sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
317060
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘ ------------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุง การศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธี การงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงิน บำรุงการศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินบำรุง การศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ "สถานศึกษา" หมายความว่า โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนฝึกอาชีพ หรือ สถานที่ศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่เรียกชื่ออย่างอื่น "หัวหน้าสถานศึกษา" หมายความว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์ใหญ่ ครู ใหญ่ หรือผู้รับผิดชอบในสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น "เงินบำรุงการศึกษา" หมายความว่า เงินที่สถานศึกษาได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เพื่อบำรุงการศึกษานอกจากงบประมาณรายจ่ายและให้หมายความรวมถึงเงินที่สถานศึกษาได้รับ ในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ดังต่อไปนี้ (๑) เงินค่าอำนวยบริการที่ได้รับจากการให้ใช้อาคารสถานที่หรือทรัพย์สินของ สถานศึกษาตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๒) เงินที่มีผู้มอบให้โดยไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ หรือระบุวัตถุประสงค์ไว้ไม่ชัด แจ้ง (๓) กำไรจากการดำเนินงานของสถานศึกษา ในการรับจัดทำ รับบริการ รับ จ้างผลิต จำหน่าย ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๔) เงินที่ได้รับจากการแสดง หรือจัดกิจกรรมในหลักสูตร หรือกิจกรรมเสริม หลักสูตรของนักเรียน นักศึกษา ตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด (๕) เงินที่ได้จากการจัดบริการให้แก่นักเรียน นักศึกษา เช่น การใช้บริการ เครื่องถ่ายเอกสาร การขายสมุด หนังสือ เครื่องเขียน แบบเรียน เครื่องแต่งกาย และในกรณีที่ สถานศึกษาไม่ได้ดำเนินโครงการอาหารกลางวัน ให้รวมถึงเงินที่ได้จากการจัดบริการเกี่ยวกับ อาหารและเครื่องดื่มด้วย (๖) เงินผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์สินที่ได้มาด้วยเงินบำรุงการศึกษาหรือ ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้สถานศึกษาเพื่อหาผลประโยชน์ โดยผู้บริจาคไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์หรือ ระบุวัตถุประสงค์ไม่ชัดแจ้ง เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารค่าปรับจากสัญญายืมหนังสือห้องสมุด (๗) เงินส่วนลดค่าใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะ (๘) เงินค่าประกันของเสียหายของนักศึกษา (๙) เงินรายรับอื่นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด" ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๘/๓๒ง/๒๙/๒๐ เมษายน ๒๕๓๘] ธิดาวรรณ / แก้ไข ๓๐ ส.ค. ๒๕๔๕ B+A(C)
316862
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินหรือทำการ เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารหรือสถาบันการเงินของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินหรือทำการ เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๘ --------------------- อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ และข้อ ๑๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๔ และข้อ ๗ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ ยืมเงิน หรือทำการเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินของสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ ยืมเงิน หรือทำการเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารหรือสถาบันการเงินของสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร "ประธานกรรมการ" หมายความว่า ประธานกรรมการบริหารกิจการสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร "ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานสถานธนานุบาล กรุงเทพมหานคร ข้อ ๕ การกู้ ยืมเงินหรือทำการเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร จะกระทำได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา กรุงเทพมหานครก่อน และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุจำเป็นหรือเร่งด่วน และเหตุนั้นต้องอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนัก งานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หรือสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร หรือ (๒) เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการตามปกติ หรือการขยาย หรือการ พัฒนาการดำเนินกิจการสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ให้สำนักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร เสนอรายละเอียดต่าง ๆ ต่อ คณะกรรมการเพื่อพิจารณาก่อนทุกครั้ง โดยอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงิน ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ระยะเวลา อัตราดอกเบี้ย และหลักประกันในการกู้ ยืมเงิน หรือทำการเบิกเงิน เกินบัญชี เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้วให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อ พิจารณาและขอความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครต่อไป ข้อ ๗ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจในการลงนามในสัญญาการกู้ ยืมเงิน หรือการเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารหรือสถาบันการเงินในนามของกรุงเทพมหานคร โดย ให้ประธานกรรมการและผู้อำนวยการ ลงนามในสัญญาในฐานะพยาน ข้อ ๘ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๘/พ๘ง/๑๕๘/๑๕ มีนาคม ๒๕๓๘] เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข ๒๘/๐๘/๔๕ B+A
316782
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เช่าเลี้ยงแพะ พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้เช่าเลี้ยงแพะ พ.ศ.๒๕๓๘ ------------------- โดยที่กรุงเทพมหานครมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเลี้ยงแพะ อาศัยอำนาจตาม ความในข้อ ๕ และข้อ ๑๒ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การทรัพย์สิน พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการให้เช่าเลี้ยงแพะไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้เช่าเลี้ยงแพะ พ.ศ.๒๕๓๘ ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาให้เช่า เลี้ยงแพะ" ประกอบด้วย (๑) ผู้อำนวยการเขตท้องที่ ประธานกรรมการ (๒) หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมเกษตรกรรม กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาชุมชน กรรมการ (๓) หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนเขตท้องที่ กรรมการ (๔) ปศุสัตว์อำเภอท้องที่ กรรมการ (๕) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านส่งเสริม อาชีพการเกษตรที่ผู้อำนวยการเขต ท้องที่แต่งตั้ง กรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ยื่นคำร้อง พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการเช่าและจำนวนแพะ เสนอปลัดกรุงเทพมหานครอนุมัติ ข้อ ๕ ผู้เช่าเลี้ยงแพะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) สัญชาติไทย (๒) มีความประพฤติดี (๓) เป็นผู้มีอายุตั้งแต่ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๕๕ ปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำ ร้องแสดงความจำนงขอเช่าเลี้ยงแพะ (๔) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเป็นผู้ที่ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อแพะเลี้ยงเอง ได้ (๕) ไม่เป็นโรคติดต่อและเป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (๖) มีภูมิลำเนาในเขตท้องที่ที่ยื่นคำร้องขอเช่าเลี้ยงแพะ ข้อ ๖ ให้ผู้ประสงค์ขอเช่าเลี้ยงแพะยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อผู้อำนวยการ เขตท้องที่ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ข้อ ๗ การให้เช่าเลี้ยงแพะ คณะกรรมการพิจารณาให้เช่าได้ในระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี ข้อ ๘ การให้เช่าเลี้ยงแพะ ให้ผู้ยื่นคำร้องขอเช่าเลี้ยงแพะได้ไม่เกินรายละ ๒ คู่ ข้อ ๙ ผู้เช่าเลี้ยงแพะต้องทำสัญญาเช่าและสัญญาค้ำประกันตามแบบท้าย ระเบียบนี้ ข้อ ๑๐ ผู้เช่าเลี้ยงแพะต้องจัดหาหลักประกันเพื่อประกันการเช่าเลี้ยงแพะอย่างใด อย่างหนึ่งดังนี้ (๑) บุคคลซึ่งเป็นกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านที่ผู้เช่าเลี้ยงแพะมีภูมิลำเนาอยู่ (๒) บุคคลที่เป็นข้าราชการระดับ ๓ ขึ้นไป หรือเทียบเท่า (๓) บุคคลที่มีภูมิลำเนาในหมู่บ้านเดียวกันกับผู้เช่าเลี้ยงแพะ จำนวนไม่น้อยกว่า ๔ คน (๔) หลักทรัพย์อื่นไม่ต่ำกว่าราคาแพะ ข้อ ๑๑ ผู้เช่าเลี้ยงแพะต้องเสียค่าเช่าตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้เช่าเลี้ยงแพะจะได้น้ำนมและลูกแพะที่เกิดจากแพะที่เช่า ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการเขตท้องที่ควบคุมดูแลแพะที่อยู่ในอายุสัญญาเช่าให้เป็นไป ตามสัญญาเช่าโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๔ ให้ผู้อำนวยการเขตท้องที่ทำทะเบียนการให้เช่าและรายงานการเปลี่ยนแปลง การให้เช่าต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผ่านกองส่งเสริมอาชีพสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๕ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย] [รก.๒๕๓๘/พ๒๕ง/๓๗/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘] เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข ๒๗/๐๘/๔๕ B+A(C)
328470
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ -------------------------- โดยที่เป็นการสมควรออกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราช การกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๗ และข้อ ๘ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออก คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด ๑ ข้อ ๕ ในระเบียบนี้ "กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร" หมายความว่า กองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร ที่จัดตั้งขึ้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุน การพัฒนาชุมชน "คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร "ชุมชน" หมายความว่า ชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการ ชุมชน "คณะกรรมการชุมชน" หมายความว่า คณะกรรมการชุมชนตามระเบียบ กรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน "กองทุนชุมชน" หมายความว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ประชาชนในชุมชนได้ดำเนิน การจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการหาผลประโยชน์และให้บริการด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านแก่ประชา ชนในชุมชน โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุมชน "เงินยืมสมทบ" หมายความว่า เงินที่ให้กองทุนชุมชนยืมโดยไม่มีดอกเบี้ยและมี กำหนดระยะเวลาใช้คืนจากกองทุนชุมชน หมวด ๒ กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๖ ให้จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร" ขึ้นในสำนักพัฒนา ชุมชนเพื่อสนับสนุนกองทุนชุมชน โดยให้ยืมเงินสมทบโครงการแก่กองทุนชุมชน เพื่อนำไปดำเนิน งานพัฒนาชุมชน ข้อ ๗ กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร อาจได้มาซึ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (๑) เงินงบประมาณของกรุงเทพมหานคร (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๔) เงินที่ได้รับจากการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๕) ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร ข้อ ๘ ให้สำนักพัฒนาชุมชนเปิดบัญชีเงินฝากกองทุนพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานครกับธนาคารออมสินหรือธนาคารอื่นใดที่มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามที่คณะ กรรมการเห็นสมควรและโดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมวด ๓ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย ๑. รองปลัดกรุงเทพมหานคร สั่งราชการสำนักพัฒนาชุมชน เป็น ประธานกรรมการ ๒. ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน เป็น รองประธานกรรมการ ๓. รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน สั่งราชการกองแผนงาน และพัฒนาชุมชน เป็น กรรมการ ๔. กรรมการผู้จัดการสำนักงานพัฒนา ชุมชนเมือง หรือผู้แทน เป็น กรรมการ ๕. ผู้อำนวยการกองระบบการคลัง หรือผู้แทน เป็น กรรมการ ๖. ผู้อำนวยการกองงบประมาณ หรือผู้แทน เป็น กรรมการ ๗. ผู้อำนวยการกองกฎหมายและคดี หรือผู้แทน เป็น กรรมการ ๘. ผู้อำนวยการกองส่งเสริมอาชีพ เป็น กรรมการ ๙. ผู้อำนวยการกองแผนงาน และพัฒนาชุมชน เป็น กรรมการ และเลขานุการ ๑๐. เลขานุการสำนักพัฒนาชุมชน เป็น กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ๑๑. หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและ จัดระเบียบชุมชน เป็น กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) กำหนดแนวทางในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๒) กำหนดสัดส่วนเงินยืมสมทบและอนุมัติเงินยืมสมทบให้แก่กองทุนชุมชน (๓) ผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้คืนเงินยืมสมทบโดยความ เห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๔) กำกับและติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุน พัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครและกองทุนชุมชน (๕) แต่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคลเพื่อดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ตาม ความจำเป็น (๖) มีอำนาจเชิญบุคคลจากส่วนราชการและภาคเอกชนมาช่วยดำเนินงาน หรือเพื่อให้ชี้แจงหรือให้ข้อมูลสถิติใด ๆ หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการของกองทุน พัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร (๗) ดำเนินการอื่นใดของกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานครเพื่อให้เป็นไป ตามระเบียบนี้ ข้อ ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุมการวินิจฉัยชี้ขาดที่ประชุมให้ถือเอาเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ ประธานในที่ประชุมออกเสียงหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกเสียงเป็นเสียงชี้ขาด หมวด ๔ การขอรับเงินยืมสมทบกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร ข้อ ๑๒ กองทุนชุมชน ที่มีสิทธิขอรับเงินยืมสมทบโครงการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) เป็นกองทุนชุมชนที่อยู่ในชุมชนในพื้นที่เขตของกรุงเทพมหานคร (๒) เป็นกองทุนชุมชนที่ได้จัดตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน (๓) มีเงินทุนสะสมของกองทุนชุมชนอยู่แล้วไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท (๔) เป็นกองทุนชุมชนที่มีกรรมการกองทุนชุมชน และการบริหารงานกองทุน ชุมชนตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๕ และหมวด ๖ ข้อ ๑๓ การยืมเงินสมทบให้กรรมการกองทุนชุมชน จัดทำโครงการตามแบบที่ คณะกรรมการกำหนดแล้วเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการชุมชน เมื่อได้รับความเห็น ชอบแล้วให้เสนอผ่านสำนักงานเขตพื้นที่ไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ข้อ ๑๔ ลักษณะของโครงการที่มีสิทธิขอรับเงินยืมสมทบ คือ (๑) เป็นการลงทุนเพื่อขยายหรือปรับปรุงกิจการเดิมของกองทุนชุมชนที่มีอยู่ แล้วในชุมชน (๒) เป็นการลงทุนเพื่อการผลิต การค้า หรือการบริการทางสังคม (๓) เป็นการลงทุนด้านการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ซึ่งมีแผน จัดเก็บเงินจากผู้ได้รับประโยชน์ เพื่อใช้คืนเงินยืมสมทบ ข้อ ๑๕ การใช้คืนเงินยืมสมทบของกองทุนชุมชน ให้เป็นไปตามแผนการใช้คืน เงินยืมที่คณะกรรมการกำหนดโดยมีระยะปลอดหนี้ ๓ ปี และต้องส่งใช้คืนให้ครบภายใน ๖ ปี นับ แต่วันที่กองทุนชุมชนได้รับเงินยืมสมทบ กรณีกองทุนชุมชนผิดนัดไม่ส่งใช้คืนภายในกำหนดตามวรรคแรก ให้คิดเบี้ยปรับ ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ ข้อ ๑๖ ให้สำนักงานเขตพื้นที่มีหน้าที่เร่งรัดการส่งใช้คืนเงินยืมสมทบจากกอง ทุนชุมชน ข้อ ๑๗ ในกรณีเกิดเหตุจำเป็นหรือภัยพิบัติสาธารณะ ทำให้โครงการที่ได้รับ เงินยืมสมทบไปไม่สามารถดำเนินกิจการให้ได้ผลเท่าที่ควรให้กองทุนชุมชนยื่นคำร้องต่อคณะ กรรมการเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาผ่อนผัน หรือยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการยืมเงิน สมทบโดยผ่านคณะกรรมการชุมชนและสำนักงานเขตพื้นที่ ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานเขตเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับและติดตามผลการ ดำเนินโครงการที่ได้รับเงินยืมสมทบจากกองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร หากมีข้อร้องเรียน หรือพฤติการณ์ที่แสดงว่ามีการทุจริตหรือมีการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ให้สำนักงานเขตดำเนินการ สอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริง แล้วรายงานคณะกรรมการทราบ ในกรณีจำเป็น สำนักงานเขตอาจสั่งระงับหรือยับยั้งการดำเนินการตามโครงการ ทั้งหมด หรือบางส่วนก็ได้ ข้อ ๑๙ ให้กองทุนชุมชนรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานโดยผ่าน คณะกรรมการชุมชนให้สำนักงานเขตทราบและให้สำนักงานเขตรายงานคณะกรรมการทุก ๖ เดือน ข้อ ๒๐ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนให้ความสนับสนุน ช่วย เหลือ แนะนำ ปรึกษา ทางด้านวิชาการ ด้านเทคนิค หรือข้อมูลสถิติ เอกสารในการจัดทำโครงการ แก่กองทุนชุมชนตามสมควร หมวด ๕ กรรมการกองทุนชุมชน ข้อ ๒๑ ให้มีคณะผู้บริหารงานกองทุนชุมชน ไม่น้อยกว่า ๗ คน เรียกว่า "กรรมการกองทุนชุมชน" ข้อ ๒๒ กรรมการกองทุนชุมชน ประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) ประธานกองทุนชุมชน (๒) รองประธานกองทุนชุมชน (๓) เลขานุการกองทุนชุมชน (๔) เหรัญญิกกองทุนชุมชน ข้อ ๒๓ กรรมการกองทุนชุมชนมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกกองทุนชุมชน ข้อ ๒๔ การพ้นจากตำแหน่งหรือในกรณีเมื่อตำแหน่งใดว่างลงของกรรมการ กองทุนชุมชนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกองทุนชุมชน หมวด ๕ การบริหารงานกองทุนชุมชน ข้อ ๒๕ กรรมการกองทุนชุมชนมีหน้าที่ออกระเบียบข้อบังคับการใช้จ่ายเงิน กองทุนชุมชน และวางแผนจัดทำโครงการหรือกิจกรรมตลอดจนการดำเนินการเพื่อหารายได้สมทบ เงินกองทุนชุมชน ข้อ ๒๖ คณะกรรมการชุมชนเป็นผู้ควบคุมการบริหารงานของกรรมการกองทุน ชุมชนโดยมีเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครเป็นที่ปรึกษา ข้อ ๒๗ ให้คณะกรรมการชุมชนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบกองทุนชุมชนไม่น้อยกว่า ๒ คน โดยผู้ตรวจจะต้องไม่เป็นกรรมการกองทุนชุมชน ข้อ ๒๘ ผู้ตรวจสอบกองทุนชุมชน มีหน้าที่ติดตาม สอบถาม และตรวจสอบ บัญชีรายรับ - รายจ่าย ของกองทุนชุมชน แล้วรายงานคณะกรรมการชุมชนอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง ประกาศ ณ วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๘/พ๒๕ง/๒๖/๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘] ธิดาวรรณ / แก้ไข ๓๐ ส.ค. ๒๕๔๕ B+A(C)
316781
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2538
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘ ----------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๖ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนด ประเภทรายรับ-รายจ่ายและการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการ งบประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่าย เงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงินขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่าย เงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน "ข้อ ๑๐ การเบิกเงินกับหน่วยการคลังใด ให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในวงเงิน ประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เว้นแต่เป็นการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายในหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง ประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดสาธารณูปโภค และกรณีการเบิกเงินที่ไม่เกี่ยวกับเงินงบประมาณ รายจ่าย สำหรับการเบิกเงินที่จะต้องโอนไปให้หน่วยการคลังใดเบิกจ่ายเอง ให้เป็นไปตามที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนด" ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน "ข้อ ๑๗ การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณ ให้นำความในข้อ ๔๑ มา ใช้บังคับโดยอนุโลมและอยู่ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) เป็นใบสำคัญค้างเบิกไม่เกินสามปี (๒) การก่อหนี้ผูกพันต้องไม่เกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับ อนุมัติในปีนั้น (๓) การนับวัน เดือน ปีในใบสำคัญค้างเบิกนั้น ให้ถือวัน เดือน ปีที่ส่งมอบวัตถุแห่ง หนี้เป็นสำคัญ (๔) ให้ทำการเบิกจ่ายได้เฉพาะหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่ว คราว หมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และหมวดค่าสาธารณูปโภค" ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ ข้อ ๒๔ และข้อ ๒๕ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๒๓ ในการเบิกเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าซื้อพัสดุหรือจ้างทำของ ให้แสดงรายการ พัสดุและจำนวนเงินเป็นรายประเภทในฎีกาขอเบิกเงิน และให้ผู้เบิกรับรองด้านหลังฎีกาว่า การเบิกเงิน ตามฎีกาได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุถูกต้องแล้ว และมีหนี้สินผูกพันที่ถึง กำหนดหรือใกล้จะถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายเงิน โดยให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วย" "ข้อ ๒๔ การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ ให้ถือปฏิบัติดังนี้ (๑) เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการให้เบิกในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และให้มี รายละเอียดแสดงรายชื่อข้าราชการ อัตราเงินเดือน และจำนวนเงินที่ขอเบิกแต่ละคนแนบไป พร้อมฎีกา (๒) การเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการครั้งแรก หรือในกรณีที่ได้มีการ เปลี่ยนแปลงอัตราค่าเช่าบ้านที่ได้รับอนุมัติแล้วให้มีคำขอรับเงินค่าเช่าบ้านแนบฎีกาด้วยหนึ่งฉบับ (๓) ให้ส่งใบเสร็จรับเงินค่าเช่าบ้านแนบฎีกาเบิกเงิน เพื่อประกอบการตรวจสอบ (๔) ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งอยู่ในข่ายที่จะเบิกเงินค่าเช่าบ้านได้อยู่แล้วได้รับการแต่ง ตั้งไปสังกัดหน่วยงานอื่น แต่มีความจำเป็นต้องเช่าบ้านเดิมอยู่ต่อไปอีก และได้รับอนุมัติจาก ปลัดกรุงเทพมหานครแล้ว ให้เบิกและจ่ายเงินค่าเช่าบ้านได้โดยถือปฏิบัติตาม (๑) (๒) และ (๓) แต่ ทั้งนี้ให้เบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านได้ไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันทราบคำสั่ง" "ข้อ ๒๕ การเบิกเงินในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ และในลักษณะค่า ตอบแทน ให้มีหลักฐานแสดงว่าเงินจำนวนที่ขอเบิกนี้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร" ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๓ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน "ข้อ ๓๓ การตรวจฎีกาเบิกเงินงบประมาณ ให้ตรวจสอบในสาระสำคัญดังต่อไปนี้ แล้วจึงเสนอขออนุมัติฎีกา (๑) มีลายมือชื่อพร้อมวงเล็บชื่อของผู้เบิกเงินครบถ้วนถูกต้อง (๒) มีหนี้สินผูกพันหรือมีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินและถึงกำหนดหรือใกล้ถึง กำหนดที่จะต้องจ่ายเงินและการก่อหนี้ได้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของผู้ มีอำนาจ หรือมีคำรับรองของผู้เบิกตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๓ แล้วแต่กรณี (๓) มีเงินประจำงวดเพียงพอ ยกเว้นหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดสาธารณูปโภค มีรายการถูกต้องตรงกับงบประมาณและมีคำสั่งของผู้มี อำนาจอนุมัติโดยชอบแล้ว (๔) มีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง การตรวจและขออนุมัติฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณให้ถือปฏิบัติตามวรรคหนึ่งโดย อนุโลม" ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔๘ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน "ข้อ ๔๘ การเบิกจ่ายเงินในหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ ในลักษณะค่าใช้ สอยให้ทำการเบิกจ่ายได้ตามงบประมาณที่ได้รับอนุญาต เว้นแต่การเบิกจ่ายเป็นค่าบำรุงรักษา ซ่อม แซมถนน สะพาน หรือพัสดุ แม้จะได้มีงบประมาณที่ได้รับอนุญาตไว้ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แต่มิได้จำแนกรายละเอียดไว้ หากวงเงินเกิน ๕,๐๐๐ บาท ต้องทำประมาณการรายละเอียด เพื่อให้ผู้มีอำนาจสั่งจ้างตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการพัสดุอนุมัติเสียก่อน" ข้อ ๘ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕๐ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.๒๕๓๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทน "ข้อ ๕๐ การเบิกจ่ายเงินในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หรือรายจ่ายอื่น ใด ที่ถือจ่ายในลักษณะเดียวกันจะจ่ายได้เมื่อถึงกำหนดจ่าย ถ้ามีสัญญาระบุการปฏิบัติไว้ต้องมี ใบรับรองแสดงว่าผู้ขอรับเงินได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาแล้วด้วย" ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๘ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๘/พ๓๙ง/๑๐/๖ ตุลาคม ๒๕๓๘] เพ็ญพร/แก้ไข ๒๗/๐๘/๔๕ B+A(C)
325639
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. 2537
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ ประกอบกับข้อ ๔ ข้อ ๘ และข้อ ๙ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๓๗” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ การช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ให้พิจารณาช่วยเหลือตามความเหมาะสมและจำเป็นของแต่ละราย โดยคำนึงถึงฐานะความจำเป็นที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เพื่อให้ผู้ประสบสาธารณภัยสามารถผ่อนคลายความเดือดร้อนเฉพาะหน้าลง มิใช่เป็นการชดใช้ค่าเสียหายให้ ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือตามระเบียบนี้ ต้องมีหนังสือรับรองจากสำนักงานเขตท้องที่ว่าเป็นผู้ได้ประสบสาธารณภัย และมาติดต่อขอรับความช่วยเหลือพร้อมด้วยหนังสือรับรองดังกล่าว ภายในกำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย ข้อ ๖ การให้ความช่วยเหลือ อาจจะให้เป็นเงิน วัสดุสิ่งของหรือบริการ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และอัตราดังต่อไปนี้ ก. ประเภทการเงิน ๑. ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๒. ค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บจากการประสบสาธารณภัย ให้ช่วยเหลือตามความจำเป็น ดังนี้ ๒.๑ ค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๒.๒ กรณีบาดเจ็บต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลให้ช่วยเหลือเป็นเงินค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ในกรณีที่เป็นสาธารณภัยรายใหญ่หรือรุนแรงเป็นที่สะเทือนขวัญของประชาชนทั่วไป ให้จ่ายเงินปลอบขวัญคนละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท ๒.๓ กรณีบาดเจ็บสาหัสหรือพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้และเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงครอบครัว ให้ช่วยเหลือเป็นเงินค่าครองชีพคนละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทต่อเดือน ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑ ปี ๓. ค่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรือค่าเช่าบ้าน หากผู้ประสบสาธารณภัยพักอาศัยในบ้านหรือที่พักอาศัยอื่นซึ่งต้องเสียค่าที่พักอาศัยชั่วคราวหรือค่าเช่าบ้าน ให้ช่วยเหลือครอบครัวละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน เป็นเวลาไม่เกิน ๒ เดือน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย ในกรณีจำเป็นให้หน่วยงานจัดทำหรือจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวเพื่อให้ผู้ประสบสาธารณภัยได้พักอาศัยชั่วคราวได้ไม่เกิน ๒ เดือน นับแต่วันที่ประสบสาธารณภัย โดยให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ๔. เงินทุนประกอบอาชีพ ครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๕. เงินทุนฝึกอาชีพ เฉพาะผู้ประสบสาธารณภัยที่ได้รับอันตรายเป็นเหตุให้ไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ต้องได้รับการฝึกอาชีพใหม่ ในวงเงินคนละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ๖. ค่าพาหนะในการส่งกลับภูมิลำเนาเดิม สำหรับผู้ประสบสาธารณภัยที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครแต่มาอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และมีความประสงค์จะอพยพกลับภูมิลำเนาเดิม ในวงเงินเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ต่อหนึ่งคน ๗. ค่าพาหนะในการขนส่งสิ่งของเครื่องใช้ไปยังที่พักแห่งใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ต่อหนึ่งครอบครัว ๘. เงินสมทบจัดซื้อสัตว์เลี้ยงหรือพืชพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ในกรณีที่ผู้ประสบสาธารณภัยมีอาชีพในการทำเกษตรกรรมหรือเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาทต่อหนึ่งครอบครัว ข. ประเภทสิ่งของ ๑. วัสดุสมทบสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือนซึ่งผู้ประสบสาธารณภัยเป็นเจ้าของ จะให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ ๑.๑ บ้านเรือนที่เป็นที่อยู่ประจำได้รับความเสียหายบางส่วน เท่าที่เสียหายจริงมูลค่าหลังละไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท ๑.๒ บ้านเรือนที่เป็นที่อยู่ประจำได้รับความเสียหายทั้งหลัง เท่าที่เสียหายจริงมูลค่าหลังละไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ บาท ๒. วัสดุสมทบสร้างหรือซ่อมแซมสำนักสงฆ์ วัด หรือศาสนสถาน ที่ได้รับความเสียหายบางส่วนหรือได้รับความเสียหายทั้งหลัง เท่าที่เสียหายจริงมูลค่าหลังละไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ บาท ๓. เครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค เครื่องครัว เครื่องมือประกอบอาชีพ และเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว ๓.๑ เครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม มูลค่ารวมคนละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ๓.๒ ยารักษาโรค มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๒๐๐ บาท ๓.๓ เครื่องครัว มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ๓.๔ เครื่องมือประกอบอาชีพ มูลค่าค่าครอบครัวละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ในกรณีที่ไม่ได้รับเงินทุนประกอบอาชีพ ๓.๕ เครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว มูลค่าครอบครัวละไม่เกิน ๓๐๐ บาท ๔. เครื่องแบบนักเรียน หนังสือ และอุปกรณ์การเรียน ๔.๑ เครื่องแบบนักเรียนคนละ ๒ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ๔.๒ หนังสือและอุปกรณ์การเรียนคนละ ๑ ชุด มูลค่าไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ค. ประเภทบริการ ๑. ค่าจัดเลี้ยงอาหารแก่ผู้ประสบสาธารณภัย เท่าที่จ่ายจริงมื้อละไม่เกิน ๒๐ บาทต่อคน ๒. ค่าจัดสร้างหรือดัดแปลงสถานที่พักชั่วคราว ซึ่งรวมทั้งการจัดน้ำดื่มและใช้สอย ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงครัว และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ครอบครัวละไม่เกิน ๔,๐๐๐ บาท ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องอพยพผู้ประสบสาธารณภัยไปในที่ปลอดภัย อาจให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้ ๑. ค่าจัดการขนย้ายผู้ประสบสาธารณภัยจากสถานที่ประสบภัยไปยังที่พักอาศัยชั่วคราว และขนย้ายกลับที่อยู่เดิมเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่สภาพปกติ ให้จัดยานพาหนะของทางราชการบริการก่อน หากไม่สามารถบริการได้หรือบริการไม่พอกับความต้องการที่จำเป็นเร่งด่วน ให้พิจารณาจ้างเหมายานพาหนะรวมถึงค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ตามความจำเป็นโดยประหยัด และให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท ๒. ค่าจัดหาที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับผู้อพยพ หากจำเป็นต้องดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ ให้ดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและโดยประหยัด และค่าใช้จ่ายในการจัดสาธารณูปโภคในที่พักอาศัยชั่วคราวตามความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๖ ค.๒ ข้อ ๘ ให้ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคมแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ไม่น้อยกว่า ๓ คน โดยมีผู้อำนวยการกองสังคมสงเคราะห์เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติการให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสม เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ในกรณีที่จำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการต่างหน่วยงาน ให้สำนักสวัสดิการสังคมเสนอปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาแต่งตั้ง ข้อ ๙ การให้ความช่วยเหลือตามข้อ ๖ ค. และข้อ ๗ ในกรณีเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของผู้ประสบสาธารณภัยไปพลางก่อน ให้สำนักงานเขตท้องที่เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการ ส่วนอำนาจการอนุมัติให้เป็นของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้อำนวยการกองสังคมสงเคราะห์ ครั้งละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคม ครั้งละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๓) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งละไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน ข้อ ๑๐ บรรดาเงินและทรัพย์สินหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากเงินและทรัพย์สินที่หน่วยงานได้รับจากผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานหรือกรุงเทพมหานครใช้จ่ายในกิจการการสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ไม่ต้องนำส่งเป็นรายรับหรือขึ้นทะเบียนเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร โดยให้หน่วยงานนั้น ๆ จัดตั้งเป็นกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ๑๐.๑ กองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย อาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ ๑๐.๑.๑ เงินงบประมาณของกรุงเทพมหานคร ๑๐.๑.๒ เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ ๑๐.๑.๓ ดอกผลอันเกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ๑๐.๒ การจ่ายเงิน ให้นำเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยไปใช้จ่ายได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ ๑๐.๒.๑ ทดรองจ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้วให้เบิกจ่ายเงินงบประมาณชดใช้ทันที ๑๐.๒.๒ จ่ายสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยในกรณีที่ไม่อาจเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณได้ หรือมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงานที่จะอนุมัติภายในวงเงินรายละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ๑๐.๓ ให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย ๑๐.๔ ให้หน่วยงานเก็บรักษาเงินกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยไว้เป็นเงินสดเพื่อสำรองจ่ายได้ภายในวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท นอกนั้นให้นำฝากไว้กับธนาคารตามที่มีมติของคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้และได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อบัญชีเงินฝากว่า “กองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัย” และให้ต่อท้ายด้วยชื่อหน่วยงาน ๑๐.๕ ให้หน่วยงานจัดทำบัญชีควบคุมการรับและการจ่ายเงิน เพื่อแสดงฐานะการเงินของกองทุนสงเคราะห์ผู้ประสบสาธารณภัยอย่างถูกต้อง รวมทั้งเก็บรักษาเอกสารใบสำคัญต่างๆ ๑๐.๖ เมื่อได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยไปแล้ว ให้สรุปรายงานปลัดกรุงเทพมหานครทราบเป็นประจำทุกเดือนที่มีการจ่ายเงิน ข้อ ๑๑ การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำฝากเงิน การตรวจเงิน การพัสดุ การสั่งก่อหนี้ และการสั่งจ่ายเงิน ซึ่งนอกเหนือจากที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ ให้ดำเนินการตามข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งที่กรุงเทพมหานครถือปฏิบัติ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นคราว ๆ ไป ข้อ ๑๓ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฐาปนี/แก้ไข ๑๙ กันยายน ๒๕๔๕ ปณตภร/ปรับปรุง ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๗๓/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๗
317291
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสบทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2534
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินและการส่งเงินสบทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๔ -------------------------- เพื่ออนุวัตให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพ มหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๕ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบ ขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน และการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ "ลูกจ้าง" หมายความว่า ลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานและพนักงานหรือลูกจ้าง การพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร "กองทุนประกันสังคม" หมายความว่า กองทุนประกันสังคมตามพระราช บัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ "หน่วยงาน" หมายความว่า หน่วยงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานครว่า ด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของ กรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองและรวมถึงสำนักงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย "หน่วยการคลัง"หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน และให้หมายความรวมถึง งานการคลังของสำนัก สำนักงานเขต และการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครด้วย ข้อ ๔ ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ หมวดที่ ๑ การเบิกจ่ายเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง ข้อ ๕ ให้หน่วยงานเบิกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ (๑) กรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณ ยกเว้นเงินอุดหนุนของ รัฐบาลให้เบิกจากเงินงบประมาณตามหมวดรายจ่ายที่กองงบประมาณกำหนด (๒) กรณีลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินนอกงบประมาณให้เบิกจากเงินนอก งบประมาณตามประเภทที่ใช้ในการจ้าง ข้อ ๖ ให้หน่วยงานวางฎีกาขอเบิกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจำนวน ร้อยละ ๑.๕ ของค่าจ้างก่อนหักภาษี พร้อมกับการวางฎีกาขอเบิกค่าจ้างต่อสำนักการคลังหรือ หน่วยการคลัง แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ เมื่อหน่วยงานผู้เบิกได้รับอนุมัติฎีกาเบิกเงินสมทบเข้ากองทุนประกัน สังคมแล้วให้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีกองทุนประกันสังคม ตามวิธีการที่ สำนักงานประกันสังคมกำหนดภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติ หมวดที่ ๒ การหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างสมทบเข้ากองทุน ข้อ ๘ ให้หน่วยงานหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตามจำนวนร้อยละ ๑.๕ ของ ค่าจ้างก่อนหักภาษีส่งเข้ากองทุนประกันสังคมพร้อมกับส่วนที่จะต้องนำส่งในฐานะนายจ้างตาม ข้อ ๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๔/๙๘/๑๘พ/๑มิถุนายน ๒๕๓๔] พุทธชาด/แก้ไข ๐๒/๑๐/๔๕ A+B( C)
317299
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินของสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจ่ายเงินของสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ----------------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๒๑ แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงิน ของ สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจ่ายเงินของสถานฟื้น ฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วใน ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ "สมาชิก" หมายความว่า บุคคลที่สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้รับไว้เพื่อ บำบัดรักษา "ผลผลิต" หมายความว่า สิ่งที่ได้จากการผลิตหรือการทำงานของสมาชิกตามกิจ กรรมที่สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจัดให้มีขึ้น ข้อ ๕ สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีเงินรายรับดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศ (๒) เงินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้ โดยไม่ได้ระบุว่าให้ใช้จ่ายในกิจการอย่างหนึ่งอย่าง ใดโดยเฉพาะ (๓) เงินที่ได้จากผลผลิตของสมาชิก (๔) ดอกผล ของเงินตาม (๑) (๒) และ (๓) ข้อ ๖ เงินรายรับตามข้อ ๕ ให้ใช้ได้ในกิจการดังต่อไปนี้ (๑) กิจการของสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (๒) กิจการเพื่อการป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดของสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ ติดยาเสพติด (๓) จ่ายเงินปันผลจากการทำงานของสมาชิก โดยกำหนดให้จ่ายในอัตราร้อยละ ๖๐ ของกำไรสุทธิจากผลผลิตของสมาชิกตามส่วนของการทำงาน (๔) จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงแก่สมาชิกประเภท ไป-กลับ โดยกำหนดจ่ายดังนี้ (ก) สมาชิกซึ่งทำงานในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวันละ ๓๐ บาท ต่อคน (ข) สมาชิกซึ่งทำงานนอกสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวันละ ๕๐ บาท ต่อคน ข้อ ๗ อำนาจในการอนุมัติก่อหนี้และการจ่ายเงิน ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรง ตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) หัวหน้าสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท (๒) หัวหน้าฝ่ายบำบัดการติดยาเสพติด ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (๓) ผู้อำนวยการกองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (๔) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๕) ปลัดกรุงเทพมหานคร ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๖) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดวงเงิน การก่อหนี้ การจ่ายเงิน และการพัสดุ ให้นำข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง ของกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๘ การเก็บรักษาเงินให้นำระเบียบหรือคำสั่งของกรุงเทพมหานครว่าด้วยการนั้น มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยกำหนดวงเงินการเก็บรักษาดังนี้ (๑) สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท (๒) กองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ข้อ ๙ ให้สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทำบัญชี รับ-จ่าย รวมทั้งสรรพบัญชี หรือทะเบียนอื่นใดเท่าที่จำเป็น และเก็บรวบรวมซึ่งบรรดาเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินไว้ให้ครบถ้วน พร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ ให้รายงานการรับ การจ่าย และยอดเงินคงเหลือให้ผู้อำนวยการสำนักอนามัยทราบ ทุกสิ้นเดือน และรายงานการรับการจ่ายเงินประจำปีและยอดเงินคงเหลือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา นครทราบ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่มิได้กำหนดไว้ใน ระเบียบนี้ ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๔/๒๑๘/๑๒๒๗/๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๔] เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข ๒/๑๐/๔๕ B+A(c)
304797
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2536
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อบัญญัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 ---------- โดยที่เป็นการสมควรผ่อนผันให้อาคารที่ใช้ประกอบกิจการเป็นสถานที่ จำหน่ายอาหารซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และข้อ 20 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนด ระเบียบว่าด้วยการผ่อนผันการปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการ ระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 ขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า `ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการผ่อนผัน การปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2536' ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ให้อาคารที่ใช้ประกอบกิจการเป็นที่จำหน่ายอาหารซึ่งมีพื้นที่ ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ได้รับการผ่อนผันไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พ.ศ. 2534 เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2534 ข้อ 5 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
304794
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2534
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2534 -------------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2528 อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 49 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดัง ต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า `ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2534' ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2528 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ซึ่ง ขัดหรือ แย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 5 ในระเบียบนี้ (1) ชุมชน หมายความว่า ชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน หมู่บ้านจัดสรร และชุมชน เมืองที่กรุงเทพมหานคร กำหนดขึ้นทั้งนี้โดยทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานคร (2) สมาชิกชุมชน หมายความว่า ผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนนั้น (3) ผู้อำนวยการเขต หมายความว่า ผู้อำนวยการเขตท้องที่ (4) เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายจากผู้อำนวย การ เขตให้ปฏิบัติงานตามระเบียบนี้ (5) ทรัพย์สินในความครอบครองของคณะกรรมการชุมชน หมายความว่าทรัพย์สินที่ คณะ กรรมการชุมชนครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ ข้อ 6 แบบพิมพ์และทะเบียนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด หมวด 2 กรรมการชุมชน ข้อ 7 กรรมการชุมชนเป็นตัวแทนสมาชิกชุมชน ข้อ 8 ในชุมชนหนึ่งให้มีกรรมการชุมชนซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวนอย่างน้อยชุมชนละ 7 คน ถ้าชุมชนใดมีจำนวนราษฎรเกิน 140 ครอบครัว ให้มีการเลือกกรรมการชุมนุมนั้นเพิ่มอีก 1 คนต่อจำนวนราษฎรทุก 20 ครอบครัว เศษของ 20 ถ้าเกิน 10 ให้นับเป็น 20 แต่ทั้งนี้ เมื่อรวม กรรมการชุมชนทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินจำนวน 25 คน ข้อ 9 คณะกรรมการชุมชนประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ประธานกรรมการ (2) รองประธานกรรมการ (3) เลขานุการ (4) เหรัญญิก (5) นายทะเบียน (6) ประชาสัมพันธ์ (7) ตำแหน่งอื่นใด ตามที่คณะกรรมการชุมชนเห็นสมควรแต่งตั้ง ข้อ 10 ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนจะต้องมีคุณสมบัติดัง ต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย (2) อายุ 20 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่ น้อยกว่า 180 วัน (4) มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (5) เป็นบุคคลที่ประกอบอาชีพสุจริต ไม่ประพฤติตนเป็นภัยต่อสังคม ข้อ 11 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือก ตั้งคือ (1) ติดยาเสพติดให้โทษ (2) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ (3) หูหนวกและเป็นใบ้ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ (4) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช (5) ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก และถูกคุมขับอยู่โดย หมายของศาล หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น (6) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้น ไป และ ได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันสมัครรับเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำ โดยประมาท (7) เป็นสมาชิกสภาซึ่งมีหน้าที่ทางนิติบัญญัติ สมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาเขต คณะ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการการเมือง ข้อ 12 บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (1) มีสัญชาติไทย (2) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนไม่น้อยกว่า 90 วัน ติดต่อกันถึงวันเลือก ตั้ง (3) อายุ 20 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ข้อ 13 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้ สิทธิเลือกตั้ง คือ (1) เป็นบุคคลต้องห้ามตามข้อ 11 (2) (3) หรือ (4) (2) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อ 14 กรรมการชุมชนดำรงตำแหน่งตามวาระคราวละ 2 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง ข้อ 15 กรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ครบกำหนดตามวาระ (2) ตาย (3) ลาออก (4) ย้ายออกจากชุมชน (5) ปรากฏภายหลังว่าขาดคุณสมบัติตามข้อ 10 หรือ มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 11 (6) กรรมการว่างลงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง กรรมการส่วนที่เหลือให้ถือว่าพ้นจาก ตำแหน่ง (7) หัวหน้าครอบครัวในชุมชนจำนวน 1 ใน 3 เข้าชื่อเสนอต่อประธานกรรมการ ชุมชน ให้ กรรมการชุมชนคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง และกรรมการชุมชนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ของกรรมการ ชุมชนทั้งชุดให้ความเห็นชอบ (8) หัวหน้าครอบครัวในชุมชน จำนวน 3 ใน 4 เข้าชื่อ เสนอต่อผู้อำนวยการเขต ให้ กรรมการชุมชนทั้งชุดพ้นจากตำแหน่งและผู้อำนวยการเขตให้ความเห็นชอบ (9) ต้องโทษจำคุกฐานกระทำความผิดในคดีอาญายกเว้นการกระทำความผิดลหุโทษ หรือ กระทำความผิดโดยประมาท หมวด 3 การเลือกตั้งกรรมการชุมชน ข้อ 16 ให้ผู้อำนวยการเขต แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้งอย่างน้อย 7 คน ข้อ 17 ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการชุมชนต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเอง พร้อม หลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนและรูปถ่ายหน้าตรง ตามวัน และสถานที่ที่ กำหนด กำหนดวันรับสมัคร วันเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้งและสถานที่เลือกให้ทำเป็น ประกาศของผู้อำนวยการเขต ข้อ 18 ในชุมชนใดถ้ามีผู้สมัครไม่เกินจำนวนกรรมการชุมชนที่กำหนดไว้ให้ถือว่าผู้ สมัครได้รับ เลือกตั้งโดยไม่มีการเลือกตั้ง ข้อ 19 วิธีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนให้เป็นไปตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ 20 ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และให้มี อำนาจใน การเพิ่มชื่อและถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ การประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ให้ติดประกาศไว้ในชุมชนให้ทราบก่อน วันเลือกตั้ง อย่างน้อย 7 วัน ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่าตนไม่มีชื่ออยู่ในบัญชี รายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง หรือมีผู้ซึ่งไม่ มีสิทธิ์เลือกตั้งมีชื่ออยู่ในบัญชี รายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ให้มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมชื่อหรือขอถอนชื่อ ต่อ ผู้อำนวยการเขต ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 วัน ข้อ 21 ให้ผู้อำนวยการเขตจัดทำประกาศแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการชุมชน และเสนอให้ ผู้ ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในบัตรประจำตัวกรรมการชุมชน ข้อ 22 เมื่อกรรมการชุมชนว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 15 (1) (6) หรือ (8) ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนภายในกำหนดเวลา 45 วัน นับแต่วันที่กรรมการชุมชนนั้นพ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่วาระของกรรมการชุมชนจะเหลือไม่ ถึง 180 วัน กรรมการชุมชนซึ่งได้รับการเลือกตั้งใหม่ ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลา ของผู้ซึ่ง ตนแทน ข้อ 23 เมื่อกรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 15 (1) ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มี การเลือกตั้งกรรมการชุมชนชุดใหม่ ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่กรรมการชุมชนพ้น จาก ตำแหน่ง ในกรณีที่กรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 15 (6) หรือ (8) ให้ผู้อำนวยการเขตจัด ให้มีการเลือกตั้งกรรมการชุมชนชุดใหม่ภายในกำหนดเวลา 45 วัน นับแต่วันที่กรรมการชุมชน พ้น จากตำแหน่งและให้กรรมการชุมชนชุดใหม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ตามข้อ 14 ในกรณีที่ผู้อำนวยการเขตเห็นว่ามีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และวรรค สองได้ ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าการเลือกตั้งกรรมการชุด ใหม่แล้วเสร็จ ข้อ 24 เมื่อคณะกรรมการชุมชนพ้นจากตำแหน่งตามข้อ 15 (1) (6) หรือ (8) คณะ กรรมการ ชุมชนจะต้องส่งมอบงานและทรัพย์สินในความครอบครองของคณะกรรมการชุมชนให้แก่ ผู้อำนวยการ เขตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อให้ ผู้อำนวย การเขตมอบให้คณะกรรมการชุมชนชุดใหม่ต่อไป หมวด 4 การดำเนินงานของกรรมการชุมชน ข้อ 25 คณะกรรมการชุมชนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (2) ประสานงานและดำเนินงานร่วมกับหน่วยราชการองค์การ และหน่วยงาน เอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชน (3) พัฒนาชุมชนทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมโดยการมีส่วนร่วมของ ประชาชน และระดมทรัพยากรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (4) เสริมสร้างความสามัคคีและการมีวินัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชน (5) ส่งเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอันดีงาม (6) ดูแลรักษาทรัพย์สินของชุมชนและสาธารณสมบัติ (7) เผยแพร่ผลงาน ติดตาม และรายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และ องค์กรต่าง ๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนต่อผู้อำนวยการเขต (8) แต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสม เป็นที่ปรึกษา หรือคณะทำงานใน ฝ่าย ต่าง ๆ ข้อ 26 ผู้ได้รับแต่งตั้งตามข้อ 25 (8) ให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) กรรมการชุมชนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 เห็นชอบให้พ้นจากตำแหน่ง (4) คณะกรรมการชุมชนซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง ข้อ 27 ให้นักพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร และหรือเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการเขตมอบ หมายเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุมชน ข้อ 28 ให้ผู้อำนวยการเขตจัดให้มีการประชุมกรรมการชุมชนครั้งแรกภายใน 30 วัน นับ แต่ วันเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาเลือกกรรมการชุมชนตำแหน่งต่าง ๆ โดยให้ผู้อำนวยการเขตทำหน้า ที่ ประธานในที่ประชุม หมวด 5 หน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการชุมชนตำแหน่งต่าง ๆ ข้อ 29 ประธานกรรมการชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) เรียกประชุมคณะกรรมการชุมชน และเป็นประธานในที่ประชุม (2) ควบคุมดูแลการติดตามผลการดำเนินงานของกรรมการและเจ้าหน้าที่ (3) เป็นตัวแทนของคณะกรรมการชุมชนในการติดต่อประสานกับหน่วยราชการ องค์ และ หน่วยงานเอกชนต่าง ๆ (4) หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือที่คณะกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ 30 รองประธานกรรมการชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ (1) ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการชุมชนในกรณีที่ประธานกรรมการชุมชนไม่อยู่ หรือ อยู่แต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ (2) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ 31 เลขานุการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) เตรียมการนัดประชุมและจัดระเบียบวาระการประชุม (2) จดรายงานการประชุม (3) จัดเก็บและดูแลรักษาเอกสารของคณะกรรมการชุมชน (4) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ 32 เหรัญญิก มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้ (1) จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย (2) รับผิดชอบเก็บรักษาเงินสดไม่เกิน 1,000 บาท หากเกินกว่าจำนวนนี้ให้นำ ฝาก ธนาคารภายใน 7 วัน ในนามของชุมชน (3) ฝากและถอนเงิน สำหรับกรณีการถอนเงินให้ลงนามร่วมกับผู้ที่ได้มอบหมาย จากคณะกรรมการชุมชนอีก 2 คน (4) จ่ายเงินตามที่คณะกรรมการชุมชนมีมติอนุมัติเว้นแต่กรณีฉุกเฉินให้ประธาน กรรมการชุมชนมีอำนาจสั่งจ่ายได้ไม่เกิน 1,000 บาท แล้วให้รายงานต่อที่ประชุมในการ ประชุมครั้งต่อไป (5) จัดทำทะเบียนทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของคณะกรรมการชุมชน (6) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ 33 นายทะเบียน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) จัดทำแผนที่ชุมชน (2) สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลประชากรในชุมชนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ (3) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย ข้อ 34 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) จัดทำและเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ (2) ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา (3) รับเรื่องราวร้องทุกข์และรวบรวมปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนเสนอต่อคณะกรรม การ ชุมชน (4) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ประธานกรรมการชุมชนมอบหมาย หมวด 6 การประชุม ข้อ 35 ให้มีการประชุมคณะกรรมการชุมชนเดือนละครั้ง ในกรณีที่กรรมชุมชนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุมชนตามข้อ 27 เห็นสมควรให้มีการประชุมคณะกรรมชุมชนเป็นกรณีพิเศษ ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมภายใน 7 วัน ข้อ 36 การนัดประชุมต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน พร้อมทั้งวาระการ ประชุมเว้นแต่ได้นัดในที่ประชุมแล้ว ข้อ 37 การจัดระเบียบวาระการประชุม ให้จัดลำดับดังต่อไปนี้ (1) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (2) เรื่องรับรองรายงานการประชุม (3) เรื่องเพื่อทราบ (4) เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว (5) เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา (6) เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ข้อ 38 การประชุมคณะกรรมการชุมชน ต้องมีกรรมการชุมชนมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของกรรมการชุมชนที่ดำรงตำแหน่งอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ข้อ 39 เมื่อพ้นกำหนดเวลาการประชุมไปแล้ว 30 นาที กรรมการชุมชนยังไม่ครบองค์ ประชุม ให้ประธานมีอำนาจขยายเวลาต่อไป หรือจะเลื่อนการประชุม หรือจะประชุมปรึกษาหารือกัน โดย ไม่มีการลงมติก็ได้ ในกรณีที่ไม่ครบองค์ประชุมให้เรียกประชุมครั้งใหม่ ภายใน 7 วัน ข้อ 40 ในการประชุมให้ที่ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่อยู่ในระเบียบวาระการประชุม และ ต้องดำเนินการพิจารณาตามระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้ ข้อ 41 มติที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ ชี้ ขาด และให้ถือมตินั้นเป็นที่สุด ข้อ 42 ที่ปรึกษาคณะกรรมการชุมชน และคณะทำงานมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและมีสิทธิขอ อภิปรายแสดงข้อคิดเห็นใด ๆ ก็ได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงมติ ข้อ 43 ให้ประธานกรรมการชุมชนส่งรายงานการประชุมให้ผู้อำนวยการเขตทราบภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันประชุม บทเฉพาะกาล ข้อ 44 กรรมการชุมชนซึ่งได้รับเลือกตั้งก่อนใช้ระเบียบนี้ ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ตาม ระเบียบนี้จนกว่าจะครบวาระ ประกาศ ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2534 พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
317165
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕ ---------------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ และข้อ ๑๘ (๒) แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องวิธีการงบ ประมาณ พ.ศ.๒๕๒๙ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้ รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๕" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยเงินช่วยค่า ครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๗ ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. ตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ถ้าเข้ารับราชการหรือกลับเข้ารับราชการหรือเข้าทำงานหรือกลับเข้าทำงานสังกัดราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น" ข้อ ๔ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ จัตวา แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย เงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบำนาญของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๓๒ "ข้อ ๘ จัตวา ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพล ภาพ บำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะตาม กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว และยังคงได้รับหรือมีสิทธิได้รับอยู่ใน วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญก่อนวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสี่สิบของจำนวนบำนาญ และ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๒) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ ตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๑ ถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละยี่สิบของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ (๓) ผู้ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ ให้ได้รับ ช.ค.บ. ในอัตราเดือนละร้อยละสิบสองของจำนวนบำนาญและ ช.ค.บ. ที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับ การคำนวณ ช.ค.บ. ถ้ามีเศษของบาทให้ปัดทิ้ง ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [รก.๒๕๓๕/๘๘/๑๗/๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๕] เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข ๑๖/๐๙/๔๕ B+A (C)
448620
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การเบิกจ่ายเงิน และการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
319801
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษาฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 --------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ ข้าราชการ กรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และ ปฏิบัติการวิจัย พ.ศ. 2530 เพื่อให้การ พัฒนาข้าราชการ กรุงเทพมหานครคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49(5) แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครจึงกำหนด ระเบียบขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า `ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ข้าราชการ กรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และปฏิบัติการวิจัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534' ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็น ต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการให้ ข้าราชการ กรุงเทพมหานครไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และ ปฏิบัติการวิจัย พ.ศ. 2530 และให้ใช้ ความต่อไปนี้ แทน `ข้อ 23 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ ใน ระเบียบนี้ ให้นำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป' ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2534 พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
304796
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2536
