงกับโรงเรียนเอกชน หมวด ๓ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราการจ่ายเงิน ------------ ข้อ ๑๑ ให้ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งประสงค์จะใช้สิทธิรับเงินสนับสนุนการศึกษา แก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ ยื่นหนังสือแจ้งการขอใช้สิทธิ ต่อคณะกรรมการเมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้วให้ผู้อำนวยการเขตแจ้งหนังสือตอบรับ การใช้สิทธิตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๒ อัตราการให้เงินสนับสนุนการศึกษาให้เป็นไปตามข้อตกลงความร่วมมือ โครงการเงินสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แต่ไม่เกินปีการศึกษาละ ๑๕,๐๐๐ บาทต่อคน โดยเบิกจ่ายภาคเรียนละหนึ่งครั้ง หมวด ๔ การเบิกและจ่ายเงิน ------------ ข้อ ๑๓ ให้ผู้บริหารโรงเรียนสรุปรวบรวมเอกสารเสนอผู้อำนวยการเขตโดยผ่าน ศึกษาธิการเขตในฐานะผู้เบิกและให้ผู้อำนวยการเขตเป็นผู้อนุมัติการเบิกจ่ายเงิน ข้อ ๑๔ ให้ผู้เบิกจัดทำหน้างบใบสำคัญ โดยแสดงรายชื่อโรงเรียนเอกชนและชื่อ นักเรียนรวมทั้งจำนวนเงินที่ขอเบิกเป็นรายบุคคล ตามแบบหน้างบใบสำคัญเงินสนับสนุนการศึกษา ท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๕ เมื่อสำนักงานเขตได้เบิกจ่ายให้แก่โรงเรียนเอกชนผู้รับเงินตามข้อตกลง แล้วให้หน่วยการคลังผู้จ่ายเงินเรียกใบเสร็จรับเงินและเขียนข้อความหรือประทับตราที่มีข้อความว่า "จ่ายเงินแล้ว" ในหลักฐานทุกฉบับ หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด ------------ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือไม่ได้กำหนดไว้ ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูภาพจากข้อมูลกฎหมาย] [รก.๒๕๔๓/พ๕๔ง/๑๐/๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๓]
323075
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ------------ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้ พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับ การขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ การใช้ท้องสนามหลวงเพื่อกิจกรรมพระราชพิธี รัฐพิธี งานประเพณีสำคัญ ของชาติ หรือกิจกรรมสำคัญของรัฐบาลตามที่หน่วยงานขอความร่วมมือมาไม่อยู่ภายใต้บังคับ แห่งระเบียบนี้ ข้อ ๕ นอกเหนือจากการใช้ท้องสนามหลวงเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการออก กำลังกายตามปกติแล้วนั้น กรุงเทพมหานครอาจอนุญาตให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอื่นของรัฐ องค์กรเอกชนหรือภาคเอกชน ใช้พื้นที่บริเวณ ท้องสนามหลวงจัดกิจกรรมอื่นใดที่มีเจตนารมณ์เพื่อการบริการสาธารณะ และเป็นประโยชน์ต่อ สาธารณชนอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (๑) เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ความรับผิดชอบและจิตสำนึกในเรื่องของ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๒) เพื่อการให้ข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจอันดี และถูกต้อง โดยคำนึงถึงสิทธิและความเสมอภาคในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน (๓) เพื่อส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม ให้ความรู้ ความบันเทิง (๔) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชาติ ข้อ ๖ กิจกรรมที่จัดตามข้อ ๕ จะต้อง (๑) ไม่เป็นการแสดงที่อาจกระทบกระเทือนหรือดูหมิ่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงประมุขแห่งรัฐของประเทศอื่น ๆ ด้วย (๒) ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต่อศีลธรรม วัฒนธรรมและ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ ไม่แสดงออกทางยั่วยุกามารมณ์ หรือลามกอนาจาร (๓) ไม่มีผลประโยชน์เพื่อการค้าแอบแฝง ไม่มีการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ทุกประเภท เว้นแต่แสดงเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายอื่น ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจหรือ ข้อความที่แสดงสถานที่หรือวิธีติดต่อกับผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้สนับสนุนกิจกรรม ตามเงื่อนไข พื้นที่และจำนวนที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๗ การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการจัดกิจกรรมตามข้อ ๕ จะอนุญาตได้คราวละไม่เกิน ๓ วัน รวมเวลาการจัดเตรียมก่อนและการจัดเก็บหลังวันงานด้วยแล้ว ข้อ ๘ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอื่น ของรัฐ องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ที่ประสงค์จะขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการ ทำกิจกรรม ตามข้อ ๕ ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือที่สำนักสวัสดิการสังคม ล่วงหน้าก่อนวันจัดงาน ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เมื่อกรุงเทพมหานครได้อนุญาตให้ผู้ขอใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงตามข้อ ๕ และ หากภายหลังมีกรณีจำเป็นต้องใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อจัดกิจกรรมตามข้อ ๔ กรุงเทพมหานคร สามารถระงับการอนุญาตใช้พื้นที่ที่ได้อนุญาตไปแล้วได้ทันทีโดยผู้ถูกระงับการอนุญาตจะเรียกร้อง ค่าเสียหายใด ๆ กับกรุงเทพมหานครมิได้ ให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคมเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาต ใช้พื้นที่ ท้องสนามหลวงตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในระเบียบนี้ หากฝ่าฝืน หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ หรือจัดกิจกรรมไม่เป็นไปตามข้อ ๕ กรุงเทพมหานครสามารถระงับ การอนุญาตใช้พื้นที่ได้ทันที ผู้ได้รับอนุญาตต้องยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมทุกกรณี ข้อ ๑๐ เมื่อสิ้นสุดเวลาที่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๘ ให้สำนักสวัสดิการสังคม ดำเนินการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับอนุญาตหากพบ ความเสียหายให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจาก การละเมิด ข้อ ๑๑ เงินที่ได้มาจากการชดใช้ความเสียหายตามข้อ ๑๐ ให้สำนักสวัสดิการ สังคมนำไปบูรณะทรัพย์สินที่เสียหาย โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติ ิกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ถิรชัย วุฒิธรรม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๓/พ๖๘ง/๓/๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓]
312302
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ พ.ศ. ๒๕๔๓ ------------- โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธี การปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้องบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "เขตเพลิงไหม้" หมายความว่า เขตเพลิงไหม้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคาร ข้อ ๕ เมื่อเกิดเพลิงไหม้บริเวณใดแล้ว ให้สำนักงานเขตท้องที่ ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๕.๑ ตรวจสอบบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ทันที เพื่อพิจารณาว่าเป็นเขตเพลิงไหม้ หรือไม่ กรณีไม่เข้าลักษณะเป็นเขตเพลิงไหม้ ให้แจ้งสำนักผังเมืองทราบภายใน ๑ วันทำการ นับแต่วันตรวจสอบบริเวณเพลิงไหม้ ๕.๒ กรณีเข้าลักษณะเป็นเขตเพลิงไหม้ ๕.๒.๑ ให้จัดทำประกาศแสดงเขตเพลิงไหม้ไว้ ณ สำนักงานเขตท้องที่และ บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ โดยมีแผนที่สังเขปแสดงแนวเขตเพลิงไหม้พร้อมระบุให้ทราบถึงการ กระทำอันต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และ ๕.๒.๒ จัดส่งสำเนาประกาศแสดงเขตเพลิงไหม้ ให้สำนักผังเมืองภายใน ๑ วัน ทำการ นับแต่วันประกาศเขตเพลิงไหม้ ข้อ ๖ กรณีที่สำนักผังเมืองตรวจสอบแล้วมีความเห็นแตกต่างจากสำนักงานเขต ให้ดำเนินการดังนี้ ๖.๑ ถ้าเห็นว่าไม่เข้าลักษณะเป็นเขตเพลิงไหม้ ให้สำนักผังเมืองรายงานผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครทราบทันทีพร้อมด้วยเหตุผล เพื่อพิจารณาสั่งการให้ยกเลิกประกาศ แสดงเขตเพลิงไหม้ตามข้อ ๕.๒.๑ ๖.๒ ถ้าเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นเขตเพลิงไหม้ ให้สำนักผังเมืองแจ้งสำนักงานเขต ท้องที่ทราบทันที เพื่อจัดทำประกาศแสดงเขตเพลิงไหม้ ตามข้อ ๕.๒.๑ ต่อไป ข้อ ๗ กรณีเข้าลักษณะเป็นเขตเพลิงไหม้ ให้สำนักผังเมืองดำเนินการดังต่อไปนี้ ๗.๑ สำรวจและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในเขตเพลิงไหม้โดยละเอียดเพื่อใช้ ประกอบในการพิจารณาว่าสมควรจะมีการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้หรือไม่ ได้แก่ ๗.๑.๑ จำนวนหลังคาเรือนที่ถูกเพลิงไหม้ ๗.๑.๒ เนื้อที่บริเวณเพลิงไหม้ ๗.๑.๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครอบที่ดิน และอาคาร ๗.๑.๔ การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน ๗.๑.๕ การใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวม ๗.๑.๖ การเข้าถึงพื้นที่และระบบคมนาคมขนส่ง ๗.๑.๗ ข้อมูลสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ๗.๑.๘ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๗.๒ พิจารณาว่าสมควรจะมีการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้หรือไม่ โดยคำนึงถึง ประโยชน์ ดังต่อไปนี้ ๗.๒.๑ การป้องกันอัคคีภัย ๗.๒.๒ การสาธารณสุข ๗.๒.๓ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๗.๒.๔ การผังเมืองและสถาปัตยกรรม ๗.๒.๕ การอำนวยความสะดวกแก่การจราจร ๗.๓ จัดแผนที่และแผนผัง ๗.๓.๑ แผนที่ขนาดตามมาตราส่วน ๑ : ๑,๐๐๐ หรือขนาดใกล้เคียง แสดงราย ละเอียดบริเวณเขตเพลิงไหม้และระบบคมนาคมขนส่งโดยรอบ ๗.๓.๒ แผนผังแสดงรายละเอียดการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ (กรณีเห็นควรปรับ ปรุง) เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมอาคาร ๗.๔ สรุปความเห็นเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอความเห็นต่อไป ยังคณะกรรมการควบคุมอาคาร ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เกิดเพลิงไหม้ ข้อ ๘ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานคร ประกาศให้ประชาชนในเขตเพลิงไหม้ทราบว่า จะมีการปรับปรุงหรือไม่ปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ สำนักผังเมืองจัดทำประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ปรับปรุงหรือไม่ปรับปรุงเขตเพลิงไหม้แล้วแต่ กรณี เสนอผู้ว้าราชการกรุงเทพมหานครและจัดส่งประกาศดังกล่าวให้สำนักงานเขตท้องที่ ปิด ประกาศไว้ ณ สำนักงานเขตท้องที่และบริเวณที่เกิดเพลิงไม้ภายใน ๔๕ วัน นับแต่วันที่เกิดเพลิง ไหม้ รวมทั้งจัดส่งสำเนาประกาศดังกล่าว ให้สำนักการโยธาและกรมโยธาธิการ ทราบภายใน ๒ วัน ด้วย ข้อ ๙ กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุง เขตเพลิงไหม้ให้สำนักผังเมืองจัดส่งประกาศดังกล่าวให้สำนักโยธา และสำนักงานเขตท้องที่ ทราบ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปภายใน ๒ วัน นับแต่วันที่ได้รับประกาศดังกล่าว ข้อ ๑๐ การดำเนินการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ตามประกาศใช้บังคับแผนผังปรับ ปรุงเขตเพลิงไหม้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานดังต่อไปนี้ ๑๐.๑ ให้สำนักงานเขตท้องที่ รับผิดชอบจัดทำโครงการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ใน ส่วนของ ถนน ตรอก ซอยขนาดเล็ก ที่สำนักงานเขตมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ และการเสนอออก พระราชกฤษฎีกา และ/หรือ พระราชบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ๑๐.๒ ให้สำนักการโยธา รับผิดชอบจัดทำโครงการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ในส่วน ของถนนสายหลัก ถนนสายรอง ที่สำนักการโยธาต้องรับผิดชอบหรือโครงการที่ต่อเนื่องระหว่าง สำนักงานเขตหลายท้องที่ และการเสนอออกพระราชกฤษฎีกา และ/หรือ พระราชบัญญัติตาม กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ๑๐.๓ หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่กำหนดในแผน ผังปรังปรุงเขตเพลิงไหม้ ตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครมีคำสั่งมอบหมาย การเสนอออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนหรือพระราช บัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามข้อ ๑๐.๑ และข้อ ๑๐.๒ ให้ดำเนินการภายใน ๙๐ วัน นับแต่ วันที่มีประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ การดำเนินการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ตามวรรค ๑ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเริ่ม ดำเนินการภายใน ๒ ปี นับแต่วันใช้บังคับประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ข้อ ๑๑ ให้สำนักผังเมืองรับผิดชอบในการกำกับดูแล ติดตามและรายงานผล การดำเนินการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ตามข้อ ๑๐ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุก ๖๐ วัน ข้อ ๑๒ ให้ถือว่าการดำเนินการและการพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่จะใช้ใน การดำเนินการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ตามประกาศใช้บังคับแผนปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ เป็นเรื่องที่ มีความสำคัญและเร่งด่วน ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๑๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๗ง/๒๗/๒๙ มกราคม ๒๕๔๔]
311863
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยคณะกรรมการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๓ ------------ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการ การศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทุกโรงเรียน โรงเรียนละไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งต่อไปในระเบียบนี้จะเรียกว่า "คณะกรรมการ โรงเรียน" ข้อ ๕ คณะกรรมการโรงเรียนประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้แทนผู้ปกครอง (๒) ผู้แทนครู (๓) ผู้แทนองค์กรชุมชน (๔) ผู้แทนสมาชิกสภาเขต (๕) ผู้แทนศิษย์เก่าของโรงเรียน (๖) ผู้ทรงคุณวุฒิ (๗) ผู้บริหารโรงเรียน ข้อ ๖ คณะกรรมการโรงเรียนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้แทนผู้ปกครอง ก. เป็นผู้ปกครองของนักเรียนซึ่งกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนในวันที่ได้รับการคัดเลือก ให้เป็นกรรมการโรงเรียน ข. เป็นผู้สนใจที่จะร่วมกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ค. เป็นผู้มีความประพฤติดี (๒) ผู้แทนครู ก. เป็นครูในโรงเรียนแห่งนั้น ข. เป็นผู้สนใจที่จะร่วมกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ค. เป็นผู้มีความประพฤติดี (ภ) ผู้แทนองค์กรชุมชน ก. เป็นผู้นำของชุมชนในท้องถิ่นนั้นหรือเป็นสมาชิกของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ที่สนใจจะร่วมกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ข. เป็นผู้มีความประพฤติดี (๔) ผู้แทนสมาชิกสภาเขต ก. เป็นสมาชิกสภาเขตในพื้นที่ที่โรงเรียนนั้นตั้งอยู่และสภาเขตยินยอมให้เป็น กรรมการโรงเรียนนั้น ข. เป็นผู้สนใจจะร่วมกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ค. เป็นผู้มีความประพฤติดี (๕) ผู้แทนศิษย์เก่าของโรงเรียน ก. เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนแห่งนั้น ข. เป็นผู้สนใจที่จะร่วมกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ค. เป็นผู้มีความประพฤติดี (๖) ผู้ทรงคุณวุฒิ ก. จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาชีพสาขาใด สาขาหนึ่ง ข. เป็นผู้สนใจที่จะร่วมกำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโรงเรียน ค. เป็นผู้มีความประพฤติดี ข้อ ๗ ให้ดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการโรงเรียนดังนี้ (๑) โรงเรียนจัดประชุมผู้ปกครอง โดยเชิญผู้ปกครองทุกคนเข้าประชุมและ ให้ผู้ปกครองที่มาประชุมพิจารณาคัดเลือกกันเองเป็นกรรมการโรงเรียนจำนวนไม่เกินสองคน (๒) โรงเรียนจัดประชุมครูทั้งโรงเรียนและให้ครูพิจารณาคัดเลือกกันเองเป็น กรรมการโรงเรียน จำนวนไม่เกินสองคน (๓) ผู้บริหารโรงเรียนประชุมปรึกษากับคณะครูในโรงเรียนและผู้แทนผู้ปกครอง พิจารณาคัดเลือกผู้แทนองค์กรชุมชน จำนวนไม่เกินสองคน ผู้แทนศิษย์เก่าของโรงเรียน จำนวน ไม่เกินสองคน และผู้แทนสมาชิกสภาเขตที่จะขอความเห็นชอบจากสภาเขตจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการโรงเรียน (๔) ผู้บริหารโรงเรียนประชุมปรึกษากับผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กร ชุมชน ผู้แทนศิษย์เก่าของโรงเรียน และผู้แทนสมาชิกสภาเขต พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ไม่เกินห้าคน เป็นกรรมการโรงเรียน ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการโรงเรียนเลือกกรรมการเป็นประธานคนหนึ่ง รองประธาน คนหนึ่ง โดยให้ผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่งและให้ผู้บริหารโรงเรียน เลือกครูในโรงเรียนอีกคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๙ โรงเรียนอาจมีคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนนอกจากคณะกรรมการ โรงเรียนอีกคณะหนึ่งก็ได้ ข้อ ๑๐ การแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนและคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียน ให้ผู้บริหารโรงเรียนเสนอรายชื่อให้ผู้อำนวยการเขตหรือผู้อำนวยการกองแล้วแต่กรณีแต่งตั้ง แล้ว รายงานให้ผู้อำนวยการสำนักที่รับผิดชอบทราบ ข้อ ๑๑ คณะกรรมการโรงเรียนมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๒ ปี และอาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนขึ้นใหม่ ให้คณะกรรมการ โรงเรียนชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน ข้อ ๑๒ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการโรงเรียนพ้นจากตำแหน่ง ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๖ (๕) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๗) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งให้พ้นจากตำแหน่งโดยคณะกรรมการโรงเรียนไม่น้อยกว่า สองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กรรมการโรงเรียนตำแหน่งใดว่างลง และยังมีวาระการดำรง ตำแหน่งเกินกว่า ๙๐ วัน ให้คณะกรรมการโรงเรียนเสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรดำรงตำแหน่งแทน โดยดำเนินการตามข้อ ๗ และให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ กรรมการที่ตนแทน ข้อ ๑๔ คณะกรรมการโรงเรียนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) กำกับการดำเนินกิจการของโรงเรียน เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน ธรรมนูญโรงเรียน การพิจารณาหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นการกำหนดที่จะให้ ผู้ปกครองปฏิบัติตามเรื่องหนึ่งเรื่องใด การจัดกิจกรรมของโรงเรียนและการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียน (๒) จัดหางบประมาณพัฒนาท้องถิ่นและความช่วยเหลือจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อ สนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน (๓) ให้คำปรึกษาแนะนำในการพัฒนาโรงเรียน (๔) ให้การส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือโรงเรียน (๕) ประสานงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน หน่วยงาน ส่วนราชการต่าง ๆ และภาค เอกชน เพื่อร่วมในการให้บริการแก่ชุมชน หน่วยงาน ส่วนราชการ การพัฒนาโรงเรียนและพัฒนา ท้องถิ่นนั้น (๖) พิจารณาเสนอแนะการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนตามความ เหมาะสม (๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ (๘) ให้มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งมอบหมาย ข้อ ๑๕ ให้คณะกรรมการโรงเรียนประชุมอย่างน้อยปีละสองครั้ง แล้วส่งรายงาน การประชุมให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งทราบ ในการประชุมของคณะกรรมการโรงเรียนจะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาหรือไม่อยู่ใน ที่ประชุมให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธาน กรรมการไม่มาหรือไม่อยู่ในที่ประชุมให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานใน ที่ประชุม มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในการประชุมคณะกรรมการโรงเรียน ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับตัวกรรมการ ผู้ใดโดยเฉพาะ ผู้นั้นไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งได้รับการ แต่งตั้งตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ไปจนกว่าจะครบวาระ ข้อ ๑๗ ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ถิรชัย วุฒิธรรม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๓/พ๕๕ง/๓๖/๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓]
323210
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร (ฉบับที 2) พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓ ----------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับ ข้อ ๕ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบ ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของสถาน ธนานุบาลกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไรประจำปีของ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๒๗ หน่วยงานใดก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยสั่งซื้อ สั่งจ้าง หรือการเช่าทรัพย์สินครั้งหนึ่งรายหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไปถ้าเห็นว่าจะเบิกเงินไปชำระหนี้ ผูกพันไม่ทันสิ้นปีให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้อีกหกเดือนปฏิทินนับจากวันสิ้นปี" ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของข้อ ๔๑ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน และการจัดสรรผลกำไร ประจำปีของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๑) การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนาม เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคำว่า "หรือตามคำสั่ง" หรือ "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อม ทั่วไป โดยระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือว่า "A/C Payee Only" ด้วย เว้นแต่การจ่ายเงินนั้นได้เบิกเงิน จากบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใด ซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้ หัวหน้าหน่วยการคลังอาจพิจารณา ให้จ่ายเป็นเงินสดก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท" ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๔/พ๕ง/๑๗/๒๒ มกราคม ๒๕๔๔]
315546
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง พ.ศ.๒๕๔๓ -------------- เนื่องจากสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่องจำนวนมาก ชำรุดทรุดโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นของภาคเอกชนไม่ได้รับการทำนุบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี เพื่อให้การบำรุงรักษาสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ในส่วนของภาคเอกชน โดยภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาบำรุงรักษาด้วยวิธีการบริจาคร่วมทุน และเพื่อให้การบริหาร เงินกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการดำเนิน งานด้านการอนุรักษ์และปรับปรุง ฟื้นฟูเมือง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ ประกอบกับ ข้อ ๕ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยกอง ทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่องขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูกรุง รัตนโกสินทร์ และบริเวณต่อเนื่อง พ.ศ.๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งใด ในส่วนที่ได้กำหนดไว้ แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออก คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ นิยาม ---------- ข้อ ๕ ในระเบียบ "กรุงรัตนโกสินทร์" หมายความว่า (๑) พื้นที่บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทภายใจ บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ (๒) พื้นที่บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ในท้องที่แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด แขวงศาลเจ้า พ่อเสือ แขวงบวรนิเวศ แขวงเสาชิงช้า แขวงราชบพิธ แขวงสำราญราษฎร์และแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๐ (๓) พื้นที่บริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภท ภายในบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ในท้องที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๕ "บริเวณต่อเนื่อง" หมายความว่า (๑) พื้นที่บริเวณโดยรอบพระราชวังสวนจิตรลดา ตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภท ในท้องที่แขวงถนนนครไชยศรี แขวงวชิรพยาบาล แขวงดุสิต แขวงสวนจิตรลดา แขวงสี่แยกมหานาค เขตดุสิต แขวงทุ่งพญาไท แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงวัดโสมนัส เขต ป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงวัดสามพระยา แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๖ (๒) พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก ตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภทใน ท้องที่แขวงวัดสามพระยา แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร แขวงวัดโสมนัส แขวงบ้านบาตร แขวง คลองมหานาค แขวงวัดเทพศิรินทร์ แขวงป้องปราบศัตรูพ่าย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวง สัมพันธวงศ์ แขวงจักรวรรดิ์ แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๔๒ "กองทุน" หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตน โกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง "ประธานกรรมการ" หมายความว่า ประธานกรรมการบริหารเงินกองทุนฟื้นฟู กรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง "รองประธานกรรมการ" หมายความว่า รองประธานกรรมการบริหารเงินกองทุน ฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง "กรรมการและเลขานุการ" หมายความว่า กรรมการและเลขานุการคณะ กรรมการบริหารเงินกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง "กรรมการ" หมายความว่า กรรมการบริหารเงินกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์ และบริเวณต่อเนื่อง "เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อ เนื่อง "อาคาร" หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร "อาคารประวัติศาสตร์" หมายความว่า อาคารซึ่งโดยอายุ หรือโดยลักษณะแห่ง การก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอาคารนั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติ ศาสตร์หรือโบราณคดี "อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์" หมายความว่า อาคารเก่าที่มีคุณค่าทาง สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม หรืออาคารซึ่งเคยเป็นที่พำนักของบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์ ไทยหรืออาคารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ไทย หมวด ๒ การจัดตั้งกองทุน วัตถุประสงค์และแหล่งเงินทุน ----------- ข้อ ๖ ให้จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่องขึ้นในสำนัก ผังเมือง กรุงเทพมหานคร ข้อ ๗ วัตถุประสงค์กองทุน เพื่อบูรณะปรับปรุงซ่อมแซม (๑) อาคารประวัติศาสตร์และอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ที่อยู่ในครอบครอง ของเอกชน (๒) อาคารอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ (๓) การปรับปรุงถนน ทางเท้า สวน ที่ว่างและส่วนอื่นที่เกี่ยวกับอาคารตาม (๑) และ (๒) ข้อ ๘ เงินกองทุนได้มาจาก (๑) เงินสนับสนุน ทั้งจากในและนอกประเทศ (๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุน (๓) ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน (๔) เงินรายรับอื่น หมวด ๓ คณะกรรมการบริหารเงินกองทุน ----------- ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการบริหารเงินกองทุนประกอบด้วย ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการที่ปรึกษา ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ สำนักผังเมือง เป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลังหรือผู้แทน ผู้อำนวยการกอง กฎหมายและคดีหรือผู้แทน ผู้อำนวยการเขตท้องที่ที่เกี่ยวข้องหรือที่อาคารนั้นตั้งอยู่ เลขานุการ สำนักผังเมืองเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองจัดรูปที่ดินและปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเป็นกรรมการและ เลขานุการ และให้มีผู้ช่วยเลขานุการ ๒ คน ที่เลขานุการจะเป็นผู้เสนอแต่งตั้ง ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ให้ความเห็นชอบโครงการบูรณะ ปรับปรุงซ่อมแซมที่มีผู้ยื่นเสนอ (๒) อนุมัติแบบรายละเอียดการบูรณะปรับปรุงซ่อมแซม และอนุมัติการใช้จ่าย เงินกองทุน (๓) กำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ขั้นตอนการปฏิบัติและการดำเนินการอื่นใดที่ เกี่ยวข้องกับการใช้เงินกองทุน (๔) กำหนดแนวทางในการบริหารเงินกองทุน ควบคุมงบประมาณของเงินกอง ทุน การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของเงินกองทุนพิจารณากลั่นกรองเสนอความ เห็นต่อปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อทราบหรือพิจารณาสั่งการ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ (๕) กำกับและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคล เพื่อดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตามความจำเป็น และมีอำนาจเชิญบุคคลจากหน่วยงานและส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์การของรัฐและเอกชน มาช่วยดำเนินงาน หรือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้หลักฐานหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการของกองทุน (๗) ดำเนินการอื่นใด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดที่ประชุมให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด หมวด ๔ การบริหารเงินกองทุน ---------- ข้อ ๑๒ ให้นำเงินกองทุน ไปใช้จ่ายได้เฉพาะโครงการที่เป็นการบูรณะปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารประวัติศาสตร์และอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่อยู่ในครอบครองของเอกชนและ/ หรืออาคารอื่นตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ รวมทั้งเพื่อการบูรณะ ปรับปรุงถนน ทางเท้า สวน ที่ว่างและส่วนอื่นที่เกี่ยวกับอาคารดังกล่าว ข้อ ๑๓ การขอใช้เงินกองทุน ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารจัดทำ โครงการเสนอโครงการต่อสำนักผังเมือง โดยโครงการดังกล่าวต้องประกอบด้วยหลักการและเหตุ ผลตามความจำเป็น วิธีการดำเนินงาน แผนงาน รูปแบบรายการ และประมาณการค่าใช้จ่ายตลอด ทั้งชื่อผู้เสนอโครงการและให้สำนักผังเมืองนำเสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๔ ให้คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้ง ดำเนินการตรวจสอบแบบ รายการและประมาณการค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดโครงการในข้อ ๑๓ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนและนำเสนอคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติแบบรายการและอนุมัติการใช้จ่ายเงินกองทุน ในการดำเนินงานบูรณะปรับปรุง ซ่อมแซม ข้อ ๑๕ เมื่อคณะกรรมการได้อนุมัติแบบรายการ และอนุมัติการใช้จ่ายเงินกอง ทุนแล้วให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารทำสัญญาการใช้เงินกองทุนตามแบบที่คณะ กรรมการกำหนด การลงนามในสัญญาใดที่เกี่ยวข้องกับกองทุนให้เป็นอำนาจของปลัด กรุงเทพมหานคร หรือผู้ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๖ ผู้มีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินกองทุน ให้เป็นอำนาจของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) รองประธานกรรมการไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท (๒) ประธานกรรมการ ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๑๗ การเบิกจ่าย การเก็บรักษา การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การก่อ หนี้และการสั่งจ่ายเงินให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่ กรุงเทพมหานคร ใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๘ การรับเงินให้ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้บริจาค หรือผู้อุทิศเงินเข้ากองทุน ทุกครั้งที่มีการรับเงินในนามของกรุงเทพมหานคร และให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของกรุงเทพมหานคร โดยอนุโลม หมวด ๕ การเก็บรักษาเงินกองทุน และการเบิกจ่ายเงิน ---------- ข้อ ๑๙ ให้สำนักผังเมืองเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า "กองทุนฟื้นฟูกรุงรัตนโกสินทร์และบริเวณต่อเนื่อง" ข้อ ๒๐ ให้กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่รับจ่ายเงิน ฝากเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานใน การเบิกจ่ายเงินตามระเบียบและเก็บรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้เมื่อ สิ้นปีงบประมาณ และให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ปลัด กรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๒๑ การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินกองทุนให้เป็นอำนาจของ รองประธานกรรมการ และกรรมการและเลขานุการลงลายมือชื่อสั่งจ่ายร่วมกัน ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดใน ระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๓ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๓/พ๘๒ง/๓๖/๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๓] อัมพิกา/แก้ไข ๓๐/๕/๒๕๔๕ B+A
322938