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบประมาณ พ.ศ. 2536 ------------- อาศัยอำนาจตาความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 20 และข้อ 21 แห่งข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า `ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเงินนอกงบ ประมาณ พ.ศ. 2536' ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ `เงินนอกงบประมาณ' หมายความว่า เงินรายรับที่มิได้กำหนดไว้ในข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของกรุงเทพมหานคร รวมถึงเงินรายรับที่มีกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำคำสั่งอื่นใดกำหนดให้ไม่ ต้องนำส่งเป็นเงินรายรับของกรุงเทพมหานคร `หน่วยงาน' หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง การ แบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการของกรุงเทพ มหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง `หัวหน้าหน่วยงาน' หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยโรงพยาบาล ผู้อำนวยการ กอง หัวหน้ากอง เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบ ได้ไม่ต่ำกว่านี้ `หน่วยการคลัง' หมายความว่า หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน การเบิก จ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ ให้รวมถึงหัวหน้า หน่วยการคลังของสำนักงานเลขานุการสำนัก และหัวหน้าหน่วยการคลังของสำนักงานเขตด้วย `หัวหน้าหน่วยการคลัง' หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับ จ่ายเงิน การเบิกจ่ายเงิน การถอนเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน และการเก็บรักษาเงิน ทั้งนี้ให้รวมถึงหัวหน้าหน่วยการคลังของสำนักงานเลขานุการสำนัก และหัวหน้าหน่วยการคลังของ สำนักงานเขตด้วย ข้อ 4 การอนุมัติเปิด-ปิด บัญชี และการปรับปรุงบัญชีเงินนอกงบประมาณในกรณีฝาก กองการเงิน สำนักคลัง ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักการคลัง การอนุมัติเปิด-ปิด บัญชีและการปรับปรุงบัญชีเงินนอกงบประมาณในกรณีฝากกอง การเงิน สำนักคลัง ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน ข้อ 5 การนำเงินนอกงบประมาณฝากกองการเงิน สำนักการคลัง ให้นำฝาก พร้อมด้วยสมุดใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ สมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขอ อนุมัติฝากเงินโดยให้หัวหน้างานผู้ฝากเงินลงลายมือชื่อในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและ บันทึกขออนุมัติฝากเงิน ให้ผู้อำนวยการกองการเงิน และเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ กองการเงินลงลายมือชื่อรับเงินในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบ ประมาณ และให้ผู้อำนวยการสำนักการคลังเป็นผู้ลงนามอนุมัติให้ฝากในบันทึกขออนุมัติฝากเงิน ใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ ข้อ 6 การนำเงินนอกงบประมาณฝากหน่วยการคลัง ให้นำฝากพร้อมด้วยสมุดใบ นำฝากเงินนอกงบประมาณ สมุดคู่ฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติฝากเงินโดยให้ผู้ ที่หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้ง ลงลายมือชื่อในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ และบันทึกขออนุมัติ ฝากเงิน ให้หัวหน้าหน่วยการคลัง และเจ้าหน้าที่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหน่วยการคลัง ลงลายมือชื่อรับเงินในใบนำฝากเงินนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณ และให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ลงลามอนุมัติให้ฝากในบันทึกขออนุมัติฝากเงินใบนำฝากเงินนอกงบ ประมาณและต้นขั้วใบนำฝากเงินนอกงบประมาณ ข้อ 7 กรณีการนำฝากหรือถอนเงินนอกงบประมาณประเภทที่มีวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับดอกผลโดยเฉพาะ ให้หน่วยงานผู้ฝากเงินแจ้งกองการเงิน สำนักการคลังหรือหน่วย การคลังแล้วแต่กรณี เพื่อนำฝากเข้าหรือถอนออกจากบัญชี<เงินฝากธนาคารที่แยกควบคุม ต่างหาก ข้อ 8 สมุดใบนำฝากนอกงบประมาณและสมุดคู่มือฝากเงินนอกงบประมาณให้ เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด ข้อ 9 การถอนเงินฝากนอกงบประมาณ ให้นำระเบียบกรุงเทพมหานครว่า ด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจจ่าย เงินมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ 10 บัญชีเงินฝากนอกงบประมาณที่ไม่มียอดคงเหลือและไม่มีรายการเคลื่อน ไหวเป็นเวลานานตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป หรือมียอดเงินคงเหลือในบัญชีแต่ไม่มีรายการเคลื่อน ไหวเป็นเวลานานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้หน่วยงานเจ้าของเงินนอกงบประมาณขอปิดบัญชีหรือ ถอนเงิน เพื่อนำส่งเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานครต่อผู้มีอำนาจตามข้อ 4 แล้วแต่กรณี ข้อ 11 ให้หน่วยงานที่มีเงินนอกงบประมาณฝากกองการเงิน สำนักการคลัง จัดทำรายงานยอดเงินคงเหลือตามประเภทเงินฝาก ส่งสำนักการคลังจำนวน 2 ชุด ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ข้อ 12 ในกรณีที่มีเหตุพิเศษสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น หรือที่ไม่มีกำหนดไว้ ในระเบียบนี้ให้เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาสั่งการเป็นกรณี ๆ ไป ข้อ 13 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจ ออกคำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
304795
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างเหมาก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2534
ระเบียบกรุงเทพมหานคร ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างเหมาก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2534 ------------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และข้อ 4 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ.2532 ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครจึงกำหนดระเบียบว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างเหมาก่อสร้างของ กรุงเทพมหานครขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า `ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้าง เหมาก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2534' ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิก (1) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างของ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2527 (2) ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างของ กรุงเทพมหานคร ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ 4 ในระเบียบนี้ `หน่วยงาน' หมายความว่า หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราช การ กรุงเทพมหานคร และส่วนราชการตามประกาศกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการแบ่งส่วนราช การภายในหน่วย งานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการกรุงเทพมหานครที่ไม่ต่ำกว่าระดับกอง `งานก่อสร้าง' หมายความว่า งานก่อสร้างทุกชนิดรวมถึงการปรับปรุง การซ่อมแซม การ บำรุงรักษาด้วย ข้อ 5 ให้ปลัดกรุงเทพมหานครรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อ ปฏิบัติ การให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หมวด 1 การสำรวจ ออกแบบ และรายการก่อสร้าง ข้อ 6 งานก่อสร้างของสำนักงานเขต (1) งานก่อสร้างที่ใช้มาตรฐานของกรุงเทพมหานครหรือของส่วนราชการอื่น เช่น งาน สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับคนเดิน สะพานไม้ สะพานท่อ ถนนดิน ถนนลูกรัง ถนนพื้น ชั่วคราว ขุดลอกคูคลอง เขื่อนไม้ ทำนบกั้นน้ำ บ่อบาดาล ให้สำนักงานเขตดำเนินการ เองทั้งหมด ยกเว้นงานสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรืองานที่มีโครงสร้างพิเศษ ทั้งนี้ ถ้าสำนักงาน เขตจะ ดำเนินการเอง ต้องให้สำนักการโยธาเห็นชอบในแบบ และรายการก่อสร้างก่อนขออนุมัติดำ เนิน การ (2) งานท่อระบายน้ำที่สำนักการระบายน้ำกำหนดแนวระดับและขนาดไว้ ให้สำนัก งาน เขตนำแบบและรายการนั้นไปดำเนินการได้แต่ถ้าบริเวณใดสำนักการระบายน้ำไม่ได้กำหนด แนว ระดับและขนาดไว้เมื่อสำนักงานเขตเขียนแบบและรายการแล้วให้ส่งสำนักการระบายน้ำให้ ความ เห็นชอบก่อนดำเนินการ ทั้งนี้ไม่รวมงานก่อสร้างท่อลอดถนน งานตาม(1)และ(2)สำนักงานเขตจะส่งเรื่องให้สำนักการโยธาหรือสำนักการระบาย น้ำ ดำ เนินการออกแบบและรายการก็ได้ ในกรณีมีปัญหาหรือสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานครสั่งการเป็น กรณี ๆ ไป ข้อ 7 งานก่อสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ยกเว้นหน่วยงานตามข้อ 6 ให้ หน่วยงานนั้นเป็นผู้ดำเนินการเอง เว้นแต่หน่วยงานนั้นไม่มีวิศวกรและสถาปนิกที่จะ ดำเนินการได้ ให้สำนักการโยธาเป็นผู้ดำเนินการสำรวจ ออกแบบและรายการก่อสร้าง ในกรณีมีปัญหาหรือสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น ให้เสนอปลัดกรุงเทพมหานครสั่งการเป็น กรณี ๆ ไป หมวด 2 ราคากลาง ข้อ 8 ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการประมาณราคากลางจำนวนไม่ น้อยกว่า 3 คน โดยให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) วงเงินไม่เกิน 1,000,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 5 เป็น กรรมการอย่างน้อย 1 คน (2) วงเงินเกินกว่า 1,000,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 6 เป็น กรรมการอย่างน้อย 1 คน ในกรณีที่เห็นสมควร ปลัดกรุงเทพมหานครจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบราคากลาง ของ คณะกรรมการประมาณราคากลางอีกก็ได้ ข้อ 9 ให้คณะกรรมการประมาณราคากลาง จัดทำรายการราคากลางโดยให้ดำเนินการ ดัง ต่อไป นี้ (1) ให้แยกรายละเอียดเนื้องานให้ละเอียดมากที่สุดโดยแยกออกเป็นปริมาณวัสดุ เป็น รายการ ๆ ไป เมื่อได้ปริมาณวัสดุแล้วจึงนำไปหาค่าวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าภาษี กำไร ค่า อำนวย การ และค่าดำเนินการ โดยถือราคาดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ 1.1 ค่าวัสดุ ใช้ราคามาตรฐานวัสดุก่อสร้างและอื่น ๆ ที่สำนักการโยธา แจ้ง ครั้งหลังสุดให้หน่วยงานทราบ 1.2 ค่าแรงงาน ให้ถือปฏิบัติตามค่าแรงประเภทของงานต่าง ๆ ที่สำนักการ โยธา แจ้งครั้งหลังสุดให้หน่วยงานทราบ 1.3 ค่าภาษี กำไร ค่าอำนวยการและค่าดำเนินงานให้ถือปฏิบัติตามตาราง และ วิธีคิดค่าภาษี กำไร ค่าอำนวยการและค่าดำเนินงานที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีและ แจ้ง ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ถือปฏิบัติ (2) กรณีที่มีการคำนวณราคากลางรายการใดสูงกว่าราคามาตรฐานตาม(1) ให้ บันทึก เหตุผลในการคำนวณไว้ด้วย (3) ให้คณะกรรมการประมาณราคากลางพิจารณาความถูกต้องของรายละเอียด ของราคากลาง ที่คำนวณแล้ว ทำบันทึกเสนอราคากลางใส่ซองปิดผนึก โดยจัดทำขึ้นเป็น 2 ซอง ต้นฉบับส่งถึง ประธานกรรมการสอบราคาหรือประธานกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาในวัน และเวลาเปิดซองแล้ว แต่กรณี ส่วนสำเนาเสนอปลัดกรุงเทพมหานครก่อนวันเปิดซอง 1 วัน หมวด 3 การสอบราคาและการประกวดราคา ข้อ 10 ประกาศสอบราคาและประกาศประกวดราคา อย่างน้อยให้แสดงรายการดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะของงานที่ต้องการจ้างและจำนวนที่ต้องการ (2) คุณสมบัติของผู้เข้าสอบราคาหรือประกวดราคาซึ่งจะต้องมีอาชีพรับจ้างตาม (1) และไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิหรือความคุ้มกันซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมให้ดำเนินคดี ในศาลไทย เว้นแต่ รัฐบาลของผู้เข้าสอบราคาหรือประกวดราคาจะได้มีคำสั่งให้สละเอก สิทธิและความคุ้มกันเช่นว่านั้น ทั้ง นี้การจ้างก่อสร้างให้จำกัดเฉพาะผู้มีกิจการรับ เหมาก่อสร้างเป็นของตนเอง และดำเนินการก่อ สร้างส่วนใหญ่ด้วยตนเอง การประกวดราคาจ้างก่อสร้าง ซึ่งมีวงเงินตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ในกรณีจำเป็น ให้กำหนดผลงานก่อสร้างได้ไม่เกินร้อยละห้าสิบของวงเงินที่จะจ้างครั้งนั้น (3) ในกรณีจำเป็นให้ระบุให้ผู้เข้าสอบราคาหรือประกวดราคาส่งตัวอย่าง แคตตาล็อค หรือแบบรูป และรายการละเอียดไปพร้อมกับใบเสนอราคา (4) ถ้าจำเป็นต้องทำการตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจ ทดลอง และให้มีเหลือไว้สำหรับทำสัญญาด้วย ทั้งนี้ให้มีข้อกำหนดไว้ด้วยว่า กรุงเทพมหานคร จะไม่ รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตัวอย่างที่ส่งมาให้ตรวจทดลอง (5) ข้อกำหนดให้ผู้เข้าสอบราคาหรือประกวดราคาเสนอราคารวมทั้งสิ้น และราคา ต่อหน่วยหรือต่อรายการ (ถ้าทำได้) พร้อมทั้งระบุหลักเกณฑ์โดยชัดเจนว่าจะพิจารณาราคา รวม หรือราคาต่อหน่วย หรือต่อรายการไว้ด้วย ในการสอบราคาหรือประกวดราคาจ้างก่อสร้างให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้าง ตาม ความเหมาะสมของลักษณะและประเภทของงาน เพื่อให้ผู้เข้าสอบราคาหรือประกวดราคา กรอกปริมาณ วัสดุและราคาด้วย (6) กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็นต่อกรุงเทพมหานครและมีเงื่อนไขด้วยว่า ซองสอบราคาหรือประกวดราคาที่ยื่นต่อกรุงเทพมหานครและลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืน มิได้ (7) กำหนดสถานที่ วัน เวลารับซอง ปิดการรับซอง และเปิดซองสอบราคาหรือ ประกวด ราคา (8) กำหนดวันที่จะเริ่มทำงาน และวันแล้วเสร็จโดยประมาณ (9) กำหนดให้ผู้เสนอราคาวางหลักประกันซอง ณ สถานที่ วัน เวลารับหลักประกัน ซอง ตามชนิดและจำนวนในข้อ 58 และข้อ 59 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. 2532 และให้มีเงื่อนไขว่าถ้าผู้เข้าสอบราคาหรือประกวดราคาถอนการเสนอราคาหรือไม่ไปทำ สัญญาหรือข้อตกลงกับกรุงเทพมหานครภายในกำหนด กรุงเทพมหานครจะริบหลักประกันซองหรือ เรียก ร้องจากธนาคารผู้ค้ำประกันและสงวนสิทธิที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลง กับ กรุงเทพมหานครเป็นผู้ทิ้งงานด้วย (10) กำหนดเงื่อนไขและอัตราการจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) (11) ข้อกำหนดว่าผู้เสนอราคาได้ จำต้องวางหลักประกันสัญญาตามอัตราและระบุ เป็น เงื่อนไขตามที่กำหนดในข้อ 59 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. 2532 (12) ใบเสนอราคาให้ลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลย และต้องมีตัวอักษรกำกับถ้า ตัว เลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ให้ถือตัวอักษรเป็นสำคัญ (13) ซองสอบราคาหรือประกวดราคาต้องผนึกให้เรียบร้อยก่อนยื่นต่อเจ้าหน้าที่ หรือ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาและผู้เสนอราคาจะต้องจัดทำบัญชีรายการเอกสาร ที่ได้ ยื่นพร้อมซองสอบราคาหรือประกวดราคาด้วย (14) สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปและรายการละเอียดพร้อมทั้งแบบสัญญาการแบ่ง งวด งานและการจ่ายเงิน (15) อัตราค่าปรับ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 65 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การ พัสดุ พ.ศ. 2532 (16) ข้อสงวนสิทธิว่ากรุงเทพมหานครจะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงาน ของ ทางราชการ และกรุงเทพมหานครทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะงดจ้าง หรือเลือกจ้าง โดยไม่จำเป็น ต้องจ้าง จากผู้เสนอราคาต่ำสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคาหรือประกวด ราคาหาก มีเหตุที่เชื่อได้ว่าการดำเนินการสอบราคาหรือประกวดราคากระทำไปโดยไม่สุจริต หรือมี การสมยอมกันในการเสนอราคา หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น (17) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาได้แล้วไม่มาทำสัญญาหากกรุงเทพมหานครต้องจ้างราย อื่น ในราคาสูงขึ้นเท่าใด ผู้เสนอราคาได้จะต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย (18) การกรอกหรือการทำใบเสนอราคา ต้องพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกัน หรือเขียนโดยมีลายมือเดียวกัน หมึกสีเดียวกันตลอดรายการ (19) ให้แนบหลักฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 19.1 กรณีบุคคลธรรมดา ให้แนบหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์หรือการจด ทะเบียน การค้าของทางราชการ 19.2 กรณีบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ให้แนบ หลักฐานการเป็นนิติบุคคลพร้อมทั้งแสดงวัตถุประสงค์ สถานที่ตั้งบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนฉบับ รับรองว่า ถูกต้องจากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ไม่ ได้จดทะเบียนใน ประเทศไทยให้แนบหลักฐานการจดทะเบียนสำนักงานสาขาในประเทศไทยฉบับรับรอง ว่าถูกต้อง จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือรับรองจะต้องมีอายุการรับรองไม่ เกิน 1 ปีจนถึง วันเสนอราคา 19.3 กรณีเจ้าของหรือกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัด การไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ในเรื่องการสอบราคาหรือการประกวดราคา หรือไม่ สามารถลงนามใน สัญญาด้วยตนเองได้ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตามกฎหมายให้ผู้แทนมาแสดงด้วย 19.4 หนังสือรับรองของวิศวกรว่าเป็นผู้รับผิดชอบงานวิศวกรรมของบริษัท ห้าง ร้าน และใบอนุญาตควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมต้องไม่ขาดอายุ และวิศวกรผู้นั้นจะ ต้อง ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต 19.5 หลักฐานอื่น ๆ ที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาเฉพาะกรณี (20) ให้ระบุด้วยว่าการก่อสร้างที่มีวงเงินเกิน 3,000,000 บาท ผู้เสนอราคาจะ ต้องเสนอแผนดำเนินงานพร้อมกับใบเสนอราคา (21) ให้ผู้ยื่นซองสอบราคาหรือประกวดราคาเสนอราคาประมาณการแจกแจงราคา แต่ละ รายการในใบเสนอราคา เช่น ค่าวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าภาษี กำไร ค่าอำนวยการ ค่าดำเนิน การ และค่า ใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย ข้อ 11 ให้จัดทำบัญชีผู้ซื้อแบบไว้เป็นหลักฐาน ข้อ 12 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุปิดประกาศสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงาน นั้น กับให้ส่งประกาศดังกล่าวไปยังผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรง หรือโดยทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้อ 13 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของหน่วยงาน นั้น และส่งประกาศประกวดราคาไปที่กองประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อปิดประกาศ ที่กอง ประชาสัมพันธ์และให้กองประชาสัมพันธ์จัดส่งไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียงของ กรุงเทพมหานคร หรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ และให้กองประชาสัมพันธ์ส่งประกาศประกวดราคาไปให้ กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หากหน่วย งานเห็นสมควรจะส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพหรือรับจ้างทำของนั้นโดยตรง หรือจะโฆษณา โดย วิธีอื่นอีกด้วยก็ได้ และให้ส่งประกาศประกวดราคาเพิ่มเติมดังนี้ (1) ปลัดกรุงเทพมหานคร (2) สำนักงานเขตและสำนักงานเขตสาขา (3) สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ข้อ 14 การยื่นซองสอบราคาหรือยื่นซองประกวดราคา ให้ยื่นได้เพียงคนละ 1 ซอง ผู้ยื่น ซองจะต้องเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือตัวแทน ผู้ได้รับ มอบอำนาจและจะต้องลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานในบัญชีผู้ยื่นซอง หากไม่ลง ลายมือชื่อไว้จะไม่ได้ รับการพิจารณาโดยถือว่าผิดเงื่อนไข ข้อ 15 งานก่อสร้างโดยวิธีตกลงราคา หน่วยงานจะจ้างเหมาบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ มิได้จดทะเบียนผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างของกรุงเทพมหานครก็ได้ โดยแนบหลักฐานดังนี้ (1) กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ หลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์ หรือการจด ทะเบียนการค้า ของทางราชการ (2) กรณีบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน ได้แก่ หลักฐานการเป็น นิติบุคคล พร้อมทั้งแสดงวัตถุประสงค์ สถานที่ตั้งบริษัทฉบับรับรองว่าถูกต้องจากกรม ทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ (3) กรณีบุคคลตาม(1)และ(2)มอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการต้องมี หนังสือ มอบอำนาจตามกฎหมาย ข้อ 16 อัตราค่าจำหน่ายแบบ ให้ถือปฏิบัติตามบัญชีท้ายระเบียบนี้ หมวด 4 การขออนุมัติจ้าง ข้อ 17 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการขออนุมัติจ้างต่อผู้มีอำนาจสั่งจ้างภายใน 5 วันทำการ นับตั้งแต่วันทราบผลการพิจารณาสอบราคาหรือประกวดราคา กรณีไม่สามารถดำเนินการได้ภายในกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้เสนอผู้สั่งจ้างทราบถึงปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการ เพื่อพิจารณาสั่งการตามสมควรแก่กรณีด้วย ข้อ 18 เมื่ออนุมัติให้สั่งจ้างแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งให้ผู้ที่สอบราคา หรือ ประกวดราคาได้ทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันได้รับเรื่องคืน หมวด 5 การทำสัญญา ข้อ 19 ก่อนลงนามในสัญญาให้ดำเนินการดังนี้ (1) กรณีสัญญาที่ใช้ข้อความตามแบบที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำหนดหรือตาม แบบที่เคยผ่านการพิจารณาของกองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครแล้ว และวงเงินไม่ เกิน 20,000,000 บาท ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ทางกฎหมายของหน่วยงานเป็นผู้พิจารณาตรวจ ร่างสัญญา หากวงเงินเกินกว่า 20,000,000 บาท ให้ส่งร่างสัญญาให้กองกฎหมายและคดี สำนัก ปลัด กรุงเทพมหานครพิจารณาตรวจร่างสัญญา (2) กรณีสัญญาที่ใช้ข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากแบบสัญญาที่ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครกำหนด โดยมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในแบบสัญญาและไม่ทำให้กรุงเทพมหานคร เสีย เปรียบก็ให้กระทำได้ เว้นแต่ผู้สั่งจ้างเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่ รัดกุมพอ ก็ให้ ส่งร่างสัญญานั้นไปให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อน (3) กรณีที่ไม่อาจทำสัญญาตามแบบที่กำหนดไว้ได้และจำเป็นต้องร่างสัญญาขึ้น ใหม่ ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้กองกฎหมายและคดี สำนักปลัดกรุงเทพมหานครพิจารณาก่อน (4) กรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ และให้ ส่ง ร่างสัญญาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ข้อ 20 การลงนามในสัญญาให้ผู้สั่งจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้สั่งจ้างเป็นผู้ ลงนามใน สัญญาหรือข้อตกลงในนามของกรุงเทพมหานคร ข้อ 21 สัญญาจ้างที่ลงนามแล้ว ให้หน่วยงานส่งสำเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือแก่ หน่วย งานต่าง ๆ ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาหรือข้อตกลงดังนี้ (1) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไป (2) สำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร กรณีสัญญาหรือข้อตกลงซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 100,000 บาท ขึ้นไป (3) สำนักงานเขตพื้นที่ที่มีการก่อสร้างทุกกรณี ข้อ 22 ให้ระบุรายละเอียดต่อไปนี้เพิ่มเติมไว้ในรายละเอียดรายการทั่วไปแนบท้าย สัญญา จ้าง คือ (1) ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าในการก่อสร้างจะไม่กระทำการใด ๆ ให้เป็นการ กีดขวางการสัญจรของประชาชนและยานพาหนะที่ผ่านไปมา และเมื่อเลิกงานแล้วจะเก็บยานพาหนะ และอุปกรณ์การก่อสร้างไว้ภายในบริเวณที่กำหนดเท่านั้น (2) หากมิได้รับอนุญาตให้ปิดการจราจรในถนน ตรอก ซอย ที่ทำการก่อสร้าง หรือ ปรับปรุง ผู้รับจ้างต้องบำรุงรักษา ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอย ให้สามารถสัญจรไปมาได้ตามปกติ (3) ผู้รับจ้างต้องป้องกันมิให้ดิน ทราย หิน หรือวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ตกลงในบ่อ พัก หรือท่อระบายน้ำเป็นอันขาด และถ้ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ต้อง นำวัสดุดังกล่าวขึ้น จากบ่อพักหรือท่อระบายน้ำให้หมดสิ้นโดยไม่ชักช้า (4) การขุดดินเพื่อวางท่อระบายน้ำซึ่งอาจทำให้ถนนหรือทางเท้าชำรุด ผู้รับ จ้าง ต้องจัดทำกำแพงกันดินชั่วคราว เพื่อป้องกันการทรุด และดินที่ขุดขึ้นมาต้องไม่กอง รุกล้ำผิวการ จราจร ในกรณีที่ไม่มีสถานที่กอง ให้ผู้รับจ้างรีบขนย้ายไปทันที (5) การขุดร่องดินเพื่อวางท่อระบายน้ำ ผู้รับจ้างต้องขุดเป็นระยะทางให้ สัมพันธ์ กับความสามารถในการวางท่อระบายน้ำลงในร่องดิน ห้ามมิให้ผู้รับจ้างขุดร่อง ดินยาวเกินความจำ เป็นและการขุดผ่านทางแยกหรือทางเข้าบ้าน ผู้รับจ้างจะต้องจัดหา แผ่นเหล็กหรือวัสดุอื่นใดปูทับ ร่องที่ขุด เพื่อให้ยานพาหนะสามารถผ่านได้ หากผู้รับ จ้างไม่อาจจัดหาแผ่นเหล็กหรือวัสดุใดปูได้ ภายใน 6 ชั่วโมงนับแต่เริ่มขุด และไม่มีการ ปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ผู้รับจ้างต้องรีบจัดการกลบ หลุมร่องดินเสียก่อน ส่วนท่อระบาย น้ำที่นำมาใช้ ให้ผู้รับจ้างวางเรียงให้เป็นระเบียบ ไม่ กีดขวางการสัญจรของประชาชนและ ยานพาหนะ (6) ในกรณีที่มีการระบายน้ำออกจากอาคารของประชาชน ผู้รับจ้างต้องเชื่อมท่อ ระบายน้ำของประชาชนเข้ากับท่อระบายน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ โดยจัดทำให้เรียบร้อยและไม่ ให้เป็นที่ เดือดร้อนแก่เจ้าของอาคารในการระบายน้ำประจำวันด้วย (7) การซ่อมแซมบูรณะทางเท้าที่ชำรุด เศษวัสดุที่รื้อถอนออกหากไม่มีความ จำเป็น ต้องใช้ ผู้รับจ้างต้องขนย้ายไปให้พ้นบริเวณก่อสร้างทันที กรณีมีความจำเป็นต้อง ใช้ให้กองได้โดย ไม่กีดขวางการสัญจร ส่วนวัสดุก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ เช่น หิน ทราย ผู้ ว่าจ้างอนุญาตให้ กองบนทางเท้าได้ แต่ผู้รับจ้างต้องจัดทำคอกกั้นโดยไม่กีดขวางการ สัญจรไปมา (8) ผู้รับจ้างต้องรื้อถอนขนย้ายโรงงานชั่วคราว และวัสดุก่อสร้างให้หมดสิ้น ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจรับงาน หรือตรวจรับสภาพงาน เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว หากผู้รับจ้างไม่อาจดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลาดัง กล่าวผู้ว่า จ้างมีสิทธิที่จะเข้ารื้อถอนขนย้ายเอง โดยคิดค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายใน การเข้าดำเนินการจากผู้ รับจ้างได้ (9) งานก่อสร้างในส่วนที่เป็นคอนกรีตหรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้ถือวันแล้ว เสร็จ สมบูรณ์เมื่อได้มีการบ่มคอนกรีตครบ 7 วัน นับตั้งแต่วันเทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย (10) ในกรณีที่ผู้รับจ้างมีความประสงค์จะขอต่ออายุสัญญาหรือขออุทธรณ์การ ต่ออายุ สัญญาให้ยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเหตุผลแห่งการนั้นพร้อมทั้งหลักฐาน ต่าง ๆ (ถ้ามี) โดยยื่นที่กองกลางสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายในระยะเวลาดังต่อไปนี้ (10.1) การต่ออายุสัญญา ให้ยื่นคำร้องต่อผู้สั่งจ้างก่อนสิ้นสุดอายุ สัญญา หรือ อย่างช้าไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดอายุสัญญา (10.2) การขออุทธรณ์การต่ออายุสัญญา ให้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจารณาต่ออายุสัญญา การยื่นคำร้องขอต่ออายุสัญญาหรือขออุทธรณ์การต่ออายุสัญญาที่ยื่นเกินกำหนดระยะ เวลาดัง กล่าว ให้ถือว่าผู้รับจ้างสละสิทธิในการต่ออายุสัญญา หมวด 6 การควบคุมการก่อสร้าง ข้อ 23 ผู้ควบคุมงานจะต้องจัดทำบันทึกรายงานผลการทำงานของผู้รับจ้างตามแบบที่ สำนัก การโยธากำหนด โดยให้มีผู้รับจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้างร่วมกับวิศวกร และหรือ สถาปนิกผู้ควบ คุมงานของผู้รับจ้างลงนามรับรองแล้วเสนอหัวหน้าหน่วยงานและประธาน กรรมการตรวจ การจ้างทราบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง บันทึกรายงานนี้ให้เก็บรวบรวมไว้ เพื่อใช้เป็นเอก สารประกอบฎีกาเบิกเงิน ข้อ 24 กรณีผู้รับจ้างก่อสร้างเกินกำหนดสัญญา ให้ผู้ควบคุมงานทำรายงานผลการควบคุม ต่อ ไปจนกว่างานจะสิ้นสุด ข้อ 25 ให้ผู้ควบคุมงานรายงานสรุปผลการก่อสร้างตรงต่อหัวหน้าหน่วยงานก่อนวันสิ้น สุด สัญญาอย่างน้อย 1 วัน หมวด 7 การตรวจรับงาน ข้อ 26 งานทั่วไป (1) หนังสือแจ้งมอบงานของผู้รับจ้างให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องลงรับไว้เป็น หลัก ฐาน และจะต้องส่งหนังสือนัดหมายกรรมการตรวจการจ้างภายใน 2 วัน นับแต่วันรับแจ้งมอบ งาน (2) กรณีขัดข้องไม่อาจตรวจรับงานได้ภายในเวลาที่กำหนดให้กรรมการตรวจ การ จ้างบันทึกเหตุผลไว้ แล้วรายงานให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบทันที ข้อ 27 งานก่อสร้างในส่วนที่เป็นคอนกรีตหรือคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้ถือวันแล้วเสร็จ สมบูรณ์เมื่อได้มีการบ่มคอนกรีตครบ 7 วัน นับตั้งแต่วันเทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อย ข้อ 28 การแต่งตั้งกรรมการตรวจการจ้าง ห้ามแต่งตั้งข้าราชการงานเดียวกันเกินกว่า 1 คน เป็นกรรมการ การตรวจการจ้างในกรณีวงเงินเกินกว่า 2,000,000 บาทขึ้นไป ให้แต่งตั้งข้าราชการไม่ ต่ำ กว่าระดับ 6 หรือเทียบเท่าอย่างน้อย 1 คน เป็นกรรมการ หมวด 8 การปรับ ข้อ 29 กรณีผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.01-0.25 ของราคางานจ้างนั้น แต่ต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 300 บาท กรณีจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้คิดค่าปรับเป็นสองเท่าของอัตราค่าปรับตามที่กำหนด ไว้ในวรรคหนึ่ง ข้อ 30 การนับจำนวนวันเพื่อคิดค่าปรับ ให้นับตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดอายุ สัญญาจนถึง วันที่ส่งมอบงานเป็นเกณฑ์ ข้อ 31 กรณีผู้รับจ้างส่งมอบงานในวันหยุดราชการ การคิดค่าปรับให้นับตั้งแต่วัน ถัดจากวัน ครบกำหนดอายุสัญญาถึงวันที่ปรากฏในหนังสือส่งมอบงานของผู้รับจ้าง ทั้งนี้ ในหนังสือมอบงานจะ ต้องให้เจ้าหน้าที่ควบคุมงานลงชื่อรับรองว่าผลงานมีครบตามที่ ส่งมอบจริง และให้ส่งหนังสือมอบ งานดังกล่าวแก่หน่วยงานเจ้าของเรื่องในวันแรกที่เปิด ทำการ เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องลง บัญชีรับไว้เป็นหลักฐานและดำเนินการต่อไป หมวด 9 การต่ออายุสัญญา ข้อ 32 ในกรณีคู่สัญญากับกรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะขอต่ออายุสัญญาหรือขออุทธรณ์ การต่ออายุสัญญาให้ยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงเหตุผลแห่งการนั้นพร้อมทั้ง หลักฐานต่าง ๆ (ถ้ามี) โดยยื่นที่กองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ภายในระยะเวลาดังต่อไป นี้ (1) การขอต่ออายุสัญญาให้ยื่นคำร้องต่อผู้สั่งจ้างก่อนสิ้นสุดอายุสัญญา หรืออย่างช้า ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดอายุสัญญา (2) การขออุทธรณ์การต่ออายุสัญญาให้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจารณาต่ออายุสัญญา การยื่นคำร้องขอต่ออายุสัญญา หรือขออุทธรณ์การต่ออายุสัญญาที่ยื่นเกินกำหนดระยะ เวลาดัง กล่าว กรุงเทพมหานครจะไม่รับพิจารณา เมื่อกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานครได้รับเรื่องและลงบัญชีรับไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ ส่งเรื่องให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องดำเนินการต่อไป ข้อ 33 เมื่อได้รับคำร้องดังกล่าวในข้อ 32 แล้ว ให้คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตาม สัญญานั้น ๆ ทำความเห็นเสนอต่อผู้มีอำนาจผ่านหน่วยงานเจ้าของเรื่องเพื่อพิจารณา วินิจฉัยสั่งการ ภายในกำหนด 7 วันทำการ นับแต่วันได้รับคำร้องดังกล่าว ข้อ 34 เมื่อผู้มีอำนาจได้วินิจฉัยสั่งการประการใด ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องดำเนิน การ แจ้งให้ผู้ร้องทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแล้วเก็บหลักฐาน การรับ หนังสือดังกล่าวรวมไว้กับเรื่องด้วย ข้อ 35 ในกรณีผู้มีอำนาจสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุสัญญา หรือต่ออายุให้ไม่ครบถ้วน ตามที่ผู้ร้อง ยื่นขอให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งให้ผู้ร้องทราบด้วยว่า หากประสงค์ จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้มี อำนาจ ให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลแห่งการนี้พร้อม ทั้งหลักฐานต่าง ๆ(ถ้ามี) ต่อผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันได้ รับแจ้ง ข้อ 36 ในกรณีที่มีการอุทธรณ์เกี่ยวกับการต่ออายุสัญญา ให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ แทนกองกฎหมายและคดี ผู้แทนสำนักการคลัง ประธานกรรมการตรวจการจ้าง เป็นกรรมการและ หน่วยงานเจ้าของเรื่องเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราช การกรุงเทพมหานคร เพื่อวินิจฉัยสั่งการผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ ถือเป็นที่สุด และให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องแจ้งให้ผู้ร้องทราบโดยวิธีการที่กล่าว ในข้อ 34 ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2534 พลตรี จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บัญชีกำหนดราคาจำหน่ายแบบแปลนแผนผัง สำหรับการประกาศเรียกประกวดราคาจ้างเหมา ลำดับ จำนวนเงินตั้งแต่ ถึงจำนวนเงิน ค่าขายแบบ หมายเหตุ ที่ (บาท) 1 - 100,000 200 2 100,001 500,000 750 3 500,001 1,000,000 1,000 4 1,000,001 2,000,000 1,800 5 2,000,001 3,000,000 2,700 6 3,000,001 4,000,000 3,600 7 4,000,001 5,000,000 4,500 8 5,000,001 7,000,000 5,600 9 7,000,001 9,000,000 7,200 10 9,000,001 11,000,000 8,800 11 11,000,001 14,000,000 9,800 12 14,000,001 17,000,000 11,900 13 17,000,001 20,000,000 14,000 14 20,000,001 30,000,000 18,000 15 30,000,001 50,000,000 25,000 16 50,000,001 100,000,000 40,000 17 100,000,001 200,000,000 60,000 18 200,000,001 500,000,000 80,000 19 500,000,001 1,000,000,000 100,000 20 1,000,000,001 5,000,000,000 120,000
429775
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account)
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) โดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้ ข้อ ๑ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดให้มีบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์รับชำระค่าทรัพย์สินและค่าอื่นใดจากผู้ซื้อหรือผู้จะซื้อที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายทรัพย์สินต่างๆ กับผู้ขายหรือผู้จะขายทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี โดยนำไปฝากในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินประเภทชำระคืนเมื่อทวงถามของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือนำเงินไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคารที่เปิดไว้กับธนาคารพาณิชย์ และให้ดูและการเบิกถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินหรือบัญชีเงินฝากดังกล่าวเมื่อผู้ซื้อและผู้ขายปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) ครบถ้วนแล้ว ข้อ ๒ ในการให้บริการดูแลการเบิกถอนเงินจากบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) ให้บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการให้บริการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ใช้บริการได้ แต่จะต้องกำหนดไว้ในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) อย่างชัดเจน ข้อ ๓ สัญญาประกอบการเปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อ และที่อยู่ของคู่สัญญา (๒) ข้อมูลด้านสินทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ในสัญญา (๓) กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในการให้บริการดูแลบัญชีผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จะต้องไม่รวมถึงการตรวจสอบความสำเร็จของสิ่งปลูกสร้างและการตัดสินว่าคู่สัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขการถอนเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ (๔) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร การฝากเงิน การเบิกถอนเงิน การชำระดอกเบี้ย ข้อปฏิบัติในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหรือเกิดข้อพิพาท รวมทั้งการปิดบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) (๕) รายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมจากการให้บริการดูแลบัญชีผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยระบุผู้รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวอย่างชัดเจน ข้อ ๔ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจการให้บริการดูแลการเบิกถอนเงินจากบัญชีดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา (Escrow Account) ต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) กำหนดนโยบายการประกอบธุรกิจ รวมถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบหน่วยงานที่รับผิดชอบ รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติและวิธีการดำเนินการ เช่น ระเบียบปฏิบัติในการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ระเบียบปฏิบัติในการรับฝากหรือเบิกถอนเงินหลักเกณฑ์ในการจ่ายดอกเบี้ย การคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการจากลูกค้าแนวทางปฏิบัติในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหรือเกิดข้อพิพาท และระบบการควบคุมภายใน เป็นต้น โดยกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท (๒) จัดให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของคู่สัญญาต่อเงินฝาก และต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบและเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าวอย่างชัดเจน (๓) ตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม (๔) มีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ที่บรัษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ (๕) บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ข้อ ๕[๑] ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ญาณี/พิมพ์ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗ สุมลรัตน์/ศุภสรณ์/ตรวจ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๗ A+B [๑] รก.๒๕๔๖/พ๑๔๒ง/๕/๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๖
804359
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือการปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือการปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม ว่าด้วยควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้มโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหาร ส่วนตำบลมะขามล้มและนายอำเภอบางปลาม้า จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือการปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้มตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่น ที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นดังต่อไปนี้ เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์บางชนิดหรือบางประเภทโดยเด็ดขาดดังนี้ (๑.๑) ที่หรือทางสาธารณะประจำหมู่บ้านและตำบล เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ หมู เป็ด ไก่ นก อย่างเด็ดขาด (๑.๒) วัด สถานที่ราชการ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ หมู เป็ด ไก่ นก อย่างเด็ดขาด (๒) ให้การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทสุนัข แมว ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (๒.๑) เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสัตว์ต้องจัดให้สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ (๒.๒) การนำสุนัขออกนอกสถานที่เลี้ยงต้องมีการควบคุม เช่น ผูกเชือก หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่สามารถควบคุมสัตว์ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจทำให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขาย หรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้มเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วีระ หวลบุดตา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๖๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804333
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาและนายอำเภอเดิมบางนางบวช จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่สาธารณประโยชน์ประจำหมู่บ้านและตำบลเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร โดยเด็ดขาด (๑.๒) วัด สำนักสงฆ์ สถานที่ราชการ เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียน ฯลฯ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ หมู โดยเด็ดขาด ข้อ ๖ ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนาแต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณี ก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับคืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตราย ต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนารักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประพันธ์ อยู่เจริญพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๓๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804337
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อและนายอำเภอเมืองสมุทรสาคร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น ซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้ กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ (๑) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง (๒) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์ (๓) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง (๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง “การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ “ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง” หมายความว่า ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “สถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า (๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ (๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด “สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งได้แก่ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย และห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้ ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่ออาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่ออาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๓๒ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งมูลฝอยติดเชื้อนอกจากถ่าย เท หรือทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่ หรือตามวิธีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อกำหนดหรือจัดไว้ให้ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ จัดให้มีสถานที่ถ่าย เท หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะ หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย เท หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แล้วแต่กรณี ข้อ ๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้นแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และเมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้ ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่ออาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อได้ ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ รวมทั้งบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง (๒) ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑) ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง (๓) ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒) จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แต่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๑๑ ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ หรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการ หรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ มอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ และของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดในแห่งข้อบัญญัตินี้ ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อหรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลาและเส้นทางขน ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย ข้อ ๑๓ บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ มอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายและเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ ภายใต้บังคับข้อ ๑๗ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้ (๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๑๖ (๑) (๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๑๖ (๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องใช้เพียงครั้งเดียวและต้องทำลายพร้อมกับการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ข้อ ๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถังต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิด และป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้ และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ (๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ ขน และการกำจัด แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร เพื่อความสะดวกในการเก็บ ขน และการกำจัดจะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการการสาธารณสุขใด หรือสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้ ข้อ ๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕ อาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม ทำความสะอาดได้ง่าย และต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาจะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้ ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น และต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำนหดในข้อ ๑๕ โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้ (๒) ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำนหดในข้อ ๑๕ แล้วปิดฝาให้แน่น หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่กำหนดในข้อ ๑๕ (๒) แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น (๓) กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันที จะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ แต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน (๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๑๙ เพื่อรอการขนไปกำจัด และต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๙ ภายใต้บังคับข้อ ๒๒ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัด (๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด (๒) มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน (๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย (๔) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย (๕) มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น (๖) มีการป้องกันสัตว์ แมลงเข้าไป มีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้องหรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้ (๗) มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ” ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร (๘) มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้ ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัดตามข้อ ๑๙ ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๒ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ข้อ ๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบ เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อ ห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๙ ก็ได้ แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ (๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒๓ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อรวมทั้งบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย เพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย ต้องจัดให้มี (๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๕ โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ (๒) ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกัน และระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๓) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๘ โดยต้องมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย (๔) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ข้อ ๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๒๓ (๑) เท่านั้น (๒) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น (๓) ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดในข้อ ๒๐ (๒) (๖) และ (๗) (๔) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน ห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น และให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหล ต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้ ข้อ ๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ตัวถังปิดทึบผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม (๒) ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๗ วรรคสอง ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้ และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย (๓) ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า “ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ” (๔) กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อแสดงชื่อขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อให้บุคคลนั้นแสดงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธีการที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ มอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วย กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ (๕) ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็นตามข้อ ๒๑ ขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๒๕ ให้นำข้อ ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒๗ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ ๒๘ (๒) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย (๓) ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๙ โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย (๔) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๕) จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม สำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (๖) กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผาตามข้อ ๒๘ (๑) ให้สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ตามข้อ ๓๐ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน ข้อ ๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีวิธีการดังนี้ (๑) เผาในเตาเผา (๒) ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ (๓) ทำลายเชื้อด้วยความร้อน (๔) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส และในการเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบและในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อนหรือวิธีอื่นตามข้อ ๒๘ (๒) (๓) หรือ (๔) จะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิตในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด ภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้วต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัสหรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓๑ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผาตามข้อ ๒๘ หรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อตามข้อ ๓๐ แล้ว ให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น ข้อ ๓๒ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๓ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อจประกาศกำหนด ข้อ ๓๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอยติดเชื้อ (๑.๑) ต้องมีภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเฉพาะไว้บริการสามารถป้องกันการแทงทะลุ การกัดกร่อนของสารเคมี กันน้ำได้ ไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ ให้มีสีและลักษณะตามกฎกระทรวงสาธารณสุขกำหนด (ภาชนะสีแดง ทึบแสง และมีข้อความสีดำว่า “มูลฝอยติดเชื้อ ห้ามเปิด ห้ามนำกลับมาใช้อีก” ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้) (๑.๒) ต้องเก็บแยกจากมูลฝอยประเภทอื่น ห้ามเก็บเกินสองในสามส่วนของความจุภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อชนิดถุง หรือห้ามเก็บเกินสามในสี่ส่วนของความจุภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อชนิดกล่อง ผูกมัดปากถุงหรือปิดฝาให้แน่น และต้องส่งไปกำจัดทันที หากมีเหตุจำเป็นเก็บได้ไม่เกินหนึ่งวัน (๑.๓) ต้องมีสถานที่รวบรวมมูลฝอยติดเชื้อเป็นอาคารหรือห้องแยกเฉพาะ ขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ โปร่ง ไม่อับทึบ ผนังเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีประตูปิดล็อคได้ ป้องกันสัตว์และพาหะนำโรค รวมทั้งมีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๑.๔) ต้องมีพนักงานขับรถและผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ผ่านการอบรมตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมีชุดปฏิบัติการเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย (๑.๕) การเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อต้องใช้เส้นทางที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อกำหนดให้เท่านั้น ห้ามแวะพักระหว่างทาง ห้ามโยน หรือลากภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเด็ดขาดต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือในการช่วยหยิบจับ (๑.๖) ต ้องมียานพาหนะสำ หรับเก็บ ขน หรือกำ จัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกสุขลักษณะในปริมาณที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ มีตัวถังปิดทึบ บุด้วยวัสดุทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย อุปกรณ์ทำความสะอาดกรณีตกหล่นหรือรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์สื่อสารประจำรถกรณีเกิดอุบัติเหตุ และพิมพ์ข้อความสีแดง คำว่า “ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ” บนถังรถขนาดที่มองเห็นชัดเจนพร้อมพิมพ์ข้อความ “องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ” ด้วยสีแดง และหมายเลขอนุญาต ชื่อสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ได้รับอนุญาตที่มองเห็นได้ (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (๒.๑) ต้องมีสถานที่พักรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อเป็นอาคารหรือห้องแยกเฉพาะ ขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ โปร่ง ไม่อับทึบ ผนังเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีประตูปิดล็อคได้ ป้องกันสัตว์และพาหะนำโรค รวมทั้งมีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๒.๒) จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (๒.๓) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีความรู้ ผ่านการฝึกอบรม การป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒.๔) ต้องดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในหนึ่งวัน และต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมดให้หมดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย (๒.๕) มีระบบการกำจัดที่ถูกต้องได้มาตรฐานประสิทธิภาพสูง เช่น การกำจัดด้วยระบบไอน้ำ ไมโครเวฟ สารเคมี หรือเตาเผา สำหรับการใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา ผู้รับจ้างต้องส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ระบบ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน (๒.๖) สำหรับการกำจัดด้วยเตาเผาต้องมีลักษณะเตาเผาแบบ ๒ ห้อง คือ ห้องเผามูลฝอยติดเชื้อใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส และห้องเผาควันควรใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส (๒.๗) มาตรฐานในการกำจัดทุกระบบต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน ในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สมภพ เกลียวสีนาค ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบ่อ เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๔๒/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804239
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันและของนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันนับแต่เมื่อได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันแล้ว ๙๐ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่ประกาศกระทรวงสาธารสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่าสภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาดหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันว่าด้วยการกำจัดมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ ประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ) (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันประกาศกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตามข้อ ๕ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ (๒) ปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้นให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุหรือผลิตภัณฑ์แห่งกิจการนั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นให้พ้นจากการปนเปื้อน ฝุ่นละออง แมลงวัน สัตว์อื่นๆ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๔) จัดให้มีการป้องกันและกำจัดแมลงวัน ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ ให้ถูกหลักสุขาภิบาล (๕) ปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญหรือโรคติดต่อ (๖) จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของตำบลทับทัน ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สุวรรณ อุปถัมภ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๑๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804281
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางและนายอำเภอสูงเนิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารให้รูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จ พร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “อาหารแห้ง” หมายความว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งโดยการอบ รมควัน ตากแห้ง หรือวิธีการอื่นใด เพื่อลดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอาหารลงและเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น “เครื่องปรุงรส” หมายความว่า สิ่งที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหารให้มีรูปแบบ รสชาติ กลิ่นรส ชวนรับประทาน เช่น เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซอส ผงชูรส รวมทั้งเครื่องเทศ สมุนไพร มัสตาร์ด เป็นต้น “วัตถุเจือปนอาหาร” หมายความว่า วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น ความในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ “ผู้สัมผัสอาหาร” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ “ผู้ประกอบกิจการ” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้น “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ผู้ดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ สุขลักษณะในการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร ส่วนที่ ๑ สถานที่และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร ที่ใช้จำหน่ายอาหาร และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหาร ข้อ ๖ สถานที่และบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบหรือปรุงอาหารที่ใช้จำหน่ายอาหาร และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) พื้นบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบ ปรุงอาหารต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด และทำความสะอาดง่าย (๒) กรณีที่มีผนัง หรือเพดานต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๓) มีการระบายอากาศเพียงพอ และในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารเข้าข่ายสถานที่สาธารณะตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ (๔) มีความเข้มของแสงสว่างเพียงพอตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ (๕) มีที่ล้างมือและอุปกรณ์สำหรับล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ (๖) โต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร หรือที่จำหน่ายอาหาร สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี (๗) โต๊ะเก้าอี้ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด (๘) น้ำใช้เป็นน้ำประปา ยกเว้นกรณีที่ไม่มีน้ำประปาให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปา หรือเป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๙) ภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย และสภาพดี ข้อ ๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย โดยมีถังรองรับมูลฝอยที่มีสภาพดี ไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น และต้องดูแลรักษาความสะอาดถังรองรับมูลฝอยและบริเวณโดยรอบตัวถังรองรับมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและถังรองรับมูลฝอย ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่นเรื่องการจัดการมูลฝอย ข้อ ๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับส้วม ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องจัดให้มีหรือจัดหาห้องส้วมที่มีสภาพดี พร้อมใช้ ไว้บริการ และมีจำนวนเพียงพอ (๒) ห้องส้วมต้องสะอาด มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ (๓) มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์สำหรับล้างมือจำนวนเพียงพอ (๔) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน โดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ที่เก็บ ที่จำหน่ายและที่บริโภคอาหาร ที่ล้างและที่เก็บภาชนะอุปกรณ์ เว้นแต่จะมีการจัดการห้องส้วมให้สะอาดอยู่เสมอ และมีฉากปิดกั้นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ประตูห้องส้วมต้องปิดตลอดเวลา ข้อ ๙ จัดให้มีมาตรการ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ส่วนที่ ๒ สุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการทำ ประกอบ ปรุง การเก็บรักษาและการจำหน่ายอาหาร ข้อ ๑๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารสดที่นำมาประกอบ และปรุงอาหารต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค (๒) อาหารสดต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วน มีการปกปิด ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ ข้อ ๑๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารแห้ง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารแห้งต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๒) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร และสิ่งอื่นที่นำมาใช้ในกระบวนการประกอบหรือปรุงอาหารต้องปลอดภัย ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร ข้อ ๑๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารประเภทปรุงสำเร็จตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒) มีการควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้สะอาด ปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามชนิดของอาหาร ข้อ ๑๓ น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร บรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาให้บริการ ข้อ ๑๔ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำแข็งตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ใช้น้ำแข็งที่สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร ไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนและต้องไม่ระบายน้ำจากถังน้ำแข็งลงสู่พื้นบริเวณที่วางภาชนะ (๓) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งโดยเฉพาะ (๔) ต้องไม่นำอาหาร หรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค ข้อ ๑๕ สถานที่จำหน่ายอาหารซึ่งมีที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องจัดให้มีช้อนกลางสำหรับอาหารที่รับประทานร่วมกัน ข้อ ๑๖ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดเก็บสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภค แยกบริเวณเป็นสัดส่วนต่างหากไม่ปะปนกับอาหาร ต้องติดฉลากและป้ายให้เห็นชัดเจนพร้อมทั้งมีคำเตือนและคำแนะนำเมื่อเกิดอุบัติภัยจากสารดังกล่าวกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมีจากภาชนะบรรจุเดิม ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภคมาใช้บรรจุอาหาร และห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภคโดยเด็ดขาด ส่วนที่ ๓ สุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้อื่นๆ และน้ำใช้ ข้อ ๑๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๒) มีการจัดเก็บภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไว้ในที่สะอาด โดยวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และมีการปกปิดหรือป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๓) ตู้เย็น ตู้แช่ หรืออุปกรณ์เก็บรักษาคุณภาพอาหารด้วยความเย็นอื่น ๆ ต้องสะอาด มีสภาพดี ไม่ชำรุด มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร (๔) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ อุปกรณ์ประกอบหรือปรุงอาหารด้วยความร้อนอื่น ๆ หรืออุปกรณ์เตรียมอาหารต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด ข้อ ๑๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่รอการทำความสะอาดต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๒) ทำความสะอาดภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ให้สะอาดด้วยวิธีการตามหลักสุขาภิบาลอาหารและใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม โดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารทำความสะอาดนั้น ๆ จากผู้ผลิต ส่วนที่ ๔ สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๒) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด (๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาด และเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้ (๔) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่าย และเสิร์ฟอาหาร ให้ถูกสุขลักษณะ และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๕) ต้องปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ส่วนที่ ๕ การป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อ ข้อ ๒๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่มีเศษอาหารตกค้าง (๒) ต้องมีการแยกเศษอาหารและไขมันไปกำจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำ และน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ข้อ ๒๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดให้มีการป้องกันควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค รวมถึงสัตว์เลี้ยงตามที่รัฐมนตรีกำหนด ส่วนที่ ๖ การป้องกันอัคคีภัยและอันตราย ข้อ ๒๓ ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารบริเวณโต๊ะรับประทานอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร ข้อ ๒๔ ห้ามใช้เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงในการทำ ประกอบ ปรุง หรืออุ่นอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร เว้นแต่เป็นการใช้แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องได้รับมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมวด ๓ สุขลักษณะในการดำเนินกิจการสถานที่สะสมอาหาร ข้อ ๒๕ ผู้จัดตั้งสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ตลอดจนสิ่งอื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ที่ฝัง เผา หรือเก็บศพ ที่เททิ้งสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เว้นแต่สามารถปรับปรุงสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๔) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๕) จัดให้มีส้วมที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมวด ๔ ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้ง ส่วนที่ ๑ ใบอนุญาต ข้อ ๒๖ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประชาชน (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ...) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๒๘ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน (หรือตามที่เห็นสมควร) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๓๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางกำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๖ ผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนที่ ๒ หนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๓๗ ผู้ใดจะตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๓๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ....) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๓๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบเพื่อดำเนินการ แก้ไขหรือเพิ่มเติม หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้อง ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินการ ข้อ ๔๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบ ถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ หมวด ๕ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๔๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต หรือผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกและก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต หรือในวันที่มาแจ้งและก่อนวันครบรอบปีของทุกปี ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้น อีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้รับแจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณรงค์ เตี้ยงสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๔. แบบคำขอแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๕. แบบคำขอแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๖. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๗๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804271