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 -------------- โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งกองทุนสงเคระาห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 5 และข้อ 20 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "กองทุน" หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร "เงินสงเคราะห์" หมายความว่า เงินที่จ่ายจากกองทุนให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างของ กรุงเทพมหานครที่ประสบภัยพิบัติ "ข้าราชการ" หมายความว่า ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร "ลูกจ้าง" หมายความว่า ลูกจ้างกรุงเทพมหานครตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ลูกจ้าง "หัวหน้าหน่วยงาน" หมายความว่า ผู้ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชาหน่วยงานตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วน ราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานคร "คณะกรรมการ" หมายความว่า ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญและผู้แทน ข้าราชการครูกรุงเทพมหานครในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ 5 ให้จัดตั้ง "กองทุนสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร" ขึ้น โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เงินจากกองทุนให้ความช่วยเหลือแก่ข้าราชการและลูกจ้างที่ประสบภัยพิบัติ ข้อ 6 เงินกองทุนได้มาจาก (1) เงินที่มีผู้บริจาก (2) ดอกผลจากเงินกองทุน (3) เงินรายรับอื่น ๆ ตามที่กฎหมายหรือข้อบัญญัติกำหนดไว้ ข้อ 7 ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของ คณะกรรมการ ข้อ 8 ให้เปิดบัญชีเงินฝากกองทุนสงเคราห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครกับ ธนาคารออมสินหรือธนาคารอื่นใดที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ข้อ 9 ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนสงเคราะห์ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (1) ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ (2) ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม กรรมการ (3) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง กรรมการ (4) ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (5) ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพหมานคร (6) ผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ (7) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ กรรมการและเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (8) หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ กรรมการและผู้ช่วย กองการเจ้าหน้าที่ เลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ 10 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (1) กำหนดอัตราและอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ (2) บริหารและควบคุมเงินกองทุน (3) กำกับดูแลการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน (4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (5) ดำเนินการอื่นใดของกองทุนเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ 11 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็น องค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดในที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ 12 ข้าราชการและลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินสงเหคราะห์จากกองทุนในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เป็นผู้ที่ประสบภัยพิบัตร เช่น อัคคีภัย วาตภัย หรืออุทกภัย จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย แก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินเสียหาย (2) กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์มีอาการป่วยจนไม่สามารถ ดำเนินการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์ด้วยตนเองได้ ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแทน (3) กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างผู้มีสิทธิได้นัลเงินสงเหคราะห์ถึงแก่ความตาย ให้ทายาท ตามกฎหมายยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์พร้อมเอกสารหลักฐานต่อผู้บังคับบัญชาหรือลุกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงิน สงเคราะห์ตามลำดับชั้นจนถึงหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ 14 เมื่อหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบคำขอรับเงินสงเหคราะห์แล้วเห็นว่าข้าราชการหรือ ลูกจ้างนั้นสมควรได้รับเงินสงเคราะห์ ให้ส่งคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานไปยังกองการเจ้าหน้าที่สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอคณะกรรรมการพิจารณากำหนดอัตราและอนุมัติการจ่ายเงินสงเคราะห์ต่อไป ข้อ 15 การกำหนดอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์แต่ละรายให้คณะกรรมการพิจารณากำหนด โดยคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ยื่นคำขอ ความเดือนที่ได้รับภัยพิบัติที่ประสบ สภาพความเสียหาย ที่เกิดขึ้น และฐานะทางการเงินของกองทุน ข้อ 17 การยื่นคำขอต้องดำเนินการภายในกำหนดเสลาหกสิบวันนับแต่วันสิ้นสุดเหตุอันเป็น เหตุให้มีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์ หากไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดเป็นอันหมดสิทธิ เว้นแต่คณะกรรมการ จะมีมติเห็นชอบให้มีสิทธิด้วยมติเอกฉันท์ ข้อ 18 การจอถอดเงินจากกองทุนจะทำได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและให้ประธาน กรรมการหรือกรรมการฝ่ายหนึ่ง และเลขานุการหรือผู้ช่วยเลขานุการอีกฝ่ายหนึ่ง ลงลายมือชื่อในเช็คหรือ ใบถอนเงินร่วมกัน ข้อ 19 การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน นอกจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่ กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 20 ให้กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับจ่ายเงิน ฝากเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีรับจ่าย รวมทั้งสรรพบัญชีหรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสาร หลักฐานในการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบและเก็บรวมรักษาไว้ให้ครบถ้วนพร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ ข้อ 21 ในกรณีที่มีเหตุพิเศาสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ 22 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2543 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.2543/พ.9ง/11/31 มกราคม 2543]
311608
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2543 ----------------- โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่ง ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ประกอบกับ ข้อ 4 ข้อ 9 และข้อ 13 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2543 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่ง ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2543" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจออกคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด 1 ข้อความทั่วไป ----------------- ข้อ 5 ในระเบียบนี้ "หน่วยงาน" หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายใน หน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง "โครงการ" หมายความว่า โครงการให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการ ก่อนเกษียณอายุของกรุงเทพมหานคร "เงินขวัญถุง" หมายความว่า เงินช่วยเหลือในอัตราเจ็ดเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย "ช.ร.บ." หมายความว่า เงินช่วยเหลือรายเดือนผู้รับบำนาญ ข้อ 6 เมื่อหน่วยงานเจ้าสังกัดของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ลาออกตามโครงการ ได้รับแจ้งรายชื่อการอนุญาตให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครลาออกแล้วให้แจ้งข้าราชการกรุงเทพ มหานครที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกทราบโดยเร็ว เพื่อยื่นคำขอรับเงินช่วยเหลือตามแบบท้ายระเบียบ ดังต่อไปนี้ (1) คำขอรับเงินขวัญถุง ให้ใช้ตามแบบ ข.1 (2) คำขอรับ ช.ร.บ. ให้ใช้ตามแบบ ข.2 ข้อ 7 ให้หน่วยงานเจ้าสังกัดของข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ลาออกเป้นผู้คำนวณ เงินขวัญถุง และ ช.ร.บ.ที่จะต้องจ่ายให้แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ลาออกตามโครงการ ข้อ 8 วิธีการเบิกข่ายและอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่ง เงินและการตรวจเงิน โดยอนุโลม เว้นแต่ระเบียบนี้ จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หมวด 2 การเบิกจ่ายเงินขวัญถุง ----------------- ข้อ 9 การเบิกจ่ายเงินขวัญถุงให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณหรือเงินอื่นใดโดยให้วาง ฎีกาเบิกจ่ายเงินขวัญถุงครั้งแรก 3.5 เท่า ของเงินเดือนสุดท้ายและครั้งที่สอง 3.5 เท่าของเงินเดือน เดือนสุดท้าย โดยให้แนบสำเนาคำสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ และรายละเอียด ประกอบฎีกาเบิกเงินขวัญถุงตามแบบ ร.1 ท้ายระเบียบนี้ด้วย หมวด 3 การเบิกจ่าย ช.ร.บ. ------------------ ข้อ 10 การเบิกจ่าย ช.ร.บ. ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณหรือเงินอื่นใด โดยระบุว่า เป็น ช.ร.บ. ประจำเดือนใด การวางฎีกาเบิก ช.ร.บ.ให้แยกต่างหากจากฎีกาเบิกเงินบำนาญปกติและให้ แนบรายละเอียดประกอบฎีกาเบิก ช.ร.บ. ตามแบบ ร.2 ท้ายระเบียบนี้ด้วย ข้อ 11 กรณีที่มีการเบิก ช.ร.บ.ไม่เต็มเดือนในฎีกาเดียวกัน ให้แยกรายการเบิกเป็นอีก รายการหนึ่งต่างหากจากการเบิก ช.ร.บ. เต็มเดือน การเบิก ช.ร.บ.ในเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ช.ร.บ. ให้แสดงรายละเอียดประกอบฎีกาด้วย การจ่าย ช.ร.บ. ให้หน่วยงานผู้จ่ายเงินลงรายการจ่ายในบัตรรับ ช.ร.บ.ตามแบบท้าย ระเบียบ หรือทะเบียน หรือบัตรจ่ายบำนาญ แล้วแต่กรณี หมวด 4 เบ็ดเตล็ด ----------------- ข้อ 12 การส่งคืนเงินช่วยเหลือตามข้อ 9 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ พ.ศ. 2543 ให้ส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ ทั้งหมดพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินงากประจำสิบสองเดือนขอางธนาคารออมสิน ณ วันที่กลับ เข้ารับ ราชการหรือเข้าทำงาน โดยคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ได้รับเงินช่วยเหลือจนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น ให้ส่งคืนเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง แก่หน่วยงานผู้เบิกเงินช่วยเหลือภายใน สามสิบวัน นับแต่วันที่ได้กลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงาน ข้อ 13 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป้นอย่างอื่นหรือไม่ได้กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ .2543 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
311232
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการดำเนินงานสถานศึกษาฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการดำเนินงานสถานศึกษาฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542 --------------- โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการ ดำเนินงานโรงเรียนฝึกอาชีพและสารพัดช่าง พ.ศ. 2530 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานสถานศึกษา ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานโรงเรียนฝึกอาชีพและ สารพัดช่าง พ.ศ. 2530 ข้อ 4 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 5 ในระเบียบนี้ "สถานศึกษา" หมายความว่า วิทยาลัย โรงเรียนฝึกอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพ หรือสถาน ศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่กรุงเทพมหานครจัดตั้ง ซึ่งจัดหลักสูตรการศึกษาอาชีพต่ำกว่าปริญญาตรี "หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า หัวหน้าศูนย์ฝึกอาชีพ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ข้อ 6 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด 1 การดำเนินงานสถานศึกษา ----------------- ข้อ 7 สถานศึกษามีหน้าที่ (1) ผลิตแรงงาน (2) พัฒนาฝีมือแรงงานและยกระดับการศึกษาวิชาชีพ (3) ส่งเสิรมการประกอบอาชีพอิสระ (4) ส่งเสริมการมีงานทำ (5) เป็นศูนย์สารสนเทศตลาดแรงงาน (6) เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการประกอบอาชีพอิสระและตลาดแรงงาน (7) ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (8) ส่งเสริมการบริหาร การจัดการ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระแก่ชุมชน (9) ให้บริการชุมชนตามนโยบายกรุงเทพมหานคร ข้อ 8 สถานศึกษาจะเปิดสอนแต่ละวิชาต้องมีนักศึกษาในวิชานั้นดังนี้ (1) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม จำนวนนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 15 คนต่อห้องเรียน หากเปิดสอนมากกว่า 1 ห้อง และห้องสุดท้ายมีไม่ถึง 15 คน ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถาน ศึกษา แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 10 คน (2) ประเภทวิชาคหกรรมและศิลปกรรม จำนวนนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 20 คนต่อ ห้องเรียน หากเปิดสอนมากกว่า 1 ห้อง และห้องสุดท้ายมีไม่ถึง 20 คน ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้า สถานศึกษา แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 10 คน (3) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม จำนวนนักศึกษาไม่ต่ำกว่า 25 คนต่อห้องเรียน หาก เปิดสอนมากกว่า 1 ห้อง และห้องสุดท้ายมีไม่ถึง 25 คน ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 10 คน ถ้านักศึกษาในห้องเรียนที่ 1 มีจำนวนไม่ครบตามเกณฑ์ (1) (2) (3) หากจะเปิดสอนจะต้อง ได้รับอนุญาตจาก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน หมวด 2 นักศึกษา --------------- ส่วนที่ 1 พื้นความรู้และคุณสมบัติของนักศึกษา --------------- ข้อ 9 ผู้ที่จะสมัครเข้าศึกษาต้องเป็นผู้มีพื้นฐานความรู้สอบได้ไม่ต่ำกว่าประโยคประถม ศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า หรือมีความรู้อ่านออกเขียนได้โดยผ่าน การทดสอบของหัวหน้าสถานศึกษาและต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ (2) มีสัญชาติไทย (3) มีความประพฤติเรียบร้อย (4) มีสุขภาพดี เหมาะสมในการเรียนวิชาชีพนั้น (5) มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง (6) ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ หรือติดยาเสพติดให้โทษ ส่วนที่ 2 การรับนักศึกษาเข้าเรียน --------------- ข้อ 10 สถานศึกษาจะรับนักศึกษาเข้าเรียนภาคปกติ ภาคค่ำ และภาคพิเศษให้เป็นไปตาม ข้อ 7 ข้อ 11 เมื่อมีผู้สมัครเกินจำนวนที่กำหนด ให้มีการสอบคัดเลือก ข้อ 12 ในกรณีที่มีการสอบคัดเลือกให้ปฏิบัติดังนี้ (1) ทำการทดสอบข้อเขียนและหรือสัมภาษณ์ หรือตามความถนัดทางการเรียน วิชาชีพนั้น (2) สถานศึกษาอาจให้มีการตรวจโรคเฉพาะผู้ที่ผ่านการทดสอบตาม (1) โดย แพทย์ปริญญา ส่วนที่ 3 การเป็นนักศึกษา -------------- ข้อ 13 การเป็นนักศึกษาจะสมบูรณ์เมื่อได้ลงทะเบียนเป็นนักศึกษาของสถานศึกษา ข้อ 14 ให้สถานศึกษาออกบัตรประจำตัวนักศึกษาให้แก่นักศึกษา ตามแบบที่ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาชุมชนกำหนด บัตรประจำตัวต้องระบุเลขที่ ชื่อสถานศึกษา ชื่อตัว ชื่อสกุลนักศึกษา เลขประจำตัว วันออกบัตร วันบัตรหมดอายุ ลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษา และให้มีรูปถ่ายครึ่งตัวของนักศึกษา ขนาด 3X3.5 ซ.ม. หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาสีดำ แต่งกายสุภาพ ถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือน ติดลงในบัตร กับให้มีลายเซ็นชื่อของนักศึกษาใต้รูปภาพ ให้ประทับตราของสถานศึกษาที่มุมใดมุมหนึ่งบางส่วนของรูปถ่ายของนักศึกษา บัตรประจำตัวนี้ให้มีอายุเท่ากับระยะเวลาที่เป็นนักศึกษาในสถานศึกษาแห่งนั้น ข้อ 15 สถานศึกษาต้องแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักศึกษา เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการเรียนและดูแลความประพฤติของนักศึกษา ข้อ 16 การเป็นนักศึกษาสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร (2) ลาออก (3) ตาย (4) หัวหน้าสถานศึกษาสั่งให้ออก ส่วนที่ 4 การลา ---------------- ข้อ 17 นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้ยื่นหรือจัดส่งใบลาต่อหัวหน้า สถานศึกษาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะยื่นหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาเรียน ก็ได้ ข้อ 18 นักศึกษาผู้ใดประสงค์จะลากิจส่วนตัว ให้ยื่นหรือจัดส่งใบลาต่อหัวหน้าสถาน ศึกษา และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดการเรียนได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและไม่สามารถรอรับ อนุญาตได้ทัน จะยื่นหรือจัดส่งใบลาพร้อมทั้งระบุเหตุจำเป็นไว้แล้วหยุดการเรียนไปก่อนก็ได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้หัวหน้าสถานศึกษาทราบโดยเร็ว ส่วนที่ 5 วินัยและการลงโทษ ---------------- ข้อ 19 นักศึกษาต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติตามระเบียบ ธรรมเนียมของ สถานศึกษา ข้อ 20 นักศึกษาต้องสุภาพเรียบร้อย เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู อาจารย์และรักษา ระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ข้อ 21 ห้ามนักศึกษาเล่นการพนัน เสพสิ่งเสพติด ประพฤติตนเสื่อมเสียทางชู้สาว หรือ ทะเลาะวิวาทกับนักศึกษาในสถานศึกษาเดียวกัน หรือต่างสถานศึกษา ข้อ 22 นักศึกษาไม่ปฏิบัติตามข้อ 19 ถึงข้อ 21 ต้องรับโทษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ว่ากล่าวตักเตือน (2) ทำทัณฑ์บน (3) พักการเรียน (4) ให้ออก ข้อ 23 การว่ากล่าวตักเตือน ให้ใช้ในกรณีที่นักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง ข้อ 24 การทำทัณฑ์บน ให้หัวหน้าสถานศึกษากระทำได้ในกรณีที่นักศึกษาไม่ปฏิบัติตาม คำว่ากล่าวตักเตือนของครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาอยู่เป็นนิจโดยให้เชิญบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองมารับทราบการทำทัณฑ์บนด้วย ข้อ 25 ในกรณีที่นักศึกษากระทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถานศึกษาหรือได้ทำทัณฑ์บน แล้วแต่ไม่เข็ดหลาบ ให้หัวหน้าสถานศึกษาสั่งพักการเรียนได้ การลงโทษสั่งพักการเรียน จะสั่งพักการเรียนเกินเจ็ดวันต้องขออนุมัติผู้อำนวยการสำนัก พัฒนาชุมชน เมื่อสั่งพักการเรียนแล้วให้มีหนังสือแจ้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองมารับทราบเหตุผลด้วย ข้อ 26 ในกรณีที่นักศึกษาประพฤติตนไม่สมควรแก่การเป็นนักศึกษาหรือฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือขาดเรียนติดต่อกันเกินสิบห้าวันโดยมีเหตุผลอันสมควร หรือ ประพฤติผิดศีลธรรมอันดีของประชาชนอย่างร้ายแรงจนเป็นที่เห็นได้ว่า หากให้เรียนต่อไปจะทำ ให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถานศึกษาให้หัวหน้าสถานศึกษา โดยอนุมัติผู้อำนวยการสำนักพัฒนา ชุมชน สั่งให้ออกได้และมีหนังสือแจ้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองทราบด้วย แล้วให้สถานศึกษา คัดชื่อนักศึกษาผู้นั้นออก ข้อ 27 การลงโทษนักศึกษาทุกครั้งให้หัวหน้าสถานศึกษาบันทึกในสมุดหมายเหตุรายวัน ไว้เป็นหลักฐาน ส่วนที่ 6 การลาออก ------------------ ข้อ 28 นักศึกษาประสงค์จะลาออกจากการเป็นนักศึกษาให้ยื่นใบลาต่อหัวหน้าสถาน ศึกษา โดยความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร หมวด 3 การเรียนและการประเมินผลการเรียน ------------------- ส่วนที่ 1 การลงทะเบียน ------------------- ข้อ 29 เมื่อผู้ใดได้รับการคัดเลือกจากสถานศึกษาให้เข้ารับการศึกษาให้ผู้นั้นลงทะเบียน ด้วยตนเองพร้อมทั้งชำระเงินค่าสมัครและค่าบำรุงการศึกษาตามวัน เวลา และสถานที่ที่สถานศึกษา ประกาศกำหนด มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์เข้ารับการศึกษา ข้อ 30 วิชาที่ต้องเรียนต่อเนื่องกันเป็นลำดับตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนักศึกษาต้อง เรียนวิชาต้นเสียก่อน จึงจะมีสิทธิลงทะเบียนวิชาถัดไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าสถาน ศึกษา ข้อ 31 การเปลี่ยนแปลงวิชาที่ได้ลงทะเบียนแล้ว หรือการเปลี่ยนแปลงเวลาที่สมัครเรียน ไว้ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา ข้อ 32 นักศึกษาจะขอเรียนวิชาเพิ่มมากกว่าหนึ่งวิชาในภาคเรียนนั้นได้ถ้าเวลาเรียน ไม่ซ้อนกัน ส่วนที่ 2 การย้ายสถานศึกษาและการรับรองผลการเรียน ------------------- ข้อ 33 การย้ายสถานศึกษาอาจกระทำได้ โดยให้หัวหน้าสถานศึกษาเดิมมีหนังสือรับรอง ผลการเรียนไปให้ ตามแบบที่ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนกำหนด ข้อ 34 ให้หัวหน้าสถานศึกษาออกใบรับรองผลการเรียนได้ ส่วนที่ 3 การนับเวลาเรียนเพื่อสิทธิในการสอบ ------------------- ข้อ 35 ในภาคเรียนหนึ่งๆ นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนในแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละแปดสิบ ของเวลาเปิดเรียนเต็มสำหรับวิชานั้น จึงจะมีสิทธิสอบ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษจาก หัวหน้าสถานศึกษา เนื่องจากพิจารณาเห็นความจำเป็นหรือมีเหตุผลอันสมควร ทั้งนี้ต้องมีเวลา เรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ ข้อ 36 การนับเวลาเรียนให้ถือปฏิบัติดังนี้ (1) นักศึกษาที่ย้ายสถานศึกษาระหว่างภาคเรียน ให้นำเวลาเรียนจากสถานศึกษา แต่ละแห่งมารวมกัน (2) วิชาที่ผู้สอนตั้งแต่สองคนขึ้นไปแยกกันสอน ให้นำเวลาที่เรียนกับผู้สอน ทุกคนมานับรวมกัน ส่วนที่ 4 การขอเลื่อนการสอบ ------------------- ข้อ 37 นักศึกษาที่ไม่สามารถเข้าสอบตามวัน เวลาที่สถานศึกษากำหนดจะขอเลื่อน การสอบได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยระหว่างสอบหรือก่อนสอบ (2) ถูกควบคุมตัวโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย (3) เป็นตัวแทนของสถานศึกษาในการเข้าร่วมประชุม หรือร่วมกิจกรรมพิเศษ อย่างอื่น โดยได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าสถานศึกษา (4) มีความจำเป็นอย่างอื่นซึ่งหัวหน้าสถานศึกษาเห็นสมควร ข้อ 38 นักศึกษาที่ประสงค์จะขอเลื่อนการสอบต้องยื่นคำร้องพร้อมทั้งเหตุผลและ หลักฐานต่อหัวหน้าสถานศึกษาเพื่อพิจารณา ในกรณีที่หัวหน้าสถานศึกษาอนุญาตให้เลื่อนการสอบ ให้กำหนดวัน เวลา และสถานที่ สอบและแจ้งให้นักศึกษาผู้นั้นทราบ หากนักศึกษาไม่มาสอบตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด ให้ถือว่าขาดสอบเว้นแต่กรณีเหตุสุดวิสัย ข้อ 39 ให้สถานศึกษาเปิดภาคเรียนตามกำหนดดังต่อไปนี้ (1) ภาคปกติ หลักสูตร 600 ชั่วโมง ใช้เวลาเรียน ระหว่างเวลา 08.30 - 15.30 น. ก. ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 ตุลาคม ข. ภาคเรียนที่ 2 เปิดเรียนวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 31 มีนาคม (2) ภาคปกติ หลักสูตร 402 ชั่วโมง ใช้เวลาเรียน ระหว่างเวลา 08.30 - 15.30 น. ก. ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 25 สิงหาคม ข. ภาคเรียนที่ 2 เปิดเรียนวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 15 ธันวาคม ค. ภาคเรียนที่ 3 เปิดเรียนวันที่ 20 ธันวาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม (3) ภาคค่ำ หลักสูตร 201 ชั่วโมง ใช้เวลาเรียน ระหว่างเวลา 17.00 - 20.00 น. ก. ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 25 สิงหาคม ข. ภาคเรียนที่ 2 เปิดเรียนวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 15 ธันวาคม ค. ภาคเรียนที่ 3 เปิดเรียนวันที่ 20 ธันวาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ข้อ 40 สถานศึกษาใดจะเปิดภาคเรียนแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในข้อ 39 ได้โดยได้รับ อนุญาตจากปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ 41 สถานศึกษาอาจเปิดสอนในเวลาและนอกเวลาทำงานตามปกติตามระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษาตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 21.00 น โดยได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน ส่วนที่ 5 การประเมินผลการเรียน ------------------- ข้อ 42 การประเมินผลการเรียนของนักศึกษา ให้สถานศึกษาปฏิบัติตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนหลักสูตรวิชาชีพ หมวด 4 เบ็ดเตล็ด ------------------- ข้อ 43 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
339510
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
กหดหกดหกดหกด ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ----------------- โดยที่เป็นสมควรแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทน ข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ และมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการคัดเลือกผู้แทน ข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในหมวด ๓ ข้อ ๖ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการ คัดเลือกผู้แทนข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๑๖ เมื่อปิดหีบลงคะแนนเลือกตั้งแล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งทำการ ส่งหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมบัตรเลือกตั้งที่เหลือและแบบรายงานผลการมาใช้สิทธิเลือกตั้ง (แบบ ก.ก. ๘/๑) ให้ศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนดินสอ เขตพระนคร เพื่อให้คณะกรรมการ อำนวยการเลือกตั้งตรวจนับคะแนนต่อไป" ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๒/พ๑๐๐ง/๑/๗ ธันวาคม ๒๕๔๒] อาภรณ์/พิมพ์ ๒๕/๑๒/๔๔
339518
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2541
กหดหกดหกดหกด ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๑ ---------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการ งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบนี้ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๒" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๓ (๑) แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับ เงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงินการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และ การตรวจเงิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๔๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "(๑) การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้า หนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคำว่า "หรือตามคำสั่ง" หรือ "หรือผู้ถือ" ออก และขีดคร่อมทั่วไปโดย ระบุข้อความห้ามเปลี่ยนมือว่า "A/C Payee Only" ด้วย เว้นแต่การจ่ายเงินนั้นได้เบิกเงินจากบัญชี ออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใด ซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้ หัวหน้าหน่วยการคลังอาจพิจารณาให้จ่ายเป็น เงินสดก็ได้ ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท" ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๒/๙ง/๔๑/๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒] อาภรณ์/พิมพ์ ๒๕/๑๒/๔๔
311240
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกลุ่มสถานศึกษาฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกลุ่มสถานศึกษาฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542 --------------- โดยที่เห็นเป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกลุ่มสถานศึกษาฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยประโยชน์ด้านพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกลุ่มสถานศึกษาฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "สถานศึกษา" หมายความว่า วิทยาลัย โรงเรียนฝึกอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพ หรือ สถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่กรุงเทพมหานครจัดตั้ง ซึ่งจัดหลักสูตรการศึกษาอาชีพต่ำกว่า ปริญญาตรี ข้อ 5 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มสถานศึกษา มีดังนี้ (1) เพื่อส่งเสริมและอำนวยประโยชน์ด้านพัฒนาการเรียนการสอนภายในกลุ่ม สถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน (2) เพื่อสนองนโยบายด้านการฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อให้มีการปรึกษา ประสานงานพิจารณาปัญหาต่างๆ และร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษาในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มสถานศึกษา สำนักงานเขต สำนักพัฒนาชุมชน และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน (4) เพื่อให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ตลอดจนการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีต่อกัน (5) เพื่อให้สถานศึกษา ได้ร่วมมือช่วยเหลือกันในการบริหารทางวิชาการ การจัด สวัสดิการและกิจกรรมอื่นๆ ข้อ 6 หลักเกณฑ์การจัดกลุ่มสถานศึกษา (1) การจัดสถานศึกษาเข้ากลุ่ม ให้พิจารณาสภาพที่ตั้งของสถานศึกษาตามการ แบ่งกลุ่ม สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร (2) ที่ทำการกลุ่มสถานศึกษา ให้ประธานกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษาเป็น ผู้กำหนด ข้อ 7 หน้าที่ของกลุ่มสถานศึกษา (1) ปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพการศึกษาอาชีพของสถานศึกษา (2) ร่วมมือกันจัดกิจกรรม และแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางการศึกษาอาชีพเพื่อ ประโยชน์ต่อการเรียนการสอน (3) ปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนงานและโครงการของกลุ่ม (4) เสนอปัญหาแนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา อาชีพต่อผู้บริหารตามลำดับเพื่อพิจารณา (5) ประสานงานระหว่างสถานศึกษาในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มสถานศึกษา สำนักงาน เขต สำนักพัฒนาชุมชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาอาชีพ (6) จัดให้มีการบริการของกลุ่มสถานศึกษา และการช่วยเหลือกันระหว่าง สถานศึกษาในกลุ่มด้านวัสดุ สื่อการเรียน และอื่นๆ (7) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของกลุ่มสถานศึกษา (8) ติดตามประเมินผลงานของกลุ่มสถานศึกษา ข้อ 8 ให้มีคณะกรรมการกลุ่มสถานศึกษา ซึ่งต่อไปในระเบียบนี้จะเรียกว่า "คณะกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษา" ประกอบด้วย หัวหน้าสถานศึกษาที่มีสถานศึกษาตั้งอยู่ ในกลุ่มสำนักงานเขตที่กรุงเทพมหานครกำหนด ให้คณะกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษาเลือกประธานกรรมการหนึ่งคน รองประธาน กรรมการหนึ่งคน และให้ประธานกรรมการคัดเลือกข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการตำแหน่งละหนึ่งคน โดยให้มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และอาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้ ข้อ 9 ให้ประธานกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษา เสนอรายชื่อคณะกรรมการบริหาร กลุ่มสถานศึกษา เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนแต่งตั้ง ข้อ 10 ให้มีคณะที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษา ประกอบด้วยผู้อำนวย การสำนักพัฒนาชุมชน รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการกองในสังกัดสำนักพัฒนา ชุมชน และหัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามที่ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนกำหนด คณะที่ปรึกษามีหน้าที่ให้การปรึกษาและสนับสนุนการบริหารงานของกลุ่มสถานศึกษา หรือตามที่กลุ่มสถานศึกษาร้องขอ ข้อ 11 คณะกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษา มีหน้าที่ดังนี้ (1) จัดทำแผนงานปรับปรุงสถานศึกษาภายในกลุ่มประจำปีการศึกษาให้ สอดคล้องและสนองนโยบายการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอสำนักพัฒนาชุมชน ให้ความเห็นชอบ (2) ปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ (3) พิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการดำเนินงานปรับปรุง สถานศึกษาภายในกลุ่ม (4) พิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้งบประมาณประจำปีและเงินรายได้อื่นๆ ของกลุ่มสถานศึกษา (5) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาในกลุ่ม (6) ให้มีอำนาจตั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานฝ่ายต่างๆ ของกลุ่มสถานศึกษา ข้อ 12 การดำเนินการประชุม (1) การประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มสถานศึกษา คณะอนุกรรมการหรือ คณะทำงานจะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงถือเป็น องค์ประชุม ถ้าประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานเป็นประธานที่ประชุมแทน ถ้าประธาน รองประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการ คนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุม (2) การลงมติจะโดยวิธีลับหรือเปิดเผยก็ตาม ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็น เกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียงชี้ขาด ข้อ 13 สถานศึกษาในกลุ่มมีหน้าที่ช่วยเหลือกันดังนี้ (1) ประชุมครูเกี่ยวกับการปรับปรุงส่งเสริมงานด้านวิชาการและบริหารงาน ตามแผนงานและโครงการที่ได้วางไว้ (2) จัดกิจกรรมต่างๆ ตามแผนงานและโครงการที่สถานศึกษาได้รับอนุมัติแล้ว (3) ช่วยเหลือด้านวัสดุ สื่อการเรียน และบริการด้านต่างๆ ซึ่งกันและกัน (4) ร่วมมือในการวัดผลทางการศึกษา (5) ร่วมมือในการประเมินผลและประชาสัมพันธ์สถานศึกษา (6) ร่วมมือและช่วยเหลือตามที่เห็นสมควร ข้อ 14 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจ ตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
311633
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 4) พงศ. 2542
ระเบียบ ระเบียบ ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากร ทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 ------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพหมานครว่าด้วยค่าตอบแทน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. 2535 ให้เหมาะสม ยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 4 และข้อ 7 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. 2534 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ระเบียบว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบ กรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน "ข้อ 7 ให้กำหนดค่าตอบแทนเภสัชกร ห้วงเวลา ดังนี้ (1) เภสัชกรที่ปรึกษา ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ 750 บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน 5 วัน วันละไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง (2) เภสัชกรทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ 200 บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน 5 วัน วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง" ประกาศ ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.2543/พ.4ง/5/14 มกราคม 2543]
310664
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ------------------------ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมสัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินท้ายระเบียบ กรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ แลค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สิน ที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. 2537 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 6 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. 2536 ผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกสัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินท้ายระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย ร่วมกัน พ.ศ. 2537 และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน พ.ศ. 2537 และให้ใช้สัญญายินยอมให้ใช้สอยทรัพย์สินท้ายระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
311233