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ เรื่อง การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ เรื่อง การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ ว่าด้วยการลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๒๒ (๑) แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์และนายอำเภอดอนเจดีย์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ เรื่อง การลดหย่อนภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์แล้วสามสิบวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นที่ดิน และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย “เจ้าของที่ดิน” หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือมีสิทธิครอบครองในที่ดิน ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบรรดาข้อกำหนด ข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดที่ได้ตราไว้แล้ว ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ให้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน ให้ลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่เป็นจำนวนไม่เกินสามไร่ ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างและใช้สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อนสำหรับส่วนของที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานการค้าหรือให้เช่านั้น ในกรณีที่บุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้ได้รับการลดหย่อนรวมกันตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับที่ดินที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินในรอบระยะเวลาภายหลังจากวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๖ ผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๗ ให้นำเกณฑ์การลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่จำนวนไม่เกินห้าไร่มาใช้บังคับกับที่ดินที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินในรอบระยะเวลาก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ โดยอนุโลม ข้อ ๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประสาน บุญเกิด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๕๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804283
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนและนายอำเภอบ้านฉาง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนเมื่อได้ประกาศไว้ โดยเปิดเผย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การทำทะเบียน” หมายความว่า การจดทะเบียนและการขึ้นทะเบียน “การจดทะเบียน” หมายความว่า การออกใบรับรองรูปพรรณสัณฐานและการทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ “การขึ้นทะเบียน” หมายความว่า การนำเอกสารเกี่ยวกับสุนัขที่จดทะเบียนไว้แล้วแจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐาน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งรับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน “สัตวแพทย์” หมายความว่า สัตวแพทย์ผู้ซึ่งปฏิบัติงานในส่วนราชการของรัฐ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สัตวแพทย์ในราชการส่วนท้องถิ่น “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์หรือปล่อยสัตว์ให้อยู่นอกที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความว่า ผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิได้เป็นของเอกชนหรือประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ในพื้นที่จึงให้เขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) โค (๔) กระบือ (๕) สุกร (๖) ไก่ (๗) เป็ด (๘) สัตว์อื่น ๆ (๙) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะในเขตท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข – แมวบางชนิดโดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่สาธารณะเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข – แมวทุกชนิด (๑.๒) สถานที่ไม่ใช่เคหสถานของตนให้เจ้าของสุนัข – แมวที่เลี้ยงในพื้นที่ตามความใน (๑.๓) มีหน้าที่นำสุนัขไปทำทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน (๑.๓) การขึ้นทะเบียนสัตว์ เจ้าของสุนัข - แมว ต้องยื่นคำขอ พร้อมแนบเอกสารดังนี้ ๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ๒) สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสุนัข - แมว ๓) ในกรณีเจ้าของสุนัข - แมวไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้าน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน ๔) ใบรับรองที่ระบุการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปี มีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีนและลงชื่อสัตวแพทย์ผู้ฉีดพร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีเจ้าของสัตว์ไม่ได้มาดำเนินการเอง (๑.๔) เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติดังนี้ ๑) นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ ๒ – ๔ เดือน และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ๒) เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ให้ติดเครื่องหมายประจำตัว และเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ การขายหรือให้สุนัข - แมวแก่ผู้อื่นต้องมอบใบรับรองให้ด้วย ข้อ ๖ แบบคำร้องและวิธีการขึ้นทะเบียนสุนัข ทะเบียนสุนัข - แมวรายครัวเรือน และบัตรประจำตัวสุนัขให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนประกาศกำหนด ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ในองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยมีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์ที่มีสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์มีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่าง และการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำ และบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ ให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควันและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้สัตว์เลี้ยงภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม หากประสงค์จะไปเลี้ยงในสถานที่อื่นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่ และต้องควบคุมดูแลกรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือรำคาญแก่ผู้อื่นไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน ข้อ ๙ กรณีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งดำเนินการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๘ อย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค หรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกไปให้พ้นจากที่นั่นโดยสะดวกและเหมาะสม (๒) การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้แหล่งน้ำสาธารณะ (๓) ต้องจัดให้มีระบบกักเก็บหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง (๔) ต้องทำความสะอาดกวาดล้างสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ (๕) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) ต้องมีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะจำนวนเพียงพอ ข้อ ๑๐ หลังจากที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๙ ต้องได้รับความยินยอมจากการประชุมประชาคมหมู่บ้านและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวกมีต้นไม้ให้ร่มเงาพอสมควร ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ส่งผลต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชนโดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ ๕๐ – ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๓) สำหรับสถานที่ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์กว่า ๕๐๐ – ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๔) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร ผู้ขออนุญาตดังกล่าวให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้อย่างละ ๑ ชุด (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุสมควรสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลทั่วไปให้เจ้าของสัตว์ แยก กักกันสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ รวมถึงต้องแจ้งให้สัตวแพทย์ของหน่วยงานราชการทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ หรือห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เฉพาะเขตควบคุมการปล่อยสัตว์ เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน ยกเว้นการปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลตามประเพณี ข้อ ๑๓ เจ้าของสัตว์จะต้องควบคุมดูแลสัตว์และสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตนมิให้ก่อเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ข้อ ๑๔ หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขหรือถ้าการเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควร ข้อ ๑๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๖ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติหรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติหรือตามพระราชบัญญัติ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้ (๔) ยึดของอายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณพอสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคที่หนึ่งในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๘ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อนมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ และมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ทัศนัย ทองคต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักท้อน ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๘๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804249
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาและนายอำเภอจอมทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ข้อ ๕ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) ช้าง (๔) โค (๕) กระบือ (๖) แพะ, แกะ (๗) นก (๘) ไก่ (๙) เป็ด,ห่าน (๑๐) สุกร (๑๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๖ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาโดยเด็ดขาด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาประกาศกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์ เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณีโดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาหรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปามีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖ ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้วเจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตนไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาเก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาเป็นผู้รักษาการข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ รุ่งสุริยา เชียงชีระ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๔๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804331
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อและนายอำเภอแม่สรวย จึงได้ตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สัตว์” หมายความว่า สัตว์ที่โดยปกติเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นพาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดงหรือสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่ บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ เพื่อให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติการมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามเลี้ยงสัตว์ชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ โดยเด็ดขาด ได้แก่ (๑) งูพิษและงูที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คนและสัตว์เลี้ยง (๒) ปลาปิรันยา (๓) คางคกไฟ (๔) สัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๕) สัตว์มีพิษร้ายอื่น ๆ (๖) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ๆ ข้อ ๖ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) ช้าง (๔) โค (๕) กระบือ (๖) แพะ (๗) นก (๘) ไก่ (๙) สุกร (๑๐) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๗ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อโดยเด็ดขาด ยกเว้นการปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณี โดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ หรือเพื่อการในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรค หรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อประกาศกำหนดพื้นที่ ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๗ ข้อ ๙ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำ และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๗ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณี ก่อนถึงกำหนดดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อเก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาของรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๓ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และรายได้อื่น ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ข้อ ๑๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สัมภาษณ์ ดาวเด่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าก๊อ ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๓๔/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804253
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก เรื่อง การจัดการน้ำเสียในอาคารโดยการติดตั้งบ่อดักไขมัน พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก เรื่อง การจัดการน้ำเสียในอาคารโดยการติดตั้งบ่อดักไขมัน พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก ว่าด้วยการจัดการน้ำเสียในอาคารโดยการติดตั้งบ่อดักไขมัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกและนายอำเภอลอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลต้าผามอก เรื่อง การจัดการน้ำเสียในอาคารโดยการติดตั้งบ่อดักไขมัน พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกตั้งแต่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ “อาคารอยู่อาศัย” หมายความว่า อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ทั้งกลางวันและกลางคืนไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัยอย่างถาวรหรือชั่วคราว “ห้องแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหา และประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ “ตึกแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างต่อเนื่องกันเป็นแถวยาวตั้งแต่สองคูหาขึ้นไป มีผนังแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่ “บ้านแถว” หมายความว่า ห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคารแต่ละคูหาและมีความสูงไม่เกินสามชั้น “อาคารสาธารณะ” หมายความว่า อาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนโดยทั่วไป เพื่อกิจกรรมทางราชการ การเมือง การศึกษา ศาสนา นันทนาการ หรือพาณิชยกรรม เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม สถานพยาบาล สนามกีฬา ตลาด ห้างสรรพสินค้า สถานบริการ สถานประกอบการ สถานีรถ ศาสนสถาน เป็นต้น “อาคารที่อยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว มีห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดิน หรือพื้นที่ซักล้าง “บ่อดักไขมัน” หมายความว่า สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำซึ่งผ่านการใช้แล้ว “การระบายน้ำ” หมายความว่า การผันน้ำ การปล่อยน้ำ การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ “แหล่งระบายน้ำ” หมายความว่า ทางหรือท่อระบายน้ำ ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งระบายน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อหรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำและยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการกำจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ ๕ ติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก (๒) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ข้อ ๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามข้อ ๖ ทำการดูแลรักษา เก็บขนน้ำมันหรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามปกติ ข้อ ๙ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๗ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท และเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไป จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดและวิธีการติดตั้งบ่อดักไขมันและแบบถังดักไขมันให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกกำหนด ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณา ยกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของอาคารและพื้นที่บางแห่ง เช่น พื้นที่บนภูเขา พื้นที่การเกษตรกรรม พื้นที่ในชนบท เป็นต้น ข้อ ๑๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอกเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วีระศักดิ์ ทองพลาย ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบที่ ๑ สำหรับบ้านพักอาศัย แบบถังดักไขมัน ขนาด ๑ ครัวเรือน ๒. แบบที่ ๒ สำหรับสถานประกอบการขนาดเล็ก แบบถังดักไขมันขนาด ๒ ลบ.ม./วัน ๓. แบบที่ ๓ สำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่ แบบถังดักไขมันขนาด ๔ ลบ.ม./วัน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๔๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804317
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ ว่าด้วยการบริหารกิจการประปา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพและนายอำเภอเมืองอุทัยธานี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง การควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพตั้งแต่เมื่อได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารให้รูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไป ทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน (๑.๑) – (๑.๖) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเกาะเทโพ ข้อ ๗ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาคาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของอื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนตัวของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกัน สิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหารหรือของสิ่งใดแช่หรือเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อ และไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดอยู่เสมอ (๒) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องใช้วัสดุถาวร แข็งแรง และมีผิวเรียบไม่ดูดซึมน้ำ และทำความสะอาดได้ง่าย การจัดตั้งถังบรรจุก๊าซต้องอยู่ในที่ปลอดภัยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๓) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการประกอบ ปรุง การเก็บและการบริโภคไว้ให้เพียงพอ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๔) จัดให้มีที่สำ หรับทำ ความสะอาดภาชนะ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๕) จัดให้มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี และมีจำนวนตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ตลอดจนจัดให้มีสบู่ล้างมือไว้ตลอดเวลา (๖) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำ เสียหรือระบบกำ จัดของเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือแหล่งที่น่ารังเกียจ เช่น ใกล้ชิดกับที่ฝังศพ หรือที่เก็บศพ ที่ทิ้ง กำจัดสิ่งปฏิกูล ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นใดซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๘) พื้นทำด้วยวัสดุถาวรและไม่มีน้ำขัง (๙) จัดให้มีรางระบายน้ำด้วยวัสดุถาวร เพื่อให้น้ำไหลไปสู่รางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อรับน้ำเสียได้สะดวกตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑๐) จัดให้มีแสงสว่างภายในเพียงพอ ณ จุดที่ทำการปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร และต้องมีการระบายอากาศภายในร้านอย่างเพียงพอโดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ห้องสำหรับห้องรับประทานอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศต้องมีเครื่องหยุดอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ รวมทั้งต้องติดเครื่องหมาย “ห้ามสูบบุหรี่” ไว้ด้วย (๑๑) จัดให้มีส้วมที่ได้สุขลักษณะและมีจำนวนเพียงพอตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑๒) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงประเภทที่เหมาะสม จำนวนเพียงพอ และอยู่ในสภาพที่สามารถใช้ได้สะดวกเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ตลอดจนต้องมีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพใช้การได้ทุกปี (๑๓) จัดให้มีระบบการระบายควันที่เกิดจากการปรุงอาหาร เช่น พัดลมดูดอากาศ หรือปล่องระบายควันซึ่งสูงเพียงพอที่จะไม่ก่อเหตุรำคาญ (๑๔) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ และต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดพื้นทุกอาทิตย์ (๑๕) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะ (๑๖) ถ้ามีสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารต้องแยกให้อยู่ในที่เหมาะสม (๑๗) จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๑๘) ปฏิบัติการอื่น ๆ ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำ เนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๖ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๘ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำ เนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มะลิ อินทร์เอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต ๕. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้ง ๖. หนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการจำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร ๖. คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๑๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804277
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางและนายอำเภอสูงเนิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ในพื้นที่เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ สุนัข แมว สัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงเฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง (๒) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัด ศาลาประจำหมู่บ้าน เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ห่าน เป็ด ไก่ สุนัข แมว สัตว์อื่น ๆ (๓) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ ข้อ ๕ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคง แข็งแรง ตามความเหมาะสมแก่ประเภท ชนิดและวิสัยของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอมีระบบการระบายน้ำ และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสม หมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาดไปสู่สัตว์อื่นหรือมนุษย์ได้ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์ และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ควบคุม ดูแลสัตว์เลี้ยงของตนมิให้ก่ออันตราย ความเดือดร้อนหรือเหตุรำคาญ แก่ผู้อื่นหรือชุมชน (๘) ป้องกันไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ข้อ ๖ ผู้ใดเลี้ยงสัตว์อยู่แล้วหรือประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๕ ตามสถานที่ใกล้กับแหล่งชุมชนต้องได้รับความยินยอมจากประชาคมหมู่บ้านหรือแหล่งชุมชนนั้น ๆ และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้น ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก มีต้นไม้ให้ร่มเงาพอสมควร ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชน โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๓) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๔) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร ผู้ขออนุญาตดังกล่าวให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้อย่างละ ๑ ชุด (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนตามข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ และให้มีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณรงค์ เตี้ยงสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๖๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804329
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายและนายอำเภอเมืองลพบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า กรรมวิธีหรือวิธีการที่จะดูแลให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้เพื่อไว้ขายหรือการค้าหรือเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นงานอดิเรกการมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) ช้าง (๔) โค (๕) กระบือ (๖) แพะ, แกะ (๗) นก (๘) ไก่ (๙) เป็ด, ห่าน (๑๐) สุกร (๑๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาต จากกรมป่าไม้ ข้อ ๖ ห้ามมิให้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายโดยเด็ดขาด ได้แก่ (๑) งูพิษและงูที่อาจเกิดอันตรายแก่คนและสัตว์เลี้ยง (๒) ปลาปิรันยา (๓) คางคกไฟ (๔) สัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๕) สัตว์มีพิษร้ายอื่น ๆ (๖) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ชนิดนั้นแล้ว ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย จึงกำหนดเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัด ศาลาประจำหมู่บ้าน เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ หรือสัตว์อื่น ๆ (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ปล่อยสัตว์ กรณีดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ประกาศกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณี โดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายหรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๗ ข้อ ๙ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมม จนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๗ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดนั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายเก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วรายเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ลาวัน ดีเอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๒๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804287
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม และนายอำเภอเมืองกำแพงเพชร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมนับจากวันที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม (๑.๒) สถานที่ราชการ (๑.๓) สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ (๑.๔) ตลาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง ให้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทของกิจการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ข้อ ๖ การเลี้ยงสัตว์ให้เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอ มีระบบการระบายนี้และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งนี้ (๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์ และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนไม่ให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ข้อ ๗ การเลี้ยงสัตว์ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๖ อย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค หรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร และเป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มหรือตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข (๒) ให้ดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ มิให้มีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๓) ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำ ทางน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๔) ต้องจัดหาที่รองรับขยะ ปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนกำจัดขยะ ปฏิกูลมูลฝอย ให้ถูกสุขลักษณะมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๕) ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง และบริเวณโดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น เสียง แสง รังลี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝน ละออง เขม่า เล้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขาย หรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขาย หรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ รายได้อื่น ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชนะนันท์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๙๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804321
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ ว่าด้วยการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๔๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพโดยได้รับ ความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพและนายอำเภอเมืองอุทัยธานี จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำหยอดเหรียญ” หมายความว่า สถานที่ที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวดหรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สำหรับติดตั้งกับท่อจ่ายน้ำ เพื่อกรองน้ำให้สะอาด กำจัดสิ่งปนเปื้อน และสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ในการดื่ม ได้แก่ ความขุ่น สี กลิ่น แบคทีเรียบางชนิดที่อาจปนเปื้อนในระบบส่งน้ำ ถังพักน้ำ หรือระบบท่อจ่ายน้ำ ซึ่งมีน้ำมากักเก็บไว้ และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยผ่านเครื่องอัตโนมัติ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุมต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้น ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้ ๕.๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ตั้ง สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่ายโดยต้องอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย และแหล่งขยะมูลฝอยต้องเป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหนะนำโรค บริเวณพื้นที่ที่ตั้งตู้น้ำไม่เฉอะแฉะ สกปรกและมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะการติดตั้งตู้ต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ ๕.๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณลักษณะตู้น้ำ ตู้น้ำและอุปกรณ์ต้องทำ จากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยตู้น้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึมรวมทั้งสามารถทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการ ๕.๓ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเองต้องมีระบบการตรวจสอบ การควบคุมและการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรียอย่างน้อย ๑ ครั้ง/ปี มีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรีย โดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนามอย่างน้อย ๑ ครั้ง/เดือน ๕.๔ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ๕.๔.๑ มีการทำความสะอาดสถานที่และบริเวณที่ตั้งของตู้น้ำเป็นประจำ ๕.๔.๒ บำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ๕.๔.๓ ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้อย่างน้อย ๑ ครั้ง/เดือน ๕.๔.๔ ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาข้อแนะนำผลิตภัณฑ์ที่กำหนด หรือเมื่อพบการตรวจผิดปกติเกินมาตรฐาน ๕.๕ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกและการรายงาน ๕.๕.๑ ต้องจัดทำระบบข้อมูลและการรายงานอย่างสม่ำเสมอ ๕.๕.๒ บำรุงรักษาตามตารางแผนปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ๕.๕.๓ รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕.๕.๔ จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐาน หรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันผู้ขอรับใบอนุญาต งดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ ๕ เพียงเท่าที่เห็นสมควร หรือเปลี่ยนแปลงอย่างใด เพื่อให้เหมาะสมแก่การดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมีการควบคุม เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้ออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบ กรณีไม่อาจออกใบอนุญาตได้ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง แต่ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่ต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน ๒ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ในอันที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนเป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควรและให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ข้อ ๘ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่จะระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกิน ๑๕ วัน ข้อ ๙ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตดังกล่าวจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายใน ๓๐ วันก่อนวันสิ้นอายุใบอนุญาต ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจะต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๓ เมื่อผู้ได้รับอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบกิจการน้ำดื่มหยอดเหรียญรายใดไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มะลิ อินทร์เอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๒๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804247
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันและนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันนับแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) สุกร (๒) เป็ด (๓) ไก่ (๔) ห่าน (๕) โค (๖) กระบือ (๗) แพะ (๘) แกะ (๙) สุนัข (๑๐) แมว (๑๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๖ ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ตามที่กำหนดในข้อ ๕ ในเขตที่หรือทางสาธารณะซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบดูแล ข้อ ๗ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์ และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (๘) ในกรณีที่มีเหตุควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้เจ้าของสัตว์แยก กักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ รวมถึงต้องแจ้งให้สัตวแพทย์ของหน่วยงานราชการทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งของข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ข้อ ๘ กรณีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะเพื่อการค้า เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๗ อย่างเคร่งครัด และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัติเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นต้องเป็นไปตามที่ข้อบัญญัติกำหนด และตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชน โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าว และแหล่งน้ำสาธารณะในระยะ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เมตร (๓) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ มากกว่า ๕๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร ข้อ ๙ หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง และหากเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไข หรือถ้าการเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการทันที ข้อ ๑๐ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชน ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันควร และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ในระหว่างการจับสัตว์หากสัตว์วิ่งหนีเกิดอุบัติเหตุอื่นใดทำให้สัตว์บาดเจ็บ หากเป็นเหตุที่โดยพฤติการณ์ต้องเกิดขึ้น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วทางองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้น ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สุวรรณ อุปถัมภ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๔๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804273
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางและนายอำเภอสูงเนิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “การจัดการสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ การขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล “ส้วม” หมายความว่า ระบบรองรับสิ่งปฏิกูล รวมทั้งตัวเรือนสำหรับปิดบังขณะใช้งาน “ส้วมส่วนรวม” หมายความว่า ส้วมที่จัดไว้เพื่อให้บริการเป็นการทั่วไปภายในหน่วยงานของรัฐ เอกชนหรือสถานที่ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึงส้วมสาธารณะ ไม่ว่าจะมีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่ “ส้วมเคลื่อนที่” หมายความว่า ส้วมที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือแพ “ส้วมชั่วคราว” หมายความว่า ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร และให้หมายความรวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป “ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า ถังหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้ เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปกำจัด “การขนสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม “การกำจัดสิ่งปฏิกูล” หมายความว่า การปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูลให้ปราศจากมลภาวะ สภาพอันน่ารังเกียจ หรือการก่อให้เกิดโรค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือทำลาย “กากตะกอน” หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการกำจัดสิ่งปฏิกูล “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูล นอกจากถ่าย เท ทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้ ข้อ ๘ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีการจัดงานมหรสพ งานเทศกาล งานแสดงสินค้า การชุมนุม การชุมนุมสาธารณะ หรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไป ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าวต้องจัดให้มีส้วม ส้วมส่วนรวม ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการอย่างเพียงพอ เมื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น ในกรณีที่มีการติดตั้งส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว ให้ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอน และปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าว ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว ที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการสิ่งปฏิกูล ส่วนที่ ๑ สุขลักษณะของห้องส้วม ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ที่ให้บริการส้วมส่วนรวมต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด มีฝาปิดมิดชิด และอยู่ในสภาพดีไม่รั่วซึมตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง (๒) จัดให้มีสบู่สำหรับล้างมือซึ่งพร้อมใช้งานได้ (๓) ดูแลพื้น ผนัง เพดาน โถส้วม โถปัสสาวะ และที่กดเปิดปิดน้ำของโถส้วม และโถปัสสาวะให้สะอาดรวมทั้งต้องบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานได้ (๔) จัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่แตก หรือรั่วซึม สามารถ ป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูลไปกำจัดให้ได้มาตรฐาน ข้อ ๑๒ ยานพาหนะหรือแพที่มีส้วมเคลื่อนที่ ให้เจ้าของยานพาหนะหรือแพต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๑๓ ผู้ที่จัดให้มีส้วมชั่วคราวต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ส่วนที่ ๒ สุขลักษณะในการขนสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๔ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ที่มีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ (๒) ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยต้องมีมาตรการป้องกันกลิ่น ในขณะที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูล เพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ (๓) ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลักจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว โดยการสูบน้ำสะอาดจากถัง เพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (๔) ในกรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกหล่น ให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำ (๕) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม และมีสภาพพร้อมใช้งาน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูล รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล และตรวจตราควบคุมให้มีการใส่อุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าว (๖) ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด ถุงมือยางหนา ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมร้องเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง และต้องทำความสะอาด ถุงมือยางหนา และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน (๗) ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งน้ำเสียหรือบ่อซึม โดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่าสิบเมตร (๘) ต้องจัดให้มีสถานที่เฉพาะที่มีขนาดกว้างขวางเพียงพอสำหรับจอดเก็บยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล (๙) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้กิจการอื่น และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะ ข้อ ๑๕ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินการกิจการรับทำการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๖ ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีฝาเปิดและปิดอยู่ด้านบน โดยสามารถปิดได้มิดชิด ไม่รั่วซึม และป้องกันกลิ่นสัตว์ และแมลงพาหะนำโรคได้ (๒) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม (๓) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้ และมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูลซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี (๔) มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะสูบสิ่งปฏิกูล เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น (๕) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความว่า “ใช้เฉพาะขนสิ่งปฏิกูล” โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น ให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ที่รับมอบนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล พร้อมกับแสดงแผ่นป้าย ระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ได้รับมอบในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงรหัสหรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาต ในกรณีที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นหลายแห่งให้แสดงเฉพาะเลขทะเบียนใบอนุญาตใบแรก และให้เก็บสำเนาหลักฐานใบอนุญาตใบอื่นไว้ที่ยานพาหนะ ขนสิ่งปฏิกูลเพื่อการตรวจสอบ โดยทุกกรณีต้องแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ของบริษัทหรือเจ้าของกิจการขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยตัวอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตร ข้อ ๑๗ ในการขนสิ่งปฏิกูลให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดเส้นทางและออกเอกสารกำกับการขนส่งเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูล ส่วนที่ ๓ สุขลักษณะในการกำจัดสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๘ การกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้วไปใช้ประโยชน์หรือปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ดังต่อไปนี้ ประเภท ไข่หนอนพยาธิ จำนวน/กรัม หรือลิตร แบคทีเรียอีโคไล (Escherichia Coli Bacteria) (จำนวน/๑๐๐ กรัม หรือ เอ็ม.พี.เอ็น/๑๐๐ มิลลิเมตร) ๑. กากตะกอน น้อยกว่า ๑ น้อยกว่า ๑๐๓ ๒. น้ำทิ้ง น้อยกว่า ๑ น้อยกว่า ๑๐๓ วิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจหาไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลในกากตะกอนและน้ำทิ้งที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด ข้อ ๑๙ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๒๐ ในสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูล และมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตั้งไว้ ข้อ ๒๑ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๒๒ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ ........) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน (หรือตามที่เห็นสมควร) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๖ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางกำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนในอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๓๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนสิ่งปฏิกูลของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น หมวด ๕ อัตราค่าบริการขั้นสูง ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณรงค์ เตี้ยงสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการขน กำจัด และการออกใบอนุญาต ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. อัตราค่าบริการขั้นสูงการให้บริการขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการสิ่งปฏิกูล ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการสิ่งปฏิกูล (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๕๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
850003
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาบอนโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน และนายอำเภอคำม่วง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยสัตว์ให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยง รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ข้อ ๖ ให้สัตว์ดังต่อไปนี้ เป็นสัตว์ที่ต้องมีการควบคุมการเลี้ยงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน (๑) ช้าง (๒) ม้า (๓) โค (๔) กระบือ (๕) สุกร (๖) แพะ (๗) แกะ (๘) เป็ด (๙) ไก่ (๑๐) นก (๑๑) ห่าน (๑๒) แมว (๑๓) สุนัข ข้อ ๗ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ โดยเด็ดขาด ในพื้นที่ดังต่อไปนี้ (๑) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชยกรรมและเขตประชากรหนาแน่น (๒) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (๓) สถานที่ท่องเที่ยว (๔) สถานที่ราชการ อันเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน (๕) ที่หรือทางสาธารณะ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลตามประเพณีหรือขยายพันธุ์สัตว์ และการปล่อยสัตว์ของทางราชการหรือผู้ที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๘ การเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๖ เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้ว ยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณี ก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่ง และเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาบอนตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอนรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เนาวรัตน์ จิตรเหิม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบอน ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๐๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804243
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันและนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันนับแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันแล้วเก้าสิบวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๒ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันจัดไว้ให้ หรือในที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันจัดไว้ให้ หรือตามมาตรการที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันกำหนด ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยภายในอาคารหรือสถานที่นั้นอย่างพอเพียงและถูกสุขลักษณะ ข้อ ๘ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึมและไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดกันสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคาร หรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำการโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๑ กรณีเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนต้องมีการปฏิบัติการตามที่จำเป็นเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามลักษณะของมูลฝอยที่จัดเก็บ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายและการแพร่ของเชื้อโรค ตามวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับใบอนุญาต (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) สำเนาใบทะเบียน นิติบุคคล (ถ้ามี) (๔) บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการ (๕) ตัวอย่างหนังสือสัญญาระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (๖) ใบยินยอมให้ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๗) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๘) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันประกาศกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๓ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่น และสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตราวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดส้วม” และต้องแสดงเลขทะเบียน ใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือ รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๒.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย (รถเก็บขยะ) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๒.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๒.๑.๒) ต้องมีส่วนที่ใช้บรรจุขยะมูลฝอยทั่วไปไม่แตกไม่รั่วไม่ซึม ปกปิดมิดชิด ป้องกัน กลิ่นแมลงได้ การหกเรี่ยราด ตกหล่น และการปลิวกระจาย (๒.๑.๓) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค น้ำยาดับกลิ่น (๒.๑.๔) ต้องมีพนักงาน คนงานที่ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขตามสมควรหรือมีประสบการณ์ในการทำงานลักษณะนี้มาแล้วพนักงานต้องมีชุดปฏิบัติงาน ประกอบด้วย เสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มแข็ง มีการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง (๒.๒) สถานีขนถ่ายมูลฝอยต้องมีลักษณะและการดำเนินการขนถ่ายที่ต้องด้วย สุขลักษณะดังต่อไปนี้ มีอาคารขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่ทำการขนถ่าย การระบายอากาศดี แสงสว่างที่เพียงพอ มีการป้องกันปัญหากลิ่นจากมูลฝอย การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญ สัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีระบบระบายน้ำเสียและบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ โดยน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุและอัคคีภัยไว้ประจำสถานีขนถ่าย (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย (๓.๑) ผู้ประกอบการต้องระบุแหล่งที่จะนำสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยทั่วไป ที่เก็บ ขน ได้ไปที่ที่สำหรับกำจัด และต้องมีสถานที่สำหรับกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยเป็นของตนเอง ที่ตั้งของสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และมีมาตรการ ในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและการร้องเรียน และต้องแสดงหลักฐานการยินยอมของเจ้าของสถานที่ที่นำไปกำจัด เว้นแต่สถานที่นั้นเป็นของตนเอง แสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของหรือสถานที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับทันกำหนดให้ แล้วแต่กรณี (๓.๒) ต้องมีระบบบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ระบบหมักชนิดไร้อากาศ (Anaerobic Digestion) หรือระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) หรือระบบบึงประดิษฐ์แบบไหลแนวดิ่ง (Vertical-flow Constructed Wetland) หรือระบบบ่อผึ่งหรือบ่อปรับเสถียร (Stabilization Ponds) หรือการใช้ระบบอื่นใดที่สามารถดำเนินการได้ตามหลักวิชาการ และสามารถป้องกันพิษภัย การก่อให้เกิดโรค สภาพอันน่ารังเกียจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ และมีมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและผลกระทบต่อสุขภาพ (๓.๓) ต้องมีระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่เหมาะสมและถูกหลักสุขาภิบาลโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธี ดังนี้ การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือการเผาในเตาเผา หรือการหมักทำปุ๋ย หรือการแปรสภาพมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเชื้อเพลิงทดแทน และมีมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและผลกระทบต่อสุขภาพ (๓.๔) ต้องมีพนักงานคนงานที่ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสาธารณสุขตามสมควรหรือมีประสบการณ์ในการทำงานลักษณะนี้มาแล้ว ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ ก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๗ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๒.๑) ขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องควบคุมไม่ให้เกิดการปลิวกระจายของขยะ มีน้ำสกปรกหกเลอะเทอะ และจัดวางถังขยะ หรือที่รองรับขยะให้เรียบร้อยพร้อมทั้งเก็บกวาดขยะ ณ จุดที่เก็บให้สะอาดเรียบร้อย (๒.๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดและกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๒.๓) กรณีที่มีการตรวจพบว่าถังขยะหรือที่รองรับขยะเกิดความเสียหาย หรือชำรุดจากการปฏิบัติงานเก็บขนขยะ ผู้รับอนุญาตต้องชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนราคาปัจจุบัน (๒.๔) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย (๓.๑) ต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลของระบบที่นำมาใช้ต้องตรวจสอบ ควบคุมระบบในการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงต้องปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญของประชาชนและการร้องเรียน (๓.๒) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยเคร่งครัดเมื่อพบว่ามีปัญหาไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้อ ๑๘ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ และ ๑๓ โดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๒ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอใบรับอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๐ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๖ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๗ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สุวรรณ อุปถัมภ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต/รับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๓๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804233
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกกแดงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดงและนายอำเภอนิคมคำสร้อย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่ราชการในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑.๒) สถานที่ราชการหรือหน่วยราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น (๑.๓) บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณตลาดชุมชน บริเวณหนองคล้าขยาย บริเวณร้านค้าชุมชนทุกแห่ง (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒.๒) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียงไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๒.๓) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียงไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๒.๔) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียงไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร (๒.๕) กำหนดให้เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น ห้ามปล่อยสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์บนถนนสาธารณะและถนนในหมู่บ้าน (๓) นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๓.๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๓.๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๓.๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๓.๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๓.๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓.๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๓.๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณี ก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สุรชัย รูปเรี่ยม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๐๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804325
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ ประกอบมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองและนายอำเภอบ่อทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาด และดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ศุภชัย ธาราธนวัตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๒๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804297
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ เรื่อง การบริหารกิจการประปา พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ เรื่อง การบริหารกิจการประปา พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ ว่าด้วยการบริหารกิจการประปา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๘ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ องค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุและนายอำเภอพระพรหม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไป ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ เรื่อง การบริหารกิจการประปา พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง การใช้น้ำประปาองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุรักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการประปา” หมายความว่า การประปาที่อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ “องค์การบริหารส่วนตำบล” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ “ผู้ขอใช้น้ำประปา” หมายความว่า ผู้ที่ยื่นความประสงค์ขอใช้น้ำประปาต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น “ผู้ใช้น้ำประปา” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ใช้น้ำประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ หรือผู้ที่เคยยื่นความประสงค์และทำสัญญาขอใช้น้ำประปาต่อคณะกรรมการบริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านไว้ก่อนแล้ว “พนักงานจดมาตรวัดน้ำ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีหน้าที่จดมาตรวัดน้ำและเรียกเก็บเงินค่าน้ำประปา “มาตรวัดน้ำ” หมายความว่า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ติดตั้งให้กับผู้ใช้น้ำเพื่อวัดปริมาณน้ำ “เครื่องกั้นน้ำ” หมายความว่า ประตูน้ำที่ติดตั้งอยู่หน้าหรือหลังมาตรวัดน้ำซึ่งมีไว้สำหรับปิดและเปิดน้ำ “ท่อและอุปกรณ์ภายใน” หมายความว่า ท่อที่ต่อจากมาตรวัดน้ำเข้าสู่ภายในบริเวณสถานที่ใช้น้ำหรืออาคารของผู้ใช้น้ำ “ท่อและอุปกรณ์ภายนอก” หมายความว่า ท่อที่ต่อจากท่อจ่ายน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลไปบรรจบกับมาตรวัดน้ำ “จุดติดตั้งมาตรวัดน้ำ” หมายความว่า สถานที่ที่ถูกกำหนดเป็นที่ตั้งมาตรวัดน้ำ และประตูน้ำเพื่อให้มีการอ่านมาตรวัดน้ำได้อย่างสะดวก “ค่าวัสดุอุปกรณ์” หมายความว่า ค่ามาตรวัดน้ำ ท่อประปาและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง นับจากมาตรวัดน้ำถึงจุดประสานท่อ ซึ่งไม่รวมท่อและอุปกรณ์หลังมาตรวัดน้ำที่ผู้ขอใช้น้ำต้องดำเนินการเอง “ค่าประกันการใช้น้ำ” หมายความว่า เงินที่เรียกเก็บตามขนาดมาตรวัดน้ำเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระค่าน้ำประปาแต่ละเดือน โดยผู้ใช้น้ำจะได้รับค่าประกันคืนเต็มจำนวนเมื่อยกเลิกการใช้น้ำและไม่มีหนี้ค้างชำระค่าน้ำประปา เว้นแต่ผู้ขอใช้น้ำประเภทหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การอื่นที่ได้จดทะเบียนมีใบอนุญาตแล้ว ให้ได้รับยกเว้นค่าประกันการใช้น้ำ “ค่าบริการทั่วไป” หมายความว่า เงินที่เรียกเก็บเป็นรายเดือนตามขนาดมาตรวัดน้ำที่ติดตั้งเพื่อนำไปใช้ในการบำรุงรักษา ซ่อมหรือเปลี่ยนมาตรวัดน้ำ อุปกรณ์และท่อจ่ายน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี “งดจ่ายน้ำ” หมายความว่า การที่องค์การบริหารส่วนตำบลงดจัดส่งน้ำและจำหน่ายน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ หมวด ๒ การขอใช้น้ำประปา ข้อ ๖ ผู้ขอใช้น้ำต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพร้อมหลักฐานเอกสาร ดังต่อไปนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ (ตัวจริง) พร้อมสำเนา จำนวน ๑ ฉบับ (๒) ทะเบียนบ้าน (ตัวจริง) พร้อมสำเนา จำนวน ๑ ฉบับ (๓) กรณีเป็นนิติบุคคลต้องมีหลักฐานการจดทะเบียนตามกฎหมาย (๔) แผนผังที่ตั้งมาตรวัดน้ำ กรณีที่ผู้ขอใช้น้ำเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนมีใบอนุญาตแล้วให้หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจลงนามในแบบคำขอใช้น้ำประปาและสัญญาการใช้น้ำประปาในการดำเนินการข้างต้น กรณีที่ผู้ยื่นคำขอใช้น้ำเป็นผู้เช่าหรือผู้อาศัยตามทะเบียนบ้านต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้านพร้อมด้วยสำเนาสัญญาเช่ามอบไว้เป็นหลักฐาน การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานอย่างน้อยสองคนและปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย ในกรณีมีความจำเป็นต้องวางท่อประปาผ่านที่ดินของผู้อื่น ผู้ขอใช้น้ำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อ ๗ เมื่อได้รับคำขอใช้น้ำประปา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำขอใช้น้ำภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอใช้น้ำประปาจากผู้ยื่นคำขอ กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาแล้วไม่อนุญาตให้ใช้น้ำประปา ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบเป็นการด่วน พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่อนุญาต ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาอนุญาตให้ใช้น้ำประปา ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำประปาต่อไป การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งประมาณการค่าวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งค่าประกันการใช้น้ำตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ สำหรับการติดตั้งมาตรวัดน้ำที่มีระยะห่างจากท่อเมนจ่ายน้ำประปาไม่เกินสิบเมตร ผู้ขอใช้น้ำซึ่งได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำประปาภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำประปาองค์การบริหารส่วนตำบลจึงจะดำเนินการติดตั้งประปาให้ หากไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้ใช้น้ำสละสิทธิ์ในการขอใช้น้ำประปาครั้งนั้น ข้อ ๙ ผู้ขอใช้น้ำประปาที่ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำประปาแล้ว ต่อมาปฏิเสธที่จะให้องค์การบริหารส่วนตำบลวางท่อและติดตั้งมาตรวัดน้ำภายในเวลาที่ได้รับแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ถือว่าผู้ขอใช้น้ำสละสิทธิ์การใช้น้ำให้องค์การบริหารส่วนตำบลคืนค่าธรรมเนียมการติดตั้งประปาที่ได้ชำระไว้โดยหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในอัตราร้อยละยี่สิบ ข้อ ๑๐ ผู้ใช้น้ำประปารายใดมีความประสงค์ขอใช้น้ำประปาเป็นการชั่วคราวให้ยื่นคำขอโดยหลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการยื่นขอใช้น้ำกรณีทั่วไป หมวด ๓ การยกเลิกการใช้น้ำ ข้อ ๑๑ เมื่อผู้ใช้น้ำประปาต้องการยกเลิกการใช้น้ำ ให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันเพื่อขอรับเงินประกันการใช้น้ำคืนเต็มจำนวน เว้นแต่จะมีหนี้อันเกิดจากการใช้น้ำประปาค้างชำระอยู่ให้หักออกก่อนตามจำนวนที่ค้างส่วนที่เหลือถ้าหากมีให้คืนแก่ผู้ใช้น้ำ ทั้งนี้ ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำและใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปา ครั้งสุดท้าย (ถ้ามี) เป็นหลักฐานในการรับเงินคืน หมวด ๔ การดำเนินการติดตั้ง ข้อ ๑๒ การต่อท่อประปาจากท่อจ่ายน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลถึงจุดติดตั้งมาตรวัดน้ำ รวมทั้งการติดตั้งมาตรวัดน้ำ และเครื่องกั้นน้ำ ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ พร้อมทั้งการกำหนดขนาดของสิ่งของเหล่านั้นให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยเฉพาะผู้หนึ่งผู้ใดจะกระทำโดยพลการมิได้ บรรดาท่อและอุปกรณ์ภายนอกมาตรวัดน้ำ รวมทั้งมาตรวัดน้ำเมื่อได้ติดตั้งแล้วให้ตกเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล เว้นแต่ท่อและอุปกรณ์ภายในมาตรวัดน้ำถือเป็นทรัพย์สินของผู้ใช้น้ำ ข้อ ๑๓ ผู้ใช้น้ำจะต้องจัดหาพร้อมติดตั้งท่อและอุปกรณ์ภายในให้แล้วเสร็จตามคำแนะนำขององค์การบริหารส่วนตำบล พร้อมแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบเพื่อทำการประสานท่อเมนส่งน้ำและติดตั้งมาตรวัดน้ำ ห้ามไม่ให้ผู้ใช้น้ำประสานท่อเมนส่งน้ำและติดตั้งมาตรวัดน้ำเองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อ ๑๔ องค์การบริการส่วนตำบลจะเป็นผู้กำหนดจุดติดตั้งมาตรวัดน้ำเพื่อให้มีการอ่านมาตรวัดน้ำได้อย่างสะดวก ในกรณีที่องค์การบริการส่วนตำบลเห็นสมควรอาจทำการย้ายเครื่องกั้นน้ำและมาตรวัดน้ำ เพื่อประโยชน์ขององค์การบริการส่วนตำบล โดยค่าใช้จ่ายในการย้ายเครื่องกั้นน้ำและมาตรวัดน้ำตกเป็นขององค์การบริการส่วนตำบล เมื่อติดตั้งอุปกรณ์การใช้น้ำแล้ว ห้ามเคลื่อนย้ายมาตรวัดน้ำและอุปกรณ์การใช้น้ำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ การติดตั้งประปาในกรณีที่จำเป็นต้องขุดผ่านบาทวิถี ถนน หรือทางระบายน้ำ ณ ที่ใดองค์การบริหารส่วนตำบลจะแสดงรายการและแผนผังให้ผู้ขอใช้น้ำประปานำไปติดต่อขออนุญาตต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วนำหลักฐานการอนุญาตมอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหลักฐานสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตลอดจนการซ่อมแซมนั้นผู้ขอใช้น้ำเป็นผู้จ่าย หมวด ๕ การจดและอ่านมาตรวัดน้ำ ข้อ ๑๖ เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้ติดตั้งมาตรวัดน้ำให้แก่ผู้ขอใช้น้ำประปาแล้ว ให้พนักงานจดมาตรวัดน้ำทำการอ่านมาตรวัดน้ำของผู้ใช้น้ำในเดือนถัดไปซึ่งตรงกับวันที่ที่ติดตั้งมาตรวัดน้ำเพื่อออกใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาโดยให้ถือว่าเป็นค่าน้ำประปาเดือนนั้น ข้อ ๑๗ ผู้ใช้น้ำต้องให้ความยินยอมและอำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เข้าไปในที่ดิน อาคารหรือสถานที่อันเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ใช้น้ำ เพื่อจดตัวเลขการใช้น้ำ (จดมาตรวัดน้ำ) ในแต่ละเดือน ตลอดจนการตรวจสอบ แก้ไข ซ่อมแซม มาตรวัดน้ำหรือท่ออุปกรณ์ในการส่งน้ำ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ให้แสดงบัตรประจำตัวพนักงานทุกครั้ง หมวด ๖ การชำระค่าน้ำประปาและการเก็บเงิน ข้อ ๑๘ ให้ผู้ใช้น้ำชำระเงินค่าน้ำประปาเป็นรายเดือนตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลออกใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาตามวรรคหนึ่งและค่าบริการทั่วไปให้แก่ผู้ใช้น้ำไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง ข้อ ๑๙ ผู้ใช้น้ำประปาอาจชำระเงินค่าน้ำประปาทันทีที่พนักงานจดมาตรวัดน้ำนำใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งหนี้ไปขอเรียกเก็บ หรืออาจขอใบแจ้งหนี้เพื่อชำระเงินด้วยตนเอง ณ ที่ทำองค์การบริหารส่วนตำบลภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ ข้อ ๒๐ บรรดาค่าน้ำประปา ค่าธรรมเนียม และค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล หมวด ๗ การเปลี่ยนขนาดมาตรวัดน้ำและการย้ายสถานที่ใช้น้ำ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำต้องการเปลี่ยนขนาดมาตรวัดน้ำ หรือย้ายสถานที่ใช้น้ำ หรือเปลี่ยนจุดประสานท่อจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่เปลี่ยนขนาดมาตรวัดน้ำ ให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้ อย่างละ ๑ ฉบับ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านที่จะย้ายสถานที่ใช้น้ำไป (๓) ใบเสร็จค่าน้ำประปาครั้งสุดท้ายหรือสำเนา (ถ้ามี) (๔) ใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำ (ถ้ามี) ในกรณีการขอเปลี่ยนขนาดมาตรวัดน้ำตามวรรคหนึ่ง ผู้ขอใช้น้ำต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการขอใช้น้ำประปาในครั้งแรกและให้องค์การบริหารส่วนตำบลคืนเงินค่าประกันการใช้น้ำที่เรียกเก็บไว้เดิมแก่ผู้ขอใช้น้ำ กรณีการย้ายสถานที่ใช้น้ำหรือเปลี่ยนจุดประสานท่อตามวรรคหนึ่งให้ผู้ใช้น้ำชำระค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการขอติดตั้งใหม่ ยกเว้นค่ามาตรวัดน้ำและค่าประกันการใช้น้ำ หมวด ๘ การโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำประปา ข้อ ๒๒ การโอนกรรมสิทธิ์ในการใช้น้ำประปาอาจมีได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ใช้น้ำเดิมตาย หรือย้ายที่อยู่ (๒) การเช่าบ้านหรืออาคารที่ติดตั้งประปาไว้แล้ว (๓) การซื้อขายบ้านหรืออาคารที่ติดตั้งประปาไว้แล้ว (๔) กรณีอื่นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด ผู้โอนตามวรรคหนึ่ง อาจมอบอำนาจเป็นหนังสือในการขอโอนกรรมสิทธิ์มาตรวัดน้ำหรือเพื่อขอรับเงินประกันคืนเนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์ และผู้รับโอนจะมอบอำนาจเพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์มาตรวัดน้ำก็ให้ทำได้ ทั้งนี้ หนังสือมอบอำนาจต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย กรณีผู้โอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำตามวรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายให้ทายาทเป็นผู้โอนกรรมสิทธิ์ ข้อ ๒๓ การโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำตามข้อ ๒๒ ผู้รับโอนต้องแสดงเอกสารหลักฐานต่อไปนี้ อย่างละ ๑ ฉบับ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน (๓) สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน/อาคาร (ถ้ามี) (๔) สำเนาหนังสือสัญญาเช่าบ้าน/อาคาร (ถ้ามี) (๕) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่มาตรวัดน้ำตั้งอยู่ ข้อ ๒๔ การโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำตามข้อ ๒๒ ผู้โอนต้องแสดงเอกสารหลักฐานต่อไปนี้ อย่างละ ๑ ฉบับ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวข้าราชการ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน (๓) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่มาตรวัดน้ำตั้งอยู่ (๔) สำเนาใบมรณบัตร (กรณีผู้โอนถึงแก่กรรม) (๕) ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้น้ำตัวจริง (กรณีหายให้ใช้ใบแจ้งความ) (๖) ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาครั้งสุดท้ายของผู้โอนหรือสำเนา (ถ้ามี) ข้อ ๒๕ ถ้าผู้ใช้น้ำได้รื้อถอนอาคารหรือย้ายไปจากภูมิลำเนา โดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะครอบครองสิทธิการใช้น้ำอยู่ต่อไป หรือโอนสิทธิการใช้น้ำให้ผู้อื่น หรือบอกเลิกสัญญาการใช้น้ำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รื้อถอนอาคารหรือย้ายไปจากภูมิลำเนาให้ถือว่าสละสิทธิการใช้น้ำ องค์การบริหารส่วนตำบลทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะงดการจ่ายน้ำหรือโอนกรรมสิทธิ์การใช้น้ำให้แก่บุคคลอื่น ข้อ ๒๖ กรณีผู้ใช้น้ำถึงแก่ความตาย ทายาทหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสถานที่นั้นประสงค์จะได้รับสิทธิในการใช้น้ำต่อไป ให้ทายาทหรือผู้มีกรรมสิทธิ์แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อทำการโอนสิทธิการใช้น้ำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ใช้น้ำถึงแก่ความตาย ในกรณีตามวรรคหนึ่ง หากทายาทหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารสถานที่มิได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อขอรับโอนสิทธิการใช้น้ำภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่ามีเจตนาสละสิทธิ์ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจในการงดการจ่ายน้ำประปานั้นได้ ข้อ ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในบ้านหรืออาคารอันเนื่องจากการซื้อขาย การเช่าหรือการทำนิติกรรมใด ๆ โดยที่คู่กรณีมิได้ตกลงในเรื่องสิทธิในการใช้น้ำหรือเงินประกันการใช้น้ำไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ให้ถือว่าผู้ใช้น้ำรายเดิมได้สละสิทธิหรือโอนเงินประกันการใช้น้ำไปเป็นของผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในบ้านหรืออาคาร ตามสิทธิสืบเนื่องจากการทำนิติกรรมดังกล่าว ผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในบ้านหรืออาคารใหม่มีสิทธิขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้น้ำได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันการใช้น้ำหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เว้นแต่ผู้ใช้น้ำรายเดิมได้ถอนเงินประกันการใช้น้ำไปแล้วหรือองค์การบริหารส่วนตำบลได้หักเงินประกันการใช้น้ำชดใช้ค่าน้ำที่ค้างชำระจนหมดสิ้นแล้ว ให้ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในบ้านหรืออาคารรายใหม่วางเงินประกันการใช้น้ำใหม่ หมวด ๙ การงดจ่ายน้ำและการบรรจบมาตรวัดน้ำ ข้อ ๒๘ ผู้ใช้น้ำค้างชำระค่าน้ำประปาเป็นเวลาสองเดือนติดต่อกันให้องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้งเตือนเป็นหนังสือให้ผู้ใช้น้ำทราบเพื่อดำเนินการชำระค่าน้ำที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง กรณีตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีเหตุผลอันสมควรเจ้าพนักท้องถิ่นอาจขยายเวลาการชำระค่าน้ำได้ไม่เกินสามสิบวันและอาจแบ่งการชำระออกเป็นงวด ๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ให้มีบันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าผู้ใช้น้ำตามวรรคหนึ่ง ได้รับแจ้งแล้วเพิกเฉยหรือผิดสัญญาข้อตกลงตามวรรคสองให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจบอกเลิกสัญญาและงดจ่ายน้ำ (ตัดมาตรวัดน้ำ) ทันที และมีอำนาจหักค่าน้ำที่ค้างชำระจากค่าประกันการใช้น้ำได้เต็มจำนวน ข้อ ๒๙ ผู้ใช้น้ำรายใดยินยอมให้ผู้อื่นเอาต่อน้ำประปาไปใช้ในสถานที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้งดจ่ายน้ำ ข้อ ๓๐ ผู้ใดละเมิดการใช้น้ำหรือกระทำการใด ๆ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับความเสียหายหรือไม่ยอมชำระเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเรียกเก็บ เมื่อถูกงดจ่ายน้ำแล้ว (ตัดมาตรวัดน้ำ) แต่องค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากผู้นั้นนำเงินมาชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่งดจ่ายน้ำ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลทำการติดตั้งมาตรวัดน้ำให้ใช้ตามเดิม ทั้งนี้ ต้องชำระค่าธรรมเนียมบรรจบมาตรวัดน้ำตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่พ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดแล้วให้ยื่นคำขอใช้น้ำ และชำระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประปาเสมือนเป็นผู้ใช้น้ำรายใหม่ ข้อ ๓๑ องค์การบริหารส่วนตำบลจะไม่รับรองว่ามีน้ำประปาให้ใช้ตลอดเวลาและจะทำการงดส่งน้ำเมื่อมีเหตุจำเป็นโดยมิต้องแจ้งให้ผู้ใช้น้ำทราบล่วงหน้าก็ได้ การงดส่งน้ำตามวรรคหนึ่ง หากมีระยะเวลาเกินยี่สิบสี่ชั่วโมงขึ้นไปต้องประกาศให้ผู้ใช้น้ำประปาทราบโดยทั่วกัน ข้อ ๓๒ กรณีผู้ใช้น้ำถูกงดจ่ายน้ำประปา (ตัดมาตรวัดน้ำ) แล้วมีความประสงค์จะเปิดใช้น้ำประปาต่อไปอีก ให้ยื่นคำร้องขอบรรจบมาตรวัดน้ำและชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนด ท้ายข้อบัญญัตินี้ ณ องค์การบริหารส่วนตำบล หมวด ๑๐ ระเบียบปฏิบัติของผู้ใช้น้ำ ข้อ ๓๓ กิจการประปาถือเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใดกระทำโดยเจตนาหรือโดยประมาททำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของกิจการประปาไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยอ้อม ผู้นั้นต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามความเสียหายนั้น ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิองค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ข้อ ๓๔ ผู้ใดโดยทุจริตเอาน้ำประปาไปใช้ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเลขในมาตรวัดน้ำหรือกระทำการใด ๆ เพื่อเอาน้ำประปาไปใช้โดยไม่มีอำนาจ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลงดจ่ายน้ำ (ตัดมาตรวัดน้ำ) ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและเป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการพิจารณาดำเนินคดีแก่ผู้นั้น ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าน้ำประปาที่ได้ใช้ไปแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด และมิให้อนุญาตจ่ายน้ำประปาแก่ผู้นั้นจนกว่าจะได้ชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวน ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำตามวรรคหนึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้น้ำใหม่ ผู้ใช้น้ำต้องดำเนินการขอใช้น้ำเสมือนเป็นผู้ใช้น้ำรายใหม่และให้ชำระค่าธรรมเนียมขอบรรจบมาตรวัดน้ำตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๕ ผู้ใช้น้ำจะใช้เครื่องสูบน้ำหรือเครื่องมืออื่นใดสูบน้ำโดยตรงจากท่อน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือจากท่อภายในมิได้ ถ้าใช้น้ำจากแหล่งอื่น เช่น น้ำฝน น้ำบ่อบาดาล ฯลฯ ผู้ใช้น้ำจะต้องต่อท่อแยกไว้ต่างหากจากท่อจ่ายน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลและท่อภายใน ในกรณีผู้ใช้น้ำกระทำการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิงดจ่ายน้ำแก่ผู้ใช้น้ำและเรียกให้ผู้ใช้น้ำชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การนั้นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด ข้อ ๓๖ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามาตรวัดน้ำคลาดเคลื่อน ให้ผู้ใช้น้ำแจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อทำการตรวจสอบมาตรวัดน้ำ เมื่อมีการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งแล้ว ปรากฏว่ามาตรวัดน้ำมีการคลาดเคลื่อนจริงองค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนให้ใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการตรวจสอบและองค์การบริหารส่วนตำบลจะคิดจำนวนน้ำที่ได้ใช้หรือสูญเสียไปโดยใช้อัตราเฉลี่ยเท่ากับจำนวนน้ำที่ได้ใช้ในสามเดือนที่ผ่านมา แต่หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่ามาตรวัดน้ำอยู่ในสภาพใช้การได้ตามปกติผู้ใช้น้ำต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ เมื่อมีเหตุสงสัยตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้ใช้น้ำในการแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบภายในสามวันทำการนับวันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุดังกล่าว ข้อ ๓๗ ผู้ใช้น้ำจะทำการปลูกสร้าง ต่อเติมโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอื่นใด ปลูกต้นไม้ หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเกิดอันตรายหรือเป็นอุปสรรคต่อระบบการส่งน้ำประปา การบำรุงรักษามาตรวัดน้ำตลอดจนท่อและอุปกรณ์มิได้ เว้นแต่จะได้ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อ ๓๘ ผู้ใช้น้ำต้องรับผิดชอบดูแลรักษามาตรวัดน้ำและเครื่องกั้นน้ำ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยดีอยู่เสมอ หากเกิดชำรุดเสียหายหรือสูญหายไป ให้ผู้ใช้น้ำแจ้งองค์การบริหารส่วนตำบลภายในห้าวัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้เหตุดังกล่าว เพื่อติดตั้งมาตรวัดน้ำใหม่โดยผู้ใช้น้ำออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าในเดือนใดไม่อาจคิดค่าน้ำประปาที่ได้ใช้ไปได้ให้คำนวณจากจำนวนน้ำที่ได้ใช้ไปเท่ากับอัตราค่าน้ำเฉลี่ยสามเดือนที่ผ่านมา หมวด ๑๑ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๙ ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนข้อบัญญัติข้อ ๑๔ ข้อ ๓๓ ข้อ ๓๔ ข้อ ๓๕ และข้อ ๓๖ มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ผู้ใช้น้ำไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำตักเตือนโดยชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะงดส่งน้ำได้ หมวด ๑๑ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๐ ข้อบัญญัตินี้ที่เกี่ยวกับค่าประกันการใช้น้ำ มิให้กระทบต่อผู้ใช้น้ำตามข้อบังคับตำบล เรื่อง การใช้น้ำประปาองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่มีอยู่ก่อนหรือในวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สนอง แก้วประภาค นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาพรุ เรื่อง การบริหารกิจการประปา พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๙๘/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804237
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2561
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าและนายอำเภอท่ายาง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข เป็ด ไก่ หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่ราชการในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาคารเอนกประสงค์ (๑.๒) สถานที่ราชการหรือหน่วยราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น (๑.๓) บริเวณถนนสาธารณะทุกสายบริเวณแหล่งน้ำสาธารณะทุกแห่ง (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๑๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒.๒) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๑๐๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๒.๓) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๒.๔) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร (๒.๕) กำหนดให้เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น ห้ามปล่อยสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์บนถนนสาธารณะและถนนในหมู่บ้าน (๓) นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๓.๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๓.๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมม จนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๓.๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๓.๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๓.๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓.๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๓.๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้าเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ไชยยา ไขศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำมาบปลาเค้า ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๐๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804227
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงและนายอำเภอเสลภูมิ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองสุนัข “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “การทำทะเบียน” หมายความว่า การจดทะเบียนและการขึ้นทะเบียน “การจดทะเบียน” หมายความว่า การออกใบรับรองรูปพรรณสัณฐาน และการทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัข “การขึ้นทะเบียน” หมายความว่า การนำเอกสารเกี่ยวกับสุนัขที่จดทะเบียนไว้แล้ว แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐาน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัขให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขบางชนิดโดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่สาธารณะเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขทุกชนิด (๑.๒) สถานที่ที่ไม่ใช่เคหสถานของตน ให้เจ้าของสุนัขที่เลี้ยงในพื้นที่ตามความใน (๑.๓) มีหน้าที่นำสุนัขไปทำทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง (๑.๓) การขึ้นทะเบียนสัตว์เจ้าของสุนัขต้องยื่นคำขอ พร้อมแนบเอกสารดังนี้ (๑.๓.๑) สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสุนัข (๑.๓.๒) ในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้าน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน (๑.๓.๓) ใบรับรองที่ระบุการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปีมีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีน และลงชื่อสัตวแพทย์ผู้ฉีดพร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (๑.๓.๔) หนังสือมอบอำนาจในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้มาดำเนินการเอง (๑.๔) เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติดังนี้ (๑.๔.๑) นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัข อายุ ๒ - ๔ เดือน และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (๑.๔.๒) เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ให้ติดเครื่องหมายประจำตัวและเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ การขายหรือให้สุนัขแก่ผู้อื่นต้องมอบใบรับรองให้ด้วย ข้อ ๖ แบบคำร้องและวิธีการขึ้นทะเบียนสุนัข ทะเบียนสุนัขรายครัวเรือน และบัตรประจำตัวสุนัข ให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนด แล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วีรศักดิ์ กลางบุรัมย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบคำขอขึ้นทะเบียนสุนัข (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๙๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804231
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่านโดยความเห็นชอบ ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่านและนายอำเภอเกาะลันตา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้แทน ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สุรชัย รูปเรี่ยม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกกแดง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๒๐๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804223
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมและนายอำเภอบางสะพาน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม เรื่อง การควบคุม แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวัน ซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษมรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พัฒนธิชัย ขนาบแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชัยเกษม ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๙๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804392
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ว่าด้วยควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่และนายอำเภอขาณุวรลักษบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้ เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ (๑.๒) สถานที่ราชการ (๑.๓) ตลาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง ให้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภทของกิจการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ข้อ ๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประมาณ อ่อนฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๗๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804376
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชรโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชรและนายอำเภอบำเหน็จณรงค์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชรนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรืแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้เพื่อที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชรเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) ที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร (๑.๒) สถานที่ราชการ (๑.๓) สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ (๑.๔) ตลาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง ให้เป็นเขตที่การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภทกิจการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ข้อ ๖ การเลี้ยงสัตว์ให้เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลง เจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์ และปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือรำคาญแก่ผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ข้อ ๗ การเลี้ยงสัตว์ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๖ อย่างเคร่งครัดเพื่อการดูแลสภาพ หรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค หรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร และเป็นไปตามมาตรฐานฟาร์ม หรือตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข (๒) ให้ดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ มิให้มีจำนวนเกินสมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขสุขภาพ (๓) ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำ ทางน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๔) ต้องจัดหาที่รองรับขยะ ปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนกำจัดขยะ ปฏิกูลมูลฝอย ให้ถูกสุขลักษณะ มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๕) ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง และบริเวณโดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น เสียง แสง รังสี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้น ตามสมควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้ว ให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขาย หรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชรตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ รายได้อื่น ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชรเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ธีรวัจน์ ธรรมโสภารัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ปุณิกา/จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๒๘/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804378
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้า เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้า เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้าโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้าและนายอำเภอโพธาราม จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้า เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้าตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน ร้านค้า ร้านอาหาร แพ แต่ไม่รวมถึงแพลากจูง สำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ “บ่อดักไขมัน” หมายความว่า สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำซึ่งผ่านการใช้แล้ว “การระบายน้ำ” หมายความว่า การผันน้ำ การปล่อยน้ำ การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ “แหล่งระบายน้ำ” หมายความว่า ทางหรือท่อระบายน้ำ ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำสาธารณะ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อหรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำและยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ ๕ ติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการปลูกสร้างใหม่ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันสำหรับอาคารนั้นให้แล้วเสร็จก่อนเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอย และหากอาคารใดอยู่ระหว่างการปลูกสร้างใหม่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับก็ให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันเช่นเดียวกัน ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก (๒) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ข้อ ๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามข้อ ๖ ทำการดูแลรักษา เก็บขนน้ำมันหรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามปกติ ข้อ ๙ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๗ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท และเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไป จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ทั้งนี้ อัตราค่าปรับให้เป็นไปดังนี้ (๑) อาคารที่มีลักษณะเป็นตึก บ้าน เรือน กำหนดให้เสียค่าปรับอีกวันละหนึ่งร้อยบาท (๒) อาคารที่มีลักษณะเป็นร้านอาหาร แพ กำหนดให้เสียค่าปรับอีกวันละสองร้อยบาท ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของอาคารและพื้นที่บางแห่ง อาทิเช่น พื้นที่บนภูเขา พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ในชนบท เป็นต้น ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประชุม พิมพ์โดด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยฟ้า ปุณิกา/จัดทำ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๓๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804386
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ว่าด้วยการจัดการมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพและนายอำเภอชุมแพ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพและระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ การจัดการมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับมูลฝอย ที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) ห้ามมิให้ผู้ใด ทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ยหรือทำการใด ๆ ในที่รองรับ รถเข็น หรือที่พัก มูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ (๔) ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่ได้กระทำโดยวิธีที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๓ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๑.๑) รับทำการเก็บ ขนได้เฉพาะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพเท่านั้น (๑.๒) ห้ามทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ (๑.๓) วิธีการเก็บ ขนมูลฝอย ให้เป็นไปอย่างถูกสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงสาธารณสุข (๑.๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพประกาศกำหนด (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๒.๑) ห้ามทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ (๒.๒) วิธีการกำจัดมูลฝอย ให้เป็นไปอย่างถูกสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงสาธารณสุข (๒.๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพประกาศกำหนด ข้อ ๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๔ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ทศพร เสิกภูเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ปุณิกา/จัดทำ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๕๔/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804384
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์และนายอำเภอคอนสวรรค์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) ช้าง (๔) ม้า (๕) โค (๖) กระบือ (๗) แพะ (๘) เป็ด (๙) ไก่ (๑๐) สุกร (๑๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่ราชการ (๑.๒) สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ (๑.๓) ตลาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง ให้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทของกิจการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ข้อ ๗ การเลี้ยงสัตว์ให้เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอ มีระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลง เจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือรำคาญแก่ผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ข้อ ๘ การเลี้ยง ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๗ อย่างเคร่งครัดเพื่อการดูแลสภาพ หรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค หรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร และเป็นไปตามมาตรฐานฟาร์ม หรือตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข (๒) ให้ดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ มิให้มีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๓) ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำ ทางน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๔) ต้องจัดหาที่รองรับขยะ ปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนกำจัดขยะ ปฏิกูลมูลฝอย ให้ถูกสุขลักษณะมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๕) ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง และบริเวณโดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่นๆ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น เสียง แสง รังสี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุเสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของมาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามสมควรได้ ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณัฐพล ปลายชัยภูมิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ปุณิกา/จัดทำ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๔๙/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804388
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่าและนายอำเภอหล่มสัก จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่าตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่าเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่ราชการในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑.๒) สถานที่ราชการหรือหน่วยราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น (๑.๓) บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณทางเดินรถไฟ บริเวณแม่น้ำทุกสาย (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ (๒.๑) สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๓๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒.๒) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๓๐ – ๑๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๒.๓) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑๐๐ – ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๒.๔) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร (๒.๕) กำหนดให้เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น ห้ามปล่อยสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ บนถนนสาธารณะและถนนในหมู่บ้าน (๓) นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๓.๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๓.๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๓.๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๓.๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๓.๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓.๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๓.๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่าตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่าเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สมาน บูรณ์ทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๖๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804380
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง ควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง ควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางและนายอำเภอสูงเนิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า อาหารและสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหาร “ผู้จำหน่ายสินค้า” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ “อาหาร” หมายความว่า อาหารประเภทปรุงสำเร็จและอาหารที่ต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “ผู้สัมผัสอาหาร” หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียมปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ ได้แก่ ผู้เตรียม ผู้ปรุง ผู้ประกอบ ผู้เสิร์ฟ ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ผู้ดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ สุขลักษณะในการดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหารโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องควบคุมให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย (๒) แผงสำหรับวางสินค้า เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ รถเข็น ต้องทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง มีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) จัดวางสินค้า อุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้าและทรัพย์สินใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๔) ห้ามจัดวางสินค้าที่จำหน่ายในลักษณะใด ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๕) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอทั้งในระหว่างที่จำหน่ายสินค้าและหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า (๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อหรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือทางสาธารณะ (๗) ห้ามกระทำการใด ๆ กับต้นไม้ เช่น พาด ติดตั้ง วางแผงจำหน่ายสินค้า หรือเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้า รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเด็ดขาด (๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียง หรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๙) เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจำหน่ายสินค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้าหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า (๑๐) หยุดประกอบการจำหน่ายสินค้าเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขลักษณะ การรักษาความสะอาดสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ (๒) อาหารสดที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องเป็นอาหารสด ที่มีคุณภาพดีสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วน มีการปกปิด ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ (๓) อาหารแห้งที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๔) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร ต้องปลอดภัย ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๕) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกัน การปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖) น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่นำมาจำหน่ายต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย ว่าด้วยอาหาร โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้น อย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๗) น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาจำหน่าย (๘) น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องสะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร มีการเก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน รวมทั้งต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค (๙) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ (๑๐) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาด และทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกัน การปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๑) จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาด สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๒) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด (๑๓) ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้าง และเศษอาหาร ต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๑๔) ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดโดยใช้สารทำความสะอาด ที่ปลอดภัย (๑๕) น้ำใช้และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย (๑๖) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อหรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๑๗) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน สู่อาหารได้ และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร (๑๘) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่าย และเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๑๙) ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหาร และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิด การปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๒๐) ต้องมีการป้องกันอันตราย และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒๑) ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหารโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่ได้รับอนุญาต (๒) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๓) ห้ามทิ้งมูลฝอยจากการเร่ขายลงในท่อหรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือ ทางสาธารณะ (๔) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทปหรือส่งเสียงดังในขณะที่เร่งขายจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) หยุดประกอบการค้า เพื่อประโยชน์ทางด้านสุขลักษณะ การรักษาความสะอาด สาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๖) ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) อาหารสดที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วน มีการปกปิด ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้ (๓) อาหารแห้งที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม (๔) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร ต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๕) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖) น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่นำมาจำหน่ายต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมาย ว่าด้วยอาหาร โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้น อย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๗) น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาจำหน่าย (๘) น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องสะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร มีการเก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน รวมทั้งต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค (๙) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ (๑๐) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาด และทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๑) จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาด สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม (๑๒) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด (๑๓) ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้างและเศษอาหารต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้ (๑๔) ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดโดยใช้สารทำความสะอาดที่ปลอดภัย (๑๕) น้ำใช้และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย (๑๖) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อหรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป (๑๗) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน สู่อาหารได้ และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร (๑๘) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่าย และเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รักษาความสะอาดมือและเล็บ ถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย (๑๙) ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหาร และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิด การปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้ (๒๐) ต้องมีการป้องกันอันตราย และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒๑) ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือทางสาธารณะ หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการ จัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้า ให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ ระบุ.... (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยางประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน (หรือตามที่เห็นสมควร) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนด การเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๒ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณรงค์ เตี้ยงสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เอกสารแนบท้าย ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง เรื่อง ควบคุมการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๓๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804390
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายและนายอำเภอแคนดง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่าคอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดป่า “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) ช้าง (๔) โค (๕) กระบือ (๖) แพะ (๗) นก (๘) ไก่ (๙) สุกร (๑๐) สัตว์มีพิษ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ดุร้ายอื่น ๆ (๑๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงเฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ข้อ ๖ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ ในเขตพื้นที่ต่อไปนี้ โดยเด็ดขาด (๑) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชยกรรมและประชากรหนาแน่น (๒) ผังเมืองประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย แห่งพระราชบัญญัติผังเมืองรวม พ.ศ. ๒๕๑๘ ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ประกาศกำหนดพื้นที่ ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ (๔) เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณี โดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย หรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖ ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าของสัตว์มารับสัตว์คืนไปจากที่กักสัตว์องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายภายในกำหนดเวลาเจ้าของสัตว์ต้องเสียค่าปรับ และค่าเลี้ยงดูสัตว์ท้ายข้อบัญญัตินี้ เจ้าของสัตว์ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อหนึ่งข้อใดมีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เชาวลิต ทวีธนวาณิชย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าปรับ สัตว์ใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกักไว้ในกรณีที่เจ้าของรับคืนไปเจ้าของจะต้องเสียค่าปรับในอัตราต่อไปนี้ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๖๕/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804221
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่ง เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่ง เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่ง ว่าด้วยควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่งโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่งและนายอำเภอบ้านหมี่ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่ง เรื่อง ควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นดังต่อไปนี้ เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงโดยเด็ดขาด (๑.๑) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชย์กรรมและเขตประชากรหนาแน่น (๑.๒) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (๑.๓) สถานที่ท่องเที่ยว (๑.๔) วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ (๒.๑) พื้นที่นอกจากที่ระบุใน (๒) และในเขตชุมชน ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภทดังต่อไปนี้เกินจำนวนดังนี้ (๒.๑.๑) ช้าง ม้า ไม่เกิน ๑ ตัว (๒.๑.๒) สุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข ประเภทละ ไม่เกิน ๕ ตัว (๒.๑.๓) เป็ด ไก่ นก ห่าน ประเภทละ ไม่เกิน ๒๐ ตัว (๒.๑.๔) จำนวนสัตว์อื่นนอกจาก (๒.๑.๑) – (๒.๑.๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๑.๕) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและเหตุรำคาญ (๒.๑.๖) ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (๓) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๓.๑) พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชน เกิน ๕๐๐ เมตร เป็นเขต ที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้ (๓.๑.๑) การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน ๒๐ ตัว (๓.๑.๒) การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐ ตัว (๓.๑.๓) สัตว์อื่น ๆ นอกจาก (๓.๑.๑) และ (๓.๑.๒) จำนวนไม่เกิน ๕ ตัว (๓.๒) พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชน เกิน ๑ กิโลเมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้ (๓.๒.๑) การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน ๑๐๐ ตัว (๓.๒.๒) การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐๐ ตัว (๓.๒.๓) สัตว์อื่น ๆ นอกจาก (๓.๒.๑) และ (๓.๒.๒) จำนวนไม่เกิน ๑๐ ตัว ข้อ ๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการท้องถิ่น แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งละเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ กัลยา จรเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางพึ่ง ปุณิกา/จัดทำ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๙๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804349
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานครและนายอำเภอวัฒนานคร จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานครตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร “ข้อกำหนดของท้องถิ่น” หมายความว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานครที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมชนเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมชนเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกมาตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ ๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยงรวบรวมสัตว์หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการ ในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารเร่ขายหรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขาสัตว์กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนังเอ็นหรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ปั่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยาเวชภัณฑ์อุปกรณ์การแพทย์เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิตโม่บดผสมหรือบรรจุยา (๒) การผลิตบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้างอบรมหรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุ แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าว การเกี่ยวข้าว การตัดเก็บอ้อยด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัดกะเทาะหรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตากสะสมขนถ่ายผลิตของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะเครื่องประดับ เครื่องมืออุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัดล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่สะสมแยกคัดเลือกหรือล้างแร่ ๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อประกอบเคาะปะผุพ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่องทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่านหรือการสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพเว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบอบนวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้ บริการที่ได้รับอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการ พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพักอาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะหรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำหรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกตหรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผมเว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้ายนุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรมหรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้าและสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซักอบรีดหรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อมฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหินดินทรายซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิดโม่บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง (๔) การสะสมผสมซีเมนต์หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อยตัดหรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพองหรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นที่กระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่างสารออกซิไดซ์ หรือสารทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิตสะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสมหรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสียกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิตล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน (๑๒) การผลิตหรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิตสะสม บรรจุ ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิตสะสมบรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิตสะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิตซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เครื่องไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียนหรือเทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียวหรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวดภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (อภ. ๑) พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ข้อ ๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานครนี้ต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการค้านั้น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารณสุข (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำหรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวรเรียบไม่ซึมไม่รั่วระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือที่อยู่อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมรั่วไหลหรือขังอยู่ได้หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือทำการกำจัดน้ำโสโครกไขมันให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้ลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมรวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขังและปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอและต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ ๗ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ อภ. ๒ ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๕ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ๆ ละไม่เกินสิบห้าวันโดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ผู้ขอรับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ ภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาตวันเวลาที่ได้รับอนุญาต (๒) ต้องรักษาเครื่องมืออุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ (๓) ต้องรักษาสภาพแวดล้อมสถานที่ประกอบกิจการให้สะอาดและปลอดภัยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันยุงสัตว์พาหะนำโรคติดต่อและมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๔) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้น มีบันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฎหมาย (๕) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต (๖) ต้องจัดให้มีระบบการป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็น “อาหาร” (๗) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการมีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๘) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบสถานที่เครื่องใช้ตลอดจนวิธีการประกอบการค้าตามกฎหมายตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว (๙) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบและประกาศขององค์การบริหาร ส่วนตำบลวัฒนานคร ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานครเท่านั้น ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการการขอต่ออนุญาตใบอนุญาตจะต้องทำคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตการขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๑๐ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป กรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจาก ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตตามข้อ ๗ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร ข้อ ๑๕ กรณีใบอนุญาตสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่น คำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดการขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๓) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ อภ. ๒ โดยประทับตราสีแดงว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วยและให้มีวันเดือนปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๔) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๕) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิมระบุสาเหตุการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณีและลงเล่มที่เลขที่ปีของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการ ต่อเจ้าพนักงานท้องตามแบบ อภ. ๔ ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ. ๔ ข้อ ๑๘ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ อภ. ๔ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องและถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ บรรดาใบอนุญาตประกอบการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานครเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประยูร เรียเต็ม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร เอกสารแนบท้าย ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัฒนานคร เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๓๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802642
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาดโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาดและนายอำเภอแม่วาง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาดตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแล เอาใจใส่ บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้สัตว์ อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่น ที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาดหรือผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้ง จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัด ศาลาประจำหมู่บ้าน (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มารับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่พนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาดเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติและให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณพลเดช ปันเรือน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกาด วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๒๔๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804357