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542 --------------- โดยที่เห็นเป็นการสมควรให้มีคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการไปด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และ เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49(5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดา ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร "หน่วยงาน" หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร และประกาศของกรุงเทพมหานคร เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง "หัวหน้าสำนักงาน" หมายความว่า หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบ ราชการของกรุงเทพมหานคร "ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน" หมายความว่า ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการ ปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร "เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ ผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร" เรียกโดยย่อ "ปรร.กทม." ประกอบด้วย (1) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็น ประธานกรรมการ (2) รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็น รองประธานกรรมการ ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย (3) ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็น กรรมการ (4) รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็น กรรมการ ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย (5) เลขาธิการ ก.พ. หรือผู้แทน เป็น กรรมการ (6) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็น กรรมการ หรือผู้แทน (7) ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย เป็น กรรมการ และแผนกรุงเทพมหานคร (8) ผู้อำนวยการสำนักการคลัง เป็น กรรมการ (9) ผู้ช่วยปลัดกรุงเทพมหานคร เป็น กรรมการ ที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย (10) ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ เป็น กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (11) ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี เป็น กรรมการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (12) กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพ เป็น กรรมการ มหานครแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านระบบราชการและการจัดส่วน ราชการ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารรัฐวิสาหกิจ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ ที่เห็นสมควร จำนวนไม่เกินสิบห้าคน (13) หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการ เป็น กรรมการและเลขานุการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร (14) ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร (15) ผู้อำนวยการกองอัตรากำลัง เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และระบบงาน ข้อ 6 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระหากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการ ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่า กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ ข้อ 7 ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ก่อนวาระให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่ง ก่อนวาระ ให้กรรมการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการต่อไปได้ ข้อ 8 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนกรรมการที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน กรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการหนึ่งคนเป็นประธาน ในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียง หนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีก หนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ 9 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการกำหนด นโยบายกรอบแนวความคิด และกลยุทธ์ในการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร กำหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เหมาะสมกับ บทบาทและภาระหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร (2) จัดทำแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานครเพื่อเสนอต่อ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ (3) เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้มีการดำเนินการพัฒนากฎหมาย เกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจและสังคม (4) เสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้มีการทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร หรือการ ให้บริการประชาชนของหน่วยงาน (5) ศึกษา วิเคราะห์ และทำการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางกลยุทธ์และมาตรการ ในการปรับปรุงระบบราชการและระบบการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้การดำเนินการตามแผน แม่บทการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานครเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล (6) ดำเนินการและกำกับดูแล ให้หน่วยงานปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนแม่บท การปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร (7) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อขัดข้องและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา แก่หน่วยงานในการดำเนินการตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร (8) จัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร เสนอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (9) ดำเนินการประสานงานในระหว่างหน่วยงาน หรือรายงานต่อผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการประสานงานในระหว่างหน่วยงานเพื่อให้มีความร่วมมือในการ ดำเนินการตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร (10) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการของ กรุงเทพมหานคร จัดประชุมสัมมนา หรือฝึกอบรม หรือเสนอแนะต่อหน่วยงานให้มีการเผยแพร่ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานคร (11) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ 10 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ให้นำข้อ 8 มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานโดยอนุโลม ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน มีอำนาจออกหนังสือขอให้ หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจัดส่งเอกสาร ข้อมูล และชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อ ประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น ข้อ 11 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการของกรุงเทพมหานครเป็น ส่วนราชการภายในสำนักงาน ก.ก. และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) รับผิดชอบในงานธุรการ งานวิชาการ งานการประชุมและงานเลขานุการ ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน (2) รับผิดชอบในการบริหารงาน บริหารเงิน และบริหารพัสดุ ตามที่ คณะกรรมการกำหนด (3) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน (4) ประสาน เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล และเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูป ระบบราชการของกรุงเทพมหานคร (5) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของ คณะกรรมการและสำนักงาน (6) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ข้อ 12 ให้หัวหน้างานมีหัวหน้าสำนักงานเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของ สำนักงาน และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของสำนักงานขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการ และให้มีผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงาน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน จากข้าราชการสำนักงาน ก.ก. ข้อ 13 ให้หัวหน้าสำนักงาน และผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละสี่ปี ในกรณีที่หัวหน้าสำนักงาน และผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หากยังมิได้แต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานขึ้นใหม่ให้หัวหน้าสำนักงาน และผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไป จนกว่าหัวหน้าสำนักงานและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ หัวหน้าสำนักงานและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับ แต่งตั้งอีกได้ ถ้ามีการแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานและผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานขึ้นแทนหัวหน้าสำนักงาน และผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่ง เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ข้อ 14 หัวหน้าสำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) บริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานและ ตามมติของคณะกรรมการ (2) บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน (3) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ ระเบียบและข้อบังคับของคณะกรรมการ ข้อ 15 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสำนักงาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือปลัดกรุงเทพมหานครอาจมีคำสั่งให้ข้าราชการ หรือลูกจ้าง ของหน่วยงานหรือสำนักงานอาจขอให้ผู้ว่ารากชารกรุงเทพมหานคร มีคำสั่งให้พนักงานหรือ ลูกจ้างของหน่วยงานการพาณิชย์กรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานอื่นของกรุงเทพมหานคร ไปช่วยปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานได้โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติ งานตามปกติ โดยจะให้ไปช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลาบางเวลา หรือนอกเวลาก็ได้ ข้อ 16 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินเจ็ดคนเป็นกรรมการ ที่ปรึกษาของสำนักงานโดยได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ข้อ 17 ให้คณะกรรมการอื่นๆ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงาน ข้อ 18 ให้คณะกรรมการได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ข้อ 19 ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
311607
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การโอนทรัพย์สินที่ไม่มีลักษณะเป็นการจำหน่ายตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2543
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การโอนทรัพย์สินที่ไม่มีลักษณะ เป็นการจำหน่ายตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓ -------------- โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การ โอนนทรัพย์สินที่ไม่มีลักษณะเป็นการจำหน่ายตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๑๕ และข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่องทรัพย์สิน พ.ศ. ๒๕๓๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบ ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การโอน ทรัพย์สินที่ไม่มีลักษณะเป็นการจำหน่ายตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๓" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "ทรัพย์สิน" หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ "โอนทรัพย์สิน" หมายความว่า การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ไม่มี ลักษณะเป็นการจำหน่ายตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ "หน่วยงาน" หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่ง ส่วนราชการภายในหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองและให้หมายความรวมถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย ข้อ ๕ การโอนทรัพย์สินให้หน่วยงานตรวจสอบตลอดจนพิจารณาให้ความเห็น เบื้องต้นประกอบการพิจารณา โดยให้คำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมด้วย ข้อ ๖ การโอนทรัพย์สิน ในกรณีมีเหตุจำเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อาจกำหนดให้ผู้รับโอนทรัพย์สินนั้น จ่ายค่าตอบแทนในการรับโอนทรัพย์สินให้แก่ กรุงเทพมหานครด้วยก็ได้ ในกรณีที่จะต้องมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการโอนทรัพย์สินนั้น ให้ผู้รับ โอนทรัพย์สินเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการโอนทรัพย์สินนั้นเอง ข้อ ๗ กรุงเทพมหานครอาจโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ได้กรณีดังต่อไปนี้ (๑) วัด หรือศาสนสถาน โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา (๒) ชุมชน ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน ทั้งนี้ ให้โอนทรัพย์สินเฉพาะในส่วน ซึ่งนอกเหนือจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยว กับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนกำหนด (๓) สมาคมมูลนิธิหรือสถานสาธารณกุศล ที่ได้ปฏิบัติงานสอดคล้อง กับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร (๔) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่ได้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ของกรุงเทพมหานคร และเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร (๕) บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใดที่ได้ปฏิบัติงานสอดคล้อง กับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๘ กรุงเทพมหานครอาจโอนสังหาริมทรัพย์ ประเภทเครื่องแบบและหรือ ส่วนประกอบของเครื่องแบบให้ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครเฉพาะตำแหน่งงานที่ ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร (๓) กรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุม ชน (๔) บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลืองานในอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร และกรุงเทพมหานครมีส่วนเกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของ บุคคลนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด การโอนเครื่องแบบหรือส่วนประกอบของเครื่องแบบตาม (๑), (๒) และ (๔) ให้โอนได้ปีละไม่เกิน ๒ ชุด กรณีตาม (๓) ให้โอนได้ปีละ ๑ ชุด สำหรับแบบของเครื่องแบบและหรือส่วนประกอบของเครื่องแบบที่ไม่มีกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดไว้ให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๙ กรุงเทพมหานครอาจโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ได้กรณีดังต่อไปนี้ (๑) วัด หรือศาสนสถาน โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา (๒) ชุมชุน ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน (๓) สมาคม มูลนิธิ หรือสถานสาธารณกุศล ที่ได้ปฏิบัติงานสอด คล้องกับอำนาจหนัาที่ของกรุงเทพมหานครและเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร (๔) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐที่ได้ปฎิบัติงานสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ กรุงเทพมหานครและเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร (๕) คณะบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นใดที่ได้ปฎิบัติงานสอดคล้องกับ อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเป็นประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๐ ภายใต้ข้อบังคับตามข้อ ๙ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการทรัพย์สินตามข้อ บัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการทรัพย์สิน พิจารณาเสนอแนะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ความจำเป็น เหมาะสม ในการโอนทรัพย์สินนั้น (๒) กรณีมีเหตุจำเป็น อาจเสนอกำหนดค่าตอบแทน หลักเกณฑ์ วิธี การ เงื่อนไข หรือแบบสัญญาข้อตกลงการรับโอนเป็นการเฉพาะสำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ นั้นด้วยก็ได้ ข้อ ๑๑ ให้บรรดาหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การโอนทรัพย์สินที่ได้กำหนดไว้ ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ คงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ขึ้นใหม่ตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีๆไป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๓/พ๙ง/๖/๓๑ มกราคม ๒๕๔๓] ปรียนันท์/แก้ไข ๒๕ / ๔ / ๔๕
315840
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒ -------------- เพื่อให้การบริหาร การจัดระบบ การขอ การอนุญาตและการบริการข้อมูลข่าวสาร ของราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้ว ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร พนัก งานและลูกจ้างพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครรวมทั้งผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้ แก่กรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ถ้าไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มาตราที่ระบุถึงหมายถึง มาตรา ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ "ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล ใดๆ ทั้งที่เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการและข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าว สารของราชการ ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของกรุงเทพมหานคร "ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลข่าวสารของ ราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของ กรุงเทพมหานคร "ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคลตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่อยู่ในความในความครอบครองหรือควบคุมดู แลของกรุงเทพมหานคร "หน่วยงาน" หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงส่วนราชการระดับกองในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร "เจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่กรุงเทพมหานคร "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎ หมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อ ๗ ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของ ราชการ อาจแยกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๗.๑ ข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งต้องดำเนินการดังนี้ ๗.๑.๑ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ตาม มาตรา ๗ ๗.๑.๒ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ต้องจัดเตรียมไว้ในสถานที่ติดต่อให้ ประชาชนเช้าตรวจดูตามมาตรา ๙ โดยหน่วยงานต้องตรวจสอบว่าไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ ต้องห้ามมิให้เปิดเผยและต้องจัดในรูปที่ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ๗.๑.๓ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ประชาชนอาจขอได้ตามมาตรา ๑๑ โดย เป็นข้อมูลที่หน่วยงานไม่ต้องจัดไว้ในสถานที่ติดต่อแต่เมื่อประชาชนร้องขอ หน่วยงานต้องตรวจสอบคำ ขอว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่อาจจัดให้ได้หรือไม่ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ดังกล่าวหากมีกฎ หมายเฉพาะกำหนดให้มีการเปิดเผยหรือเผยแพร่ด้วยวิธีการอย่างอื่นให้หน่วยงานปฏิบัติตามกฎหมาย เฉพาะเรื่องนั้นด้วย ๗.๒ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า "กข. กทม." ประกอบด้วย รองปลัดกรุงเทพมหานครที่ปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นประธาน กรรมการ ที่ปรึกษากฎหมายกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ผู้ อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการ คลัง หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หัวหน้าสำนักเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการกอง ประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการกองกลาง สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการและหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป กองกลาง สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๙ กข. กทม. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ ๙.๑ กำกับ เร่งรัดและติดตามดูแล ให้หน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ และกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ๙.๒ เสนอนโยบายหรือมาตรการและหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการบริหาร การจัดระบบ การขอ การอนุญาตและการบริการข้อมูลข่าวสาร ๙.๓ ให้คำแนะนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจา นุเบกษารวมทั้งการจัดพิมพ์และเผยแพร่ ๙.๔ ให้คำแนะนำหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาประเภท ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยหรือข้อมูลข่าวสารที่เป็นความรับผิดลับของราชการ ๙.๕ ให้คำแนะนำหรือเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทข้อมูลข่าวสารที่ควรจัด เก็บไว้ที่กรุงเทพมหานคร หรือส่งไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานของรัฐ แห่งอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ๙.๖ ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับส่วน ราชการและเอกชน ๙.๗ ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับส่วน ราชการและเอกชน ๙.๘ ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็น ในกรณีที่มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการ ดำเนินการตามระเบียบนี้ ๙.๙ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดๆ ตามที่ กข. กทม. เห็นสมควร ๙.๑๐ เชิญบุคคลใดๆ มาสอบถามหรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร ๙.๑๑ ดำเนินการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครหรือปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมาย ข้อ ๑๐ การประชุม กข. กทม. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ กรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ในการประชุม กข. กทม. ถ้าประธานไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลง คะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ข้อ ๑๑ ให้นำความในข้อ ๑๐ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการและ คณะทำงาน ที่ กข. กทม. ตั้งขึ้นโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานต้องจัดทำและดำเนินการเพื่อลงพิมพ์ในราช กิจจานุเบกษา ตามมาตรา ๗ ๑๒.๑ โครงสร้างและการจัดองค์กรของหน่วยงานในการดำเนินงาน ๑๒.๒ สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงานของหน่วยงาน ๑๒.๓ สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วย งาน ๑๒.๔ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน ประกาศ นโยบายหรือการตี ความ ของกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานนั้น ทั้งนี้ ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่กรุงเทพมหานคร หน่วยงาน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายจัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปแก่เอกชน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับถือปฏิบัติ เป็นต้น หากยังไม่ได้มีการลงพิมพ์ในราชกิจจา นุเบกษาหน่วยงานจะนำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสาร นั้นตามความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร ๑๒.๕ ข้อมูลข่าวสารตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้หน่วยงานจัดส่งข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้ให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ตามจำนวนพอสมควรแล้ว และมีการลง พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้น หน่วยงานไม่ต้องดำเนินการลงพิมพ์ในราชกิจจา นุเบกษาอีก ให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร พิจารณาว่าข้อมูลข่าวสารใดตามข้อนี้ที่ สมควรขายหรือจำหน่ายจ่ายแจกแก่ส่วนราชการหรือแก่ประชาชน แล้วเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อ พิจารณาสั่งการ ข้อ ๑๓ ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูตามมาตรา ๙ ให้ หน่วยงานดำเนินการดังนี้ ๑๓.๑ จัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมดูแล จัดระบบ จัดเก็บและรับเรื่องจาก ประชาชนที่จะขอข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้หน่วยงานพิจารณาว่าสมควรจะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดู แลในเรื่องนี้โดยเฉพาะ หรือให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานอื่นให้มาทำหน้าที่ในส่วนนี้ด้วย โดยให้หน่วย งานพิจารณาดำเนินการโดยคำนึงถึงความประหยัดแต่ต้องมีประสิทธิภาพและต้องไม่ให้มีผลกระทบต่อ งานในหน้าที่ของหน่วยงานด้วย ๑๓.๒ สถานที่ติดต่อเพื่อให้ส่วนราชการและประชาชนเข้าตรวจดู ศึกษา ค้นคว้า และขอข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำ มีดังนี้ ๑๓.๒.๑ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ได้แก่ ฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป ๑๓.๒.๒ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ฝ่าย บริหารงานทั่วไป ๑๓.๒.๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ๑๓.๒.๔ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ กองกลาง ๑๓.๒.๕ สำนัก ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ๑๔.๒.๖ สำนักงานเขต ได้แก่ ฝ่ายปกครอง ๑๔.๒.๗ การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ กองกลาง ในสังกัด สำนักงานการพาณิชย์นั้น ๑๔.๒.๘ สถานที่ติดต่ออื่นตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด กรณีหน่วยงานเห็นสมควรจัดสถานที่อื่นเป็นสถานที่ติดต่อตามข้อนี้ให้เสนอ ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ ๑๓.๓ ให้หน่วยงานพิจารณาตรวจสอบว่า ข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้มีส่วนใดที่ต้อง ห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ หรือไม่ หากมีให้ลบหรือตัดทอนหรือทำด้วยประการ ใดในข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ในสถานที่ติดต่อดังกล่าวเพื่อไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น ๑๓.๔ ให้หัวหน่วยงานหรือข้าราชการกรุงเทพมหานครที่หัวหน้าหน่วยงานมอบ หมาย เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ขอโดยให้คิดค่าธรรมเนียมตามที่กรุงเทพ มหานครกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ ๒ ขึ้นไปที่หัวหน้า หน่วยงานมอบหมาย เป็นผู้ลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร ๑๓.๕ ให้หน่วยงานสำเนาข้อมูลข่าวสารนี้พร้อมรับรองความถูกต้องและดำเนินการ จัดทำบัญชีเอกสารตามแนบท้ายระเบียบส่งให้แก่กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และหรือหน่วย งานอื่นตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และสถานที่ติดต่ออื่นตามที่ปลัดกรุงเทพ มหานครกำหนด ทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกลางของกรุงเทพมหานครและเป็นสถานที่ติดต่อให้ บริการข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ของทุกหน่วยงาน รวมทั้งให้จัดบริการการค้นข้อมูลข่าวสารที่ลง พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาด้วย และให้กองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนัก นโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร จัดทำดัชนีและบัญชีข้อมูลข่าวสารของกรุงเทพมหานครทั้งหมด โดย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ว่ามีเรื่องใด และอาจค้นหาได้ที่หน่วยงานไหน นอกจากที่กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร บุคคลใดไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอ สำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องได้ โดยต้องยื่นคำร้องตามแนบท้ายระเบียบนี้และต้องเสียค่า ธรรมเนียมตามที่กรุงเทพมหานครกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ สำหรับคนต่างด้าวจะมี สิทธิแค่ไหนเพียงใดให้เป็นไปตากฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของ ราชการ ข้อ ๑๔ นอกจากข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามที่กำหนดในข้อ ๑๒ และข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูตามข้อ ๑๓ หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นและประชาชน อาจขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดตามมาตรา ๑๑ ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ในสถานที่ติดต่อตามข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอกรอกรายการในคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ ให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ๗ ซึ่งหัวหน้าหน่วยงาน มอบหมายเป็นผู้พิจารณาว่าสมควรจัดข้อมูลข่าวสารดังกล่าวให้ผู้ขอหรือไม่ โดย พิจารณาสั่งไม่เปิดเผยและแจ้งผู้ขอโดยเร็วพร้อมระบุเหตุผลรายละเอียดที่จำเป็น หากเป็นกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้อมูลข่าวสารมาตรา ๑๔ หรือ มาตรา ๑๕ (๒) ผู้ขอได้ขอจำนวนหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร (๓) ข้อมูลข่าวสารนั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ เนื่องจากต้องมีการดำเนินการ วิเคราะห์หรืออื่นใดตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม เว้นแต่ หน่วยงานเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผล ประโยชน์ทางการค้าและเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้นหรือเป็นเรื่องที่จะเป็น ประโยชน์แก่สาธารณะ ก็อาจจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ผู้ขอหรือเป็นกรณีที่หน่วยงานเห็นว่าเป็นการ สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือของกรุงเทพมหานครหรือการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมาย ก็อาจจัดหาข้อมูลให้ได้เช่นกัน ถ้าข้อมูลข่าวสารนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบชอบของหน่วยงาน ให้หน่วยงานตรวจ สอบว่าอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นใด กรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารในความ รับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งผู้ขอไปติดต่อที่หน่วยงานหรือกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพ มหานคร แต่กรณีที่เป็นข้อมูลข่าวสารในในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น ให้หน่วยงาน แจ้งผู้ขอไปติดต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นนั้น ถ้าหน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอ เป็นข้อมูล ข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นและได้ระบุห้ามการเปิดเผยไว้ตามระเบียบที่ออกตาม มาตรา ๑๖ ให้หน่วยงานส่งคำขอไปยังหน่วยงายของรัฐผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารนั้นเพื่อพิจารณามีคำสั่ง ต่อไป กรณีที่หน่วยงานเห็นว่าอาจจัดข้อมูลข่าวสารให้ผู้ขอได้ แต่ข้อมูลข่าวสารนั้นมีสภาพ ที่อาจบุสลายง่าย และเห็นสมควรขยายเวลาในการจัดหาข้อมูลให้ผู้ขอ ให้ทำหนังสือแจ้งผู้ขอโดยเร็ว ข้อ ๑๕ กรณีที่หน่วยงานเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการอาจกระทบ ถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้หัวหน้าหน่วยงานแจ้งให้ผู้นั้นเสนอคำคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด ซึ่ง ต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ข้อ ๑๖ ให้หน่วยงานตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความรับผิดชอบว่าข้อมูลข่าว สารประเภทใด ที่ไม่อาจเปิดเผยได้ตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ โดยหากเรื่องใดที่อาจทำเป็นบัญชี ไว้ได้ ให้จัดทำบัญชีเป็นเรื่องลับเก็บไว้ที่หน่วยงานโดยให้จัดส่งสำเนาบัญชีให้กองกลาง สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร หากหน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารใด แม้เป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๕ แต่สม ควรเปิดเผยตามมาตรา ๒๐ ให้หน่วยงานทำเรื่องเสนอ กข. กทม. พิจารณาก่อนเปิดเผย ข้อ ๑๗ ให้หน่วยงานจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ในมาตรา ๒๓ ดังนี้ ๑๗.๑ ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็น เพื่อการดำเนินงานของหน่วยงานหรือของกรุงเทพมหานครให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยก เลิกการจัดให้มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น ๑๗.๒ พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจาเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน กรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของบุคคลนั้น ๑๗.๓ จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอ เกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้ ๑๗.๓.๑ ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้ ๑๗.๓.๒ ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ๑๗.๓.๓ ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ ๑๗.๓.๔ วิธีการตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล ๑๗.๓.๕ วิธีการให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ๑๗.๓.๖ แหล่งที่มาของข้อมูล ๑๗.๔ ตรวจสอบแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องอยู่ เสมอ ๑๗.๕ จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม ความเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล ให้หน่วยงานแจ้งให้เจ้าของ ข้อมูลทราบล่วงหน้าหรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงประสงค์ที่จะนำข้อมูลมาใช้ลักษณะการใช้ข้อมูลตาม ปกติ และกรณีที่ขอข้อมูลนั้นเป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความสมัครใจหรือเป็นกรณีที่มีกฎหมาย บังคับ หน่วยงานต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ในกรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วน บุคคลไปยังที่ใด ซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้ เว้นแต่เป็นไปลักษณะการใช้ ข้อมูลตามปกติ ข้อ ๑๘ หน่วยงานจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแล ของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูล ที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามมาตรา ๒๔ ดังต่อไปนี้ ๑๘.๑ ต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของ หน่วยงานหรือของกรุงเทพมหานคร ๑๘.๒ เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูล ข่าวสารส่วนบุคคลนั้น ๑๘.๓ ต่อหน่วยงานหรือหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้วยการวางแผนหรือการสถิติ หรือสำมะโนต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น ๑๘.๔ เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่า เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด ๑๘.๕ ต่อหอจดหมายแหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตาม มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา ๑๘.๖ ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบ สวน หรือการฟ้องร้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม ๑๘.๗ เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล ๑๘.๘ ต่อศาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตาม กฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว ๑๘.๙ กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การเปิดข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ๑๘.๓ ๑๘.๔ ๑๘.๕ ๑๘.๖ ๑๘.๗ ๑๘.๘ และ ๑๘.๙ ให้มีการจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อ ๑๙ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนและเมื่อ บุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ ให้หน่วยงานที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น จัดให้บุคคลนั้น หรือผู้กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล นั้น เว้นแต่เป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา ๑๔ หรือข้อมูลข่าวสารที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิด เผยตามมาตรา ๑๕ บุคคลใดไม่ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอ สำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ เว้นแต่เป็นข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลนั้นที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือใน ขณะนั้น เว้นแต่เป็นกรณีตามที่กำหนดในข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานพิจารณาตรวจสอบว่า ข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้มีส่วนใดที่ต้องห้ามมิให้ เปิดเผยตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ หรือไม่ หากมี ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำด้วยประการใดใน ข้อมูลข่าวสารที่จัดไว้ในสถานที่ติดต่อดังกล่าวเพื่อไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น บุคคลที่ต้องการตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูล ข่าวสารส่วนบุคคล ให้ยื่นคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กรุงเทพ มหานครกำหนด การเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด ถ้ากรณีมีเหตุอันควรหน่วยงานจะ เปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ ข้อ ๒๐ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข กรณีการขอแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา ๒๕ ให้หน่วยงานทำเรื่อง เสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ เว้นแต่กรณีนั้นมีกฎหมายเฉพาะเรื่องกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการแก้ไขข้อมูลไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๒๑ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่กรุงเทพมหานครไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมี อายุครบกำหนดคือข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๔ เมื่อครบ ๗๕ ปี และข้อมูลข่าวสารของ ราชการตามมาตรา ๑๕ เมื่อครบ ๒๐ ปี นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มี่ข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงาน เสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรหรือหน่วย งานของรัฐแห่งอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อคัดเลือกไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า เว้น แต่ในกรณีดังตอไปนี้ (๑) หน่วยงานเห็นว่ายังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เอง เพื่อ ประโยชน์ในการใช้สอย โดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจด หมายเหตุแห่งชาติ กราศิลปากร (๒) หน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารของของราชการนั้น ยังไม่ควรเปิดเผยโดยมีคำ สั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะ กำหนดเกินคราวละห้าปีไม่ได้ ถ้าหน่วยงานเห็นว่าข้อมูลข่าวสารตามข้อนี้เรื่องใด ที่สมควรขยายเวลาในการจัด เก็บตาม (๑) และ (๒) ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการก่อนครบกำหนดที่จะต้องส่ง มอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร บทบัญญัติในข้อนี้ ไม่ใช่บังคับกับข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่คณะรัฐมนตรี ออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ ต้องเก็บรักษา ข้อ ๒๒ กรณีหน่วยงานยังไม่ได้จัดทำข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ และมาตรา ๙ ซึ่งกำหนดไว้ในระเบียบข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ (๑) กรณีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๗ ให้หน่วยงานจัดทำและจัดส่งให้กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ เพื่อให้กองกลาง สำนักงาน ปลัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดส่งไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป (๒) กรณีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ ให้หน่วยงานจัดทำพร้อมทั้งจัดสถานที่ สำหรับให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ให้แล้วเสร็จภายใน ๔๕ วันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ข้อ ๒๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกข้อ บังคับ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๔๒/พ๙๔ง/๒๔/๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒] อาภรณ์/พิมพ์ ๒/๑/๔๕