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วและนายอำเภอพล จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหารผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคารแผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ยักไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามข้อบัญญัตินี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ หมวด ๒ ลักษณะของตลาด ข้อ ๗ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๘ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสียโรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบ ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๙ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๐ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมี ความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ ผิวเรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัขมิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปา หรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้า หรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๔ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๕ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๖ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีตพื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่ายมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มี บ่อดักไขมันหรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๘ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หมวด ๓ การดำเนินกิจการตลาด ข้อ ๒๐ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๑ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอยรวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวันและดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสดและแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๔ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสม หรือหมักหมม สิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น หมวด ๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของ เจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนดโดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๘ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง หมวด ๕ การควบคุมกิจการตลาดของเอกชน และตลาดของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐ ข้อ ๒๙ เมื่อมีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เกิดขึ้นในตลาดของเอกชนหรือตลาดของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์การของรัฐ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วนตามบทบัญญัติมาตรา ๘ และมาตรา ๔๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๑) ผลการตรวจวิเคราะห์ทางจุลินทรีย์จากการเก็บตัวอย่างอาหาร ตัวอย่างพื้นผิวภาชนะอุปกรณ์ หรือจากมือผู้ขายอาหารในตลาด พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ หรือมีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นตัวบ่งชี้ในปริมาณที่เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด (๒) มีปริมาณสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หนู แมลงวัน หรือแมลงสาบเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยวิธีการตรวจวัดตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา (๓) ตลาดเป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรค โรคเรื้อน ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่นที่ต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ โดยพบว่าผู้ขายของหรือผู้ช่วยขายของในตลาดเป็นโรคติดต่อ หรือพบผู้ป่วยเป็นโรคติดต่อซึ่งยืนยันว่าบริโภคอาหารหรือได้รับเชื้อโรคมาจากตลาดนั้น หรือตรวจพบเชื้อโรคซึ่งทำให้เกิดการระบาดของโรคในสินค้าที่จำหน่ายในตลาดนั้น (๔) ถังเกรอะหรือถังบำบัดสิ่งปฏิกูลเกิดการรั่วไหลออกมาสู่สิ่งแวดล้อมจนอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค หมวด ๖ ใบอนุญาต ข้อ ๓๐ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดสดจำหน่ายสินค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๒ ชุด (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๒ ชุด (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ชุด (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วประกาศกำหนด ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๓๐ และข้อ ๓๑ โดยอนุโลม ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้ เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับปรุงจนครบจำนวน ข้อ ๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบังคับนี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับ ใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๔๓ ความในข้อ ๑๐ (๑) (๕) (๖) (๗) (๑๐) (๑๒) และข้อ ๑๑ ให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดอยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงตลาดให้ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ดิลก อินทร์ผล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เอกสารแนบท้าย ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (แบบ ตล. ๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๓) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด (แบบ ตล. ๔) ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๗๖/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804361
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วและนายอำเภอพล จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้สัญจรได้ “เร่ขาย” หมายความว่า การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ห้ามผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๗ (๒) เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำหนด ข้อ ๖ ผู้ใดจะขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ หรือลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ยื่นคำขอตามแบบ สณ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วกำหนด และรูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑x๑ นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำนวนคนละ ๓ รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑ รูป ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สณ. ๒ หรือ สณ. ๓ แล้วแต่กรณี พร้อมบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายตามแบบ สณ. ๔ หรือ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้ มารับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๙ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๒) จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด ร่มหรือผ้าใบบังแดด รวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๓) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรงมีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๔) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ ทั้งในระหว่างทำการค้า และหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว (๕) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๖) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ห้ามพาด ติดตั้งวางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือก หรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด (๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง (๙) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดัง จนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๐) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๑) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวันและให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๑๒) หลังจากเลิกทำการค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบล ข้อ ๑๐ การจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ (๒) – (๑๒) (๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน และสวมผ้าที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร (๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ การถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอจามรดบนอาหาร (๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงและวางแผงจำหน่ายอาหาร ต้องสูงอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร (๖) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์และวางสูงจากพื้นที่หรือลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ (๗) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายอาหารให้สะอาด และใช้การได้อยู่เสมอ (๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับประกอบอาหารด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร ภาชนะเครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับใส่หรือเตรียมทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร (๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียก ที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ (๑๒) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงและเก็บอาหาร (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๑ การจำหน่ายสินค้า ประเภท สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑) – (๑๒) (๒) จัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือคอกหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์และสะอาดปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยติดเชื้อ โดยแยกประเภทที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ (๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย การกักขังและการรักษาความสะอาด (๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๒ การเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้ (๒) ต้องแต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย (๓) มูลฝอยจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะ (๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้าห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุ เทป หรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า (๖) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน และให้หยุดกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๓ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) - (๖) (๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด ปลอดภัย (๓) ใช้วัสดุ ภาชนะหีบห่อที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับใส่อาหาร (๔) ดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายอาหาร ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ (๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สะอาด เรียบร้อย และสวมรองเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร (๗) ตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย (๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอจามรดบนอาหารในขณะขาย (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๔ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารทางน้ำ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๔) (๖) และข้อ ๑๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) (๘) (๒) ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลอง (๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๕ การเร่ขายสินค้าประเภท สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๑๒ (๑) – (๖) (๒) สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่เร่ขายต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน (๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง (๔) ใช้กรงหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่สะอาดปลอดภัย (๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๖ ห้ามผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่าย ประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อที่ระบุไว้ หรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจปรากฏว่าตนเป็นพาหะของโรคและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือแจ้งว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ ซึ่งระบุไว้ดังต่อไปนี้ คือ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้ไทฟอยด์ (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๗ ในขณะทำการจำหน่ายสินค้า หรือเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนได้เสมอ และทำการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ตามประเภทสินค้า และลักษณะการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องติดบัตรสุขลักษณะประจำตัวไว้ที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่จำหน่ายสินค้า ข้อ ๑๘ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคน ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๖ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอ พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๒๐ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๒๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๒ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิด หรือประเภทสินค้า หรือลักษณะวิธีการจำหน่าย หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือรายการอื่นใด ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ใบอนุญาต หรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ (๓) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่าย ขนาด ๑ x ๑ นิ้ว จำนวนคนละ ๓ รูป ข้อ ๒๔ การออกใบแทนใบอนุญาต หรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๒ หรือแบบ สณ. ๓ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน (๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัว ได้ออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ตามแบบ สณ. ๔ หรือแบบ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดง คำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย ข้อ ๒๕ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางให้ใช้แบบ สณ. ๑ (๒) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๒ (๓) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า ให้ใช้แบบ สณ. ๓ (๔) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หรือทางใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๔ (๕) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๕ (๖) คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๖ (๗) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สณ. ๗ ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุที่ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๒๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร มีอำนาจออกประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วเป็นเขตหวงห้ามจำหน่าย หรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด (๒) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลาหรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้า โดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าในบริเวณนั้น ข้อ ๓๐ ห้ามโอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุของใบอนุญาตนั้นได้ ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ดิลก อินทร์ผล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เอกสารแนบท้าย ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๒) ๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๓) ๕. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยวิธีการวางสินค้าในที่หรือทางใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๔) ๖. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๕) ๗. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๖) ๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๙๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804345
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังชมพูโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมพูและนายอำเภอหนองบัวแดง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภูตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบลวังชมภู เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๔ บรรดาข้อบังคับ ข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบการกิจนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรการ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อประโยชน์อันมีมูลค่า “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าศึกษาหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเก็บค่าศึกษาดูกิจการหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ (๒.๑) การฆ่า หรือการชำแหละสัตว์ ยกเว้นสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด (๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ (๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสมหรือการกระทำอื่นใด ต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์ (๒.๘) การสะสมหรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม (๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ (๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้ง เจ่า (๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง (๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยวการตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช (๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง (๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ เต้าฮวย วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ ขนมจีน (๓.๘) การผลิตแบะแซ (๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี้ยะ (๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋องขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล (๓.๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว (๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู (๓.๑๖) การคั่วกาแฟ (๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร (๓.๑๘) การผลิตผงชูรส (๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม (๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน (๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร (๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แซมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ (๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้างการอบ การรม การสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๕.๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร (๕.๙) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ (๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล โลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักรสารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่ (๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารสนิมยานยนต์ (๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อม หรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง (๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย การซอย การตัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การประดิษฐ์ไม้หวายเป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักรหรือการพ่น ทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร (๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) กิจการเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการใช้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) ประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๘) ประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำ หนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุพิเศษ การบริการร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสถานฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม (๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือการเจาะอวัยวะอื่น (๙.๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูเด็กที่บ้าน (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น (๑๐.๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรมหรือสิ่งทออื่นด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด การอักกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดินทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทรายหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๕) การเจียรระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง การเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๑๑.๙) การผลิตการะจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมถ่านหิน สารเคมี (๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่างสารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสมการขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ (๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๒.๑) (๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ การบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์เบเกอร์ไลท์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว (๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การก่อสร้าง (๑๓.๑๐) กิจการท่าเทียบเรื่อประมง สะพานปลาหรือแพปลา ข้อ ๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามบุคคลใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๖ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลวังชมภูในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ อภ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลวังชมพูกำหนด ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการค้านั้น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะทำรางระบายน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร มีลักษณะเรียบไม่ซึมไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางสาธารณะ หรือแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นที่ด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควบมีบ่อพักน้ำโสโครก หรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียงข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการค้านั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอย และสิ่งเปรอะเปื้อนอันได้สุขลักษณะเพียงพอ (๙) โดยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งเหมาะสมทั้งการกำจัดอุจจาระ ด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตาก หรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตาก หรือผึ่งตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ข้อ ๑๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผัน ผู้รับใบอนุญาตงดเว้นปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ เพียงเท่าที่เห็นสมควร หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่กิจการค้าแต่ละประเภทซึ่งได้ควบคุมนั้นก็ได้ ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๒ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจัดใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค (๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าตรวจสอบสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว (๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลวังชมภู ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณสุข ข้อ ๑๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลวังชมภู ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ให้ใช้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภท ในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตอำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลวังชมภู ข้อ ๑๖ การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ. ๑ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ. ๓ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญแล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิมกรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ อภ. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณีและลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๒ (๓) คำขออนุญาตอื่น ๆ ให้ใช้แบบ อภ. ๓ ข้อ ๒๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีไม่พบผู้รับใบอนุญาต ไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลวังชมภู ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้ประกอบกิจการรายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ บรรดาใบอนุญาตกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภูเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ถนอม วายุพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู เอกสารแนบท้าย ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังชมภู เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒) ๔. แบบคำขออนุญาตอื่น ๆ (แบบ อภ. ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๘/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804372
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา ว่าด้วยการติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมาและนายอำเภอลานกระบือ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมาเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้านเรือน ร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ “บ่อดักไขมัน” หมายความว่า สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากห้องน้ำ ซึ่งผ่านการใช้แล้ว “การระบายน้ำ” หมายความว่า การผันน้ำ การปล่อยน้ำ การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ “แหล่งระบายน้ำ” หมายความว่า ทางหรือท่อระบายน้ำ ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำระบายน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อหรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมาอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลง หรือไหลไปสู่แหล่งน้ำระบายน้ำและยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการกำจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการปลูกสร้างใหม่ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันสำหรับอาคารให้แล้วเสร็จก่อนเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอย และหากอาคารใดอยู่ระหว่างการปลูกสร้างใหม่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้ มีผลใช้บังคับก็ให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันเช่นเดียวกัน ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก (๒) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่ง ระบายน้ำดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ข้อ ๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ ๖ ทำการดูแลรักษา เก็บขนน้ำมัน หรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ ข้อ ๙ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติการตามข้อ ๗ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมาเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จักรกรี จริยาจินดาเสถียร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา ปุณิกา/จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๒๑/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804355
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วและนายอำเภอพลจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติและให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแล เอาใจใส่ บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ช้าง (๑๑) เป็ด (๒) ม้า (๑๒) ไก่ (๓) ลา ล่อ (๑๓) สุนัข (๔) โค (๑๔) แมว (๕) กระบือ (๑๕) งู (๖) สุกร (๑๖) จระเข้ (๗) แพะ (๑๗) นก (๘) กบ (๑๘) ปลา (๙) กวาง (๑๙) กระต่าย (๑๐) ห่าน (๒๐) หนู (๒๑) สัตว์ป่าตามกฎหมาย (๒๒) สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ หรือเป็นอันตรายต่อประชาชน ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดจำนวน ประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ ชนิด และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๗ ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖ ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่หรือทางสาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณทางเดินรถไฟ บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง บริเวณแม่น้ำทุกสาย เป็นต้น ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควันและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว หมวด ๒ การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ข้อ ๙ กรณีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๘ อย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องทำรางระบายน้ำ รับน้ำโสโครกไปให้พ้นจากที่นั้น โดยสะดวกและเหมาะสม (๒) การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้แหล่งน้ำสาธารณะ (๓) ต้องจัดให้มีระบบกักเก็บหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง (๔) ต้องทำความสะอาด กวาดล้างสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ (๕) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะจำนวนเพียงพอ ข้อ ๑๐ หลังจากที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๙ ต้องได้รับความยินยอมจากการประชุมประชาคมหมู่บ้าน และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก มีต้นไม้ให้ร่มเงาพอสมควร ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชน โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๓) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๔) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร ผู้ขออนุญาตดังกล่าวให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้อย่างละ ๑ ชุด (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้เจ้าของสัตว์แยกหรือกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด หมวด ๓ การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขพบสัตว์ในพื้นที่ตามข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจจับสัตว์และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน หรือกรณีสัตว์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ในระหว่างการจับสัตว์หากสัตว์วิ่งหนีหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นใดต่อสัตว์ก็ตาม หากเป็นเหตุที่โดยพฤติการณ์ต้องเกิดขึ้นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น กรณีตามวรรคก่อน ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม อันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าว บุคคลที่สามย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว จะพิจารณาไล่เบี้ยความผิดตามข้อเท็จจริง ข้อ ๑๓ เมื่อได้จับสัตว์มากักไว้ตามความในข้อ ๑๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะปิดประกาศแจ้งให้เจ้าของทราบและให้มารับสัตว์คืนไปภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้จับสัตว์มากักไว้ โดยประกาศไว้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว หรือที่เปิดเผย เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคก่อนแล้ว ไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของ ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ข้อ ๑๔ กรณีที่กักสัตว์ไว้ อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดนั้นตามสมควรแก่กรณี ก่อนถึงกำหนดสิบห้าวันก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้ว ให้เก็บรักษาเงินนั้นไว้แทนสัตว์ที่จำหน่ายไป กรณีสัตว์นั้นตายหรือเจ็บป่วยหรือไม่สมควรจำหน่ายต่อไป หรือเป็นโรคติดต่อที่อาจเป็นอันตรายแก่สัตว์อื่น ๆ หรือเมื่อสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์อำเภอได้ตรวจสอบและให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๕ สัตว์ใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกักไว้ ในกรณีที่เจ้าของสัตว์แสดงหลักฐานรับคืนไป ภายในกำหนดตามข้อ ๑๓ เจ้าของสัตว์จะต้องเสียค่าเลี้ยงดูตามจำนวนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จ่ายจริง ข้อ ๑๖ หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือข้อบัญญัตินี้หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขหรือถ้าการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนนอกจากจะต้องระวางโทษปรับตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจจับสัตว์ และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับกักสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการทันที ข้อ ๑๗ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชนหรือทางสาธารณะ ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์ หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันควร และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น หมวด ๔ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติหรือตามพระราชบัญญัติ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณพอสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้วในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ บทกำหนดโทษ ข้อ ๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจปรับได้ตามอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องไม่เกินค่าปรับตามที่พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดไว้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ดิลก อินทร์ผล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว ปุณิกา/จัดทำ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๖๗/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
804365
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง โดยความเห็นของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรังและนายอำเภอวิเชียรบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรังนับแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรังแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัติซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “การค้า” หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง (๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าบริโภคในครัวเรือน (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม (๓.๑) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๒) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๓) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค (๓.๔) การผลิตน้ำ แข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน (๔) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๔.๑) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๔.๒) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร ยกเว้นโรงสีข้าวชุมชน (๔.๓) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร (๔.๔) การผลิต การสะสมปุ๋ย (๔.๕) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง (๕) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๕.๑) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า (๖) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารสนิมยานยนต์ (๖.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๖.๓) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์ (๖.๔) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่ (๖.๕) การปะ การเชื่อมยางยานยนต์ การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๗.๑) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๗.๒) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน ยกเว้นเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (๘) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๘.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๘.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๘.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๘.๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๘.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๘.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรีเต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๘.๘) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๘.๙) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม (๘.๑๐) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๘.๑๑) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๙.๑) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๙.๒) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๙.๓) การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๐.๑) การเจียระไนเพชร พลอย หินกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๐.๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๐.๓) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑๑.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ (๑๑.๒) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำ มันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ ยกเว้นการสะสมไว้ใช้ในครัวเรือน (๑๑.๓) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๑.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๑.๕) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก (๑๑.๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒) กิจการอื่น ๆ (๑๒.๑) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๒.๒) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๑๒.๓) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้ (๑๒.๔) การประกอบกิจการโกดังสินค้า ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ผู้ดำเนินกิจการตามข้อ ๕ ทั้งเป็นการค้าและไม่เป็นการค้าต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปเพื่อการดูแลสุขภาพหรือลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินการตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้น จะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งในทำเลซึ่งจะทำรางระบายน้ำ รับน้ำเสียไปให้พ้นจากที่นั่นโดยสะดวก (๒) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวรที่มีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือแก่ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง (๔) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมรั่วหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำเสียหรือทำการบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล หรือต้องมีบ่อดักไขมัน ( Grease Trap) เครื่องป้องกันกลิ่น ไอ เสียง ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ควัน มูล หรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง ผู้ประกอบกิจการนั้นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๕) ต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค (๖) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร (๗) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกลักษณะ (๘) ต้องจัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ และหรือกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และต้องมีปริมาณที่เพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น (๙) สถานที่เลี้ยงสัตว์ ต้องสร้างให้ได้สุขลักษณะตามความเห็นชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ และตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๑) ปฏิบัติอื่นใดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องถูกสุขลักษณะปลอดภัยต่อสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นสมควรเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ ข้อ ๑๑ สถานที่ประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัตของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานที่ประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหารหรือมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารกรมอนามัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกจิ การต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (กอ. ๑) พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตอื่น ๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล) (๕) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง (๖) อื่น ๆ ข้อ ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการค้านั้น ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารณสุข (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบ ไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางสาธารณะหรือที่อยู่ใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครก หรือทำการกำจัดน้ำโสโครก ไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าว ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้ลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ ที่ขัง และปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง ข้อ ๒๒ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ ๒๑ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒ ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๕ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ผู้ขอรับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ ภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต วัน เวลาที่ได้รับอนุญาต (๒) ต้องรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิด ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ (๓) ต้องรักษาสภาพแวดล้อม สถานที่ประกอบการกิจการ ให้สะอาดและปลอดภัย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ยุง สัตว์พาหะนำโรคติดต่อ และมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ (๔) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัย และระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้น มีบันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฎหมาย (๕) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต (๖) ต้องจัดให้มีระบบการป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็น “อาหาร” (๗) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการมีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน (๘) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบสถานที่ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้าตามกฎหมาย ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว (๙) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตนี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรังเท่านั้น ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องทำคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐ และ ข้อ ๒๓ ด้วย ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป กรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๗ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตตามข้อ ๒๒ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง ข้อ ๒๙ กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๓) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ. ๒ โดยประทับตราสีแดง ว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๔) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๕) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๓๑ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ข้อ ๓๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้ แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒ (๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาต ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓ (๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔ ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือปรับปรุงให้ถูกต้อง และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๙ บรรดาใบอนุญาตการค้าเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้บังคับต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๔๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรังเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ หทัยรัตน์ ทองใจสด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง เอกสารแนบท้าย ๑. บัญชีบัตรราคาค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อรัง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.๓) ๕. คำขออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกิบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/จัดทำ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๐๔/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802638
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสารและนายอำเภอเมืองสระบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสารตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นดังต่อไปนี้ เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (๑) เขตพื้นที่ถนนสาธารณะทุกสายซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสารรับผิดชอบเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อย ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด สุนัข แมว และสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชอย่างเด็ดขาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) เขตพื้นที่ตำบลปากข้าวสารเป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข แมว ต้องดำเนินการฉีดวัคซีนป้องโรคพิษสุนัขบ้า (๒.๒) เขตพื้นที่ตำบลปากข้าวสารเป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข หากมีการนำสุนัขออกนอกสถานที่พักต้องมีการผูกเชือกหรืออุปกรณ์ควบคุมได้ด้วย ข้อ ๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษ ตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสารเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ร้อยตรี สิทธิชัย นิยมทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากข้าวสาร วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๒๒๗/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802632
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ และนายอำเภอเด่นชัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัด ศาลาประจำหมู่บ้าน เว้นแต่เป็นที่สาธารณประโยชน์ประเภทจัดไว้ให้ประชาชนใช้สำหรับปล่อยสัตว์ร่วมกัน เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ หรือสัตว์อื่น ๆ (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ (๑.๓) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชย์กรรมและเขตประชากรหนาแน่น (๑.๔) ผืนที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (๑.๕) สถานที่ท่องเที่ยว (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ (๒.๑) พื้นที่นอกจากที่ระบุในข้อ ๕ (๑) และในเขตชุมชน ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภทดังต่อไปนี้เกินจำนวนดังนี้ ๑) ช้าง ม้า ไม่เกิน ๒ ตัว ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ (๑,๖๐๐ ตารางเมตร) ๒) สุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข แมว กระต่าย ประเภทละ ไม่เกิน ๕ ตัว ต่อพื้นที่ ๔๐๐ ตารางเมตร ๓) เป็ด ไก่ นก ห่าน ประเภทละไม่เกิน ๕๐ ตัว ต่อพื้นที่ ๔๐๐ ตารางเมตร ๔) จำนวนสัตว์อื่นนอกจาก ๑) - ๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ๕) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและเหตุรำคาญ ๖) ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (๓) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่มีการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๓.๑) พื้นที่ห่างจากชุมชน เกิน ๕๐๐ เมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภทดังนี้ ๑) การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข แมว กระต่าย จำนวนไม่เกิน ๓๐ ตัว ต่อพื้นที่ ๘๐๐ ตารางเมตร ๒) การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๑๐๐ ตัว ต่อพื้นที่ ๘๐๐ ตารางเมตร ๓) สัตว์อื่น ๆ นอกจากข้อ (๑) และ (๒) จำนวนไม่เกิน ๕ ตัว ต่อพื้นที่ ๘๐๐ ตารางเมตร (๓.๒) พื้นที่ห่างจากชุมชน เกิน ๑ กิโลเมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภทดังนี้ ๑) การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข แมว กระต่าย จำนวนไม่เกิน ๑๐๐ ตัว ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ (๑,๖๐๐ ตารางเมตร) ๒) การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐๐ ตัว ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ (๑,๖๐๐ ตารางเมตร) ๓) สัตว์อื่น ๆ นอกจากข้อ (๑) และ (๒) จำนวนไม่เกิน ๑๐ ตัว ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ (๑,๖๐๐ ตารางเมตร) ต้องมีการปฏิบัติภายใต้มาตรการดังนี้ ๑. สถานที่ตั้ง (๑) ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียง (๒) ต้องมีบริเวณเลี้ยงสัตว์ซึ่งกั้นเป็นสัดส่วนและให้อยู่ห่างเขตที่ดินสาธารณะ ทางน้ำสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของ และมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้น ไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตรทุกด้าน เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน ๒. อาคารและส่วนประกอบ (๑) อาคารต้องเป็นอาคารเอกเทศและมั่นคงแข็งแรงมีลักษณะเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้น ๆ ไม่มีการพักอาศัยหรือประกอบกิจการอื่นใด (๒) พื้นต้องเป็นพื้นแน่นทำความสะอาดง่ายไม่เฉอะแฉะเว้นแต่การเลี้ยงสุกรพื้นจะต้องเป็นคอนกรีตและมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำและสิ่งปฏิกูลไหลลงทางระบายน้ำได้โดยสะดวก (๓) หลังคาต้องมีความสูงจากพื้นมากพอสมควรและมีช่องทางให้แสงสว่างหรือแสงแดดส่องภายในอาคารอย่างทั่วถึง (๔) คอกต้องมีการกั้นคอกเป็นสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ไม่ให้สัตว์อยู่กันอย่างแออัด (๕) การระบายอากาศต้องจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทให้เพียงพอ ๓. การสุขาภิบาลทั่วไป (๑) การระบายน้ำ (๑.๑) รางระบายน้ำต้องจัดให้มีรางระบายน้ำโดยรอบตัวอาคารให้มีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลได้สะดวก (๑.๒) น้ำทิ้งต้องมีการบำบัดก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำแหล่งน้ำสาธารณะหรือในที่เอกชน (๒) การกำจัดมูลสัตว์ต้องเก็บกวาดมูลสัตว์เป็นประจำทุกวัน ต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะ ไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นอันเป็นเหตุรำคาญ และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงหรือสัตว์นำโรค (๒.๑) ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๒.๒) ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์ไม่ให้เป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๒.๓) การเลี้ยงสัตว์ที่มีขน ตัวอาคารต้องสามารถป้องกันขนไม่ให้ปลิวฟุ้งกระจายออกไปนอกสถานที่ (๒.๔) ต้องควบคุมดูแลไม่ให้สัตว์ออกไปทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง (๒.๕) ต้องรักษาความสะอาดที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดเสมอ ๔. การกำจัดซากสัตว์ให้ใช้วิธีการเผาหรือฝังเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของแมลงและสัตว์นำโรคและการก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นเหม็น ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้อง สียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจ ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ยงยุทธ บุญแวว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่จั๊วะ วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง /หน้า ๑๙๗/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802634
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังวนและนายอำเภอพรหมพิราม จึงตราข้อบัญญัตินี้ไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังวนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” หมายความว่า มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจากมูลฝอยซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “อาคารอยู่อาศัยรวม” หมายความว่า อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๐ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลวันวน ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลวังวนจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังวนจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย หรือสิ่งเปรอะเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด (๓) ห้ามผู้ใดลักลอบ หรือทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยในอาคาร สถานที่หรือที่ดินว่างอันเป็นของเอกชนทั้งของตนเองหรือบุคคลอื่น (๔) ห้ามผู้ใดทำการขน คุ้ย เขี่ย หรือขุดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่สาธารณะอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน เว้นแต่จะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย (๕) หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่าปล่อยให้มีมูลฝอยสะสมจนก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ ผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินว่างเปล่านั้นจะต้องทำการจัดเก็บ ขน และกำจัด ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่านั้นยังคงเพิกเฉย ละเลย หรือกระทำการไม่แล้วเสร็จโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญจากสถานที่ดังกล่าว และผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือที่ดินว่างเปล่านั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตรา ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ (๖) ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรม ทิ้งกากอุตสาหกรรม และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนรวมไปกับมูลฝอยทั่วไป ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังวนจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) เอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่ได้รับใบอนุญาตและมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลโดยมีหลักฐานสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนกับผู้กำจัดมูลฝอย (๕) เสนอแผนการดำเนินงานในการเก็บขนมูลฝอยที่แสดงรายละเอียดขั้นตอน การดำเนินงาน ความพร้อมด้านกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการบริหารจัดการ (๖) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ประกาศกำหนด ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถ ป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด-เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังวนประกาศกำหนด (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับ ผู้ปฏิบัติงาน (๑.๔) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้กำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๒) มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล (๒.๒.๑) ที่ไม่ก่อให้เกิดปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังพื้นดิน แหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน พืชผลทางการเกษตร (๒.๒.๒) ไม่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๒.๒.๓) ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น สกปรก หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) หลักเกณฑ์ด้านยานพาหนะขนมูลฝอย ต้องมีลักษณะดังนี้ (๓.๑.๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาดง่าย (๓.๑.๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอยเพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงาน และนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย (๓.๑.๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟวับวาบติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ (๓.๑.๔) ยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงาน ระดับที่ขนถ่ายมูลฝอยใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน (๓.๒) หลักเกณฑ์ด้านผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขน (๓.๒.๑) ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี (๓.๒.๒) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ในขณะทำหน้าที่เกี่ยวกับเก็บขนมูลฝอย (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้กำจัดมูลฝอย (๔.๒) หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะการกำจัดมูลฝอยต้องกำจัดมูลฝอยโดยวิธีใด วิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ แต่วิธีการนี้ไม่นำไปใช้กับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๔.๒.๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (๔.๒.๒) การเผาในเตาเผา (๔.๒.๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ (๔.๒.๔) การจัดการแบบผสมผสาน (๔.๒.๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (๔.๓) ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอย และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (๔.๔) การกำจัดมูลฝอยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีวิธีดำเนินการดังนี้ (๔.๔.๑) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ ห่างจากสนามบิน บ่อน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำประปา สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่า ไหลหลากต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ๒) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบ จัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน ๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอยโดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม ๔) มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๕) มีการกลบทับหน้ามูลฝอยรายวันด้วยดินหรือวัสดุกลบทับอื่นและปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหน้าอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ๖) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละออง จากการดำเนินงานความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็น แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบและมีระบบเผาทำลายก๊าซ หรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น ๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินและในระหว่างการดำเนินการฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก ๖ เดือน กรณีที่มีการปิดบ่อฝังกลบแล้วให้มีการตรวจสอบปีละ ๑ ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๕ ปี (๔.๔.๒) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ให้เป็นไปตามผลการศึกษาตามความในข้อ ๔.๓ มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอย มีการระบายอากาศ และแสงสว่าง ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๒) มีที่พักรวมมูลฝอยที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (ก) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ สามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า ๒ วัน มีการแยกเก็บมูลฝอยเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่ในสถานที่สะดวก ต่อการเก็บรวบรวม ขนถ่าย อยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบอาหาร (ข) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะปิดมิดชิดสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค การระบายอากาศดี (ค) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้ง เชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย (ง) ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก (จ) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยมีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ๓) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอยจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผา และปัญหากลิ่นรบกวน ๔) ต้องเผามูลฝอยที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๘๕๐ องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๕) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๗) มีการกำจัดเถ้าหนัก โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน และต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บขี้เถ้าหนัก ที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำขี้เถ้าหนักออกไปกำจัดเป็นประจำ ๘) มีการกำจัดขี้เถ้าเบาโดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บขี้เถ้าเบาที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำขี้เถ้าเบาออกไปกำจัดเป็นประจำ (๔.๔.๓) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ให้เป็นไปตามผลการศึกษาตามความ ในข้อ ๔.๓ ๒) อาคารคัดแยกมูลฝอย มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่นำมาหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพ มีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารคัดแยกมูลฝอย ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอย และอาคารระบบหมักทำปุ๋ย ๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจาก การดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๕) มูลฝอยจากการคัดแยกส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ต้องมีระบบกำจัดหรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือการเผาในเตาเผา หรืออาจมีการนำมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์ ๖) ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอย น้ำเสียจากสถานที่คัดแยกและสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๗) กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด มีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน (๔.๔.๔) การกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีการแบบผสมผสาน ซึ่งระบบกำจัดใช้วิธีการกำจัดมากกว่า ๑ วิธีตามความในข้อ ๔.๑ ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่กำจัด ๒) ในกรณีที่มีอาคารคัดแยกมูลฝอย และอาคารอื่น ๆ ของระบบกำจัดมูลฝอยต้องมีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ๓) ต้องมีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารอื่น ๆ ๔) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจาก การดำเนินงาน ความสั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค ๕) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการเผาในเตาเผาดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามความในข้อ ๔.๓.๒ ๖) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามความในข้อ ๔.๔.๓ (๔.๕) หลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติผู้ปฏิบัติงานดังนี้ (๔.๕.๑) ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุม กำกับในการจัดการมูลฝอยอย่างน้อย ๒ คน โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านสาธารณสุข ด้านสุขาภิบาล หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านใดด้านหนึ่ง ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมเครื่องกลด้านใดด้านหนึ่ง เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๔.๕.๒) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากการทำงาน (๔.๕.๓) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอย รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจาก การปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยด้วย ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้า หนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดยานพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ดำเนินงานระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๒.๒) ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๓.๑) ขณะทำการเก็บ ขนมูลฝอยต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้า หนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๓.๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บ ขนมูลฝอยอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานเก็บ ขนมูลฝอยแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่แหล่งน้ำสาธารณะ (๓.๓) กรณีที่มีมูลฝอยตกหล่นบนทางสาธารณะให้จัดการเก็บให้เรียบร้อย (๓.๔) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บ ขนมูลฝอย อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) ดำเนินงานระบบกำจัดมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๔.๒) ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้น การปฏิบัติงานประจำวัน (๔.๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔.๔) ให้นำความในข้อ ๑๑ (๔) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวนเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้นำความในข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๕ ให้นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับ ใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังวนเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชัยธีรณัฏฐ์ สกุลธัญพร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. ใบอนุญาตตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือ กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕.. แบบคำขออนุญาตทั่วไปการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน พ.ศ.๒๕๖๐ (ดูข้อจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๒๑๐/๒ พฤษาคม ๒๕๖๑
802613
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560
เน„เธกเนˆเธžเธšเน€เธญเธเธชเธฒเธฃเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธ•เน‰เธญเธ‡เธเธฒเธฃ The document that you would like to see is not found.
802622
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคลและนายอำเภอบึงสามพัน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่สาธารณะ ได้แก่ ถนนสาธารณะทุกสาย สระน้ำสาธารณะ ลำห้วยสาธารณะ สนามกีฬาหรือสถานที่ออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น (๑.๒) สถานที่ราชการทุกแห่ง ได้แก่ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีมงคล ที่ทำการสายตรวจตำบลศรีมงคล โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งเว้นแต่สถานที่ดังกล่าวได้จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นการเฉพาะ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวันเมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคลรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ กรี ทิมโต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๗๖/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802574
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดและนายอำเภอสทิงพระ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดเรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดแล้ว ๗ วัน ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ (๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกินดื่มอมแต่ไม่รวมถึงยาวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี (๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมทั้งวัตถุเจือปนอาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหาร หรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคได้ที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคารสถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสด หรือของแห้ง หรืออาหารในลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคภายหลัง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร”หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หมวด ๒ หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขอและออกใบอนุญาต ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๖ ความในข้อ ๕ ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้ (๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การขายของในตลาด (๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ และเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ต้องอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวรทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ คำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ (๑.๑) - (๑.๕) (๒.๒) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๒.๓) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๔) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๕) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบปรุงเก็บและการบริโภคอาหารไว้เพียงพอปลอดภัยและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดกำหนด (๒.๖) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ (๒.๗) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๘) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งป้องกันไม่ใช้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๙) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๑๐) ปฏิบัติตามการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด หมวด ๓ การขออนุญาตและใบอนุญาต ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดประกาศกำหนด ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาดถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น (๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๓) น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกัน สิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมไว้ด้วยกัน (๔) การทุบ การบดน้ำแข็งต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ และสะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันมิให้เสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้เพียงพอ (๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาดปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหาร หรือน้ำแข็ง โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล (๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจ ขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ ด้วย ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบข้ออนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงความสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาต ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสารธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่งแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่เพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ การแจ้งและหนังสือรับรองการแจ้ง ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้ง สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึง การสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำ (๒) สำเนาบันทึกการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๓) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไปให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่แจ้งได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงเวลาการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๕ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด หมวด ๕ การแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้บทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เจษฎา นิยมเดชา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๑) ๓. แบบคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๒) ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๓) ๔. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ.สอ.๔) ๕.. คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี (แบบ.สอ.๕) ๖. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๖) ๗. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๗) ๘. คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ สอ.๘) ๙. คำขอรับใบแทนอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ สอ.๙) ๑๐. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๑๐) ๑๑. ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.๑๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๓๗/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802619
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมากโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมากและนายอำเภอบางกระทุ่ม จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมากตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของสถานประกอบกิจการนั้น “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางแสง” หมายความว่า สภาวะของแสงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางความร้อน” หมายความว่า สภาวะของความร้อนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของสาธารณชน “มลพิษทางความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “ของเสียอันตราย” หมายความว่า มูลฝอยสิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสาร หรือสิ่งอื่นใด ที่ปนเปื้อนสารพิษอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมากเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก ๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่มน้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิตสะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิตสะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิตสะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมากน้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋องขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิตโม่บดผสมหรือบรรจุยา (๒) การผลิตบรรจุยาสีฟันแชมพูผ้าเย็นกระดาษเย็นเครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิตบรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผลผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้างอบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิตหรือการแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าวนวดข้าวด้วยเครื่องจักรหรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตากสะสมขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน ๖ (๑) (๓) การกลึงเจาะเชื่อม ตี ตัด ประสานรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าชหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่ายซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะเชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็น ส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่านหรือสะสมถ่าน ๙. กิจการเกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพเว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับ ใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำอบไอน้ำอบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำรำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำหรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่งหรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปาอาบน้ำตัดขนรับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้ายทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้าและสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดินทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดินทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพองหรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมปิโตรเคมี ถ่านหินถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่างสารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลงหรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิตสะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ ผู้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องควบคุมในท้องถิ่นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วแต่กรณี หมวด ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติ เกี่ยวกับการดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการ และมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนที่ ๑ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภท ของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน ให้มีลักษณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง และการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณของมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดมูลฝอยเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) กรณีที่มีขยะมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องดูแลมิให้มีน้ำท่วมขังบริเวณสถานประกอบกิจการและจัดให้มีการระบายน้ำหรือการดำเนินการอย่างใด ๆ ด้วยวิธีเหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ในกรณีที่มีน้ำทิ้งหรือน้ำเสียเกิดขึ้นจากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สถานประกอบกิจการนั้นต้องดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร หรือการสะสมอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงานต้องการดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งกฎกระทรวงออกตามความ ในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มสะอาดที่มีคุณภาพไม่ต่ำเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของกรมอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทุกวัน รวมทั้งจัดให้มีภาชนะรองรับน้ำดื่มที่สะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสถานที่ตั้งน้ำดื่มและลักษณะการนำน้ำมาดื่มต้องไม่เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๑๗ สถานประกอบการกิจการต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสม ต่อการประกอบกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงน้ำใช้ในกระบวนการผลิต ส่วนที่ ๒ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และการป้องกันเหตุรำคาญ ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ สถานประกอบกิจการที่มีผู้ปฏิบัติงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่ชำระร่างกายฉุกเฉิน และล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย และขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๑ สถานประกอบกิจการต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีสภาพที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสถานประกอบกิจการ และต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่แข็งแรง มั่นคง และปลอดภัยโดยมีระบบป้องกันอันตราย และป้ายคำเตือนหรือคำแนะนำในการป้องกันอันตราย จากอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต้องเป็นไปตามระเบียบไม่กีดขวางทางเดินและการปฏิบัติงาน และต้องมีการดูแล ตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ข้อ ๒๒ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๓ สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางแสง มลพิษทางความร้อน มลพิษทางความสั่นสะเทือน ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๕ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ......) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๒๖ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน (หรือตามที่เห็นสมควร)นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๘ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ยื่นคำขอรับใบแทนอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลือมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องกำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควนแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติ ไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะ ความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ผู้สั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามบัญชีค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ กล บัววังโปร่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนครป่าหมาก เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. ใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๕๘/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802605
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามและนายอำเภอจัตุรัส จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่ บำรุง ตลอดจนการให้อาหารอยู่เป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ซึ่งครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์เลี้ยงของเจ้าของสัตว์เลี้ยง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับในการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ของทางราชการหรือผู้ที่ได้รับอนุญาต ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ข้อ ๗ ให้สัตว์ดังต่อไปนี้เป็นสัตว์ที่ต้องมีการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม (๑) ช้าง (๒) ม้า (๓) โค (๔) กระบือ (๕) สุกร (๖) แพะ (๗) แกะ (๘) ห่าน (๙) เป็ด (๑๐) ไก่ (๑๑) สุนัข (๑๒) แมว ข้อ ๘ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๗ บริเวณภายในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลตามประเพณีหรือขยายพันธุ์สัตว์ ข้อ ๙ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยวิญญูชนพึงกระทำเจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอมีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ (๓) กำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ (๔) ต้องจัดให้มีการฉีดวัคซีนและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์อย่างสม่ำเสมอ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตนตลอดจนดูแลไม่ให้ส่งเสียงดังรบกวนแก่ผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยส่วนรวม (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดห้ามไว้ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งเจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์เป็นโรคติดต่ออันเกิดเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๑ เจ้าของสัตว์ต้องควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่อความเสียหายอันตรายหรือเหตุรำคาญแก่บุคคลอื่น ข้อ ๑๒ กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืน ตามข้อบัญญัตินี้ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือถ้าเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ และเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในเวลาตามข้อ ๑๑ เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่จ่ายไปจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขามเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เหลือ วิเศษคร้อ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม วิวรรธน์/จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๔๗/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802626
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ ว่าด้วยการขุดดินและถมดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๘ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้และนายอำเภอทองแสนขัน จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การขุดดิน และถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “ดิน” หมายความรวมถึงหิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนกับดิน “พื้นดิน” หมายความว่า พื้นผิวของดินที่เป็นอยู่ตามสภาพธรรมชาติ “ขุดดิน” หมายความว่า กระทำแก่พื้นดิน นำดินขึ้นจากพื้นดินหรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน “บ่อดิน” หมายความว่า แอ่ง บ่อ สระ หรือช่องว่างใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการขุดดิน “ถมดิน” หมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อดินหรือพื้นดินเพื่อให้ระดับดินสูงกว่าเดิม “เนินดิน” หมายความว่า ดินที่สูงกว่าระดับพื้นดินโดยการถมดิน “แผนผังบริเวณ” หมายความว่า แผนที่แสดงสภาพของที่ดิน ที่ตั้ง และขอบเขตของที่ดินที่จะขุดดินหรือถมดิน รวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ข้างเคียง “รายการ” หมายความว่า ข้อความชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดของดิน ความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน หรือความสูงของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของบ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากขอบบ่อดินหรือเนินดินถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างและวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน “แบบแปลน” หมายความว่า แบบแสดงแผนที่สังเขป แผนผังบริเวณ รูปตัด และรายละเอียดในการขุดดินและถมดิน “รายการประกอบแปลน” หมายความว่า ข้อความแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดที่ดิน ความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุด ความสูงและพื้นที่ของเนินดินที่จะถมดิน ความลาดเอียงของ บ่อดินหรือเนินดิน ระยะห่างจากบ่อดินหรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น วิธีการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง และวิธีการในการขุดดินหรือถมดิน ตลอดจนสภาพพื้นที่ และบริเวณข้างเคียงระดับดินเดิม คุณสมบัติของดินที่จะขุดหรือจะถม พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับขุดดินหรือถมดินเพื่อไปตามแบบแปลน “รายการคำนวณ” หมายความว่า รายการแสดงวิธีการคำนวณหาค่าเสถียรภาพ ความลาดเอียงที่ปลอดภัยในการขุดดินหรือถมดิน หรือรายการแสดงวิธีการคำนวณความปลอดภัยของกำแพงดินหรือรายการแสดงวิธีการคำนวณวิธีป้องกันการพังทลายของดินด้วยวิธีอื่น “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ “พนักงานเจ้าหน้าที่”หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๖ ข้อบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่การขุดดินและถมดินซึ่งกระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดมาตรการในการป้องกันอันตรายไว้ตามกฎหมายนั้นแล้ว ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างตลอดจนการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนด (๑) บริเวณห้ามขุดดินหรือถมดิน (๒) ความสัมพันธ์หรือความลาดเอียงของบ่อดินตามชนิดของดิน ทั้งนี้ ระยะดิ่ง ต่อระยะราบไม่น้อยกว่า ๑ ต่อ ๒ ของความลึก และขนาดของบ่อดินที่จะขุดดินความสูงและพื้นที่ ของเนินดินที่จะถมดิน และระยะห่างจากขอบบ่อดิน หรือเนินดินถึงเขตที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของบุคคลอื่น (๓) วิธีการป้องกันการพังทลายของดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง (๔) วิธีการให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก (๕) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขุดดินหรือถมดิน ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง ยกเว้น ผ่อนผัน ระงับ หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามที่เห็นสมควรได้ในกรณี (๑) การขุดดิน ถมดินของหน่วยงานราชการ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในราชการเพื่อสาธารณประโยชน์ (๒) การขุดดิน ถมดิน ภายในศาสนสถานเพื่อศาสนาประโยชน์ (๓) การขุดดิน ถมดินขององค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ (๔) การขุดดิน ถมดินขององค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ใช้ในกิจการขององค์กรหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หมวด ๒ การขุดดิน ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดจะต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ระดับวุฒิวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิศวกร โดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้ (๑) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน (๒) แผนผังแสดงเขตพื้นที่และที่ดินบริเวณข้างเคียง (๓) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติ การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๔) วิธีการขุดดินและขนดิน (๕) ระยะเวลาทำการขุดดิน (๖) ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (๗) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง (๘) ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินจะทำการขุดดิน (๙) เอกสารรายละเอียดอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่งโดยถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มทำการขุดดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้แจ้งไม่มาแก้ไขให้ถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้การแจ้งตามวรรคหนึ่งเป็นอันสิ้นผล ถ้าผู้แจ้งได้แก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดในวรรคสาม ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งที่ถูกต้อง ผู้ได้รับแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๐ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เก็บได้ตามข้อ ๙ วรรคห้า ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ ข้อ ๑๑ ในระหว่างที่มีการขุดดิน ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ จะต้องเก็บใบรับแจ้ง แผนผังบริเวณและรายการไว้ที่สถานที่ขุดดินหนึ่งชุด และพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ ถ้าใบแจ้งชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายในสาระสำคัญให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ขอรับใบแทนใบรับแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันที่ทราบถึงการชำรุด สูญหาย หรือถูกทำลายดังกล่าว ข้อ ๑๒ ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ต้องขุดดินให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๑๓ ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ต้องควบคุมลูกจ้างหรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ และจะต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง หรือตัวแทนซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมาย ข้อ ๑๔ การได้รับใบรับแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙ ไม่เป็นเหตุคุ้มครองการขุดดินที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคล หรือต่อสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดิน ลูกจ้าง หรือตัวแทนผู้ขุดดินต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะมีเหตุที่ไม่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ข้อ ๑๕ การขุดบ่อน้ำใช้ที่มีพื้นที่ปากบ่อไม่เกินสี่ตารางเมตร ผู้ขุดดินไม่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๖ การขุดดินที่มีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร ปากบ่อดินจะต้องห่างจากแนวเขตที่ดินของบุคคลอื่น หรือที่สาธารณะเป็นระยะไม่น้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด เว้นแต่จะได้มีการจัดการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยการรับรองของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธา ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ข้อ ๑๗ ในการขุดดินถ้าพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจ หรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยา ให้ผู้ขุดดินตามข้อ ๙ ข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ หยุดการขุดในบริเวณนั้นไว้ก่อนแล้วรายงานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบภายในสามวันนับแต่วันที่พบ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้กรมศิลปากร หรือกรมทรัพยากรธรณีทราบโดยด่วนแล้วแต่กรณี ในกรณีเช่นนี้ให้ผู้ขุดดินปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หมวด ๓ การถมดิน ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่าง จากเจ้าของที่อยู่ข้างเคียงและมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดิน ที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร การถมดินที่มีพื้นที่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง จะต้องแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด การถมดินตามวรรคสอง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดความสูงของเนินดินตามสภาพพื้นที่เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือได้รับความเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นตามข้อ ๗ ได้ การถมดินตามวรรคสาม หากมีความสูงของเนินดินตั้งแต่สองเมตรขึ้นไปต้องจัดทำแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมโยธาไม่ต่ำกว่าระดับสามัญวิศวกร ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร แนบมาพร้อมกับใบแจ้งการถมดิน ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในวรรคสองโดยถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อเป็นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้นั้นภายใน ๗ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งและให้ผู้แจ้งเริ่มต้นการถมดินตามที่ได้แจ้งไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบแจ้ง ให้นำบทบัญญัติข้อ ๙ วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๔ มาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘ ต้องทำการถมดินให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ออกตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒๐ ผู้ถมดินตามข้อ ๑๘ ต้องควบคุมลูกจ้าง หรือตัวแทนให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๙ และต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทน ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมาย หมวด ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ ๒๑ ผู้ใดได้รับความเสียหายหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินหรือถมดิน อันไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๙ มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้หยุดการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ เมื่อได้รับคำร้องขอตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ขุดดินหรือถมดิน และรายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นจากการขุดดินหรือถมดินนั้น ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือส่งให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินนั้นได้ตามที่เห็นสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อนี้ ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายด้วย ข้อ ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่มีการขุดดินตามข้อ ๙ หรือการถมดินตามข้อ ๑๘ ว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือประกาศตามที่ออกตามข้อบัญญัติหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือระหว่างเวลาทำการ และให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือตัวแทนหรือเจ้าของที่ดินอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๒๓ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการขุดดินหรือการถมดิน ได้ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีคำสั่ง ให้ผู้ขุดดิน ผู้ถมดิน หรือเจ้าของที่ดินหยุดการขุดดินหรือการถมดิน หรือจัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือการถมดินนั้น แล้วแต่กรณี และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อป้องกัน หรือระงับความเสียหายนั้นได้ ข้อ ๒๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๒๕ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๒๖ ผู้ใดทำการขุดดินตามข้อ ๙ หรือทำการถมดินตามข้อ ๑๘ วรรคสามโดยไม่ได้รับใบแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙ วรรคสอง หรือข้อ ๑๘ วรรคหก แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากการกระทำตามวรรคหนึ่ง เกิดขึ้นในบริเวณห้ามขุดหรือถมดินตามข้อ ๗ (๑) ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๒ และข้อ ๑๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งพันบาท ตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ และข้อ ๑๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ข้อ ๒๙ ผู้ขุดดินผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๓๐ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๓๑ ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้จัดการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือจัดการแก้ไขการขุดดินหรือถมดินตามข้อ ๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตาม ข้อ ๓๒ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามข้อ ๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ข้อ ๓๓ ผู้ใดได้รับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดการขุดดินหรือการถมดินตามข้อ ๒๑ วรรคสอง หรือข้อ ๒๓ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อ ๓๔ บรรดาความผิดตามข้อบัญญัตินี้ นอกจากความผิดตามข้อ ๒๖ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ เมื่อได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในกำหนดเวลาสามสิบวัน ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย ข้อ ๓๖ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ใกล้ชิด หรือติดต่อกับที่ดินที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ข้อ ๓๗ ผู้ใดขุดดินหรือถมดินอันมีลักษณะที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัตินี้อยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้ปฏิบัติตามข้อ ๙ ข้อ ๑๘ แล้วแต่กรณี ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และเมื่อได้ดำเนินการแล้วให้ถือว่าผู้นั้นได้รับใบแจ้งตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ดำเนิน อินทะเรืองรุ่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. ใบแจ้งการขุดดินหรือถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๑) ๓. ใบรับแจ้งการขุดดินหรือถมดิน ตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ (แบบ ขถด.๒) ๔. หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของที่ดิน (ในกรณีเจ้าของที่ดินให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน) (แบบ ขถด.๓) ๕. หนังสือมอบอำนาจ (ใช้ในกรณีผู้แจ้งการขุดดิน/ถมดิน ให้บุคคลอื่นยื่นใบแจ้งการขุดดิน/ถมดิน ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น) (แบบ ขถด.๔) ๖. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (แบบ ขถด.๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๗๙/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802611
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมและนายอำเภอท่าวังผา จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชน สามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) โค (๔) กระบือ (๕) แพะ (๖) ช้าง (๗) นก (๘) ไก่ (๙) สุกร (๑๐) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๖ ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑) ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ ในที่หรือทางสาธารณะในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมโดยเด็ดขาด (๒) ในรัศมีต่ำกว่า ๕๐๐ เมตร โดยวัดจากบ้านหลังที่อยู่ใกล้สถานที่เลี้ยงหลังสุดท้าย เป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์ ประเภท สุกร โดยเด็ดขาด (๓) สถานที่ราชการทุกแห่งในตำบลตาลชุม เป็นเขตห้ามปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๔) วัด, สถานปฏิบัติธรรม, ศาสนสถานทุกแห่งในตำบลตาลชุม เป็นเขตห้ามปล่อยสัตว์ โดยเด็ดขาด ข้อ ๗ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมเป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมประกาศกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใด ให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณีโดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม หรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ ข้อ ๗ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมแต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่ง และเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุมรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เอนก มังคละ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาลชุม วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๕๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802662
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์และนายอำเภอท่าวุ้ง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของสถานประกอบกิจการนั้น “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะทางเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางแสง” หมายความว่า สภาวะของแสงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางความร้อน” หมายความว่า สภาวะของความร้อนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “ของเสียอันตราย” หมายความว่า มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มวลสารหรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนสารพิษ อันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้ มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น (๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชม หรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม (๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์ (๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผา หรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง (๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม (๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๘) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำ ความสะอาดต่าง ๆ (๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕.๕) การผลิตยาสูบ (๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ย หรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะ หรือแร่ (๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๕) การขัดล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑) (๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ (๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า (๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๘.๔) การอบไม้ (๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน (๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการ ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๒) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด (๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราว สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑) (๙.๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว (๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง (๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒) (๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕) (๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้กและสารเคมีต่าง ๆ (๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย (๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑) (๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี (๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค (๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว (๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๖ ผู้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องควบคุมภายในท้องถิ่นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี หมวด ๒ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติ เกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการ และมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนที่ ๑ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสม ที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน ให้มีลักษณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้าย หรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง และการระบายอากาศ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณของมูลฝอย รวมทั้ง มีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดมูลฝอยเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องดูแลมิให้มีน้ำท่วมขังบริเวณสถานประกอบกิจการและจัดให้มีการระบายน้ำหรือการดำเนินการอย่างใด ๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง ในกรณีที่มีน้ำทิ้งหรือน้ำเสียเกิดขึ้นจากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สถานประกอบกิจการนั้นต้องดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหาร หรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร การปรุงอาหาร หรือการสะสมอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงานต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดตามข้อบัญญัติท้องถิ่น รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัย เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มสะอาดที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของกรมอนามัย สำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทุกวัน รวมทั้งจัดให้มีภาชนะรองรับน้ำดื่มที่สะอาดและปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสถานที่ตั้งน้ำดื่มและลักษณะการนำน้ำมาดื่มต้องไม่เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสมต่อการประกอบกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต ส่วนที่ ๒ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และการป้องกันเหตุรำคาญ ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๐ สถานประกอบกิจการที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่ชำระร่างกายฉุกเฉิน และที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๑ สถานประกอบกิจการต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีสภาพที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสถานประกอบกิจการ และต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่แข็งแรง มั่นคงและปลอดภัย โดยมีระบบป้องกันอันตราย และป้ายคำเตือนหรือคำแนะนำในการป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรนั้น ทั้งนี้ การจัดวางหรือการจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักร ต้องเป็นระเบียบไม่กีดขวางทางเดินและการปฏิบัติงานและต้องมีการดูแล ตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ข้อ ๒๒ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๓ สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางแสง มลพิษทางความร้อน มลพิษทางความสั่นสะเทือน ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๕ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสาร และหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ ระบุ.........) (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดแลเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๒๖ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน (หรือตามที่เห็นสมควร) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้ง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว ข้อ ๒๘ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาต ตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้อง ไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือผลกระทบต่อสภาวะ ความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามบัญชีค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๗ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ธวัชชัย บุญน้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๒๐/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802628
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขและเพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้และนายอำเภอทองแสนขัน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้นับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้แล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ ๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี๋ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแช (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ ๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบ ของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารหรือเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราว สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่ เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสาร ตัวทำละลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งใบโอดีเซลและเอทานอล ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ดำเนิน อินทะเรืองรุ่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๘๘/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802636
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์เสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวและนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ หรือที่มีกำหนดไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชย์กรรมและเขตประชากรหนาแน่น เป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน นก ฯลฯ โดยเด็ดขาด (๑.๒) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน นก ฯลฯ โดยเด็ดขาด (๑.๓) ที่หรือทางสาธารณะเป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน นก ฯลฯ โดยเด็ดขาด (๑.๔) สถานที่ท่องเที่ยวเป็นเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน นก ฯลฯ โดยเด็ดขาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ พื้นที่นอกจากที่ระบุในข้อ ๖ (๑) และเป็นพื้นที่อาศัยอยู่หนาแน่น ห้ามเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ประเภทดังต่อไปนี้เกินจำนวนดังนี้ (๒.๑) ช้าง ม้า เกินจำนวน ๑ ตัว (๒.๒) สุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข แมว เกินจำนวน ๕ ตัว (๒.๓) เป็ด ไก่ นก ห่าน เกินจำนวน ๒๐ ตัว (๒.๔) จำนวนสัตว์อื่นนอกจาก (๒.๑) – (๒.๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๕) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและเหตุรำคาญ (๒.๖) ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (๓) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ พื้นที่นอกจากที่ระบุในข้อ ๖ (๑) และเป็นพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ หรือตามท้องไร่ ท้องนา เป็นเขตที่การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร เป็ด ไก่ นก ห่าน ฯลฯ ทั้งนี้ ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนหรือเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่นที่ปลูกพืชทางเศรษฐกิจ ข้อ ๗ ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องมีการปฏิบัติภายใต้มาตรการดังนี้ (๑) สถานที่ตั้ง (๑.๑) ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับผู้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง (๑.๒) ต้องมีบริเวณเลี้ยงสัตว์ซึ่งกั้นเป็นสัดส่วนและให้อยู่ห่างเขตที่ดินสาธารณะ ทางน้ำสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของ และมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตรทุกด้าน เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน (๒) อาคารและส่วนประกอบ (๒.๑) อาคารต้องเป็นอาคารเอกเทศและมั่นคงแข็งแรงมีลักษณะเหมาะสมแก่ การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้น ๆ ไม่มีการพักอาศัยหรือประกอบกิจการอื่นใด (๒.๒) พื้นที่ต้องเป็นพื้นแน่นทำความสะอาดง่ายไม่เฉอะแฉะ เว้นแต่การเลี้ยงสุกร พื้นจะต้องเป็นคอนกรีตและมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำและสิ่งปฏิกูลไหลลงทางระบายน้ำได้โดยสะดวก (๒.๓) หลังคาต้องมีความสูงจากพื้นมากพอสมควรและมีช่องทางให้แสงสว่าง หรือแสงแดดส่องภายในอาคารอย่างทั่วถึง (๒.๔) คอกต้องมีการกั้นคอกเป็นสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ไม่ให้สัตว์อยู่กันอย่างแออัด (๒.๕) การระบายอากาศต้องจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทให้เพียงพอ (๓) การสุขาภิบาลทั่วไป (๓.๑) การระบายน้ำ (๓.๑.๑) รางระบายน้ำต้องจัดให้มีรางระบายน้ำโดยรอบตัวอาคาร ให้มีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลได้สะดวก (๓.๑.๒) น้ำทิ้งต้องมีการบำบัดก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำแหล่งน้ำสาธารณะหรือในที่เอกชน (๓.๒) การกำจัดมูลสัตว์ (๓.๒.๑) ต้องเก็บกวาดมูลสัตว์เป็นประจำทุกวัน (๓.๒.๒) ต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะ ไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นอันเป็นเหตุรำคาญ และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค (๓.๓) การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ (๓.๓.๑) ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องไม่ให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓.๒) ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์ไม่ให้เป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓.๓) การเลี้ยงสัตว์ที่มีขน ตัวอาคารต้องสามารถป้องกันขนไม่ให้ปลิว ฟุ้งกระจายออกไปนอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ (๓.๓.๔) ต้องควบคุมดูแลไม่ให้สัตว์ออกไปทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๓.๓.๕) การกำจัดซากสัตว์ ให้ใช้วิธีเผา หรือฝังเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค และการก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นเหม็น (๓.๓.๖) ต้องรักษาความสะอาดที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดเสมอ (๔) การเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ใด ๆ ที่มีคำแนะนำ ข้อกำหนดหรือมาตรฐานอื่นใดของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่ได้รับความเชื่อถือให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อกำหนดหรือมาตรฐานอื่นใดของหน่วยงานนั้น ๆ ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็น ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๕๙/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802624
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การตำบลโนนธาตุและนายอำเภอหนองสองห้อง จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจนานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบล เรื่อง การกำจัดมูลฝอยสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๔๑ และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่” หมายความว่า มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้ เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก “มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน” หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “น้ำชะมูลฝอย” หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจาก มูลฝอยซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๖ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารตำบลโนนธาตุ อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๐ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่ หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุจัดไว้ให้ หรือในที่รองรับสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุจัดไว้ให้ ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามวรรคหนึ่งต้องเป็นภาชนะที่มั่นคงแข็งแรง มีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่ส่งกลิ่นเหม็นออกมาข้างนอก เพื่อป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจประกาศกำหนดลักษณะหรือรูปแบบของภาชนะที่รองรับมูลฝอยก็ได้ ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้ผู้ใดลักลอบ หรือทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยในอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างอันเป็นของเอกชน ทั้งตนเอง หรือบุคคลอื่น ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้ดำเนินการโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะหรือตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำ ข้อ ๑๓ หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่าปล่อยให้มีมูลฝอยสะสม จนก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ ผู้ครอบครองอาคารที่ดินว่างเปล่านั้นจะต้องทำการจัดเก็บ ขน และกำจัดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเป็น หนังสือแจ้งภายในระยะเวลา ๑๕ วัน เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือที่ดินว่างเปล่ายังเพิกเฉย ละเลย หรือกระทำการไม่แล้วเสร็จโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ ทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญ จากสถานที่ดังกล่าว โดยต้องอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยออกจากอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น และผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือที่ดินว่างเปล่านั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือใบอนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) เอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่ได้รับอนุญาต และมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลโดยมีหลักฐานสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนหรือผู้กำจัดมูลฝอย (๕) เสนอแผนการดำเนินงานในการเก็บขนมูลฝอยที่แสดงรายละเอียดขั้นตอน การดำเนินงานความพร้อมด้านกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการบริหารจัดการ (๖) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑๖.๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูล (๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด – เปิดอยู่ด้านบน (๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย (๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม (๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เพื่อให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้ทั้งสองข้างรถโดยขนาดอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร (๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำ สิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด ๑๖.๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดย - สถานที่ดำเนินการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องตั้งห่างจากชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ โดยให้คำนึงถึงการป้องกัน มิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง - ต้องมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น ระบบบำบัด สิ่งปฏิกูลโดยการหมักย่อยสลาย (Composting and Digestion) ด้วยส่วนประกอบ ถังหมักย่อยสลาย ลานทรายกรอง จัดให้มีเสื้อคลุม ผ้าปิดปาก ถุงมือยาง รองเท้ายางหุ้มสูงถึงแข้ง มีอุปกรณ์ ทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเซื้อ และต้องมีผู้ควบคุมดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม - ไม่ก่อให้เกิดปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังพื้นดิน แหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน พืชผลทางการเกษตร - ไม่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค - ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น สกปรกหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง ๑๖.๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ได้แก่ - ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาดง่าย - มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอยเพื่อมิให้รั่วขณะปฏิบัติงาน และนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัด - มีลักษณะหรือสัญญาณไฟวับวาบติดไว้ประจำยานพาหนะชนิด ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ - ยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงาน - ผู้ปฏิบัติงานต้องตรวจสุขภาพประจำปี - ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง ๑๖.๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดย - ต้องกำจัดมูลฝอยในที่ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุกำหนดให้เท่านั้น - หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะการกำจัดมูลฝอยต้องกำจัดโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี เช่น การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การเผาในเตา การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าชชีวภาพ การจัดการแบบผสมผสาน หรือวิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งวิธีการนี้ไม่นำไปใช้กับมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือเว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง ข้อ ๑๗ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๙ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ ๑๙.๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้า หนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัด หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๕) ต้องตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๑๙.๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๑) ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหลังจาก เสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง (๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๑๙.๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย (๑) ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหลังจาก เสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง (๓) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๑๙.๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องดำเนินงานระบบกำจัดมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๒ ครั้ง (๓) ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้ายางหลังจาก เสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน ข้อ ๒๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๗ ข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ โดยอนุโลม ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๒ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๓๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๒ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ ข้อ ๓๔ ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง กองหรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยนอกที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ จัดให้ไว้จะต้องเปรียบเทียบปรับตามตารางแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สันต์ กัมปนาวราวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลโนนธาตุ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ ๓. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ ๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ ๕. รายการเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาต (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๓๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802630
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว และนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ หรือที่มีกำหนดไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ การเก็บ ขน กำจัดหรือการจัดการอื่นใดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขนหรือกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะนอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวจัดไว้ให้ (๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของ เจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาคู่มือใบจดทะเบียนรถยนต์ ใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือแสดงสิทธิครอบครองพื้นที่กำจัดหากมี การดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการเอง (๕) แผนผังระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หากมีการดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (๖) หลักฐานการนำสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะกรณีไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเอง (๗) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน (๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลชนิดเฮพวี่ ดิวตี้ (Heavy Duty) คือปั๊มสูบตะกอนที่สามารถสูบตะกอนของแข็งได้ และติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี (๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่รั่วซึม (๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ให้รู้ว่าพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น “รถดูดสิ่งปฏิกูล” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้ทั้งสองด้านของตัวรถ โดยขนาดตัวอักษรต้องสูง ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร (๑.๑.๗) สีของรถพาหนะเก็บขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องกำหนดให้มีสีต่างจากรถเก็บขนถ่ายสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำ สิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๑.๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวอาจกำหนดขึ้นภายหลังที่เห็นว่าจำเป็นต่อสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่ใช้กำหนดสิ่งปฏิกูล และสถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะโดยให้คำนึงถึงการป้องกันมิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง (๒.๒) ต้องมีระบบบำบัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น (๒.๒.๑) ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลโดยการหมักย่อยสลาย (Composting and Digestion) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (ก) ถังหมักย่อยสลาย ประกอบด้วย ถังคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้นจำนวน ๓๑ ถัง มีฝาปิดมิดชิด ถังหมักแต่ละถังต้องมีท่อระบายอากาศภายในถังหมักจะบรรจุสิ่งปฏิกูลที่ได้ จากรถสูบสิ่งปฏิกูลที่ไปสูบมาจากส้วมตามบ้านเรือนและอาคารต่าง ๆ แล้วนำมาถ่ายลงในถังหมักนี้ภายในถังหมักจะเกิดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลโดยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ทำการหมักอย่างน้อย ๒๘ วัน เพื่อทำลายเชื้อโรคพยาธิและไข่พยาธิ ที่ปะปนมากับสิ่งปฏิกูล (ข) ลานทรายกรอง ภายหลังจากสิ่งปฏิกูลและน้ำที่ทำการหมักในถัง จนครบเวลาตามข้อ (๒.๒.๑) แล้วจึงปล่อยลงสู่ลานทรายกรองซึ่งจะทำหน้าที่กรองสิ่งปฏิกูลให้เหลือตกค้างอยู่ด้านบน น้ำก็จะซึมผ่านลานทรายกรองสู่ท่อน้ำทิ้งด้านล่าง เพื่อรวบรวมนำไปสู่บ่อพักน้ำเก็บไว้รดต้นไม้ หรือบำบัดก่อนปล่อยเป็นน้ำทิ้งต่อไป สำหรับตะกอนที่กรองอยู่ด้านบนลานทรายกรองนั้นให้ตากแดดจนแห้งสนิทเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคโดยแสงอาทิตย์อีกชั้นหนึ่ง จากนั้นจึงนำไปย่อยหรือบด ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป โดยการจัดวางระบบต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขและ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒.๓) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง ผ้าปิดปาก ปิดจมูก รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๒.๔) ต้องมีผู้ควบคุมหรือดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (๒.๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว อาจกำหนดขึ้นภายหลังที่เห็นว่าจำเป็นต่อสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย (๓.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขน มูลฝอย ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ (๓.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก (๓.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอยต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ และไม่ทำให้มูลฝอยหกล้น หรือปลิวฟุ้งกระจายขณะขนย้าย (๓.๑.๓) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอยต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่ว ไม่ซึม (๓.๑.๔) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๓.๑.๕) ต้องมีข้อความแสดงที่ตัวรถพาหนะเก็บ ขนมูลฝอยเพื่อให้รู้ว่าเป็นรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย เช่น “รถเก็บ ขนมูลฝอย” เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทย ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้ทั้งสองด้านของตัวรถ โดยขนาดตัวอักษรต้องสูง ไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร (๓.๑.๖) สีของรถพาหนะเก็บ ขนมูลฝอยต้องกำหนดให้มีสีต่างจาก รถเก็บขน มูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๓.๒) ต้องจัดให้มีผ้าปิดปากปิดจมูก เสื้อสะท้อนแสง ถุงมือยาง รองเท้า หนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยา ฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๓.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยของตนเองต้องแสดงหลักฐาน (ใบนำส่งมูลฝอย) ว่าจะนำมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) มีเอกสารสิทธิในที่ดินที่ใช้กำจัดมูลฝอย และสถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ โดยให้คำนึงถึงการป้องกันมิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง (๔.๒) ต้องมีระบบกำจัดมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น อาจจะเป็นระบบเตาเผา (Incinerater) หรือระบบฝังกลบ (Sanitaly land - fill) หรือระบบหมักเป็นปุ๋ย (Decompose) ซึ่งแต่ละระบบจะต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและประชาชนข้างเคียง รวมทั้งการป้องกันเหตุรำคาญด้วย โดยการจัดวางระบบต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขและหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๔.๓) ต้องมีผู้ควบคุมหรือดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (๔.๔) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง ผ้าปิดปาก ปิดจมูก รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๔.๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวอาจกำหนดขึ้นภายหลังที่เห็นว่าจำเป็นต่อสุขภาพและการป้องกันโรคระบาดในพื้นที่ ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง การอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๕ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๓ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล (๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้า หนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน (๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) (๑.๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัด หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ (๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๑.๕) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๑.๖) รถขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความติดด้านข้างและด้านหลังรถดังนี้ รถขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ปริมาตรบรรจุ ..................................................ลูกบาศก์เมตร ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ใบอนุญาตเลขที่ ..................../............................ ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ (๑.๗) ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน (๑.๘) ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น (๑.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติระเบียบ และการประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒.๑) ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม และมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลและอยู่ประจำที่ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล (๒.๒) เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และสวมผ้าปิดปากจมูก ขณะปฏิบัติงาน (๒.๓) เจ้าหน้าที่จะต้องดูแลให้รถสูบสิ่งปฏิกูลต้องทิ้งสิ่งปฏิกูลลงถังหมักตรงตามถังที่กำหนดในแต่ละวันเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งปฏิกูลหมักนานอย่างน้อย ๒๘ วัน (กรณีมีความจำเป็นต้องใส่ สิ่งปฏิกูลหลาย ๆ ครั้ง หรือหลาย ๆ วันในหนึ่งถัง เนื่องจากสิ่งปฏิกูลยังไม่เต็มถังให้เริ่มต้นนับจากวันที่ ใส่สิ่งปฏิกูลครั้งสุดท้าย) (๒.๔) ถ้ามีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด (๒.๕) ต้องปิดฝาถังหมักสิ่งปฏิกูลทุกครั้ง หลังจากที่ใส่สิ่งปฏิกูลลงในถังหมักแล้ว (๒.๖) เจ้าหน้าที่ดูแลระบบจะต้องลงบันทึกเลขที่รถสูบสิ่งปฏิกูล และปริมาตรสิ่งปฏิกูลที่นำมาทิ้งทุกครั้งเป็นการป้องกันไม่ให้รถนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งที่อื่น (๒.๗) ทุกครั้งที่ปล่อยสิ่งปฏิกูลจากถังหมัก เมื่อสิ่งปฏิกูลไหลออกจะหมดให้ใช้ไม้แหย่ท่อระบายเพื่อช่วยให้ตะกอนที่ค้างอยู่ก้นถังหมักไหลออกมาให้หมด และควรใช้น้ำฉีดไล่ตะกอน ที่ค้างอยู่ก้นถังหมักอย่างน้อย ๓ เดือนต่อครั้ง (๒.๘) การดูแลลานทรายกรอง ให้ทำความสะอาดหน้าลานทรายกรอง เมื่ออัตราการซึมเริ่มช้าลงโดยใช้อุปกรณ์ลอกหน้าลานทรายออกแล้วเติมทรายใหม่ และต้องคอยเติมทรายให้ได้ความสูงตามที่กำหนดไว้ (๒.๙) การโกยตะกอนที่ตากแห้งแล้วไปทำปุ๋ย ให้ทิ้งไว้นาน ๓ วัน หลังจาก ที่ตะกอนแห้งแล้วจึงโกยตะกอนที่ตากแห้งสนิทนำไปบดก่อนนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ย (๒.๑๐) หากมีอุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดต้องแจ้งซ่อมทันที (๒.๑๑) เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร (๒.๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาดปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย (๓.๑) ควบคุมดูแลมิให้มีการบรรทุกขยะเกินพิกัดน้ำหนักที่กำหนดไว้สำหรับ รถเก็บรวบรวมขยะนั้น ๆ (๓.๒) ปฏิบัติตามข้อจำกัดน้ำหนัก และระเบียบวิธีการขนส่งวัสดุบนถนนสาธารณะ ซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๓.๓) ขยะจะต้องถูกขนส่งในภาชนะบรรจุหรือตู้ที่ปิดของยานพาหนะขนส่ง อาทิการปิดฝาด้านข้างและด้านท้ายของรถยนต์เก็บขนขยะแบบเปิดข้างเทท้ายในระหว่างการขนส่ง (๓.๔) ควบคุมการรั่วไหลของน้ำชะขยะระหว่างการขนส่งโดยการจัดให้มีถังรองรับน้ำชะขยะ (Holding tank) (๓.๕) ควบคุมการหกหล่น ปลิวฟุ้งของขยะออกนอกยานพาหนะขนส่งโดยจัดให้มีผ้าใบหรือตาข่ายปกคลุมขยะในระหว่างการขนส่ง (๓.๖) ขนส่งขยะรีไซเคิลแยกต่างหากจากขยะย่อยสลาย ขยะทั่วไปและขยะอันตราย (๓.๗) ขยะอันตรายจะต้องขนส่งแยกต่างหากจากขยะรีไซเคิล ขยะย่อยสลาย และขยะทั่วไป และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อกำหนดของการขนส่งวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓.๘) กำจัดความเร็วของรถในช่วงที่วิ่งผ่านชุมชนบริเวณทางร่วมหรือทางแยกให้มีความเร็วไม่เกิน ๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อป้องกันปัญหาด้านการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและอุบัติเหตุ (๓.๙) พนักงานขับรถจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด (๓.๑๐) มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บ ขน มูลฝอย อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๓.๑๑) ห้ามมิให้ระบายน้ำชะขยะและน้ำเสียที่เกิดจากการล้าง หรือทำความสะอาดรถยนต์เก็บขนขยะลงสู่แม่น้ำ แหล่งน้ำ ลำคลองระบายน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติอื่น ๆ โดยปราศจากการบำบัดจนได้ค่าตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายแสดงทางเข้าสถานที่กำจัดขยะให้ชัดเจน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา (๓.๑๒) รถเก็บขนมูลฝอยต้องมีข้อความติดด้านข้างและด้านหลังรถดังนี้ รถเก็บขนมูลฝอย ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ใบอนุญาตเลขที่ ..................../............................ ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ (๓.๑๓) ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน (๓.๑๔) ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น (๓.๑๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติระเบียบ และการประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย (๔.๑) การกำจัดมูลฝอยต้องถูกหลักสุขาภิบาลและมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและประชาชนข้างเคียง รวมทั้งการป้องกันเหตุรำคาญ เช่น (๔.๑.๑) ระบบเตาเผา (Incinerater) ต้องควบคุมไม่ก่อให้เกิดเขม่า เถ้า ฝุ่นละออง ที่ไปกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนข้างเคียง (๔.๑.๒) ระบบฝังกลบ (Sanitaly Land - fill) ต้องมีระบบรองรับน้ำขยะ (Leachate) ไปกำจัดโดยต้องควบคุมไม่ปล่อยให้ไปปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ (๔.๑.๓) ระบบหมักเป็นปุ๋ย (Decompose) ต้องควบคุมไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นที่รุนแรง หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค โดยเฉพาะแมลงวัน หนู แมลงสาบหรืออื่น ๆ (๔.๒) ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม หรือมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบกำจัดมูลฝอยและอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานที่ระบบกำจัดมูลฝอย (๔.๓) เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และสวมผ้าปิดปากปิดจมูก ขณะปฏิบัติงาน (๔.๔) มีการตรวจสุขภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (๔.๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๑๖ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ โดยอนุโลม ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป หรือหากประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการ หรือแก้ไขรายการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๓) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ โดยประทับตราสีแดงว่า “ใบแทน” กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้ง ลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๔) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น (๕) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิมระบุสาเหตุการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักการทำงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวหรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้อง ด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ๔. รายการต่ออายุใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียม ๕. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ๖. คำร้องขออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๔๓/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802645
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการควบคุม สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว และนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่องสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวว่าด้วยการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ หรือที่มีกำหนดไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “สถานที่จำหน่ายอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม “สถานที่สะสมอาหาร” หมายความว่า อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรอง การแจ้งก่อนการจัดตั้ง ข้อ ๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหาร (๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย (๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด (๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ (๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร (๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ (๑.๑) - (๑.๗) (๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ (๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย (๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวกำหนด (๒.๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ (๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ เนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร (๒.๘) จัดให้มีระบบ บำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอใบอนุญาต ผู้ช่วยจำหน่ายและผู้ปรุงอาหาร (๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหารจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่สะสมอาหารต้องดูแลรักษาสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑.๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค (๑.๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้ เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ (๑.๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑.๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ (๑.๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว (๒) สถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ดังต่อไปนี้ (๒.๑) สถานที่รับประทานอาหาร เตรียม – ปรุง – ประกอบอาหารต้องสะอาด เป็นระเบียบ และจัดเป็นสัดส่วน (๒.๒) ไม่เตรียมปรุงอาหารบนพื้นและบริเวณหน้า หรือในห้องน้ำ ห้องส้วม และต้องเตรียมปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒.๓) ใช้สารปรุงแต่งอาหารที่มีความปลอดภัยมีเครื่องหมายรับรองของอาหาร ทางราชการ เช่น เลขสารบบอาหาร (อย.) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.) (๒.๔) อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงหรือเก็บ การเก็บอาหารประเภทต่าง ๆ ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบ เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส (๒.๕) อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒.๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาดเก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด ใช้อุปกรณ์ ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และต้องไม่มีสิ่งของอย่างอื่นแช่รวมไว้ (๒.๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหลและที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒.๘) เขียงและมีดต้องมีสภาพดีแยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ และผักผลไม้ (๒.๙) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่ง สะอาด หรือวาง เป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๒.๑๐) มูลฝอย และน้ำเสียทุกชนิดได้รับการกำจัดด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาล (๒.๑๑) ห้องส้วมสำหรับผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหารต้องสะอาดมีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดีและมีสบู่ล้างมือใช้ตลอดเวลา (๒.๑๒) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อน ที่สะอาดสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม (๒.๑๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมปรุง ประกอบ จำหน่ายอาหารทุกครั้ง ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วทุกชนิด (๒.๑๔) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิดหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงาน ที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร (๒.๑๕) ผู้สัมผัสอาหารที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภคโดยมีน้ำ และอาหารเป็นสื่อให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด (๒.๑๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนด ในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่า สองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๖ การออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ประทับตราว่า “ใบแทน” กำกับไว้และให้มี วัน เดือน ปีที่ออกใบแทนพร้อมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและใบต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิมระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลา ที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต (๓) ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ช่วยจำหน่ายและผู้ปรุงอาหาร (๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ประกาศกำหนด เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราว ในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดง ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับ ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๔ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย ข้อ ๒๕ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่า จะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้าม การดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้ ข้อ ๒๖ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียม ที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๓. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ๔. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๘๒/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802652