310675
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 --------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับ ข้อ 6 และข้อ 8 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2536 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงวางระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุน การพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้เพิ่มบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเงื่อนไข การเบิกจ่าย ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 ในลำดับที่ 1 ประเภทค่าใช้จ่ายที่ 1.4 และลำดับที่ 6 ประเภทค่าใช้จ่ายที่ 6.5 ตามที่ กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ 4 ให้ยกเลิกข้อความในบัญชีอัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน และเงื่อนไขการเบิกจ่าย ลำดับที่ 5 และลำดับที่ 7 ตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 และให้ใช้ข้อความที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย ระเบียบนี้แทน ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
310661
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนฌาปนสถานปลอดมลพิษและฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินกองทุนฌาปนสถานปลอดมลพิษและฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542 ------------- ด้วยกรุงเทพมหานครจะจัดให้มีเงินกองทุนฌาปนสถานปลอดมลพิษและฌาปน กิจสงเคราะห์ เพื่อให้การบริหารเงินกองทุนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหางาน ในหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 5 และข้อ 20 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วย เงินกองทุนฌาปนสถานปลอดมลพิษและฌาปนกิจสงเคราะห์ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินกองทุนฌาปนสถาน ปลอดมลพิษและฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้ ในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "หน่วยงาน" หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานครและส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ ภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจ หน้าที่ ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่า ระดับกอง "วัด" หมายความว่า วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เข้าร่วมโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้มีรายได้น้อย "ฌาปนกิจสงเคราะห์" หมายความว่า การช่วยเหลือในการเผาศพ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารเงินกองทุนฌาปนสถาน ปลอดมลพิษและฌาปนกิจสงเคราะห์ "เงินกองทุน" หมายความว่า เงินกองทุนฌาปนสถานปลอดมลพิษและฌาปนกิจสงเคราะห์ ข้อ 5 เงินกองทุนได้มาจาก (1) เงินที่มีผู้บริจาคให้เป็นเงินกองทุน (2) ดอกผลจากเงินกองทุน ข้อ 6 ให้มีคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นรองประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ สำนักอนามัย ผู้อำนวยการสำนักงาน งบประมาณ ผู้อำนวยการกองการเงิน ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง ผู้อำนวยการกองกฎหมายและ คดี ผู้อำนวยการกองอนามัยสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งจำนวน ไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการเลขานุการ สำนักอนามัยเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าฝ่าย การคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักอนามัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ 7 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดแนวทางการดำเนินงานการใช้จ่ายเงินกองทุน (2) บริหารและควบคุมการใช้เงินกองทุน (3) พิจารณาเสนอความเห็นในการใช้จ่ายเงินกองทุน (4) แต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคลเพื่อดำเนินการในเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้ตามความจำเป็น (5) เรียกให้หน่วยงานและผู้ขอยืนหรือขอใช้เงินกองทุนชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งเอกสาร และหลักฐาน ตลอดจนส่งผู้แทนหรือบุคคลมาชี้แจ้งได้ตามความจำเป็น (6) ดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ข้อ 8 เงินกองทุนให้นำไปใช้จ่ายได้ใน 2 ลักษณะ คือ (1) เป็นเงินยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับฌาปนสถานปลอดมลพิษ โดยวัดที่ขอยืมเงินต้อง มีคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ ดังนี้ ก. เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้มีรายได้น้อย ข. เป็นวัดที่มีสถิติการฌาปนกิจย้อนหลัง 1 ปี เฉลี่ยเดือนละ 10 ศพ ขึ้นไป (2) เป็นเงินสงเคราะห์ให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยวัดที่จะได้รับ การสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ ก. เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์สำหรับผู้มีรายได้น้อยและเป็นวัดที่มี ฌาปนสถานปลอดมลพิษ ข. เป็นวัดที่มีสถิติการฌาปนกิจย้อนหลัง 1 ปี เฉลี่ยเดือนละ 10 ศพขึ้นไป ค. เงินที่ขอรับการสนับสนุนต้องนำไปใช้เพื่อเป็นค่าเชื้อเพลิง ค่าหีบศพ ค่าอุปกรณ์ห่อศพ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเผาศพ ง. วัดจะต้องจัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน และงบประมาณเงินกองทุนหรือมูลนิธิเป็นประจำ ทุกเดือน จ. วัดจะต้องจัดทำประมาณการรายละเอียดการใช้จ่ายเงินสนับสนุนในการจัดฌาปนกิจ สงเคราะห์ ข้อ 9 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็น องค์ประชุม การลงมติให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออก เสียงชี้ขาด ข้อ 10 ให้กรุงเทพมหานครเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่ธนาคารที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบโดยใช้ชื่อบัญชีว่า "กองทุนฌาปนสถานปลอดมลพิษและ ฌาปนกิจสงเคราะห์กรุงเทพมหานคร" ข้อ 11 การขอยืมเงินกองทุนหรือขอใช้เงินกองทุน ให้เจ้าอาวาสวัดเสนอเรื่องพร้อมเหตุผล ความจำเป็นต่อผู้อำนวยการเขตท้องที่เพื่อพิจารณานำเสนอคณะกรรมการ การขอยืมเงินกองทุนต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) วัดจะต้องมีรูปแบบรายละเอียดฌาปนสถานปลอดมลพิษและการฌาปนกิจสงเคราะห์ พร้อมทั้งประมาณราคานำเสนอต่อกรรมการ โดยมีผู้รับรองรูปแบบรายการก่อสร้างและปรับปรุง ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพ (2) วัดต้องมีคณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดให้มีเตาเผาศพปลอดมลพิษ โดยมีหน้าที่ กำกับดูแลการใช้เงินยืมตามวัตถุประสงค์ การคืนเงินยืมตรงเวลาที่กำหนดและดำเนินการหา ผู้รับจ้างที่มีคุณสมบัติ ที่เหมาะสมมาดำเนินการ โดยคณะกรรมการควรประกอบด้วย เจ้าอาวาสวัด หรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานเขตท้องที่ ผู้จัดการมูลนิธิของวัดนั้น ๆ และผู้แทนสำนักอนามัย (3) วัดต้องนำเสนอโครงการและแผนงานการดำเนินการประกอบด้วย ชื่อโครงกร หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการดำเนินงาน งบประมาณ ระยะเวลาการคืนเงินยืม และชื่อผู้เสนอโครงการและแผนงาน ข้อ 12 อำนาจในการอนุมัติเงินกองทุนตามข้อ 8 ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ไม่เกิน 1 ล้านบาท (2) ปลัดกรุงเทพมหานคร เกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป ข้อ 13 การใช้คืนเงินยืมให้เป็นไปตามแผนการใช้คืนเงินยืมที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้สำนักงานเขตท้องที่เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับและติดตามผลการดำเนินการของวัด รวมทั้งมีหน้าที่เร่งรัดการส่งใช้คืนเงินยืมให้ครบภายในกำหนดนับแต่วันที่วัดได้รับเงินยืม กรณีที่วัดผิดนัดไม่ส่งใช้คืนเงินยืมภายในกำหนดเวลาตามวรรคแรก ให้คิดเบี้ยปรับ ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ ข้อ 14 ก่อนจ่ายเงินยืมหรือเงินสงเคราะห์ให้วัดทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการ กำหนด ข้อ 15 การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งเงินให้ดำเนินการตาม ข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 16 ให้สำนักการคลังมีหน้าที่จ่ายเงิน ฝากเงิน เก็บรักษาเงิน ทำบัญชีรับจ่าย รวมทั้ง สรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานในการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบ พร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้รายงานการรับการจ่ายเงิน ประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ 17 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ 18 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
310600
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ----------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่ อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 19 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กองทุน พัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพ มหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 ข้อ 10 ข้อ 11 และข้อ 12 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 8 ให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานครขึ้นในสำนักพัฒนาชุมชน เพื่อ ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานครเท่าที่ไม่ขัดกับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และให้สำนักพัฒนาชุมชนเปิดบัญชีเงินฝากกองทุนกับธนาคารของรัฐตามที่คณะกรรมการ เห็นสมควร และโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ 10 ให้จัดตั้งสำนักงานกองทุนขึ้นในสำนักพัฒนาชุมชน เพื่อดำเนินกิจการของกองทุน ข้อ 11 ให้สำนักพัฒนาชุมชนดำเนินการบริหารงานสำนักงานกองทุนตามคำแนะนำของ คณะกรรมการ ข้อ 12 ให้สำนักพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานเบิกจ่ายเงินกองทุนตามระเบียบของ ทางราชการตามแผนงานหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการเห็นชอบ และโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานครให้การอนุมัติ" ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
322469
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และอัตราค่าสอนภาคพิเศษนอกเวลาและค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลา สำหรับการสอนวิชาชีพ พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และอัตราค่าสอนภาคพิเศษนอกเวลา และค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลา สำหรับการสอนวิชาชีพ พ.ศ. 2542 -------------------- โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์และอัตราค่าสอน ภาคพิเศษนอกเวลาและค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลาสำหรับการสอนวิชาชีพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพ มหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 8 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายเงินค่าสอนภาคพิเศษนอกเวลาและค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลาสำหรับ การสอนวิชาชีพ พ.ศ. 2540 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์และอัตราค่าสอน ภาคพิเศษนอกเวลาและค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลาสำหรับการสอนวิชาชีพ พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "สถานศึกษา" หมายความว่า วิทยาลัย โรงเรียนฝึกอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพหรือสถานศึกษา ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่กรุงเทพมหานครจัดตั้ง ซึ่งจัดหลักสูตรการศึกษาอาชีพต่ำกว่าปริญญาตรี ข้อ 5 ผู้ที่จะได้รับเงินค่าสอนภาคพิเศษนอกเวลา ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) ข้าราชการและลูกจ้างของทางราชการ ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งประจำในสถานศึกษานั้น หรือบุคคลอื่นที่ได้รับเชิญให้สอนในฐานะครูหรืออาจารย์พิเศษให้ได้รับค่าสอนภาคพิเศษนอกเวลา เฉพาะหน่วยชั่วโมงที่สอน (2) ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครที่เป็นผู้สอนในเวลาราชการปกติซึ่งมีเวลา สอนในราชการไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 15 หน่วยชั่วโมง ให้ได้รับค่าสอนภาคพิเศษนอกเวลาเฉพาะ หน่วยชั่วโมงที่สอนนอกเวลาราชการปกติ (3) ผู้ดำรงตำแหน่งทางธุรการในสถานศึกษานั้นและไม่มีหน้าที่ในการสอนซึ่งได้รับคำสั่ง แต่งตั้งจากผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนให้สอนนอกเวลาราชการปกติ ข้อ 6 ผู้ที่จะได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลา ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ฝ่ายบริหาร ก ได้แก่ หัวหน้าสถานศึกษาและผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาในวันที่อยู่ ปฏิบัติงานจริง (2) ฝ่ายบริหาร ข ได้แก่ หัวหน้างาน หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้าคณะวิชาในวันที่อยู่ ปฏิบัติงานจริง จำนวนผู้ปฏิบัติงานจะมากหรือน้อยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา (3) ฝ่ายดำเนินงาน ได้แก่ ครู อาจารย์ หรือข้าราชการผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร ในวันที่อยู่ปฏิบัติงานจริง จำนวนผู้ปฏิบัติงานจะมากหรือน้อยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้า สถานศึกษา ข้อ 7 ให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้กำหนดอัตราการเบิกจ่ายค่าสอนภาคพิเศษ นอกเวลาและค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานภาคพิเศษนอกเวลาสำหรับการสอนวิชาชีพ ทั้งนี้ ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกจ่ายในสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับต่างๆ สังกัด กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ข้อ 8 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ 9 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
310626
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2542 -------------------- โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอก ที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสิ่งแวดล้อม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพ มหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 6 และข้อ 7 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การ จ่ายค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2536 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนบุคคลภายนอก ที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงานสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญ (2) อาสาสมัคร ข้อ 5 กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ได้แก่ (1) การให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม (2) การดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับงานด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การสำรวจข้อมูล การติดตามประมวลผล การประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (3) การเพิ่มพูนความรู้หรือประสบการณ์ด้วยการฝึกอบรม การสอน การสาธิต การฝึกงาน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หรือให้บริการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งแวดล้อม (4) การช่วยเหลือปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการป้องกันและ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ข้อ 6 บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้เชี่ยวชาญ จะต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปและเคยปฏิบัติงาน เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม หรือมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 5 ปี (2) อาสาสมัคร จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ หรือ ประสบการณ์ สามารถปฏิบัติงานตามข้อ 5 (2) - (4) แล้วแต่กรณีและต้องเป็นผู้มีความประพฤติ เรียบร้อย มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ข้อ 7 หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านงาน สิ่งแวดล้อม ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัคร ตามความ จำเป็นของแต่ละกิจกรรมหรือโครงการ ทั้งนี้ ให้มีผู้เชี่ยวชาญไม่ได้เกินกิจกรรมหรือโครงการละ 3 คน ข้อ 8 การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกตามระเบียบนี้ ให้กระทำได้เฉพาะบุคคล ภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการตามวันและเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริงโดยให้ได้รับค่าตอบแทน ดังนี้ (1) ค่าตอบแทนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ เบิกจ่ายได้คนละ ชั่วโมงละ 300 บาท และเบิกจ่าย ได้ไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมง (2) ค่าตอบแทนสำหรับอาสาสมัคร เบิกจ่ายได้คนละ ชั่วโมงละ 35 บาท โดยต้องช่วย ปฏิบัติราชการเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง เศษของชั่วโมงให้ตัดทิ้ง ทั้งนี้ ให้เบิกจ่าย ได้วันละไม่เกิน 200 บาท ข้อ 9 การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ ข้อ 10 เงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการสิ้นสุดการปฏิบัติงานให้เป็น ไปตามที่ได้รับอนุมัติ โดยคำนึงถึงความจำเป็นรีบด่วนและประโยชน์ของทางราชการ ข้อ 11 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ข้อ 12 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
309440
ระบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ---------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2536 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 20 และข้อ 21 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "หน่วยการคลัง" และ "หัวหน้าหน่วยการคลัง" ในข้อ 3 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2536 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน ""หน่วยการคลัง" หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงฝ่ายการคลัง สำนักงาน เลขนุการสำนัก ฝ่ายการคลัง กองกลางสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการกรม สภากรุงเทพมหานคร และฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย "หัวหน้าหน่วยการคลัง" หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึง หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนักหัวหน้าฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัด กรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงาน เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภา กรุงเทพมหานคร และหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการกรุงเทพมหานครด้วย" ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
309439
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 ---------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนา ชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 8 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2536 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงวางระเบียบ ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้ เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542" ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในหมวด 3 ข้อ 9 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนา ชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ 9 ให้คณะกรรมการประกอบด้วย 1. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการสั่งราชการสำนักพัฒนาชุมชน 2. รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการสั่งราชการสำนักพัฒนาชุมชน 3. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการ 4. รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมาย 5. ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณ เป็นกรรมการสำนักปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน 6. กรรมการผู้จัดการสำนักงาน เป็นกรรมการพัฒนาชุมชนเมืองหรือผู้แทน 7. ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง เป็นประธานสำนักการคลังหรือผู้แทน 8. ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี เป็นกรรมการสำนักปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน 9. ผู้อำนวยการกองส่งเสริมอาชีพ เป็นกรรมการสำนักพัฒนาชุมชน 10. ผู้อำนวยการกองวิชาการ เป็นกรรมการและแผนงานสำนักพัฒนาชุมชน 11. ผู้อำนวยการกองการพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและสำนักพัฒนาชุมชน เลขานุการ 12. เลขานุการสำนักพัฒนาชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 13. หัวหน้าฝ่ายกองทุนชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยกองการพัฒนาชุมชน เลขานุการ" ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2542 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
321733
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอกเพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2540
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอก เพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอก เพื่อศึกษาในหลักสูตรวิชาชีพที่ขาดแคลน พ.ศ. ๒๕๓๕ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาแก่งบุคคลภายนอกเพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอก เพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ให้หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอก เพื่อศึกษาในหลักสูตรรวิชาชีพที่ขาดแคลน กรุงเทพมหานครอาจให้เงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอก เพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยของรัฐตามจำนวนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยของรัฐจัดสรรให้ ข้อ ๖ ให้หน่วยงานที่ประสงค์จะให้กรุงเทพมหานครให้เงินอุดหนุนการศึกษาแก่บุคคลภายนอก เพื่อศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ ทำเรื่องเสนอสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครโดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผล ความจำเป็น สาขาวิชา จำนวนคน และงบประมาณ เพื่อเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ หมวด ๒ คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับเงินอุดหนุนการศึกษาและผู้ค้ำประกัน ข้อ ๗ ผู้สมัครขอรับเงินอุดหนุนการศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีอายุไม่เกิน ๓๐ ปีบริบูรณ์ในวันที่สมัคร (๒) เป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหรือการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยของรัฐ ในสาขาวิชาที่กรุงเทพมหานครประสงค์จะให้เงินอุดหนุนการศึกษา (๓) ไม่มีภาระผูกพันที่จะต้องทำงานในหน่วยราชการ หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ หรือกับบุคคลอื่นใดเมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์แล้ว (๔) ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งอยู่ระหว่างรับทุนอุดหนุนการศึกษาอื่นจากกรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของผู้สมัครขอรับเงินอุดหนุนการศึกษาตามระเบียบนี้ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการระดับ ๕ ขึ้นไป หรือเทียบเท่า (๒) เป็นข้าราชการทหาร หรือข้าราชการตำรวจตั้งแต่ระดับพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรี ขึ้นไป (๓) บิดา หรือมารดาของผู้สมัคร (๔) พี่หรือน้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันกับผู้สมัคร ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันที่เป็นบิดาหรือมารดาได้ (๕) บุคคลอื่นนอกจาก (๑) – (๔) ที่มีฐานะเชื่อถือได้ โดยต้องนำหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่าสามเท่าของเงินอุดหนุนการศึกษาทั้งหมดมาแสดง ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกันตาม (๑) (๒) (๔) และ (๕) ต้องมีอายุไม่เกิน ๕๐ ปีบริบูรณ์ หมวด ๓ หลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกบุคคลเพื่อรับเงินอุดหนุนการศึกษา ข้อ ๙ ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครประสานงานกับมหาวิทยาลัยของรัฐเพื่อให้ผู้ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนการศึกษายื่นใบสมัครก่อนวันเปิดภาคเรียนภาคแรกของปีการศึกษา แบบใบสมัครดังกล่าวให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดทำโดยให้มีรายละเอียดที่จำเป็นเกี่ยวกับผู้สมัครและผู้ค้ำประกัน ข้อ ๑๐ เมื่อมีการยื่นใบสมัครแล้ว ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครและผู้ค้ำประกัน หากมีผู้ยื่นใบสมัครขอรับเงินอุดหนุนการศึกษาเกินกว่าจำนวนที่กรุงเทพมหานครกำหนด ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครร่วมกับผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับเงินอุดหนุนการศึกษา เมื่อคัดเลือกได้บุคคลที่สมควรได้รับเงินอุดหนุนการศึกษาแล้ว ให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการให้มีการทำสัญญาการรับเงินอุดหนุนการศึกษากับผู้ได้รับการคัดเลือก โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับเงินอุดหนุนการศึกษาที่จะต้องจ่ายให้แก่มหาวิทยาลัยและผู้ได้รับการคัดเลือกให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งทราบ เพื่อพิจารณาอนุมัติให้เงินอุดหนุนการศึกษาและลงนามในสัญญาการรับเงินอุดหนุนการศึกษาแทนกรุงเทพมหานคร สัญญาการรับเงินอุดหนุนการศึกษาและสัญญาค้ำประกันให้ทำตามแบบท้ายระเบียบนี้ หมวด ๔ วงเงินอุดหนุนการศึกษาและงื่อนไขที่ผู้ได้รับเงินอุดหนุนการศึกษาต้องปฏิบัติ ข้อ ๑๑ ให้หน่วยงานที่ขอเงินอุดหนุนการศึกษาตามระเบียบนี้ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำคำของบประมาณ และโอนงบประมาณดังกล่าวให้สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเบิกจ่ายให้แก่มหาวิทยาลัยและผู้ได้รับเงินอุดหนุนการศึกษา และรวมทั้งตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติตนและผลการศึกษาของผู้ได้รับเงินอุดหนุนการศึกษาโดยใกล้ชิดต่อไป ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับเงินอุดหนุนการศึกษาตามระเบียบนี้ จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายโดยการเหมาจ่ายให้มหาวิทยาลัย และผู้ได้รับเงินอุดหนุนการศึกษาเป็นรายบุคคลตามจำนวนเงินที่มหาวิทยาลัยกำหนด หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อัมภิญา/พิมพ์ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๒ ง/หน้า ๔๐/๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
321724
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ ----------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๕ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพ มหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพ มหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการสาธารณสุข ห้วงเวลา พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน "ข้อ ๕ ให้กำหนดค่าตอบแทนแพทย์ห้วงเวลา ดังนี้ (๑) แพทย์ทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วัน ๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๒) แพทย์เฉพาะโรค แพทย์เฉพาะทาง ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๓๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๓) แพทย์นอกเวลา ให้จ่ายค่าตอบแทนผลัดละ ๘๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงาน ผลัดละ ๘ ชั่วโมง (๔) แพทย์ที่ปรึกษา ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑,๐๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติ งานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง แพทย์ที่ปรึกษาที่มีความชำนาญพิเศษซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า ๕๘ ปีแต่ไม่เกิน ๗๐ ปี และเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ ๘ หรือระดับ ๙ หรือระดับ ๑๐ มาแล้วให้จ่ายค่าตอบ แทนชั่วโมงละ ๕๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง ข้อ ๖ ให้กำหนดค่าตอบแทนทันตแพทย์ห้วงเวลา ดังนี้ (๑) ทันตแพทย์ทั่วไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติ งานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๒) ทันตแพทย์เฉพาะทาง ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๓๕๐ บาท โดยให้ ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง ข้อ ๗ เภสัชกรที่ปรึกษาห้วงเวลา ให้จ่ายค่าตอบแทนวันละ ๗๕๐ บาท โดยให้ ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ข้อ ๘ ให้กำหนดค่าตอบแทนบุคลากรทางการสาธารณสุขห้วงเวลา ดังนี้ (๑) นายสัตวแพทย์ ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๒) สัตวแพทย์ ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๓) เทคนิคการแพทย์ที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๔) เทคนิคการแพทย์ที่มีคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๕) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีคุณวุฒิตั้งแต่ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ขึ้นไป ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๖) นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๗) พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการพยาบาล หรือพยาบาลเวชปฏิบัติ ให้จ่ายค่า ตอบแทนชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๘) พยาบาลเทคนิค ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติ งานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๙) ผู้ช่วยพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่พยาบาล ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๑๐) ทันตานามัย ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๑๑) เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๕๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๑๒) ผู้ช่วยทันตแพทย์ ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติ งานสัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง (๑๓) ผู้ช่วยเภสัชกร ให้จ่ายค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๑๐๐ บาท โดยให้ปฏิบัติงาน สัปดาห์ละไม่เกิน ๕ วันๆ ละไม่เกิน ๕ ชั่วโมง" ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๔๐/๑๘ง/๓๔/๔ มีนาคม ๒๕๔๐] จารุวรรณ/แก้ไข ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕ A+B (C)
304800
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2540