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยตลาด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวและนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “ตลาด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “อาหารสด” หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด “อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ” หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า “อาหารประเภทปรุงสำเร็จ” หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ “สุขาภิบาลอาหาร” หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค “การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล” หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาด ให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้ หมวด ๑ ลักษณะของตลาด ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้ (๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ (๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒ ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ส่วนที่ ๑ ตลาดประเภทที่ ๑ ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวม หรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง (๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง (๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น (๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่ายไม่มี น้ำขังและไม่ลื่น (๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด (๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ (๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ (๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง (๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบาย น้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูลโดย (ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง (ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้ กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง (๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้งและทางระบายน้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย (๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้ ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนด ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ส่วนที่ ๒ ตลาดประเภทที่ ๒ ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือและที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร (๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์ (๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้ (๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบาย น้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน หรือบ่อพักน้ำเสียก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้ (๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และตั้งอยู่ในที่ ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วม ของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวงนี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หมวด ๒ การดำเนินกิจการตลาด ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร ข้อ ๒๐ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้นฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น (๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำ ทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้ (๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง (๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ (๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด (๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ (๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาด ของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด (๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย (๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น (๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญเกิดมลพิษที่เป็นอันตราย หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล (๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น (๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน (๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น หมวด ๓ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด (๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า (๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน (๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม (๕) การล้างตลาด (๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า ดังต่อไปนี้ (๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบ ต่อระบบการระบายอากาศ และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร (๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค (๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง (๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรค ในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนัง ที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยอาหาร (๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิ ไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ (๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร (๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาด และจัดเก็บที่ถูกต้อง หมวด ๔ ใบอนุญาต ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด ข้อ ๒๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขและการออกใบอนุญาตแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙ ด้วย ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียม ที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการ เสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับ ใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๕ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง ตลาด พ.ศ.๒๕๖๐ ๒. แบบขอรับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล.๑) ๓. ใบอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด (แบบ ตล.๒) ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งตลาด (แบบ ตล.๖) ๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดตั้งตลาด (แบบ ตล.๗) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๐๓/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802649
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้า ในที่หรือทางสาธารณะเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวและนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจำหน่ายสินค้า ในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ข้อบังคับตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจำหน่ายสินค้า ในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒) ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่ หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ หรือที่มีกำหนดไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน “อาหาร” หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอย ของประชาชนทั่วไป ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการ จัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้า ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้ การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้า ให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามจำหน่ายสินค้าในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศห้ามไว้ (๒) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๓) จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด ร่มหรือผ้าใบบังแดดรวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร (๔) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรงมีขนาด และความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๕) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ ทั้งในระหว่างทำการค้า และหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว (๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ (๗) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่น ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๘) ห้ามพาด ติดตั้งวางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือก หรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด (๙) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง (๑๐) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๑๑) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า (๑๒) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน และให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๑๓) หลังจากเลิกทำการค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจาก บริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า (๑๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ (๑) – (๑๔) (๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สวมหมวก หรือสิ่งที่สามารถเก็บรวบรวมผมให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันผมร่วงลงในอาหาร และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร (๓) ตัดเล็บมือให้สั้น และต้องรักษามือให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีบาดแผล ฝี หนอง บริเวณมือ นิ้ว หรือแขนต้องปิดบาดแผลให้มิดชิด (๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารหรือพูดคุยโดยไม่จำเป็นในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร หรือไม่ไอจามรดอาหาร (๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร และแผงวางจำหน่ายอาหารต้องทำด้วยวัสดุ ที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดีเป็นระเบียบต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร (๖) การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์ และวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร จะต้องล้างด้วยน้ำยาล้างภาชนะและล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้งหรือล้างด้วยน้ำไหลและต้องไม่ถ่ายเทน้ำล้างภาชนะที่มีเศษอาหารลงพื้นหรือลงสู่ท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ (๗) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับจำหน่ายด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน และสัตว์ ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๘) ในการจับต้องอาหารที่พร้อมเสิร์ฟต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการหยิบจับอาหาร (๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ปรุง ประกอบ แช่ ล้างอาหาร ภาชนะ เครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ (๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย และมีการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร สำหรับใส่หรือเตรียม ทำ ปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร (๑๑) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งไว้เอาด้ามขึ้น หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะที่โปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร (๑๒) อาหาร เครื่องปรุงรส และเครื่องดื่ม ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องมีฉลาก และเลขสารบบอาหาร (อย.) (๑๓) อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์เก็บในภาชนะที่ปิดสนิทและในอุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส (๑๔) อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วเก็บในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิดและเก็บในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในอาหารแต่ละชนิด (๑๕) น้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ต้องสะอาดใส่ในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมีก๊อก หรือทางเทรินมีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับตักโดยเฉพาะ และต้องไม่มีสิ่งของอื่นแช่ร่วมไว้ (๑๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดสูงจากพื้น ไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะและต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งอื่นแช่ไว้ (๑๗) ภาชนะที่ใช้สำหรับบริการน้ำดื่มแก่ผู้บริโภคประเภทใช้แล้วทิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ และประเภทใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ให้ล้างให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารทุกครั้งหลักจากใช้แล้ว (๑๘) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและเหตุรำคาญ อันเนื่องมากจากการปรุง ประกอบและจำหน่ายอาหาร (๑๙) การจำหน่ายอาหารที่มีการใช้น้ำมันและความร้อนจากเปลวไฟในการปรุง โครงสร้างต้องแข็งแรง มีอุปกรณ์ป้องกันการกระเด็นของน้ำมันและเปลวไฟต้องวางอยู่ในที่ซึ่งปลอดภัย ไม่เป็นทางสัญจรของประชาชนและไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน (๒๐) การจำหน่ายอาหารที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารต้องตั้งถังก๊าซ ในลักษณะตรงบนพื้นราบและแข็งแรง อยู่ห่างจากแหล่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๕๒ องศาเซลเซียส และเปลวไฟ หรือประกายไฟหรือวัสดุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่ายไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร ท่อนำก๊าซชนิดอ่อนควรใช้สายยางหรือพลาสติกชนิดหนาและเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซโดยเฉพาะ โดยมีความยาวท่อไม่เกิน ๒ เมตร (๒๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งอาหารในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ หลังจากจำหน่ายอาหารแต่ละวันต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอย นำไปกำจัดหรือนำไปทิ้งรวบรวมมูลฝอยและทำความสะอาดบริเวณพื้น รางระบายน้ำให้สะอาดไม่มีกลิ่น และคราบไขมันตกค้าง (๒๒) ห้ามนำสัตว์ทุกชนิดเข้ามาในบริเวณสถานที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผง จำหน่ายอาหาร (๒๓) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้เท่านั้น (๒) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย (๓) มูลฝอยที่เกิดจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะและจะต้องจัดให้มี ที่รองรับน้ำทิ้งที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าและต้องมีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ และต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอยนำไปกำจัดหรือนำไปทิ้งในที่รวบรวมมูลฝอยที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวจัดไว้ให้ (๔) ในขณะเร่ขายสินค้า ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือส่งเสียงดัง จนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า (๖) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๑๐ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘ (๒) แต่งกายสะอาด อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค (๓) ใช้วัสดุ ภาชนะ หีบห่อที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับใส่อาหาร (๔) ดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายอาหารให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ (๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ (๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สวมหมวก หรือสิ่งที่สามารถเก็บรวบรวมผมให้เรียบร้อย และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาดเรียบร้อยและสวมร้องเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร (๗) ตัดเล็บมือให้สั้น และต้องรักษามือให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีบาดแผล ฝี หนอง บริเวณมือ นิ้วหรือแขน ต้องปิดบาดแผลให้มิดชิด (๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอจามรดอาหารในขณะเร่ขายอาหาร (๙) ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ ดังต่อไปนี้ (๑) วัณโรค (๒) อหิวาตกโรค (๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) (๔) โรคบิด (๕) ไข้สุกใส (๖) โรคคางทูม (๗) โรคเรื้อน (๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ (๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส (๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายอาหาร (๔) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำ ขนาด ๑ นิ้ว ของผู้ขอรับ ใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายอาหาร จำนวนคนละ ๒ รูป (๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามกำหนดไว้ในข้อ ๑๑ (๒) ต้องมีการรวบรวมมูลฝอยที่ถูกต้องตามสุขลักษณะ (๓) ให้มีการจำหน่ายสินค้าได้เฉพาะพื้นที่และขอบเขตที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด (๔) ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด และจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓ ด้วย ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๒๒ การออกใบแทนใบอนุญาตให้พนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต ๓ ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑) ๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๒) ๔. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๓) ๕. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้เร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ ๔) ๖. ใบอนุญาตเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (สณ ๕) ๗. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้ได้รับใบอนุญาตเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ ๗๖ ๘. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะหรือเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ ๗) ๙. คำขออนุญาตการต่าง ๆ (แบบ สณ ๘ ) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๙๒/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802658
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ ประกอบมาตรา ๖๗ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวและนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย” หมายความว่า สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้ง จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวจัดไว้ให้ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้ โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติก ที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวยังไม่สามารถให้บริการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยได้เนื่องจากมีข้อจำกัดอื่นใด อันเป็นเหตุให้การเก็บขนมูลฝอยไม่ครอบคลุม ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ดำเนินการกำจัดมูลฝอยเองโดยวิธีการเผา หรือฝังหรือวิธีการอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถานต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถานรวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคารหรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๑๗/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802640
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวและนายอำเภอปางศิลาทอง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ว่าด้วยการกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้หรือที่มีกำหนดไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม ๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูกเขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ที่มิใช่เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง ๓. กิจการที่เกี่ยวอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยวซีอิ๊ว น้ำจิ้มหรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลาหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่งต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (๑๑) การผลิตไอศกรีม (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ (๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร ๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา (๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช (๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืช (๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด ๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (๒) การถลุงแร่ การหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักรหรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือกหรือล้างแร่ ๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้าระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า ๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำ เร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป (๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน ๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) (๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลดหรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย ห รือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว ๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ ๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บดหรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน (๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม (๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕) ๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ (๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำลาย (๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา (๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว ๑๓. กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถานสถานศึกษาโรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยพักฟื้น หรือผู้พิการ สถานที่ราชการ หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยผังเมือง และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะ (๑.๑) อาคารต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๑.๒) พื้นต้องทำด้วยคอนกรีต หรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรง อยู่ในสภาพดี เหมาะสมปลอดภัย ไม่สึกกร่อน และทำความสะอาดง่าย (๑.๓) ผนังต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง และทำความสะอาดง่าย (๑.๔) หลังคาต้องมุงด้วยกระเบื้องหรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรง (๑.๕) มีประตู หรือทางเข้า-ออก สถานประกอบกิจการ ที่มีความกว้างเพียงพอกับการเข้า-ออกของยานพาหนะ และการเคลื่อนย้ายในกรณีฉุกเฉิน (๑.๖) มีการแบ่งพื้นที่ดำเนินกิจการแต่ละส่วนอย่างเป็นสัดส่วนและเหมาะสม (๑.๗) มีการระบายอากาศในอาคารโดยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกล และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม (๑.๘) ทำความสะอาด และบำรุงรักษาอาคาร รวมทั้งพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ อย่างเหมาะสม (๑.๙) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๑.๑๐) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน (๒) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ (๒.๑) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ รวมถึงสวิตซ์และสายไฟต่าง ๆ ต้องติดตั้งหรือจัดเก็บอย่างเป็นสัดส่วน เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี (๒.๒) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ ที่มีส่วนที่เป็นอันตรายต้องมีครอบป้องกันอันตราย (๒.๓) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลือกนอกเป็นโลหะจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าได้มาตรฐาน เช่น สายดิน และเครื่องตัดไฟรั่ว เป็นต้น (๒.๔) การเดินสายไฟต้องเดินสายไฟให้เรียบร้อย หรือเดินในท่อร้อยสาย (๒.๕) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต้องได้รับการตรวจตราเป็นประจำ หากพบการชำรุดต้องดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไข พร้อมทั้งต้องมีป้ายหรือสัญญาณเตือนกรณีเครื่องจักรชำรุดหรือขัดข้อง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน (๓) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ และการสุขาภิบาล (๓.๑) จัดให้มีน้ำดื่มที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม สำหรับบริการผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่แยกออกจากบริเวณการผลิต โดยลักษณะการจัดบริการน้ำดื่มต้องปราศจากความสกปรกหรือการปนเปื้อน (๓.๒) จัดให้มีน้ำใช้ที่สะอาด และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ในแต่ละวัน (๓.๓) สถานประกอบการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้ให้บริการแก่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร (๓.๔) จัดให้มีอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ (๔) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง (๔.๑) มีการป้องกัน ควบคุม หรือบำบัดกลิ่นจากการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง (๔.๒) มีการป้องกันควบคุมไอระเหยของสารเคมี และฝุ่นละอองจากการประกอบกิจการเพื่อไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔.๓) มีการควบคุมระดับเสียง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการน้ำเสีย มูลฝอย ของเสียอันตราย และสิ่งปฏิกูล (๕.๑) ต้องจัดให้มีรางหรือท่อระบายน้ำ บ่อพักที่มีขนาดเพียงพอโดยต้องจัดทำบ่อดักไขมันที่มีขนาดเพียงพอ (๕.๒) มีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียจากการประกอบกิจการรวมถึงน้ำชะล้างจากลานกองเก็บวัตถุดิบ ก่อนระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕.๓) จัดให้มีภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยมีการทำความสะอาดภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ รวมทั้งมีการรวบรวมและกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ (๕.๔) มีการจัดการกากของเสีย สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หรือวัสดุที่เสื่อมคุณภาพจากกระบวนการผลิต รวมถึงวัสดุอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕.๕) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม และอ่างหรือที่ล้างมือ พร้อมสบู่ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม โดยจัดห้องส้วมแยกชาย-หญิง และมีจำนวนอย่างน้อยในอัตรา ๑ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๑๕ คน อัตรา ๒ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๔๐ คนอัตรา ๓ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๘๐ คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ในอัตราส่วน ๑ ที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๕๐ คน (๖) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันเหตุรำคาญจัดให้มีมาตรการ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาเหตุรำคาญที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสภาพความเป็นอยู่โดยปกติแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง (๗) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (๗.๑) จัดให้มีทางหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน พร้อมแผนผังแสดงโดยต้องมีป้ายแสดงให้เห็นเด่นชัดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน (๗.๒) จัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และเครื่องมือดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องมีการบันทึกผลการตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย ๖ เดือน/ครั้ง (๗.๓) มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่ผู้ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของจำนวนผู้ปฏิบัติงาน ในแต่ละแผนกของสถานประกอบกิจการนั้น และจัดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง กรณีที่ผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗.๔) มีสถานที่จัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการประกอบกิจการ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และแยกออกจากบริเวณการผลิตอื่น ๆ โดยต้องจัดให้มีป้ายแสดงชนิด ประเภทของสารเคมีแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจน จัดให้มีบัญชีรายชื่อและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี(SDS : safety data sheets) โดยเอกสารทั้งหมดให้แสดงเป็นภาษาไทย จัดเก็บไว้ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย (๗.๕) จัดให้มีแสงสว่างภายในสถานประกอบกิจการที่เพียงพอตามลักษณะงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗.๖) มีการควบคุมปริมาณฝุ่นละออง และความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗.๗) จัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุมปัญหาเสียงดังภายในสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗.๘) มีการควบคุมความร้อนภายในสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๗.๙) จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เพียงพอและเหมาะสมตามลักษณะงาน เช่น หน้ากากป้องกันกลิ่น ไอระเหยสารเคมี ที่ครอบหูหรือที่อุดหูและแว่นตากรองแสง เป็นต้น และจัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ทั้งนี้ ต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาการปฏิบัติงาน (๗.๑๐) จัดให้มีคู่มือหรือเอกสารที่แสดงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน ณ จุดปฏิบัติงาน ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย (๘) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน (๘.๑) จัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานแรกรับเข้าทำงาน และผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ทุกปี และตรวจตามปัจจัยเสี่ยง ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (๘.๒) ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมหรือให้ความรู้ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เช่น ทักษะในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย สุขอนามัยส่วนบุคคล และวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เป็นต้น พร้อมทั้งมีการบันทึกผลของการอบรมทุกครั้ง (๘.๓) จัดให้มีสถานที่ชำระล้างร่างกาย และชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ภายในสถานประกอบกิจการ (๘.๔) กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต้องมีการดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย รวมทั้งมีการส่งต่อผู้ป่วยได้ทันท่วงที (๘.๕) จัดให้มีมาตรการควบคุมการทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลากหรือเข็นของหนักของผู้ปฏิบัติงานไม่เกินน้ำหนักที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดต้องจัดให้มีและให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน (๘.๖) มีข้อบังคับกับผู้ปฏิบัติงาน มิให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่หรือเสพสารเสพติด และไม่รับประทานอาหาร ขณะปฏิบัติงาน (๙) หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุม สัตว์และแมลงพาหะนำโรคจัดให้มีมาตรการป้องกัน ควบคุม สัตว์และแมลงพาหะนำโรคในพื้นที่สถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำ ขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต (๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) สำเนารายงานการประชุมประชาคมหมู่บ้านที่มีมติให้ประกอบกิจการได้ (๕) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำของผู้ขอรับใบอนุญาตขนาด ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๒ รูป (๖) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ประกาศกำหนด ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้นแล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้ จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๑๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๒๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๔ บรรดาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันบังคับใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น ข้อ ๒๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ปัณยา ประดาพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปางตาไว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๕. คำขออนุญาตเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ๗. คำขอโอนดำเนินกิจการ ๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๖๔/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802609
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ว่าด้วย การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้และนายอำเภอหัวหิน จึงได้ตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้นับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้แล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น ๆ และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และให้หมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวด้วย” “เหตุรำคาญ” หมายความว่า เหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัย ในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ (๑) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสม หรือหมักหมมของสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุ ให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิด ความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๓) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจาก กลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๔) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๕) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “สถานประกอบการ” หมายความว่า อาคาร สถานที่ ซึ่งใช้ในการประกอบกิจการค้า การพาณิชย์ หรือกิจการอื่นใด อันมีลักษณะเป็นการหากำไร แต่ไม่รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ หรือผู้ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้มอบหมาย “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนตำบล และลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง ข้อบังคับ หรือประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเก็บ แยก ขน ทิ้ง รวบรวม และกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยของอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้น ๆ (๒) กำหนดจำนวนรูปแบบและสุขลักษณะของที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้น ๆ (๓) กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้น ๆ (๔) กำหนดการอื่นใดเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรืออาคารสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารสถานที่ในความครอบครองของตน ไม่ให้มีมูลฝอย สิ่งปฏิกูลหรือมีการถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอย สิ่งปฏิกูลที่ขัดต่อสุขลักษณะ ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ภายในอาคารหรือสถานที่นั้นอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท คุ้ยเขี่ย ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยนอกที่รองรับสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ จัดให้มีขึ้น เว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่ หรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ห้ามมิให้ผู้ใดขุดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือนำสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไปฝังหรือถมในสถานที่ใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๗ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม ไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใด ขน นำพา หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ในภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมีกลิ่นรั่วซึมออกมาภายนอก และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ยานพาหนะทางบก และทางน้ำซึ่งได้จัดห้องสุขาที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีมูลฝอย หรือสิ่งปฏิกูลในที่หรือทางสาธารณะ หรือสาธารณะอื่นใด เป็นต้นว่า ถนน ซอย ตรอก แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ ฯลฯ หรือในที่ของเอกชน เว้นแต่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขอนุญาตไว้ให้โดยเฉพาะ ผู้ใดฝ่าฝืนความตามวรรคหนึ่งต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนดำเนินการจัดเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยจากสถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ไปทิ้งในที่ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้โดยเฉพาะก็ได้ เพื่อให้การเป็นไปโดยเรียบร้อยตามวรรคสอง หากผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติได้ตามคำสั่งในวรรคสอง เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทนผู้ฝ่าฝืนโดยผู้ฝ่าฝืนต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่รองรับมูลฝอย ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยวิธีการอันอาจทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำ โดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดคุ้ยเขี่ย ขุด ขน มูลฝอยในที่รองรับมูลฝอย รถหรือเรือเก็บขนมูลฝอย หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ เว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๑๓ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคารหรือสถานที่ใด บริเวณใดควรทำการเก็บขน สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ไปทำการกำจัดให้ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ ณ ที่เปิดเผย โดยกำหนดบริเวณที่ต้องทำการขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันประกาศแล้ว เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้น เก็บ ขนสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยจากอาคารสถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือสถานที่นั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๔ การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลทับใต้ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้มีอำนาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม สำหรับการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยสำหรับอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ ศาสนสถาน และสถานที่เอกชน ที่ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ฯ เป็นต้น กิจการรับทำการเก็บขน หรือการกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ บทบัญญัติตามข้อ ๑๔ และตามข้อ ๑๕ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น นอกจากนี้การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน รวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมในการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือผู้ได้รับมอบหมายต้องจัดให้มีพนักงานขับรถ พนักงานเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อย่างพอเพียงและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล (๒) รถที่ใช้ในการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะดังนี้ (๒.๑) ส่วนของรถที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลนั้นต้องปกปิดมิดชิด ไม่รั่วซึม สามารถป้องกันกลิ่น และสัตว์พาหนะนำโรคได้ (๒.๒) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม (๒.๓) รถขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก (๒.๔) มีปั๊มหรืออุปกรณ์ใดที่สามารถใช้ในการดูดสิ่งปฏิกูล (๒.๕) รถขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความว่า “รถดูดส้วม” และแสดงรายการเบื้องต้นดังนี้ อัตราหน่วยการบรรจุ เลขทะเบียนใบอนุญาต ชื่อหน่วยงานอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ด้วยตัวหนังสือที่เห็นชัดเจน (๒.๖) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ (๒.๗) มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มแข้งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน (๓) ในการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องมีการดำเนินการที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ทางสิ่งแวดล้อมและแหล่งกำจัดนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลกำจัด ณ สถานที่แห่งใด (๔) ห้ามเท ปล่อยหรือระบายสิ่งปฏิกูลจากยานพาหนะลงในแหล่งน้ำ ที่สาธารณะโดยเด็ดขาด และที่ส่วนบุคคลต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของที่ดิน (๕) ต้องมีการทำความสะอาดรถที่ได้ใช้เก็บ ขนสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องได้รับการบำบัด หรือจัดการด้วยประการอื่นก่อนปล่อยทิ้ง โดยที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ (๖) พนักงานผู้ทำการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมถุงมือยางและรองเท้ายาง หรืออุปกรณ์ใดที่สามารถป้องกันการสัมผัสกับสิ่งปฏิกูลได้โดยถูกต้องตามหลักสุขลักษณะทุกครั้ง ที่ทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล ข้อ ๑๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยดังนี้ (๑) ผู้ที่ได้รับอนุญาตหรือผู้ได้รับมอบหมายต้องจัดให้มีพนักงานขับรถ พนักงานเก็บขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์อย่างพอเพียงและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย (๒) รถที่ใช้ในการเก็บและขนมูลฝอยต้องมีลักษณะดังนี้ (๒.๑) ส่วนของรถที่ใช้สำหรับมูลฝอยนั้นต้องมีโครงสร้างที่สามารถป้องกันการปลิว การตกหล่น และการรั่วซึมของมูลฝอยในขณะทำการจัดเก็บและขนย้าย อีกทั้งป้องกันกลิ่นและสัตว์พาหนะนำโรคได้ (๒.๒) รถเก็บ ขน ขยะมูลฝอยเอกชนต้องมีข้อความว่า “รถเก็บขนขยะมูลฝอย” และแสดงรายการเบื้องต้นดังนี้ เลขทะเบียนใบอนุญาต ชื่อหน่วยงานอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ด้วยตัวหนังสือที่เห็นชัดเจน (๒.๓) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ (๓) พนักงานผู้ทำการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยต้องสวมถุงมือยาง และรองเท้ายางหรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถป้องกันการสัมผัสกับมูลฝอยได้โดยถูกต้องตามหลักสุขลักษณะทุกครั้ง ที่ทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย (๔) ต้องมีการทำความสะอาดรถที่ได้ใช้ขนถ่ายมูลฝอยอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องได้รับการบำบัด หรือจัดการด้วยประการใดก่อนปล่อยทิ้ง โดยที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ (๕) ในการกำจัดมูลฝอยต้องมีการดำเนินการที่ถูกหลักสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ทางสิ่งแวดล้อม และแหล่งกำจัดนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ (๖) ให้การดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยที่อยู่ในที่หรือทางสาธารณะ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ รวมทั้งมูลฝอยที่เกิดจากการจัดงานมหรสพหรือกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐซึ่งจัดให้มีขึ้นภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้ได้รับใบอนุญาตโดยไม่คิดค่าบริการได้ ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๕ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมทั้งยื่นหลักฐานตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๑๙ การยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาต คำขอต่อใบอนุญาต หรือคำขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ผู้ยื่นต้องยื่นคำร้องหรือคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมด้วยหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมรับรอง สำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ชุด (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ชุด (๓) สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถที่ใช้ประกอบกิจการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ชุด (๔) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้แทนนิติบุคคล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน ๑ ชุด (๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๖) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องหรือคำขอแทน) ข้อ ๒๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอใบอนุญาต ให้ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้กำหนด ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องและความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๑ ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะไว้ในใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปนอกจากที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้มารับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ หากผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะทำการแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้แจ้งและยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้กำหนดโดยเร็ว ข้อ ๒๓ ในการให้บริการตามใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือสัญญากับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบกรณีผิดสัญญา โดยต้องร่างสัญญาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบก่อนภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันเริ่มดำเนินการให้บริการ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการท้ายข้อบัญญัติ ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้ (๑) รักษาคุณสมบัติตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๖ หรือข้อ ๑๗ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต (๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามใบอนุญาต (๓) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้ง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในสามสิบวันก่อนวันสิ้นอายุของใบอนุญาต ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกาศกำหนด และให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๖ ใบอนุญาตมีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้บังคับได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้เท่านั้น หากใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแจ้ง แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเร็ว ข้อ ๒๗ กรณีใบอนุญาตสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี ข้อ ๒๘ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอเลิกดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเร็ว ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้โดยง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๐ กรณีปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักการใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่คราวหนึ่งต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ถ้าไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตและการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติ ไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะ ความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น ข้อ ๓๒ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือ แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาต ผู้ดำเนินการหรือผู้ใดทราบ ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับ หนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีคำสั่งในเรื่องเกี่ยวกับการออก ใบอนุญาตหรือการไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือสั่งพักใบอนุญาตหรือเพิกถอน ใบอนุญาตหรือคำสั่งอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัตินี้ ถ้าผู้ที่ได้รับคำสั่งดังกล่าวไม่พอใจให้ผู้นั้น มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งนั้น การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เว้นแต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับ การพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ พิจารณาอุทธรณ์ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับรายงาน ในกรณีมีความจำเป็นไม่อาจพิจารณาอุทธรณ์ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ ให้ขยายระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นอย่างใดแล้ว หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือพร้อมด้วยเหตุผลไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป คำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมชำระค่าปรับภายในสิบห้าวันนับจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้แจ้งโทษปรับให้ดำเนินคดีต่อไป ข้อ ๓๕ หากมีการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้ผู้ดำเนินการถือปฏิบัติตามที่กฎกระทรวงกำหนดไว้โดยอนุโลม และแจ้งการดำเนินการให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจ ออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชุมพล ดากล่อม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. ใบขออนุญาตประกอบกิจการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ๓. คำขอต่ออายุ ใบอนุญาตประกอบกิจการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ๔. คำขอรับ ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำ การเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือขยะมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอนแทนด้วยการคิดค่าบริการ (แบบ สม.๑) ๕. ใบอนุญาต ประกอบกิจการเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม.๒) ๖. คำขอต่ออายุ ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำ การเก็บ ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล (แบบ สม.๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
802615
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้และนายอำเภอหัวหิน จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้แล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๒ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใดในส่วนที่ได้ตราไว้ก่อนข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจ ตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้ “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ดำเนินกิจการ” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น “คนงาน” หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ “มลพิษทางเสียง” หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษความสั่นสะเทือน” หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางอากาศ” หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “มลพิษทางน้ำ” หมายความว่า สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ (๖.๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ (๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด (๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมเพื่อประโยชน์ของกิจการนี้ ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม (๖.๒) กิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์ (๑) การฆ่าสัตว์ หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ (๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป (๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์ (๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่ เพื่อเป็นอาหาร (๖) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์ (๗) การผลิต การแปรรูป การสะสม หรือการล้างครั่ง (๖.๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรืผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (๗) การผลิตบะหมี่ มักโรนี สปาเก็ตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม ผลิตภัณฑ์เนยผสม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๑) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๔) การผลิต สะสมหรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำสมสายชู ข้าวหมัก น้ำตาลเมา ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด (๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร (๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม ยกเว้นการผลิต เพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ (๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็ง (๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร (๖.๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด (๑) การผลิต การโม่ การบด หรือบรรจุยาด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ รวมทั้งสบู่ที่ใช้ในกับร่างกาย ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี (๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป (๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๖.๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร (๑) การผลิต การสะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช (๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ (๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน (๕) การผลิตยาสูบ (๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช ด้วยเครื่องจักร (๗) การผลิต การสะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย (๘) การผลิตเส้นใยจากพืชด้วยเครื่องจักร (๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด (๖.๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะ หรือแร่ (๒) การหลอม การหล่อ การถลุง แร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑) (๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑) (๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑) (๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมีหรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการ ใน ๖.๖ (๑) (๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่ (๖.๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล (๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิม ยานยนต์ (๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล (๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย (๕) การล้าง การขัด การเคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์ (๖) การผลิต การสะสม การจำหน่าย การซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่ (๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ (๘) การผลิต การซ่อม การประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ (๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร เครื่องกลเก่า (๖.๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้ (๑) การผลิตไม้ขีดไฟ (๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิต การพ่น การทาสารเคลือบเงาหรือสี การตกแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้ หรือหวาย หรือชานอ้อย (๔) การอบไม้ (๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูปด้วยเครื่องจักร (๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ (๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ (๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน (๖.๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ (๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการในข้อ ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในข้อ ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็น การให้บริการในข้อ ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการ พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน (๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ (๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน (๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการในข้อ ๖.๙ (๑) (๑๐) การจัดให้มีการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่นในทำนองเดียวกัน (๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย (๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก (๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม (๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์ (๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม (๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย (๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ (๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ ชั่วคราว (๖.๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ (๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้า ด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป (๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ (๓) การปั่นฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร (๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร (๕) การเย็บ การปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป (๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ (๗) การซัก การอบ การรีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร (๘) การย้อม การฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ (๖.๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา (๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร (๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง (๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการในข้อ ๖.๑๑ (๒) (๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ (๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน (๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น (๙) การผลิต การตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว (๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย (๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว (๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการในข้อ ๖.๖ (๕) (๖.๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี (๑) การผลิต การสะสม การบรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย (๒) การผลิต การสะสม การบรรจุ หรือขนส่งก๊าช (๓) การผลิต การสะสม การกลั่น หรือขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (๔) การผลิต การสะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก (๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๖.๗ (๑) (๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๗) การโม่ การสะสม หรือบดชัน (๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี (๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์ (๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง (๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง (๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง (๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง (๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคมีเคลือบเงา (๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค (๑๗) การผลิต การสะสม หรือบรรจุกาว (๖.๑๓) กิจการอื่น ๆ (๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร (๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง (๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร (๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้ (๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า (๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (๘) การพิมพ์ การเขียน การพ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ (๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือ ประมง สะพาน หรือแพปลา (๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร (๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค (๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง (๑๓) การผลิต การสะสม หรือส่งไบโอดีเซลและเอทานอล หมวด ๒ หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทั่วไป ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ที่ตั้งอยู่ในเขตกฎหมายผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถานบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญ ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๖ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสม ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก (๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง (๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๖) ต้องให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ และต้องจัดสถานที่มิให้เป็น ที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค (๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ (๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ (๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข (๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ (๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่ เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ (๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ข้อ ๑๑ สถานที่ประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย วัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ สถานที่ประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค ที่ติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมวด ๓ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วย ควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง อย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด หรือเป็นที่ยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๔ การควบคุมเสียง มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการ ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง ข้อ ๑๘ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังไม่กำหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่าง ๆ สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้เลือกนำค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ในข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม หมวด ๕ ใบอนุญาต ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (กอ. ๑) พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) สำเนาใบอนุญาตอื่น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) อื่น ๆ ข้อ ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ให้ครอบคลุม ทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข และด้านความปลอดภัย ข้อ ๒๒ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วน ตามความในข้อ ๑๐ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒ ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วย เหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๖ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต หรือไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา ตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ผู้ขอรับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายใน สิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่รับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาต สิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียม ภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๒๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้เท่านั้น ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องทำคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๒๖ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ (ตามแบบ กอ. ๓) เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระที่สำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐานดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ ข้อ ๒๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้ (๑) การออกใบแทนใบอนุญาตใช้แบบ กอ. โดยประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้พร้อมวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วแทน (๒) บันทึกในใบต้นขั้วใบอนุญาตเดิมการระบุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญของใบอนุญาต พร้อมวัน เดือน ปี ของใบแทนใบอนุญาตที่ออกใหม่ ข้อ ๒๙ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้ (๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๑ (๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒ (๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓ (๔) คำร้อง หรือคำขออื่นใดนอกจากที่ระบุข้างต้น (๑) – (๓) ให้ใช้แบบคำร้องทั่วไป หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๓๐ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้ ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัติ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้ขอรับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันเปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๓ ผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๖ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ ๖ อยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่ง ดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชุมพล ดากล่อม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.๑) ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒) ๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/ผู้จัดทำ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑๒/๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑
801646
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย และนายอำเภอพิบูลย์รักษ์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย เรื่อง การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “มูลฝอยติดเชื้อ” หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น ซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้ กรณีมูลฝอยต่อไปนี้ ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัย เรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ (๑) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์และการใช้สัตว์ทดลอง (๒) วัสดุ ของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์ (๓) วัสดุซึ่งสัมผัส หรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ วัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง (๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง “ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง” หมายความว่า ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “สถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า (๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ (๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “สถานพยาบาลของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ” หมายความว่า สถานพยาบาลสัตว์ของราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทยและสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่น ของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งได้แก่ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย และห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุข ที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้ ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา “ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้ง สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึง ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาล ของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการ สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ “ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย” หมายความว่า ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย “ราชการส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๕ การจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลในการดำเนินการขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแทนภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใด เป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ด้วยการคิดค่าบริการก็ได้ บทบัญญัติตามข้อนี้ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งต้องจัดการตามกฏหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยติดเชื้อแทน หรืออนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยติดเชื้อแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาติให้บุคคลใดดำเนินการกิจการขนมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งมูลฝอยติดเชื้อนอกจากถ่าย เท หรือทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่ หรือตามวิธีที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย กำหนดหรือจัดให้ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะ หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยที่ติดเชื้อที่ถ่าย เท หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เว้นแต่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำเนินการ สถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฎิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแจ้งขอใช้ระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยจะได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และเมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้ ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง (๒) ในการขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ในการขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง (๓) ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคนโดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๒) ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง (๔) ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๒) และ (๓) จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๓) ก็ได้ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของทางราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๓) เป็นผู้รับผิดชอบในการขนและการกำจัดมูลฝอย ติดเชื้อนั้นหรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งซึ่งผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้ ข้อ ๑๑ ในการขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข หรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายควบคุม ดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตาม และดำเนินการขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๒ ในการขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของทางราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในการขน และกำจัดมูลฝอย ติดเชื้อดำเนินการ ขน และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและของบุคคล ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และดำเนินการขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลาและเส้นทางขนตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และกฏหมายที่เกี่ยวข้องให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย ข้อ ๑๓ บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการขน และการกำจัด มูลฝอยติดเชื้อและดำเนินการขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ในข้อบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัติ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวด ๒ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ส่วนที่ ๑ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๑๕ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ดังต่อไปนี้ (๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง (๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับ บรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุง ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องใช้เพียงครั้งเดียวและต้องทำลายพร้อมกับ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ข้อ ๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๓ ต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถังต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิด และป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ (๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติก หรือวัสดุอื่น ที่มีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องมีสีแดง ทึบแสง และมีข้อความสีดำ ที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้ คู่กับตราหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และต้องมีข้อความว่า “ห้ามนำกลับมาใช้อีก” และ “ห้ามเปิด” ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุขมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง สถานบริการการสาธารณสุข ดังกล่าวจะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อและในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้ เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ให้ระบุวันที่ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ การขน และการกำจัด ข้อ ๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม ทำความสะอาดได้ง่าย และต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาจะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้ ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่งให้ใช้ได้หลายครั้ง แต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ ข้อ ๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ต่อไปนี้ (๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อนั้นและต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๓ โดยไม่ปะปนกับมูลฝอยอื่น และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้น ลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้ (๒) ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องแล้วปิดฝาให้แน่น หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดแล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น (๓) กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุข หรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันที จะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้อง สำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อแต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน (๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อลักษณะตามข้อ ๑๗ เพื่อรอการขนไปกำจัด และต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ข้อ ๑๙ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรืออาคารเฉพาะ แยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัด (๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด (๒) มีขนาดกว้างเพียงพอ ที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ได้อย่างน้อยสองวัน (๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย (๔) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย (๕) มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น (๖) มีการป้องกันสัตว์แมลงเข้าไป มีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้องหรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้ (๗) มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ” ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร (๘) มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ และลานนั้นต้องมีราง หรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน ๗ วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐ องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้ ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อรอการขนไปกำจัดต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อโดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่าน การฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตร และระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานและถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๒ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็น จะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวม มูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาด และฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย วันละครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ข้อ ๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่ายไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบเมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อ ตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้ จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อแต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ (๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนหรือประเภทที่มีที่พัก สัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๓) สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ตามวรรคหนึ่งให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ส่วนที่ ๒ การขนมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย มอบให้ดำเนินการขนมูลฝอยติดเชื้อแทน ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี (๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีลักษณะตามข้อกำหนดในข้อบัญญัตินี้ โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการ หรือการให้บริการ (๒) ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะต้องมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๓) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อต้องมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้จนกว่าจะขนไปกำจัด และให้มีข้อความเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย (๔) ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อตาม (๓) จะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้อง หรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ ก. มีลักษณะไม่แพร่เชื้อและอยู่ในที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด ข. มีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน ค. พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย ง. มีราง หรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย จ. มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น มีการป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป มีประตูกว้าง พอสมควรตามขนาดของห้องหรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และปิดด้วยกุญแจ หรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถจะเข้าไปได้ ช. มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ” ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร ซ. มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย ในกรณีที่เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่สิบองศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น (๕) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะ มีขนาด กว้างขวางเพียงพอ มีรางหรือท่อกระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย และต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ ข้อ ๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อเท่านั้น (๒) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น (๓) ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ ก. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานและถ้าในการปฏิบัติงาน ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกาย หรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อให้ผู้ปฏิบัติงาน ต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที ข. ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ค. กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๔) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะ ขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน ห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น และให้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหล ต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้ ข้อ ๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ตัวถังปิดทึบ ผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม (๒) ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่สิบองศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่สิบองศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นและจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย (๓) ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง ทั้งสองด้านว่า “ใช้เฉพาะชนมูลฝอยติดเชื้อ” (๔) กรณีราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้น แสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง ทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการขนมูลฝอยติดเชื้อแทนภายใต้ การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะ ขนมูลฝอยติดเชื้อ พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยให้ระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นนำไปส่งกำจัดและชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคลนั้นไว้ในยานพาหนะ ขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจนด้วย กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อให้บุคคลนั้น แสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมกับป้ายที่มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจน ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้น ไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนขยะมูลฝอยติดเชื้อ (๕) ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงาน ประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่น หรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเคร่องมือป้องกันอัคคีภัย และอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร สำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดตามที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อย ต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้ (๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค และสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้ (๒) มีพื้นและผนังทึบ เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์ และแมลงเข้าไป (๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสมารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อ ห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น” (๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่าง การเคลื่อนย้าย และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะ ขนส่งมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้ (๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่าน การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกาย หรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที (๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ รถเข็นจะเคลื่อนย้านโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งคุณสมบัติใน (๑) ก็ได้ (๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวม มูลฝอยติดเชื้อ ห้ามแวะหรือพัก ณ ที่ใด (๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ (๗) กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ (๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อย วันละหนึ่งครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น ส่วนที่ ๓ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ข้อ ๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ (๒) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย (๓) ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อบัญญัติโดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดง และมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย (๔) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (๕) จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัด มูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งอุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่น หรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (๖) กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา ให้สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน ข้อ ๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีวิธีการดังนี้ (๑) เผาในเตาเผา (๒) ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ (๓) ทำลายเชื้อด้วยความร้อน (๔) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผาให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อ และห้องเผาควัน การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส และในการเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือเห็นชอบ และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด ข้อ ๓๑ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อน หรือวิธีอื่นจะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิตในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด ภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้ว ต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัสหรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ข้อ ๓๒ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผาหรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อแล้ว ให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น หมวด ๓ ใบอนุญาต ข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๓๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ ระบุ..... (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ ข้อ ๓๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๓๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยเท่านั้น การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต ข้อ ๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงในอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๓๙ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ยื่นคำขอรับแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอยกำหนดไว้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๔๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต ตามข้อบัญญัตินี้ และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ข้อ ๔๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี ข้อ ๔๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต หมวด ๔ ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ ข้อ ๔๔ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๔๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น หมวด ๕ ค่าบริการขั้นสูง ข้อ ๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอันตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หมวด ๖ บทกำหนดโทษ ข้อ ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เขียน ตาระเต็ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต ประกอบกิจการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ๓. ใบอนุญาต ประกอบกิจการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๒๑๓/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801644