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2540 __________ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และข้อ 18 (2)แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพ มหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึง กำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการ รับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2540 ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุ เบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า หน่วยการคลังและหัวหน้า หน่วยการคลัง ในข้อ 4 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บ รักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2540 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน หน่วยงานคลัง หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการ รับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บ รักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก ฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต ฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วย หัวหน้าหน่วยงานคลัง หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการ เก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการสำนัก หัวหน้า ฝ่ายการคลัง กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงาน เขต หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และหัวหน้า ฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพ มหานคร ด้วย ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (2) ของข้อ 32 แห่งระเบียบกรุงเทพ มหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และ การตรวจเงิน พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2532 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (2) กรณีเบิกจ่ายเงินกับหน่วยการคลัง รวมทั้งเงินนอกงบประมาณ การตรวจฎีกาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยการคลัง และการอนุมัติฎีกาเป็น อำนาจหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยการคลังตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการ สำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการ เขต แล้วแต่กรณี ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 35 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 35 ฎีกาเบิกเงินหรือเอกสารประกอบฎีกาใดไม่ถูกต้องในสาระ สำคัญ ให้ผู้ตรวจฎีกาทักท้วงเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้เบิกได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในสามวัน ทำการนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการทักท้วงนั้น หากไม่สามารถแก้ไขให้ทันตามกำหนด ดังกล่าวได้ และเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร ผู้มีอำนาจอนุมัติฎีกาตามข้อ 32 อาจ พิจารณาให้ขยายระยะเวลาการแก้ไขฎีกาดังกล่าวตามที่เห็นสมควรได้ ในกรณีที่ฎีกามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและมิใช่เป็นสาระสำคัญหรือมิใช่ เป็นจำนวนเงินที่ขอเบิก ผู้ตรวจฎีกาหรือผู้อนุมัติอาจแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งให้ผู้เบิก ทราบหรือแจ้งให้ผู้เบิกเป็นผู้แก้ไขก็ได้ ข้อ 6 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 43 แห่งระเบียบกรุงเทพ มหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน (1) การจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ให้อออกเช็ค สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน และขีดฆ่าคำว่า หรือตามคำสั่ง หรือ หรือผู้ถือ ออก และจะขีดคร่อมหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่การจ่ายเงินนั้นเบิกจากบัญชี ออมทรัพย์หรือบัญชีอื่นใดซึ่งไม่อาจสั่งจ่ายเป็นเช็คได้ หัวหน้าหน่วยการคลังอาจ พิจารณาให้จ่ายเป็นเงินสดก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวน 20,000บาท ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 56 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 56 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินยืม (1) เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการ สภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขต ครั้งหนึ่งไม่เกิน 10,000 บาท (2) ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน 20,000 บาท (3) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน 50,000 บาท (4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 76 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 76 จำนวนเงินที่เก็บรักษาไว้ในหน่วยการคลังต้องไม่เกิน 50,000 บาทและหน่วยการคลังของสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขต ไม่เกิน 20,000 บาท เว้นแต่ในกรณีจำเป็นให้ปลัดกรุงเทพมหานครอนุมัติขยายวงเงินที่เก็บรักษาในหน่วย การคลังนั้นได้ ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 78 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การ เบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2540 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 78 การถอนเงินฝากตามข้อ 77 ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรง ตำแหน่งต่อไปนี้ลงชื่อถอนเงินร่วมกัน แล้วแต่กรณี (1) ปลัดกรุงเทพมหานครกับผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง (2) ปลัดกรุงเทพมหานครกับผู้อำนวยการกองกลาง สำนัก ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการสำนักกับเลขานุการสำนักหรือผู้อำนวยการกอง คลัง แล้วแต่กรณี (3) หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพ มหานครกับเลขานุการสำนัก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (4) เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับหัวหน้า สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (5) เลขานุการสภากรุงเทพมหานครกับหัวหน้าฝ่ายบริหาร งานทั่วไป (6) ผู้อำนวยการเขตกับหัวหน้าฝ่ายการคลัง สำนักงานเขต เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ กรณีมีเหตุจำเป็น หรือ มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงาน จนเป็นเหตุ ให้ไม่อาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้งผู้ ลงชื่อถอนเงินร่วมกันแทนตำแหน่งดังกล่าวได้ ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 80 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการ ตรวจเงิน พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 80 ให้ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนัก งานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขต แล้วแต่กรณี แต่ง ตั้งกรรมการรับผิดชอบรักษาเงินไว้ ณ หน่วยการคลังไม่น้อยกว่าสามคน และใน จำนวนนี้ต้องมีผู้อำนวยการกองการเงินหรือหัวหน้าหน่วยการคลัง แล้วแต่กรณี รวม อยู่ด้วย ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2540 พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
685225
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538 (ฉบับ Update ณ วันที่ 25/01/2539)
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ ด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยที่เป็นการสมควรวางระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนประกอบด้วย (๑) ที่ปรึกษา (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน (๓) กรรมการชุมชน หมวด ๒ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ข้อ ๖ กิจการที่บุคคลภายนอกมาช่วยปฏิบัติราชการ ได้แก่ (๑) การให้คำปรึกษาในกิจการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนโดยที่ปรึกษา (๒) การสำรวจข้อมูลชุมชนโดยอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (๓) การเข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาชุมชนที่สำนักงานเขต หรือสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดการประชุมโดยกรรมการชุมชน หมวด ๓ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ข้อ ๗ บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา จะต้องเป็นผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน หรือเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนไม่น้อยกว่า ๕ ปี (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน จะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยโดยคณะกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชนรับรองไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และมีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนนั้นๆ (๓) กรรมการชุมชนจะต้องเป็นกรรมการชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน ข้อ ๘ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ ให้มีที่ปรึกษาได้ไม่เกินกิจกรรมหรือโครงการละ ๔ คน (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทั้งนี้ในชุมชนหนึ่งให้มีอาสาสมัครพัฒนาชุมชนกิจกรรมหรือโครงการละไม่เกิน ๑๒ คน โดยคำนวณจากประชากร ๕๐ ครอบครัวต่ออาสาสมัครพัฒนาชุมชน ๑ คน เศษของ ๕๐ ถ้าเกิน ๒๕ ให้เพิ่มอาสาสมัครพัฒนาชุมชนได้อีก ๑ คน (๓) กรรมการชุมชน จะต้องเป็นประธานกรรมการและเลขานุการตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน หรือกรรมการชุมชนทีได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการหรือเลขานุการที่เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาชุมชน หมวด ๔ หลักเกณฑ์และวิธีการในการจ่ายค่าตอบแทน ข้อ ๙ การจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกตามระเบียบนี้ ให้กระทำได้เฉพาะแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการตามวันและเวลาที่ได้ปฏิบัติงานจริง อัตราค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชนให้เป็นไปตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ การเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ หมวด ๕ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงาน และการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ข้อ ๑๑ การเข้าปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานและการสิ้นสุดการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของเรื่องกำหนด และอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษา ให้ปฏิบัติงานวันละไม่เกิน ๓ ชั่งโมง (๒) อาสาสมัครพัฒนาชุมชน ให้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าวันละ๘ ชั่วโมง (๓) กรรมการชุมชน ให้เข้าร่วมประชุมตามกำหนดที่สำนักงานเขตหรือสำนักพัฒนาชุมชนเป็นผู้จัดการประชุม ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณีๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทรายจ่าย รายการ อัตรา (บาท) หมายเหตุ ค่าตอบแทน ๑. ที่ปรึกษาเบิกจ่ายได้คนละ ชั่วโมงละ ๓๐๐ ๒[๒]. อาสาสมัครพัฒนาชุมชนเบิกจ่ายได้คนละ วันละ ตามอัตราแรงงานขั้นต่ำที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกำหนด ๓. กรรมการชุมชนเบิกจ่ายได้ คนละ ครั้งละ ๒๐๐ สำนักงานพัฒนาชุมชนและสำนักงานเขตแล้วแต่กรณี เบิกจ่ายได้เดือนละไม่เกิน ๑ ครั้ง ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘[๓] วชิระ/จัดทำ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๔๕/๒๑ มีนาคม ๒๕๓๘ [๒] บัญชีค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน รายการที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดย ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการด้านการพัฒนาชุมชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๘ ง/หน้า ๓๒/๒๕ มกราคม ๒๕๓๙
304801
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓)[๑] พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพหมานคร เรื่อง วิธีการ งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๐” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ อำนาจในการอนุมัติก่อหนี้ผูกพันและการอนุมัติจ่ายเงินบำรุง (๑) หัวหน้าสถานบริการสาธารณสุขที่มีฐานะต่ำกว่ากอง ยกเว้นศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข หรือหัวหน้าสถานบริการสาธารณุสข ที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน การก่อนหนี้ การจ่ายเงิน และการพัสดุ ให้นำ กฎ ข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้นมาใช้บังคับโดยอนุโลม” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงสถานบริการสาธารณุสข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ รายจ่ายต่อไปนี้ ห้ามสถานบริการสาธารณสุขจ่ายจากเงินบำรุง (๑) เงินยืม เว้นแต่เป็นการยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในการปฏิบัติราชการโดยตรง หรือเป็นการยืมเพื่อกิจการที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักอนามัย (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่นๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ (๔) รายจ่ายค่าครุภัณฑ์ ซึ่งมีราคาเกินกว่าหน่วยละ ๕๐,๐๐๐ บาท (๕) รายจ่ายค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่มีราคาเกินกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท (๖) รายจ่ายตามที่ระเบียบกรุงเทพมหานครกำหนดห้ามไว้” ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อัมภิญา/พิมพ์ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๓ ง/หน้า ๖๐/๒๔ เมษายน ๒๕๔๐
316764
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพในกิจการของสถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2539
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ในกิจการของสถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ -------------------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกรุงเทมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๐ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้ จ่ายเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพในกิจการของสถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การใช้ จ่ายเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ในกิจการของสถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ------------------------ ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "เงินทุน" หมายความว่า เงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่คณะกรรมการ จัดสรรให้กรุงเทพมหานคร "สำนักงานเงินทุน" หมายความว่า สำนักงานเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกัน สุขภาพกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดตั้งขึ้น เพื่อบริหารเงินทุนหมุนเวียนบัตร ประกันสุขภาพ "สำนักงานเงินทุนสาขาย่อย" หมายความว่า สำนักงานเงินทุนหมุนเวียนบัตร ประกันสุขภาพของสถานพยาบาล "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนบัตร ประกันสุขภาพตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๘ "คณะอนุกรรมการ" หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียน บัตรประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง "ธนาคาร" หมายความว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธนาคารรัฐวิสาหกิจแห่งอื่นที่คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพกำหนด "การประกันสุขภาพ" หมายความว่า การที่ประชาชนได้รับประกันว่าจะได้รับ บริการทางการแพทย์และอนามัยอันจำเป็นที่มีประสิทธิภาพ ได้คุณภาพและมาตรฐานโดยไม่ต้อง เสียเงินค่าบริการ "บัตรประกันสุขภาพ" หมายความว่า บัตรที่ออกให้แก่ผู้มีประกันตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบัตรประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๘ "การบริการทางการแพทย์" หมายความว่า การบริการทางการแพทย์และการ อนามัยพื้นฐานอันจำเป็นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การวินิจฉัยโรค การรักษา พยาบาล การป้องกันความพิการและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการอื่นเพื่อสุขภาพที่สถานพยาบาล จัดขึ้น "สถานพยาบาล" หมายความว่า โรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขใน สังกัดกรุงเทพมหานคร "ผู้มีประกัน" หมายความว่า ผู้มีชื่อในบัตรประกันสุขภาพตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบัตรประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๘ ข้อ ๕ การบัญชี ให้ปฏิบัติตามระบบบัญชีเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ตามที่สำนักงานประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๖ การดำเนินการเกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบัตรประกันสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๘ ข้อ ๗ การใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบคณะ กรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ หมวด ๒ การรับเงินทุน ------------------------ ข้อ ๘ การรับเงินทุน ให้สำนักงานเงินกองทุนออกใบเสร็จรับเงินตามระเบียบ ของทางราชการทุกครั้ง เว้นแต่รายรับซึ่งตามลักษณะไม่อาจออกใบเสร็จรับเงินได้ก็ให้ใช้หลักฐาน การรับเงินแทน ใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้แบบที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการบริหารเงินทุน หมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน พ.ศ. ๒๕๓๘ หมวด ๓ การจ่ายเงินทุน ------------------------ ข้อ ๙ เงินทุนให้จ่ายได้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการบริการ ทางการแพทย์ในการประกันสุขภาพ ดังต่อไปนี้ (๑) จ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการให้แก่ผู้มีประกันจำแนกเป็น ประเภทรายจ่ายดังนี้ ก ค่าบริการด้านการอนามัยขั้นพื้นฐาน ข ค่ารักษาพยาบาลกรณีปกติภายในเครือข่ายบริการ ค ค่ารักษาพยาบาลกรณีส่งต่อหรือฉุกเฉิน หรือจำเป็นต้องรักษานอกเครือข่าย ง ค่ารักษาพยาบาลข้ามเขตกรณีย้ายถิ่นที่อยู่ชั่วคราว และใช้บัตรข้ามเขต จ เงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลกรณีพิเศษ (๒) จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการของสำนักงานเงินทุน ก ค่าจ้างชั่วคราว ข ค่าจ้างประจำ ค ค่าเบี้ยประชุม ฆ ค่าตอบแทนส่งเสริมการจำหน่ายบัตร ง ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จ ค่าวัสดุ ฉ ค่าใช้สอย ช ค่าสาธารณูปโภค ซ ค่าครุภัณฑ์ ฌ ค่าที่ดิน - สิ่งปลูกสร้าง ข้อ ๑๐ การจ่ายเงินทุนเป็นค่าบริการทางการแพทย์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตรา วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการ ฯ กำหนด ข้อ ๑๑ การจ่ายเงินค่าตอบแทนส่งเสริมการจำหน่ายบัตร ให้จ่ายได้ในอัตราไม่ เกินบัตรละ ๒๕ บาท ข้อ ๑๒ การจ่ายเงินค่าตอบแทน ให้เป็นไปตามอัตรามติคณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ ๑๓ เงินค่าใช้จ่ายของสำนักงานเงินทุน ถ้ามีเหลือให้นำไปรวมจัดสรรเป็น ค่าใช้จ่ายของสำนักงานเงินทุนในปีถัดไป หมวด ๔ การเก็บรักษาเงินทุน ------------------------- ข้อ ๑๔ บัญชีเงินรายรับ ให้มีบัญชีเดียวชื่อบัญชี "เงินทุนหมุนเวียนบัตรประกัน สุขภาพ รายรับ" และเรียกชื่อย่อว่า "เงินทุนบัญชีที่ ๑" เพื่อรับเงินรายรับของเงินทุนทั้งหมด บัญชีเงินรายจ่ายเพื่อค่าบริการทางการแพทย์ ใช้ชื่อบัญชีว่า "เงินทุนหมุนเวียน บัตรประกันสุขภาพรายจ่ายค่าบริการ (ชื่อสำนักงาน)" และเรียกชื่อย่อว่า "เงินทุนบัญชีที่ ๒ (ชื่อสำนักงาน)" เพื่อรับเงินที่ได้รับจัดสรรเป็นค่าบริการทางการแพทย์และเพื่อจ่ายให้หน่วยบริการ ต่อไป สำหรับการจ่ายเงินจากบัญชีเงินทุนรายจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้สถาน พยาบาลให้ใช้วิธีโอนเข้าบัญชีเงินฝากบำรุงงานประกันสุขภาพของแต่ละสถานพยาบาลที่เปิดไว้ใน ธนาคาร โดยบัญชีแยกต่างหากจากระบบบัญชีเงินบำรุงปกติเว้นแต่กรณีจำเป็นจะใช้วิธีอื่นเป็นครั้ง คราวก็ได้ บัญชีเงินรายจ่ายเพื่อค่าบริหารจัดการ ใช้ชื่อบัญชีว่า "เงินทุนหมุนเวียนบัตร ประกันสุขภาพรายจ่ายค่าบริหาร (ชื่อสำนักงานหรือสถานบริการ)" และเรียกชื่อย่อว่า "เงินทุน บัญชีที่ ๓ (ชื่อสำนักงานหรือสถานบริการ)" เพื่อรับเงินที่ได้รับจัดสรรเป็นค่าบริหารจัดการและจ่าย ให้ผู้มีสิทธิรับเงินต่อไป ข้อ ๑๕เงินทุนให้ฝากธนาคารเป็นบัญชีประเภทเงินฝากประจำและเงินฝากออม ทรัพย์ แต่ถ้าสำนักงานเงินทุนมีกรณีต้องจ่ายเป็นเช็ค ให้เปิดบัญชีกระแสรายวันควบคู่ไปด้วยก็ได้ ข้อ ๑๖ การสั่งจ่ายเงินออกจากบัญชีเงินฝาก ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการ สำนักงานเงินทุน หรือผู้ที่ผู้อำนวยการสำนักงานเงินทุนมอบหมาย ข้อ ๑๗ เงินรายรับให้นำฝากในบัญชีเงินทุน บัญชีที่ ๑ ภายใน ๕ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงิน ข้อ ๑๘ การจ่ายเงินจากบัญชีเงินทุนรายจ่ายค่าบริหารจัดการให้แก่ผู้มีสิทธิรับ เงิน โดยปกติให้จ่ายเป็นเช็ค หรือใบถอนเงินออมทรัพย์แบบไม่ใช้สมุดของธนาคารเว้นแต่กรณี จำเป็นจะเบิกเป็นเงินสดมาจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินก็ได้ แต่วงเงินต้องไม่เกินห้าพันบาท ข้อ ๑๙ ให้สำนักงานเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครมี เงินทุนค่าบริหารจัดการเป็นเงินสดทดรองจ่ายคงเหลือสิ้นวัน ณ สำนักงานภายในวงเงินไม่เกินสอง หมื่นบาท สำหรับสำนักงานเงินทุนสาขาย่อยเขตปฏิบัติการ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเงิน ทุนสาขากำหนดวงเงินสดทดรองจ่ายตามความจำเป็น แต่ไม่เกินวงเงินตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่มิได้ กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๙/๕๗ง/๒๗/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙] ธิดาวรรณ / แก้ไข ๒๐ ส.ค. ๒๕๔๕ B+A(C)
325576
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๖ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติราชการ พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยพระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๑๖ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “โรงเรียน” หมายความว่า โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครด้วย “ผู้บริหารโรงเรียน” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียน “พระภิกษุช่วยสอน” หมายความว่า พระภิกษุที่ได้รับการอาราธนาให้เข้าช่วยสอนในโรงเรียน และได้รับนิตยภัตจากงบประมาณของกรุงเทพมหานคร “นิตยภัต” หมายความว่า ค่าตอบแทนที่พระภิกษุช่วยสอนได้รับจากกรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการพระภิกษุช่วยสอน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตที่โรงเรียนตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตที่ผู้อำนวยการเขตมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ หัวหน้าฝ่ายปกครอง หัวหน้าฝ่ายการคลัง ประธานฝ่ายพัฒนาการเรียนการสอน ศูนย์วิชาการเขตและผู้บริหารโรงเรียนที่มีพระภิกษุช่วยสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตนั้น ๆ เป็นกรรมการ ศึกษาธิการเขต เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ช่วยศึกษาธิการเขต เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และให้มีผู้แทนฝ่ายสงฆ์ซึ่งคณะกรรมการพระภิกษุช่วยสอนเห็นชอบเป็นที่ปรึกษาอีก ๒ รูป โดยให้มีการประชุมไม่น้อยกว่าปีละ ๑ ครั้ง คณะกรรมการพระภิกษุช่วยสอน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) คัดเลือกพระภิกษุช่วยสอนแนะนำเสนอผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (๒) เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ติดตามประเมินผลการสอนของพระภิกษุช่วยสอนและรายงานสำนักการศึกษา หรือสำนักพัฒนาชุมชน แล้วแต่กรณี ทุกสิ้นปีการศึกษา (๓) เสนอผู้อำนวยการสำนักการศึกษาพิจารณากรณีให้พระภิกษุช่วยสอนพ้นจากหน้าที่ ข้อ ๖ การอาราธนาพระภิกษุช่วยสอนตามระเบียบนี้ให้เป็นหน้าที่ของสำนักการศึกษา ข้อ ๗ พระภิกษุช่วยสอนต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ๗.๑ มีสัญชาติไทย ๗.๒ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นผู้มีบุคลิกภาพอันน่ารังเกียจหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ๗.๓ เป็นพระภิกษุที่สังกัดอยู่ในวัดซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่หรือวัดใกล้เคียงกับโรงเรียนนั้น โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสให้ทำหน้าที่เป็นพระภิกษุช่วยสอนได้ ๗.๔ เป็นพระภิกษุที่ผ่านการปฐมนิเทศจากสำนักการศึกษา ตามเนื้อหาวิชาที่สำนักการศึกษากำหนด ข้อ ๘ พระภิกษุช่วยสอนพ้นจากหน้าที่ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้ ๘.๑ ลาออก ๘.๒ ขาดคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใดตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ ๘.๓ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษามีความเห็นให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ ๙ พระภิกษุช่วยสอนในโรงเรียนให้ได้รับนิตยภัตในอัตราชั่วโมงละ ๘๐ บาท แต่ไม่เกินเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๐ วิชาตามหลักสูตรที่กำหนดให้พระภิกษุช่วยสอนทำการสอนได้คือ จริยศึกษา ภาษาไทย และวิชาอื่น ๆ ที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ธิดาวรรณ/แก้ไข ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนที่ ๖๓ ง/หน้า ๓๕/๘ สิงหาคม ๒๕๓๘
316848
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจดทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำของเอกชน พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจดทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำของเอกชน พ.ศ. ๒๕๓๘ ------------------------- โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจดทะเบียน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำของเอกชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจดทะเบียน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำเอกชน พ.ศ. ๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวดที่ ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ "ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ" หมายความว่า ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ของเอกชนที่มีอุปกรณ์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และสารเคมี โดยมีผู้ควบคุมการวิเคราะห์และ เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ "น้ำเสีย" หมายความว่า ของเหลวซึ่งผ่านการใช้แล้วทิ้งที่มีกากและไม่มี กาก "น้ำทิ้ง" หมายความว่า น้ำจากอาคารที่มีคุณภาพเหมาะสมตาม มาตรฐานที่กรุงเทพมหานครกำหนดให้ระบายลงแหล่งระบายน้ำได้ "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการพิจารณาการจดทะเบียน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ที่แต่งตั้งขึ้นตามข้อ ๙ ในระเบียบนี้ ข้อ ๖ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ที่อาจได้รับการจดทะเบียนตามระเบียบนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นนิติบุคคลที่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (๒) มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า ๒ ล้านบาท (๓) ต้องมีผู้ควบคุมการวิเคราะห์ซึ่งมีคุณวุฒิอย่างน้อยวิทยาศาสตร์ บัณฑิตสาขาชีววิทยา จุลชีววิทยา ชีวเคมี เคมี เคมีเทคนิค สุขาภิบาล หรือสิ่งแวดล้อมหรือ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี สุขาภิบาล หรือสิ่งแวดล้อมและต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ซึ่งมีคุณสมบัติอย่างน้อยวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเคมี เคมีเทคนิค ชีววิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยา สุขาภิบาล หรือวิทยาศาสตร์ทั่วไป หรือคุณวุฒิครุศาสตร์บัณฑิตสาขา วิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ หรือชีววิทยา หรือคุณวุฒิอนุปริญญา สาขาเคมีปฏิบัติ สำหรับผู้มีคุณวุฒิ นอกเหนือจากที่ระบุดังกล่าว ให้อยู่ในดุลพินิจของกรุงเทพมหานครที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นราย ๆ ไป (๔) ต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้วิเคราะห์คุณภาพน้ำในองค์ประกอบ ไม่ น้อยกว่ามาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการอนุญาตและการควบคุม การระบายน้ำทิ้งตามวิธีการวิเคราะห์ที่ระบุในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม หรือวิธีการอื่น ๆ ที่กรุงเทพมหานครเห็นชอบ (๕) น้ำจากอาคารของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ซึ่งจะระบายลงแหล่งระบาย น้ำได้ต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ตลอดระยะเวลาในระหว่างอายุการจดทะเบียน ตามระเบียบนี้ หมวดที่ ๒ การจดทะเบียนและการต่ออายุ ข้อ ๗ นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ ๖ และไม่อยู่ในระหว่างถูกลงโทษตามข้อ ๑๖ ซึ่งมีความประสงค์จะขอจดทะเบียนตามระเบียบ นี้ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ว.๑ ที่แนบท้ายระเบียบนี้ พร้อมด้วยเอกสารตามที่กำหนดไว้ในแบบ ดังกล่าวต่อกองควบคุมคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำในวัน และเวลาราชการ กรณีการยื่นขอต่ออายุการจดทะเบียนให้ยื่นคำขอตามแบบ ว.๒ ข้อ ๘ เมื่อกองควบคุมคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ ได้รับคำร้องดังกล่าว แล้ว ให้ตรวจสอบว่าผู้ยื่นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ หรือไม่ รวมทั้งรายละเอียด อื่นที่จำเป็น และนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการตามข้อ ๙ เพื่อพิจารณา ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาการจดทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ไม่เกิน ๗ คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำเป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งไม่เกิน ๕ คน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการกองควบคุม คุณภาพน้ำ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งแต่งตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ ๒ ปี ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (๑) พิจารณากลั่นกรองคุณสมบัติของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้ยื่นคำร้อง ของจดทะเบียนหรือขอต่ออายุการจดทะเบียนตามระเบียบนี้ที่สมควรได้รับอนุญาตให้จดทะเบียน หรือสมควรให้ต่ออายุการจดทะเบียนและเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณา (๒) พิจารณากลั่นกรองห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนตาม ระเบียบนี้แล้ว แต่เลขานุการคณะกรรมการได้เสนอว่าสมควรถูกตักเตือนหรือควรถูกเพิกถอน และ ลงประวัติเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ และเสนอต่อ ปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณา (๓) พิจารณาเสนอแนะการปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือการแก้ไขระเบียบนี้ต่อ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๑ เมื่อปลัดกรุงเทพมหานครได้รับการเสนอชื่อห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ที่สมควรได้รับอนุญาตให้จดทะเบียน หรือได้รับการต่ออายุการจดทะเบียนจากคณะกรรมการแล้ว และเห็นสมควรก็อาจสั่งให้จดทะเบียนหรือสั่งต่ออายุการจดทะเบียนแก่ห้องปฏิบัติการิวเคราะห์น้ำ ดังกล่าว การจดทะเบียนและการต่ออายุการจดทะเบียนให้ใช้ตามแบบ ว.๓ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนแล้ว ภายหลังมีการ เปลี่ยนแปลงผู้ควบคุมการวิเคราะห์หรือเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ต้องแจ้งให้ กรุงเทพมหานครทราบภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ข้อ ๑๒ การจดทะเบียนให้มีอายุครั้งละ ๒ ปี นับแต่วันที่กรุงเทพมหานครออก หนังสือจดทะเบียนห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนตามระเบียบนี้แล้ว และมี ความประสงค์จะต่ออายุการจดทะเบียนให้ยื่นคำขอต่ออายุตามแบบ ว.๒ ก่อนวันที่หนังสือจด ทะเบียนจะหมดอายุ เมื่อยื่นคำขอต่ออายุดังกล่าว ให้ถือว่าการจดทะเบียนยังมีผลอยู่ ทั้งนี้จนกว่า ปลัดกรุงเทพมหานครจะสั่งไม่ต่ออายุการจดทะเบียน ข้อ ๑๓ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการต่ออายุการจดทะเบียนให้เป็นไป ตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ หมวดที่ ๓ การควบคุมห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ ข้อ ๑๔ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนตามระเบียบนี้จะ ต้องเป็นผู้เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อการวิเคราะห์เอง ข้อ ๑๕ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนตามระเบียบนี้แล้ว ต้องยินยอมให้กรุงเทพมหานครหรือบุคคลที่กรุงเทพมหานครมอบหมายตรวจสอบความถูกต้อง ของผลการวิเคราะห์ รวมทั้งคุณสมบัติของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำได้ตลอดเวลา ข้อ ๑๖ หากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนตามระเบียบนี้ ขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งในข้อ ๖ หรือมีการรายงานเท็จ หรือเจ้าหน้าที่ของห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์น้ำนั้นขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครหรือบุคคลที่กรุงเทพมหานคร มอบหมาย กรุงเทพมหานครอาจพิจารณาสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน และจะถูกห้ามมิให้ได้รับการ จดทะเบียนเป็นเวลา ๒ ปี นับแต่วันที่ออกคำสั่ง ในกรณีที่เห็นสมควร กรุงเทพมหานครอาจสั่งตักเตือนก่อนได้ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือมิได้กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๓๘/พ๑๖ง/๒๐/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๘] พุทธชาด/พิมพ์/แก้ไข ๒๘/๐๘/๔๕ B+A (C)
316869
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘ ------------------------- โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ สนับสนุนการพัฒนาชุมชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับ ข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ อัตราค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนได้แก่ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย ในการจัดงานพิธีการที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัด ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้สถานที่ ค่าพาหนะและค่าขนส่ง ค่าตอบแทน อาสาสมัคร ค่าจ้างแรงงาน ค่าของรางวัล ของขวัญ และ ของที่ระลึก ค่าอาหารแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ค่าเวชภัณฑ์ ค่าบัตรผ่านประตูและ ค่าสมัครเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน และเงื่อนไขการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามที่ กำหนดไว้ในบัญชีท้ายระเบียบนี้ ข้อ ๕ ในกรณีมีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นหรือที่ไม่ได้กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ ๖ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๓๘/พ๒๕ง/๓๕/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘] ธิดาวรรณ / แก้ไข ๒๗ ส.ค. ๒๕๔๕ B+A(C)
316791
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ ----------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการ งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินบำรุงวิทยาลัย แพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงวิทยาลัย แพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "วิทยาลัย" หมายความว่า วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร "เงินบำรุงวิทยาลัย" หมายความว่า (๑) เงินรายรับจากการบริหารการศึกษาของวิทยาลัย (๒) เงินที่ผู้บริจาคหรืออุทิศให้วิทยาลัยโดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ (๓) เงินที่วิทยาลัยได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (๔) ดอกผลของเงินบำรุงวิทยาลัย (๕) เงินที่เป็นส่วนแบ่งจากเงินบำรุงสำนักการแพทย์และจากส่วนราชการของ สำนักการแพทย์ ข้อ ๕ เงินบำรุงวิทยาลัย ให้วิทยาลัยนำไปใช้จ่ายได้เฉพาะในกิจการที่เกี่ยวกับ การบริหาร การศึกษาของวิทยาลัยเท่านั้น และให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่จะพึงจ่ายจากเงิน งบประมาณได้ แต่เงินงบประมาณไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ หรือมีเหตุจำเป็นรีบด่วนไม่สามารถเบิก จ่ายเงินงบประมาณได้ทันหรือมีเหตุขัดข้องประการอื่น ข้อ ๖ รายจ่ายต่อไปนี้ห้ามจ่ายจากเงินบำรุงวิทยาลัย (๑) รายจ่ายเป็นเงินยืม เว้นแต่การยืมเพื่อใช้ทดรองจ่ายในกิจการของวิทยาลัย (๒) รายจ่ายในลักษณะบำเหน็จ บำนาญ เงินสวัสดิการ และเงินสงเคราะห์อื่น ๆ (๓) รายจ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ข้อ ๗ เงินบำรุงวิทยาลัย ให้วิทยาลัยเก็บรักษาไว้ได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ส่วน ที่เกินให้นำฝากธนาคารตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดไว้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การตรวจเงิน การ พัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือ คำสั่งที่กรุงเทพมหานครใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้วิทยาลัยจัดทำบัญชีการรับ การจ่ายเงินบำรุงวิทยาลัย รวมทั้งสรรพ บัญชี หรือระเบียบอื่นใดเท่าที่จำเป็น และบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินบำรุงวิทยาลัย จะต้องรวบรวมเก็บรักษาไว้ให้ครบถ้วน พร้อมที่จะให้ทำการตรวจสอบได้ และให้รายงานการรับ การจ่าย และยอดเงินคงเหลือให้ปลัดกรุงเทพมหานครทราบทุกหกเดือน และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ให้รายงานการรับ การจ่ายเงินประจำปี และยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือกรณีที่ระเบียบนี้มิได้ กำหนดไว้ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๘/พ๒๒ง/๒๔/๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๘] จารุวรรณ/แก้ไข ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ A+B (C)
316993
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๔ ข้อ ๑๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานปุ๋ย พ.ศ. ๒๕๓๑ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานตลาด พ.ศ. ๒๕๓๔ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ส่วนที่ ๑ นิยาม ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างที่กำหนดไว้ในระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ - รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ “การซื้อ” หมายความว่า การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้งทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง “การจ้าง” ให้หมายความรวมถึงการจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจ้างออกแบบและก่อสร้าง และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การรับขนในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “การจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึงการจ้างออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “การจ้างออกแบบและควบคุมงาน” หมายความว่า การจ้างบริการจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจบริการด้านงานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “ผู้สั่งซื้อ” หมายความว่า ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ซื้อ “ผู้สั่งจ้าง” หมายความว่า ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้จ้าง “เงินงบประมาณ” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และเงินซึ่งหน่วยงานได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ไม่ต้องส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือตามกฎหมายและระเบียบอื่นกำหนดให้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับของกรุงเทพมหานคร แต่ไม่รวมถึงเงินกู้และเงินช่วยเหลือตามระเบียบนี้ “เงินกู้” หมายความว่า เงินกู้ตามกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ และตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร “เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและที่มิใช่ระดับรัฐบาล มูลนิธิหรือเอกชนต่างประเทศ “อาคาร” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารที่ทำการ โรงพยาบาล โรงเรียน สนามกีฬา สถานีนำร่อง หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและรวมตลอดถึงสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยสำหรับอาคารนั้น ๆ เช่น เสาธง รั้ว ท่อระบายน้ำ หอถังน้ำ ถนน ประปา และสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ ลิฟต์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น “พัสดุที่ผลิตในประเทศ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว โดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย “กิจการของคนไทย” หมายความว่า กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสัญชาติไทย “ที่ปรึกษา” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจหรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านศึกษา สำรวจ ออกแบบและควบคุมงานและการวิจัย แต่ไม่รวมถึงการให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ “ที่ปรึกษาไทย” หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง “หน่วยงาน” หมายความว่า หน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่งตั้งแต่ระดับกองขึ้นไป และให้รวมถึงสถานธนานุบาลและตลาดของสำนักงานตลาดด้วย “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครด้วย “หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตามการแบ่งส่วนการบริหารของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่ละแห่ง ระดับกองหรือผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจาก ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ “เจ้าหน้าที่พัสดุ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุหรือผู้ได้รับแต่งตั้งหรือได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้ “ผู้อำนวยการโครงการ” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำนินการเกี่ยวกับการพัสดุตามโครงการเงินกู้หรือโครงการเงินช่วยเหลือ ส่วนที่ ๒ การใช้บังคับและการมอบอำนาจ ข้อ ๖ ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่หน่วยงาน ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้และเงินช่วยเหลือ ข้อ ๗ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดการเสียหายขึ้น ผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพื่อความคล่องตัวในการจัดหา ให้ผู้มีอำนาจตามระเบียบนี้มอบอำนาจในการสั่งการและดำเนินการจัดหาให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไปเป็นลำดับ การทำนิติกรรมตามระเบียบนี้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมอบอำนาจให้แก่ปลัดกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการคลัง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติราชการแทนก็ได้ สำหรับโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้จะแต่งตั้งข้าราชการคนหนึ่งทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการ และมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินการตามระเบียบนี้ให้เป็นการเฉพาะก็ได้ ให้ผู้มอบส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้หน่วยการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบทุกครั้ง ส่วนที่ ๓ บทกำหนดโทษ ข้อ ๘ ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ดำเนินการตามระเบียบนี้ หรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือกระทำการโดยมีเจตนาทุจริต หรือกระทำการโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่ส่อให้มีการสมยอมกันในการเสนอราคา ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยตามระเบียบเฉพาะของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือตามกฎหมายที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครนำมาบังคับอยู่ในขณะนั้นโดยอนุโลม ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ถ้าการกระทำมีเจตนาทุจริต หรือเป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหายอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการลงโทษอย่างต่ำเลิกจ้าง (๒) ถ้าการกระทำเป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหายแต่ไม่ร้ายแรงให้ลงโทษอย่างต่ำตัดเงินเดือนหรือตัดค่าจ้าง (๓) ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การลงโทษทางวินัยตาม (๑) หรือ (๒) ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำหลุดพ้นจากความรับผิดในทางแพ่งหรือความรับผิดทางอาญา (ถ้ามี) ส่วนที่ ๔ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ ข้อ ๙ ให้มีคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี ผู้อำนวยการกองงบประมาณ ผู้อำนวยการกองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ทั้ง ๓ แห่งเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ กับให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน ข้อ ๑๐ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบ (๒) พิจารณาการขออนุมัติยกเว้น หรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ (๓) พิจารณาคำร้องเรียนเกี่ยวกับการที่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครไม่ปฏิบัติตามระเบียบ (๔) เสนอแนะการแก้ไขปรับปรุงระเบียบต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๕) กำหนดแบบหรือตัวอย่าง รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงและกำหนดแนวทางวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ (๖) เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการพิจารณาและแจ้งเวียนชื่อผู้ทิ้งงานและการสั่งเปลี่ยนแปลงเพิกถอนผู้ทิ้งงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๗) กำหนดอัตราร้อยละของราคาตามข้อ ๑๔ (๘) และ (๙) (๘) กำหนดประเภทหรือชนิดของพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศตามข้อ ๕๙ (๙) เชิญพนักงานและลูกจ้างของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือพนักงานและลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบถามหรือให้ข้อเท็จจริงรวมทั้งเรียกเอกสารจากหน่วยงาน (๑๐) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๑๑) พิจารณาดำเนินการตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย หมวด ๒ การจัดหา ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ข้อ ๑๑ หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้หน่วยงานรีบดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบนี้ ในส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว ข้อ ๑๒ การได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการนอกเหนือจากที่ระเบียบนี้ได้กำหนดไว้และไม่มีระเบียบของทางราชการหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือปฏิบัติโดยอนุโลมตามวิธีการจัดหาลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่กำหนดไว้ในหมวดนี้ ข้อ ๑๓ กรณีที่มีการจัดทำเอง ให้ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์แต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเองนั้น และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงานโดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่หน่วยงานที่กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยเฉพาะอยู่แล้ว ส่วนที่ ๒ การซื้อการจ้าง ข้อ ๑๔ ให้หน่วยงานใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทยตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) ห้ามกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศ หรือกิจการของคนไทยสามารถเข้าแข่งขันในการเสนอราคากับการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำมีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือเพื่อความสะดวกจะระบุหมายเลขมาตรฐานแทนก็ได้ และหากมีผู้ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ประเภท ชนิด หรือขนาดเดียวกันตั้งแต่สามรายขึ้นไปให้ระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำในประเทศไทยซึ่งแสดงเครื่องหมายมาตรฐานเท่านั้น (๓) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำ ยังไม่มีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแต่มีผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว ให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างให้สอดคล้องกับรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะตามที่ระบุไว้ในคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น (๔) ในกรณีพัสดุที่ต้องการซื้อหรือจ้างทำมีประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วแต่มีผู้ได้รับใบอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานไม่ถึงสามราย และหรือมีผู้ได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้วให้กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างตาม (๒) หรือ (๓) และระบุความต้องการเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทำในประเทศไทย (๕) การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ให้ถือตามที่ปรากฏในบัญชีคู่มือผู้ซื้อหรือใบแทรกคู่มือผู้ซื้อที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้นถึงเดือนก่อนหน้าเดือนที่จะประกาศซื้อหรือจ้าง (๖) ในกรณีมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะหรือรายการในการก่อสร้างแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ตาม (๒) (๓) หรือ (๔) หรือได้ดำเนินการตาม (๒) (๓) หรือ (๔) แล้วแต่ไม่สามารถซื้อหรือจ้างได้ หรือมีหลักฐานปรากฏชัดว่า หากซื้อหรือจ้างแล้วจะเกิดความเสียหายแก่ราชการ ให้แจ้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเมื่อได้รับหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรมตอบรับทราบหรือไม่ทักท้วงแล้ว ให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างต่อไปได้ หรือไม่รับพิจารณารายนั้น แล้วแต่กรณี (๗) การซื้อหรือการจ้างตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ถ้ามีผู้เสนอราคาเสนอผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการขอรับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือการขอจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมโดยแนบใบรับมาพร้อมกับใบเสนอราคา หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมภายใน ๑๐ วันทำการ นับจากวันถัดจากวันเสนอราคา แต่ทั้งนี้ จะต้องก่อนการพิจารณาตัดสินราคาของคณะกรรมการให้ถือเสมือนเป็นผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานหรือได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี (๘) การซื้อหรือการจ้างตาม (๓) หรือ (๔) นอกจากการจ้างก่อสร้างในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอราคาสูงกว่า ราคาต่ำสุดของผู้เข้าแข่งขันราคารายอื่นไม่เกินร้อยละสิบห้า ให้ต่อรองราคาของผู้เสนอผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้กับกระทรวงอุตสาหกรรมรายที่เสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละสิบ หรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๙) การซื้อและการจ้างนอกจากกรณีที่กล่าวใน (๒) (๓) และ (๔) แต่ไม่รวมถึงการจ้างก่อสร้างให้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสนอราคาระบุแหล่งกำเนิดหรือประเทศที่ผลิตด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือกิจการของคนไทย เสนอราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มีแหล่งกำเนิดหรือไม่ได้ผลิตในประเทศไทยหรือกิจการที่ไม่ใช่ของคนไทยไม่เกินร้อยละห้า ให้ต่อรองราคาของผู้เสนอราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดหรือผลิตในประเทศไทยหรือกิจการของคนไทยรายที่เสนอถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดซึ่งมีคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ และเสนอราคาต่ำสุด หากต่อรองราคาแล้วราคาที่ลดลงสูงกว่าราคาต่ำสุดไม่เกินร้อยละสามหรืออัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดตามข้อ ๑๐ (๗) ให้ซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๑๐) การเปรียบเทียบราคาให้พิจารณาราคาที่อยู่ในฐานเดียวกัน โดยให้พิจารณาราคารวมภาษี ราคาแยกภาษี หรือราคายกเว้นภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่ได้ประกาศให้ผู้เสนอราคาทราบ แล้วแต่กรณี (๑๑) ราคาที่ซื้อหรือจ้าง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับวิธีซื้อหรือจ้างแต่ละวิธีเว้นแต่จะเข้าหลักเกณฑ์ตาม (๘) หรือ (๙) การซื้อหรือการจ้าง ที่ดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือซึ่งไม่สามารถเจรจากับแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งได้ ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครส่งเสริมพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย หรือกิจการของคนไทย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่พัสดุใด ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครมีอำนาจยกเว้นการส่งเสริมพัสดุประเภทหรือชนิดดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น วิธีซื้อหรือวิธีจ้าง ข้อ ๑๕ การซื้อหรือการจ้างกระทำได้ ๕ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา (๒) วิธีสอบราคา (๓) วิธีประกวดราคา (๔) วิธีพิเศษ (๕) วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๑๖ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๘ การซื้อหรือการจ้างโดวิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๙ การซื้อหรือการจ้างตามข้อ ๑๖ และข้อ ๑๗ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นสมควรจะสั่งให้กระทำโดยวิธีที่กำหนดไว้สำหรับวงเงินที่สูงกว่าก็ได้ การแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเวินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีหนึ่งวิธีใด หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนไปจะกระทำมิได้ การซื้อหรือการจ้างซึ่งดำเนินการด้วยเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างจะสั่งให้กระทำตามวงเงินที่สัญญาเงินกู้หรือสัญญาเงินช่วยเหลือกำหนดก็ได้ ข้อ ๒๐ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (๒) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๓) เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ (๔) เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึง อะไหล่ รถประจำตำแหน่ง (๕) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง (๖) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๑ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษ (๒) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อมเครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น (๓) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๔) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ข้อ ๒๒ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างจากการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง (๒) มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้าง และกรณีนี้ให้รวมถึงหน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย รายงานขอซื้อหรือของจ้าง ข้อ ๒๓ ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างตามข้อ ๒๔ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (๓) ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ (๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น (๕) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา ในกรณีเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๒) หรือข้อ ๒๑ (๓) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นจะทำรายงานตามวรรคหนึ่งเฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ ข้อ ๒๔ ก่อนดำเนินการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้สั่งซื้อตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ (๒) รายละเอียดของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องการซื้อรวมทั้งเนื้อที่และท้องที่ที่ต้องการ (๓) ราคาประเมินของทางราชการในท้องที่นั้น (๔) ราคาซื้อขายของที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงบริเวณที่จะซื้อครั้งหลังสุดประมาณ ๓ ราย (๕) วงเงินที่จะซื้อ โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าว ให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อในครั้งนั้น (๖) วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อ การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา การซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างให้ติดต่อกับเจ้าของโดยตรง ข้อ ๒๕ เมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอตามข้อ ๒๓ หรือข้อ ๒๔ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการตามวิธีการซื้อหรือการจ้างนั้นต่อไปได้ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้าง ข้อ ๒๖ หน่วยงานใดประสงค์จะคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้างให้กระทำได้เฉพาะการซื้อหรือการจ้างที่มีลักษณะหรือประเภทเดียวกันซึ่งต้องดำเนินการเป็นประจำและจำเป็นต้องจำกัดเฉพาะผู้ที่มีความสามารถ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ประกาศให้ผู้ที่สนใจทราบโดยเปิดเผย พร้อมทั้งส่งให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครทราบด้วย ในการดำเนินการคัดเลือก ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องจัดทำรายงานเสนอขออนุมัติผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยเอกสารการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น โดยให้มีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น (๒) ประเภท วงเงิน และรายละเอียดของพัสดุหรืองานที่จะต้องซื้อหรือจ้าง (๓) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งเป็นเกณฑ์ความต้องการขั้นต่ำ เช่น ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและโรงงาน ฐานะการเงิน เป็นต้น (๔) หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ข้อ ๒๗ เมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างสั่งการอนุมัติในข้อ ๒๖ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวนเพื่อคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น ประกาศเชิญชวน อย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดเฉพาะของที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้าง (๒) ประสบการณ์และผลงานของผู้เสนอที่มีลักษณะและประเภทเดียวกัน (๓) สมรรถภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เครื่องมือและโรงงาน (๔) ฐานะการเงิน (๕) หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาคัดเลือก (๖) สถานที่ในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารคุณสมบัติเบื้องต้น ในประกาศครั้งแรก ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลารับข้อเสนอ ปิดการรับข้อเสนอและเปิดซองข้อเสนอ พร้อมทั้งประกาศโฆษณาและแจ้งลักษณะโดยย่อของพัสดุที่ต้องการซื้อหรืองานที่ต้องการจ้างและกำหนดเวลาให้พอเพียงเพื่อเปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่สนใจจัดเตรียมข้อเสนอ ทั้งนี้ จะต้องกระทำก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน โดยประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและลงประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเห็นสมควรจะลงประกาศเชิญชวนไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือโฆษณาด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ สำหรับการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการประกวดราคานานาชาติให้ประกาศโฆษณาก่อนวันรับซองข้อเสนอไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินกู้หรือเงินช่วยเหลืออีกด้วย ข้อ ๒๘ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยให้แต่งตั้งจากพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๕ และจะต้องมีผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ๑ คน คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นมีหน้าที่พิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และภายในระยะเวลาที่ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างกำหนด ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อหรือจ้างต่อไป ข้อ ๒๙ หลังจากที่ได้มีการประกาศรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อการจ้างแล้วให้หน่วยงานเปิดโอกาสใหผู้ที่ประสงค์ขอเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกยื่นคำขอได้ตลอดเวลา โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ตามข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ ให้หน่วยงานมีการพิจารณาทบทวนบัญชีรายชื่อผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อการจ้างได้ประกาศไปแล้วอย่างน้อยทุกรอบ ๓ ปี กรรมการ ข้อ ๓๐ ในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (๒) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (๓) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (๔) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (๕) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (๖) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (๗) คณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น ข้อ ๓๑ คณะกรรมการตามข้อ ๓๐ แต่ละคณะ ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๓ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่พนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ในกรณีเมื่อถึงกำหนดเวลาการเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ ๓๘ (๑) หรือข้อ ๔๕ แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างแต่งตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการทุกคณะ เว้นแต่คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการซื้อหรือการจ้างในวงเงินไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท จะแต่งตั้งพนักงานของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้ ข้อ ๓๒ ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์ กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ ๓๓ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือข้าราชการตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของข้าราชการผู้นั้นแล้วในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้ ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาหรือเอกชนเป็นผู้ควบคุมงานแทนข้าราชการตามวรรคหนึ่งให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ ในส่วนที่ ๓ หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ในการซื้อ หรือจ้างทำพัสดุที่มีเทคนิคพิเศษ และจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาเป็นการเฉพาะ ให้อยู่ในดุลพินิจของปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในกรณีที่มีวงเงินเกินอำนาจปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา มาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในขั้นตอนหนึ่งขั้นตอนใดได้ตามความจำเป็น โดยให้ดำเนินการจ้างโดยถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ในส่วนที่ ๓ วิธีตกลงราคา ข้อ ๓๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อและตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง ตามข้อ ๒๕ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคา ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง และเมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม วิธีสอบราคา ข้อ ๓๖ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารสอบราคาโดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการซื้อและจำนวนที่ต้องการหรือแบบรูปรายการละเอียดและปริมาณงานที่ต้องการจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องดูสถานที่ หรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมประกอบตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดสถานที่ วัน เวลาที่นัดหมายไว้ด้วย (๒) คุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคาซึ่งจะต้องมีอาชีพขายหรือรับจ้างตาม (๑) โดยให้ผู้เสนอราคาแสดงหลักฐานดังกล่าวด้วย (๓) ในกรณีจำเป็นให้ระบุผู้เข้าเสนอราคาส่งตัวอย่าง แคตตาล็อกหรือแบบรูปและรายการละเอียดไปพร้อมกับใบเสนอราคา (๔) ถ้าจำเป็นต้องมีการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจทดลองและเหลือไว้สำหรับการทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่าทางราชการไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทดสอบตัวอย่างนั้น (๕) สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปรายการละเอียด ในกรณีที่มีการขายให้ระบุราคาขายไว้ด้วย (๖) ข้อกำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคาเสนอราคารวมทั้งสิ้น และราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการ (ถ้าทำได้) พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ์โดยชัดเจนว่า จะพิจารณาราคารวมหรือราคาต่อหน่วยหรือต่อรายการในกรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาให้พิจารณาราคารวม (๗) แบบใบเสนอราคา โดยกำหนดไว้ด้วยว่าในการเสนอราคาให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลขและต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกัน ให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ ในการสอบราคาจ้างก่อสร้าง ให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้างตามความเหมาะสมของลักษณะและประเภทของงาน เพื่อให้ผู้เข้าเสนอราคากรอกปริมาณวัสดุและราคาด้วย (๘) กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็นต่อทางราชการ และมีเงื่อนไขด้วยว่าซองเสนอราคาที่ยื่นต่อทางราชการและลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้ (๙) กำหนดสถานที่ส่งมอบพัสดุและวันส่งมอบโดยประมาณ (สำหรับการซื้อ) หรือกำหนดวันที่จะเริ่มทำงานและวันแล้วเสร็จโดยประมาณ (สำหรับการจ้าง) (๑๐) กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา (๑๑) ข้อกำหนดให้ผู้เสนอราคาผนึกซองราคาให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อทางราชการจ่าหน้าถึงประธานกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อการจ้างครั้งนั้นและส่งถึงหน่วยงาน ก่อนวันเปิดซองโดยให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมจัดทำบัญชีรายการเอกสาร เสนอไปพร้อมกับซองราคาด้วย สำหรับกรณีที่จะให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ ให้กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ให้ชัดเจนด้วย (๑๒) กำหนดเงื่อนไขในการสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับทางกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทิ้งงาน (๑๓) ข้อกำหนดว่าผู้เข้าเสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำสัญญาจะต้องวางหลักประกันสัญญาตามชนิดและอัตราในข้อ ๑๓๑ และข้อ ๑๓๒ (๑๔) ร่างสัญญา รวมทั้งการแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไข การจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) และอัตราค่าปรับ (๑๕) ข้อสงวนสิทธิ์ว่า กรุงเทพมหานครจะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงานของทางราชการ และกรุงเทพมหานครทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะงดซื้อหรือจ้าง หรือเลือกซื้อหรือจ้างโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคา และลงโทษผู้เสนอราคาเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทำไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา ข้อ ๓๗ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคา ให้ดำเนินการดังนี้ (๑) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน สำหรับการสอบราคาในประเทศหรือไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน สำหรับการสอบราคานานาชาติให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานนั้น (๒) ในการยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นและส่งถึงหน่วยงานผู้ดำเนินการสอบราคาก่อนวันเปิดซองสอบราคาโดยยื่นโดยตรงต่อหน่วยงาน หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนในกรณีที่หน่วยงานกำหนดให้กระทำได้ (๓) ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซองในกรณีที่ผู้เสนอราคามายื่นซองโดยตรง ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซอง สำหรับกรณีที่เป็นการยื่นซองทางไปรษณีย์ ให้ถือวันและเวลาที่หน่วยงานนั้นลงรับจากไปรษณีย์เป็นเวลารับซอง และให้ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที (๔) ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาซองเสนอราคาทุกรายโดยไม่เปิดซองและเมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาแล้ว ให้ส่งมอบซองเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๓๘ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ดังนี้ (๑) เปิดซองใบเสนอราคาและอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกรายแล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น (๒) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา (๓) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (๒) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครและเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับกรุงเทพมหานครในเวลาที่กำหนดตามเอกสารสอบราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันรายหลาย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตามข้อ ๓๙ (๔) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคาเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดำเนินการตาม (๓) โดยอนุโลม (๕) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๓๙ การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาที่ปรากฏว่า ราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดำเนินการตามลำดับดังนี้ (๑) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้วราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๒) ถ้าดำเนินการตาม (๑) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซองให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาต่ำสุดในการต่อรองราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือสูงกว่าแต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น (๓) ถ้าดำเนินการตาม (๒) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจำนวนหรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคาเพื่อดำเนินการสอบราคาใหม่ วิธีประกวดราคา ข้อ ๔๐ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารประกวดราคาตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด หรือตามแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแล้ว การจัดทำเอกสารประกวดราคารายใดจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดหรือแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างหรือแบบดังกล่าวและไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียเปรียบก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างเอกสารประกวดราคาไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครตรวจพิจารณาก่อน การเผยแพร่เอกสารประกวดราคาให้จัดทำเป็นประกาศ และมีสาระสำคัญดังนี้ (๑) รายการพัสดุที่ต้องการซื้อ หรืองานที่ต้องการจ้าง (๒) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา (๓) กำหนดวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองประกวดราคา (๔) สถานที่และระยะเวลาในการขอรับหรือขอซื้อเอกสารการประกวดราคาและราคาของเอกสาร (๕) แหล่งเงินกู้และประเทศผู้มีสิทธิเข้าประกวดราคา ในกรณีประกวดราคานานาชาติ ข้อ ๔๑ การซื้อหรือจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงานนั้น และส่งไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและหรือประกาศในหนังสือพิมพ์ กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ศูนย์รวมข่าวประกวดราคา และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและหากเห็นควรจะส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือจะโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้ การส่งประกาศประกวดราคาให้ศูนย์รวมข่าวประกวดราคา และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินให้ส่งเอกสารประกวดราคาไปพร้อมกันด้วย การดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องกระทำก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน ข้อ ๔๒ การให้หรือขายเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคา ซึ่งรวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียดให้กระทำ ณ สถานที่ที่ผู้ต้องการสามารถติดต่อได้โดยสะดวกและไม่เป็นเขตหวงห้ามกับจะต้องจัดเตรียมไว้ให้มากพอสำหรับความต้องการของผู้มาขอรับหรือขอซื้อที่มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นอย่างน้อยรายละ ๑ ชุด โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นในการให้หรือขาย ทั้งนี้ ให้เผื่อเวลาไว้สำหรับการคำนวณราคาของผู้ประสงค์จะเข้ามาเสนอราคา โดยจะต้องเริ่มดำเนินการให้หรือขายก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน และให้มีช่วงเวลาในการให้หรือขายไม่น้อยกว่า ๑๐ วันด้วย ในกรณีที่มีการขาย ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายที่ทางราชการจะต้องเสียไปในการจัดทำสำเนาเอกสารประกวดราคานั้น ถ้ามีการยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น และมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้รับหรือซื้อเอกสารประกวดราคาในการประกวดราคาครั้งก่อน มีสิทธิใช้เอกสารประกวดราคานั้น หรือได้รับเอกสารประกวดราคาใหม่โดยไม่ต้องเสียค่าซื้อเอกสารประกวดราคาอีก ข้อ ๔๓ ก่อนวันเปิดซองประกวดราคา หากมีความจำเป็นที่จะต้องชี้แจงหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือมีความจำเป็นต้องแก้ไขคุณลักษณะเฉพาะหรือรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญซึ่งมิได้กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาตั้งแต่ต้นให้จัดทำเป็นเอกสารประกวดราคาเพิ่มเติมและดำเนินการตามข้อ ๔๑ โดยอนุโลม กับแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ขอรับหรือขอซื้อเอกสารประกวดราคาไปแล้วทุกรายด้วย การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากจะเป็นเหตุให้ผู้เสนอราคาไม่สามารถยื่นซองประกวดราคาได้ทันตามกำหนดเดิม ให้เลื่อนวัน เวลา รับซอง ปิดการรับซองและเปิดซองประกวดราคาตามความจำเป็นด้วย ข้อ ๔๔ นอกจากกรณีที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔๓ เมื่อถึงกำหนดวันรับซองประกวดราคา ห้ามมิให้ร่นหรือเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลารับซองและเปิดซองประกวดราคา การรับซองทางไปรษณีย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่การประกวดราคานานาชาติซึ่งกำหนดให้มีการยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ โดยให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๓๗ (๒) (๓) และ (๔) โดยอนุโลม ข้อ ๔๕ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองประกวดราคา ลงทะเบียนรับซองไว้เป็นหลักฐาน ลงชื่อกำกับซองกับบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นของผู้ใด (๒) ตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน และให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้องให้หมายเหตุในใบรับและบันทึกในรายงานด้วย กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกัน ให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับด้วย (๓) รับเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคาพร้อมทั้งพัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูป และรายการละเอียด (ถ้ามี) หากไม่ถูกต้องให้บันทึกในรายงานไว้ด้วย (๔) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคาหรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาอีก เว้นแต่กรณีตามข้อ ๑๔ (๗) (๕) เปิดซองใบเสนอราคาและอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผย ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนด และให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคา และเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น ในกรณีที่มีการยื่นซองข้อเสนอทางเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ แยกจากซองข้อเสนอด้านราคาซึ่งต้องพิจารณาทางเทคนิคและอื่น ๆ ก่อน ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ตามข้อ ๕๐ และข้อ ๕๒ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาที่จะต้องดำเนินการต่อไป (๖) ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมด และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมด้วยบันทึกรายงานการดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทันทีในวันเดียวกัน ข้อ ๔๖ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุตัวอย่าง แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใด เสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ และความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เสนอราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้พิจารณาผ่อนปรนให้ผู้เข้าประกวดราคา โดยไม่ตัดผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เสนอราคารายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เสนอราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ (๒) พิจารณาคัดเลือกสิ่งของ หรืองานจ้าง หรือคุณสมบัติของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วตาม (๑) ซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้างผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดดังกล่าว ไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับกรุงเทพมหานครในเวลาที่กำหนดตามเอกสารประกวดราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาดำเนินการตามข้อ ๓๙ โดยอนุโลม (๓) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้าง โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๔๗ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ได้พิจารณาตามข้อ ๔๖ (๑) แล้วปรากฏว่ามีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้เสนอราคาหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาเพียงรายเดียว โดยปกติให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเห็นว่า มีเหตุผลสมควรที่จะดำเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคา ก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๔๖ (๒) โดยอนุโลม ข้อ ๔๘ ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคา หรือมีแต่ไม่ถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กำหนด ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างยกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้นเพื่อดำเนินการการประกวดราคาใหม่หากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่า การประกวดราคาใหม่จะไม่ได้ผลดีจะสั่งให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๖) หรือข้อ ๒๑ (๔) แล้วแต่กรณี ก็ได้ ข้อ ๔๙ หลังจากการประกวดราคาแล้วแต่ยังไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงซื้อหรือจ้างกับผู้เสนอราคารายใด ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในรายการละเอียดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารประกวดราคาซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้เข้าเสนอราคาด้วยกัน ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างพิจารณายกเลิกการประกวดราคาครั้งนั้น ข้อ ๕๐ การซื้อหรือการจ้างที่มีลักษณะจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของพัสดุและหรือข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าเสนอราคา ซึ่งอาจจะมีข้อเสนอที่ไม่อยู่ในฐานเดียวกันเป็นเหตุให้มีปัญหาในการพิจารณาตัดสิน และเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องให้มีการปรับปรุงข้อเสนอให้ครบถ้วนและเป็นไปตามความต้องการก่อนพิจารณาด้านราคา ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกวดราคาทั่วไป เว้นแต่กำหนดให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นซองประกวดราคาโดยแยกเป็น (๑) ซองข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนออื่น ๆ (๒) ซองข้อเสนอด้านราคา ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาด้วย ข้อ ๕๑ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ ๕๐ ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาทำหน้าที่เปิดซองเทคนิคของผู้เสนอราคา แทนคณะกรรมการรับและเปิดซองตามข้อ ๔๕ (๕) และพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ ๕๐ โดยถือปฏิบัติตามข้อ ๔๖ ในส่วนที่ไม่ขัดกับการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค และข้อเสนออื่นของผู้เข้าเสนอราคาทุกรายและคัดเลือกเฉพาะรายที่เสนอได้ตรงหรือใกล้เคียงตามมาตรฐานความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ในกรณีจำเป็นสามารถเรียกผู้เสนอราคามาชี้แจงในรายละเอียดข้อเสนอเป็นการเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ (๒) เปิดซองราคาเฉพาะรายที่ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตาม (๑) แล้วสำหรับรายที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาโดยไม่เปิดซอง ข้อ ๕๒ การซื้อหรือการจ้างที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเสนอราคายื่นข้อเสนอทางการเงินมาด้วยให้กำหนดให้ผู้เสนอราคายื่นซองข้อเสนอทางการเงินแยกมาต่างหากและให้เปิดซองข้อเสนอทางการเงินพร้อมกับการเปิดซองราคาตามข้อ ๕๑ (๒) เพื่อทำการประเมินเปรียบเทียบต่อไป ทั้งนี้ ให้กำหนดวิธีการขั้นตอนและหลักเกณฑ์การพิจารณาไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารการประกวดราคาด้วย วิธีพิเศษ ข้อ ๕๓ การซื้อโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้สั่งซื้อแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษขึ้น เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาดให้ดำเนินการซื้อโดยวิธีเจรจาตกลงราคา (๒) ในกรณีเป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควร ให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๓) ในกรณีเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เสนอผู้สั่งซื้อเพื่อติดต่อสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือสืบราคาจากต่างประเทศโดยขอความร่วมมือให้สถานเอกอัครราชทูตหรือส่วนราชการอื่นในต่างประเทศช่วยสืบราคา คุณภาพตลอดจนรายละเอียดส่วนการซื้อโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศให้ติดต่อกับสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศโดยตรง เว้นแต่กรณีที่ไม่มีสำนักงานในประเทศ ให้ติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศได้ (๔) ในกรณีเป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ (๒) (๕) ในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงและผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรซื้อเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ (๖) ในกรณีพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง ให้เชิญเจ้าของที่ดินโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการ รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ข้อ ๕๔ การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษขึ้นเพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๑) (๒) และ (๓) ให้เชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคา หากเห็นว่าราคาที่เสนอนั้นยังสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาเท่าที่จะทำได้ (๒) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๔) กรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงและผู้เสนอราคาในการสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งถูกยกเลิกไป (ถ้ามี) หากเห็นว่าผู้เสนอราคารายที่เห็นสมควรจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องถิ่นหรือราคาที่ประมาณได้ หรือราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้ต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำได้ ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้างเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ วิธีกรณีพิเศษ ข้อ ๕๕ การดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างสั่งซื้อหรือสั่งจ้างจากผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ตามข้อ ๒๒ ได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้สั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามข้อ ๒๕ อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง ข้อ ๕๖ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างครั้งหนึ่งนอกจากวิธีพิเศษและวิธีกรณีพิเศษให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จัดการตลาด ผู้จัดการสถานธนานุบาล ผู้อำนวยการกองหรือหัวหน้ากอง ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๕๗ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีพิเศษครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๕๘ การสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยไม่จำกัดวงเงิน การจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๕๙ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะกระทำมิได้เว้นแต่ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องจ่าย และมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนการทำสัญญาหรือข้อตกลง ให้กระทำได้เฉพาะกรณีและตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของราคาซื้อหรือราคาจ้าง (๒) การซื้อพัสดุจากสถาบันของรัฐในต่างประเทศ หรือจากหน่วยงานอื่นในต่างประเทศซึ่งต้องดำเนินการผ่านองค์การระหว่างประเทศ หรือการซื้อเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรือพัสดุอื่นที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุกำหนดตามข้อ ๑๐ (๘) ซึ่งจำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรงในต่างประเทศให้จ่ายได้ตามที่ตกลงกับสถาบันของรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือตามเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนด แล้วแต่กรณี (๓) การบอกรับวารสารหรือการสั่งจองหนังสือ จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง (๔) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาหรือประกวดราคา จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือการจ้าง แต่ทั้งนี้ จะต้องกำหนดอัตราค่าพัสดุหรือค่าจ้างที่จะจ่ายล่วงหน้าไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือประกวดราคาด้วย (๕) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของราคาซื้อหรือราคาจ้าง ข้อ ๖๐ การจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศโดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือโดยวิธีใช้ดร๊าฟท์ กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท หรือการจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการจัดหาพัสดุที่สั่งซื้อให้กระทำได้โดยไม่ถือว่าป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า ข้อ ๖๑ การจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕๙ (๑) (๒) และ (๓) ไม่ต้องเรียกหลักประกัน ส่วนการจ่ายเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างล่วงหน้าตามข้อ ๕๙ (๔) และ (๕) ผู้ขายหรือผู้รับจ้างจะต้องนำพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมาค้ำประกันเงินที่รับล่วงหน้าไปนั้น การตรวจรับพัสดุ ข้อ ๖๒ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้นหรือสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง การตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่นในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลงจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างก่อน (๒) ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้สำหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ ก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ (๓) โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน และรายงานให้ผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างทราบ ในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงให้รายงานผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้องโดยถือปฏิบัติตาม (๔) และโดยปกติให้รีบรายงานผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิ์ของผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น (๖) การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ (๗) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการตาม (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง ข้อ ๖๓ คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป (๒) การดำเนินการตาม (๑) ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ โดยให้มีอำนาจสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา (๓) โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (๔) เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว ให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณี โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงิน และรายงานให้ผู้สั่งจ้างทราบ ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี (๕) ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าผู้สั่งจ้างสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดำเนินการตาม (๔) ข้อ ๖๔ ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้น ๆ ทุกวันให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดไว้ในสัญญาทุกประการโดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด แล้วแต่กรณี ไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที (๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูป รายการละเอียดหรือข้อกำหนดในสัญญามีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่าถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแต่เมื่อสำเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดีหรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว (๓) จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงานอย่างน้อย ๒ ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่ การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย (๔) ในวันกำหนดลงมือทำการของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ ส่วนที่ ๓ การจ้างที่ปรึกษา การส่งเสริมที่ปรึกษาไทย ข้อ ๖๕ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนิติบุคคล นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือให้หน่วยงานจ้างที่ปรึกษาไทยเป็นหลัก (Lead Firm) ในการดำเนินงาน เว้นแต่สาขาบริการหรืองานที่ไม่อาจจะจ้างที่ปรึกษาไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖๖ การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานโดยทั่วไป นอกจากการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ จะต้องมีที่ปรึกษาไทยร่วมงานด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนคน/เดือนของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่สาขาบริการหรืองานที่ไม่อาจจะจ้างที่ปรึกษาไทยได้ให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร วิธีจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๖๗ การจ้างที่ปรึกษากระทำได้ ๒ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง (๒) วิธีคัดเลือก รายงานขอจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๖๘ ก่อนดำเนินการจ้างที่ปรึกษา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอผู้สั่งจ้างตามรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา (๒) ขอบเขตโดยละเอียดของงานที่จะจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference) (๓) คุณสมบัติของที่ปรึกษาที่จะจ้าง (๔) วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาโดยประมาณ (๕) กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน (๖) วิธีจ้างที่ปรึกษาและเหตุผลที่ต้องจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีนั้น (๗) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) เมื่อผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้ กรรมการ ข้อ ๖๙ ในการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ แล้วแต่กรณี คือ (๑) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง (๒) คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ข้อ ๗๐ คณะกรรมการตามข้อ ๖๙ ให้ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๔ คน โดยปกติให้แต่งตั้งจากพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๕ อย่างน้อย ๒ คน ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้ปลัดกรุงเทพมหานครแต่งตั้งผู้แทนจากหน่วยงานอื่นหรือเชิญผู้แทนจากส่วนราชการ หรือบุคคลที่มิใช่ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วย และในกรณีการจ้างที่ปรึกษาที่ดำเนินการด้วยเงินกู้ให้เชิญผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ๑ คน ข้อ ๗๑ ในการประชุมของคณะกรรมการตามข้อ ๖๙ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม การประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้นำความตามข้อ ๓๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม วิธีตกลง ข้อ ๗๒ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างรายใดรายหนึ่ง ซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถและผลงานแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ ข้อ ๗๓ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว (๒) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก (๓) เป็นการจ้างที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๗๔ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา (๒) พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบริการที่จะจ้างและเจรจาต่อรอง (๓) พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา (๔) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้าง เพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ วิธีคัดเลือก ข้อ ๗๕ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาโดยการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานนั้นให้เหลือน้อยราย และเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เหลือน้อยรายดังกล่าวยื่นข้อเสนอเข้ารับงานนั้น ๆ เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรและผู้สั่งจ้างเห็นชอบ ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมยื่นข้อเสนอเข้ารับงาน โดยไม่ต้องทำการคัดเลือกให้เหลือน้อยรายก่อนก็ได้ ข้อ ๗๖ เพื่อให้ได้รายชื่อของที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากรายที่สุดให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจ้างที่ปรึกษา ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้ขอรายชื่อจากสถาบันการเงินหรือองค์การระหว่างประเทศหรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ แจ้งไปยังสมาคมหรือสถาบันอาชีพหรือสถานทูตที่เกี่ยวข้อง หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานหรือส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งเคยดำเนินการจ้างที่ปรึกษาในงานประเภทเดียวกัน (๒) ที่ปรึกษาไทยให้ขอรายชื่อที่ปรึกษาจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง หากกรุงเทพมหานครมีรายชื่อที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่แล้วอาจพิจารณาคัดเลือกให้เหลือน้อยราย โดยไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่งก็ได้ การคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยราย ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลืออย่างมาก ๖ ราย เมื่อได้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยรายแล้ว ให้รายงานผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณาและกรณีที่เป็นการจ้างที่ปรึกษาโดยใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินนั้นด้วย ข้อ ๗๗ ให้หน่วยงานออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงานตามวิธีหนึ่งวิธีใด ดังต่อไปนี้ (๑) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกันโดยแยกเป็น ๒ ซอง (๒) ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว ข้อ ๗๘ คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก (๒) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกรายและจัดลำดับ (๓) ในกรณีที่ใช้วิธีตามข้อ ๗๗ (๑) ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสมสำหรับกรณีที่ใช้วิธีตามข้อ ๗๗ (๒) ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดมายื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม หากเจรจาไม่ได้ผล ให้เสนอผู้สั่งจ้างเพื่อพิจารณายกเลิกการเจรจากับที่ปรึกษารายนั้นแล้วเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไป หรือเชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไปให้ยื่นข้อเสนอด้านราคา แล้วแต่กรณี และเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม (๔) เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้วให้พิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกำหนดในสัญญา (๕) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้าง โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ในกรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามข้อ ๗๗ (๑) หลังจากตัดสินใจให้ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือโดยกรมวิเทศสหการให้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ ๗๙ การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และมีที่ปรึกษาซึ่งสามารถทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้สั่งจ้างที่จะออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ให้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงาน โดยให้ดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้ คือ (๑) ให้ที่ปรึกษายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคาพร้อมกัน โดยแยกเป็น ๒ ซอง (๒) ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับ (๓) เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับไว้อันดับหนึ่งถึงอันดับสามตาม (๒) พร้อมกันแล้วเลือกรายที่เสนอต่ำสุดมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก (๔) หากเจรจาตาม (๓) แล้วไม่ได้ผล ให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ เมื่อเจรจาได้ผลประการใด ให้ดำเนินการตามข้อ ๗๘ (๔) และ (๕) ข้อ ๘๐ การจ้างที่ปรึกษาเป็นรายบุคคลที่ไม่ต้องยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคให้ดำเนินการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามนัยข้อ ๗๖ และพิจารณาจัดลำดับและเมื่อสามารถจัดลำดับได้แล้ว ให้เชิญรายที่เหมาะสมที่สุดมาเสนอราคาค่าจ้างเพื่อเจรจาต่อรองราคาตามลำดับ อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๘๑ การสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๘๒ อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามความเหมาะสมและประหยัด โดยให้คำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ลักษณะของงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่หน่วยงานส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้าง จำนวนคน - เดือน (man - months) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้า ให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างตามสัญญา และที่ปรึกษาจะต้องจัดให้ธนาคารหนึ่งหรือหลายธนาคารเป็นผู้ค้ำประกันเงินค่าจ้างที่ได้รับล่วงหน้าไปนั้น และให้ผู้ว่าจ้างคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวให้แก่ที่ปรึกษาเมื่อทางกรุงเทพมหานครได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินค่าจ้างที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย หลักประกันผลงาน ข้อ ๘๓ การจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ที่ปรึกษาที่แบ่งการชำระเงินออกเป็นงวด นอกจากการจ้างที่ปรึกษาซึ่งดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ ให้หน่วยงานหักเงินที่จะจ่ายแต่ละครั้งในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าจ้างเพื่อเป็นการประกันผลงาน หรือจะให้ที่ปรึกษาใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารในประเทศมีอายุการค้ำประกันตามที่กรุงเทพมหานครจะกำหนด วางค้ำประกันแทนเงินที่หักไว้ก็ได้ ทั้งนี้ ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วย ข้อ ๘๔ กรณีสัญญาจ้างที่ปรึกษาตามโครงการเงินกู้ที่ได้รวมเงินค่าภาษีซึ่งที่ปรึกษาจะต้องจ่ายให้แก่รัฐบาลไทยไว้ในราคาจ้าง ให้แยกเงินส่วนที่กันเป็นค่าภาษีไว้ต่างหากจากราคาจ้างรวม ส่วนที่ ๔ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน วิธีจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๘๕ การจ้างออกแบบและควบคุมงาน กระทำได้ ๔ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง (๒) วิธีคัดเลือก (๓) วิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด (๔) วิธีพิเศษ รายงานขอจ้างออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๘๖ ก่อนดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานทุกวิธีให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอผู้สั่งจ้าง ตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) ขอบเขตวงงานรวมทั้งรายละเอียดเท่าที่จำเป็น (๒) วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง (๓) ประมาณการค่าจ้าง (๔) กำหนดเวลาแล้วเสร็จ (๕) วิธีที่จะจ้าง และเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น (๖) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) เมื่อผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้างตามวิธีจ้างนั้นต่อไปได้ การจ้างโดยวิธีตกลง ข้อ ๘๗ การจ้างโดยวิธีตกลง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานที่เลือกจ้างผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใด ซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่มีหลักฐานดีตามที่คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงได้พิจารณาเสนอแนะ ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ ไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๘๘ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีตกลงแต่ละครั้งให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนี้ คณะกรรมการดังกล่าวต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๘๙ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลง มีหน้าที่พิจารณาข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ และให้รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งจ้าง ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ข้อ ๙๐ การจ้างโดยวิธีคัดเลือก ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยหน่วยงานประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างจะพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุด เพื่อดำเนินการว่าจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๙๑ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงาน โดยการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแต่ละครั้งให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งกรรมการรับซองเสนองานและกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก คณะกรรมการรับซองเสนองานให้ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ปกติให้เป็นพนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๓ อย่างน้อย ๒ คน คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ให้ประกอบด้วยประธาน ๑ คน และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนี้ คณะกรรมการดังกล่าวในข้อนี้ ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๙๒ คณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้ (๑) รับซองเสนองานจากผู้ให้บริการและบันทึกไว้ที่หน้าซองว่าเป็นผู้ให้บริการรายใดแล้วลงบัญชีไว้เป็นหลักฐาน (๒) มอบซองเสนองานในสภาพเดิมต่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกและเมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองเสนองานแล้ว ห้ามรับซองเสนองานจากผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใดอีกเป็นอันขาด ข้อ ๙๓ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกมาครบองค์ประชุมแล้ว จึงเปิดซองเสนองานตามที่คณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือกมอบให้ (๒) พิจารณาข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คุณวุฒิและประวัติการทำงานจำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้วของผู้ให้บริการและลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน (๓) เมื่อได้พิจารณาเสร็จแล้วเห็นสมควรดำเนินการต่อไปประการใด ให้รายงานต่อผู้สั่งจ้างผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมด้วยหลักฐาน ตามปกติคณะกรรมการควรเสนอจ้างผู้ที่มีข้อกำหนดเหมาะสมที่สุดเว้นแต่ผู้ให้บริการดังกล่าวไม่สามารถรับงานในกรณีใดก็ตาม ให้คณะกรรมการเสนอผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมรายถัดไป การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ข้อ ๙๔ การจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบและควบคุมงานที่หน่วยงานประกาศเชิญชวนการว่าจ้าง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะทางนิติบุคคล คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ตลอดจนแนวความคิดในการออกแบบเพื่อดำเนินการจ้างต่อไป ทั้งนี้ ให้ใช้กับการก่อสร้างอาคารที่มีวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างตามโครงการหนึ่ง ๆ เกิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๙๕ ในการดำเนินการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีการจ้างแบบจำกัดข้อกำหนดแต่ละครั้งให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการรับซอง และคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละคณะ คุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด หน้าที่ของคณะกรรมการรับซองเสนองานการจ้างโดยคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดให้นำความในข้อ ๙๑ ข้อ ๙๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๙๖ คณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด มีหน้าที่ดังนี้ (๑) เมื่อคณะกรรมการดำเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนดมาครบองค์ประชุมแล้วจึงเปิดซองเสนองานตามที่คณะกรรมการรับซองเสนองานมอบให้ (๒) พิจารณาข้อกำหนดต่าง ๆ ดังนี้ ก. ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข. คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ ค. หลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว ง. แนวความคิดในการออกแบบ (๓) พิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีข้อกำหนดเหมาะสมไว้เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒ ราย และแจ้งวิธีดำเนินการเสนองานตามความประสงค์ของหน่วยงานแก่ผู้เสนองาน และอาจพิจารณากำหนดให้ผู้ให้บริการดังกล่าวยื่นเสนอแบบร่างของงานก็ได้ อนึ่ง การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนองานให้คำนึงถึงแผนปฏิบัติงานความเหมาะสมทางด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนสายงานและความเหมาะสมทางด้านสถาปัตยกรรมและลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนองานเพื่อเป็นหลักฐาน (๔) เมื่อได้พิจารณาเสร็จแล้ว เห็นสมควรดำเนินการต่อไปประการใดและสมควรเลือกผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใด ให้รายงานต่อผู้สั่งจ้าง ผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ พร้อมด้วยหลักฐาน การจ้างโดยวิธีพิเศษ ข้อ ๙๗ การจ้างโดยวิธีพิเศษมี ๒ ลักษณะ ดังนี้ (๑) วิธีเลือกจ้าง ได้แก่ การจ้างออกแบบและควบคุมงานในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหากจะดำเนินการว่าจ้างตามวิธีอื่นดังกล่าวมาแล้ว จะทำให้เกิดการล่าช้า เกิดความเสียหายแก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้ปลัดกรุงเทพมหานครมีอำนาจตกลงจ้างผู้ให้บริการรายหนึ่งรายใดตามที่พิจารณาเห็นสมควร (๒) การว่าจ้างโดยการประกวดแบบ ได้แก่ การว่าจ้างออกแบบอาคารที่มีลักษณะพิเศษเป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรมหรือสถาปัตยกรรมของชาติ เช่น อนุสาวรีย์ หรืองานออกแบบอาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น สนามกีฬา ให้ผู้ว่าจ้างเสนอรายละเอียดเรื่องการจ้างออกแบบโดยวิธีประกวดแบบต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙๘ กรุงเทพมหานครมีสิทธิ์บอกเลิกการคัดเลือกผู้ให้บริการได้ในกรณีต่อไปนี้ (๑) มีผู้ยื่นเสนองานไม่น้อยกว่า ๒ ราย (๒) ผู้ให้บริการยื่นเสนองานไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙๙ ให้หน่วยงานส่งหนังสือแจ้งผลการตัดสินคัดเลือก และนัดหมายการทำสัญญาไปยังผู้ให้บริการรายที่ได้รับการคัดเลือกโดยเร็ว การประกาศเชิญชวน ข้อ ๑๐๐ การประกาศเชิญชวนการว่าจ้างกระทำได้ ๓ วิธี คือ (๑) ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย (๒) ประกาศทางสื่อสารมวลชน เช่น ลงประกาศในหนังสือพิมพ์หรือประกาศทางวิทยุกระจายเสียง (๓) ส่งประกาศไปยังสมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมหรือสำนักงานที่ประกอบธุรกิจดังกล่าว การจะประกาศด้วยวิธีใดให้พิจารณาตามความจำเป็นของกิจการและความเหมาะสมแห่งท้องถิ่นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อ ๑๐๑ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำประกาศเชิญชวนโดยอย่างน้อยให้แสดงรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยของอาคารและขอบเขตของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (๒) กำหนดวัน เวลา สถานที่เปิดและปิดรับซองเสนองาน (๓) เงื่อนไขและระยะเวลาการออกแบบ (๔) กำหนดให้ผู้เสนองานวางหลักประกันซอง ตามชนิดและจำนวนในข้อ ๑๓๑ และข้อ ๑๓๒ และให้มีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้เข้าประกวดราคาถอนการเสนองาน หรือไม่ไปทำสัญญากับกรุงเทพมหานครภายในกำหนด กรุงเทพมหานครจะริบหลักประกันซองหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกันและสงวนสิทธิ์ที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญากับกรุงเทพมหานครเป็นผู้ทิ้งงานด้วย (๕) วินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือเป็นเด็ดขาด การเสนองาน ข้อ ๑๐๒ ผู้ให้บริการที่เสนองานการจ้างโดยวิธีคัดเลือก และการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด นอกจากจะต้องส่งข้อเสนองานให้กับหน่วยงานแล้ว ยังต้องยื่นหลักฐานประกอบการเสนองานดังนี้ (๑) ข้อกำหนดของผู้ให้บริการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ (๒) คุณวุฒิและประวัติการทำงาน จำนวนสถาปนิกและหรือวิศวกรที่ประจำและไม่ประจำ (๓) หลักฐานแสดงผลงานที่เคยปฏิบัติมาแล้ว (๔) หลักประกันการเสนองาน เมื่อการคัดเลือกการว่าจ้างเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งข้อเสนอและหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวคืนแก่ผู้ให้บริการที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ข้อ ๑๐๓ ผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลธรรมดาจะต้องมีสัญชาติไทย และเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรมสำหรับงานว่าจ้างตามที่กำหนด โดยกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรม แล้วแต่กรณี และไม่เป็นข้าราชการประจำหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือพนักงานเทศบาล รัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้ให้บริการที่เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นจะต้องเป็นคนไทย และเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทยเกินร้อยละห้าสิบของทุนการจัดตั้งนิติบุคคลนั้น ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง ข้อ ๑๐๔ การสั่งจ้างออกแบบและควบคุมงานครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท (๒) ปลัดกรุงเทพมหานคร เกิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๐๕ กรุงเทพมหานครอาจริบหลักประกัน หรือใช้สิทธิ์เรียกร้องเอาจากผู้ค้ำประกัน การเสนองานที่ผู้รับจ้างนำมามอบไว้กับผู้ว่าจ้างได้ในกรณีดังนี้ (๑) ผู้รับจ้างหลีกเลี่ยงการทำสัญญาในระยะเวลาที่กำหนด (๒) กรุงเทพมหานครไม่สามารถส่งใบแจ้งให้มาทำสัญญาได้เนื่องจาก ก. ผู้รับจ้างเลิกหรือหยุดกิจการ ข. ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา บุคคลนั้นถูกระงับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมและหรือวิศวกรรม (๓) ผู้รับจ้างผิดสัญญา และกรุงเทพมหานครได้บอกเลิกสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว การตรวจและรับมอบงาน ข้อ ๑๐๖ ในการจ้างออกแบบและควบคุมงานแต่ละครั้ง ให้ผู้สั่งจ้างแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจและรับมอบงานเพื่อปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน และคณะกรรมการอื่นอีกอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้ชำนาญในกิจการนั้น คณะกรรมการดังกล่าวต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดจึงจะดำเนินการตามที่กำหนดไว้ได้ ข้อ ๑๐๗ คณะกรรมการตรวจและรับมอบงาน มีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานออกแบบและก่อสร้างอาคารว่าถูกต้องตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ ๑ ฉบับ เพื่อทำการเบิกจ่ายเงิน และรายงานให้ผู้สั่งจ้างทราบ การควบคุมงาน ข้อ ๑๐๘ ผู้รับจ้างจะต้องจัดผู้ควบคุมงานที่มีความรู้และมีความชำนาญงานการก่อสร้างให้เหมาะสมกับสภาพงานการก่อสร้างนั้น ๆ ผู้รับจ้างจะต้องส่งรายชื่อผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจการหรือผู้แทนให้กรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบและในกรณีที่ผู้ควบคุมงานไม่สามารถปฏิบัติงานตามความในวรรคหนึ่ง ผู้รับจ้างจะต้องเสนอชื่อผู้ควบคุมงานปฏิบัติงานแทน ผู้ที่ปฏิบัติงานแทนในกรณีดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากกรุงเทพมหานคร ค่าออกแบบและควบคุมงาน ข้อ ๑๐๙ การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงาน ให้เป็นไปตามอัตราดังนี้ (๑) อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้าง ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง (๒) อาคารที่มีงบประมาณค่าก่อสร้าง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับในส่วนที่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่ายค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่งในอัตราร้อยละ ๑.๗๕ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง การจ่ายเงินค่าออกแบบและควบคุมงานตามความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงค่าสำรวจและวิเคราะห์ดินฐานราก ข้อ ๑๑๐ ในกรณีที่กรุงเทพมหานครจะนำแบบแปลนรายละเอียดงานจ้างไปดำเนินการก่อสร้างนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้หน่วยงานจ่ายเงินค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างตามอัตราที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณากำหนดเป็นราย ๆ ไป ข้อ ๑๑๑ ห้ามผู้รับจ้างนำแบบแปลนรายละเอียดงานออกแบบและควบคุมงานที่ได้ทำสัญญากับผู้ว่าจ้างแล้วไปให้ผู้อื่นดำเนินการก่อสร้างอีก ข้อ ๑๑๒ ระหว่างดำเนินการจ้างตามสัญญาจ้าง ผู้สั่งจ้างอาจขอให้ผู้รับจ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ ในส่วนที่ไม่กระทบกระเทือนโครงสร้างที่สำคัญของอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ น้ำประปา ของงานที่ผู้รับจ้างได้ส่งมอบตามงวดงานในสัญญาแล้วโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่สำคัญให้ผู้สั่งจ้างเสนอขออนุมัติคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครก่อน ส่วนที่ ๕ การแลกเปลี่ยน ข้อ ๑๑๓ การแลกเปลี่ยนพัสดุจะกระทำมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องแลกเปลี่ยนให้กระทำได้เฉพาะการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์และการแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุ ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ประเภทและชนิดเดียวกัน (๒) การแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ต่างประเภทหรือต่างชนิดกัน (๓) การแลกเปลี่ยนวัสดุกับวัสดุประเภทและชนิดเดียวกันที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ข้อ ๑๑๔ การแลกเปลี่ยนพัสดุระหว่างหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วยกันให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ให้รายงานผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ โดยให้มีรายการดังนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องแลกเปลี่ยน (๒) รายละเอียดของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน (๓) ราคาที่ซื้อหรือได้มาของพัสดุที่จะนำไปแลกเปลี่ยน และราคาที่จะแลกเปลี่ยนได้โดยประมาณ (๔) พัสดุที่จะรับแลกเปลี่ยน และให้ระบุว่าจะแลกเปลี่ยนกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน (๕) ข้อเสนออื่น ๆ (ถ้ามี) ในกรณีที่จะแลกเปลี่ยนกับเอกชน ให้ระบุวิธีที่จะแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งเหตุผล โดยให้นำวิธีการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การแลกเปลี่ยนพัสดุที่จะนำไปแลกครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะใช้วิธีตกลงราคาก็ได้ ข้อ ๑๑๕ การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพนักงานของการพาณิชย์นั้น ๆ ซึ่งมีอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการระดับ ๔ อย่างน้อยสามคน เพื่อดำเนินการดังนี้ (๑) ตรวจสอบและประเมินราคาพัสดุที่ต้องการแลกเปลี่ยนตามสภาพปัจจุบันของพัสดุนั้น (๒) ตรวจสอบรายละเอียดพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนว่าเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยใช้งานมาก่อน เว้นแต่พัสดุเก่าที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยนนั้นจะเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องเสียประโยชน์ (๓) เปรียบเทียบราคาพัสดุที่จะแลกเปลี่ยนกัน โดยพิจารณาจากราคาที่ประเมินตาม (๑) และราคาพัสดุที่จะได้รับจากการแลกเปลี่ยน ซึ่งถือตามราคากลางหรือราคามาตรฐานหรือราคาในท้องตลาดโดยทั่วไป (๔) ต่อรองกับผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรแลกเปลี่ยน (๕) เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาสั่งการ (๖) ตรวจรับพัสดุโดยปฏิบัติตามข้อ ๖๒ โดยอนุโลม เมื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอนุมัติให้แลกเปลี่ยนพัสดุแล้ว ให้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นหนังสือตามแบบที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาแลกเปลี่ยนตามแบบดังกล่าวได้ ให้นำความในข้อ ๑๒๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การแลกเปลี่ยนพัสดุกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะไม่ทำสัญญาตามวรรคสองก็ได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะตกลงกับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ แต่ต้องมีหลักฐานการส่งมอบและรับมอบเป็นหนังสือไว้ต่อกัน ข้อ ๑๑๖ การแลกเปลี่ยนพัสดุในกรณีที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ให้กระทำได้เมื่อมีงบประมาณสำหรับการนั้นแล้ว ถ้าได้รับเงินจากการแลกเปลี่ยนให้นำส่งเป็นเงินรายได้ของการพาณิชย์นั้น ข้อ ๑๑๗ ครุภัณฑ์ที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเมื่อลงทะเบียนครุภัณฑ์แล้วให้หน่วยงานที่ได้รับครุภัณฑ์นั้นแจ้งให้หน่วยการคลังทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับครุภัณฑ์ ในกรณีการแลกเปลี่ยนครุภัณฑ์กับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ให้แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับครุภัณฑ์พร้อมกับส่งสำเนาหลักฐานการดำเนินการของคณะกรรมการตามข้อ ๑๑๕ และการอนุมัติของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปด้วย ส่วนที่ ๖ การเช่า ข้อ ๑๑๘ การเช่าสังหาริมทรัพย์ และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามหลักเกณฑ์กำหนดไว้ในหมวดนี้ นอกเหนือจากข้อ ๑๒๑ ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น โดยสำหรับการเช่าสังหาริมทรัพย์ให้นำข้อกำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้าในการเช่าอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ให้กระทำได้เฉพาะกรณีการเช่าซึ่งมีระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การเช่าจากกระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ จ่ายได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของค่าเช่าทั้งสัญญา (๒) การเช่าจากเอกชนจ่ายได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของค่าเช่าทั้งสัญญา การจ่ายเงินค่าเช่าล่วงหน้านอกเหนือจากหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจอนุมัติให้จ่ายได้เป็นราย ๆ ไป การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ข้อ ๑๑๙ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่ทำการในกรณีที่ไม่มีสถานที่ของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือมีแต่ไม่เพียงพอ (๓) เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็นที่เก็บพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บเพียงพอ การเช่าให้ดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา ข้อ ๑๒๐ ก่อนดำเนินการเช่า ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี ตามรายการดังต่อไปนี้ (๑) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องเช่า (๒) ราคาค่าเช่าที่ผู้ให้เช่าเสนอ (๓) รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า เช่น สภาพของสถานที่บริเวณที่ต้องการให้พร้อมทั้งภาพถ่าย (ถ้ามี) และราคาค่าเช่าครั้งหลังสุด เป็นต้น (๔) อัตราค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีขนาดและสภาพใกล้เคียงกับที่จะเช่า (ถ้ามี) ในกรณีการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในส่วนภูมิภาคให้ขอความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสถานที่และอัตราค่าเช่าจากจังหวัดนั้น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย ข้อ ๑๒๑ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีอัตราค่าเช่ารวมทั้งค่าบริการอื่น เกี่ยวกับการเช่าตามที่จะกำหนดไว้ในสัญญาไม่เกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ถ้าเกินเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ส่วนที่ ๗ สัญญาและหลักประกัน สัญญา ข้อ ๑๒๒ การลงนามในสัญญาในการจัดหาตามระเบียบนี้ เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และให้ทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด การทำสัญญารายใด ถ้าจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างสัญญาที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดโดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างสัญญาและไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครเสียเปรียบ ก็ให้กระทำได้เว้นแต่ผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหาเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อน ในกรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนดได้ และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อนเว้นแต่ผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหาเห็นสมควรทำสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของสำนักปลัดกรุงเทพมหานครมาแล้ว ก็ให้กระทำได้ สำหรับการเช่าซึ่งผู้เช่าจะต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า หรือในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานหรือปลัดกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษแต่ต้องมีคำแปลตัวสัญญา และเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อน เว้นแต่เป็นการทำสัญญาในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นว่าเป็นสัญญาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ให้ส่งร่างสัญญาให้สำนักปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างสัญญาก็ได้ การทำสัญญาตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย ข้อ ๑๒๓ การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้จะทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหา (๑) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยน โดยวิธีตกลงราคา (๒) การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทำการของทางราชการนับตั้งแต่วันถัดจากวันตกลงเป็นหนังสือ (๓) การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ และการจัดหาจากส่วนราชการ (๔) การซื้อโดยวีธีพิเศษตามข้อ ๒๐ (๑) (๒) และ (๓) (๕) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ ๒๑ (๑) (๒) และ (๓) (๖) การเช่าซึ่งผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินอื่นใดนอกจากค่าเช่า ในกรณีการจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้างซึ่งใช้วิธีดำเนินการตามข้อ ๓๕ วรรคสอง จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ ข้อ ๑๒๔ การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๒๐ ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกันให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราระหว่างร้อยละ ๐.๐๑ - ๐.๑๐ ของราคางานจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐๐ บาท การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจในการสั่งจัดหา โดยคำนึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของกรุงเทพมหานครจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญา ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญาให้ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลยให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด ในกรณีการจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยงานรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุ ให้หน่วยงานบอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย ข้อ ๑๒๕ ให้หน่วยงานดำเนินการเพื่อให้มีการจัดส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและกรมสรรพากรภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลง ข้อ ๑๒๖ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ให้อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสัญญาหรือข้อตกลงที่มีวงเงินเกินอำนาจปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินและทำให้วงเงินนั้นสูงเกินอำนาจสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานคร ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณา แต่ทั้งนี้ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือขอทำความตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี ด้วย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่ม หรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป สำหรับการจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างจะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกร ผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้างหรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณี ด้วย ข้อ ๑๒๗ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป ข้อ ๑๒๘ ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้หน่วยงานเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ข้อ ๑๒๙ การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงให้อยู่ในอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้อนุญาต แต่ถ้าวงเงินในการสั่งการให้จัดหาครั้งนั้นเกินอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณา และให้พิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๒) เหตุสุดวิสัย (๓) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครระบุไว้ในสัญญากำหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าวให้กรุงเทพมหานครทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลงหากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดคู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้างเพื่อขอลดหรืองดค่าปรับหรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (๑) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ข้อ ๑๓๐ ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่จะใช้สิทธิดังกล่าวสั่งการได้ตามความจำเป็น หลักประกัน ข้อ ๑๓๑ หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เงินสด (๒) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อกรุงเทพมหานครหรือก่อนวันนั้นไม่เกิน ๓ วันทำการ (๓) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด (๔) พันธบัตรรัฐบาลไทย สำหรับหลักประกันซอง ให้ใช้หลักประกันได้อีก ๑ ประเภท คือ หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้ว โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๓๒ หลักประกันซองและหลักประกันสัญญาในข้อ ๑๓๑ ให้กำหนดมูลค่าเป็นจำนวนเต็มในอัตราร้อยละห้าของวงเงินหรือราคาพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น แล้วแต่กรณี เว้นแต่การจัดหาพัสดุที่ผู้สั่งจัดหาเห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ จะกำหนดอัตราสูงกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบก็ได้ ในการทำสัญญาจัดหาพัสดุที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกิน ๑ ปี และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง ให้กำหนดหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของราคาพัสดุที่ส่งมอบในแต่ละปีของสัญญา โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการค้ำประกันตลอดอายุสัญญา และหากในปีต่อไปราคาพัสดุที่ส่งมอบแตกต่างไปจากราคาในรอบปีก่อนให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปีในกรณีที่หลักประกันต้องปรับปรุงในทางที่เพิ่มขึ้นและคู่สัญญาไม่นำหลักประกันมาเพิ่มให้ครบจำนวนภายใน ๑๕ วันก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้น ให้หน่วยงานหักจากเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่กรุงเทพมหานครจะต้องจ่ายให้เป็นหลักประกันในส่วนที่เพิ่มขึ้น การกำหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา และหรือในสัญญาด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาวางหลักประกันที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาหรือสัญญาให้อนุโลมรับได้ ข้อ ๑๓๓ ในกรณีที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกัน ข้อ ๑๓๔ ให้หัวหน้าหน่วยงานคืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคา คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (๑) หลักประกันซอง ให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดไม่เกิน ๓ ราย ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงหรือผู้เสนอราคาได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว (๒) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันโดยเร็วและอย่างช้าต้องไม่เกิน ๑๕ วันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว การจัดหาที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชำรุดบกพร่อง ให้คืนหลักประกันให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันตามอัตราส่วนของพัสดุ ซึ่งหน่วยงานได้รับมอบไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาและในสัญญาด้วย การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือหนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกำหนดเวลาข้างต้น ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนผู้ค้ำประกันทราบด้วย ส่วนที่ ๘ การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ ๑๓๕ ให้หัวหน้าหน่วยงานเสนอปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่หน่วยงานกำหนดหรือคู่สัญญาของกรุงเทพมหานครไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นผู้ทิ้งงานและให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องรีบส่งชื่อผู้ทิ้งงานให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาหากเห็นด้วยให้แจ้งเวียนให้หน่วยงานและส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ พร้อมทั้งแจ้งผู้ทิ้งงานรายนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ในกรณี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นด้วย ให้แจ้งผลการพิจารณาไปให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบ ห้ามหน่วยงานก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานที่ได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว เว้นแต่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเข้าเสนอราคากับทางราชการ ให้พิจารณาลงโทษผู้เสนอราคาที่มีการกระทำดังกล่าว เสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน และดำเนินการตามขั้นตอนในวรรคหนึ่งและวรรคสองโดยอนุโลม หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ส่วนที่ ๑ การยืม ข้อ ๑๓๖ ห้ามิให้ผู้ใดยืมพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครไปใช้ เว้นแต่เป็นการใช้ในกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือการยืมใช้เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานระหว่างประเทศ การศาสนา การกุศล หรือที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควร ข้อ ๑๓๗ การยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปไปใช้ ให้ผู้ยืมทำหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเหตุผล และกำหนดวันส่งคืน โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) การยืมระหว่างหน่วยงาน จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น (๒) การให้บุคคลยืมใช้ภายในหน่วยงานเดียวกัน จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบพัสดุนั้น แต่ถ้ายืมไปใช้นอกสถานที่ จะต้องได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร (๓) การให้การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานระหว่างประเทศ องค์การศาสนา องค์การกุศล ยืมไปใช้จะต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร (๔) การให้ยืมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน (๑) (๒) และ (๓) จะต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๓๘ ผู้ยืมพัสดุประเภทใช้คงรูปจะต้องนำพัสดุนั้นมาส่งคืนให้ในสภาพที่ใช้การได้เรียบร้อยหากเกิดชำรุดเสียหาย หรือใช้การไม่ได้ หรือสูญหายไป ให้ผู้ยืมจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือชดใช้เป็นพัสดุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และคุณภาพอย่างเดียวกัน หรือชดใช้เป็นเงินตามราคาที่เป็นอยู่ในขณะยืมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๓๙ การยืมพัสดุประเภทใช้สิ้นเปลืองระหว่างหน่วยงาน ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อหน่วยงานผู้ยืมมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นเป็นการรีบด่วน จะดำเนินการจัดหาได้ไม่ทันการและหน่วยงานผู้ให้ยืมมีพัสดุนั้น ๆ พอที่จะให้ยืมได้ โดยไม่เป็นการเสียหายแก่หน่วยงานของตนและให้มีหลักฐานการยืมเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ โดยปกติหน่วยงานผู้ยืมจะต้องจัดหาพัสดุเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันส่งคืนให้หน่วยงานผู้ให้ยืม ข้อ ๑๔๐ เมื่อครบกำหนดยืม ให้ผู้ให้ยืมหรือผู้รับหน้าที่แทนมีหน้าที่ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไปคืนภายใน ๗ วัน นับแต่วันครบกำหนด ส่วนที่ ๒ การควบคุม การเก็บรักษาพัสดุ ข้อ ๑๔๑ พัสดุของหน่วยงานไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุมตามระเบียบนี้เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ข้อ ๑๔๒ เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบแล้ว ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามตัวอย่างที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครกำหนด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย สำหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้ (๒) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยและให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน การเบิก - จ่ายพัสดุ ข้อ ๑๔๓ การเบิกจ่ายพัสดุ ให้หัวหน้าหน่วยงานซึ่งต้องใช้พัสดุนั้น ๆ เป็นผู้เบิกจากหน่วยการคลังหรืองานธุรการ และให้หัวหน้าหน่วยพัสดุซึ่งมีหน้าที่จ่ายพัสดุของหน่วยงานนั้น เป็นผู้สั่งจ่าย ข้อ ๑๔๔ ผู้จ่ายพัสดุต้องตรวจสอบความถูกต้องของใบเบิกและเอกสารประกอบ (ถ้ามี) แล้วลงบัญชีหรือทะเบียนทุกครั้งที่มีการจ่าย และเก็บใบเบิกจ่ายไว้เป็นหลักฐานด้วย การตรวจสอบพัสดุประจำปี ข้อ ๑๔๕ ก่อนสิ้นเดือนกันยายนทุกปี ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครหรือหัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีพัสดุไว้จ่ายตามข้อ ๑๔๓ แต่งตั้งพนักงานในหน่วยงานนั้นซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พัสดุ คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อตรวจสอบการรับจ่ายพัสดุงวดตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ปีก่อนจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ปีปัจจุบันและตรวจนับพัสดุประเภทที่คงเหลืออยู่เพียงวันสิ้นงวดนั้น ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้เริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุในวันเปิดทำการวันแรกของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ว่าการรับจ่ายถูกต้องหรือไม่ พัสดุคงเหลือมีตัวอยู่ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนหรือไม่ มีพัสดุใดชำรุดเสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปเพราะเหตุใด หรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในกิจการต่อไป แล้วให้เสนอรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อผู้แต่งตั้งภายใน ๓๐ วันทำการนับแต่วันเริ่มดำเนินการตรวจสอบพัสดุนั้น เมื่อผู้แต่งตั้งได้รับรายงานจากพนักงานผู้ตรวจสอบแล้ว ให้ส่งรายงานเสนอตามลำดับชั้นจนถึงประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ๑ ชุด และส่งสำเนารายงานไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ๑ ชุด ข้อ ๑๔๖ เมื่อประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครได้รับรายงานดังกล่าวตามข้อ ๑๔๕ และปรากฏว่า มีพัสดุชำรุด เสื่อมคุณภาพหรือสูญไป หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในกิจการต่อไปก็ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่ง โดยให้นำความในข้อ ๓๑ และข้อ ๓๒ มาใช้โดยอนุโลม ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าจะต้องหาตัวผู้รับผิดด้วย ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด ในกรณีที่เห็นสมควรประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครจะสั่งให้คณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงทำหน้าที่สอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งด้วยก็ได้ ให้คณะกรรมการเสนอผลการพิจารณาต่อประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ประธานกรรมการทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ แต่ถ้ายังพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะขออนุญาตขยายเวลาดำเนินการต่อไปอีกคราวละไม่เกิน ๓๐ วันก็ได้ ส่วนที่ ๓ การจำหน่าย ข้อ ๑๔๗ หลังจากการตรวจสอบแล้วพัสดุใดหมดความจำเป็นหรือหากใช้ในกิจการต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครจะเห็นสมควรให้เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอรายงานต่อประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ขาย ให้ดำเนินการขายโดยวิธีทอดตลาดก่อน แต่ถ้าขายโดยวิธีทอดตลาดแล้วไม่ได้ผลดีให้นำวิธีที่กำหนดเกี่ยวกับการซื้อมาใช้โดยอนุโลม เว้นแต่การขายพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะขายโดยวิธีตกลงราคาโดยไม่ต้องทอดตลาดก่อนก็ได้ ในกรณีที่ดำเนินการโดยวิธีสอบราคาหรือวิธีประกวดราคาแล้วไม่ได้ผลจะดำเนินการโดยวิธีพิเศษก็ได้ การขายให้แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากร หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควรให้ขายโดยวิธีตกลงราคา (๒) แลกเปลี่ยน ให้ดำเนินการตามวิธีการแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ (๓) โอน ให้โอนให้แก่การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ วัดที่โรงเรียนของกรุงเทพมหานครอาศัยสถานที่ของวัด โดยทางวัดมิได้เรียกเก็บค่าเช่า หรือค่าตอบแทนอื่นใดและวัดได้แจ้งความประสงค์ขอพัสดุนั้นมาหรือองค์การสาธารณกุศล ตามมาตรา ๔๗ (๗) แห่งประมวลรัษฎากรโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากปลัดกรุงเทพมหานครกับให้มีหลักฐานการส่งมอบไว้ต่อกัน หรือตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นสมควร (๔) แปรสภาพหรือทำลาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง โดยปกติให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครสั่งการ ก่อนส่งมอบพัสดุที่จำหน่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ลบตราและเครื่องหมายกรุงเทพมหานครออกให้เรียบร้อยก่อน ข้อ ๑๔๘ การโอนพัสดุระหว่างหน่วยงานไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะต้องได้รับอนุมัติจากประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครก่อน ข้อ ๑๔๙ เงินที่ได้จากการจำหน่ายพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือข้อตกลงในส่วนที่ใช้เงินกู้หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณี การจำหน่ายเป็นสูญ ข้อ ๑๕๐ ในกรณีที่พัสดุสูญไปโดยไม่ปรากฏตัวผู้รับผิด หรือมีตัวผู้รับผิดแต่ไม่สามารถชดใช้ตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย อันเกิดจากการละเมิด หรือมีตัวพัสดุอยู่แต่ไม่สมควรดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ ให้จำหน่ายพัสดุนั้นเป็นสูญ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้ประธานกรรมการบริหารกิจการของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ (๒) ถ้าพัสดุนั้นมีราคาซื้อหรือได้มารวมกันเกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ การลงจ่ายออกจากบัญชีหรือทะเบียน ข้อ ๑๕๑ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ หรือข้อ ๑๕๐ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุลงจ่ายพัสดุนั้นออกจากบัญชีหรือทะเบียนทันที แล้วแจ้งให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบภายใน ๓๐ วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุนั้น พร้อมกับแจ้งให้หน่วยการคลังทราบเพื่อจำหน่ายพัสดุออกจากทะเบียน สำหรับพัสดุซึ่งต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ให้แจ้งแก่นายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย ข้อ ๑๕๒ ในกรณีที่พัสดุของหน่วยงานเกิดการชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือสูญไปหรือไม่จำเป็นต้องใช้ในกิจการต่อไปก่อนมีการตรวจสอบตามข้อ ๑๔๕ และได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิด หรือดำเนินการตามข้อ ๑๔๖ แห่งระเบียบนี้โดยอนุโลมแล้ว ถ้ากฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๔๗ ข้อ ๑๕๐ และข้อ ๑๕๑ โดยอนุโลม หมวด ๔ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๕๓ รายชื่อผู้ทิ้งงานที่มีอยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบนี้ด้วย สำหรับการพิจารณาลงโทษผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่กำหนด หรือคู่สัญญาของกรุงเทพมหานครไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่ระเบียบนี้จะใช้บังคับ ให้พิจารณาสั่งการตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิม ข้อ ๑๕๔ การพัสดุใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบที่ใช้บังคับอยู่เดิมจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จหรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พุทธชาด/ผู้จัดทำ ๑๘ กันยายน ๒๕๔๕ อุษมล/ปรับปรุง ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๒/ตอนพิเศษ ๓๔ ง/หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๘