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลคูตันโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคูตันและนายอำเภอกาบเชิง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคูตันตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลคูตันแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคูตันเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ สุกร สุนัข แมว ห่าน เป็ด ไก่ หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัด ศาลาประจำหมู่บ้าน (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูตันเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประจำ เป็นตามวา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูตัน พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๒๑๐/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801630
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง และนายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้มีอำนาจตามความ ในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) ห้ามมิให้มีการเลี้ยงสัตว์บางชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านยางโดยเด็ดขาด ได้แก่ (๑.๑) งูพิษหรืองูที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่คนเลี้ยงและสัตว์เลี้ยง (๑.๒) สัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๑.๓) สัตว์มีพิษร้ายอื่น ๆ (๑.๔) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ๆ (๒) ห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ในพื้นที่ ต่อไปนี้ (๒.๑) วัด โรงเรียน (๒.๒) ริมถนนทางหลวง (๒.๓) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง (๒.๔) ในเขตชุมชนหนาแน่น (๓) การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ กวาง เป็ด ไก่ สุนัข แมว นก และสัตว์อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางประกาศกำหนดนอกเขตพื้นที่ที่ระบุไว้ใน (๒) สามารถกระทำได้ แต่ห้ามมิให้ปล่อยสัตว์นั้นออกนอกที่เลี้ยงสัตว์และต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดดังนี้ (๓.๑) จำนวนสัตว์ต้องไม่มากเกินสมควร (๓.๒) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและก่อเหตุรำคาญ (๓.๓) ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน การเลี้ยงสัตว์ดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามข้อบัญญัตินี้ และตามคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเคร่งครัด ข้อ ๖ การเลี้ยงสัตว์ต้องปฏิบัติการภายใต้มาตรการ ต่อไปนี้ (๑) สถานที่ตั้ง (๑.๑) ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญให้ผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียง (๑.๒) ต้องมีบริเวณเลี้ยงสัตว์ซึ่งกั้นเป็นสัดส่วน และให้ห่างเขตที่ดินสาธารณะ ทางน้ำสาธารณะ หรือที่ดินต่างเจ้าของ และมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตรทุกด้าน เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อที่ดินของผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน (๒) อาคารและส่วนประกอบ (๒.๑) อาคารต้องเป็นอาคารเอกเทศและมั่นคงแข็งแรง มีลักษณะเหมาะแก่ การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้น ๆ ไม่มีการพักอาศัยหรือประกอบกิจการอื่นใด (๒.๒) หลังคาต้องมีความสูงจากพื้นมากพอสมควร และมีช่องทางให้แสงสว่างหรือแสงแดดส่องภายในอาคารอย่างทั่วถึง (๒.๓) คอกต้องมีการกั้นคอกเป็นสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ไม่ให้สัตว์อยู่อย่างแออัด (๒.๔) การระบายอากาศต้องจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทให้เพียงพอ (๓) การสุขาภิบาลทั่วไป (๓.๑) การระบายน้ำ (๓.๑.๑) รางระบายน้ำต้องจัดให้มีรางระบายน้ำโดยรอบตัวอาคารให้มีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลได้สะดวก (๓.๑.๒) น้ำทิ้งต้องมีการบำบัดก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะ หรือในที่เอกชน (๓.๒) การจำกัดมูลสัตว์ (๓.๒.๑) ต้องเก็บกวาดมูลสัตว์เป็นประจำทุกวัน (๓.๒.๒) ต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะ ไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นอันเป็นเหตุรำคาญ และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์แมลงหรือสัตว์นำโรค (๓.๓) การป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ (๓.๓.๑) ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อน รำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๓.๓.๒) ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์ไม่ให้เป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง (๓.๓.๓) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ที่มีขน ตัวอาคารต้องสามารถป้องกันขนไม่ให้ปลิวฟุ้งกระจายออกไปนอกสถานที่ (๓.๓.๔) ต้องควบคุมดูแลไม่ให้สัตว์ออกไปทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง (๓.๔) ต้องรักษาความสะอาดที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ (๓.๕) การกำจัดซากสัตว์ให้ใช้วิธีเผาหรือฝัง เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค และการก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นเหม็น (๔) การปฏิบัติการอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควร แก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนเจ้าของสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ในระหว่างการจับสัตว์หรือกักสัตว์ หากเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของผู้อื่น หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นใดต่อสัตว์นั้นก็ตาม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นตลอดจนค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้ตกเป็นภาระของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสัตว์นั้น ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าของสัตว์ไม่มารับคืนไปจากที่กักสัตว์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางภายในกำหนดเวลาเจ้าของสัตว์จะต้องเสียค่าปรับและค่าเลี้ยงดูสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) อัตราค่าปรับให้เป็นไปตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑.๑) ช้าง ค่าปรับเชือกละไม่เกิน ๗๐๐ บาท (๑.๒) ม้า โค กระบือ ค่าปรับตัวละไม่เกิน ๕๐๐ บาท (๑.๓) สุกร แพะ แกะ กวาง สุนัข ค่าปรับตัวละไม่เกิน ๒๐๐ บาท (๑.๔) สัตว์อื่น ๆ ค่าปรับตัวละไม่เกิน ๑๐๐ บาท (๒) อัตราค่าเลี้ยงดูสัตว์ ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริง ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยางรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิษฐ พลธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๘๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801634
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรงและนายอำเภอเมืองตราด จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรงเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์ปีก สัตว์มีพิษและสัตว์ดุร้ายโดยเด็ดขาด ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง (๑.๑) ในที่หรือทางสาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น ศาลาประจำหมู่บ้าน ฯลฯ (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ (๒) นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๒.๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒.๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๒.๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๒.๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๒.๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๒.๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๒.๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๒.๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตราย ต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สุมล เง็กลี้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคันทรง พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๘๘/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801638
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งและนายอำเภอเมืองกาญจนบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งแล้วเจ็ดวัน ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ช้าง (๒) ม้า (๓) ลา ล่อ (๔) โค (๕) กระบือ (๖) สุกร (๗) แพะ (๘) แกะ (๙) กวาง (๑๐) ห่าน (๑๑) เป็ด (๑๒) ไก่ (๑๓) สุนัข (๑๔) แมว (๑๕) งู (๑๖) จระเข้ (๑๗) นก (๑๘) ปลาเลี้ยงชนิดต่าง ๆ (๑๙) กระต่าย (๒๐) หนู (๒๑) สัตว์มีพิษ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ร้ายต่าง ๆ (๒๒) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาต จากกรมป่าไม้ (๒๓) สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือเป็นอันตรายต่อประชาชนตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดจำนวน ประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการชนิด และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะ ในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ข้อ ๕ ห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ตามข้อ ๔ ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่หรือทางสาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณทางเดินรถไฟ บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง บริเวณแม่น้ำทุกสาย เป็นต้น ข้อ ๖ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอมีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกงที่บุคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ข้อ ๗ กรณีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๖ อย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลสภาพสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกไปให้พ้นจากที่นั้นโดยสะดวกและเหมาะสม (๒) การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้แหล่งน้ำสาธารณะ (๓) ต้องจัดให้มีระบบกักเก็บหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นจนสร้างความเดือนร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง (๔) ต้องทำความสะอาด กวาดล้างสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในสภาวะอันดีเสมอ (๕) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะจำนวนเพียงพอ ข้อ ๘ หลังจากที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๗ ต้องได้รับความยินยอมจากการประชุมประชาคมหมู่บ้าน และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นการอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก มีต้นไม้ให้ร่มเงาพอสมควรตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถานโบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชน โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ – ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๓) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ – ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๔) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่าง ไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร ผู้ขออนุญาตดังกล่าวให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้อย่างละ ๑ ชุด (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม เพื่อประกอบพิจารณา ข้อ ๙ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั่วไปให้เจ้าของสัตว์แยก หรือกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขพบสัตว์ในพื้นที่ตามข้อ ๔ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจจับสัตว์และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน หรือกรณีสัตว์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรในระหว่างการจับสัตว์ หากสัตว์วิ่งหนีหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นใดต่อสัตว์ก็ตาม หากเป็นเหตุที่โดยพฤติการณ์ต้องเกิดขึ้นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม อันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าว บุคคลที่สามย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งจะพิจารณาไล่เบี้ยความผิดตามข้อเท็จจริง ข้อ ๑๑ เมื่อได้จับสัตว์มากักไว้ตามความในข้อ ๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะปิดประกาศแจ้งให้เจ้าของทราบและให้มารับสัตว์คืนไปภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้จับสัตว์มากักไว้โดยประกาศไว้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งหรือที่เปิดเผย เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ข้อ ๑๒ กรณีที่กักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดนั้นตามสมควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนด สิบห้าวันก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือการขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงสัตว์แล้ว ให้เก็บรักษาเงินนั้นไว้แทนสัตว์ที่จำหน่ายต่อไป หรือเป็นโรคติดต่อที่อาจเป็นอันตรายแก่สัตว์อื่น ๆ หรือเมื่อสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์อำเภอไว้ตรวจสอบและให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๓ สัตว์ใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกักไว้ ในกรณีที่เจ้าของสัตว์แสดงหลักฐานรับคือไปภายในกำหนดตามข้อ ๑๑ เจ้าของสัตว์จะต้องเสียค่าเลี้ยงดูตามจำนวนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จ่ายจริง ข้อ ๑๔ หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขหรือถ้าการเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน นอกนอกจากจะต้องวางโทษปรับตามข้อบัญญัตินี้แล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจจับสัตว์ และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับกักสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นกรณีมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการทันที ข้อ ๑๕ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชนหรือทางสาธารณะ ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันควร และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น ข้อ ๑๖ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจง เป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติหรือตามพระราชบัญญัติ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออาจก่อให้เกิด เหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณพอสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบได้ โดยไม่ต้องใช้ราคาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดไว้ และปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๑๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นคร ว่องวณิชชากร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๙๗/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801627
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง และนายอำเภอหนองแค จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงแล้ว ๑๕ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติมและตามข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแล เอาใจใส่ บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิน ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย หรือการค้า เพื่อหย่อนใจหรือเป็นงานอดิเรก “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้สัตว์ อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ช้าง (๘) กวาง (๑๕) นก (๒) ม้า (๙) ห่าน (๑๖) ปลา (๓) ลา ล่อ (๑๐) เป็ด (๑๗) กระต่าย (๔) โค (๑๑) ไก่ (๑๘) หนู (๕) กระบือ (๑๒) สุนัข (๑๙) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวน (๖) สุกร (๑๓) แมว และคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจาก (๗) แพะ (๑๔) งู กรมป่าไม้ (๒๐) สัตว์มีพิษร้าย สัตว์ดุร้ายและสัตว์ต้องห้าม ตามกฎหมายอื่น ๆ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดจำนวน ประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ ชนิด และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะ ในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง หรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ข้อ ๖ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและเหตุรำคาญ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกัน มิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิด การปนเปื้อนของแหล่งน้ำ และไม่แพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจาก การควบคุม กรณีเป็นสัตว์ที่จะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือน ให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน รวมทั้งไม่ปล่อยสัตว์ให้ไป ทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง (๖) ต้องควบคุมดูแลและป้องกันสัตว์ เพื่อไม่ให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๗) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ชญาณ์อัฐ ผาสุขศาสตร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๗๘/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801617
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที ว่าด้วยการติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทีและนายอำเภอเมืองสุรินทร์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองทีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเษกษา ข้อ ๓ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน ร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงาน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ “บ่อดักไขมัน” หมายความว่า สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำซึ่งผ่านการใช้แล้ว “การระบายน้ำ” หมายความว่า การผันน้ำ การปล่อยน้ำ การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ “แหล่งระบายน้ำ” หมายความว่า ทางหรือท่อระบายน้ำ ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำสาธารณะ แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อหรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำ และยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการกำจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ ๕ ติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการปลูกสร้างใหม่ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันสำหรับอาคารนั้นให้แล้วเสร็จก่อนเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอย และหากอาคารใดอยู่ระหว่างการปลูกสร้างใหม่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับก็ให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันเช่นเดียวกัน ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก (๒) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ข้อ ๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามข้อ ๖ ทำการดูแลรักษา เก็บขนน้ำมันหรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามปกติ ข้อ ๙ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๗ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท และเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไป จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของอาคารและพื้นที่บางแห่ง อาทิเช่น พื้นที่บนภูเขา พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ในชนบท เป็นต้น ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ศรชัย สุภิมารส นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองที พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๗๕/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801615
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระและนายอำเภอเดิมบางนางบวช จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด (๑.๑) แนวตลอดถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๐ สายบางบัวทอง - ชัยนาท เฉพาะในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ โดยเด็ดขาด (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ (๒.๑) สถานที่ราชการและวัด เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ เกินจำนวน ๕๐ ตัว ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับคืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขาย หรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และมีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มานพ ฉ่ำพงษ์สันติ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๗๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801636
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนราโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนราและนายอำเภอบางคนที จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนราตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) ช้าง (๔) โค (๕) กระบือ (๖) แพะ (๗) สุกร (๘) สัตว์ปีก (๙) สัตว์มีพิษและสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ (๑๐) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ข้อ ๖ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนราโดยเด็ดขาด ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ (๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนราประกาศกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ (๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์ ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์ เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณีโดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา หรือเพื่อในพระราชพิธี หรือพิธีกรรมทางศาสนาตามประกาศของทางราชการ ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖ ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคง แข็งแรง ตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควันและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์ และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือรำคาญแก่ผู้อื่น ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา ข้อ ๙ การเลี้ยงสัตว์ซึ่งดำ เนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๘ อย่างเคร่งครัดเพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้ (๑) สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร และเป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มหรือตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข (๒) ให้ดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ มิให้มีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๓) ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำ ทางน้ำลำคลองแม่น้ำ เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๔) ต้องจัดหาที่รองรับขยะปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนกำจัดขยะปฏิกูลมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม (๕) ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง และบริเวณโดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น เสียง แสง รังสี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๗) ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวันเมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้น ตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำ นาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรารักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สำรวย สายแจ้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๙๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801642
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน และนายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จึงออกข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนสิบห้าวันแล้วเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดากฎ ระเบียบ ข้อบัญญัติ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน ร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ “บ่อดักไขมัน” หมายความว่า สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำซึ่งผ่าน การใช้แล้ว “การระบายน้ำ” หมายความว่า การผันน้ำ การปล่อยน้ำ การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ “แหล่งระบายน้ำ” หมายความว่า ทางหรือท่อระบายน้ำ ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเลและแหล่งน้ำสาธารณะ แหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อหรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำ และยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการกำจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ ๕ ติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการปลูกสร้างใหม่ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันสำหรับอาคารนั้นให้แล้วเสร็จก่อนเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยและหากอาคารใดอยู่ระหว่างการปลูกสร้างใหม่ ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับก็ให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันเช่นเดียวกัน ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก (๒) สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ข้อ ๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามข้อ ๖ ทำการดูแลรักษา เก็บขนน้ำมันหรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามปกติ ข้อ ๙ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามข้อ ๗ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ข้อ ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาทและเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละ สองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไป จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณา ยกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของอาคารและพื้นที่บางแห่ง อาทิเช่น พื้นที่บนภูเขา พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ในชนบท เป็นต้น ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นนทวรรณ จงจิตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๒๐๗/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801652
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง และนายอำเภอโพนพิสัย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองสุนัข “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “การทำทะเบียน” หมายความว่า การจดทะเบียนและการขึ้นทะเบียน “การจดทะเบียน” หมายความว่า การออกใบรับรองรูปพรรณสัณฐานและการทำ เครื่องหมายระบุตัวสุนัข “การขึ้นทะเบียน” หมายความว่า การนำเอกสารเกี่ยวกับสุนัขที่จดทะเบียนไว้แล้ว แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐาน “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัขให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขบางชนิดโดยเด็ดขาด (๑.๑) ในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหาร ส่วนตำบลชุมช้างเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขเกินจำนวนที่กำหนดดังนี้ (๒.๑) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างเป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขเกินจำนวน ๕ ตัว (๓) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๓.๑) ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างเป็นเขตควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสุนัข (๓.๒) ให้เจ้าของสุนัขที่เลี้ยงในพื้นที่ตามความใน (๓.๑) มีหน้าที่นำสุนัขไปทำทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง (๓.๓) การขึ้นทะเบียนสัตว์ เจ้าของสุนัขต้องยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารดังนี้ (๓.๓.๑) สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสุนัข (๓.๓.๒) ในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอม จากเจ้าของบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน (๓.๓.๓) ใบรับรองที่ระบุการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปี มีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีนและลงชื่อสัตวแพทย์ผู้ฉีดพร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (๓.๓.๔) หนังสือมอบอำนาจในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้มาดำเนินการเอง (๓.๔) เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติดังนี้ (๓.๔.๑) นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ ๒ - ๔ เดือน และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (๓.๔.๒) เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ให้ติดเครื่องหมายประจำตัว และเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ การขายหรือให้สุนัขแก่ผู้อื่นต้องมอบใบรับรองให้ด้วย (๓.๕) จัดสถานที่เลี้ยงตามความเหมาะสม มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ (๓.๖) มีระบบการระบายน้ำและการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ (๓.๗) ควบคุมดูแลสุนัขไม่ให้ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ข้อ ๖ แบบคำร้องและวิธีการขึ้นทะเบียนสุนัข ทะเบียนสุนัขรายครัวเรือน และบัตรประจำตัวสุนัข ให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างประกาศกำหนด ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้างเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สำรวย เหมืองทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมช้าง พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๒๘/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801658
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง กิจการโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง กิจการโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ ว่าด้วยกิจการโรงฆ่าสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์และนายอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง กิจการโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์นับตั้งแต่ได้ปิดประกาศโดยเปิดเผยไว้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์แล้ว ๓๐ วัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “สัตว์” หมายความว่า โค กระบือ แพะ แกะ สุกร นกกระจอกเทศ ไก่ เป็ด ห่าน และสัตว์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “การประกอบกิจการฆ่าสัตว์” หมายความว่า การดำเนินการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ “เนื้อสัตว์” หมายความว่า เนื้อหรือส่วนอื่นของสัตว์ที่ตายแล้วและยังมิได้ปรุงแต่ง ให้เป็นอาหารหรือมิได้ปรุงแต่งเพื่อให้คงอยู่ไม่เน่าเปื่อย ทั้งที่ชำแหละแล้วและยังมิได้ชำแหละ “ชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์” หมายความว่า การแยกเนื้อสัตว์ตามขั้นตอนจากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นส่วนต่าง ๆ ที่บริโภคได้และบริโภคไม่ได้ เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ “การจำหน่ายเนื้อสัตว์” หมายความว่า การนำเนื้อสัตว์ออกขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้โดยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และให้หมายความรวมถึงการมีไว้ในครอบครองซึ่งเนื้อสัตว์เพื่อการจำหน่ายด้วย “โรงพักสัตว์” หมายความว่า สถานที่พักสัตว์หรือกักสัตว์ก่อนทำการฆ่าตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ “โรงฆ่าสัตว์” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการฆ่าสัตว์ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการฆ่าสัตว์ เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ “พนักงานตรวจโรคสัตว์” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืออธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจโรคสัตว์ หรือตรวจเนื้อสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ “พนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ “นายทะเบียน” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนประจำจังหวัด “ผู้อนุญาต” หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมปศุสัตว์ ข้อ ๕ ให้กิจการโรงฆ่าสัตว์เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หมวด ๑ สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล ข้อ ๘ โรงฆ่าสัตว์และโรงพักสัตว์ต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หอพัก หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยอันก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง ข้อ ๙ โรงฆ่าสัตว์และโรงพักสัตว์ต้องมีลักษณะอาคารหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) พื้นห้องฆ่าสัตว์ต้องเป็นพื้นคอนกรีตหรือวัสดุที่ไม่ดูดซึมน้ำ ไม่ดูดกลิ่น ไม่เป็นพิษ ไม่มีรอยแตก ไม่ลื่น พื้นต้องลาดเอียง ไม่มีน้ำขัง ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๒) ฝาผนังและเพดานห้องฆ่าสัตว์ ให้ใช้วัสดุที่มีผิวเรียบเพื่อป้องกันมิให้เกิดสิ่งสกปรกเกาะติดได้และต้องเป็นวัสดุที่ล้างและทำความสะอาดได้ง่าย ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) มีห้องเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ โดยเฉพาะและห้องน้ำ ห้องส้วมต้องแยกออกเป็นสัดส่วนต่างหาก ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๔) มีแสงสว่างทั้งที่เป็นแสงธรรมชาติ และแสงไฟฟ้าเพียงพอ โดยไม่ทำให้การมองเห็นสีของเนื้อสัตว์เปลี่ยนไป ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๕) จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ของพื้นที่ห้องหรืออาจจัดให้มีพัดลมระบายอากาศเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (๖) เครื่องมือที่ติดตั้งประจำที่ต้องติดตั้งให้ห่างจากฝาผนังหรือเพดานอย่างน้อย ๓๐ เซนติเมตร เพื่อความสะดวกต่อการตรวจสอบและทำความสะอาด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์และมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๐ โรงฆ่าสัตว์ที่พนักงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๑ โรงฆ่าสัตว์และโรงพักสัตว์ต้องมีการเก็บ รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกลักษณะและการป้องกันเหตุรำคาญดังนี้ (๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ (๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากพนักงานท้องถิ่นและต้อง ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๔) มีการกำจัดกลิ่นหรือเสียงที่เกิดขึ้นจากโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์และการฆ่าสัตว์ โดยมิให้เป็นเหตุรำคาญ หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง (๕) มีระบบระบายน้ำทิ้งที่มีประสิทธิภาพ และห้ามระบายน้ำทิ้งออกจากโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์จนกว่าจะมีการบำบัดน้ำเสีย (๖) ต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีคุณภาพและห่างจากอาคารผลิตพอสมควร ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการหลักการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมดังนี้ (๑) ต้องมีการกำจัดแมลง นก สัตว์ ประเภทฟันแทะ และสัตว์มีพิษทั้งภายใน และบริเวณโรงพักสัตว์อย่างสม่ำเสมอ (๒) ยาฆ่าแมลงจะต้องเป็นชนิดที่กฎหมายให้ใช้ในโรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร และใช้อย่างระมัดระวังไม่ให้ปนเปื้อนกับเนื้อสัตว์ และปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาอย่างเคร่งครัด ข้อ ๑๓ โรงฆ่าสัตว์และโรงพักสัตว์ต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอดังนี้ (๑) เครื่องมือ อุปกรณ์ โต๊ะ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในโรงฆ่าสัตว์ โรงพักสัตว์ ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคก่อนและหลังปฏิบัติงาน (๒) จัดให้มีการทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์เป็นประจำทุกวัน ประจำสัปดาห์หลังการฆ่าสัตว์ หากพบว่ามีโรคระบาดสัตว์ให้ทำการฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดโรงฆ่าสัตว์ รวมถึงแจ้งพนักงานท้องถิ่นทราบทันทีเพื่อป้องกันโรคระบาดสัตว์ (๓) สบู่ สารซักฟอกและสารฆ่าเชื้อโรคต้องเป็นชนิดที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในโรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร และต้องระมัดระวังไม่ให้ปนเปื้อนกับเนื้อสัตว์ (๔) น้ำที่ใช้ล้างซากสัตว์และน้ำแข็งที่ใช้รักษาคุณภาพเนื้อสัตว์ต้องสะอาด ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและมีอย่างเพียงพอ หมวด ๒ การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้ (๑) มีเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หมวด ๓ การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็น อันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หมวด ๔ ใบอนุญาต ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและให้เห็นง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๐ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย การออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง หมวด ๕ การขออนุญาตฆ่าสัตว์ ข้อ ๒๑ ผู้ใดมีความประสงค์จะฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ ให้แจ้งชนิดและจำนวนสัตว์ที่จะฆ่า วันและเวลาที่จะดำเนินการฆ่า และชื่อของโรงฆ่าสัตว์ต่อพนักงานท้องถิ่นและเสียค่าอากรการฆ่าสัตว์ ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ และหากเป็นกรณีการฆ่าสัตว์เพื่อการส่งออกด้วยให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานท้องถิ่นที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานท้องถิ่นที่ออกหลักฐานการรับแจ้งเป็นหนังสือให้แก่ผู้ที่ประสงค์จะฆ่าสัตว์ โดยกำหนดวันและเวลาในการฆ่าสัตว์ดังกล่าวตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๒๒ ให้ผู้ที่ประสงค์จะฆ่าสัตว์ นำสัตว์ไปยังโรงพักสัตว์และจะต้องฆ่าสัตว์นั้นในโรงฆ่าสัตว์ ตามวันและเวลาที่พนักงานท้องถิ่นกำหนด ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดนำสัตว์ออกจากโรงพักสัตว์หรือโรงฆ่าสัตว์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานตรวจโรคสัตว์ ข้อ ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ใด จำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าโดยมิได้มีการแจ้งตามข้อ ๒๑ วรรคหนึ่ง ข้อ ๒๕ ในกรณีที่พนักงานตรวจโรคสัตว์ มีเหตุควรสงสัยว่าสัตว์ที่จะฆ่านั้นเป็นโรค หรือมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือมีลักษณะไม่เหมาะสมที่จะใช้เนื้อสัตว์นั้นเป็นอาหาร ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์มีอำนาจสั่งงดการฆ่าสัตว์และแยกสัตว์นั้นไว้เพื่อตรวจพิสูจน์ได้ ในกรณีที่ได้ทำการตรวจพิสูจน์แล้วพบว่าสัตว์ที่จะฆ่านั้นไม่เป็นโรค ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือมีความเหมาะสมที่จะใช้เนื้อสัตว์นั้นเป็นอาหาร ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์มีคำสั่งให้ฆ่าสัตว์นั้นได้ ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่จะฆ่านั้นเป็นโรค หรือมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือมีลักษณะไม่เหมาะสมที่จะใช้เนื้อสัตว์นั้นเป็นอาหาร ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์มีคำสั่งงดการฆ่าสัตว์นั้น และแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น เพื่อคืนเงินอากรการฆ่าสัตว์และค่าธรรมเนียมแก่ผู้ที่ประสงค์จะฆ่าสัตว์นั้น ข้อ ๒๖ เมื่อได้ฆ่าสัตว์แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนำเนื้อสัตว์ออกจากโรงฆ่าสัตว์ก่อนที่พนักงานตรวจโรคสัตว์จะรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์นั้น ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่ฆ่านั้นเป็นโรค หรือมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือมีลักษณะไม่เหมาะสมที่จะใช้เนื้อสัตว์นั้นเป็นอาหาร ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์มีอำนาจทำลายเนื้อสัตว์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วนหรือสั่งให้จัดทำให้เป็นเนื้อสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคก่อนได้ ข้อ ๒๗ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายเนื้อสัตว์ของสัตว์ที่ตายโดยมิได้ถูกฆ่า ให้นำเนื้อสัตว์นั้นซึ่งอยู่ในสภาพที่ยังมิได้ชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ไปให้พนักงานตรวจโรคสัตว์ตรวจ หรือในกรณีที่ไม่สามารถนำเนื้อสัตว์ไปให้พนักงานตรวจโรคสัตว์ตรวจได้จะขอให้พนักงานตรวจโรคสัตว์ไปตรวจเนื้อสัตว์นั้นก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ เมื่อพนักงานตรวจโรคสัตว์ได้ตรวจแล้วเห็นว่าเป็นเนื้อสัตว์ที่ควรใช้เป็นอาหารได้ก็ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์รับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ได้ ในกรณีที่พนักงานตรวจโรคสัตว์เห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะใช้เนื้อสัตว์นั้นเป็นอาหารให้นำข้อ ๒๕ วรรคสามมาบังคับใช้โดยอนุโลม ข้อ ๒๘ บรรดาค่าอากร ค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มนชัย โซ๊ะเฮง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง กิจการโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบแจ้งและตอบรับการแจ้งการฆ่าสัตว์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๓๖/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801605
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ว่าด้วยการควบคุม การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๙ องค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหยและนายอำเภอสะบ้าย้อย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบาโหยเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่ราชการในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑.๒) สถานที่ราชการหรือหน่วยราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น (๑.๓) บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณทางเดินรถไฟ บริเวณแม่น้ำทุกสาย (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒.๒) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๒.๓) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๒.๔) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร (๒.๕) กำหนดให้เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น ห้ามปล่อยสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ บนถนนสาธารณะและถนนในหมู่บ้าน (๓) นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (๓.๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๓.๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ เป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๓.๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๓.๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๓.๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓.๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๓.๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนตามข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบาโหยตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สมชาย สุขศรีแวว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๖๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801655
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพุแคโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค และนายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุแคตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์ไว้ในครอบครอง และดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณเพื่อให้สัตว์นั้นเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยงของเจ้าของสัตว์เลี้ยง “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่ หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพุแคเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ ๕.๑ สุนัข ๕.๒ แมว ๕.๓ ช้าง ๕.๔ โค ๕.๕ กระบือ ๕.๖ ไก่ ๕.๗ เป็ด ๕.๘ แพะ ๕.๙ แกะ ๕.๑๐ สุกร ๕.๑๑ ห่าน ๕.๑๒ ม้า (๑) ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมบริเวณภายในที่หรือทางสาธารณะ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ เป็ด ไก่ ห่าน โดยเด็ดขาด (๒) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอมีระบบการระบายน้ำ และบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๓) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ (๔) กำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ (๕) ต้องจัดให้มีการฉีดวัคซีนและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์อย่างสม่ำเสมอ (๖) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตนตลอดจนดูแลไม่ให้ส่งเสียงดังรบกวนแก่ผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยส่วนรวม (๗) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดห้ามไว้ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้พนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของ เพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลพุแค แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้ หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพุแค ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ในข้อหนึ่งข้อใดมีความผิดตามมาตรา ๗๓ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุแคผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สีนวล ศรีจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุแค เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๓๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801597
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่และนายอำเภอ เมืองสิงห์บุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข แมว หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) ในพื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย สนามกีฬา สนามเด็กเล่น วัดสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ ศาลาประจำหมู่บ้าน เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (๑.๒) บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่มีการเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง ให้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทของกิจการนั้น ๆ และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช่จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ที่ดำเนินการไปแล้ว ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ หรือสถานที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่นำไปฝากเลี้ยง ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ภายหลังการประสานงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหาร ส่วนตำบลหัวไผ่ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติฯ นี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลหัวไผ่เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออก ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เสณ่พ์ โกสุมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๕๙/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801591
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา ว่าด้วยการควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๔๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภาและนายอำเภอมโนรมย์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายความว่า สถานที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวดหรือใส่ภาชนะต่าง ๆ โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ “ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ” หมายถึง บุคคล นิติบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายถึง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายถึง เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องมีการควบคุม ต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการนั้น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญรายใด ประกอบกิจการอยู่ก่อนข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ข้อ ๖ สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่ายดังนี้ (๑) ต้องอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย และแหล่งขยะมูลฝอย (๒) ต้องเป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหะนำโรค (๓) บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำไม่เฉอะแฉะสกปรกและมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ (๔) การติดตั้งตู้น้ำต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ เซนติเมตร (๕) จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ ข้อ ๗ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีคุณลักษณะดังนี้ (๑) ตู้น้ำและอุปกรณ์ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (๒) ตู้น้ำจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม รวมทั้งสามารถทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย (๓) หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร ข้อ ๘ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำดังนี้ (๑) แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล (๒) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเองต้องมีระบบการตรวจสอบ การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี (๓) มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ข้อ ๙ ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้งต่อปี ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรียโดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนามอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมีการบำรุงรักษาและการทำความสะอาดดังนี้ (๑) มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งของตู้น้ำเป็นประจำทุกวัน (๒) มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้ ช่องระบายน้ำ และหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน (๓) ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้อย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน (๔) ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาข้อแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่กำหนดหรือเมื่อพบผลการตรวจผิดปกติเกนิ มาตรฐาน ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องจัดระบบข้อมูลและการรายงานอย่างน้อยดังนี้ (๑) บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำและการดูแลบำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ (๒) รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (๓) จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน ข้อ ๑๓ ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ (๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภาประกาศกำหนด ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลา และเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไข โดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภาเท่านั้น การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นขอก่อนใบอนุญาตครบกำหนดพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผย ณ สถานที่ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและสังเกตเห็นได้ง่าย ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาแสดงด้วย (๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมที่เหลืออยู่มาแสดงด้วย ข้อ ๒๑ ในกรณีปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภาเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อรชุน ช่างประดับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลอู่ตะเภา เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต/ขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๕๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801611
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน และนายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนแล้วสิบห้าวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การมีสัตว์หรือมีสัตว์เลี้ยงไว้ในครอบครองและดูแล เอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่ “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ “สัตวแพทย์” หมายความว่า สัตวแพทย์ผู้ซึ่งปฏิบัติงานในส่วนราชการของรัฐ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สัตว์แพทย์ในราชการส่วนท้องถิ่น ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้ (๑) สุนัข (๒) แมว (๓) โค (๔) กระบือ (๕) สุกร (๖) ไก่ (๗) เป็ด (๘) สัตว์อื่น ๆ (๙) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์เลี้ยง (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์ (๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ ข้อ ๗ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควันและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุมกรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึง ตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ข้อ ๘ กรณีการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งดำเนินการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นจำนวนมาก เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๗ อย่างเคร่งครัด เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากสัตว์เลี้ยงดังนี้ (๑) การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องทำรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกไปให้พ้นจากที่นั้นโดยสะดวกและเหมาะสม (๒) การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้แหล่งน้ำสาธารณะ (๓) ต้องจัดให้มีระบบกักเก็บหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้เกิด กลิ่นเหม็นจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง (๔) ต้องทำความสะอาดกวาดล้างสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ (๕) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นที่เพาะพันธ์แมลงวัน แมลงสาบ ยุงหรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ (๖) ต้องมีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะจำนวนเพียงพอ ข้อ ๙ หลักจากที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ ๘ ต้องได้รับความยินยอมจากการประชุมประชาคมในระดับหมู่บ้านและต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้นต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวกมีต้นไม้ให้ร่มเงาพอควร ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ ในระยะที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพและไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชนโดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะ ดังต่อไปนี้ (๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๓) สำหรับสถานประกอบการการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๔) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร ผู้ขออนุญาตดังกล่าว ให้ยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้อย่างละ ๑ ชุด (๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน (๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อ ๑๐ ในกรณีมีเหตุควรสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพ ของบุคคลทั่วไปให้เจ้าของสัตว์ แยก กักกันสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ รวมถึงต้องแจ้งให้สัตว์แพทย์ของหน่วยงานราชการทราบ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์หรือห้ามเลี้ยงสัตว์ หรือปล่อยสัตว์เฉพาะเขตควบคุมการปล่อยสัตว์ เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ยกเว้นปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลตามประเพณี ข้อ ๑๒ เจ้าของสัตว์จะต้องควบคุมดูแลสัตว์และสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตนมิให้ก่อเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น ข้อ ๑๓ หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขหรือถ้าการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควร ข้อ ๑๔ กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชนหรือทางสาธารณะ ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันควรและถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้นหรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น ข้อ ๑๕ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา (๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ ในการนี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณพอสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อนเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นนทวรรณ จงจิตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๖๖/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801660
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการแต่งผม พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการแต่งผม พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ ว่าด้วยการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการแต่งผม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์และนายอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการแต่งผม พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์แล้วสามสิบวัน ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๕ เมื่อพ้นกำหนดสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับจ้างแต่งผม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๖ ผู้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับจ้างแต่งผมต้องมีเครื่องหมายสำหรับสถานที่ทำด้วยไม้ แก้ว กระเบื้องเคลือบ หรือวัตถุที่ถาวรลักษณะรูปทรงกระบอก กว้างหรือวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒ เซนติเมตร ยาว ๕๐ เซนติเมตร ระบายเคลือบสีสลับขาวเป็นเกลียวตามแบบหรือตัวอย่างขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ กำหนดติดตั้งไว้ในที่เห็นชัดเจนหน้าสถานที่รับจ้างแต่งผม ข้อ ๗ สถานที่แต่งผมต้องมีเครื่องใช้อันจำเป็น ดังต่อไปนี้ (๑) เก้าอี้นั่งหรือนอน สำหรับผู้รับการแต่งผมที่มั่นคงและสะอาด (๒) ผ้าคลุมตัวสะอาด สำหรับคลุมตัวผู้รับการแต่งผม (๓) ผ้าสะอาดสำหรับพันหรือคลุมคอผู้รับการแต่งผม (๔) ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดหน้า เช็ดคอ และเช็ดศีรษะของผู้รับทำผม (๕) กรรไกร มีดโกน หวี แปรง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการแต่งผม (๖) สบู่สำหรับโกนหนวด สบู่สำหรับฟอก หรือน้ำยาสระผมและน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ ๗๐% เป็นต้น ข้อ ๘ ห้ามประกอบกิจการที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ในสถานที่แต่งผม เว้นแต่จะจัดสถานที่แยก เป็นสัดส่วนชัดเจน และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น (๑) การประกอบกิจการใด ๆ ที่มีเสียง กลิ่น ควัน และฝุ่นละออง (๒) การทำ ประกอบ ปรุง สะสม หรือจำหน่ายอาหาร หรือน้ำแข็ง (๓) การดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) การเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเพื่อการค้า เว้นแต่จะได้ จัดสถานที่แยกเป็นสัดส่วนชัดเจน และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ข้อ ๙ ช่างแต่งผมจะต้องแสดงบัตรรับรองผลการตรวจเอกซเรย์ปอด การตรวจโรคที่แพทย์แผนปัจจุบันออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๑๒ เดือนไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่แต่งผม ที่ตนประจำอยู่ ข้อ ๑๐ ช่างแต่งผมต้องแต่งกายและรักษาความสะอาด ดังต่อไปนี้ (๑) ในขณะที่ทำการแต่งผมต้องแต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อยและต้องสวมเสื้อคลุมที่สะอาด (๒) เมื่อทำการแต่งผมต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งเสียก่อน (๓) ในขณะที่ทำการแต่งผมต้องมีผ้าสะอาดสีขาวปิดปากและจมูก ข้อ ๑๑ ช่างแต่งผมต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการแต่งผมตามวิธีที่ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) ผ้าพันคอและผ้าขนหนู ดังระบุไว้ในข้อ ๗ (๓) และ (๔) ผืนหนึ่ง ๆ ให้ใช้กับผู้มาแต่งผมเพียงครั้งเดียว และต้องนำไปซักฟอกให้สะอาดเสียก่อนจึงนำมาใช้อีก (๒) ให้ทำความสะอาดกรรไกร มีดโกน แปรงทาหนวด และปัดผม และแช่เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่เป็นโลหะด้วยน้ำยาไลโซน ๕% หรือเช็ดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ ๗๐% ทุกครั้งหลังจาก ใช้แต่งผมให้ผู้ที่มารับบริการแต่งผมคนหนึ่งแล้วต้องเช็ดให้แห้งทุกครั้ง เก็บไว้ในที่สะอาดจึงนำกลับมาใช้ได้อีก (๓) ต้องรักษาแปรงสำหรับปัดผมให้สะอาดอยู่เสมอ เมื่อใช้แปรงปัดผมให้กับผู้ใช้บริการ แต่งผมหนึ่งคน แล้วต้องปัดเศษผมออกและทำความสะอาดทุกครั้งไป (๔) เปลี่ยนใบมีดโกนใหม่ (ไม่เคยใช้มาก่อน) ทุกครั้งในการแต่งผมหนึ่งคน ข้อ ๑๒ ห้ามช่างตัดผมใช้เวชภัณฑ์ต่อไปนี้ในการรับจ้างแต่งผม (๑) เวชภัณฑ์ที่ตนรู้หรือควรรู้ว่าได้ปรุงด้วยสารหนูหรือสารปรอท (๒) เวชภัณฑ์ที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขได้แจ้งให้ทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรใช้ในการแต่งผม เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ได้รับการแต่งผม ข้อ ๑๓ ช่างแต่งผมต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (๒) ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือสติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือคนวิกลจริต (๓) ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคหัด โรคบิด ไข้อีสุกอีใส โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังน่ารังเกียจ โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคเอดส์ กามโรค หรือโรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด เมื่อปรากฏว่า หรือมีเหตุผลควรเชื่อว่าช่างตัดผมเป็นโรคดังกล่าวข้างต้นห้ามรับจ้างตัดผม ข้อ ๑๔ ห้ามแต่งผมให้แก่ผู้ที่มีอาการปรากฏ หรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อกันอย่างแพร่ไปเพราะการแต่งผมต่อไปนี้ คือ โรคเรื้อนชนิดผิวหนัง วัณโรคระยะมีอาการไอมาก ซิฟิลิส และโรคคุดทะราดระยะมีแผล หรือมีดอกสะเก็ดตามผิวหนัง ไข้ทรพิษ ไข้อีสุกอีใส ไข้หวัด หรือโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราหรือจุลินทรีย์ หรือเชื้อไวรัสที่ปรากฏบนใบหน้าหรือศีรษะอันเป็นที่น่ารังเกียจหรือเป็นพาหะของโรคดังกล่าว ข้อ ๑๕ ผู้ดำเนินการแต่งผมรักษาสถานที่ให้สะอาด และมีการเก็บเศษผมไปกำจัดอย่างสม่ำเสมอ ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินกิจการรับจ้างแต่งผมจะต้องดูแลควบคุมช่างแต่งผมในร้านให้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักข้อบัญญัตินี้ ข้อ ๑๗ ผู้ใดจะขอใบอนุญาตตามความในข้อ ๕ ให้ยื่นคำขอตามแบบและเงื่อนไข พร้อมหลักฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ได้กำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะใช้สถานที่ดำเนินกิจการประเภทใดบ้างและระบุว่าจะมีช่างแต่งผมจำนวนกี่คน โดยให้มีเอกสารของผู้ขอรับใบอนุญาตและช่างแต่งผมอย่างน้อยดังนี้ (๑) บัตรประจำตัวประชาชน (๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (๓) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดำ ของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๑x๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป เพื่อปิดไว้ในทะเบียนขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ (๔) ใบรับรองการตรวจร่างกายจากแพทย์ว่าไม่เป็นโรคติดต่อตามข้อ ๑๓ ข้อ ๑๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้ออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบ กรณีไม่อาจออกใบอนุญาตได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอ แต่ถ้าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แจ้งผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่ต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขอใบอนุญาต ให้ส่งคืนคำขอพร้อมแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ข้อ ๑๙ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสถานที่แห่งเดียว ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ผู้แทนหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับการแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตจะได้บอกเลิกกิจการนั้นก่อนถึงกำหนด ที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถ้าผู้ดำเนินกิจการรับจ้างแต่งผมค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่รับจ้างแต่งผมตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ ข้อ ๒๒ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับจ้างแต่งผม ให้ยื่นขอตามแบบและเงื่อนไขพร้อมหลักฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์กำหนดก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปนี้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุ ใบอนุญาตการพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๘ ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุ ๑ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๒๔ หากปรากฏว่าใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) เอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือ (๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ (๓) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตและช่างแต่งผมขนาด ๑x๑ นิ้ว จำนวน ๓ รูป ข้อ ๒๕ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้และมีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ใบแทนและต้นขั้วใบแทน (๒) เข้าไปในอาคารและสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ หรือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในกรณีนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง หรือสถานที่นั้น (๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่าง ในการตรวจสอบความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา ข้อ ๒๖ หากผู้ดำเนินกิจการรับจ้างแต่งผมหรือช่างแต่งผมปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ดำเนินการกิจการไม่แก้ไข หรือดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิด อันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้หยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ ข้อ ๒๗ ถ้าเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด ๆ ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ในอันที่จะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพประชาชนซึ่งสมควรจะดำเนินการโดยเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้น หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควร แล้วแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ ข้อ ๒๘ ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการแต่งผมไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต เมื่อปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต (๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก (๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ (๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องกำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาต และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ข้อ ๓๑ การแจ้งพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๐ ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ผู้ดำเนินกิจการแต่งผมหยุดดำเนินกิจการ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ แล้วแต่กรณี ข้อ ๓๒ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งตามข้อ ๒๐ วรรคสอง ข้อ ๒๗ หรือมีคำสั่งการไม่ออกใบอนุญาตตามข้อ ๑๘ หรือไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๒๒ หรือเพิกถอน ใบเพิกถอนใบอนุญาตตามข้อ ๒๙ หรือในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีคำสั่งตามข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น พิจารณาตามที่เห็นสมควร ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๙ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๕ ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๑๗ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกหรือไม่ยอมแจ้งข้อเท็จจริงหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือขัดขวางหรือไม่ยอมอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๒๖ โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๗ ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดกิจการหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๒๐ วรรคสอง หรือข้อ ๒๗ โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขตามข้อ ๒๘ โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๓๙ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๒๑ หรือข้อ ๒๔ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๔๑ ผู้รับใบอนุญาตตั้งหรือใช้สถานที่รับจ้างแต่งผมก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกอบกิจการนั้นต่อไปเสมือนเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้แล้ว แต่เมื่อใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุและผู้นั้นยังคงประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไป ผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไว้ก่อนการดำเนินการ ข้อ ๔๒ บรรดาความผิดต่าง ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ ให้พนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ ข้อ ๔๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ ข้อ ๔๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มนชัย โซ๊ะเฮง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบึงน้ำรักษ์ เรื่อง การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการแต่งผม พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๔๔/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑
801648
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล และนายอำเภอหนองไผ่ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้ “การเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์ “การปล่อยสัตว์” หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์ “สถานที่เลี้ยงสัตว์” หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง “เจ้าของสัตว์” หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย “ที่หรือทางสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด (๑.๑) สถานที่ราชการในการดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (๑.๒) สถานที่ราชการหรือหน่วยราชการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นต้น (๑.๓) บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณทางเดินรถไฟ บริเวณแม่น้ำทุกสาย (๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (๒.๑) สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า ๕๐ ตัว ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง (๒.๒) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ ๕๐ - ๕๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร (๒.๓) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร (๒.๔) สำหรับการเลี้ยงสัตว์ กว่า ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร (๒.๕) กำหนดให้เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. ห้ามปล่อยสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์ บนถนนสาธารณะและถนนในหมู่บ้าน (๓) นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๓.๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ (๓.๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (๓.๓) เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ (๓.๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ (๓.๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน (๓.๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด (๓.๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น (๓.๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์ ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้ ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้ ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ชาญศักดิ์ โฉมทรัพย์เย็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล พรวิภา/จัดทำ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า ๑๑๒/๒๐ เมษายน ๒๕๖๑